|
|
งามด้วยเครื่องแต่งกายแบบจีน...
เขียนโดย เฉินซิ่วเชง เมื่อ อังคาร, 25/05/2010 - 10:33.
งามด้วยเครื่องแต่งกายแบบจีน...
ภาพจากbbberry.net วัฒนธรรมการแต่งกายของชาวจีน ประวัติศาสตร์ของประเทศจีนมีมานานถึง 5 พันปี วัฒนธรรมเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของชาวจีนก็มีมายาวนานไม่แพ้กัน ซึ่งในระยะเวลา 5 พันปีมานั้น ชาวจีนได้รับอิทธิพลเครื่องแต่งกายจากชนกลุ่มน้อย เผ่าต่าง ๆ ในประเทศจีน รวมถึงวัฒนธรรมการแต่งกายเสื้อผ้าของชาวต่างชาติ ผสมผสานกันจนเป็นลักษณะพิเศษของการแต่งกายชาวจีนในยุคนั้น ๆ ซึ่งการแต่งกายของชาวจีนนั้นมีความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และดูเหมือนว่าจะมีการพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งเนื่องจากชนกลุ่มน้อยเผ่า ๆ ต่างในประเทศจีนมีอยู่ถึง 42 เปอร์เซนต์ ของประชากรจีนทั้งหมด ซึ่งเมืองที่มีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่เยอะที่สุดคือเมือง หวินหนาน จึงจำเป็นที่จะต้องแยกประเภทวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวจีนออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มวัฒนธรรมการแต่งกายแต่ละยุคสมัยของชาวจีน( 历代服饰 ) และกลุ่มการแต่งกายของชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ในประเทศจีน ( 民族服饰 ) ซึ่งมีอยู่ถึง 50 กว่า ชนเผ่า ชนกลุ่มน้อยเหล่านี้มักจะมีการแต่งกายที่มีลักษณะเอกลักษณ์และมักจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ในฉบับนี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงวัฒนธรรมการแต่งกายแต่ละยุคสมัยของชาวจีนโดยสังเขป สมัยฉิน (秦221-220 ปีก่อนคริสต์ศักราช) เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายสมัยฉินได้รับอิทธิพลจากแนวคิดอิ๋นหยาง(( 阴阳)ความสมดุลของ สรรพสิ่ง กฎแห่งความสมดุลของธรรมชาติ) เนื่องจากยุคสมัยฉินค่อนข้างจะสั้น ดั่งนั้นสีของเสื้อจะเป็นการผสมผสานระหว่างสีเสื้อผ้าที่ ฉินซีฮ่องเต้เป็นผู้กำหนดและสีเสื้อผ้าตามประเพณีจารีตของยุคจ้านกั๋วเสื้อผ้าผู้ชายสมัยฉินเป็นลักษณะเสื้อคลุมยาว ฉินซีฮ่องเต้ได้กำหนดให้ใช้สีดำเป็นหลักในการตัดเย็บสำหรับเสื้อผ้าพิธีการ โดยเชื่อว่าสีดำเป็นสีที่คู่ควรแก่การได้รับความเคารพ ข้าราชการยศระดับ 3 ขึ้นไปให้ใช้สีเขียวประกอบในการตัดเย็บ ประชาชนทั่วไปใช้สีขาว ประกอบในการตัดเย็บ เสื้อผ้าผู้หญิง ฉินซีฮ่องเต้ไม่ได้มีการกำหนดสีในการตัดเย็บเนื่องจากท่านชื่นชอบสีสันความสวยงามของเสื้อผ้าที่ นางสนมในวังสวมใส่ จึงเน้นเสื้อผ้าที่มีสีสันสวยหรู ฉูดฉาด
ภาพจากbbberry.net
เสื้อผ้าผู้หญิงสมัยฮั่น (汉202 ปีก่อนคริสตศักราช – ค.ศ. 8) เสื้อผ้าสมัยฮั่น จะประกอบด้วย เสื้อคลุมยาว(袍 )เสื้อลำลองแบบสั้น (襜褕) เสื้อนวมสั้น (襦) กระโปรง (ผู้หญิง) และ กางเกง (ผู้ชาย) ในยุคนี้ผ้าที่มีลักษณะการถักทอได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ดังนั้น คนที่มีเงินในสมัยนั้นจะสวมใส่เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าแพรต่วน ซึ่งมีความสวยงามมาก โดยทั่วไปผู้ชาย จะสวมเสื้อสั้น กางเกงขายาว และหากฐานะยากจน จะสวมเสื้อแขนสั้นที่ตัดเย็บด้วยผ้าหยาบ ในส่วนของผู้หญิงในสมัยฮั่นเสื้อผ้ามีตั้งแต่เป็นลักษณะเสื้อและกระโปรงต่อกัน (กี่เพ่า) และแยกเสื้อกระโปรงเป็น 2 ชิ้น กระโปรงจะมีลวดลายหลากหลายมาก กระโปรงที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในสมัยนั้น คือ “กระโปรงลายเทพสถิตย์ (留仙裙)” ระดับชั้นของข้าราชการในสมัยฮั่น จะมีหมวกและสายประดับยศ เป็นสัญลักษณ์ในการแบ่งชั้นของขุนนาง ซึ่งสมัยนั้น ตำแหน่งอัคร เสนาบดีเป็นขุนนางตำแหน่งสูงสุด ตำแหน่งสูงสุด เสื้อผ้าสมัยฮั่น สมัยเว่ยจิ้น หนานเป่ย (魏晋南北 ค.ศ.220- ค.ศ.589) สมัยเว่ยจิ้น หนานเป่ย หรือที่เรารู้จักกัน “สมัยสามก๊ก” ก็อยู่ในยุคนี้ สมัยเว่ยจิ้น หนานเป่ยจัดได้ว่าเป็นสมัยที่ศาสนาพุทธและลัทธิเต๋าเฟื่องฟู เครื่องแต่งกายชายหญิง ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ จนถึงประชาชนทั่วไป เสื้อผ้า จะมีลักษณะหลวมยาว และมีเข็มขัดคาด หากเป็นเสื้อผ้าผู้ชายจะมีการเปิดแผงหน้าอกเล็กน้อย ไหล่เสื้อลู่ลง แขนเสื้อกว้าง สวมใส่ดูสบาย (ทั้งนี้แล้วแต่มุมมองของผู้อ่าน เนื่องจากบางท่านก็เห็นว่าแลดูลุ่มล่าม) ในส่วนของเสื้อผ้าผู้หญิง เสื้อกี่เพ่าแลดูเป็นกระโปรงยาวลากพื้น แขนเสื้อกว้าง เข็มขัดจะคาดให้ดูเป็นชั้น ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสุภาพ และสง่างาม สมัยสุ่ย และสมัยถัง (隋唐 ค.ศ. 581-ค.ศ. 907) เสื้อผ้าของสมัยสุ่ยและสมัยถังมีรูปแบบเสื้อผ้าที่มีความใกล้เคียงกันสูง เสื้อผ้าต้นสมัยสุ่ยค่อนข้างจะเรียบง่าย เสื้อผ้ายังคงมีลักษณะกี่เพ่าหรือเสื้อคลุมยาว เมื่อกษัตริย์สุ่ยหยางขึ้นครองราชย์ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในสังคม ซึ่งส่งผลให้เสื้อผ้าในยุคสมัยดังกล่าวได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้สวยงามขึ้นเช่นกัน จิ๋นซีฮ่องเต้(秦始皇) ในสมัยถัง นับได้ว่ามีความเจริญทั้งในด้านวัฒนธรรมและเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ดังนั้นเสื้อผ้าในสมัยนี้จัดได้ว่ามีความสวยงามยิ่ง เสื้อผ้าพิธีการของสตรีชั้นสูงจะมีลักษณะเปิดหน้าอก คอเสื้อต่ำ แขนเสื้อยาวและใหญ่ สวมเสื้อกระโปรงที่ทำจากผ้านวม มีผ้าคลุมไหล่ สมัยนั้น เทคนิคสิ่งทอถือว่ามีความล้ำหน้าเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันก็ได้รับวัฒนธรรมแบบเสื้อผ้าจากต่างชาติเข้ามาผสมผสานเข้าไว้ด้วยกัน (เกาหลี ,ญี่ปุ่น) ดังนั้นสามารถกล่าวได้ว่าสมัยถังเป็นยุคที่เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายเฟื่องฟูเป็นอย่างมาก
สมัยซ่ง ( 宋 ค.ศ.960 ค.ศ.1279)แบบเสื้อผ้าสมัยซ่งยังคงได้รับอิทธิพลตกทอดมาจากสมัยถัง แต่เนื่องจากสมัยนั้นแนวความคิดปรัชญา(ของสำนักขงจื้อ) เฟื่องฟู พฤติกรรมของผู้คนส่วนใหญ่คล้อยตามแนวคำสอนของท่านขงจื้อ มีรสนิยมชื่นชมในความเป็นธรรมชาติ ส่งผลให้แบบเสื้อผ้าของผู้คนในสมัยซ่งไม่เน้นลวดลายสีฉูดฉาด เครื่องแต่งกายเสื้อผ้าของข้าราชการจะเป็นเสื้อคลุมยาว แขนเสื้อใหญ่ สวมหมวกประจำตำแหน่ง มีการแบ่งสีเสื้อผ้าเพื่อบ่งบอกยศตำแหน่ง ในส่วนของเสื้อผ้าสตรี เป็นลักษณะเสื้อคลุมตัวใหญ่และยาว ช่วงคอตรง ผ้าในส่วนรักแร้ทั้งสองข้างตัดแยกออกจากกัน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “เสื้อกั๊กสมัยซ่ง” แบบเสื้อผ้านี้ได้รับความนิยมในหมู่นางสนมในวังและสตรีทั่วไปในสมัยนั้น
เสื้อกักสมัยซ่ง
สมัยเหวี่ยนเป็นสมัยที่มองโกลได้เค้ามายึดครองเมืองจีน แต่ทว่าวัฒนธรรมการแต่งกายยังคงได้รับอิทธิพลจากชาวฮั่นอยู่ ดังนั้นเครื่องแต่งกายในสมัยนี้จึงเป็นการผสมผสานระหว่างกลิ่นอายมองโกลและฮั่น เสื้อผ้าชายหญิงในสมัยเหวี่ยนไม่ได้มีความแตกต่างกันเท่าไหร่นัก ยังคงเป็นลักษณะกี่เพ่าหรือชุดคลุมยาว มีเทคนิคการทอโดยการ ใช้วัตถุดิบผ้าทอง และขนสัตว์ ในการทอเสื้อผ้า เพื่อเป็นการแบ่งระหว่างการตัดเย็บแบบมองโกล และการตัดเย็บแบบฮั่น ชาวมองโกล จะมีเอกลักษณ์เครื่องแต่งกายที่นอกเหนือจากกี่เพ่ายาวแล้ว ยังนิยมสวมหมวก “กูกู” (姑姑冠) เสื้อตรงหน้าอก เบ้ไปทางซ้าย ยาวและ ลึก สวมกระโปรงยาวทับ รองเท้าบูธหนังนิ่ม หากเป็ นเสื้อผ้าสตรีชาวฮั่นโดยทั่วไปแล้วยังคงสืบทอดการแต่งกายสมัยซ่งอยู่ เสื้อตรง หน้าอก เบ้ไปทางขวา มีผ้าคลุมไหล่ สวมกระโปรงจับจีบ สวมรองเท้าเรียบติดพื้น ผ้าสตรีสมัยเอวี่ยน สมัยหมิง (明ค.ศ.1368 - ค.ศ.1645) ในสมัยหมิงหรือสมัยแมนจูได้ให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูวัฒนธรรมของชาวฮั่น ดังนั้นเครื่องแต่ง กายจะมีกลิ่นอายการผสมผสานระหว่างสมัยฮั่น ถังและซ่ง เสื้อผ้าชายจะเน้นเสื้อคลุมยาว เป็นหลัก ข้าราชการจะเน้นสวมใส่ชุด “ปู่ ฝู” (补服)สวมหมวกผ้าแพรบาง(乌纱帽) สวมเสื้อคอกลม ลายผ้าตรงกลางเสื้อคลุมยาวบ่งบอกถึงยศตำแหน่งทางราชการ สมัยนั้น ผู้ชายทั่วไปยังนิยมสวมหมวกผ้าแบบสีเหลี่ยมอีกด้วย ในส่วนของชุดแต่งกายสตรี สวมเสื้อกันหนาวที่มีซับในแบบจีน (袄) พกผ้าคลุม ที่มีไว้พาดไหล่สีแดง(霞披) หรือพัด และสวมกระโปรงเป็นต้น รูปแบบเสื้อผ้าส่วนใหญ่ เช่น เสื้อกั๊กยาว ยังคงลอกเลียนมาจากสมัยถังและซ่ง นางในสมัยหมิงนิยมสวมใส่เสื้อผ้าที่ดูน่าเลื่อมใส สวมเสื้อก๊กเป็นชุดนอก แขนเสื้อแลดูเข้ารูป กระโปรงจีบข้างในสวมกางเกงขายาว ในสมัยหมิงหญิงสาวเริ่มนิยมพันเท้าให้เล็กหรือเรียก กันว่า “เท้ากลีบดอกบัว”
เครื่องแต่งกายชาย สวมหมวกผ้าทรงสี่เหลี่ยม เสื้อกั๊กและเสื้อผ้าสตรี สมัยชิง ( 清ค.ศ.1644 - ค.ศ.1911 ) เครื่องแบบสมัยชิงยังคงได้รับการตกทอดมาจากสมัยหมิง ในขณะเดียวกันก็รับเอาจุดเด่นของ แบบเสื้อสมัยฮั่นเข้ามาประยุกต์ด้วย เสื้อผ้าผู้ชายยังคงเน้นเสื้อคลุมยาว เสื้อแจ๊คเก็ตแบบจีน (马褂) เสื้อชั้นในแบบยืดลักษณะเป็นเสื้อ กล้าม (马甲) โกนศรีษะออกครึ่งนึง อีกครึ่งทักเปียยาว เสื้อแจ๊คเก็ตแบบจีนจะสวมทับไว้ด้านนอกของชุดเสื้อคลุมที่หลวมยาว ชุด ลักษณะดังกล่าวจัดได้ว่าเป็นชุดพิธีการ ชุดแต่งกายที่เป็นเสื้อและกระโปรงของผู้หญิงสมัยนั้นเป็นลักษณะผสมผสานระหว่างชาวฮั่นกับ ชาวแมนจู โดยเฉพาะกี่เพ่าเป็นลักษณะของชาวแมนจูอย่างเห็นได้ชัด นอกเหนือจากนี้ยังมีเสื้อกั๊ก กระโปรง ผ้าคลุมไหล่ สายรัดเอว เครื่องแต่งกายต่าง ๆ เรียกได้ว่าถอดมาจากสมัยหมิงหรือแมนจูเลยก็ว่าได้ ประเพณีการรัดเท้ายังคงสืบทอดมาถึงสมัยชิง
เครื่องแต่งกายบุรุษและสตรีสมัยชิง สมัยปฏิวัติซินไฮ่ (近代ค.ศ.1911-ค.ศ.1949) ในยุคสมัยปฎิวัติซินไฮ่ หรือยุคปฏิวัติราชวงศ์ชิง เครื่องแต่งกายของชาวจีนนับวันยิ่งเกิด การเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมการแต่งกายแบบชาวตะวันตกเริ่มเข้ามา ทำให้ไม่ว่าจะเป็นชุดเสื้อคลุมยาวหลวมของ ผู้ชาย กี่เพ่าผู้หญิง เสื้อกั๊ก กางเกงและกระโปรง ล้วนถูกดัดแปลงผสมผสานระหว่างแบบเสื้อตะวันตกและแบบเสื้อจีน อีกทั้งในยุคดัง กล่าวยังได้ถือกำเนิดแบบเสื้อใหม่ในยุคนั้น คือ ชุดฟรอม์จงซาน ชุด ฟรอม์นักเรียนนักศึกษา ซึ่งได้รับความนิยมกันอย่างกว้างขวาง
ปัจจุบัน แม้วัฒนธรรมการแต่งกายของชาวจีน จะไม่สามารถคงความเป็นรูปแบบ เอกลักษณ์เครื่องแต่งกายประจำชาติได้อย่างประเทศใน แถบอินเดีย เนื่องจากได้รับเอาค่านิยมแบบเสื้อผ้าจากชาวตะวันตกมาเป็นส่วนใหญ่ แต่เราก็ยังคงได้พบเห็นแบบแฟชั่นที่บ่งบอกความ เป็นเอกลักษณ์ของชาวจีน เช่น ปกเสื้อคอจีน กี่เพ่า เป็นต้น ซึ่งยังเป็นที่นิยม คงความสวยงามและเป็นแบบเสื้อที่ไม่มีวันตาย ** ถังจวง (เสื้อคอจีน)เสื้อคอจีนมีชื่อเรียกในภาษาจีนว่า "ถังจวง" ที่จริงแล้วชื่อเรียกนี้เป็นชื่อที่เริ่มเรียกโดยชาวต่างชาติ เนื่องจากราชวงศ์ถังของจีนเป็นยุคสมัยที่เจริญรุ่งเรืองจนมีชื่อเสียงขจรไปไกลถึงต่างแดน ดังนั้นในสมัยต่อๆ มาชาวต่างชาติจึงเรียกคนจีนว่า "ถังเหริน" หรือคนถัง ย่านที่พักอาศัยของชาวจีนหรือไชน่าทาวน์ในประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอาเซียนและในยุโรปก็เรียกว่า "ถังเหรินเจีย" หรือถนนของคนถัง และชาวจีนโพ้นทะเลเองก็เรียกตัวเองว่า "ถังเหริน" เช่นกัน ที่เรียกกันเช่นนี้ก็เป็นเพราะราชวงศ์ถัง เป็นราชวงศ์ที่ชาวจีนภาคภูมิใจมาตั้งแต่สมัยโบราณนั่นเอง ต่อมาจึงมีการเรียกเสื้อผ้าแบบโบราณของจีนที่คนถังในย่านถังเหรินเจียสวมใส่ว่า "ถังจวง" หรือชุดถัง ซึ่งที่จริงแล้วถังจวงไม่ใช่ชุดในสมัยราชวงศ์ถังแต่อย่างใด แต่เป็นชุดของสมัยราชวงศ์ชิงตอนปลาย ถังจวงหรือเสื้อคอจีนดัดแปลงมาจากเสื้อนอกของชาย ในสมัยปลายราชวงศ์ชิง แบบเสื้อถังจวงมีลักษณะเด่น 4 ประการคือ 1. คอเสื้อตั้ง โดยเปิดคอเสื้อด้านหน้าตรงกลางไว้ 2. แขนเสื้อและตัวเสื้อเป็นผ้าชิ้นเดียวกัน จึงไม่มีรอยตะเข็บต่อระหว่างแขนเสื้อและตัวเสื้อ 3. สาบเสื้อเป็นแนวตรงหรือแนวเฉียง 4. กระดุมเสื้อเป็นกระดุมแบบจีนซึ่งประกอบด้วยเม็ดกระดุมที่ใช้ผ้าถักเป็นปมและห่วงรังดุม นอกจากนี้ยังมีลักษณะเฉพาะอื่นๆ เช่น ผ้าที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นผ้าแพรปักลายหรือผ้าต่วน สีเสื้อมีให้เลือกหลากหลาย โดยมากจะมีสีแดงสด สีแดงคล้ำ สีแดงน้ำตาล สีน้ำเงินไพลินและสีกาแฟเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีสีเหลืองสว่าง สีเหลืองทอง สีเขียวมรกต สีดำและสีทองด้วย ฉีผาว (ชุดกี่เพ้า) ฉีผาวหรือกี่เพ้าเป็นชุดที่ดัดแปลงมาจากชุดของหญิงชาวแปดกองธงในสมัยราชวงศ์ชิง กี่เพ้าเป็นเครื่องแต่งกายที่เกิดจากการหลอมรวมเป็นหนึ่งของชนชาติต่างๆ ของจีนและถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวจีน กี่เพ้าเป็นงานตัดเย็บที่รวมเอาศิลปะหลายแขนงไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นหัตถกรรมการปักลวดลาย ภาพดอกไม้และนกหรือภาพอื่นๆ ซึ่งล้วนสะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของจีน หากดูตามความหมายของตัวอักษรจีน ฉีผาวหรือกี่เพ้านั้นโดยมากมักหมายถึงชุดเสื้อคลุมยาว เมื่อผ่านวิวัฒนาการมาหลายยุคหลายสมัยจนมาถึงสมัยราชวงศ์ชิง จึงได้มีการตีความหมายจากตัวอักษรคำว่าฉีผาวว่า หมายถึงชุดเสื้อคลุมยาวที่ชาวกองธงทั้งชายและหญิงสวมใส่ ("ฉี" แปลว่า ธง "ผาว" แปลว่า ชุดเสื้อคลุมยาว) แต่ชุดกี่เพ้าในยุคต่อมานั้นพัฒนามาจากชุดเสื้อคลุมยาวที่หญิงชาวแปดกองธงสวมใส่ ต่อมาหญิงชาวฮั่นได้แต่งตัวเลียนแบบหญิงชาวแมนจู ในทางกลับกันหญิงชาวแมนจูและหญิงชาวมองโกลก็แต่งตัวเลียนแบบ หญิงชาวฮั่นเช่นกัน การเลียนแบบกันไปมาทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างการแต่งกาย ของหญิงชาวแมนจูและหญิงชาวฮั่น การแต่งกายของหญิงสองชนชาติจึงคล้ายคลึงกันมากขึ้นตามลำดับ จากนั้นจึงค่อยๆ พัฒนาเป็นกลายชุดกี่เพ้ายุคแรกที่เป็นที่นิยมทั่วประเทศจีน ต่อมาเมื่อเครื่องแต่งกายแบบตะวันตกแพร่หลายเข้ามาในประเทศจีน ก็ได้มีการดัดแปลงชุดกี่เพ้าให้เข้ากับ ลักษณะเด่นของชุดแบบตะวันตกกลายเป็นชุดกี่เพ้าแบบใหม่ ที่เรียบง่ายและแพร่หลายสู่คนทั่วไปมากขึ้น ชุดกี่เพ้าในปัจจุบันเป็นชุดที่ออกแบบไปตามแฟชั่นมากขึ้น แต่สีของชุดกี่เพ้าก็ยังคงเป็นสีแบบชุดกี่เพ้าโบราณ เช่น ชุดกี่เพ้าที่ใช้สีแดงสด สีเขียวสดและสีฟ้าสดตัดกับสีแดงและสีดำ นอกจากนี้ยังมีการนำผ้าหลายชนิดมาใช้ในการตัดเย็บและมีรูปแบบหลากหลายให้เลือก ไม่ว่าจะเป็นชุดกี่เพ้าสั้น ชุดกี่เพ้ายาว หรือชุดกี่เพ้าที่ออกแบบตามฤดูกาลทั้งสี่ ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว จากhttp://thai.cri.cn/learnchinese/lesson16/6.html ชมภาพการแต่งกายของสาวงามจีน
เชิญคลิกเข้าฟังได้ ที่นี่ www.oknation.net/
ภาพจาก: www.thaichinese.net/.../ ขอบคุณ : จิรวรรณ จิรันธร : http://atcloud.com/stories/60382 : ภาพจาก .oknation.net/blog/jui880/200.../entry-1 ฉีผาวหรือกี่เพ้าเป็นชุดที่ดัดแปลงมาจากชุดของหญิงชาวแปดกองธงในสมัยราชวงศ์ชิง กี่เพ้าเป็นเครื่องแต่งกายที่เกิดจากการหลอมรวมเป็นหนึ่งของชนชาติต่างๆ ของจีนและถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมการแต่งกายของชาวจีน กี่เพ้าเป็นงานตัดเย็บที่รวมเอาศิลปะหลายแขนงไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นหัตถกรรมการปักลวดลาย ภาพดอกไม้และนกหรือภาพอื่นๆ ซึ่งล้วนสะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของจีน หากดูตามความหมายของตัวอักษรจีน ฉีผาวหรือกี่เพ้านั้นโดยมากมักหมายถึงชุดเสื้อคลุมยาว เมื่อผ่านวิวัฒนาการมาหลายยุคหลายสมัยจนมาถึงสมัยราชวงศ์ชิง จึงได้มีการตีความหมายจากตัวอักษรคำว่าฉีผาวว่าหมายถึงชุดเสื้อคลุมยาวที่ชาวกองธงทั้งชายและหญิงสวมใส่ ("ฉี" แปลว่า ธง "ผาว" แปลว่า ชุดเสื้อคลุมยาว) แต่ชุดกี่เพ้าในยุคต่อมานั้นพัฒนามาจากชุดเสื้อคลุมยาวที่หญิงชาวแปดกองธงสวมใส่ ต่อมาหญิงชาวฮั่นได้แต่งตัวเลียนแบบหญิงชาวแมนจู ในทางกลับกันหญิงชาวแมนจูและหญิงชาวมองโกลก็แต่งตัวเลียนแบบหญิงชาวฮั่นเช่นกัน การเลียนแบบกันไปมาทำให้เกิดการผสมผสานระหว่างการแต่งกายของหญิงชาวแมนจูและหญิงชาวฮั่น การแต่งกายของหญิงสองชนชาติจึงคล้ายคลึงกันมากขึ้นตามลำดับ จากนั้นจึงค่อยๆ พัฒนาเป็นกลายชุดกี่เพ้ายุคแรกที่เป็นที่นิยมทั่วประเทศจีน ต่อมาเมื่อเครื่องแต่งกายแบบตะวันตกแพร่หลายเข้ามาในประเทศจีน ก็ได้มีการดัดแปลงชุดกี่เพ้าให้เข้ากับลักษณะเด่นของชุดแบบตะวันตกกลายเป็นชุดกี่เพ้าแบบใหม่ที่เรียบง่ายและแพร่หลายสู่คนทั่วไปมากขึ้น ชุดกี่เพ้าในปัจจุบันเป็นชุดที่ออกแบบไปตามแฟชั่นมากขึ้น แต่สีของชุดกี่เพ้าก็ยังคงเป็นสีแบบชุดกี่เพ้าโบราณ เช่น ชุดกี่เพ้าที่ใช้สีแดงสด สีเขียวสดและสีฟ้าสดตัดกับสีแดงและสีดำ นอกจากนี้ยังมีการนำผ้าหลายชนิดมาใช้ในการตัดเย็บและมีรูปแบบหลากหลายให้เลือก ไม่ว่าจะเป็นชุดกี่เพ้าสั้น ชุดกี่เพ้ายาว หรือชุดกี่เพ้าที่ออกแบบตามฤดูกาลทั้งสี่ ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว
เรื่องราวของผ้าไหมจีน เล่ากันว่า วิธีเลี้ยงไหมของจีนเป็นความรู้ที่นางลั่วจู่ สนมของจักรพรรดิหวงตี้ เป็นผู้สอนประชาชนจีนเมื่อกว่าห้าพันปีก่อน สะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนจีนรู้เทคนิคการปลูกหม่อม เลี้ยงไหม และทอผ้าไหมตั้งแต่สมัยโบราณ หลังจากที่จางเชียนในสมัยฮั่นตะวัน ตกได้บุกเบิกเส้นทางไปถึงตะวันตกแล้ว ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของจีนก็ได้แพร่หลายไปถึงยุโรป ชาวยุโรปเห็นผ้าไหมที่นุมนวลและ หลากหลายสีสัน เลยถือเป็นของล้ำค่และแย่งกันซื้อ เล่ากันว่า จักรพรรดิซีซาร์ของโรมก็เคย ฉลองพระองค์ที่ทำด้วยผ้าไหมจีนไปชม ละคร ได้รับความสนใจจากประชาชนทั้งโรงละคร โคลัมบัสเคยกล่าวกับกะลาสีเรือว่า ระหว่างการเดินทาง ถ้าใครได้พบแผ่นดินใหญ่เป็นคนแรก ก็จะได้รางวัลเป็นเสื้อผ้าไหม ราคาของผ้าไหมขณะนั้นแพงเหมือน ทอง ขณะนั้น อาณาจักรโรมันต้องประสบปัญหาขาดดุลการคลัง เนื่องจากจ่ายค่านำเข้าผ้าไหมที่แสนแพง ด้วยเหตุนี้ พฤฒิสภา จึงลงมติห้ามจำหน่ายและสวมเสื้อผ้า ไหมจีน แต่ก็ต้องประสบกับการคัดค้านอย่างรุนแรงจากชนชั้นสูงทั้งหลายที่นิยมผ้าไหม จีน สุดท้าย อาณาจักรโรมันต้องยกเลิกข้อห้ามนี้ไปในที่สุด ตอนแรกชาวยุโรปไม่ทราบว่าผ้าไหมจีน มากจากการเลี้ยงตัวไหมและทักทอเป็นผ้าไหม พวกเขานึกว่า ไหมสกัดจากต้นไม้ แล้ว แช่น้ำเย็นจนกลายเป็นเส้่นไหม พอทราบว่าผ้าไหมทำด้วยเส้นไหมที่มาจากการเลี้ยงตัวไหม พวกเขาตัดสินใจหาทุกวิถีทางที่จะ เรียนรู้วิธีเลี้ยงตัวไหมของจีน มีหลายตำนานที่กล่าวขานถึงวิธีการเลี้ยงไหมของจีนแพร่ไปยังตะวันตกได้อย่าง ไร จากบันทึกที่ พระเสวียนจ้าง เขียนไว้ในบันทึกการเดินทางไปตะวันตกสมัยราชวงศ์ถัง ระบุว่า ทางตะวันตกมีแคว้นเล็กชื่อโคสตนะ ซึ่งอยาก เรียนรู้วิธีการเลี้ยงตัวไหม ก็เลยขอความช่วยเหลือจากประเทศตะวันออก แต่ประเทศตะวันออกขณะนั้นปฏิเสธที่จะสอนให้ และ ตรวจตราตามด่านอย่างเข้มงวดเพื่อ ป้องกันไม่ให้ไข่ตัวไหม และเมล็ดต้นหม่อมแพร่หลายไปยังต่างประเทศ ตามการศึกษาค้น คว้าของนักวิชาการประเทศตะวันออก ในที่นี้น่าจะเป็นราชวงศ์เป่ยเว่ยในสมัยนั้น กษัตริย์แคว้นโคสตนะเห็นว่าการ ขอความช่วย เหลือไม่เป็นผล ก็เลยคิดหาวิธีอื่น พระองค์ทรงของอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงประเทศตะวันออก โดยถือการส่งเสริมสัมพันธไมตรี เป็นข้ออ้าง และได้รับอนุญาตจากประเทศตะวันออก ก่อนจะอภิเษกสมรส กษัตริย์โคสตนะส่งทูตพิเศษไปลอบทูลเจ้าหญิงขอให้ เจ้าหญิงทรงพยายามนำไข่ตัวไหมและ เมล็ดต้นหม่อนออกไปด้วย เจ้าหญิงทรงยอมรับการร้องขอ ก่อนจะเดินทางเจ้าหญิงทรง ลอบเก็บไข่ตัวไหมและเมล็ดต้นหม่อม ไว้ในพระมาลา เวลาออกจากด่าน เจ้าหน้าที่ตรวจค้นเสื้อผ้าและกระเป๋าทั้งหมด เพียงแต่ ไม่กล้าตรวจค้นพระมาลาบนเศียรของ เจ้าหญิง ด้วยเหตุนี้ ไข่ตัวไหมและเมล็ดต้นหม่อมจึงถูกนำไปยังแคว้นโคสตนะและแพร่ หลายต่อไปยังตะวันตก การบันทึกที่ล้ำค่าของพระเสวียนจ้าง ได้รับ การพิสูจน์ยืนยันว่า เป็นจริงจากภาพพิมพ์สมัยโบราณที่พบ ในซินเกียงโดยนายสแตนลี่ ชาว ฮังการี สัญชาติอังกฤษ ผู้เป็นนักผจญภัย ตรงกลางของภาพ พิมพ์มีรูปสตรีที่ใส่อาภรณ์หรูหรา และใส่หมวก มีผู้รับใช้ทั้งซ้าย และขวา ผู้รับใช้ที่อยูซ้ายมือชี้ไปยังหมวกที่สตรีผู้นั้นใส่ สตรีผู้นี้คือเจ้าหญิงของประเทศตะวันออกที่นำไข่ตัวไหมและเมล็ดต้น หม่อนไปยังตะวันตกนั้นเอง นี่คือตำนานที่เล่าขานกันมา สำหรับท่านผู้ฟังที่ชื่นชอบผ้าไหมจีน เมื่อมาถึงกรุงปักกิ่งก็มักจะพากัน ซื้อหาผ้าไหมที่ตลาดซิ่วสุ่ย ตลาดนี้มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันของผู้คนทั่วโลก จากเดิมที่เป็นตลาดกลางแจ้ง อยู่ในซอยแคบ ๆ ที่ยาว 500 เมตร รองรับ ลูกค้าวันละ 20,000 – 30,000 ราย และ 70 เปอร์เซ็นต์เป็นชาวต่างชาติ ปัจจุบันย้ายมาอยู่ในอาคารที่ทันสมัย มีร้านค้ากว่า 1,500 บูธ นอกจากผ้าไหมแล้วยังมีสินค้าพื้นเมืองอื่น ๆ ที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมจีนให้เลือกอีกมากมาย แต่อย่างว่าต้อง ต่อรองราคากันหน่อย นัยว่าต่อได้ครึ่งต่อครึ่งทีเดียว เพลินกับผ้าไหมจีนที่นุ่มนวล หลากหลายสีสัน กันที่ตลาดซิ่วสุ่ยค่ะ โดย http://thai.cri.cn/1/2009/07/27/21s154527.htm ว่าด้วยเครื่องแต่งกายชาย
ภาพจากhttp://www.tcbl-thai.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538819979 ถังจวง (เสื้อคอจีน) เสื้อคอจีนมีชื่อเรียกในภาษาจีนว่า "ถังจวง" ที่จริงแล้วชื่อเรียกนี้เป็นชื่อที่เริ่มเรียกโดยชาวต่างชาติ เนื่องจากราชวงศ์ถังของจีนเป็นยุคสมัยที่เจริญรุ่งเรืองจนมีชื่อเสียงขจรไปไกลถึงต่างแดน ดังนั้นในสมัยต่อๆ มาชาวต่างชาติจึงเรียกคนจีนว่า "ถังเหริน" หรือคนถัง ย่านที่พักอาศัยของชาวจีนหรือไชน่าทาวน์ในประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอาเซียนและในยุโรปก็เรียกว่า "ถังเหรินเจีย" หรือถนนของคนถัง และชาวจีนโพ้นทะเลเองก็เรียกตัวเองว่า "ถังเหริน" เช่นกัน ที่เรียกกันเช่นนี้ก็เป็นเพราะราชวงศ์ถังเป็นราชวงศ์ที่ชาวจีนภาคภูมิใจมาตั้งแต่สมัยโบราณนั่นเอง ต่อมาจึงมีการเรียกเสื้อผ้าแบบโบราณของจีนที่คนถังในย่านถังเหรินเจียสวมใส่ว่า "ถังจวง" หรือชุดถัง ซึ่งที่จริงแล้วถังจวงไม่ใช่ชุดในสมัยราชวงศ์ถังแต่อย่างใด แต่เป็นชุดของสมัยราชวงศ์ชิงตอนปลาย ถังจวงหรือเสื้อคอจีนดัดแปลงมาจากเสื้อนอกของชายในสมัยปลายราชวงศ์ชิง แบบเสื้อถังจวงมีลักษณะเด่น 4 ประการคือ 1. คอเสื้อตั้ง โดยเปิดคอเสื้อด้านหน้าตรงกลางไว้ 2. แขนเสื้อและตัวเสื้อเป็นผ้าชิ้นเดียวกัน จึงไม่มีรอยตะเข็บต่อระหว่างแขนเสื้อและตัวเสื้อ 3. สาบเสื้อเป็นแนวตรงหรือแนวเฉียง 4. กระดุมเสื้อเป็นกระดุมแบบจีนซึ่งประกอบด้วยเม็ดกระดุมที่ใช้ผ้าถักเป็นปมและห่วงรังดุม นอกจากนี้ยังมีลักษณะเฉพาะอื่นๆ เช่น ผ้าที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นผ้าแพรปักลายหรือผ้าต่วน สีเสื้อมีให้เลือกหลากหลาย โดยมากจะมีสีแดงสด สีแดงคล้ำ สีแดงน้ำตาล สีน้ำเงินไพลินและสีกาแฟเป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีสีเหลืองสว่าง สีเหลืองทอง สีเขียวมรกต สีดำและสีทองด้วย
ประเทศจีนไม่ได้กำหนดชุดประจำชาติไว้ อาจเนื่องมาจากเขามีชุดหลากหลายมาก ทั้งจากกาลเวลาที่ทำให้วิวัฒนาการของรูปแบบเสื้อผ้ามาไกล และจากความจริงที่ว่าเขามีหลายเชื้อชาติและแต่ละเชื้อชาติก็มีเอกลักษณ์ของตนเอง จริงๆแล้วชุดดั้งเดิมของจีนนั้นคือฮั่่นฝู แปลตรงตัวว่า เสื้อผ้าของชาวฮั่นนั่นเอง มีลักษณะเหมือนน้องชุดแดงในรูป เป็นต้นแบบของชุดฮันบกเกาหลี และกิโมโนญี่ปุ่น พบเห็นได้ทั่วไปตามหนังจีนกำลังภายในทั้งหลาย
ต่อมาเมืองจีนถูกปกครองโดยชาวแมนจู และพวกนี้บังคับไม่ให้ชาวฮั่นใส่ชุดฮั่นฝูอีกต่อไป แต่ให้หันมาใส่ชุดประจำชาติของแมนจูแทน ซึ่งก็คือกี่เพ้านั่นเอง มีลักษณะแบบน้องชุดสีฟ้า เป็นชุดจีนที่เราคุ้นกัน ถังจ้วงแบบนายแบบชุดสีทองพัฒนามาจากชุดแมนจูเพื่อให้ดูเป็นสากลมากขึ้น
ส่วนชุดเหมา หรือจงซาน แสดงแบบโดยท่านเหมานั้น ถูกออกแบบมาเพื่อประโยชน์ใช้สอยโดยแท้ มีที่เก็บของมากมาย ใส่แล้วทะมัดทะแมง เคลื่อนไหวสะดวก และดูเป็นสากล สาวสวย (ชุดจีนโบราณ)จากบันทึก...ของคุณยับสินฝ่า... ขอบคุณมาก...จะนำของทุกท่านมาไว้ณ.ที่นี้ เพื่อการรวบรวมข้อมูลที่หลากหลายจากทุกท่าน..ด้วยความยินดี...เป็นอย่างยิ่ง ขออนุญาตแก้ไขนะครับ ไม่ใช่เพิ่มเติม เพื่อความถูกต้องครับ ในบทความที่อาเจ๋ เขียนมานั้น ตอนต้นบทความ บอกว่า เมืองที่มีชนกลุ่มน้อยมากที่สุด คือเมือง หวินหนาน ซึ่งผิด เข้าใจว่า เกิดจากการที่เจ้าของบทความถอดเสียงผิด ที่ถูกต้องจะต้องเป็น หยุนหนาน ครับ ซึ่งเป็นมณฑล ครับ ไม่ใช่เมือง หยุนหนานเป็นมณฑลที่มีชนชาติส่วนน้อยมากที่สุดในประเทศจีน คือมีทั้งหมด 27 ชนชาติ ครับ แต่ละชนชาติก็มีแตกออกไปอีกหลายเผ่า นะครับ ชนชาติที่มากที่สุดในหยุนหนาน คือ ชนชาติ หยี ซึ่งก็แตกออกไปอีกมากมายหลายเผ่าครับ ที่เขานับกันนั้น นับที่ชนชาติหลักเท่านั้นครับ (เช่นชาติไต-ญาติของเราในหยุนหนาน ยังมีไตลื้อ ไตโหลง ไตหย่า ไตเอวลาย ไตเหนอ-เหนือ) ส่วนชนชาติส่วนน้อยทั้งหมดในประเทศจีน มีอยู่ทั้งหมด รวมชนชาติฮั่น ซึ่งก็คือชาวจีน ทั้งหมดรวม 56 ชนชาติครับ โดย เป็นชนชาติฮั่น อยู่ 92 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรทั้งประเทศครับ ที่เหลือเป็นชนชาติส่วนน้อยอีก 55 ชนชาติ (นี่นับเฉพาะชนชาติหลักนะครับไม่นับเผ่าต่าง ๆ ที่แยกย่อยออกไปอีก) ชนชาติส่วนน้อยที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในประเทศจีนคือ ชนชาติจ้วง-ญาติห่าง ๆ ของคนไทยเราเองครับ ชนชาติจ้วงอยู่ในกว่างซี จึงเป็นเขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงแห่งกว่างซี ครับ ส่วนในตอนท้าย ๆ ของบทความ ที่บอกว่า สมัยหมิง ซึ่งก็คือ แมนจู นั้น ผิดครับ หมิง เป็นราชวงศ์ ที่ปกครองจีนก่อนแมนจู โดยปฐมกษัตริย์ เป็นชาวฮั่น หน้าตาอัปลักษณ์ลูกชาวนาที่ขับไล่ราชวงศ์หยวน หรือ มองโกลออกไปได้ มีชื่อสามัญว่า จูหยวนจาง ครับ ราชวงศ์หมิง ซึ่งแปลว่า สว่าง จึงเป็นราชวงศ์ของคนแซ่ จู ครับ ส่วนราชวงศ์สุดท้าย คือราชวงศ์ชิง ซึ่งแปลว่า บริสุทธิ์-สดใส เป็นราชวงศ์ของชาวแมนจูครับ ปกครองจีนอยู่ 228 ปี อ้อ? ราชวงศ์หมิง มีอายุ 400 กว่าปี ครับ ร่วมสมัยกับอาณาจักรอยุธยาของเราครับ ราชวงศ์ชิง เป็นชาวกลุ่มน้อยแมนจู ที่ข้ามด่านเข้ามายึดปักกกิ่งไว้ได้ โดยปฐมกษัตริย์ชื่อ รัชกาลว่า ซุ่นจื้อ สืบเชื้อสายมาจากหัวหน้าเผ่าที่ชื่อว่า นู่เอ๋อร์ฮาชี่ ถือว่าเป็นต้นตระกูลของราชวงศ์ชิง ครับ พวกชิง มีแซ่ในภาษาแมนจูว่า ไอ้ชินเจียวหรอ ครับ ส่วนซูสีไทเฮา หรือ ฉือซีไท่โฮ่ว หมายถึงไทเฮาตะวันตก มีแซ่เดิมว่า เย่เหอนาลา ครับ เป็นภาษาแมนจู ถอดเสียงออกมาเป็นภาษาจีนกลางครับ เครื่องแต่งกายสตรีจีน สมัยที่งดงามแปลกตา ไหงเห็นเป็นการส่วนตัวว่า สมัย ถัง เป็นสมัยที่เครื่องแต่งกาย สวยงามมาก สตรีจีนในสมัยถัง นิยมประเภทเป็นสตรีที่ต้อง เจ้าเนื้อนิด ๆ นะครับ นึกออกไหมครับ คือ ขาว ๆ อวบ ๆ นะครับ นี้เรื่องจริงนะครับ มีภาพยนต์จีนเรื่องหนึ่ง ในสมัยถัง เรื่อง อู๋เจ๋อเทียน หรือ บูเช็คเทียน ฮ่องเต้สตรีองค์เดียวในประวัติศาสตร์จีน เห็นข่าวบอกว่า นักแสดงหญิงที่จะแสดงเป็น อู๋เจ๋อเทียน ต้องกินไก่ วันละตัว เพื่อขุน ให้ตัวเองอวบ ขึ้น นะครับ ส่วนเครื่องแต่งกาย ของสตรีสมัยถัง จะออกแนวโป๊นิด ๆ ครับ ด้วยผ้าแพรที่โปร่งใส ถ้าเป็นช่วงเวลาค่ำคืนในวังที่ปลอดผู้ชาย ยกเว้นฮ่องเต้ เพียงองค์เดียว ทุกคนก็จะ "โนบรา" กันทั้งหมด นี้เรื่องจริงนะครับ ไม่ได้ล้อเล่น ส่วนเครื่องแต่งกายจีน ยุคที่ไหงเห็นว่า คลาสิคที่สุด ก็คือ เครื่องแต่งกายสตรีจีนในยุคปลายราชวงศ์ชิงและต้นยุคสาธารณรัฐ นั่นเองละครับ เป็นการปริวรรตเอาการแต่งกายแบบแมนจู มาผสมผสานกับแบบหมิง หรือ ซ่ง ออกมาเป็น เสื้อเอวลอย แขนกว้าง สีสันสดใส และ แบบฉีผาว (กี่เพ้า-กระโปรงยาว) คือแขนกุด ชุดแสกยาวถึงข้อเท้าผ่าข้างจนถึงต้นขาอ่อน สวยงามน่ารักมากครับ อย่างที่เห็นในรูปนั่นแหละ ในสมัยต้นสาธารณรัฐ การแต่งกายจีน ผสมกับตะวันตก งดงามคลาสสิค มากครับ เพิ่มเติมอีกนิดนะครับ-รูปภาพด้านบนสุดเป็นภาพของพระนางชูศรี หรือซูสีไทเฮา ซึ่งชอบถ่ายภาพมาก พระนางชูศรีนี่ตอนแรกเกลียดฝรั่งนะครับ พอในช่วงปลายของชีวิต กลับคบพวกมาดามฝรั่งในปักกิ่งซึ่งเชิญให้เข้า-ออก ในวังต้องห้ามบ่อย ๆ แล้วทรงรับเอาวิทยาการสมัยใหม่จากฝรั่งด้วยหนึ่งในนั้นก็คือการถ่ายภาพ มีทั้งภาพเดี่ยวอย่างที่เห็น และ ภาพหมู่ที่ถ่ายกับนางกำนัล ในภาพถ้ดมา มีอีกภาพหนึ่งน่าเสียดายที่ไม่ได้มาลง เป็นภาพที่พระนางแต่งกายเป็นพระแม่กวนอิมแล้วให้นางสนมกำนัลแต่งเป็นสาวก โดยมี มหาขันทีคู่พระทัยชื่อว่า "หลี่เหลียนอิง" แต่งเป็น สาวกฝ่ายชาย (เป็นภาพที่คนเหนือเราเรียกว่า "คึ" ขนาดนั่นเองครับ) ภาพฮ่องเต้ที่ใส่ชุดเหลืองนั้นที่ถัดจากภาพพระนางชูศรี ลงมา ก็คือ(น่าจะ)ภาพของปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ชิง คือ ฮ่องเต้ซุ่นจื้อ นั่นแหละครับ สมัยชิง มีฮ่องเต้ที่เก่งกาจและยิ่งใหญ่ คือ ซุ่นจื้อ หย่งเจิ้ง และ เฉียนหลง 3 องค์นี้แหละครับ(ในภาพนี้ ถ้าไม่เป็น ซุ่นจื้อ-ก็หย่งเจิ้ง-องค์ใดองค์หนึ่งแน่นอนครับ-แต่ไม่ใช่เฉียนหลงแน่ครับ) ภาพถัดลงมา ที่อยากจะเรียนให้ทุกท่านทราบ เป็นภาพใหญ่ ที่มีผู้ชายยืนอยู่ มีธงและอักษรจีนอยู่ข้างหลัง เป็น "เจิ้งเฉิงกง" นักเดินเรือสำเภารอบโลก ผู้ยิ่งใหญ่ของจีนนั่นเองครับ ที่หงีตั้งข้อสังเกตุว่า ในภาพยนต์จีนทั้งทีวีและภาพยนต์นั้น เขาใส่เสื้อผ้าสมัยไหนกัน -ขอเรียนว่า ผู้สร้างหนังจีน ทั้งต้าลู่ หรือ ฮ่องกงนั้น เขาจะละเอียดพิถีพิถันและรอบคอบในการเตรียมฉากเครื่องแต่งกายอย่างถูกต้องที่สุดครับ คือ ถ้าเป็นหนังในช่วงสมัยไหน ก็จะใช้เสื้อผ้าของสมัยนั้น อย่างถูกต้องตามแบบที่สุดครับ ส่วนหนังทีวีเบาสมอง ที่ฉายทางช่อง 3 เป็นนิยายทั่วไปไม่เน้นเรื่องประวัติศาสตร์ มักจะแต่งแบบ สมัยซ่ง ครับ หรือ แต่งแบบ ปริวรรต หรือ ดีไซน์ออกมาใหม่ ให้ดูร่วมสมัย สไตล์โมเดิร์น ไม่ค่อยซีเรียส อะไรทำนองนั้นน่ะครับ --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- มานชีนเฉาถ้อย ยุคทองของราชวงศ์ ชิง (แมนจู)
เขียนโดย อาคม
ช่วงต้นราชวงศ์ ชิง มีฮ่องเต้ที่ยิ่งใหญ่3องค์ คือ รูปที่ ยับซินฝ่า สงสัย ก็คือ ฮ่องเต้คังซี คังซี (ปู่) หย่งเจี้ง (ลูก) และ เฉียนหลง (หลาน) ปู่กับหลานแต่ละคนปกครองเกิน60ปี ถือเป็นยุคทองของราชวงศ์ ชิง ส่วน เจิ้งเหอ นักเดินเรือผู้ยิ่งใหญ่นั้น เกิดก่อน ฮ่องเต้คังซี 290 ปี ในราชวงศ์หมิง เจิ้งเหอ หรือที่เรียกว่า ซำปอกง ที่ผู้คนไหว้กันทั่วไป ก็งงอยู่เหมือนกันเพราะเจิ้งเหอ เป็นมุสลิม ได้เดินเรือลงมาทะเลใต้ จนถึงอัฟริกา บางคนก็ว่าไปถึงอเมริกา ก่อนโคลัมบัสหลายร้อยปี เจิ้งเหอเซี้ยซีหยาง 7 เที่ยว แน่นอนมาไทยด้วย
เจิ้งเหอ เกิดที่ จินหนิง เดิมเรียกว่า คูนหยาง ซึ่งอยู่ตรงปลายทะเลสาป เทียนอิน ทางทิศใต้ค่อนไปทางตะวันตก ของเมือง คูนหมิง ยูนนานไม่ใช่ ฟู่เจี้ยน
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แบบทรงผมจีนโบราณ This Column Intro
ผมของสตรีหมิ่นหนาน
เขียนโดย จ๊องหยิ่นฮยุ๋ง
จังหวัดเหมยโจว เขียนว่า 梅州市 (เหมยโจวซื่อ - จีนกลาง) ส่วน เกาะเหมยโจว เขียนว่า 湄洲岛 (เหมยโจวเต่า)
รวมภาพสตรีจีนกับทรงผมยุคต่างๆ
»
|
|
hakka@hakkapeople.com คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม | Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal |
"ภาพสตรีจีนที่งดงาม"(ขออนุญาตเพิ่มเติม)
ต้องขอขอบพระคุณ อั้นตอเซี้ย ซิ่วเชงเจ่เจ๋ มาก ๆ ที่มีภาพชุดการแต่กายของจีนสมัยต่าง ๆ โดยเฉพาะตอนท้าย ๆ มีแถมครับ มีแถม แถมภาพสาวจีนใส่ชุดฉีผาว(กี่เพ้า)สวยสวย ทั้งเสื้อผ้าและนางแบบ สวยงามน่ารักดี
ขออนุญาตแก้ไขนะครับ ไม่ใช่เพิ่มเติม เพื่อความถูกต้องครับ ในบทความที่อาเจ๋ เขียนมานั้น ตอนต้นบทความ บอกว่า เมืองที่มีชนกลุ่มน้อยมากที่สุด คือเมือง หวินหนาน ซึ่งผิด เข้าใจว่า เกิดจากการที่เจ้าของบทความถอดเสียงผิด ที่ถูกต้องจะต้องเป็น หยุนหนาน ครับ ซึ่งเป็นมณฑล ครับ ไม่ใช่เมือง หยุนหนานเป็นมณฑลที่มีชนชาติส่วนน้อยมากที่สุดในประเทศจีน คือมีทั้งหมด 27 ชนชาติ ครับ แต่ละชนชาติก็มีแตกออกไปอีกหลายเผ่า นะครับ ชนชาติที่มากที่สุดในหยุนหนาน คือ ชนชาติ หยี ซึ่งก็แตกออกไปอีกมากมายหลายเผ่าครับ ที่เขานับกันนั้น นับที่ชนชาติหลักเท่านั้นครับ (เช่นชาติไต-ญาติของเราในหยุนหนาน ยังมีไตลื้อ ไตโหลง ไตหย่า ไตเอวลาย ไตเหนอ-เหนือ)
ส่วนชนชาติส่วนน้อยทั้งหมดในประเทศจีน มีอยู่ทั้งหมด รวมชนชาติฮั่น ซึ่งก็คือชาวจีน ทั้งหมดรวม 56 ชนชาติครับ โดย เป็นชนชาติฮั่น อยู่ 92 เปอร์เซ็นต์ ของประชากรทั้งประเทศครับ ที่เหลือเป็นชนชาติส่วนน้อยอีก 55 ชนชาติ (นี่นับเฉพาะชนชาติหลักนะครับไม่นับเผ่าต่าง ๆ ที่แยกย่อยออกไปอีก) ชนชาติส่วนน้อยที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในประเทศจีนคือ ชนชาติจ้วง-ญาติห่าง ๆ ของคนไทยเราเองครับ ชนชาติจ้วงอยู่ในกว่างซี จึงเป็นเขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงแห่งกว่างซี ครับ
ส่วนในตอนท้าย ๆ ของบทความ ที่บอกว่า สมัยหมิง ซึ่งก็คือ แมนจู นั้น ผิดครับ หมิง เป็นราชวงศ์ ที่ปกครองจีนก่อนแมนจู โดยปฐมกษัตริย์ เป็นชาวฮั่น หน้าตาอัปลักษณ์ลูกชาวนาที่ขับไล่ราชวงศ์หยวน หรือ มองโกลออกไปได้ มีชื่อสามัญว่า จูหยวนจาง ครับ ราชวงศ์หมิง ซึ่งแปลว่า สว่าง จึงเป็นราชวงศ์ของคนแซ่ จู ครับ
ส่วนราชวงศ์สุดท้าย คือราชวงศ์ชิง ซึ่งแปลว่า บริสุทธิ์-สดใส เป็นราชวงศ์ของชาวแมนจูครับ ปกครองจีนอยู่ 228 ปี อ้อ? ราชวงศ์หมิง มีอายุ 400 กว่าปี ครับ ร่วมสมัยกับอาณาจักรอยุธยาของเราครับ ราชวงศ์ชิง เป็นชาวกลุ่มน้อยแมนจู ที่ข้ามด่านเข้ามายึดปักกกิ่งไว้ได้ โดยปฐมกษัตริย์ชื่อ รัชกาลว่า ซุ่นจื้อ สืบเชื้อสายมาจากหัวหน้าเผ่าที่ชื่อว่า นู่เอ๋อร์ฮาชี่ ถือว่าเป็นต้นตระกูลของราชวงศ์ชิง ครับ พวกชิง มีแซ่ในภาษาแมนจูว่า ไอ้ชินเจียวหรอ ครับ
ส่วนซูสีไทเฮา หรือ ฉือซีไท่โฮ่ว หมายถึงไทเฮาตะวันตก มีแซ่เดิมว่า เย่เหอนาลา ครับ เป็นภาษาแมนจู ถอดเสียงออกมาเป็นภาษาจีนกลางครับ
เครื่องแต่งกายสตรีจีน สมัยที่งดงามแปลกตา ไหงเห็นเป็นการส่วนตัวว่า สมัย ถัง เป็นสมัยที่เครื่องแต่งกาย สวยงามมาก สตรีจีนในสมัยถัง นิยมประเภทเป็นสตรีที่ต้อง เจ้าเนื้อนิด ๆ นะครับ นึกออกไหมครับ คือ ขาว ๆ อวบ ๆ นะครับ นี้เรื่องจริงนะครับ มีภาพยนต์จีนเรื่องหนึ่ง ในสมัยถัง เรื่อง อู๋เจ๋อเทียน หรือ บูเช็คเทียน ฮ่องเต้สตรีองค์เดียวในประวัติศาสตร์จีน เห็นข่าวบอกว่า นักแสดงหญิงที่จะแสดงเป็น อู๋เจ๋อเทียน ต้องกินไก่ วันละตัว เพื่อขุน ให้ตัวเองอวบ ขึ้น นะครับ ส่วนเครื่องแต่งกาย ของสตรีสมัยถัง จะออกแนวโป๊นิด ๆ ครับ ด้วยผ้าแพรที่โปร่งใส ถ้าเป็นช่วงเวลาค่ำคืนในวังที่ปลอดผู้ชาย ยกเว้นฮ่องเต้ เพียงองค์เดียว ทุกคนก็จะ "โนบรา" กันทั้งหมด นี้เรื่องจริงนะครับ ไม่ได้ล้อเล่น
ส่วนเครื่องแต่งกายจีน ยุคที่ไหงเห็นว่า คลาสิคที่สุด ก็คือ เครื่องแต่งกายสตรีจีนในยุคปลายราชวงศ์ชิงและต้นยุคสาธารณรัฐ นั่นเองละครับ เป็นการปริวรรตเอาการแต่งกายแบบแมนจู มาผสมผสานกับแบบหมิง หรือ ซ่ง ออกมาเป็น เสื้อเอวลอย แขนกว้าง สีสันสดใส และ แบบฉีผาว (กี่เพ้า-กระโปรงยาว) คือแขนกุด ชุดแสกยาวถึงข้อเท้าผ่าข้างจนถึงต้นขาอ่อน
สวยงามน่ารักมากครับ อย่างที่เห็นในรูปนั่นแหละ ในสมัยต้นสาธารณรัฐ การแต่งกายจีน ผสมกับตะวันตก งดงามคลาสสิค มากครับ
ขอบคุณยับสินฝ่านั๊กๆเจ้า
ไหงควรขอบคุณหงีมากที่ช่วยไหงได้อีกทาง....ไหงเอามาทั้งแถบนะเจ้า....ผิดถูก
จะเกลาก็เกรงใจเช่นเดิม แต่ถ้ามีผู้รู้เกลาให้ถูกต้องและงดงาม จึงจะดีแบบนี้แหละ
ไหงขออนุญาตเอาบันทึก ของหงีทั้งพวงใส่ที่เนื้อหาไปด้วยได้ไหมเจ้า ไหงอยาก
จะบอกว่าที่ทำในบล็อกนะ กลายเป็นบทความที่หลายคนเข้ามาอ่าน ไหงรวบรวม
มาเพื่อจัดเก็บ ใช้ในการสอนด้วยเพราะที่นี่ ใน www.prawinrat.com มี cd สิ่งทอ
ต่างๆ และกลายเป็นชุมชนสังคมออนไลน์ เต็มที่ วันนี้ก็ทำการประเมินตนเองใส่
เนื้อหาที่ทำไว้ที่นี่ทั้งหมดเป็นหลักฐาน ทำสิ่งใดไปบ้างแล้ว ชัดเจนในการจัดเก็บ
และถ่ายทอด ขอบคุณทุกคนที่สนใจเรื่องที่ไหงส่งมา หงีเป็นผู้ชายเรื่องสาระที่
หนักแน่น และจริงจัง ไหงก็ชื่นชอบเข้ามาอ่านทุกวัน เหมือนหนังสือพิมพิ์แล้วนะ
ไหงจึงส่งรูปมาแทนบ้าง ผิดหรือถูกก็แนะนำกันมานะเจ้า ไหงขออนุญาตใช้พื้นที่
ของคุณฉี แบบเปลืองที่สุด 555 เพื่อกักเก็บและเผยแพร่ ขอบคุณมาก อีกไม่
นานไหงคงได้เห็นผลงานชิง ชิงและ น้องหยก มาลงภาพทุกอย่างที่หลานสาวคน
สวยสร้างสรรค์เช่นกัน มีภาพวาด การฝี่มือและสิ่งประดิษฐ์ อาปานำมาลงให้พวก
เราชมด้วยสิ ญาติไหงที่ชม.ส่งทุกอย่างที่ลูกสาวกิน นอน อ่าน ของเล่น มาลงหมด
น่ารักมาก เรางต้องหัดเด็กๆๆแบบนี้แล้วละจ้า เริ่มที่ชิงชิงก่อนเลยนะ..
บ่อเป๋นหยังเจ้า
ไม่เป็นไรครับ อาซิ่วเชงเจ๋ เป็นความสุขที่ได้ช่วยแก้ไขครับ ดีแล้วครับที่อาเจ๋ ช่วยเอาไปแปะไว้กับต้นฉบับ ซึ่งผู้อ่านท่านอื่นที่ไม่รู้เรื่อง จะได้ไม่รับข้อมูลที่ผิดไป อันเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อประวัติศาสตร์นะครับ ต้องขอบคุณซิ่วเชงเจ๋มากกว่า ที่นำเอาศิลปสวย ๆ งาม ๆ เข้ามาให้ชมกันอยู่บ่อย ๆ เป็นหน้าที่ของแต่ละคน ที่ นำ-เหนอ ในสิ่งที่ตนเองถนัดและมีความรู้ ไหงชื่นชอบศิลปเป็นทุนเดิมอยู่แล้วครับ แต่ไม่ถนัดเรื่องศิลป ไหงถนัดเรื่องประวัติศาสตร์-วัฒนธรรม ชนชาติ มากกว่าครับ
ต้องขอบพระคุณ ท่านอาจารย์ปวินรัตน์ แซ่เฉิน ด้วยนะครับ(ใครเอ่ย?) ที่ส่งเรื่องราวสาระดี ๆ มาให้ทางเมลล์ ทุกวัน ขอเรียนว่า เป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากที่สุดเลยครับ ไหงเก็บไว้เป็นบันทึกเกือบทุกเรื่องเลยครับ แบ่งไว้เป็นหมวดหมู่ ด้านคุณธรรม-ศาสนา ก็เก็บไว้ต่างหาก ด้านศิลป-ก็เก็บไว้ ให้น้องชิงชิงกับน้องหยกได้เรียนรู้ในวันหยุดเรียน ส่วนด้านการประชาสัมพันธ์ทั่วไป ก็เอาฟอร์เวิร์ด หรือ พิมพ์ออกมา ให้เด็ก ๆ หรือคนทั่วไป ได้ทราบ ตามวัตถุประสงค์ นะครับ
กัลยาณมิตร แท้ ๆ เลยนะครับ พวกเรา เพราะ เป็นมิตรที่แนะนำสิ่งดี ๆ ให้กันและ กัน นั่นเองครับ ขอบพระคุณมากครับ
เพิ่มเติมอีกนิดนะครับ-รูปภาพด้านบนสุดเป็นภาพของพระนางชูศรี หรือซูสีไทเฮา ซึ่งชอบถ่ายภาพมาก พระนางชูศรีนี่ตอนแรกเกลียดฝรั่งนะครับ พอในช่วงปลายของชีวิต กลับคบพวกมาดามฝรั่งในปักกิ่งซึ่งเชิญให้เข้า-ออก ในวังต้องห้ามบ่อย ๆ แล้วทรงรับเอาวิทยาการสมัยใหม่จากฝรั่งด้วยหนึ่งในนั้นก็คือการถ่ายภาพ มีทั้งภาพเดี่ยวอย่างที่เห็น และ ภาพหมู่ที่ถ่ายกับนางกำนัล ในภาพถ้ดมา มีอีกภาพหนึ่งน่าเสียดายที่ไม่ได้มาลง เป็นภาพที่พระนางแต่งกายเป็นพระแม่กวนอิมแล้วให้นางสนมกำนัลแต่งเป็นสาวก โดยมี มหาขันทีคู่พระทัยชื่อว่า "หลี่เหลียนอิง" แต่งเป็น สาวกฝ่ายชาย (เป็นภาพที่คนเหนือเราเรียกว่า "คึ" ขนาดนั่นเองครับ)
ภาพฮ่องเต้ที่ใส่ชุดเหลืองนั้นที่ถัดจากภาพพระนางชูศรี ลงมา ก็คือ(น่าจะ)ภาพของปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ชิง คือ ฮ่องเต้ซุ่นจื้อ นั่นแหละครับ สมัยชิง มีฮ่องเต้ที่เก่งกาจและยิ่งใหญ่ คือ ซุ่นจื้อ หย่งเจิ้ง และ เฉียนหลง 3 องค์นี้แหละครับ(ในภาพนี้ ถ้าไม่เป็น ซุ่นจื้อ-ก็หย่งเจิ้ง-องค์ใดองค์หนึ่งแน่นอนครับ-แต่ไม่ใช่เฉียนหลงแน่ครับ)
ภาพถัดลงมา ที่อยากจะเรียนให้ทุกท่านทราบ เป็นภาพใหญ่ ที่มีผู้ชายยืนอยู่ มีธงและอักษรจีนอยู่ข้างหลัง เป็น "เจิ้งเฉิงกง" นักเดินเรือสำเภารอบโลก ผู้ยิ่งใหญ่ของจีนนั่นเองครับ
ที่หงีตั้งข้อสังเกตุว่า ในภาพยนต์จีนทั้งทีวีและภาพยนต์นั้น เขาใส่เสื้อผ้าสมัยไหนกัน -ขอเรียนว่า ผู้สร้างหนังจีน ทั้งต้าลู่ หรือ ฮ่องกงนั้น เขาจะละเอียดพิถีพิถันและรอบคอบในการเตรียมฉากเครื่องแต่งกายอย่างถูกต้องที่สุดครับ คือ ถ้าเป็นหนังในช่วงสมัยไหน ก็จะใช้เสื้อผ้าของสมัยนั้น อย่างถูกต้องตามแบบที่สุดครับ ส่วนหนังทีวีเบาสมอง ที่ฉายทางช่อง 3 เป็นนิยายทั่วไปไม่เน้นเรื่องประวัติศาสตร์ มักจะแต่งแบบ สมัยซ่ง ครับ หรือ แต่งแบบ ปริวรรต หรือ ดีไซน์ออกมาใหม่ ให้ดูร่วมสมัย สไตล์โมเดิร์น ไม่ค่อยซีเรียส อะไรทำนองนั้นน่ะครับ
ประชุมแล้วจะมาแปะข้อมูลใหม่
ยินดีแต้ ๆ คับ จะรอเน้อเจ้า
รอต้อนฮับแน่นอน..เจียงใหม่บ่ดาย
ภาษาเหนือขนาด
เขารู้กันสองคนพอแล้วเจ้า...
พูดเล่น...อย่าน้อยใจเลยต้นกล้า...กำเมือง คือเผ่าพันธุ์รักชาติเช่นกัน ไม่เก่งภาษาจีน จึงขอเก่งกำเมือง บ้างนะน้องสาว....และต่อไป วิถีชีวิตคงเป็นคนเมืองไปแล้วนะเจ้า เกล้ามวยผม เหน็บดอกขาว ห่มสะไบขาว นุ่งผ้าซิ่น สวมผ้าทอ หรือจะเปลี่ยนคลอเลคชั่น หายไปจากแผ่นดิน อยู่กับธรรมะ ตลอดไปจนกว่าจะสิ้นลมหายใจ แต่มีคุณค่ากับการได้เกิดเป็นมนุษย์ เบื่อการเกิดแล้วไง...?
มานชีนเฉาถ้อย ยุคทองของราชวงศ์ ชิง (แมนจู)
ช่วงต้นราชวงศ์ ชิง มีฮ่องเต้ที่ยิ่งใหญ่3องค์ คือ รูปที่ ยับซินฝ่า สงสัย ก็คือ ฮ่องเต้คังซี คังซี (ปู่) หย่งเจี้ง (ลูก) และ เฉียนหลง (หลาน) ปู่กับหลานแต่ละคนปกครองเกิน60ปี ถือเป็นยุคทองของราชวงศ์ ชิง
ส่วน เจิ้งเหอ นักเดินเรือผู้ยิ่งใหญ่นั้น เกิดก่อน ฮ่องเต้คังซี 290 ปี ในราชวงศ์หมิง เจิ้งเหอ หรือที่เรียกว่า ซำปอกง ที่ผู้คนไหว้กันทั่วไป ก็งงอยู่เหมือนกันเพราะเจิ้งเหอ เป็นมุสลิม ได้เดินเรือลงมาทะเลใต้ จนถึงอัฟริกา บางคนก็ว่าไปถึงอเมริกา ก่อนโคลัมบัสหลายร้อยปี เจิ้งเหอเซี้ยซีหยาง 7 เที่ยว แน่นอนมาไทยด้วย
จริงด้วยครับ คังซีฮ่องเต้
เมื่อเช้านี้ที่ไหงโพสต์เข้าไป ด้วยความเร่งรีบและรวดเร็ว ตามแบบฉบับของไหง(ซึ่งไม่ค่อยถูกต้องนัก) ไม่ได้เปิดตำราด้วย เลยลืมไปเลยว่า ฮ่องเต้คังซี ต่างหาก ที่เป็นยุคเริ่มต้นของความยิ่งใหญ่ ของแมนจู จึงขอแก้คำผิดครับ ว่า ซุนจื้อ เป็นยุคเริ่มต้นยุคทอง ซึ่งผิด ซุนจื้อ เป็นปฐมกษัตริย์ ของแมนจู ต่างหาก
ส่วนเรื่องของ ท่านเจิ้งเฉิงกง หรือ เจิ้งเหอ หรือที่ คนไทยเรียก ซำปอกง ตามที่อาโกอาคม ว่าไว้นั้น ขอเสริมครับ ว่า ปัจจุบันนี้ นักวิชาการประวัติศาสตร์โลก ทางฝั่งตะวันตกเริ่มยอมรับกันบ้างแล้ว ว่าท่านเป็นนักเดินทางสำรวจรอบโลก ตัวจริง ก่อนโคลัมบัส หลายร้อยปีดังที่โกอาคมว่า ไหงสันนิษฐานว่า เจิ้งเหอ นั้น เป็นชาวมุสลิมหมิ่นหนานหรือปล่าวครับ? (ในมณฑลฮกเกี้ยนใต้ มีชาวหมิ่นหนานอยู่จำนวนหนึ่งที่เป็นมุสลิมและยังคงมีสุเหร่าหรือมัสยิดอยู่ในทุกวันนี้)
พูดถึงทางมณฑลฮกเกี้ยนใต้ อยากเพิ่มเติมว่า มีเมืองผู่เถียน และ เกาะเหมยโจว อันเป็นถิ่นกำเนิดของ เทพเจ้ามาจู่ (ที่ชาวไหหนำเรียกเจ้าแม่ทับทิม) ที่ชาวจีนภาคใต้เคารพนับถือมาก ที่เกาะเหมยโจว มีศาลเจ้าแม่มาจู่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน มีรูปปั้น เจ้าแม่มาจู่ที่สูงใหญ่โตโดดเด่น สวยงาม ทุก ๆ ปี จะมีเทศกาลไหว้ เจ้าแม่มาจู่ ที่เกาะเหมยโจวที่ตั้งอยู่ตรงกันข้ามกับเมืองผู่เถียน ปีที่ผ่านมา ไหงบังเอิญได้ดูรายการถ่ายทอดสดงานฉลองเทศกาลไหว้เจ้าแม่มาจู่ ที่เกาะเหมยโจว ได้ดูคอนเสิร์ตการขับร้องเพลงของศิลปินรับเชิญ ที่มาร่วมร้องเพลงสรรเสริญเจ้าแม่มาจู่ ทาง cctv4 สนุกเพลิดเพลินมากครับ
เกาะเหมยโจวนี้ ทัวร์ไทยที่ไปจีนนิยมจัดกันหลายบริษัทครับ ไปเพื่อไหว้เจ้าแม่มาจู่นั่นเอง เพราะถือว่าเป็นบ้านเกิดของเจ้าแม่มาจู่ ประวัติขององค์เจ้าแม่มีสั้น ๆ แต่พิสดารมากครับ ขอโทษที่ไหงจำไม่ได้แล้ว เอาเป็นว่า ท่านเป็นสุภาพสตรีชาวเหมยโจว(เกาะ) ที่ยังเป็นสาวบริสุทธิ์ ที่เสียสละชีพตนเองเพื่อช่วยเหลือชาวประมง อะไรทำนองนี้แหละครับ เกาะเหมยโจวนี้ ตัวอักษร คนละตัวกับ เหมยโจว ของฮากกาเรานะครับ ที่ไหงอยากสื่อให้เห็นถึงเมืองผู่เถียนและเกาะเหมยโจวก็เพราะว่า สถานที่ทั้งสองแห่งนี้ เป็นถิ่นของชาวหมิ่นหนานกลุ่มที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ในด้านทรงผม และการแต่งกายของสุภาพสตรี เรียกว่า ทรงเป็ดแมนดาริน และการแต่งกายเฉพาะถิ่นที่สวยงามเป็นเอกลักษณ์ มีเฉพาะที่นี่เพียงแห่งเดียวในจีนครับ เสียดายที่ไหง หารูปภาพประกอบมาใส่ให้ชมไม่เป็น ก็ลองจินตนาการเอานะครับ หรือหากว่าอาฉีโก หรือ อาฮยุ่งโก ผู้เก่งกาจในเรื่องคอมพิวเตอร์และภาษา อาจจะช่วยได้บ้างนะครับ
เจิ้งเหอ เกิดที่ยูนนาน
แสดงว่า เจิ้งเหอ เป็นชาวหยุนหนานหุย
ถ้าอย่างนั้นก็แสดงว่า เจิ้งเฉิงกง เป็นมุสลิมหรือชาวหยุนหนาน หุยเจี้ยว นะสิครับโกอาคม แล้วบังเอิญท่านไปโด่งดัง ที่ปักกิ่ง และ ฮกเกี้ยน ซึ่งเป็นจุดพักหรือเมืองท่าของเส้นทางสายไหมทางทะเล?
การแสดงความเห็นต่าง ๆ ในทางประวัติศาสตร์จีน บางครั้ง ไหงใจร้อน มักจะเขียนเอาตามความทรงจำ โดยที่ไม่ยอมเปิดตำรา(เพราะขี้เกียจ) ทั้ง ๆ ที่ตำราเล่มหนาปึกวางอยู่ข้างตัวตลอดเวลา ต่อไปนี้ไหงจะรับผิดชอบ ถ้าจะเขียนถึงเรื่องราวหรือบุคคลที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ไหงจะระมัดระวัง ด้วยการเปิดดูตำราก่อนถ้าไม่แน่ใจ แล้วจึงค่อยเขียนเข้ามา
ซินฝ่า ราชวงศ์หมิง นานกิง
ขอยืนยันว่าราชวงศ์หมิงตั้งเมืองหลวงที่ปักกิ่งไม่ใช่หนานจิง
ผู้ที่ตั้งเมืองหลวงที่ปักกิ่งเป็นราชวงศ์แรกคือราชวงศ์หยวน ( ถ้าพี่น้องชาวฮากกานิยมราชวงศ์หยวนนี้มากๆก็คงไม่ค่อยมีเรื่องมีราวเท่าไรนิ ก็หยวน หยวน กันหน่อยไม่ต้องขัดแย้งกัน ) ของกุบไล่ข่าน ที่ราชวงศ์หยวนย้ายเมืองหลวงดั้งเดิมคือหนานจิงมาที่ปักกิ่ง ก็เพราะมันไกล้มองโกลมากกว่าหนานจิงนั่นเอง
ต่อมาจูหยวนจาง ( ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์หมิง ) ได้ขับไล่ราชวงหยวนของพวกมองโกลไป ก็ยังใช้ปักกิ่งเป็นเมืองหลวงต่อมา มิใช่หนานจิง
จึงเรียนมาเพื่อทราบครับกระผม
เจิ้งเหอ ขุนนาง 2 เมือง (หลวง)
ราชวงศ์หมิง
เมืองหลวง: นานกิง (พ.ศ. 1911 - 1964), ปักกิ่ง (พ.ศ. 1964 - 2187)
เมื่อปี พ.ศ. 1911 จู หยวนจาง หรือจักรพรรดิหงหวู่ องค์ปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์ครองราชย์ที่เมืองนานกิง และได้สถาปนาราชวงศ์หมิงขึ้น
หลังจากจักรพรรดิหมิงไท่จู่สวรรคตแล้ว จักรพรรดิจูเอี้ยนเหวินซึ่งเป็นพระราชนัดดาองค์หนึ่งได้ขึ้นครองราชย์
ต่อมาไม่นาน จูตี้ ผู้เป็นปิตุลาของจักรพรรดิเอี้ยนเหวินซึ่งเป็นได้ลุกขึ้นต่อสู้และโค่นอำนาจรัฐของจักรพรรดิเอี้ยนเหวินลง จูตี้ได้ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิหมิง เฉิงจู่หรือจักรพรรดิหย่งเล่อ ในปี พ.ศ. 1964 (ค.ศ. 1421) จักรพรรดิหย่งเล่อได้ย้ายเมืองหลวงจากเมืองนานกิงไปยังกรุงปักกิ่ง
เจิ้งเหอ เกิด ค.ศ. 1371 (หรือ พ.ศ. 1914 หลังการสถาปนาราชวงศ์หมิงเพียง 3 ปี - หยิ่นฮยุ๋ง) เสียชีวิต ค.ศ. 1432 (วิกิพีเดีย)
จบข่าวครับ.
ชินนสาสมาธิของหลวงพ่อวิริยังค์วันนี้!
ข้าเจ้าพึ่งกลับมาจากการอบรม ชินสาสมาธิลำปางโดย “สถาบันพลังจิตตานุภาพ 7 มหาวิทยาลัยโยนก" จัดที่วัดเชตะวัน(สถาบันพัฒฯ 22)
จึงนำสาระมาฝากผื่อว่าอาโกสนใจอยากฝึก เข้าใจว่าจังหวัดท่านน่าจะมีสถาบันนี้แล้ว ลองสอบถามดูนะเจ้า ข่าวว่ามีถึงเครือข่ายที่ 28 แล้วนะ?
วัตถุประสงค์ของการทำสมาธิ คือการสร้างพลังจิต พลังจิตที่ได้จากการทำสมาธิมี ๒ ประเภท คือพลังหลัก และพลังเฉลี่ย
พลังหลัก - จะถูกเก็บสะสมไว้ในจิต ไม่มีการแตกสลายตามกายเนื้อแต่สะสมข้ามภพ-ชาติ พลังเฉลี่ย - จะถูกใช้ไปในชีวิตประจำวัน
การทำสมาธิ มี ๒ แบบคือ สมถะ และวิปัสสนา
สมถะ ต้องการให้ทรงสติสัมปชัญญะ ได้ความสงบ สุขสบาย
วิปัสสนา เพื่อการรู้แจ้งเห็นจริง ใช้ปัญญาเป็นเครื่องภาวนาตามความเป็นจริงของขันธ์ ๕
การทำสมาธิเบื้องต้นจำต้องมีสมถะ คือ ควบคุมอารมณ์จิตให้ทรงอยู่ ถ้าอารมณ์ไม่ทรงตัว วิปัสสนาจะไม่มีผล เป็นวิปัสสนาตะครุบเงา หรือวิปัสสนาตกน้ำ
วิปัสสนาตกน้ำ คำพังเพย
เหมือนเงาเพชรใต้น้ำเอย บอกให้
งมเอาเพชรเลย งมเปล่า แลนา
วิปัสสนาขาดสมาธิไซร้ ผิดแล้ว ทางกลาง
หลักสูตรชินสาสมาธิ
เป็นหลักสูตรการฝึกสมาธิในระดับเบื้องต้น ผู้เข้ารับการอบรมอายุ เก้าขวบขึ้นไป
ซึ่งสามารถเลือกปฏิบัติได้ตามความสมัครใจ ฝึกการนั่งสมาธิ การเดินจงกรม และการฟังธรรมะ
วิธีการเรียนการสอนจะมีการบรรยายเกี่ยวกับพื้นฐานของการทำสมาธิให้ผู้เข้ารับการอบรมปฏิบัติจริงตามทฤษฎี ที่ได้เรียนมา
และเปิดโอกาสให้ผู้เข้ารับการอบรมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
วิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับสิ่งที่ได้รับจากการปฏิบัติดังกล่าว
ขอบคุณมากๆ หยิ๋นฮยุ๋ง
ไหงสะเพร่าไปหน่อย ไม่ได้เช็คละเอียดอาศัยที่จำมา ดีที่ วีฟัดกอ ทักถ้วงมา ต้องขอบคุณหงีมากๆ ที่ให้ความกระจ่าง ไหงจำผิดไปว่า จักรพรรดิหย่งเล่อ กับจูตี้ เป็นคนละคนกัน
เจิ้งเหอ ทำให้ราชวงศ์หมิงรุ่งเรืองที่สุด ในยุคของจักรพรรดิหย่งเล่อ หรือจูตี้ แต่ปักกิ่ง สมัยราชวงศ์หยวน หรือมองโกล ไม่ได้เรียกว่าปักกิ่ง(เป่ยจิง) แต่เรียกว่า ต้าตู หลังจากถูก จูหยวนจาง ทำลายราบ จึงตั้งชื่อใหม่ว่า เป่ยผิง แล้วจักรพรรดิหย่งเล่อ ได้ย้ายจากหนานจิง มาที่เป่ยผิง และใช่ชื่อว่า เป่ยจิง
เจ้า..ข้าเจ้าจึงเรียนต่อไปหื้อถูกต้อง
จริงเจ้า ข้าเจ้าหรือไหง อันไหนดีนะนี่ ใช้ได้ทั้งสองนี่แหละเจ้า ว่าไปแล้วมังกรชายทุกท่านที่ช่วยกันปรับ ช่วกันแก้ไขให้ทุกสิ่งถูกต้องนะดีมากเจ้า เพราะไหงก๊อบมาก็เชื่อว่าทุกบทความน่าจะกรองกันมา จึงมิกล้าไปแตะ แต่ถ้ามีบุคลหลายคนยืนยัน ว่าบทความนั้นมีช่องโหว่ ก็จึงเรียนเชิญทุกท่านกรุณาเติมให้เต็ม ให้ถูกต้องเจ้า ของที่แท้จริงเข้ามาอ่าน ก็คงจะเห็นความสำคัญของสาระ เพราะฉนั้น ไหงจึงขอ ขอบคุณทุกท่านที่เมตตาไหง/ข้าเจ้า ณ.ที่นี้อย่างสูง แต่ไหงจะขอแปะไว้ให้ทุก คนเข้ามาอ่านเรียงกันแบบนี้ดีกว่า ชัดเจนและไม่งงด้วย อ่านตรงนี้ดีกว่า จึงขอมอบเพลงเก่าให้อาโกวีฟัด ด้วยเพลงของ水長流 - 黄清元 [หวังชิงเฉวียน] ไหงจำได้ว่าอาสุกไหง อากุง อาหงี่สุก อาซามสุก อื้อสุกและอาแซ่สุก ทุกคนชอบฟังเพลงนี้มาก ไหงพึ่งพบที่ยูทูป ลองฟังอ้าวเป็นเพลงเก่าคลาสสิกนี่นา จึงขอมอบให้ทันที นอกจากนี่อาอื้อสุกไหงมีกลองชุด(สมัยนั้นหลายตังค์) ตั้งอยู่แบบเทรนมาก ไหงยังเล็ก แอบเล่นกลองชุดบ่อยๆ บางทีอาสุก เป่าดนตรีตลับด้วยเพลงนี้ เพราะมาก อากงก็ฮัมเพลงนี้ แต่ไหงไม่ทราบคำแปล เดาว่าน่าจะเพราะนะเจ้า ไหงร้องได้ตั้งแต่เด็กล่ารางวัลนะเจ้า....
— title : 水長流
singer : 黄清元
อมตะ 50 ปีทอง หวังชิงเฉวียน
水長流 流去不回頭
就像我倆的愛情 一發不能收
生生世世直到永久 看那江河水長流
啊...啊...啊... 浪滔滔 歲悠悠
啊... 江河水長流
水長流 流轉千萬周
就像我倆的愛情 永遠不停留
只有開始無止休 奔向江河水長流
啊...啊...啊... 江河深情更深厚
啊... 江河水長流
水長流 - 黄清元 [หวังชิงเฉวียน]
ปล.ไหงของขอบคุณข้างล่างด้วยเพลงนี้ร่วมด้วยช่วยกันฟังจบข่าวด้วยเช่นกัน..หุหุ
ฟังเพลงของไหงแล้วคิดถึงอาก๋ง
ขอบคุณไหงที่ได้กรุณานำเพลงเก่าๆมาให้ได้กัน สมัยเด็กเคยได้ยินก๋งฟังเพลงนี้เหมือนกันนะ ฟังแล้วอยากย้อนกลับไปอดีต หากได้พูดแคะกับก๋งคงจะไปไกลกว่านี้นะ
โบตั๋นขาว
ขอบคุณไหง คือ ขอบคุณตัวเองครับ ฮากกาหงียังไม่แข็งแรงจริงๆ เข้ามาบ่อยๆครับ และยินดีที่ได้รู้จักครับ
ขอบคุณฮากกาทุกคนดีกว่า
สวัสดีคะคุณอาคม
ยินดีที่รู้จักเช่นกันคะคุณอาคม หนูเห็นชื่อคุณอาคม โพสข้อความในบทความให้สมาชิกได้รับความรู้เกี่ยวกับจีนเยอะนะค่ะ แต่ไม่เคยคุยกับคุณอาคมโดยตรง หนูต้องขอบคุณไหงที่ได้กรุณานำเพลงเก่าๆมาให้ฟัง หากมีคนรุ่นหลังช่วยกันอนุรักษ์สุนทรียศาสตร์ต่างๆไว้อย่างนี้คงจะช่วยให้ฮากกาไม่สูญหายคะ และต้องขอบคุณเพือนฮากกาที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลในเวปด้วยกันคะ
ขอบคุุณ โบตั๋นสีขาว
ไหงชื่นชมทุกท่านที่มาร่วมเรียงร้อย ฟังบทเพลงที่ขับขานนานมาของเหล่าบรรพชน เสียดายที่ทุกท่านจากไปด้วยวิถีแห่งลมหายใจ ของความเป็นมนุษย์ เหลือร่องรอยที่ไพเราะเป็นแนวทางให้เราสืบสานต่อไป
心聲淚痕 - 黄清元
不要抛弃我
姚蘇蓉 -《今天不回家》
ทรงผมของสตรีหมิ่นหนาน
จังหวัดเหมยโจว เขียนว่า 梅州市 (เหมยโจวซื่อ - จีนกลาง คลิกอ่านเรื่อง "เมืองเหมยโจว") ส่วน เกาะเหมยโจว เขียนว่า 湄洲岛 (เหมยโจวเต่า)
ขอบคุณโกจ๊องหยิ่นฮยุ๋ง นะเจ้า
ไหงขอบคุณมาก ถ้าได้รูปกรุณาอนุเคราะห์แบ่งปันมาแปะอีกนะเจ้า ดีมาก...
จึงขอมอบสวดพระคาถาป้องกันภัย 10 ทิศ
สวดตามไปด้วย ช่วยคุ้มภัย ก่อนออกจากบ้านค่ะ
ไหงทำงานจะฟังสวดไปได้ตลอดเวลา
ทั้งแบบไทย อินเดีย และธิเบต เพราะมากนะเจ้า.....
ขอบคุณโกอาคม..
ขออนุญาตนำไปแปะเป็นสาระด้วยอีกคน...ว่างไหงจหารูปมายืนยัน ตามช่วงที่ระบุ
นะเจ้า ไหงฟังเพลงสวดนี้พอดี ขอมอบให้ทุกท่าน ณ.ที่นี้เป็นการขอบคุณที่ช่วย
คำสวดบารมี 30 ทัศ....เมตตตากรุณา อุเบกขา ปารามี.....
แก้ไข ครับ
คับ-อก-คับ-ใจ
โอ้ว้าว ต้องขอขอบคุณพี่มากเลยค่ะที่โพสภาพสวยๆมาให้ดู พร้อมกับได้รับความรู้อีกด้วย เห็นแล้วอยากจะหยิบมาใส่บ้างจังเลย แต่ก็อดคิดไม่ได้ว่าจะ คับ-อก-คับ-ใจ ไปรึเปล่า (หัวเราะ) ชอบค่ะชอบ เรื่องสวยๆงาม ทรงผมมองแล้วเพลินค่ะ สวยดี แล้วเค้าจะสระผมสัปดาด์ละกี่ครั้งกันหนอ ท่าทางจะอยู่ทรงพอดูเลย ไม่ต้องใส่เจล ไม่ต้องเซตผม ให้ยุ่งยาก
หายไปนานเลยนะคะครั้งนี้ แอบไปสวีทที่ไหนน๊า แซวเล่นนะคะ
ตกใจที่คับอกคับใจนะเจ้า
เอ้ใครโพสนะ..เป็นน้องสาวเรานี่เอง คนที่หายไปนะมีจริง รู้ตัวเองกันเถิดนะเจ้า หายไปนานเสียจนคิดว่า ไปแต่งงานเสียแล้ว โผล่มาทีงานเข้าทุกคนเชียวนะเจ้า เก่งจังเลยนับว่าเป็นประโยชน์ ต่อพวกเรายินดีมากที่ ต้นกล้า กลับมานะ....ยิ้ม.หน่อย! (แก้ให้แล้วนะเจ้า)
สนับสนุนทุกเรื่องที่ต้นกล้าคิด และสร้างสรรค์ ส่วนเจ้คนนี้เน้นสีสันและบันเทิง อยู่คณะนิเทศฯก็ส่งเรื่องแบบนี้มานี่แหละ ต้นกล้าเข้าไปชมรถม้าลำปางหรือยังเข้าไปชมสิ ฮายิ่งกว่าเสียอีก มีภาพโหลดเป็น PW. หลายสิบแผ่น มีไฝของงิ้วศาลเจ้าลำปางเรา ที่ขำมาก ที่เครียด แค้น ชิงชังมานานมันจบไปแล้ว ส่งแบบสวยงามมาลง อ้อสวีทนุช มีจริง เป็นเพลงนะ!!! แต่เจ้เฉินซิ่วเชงเป็นสวีทนุชที่ได้ทุกแนว หาพบเมื่อไหร่ จะบอกน้องสาวคนแรก
ใครปล่อยข่าวหนอ? มันเป็นจริงเสียที่ไหนหายใจเข้าหายใจออกมีแต่งาน ใครจะกล้ามาแบ่งปันเอาไปเฝ้าสวนหรือไง? แต่ก็ดีนะผลไม้มันเถียงอาจารย์ไม่เป็น และคงไม่ต้องตามทวง ตามสอนกันต่อไป ภาพสวยๆลงกันที่นี่คือความสุขของเจ้ด้วยสิ ชอบมากเช่นกันจึงนำมารวบรวมที่นีให้หมดเลย ขอบคุณต้นกล้ามากที่เข้าไปโพสเฟรสบุ๊ค ปล่อยข่าวเสียรังแตกเชียวนะน้องเรา 555 =
รังสรรค์ไว้ซึ่งตรรกทัศนาลัย....
ชอบเพลง'' 闭月貂蝉''
ขอบคุณ เฉินซิ่วเชงซินซัง ที่นำเพลงประกอบภาพยนตร์ อันไพเราะมาให้ฟัง
落花流水春已去 (刘紫玲)
落花流水春已去 (刘紫玲)
敖包相会 by 刘紫玲 Liu Zi Ling
敖包相会 by 刘紫玲 Liu Zi Ling
诗经也可以唱得很美...
ฟังเพลงของไหงแล้วคิดถึงอาก๋ง
ฟังเพลงของไหงแล้วนะ นึกถึงตอนเด็กที่ก๋งชอบเปิดให้ฟัง แถมยังเปิดดังลั่นบ้านนะ วันก่อนจัดบ้านยังเจอเทปเก่าๆ หลงเหลืออยู่ ไว้จะแปลงใส่ซีดี แล้วค่อยเอามาให้เพือนสมาชิกได้ฟังกันนะค่ะ
今天不回家
YAO SU YONG ~"NOT COMING HOME TODAY" 1969/70 (HAISHAN RECORDS SL 2078)
ขอบคุณโกกิมหมิ่น
อึ่ม ถือเป็นบทเพลงที่ไหงชื่นชอบเพลงหนึ่งทีเดียว ขอบคุณมากๆเจ้า ช่วงนี้ภาระยังไม่ถดถอย จึงห่างเหินวงการ สมาคมแห่งเรามาพอสมควร แต่ก็ได้เข้ามาอ่านสม่ำเสมอนะเจ้า มีเวลาก็จะเข้ามาตอบด้วยความคิดถึงทุกคนนะเจ้า....
อยากซื้อมาอ่านม๊ากม๊าก หาที่ไหนได้บ้างอ่ะค่ะ
แหม ถิงเหนภาพวาดสาวสวยจีนที่เปงปกหนังสือนิยายจีนอ่ะ ทำให้อยากหาซื้อนิยายทุกเล่มตามในภาพเลยอ่ะ หาซื้อที่ไหนได้บ้างอ่ะค่ะ อยากได้ อยากได้ๆๆๆๆ
รบกวนหน่อ
รบกวนหน่อยนะค่ะมีใครพอจารู็ประวัติของราชวงค์ฮั่นที่เกี่ยวกับเครื่องแต่งกายบ้างไม่ค่ะเปนภาษาไทยรู้แบบละเอียดหน่อยอ่ะค่ะพอจะมีไหมกำลังจะทำรายงานจีนค่ะ