หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

รู้เรื่องเมืองมังกร 11-เขตปกครองตนเอง ตอน "ชนชาติจ้วงแห่งกว่างซี"

รูปภาพของ YupSinFa2

ท่านทั้งหลาย รู้เรื่องเมืองมังกร ชุดจีนปัจจุบัน ตอนเขตปกครองตนเอง ครั้งนี้มาถึงเรื่องของ "เขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงแห่งกว่างซี" 壮族广西自治旗-จ้วงจู๋็กว่างซีจื้อจรื้อชวี

เขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงแห่งกว่างซี เป็น 1 ใน 5 เขตปกครองตนเองระดับมณฑล ซึ่งประชากรส่วนใหญ่ในเขตนี้จะเป็นใครไม่ได้ ต้องเป็นชาวจ้วง นั่นแหละครับ ชนชาตจ้วง เป็นชนชาติส่วนน้อย 1 ใน 55 ชนชาติของประเทศจีน ที่มีจำนวนประชากรมากที่สุด คือ ประมาณยี่สิบกว่าล้านคน ชาวจ้วง เป็นญาติของชาวไต-ไท ทั้งมวล ถึงแม้ว่าในภาษาพูดจะฟังกันไม่ีค่อยรู้เรื่อง แ่ต่คำศัพท์ในภาษาจ้วง มีมากมายหลายคำที่คนไท และคนไต ทุกกลุ่ม ฟังแล้วเข้าใจ เช่นคำว่า น้ำ ไป เฮือน(บ้าน) เกิ๋ว(กู-ฉัน) เมิ๋ง(มึง-เธอ) คน ข้าว ฯลฯ

เรื่องราวของชาวจ้วง ขอเชิญท่านเข้าไปอ่านได้ใน "ชนชาติส่วนน้อยในประเทศจีน" ที่ไหงเขียนไว้ในชุมชนฮากกาของเราแห่งนี้

เขตปกครองชนชาติจ้วงแห่งกว่างซี ในอดีต เรียกว่า "มณฑลกว่างซี" ซึ่งชาวฮั่นในมณฑลกว่างซี เป็นชาวฮั่นกลุ่มที่พูดภาษาไป๋ฮว่า หรือภาษาเย่หวี่ ซึ่งก็คือภาษาของคนกวางตุ้งและฮ่องกง อีกกลุ่มคือคนที่พูดภาษากุ้ยหลิ่ม ซึ่งก็คือคนในเมืองกุ้ยหลิน ทางตอนเหนือของมณฑลกว่างซี และอีกกลุ่มหนึ่ง ก็คือคนที่พูดภาษาเค่อเจีย หรือฮากกา คนฮากกาในมณฑลกว่างซี เป็นฮากกาที่อพยพมาจากอำเภอเหมยเสี้ยน มณฑลกวางตุ้ง(จากหนังสือ "เค่อเจีย" ของมณฑลกว่างซี-แปลโดยสถาบันภาษาและวัฒนธรรมจีน เชียงใหม่)

คนจีน มักจะเรียกกว่างซี และ กว่างตง(กวางตุ้ง) ว่า "เหลียงกว่าง" อันมีความหมายว่า "มณฑลกว่างทั้งสอง" ซึ่งคำว่ากว่าง แปลว่า กว้าง มณฑลกว่างตง จึงหมายความว่า กว้างทางตะวันออก และ มณฑลกว่างซี หมายความว่า กว้างทางตะวันตก

เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีน ยึดประเทศจากจอมพลเจี่ยงเจี้ยสือได้สำเร็จ และสถาปนาประเทศจีนใหม่ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 ได้จัดให้มณฑลกว่างซี เป็นเขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงแห่งกว่างซี มณฑลกว่างซีจึงได้กลายเป็นเขตปกครองตนเอง นับตั้งแต่นั้นมา


แผนที่แสดงเขตปกครอง ต่าง ๆ ในเขตปกครองจ้วงแห่งกว่างซี

 


เหลียงกว่าง-กว่างตง กว่างซี


เขตปกครองจ้วงกว่างซีคือจุดสีชมพูด้านล่างของแผนที่ เหนือเกาะไห่หนานด้านซ้าย ด้านขวาคือมณฑลกว่างตง

เขตปกครองชนชาติจ้วงแห่งกว่างซี มีนครหนานหนิง เป็นเมืองเอก ทิศเหนือติดมณฑลกุ้ยโจว มณฑลหูหนาน ทิศตะวันออกติดมณฑลกว่างตง ทิศตะวันตกติดมณฑลหยุนหนาน และทิศใต้ติดประเทศเวียตนาม นครหนานหนิงตั้งอยู่ไม่ไกลจากกรุงฮานอยของเวียตนาม รัฐบาลกลางปักกิ่ง จึีงได้พัีฒนาหนานหนิงเป็น "ประตูสู่อาเซียน" ด้านทิศตะวันออก เมื่อเราลงเครื่องบินที่สนามบินหนานหนิง แล้วเดินทางเข้าสู่ตัวเมือง จะเห็นป้ายต้อนรับว่า ประตูสู่อาเซียน และมีป้ายธงชาติของ 10 ประเทศอาเซียนติดตั้งอย่้างถาวร นครหนานหนิง ได้รับสมญานามว่า "นครแห่งสีเขียว" ด้วยเหตุผลว่าในหนานหนิงนั้น อุดมไปด้วยต้นไม้สีเขียวเป็นจำนวนมาก

ปัจจุบัน รัฐบาลกลางปักกิ่ง ได้พัฒนากว่างซี และหนานหนิง เป็นจุดเริ่มต้นของการเดินทาง-การขนส่งโลจิสติกส์ จากจีน เข้าสู่กรุงฮานอย มากรุงเวียงจันทน์ เข้าเมืองหนองคาย แล้วถึงกรุงเทพมหานคร เรียบร้อยแล้ว (ทางหลวงเอเซียสาย หนิง-มั่น กงลู่ หนานหนิง-กรุงเทพ) เวลานี้ รัฐบาลกลางปักกิ่ง ได้ทุ่มเทการพัฒนา นครคุนหมิง เพื่อเป็นประตูสู่อาเซียนทางทิศตะวันตก โดยสร้างทางหลวงเอเซียสายคุน-มั่น กงลู่ (คุนหมิง-กรุงเทพ) หรือในรหัสทางหลวงว่า R3a จากคุนหมิง ผ่านสิบสองปันนา เข้าลาวทางด่านชายแดนบ่อหาน-บ่อเต็น ผ่านแขวงหลวงน้ำทา บ่อแก้ว เมืองห้วยทราย มาออกที่อำเภอเชียงของ อำเภอเิทิง ของเชียงราย แล้วมาสมทบกับทางหลวงแผ่นดินพหลโยธิน ที่ตัวเมืองเชียงราย

เวลานี้ถ้าท่านใดเข้าไปในนครคุนหมิง จะเห็นการพัฒนาอย่างขนานใหญ่ ด้วยการเปิดสนามบินนานาชาติฉางสุ่ย นครคุนหมิงเรียบร้อยแล้ว รถไฟใต้ดินอีกไม่กี่เดือนก็จะเปิดแล้ว รถไฟฟ้าก็ใกล้จะเปิด และอีกไม่นานรถไฟความเร็วสูง คุนหมิง-ปักกิ่ง ก็จะเปิดการเดินรถ

จีนเป็นประเทศยักษ์ใหญ่ที่มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดและรวดเร็ว น่าเสียดายที่รัฐบาลไทยของเรา มัีวชักช้าอืดอาด ไม่ทันประเทศรอบข้าง ทั้ง ๆ ที่เส้นทางการคมนาคมทั้งทางรถยนต์ และรถไฟ จากประเทศจีน เขาสร้างเข้ามาจ่อประชิดติดชายแดนของเราแล้ว เรายังไม่ไปถึงไหน ทุกวันนี้ภาคเอกชนในเชียงใหม่ และเชียงราย ต่างเป็นตัวกระตุ้นให้รัฐบาลเร่งรุดสร้างเส้นทางคมนาคม เพื่อรองรับความเป็นศูนย์กลางแห่งอาเซียน และรองรับเส้นทางคมนาคมที่ประเทศจีนสร้างมาเชื่อมต่อกับเรา

ออกนอกเรื่องไปเสียไกล กลับเข้ามาท่องเที่ยวในกว่างซีกันเลยครับ

ด้านล่างนี้เป็นภาพของนครหนานหนิง ตัวเมืองหนานหนิงไม่กว้างขวางใหญ่โตเท่าไรนัก แต่มีความเจริญและสะอาดสวยงามน่าอยู่ มาชมภาพกันครับ


สองภาพบนเป็นภาพของศูนย์แสดงสินค้าหนานหนิง-อาเซียน ซึ่งมีการจัดแสดงสินค้าจีน-อาเซียน ในช่วงปลายเดือนกันยายน หรือต้นเดือนตุลาคม ของทุกปี ผู้ประกอบการส่งออกไทยต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่ามาออกบูธที่นี่ขายสินค้าไทยดี ทุก ๆ ปี


อู่เซี่ยงกว๋างฉ่าง-จตุรัสห้าช้าง ย่านที่เจริญที่สุดในหนานหนิง เปรียบเสมือนสีลมของบ้านเรา สถานกงศุลไทย ก็ตั้งอยู่ที่นี่


โอเชี่ยนเวิร์ลในหนานหนิง


ศูนย์กระจายเครื่องเทศ นครหนานหนิง ไหงเพิ่งไปมาไม่กี่วันมานี้ เขตจ้วงกว่างซี เป็นพื้นที่ผลิตอบเชย และ โป๋ยกั๊ก มากที่สุดในโลก 85 เปอร์เซ็นต์ของผลผลิตทั่วโลก อยู่ในเขตจ้วงกว่างซีแห่งนี้(เมืองอวี้หลิน อำเภอหยงเสี้ยน)


จตุรัสห้าช้าง ในภาพสตรีที่แต่งชุดพื้นเมืองนั้น คือชาวจ้วง


ภาพสามผู้นำจีนภาพนี้ไหงไปยืนเต๊ะท่าถ่ายรูปมาแล้ว


อู่เซี่ยงกว๋างฉ่าง

ตงหนานญ่า ฮุ่ยจ่าน จงซิน - ศูนย์แสดงสินค้าอาเซียน-หนานหนิง

ต้นไม้เขียว ๆ ที่สวยงามในนครหนานหนิง

ภูเขาต้าหมิงซาน ใกล้ ๆ กับนครหนานหนิงทางทิศเหนือของหนานหนิง

เมืองท่าตากอากาศเป๋ยไห่

เขตทัศนียภาพแห่งชาติ กุ้ยหลินซานสุ่ย

ทิวทัศน์ของกุ้ยหลิน เมืองกุ้ยหลิน มีแม่น้ำหลีเจียงไหลผ่าน และสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาลูกตะปุ่มตะป่ำ แม่น้ำหลีเจียงใสแวววาวดั่งกระจก คนพายเรือหาปลาด้วนสุ่ม แห และนกตะกรุม เป็นภาพที่งดงามยิ่งนัก

เมื่อกว่าห้าสิบปีก่อน กุ้ยหลินเป็นเมืองที่รู้จักไปทั่วประเทศจีนและในหมู่ชาวจีนโ้พ้นทะเล ด้วยเป็นฉากในภาพยนต์อมตะ "หลิวซานเจ่" อันเป็นภาพยนต์เพลงรักชาวเรือ ฉวนเกอ-ซานเกอ ที่โด่งดัง อาโก-อาจี้ หลาย ๆ ท่านในชุมชนฮากกานี้ต่างรู้จักหลิวซานเจ่ และเพลงซานเกอของเธอเป็นอย่างดี แตง ตะแหล่ง แต่ง แตง แต๊ง แตง แต๋ง แตง แต่ง แต่ง แตง แตง แตง.........

เขตทัศนียภาพแห่งชาติ กุ้ยผิงซีซาน

กุ้ยผิงซีซาน ตั้งอยู่ที่เมืองกุ้ยผิง ทางตะวันออกเฉีึยงเหนือของนครหนานหนิงไปไม่ไกล

ภาพด้านล่างเป็นเขตทัศนียภาพแห่งชาติ ฮวาซาน

ฮวาซานอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของนครหนานหนิง ใกล้กับพรมแดนจีน-เวียตนาม


บนภูเขาฮวาซาน-ภูดอกไม้ มีภาพเขียนของมนุษย์โบราณอยู่ริมหน้าผา เป็นสิ่งสำคัญของพื้นที่แห่งนี้


ภาพเขียนสีโบราณของมนุษย์ยุคหินนี้มีความสมบูรณ์มาก

ภาพบนเป็นภาพหญิงสาวชาวจ้วงที่อยู่ในแถบฮวาซาน


เครื่องใช้ของโบราณที่ขุดได้ในบริเวณฮวาซาน

เขตทัศนียภาพต้าสือเหวยเทียนเคิงฉวิน


ต้าสือเหวยเทียนเคิงฉวุน-มีความหมายว่าปล่องหินยักษ์ หรือหลุมหินขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเขตปกครองฯ ติดกับมณฑลกุ้ยโจว


ภาพนี้เป็นภาพจำลองนะครับหาใช่ทางเดินลอยฟ้าของจริงไม่ ถึงจริงเป็นแบบนี้ก็คงไม่มีใครกล้าเดินแ่น่


ภาพนี้เป็นสีสันที่งดงามภายในถ้ำที่อยู่ใกล้ ๆ ปล่องหินยักษ์


ส่วนเก๋งจีนสีแดงหลังนี้ของจริงครับ แต่ว่าไปตั้งโด่เด่อยู่ริมหินผาอย่างนั้นจ้างให้ก็ไม่ไปยืนหรอกครับ เกิดโชคดีถูกหวยขึ้นมาเป็นหนึ่งในล้านเอาตอนที่เราไปยืนแผ่นดินเกิดไหวโยกเยกขึ้นมา ก็ได้ไปใช้เงินล้านในเมืองผีแน่ ๆ


ที่นี่คงจะเป็นสวรรค์ของนักเดินป่้า-ไต่หน้าผาจริง ๆ แต่คิดว่าทางการกว่างซีคงไม่ให้ใครไปไต่ซี้ซั้วกระมังครับ คงต้องมีการขออนุญาตและทำทะเบียนไว้ ที่สำคัญ ผู้ที่ได้รับอนุมัติคงจะต้องเป็นนักไต่ผาที่มีประสบการณ์และสามารถยืนยันได้


เรา ๆ ท่าน ๆ ที่ไม่ใช่มนุษย์แมงมุมก็คงต้องไปชื่นชมธรรมชาติกันแบบนี้ละครับ


ลูกช่วงและโมบายตุ๊กตาผ้า-สินค้าโอทอปของชาวจ้วงมีให้เลือกซื้อมากมายในกว่างซี สวยดีและน่ารักครับ

นครหลิ่วโจว เมืองใหญ่อันดับ 2 ของกว่างซี-แหล่งวัฒนธรรมกุ้ยหลิ่ว-คนที่นี่พูดภาษากุ้ยหลิ่วอันเป็นภาษาท้องถิ่นของกุ้ยหลิน-หลิ่วโจว ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของเขตปกครองจ้วงกว่างซี


สะพานของชนชาติต้ง ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ชนชาติต้ง เป็นญาติกับชนชาติม้ง มีถิ่นอาศัียมากที่สุดในมณฑลกุ้ยโจว หยุนหนาน และที่เมืองหลิ่วโจว กว่างซี


หมู่บ้านชาวต้ง ทุกหมู่บ้านจะต้องมีสะพานแบบนี้ถึงจะเป็นบ้านของคนต้ง ขนานแท้

อำเภอวัฒนธรรมหลิงชวนเสี้ยน

แหล่งวัฒนธรรมอำเภอหลิงชวน อยู่ในเมืองกุ้ยหลิน เป็นแหล่งวัฒนธรรมและเมืองโบราณ ของชาวฮั่น ในกุ้ยหลิน ท่านใดที่ไปเที่ยวเมืองกุ้ยหลินควรถือโอกาสไปเยือนอำเภอหลิงชวน ด้วย


เงินอีแปะโบราณที่พบในอำเภอหลิงชวน


ไหงว่าอำเภอหลิงชวนของกุ้ยหลินนี้เป็นเมืองโบราณที่มีความเป็นธรรมชาติดั้งเดิมปราศจากการปรุงแต่ง น่าไปเยือนเป็นอย่างมาก ผิดกับเมืองโบราณทางวัฒนธรรมของที่อื่น ๆ เช่น ต้าหลี-ลี่เจียง ฯลฯ ที่มีึแต่ฝรั่งและผับบาร์ เมื่อมาที่นี่จึงจะได้สัมผัสกับวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวจีนแบบเก่า ไหงจึงคิดว่า มีโอกาสมากว่างซีอีกครั้งจะต้องมาที่อำเภอหลิงชวนนี้ให้ได้


อำเภอหลิงชวนยังเป็นแหล่งเพาะปลูกองุ่นที่สำคัญของกว่างซี มีทั้งองุ่นแดงและองุ่นเขียว มาเที่ยวที่นี่นอกจากได้ชมอาคารโบราณแล้วยังได้ลิ้มรสองุ่นหวาน ๆ อีกด้วย

เขตอนุรักษ์พันธุ์พืชและสัตว์ "มู่หลุน"

มู่หลุน ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเขตปกครองฯ ติดกับมณฑลกุ้ยโจว ระหว่างอำเภอชวนซาน และ เซี่ยหนาน น่าแปลกที่สถานที่แห่งนี้ส่วนหนึ่ง ดูไป คล้ายกับเป็นป่าชายเลน แต่ว่าความเป็นจริงอยู่ในเขตภูเขา ห่างไกลจากทะเลเป็นพันกิโลเมตร


ดอกของต้นชาป่าสีขาวนวลอยู่ภายในเขตป่าสงวน มู่หลุน


ป่าในเขตปกครองจ้วงกว่างซีนี้มีให้เดิืนเยอะแยะมากมายจริง ๆ ครับ เดี๋ยวท่านตามไหงมาชมป่าอีกหลาย ๆ แห่งของกว่างซี ครับ

เขตทัศนียภาพ "ภูผาเย้า" (ต้าเหยาซาน)

ต้าเหยาซาน หรือภูผาเย้า เป็นเขตอาศัยของชนชาติเย้าหรือเหยาจู๋ในเขตกว่างซี เป็นคนละกลุ่มกับพี่น้องชาวไทยเชื้อสายเมี่ยน(เย้า) ในประเทศไทย ภูผาเย้า อยู่บริเวณอำเภอจินหลงเหอ เมืองจินซิ่ว ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเขตปกครองฯ ก่อนจะถึงกุ้ยหลินไม่ไกล


สาวน้อยหน้าหวานชนชาติเหยา เก็บใบชาบริเวณสวนของเธอ


อุโมงค์รถไฟที่ลอดใต้ภูผาเย้า หรือต้าเหยาซาน การเดินทางทางรถไฟในประเทศจีน เส้นทางหนึ่ง ๆ จะพบกับการลอดถ้ำมากมายนับไม่ถ้วน น่าตื่นเต้นจริง ๆ ไหงนั่งรถไฟจากคุนหมิงไปเฉิงตู เฉิงตูกลับคุนหมิง ไปทาง-กลับทาง ได้เห็นวิวทิวทัศน์ที่สวยงามมาก ๆ ลอดถ้ำที่เจาะใต้ภูผา น่าตื่นเต้นมาก บางอุโมงค์มีความยาวเป็นห้ากิโลเมตร นานจริง ๆ กว่าจะพ้นออกจากอุโมงค์

ยินดีต้อนรับสู้ต้าเหยาซาน ค่ะ สาวชาวเหยาจู๋ที่นี่แตกต่างจากพี่น้องร่วมชาติไทยเชื้อสายเย้า(เมี่ยน) ซึ่งเป็นคนละกลุ่มกัน ของเราเป็นเหยาจู๋ที่มาจากมณฑลหยุนหนาน

ภาพวาดชาวเหยาจู๋ที่ต้าเหยาซาน

ต้องยอมรับเลยครับว่า กว่างซี มีภูผา ป่าดิบ เยอะแยะมากมายจริง ๆ


หมู่บ้านของพี่น้องชาวเย้า ที่เหยาซาน

เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์(นกน้ำ)เป่ยหลุนเหอ (ปากน้ำเป่ยหลุน) อยู่ทางตอนใต้ของนครหนานหนิง ติดทะเลจีนใต้และติดชายแดนประเทศเวียตนาม บริเวณเมืองตงซิง(ของกว่างซี)


บริเวณนี้คือเป่ยหลุนเหอ เมืองตงซิง


สีชมพูคือเมืองตงซิง กว่างซี ด้านซ้ายสีม่วงอ่อนคือเหนือสุดของประเทศเวียตนาม


บริเวณนี้มีพะยูนด้วย


หลักเขตแดนโบราณจีน-เวียตนาม สมัยอาณาจักร "ต้าชิงกว๋อ" (ราชวงศ์ชิง-ราชวงศ์สุดท้่ายของจีน)

เป่ยหลุนเหอ นี้เป็นสวรรค์ของนักดูนกทะเล จริง ๆ

ภาพสวย ๆ ยังไม่หมดนะครับ กลับมาชมกันต่อ นะครับ


 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal