หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

รู้เรื่อง เมืองมังกร (5---จีนภาคใต้)--(ใต้สุดยอดในประเทศจีน-เมืองซานญ่า-มณฑลไห่หนาน-จบตอนที่ 5)

รูปภาพของ YupSinFa2

รู้เรื่องเมืองมังกร ชุด "จีนปัจจุบัน" เวลานี้ก็มาถึงตอนที่ห้า แล้วนะครับท่านทั้งหลาย Yubsibfa หรือนายKlit.Y ซังกะบ๊วย คนนี้ ได้กลับมารับใช้ท่านผู้ชมอีกครั้งหนึ่งอย่างสม่ำเสมอแล้ว หายไปนาน รู้สึกว่า เรดติ้ง หายไปกับตัวด้วยเยอะมากเลย อิอิอิ. สมาชิกท่านใหม่ ๆ ก็ล้วนยังไม่รู้จักไหง....ถ้าอยากรู้จัก ก็ช่วยติดตามผลงานกันต่อไป อิอิ

จีนภาคใต้ประกอบด้วยมณฑลต่าง ๆ 5 มณฑล ดังต่อไปนี้ คือ ฝูเจี้ยน(ฮกเกี้ยน) กว่างตง(กวางตุ้ง) เจียงซี หูหนาน และ ไห่หนาน(ใหหนำ) ซึ่งเป็นมลฑลเดียวของจีน ซึ่งเป็นเกาะ เมื่อในอดีต เป็นส่วนหนึ่งของมณฑลกว่างตง แต่ได้รับการแยกออกมาเป็นมณฑลต่างหาก เมื่อ ราวยี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา

มาดูความสวยงามและความเจริญของแต่ละมณฑลในจีนใต้กันเลยครับ


14. มณฑลฝูเจี้ยน

มณฑลฝูเจี้ยน หรือที่คนไทยรู้จักกันในภาษาจีนแต้จิ๋วว่า "ฮกเกี้ยน"ภาษาฮากกามาตรฐานออกเสียงว่า "ฝู่เกี้ยน" มณฑลฝูเจี้ยน เป็นมณฑลที่มีความหลายหลากทางภาษาสำเนียงท้องถิ่น มากจัดเป็นฟางเหยี่ยน (สำเนียงท้องถิ่นของภาษาจีน) ได้ สองกลุ่มใหญ่ และอีก หนึ่ง กลุ่มเล็ก คือ หมินเป่ย-ฮกเกี้ยนเหนือ หมิ่นจง-ฮกเกี้ยนกลาง และ หมิ่นหนาน-ฮกเกี้ยนใต้ ซึ่งฟางเหยียนฮกเกี้ยนใต้นี่เอง ที่มีภาษาถิ่นที่ถือว่าเป็นภาษาลูกของสำเนียงฮกเกี้ยนใต้ หมายความว่า นักวิชาการจีนด้านภาษาศาสตร์ จัดเอาภาษาเหล่านี้ อยู่้ในกลุ่มภาษาฮกเกี้ยนใต้ อันมี ภาษาจีนแต้จิ๋ว ภาษาจีนไห่หนาน(ใหหนำ) ภาษาเวียตนาม และภาษาของชนชาติ "เซอ" ของอาโกเกว้น นั่นแหละครับ

มาชมภาพสวย สวย ของมณฑลฝูเจี้ยน กันเลยครับ


จุดสีแดงเป็นตำแหน่งที่ตั้งของมณฑลฝูเจี้ยน


แผนที่ของมณฑลฝูเจี้ยน แสดงเขตต่าง ๆ ในการปกครองของมณฑล ด้านขวาของท่านผู้ชมที่อยู่ต่ำกว่าสีชมพูลงมา คือ "นครฝูโจว" ซึ่งเป็นเมืองเอกของมณฑลฝูเจี้ยน ครับ และด้านขวาอีกเช่นกันเกือบจะล่างสุดของแผนที่ตรงส่วนที่เป็นจุดสีเหลืองนั้น คือ นครเซียะเหมิน อันเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งปัจจุบัน เขตเศรษฐกิจพิเศษจะต้องเรียกว่า "นคร" ไม่ใช่เมือง เพราะมีความเจิญมากกว่า เมือง ธรรมดาของแต่ละมณฑล


นครเซียะเหมิน คล้ายกับฮ่องกง ตรงที่ว่าตัวเมืองส่วนใหญ่อยู่บนเกาะที่ตั้งอยู่เกือบจะชิดติดแผ่นดินใหญ่ และมีปริมณฑลอยู่ทางฝั่งแผ่นดินใหญ่ด้วย เป็นนครที่สวยงามมากครับ ไท้ก๋าหยิ่น

"ฮากกาถู่โหลว-ตึกดินของชาวฮากก" ซึ่งบัดนี้ ได้เป็นมรดกโลก กลายเป็นอะเมซิ่ง ของฝูเจี้ยนไปแล้วครับ เพราะสร้างรายได้ด้า่นการท่องเที่ยวให้กับพื้นที่อย่างเป็นกอบเป็นกำ แต่ละวันจะมีชาวจีนเป็นกลุ่มคณะจัดทัวร์มาจากมณฑลต่าง ๆ ทั่วประเทศ และนักท่องเที่ยวทั่วโลก รวมถึงชาวไทยเชื้อสายจีน อย่างพวกเรา พากันไปเยี่ยมชม กันอย่างไม่ขาดสาย ยินว่า เฉลี่ยแล้ววันหนึ่ง ๆ มีไม่ต่ำกว่าหนึ่งหมื่นคนเลยทีเดียวครับ พี่น้อง (และหลาน ๆ)

เค่อเจียถู่โหลว หรือ ฮากกาถู่โหล่ว อยู่ทางตอนตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลครับ ติดกับบ้านเราคือเหมยโจวและบ้านสะไภ้ของเรา คือทางใต้ของมณฑลเจียงซู ซึ่งเป็นถิ่นอาศัยของชาวฮากกาเจียงซู ซึ่งไหงตั้งชื่อ เขตทั้งสามมณฑลที่มีชาวฮากกาอาศัยอยู่ ตามตำแหน่ง(ที่ตั้งตัวเอง)นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจีน(ซังกะบ้วย) ว่า "สามเหลี่ยมฮากกา" ซึ่งเป็นจุดรอยต่อของสามมณฑลที่มีชาวฮากกาอาศัยอยู่กันอย่้างหนาแน่นที่สุดในประเทศจีน อันมีเหมยโจว อำเภอเหมยเสี้ยน เป็นศูนย์็กลาง ตามที่นักวิชาการจีนด้านมนุษยศาสตร์ และภาษาศาสตร์ ระบุว่า อำเภอเหมยเสี้ยน เมืองเหมยโจว เป็นเมืองหลวงของชาวฮากกาทั้งหลาย และสำเนียงฮากกาเหมยเสี้ยน เป็นสำเนียงมาตรฐานที่บริสุทธิ์ ปราศจากคำศัพท์ในสำเนียงอื่นมาเจือปนครับ-

(อ้างอิงจากบันทึกบทสรุปด้านการศึกษาวิจัยด้านภาษาถิ่นและกลุ่มต่าง ๆ ตามถิ่นที่อยู่ของชนชาติฮั่น-มหาวิทยาลัยเป่ยจิง-ดังนั้น ท่านที่เห็นต่าง กรุณาเก็บไว้ในใจนะครับ-อย่าเอามาถือสากันเลย)


ทัศนียภาพของอุทยานแห่งชาติภูเขา "อู่อี๋ซาน" ที่สวยงาม และเป็นแหล่งผลิตชาชื่อดัง อันเป็น 1 ใน 10 สุดยอดชาจีน คือ "อูหลงฉา" ที่มีชื่อเสียงในบ้านเรานี่แหละครับ อูหลงฉา มีแหล่งกำเนิดที่นี่ตั้งแต่สมัยโบราณ จนกระทั่งถึงปัจจุบันก็ยังคงมีการผลิตมาอย่างต่อเนื่อง ชาอูหลง จึงได้ชื่อตามแหล่งผลิตที่ภูเขา อู่อี๋ซาน ว่า "อู่อี๋หยานฉา" และเรียกสั้น ๆ ว่า อูหลงฉา ซึ่งเป็น ชา 1 ใน 10 ยอดชาจีน ของมณฑลฝูเจี้ยน คู่กันกับชาสุดยอดของจีนอีกอย่างหนึ่้ง ที่อยู่ในมณฑลฮกเกี้ยนด้วยเช่นกัน แถมยังเป็นชาเหลือง ชนิดเดียวกันเสียด้วย ชานั้นคือ "เถียะกวนยิน" - กวนอิมเหล็ก ซึ่ง จักรพรรดิ์เฉียนหลง แห่งราชวงศ์็ชิง ถึงกับยกย่อง ชา สองชนิดนี้ว่า เป็น "สองไข่มุกเม็ดงามแห่งมณฑลฮกเกี้ยน"


เชิญชิมชาอูหลงค่ะ

ภาพนครฝูโจว เมืองเอกของมณฑลฝูเจี้ยน

ภาพด้านล่างนี้จะเป็นทัศนียภาพของนครเซียะเหมิน ครับ


ภาพต่อไปนี้เป็นภาพของเกาะ "เหมยโจว" ที่คนไทยรู้จักกันดี เพราะเป็นที่ประดิษฐานศาลของเจ้าแม่ "มาจู่" ที่ชาวเล ในประเทศจีนทั้งหลาย ล้วนเคารพกันเป็นอย่างสูง ชาวจีนใหหนำหรือไห่หนาน เรียกท่านว่า "เจ้าแม่ทับทิม" เมืองและมณฑลต่าง ๆ ชายฝั่งทะเลจีน รวมถึงไต้หวันและเกาะไห่หนาน ล้วนนับถือท่านมาก


ทุก ๆ ปีจะมีประเพณีนมัสการองค์เจ้าแม่ โดยอัญเชิญองค์เจ้าแม่ออกมาให้ประชาชนเซ่นไหว้ และมีชาวหมิ่นหนานทั้งหลาย ทั้งที่มาจากเกาะไต้หวัน เซียะเหมิน เมืองผู่เถียน และเกาะไห่หนาน มาไหว้องค์เจ้าแม่กันอย่างมากมาย


ภาพของเกาะเหมยโจว คนละเหมยกับ เมืองเหมยโจวของเรานะครับ เหมย ตัวนี้ หมายถึงใบหู เพราะตัวเกาะมีลักษณะคล้ายใบหูของคนเรา 湄洲


 

15. มณฑลเจียงซี

มณฑลเจียงซี เป็นอีกมณฑลหนึ่งที่อยู่ทางภาคใต้ของจีน แต่ไม่ติดทะเลนะครับ สถานที่สำคัญของมณฑลนี้ ในด้านที่เกี่ยวกับ การปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์จีน และสงครามกลางเมืองระหว่างคอมมิวนิสต์ กัีบฝ่ายก๊กมินตั๋ง(กว๋อหมินตั่ง) ที่มีจอมพลเจี่ยงเจี้ยสือ(เจี่ยไคเช็ค) เป็นผู้นำ สถานที่นี้คือ "จิ่งกางซาน" ซึ่งเหมาเจ๋อตง แยกตัวออกจากแกนนำพรรคคอมมิวนิสต์(ในสมัยนั้นเหมาเจ๋อตงยังไม่ใช่ผู้นำสูงสุดของพรรคฯ) มาตั้งฐานทัีพที่มั่น ในจิ่งกางซาน นี้เป็นที่แรก โดยยึดหลักของแกนนำพรรค ว่า "ต้องใช้ยุทธการป่าล้อมเมือง" ไม่ใช่ตีเมืองให้แตกแล้วยึดรอบเมืองจนทั่วทั้งมณฑล

หลายปีต่้อมา แนวความคิดนี้ของเหมาเจ๋อตง ได้ถูกยอมรับจากแกนนำและทุกคนในพรรค หลังจากเดินทัพทางไกล (เรื่องนี้ก็สนุกนะ-หลังจากที่เขียนเรื่องจีนปัจจุบันนี้ค่อยเขี่ยนเรื่องการเดินทัพทางไกลอันลือลั่นสนั่นโลกให้อ่านกันนะครับ) เหมาเจ๋อตงจึงได้ขึ้นมาเป็นผู้นำสูงสุด ในการประชุม ที่เมืองจุนอี้ มณฑลกุ้ยโจว ซึ่งถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์จีน ว่า การประชุม "จุนอี้ฮุ่ยอี้"

มณฑลเจียงซี เป็นอีกมณฑลหนึ่งที่มีชาวฮากกาเหมือนพวกเรา อาศัยอยู่กันเป็นอย่างมาก ทางตอนใต้สุดของมณฑลที่ติดกับ ทางตะวันตกเฉียงใต้สุดของมณฑลฝูเจี้ยน(ฮกเกี้ยน) และติดกับเมืองเหมยโจวของพวกเรา แล้วก็พูดฮากกาสำเนียงเดียวกับเหมยเสี้ยนเสียด้วยครับ (พี่สะไภ้ของไหง่เป็นคนเจียงซีที่ติดกับเหมยโจวครับ)

มณฑลเจียงซี ทิศเหนือติดมณฑลอันฮุย และ มณพลเจ้อเจียง ทิศตะวันออกติดมณฑลฝูเจี้ยน ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดมณฑลหูเป่ย ทิศตะวันออกติดมณฑลหูหนาน และ ทิศใต้ ติดมณฑลกว่างตง ครับ

มณฑลเจียงซี มีนครหนานชาง เป็นเมืองเอก ครับ

แผนที่ของมณฑลเจียงซี ซึ่งแสดงเขดของเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ในมณฑลเจียงซี บริเวณตอนบนของมณฑล ที่ติดกับแผนที่สีเขียวทางขวาและสีเหลืองทางซ้าย นั่นแหละครับ คือนครหนานชาง(สีชมพู)

แผนที่นี้คือนครหนานชาง เมืองเอกของมณฑลเจียงซี

นครหนานชาง เป็นเมืองอาภัพ ครับ เพราะประสบอุทกภัยทุกปี สองภาพนี้ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2012 นี้เองนะครับเนี่ย

น่าสงสารชาวนครหนานชาง หรือ หน่ำชอง ในภาษาฮากกานะครับ ในภาพ เป็นเขื่อนป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำหานเจียงที่ไหลผ่านหนานชาง ไปผ่านเหมยโจวบ้านเรา และออกทะเลที่ซ่านโถว(ซัวเถา)ครับ

ทัศนียภาพบนจิ่งกางซาน ในภาพนี้เป็นแคมป์ของเหมาเจ๋อตง ในสมัยที่มาตั้งฐานที่มั่นแห่งนี้ เป็นแห่งแรก ภายใต้นโยบาย หรือยุทธศาสตร์ (ส่วนตัว) ป่าล้อมเมือง ของเหมาเจ๋อตง ภายหลังอีกกว่าสิบปี จึงเป็นที่ยอมรับของสมาชิกและแกนนำพรรคคอมมิวนิสต์ (ฝ่ายที่สนับสนุนก็คือล้วนแต่เป็นฝ่ายบริหารประเทศจีนใหม่ทั้งนั้น เช่น จอมพลจูเต๋อ จอมพลยับเกี้ยนยิน และจอมพลทุกท่าน รวมถึง ท่านนายกรัฐมนตรีโจวเอินไหล มหาบุรุษของประชาชาติจีน รวมถึงชาย(ใจ)ใหญ่ตัวเล็ก อย่าง "เติ้งเสี่ยวผิง" ด้วย

ภาพประธานเหมา กับ นางเจียงชิง ภรรยาคนสุดท้าย ของท่าน (ในภาพนี้ไม่ใช่บนจิ่งกางซานนะครับ เพราะทั้งสองไปแต่งงานกันที่ "เอี๋็ยนอาน" เมืองหลวงแดง ในมณฑลส่านซี หลังจากเดินทัพทางไกลแล้ว ภรรยาคนแรกของเหมา คือ หยางไคฮุ่ย และคนที่สอง คือ เฮ่อจื่อเจิน ถูกทหารก๊กมินตั๋งของจอมพลหัวล้านเจี่ยงเจี้ยสือ ฆ่าตาย ท่านทั้งสองได้สละชีพตัวเองเพื่อให้สามีได้มีความสำเร็จเข้ายึดประเทศจีนได้ทั้งหมดอย่างเบ็ดเสร็จ ขอคารวะดวงวิญญาณวีรสตรีทั้งสองท่าน

จิ่งกางซานเป็นแหล่งผลิตชา 1 ใน 10 สุดยอดชาจีน คือ "ชาลิ่วอานกวาเพี่ยน" ที่ประธานเหมาติดอกติดใจ ตอนมาอยู่จิ่งกางซานจนติดชานี้ไปตลอดชีวิต ท่านบอกว่า "ฮ่าวซึด"

ชาลิ่วอานกวาเพี่ยน เป็นยอดชาใบใหญ่กว่าชาทั่ว ๆ ไปและเป็นชาขาว (น้ำชามีสีขาว) แต่มีรสชาติและความหอมเป็นอันดับ 1 ของสุดยอดชาจีน แม้แต่ประธานาธิบดี หูจิ่นทาว ยังใช้ในการต้อนรับ ประธานาธิบดี ปอดเหล็ก ขวัญใจแม่ยกชาวรัสเชีย นาม "วลาดิมีร์ปูติน"

 

16. มณฑลหูหนาน

มาถึงแล้วครับ มณฑลหูหนาน บ้านเกิดของประธานเหมาเจ๋อตง และเป็นมณฑลที่มีชาวฮากกาอาศัยอยู่ด้วย

มณฑลหูหนาน ทิศเหนือติดมณฑลหูเป่ย ทิศตะวันออกติดมณฑลเจียงซี ทิศตะวันตกติดมหานครฉงชิ่ง และมณฑลกุ้ยโจว ส่วนทิศใต้ติดมณฑลกว่างตง และเขตปกครองตนเองจ้วงกว่างซี

มณฑลหูหนานมี นครฉางซา เป็นเมืองเอก ครับ

แผนที่ตั้งของมณฑลหูหนาน ด้านขวาของภาพที่เป็นสีเหลืองนั้น คือ นครฉางซา ซึ่งตั้งอยู่ติดกับมณฑลเจียงซี

ภาพของตัวเมืองนครฉางซา ในภาพสุดท้ายนี้เป็นสถานีรถไฟนครฉางซา

ภาพชุดต่อไปที่จะให้ท่านชมนี้ คือ "อุทยานแห่งชาติ จางเจียเจี้ย-มรดกโลกที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากขึ้นไปทั่วโลกจากการที่ได้เป็นฉากในภาพยนต์เรื่อง อวตาร"

ติดตามชมความสวยงามอย่างมหัศจรรย์ อย่างจุใจได้เลยครับ

ถึงแม้ว่าทางรถยนต์ขึ้นเขาจะเลี้ยวลดคดเคี้ยวน่าหวาดเสียว แต่มีบริการกระเช้าลอยฟ้าขึ้นไป ซึ่งไหง่ว่าน่าหวาดเสียวพอ ๆ กัน ถ้าให้เลือก ไหงขอเลือกกระเช้าลอยฟ้า ดีกว่า เพราะเป็นการเสียวแบบตื่นเต้น ตื่นตา ตื่นใจ ที่ได้เห็นทิวทัศน์แบบพาโนรามา ดีกว่าไปเวียนหัวบนรถที่ไต่ขึ้นเขา

ท่านใดสนใจไปท่องเที่ยว"จางเจียเจี้ย" ติดต่อ Yubsibfa หรือนายKlit.Y กรรมการผู้จัดการ "บริษัท หลินปิง ทัวร์ จำกัด" ได้นะครับ เป็นทัวร์ที่มุ่งเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจี่นโดยตรง และจัดทริปไปประเทศจีน เพียงอย่างเดียว ตามความต้องการของลูกทัวร์ ที่ระบุว่าจะให้เราจัดไปที่ไหน นำทัวร์โดย นายKlit.Y นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจีน (มิมีสังกัด-อิอิ.)

อุทยานแห่งชาติมรดกโลก "จางเจียเจี้ย" ตั้งอยู่ที่เมือง จางเจียเจี้ย ชื่อเดียวกัน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของมณฑลหูหนาน ซึ่งตัวอุทยานเป็นป่าดิบเขาเพียงแห่งเดียวในประเทศจีน ลักษณะของภูเขาเป็นเขาที่่มีลักษณะเป็นแท่ง ๆ ตั้งอยู่เป็นกลุ่ม ๆ และมีผืนป่าดิบอยู่ด้านล่าง

ภาพต่อไปนี้จะเป็นภาพบ้านเกิดของประธานเหมาเจ๋อตง ครับ

ภาพนี้ ประธานเหมาตอนสถาปนาประเทศจีนใหม่สำเร็จแล้วได้กลับมาเยี่ยมบ้านเกิดเป็นครั้งแรก

บ้านเกิดของเหมาจู่สี ปัจจุบันคือเมือง เซี่ยงถาน อยู่ใกล้ ๆ กับนครฉางซามาทางทิศใต้ราว ๆ 79 กิโลเมตร เรียกว่ามาจากฉางซาได้อย่างสะดวกโยธินว่างั้นเถอะครับ

"สหายเหมาเจ๋อตง"

ภาพนี้ในปี 1959 ประธานเหมาเจ๋อตงได้กลับมาที่บ้านเกิดแล้วถ่ายภาพกับบรรดาพี่ ๆ น้อง ๆ ลูกพี่ลูกน้อง ในครอบครัวของท่าน สุภาพสตรีชราที่นั่งล้อเข็นด้านขวามือของท่าน คำบรรยายภาพไม่ได้บอกว่าเป็นใคร แต่ไหงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นคุณน้าหรือไม่ก็คุณอาของท่าน เพราะบิดามารดาของท่านจากไปตั้งแต่ก่อนที่จะยึดประเทศจีนได้ทั้งหมด

เป็นอันจบตอนของมณฑลหูหนานไว้เพียงเท่านี้นะครับ

 

17. มณฑลกว่างตง (บ้านเรา)

กว่างตง เป็นมณฑลที่มีความเจริญมากที่สุดในประเทศจีน ความเจริญใหญ่โตของกว่างตง เห็นได้ชัดจากการที่เมืองต่าง ๆ มีเขตความเจริญของตัวเมืองแทบจะติด ๆ กัน (กรุณานึกภาพกรุงเทพมหานครกับปริมณฑลอย่างนนทบุรี-รังสิต-สมุทรปราการ-อย่างนี้นะครับ)

ในการปฏิรูปและเปิดประเทศของท่านเติ้งเสี่ยวผิงเมื่อสามสิบกว่าปีก่อนนั้้น ท่านเลือกมณฑลกว่างตงเป็นมณฑลนำร่องในการปฏิรูปและเปิดประเทศตามนโยบายสี่ทันสมัยของท่าน อีกประการหนึ่ง กว่างตง เป็นมณฑลที่มีพี่น้องชาวจีนออกไปตั้งหลักแหล่งตามประเทศต่าง ๆ ในโลก โดยเฉพาะแถบอาเซียนบ้านเรา มีชาวจีนกลุ่มต่าง ๆ ในมณฑลกว่างตงเข้ามาอาศัยมากที่สุด

ประเทศไทย มีพี่น้องชาวแต้จิ๋วมากที่สุด รองลงมาก็คือพวกเราชาวฮากกา จีนกวางตุ้ง(กว่างตง) ฮกเกี้ยนใต้ และใหหนำ

ประเทศฟิลิปปินส์ มากที่สุดคือพวกเราชาวฮากกา

อินโดนีเซีย ก็ฮากกามากที่สุด (ญาติไหงก็มีอยู่ในจาร์กาต้า)

มาเลเซีย มีแต้จิ๋ว ฮกเกี้ยนใต้ และฮากกา(ญาติไหงก็อยู่รัฐยะโฮห์)

สิงคโปร์ก็มี ฮากกา กับฮกเกี้ยนใต้

ส่วนชาวกว่างตง ที่พูดภาษาไป๋ฮว่า นั้น จะไปอยู่ที่อเมริกากันมาก

อีกประการหนึ่งในเหตุผลที่ต้องพัฒนามณฑลกว่างตงนำร่องก่อนใครเพื่อนก็คือเป็นการเตรียมตัวต้อนรับ ฮ่องกง และ มาเก๊า(อ้าวเหมิน) กลับเข้าสู่อ้อมอกของปิตุภูมิ

เรามาดูความเจริญของมณฑลกว่างตง กัน ได้ ณ บัดนี้ครับ

นี่ครับ แผนที่ของมณฑลกว่างตง ที่เป็นเหมือนรูบงวงช้าง ด้านขวาสุดของภาพตั้งแต่จุดเริ่มต้นลงมาจนถึงปลายงวงช้างนั้น คือชายฝั่งทะเล ครับ

มณฑลกว่างตง มีนครกว่างโจว เป็นเมืองเอกครับ

ไหน ๆ ก็ขึ้นแผนที่แล้ว ขอขึ้นแผนที่เมืองต่าง ๆ ที่อยู่ตามชายฝั่งทะเลที่พวกเรารู้จักคุ้นหูกัน ในโซนแผนที่นี้เสียเลย ดีกว่านะครับ (เอาตั้งแต่ชายฝั่งเหนือสุดมาจนถึงใต้สุดก็แล้วกันนะครับ)

潮州市 เมืองฉาวโจว(แต้จิ๋ว)

汕头市 นครซ่านโถว (ซัวเถา)-เขตเศรษฐกิจพิเศษซ่านโถว

汕尾市 เมืองซ่านเซียง

惠州市 เมืองฮุ่ยโจว

东莞市 เมืองตงกว่าน 深圳市 นครเซินเจิ้น-เขตเศรษฐกิจพิเศษเซินเจิ้น อยู่ติดกับเซียงก่าง(ฮ่องกง)

广州市 นครกว่างโจว (เมืองเอก)

珠海市 นครจูไห่ - เขตเศรษฐกิจพิเศษ อยู่ติดกับมาเก๊า(อ้าวเหมิน)

中山市 นครจงซาน(บ้านเกิดท่านซุนจงซาน)

阳江市 เมืองหยางเจียง

湛江市 เมืองจ้านเจียง ใต้สุดของมณฑลกว่างตง อยู่ตรงข้ามกับเกาะไห่หนาน(ใหหนำ)

 

แถมแผนที่เมืองเหมยโจวของพวกเราทั้งหลาย ภาพบนเป็นแผนที่แสดงขอบเขตการปกครองและอำเภอต่าง ๆ ภาพล่างเป็นเขตตัวเมืองเหมยโจว

มณฑลกว่างตง ถือกันว่า เ็ป็นมณฑลที่มีความเจริญมาตั้งแต่สมัยปลายราชวงศ์ชิง และเ็ป็นมณฑลที่ค่อนข้างมีความอิสระในด้านการค้าการขายเนื่องจากมีเรือสินค้าของฝรั่งตะวันตกเข้ามาเทียบท่าค้าขายเป็นจำนวนมาก ในการค้านี้ยังมี "ฝิ่น" ที่ฝรั่งอังกฤษเอาเข้ามามอมเมาชาวกว่างตง จนติดกันงอมแงมกลายเป็นการปราบปราม จนเกิดกรณีสงครามฝิ่น ขึ้ันมา ระหว่างรัฐบาลราชวงศ์ชิง โดยท่านหลินเจ๋อสวี วีรบุรุษของชาวกว่างโจว เป็นข้าหลวงใหญ่ที่ถูกส่งมาจากปักกิ่ง ให้เข้ามาทำการยกเลิกการขายฝิ่น จนพวกอังกฤษ โกรธจัด จนกลายเป็นสงครามฝิ่น ที่สร้างความเจ็บช้ำใจให้กับชาวจีนในสมัยนั้น ถึงกระทั่งต้องเสียดินแดนฝั่งเกาลูน และฮ่องกง ให้อังกฤษเช่าไป

มาดูความเจริญของเมืองสำคัญ ๆ ต่าง ๆ ของกว่างโจวกันดีกว่าครับ

นครกว่างโจว เมืองเอก

 

 

อนุสรณ์สถานท่านด๊อกเตอร์ซุนจงซาน บิดาประเทศจีน

อนุสาวรีย์ห้าแพะ มีกว่างโจวได้มีสมญานามว่าเมืองห้าแพะ มีตำนานเล่าว่า ในอดีตกาล นานมากแล้ว เมืองกว่างโจวมีความทุกข์ยากแห้งแล้งฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ผลผลิตทางการเกษตรก็ไม่มี แม้แต่เมล็ดพันธุ์พืชและข้าว ก็หามาปลูกไม่ได้เลย ร้อนถึงพระอินทร์ เอ้ย เง๊กเซียนฮ่องเต้ จึงได้มีบัญชาให้เทวดา ห้า องค์ แปลงร่างมาเป็นแพะห้าตัว คาบเอารวงข้างที่มีเมล็ดมาแจกจ่ายให้กับราษฎรกว่างโจวทั่วทุกครัวเรือน แล้วฝนก็ตกลงมา

ด้วยความสำนึกในบุญคุณของห้าแพะนั้น ชาวเมืองกว่างโจวในอดีตจึงบูชาแพะ และยกย่องห้าแพะเป็นสัตว์ที่มีบุญคุณของชาวเมืองทั้งหลาย (ใครไปกว่างโจวอย่าเผลอถามหาแพะตุ๋นล่ะ เดี๋ยวจะถูกเถ้าแก่โรงเตี้ยมตะเพิดออกมา-เพราะคนกว่างโจวขึ้นชื่อว่าดุนักดุหนา)

ที่นี่เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของตัวเมืองกว่างโจว ใครมากว่างโจวแล้วไม่มาถึงที่นี่ถือว่ามาไม่ถึงกว่างโจว

กว่างโจว มีแม่น้ำจูเจียง(แม่น้ำไข่มุก) ไหลผ่านและเป็นปากน้ำที่ไหลออกสู่ทะเล

สวนสาธรณะไป๋หยุนซานที่ตั้งของอนุสาวรีย์ห้าแพะ สนามบินใหม่ของนครกว่างโจวก็มีชื่อว่า "ไป๋หยุนจีฉ่าง" ตามชื่อของสวนนี้

อนุสรณ์สถาน 72 วีรชน

อาคารสมาคมสมาชิกตระกูลเฉิน ในนครกว่างโจว ในอดีต ตระกูลเฉินในกว่างตง ทุกสำเนียงภาษา ได้ลงขันกัีนเพื่อสร้างบ้านพักตระกูลเฉินขึ้นมา เพื่อให้ลูก-หลาน ตนเอง ที่มาศึกษาเล่าเรียน ในนครกว่างโจวได้ใช้เป็นที่พบปะ กัน บ้านตระกูลเฉิน เป็นโบราณสถานและสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามของสถาปัตยกรรมแบบจีนใต้ มีโบราณวัตถุล้ำค่าที่ประเมินราคารไม่ได้อยู่หลายชิ้นทีเดียวครับ ไท้ก๋าหยิ่น

ท่านเฉินตู๋ซิ่ว เลขาธิการคนแรกของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ก็เป็นสมาชิกของตระกูลเฉินในกว่างโจว

จอมพลเฉินอี้ หนึ่งใน สิบ จอมพลของจีนใหม่ ก็เป็นชาวแซ่เฉินในกว่างตง

ความงดงามของสถาปัตยกรรมในสมาคมตระกูลเฉินในนครกว่างโจว ไหงไปเยือนมาแล้ว สองครั้ง เมื่อนานมากแล้วขอยืนยันว่ามีความงดงามวิจิตรพิสดาร เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะหยกแกะสลัก และงาช้างแกะสลัก งามอย่างมิอาจหาที่ใดเสมอเหมือน

เรามาชมภาพความเจริญรุ่งเรืองของแต่ละเมืองในกว่างตงกันนะครับ

เมืองแต้จิ๋็ว(เฉาโจว)

 

สถานีรถไฟเมืองแต้จิ๋ว

กำแพงประตูเมืองเก่าของแต้จิ๋ว

วัดไคหยวน เป็นวัดไทยในเมืองแต้จิ๋วที่บรรดาเจ้าสัวตระกูลต่าง ๆ ในเมืองไทย ช่วยกันลงขันสร้างขึ้นมา เพื่อให้ชาวพุทธในเมืองแต้จิ๋วได้นมัสการพระพุทธรูป และเป็นสัญลักษณ์ว่า เมืองแต้จิ๋ว ประเทศจีน มีความสัมพันธ์ที่ดีมาก กับประเทศไทย โดยเฉพาะชาวไทยเชื้อสายแต้จิ๋วมีจำนวนมากที่สุดในโลก

ดนตรีแต้จิ๋ว จัดว่าเป็นดนตรีปักษ์ใต้ของจีน ที่มีท่วงทำนองไพเราะสดใส เสียงดนตรีของวง กึกก้องกังวาล หนักแน่นแต่นุ่มนวล น่าฟังดีทีเดียวครับ

อาหารแต้จิ๋วที่คุ้นลิ้นคนไทยเป็นอย่างดี อาหารแต้จิ๋วถูกจัดให้เป็นอาหารที่อร่อยที่สุด ในบรรดาอาหารจีน ควบคู่กับ อาหารของคนกว่างตง(ที่พูดภาษาไป๋ฮว่า) แต้จิ๋วอยู่ในมณฑลกว่างตงเพียงแห่งเดียว ในเรื่องอาหาร จึงถูกเหมารวมเป็นอาหารกวางตุ้ง ไปด้วย

พวกเราอยู่ที่เมืองไทย คุ้นลิ้นคุ้นปาก กับรสชาติิอาหารแต้จิ๋ว กับ อาหารกวางตุ้ง ที่รสชาติกลมกล่อม อร่อยเลิศ ถ้าลองไปทานอาหารทางแถบตะวัีนตกของจีน โดยเฉพา่ะอาหารเสฉวน(ซื่อชวน) ท่านจะน้ำหนักลดอย่างทันตาเห็น เพราะรับประทานไม่ค่อยลง คือ ทั้งร้อนจัด มันจัด และเผ็ดจัด มีแต่เค็มกับมันและเผ็ด ไม่มีความกลมกล่อมเลย ยังดีที่อาหารหยุนหนาน ยังพอกินได้อร่อยลิ้น ถ้าขึ้นเหนือหยุนหนานไป ทางเสฉวน ฉงชิ่ง ขอสารภาพว่า ทานไม่่ลงเลยครับ ต้องพึ่งมาม่าจีนมีอยู่ยี่ห้อหนึ่ง รสชาติถูกปากมาก น้ำซุปเหมือนน้ำแกงอ่อม ของเชียงใหม่ คล้ายกันมาก ไหงอยู่ทางตะวันตกของจีน ถ้าไม่ีทานพวกปิ้งย่าง ก็ต้องใช้มาม่า และโยเกิร์ต ประทังความหิวไป

นครซ่านโถว(ซัวเถา)-เขตเศรษฐกิจพิเศษ

ความเจริญของซ่านโถว หรือ ซัวเถา ใครจะคาดคิดได้ว่า ในอดีตเมื่อสามสิบกว่าปีก่อน เป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมงเล็ก ๆ เป็นเพียงแค่ตำบล หาใช่อำเภอที่ขึ้นกับเมืองแต้จิ๋วอย่าง เตียะเอี้ย เตียะอัน โผวเล้ง เกียดหยอง เกียดซี แต่พอท่านเติ้งเสี่ยวผิงประกาศนโยบายสี่ทันสมัย ก็พลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินให้หมู่บ้านซัวเถาจากที่เป็นชายทะเล ให้ชาวเลออกหากุ้งหาปลา กลายมาเป็นมหานคร ที่เจริญใหญ่โตกว่าเมืองหลักของตัวเองในอดีต คือ แต้จิ๋ว ปัจจุบัน ซัวเถาถ้าจะเรียกให้ถูกหรือสมศักดิ์ศรี ก็ต้องเรียกว่า นคร เพราะเจริญใหญ่โตกว่าแต้จิ๋วเมืองแม่ ในปัจจุบันนี้มากนัก เพราะเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ นั่นเอง

 

ลูกชิ้น ทั้งหมู และเนื้อ หลายคนในโลกนี้ แม้แต่ในประเทศจีน เชื่อว่าเป็นอาหารของชาวแต้จิ๋ว แท้ที่จริงแล้ว กลุ่มชาวฮัี่นที่คิดค้นการทำลูกชิ้น นี้ คือ "ชาวฮากกา" พวกเรานี่เองครับ ไหง่ดูรายการCCTV-4 สารคดีนำเที่ยวในประเทศจีน "หย่วนฟางเตอเจีย" ของ เหยียนไห่สิง 远方的家 - 沿海行 ซึ่งออกอากาศตรงกับบ้านเรา ที่เวลา บ่ายสี่โมงสิบห้านาที ถึงห้าโมงเย็น

ชมตอนที่เขาไปเยือนเมืองแต้จิ๋ว ไปดูร้่านที่ทำลูกชิ้นในเมืองแต้จิ๋ว เถ้าแก่เจ้าของร้าน ในขณะที่กำลังทุบก้อนเนื้อให้ละเอียดด้วยสากกะเบือสแตนเลส เขาให้สัมภาษณ์ชัดเจนมากเลยครับ ว่า "ชาวแต้จิ๋วรับเอาการทำลูกชิ้นมาจากคนฮากกาที่เหมยเสี้ยน"

แล้วชาวแต้จิ๋วก็ออกไปอยู่ทั่วเอเชียอาคเนย์ ก็เอาอาหารของตัวเองติดไปด้วย ไปที่ไหน ก็อยู่้ที่นั่น ปรุงอาหารขาย ลูกชิ้นจึงเข้ามาในประเทศไทย โดยชาวแต้จิ๋ว หาใช่พวกเราชาวฮากกาต้นตำรับ ที่เข้ามาทีหลังไม่

 

นครซ่านเซียง

นครซ่านเซียง

 

เมืองฮุ่ยโจว

 

นครเซินเจิ้น-เขตเศรษฐกิจพิเศษ แถบสีขาวด้านล่างคือฝั่งเกาลูนของเขตปกครองพิเศษฮ่องกงครับ

 

 

นครเซินเจิ้นในส่วนที่ติดทะเลจีนใต้

ย่านหลอหู เป็นสถานีรถไฟของเซินเจิ้น โดยบนดินเป็นรถไฟที่เชื่อมไปยังเมืองต่าง ๆ ของจีน ใต้ดินเป็นรถไฟฟ้าแบบบีทีเอสบ้านเรา สามารถนั่งข้ามไป-มายังฝั่งเกาลูนของฮ่องกงได้อย่างสะดวกสบาย บริเวณสถานีรถไฟหลอหู ใต้ดินในส่วนของรถไฟฟ้า จะมีเส้นกั้นเขตแดนระหว่างประเทศ คั่นกึ่งกลางอยู่

นครเซินเจิ้น ไหงไปเยือนมาแล้ว ประมาณ 5-6 ครั้ง เพราะมีหลาน ๆ ทำงานอยู่ที่นี่ และต้องไปติดต่อกับตัวแทนที่จะเปิดทำการแลกเปลี่ยนธุรกิจกัน

ย่านการค้าตลาด "ตงเหมิน" ที่มีทุักสิ่ง ที่ท่านอยากได้ ทั้งของจีนทำ ของจีนเลียน และสินค้าแทบจะทุกชนิด ที่นี่เป็นทั้งศูนย์การค้าปลีก และค้าส่ง ในแห่งเดียวกัน ถ้าซื้อปลีก สินค้าหลาย ๆ อย่างต้องต่อราคาลงมาอีก ห้าสิบเปอร์เซ็นต์ ถ้าไม่ได้ ก็เดินหนี จนเถ้าแก่เนี้ย บอก โอเค โอเค สิง สิง นั่นแหละครับ ต้องหันหลังกลับมาซื้อ เพราะคนที่นี่ ดุชะมัด ถ้าไม่รักษาคำพูดแล้ว พวกจะด่าแหลกกันไปเลย

 

ย่านตงเหมินแหล่งจำหน่ายสินค้าปลีกและส่งชื่อดัง ไฮซ้อไฮโซล้วนชอบมาที่นี่ เคล้ากับวัยรุ่นจีน ที่มีมาเดินเล่นหาซื้อสินค้ากันอย่างมืดฟ้ามัวดิน

ศูนย์การค้าหลอหู ที่สำคัญเช่นกัีน ตั้งอยู่ริมสถานีรถไฟหลอหูของเซินเจิ้น มีโรงแรมที่พัีกราคามาตรฐานสำหรับพ่อค้าแม่ค้าต่างเมือง รวมถึงนักท่องเที่ยวไทย และพ่อแม่ค้าชาวไทย ที่มาเฟ้นหาสินค้าแถวนี้กลับมาขายในเมืองไทย

ศูนย์การค้าหลอหู

เซินเจิ้น เป็นเืมืองที่มีความเจริญมาก มีแต่เศรษฐีอาศัียอยู่ที่นี่เต็มไปหมด แต่ความเจริญของเซินไม่กว้างขวางใหญ่โตมากนัก แต่ไม่ค่อยน่าอยู่เพราะความแิออัดยัดเยียดของผู้คนที่มีมากมายเหมือนมดเหมือนปลวก และค่าครองชีพก็ค่อนข้างสูง

เช่นเดิียวกัน ในอดีตเมื่อสามสิบปีก่อน เซินเจิ้นเป็นเพียงหมู่บ้านชายทะเลเล็ก ๆ แต่ปัจจุบันได้กลายมาเป็นนครเซินเจิ้น เมืองคู่แฝดของเขตปกครองพิเศษฮ่องกง

เมืองตงกว่าน

ตงกว่านเป็นเมืองอุตสาหกรรมและการค้า อยู่ถัดเซินเจิ้นเข้าไปในแผ่นดิน แต่ก็ยังติดปากแม่น้ำจูเจียงอยู่เหมือนกัน ตงกว่านไหงไปมาสองครั้ง โดยนำยางพาราไปเสนอลูกค้าตามการจ้างของพ่อค้าคนไทย

 

เขตเศรษฐกิจพิเศษ จูไห่

นครจูไห่ อยู่ตรงข้ามกับเซินเจิ้น-ฮ่้องกง และติดกับเขตปกครองพิเศษอ้าวเหมิน(มาเก๊า) เรียกว่าอยู่กันคนละฝั่งของปากแม่น้ำจูเจียงในส่วนที่ได้ออกทะเลมาแล้ว

 

นครจงซาน บ้านเกิดของมหาบุรุษ "ซุนยัดเซ็น"(ซุนอี้เซียน) หรือซุนจงซาน ท่านมี 3 ชื่อ ชื่อเล่นที่บ้านในตอนเกิด ท่านชื่อ ซุนเหวิน ชื่อเป็นทางการคือซุนอี้เซียน เสียงภาษากวางตุ้งหรือภาษาไป๋ฮว่า ออกเสียงว่า ซุนยัดเซ็น และชื่อที่ท่านใช้ในการหาเสียงปฏิวัติ ตอนที่ท่านอยู่ในประเทศญี่ปุ่น ท่านไปเห็นคำว่า จงซาน-中山-กลางภูเขา...ท่านเกิดปิ๊ง คำคำนี้ ท่านจึงใช้ ซุนจงซาน เป็นชื่อในการหาเสี่ยงผู้สนับสนุนในการปฏิวัติโค่นล้มราชวงศ์ชิง

หลังนี้แหละครับท่านผู้ชมบ้านของท่านซุนจงซาน

สำนักงานของท่านที่นี่ ตอนที่มาตั้งหลักอยู่ที่บ้านเกิด

เทียนเซี่ยเหวยกง "ใต้ฟ้า-เป็นของประชาชน" (หมายถึงแผ่นดินเป็นของประชาชน-เป็นคำคมหรือคำขวัญของท่านที่เป็นที่รู้กันในหมู่ชาวจีนทุกคนทั่วโลก)

เทียนเซี่ยเหวยกง เป็นหลักการของตำรา "ไตรประชา หรือ ไตรราษฎร์ ที่ท่านเขียนขึ้น เพื่อใช้ในการบริหารประเทศในประเทศไทย ผู้ที่แปลตำรานี้คือท่านศาสตราจารย์ด๊อกเตอร์ปรีดี เกษมทรัพย์ ท่านเขียนขึ้นมาเพื่อหวังว่าทายาททางการเมืองของท่านจะนำไปใช้ปรากฏว่าหลังจากที่ท่านอสัญกรรม จอมพลไร้เส้นผม เจี่ยงเจี้ยสือ แทบไม่ไยดีตำราเล่มนี้่ในการปกครองประเทศเลยแม้แต่น้อย พรรคคอมมิวนิสต์จีนเสียอีก ที่ได้ยอมรับ เพราะมันตรงกับหลักการของคอมมิวนิสต์หรือสังคมนิยมพอดี ว่า ประชาชนเสมอภาคกัน ภายในห้องพักของท่านซุนที่บ้านเกิดของท่าน ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติซุนจงซาน

 

เมืองเจียงเหมิน

เจียงเหมิน เป็นเมืองที่ติดกับนครจงซาน แต่อยู่กันคนละฝั่งแม่น้ำ

 

เมืองหยางเจียง

หยางเจียงเป็นเมืองตากอากาศของมณฑลกว่างตง เนื่องจากมีเกาะเล็กเกาะน้อย และอยู่ในโซนทะเลจีนใต้ น้ำทะเลจึงค่อนข้างใสและสวยงาม แต่ยังสู้ทะเลบ้านเราไม่ได้นัก

 

ใต้สุดยอดในกว่างตง-เมืองจ้านเจียง

 

สุดท้าย ครับ เป็นการแถมให้เพื่อให้พวกเราได้เห็นบ้านเมืองของบรรพบุรุษของพวกเรา เมืองเหมยโจว ครับ

บ้านแบบเหวยหลงหวู่ ของพวกเราชาวฮากกาเหมยโจว ภาพนี้เป็นบ้านที่สมบูรณ์มาก ตึกดินถู่โหลวก็เอาแบบบ้านเหวยหลงหวู่นี้ไปดัดแปลงให้เป็นวงกลมหรือสี่เหลี่ยม แล้วทำหลายชั้นเหมือนป้อมปราการ

 

 

ศิลปะ-วัฒนธรรม-ประเพณี-สถาปัตยกรรมและอาหารของชาวฮากกา

 

อาหารฮากกา เส้นทางอพยพของชาวฮากกา

ถิ่นที่อยู่้อาศัยอย่างหนาแน่นของฮากกา

พื้นที่ภาคใต้ทั้งหมดที่มีชาวฮากกาอาศัยอยู่คือ ทั่วทั้งมณฑลกว่างตง ตะวันออกเฉียงใต้ของกว่างซี และเกาะไห่หนาน เกาะไต้หวัีน (ในภาพนี้ยังไม่รวมเสฉวน-หูหนาน-เจียงซี)

 

 

ยังไม่จบตอนที่ 5 นี้นะครับ อดใจรออีก แค่มณฑลเดียว คือ เกาะไห่หนาน(ใหหนำ)นะครับ อันเป็นดินแดนใต้สุดยอดในสยามเอ้ย ใต้สุดของจีน ครับ

สวัสดีครับ ทุกท่าน ได้เวลากลับมาเขียนให้จบเสียทีนะครับ รู้เรื่องเมืองมังกร ชุดจีนปัจจุบัน ตอนที่ 5 "จีนภาคใต้" เนี่ย ห่างกันไปหลายวัน ดีเดียวเชียว ตามประสาของคนที่ดิ้นรนกระเสือกกระสนหากระสุนมาใส่กระเพาะให้ลูกนกและแม่นกในรังอันเล็ก ๆ แต่อบอุ่นยังไงล่ะครับ เอาละ มาว่ากันต่ออีกแค่มณฑลเีดียวเองเนาะ จบแล้วจะได้ขึ้นตอนที่ 6 ต่อไป ในเรื่องของจีน ภาคตะวันตก

18.มณฑลไห่หนาน (เกาะไหหลำ-ใหหนำ)

มณฑลไห่หนาน หรือที่พวกเราชาวไทยต่างรู้จักกันและคุ้นหูกันในชื่อว่า เกาะไหหลำ อันนี้เป็นเสียงเรียกที่เพี้ยนมาจากเสียงในสำนวนของเจ้าของภาษาเขา คือชาวไหหลำทั้งหลาย แต่ในภาษาจีนกลางออกเสียงว่า "ไห่หนาน" ซึ่งแปลว่า ทะเลใต้ ไม่ใช่ใต้ทะเลนะครับ

ต่้อมา ทางสมาคมไหหลำแห่งประเทศไทย ได้มีมติเมื่อไม่นานมานี้สรุปว่าให้ใช้ชื่อเรียกกลุ่มของตัวเอง หรือสมาคมชมรมของชาวไทยเชื้อสายจีนที่คนไทยเรียกว่า จีนไหหลำนั้น ในภาษาเขียนที่เป็นอักษรไทย มีมติให้สะกดว่า "ใหหนำ" ให้เป็นสากลกันทุกสมาคม-ชมรม ชาวไทยเชื้อสายจีนไห่หนานทั่วประเทศไทย เป็นแบบเดียวกันหมด ดังนั้น เมื่อเจ้าของภาษาเขาอยากให้เรียกเขาตามที่เขาอยากให้เรียก หรือใช้กันอย่างเป็นทางการ เราก็จึงต้องให้เกียรติเขา เรียกเขาตามที่เขาอยากให้เรีย ว่า "ใหหนำ" อย่างถูกต้อง

ไท้ก๋าหยิ่น(ท่านทั้งหลาย) ถ้าสังเกตุให้ดี ในข้อเขียนของ ไหง่(ผม-ฉัน) เขียนถึงชาวไห่หนาน หรือไหหลำ จะเห็นได้อย่างชัดเจนมานานแล้วว่า ไหงใช้คำว่า ใหหนำ

มณฑลไห่หนาน เป็นหนึ่งในสอง-สาม ในดินแดนของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน (นับรวมเกาะไต้หวันและเกาะฮ่องกงไว้ด้วยซึ่งจะอยู่ในหมวดหรือตอนสุดท้าย-เขตปกครองพิเศษของจีน) มีลักษณะเป็นเกาะ

ในอดีตกาลนานมาแล้ว เกาะไห่หนานเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลกว่างตง ราชอาณาจักร์จีนในราชวงศ์ต่าง ๆ มาจนถึงราชวงศ์ชิง ประเทศสาธารณรัฐจีน - ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐบาลกลางปักกิ่ง เพิ่งจะยกฐานะให้แยกออกมาจากมณฑลกว่างตง ออกมาเป็นจังหวัด เอ้ย มณฑลไห่หนาน เมื่อยี่สิบกว่าปีที่ผ่านมานี้เอง

แผนที่แสดงเส้นทางไปยังเมืองต่าง ๆ บนเกาะไห่หนาน อันนี้แสดงเมืองต่าง ๆไห่หนานมี นครไหโข่ว หรือ "ไห่เค้า" เป็นเมืองเอก (ดูภาพอยู่เหนือสุดของตัวเกาะที่เป็นสีเทาอยู่ตรงกลางระหว่างเมืองที่เป็นสีเหลือง) และมี อำเภอหรือเมืองสำคัญ คือ เหวินชาง(เสียงจีนกลาง)-บุ่นเชียง(สำเนียงไห่หนาน)-หวุ่นชอง(ในภาษาฮากกา)(บนสุดของภาพขวาสุด) ซึ่งเป็นเมืองที่มีชาวไห่หนานออกไปแสวงหาหนทางข้างหน้า(หวาเฉียว) มากที่สุดซึ่งก็ส่วนใหญ่มาอาศัยอยู่ที่ประเทศไทย และที่นี่ ยังเป็นแหล่งที่อยู่ของชาว ฮากกาบนเกาะไห่หนานอย่างหนาแน่นที่สุดอีกด้วย บุคคลสำคัญที่เป็นมหาสตรีของประชาชาติจีน ที่เป็นชาวฮากกาเหวินชาง นี้ คือท่า่น "ซ่งชิ่งหลิง" หรือมาดามซุนจงซาน อดีตประธานประเทศจีนใหม่(กิตติมศักดิ์)

อีกเมืองหนึ่้ง ซึ่งถือเป็นเมืองที่สำคัญของประเทศจีน และของเกาะไห่หนาน มีความเจริญ เทียบเท่านครเอกไหโข่ว และเมืองเหวินชาง นั้นคือ เมือง "ซานญ่า" ซึ่้งเป็นจุดที่อยู่ใต้สุดยอดในประเทศจีน และเป็นเมืองตากอากาศที่มีชื่อเสียงของจีน น้ำทะเลและชายหาดของที่นี่ มีความสวยงามในระดับ เกือบเท่าชายหาดสวย ๆ ของไทย

ตามไหง่(ผม) มาเที่ยวไห่หนานกันเถอะครับ

นครไหโข่ว

 

 

เมืองเหวินชาง

เกาะไห่หนาน อยู่ไม่ไกลจาก เกาัะฟิลิปปินส์ สักเท่าไหร่ และก็อยู่เกือบจะติดกันกับประเทศเวียตนาม และชิดติดกับแผ่นดินใหญ่จีน โดยมี่ช่องแคบจิ่งโจว คั่นระหว่างแผ่นดินใหญ่กับตัวเกาะ มีสะพานข้ามเชื่อมถึงกันได้อย่างสบาย ๆ แค่ไม่กี่กิโลเมตรเท่านั้นเอง

ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงที่ตั้งนครไห่โข่ว เหวินชาง กับแผ่นดินใหญ่(กว่างตง)

บ้านเกิดท่านซ่งชิ่งหลิง

ป้ายปิดบอกว่าบ้านพักตระกูลซ่ง ในอำเภอเหวินชาง หรือเมืองเหวินชางในปัจจุบ้นอันเป็นบ้่านเกิดของท่านซ่งชิ่งหลิง และพี่สาว-น้องสาวของท่าน ที่โด่งดัีงทั่วประเทศจีนและทั่วโลก ที่เป็นกุลสตรีสูงศักดิ์ ลูกสาวมหาเศรษฐี และมีความรู้ดีเยี่ยม เพราะเป็นนักเรียนนอก

บ้านเกิดท่านซ่งชิ่งหลิง ปัจจุบันเป็นสถานที่สำคัญของชาติจีน เป็นพิพิธภัณฑ์ รำลึกถึงคุณูปการและคุณงามความดีของท่าน ในยามที่มีชีวิตอยู่ ได้อุทิศตัวให้กับประเทศชาติ บ้านเมือง และความถูกต้องเป็นสำคัญ สามดรุณี ตระกูลซ่ง หรือ สามสาวสกุลซ่ง นี้ มีชีวิตที่เหมือนดั่งนิยาย ทั้งสามพี่น้อง ท้องเดียวกัน มีความรักใคร่สมานสามัคคีกันดี เหมือนคนปกติธรรมดาอย่างเราท่านทั้งหลาย แต่ในทางการเมือง และทางสังคมนั้น ซ่งใหญ่ เป็นภรรยามหาเศรษฐี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สมัยรัฐบาลจอมพลไร้ผมเจี่ยงเจี้ยสือ (เจียงไคเช็ก) นามด๊อกเตอร์ ข่งเสียงซี

ดรุณีกลาง คือท่านซ่งชิ่งหลิง ได้มาเป็นเลขานุการส่วนตัวของท่านด๊อกเตอร์ซุนจงซาน เนื่องจากอดีตเลขานุการส่วนตัวของท่านต้องลาไปแต่ีงงานกับด๊อกเตอร์ข่งเสียงซี มหาเศรษฐีผู้ดีแห่งนครเซี่ยงไฮ้ จึงต้องส่งน้องสาวคนกลางมาทำหน้าที่แทน ซึ่งกลายเป็นว่า แนวอุดมการณ์ของท่านบิดาประเทศจีนนั้น โดนใจท่านซ่งชิ่งหลิงเป็นอย่างมาก จนถึงกับหลงรักและฝากตัวไว้กับท่านซุน แม้จะอ่อนกว่าคราวลูก เพราะบิดาของท่าน เป็นทั้งเพื่อนสนิทและนายทุนด้านการปฏิวัติให้กับท่านซุนจงซาน จนเกือบจะตัดพ่อตัดลูกกัน แต่่ด้วยคุณงามความดีของท่านซุน จึงได้รับการให้อภัยในที่สุด

น้องนุชคนสุดท้อง คือ มาดามเจียงไคเช็ค หรือ มาดามซ่งเหม่ยหลิง ภริยาของจอมพลเจี่ยงเจี้ยสือ ที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากับท่านซ่งชิ่งหลิง พี่ภรรยาเพราะจอมพลเจี่ยงเป็นเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ และเกลียดชังคอมมิวนิสต์ ในขณะที่ท่านซ่งชิ่งหลิง มีใจนิยมและเข้าข้างคอมมิวนิสต์ตามนโยบายของสามีท่านด๊อกเตอร์ซุนจงซาน บิดาประชาชาติจีนใหม่

ภาพถ่ายท่านซ่งชิ่งหลิง ภายในบ้านของท่านในปัจจุบัน นี้ที่กลายเ็ป็นสถานที่สำคัญเปิดให้ประชาชนเข้าเยี่ยมชม

และัพวกเราถ้าใครไปถึงที่นี่ คงจะรู้เสียบ้างว่า ฮากกาเหวินชางนี้ เขามีสำเนียงอย่างไรบ้าง ไม่ใช่มีเพียง สองสำเนียงลึก ๆ ตื้น ๆ อย่างที่เราเข้าใจผิดกันมา

ซ่งเจี้ยวเหริน หรือ ชาร์ลี ซ่งได้ออกจากบ้านเกิดที่เหวินชางไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกา กลับมาประเทศจีน ไปอยู่ที่เซี่ยงไฮ้ทำการค้าขายจนร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐี และได้พบกับด๊อกเตอร์ซุนจงซานจนกลายเป็นเพื่อนสนิท และผู้สนับสนุนด้านการเงินในการปฏิวัติคนสำคัญของท่านซุนฯ

รูปปั้นครึ่งตัวของท่านซ่งชิ่งหลิง ที่หน้าบ้านเกิดของท่านในเหวินชางในปัจจุบันนี้

ภาพนี้ท่านถ่ายที่หน้าบ้านของท่านในอำเภอเหวินชาง(ในขณะนั้น) ตอนที่เปิดประเทศจีนใหม่ได้สำเร็จ และท่านได้ดำรงตำแหน่งประมุขของประเทศจีนใหม่ คู่กับประธานเหมา โดยแบ่งงานกันทำ ประธานเหมาทำหน้าที่ด้านกำหนดนโยบาย ท่านทำหน้าที่ในการออกเยี่ยมอาคันตุกะต่างประเทศ ทำงานร่วมกับนายกรัฐมนตรีควบรัฐมนตรีต่างประเทศโจวเอินไหล ในการออกไปเยือนประเทศต่าง ๆ รอบโลก

ท่านมีความสัมพันธ์ที่ดีมาก ๆ กับพรรคคอมมิวนิสต์ตั้้งแต่สมัยสงครามกลางเมือง จนสามารถยึดประเทศได้ จนวาระสุดท้ายของท่านท่าน ได้ตัดสินใจสมัครเข้าเป็นพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งถือว่าเป็นเกียรติอันสูงสุดของชีวิตที่ท่านได้ตัดสินใจอย่างนี้ (เหมาเจ๋อตงเรียกท่านว่า ซ้อซ่ง คงอะไรประมาณนี้...)

ท่านซ่งชิ่งหลิงนั่งอยู่ด้านขวา ด้านซ้ายในภาพคือมาดามซ่งเหม่ยหลิง น้องนุชคนสุดท้อง

 

 

 

ปัจจุบัน เมืองเหวินชาง มณฑลไห่หนาน ได้กลายเป็นสถานที่สำคัญขอชาติในฐานะที่เป็น บ้านเกิดของมหาสตรีจีน อดีตประธานประเทศจีน(กิตติมศักดิ์)

"สามพี่น้องตระกูลซ่ง" ได้กลายมาเป็นมหากาพย์ อันยิ่งใหญ่ ถูกนำมาเขียนเป็นนวนิยายอิงชี่วิตจริง และเป็นภาพยนต์ ละครทีวี อยู่หลายเวอร์ชั่น - ชีวิตดั่งนิยาย ในภาพ พี่ใหญ่นั่งอยู่ตรง กลาง พี่กลางนั่้งอยู่ด้านขวา(ของภาพ) น้องเล็ก นั่งอยู่ด้านซ้าย เรียงตามลำดับสามพี่น้อง คือ ซ่งอ้ายหลิง ซ่งชิ่งหลิง ซ่งเหม่ยหลิง...ภาพนี้ถ่ายในช่วงสงครามกลางเมืองระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์ และรัฐบาลกว๋อหมินตั่ง นำโดยเจียงเจี้ยสือ สามีของซ่งเหม่ยหลิง แม้ว่า ทางการเมือง จะทะเลาะกัน สู้รบกัน แต่ในความเป็นพี่น้อง ทั้งสามคน มีความรักใคร่สามัคคีกันมาก ไปมาหาูสู่กันเสมอ ๆ (ซ่้งชิ่งหลิงอยู่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ ซ่งอ้ายหลิงและซ่งเหม่ยหลิงอยู่ฝ่ายเจี่ยงเจี้ยสือ-กว๋อหมินตั่ง ท่านซ่งชิ่งหลิง เคยด่าจอมพลเจี่ยง ว่า ให้ไปเอากระโปรงสุภาพสตรีมาสวมใส่เสีย-เพราะไม่ยอมทำสงครามกับญี่ปุ่นผู้รุกรานประเทศจีน)

ฉายาของ 3 ซ่ง มีคนจีนว่าไว้ อย่างนี้......ซ่งหนึ่ง....รักเงิน.....ซ่งสอง...รักประเทศชาติ......ซ่งสาม.....รักอำนาจ

จริงเท็จอย่างไร กงล้อของประวัติศาสตร์ ได้พิสูจน์ให้พวกเราเห็นแล้ว แต่น่าเสียดายที่คนในยุคนั้น ไม่สามารถกลับมาเห็นคุณงามความดีที่ไม่ได้ตายจากไปกับร่างกายของท่านเหล่านั้น ่เลย.......

 

สุดท้ายแล้วครับ ่ชมภาพของเมืองซานญ่า ใต้สุดยอดในจงกว๋อ

ซานญ่า เป็นเมืองที่มีชายหาดที่สวยที่สุด และเป็นเมืองตากอากาศที่สำคัญที่สุดของประเทศจีน

จุดใต้สุดยอดในประเทศจีน ห่างจากตัวเมืองซานญ่ามาอีก 45 กิโลเมตร จะถึงจุดนี้ซึี่งมีลักษณะเป็นติ่งงอกออกมาจากตัวแผ่นดินบนเกาะ

การประกวดธิดามังกรนครซานญ่า ครับ พอจะสู้ฟัดสู้เหวี่ยงกับนางสาวต่าง ๆ ของไทยได้ป่าว

การจัดพิธีสมรสหมู่ที่ซานญ่า อันเป็นกิจกรรมที่นิยมจัดขึ้น เข้าใจว่ามีเป็นประจำกันทุกปี

องค์เจ้าแม่ทับทิม หรือ "มาจู่" เทพเจ้าที่ชาวเลจีน ทุกเชื้อสาย ล้วนเคารพนับถือกันอย่างยิ่ง รวมทั้งชาวเกาะไห่หนานด้วย

ภาพนี้เหมือนกับภูเก็ตของเราหรือปล่าวครับ เพราะไหงยังไม่เคยไปเห็นภูเก็ตเลย

ภาพนี้บรรยายว่า สุภาพสตรีท่านนี้เธอเป็นเจ้าหน้าที่บริการการท่องเที่ยวในนครซานญ่า หน้าตาหวานแหวว ไหมครับท่านทั้งหลาย ไหงเคยรู้สึกชื่นชม และแอบมองสาวชาวจีนเชื้อสายไห่หนานบ่อย ๆ และบอกกับตัวเองว่า สุภาพสตรีไห่หนานนี้ หน้าตาหวานฉ่ำกันทุกคน ทั้งที่อยู่ในเมืองไทย เชียงใหม่บ้านเฮา กับที่ไปเห็นในเมืองจีน หน้าตาหวานฉ่ำแบบนี้ลองเข้าไปถามดู ว่าเป็นจีนที่ไหน เกือบทั้งร้อย เธอบอกว่า "ไห่หน่ำหนั่ง" เจ้า

มีส ซานญ่า 555 เป็นยังไงบ้่างครับ พอจะเทียบเคียงกับพัทยา และภูเก็ตของเราได้หรือปล่าว ก็คงใกล้เคียงนิดๆ นะครับ เพราะของเขาจีนเที่ยวจีนใช้จีนเจริญ ครับ ยังไม่โด่งดังเป็นสากลเท่ากับบ้านเรา แม้แต่เขายังรู้จักพัทยาดีกว่าซานญ่ืา ด้วยซ้ำไปกระมังครับ

เราจึีงได้เห็นการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นการเรียกนักท่องเที่ยวอินเตอร์เข้าไปเที่ยวในซานญ่ากันมาก ๆ อย่างการจัดมีสซานญ่า หรือถ้าจำไม่ผิด ได้เคยจัดมีสยูนิเวอร์ล ด้วยหรือปล่าวครับ ท่านทั้งหลาย

พิกัดแสดงจุดใต้สุดของจีน นครซานญ่า

แถมสาวน้อยหน้าหวานฉ่ำชาวไห่หนานให้อีกคนนะครับ ส่วนไหง่ เด่งหนั่ง บ่ บัด เด่งอวย ต้องขอลาไปก่อน พบกันใหม่ ในตอนต่อไป สวัสดีครับ ท่านทั้งหลาย จากใจ Yubsibfa

(นาย Klit.Y)

สถาบันภาษาและวัฒนธรรมจีนเชียงใหม่

085-5873515/085-6242088/080-8201489


 
[email protected]    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal