หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

ในเว็บฮากกา มีการรวบรวม แซ่ ของชาวฮากกา ที่อยู่ในไทยหรือป่าวครับ

สวัสดีพี่น้องชาวฮากกาทุกท่าน

บังเอิญว่าไหง่ค้นหาแซ่ของตัวเองใน Google ดูเล่นๆ ก็มีรายละเอียดอยู่บ้าง แล้วก็กลับมาคิดว่าน่าจะีมีการรวบรวม แซ่ของชาวฮากกาในประเทศไทยหรือภายในเว็บฮากกาเอง ว่ามีแซ่อะไรกันบ้าง ซึ่งตัวไหง่เองก็ไม่แน่ใจว่าภายในเว็บนี้ได้มีการตั้งกระทู้ไปหรือยัง ก็เลยมาโพสถามดูครับ

ไหง่คิดว่าอย่างน้อยก็เป็นการเก็บข้อมูลเบื้องต้นของชาวฮากกาในประเทศไทยกันเองนะครับ พี่ๆท่านคิดกันอย่างไรกันบ้างครับ
Smile


รูปภาพของ YupSinFa

เห็นด้วยเรื่องรวมแซ่ครับ

          สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล  ดังคำเปรียบเปรยไว้ แซ่ เป็นชื่อตระกูลที่บ่งบอกถึงความเป็นคนของตระกูลต่าง ๆ ของจีน ซึ่งสำเนียงจีนในแต่ละท้องถิ่นจะออกเสียงไม่เหมือนกัน ดังนั้น แซ่เดียวกันก็จะออกเสียงแตกต่างกันไป และจะทำให้เรารู้ว่า คนที่ใช้แซ่ที่ออกเสียงนั้น ๆ เป็นชาวจีนกลุ่มไหน

         ยกตัวอย่างเช่น แซ่เฉิน เป็นสำเนียงจีนกลาง ฉิ่มขักออกเสียงว่า ฉิ่น แต้จิ๋วออกเสียงว่า ตั้ง ไหหนำออกเสียงว่า ดั่น เป็นต้น

          ส่วนแซ่ของชาวฮากกาในประเทศไทย ในส่วนของสำเนียงฉิ่มขักที่พอจะนึกได้ก็มีตัวอย่างเช่น

          จอง   เหลี่ยว   หลิ่ว    เท้น   ฉิ่น   ยับ   หลู่    กวน   ฯลฯ เท่าที่พอนึกได้นะ

รูปภาพของ webmaster

หนี่ซิ่นเสิมเมอ

ดีครับ และเห็นด้วยกับท่านทั้งสอง ว่าควรจะมีการรวบรวมไว้บ้างก็ดี

ทีแรกว่าจะรวบรวมลงเร็กคอร์ดไว้ แต่มาคิดอีกที ถ้าเห็นสถิติชัดเจนไป เกรงว่าจะเกิดการเปรียบเที่ยบว่าแซ่ใดมากน้อยให้เลื่อมล้ำกัน

และในเมื่อเว็บนี้ก็เป็นที่รวมของทุกแซ่ได้อยู่แล้ว จึงขอใช้วิธีรายงานตัวตามความสมัครใจดีกว่า  ถ้ารู้ปุ้ย หรือรู้เมืองแหล่งที่มา ด้วยก็จะดีไม่น้อย เพราะ ปุ้ย เป็นเอกลักษณ์ของชาวจีนที่มีสืบทอดกันมา และเมืองที่มา ก็จะทำให้รู้ถึงภาษาและวัฒนะธรรมได้เป็นอย่างดี

และท่านใดมีข้อมูลมาเสริมขยายความ เพื่อไว้ให้ได้ศึกษาร่วมกันได้ ก็จะดีไม่น้อย

หงีเซี่ยงมักไก่ ?

丁七上下丘中于仇仝任伍伏伽佐何佘余侯保俞 倪倫側傅元克全冼利劉勞包區卓反古史司向君 吳吾呂周哈唐商喬單喻嚴基夏奇奧姚姜姬孔孟 季孫宇安宋官宣宮容寇富尹山岑岳崔巴希常平 康廖張彭徐應成戚戴房押支敖文方施昂明易曹 曾木朱李杜松林柏查柯柳柴格桂梁梅楊榮樂樊 權歐正武毛江池汪沈河波洪涂清渣湯溫滕潘濱 焦熊熱牛狄王璩甄甘田畢白盛盧瞿矢石碧祖科 秦程穆章簡米紀紅索羅翁習胡臧舒艾花苗苟英 范莊莫華萬葉葛董蒙蓋蔡蔣蕭薛薩藍藤蘇虞衛 衞袁裴言許詹謝譚谷貝賀賈賴趙車辛農連達遮 邱邵郝郭鄒鄔鄧鄭鄺酒金鈞鈴錢鍾關阮阿陳陶 陸陽雲雷霍靚靳韋韓顏顧饒馬馮駱高魏魯鮑鳩 麥黃黎黑龍龐龔, ... ?

รูปภาพของ มงคล

บรรพบุรุษผู้เป็นต้นแซ่แต่โบราณ

ปัจจุบันจีนมีประชากรกว่า หนึ่งพันสามร้อยล้านคน  คนเหล่านี้ต่างก็มีแซ่หรือซิงที่ใช้ต่อเนื่องกันมากว่าห้าพันปี นั่นก็คือก่อนสมัยสามมหาจักรพรรดิห้ามหาราชันย์  โดยมอบแซ่สกุลให้แก่มารดาเด็กมิใช่ให้แก่บิดา  ดังนั้นตัวอักษรแซ่แต่เดิมจะมีความหมายถึงผู้หญิงและการให้กำเนิด  แซ่สกุลจึงเริ่มจากฝ่ายมารดาตั้งแต่สมัยเริ่มแรกแล้ว ก่อนสมัยราชวงศ์เซี่ย ราชวงศ์ซังและราชวงศ์โจว  จากการขุดค้นทางโบราณคดี  ได้มีการบันทึกตัวอักษรภาษาจีนลงบนกระดองกระดูกสัตว์ที่เรียกว่า ** เจี่ยกู่เหวิน **  จากตัวอักษร ๑,๗๐๐ ตัวที่สามารถอ่านได้  มี กว่า ๔๐๘ ตัวที่เป็นแซ่สกุลที่ใช้กันมาแต่โบราณถึงปัจจุบันเป็นแซ่พื้นๆที่แม้แต่เด็ก ก็สมารถอ่านออก

แซ่สกุลแรกเริ่มจากชื่อหมู่บ้านที่ตนอาศัยอยู่หรือครอบครัวอาศัยอยู่หรือ เป็นหัวหน้าชนเผ่าในหมู่บ้านนั้นซึ่งเป็นเครือญาติใกล้ชิด สายเลือดเดียวกัน 氏 ซื่อ หรือ แคลนเนม เดียวกัน ส่วนแซ่สกุลที่ใช้เพียงร่วมแซ่แต่ไม่ใช่เป็นเครือญาติที่ เรียกว่า  姓 ซิ่ง ได้มาจากการเป็นเมืองขึ้นหรือชื่อพระราชทานเพื่อเป็นเกียรติแก่นักรบนายพลทหารที่เก่งกล้าสามารถ ดังนั้นในสมัยโบราณจึงมีแต่กลุ่มพวกขุนนางชั้นสูงนักรบเท่านั้นที่มีแซ่สกุล ทั้งในเครือญาติและร่วมแซ่สกุล คือไม่ใช่เป็นญาติพี่น้องกันแต่ใช้แซ่เดียวกัน 

ในสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิถังไท้จง แห่งราชวงศ์ถัง เมื่อ พ.ศ.  ๑๑๖๐  ขุนนางราชสำนักชื่อ  เกาซื่อเหลียน  ได้สำรวจพวกที่ใช้แซ่ต่างๆ  รวม  ๕๙๓ แซ่  เขาได้พิมพ์เอกสารชื่อ  ** บันทึกแซ่สกุล  **  ไว้เพื่อเป็นเอกสารอ้างอิงสำหรับคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการและเพื่อการตรวจสอบการแต่งงานว่าใช้แซ่เดียวกันหรือไม่    ต่อมาได้มีการบันทึกเป็นเอกสารชื่อหนังสือว่า   ** ร้อยแซ่สกุล **   โดยรวบรวมไว้ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซ่งเหนือประมาณ พ.ศ. ๑๕๐๓  มีทั้งหมด  ๔๓๘  แซ่สกุล  เป็นอักษรเดี่ยว   ๓๐๘  แซ่ และอีกสามสิบแซ่เป็นอักษรผสมสองตัว   และได้มีการรวบรวมขยายออกเป็น  ๒,๕๖๘ แซ่สกุล 

เฉินเซยหยวน  นักการศึกษาสมัยราชวง์หมิงได้รวบรวมไว้  ๓,๖๒๕  แซ่สกุล   เฉินหลี่ปู๋  ผู้เชี่ยวชาญเรื่องแซ่สกุลได้รวบรวมไว้  ๑๕,๑๔๒  แซ่สกุล  ในจำนวนนี้กว่า  ๘,๐๐๐ แซ่สกุล ที่เป็นของชาวจีนฮั่นที่กระจายกันอยู่ทั่วประเทศ  แต่ใช่ว่าแซ่ทั้งหมดจะใช้กันอยู่ในปัจจุบัน  เช่นจากหนังสือที่เขียนในสมัยราชวงศ์ซ่งที่กล่าวถึงมีแซ่สกุลที่ไม่ได้ใช้แล้ว ๗๖  แซ่

ปัจจุบันจีนมี ๕๕ ชนเผ่ารวมทั้งจีนฮั่น  กล่าวกันว่าในปัจจุบันมี ๓,๐๕๐  แซ่สกุล   ๘๗     เปอร์เซ็นต์ของชาวจีนทั้งหมดจะใช้แซ่พื้นๆ  ๑๐๐  แซ่ที่ได้จัดอันดับการใช้มาก  โดยเฉพาะ  แซ่หลี่ ( Li )  แซ่หวัง  ( Wang ) และแซ่จาง ( Zhang )  มีผู้ใช้รวมกันกว่า  ๒๗๐ ล้านคน   ข่าวจากหนังสือพิมพ์ประชาชนรายวันของจีนรายงานว่า  นักวิจัยชื่อหยวนอี้ต้าแห่งสถาบันวิทยาศาสตร์จีนได้พบว่า  แซ่หลี่ แซ่หวัง แซ่จาง  คิดเป็น ๗.๙ ๗.๔ และ ๗.๑  เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด  และจากแซ่พื้นๆเหล่านั้นใน ๑๐๐ แซ่  มี ๑๙ แซ่ที่มีจำนวน ๑ เปอร์เซ็นต์ของประชากรจีนทั้งหมด  ได้แก่ แซ่หลี่  แซ่หวัง  แซ่จาง  แซ่หลิว  แซ่เฉิน  แซ่หยัง  แซ่จ้าว  แซ่หวง  แซ่โจว  แซ่อู๋  แซ่ซู  แซ่ซุน  แซ่หู  แซ่ฉู่  แซ่เกา  แซ่หลิน  แซ่เหอ  แซ่กัว และแซ่หม่า 

เมื่อแยกตามภูมิภาคของประเทศแล้ว  ภาคเหนือใช้แซ่หวัง เป็นอันดับหนึ่ง  แล้วตามด้วยแซ่หลี่ แซ่จาง และแซ่หลิว  ภาคใต้ของจีนใช้แซ่เฉินมากที่สุด ถัดมาเป็นแซ่หลี่  แซ่หวง  แซ่หลิน  และแซ่จาง  บริเวณลุ่มแม่น้ำแยงซีใช้แซ่หลี่มากที่สุด  ถัดมาเป็นแซ่หวัง  แซ่จาง  แซ่เฉิน และแซ่หลิว  ได้มีการจัดอันดับแซ่สกุลที่มีคนใช้มากใน พ. ศ. ๒๕๓๓ และในปี พ.ศ.  ๒๕๔๙  ยกตัวอย่างยี่สิบอันดับแรก แซ่สกุลปี  ๒๕๔๙  ดังนี้

  1. หลี่ ( Li ) 
  2. หวาง ( Wang ) 
  3. จาง ( Zhang )
  4. หลิว ( Liu )
  5. เฉิน ( Chen ) 
  6. เอี๋ยง ( Yang )
  7. หวง ( Huang )
  8. จ้าว ( Chao )
  9. โจว ( Zhou )
  10. อู๋ ( Wu )
  11. ฉวี ( Xu )
  12. ซุน( Sun )
  13. จู ( Zhu )
  14. หม่า ( Ma )
  15. หู ( Hu )
  16. กัว ( Gua )
  17. หลิน( Lin )
  18. เหอ ( He, Ho ) 
  19. เกา ( Gao )
  20. เหลียง ( Liang )                            


การใช้แซ่สกุลของชาวจีนแต่สมัยโบราณนั้น  เมื่อกษัตริย์โปรดฯให้ขุนนางชั้นสูงไปปกครองเมืองใดในระดับ กง หรือ อ๋อง  หรือ โหว  แล้ว  บางครั้งพระองค์จะพระราชทานแซ่ของพระองค์ให้ไปใช้ด้วย  ราษฎรทั้งเมืองก็จะใช้แซ่เดียวกับเจ้าเมืองนั้น  คล้ายๆกับเป็นหนึ่งกลุ่มคนหรือเป็นหนึ่งชาติโดยใช้แซ่เป็นการนับคนหรือการตรวจสอบคนในบังคับ  แต่ถ้าเจ้านครนั้นแข็งเมืองมีอำนาจมากขึ้น  ก็อาจจะกลับไปใช้แซ่เดิมของตนก็ได้  ข้างนายทัพขุนพลที่เก่งกล้าสามารถมักจะมีทหารผู้ร่วมแซ่เป็นพันๆคน  ซึ่งมิใช้เป็นเครือญาติแต่ประการใด  อย่างไรก็ตามถือกันว่าเมื่อตนใช้แซ่ใหม่ด้วยประการใดก็ดี  เมื่อตายไปแล้วที่หน้าหลุมศพจะบันทึกแซ่ดั้งเดิมของผู้ตายเพื่อให้ผู้ตายได้พบบรรพบุรุษของตนในปรภพ

 

พระฉายาลักษณ์พระเจ้าหวงตี้


ดังได้กล่าวแล้วว่า  พระเจ้าหวงตี้  แต่เดิมทรงใช้แซ่ซุน  ต่อมาเปลี่ยนเป็นแซ่จี  บรรดาโอรสที่แยกย้ายกันไปครองเมืองต่างๆเพื่อสร้างนครหรืออาณาจักรของตน รวม  ๑๔  พระองค์  ทำให้เกิดที่มาของแซ่ใหม่อีก  ๑๒ แซ่ในขณะนั้น  โดยแยกไปตามสภาพพื้นที่ทางภูมิศาสตร์  มีโอรสสององค์ที่ทรงใช้แซ่จี  คือ จีหยูหยางกับจีจางหลิน  ส่วนโอรสอีกสององค์คือ  ชิงหยางและอี้กู๋  ทรงใช้แซ่จีภายหลัง  แซ่ที่โอรสพระเจ้าหวงตี้ทรงใช้ได้แก่  แซ่จี  ( Ji )  แซ่อิ๋ว  ( You )  แซ่ฉี  ( Qi )  แซ่เทิง  ( Teng )  แซ่เจิ้น ( Zhen ) แซ่เริ่น  ( Ren )  แซ่ซวีน  ( Xun )   และ แซ่อี้ ( Yi )

สรุปแซ่ที่สืบสายมาจากพระเจ้าหวงตี้เป็นต้นแซ่มี ๔  แซ่ คือ  แซ่จี แซ่เริ่น  แซ่เทิง  และ แซ่จิ้น   จากต้นแซ่เหล่านี้ได้แตกออกไปดังนี้

  1. ต้นแซ่  แซ่จี   แตกออกไปเป็นแซ่ดังนี้

    1. แซ่ไช่ ( ไฉ ฉั่ว ) ( Cai )
    2. แซ่ไต๋ ( Dai )
    3. แซ่ต้วน (Duan )
    4. แซ่ฟาง ( Fang )
    5. แซ่เฝิง (Feng )
    6. แซ่กัว ( Gua )
    7. แซ่หัน(Han) แตกเป็นแซ่เหอ(He)แซ่ปิง( Ping )
    8. แซ่เจี่ยง ( Jiang )
    9. แซ่หลิน ( Lin )
    10. แซ่หลิว ( Liu )
    11. แซ่เซิน ( Shen ) แตกเป็นแซ่อิ๋ว  ( You )
    12. แซ่ซื่อ ( Shi )
    13. แซ่ซุน (Sun )  แตกเป็นแซ่ฉี  ( Qi )
    14. แซ่หวาง ( Wang )
    15. แซ่อู๋ ( Wu )
    16. แซ่อี้ว ( Yu )
    17. แซ่โจว ( Zhou )
  2. ต้นแซ่  แซ่เริ่น   แตกออกไปดังนี้

    1. แซ่ชาง ( Chang )
    2. แซ่ซู ( Shu )
    3. แซ่ซือ ( Xi )
    4. แซ่ซุย ( Xue )
    5. แซ่จาง ( Zhang )
  3. ต้นแซ่  แซ่เทิง
  4. ต้นแซ่   แซ่จิน


แซ่เหล่านี้สืบสายมาจากพระเจ้าหวงตี้ซึ่งเป็นต้นแซ่และพระโอรสของพระองค์ที่สืบสายมาแต่โบราณแล้ว   นอกจากนี้ยังมีบุรพกษัตริย์ที่มีชื่อเสียงตามที่ได้มีการเรียกขานกันคือ  สามมหากษัตริย์ห้ามหาจักรพรรดิ  ที่ทรงเป็นต้นแซ่ต่างๆ  ซึ่งบางแซ่อาจจะซ้ำกัน  ดังนี้

  1. พระเจ้าเอียนตี้ หรือพระเจ้าเสินหนงซื่อ  ทรงเป็นต้นแซ่เจี่ยง  ( Jiang )   แตกออกไปดังนี้

    1. แซ่ติง ( Ting )
    2. แซ่เกา ( Gao )
    3. แซ่หง ( Hong )
    4. แซ่หลู่ ( Lu )
    5. แซ่ชิว ( Qiu )
    6. แซ่เซย ( Xie )
    7. แซ่ฉวี ( Xu )
    8. แซ่อุย ( Wei )
  2. พระเจ้าเส้าเฮ่า หรือ พระเจ้าจินเทียนซื่อ  ทรงเป็นโอรสองค์โตของพระเจ้าหวงตี้กับพระนางเหลยจู่  สืบสายแซ่สกุลดังนี้

    1. แซ่จิน ( Jin )
    2. แซ่หลี่ ( Li )
    3. แซ่จาง ( Zhang )
  3. พระเจ้าเจวียนชวี ( 顓頊 - Zhuan Xu – Gao Yang Shi ) หรือพระเจ้าเกาเอี๋ยงซื่อ  
    ต้นตระกูลแซ่อู่ฮุย  ( Wu Hui )   กับแซ่อิง  ( Ying )  มีพระมารดาทรงพระนามว่า พระนางเชียงป๊อก* ทรงเป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าหวงตี้ โอรสองค์ชาย จางอีซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างพระมารดากับพระเจ้าหวงตี้ ทรงเป็นผู้ช่วยพระเจ้าเส้าเฮ่า จนได้รับพระราชทานที่ดินที่เกาเอี๋ยง ทรงสร้างอาณาจักรครั้งแรกที่เกาเอี๋ยงและทรงสร้างเมืองหลวงที่ ตี้ชิว

    พระเจ้าเจวียนชวีเสด็จขึ้นครองราชสมบัติเมื่อพระชนม์ได้ ๒๐ ปี โปรดฯให้ตั้งขุนนางเชื้อพระวงศ์ ๕ องค์ เป็น ๕ ธาตุ คือ ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ และธาตุทอง ทั้งห้าพระองค์ต่างตั้งศาลาจัดครูมาสอนหนังสือให้ราษฎร โปรดฯให้ขนานนามเมืองเสียใหม่ว่า เกาเอี๋ยง

    ฝ่ายองค์ชายแซ่หลี่ทั้งเก้าที่เคยยกทัพมารุกราน เมื่อเห็นว่ามีการผลัดแผ่นดินใหม่ จึงยกกองทัพมาประชิดแดนเมืองเกาเอี๋ยง ข้างเมืองเกาเอี๋ยงได้ให้เกาหลงเป็นแม่ทัพพร้อมด้วยองค์ชายทั้งเก้าโอรสพระเจ้าเจวียนชวีเป็นนายทัพ กองทัพเกาเอี๋ยงยกเข้าตีกองทัพจิ่วหลี่ทั้งเก้าจนแพ้ยับเยิน

    พระเจ้าเจวียนชวีโปรดฯให้ทำปฏิทินด้วยการสังเกตดวงดาว ทรงตั้งสี่ฤดู คือ เดือนสามถึงเดือนห้าเป็นฤดูชุนหรือฤดูต้น เดือนหกถึงเดือนแปดเป็นฤดูเซี่ย คือฤดูร้อน เดือนเก้าถึงเดือนสิบเอ็ด เป็นฤดูชิว หรือฤดูใบไม้ร่วง เดือนสิบสองถึงเดือนยี่ เป็นฤดูตัง คือ ฤดูหนาว แล้วให้ประกาศไปยังหัวเมือง

    แซ่สกุลที่สืบมาจากพระเจ้าเจวียนชวีผู้ทรงเป็นต้นแซ่ คือ แซ่อู่ฮุย ( Wu Hui ) กับแซ่อิง ( Ying ) ซึ่งแตกสาขาดังนี้

    1. แซ่อู่ฮุย   แตกเป็น

      • แซ่ฉาว ( Cao ) แตกเป็น แซ่หนือ  ( Ni )
      • แซ่จี (Ji)แตกเป็นแซ่ต่อง(Dong)แซ่ซู(Su)แตกเป็นแซ่ซี(Xi )
      • แซ่เปิ่ง ( Peng ) แตกเป็นแซ่เชียน (Qian )
      • แซ่อุน ( Yun )
      • แซ่เจิ้น (Zhen )
      • แซ่เหมย ( Mie) แตกเป็น :
      • แซ่ไป๋ ( Bai, Ba )
      • แซ่เปา ( Bao )
      • แซ่เหมียว ( Miao )
      • แซ่โม่ ( Mo )
      • แซ่พ่าน ( Pan )
      • แซ่ชู ( Qu )
      • แซ่อู๋ ( Wu )
      • แซ่เซียง(Xiong)แตกเป็นแซ่หลัว(Luo)
      • แซ่จา ( Zha )
    2. แซ่อิง   แตกออกไปดังนี้

      • แซ่หวง ( Huang )
      • แซ่เหลียง ( Liang )
      • แซ่ฉิน ( Qin )
      • แซ่ฉวี (Xu )
      • แซ่จ้าว( Zhao)แตกเป็น แซ่หม่า (Ma )
  4. พระเจ้าตี้เหยา หรือ พระเจ้าถังซื่อ   ต้นแซ่มีเพียงแซ่เดียวคือ แซ่ฉี  ( Qi )  แตกออกเป็นแซ่ย่อยอีกสามแซ่คือ

    1. แซ่ตู้ ( Du )   แตกเป็น แซ่ฟ่าน ( Fan ) และแซ่หลิว ( Liu ) แซ่หลิวแตกเป็นแซ่หง  ( Hong )
    2. แซ่ถัง ( Tang )
    3. แซ่เถา ( Tao )
  5. พระเจ้าซุ่นตี้ หรือ พระเจ้าอู่ซื่อ   มีแซ่ที่สืบสาย คือ แซ่กุย ( Gui )  และแซ่เหยา ( Yao )  แซ่กุย  แตกออกเป็นสี่แซ่  คือ 
    1. แซ่เฉิน ( Chen )  และแซ่เฉินแตกออกเป็นแซ่หู  ( Hu )
    2. แซ่เถียน ( Tian )   และแซ่เถียนแคกเป็นแซ่เชอ ( Che )  
    3. แซ่หวัง ( Wang ) 
    4. แซ่เอวียน    ( Yuan )
  6. พระเจ้าเซี่ยอวี่ตี้         มีแซ่สืบสายคือ

    1. แซ่ซื่อ  ( Si )     แตกเป็นแซ่เปา  ( Bao )   
    2. แซ่โอว  ( Ou )
    3. แซ่เซี่ย ( Xia ) 
    4. แซ่อวี้ ( Yu )
    5. แซ่เจิ้ง ( Zeng )

ได้มีผู้สรุปที่มาของแซ่สกุลไว้ ดังนี้

  1. เกี่ยวกับพระราชวงศ์   เช่น แซ่ถัง   แซ่ซ่ง
  2. เป็นเครืออาณาจักร   เช่น   แซ่เชียง  แซ่หวง
  3. เป็นอำเภอ    เช่น   แซ่หง
  4. เป็นตำบล  เช่น   แซ่อิน  แซ่ซู
  5. เป็นหมู่บ้านชนบท    เช่น   แซ่หลู   แซ่เอิน
  6. เป็นทางแยก สถานี    เช่น   แซ่หมี่
  7. เป็นสถานที่นอกทางผ่าน เช่นแซ่ซีเหมินแซ่ตุงเสียง 
  8. เป็นบุคคลในประวัติศาสตร์   เช่น  แซ่ชิน  แซ่ฟู่
  9. เป็นชื่อบุคคลที่สำคัญในสังคม    เช่น   แซ่ฟาง  แซ่กุง
  10. เป็นการดัดแปลงจากชื่อญาติ  เช่น  แซ่เมิ่ง
  11. เป็นแซ่จากชนเผ่าดั้งเดิมของตน เช่นแซ่โซ  แซ่ชาง
  12. เป็นตำแหน่งหน้าที่ราชการ   เช่น   แซ่ซื่อ
  13. เป็นฐานันดรศักดิ์  เช่น  แซ่หวัง ( อ๋อง  )  แซ่โฮ่ว
  14. เป็นอาชีพการค้าขาย    เช่น  แซ่อู๋  แซ่เต้า
  15. เป็นวัตถุ   เช่น  แซ่ฉู่   แซ่ตู้
  16. เป็นพระนามของเจ้านคร   เช่น  แซ่เหวิน
  17. เพิ่มจากชื่อหรือสกุลจากบรรพบุรุษ เช่นแซ่กงซุ่น
  18. ประยุคใช้จากนามผู้ปกครองนคร เช่น แซ่หมัง แซ่ฝู

อย่างไรก็ตามแซ่ดั้งเดิมนั้น  จะเป็นคำโดดคำเดียวหรือพยางค์เดียว  ต่อมาได้นำเอาสิ่งต่างๆดังกล่าวข้างบนมาผสมเป็นแซ่  ซึ่งมีทั้งคนต่างชาติและชาวจีนฮั่นเอง   แซ่ที่เป็นคนต่างชาติ  เช่น  จากภาษาเตอรกิส   ได้แก่  แซ่อาชินา  แซ่ซาจิก   ภาษาตุงกูซิก  ได้แก่   แซ่โม่หยง   แซ่โม่ฉี  ภาษาแมนจูราชวงศ์ชิง  แซ่อ้ายซิน-เจวี๋ยหรัว  แปลว่า ครอบครัวทอง   เป็นต้น

สำหรับแซ่ที่ชาวจีนฮั่นดัดแปลงโดยเอาคำภาษาจีนมาต่อกันแล้วยังมีความหมายจากรากศัพท์เดิม   แซ่ต่างๆเช่น   ตงฟาง   ตงเก๋อ  ตวนมู่  ตู๋กู  เหอหลัน   เหอเหลียน   หนานกง   โอวหยัง   ซ่างกวน   ซือหม่า  ซือถู   ซือกง   ซีเหมิน  จงลี่   จู้หรง   ฯลฯ

แซ่ สกุลเหล่านี้ได้มีการบันทึกเป็นจดหมายเหตุว่าใครใช้แซ่นั้นมาเป็นรุ่นที่ เท่าไรสืบต่อเนื่องกันมาที่สามารถตรวจสอบได้ถึงบรรพบุรุษของตนในแต่ละรุ่น   แต่การบันทึกดังกล่าวบางช่วงอาจจะขาดตอนไปจากการสงครามหรืออุทกภัยอัคคีภัย  แล้วเริ่มช่วงของบรรพบุรุษใหม่หรือหากหาจดหมายเหตุช่วงที่ขาดไปนำมาปะติดปะต่อกันได้  การบันทึกเหล่านี้ได้แจกจ่ายไปตามผู้สืบเชื้อสายเพื่อรักษาสายสัมพันธ์มิให้ขาดตอน    แซ่สกุลแต่ละแซ่จะมีบรรพบุรุษต้นแซ่ว่าเดิมอยู่ที่เมืองใด  เช่น

  • แซ่ไช่(ฉั่ว)บรรพบุรุษต้นแซ่อยู่ที่เมืองผิงเถามณฑลซานตง
  • แซ่ไต๋    เมืองหาว  มณฑลอันฮุย
  • แซ่หัน   เมืองหนันหยาง   มณฑลเหอหนาน
  • แซ่หลิน   เมืองหลื่อซือ   มณฑลซานซี
  • แซ่หวัง    เมืองไท้หยวน   มณฑลซานซี
  • แซ่จี    เมืองหนันหยาง   มณฑลเหอหนาน
  • ฯลฯ


เมื่อคนทั้งตำบลใช้แซ่เดียวกัน มีข้อห้ามแต่งงานกับคนแซ่เดียวกัน  การแต่งงานจึงต้องหาคู่คนต่างตำบล  ถึงแม้คนในตำบลนั้นมิได้เป็นญาติที่ใกล้ชิดกันก็ตาม   การเปลี่ยนแซ่หนึ่งไปใช้อีกแซ่หนึ่ง  บางคนกระทำเพื่อหนีเภทภัยทางการเมืองหรือเหตุผลส่วนตัว  สมัยก่อนสตรีที่แต่งงานแล้วจะยังคงใช้แซ่เดิมของตน ยกเว้นคนที่สามีมีบรรดาศักดิ์เป็นขุนนาง  เช่นนางเฉินฮูหยิน      สมัยหลังบางคนใช้แซ่สามีนำหน้าชื่อของตนก็มี   แต่วิธีการใช้แซ่นั้น ไม่ว่าผู้หญิงหรือผู้ชาย จะใช้แซ่นำหน้าแล้วตามด้วยชื่อ  เช่น  ซุนยัดเซ็น   หลี่ซื่อหมิง  หลินเจ๋อสวี  เฉินเหว่ยหลิง        ฯลฯ  แต่ถ้าใช้ชื่อภาษาอื่นจะใช้แซ่ตามหลังชื่อ  เช่น  ปีเตอร์  เฉิน    เลสลี่ จาง   สมศักดิ์  แซ่ตัน    ฯลฯ

พระราชวงศ์และพระบรมวงศานุวงศ์  จะมีแซ่ที่ติดตัวมาแต่เดิมทรงใช้แซ่นั้นๆ ซึ่งจะไปซ้ำกับชาวบ้าน แต่มิได้เป็นพระญาติแต่อย่างใด เช่น  ราชวงศ์ซัง กล่าวกันว่าใช้แซ่ จี  ราชวงศ์โจวใช้แซ่จี  ราชวงศ์ฉินแซ่อิ๋ง  ราชวงศ์ฮั่นแซ่หลิว  ราชวงศ์จิ้นแซ่ซือหม่า   ราชวงศ์สุยแซ่เอี๋ยง  ราชวงศ์ถังแซ่หลี่  ราชวงศ์ซ่งแซ่จ้าว  ราชวงศ์หมิงแซ่จู  ราชวงศ์ชิงแซ่อ้ายซินเจวี๋ยหลัว  ราชวงศ์ฉีแซ่เซียว  ราชวงศ์เฉินแซ่เฉิน  ราชวงศ์เว่ยเหนือแซ่ทั่วป๋า  ราชวงศ์ฉีเหนือแซ่เกา  ราชวงศ์โจวเหนือแซ่อิ่วเหวิน  ในยุคสามก๊ก  ราชวงศ์เว่ยแซ่เฉา  ราชวงศ์สู่แซ่เล่า  ราชวงศ์อู๋แซ่ซุน  ยุคราชวงศ์เว่ยตะวันตกแซ่หยวน  ราชวงศ์โจวเหนือแซ่อิ้ว  ในยุคห้าราชวงศ์มี แซ่จู  แซ่หลี่  แซ่สือ  แซ่หลิว  แซ่กัว และแซ่ไช่-หลิน      เป็นต้น    ในสมัยราชวงศ์จิ้นตะวันตกและก่อนจากนั้น  ได้มีชาวจีนฮั่นจากภาคเหนืออพยพลงมายังภาคกลางและภาคใต้มีหลายละลอกเพื่อหนีความแห้งแล้งอดอยากและหนีภัยพวกชนเผ่าอู่หูทางภาคเหนือ    มีกล่าวถึงพวกตระกูลแซ่ต่างๆอพยพลงมาพร้อมกับเจ้าพระราชวงศ์จิ้นองค์หนึ่ง คือซือหม่ารุ่ยอ๋อง  เรียกว่าพวกแปดแซ่หรือแปะแซ่  ได้แก่  แซ่หลิน  แซ่หวง  แซ่เฉิน  แซ่เจิ้ง  แซ่จั่น  แซ่ชิว  แซ่เหอ และแซ่หู   ได้กระจายกันไปทำมาหากินอยู่ตามเมืองในมณฑลต่างๆ

คนแซ่สกุลเหล่านี้ถึงแม้จะไม่ใช่ญาติใกล้ชิดในครอบครัว (Xing)  แต่เป็นพี่น้องร่วมแซ่ที่เรียกว่า ซื่อ  ( Shi )   จะรวมตัวกันเป็นชมรม  สมาคม  เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน   เมื่ออยู่ต่างเมืองในจีนหรืออยู่ต่างประเทศ  ถึงกำหนดวันสำคัญต่างก็กลับไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษ  เพื่อระลึกถึงความกตัญญูผู้มีพระคุณต่อลูกหลานที่ได้ทำมาหากินกระจายกันไปทั่วโลก

ที่มา: http://www.somboon.info/wizContent.asp?wizConID=91&txtmMenu_ID=7
:   สมบูรณ์ แก่นตะเคียน     ๒๓  มิถุนายน   ๒๕๕๐

ถิ่นกำเนิดตระกูลแซ่คนจีน

จาก www .thaichinese.net/thaichineseblog/chinese-surname-originated
10 อันดับแซ่มากที่สุดในโลก

ทั้งนี้ทั่วโลกมี 10 อันดับแซ่ที่มีผู้ใช้มากที่สุดในโลกได้แก่ 1.แซ่จาง 2.แซ่หวาง (เฮ้ง) 3.แซ่หลี่ 4.แซ่จ้าว 5.แซ่หลิว 6.แซ่เฉิน 7.แซ่หยาง 8.แซ่หลิน 9.แซ่สวี และ 10.แซ่โจว โดย 10 แซ่นี้รวมกันขณะนี้น่าจะมีมากกว่า 250 ล้านคนแล้ว

สำหรับในจีน รัฐบาลกลางจีนได้จัดทำสถิติรวบรวมแซ่ต่างๆ พบว่าจากหนังสือร้อยแซ่ในประเทศจีนที่ได้จัดทำขึ้นปี ค.ศ.2000 มี 20 อันดับแซ่ที่มีผู้ใช้มากที่สุดในจีน คือ 1.แซ่หลี่ 2. แซ่หวาง (เฮ้ง)3.แซ่จาง 4.แซ่หลิว 5.แซ่เฉิน 6.แซ่หยาง 7.แซ่จ้าว 8.แซ่หวง 9.แซ่โจว 10.แซ่หวู 11.แซ่สวี 12.แซ่ซุน 13.แซ่หู 14.แซ่จู 15.แซ่เกา 16.แซ่หลิน 17.แซ่เหอ 18.แซ่กวัว 19.แซ่หม่า และ 20.แซ่หลัว โดย 20 แซ่นี้มีรวมกันมากกว่า 56% ของคนจีนทั้งประเทศ หรือมากกว่า 600 คน

โดยคนฮั่นในจีนมีจำนวนมากที่สุดคือมีมากถึง 92% ของคนจีนทั้งประเทศ คือ 1,300 ล้านคน ชาวฮั่นจึงมีมากกว่า 1,000 ล้านคน โดยอันดับหนึ่ง คือตระกูลแซ่หลี่ ซึ่งมีประวัติเป็นผู้ตั้งราชวงศ์ถัง มีจำนวน 7.9% ของคนฮั่นในจีน หรือประมาณ 70 ล้านคน อันดับสองคือ ตระกูลแซ่หวาง หรือในเมืองไทยรู้จักกันดีในชื่อ แซ่เฮ้ง มีมากเป็นอันดับ 2 ในจีน มีจำนวน 7.5% ของชาวฮั่นในจีน

สำหรับในไทย

ปัจจุบันมีแซ่ตระกูลทั้งหมดกว่า 60 แซ่ตระกูล จากการสำรวจเมื่อปี 2533 พบว่ามี 10 แซ่ที่มากที่สุดในไทยได้แก่ 1.แซ่ตั้ง หรือ เฉิน (84,829 คน) 2.แซ่ลิ้ม หรือ หลิน (74,719 คน) 3.แซ่ลี้ หรือ หลี่ (49,291 คน) 4.แซ่อึ๊ง หรือ หวง (44,485 คน) 5.แซ่โง้ว หรือ หวู (33,533 คน) 6.แซ่โค้ว หรือ สวี่ (31,656 คน) 7.แซ่เตียว หรือ จาง 31,346 คน 8.แซ่แต้ หรือ เจิ้ง (25,922 คน) 9.แซ่เล้า หรือ หลิว (25,346 คน) และ 10.แซ่เฮ้ง หรือหวาง (17,821 คน) ซึ่งปัจจุบันแต่ละแซ่น่าจะมีจำนวนคนเพิ่มขึ้น

จาก ผู้จัดการรายสัปดาห์        
รูปภาพของ มงคล

100 แซ่ พันธุ์มังกร

100 แซ่ พันธุ์มังกร

ในรอบพันปีที่ผ่านมา "แซ่" ของคนจีนหายไปกว่า 20,000 แซ่

หนังสือพิมพ์สากล – สำนักงานพันธุกรรม สังกัดบัณฑิตยสภาด้านวิทยาศาสตร์ของจีน ได้ทำการสำรวจสถิติ “แซ่” (นามสกุล) ของคนจีน ด้วยการสำรวจจากประชาชน 296 ล้านคนใน 1,110 เขตทั่วประเทศ พบว่าปัจจุบันมี “แซ่” ของคนจีนที่เหลือใช้กันอยู่เพียง 4,100 แซ่ ในขณะที่แซ่ที่ปรากฏในประวัติศาสตร์จีนนั้นมีมากถึง 24,000 แซ่ เท่ากับว่าใน 1,000 ปีที่ผ่านมา มีแซ่หายสาบสูญไปแล้วกว่า 20,000 ตระกูล

นายหยวนอี้ต๋า ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยต้นกำหนดตระกูลชาวจีนได้ระบุว่า “แซ่เล็ก (แซ่ที่มีคนใช้น้อย) ไดสูญหายไป ส่วนแซ่ใหญ่ (แซ่ที่มีคนใช้กันเยอะ) ก็มีคนใช้มากขึ้น เช่น หลังจากที่เผ่าเซียนเปยในยุคราชวงศ์เหนือ-ใต้ (ค.ศ.420-589) ได้เข้าสู่ภาคกลางแล้ว ส่วนใหญ่ก็จะเปลี่ยนมาใช้แซ่ของชาวฮั่น ทำให้แซ่เล็กหลายแซ่นั้นลดลงไปมาก หรือหมดไปเลยก็มี”

หยวนอี้ต๋ายังได้ระบุว่า “การอนุรักษ์แซ่ที่มีน้อยเอาไว้นั้น ในขณะนี้ทางการไม่สามารถกำหนดนโยบายที่จะให้สิทธิพิเศษ หรือนโยบายที่จะอนุรักษ์ไว้ได้ ดังนั้นจึงต้องอาศัยความต้องการของปัจเจกบุคคลมากกว่า”

ถึงแม้ว่า แซ่เก่าจะหายไปมาก แต่ก็มีแซ่ใหม่ๆที่ปรากฏขึ้น เช่นบางคนเอาแซ่ของพ่อกับแม่มารวมกันเกิดขึ้นเป็นแซ่ใหม่ ที่มักจะมี 2 พยางค์ เช่น แซ่หลี่หวัง ก็พบมากในมณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) และกวางตุ้ง
นอกจากนั้นก็จะมีประเภทที่พ่อแม่ตั้งแซ่ใหม่ให้กับลูก ที่ไม่เกี่ยวอะไรกับแซ่ของพ่อแม่เลย เช่นแซ่ อี (ที่แปลว่าหนึ่ง) ซึ่งเป็นแซ่ใหม่ที่พ่อแม่เลือกตั้งให้กับลูก

อนึ่ง แซ่ของคนจีนที่ใช้กันในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ยังคงเป็นแซ่ที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษที่กินระยะเวลามาหลายพันปี โดยแซ่ที่มีการสืบทอดในวงศ์ตระกูมายาวนานเช่นนี้
จะสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องของพันธุกรรมได้มาก

ปัจจุบันแซ่ที่คนจีนนิยมใช้มีอยู่กว่า 2,000 แซ่ และชื่อที่นิยมใช้ก็มีอยู่ราว 3,000 กว่าชื่อ ดังนั้นในประเทศจีนที่มีประชากรกว่า 1,300 ล้านคน จะมีคนที่ชื่อแซ่ซ้ำกันเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น แซ่ที่ประชาชนกว่า 90% ใช้นั้น ก็กระจุกตัวอยู่ที่เพียง 100 กว่าแซ่ เท่ากับว่า แซ่ที่มีคนใช้จำนวนมากบางแซ่
ยังมีจำนวนคนมากกว่าประชากรรวมของประเทศขนาดกลาง 1 ประเทศทีเดียว

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ชาวจีนจะให้ความสำคัญกับแซ่มาก เพราะแซ่จัดเป็นตัวแทนของวงศ์ตระกูล ชาวจีนจึงมักอยากจะมีลูกชาย เพื่อสืบทอดรักษาวงศ์ตระกูลเอาไว้
และคนจีนจำนวนไม่น้อยที่คิดว่าการไม่มีลูกหลานสืบสกุล จะเป็นการอกตัญญูต่อบุพการีและบรรพชน

แซ่ของจีนตั้งแต่โบราณมา ทางไต้หวันสำรวจได้ 6,000 กว่าแซ่ จีนแผ่นดินใหญ่รวบรวมได้ 5,000 กว่าแซ่ ยังใช้อยู่ในปัจจุบันประมาณ 3,000แซ่ ที่แพร่หลายมีราว 500 แซ่ สมัยราชวงศ์ซ่ง มีคำนำแซ่ที่ใช้แพร่หลาย มาเรียบเรียงเป็นร้อยกรอง เรียกว่า ไป่เจียซิ่ง แปลเอาความได้ว่า "ทำเนียบร้อยแซ่" รวมแซ่ไว้ 438 แซ่ ต่อมามีคนเพิ่มเติมเป็น 504 แซ่ จนถึงปัจจุบันแซ่ที่มีคนใช้มากจริง ๆ มี 100 แซ่ คิดเป็น 85 % ของประชากรชาวฮั่น หรือ 960 ล้านคน แซ่ที่มีคนใช้เกิน 1 % ของประชากรชาวฮั่นมี 19 แซ่ มีคนใช้รวมกัน 55.6 % ส่วนในไทย บุญศักดิ์ แสงรวี รวบรวมแซ่เท่าที่พบเห็นในเมืองไทย และเขียนประวัติย่อไว้ ๒๒๕ แซ่ แต่ที่แพร่หลายจริง ๆ คงมีไม่เกิน 100 แซ่ ที่จดทะเบียนเป็นสมาคมแซ่มี 59 แซ่
แซ่ใหญ่สามอันดับแรกของจีน คือ แซ่หลี (หลี่) เฮ้ง (หวาง) เตีย (จาง) สามแซ่นี้มีประชากรแซ่ละ 100 กว่าล้านคน ส่วนแซ่ใหญ่สามอันดับแรกของไต้หวัน คือ แซ่ตั้ง (เฉิน) ลิ้ม (หลิน) อึ๊ง (หวง) ของไทย แซ่ตั้งมากเป็นอันดับหนึ่ง แซ่ลิ้มอันดับสอง อันดับสามก็น่าจะเป็นแซ่อึ๊งเหมือนไต้หวัน
ชาวจีนแต้จิ๋วในจีนมีคำกล่าวว่า "ตั้ง ลิ้ม ฉั่ว ทีเอ๋กือ เตี่ยวเจ็กปั่ว "แปลว่า " แซ่ตั้ง ลิ้ม ฉั่ว (ไช่) มีคนรวมกันเป็นครึ่งหนึ่งในใต้ฟ้า"
หมายถึงครึ่งหนึ่งของคนแต้จิ๋วทั้งหมด แต่จีนพวกอื่นเช่นจีนแคะ กวางตุ้ง มีคำสรุปเรื่องแซ่ต่างกันไป

หวัง, หลี่, จาง, หลิว, เฉิน, หยาง, หวง, เจ้า, อู๋, โจว, สีว์, ซุน,
หม่า, จู, หู, กัว, เหอ, เกา, หลิน, หลัว, เจิ้ง, เหลียง, เซี่ย, ซ่ง, ถัง,
สี่ว์, หาน, เฝิง, เติ้ง, เฉา, เผิง, เจิง, เซียว, เถียน, ต่ง, หยวน, พาน, อี๋ว์,
เจียง, ไช่, อี๋ว์, ตู้, เย่, เฉิง, ซู, เว่ย, หลี่ว์, ติง, เหริน, เสิ่น, เหยา,
หลู, เจียง, ชุย, จง, ถัน, ลู่, วัง, ฟัน, จิน, สือ, เลี่ยว, เจี่ย, เซี่ย,
อุ่ย, ฟู่, ฟาง, ไป๋, โจว, เมิ่ง, สง, ฉิน, ชิว, เจียง, อิ่น, เซียว์, ? ,
ต้วน, เหลย, โหว, หลง, สื่อ, เทา, หลี, เฮ่อ, กู้, เหมา, ห่าว, กง, เส้า,
วั่น, เฉียน, เหยียน, ถัง, อู่, ไต้, มู่, ข่ง, เซียง, ทัง.

วานนี้ (24 เม.ย.50) กระทรวงพิทักษ์สันติราษฎร์ เผยลำดับใหม่ล่าสุดของ 100 แซ่ ที่มีคนใช้มากที่สุดในแดนมังกร โดย 3 อันดับแรก ได้แก่ แซ่ หวัง หลี่ และจาง ซึ่งมีผู้ใช้รวมกว่า 270 ล้านคน เกือบเท่ากับจำนวนประชากรของอเมริกา และอีก 7 ลำดับถัดมา คือ หลิว เฉิน หยาง หวง จ้าว อู๋ และโจว โดยแต่ละแซ่ล้วนมีคนใช้มากกว่า 20 ล้านคน

ตามการวิเคราะห์จากสถิติสำมะโนประชากรทั้งประเทศของกระทรวงพิทักษ์สันติราษฎร์ระบุว่า ปัจจุบันนี้ แซ่หวังเป็นแซ่ที่มีผู้ใช้มากที่สุด จำนวน 92,881,000 คน คิดเป็น 7.25 % ของประชากรทั้งประเทศ หรือทุกๆ 13 คนจะมี 1 คนที่แซ่หวัง หรือเทียบเท่ากับจำนวนประชากรทั้งมณฑลเสฉวน ซึ่งมากกว่าประชากรของเยอรมันอยู่ 10 ล้านคน อีกทั้งแซงหน้าแซ่หลี่แชมป์เก่ามาเพียง 800,000 คน

วานนี้ หวังต้าเหลียง ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยเกี่ยวกับสกุลแซ่ของสถาบันการปกครองเยาวชนจีน ได้ออกมาวิเคราะห์ถึงเอกลักษณ์ของแซ่หวังในปักกิ่งว่า “ในประวัติศาสตร์ ปักกิ่งเป็นเมืองของคนอพยพ แซ่ของที่นี้จึงสามารถบ่งถึงลักษณะเด่นของท้องที่ต่างๆ ทางภาคเหนือ แซ่หวังเองก็จัดเป็นแซ่ที่คนใช้เยอะแซ่หนึ่งในปักกิ่ง”
คนที่ใช้แซ่หวังในปักกิ่งส่วนหนึ่งอพยพมาจากมณฑลเหอเป่ย ตงเป่ย ซานซี เหอหนาน และอีกส่วนมาจากเชื้อพระวงศ์มองโกล สมัยราชวงศ์หยวน และชนชั้นสูงสมัยราชวงศ์ชิง เมื่อเสื่อมอำนาจก็เปลี่ยนมาใช้แซ่ “หวัง”ของชาวฮั่น ส่วนชาวฮั่นที่ใช้แซ่หวังก็คือ ลูกหลานของรัชทายาทโจวหลิงหวังในสมัยราชวงศ์จิ้น

หวังต้าเหลียงเห็นว่า การจัดลำดับครั้งล่าสุดนี้เป็นการจัดที่แม่นยำที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ สิ่งนี้มีความหมายอย่างมากต่อการทำความเข้าใจในการกระจายตัวของแซ่ และกระบวนการอพยพของประชากร เขากล่าวว่า “วิธีการจัดลำดับครั้งก่อนๆ จะสุ่มสำรวจตัวอย่าง 5 แสนคนจากทั้งประเทศ แล้วจึงสรุปผลออกมา แต่การจัดลำดับครั้งนี้ ได้จัดตามระบบข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกระทรวงพิทักษ์สันติราษฎร์ จึงมีความแม่นยำมากกว่า และยังครอบคลุมแซ่ของชนเผ่ากว่า 56 เผ่า

ในสมัยโบราณนั้นแซ่ตระกูลมีที่มาแตกต่างกัน แซ่เป็นอย่างหนึ่ง ตระกูลก็เป็นอย่างหนึ่ง แซ่ ในภาษาจีนกลางออกเสียงว่า “ซิ่ง” ตามรากศัพท์หมายถึง เผ่าพันธุ์ที่มีสตรีเป็นหัวหน้าหรือผู้ให้กำเนิด ตระกูลในภาษาจีนกลางออกเสียงว่า “ซื่อ” ตามรากศัพท์หมายถึงฐานะของผู้ชายที่เป็นนักรบ ในความหมายเดิม ๆ แซ่จึงเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าเป็นคนอยู่เผ่าใด ส่วนตระกูลเป็นเครื่องแสดงฐานะของบุคคล หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ซื่อหรือตระกูลเป็นสิ่งแยกวรรณะ ส่วนแซ่หรือซิ่งนั้น เป็นสิ่งแสดงสถานภาพการสมรสของฝ่ายหญิง แซ่ในยุคโบราณจึงมักมีรูปอักษรที่มีคำว่า “หนี่” หมายถึงผู้หญิง กำกับอยู่ด้วยเสมอ ส่วนซื่อหรือตระกูลนั้นมีใช้กันไม่แพร่หลายมากนัก จำกัดอยู่เฉพาะชนชั้น ผู้ดีมีฐานะทางสังคม อย่างเช่นหวงตี้ที่ถือกันว่าเป็นพระเข้าแผ่นดินองค์แรกของคนจีนทั้งมวล มาจากตระกูลกงซุน หมายความว่าเป็นหลานของกง
ซึ่งเป็นบรรดาศักดิ์ของขุนนางระดับชั้นสมเด็จเจ้าพระยา หรือ Duke ของอังกฤษ สำหรับราษฎรธรรมดานั้นแต่เดิมไม่มีแซ่ตระกูล มีเพียงชื่อตัวที่เรียกว่า หมิง เท่านั้น ต่อเมื่อสังคมบ้านเมืองจีนขยายใหญ่โตมากขึ้นพร้อมกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และสถานการณ์ต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปขุนนางศึกและชนชั้นเจ้าที่ดินทั้งหลาย ซึ่งมีอาณาเขตปกครองที่ดินทั้งหลายซึ่งมีอาณาเขต ปกครองที่ดินถือครอง เพิ่มมากขึ้น จำต้องอาศัยประชาชนทั่วไปเป็นแรงงานสำคัญในการพัฒนาที่ดินตลอดจนการรบทัพจับศึก ดังนั้นจึ้งต้องหาสมัครพรรคพวกด้วยการเอาอกเอาใจคนในปกครองให้มีสิทธิมีเสียงมากขึ้น สัญชาตญาณของมนุษย์อย่างหนึ่งคือ ต้องการให้ผู้อื่นยอมรับตนเอง คนที่เป็นทาสหรือเป็นคนสามัญ ก็อยากให้ตนเองมีฐานะทางสังคมขึ้นมาบ้าง พวกเจ้านายทั้งหลายที่มีสติปัญญาความรู้ ย่อมเล็งเห็นความจริงในข้อนี้ จึงยินยอมให้คนในปกครองเกิดความรู้สึกจงรักภักดี ต่อตนเองด้วยการให้มาร่วมใช้แซ่ตระกูลของตน หรือคิดตั้งแซ่ตระกูลต่าง ๆ ให้ซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับแซ่ตระกูลของคนที่เป็นเจ้านาย

ดังนั้น ในยุคจั้งกว๋อหรือยุครณรัฐ อันเป็นสมัยที่วอร์ลอร์ดทั้งหลายต่างแสวงหาอำนาจอิทธพลกันอย่างกว้างขวาง จึงมีการประทานแซ่ตระกูลให้แก่คนทั่วไปนับแตันั้นมาการใช้แซ่ตระกูลของจีน ก็เป็นไปอย่างแพร่หลายเพิ่มเติมจากแซ่เดิมแต่โบราณที่มีอยู่ไม่กี่แซ่
ตามตำนานโบราณบันทึกว่า หวงตี้หรือพระเจ้าเหลืองมีโอรสทั้งหมดยี่สิบห้าองค์ เกิดจากมเหสีสิบสององค์ โอรสทั้งหลายต่างใช้แซ่ของมารดาตนเอง จึงมีแซ่ ที่สืบเชื้อสายมาจากหวงตี้สิบสองแซ่ บางตำนานว่าสิบสี่แซ่ ยังมีตำนานบางเล่มกล่าวว่าหวงตี้ได้พระราชทานแซ่แก่ขุนนางที่มีความดีความชอบให้ออกไปกินเมืองต่าง ๆ ขุนนางนั้นเลยใช้แซ่พระราชทานเป็นชื่อเมือง คนที่อยู่เมืองนั้นต่อมาก็ใช้ชื่อเมืองเป็นแซ่ของตน

ในพระราชประวัติของพระเจ้าฮั่นเกาจู่ (หลิวปัง) จักรพรรดิปฐาราชวงศ์ฮั่น ซึ่งเคยเป็นสามัญชนมาก่อน ครั้นพระองค์ปราบดาภิเษกเป็นฮ่องเต้แล้วได้โปรดเกล้าฯให้ประชาชนทุกคนมีแซ่ตระกูลประจำตัว ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ ขุนนางหรือไพร่ และจากยุคนี้เองที่แซ่ตระกูลได้มารวมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยรวม เรียกว่าแซ่ และให้ถือตามแซ่ของบิดาอย่างเป็นทางการ จากการที่มีการใช้แซ่กันอย่างกว้างขวางไม่เลือกคนมีบุญหนักศักดิ์ใหญ่หรือ ประชาชนคนสามัญทั่วไป จึงทำให้เกิดความนิยมขึ้นมาอย่างหนึ่งคือ การสืบเสาะหาความเป็นมาของแซ่ตระกูล ยุคราชวงศ์ฮั่นจึงได้มีนักศึกษาประวัติศาสตร์สาขามานุษยวิทยาแขนงตระกูล วิทยา Anthroponomy เกิดขึ้นนักศึกษาเหล่านี้มีความสนใจค้นคว้าถึงความเป็นมาของแซ่ตระกูลต่าง ทั้งการเริ่มต้นและการดับสูญ นับเป็นแขนงวิชาหนึ่งซึ่งเป็นกระจกสะท้อนถึงวิวัฒนาการของสังคมมนุษยได้ดีพอควร จากความมุ่งหมายเดิมที่ต้องการเพียงแต่สืบค้นถึงที่มาของบรรพบุรุษในแซ่ตระกูลตนเอง กลายเป็นการสืบสาวโยงใยไปถึงบุคคลที่อยู่ในยุคเดียวกัน
ความเกี่ยวพันกันทั้งในฐานะญาติพี่น้อง มิตรสหาย หรือศัตรู

ในปี ค.ศ.1990 เช่นกัน รัฐบาลจีนได้สำรวจแซ่ตระกูลจีนที่มีมาแต่โบราณถึงปัจจุบัน ปรากฏว่ามีแซ่ตระกูลทั้งหมดมากกว่า 8,000 แซ่แต่มีบางแซ่ได้เลิกใช้กัน ไปแล้ว ที่ยังมีอยู่ทุกวันนี้มีเพียง 5,007 แซ่ โดยสามารถแยกประเภทของการใช้แซ่ออกได้ตามลักษณะสำคัญดังนี้

  1. การใช้แซ่ตามมารดาผู้ให้กำเนิด
  2. การใช้แซ่ตามถิ่นเกิด
  3. การใช้แซ่ตามเมืองที่ไปอยู่
  4. การใช้แซ่ตามอาชีพ
  5. การใช้แซ่ตามฉายา
  6. การใช้แซ่ตามตัวเลข

สิบอันดับแซ่ที่มีผู้ใช้มากที่สุดในโลก ได้แก่

1. จาง 2. หวาง 3. หลี่ 4. จ้าว 5. หลิว 6. เฉิน 7. หยาง 8. หลิน 9. สวี 10.โจว

สิบแซ่นี้รวมกันแล้วมีประมาณ 250 ล้านคน เฉพาะแซ่จางแซ่เดียวก็กว่า 100 ล้านคนเข้าไปแล้วหรือมากเกือบเท่ากับคนอังกฤษและฝรั่งเศสสองประเทศรวมกัน

ยี่สิบอันดับแซ่ที่มีผู้ใช้มากที่สุดในสาธาณรัฐประชาชนจีน ได้แก่

1. หลี่ 2. หวาง 3. จาง 4. หลิว 5. เฉิน 6. หยาง 7. จ้าว 8. หวง 9. โจว 10.หวู 11. สวี 12.ซุน 13.หู 14.จู 15.วัง 16.หลิน 17.เหอ 18.กวัว 19.ไช่ 20.หม่า

ยี่สิบแซ่นี้รวมกันแล้วประมาณ 56% ของคนจีนทั้งประเทศ หรือมากกว่า 600 ล้านคน อันดับหนึ่งถึงสี่คือ หลี่ หวาง จาง หลิว แต่ละแซ่มีมากกว่า 70 ล้านคน หรืออีกนัยหนึ่ง แต่ละแซ่ดังกล่าวนี้มีมากกว่าคนไทยทั้งประเทศ

ส่วนทางจีนไต้หวัน ซึ่งเป็นชุมนุมชาวจีนที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ก็ได้มีการสำรวจเรื่องราวเกี่ยวกับการใช้แซ่ตระกูลจีน เช่นกัน ปรากฏว่ามี
แซ่ที่ใช้กันมาตั้งแต่โบราณถึงปัจจุบัน 6,363 แซ่ แต่แซ่ที่ใช้กันประจำมีเพียง 1,694 แซ่ แยกออกเป็นประเภทต่าง ดังนี้
แซ่อักษรเดียว 3730 แซ่

  • แซ่อักษรสองตัว 2,498 แซ่
  • แซ่อักษรสามตัว 127 แซ่
  • แซ่อักษรสี่ตัว 6 แซ่
  • แซ่อักษรห้าตัว 2 แซ่

ยี่สิบอันดับแซ่ที่มีผู้ใช้ที่มีผู้ใช้มากที่สุดในได้หวัน ได้แก่

1. เฉิน 2. หลิน 3. หวง 4. จาง 5. หลี่ 6. หวู 7. หวาง 8. ไช่ 9. หลิว 10.หยาง 11.เคอ 12.เจี่ยน 13.ถาง 14.ตู้ 15.เหอ 16.หาน 17.เจิ้ง 18.ล่าย 19.ชิว 20.หง

ที่ไต้หวันนี้มีคำกล่าวว่าเฉินหลินหมั่นเทียนเซี่ย แปลว่า คนแซ่เฉิน แซ่หลิน มีเต็มแผ่นดิน คนแซ่เฉิน มีประมาณ 12.29 % ของประชากรไต้หวัน ส่วนคนแซ่หลินมีประมาณ 8.5 % ทางด้านเกาหลีใต้ซึ่งมีประชากร 40 ล้าน มีคนแซ่จิน (กิม) มากถึง 9 ล้านคน
รองลงมาเป็นคนแซ่หลี่ 6 ล้านคนและแซ่ปัก 3.5 ล้านคน

นอกจากคนจีนนิยมใช้แซ่เป็นเครื่องกำหนดสายพันธุ์ของตระกูลแล้ว ประเทศญี่ปุ่นที่รับเอาวัฒนธรรมจีนไปใช้ ก็ใช้แซ่ตระกูลอย่างชาวจีนด้วย และ น่าสังเกตุว่า แม้คนญี่ปุ่นจะมีจำนวนน้อยกว่าจีนถึงสิบเท่า แต่กลับมีแซ่ตระกูลมากกว่าคนจีนเสียอีก ญี่ปุ่นมีแซ่ตระกูลมากกว่า 120,000 แซ่

ส่วนประเทศไทยนั้น เมื่อต้นปี 2535 รายการเมืองไทยก้าวไกล ทางสถานีโทรทัศน์สีช่อง 9 ได้นำเสนอเรื่องราวของสิบอันดับแซ่ตระกูลจีนที่มีผู้ใช้มากที่สุดในเมืองไทย
ปรากฏว่ามีผู้ชมสนใจรายการนี้มากถึงขนาดต้องเพิ่มการออกอากาศเฉพาะเรื่องนี้เป็นกรณีพิเศษถึงสองตอน
สิบอันดับแซ่ที่มีผู้ใช้มากที่สุดในไทยได้แก่

  1. ตั้ง (เฉิน) 84,829 คน
  2. ลิ้ม (หลิน) 74,719 คน
  3. ลี้ (หลี่) 49,291 คน
  4. อึ้ง (หวง) 44,485 คน
  5. โง้ว (หวู) 33,533 คน
  6. โค้ว (สวี่) 31656 คน
  7. เตียว (จาง) 31,246 คน
  8. แต้ (เจิ้ง) 25,922 คน
  9. เล้า (หลิว) 25,346 คน
  10. เฮ้ง (หวาง) 17,821 คน

ถ้าเราค่อย ๆ นับไล่ย้อนหลังไปจากปัจจุบันที่มีแซ่ใช้ประจำ 5,007 แซ่

ในสมัยราชวงศ์หมิงมีเพียง 1,000 แซ่

สมัยราชวงศ์ซ่งมี 600 แซ่

สมัยราชวงศ์ถังมี 293 แซ่

สมัยราชวงศ์โจวมีเพียง 22 แซ่

สมัยหวงตี้กลับมี 12 แซ่ แล้วถึงตัวหวงตี้เอง มีเพียงเดียว

อย่างนี้ย่อมนับได้ว่าคนจีนทุกคน ไม่ว่าปัจจุบันจะใช้แซ่อะไรก็ตาม ล้วนแต่เป็นสายเลือดเดียวกันทั้งนั้น ถ้าเรายอมรับตามความคิดนี้ ย่อมก่อให้เกิดความสงบสันติสุข ไม่อยากฆ่าฟันทำลายล้างกันอีกต่อไป
ทั้งนี้ไม่จำกัดวงแคบ เฉพาะ ในหมู่คนจีน หรือคนที่มีสายเลือดจีนเท่านั้น ถ้าเรามีน้ำใจเผื่อแผ่โดยถือว่าทุกคนที่เป็นมนุษย์ล้วนแต่มีแซ่เดียวกัน คือ แซ่ “ตน” โลกนี้ก็น่าจะอยู่กว่านี้อีกมากนัก

ปัจจุบันชาวโลกมีท่าทีเป็นมิตรต่อกันมากขึ้น เพราะต่างตระหนักดีว่า การทำตัวเป็นศัตรูกันอย่างงมงานด้วยการถือเขาถือเราเป็นคนละเผ่ากันนั้น ย่อม เป็นความคิดที่ล้าหลังน่าหัวเราะ โลกนี้แคบลงทุกวันตามจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มพูนขึ้น ซึ่งเดี๋ยวนี้มีมากมายกว่า 5,300 ล้านคน การที่คนจีนมีจำนวนถึง ประมาณ 1,200 ล้านคนในประเทศ และอีกเกือบ 100 ล้านคนในประเทศอื่นทั่วโลก เทียบได้ว่าพลโลกทุกสี่คนจะเป็นคนจีนหนึ่งคน ความเป็นมาของคนจีน จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจศึกษาเรียนรู้อยู่ไม่น้อย

จนอาจกลาวได้ว่าการศึกษาความเป็นมาของคนจีน คือการศึกษาความเป็นมาของมวลมนุษย์ คำนี้คิดว่าคงไม่ใช่คำกล่าวที่เกิดเลยความจริง เพราะชาติจีนเป็นชาติหนึ่งซึ่งดำรงอยู่ตั้งแต่อดีตตราบกระทั่งปัจจุบัน มีวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาอย่างไม่ขาดตอน เป็นชาติเดียวในโลก ที่มีคนใน สายลือดกระจายไปอยู่ทุกทวีป เป็นชาติเดียวในโลก ที่มีระบอบการปกครองที่มนุษย์คิดค้นขึ้นมาครบทุกรูปแบบ ครบเครื่องทั้งระบอบราชาธิปไตย ประชาธิปไตยเผด็จการ สังคมนิยม คอมมิวนิสต์ ระบอบกึ่งอาณานิคม เสรีนิยม และอำนาจนิยม .

 

รายงานตัวด้วยคนคับ ผมแซ่เล้า ยินดีที่ได้รู้จัก ทุกคนคับบ

ผมแซ่เล้า ยินดีที่ได้รู้จัก ทุกคนคับบ พอดีนั้งคิดถึงอาม่าผม ท่านเพิ่งเสียไปเมื่อ ปีก่อน ส่วนกุ๊ง ผมเสียไป 4-5ปีแล้ว ท่านชอบสอนผมพูดภาษาจีนแคะ บ่อยๆ ส่วนไหญ่จะจำไม่ค่อยได้ ที่จำได้แม่นก็คือคำ บ่นๆ ของแก ฮ่าๆ 

 

 Lukchaorai๑hotmail.com  นี่เมลผมนะคับ ^ ^

รูปภาพของ อาฉี

เซี่ยงหลิว

มาเสริมให้ ผิดถูก หรือมีเพิ่มเติมประการใดบอกกันได้นะ

เซี่ยงหลิว หรือแซ่เล่า (เล้า) เขาว่ามีที่มา 3 ทางดังนี้

1.สายแรก เป็นสายดั่งเดิม กล่าวถึงว่าเป็นลูกหลานของของอึ๊งตี้ ที่เดิมเป็น ถาวถัง (แซ่เท้าถัง) ซึ่งเป็นชื่อท้องที่ ที่มีมีผู้นำเผ่าเป็นผู้ปกครอง แล้วต่อมาถูกปราบโดยอึ๊งตี้


ถึงสมัยหลานเหลนชื่อคี้จือ หรือชี้จือ ลูกสาวของคี้จือได้แต่งงานห่วงสิ่ว (ฟ่างซวิน) และได้ให้กำเนิดลูกชายที่ต่อมาได้ปกครองจีน คือกษัตริย์เหยา ครั้น

เวลาผ่านไป มีลูกหลานของกษัตริย์เหยาได้ไปปกครองแคว้นเล่า หรือหลิวก๊ก มีชื่อเรียกว่าเล่าโถวกเตอ ลูกหลายรุ่นต่อๆ มาจึงได้ใช้คำว่า เล่า (เล้า) หรือหลิวเป็นแซ่สืบมา

2.ลูกหลานสายกี (จี) โดย โจวเฉิงหวัง (จิวเซ้งอ๊วง) โปรดให้โอรสชื่อ หวังจี้ (อ๊วงขุ่ย) ไปครองเมืองหลิว ลูกหลานจึงได้นำชื่อเมืองมาเป็นแซ่สืบมา

3.สายสุดท้ายมาจากสมัยราชวงศ์ฮั่น หลิวปัง (เล่าปัง) หลังจากที่ได้ขึ้นของราชก็ได้ทรงปูนบำเหน็จให้กับผู้ที่มีความดีความชอบ โดยการพระราชทานแซ่เล่า หรือ หลิว ให้ใช้กันสืบมา


นามสกุล เหลาเจริญ

ใครตอบได้บ้างค่ะว่า นามสกุลเหลาเจริญ มาจากแซ่เหลาหรือไม่ค่ะ และถ้าใช้บรรพบุรุษ ที่มาอยู่ที่จังหวัดขอนแก่นมาได้อย่างไร และมาจากกลุ่มไหนค่ะ

รูปภาพของ เฉินซิ่วเชง

ลูกหลานมังกร...ทั้งนั้น

อ่านสาระตระกูลแซ่ของพวกเราเสร็จ  ไหง จึงหมดข้อสงสัยว่าทำไม คนจีนถึงอยากมีลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง   จากผลงานแปลคัมภีร์  เต้าเต้อจิง”  ศิลปินจ่าง (จ่าง  แซ่ตั้ง : บิดาแห่งวรรณรูปไทย) สมัยใหม่ ใช้คำว่า คนเพียงคำเดียว   เพื่อบอกว่าเป็น คนจำนวนมากมายมหาศาล”   แทนคำว่าแซ่เพื่อ  แกะรอยบรรพบุรุษ  หาความเป็นมาของแซ่ตระกูลต่างๆ  ตั้งแต่ยุคโบราณกาล  ตามตำนานและประวัติ  ตามวรรณกรรมและปรัชญา เพื่อให้ลูกหลานชาวจีนตลอดจนอนุชนรุ่นหลัง   ได้ทราบถึงประวัติความเป็นมา   ของต้นตระกูล และเพื่อระลึกถึงคุณงามความดีของบรรพบุรุษ  ที่ได้สร้างความยิ่งใหญ่ไว้ให้แก่แผ่นดิน 

ข้ามีมัน (ความคิด บทกวีและภาพ)  อยู่ในใจข้าแล้ว  "จ่างใช้คำว่า  คนเพียงคำเดียวมาเขียนเป็นรูปที่ให้ทั้งภาพแห่งปริมาณของคนและความจริงแทนลูกหลานมังกรทั้งมวล   (ปรัชญาเต๋าในงานกวีของจ่าง แซ่ตั้ง (๒) 

จีนมีสำนวนประโยคหนึ่งว่า ถงซิ่งเหยินอู๋ป่ายเหนียนเฉียนซื่ออี้เจีย” 同姓人五百年前是一家 คนแซ่ตระกูลเดียวกันเมื่อห้าพันปีก่อน เป็นคนครอบครัวเดียวกัน  เมื่อคนที่มีแซ่ตระกูลเดียวกันมาพบกันมักจะพูดกันอย่างใกล้ชิดว่าเราเป็นคนบ้านเดียวกันมีคนศึกษาแซ่ตระกูลสี่แซ่แรกในหนังสือร้อยแซ่ตระกูล
    คนจีนให้ความสำคัญกับแซ่สกุลมาก   มักทักทายว่าหนินกุ้ยซิ่ง” 您贵姓? (แซ่สูงส่งของท่านคือแซ่อะไร) และมักตอบว่า หว่อซิ่ง.......”  我姓.............(ฉันแซ่.......) คนจีนเมื่อเจอกันแล้วรู้ว่าแซ่สกุลเดียวกัน   จะมีความสนิทสนมขึ้นมาทันที  และมักจะบอกว่าเราเป็นคนบ้านเดียวกัน  หรือเป็นญาติกัน  อีกประการหนึ่งในการเรียกคนจีนนั้นเรามักจะใช้นามสกุลหรือแซ่นำหน้าคำ(ดร.นริศ วศินานนท์)  นี่คือหัวใจของคำว่าร้อยแซ่พันธุ์มังกร  ที่ต้องกระจายให้มากๆๆทั้งแผ่นดินภูมิภพแผ่นดินธรรม  มาอยู่แผ่นดินนี้ก็ยังระมัดระวังช่วยกันรักษาและ  ช่วยเผยแพร่แผ่ขยายทุกสิ่งทุกอย่างแบบมังกร

รายงานตัวอีกครั้ง

เซี้ยงจำ  เต็ดฉื้อปุ๊ย ฟุงซุ้น (ซำคัง)

    รู้เท่านี้แหละครับ

รายงานตัวครับผม

ไหง เซี้ยงฉี 

ปุ้ย เหมีอง

ซื่อ  ฝา

 

อยากรู้เรื่องแซ่หวาง

อยากรู้เรื่องแซ่หวาง แซ่หวัง แซ่อึ้ง เป็นแซ่เดียวกันหรือเปล่า
รูปภาพของ เหลี่ยงหน่ำเซ็น

มีใครแซ่เหลี่ยงหรือเปล่าครับ

ไหง่เซี้ยงเหลี่ยง เหลี่ยงหน่ำเซ็น ใครแซ่เีดียวกันบ้างทักทายกันบ้างนะครับ

คนแซ่เหลี่ยง ที่รู้จักเป็นดาราดังๆก็ เหลี่ยงเฉาเหว่ย ที่เป็นคนในประวัติศาสตร์ก็

เหลี่ยงซันเปอ  

ผมชื่อ เหลียงฮั่นหลง เป็นคนแซ่เหลียงครับ

ผมก็แซ่เหลียงครับ โดยเป็นฝ่ายแม่ เพราะพ่อเป็นคนไทย

ผมมีชื่อจีนว่า เหลียงฮั่นหลง(ออกเสียงตามสำเนียงจีนกลาง) ครับ

สำเนียงแต้จิ๋วออกเสียงว่า เหนี่ยวฮั่งเล้ง

ก๋ง(คุณตา)ของผมเป็นจีนกวางตุ้งแซ่เหนี่ยวครับ

อาเหล่ากง(ทวด)เป็นรุ่นแรกมาจากเมืองจีน ชื่อ เหนี่ยวว้า ครับ

รูปภาพของ อาฉี

สตรีตระกูลซ่ง ผู้มีอิทธิพลของจีน

3 สาวพี่น้องตระกูลซ่ง ถ้าใครติดตามประวัติของ ผู้นำซุน ผู้นำเจียง และท่านข่งเจ้าพ่อแห่งการเงินธนาคาร ก็คงรู้จักเธอทั้ง 3 ซ่งอ้ายหลิง,  ซ่งชิงหลิง, ช่งเหมยหลิง

  

เรียกว่าไม่น่าเชื่อว่า ท่านเจียงไคเช็ก  กับ ท่านซุนยัดเซน จะเป็นคู่เขยกันได้ ส่วนรายละเอียดอื่นๆ ทั้งเรื่องอุดมการณ์ทางการเมือง และวิถีชีวิตจะเป็นอย่างไร เชื่อว่า ท่านยับซินซัง ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์มาดีกว่าไหง คงสาธยายได้อย่างลึกซึ่งเป็นแน่แท้ 

รูปภาพของ YupSinFa

เกี่ยวกับ3พี่น้องตระกูลซ่ง

                เห็นอาฉีโก นำรูปภาพ ของท่าน สามซ่ง มาลง ไหงจึงขอขยายความอีกครั้งหนึ่งนะครับ ซึ่งอันที่จริง ไหงได้นำเรียน เรื่องราวของ ทั้ง 3 ท่าน ไว้ในชุมชนของเราแล้ว ถ้าจำไม่ผิด จะอยู่ในบล๊อก เรื่อง ด๊อกเตอร์ ซุนจงซาน ความภาคภูมิใจของชาวฮากกา หรือปล่าว? (เขียนเองลืมเองครับพี่น้อง)

               ขอเรียนเพิ่มเติม เพื่อเป็นความภาคภูมิใจ ของ ไท้ก๋าหยิ่น ทุกท่าน ว่า 3 ซ่ง นี้ เป็น เชื้อสาย "ฮากกา" ครับ คือ ท่าน ชาร์ลี ซ่ง บิดา ของท่านทั้ง 3 เป็นชาวฮากกา ที่เกิดใน อำเภอ "บุ่นเชียง" ในภาษา ใหหนำ หรือ เหวินชาง ในภาษาผู่ทง อำเภอเหวินชางบนเกาะใหหนำ นี้ เป็นอำเภอเดียวของเกาะ ที่มีชาวฮากกาอาศัยอยู่ครับ ว่ากันว่า เป็นชาวเหมยเสี้ยน ที่พากันอพยพไปอยู่อาศัยกลายเป็นชาวเกาะไป

              ดังนั้น ท่านซุนจงซาน ซึ่งเป็นชาวฮากกา ที่เกิดในหมู่บ้าน แห่งหนึ่ง ใกล้ ๆ เกาะไหหลำ ปัจจุบันหมู่บ้านนั้น ได้เปลี่ยนชื่อเป็นเมือง จงซาน เพื่อเทอดเกียรติท่านกว๋อฟู่ และเป็นเมืองใหม่ ที่มีความสวยงามแห่งหนึ่ง ของกว่างตงครับ หลานสาวไหงทำงานอยู่ที่นี่ เธอบรรยายว่า เป็นเมืองที่สวยงามมาก ท่านซุนจงซานเป็นชาวฮากกา ท่านซ่งชิ่งหลิง ก็เป็นชาวฮากกา ท่านซ่งชิ่งหลิงนี้ เป็นไม้เบื่อไม้เมากันกับ เจี่ยงเจี้ยสือ นะครับ ท่านอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับ จอมพลเจี่ยง เป็นผู้นำปีกซ้ายของกว๋อหมินต่าง ครับ ซึ่ง เป็นพันธมิตร กับ ก้งฉานต่าง มาโดยตลอด จะเห็นได้ว่า ในวันประกาศ สถาปนาซินจงกว๋อ บนพลับพลาเทียนอันเหมิน ในวันที่ 1 ตุลาคม 1949 จะมีท่านซ่งชิ่งหลิง เป็นสุภาพสตรีเพียงคนเดียว ยืนเด่นเป็นสง่า เคียงข้างท่านเหมาจู่สีและ โจวเอินไหล จ๋งหลี่ รวมถึงบรรดาแกนนำปีกซ้ายของกว๋อหมินต่าง ด้วย ดังนั้น จะมีผู้ใดมากล่าวว่า คอมมิวนิสต์จีน เป็นเผด็จการ ปกครองจีนแต่เพียงพรรคเดียว ไม่ถูกตั้งแต่แรกเลยนะครับ ไหงพอทราบว่า คณะรัฐมนตรี โจวเอินไหล 1 น่าจะมีแกนนำปีก ซ้ายกว๋อหมินต่าง ร่วมอยู่ด้วย ที่สำคัญ ท่าน ซ่งชิ่งหลิง ท่านได้รับเกียรติให้เป็นประมุขกิติมศักดิ์ของซินจงกว๋อ เรียกว่า ประธานประเทศจีน และบางครั้งก็เรียกประธานาธิบดีด้วยก็ได้ครับ ท่านเป็นเคียงคู่กันกับท่านหลิวส้าวฉี ครับ และในที่สุด ท่านก็ได้ตัดสินใจเข้าร่วมเป็น "ถงจื้อ" เป็นสมาชิกพรรคจงกว๋อก้งฉานต่าง ในวาระสุดท้ายแห่งชีวิตท่านครับ ประชาชนจีนใหม่ มีความเคารพรักท่านมากครับ

             3 พี่น้องตระกูลซ่ง นี้ ถูกนำมาเขียนเป็นนิยาย บันทึก ชีวประวัติ รวมถึงเป็นภาพยนต์ทีวี และ ภาพยนต์จอเงินมาแล้ว หลายเวอร์ชั่นครับ เป็นที่รู้กันดีในหมู่นักจีนศึกษา ว่า พี่สาวคนโต ซ่งอ้ายหลิง เป็นมหาเศรษฐี มีอิทธิพลทางการเงิน เป็นคน "รักเงิน" ครับ พี่สาวคนกลาง คือท่านประธานซ่งชิ่งหลิง เป็นคน "รักชาติ" ครับ ท่านได้แสดงให้ประชาชนจีนเห็นครับว่า ท่านมีความรักชาติรักประเทศจีนจริง ๆ ท่านเป็นผู้สานต่ออุดมการณ์ของท่านซุนจงซานสามีของท่านครับ ด้วยการเป็นแนวร่วมกับ ก้งฉานต่าง และ อยู่ใน ต้าลู่มาโดยตลอดครับ ประเทศจีนเพิ่งฉลองวาระครบรอบ 100 ปี ของท่านซ่งชิ่งหลิง ไปได้ ไม่กี่ปีมานี้เองครับ

             ส่วนน้องนุชคนสุดท้อง ชาวจีนให้สมญานามท่านว่า เป็นคน "รักอำนาจ" ครับ ด้วยความที่ทั้ง 3 ซ่ง เป็นสตรีสูงศักดิ์ เกิดมาบนกองเงินกองทอง เพราะชาร์ลี ซ่ง เป็นมหาเศรษฐีครับ จึงได้รับการศึกษาที่สูงส่ง จากยุโรป ครับ ซ่งเหม่ยหลิง จึงมอบหัวใจให้ เจี่ยงเจี้ยสือ จอมพลหนุ่ม อดีต ทส.ผู้จงรักภักดีของท่าน ซุนจงซาน ได้ถือโอกาสตั้งตัวเป็นทายาทท่านซุนโดยวิธีที่แสนสกปรก ครับ เขาฆ่าแกนนำกว๋อหมินต่าง คนสำคัญไป 2-3 คน ประวัติศาสตร์ตอนนี้ยาวครับ ต้องว่ากันเป็นหน้า ๆ ค่อยเขียนให้อ่านกันคราวหลังก็แล้วกัน แค่ร่ายเรื่อง 3 ซ่ง ก็ปาเข้าไป หลายย่อหน้าแล้ว นี่ขนาดเขียนไปแล้วนะ

            ซ่งเหม่ยหลิง จึงได้เป็นทั้งภริยาของเจี่ยงเจี้ยสือ และ ที่ปรึกษาคนสำคัญ เป็นกุนซือให้กับจอมพลเจี่ยงลูกชาวนาบ้านนอกจน ๆ แห่งเจ๋อเจียง ที่ไม่มีความรู้ทางวิชาการ แต่มีความรู้ทางการทหาร ได้เป็นผู้นำประเทศจีน สืบต่อมาอีกยี่สิบกว่าปี กว่าก้งฉานต่างจะยึดจีนไว้ได้ทั้งหมด ซ่งเหม่ยหลิง จึงเป็นสุภาพสตรีที่มีชีวิตน่าศึกษามากท่านหนึ่ง เธอสร้างสีสันให้ประวัติศาสตร์ช่วงนี้ได้ไม่น้อยเลยทีเดียว และที่สำคัญ เธอยังมีอายุยืนยาวมาก ๆ ด้วย เธอเพิ่งถึงแก่อสัญกรรมไปได้ ไม่น่าจะถึง 10 ปีนะ ขอโทษที่จำไม่ได้ โดยเธอใช้ชีวิตบั้นปลายที่ สหรัฐอเมริกา ลาจากโลกไปในวัย 107 ปี

เพิ่งกลับมาจาก เหล่าเจียครับ

 วันนี้เข้ามาดูเพิ่งเห็นว่ามีพี่น้องเข้ามาโพสเรื่องแซ่กันพอสมควรเลย กะจะเข้ามาโพสตอบหลายครั้งแล้ว แต่พอดีว่าไหงไปหาญาติที่ เจียวลิ่ง (蕉岭) มา ไม่ได้เล่นเน็ตเลย ก็เลยไม่ได้ตอบสักที ..ไหงไปฉลองตรุษจีนที่นั้น ไปอยู่ประมาณ 1 เดือนครับ สนุำกดี มีหลายๆอย่างน่าสนใจมากด้วย ไว้ว่างๆจะเหล่าให้ฟังน่ะครับ

 อืม.. ไหงเซี้ยงฮ่า (แซ่เซี้ย ) ครับ ต้นตระกูลอยู่ที่เจียวลิ่ง(รุ่นที่ 10) อากุง (รุ่นที่ 21) ได้ออกจากจีน มาอยู่ในไทย(ผ่านมาเลย์ เข้ามาทางภาคใต้ของไทย แล้วมาปักหลักที่ อ.สะเดา จ.สงขลา) เพราะฉะนั้นป๋าเป็นรุ่นที่ 22 ไหงก็เลยเป็นรุ่นที่ 23 ครับ รู้มาประมาณนี้ครับ เพราะญาติที่จีนเค้าได้ทำเป็นหนังสือพิมพ์ออกมา ก็เลยทำให้ทราบประวัติ ทำให้ไหงรู้อะไรๆขึ้นเยอะเลย..

ประวัติพี่ๆน้องๆ สืบทอดกันมายังไรกันบ้างครับ เล่าให้ฟังด้วยน่ะครับ

 

 

我叫夏祥富。。 我住在泰国南方的。 我公公和婆婆都是华侨也是客家人。

认识你们很高兴啊!。。。เรียนจีนมาได้ไม่นาน ฝากเนื้อฝากตัวด้วยน่ะครับ

2008 年中國姓氏排名, 你排第幾?

เพื่อนไหง  ได้รายชื่อแซ่  การสำรวจจำนวนประชากรตามแซ่ที่มีในประเทศจีน เมื่อปี 1977 เปรียบเทียบกับ  ปี 2008

 

              1977 年             中 國 姓 氏 排 名         1 到 30

  1 張     2 王     3 李    4 趙     5 陳     6 楊     7 吳    8 劉     9 黃   10 周

11 徐   12 朱   13 林   14 孫   15 馬   16 高   17 胡   18 鄭   19 郭   20 蕭

21 謝   22 何   23 許   24 宋   25 沈   26 羅   27 韓   28 鄧   29 梁   30 葉

 

              2008 年             中 國 姓 氏 排 名         1 到 30

  1 李    2 王     3 張    4 劉    5 陳     6 楊     7 趙     8 黃     9 周   10 吳

11 徐   12 孫   13 胡   14 朱  15 高   16 林   17 何   18 郭   19 馬   20 羅

21 梁   22 宋   23 鄭   24 謝  25 韓   26 唐   27 馮   28 于   29 荲   30 蕭

 ใครแซ่อะไร  ติดอยู่อันดับประชากรมากอันดับที่เท่าไหรดูเอาเอง  ถ้าไม่มีแซ่ 1-30 นี่

จะดูให้  ที่ไหงได้มาเรียงลำดับถึงอันดับที่ 300 

สวัสดีพี่น้องชาวไทยเชื้อสายจีนทุกท่านครับ

ผมก็แซ่เหลียงครับ โดยเป็นฝ่ายแม่ เพราะพ่อเป็นคนไทย

ผมมีชื่อจีนว่า เหลียงฮั่นหลง(ออกเสียงตามสำเนียงจีนกลาง) ครับ

สำเนียงแต้จิ๋วออกเสียงว่า เหนี่ยวฮั่งเล้ง

ก๋ง(คุณตา)ของผมเป็นจีนกวางตุ้งแซ่เหนี่ยวครับ

อาเหล่ากง(ทวด)เป็นรุ่นแรกมาจากเมืองจีน ชื่อ เหนี่ยวว้า ครับ

รูปภาพของ จ๊องหยิ่นฮยุ๋ง

ยินดีต้อนรับ คุณเหลียงฮั่นหลง

ยินดีต้อนรับเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ของชุมชนเรา  สมาชิกของเราที่เป็นชาวจีนกวางตุ้งอีกท่านก็คือ คุณ 黎啟示 (ไหล่ ไค๋ สี - กวางตุ้ง) ครับ.

ไหง่ แซ่จุง

ไหง่ แซ่จุง ชื่อ จุง เก็ด ฝ่า

ไม่รู้ว่าพิมพ์ถูกมั้ย

รูปภาพของ ฉินเทียน

泰華各姓宗親總會聯合會

สหสมาคมตระกูลแซ่แห่งประเทศไทย  泰華各姓宗親總會聯合會    

The united Chinese clans association of Thailand

http://hakkapeople.com/node/4245

รูปภาพของ vailine

รายงานตัวครับ ไหง่แซ่วุ่น (เวิน)จีนกลาง

รายงานตัวครับ ไหง่แซ่วุ่น (เวิน)จีนกลาง

อากุงไหง่ ชื่อ วุ่นฟ่อง(จีนแคะ) อาผ่อไหง่ ชื่อ เที่ยนเกียว(จีนฮกเกี้ยน)

เท่าที่ถามมาบรรพบุรุษมาจากเมือง ฟิ้วจู(ขอโทษน่ะครับถ้าออกเสียงผิดไป)ไม่ทราบว่า"ฟิ้วจู"เป็นเมืองหรือตำบลครับ

รูปภาพของ วี่ฟัด

           ยินดีครับคนเซี้ยงวูน แต่ไหง่จะขอเรียกแบบสำเนียงเท่ห์ๆว่า " เซี้ยงบุญ " เพราะเรียกทีไรมันอิ่มเอิบใจทุกครั้ง ที่จริงไหง่มีเชื้อสายเซี้ยงบุญ หรือ 温 ข้างอาผ่อ จากเมืองฮิลเหน่น ส่วนอากุงเซี้ยงใช้ ( 蔡 ) จากหม่อยแย้นครับ

            ยินดีครับที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนคนฮากกา 

ฟิ้วจู

ฟี้จู เป็นเมืองระดับจังหวัดครับ บรรพบุรุษไหง่ก็มาจากเมืองนี้ จากอำเภอ boluoปั๋วโล ไหง่ไปเยี่ยมญาติมาแล้วสองครั้ง

รูปภาพของ vailine

ขอบคุณครับคุณฟิ้จูฮากกา

ขอบคุณครับคุณฟิ้จูฮากกา ไม่ทราบว่าการเดินทางไปเมืองฟิ้จูต้องทำยังไงบ้างครับ เห็นคุณฟิ้จูฮากกาบอกว่าเคยไปมาแล้วตั้งสองครั้ง เพื่อไหง่จะได้ไปบ้างครับ

คุณ vailine

ตอนที่ไหง่ไป พอดีมีญาติที่เซินเจิ้นมารับที่สนามบิน แล้วนั่งรถเก๋งไป ไหง่ไม่รู้เส้นทาง พูดจีนไม่ได้ (พี่ชายพูดได้) รู้แต่ฟี้จู คือ Huizhou อยู่ห่างจากเซินเจิ้น(ชิมจุ้น) ไม่ไกลมากครับ 

รูปภาพของ นายวีรพนธ์

คุณ vailine ครับ

รูปภาพของ vailine

ขอบคุณมากครับคุณวีรพนธ์

ขอบคุณมากครับ...คุณวีรพนธ์

อาไท่ไหง่แซ่ โจว 周 ส่วนอากุ๊งไท่ไหง่ แซ่ อึ๊ง 黄

อาผอไท่ไหง่แซ่ โจว 周 ส่วน อากุ๊งไท่ไหง่ แซ่ อึ๊ง 黄 แล้วก็ อากุ๊งไหง่ แซ่ โอว 胡

ไหง่แซ่ หู (โอว) 胡

ไหง่ชื่อว่า 胡强洋

รูปภาพของ patsachol

อยากทราบ

อยากทราบ  แซ่ ของอากง แซ่กี้ ค่ะ มีประวัติอะไรบ้างค่ะ

อากง ชื่อ กิมเล้ง แซ่กี้ ท่านใดที่ทราบประวัติแซ่กี้ ช่วยแนะนำด้วยนะค่ะ 

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal