หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

รวมเรื่องเล่าชาวฮากกา

รูปภาพของ webmaster

เรื่องเล่าชาวฮากกา
(คัดลอกจากหนังสือ เทเบิลเทนนิสชิงถ้วยฮากกาฯ "ปากช่อง 2008" ISBN 978 974 766 040 1)

ชาวจีนแคะที่ชาวไทยเรียกกัน คือ ชาวฮากกา (客家) เป็นชื่อสากลใช้เรียกกันทั่วโลก คำนี้อ่านเป็นภาษาจีน แต้จิ๋วว่า แขะแก หรือภาษาจีนกลางว่า เค่อเจีย มีความหมายว่า ครอบครัวผู้มาเยือน ชนพื้นเมืองเดิมใช้เรียกชาวฮั่นกลุ่มหนึ่งที่มาอาศัยอยู่ ซึ่งกล่าวกันว่ามีบรรพบุรุษที่มีต้นกำเนิดบริเวณมณฑลเหอหนาน และซานซี ทางตอนเหนือของจีน เมื่อราว 2,700 ปีที่แล้ว เนื่องจากความไม่สงบทางสังคม และการรุกรานจากผู้ยึดครองต่างชาติ ตั้งแต่ยุคราชวงศ์จิ้น (ค.ศ. 265-420) เป็นต้นมาหลายราชวงศ์ เช่น ราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ ซ่ง การยึดครองของชาวหนี่ว์เจิน ชาวมองโกล ในสมัยราชวงศ์หยวน และสมัยราชวงศ์หมิง ซึ่งถูกโค่นล้มโดยชาวแมนจู ซึ่ง ก่อตั้งราชวงศ์ชิงในเวลาต่อมา จึงได้อพยพลงใต้หลายครั้ง

จึงเชื่อว่า ชาวจีนฮากกา เป็นผู้สืบเชื้อสายมาจาก ผู้มีอารยธรรมด้านการเมืองการปกครองของจีนแต่ดั้งเดิมมา ในรัชสมัยของ พระจักรพรรดิ์คังซี ให้มีการอพยพผู้คน แถบภูมิภาคชายฝั่งเป็นเวลาเกือบทศวรรษ เพื่อลดอิทธิพลที่ยังหลงเหลือของราชสำนักหมิง ซึ่งหลบหนีไปยังดินแดนซึ่งเป็นไต้หวันในปัจจุบัน หลังจากที่กำจัดภัยคุกคามได้แล้ว จึงมีผู้คนเข้าไปในดินแดนนี้อีกครั้ง เพื่อไม่ให้กระทบกับชนดั้งเดิม จึงให้ชนกลุ่มใหม่ จึงอาศัยอยู่รอบนอก หรือไปตั้งหลักทำมาหากินในเขตที่มีแต่ภูเขา โดยให้ลงทะเบียนว่าเป็น ‘ครอบครัวผู้มาเยือน’ (客戶 เค่อฮู่) และมีการมอบทรัพย์สินให้ไว้สำหรับเริ่มชีวิตใหม่ ดังนั้น ครอบครัวชาวฮากกา จึงใช้ภาษาแตกต่างกับภาษาท้องถิ่น และมีวัฒนธรรมที่สืบเชื้อสายจาก ราชสำนักจีน บ้างก็ว่าภาษาจีนฮากกา เป็นเหมือน ”ฟอสซิลทางภาษา” ที่ใช้ในราชสำนักแต่โบราณมาจากการศึกษาการสืบเชื้อสายของชาวกวางตุ้ง และชาวฮากกาพบว่า บางแซ่มีบรรพบุรุษเดียวกัน เราจึงพบเห็นชาว ฮากกาในมณฑลทางใต้ของจีน เช่นกวางตุ้ง ฮกเกี้ยนตะวันตก เจียงซี ตอนใต้ของหูหนาน กวางซี ตอนใต้ของกุ้ยโจว ตะวันออก เฉียงใต้ของเสฉวน เกาะไหหลำ และไต้หวัน เป็นต้น

เมื่อศึกษาจากประวัติศาสตร์แล้ว จึงพบว่า บรรพชนชาวจีนฮากกา เป็นผู้สืบสายมาจากเมืองใหญ่ ที่มีอารายธรรมทางการเมืองการปกครอง และเป็นผู้มีความขยันอดทน ต้องต่อสู้กับความยากลำบากมาก่อน จึงให้ความสำคัญกับการศึกษาแขนงต่างๆ ทั้งที่ได้จากการสืบทอดจากบรรพชน และการเรียนรู้ที่จะพึ่งตนเอง จึงเป็นผู้ชอบใช้ฝีมือในการประกอบสัมมาชีพ ที่ต้องใช้ความรู้ความชำนาญ ชาวฮากกาที่พบเห็น อาจมีสำเนียงการใช้ภาษาใกล้เคียงกัน แต่ไม่เหมือนกันทีเดียวนัก คงคล้ายกับภาษาไทย ในแต่ละภาคก็มีสำเนียง หรือคำพูดบางคำแตกต่างกันบ้าง อาจเป็นเพราะถิ่นที่อยู่ที่จากมาต่างกัน พอแบ่งกลุ่มใหญ่ๆได้ 2 กลุ่มคือ แคะลึก หรือ ชิมขัก มักสืบสายมาจากบรรพชนจากอำเภอหม่อยแหย้น ที่อยู่ลึกเข้าไปในตอนกลางของจีนมากกว่า จึงมีสำเนียงพูดบางคำค่อนไปทางจีนกลางอยู่บ้าง เช่นคำว่ากินข้าว จีนกลางว่า “ซือฟ่าน” แคะลึกว่า “ซิดฟ้าน” แคะตื้นว่า “ซิดผ่อน” เป็นต้น

นอกจากสำเนียงภาษาที่ต่างกันแล้ว ชาวแคะลึก มักเป็นผู้สนใจการศึกษาวัฒนธรรมต่างๆ มีภูมิปัญญา มีความเชี่ยวชาญด้านงานฝีมือเช่น เครื่องเงินเครื่องทอง เครื่องหวาย เครื่องหนังต่างๆ เป็นต้น ส่วนชาวแคะตื้น หรือ ปั้นซันคัก (ปัวซัวแขะ) ที่มาจากอำเภอฟงสุ่น ที่อยู่ระหว่างหม่อยแหย้น กับกลุ่มชาวแต้จิ๋วที่อยู่ใกล้ทะเลมากกว่า จึงได้รับวัฒนธรรมมาทั้งสองด้านคือ มีความรู้ความชำนาญด้านงานฝีมือ และการติดต่อสัมพันธไมตรีที่ดีกับคนทั่วไป และมีจำนวนไม่น้อยที่ใช้ทั้งภาษาฮากกา และภาษาแต้จิ๋ว

ถึงแม้ประชากรชาวฮากกาจะมีจำนวนน้อย แต่ก็มีอิทธิพลต่อประวัติศาสตร์ ของชาวจีน และชาวจีนโพ้นทะเล โดยเฉพาะในเรื่องของการเป็นผู้นำทางการเมือง ซึ่งผู้นำจีนที่มีชื่อเสียงหลายคนเป็นชาวฮากกา ระหว่างช่วงคริสต์ศักราช ที่ 1980-1990 ชาวจีนฮากกาได้ครองอำนาจทางการเมืองของบางประเทศที่มี ชาวจีนเป็นชนส่วนใหญ่ เช่น ดร.ซุนยัดเซ็น เติ้งเสี่ยวผิง จูเต๋อ เฉินสุยเปียน หลี่เติงฮุย และลีกวนยูเป็นต้น ซึ่งนิตยสารไทม์ (Time Magazine) ชาวเอเชีย ที่มีอิทธิพลที่สุด 20 อันดับแรกของศตวรรษที่ 20 มีอยู่ 4 คนที่เป็นชาวจีน ซึ่ง 3 ใน 4 คน เป็นฮากกา (ที่ไม่ใช่อยู่เพียงท่านเดียวคือเหมาเจ๋อตุง)

ส่วนในประเทศไทยนั้น ชาวจีนได้ขอตั้งสโมสรการค้า ได้จัดตั้งสมาคมได้สำเร็จ เป็นสมาคมแห่งแรกของประเทศไทย เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2451 ซึ่งต่อมาได้ชื่อเปลี่ยนเป็นสมาคมฮากกา เพื่อจะได้เรียกเหมือนกันทั่วโลก และด้วยความรู้ความสามารถ วิริยะอุตสาหะ และด้วยสติปัญญาด้านการจัดการ จึงมีโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับการผลิต เช่น เครื่องเหล็ก อลูมิเนียม พลาสติก สิ่งทอ อยู่ไม่น้อยที่เป็นชาวแคะ ส่วนในด้าน สถาบันการเงิน การเมือง การปกครอง ก็มีนักบริหารหลายท่าน เช่นคุณจุลินทร์ ล่ำซำ และอดีตนายกรัฐมนตรี ที่มีบุผการีที่เป็นชาวจีนฮากกาด้วยเหมือนกัน


 


เครื่องหมายฮากกา มีลักษณะคล้ายอักษรจีนตัว “อาร์” ภายในใช้ลายเสื้อยศศักดิ์ตระกูลขุนนางจีนโบราณ เป็นตัวอักษรจีนโบราณ อ่านว่า “ฝู”  (黻) นำมาจาก “สั้งซู” เป็นตำแหน่งข้าราชการชั้นสูงสมัยโบราณมีความ หมายว่า ทุกคนมุ่งผดุงคุณธรรม ดำรงรักษาความดีงาม เพื่อเชิดชูเกียรติยศ บรรพบุรุษของเรา ดังที่เห็นในธงของท่านแม่ทัพกวนอู ขุนศึกผู้หาญกล้า

 

สัญลักษณ์นี้ เป็น 1 ใน 12 ประการ บนฉลองพระองค์เสื้อคลุมมังกรและสัญลักษณ์แห่งองค์จักรพรรดิหมิงซื่อจง รูปธนูสองคันหันหลังชนกัน โดยคันหนึ่งมักมีสีดำ ส่วนอีกคันมักมีสีขาว หรือมักใช้สีมืดกับสีสว่างประกอบกัน หมายถึงความสามารถในการจำแนกดีชั่วถูกผิด ซึ่งก็คือพระราชอำนาจในการตัดสินขององค์จักรพรรดินั่นเอง 

 


ปั้นซันคัก

เป็นข้อเขียนที่เยี่ยมมาก นับเป็นครั้งแรกที่ผมได้เห็นคำว่า "ปั้นซันคัก" ในอินเตอร์เน็ต หลังเพียรพยายามหามานาน เพื่อหาความหมายว่าใช่อย่างที่ "เซ้สุก" ผมบอกไว้หรือไม่ว่าคือ ชาวจีนแคะที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กึ่งกลางความสูงของภูเขาในประเทศจีน ผมเองเป็นจีนแคะกว่า 90% เตี๊ยผมท่านเสียไปนานแล้ว เคยเป็นสมาชิกของสโมสรตระกูลจก ซึ่งตามจริงผมก็ควรจะเป็นสมาชิกด้วย แต่ด้วยการขาดการติดต่อมานานหลังจากที่เตี๊ยเสียก็ไม่รู้ว่าจะติดต่อกับสโมสรตระกูลจกอย่างไร หากท่านใดเป็นสมาชิกตระกูลจกได้อ่านโพสต์นี้แล้ว ช่วยให้ข้อมูลผมที่ s_teeraparptatree@hotmail.com จักเป็นพระคุณยิ่ง เพราะผมมีแผนจะไปเยี่ยมบ้านบรรพชนและท่องเที่ยวประเทศจีน แต่ไม่รู้ว่า หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ เมือง ที่บรรพรุษอยู่นั่นอยู่ที่ไหน ชื่อจีนของผมคือ ฉิน หวู้ ซั้น

รูปภาพของ อาฉี

ยินดี

ยินดีรู้จักครับ ไหงก็ฟุงสุ่นคักเหมือนกัน (ทองคัง)

ยินดีเช่นกัน

ยินดีรู้จักเช่นกันครับ อาฉี หงีรู้จักหมูบ้านที่ชื่อ ซัคฝูไช่ มั้ยครับ เม๊เขาบอกว่าบรรพบุรุษของเตี๊ยไหงอยู่ที่นี่

ฉิน หวู้ ซั้น

Wusun

ไหงเพิ่งมาเจอข้อเขียนนี้  วันนี้นี่เอง  รู้ว่าหงีเป็นคนเมืองกาญน์  ซึ่งก็คงเป็นคนปั้นซั้นขักแน่นอนต้องขอ

ย้ำไม่ได้คิดแบ่งแยก  เพียงแต่อยากจะบ่งบอกว่าคนแถวนี้โดยมากจะมาจากฟุ้งสุ่น เกียดหย๋อง จึงเป็น

ชาวจีนปั้นซั้นขักแทบทั้งสิ้น  เพราะ ซิดผ่อน กับ ซิดฝ้าน  เถวขี้ กับ ฮ่องซิ้น แสดงให้รู้ว่ามากันละท้องที่

แม้ว่าจะเป็นคนจีนเชื้อสายจีนแคะด้วยกัน  ดีใจเพราะว่ามันเหมือนกับว่าสนิทชิดเชื้อกว่า  คนอื่นคงไม่ว่า

กัน  ซึ่งบางครั้งเจอคนที่แซ่เดียวด้วยยิ่งเพิ่มความดีใจไปใหญ่ดูเสมือนรู้จักกันมานานเน  แต่ทุกคนก็ยัง

เป็น จิก๊างิ๋น  อยู่เหมือนเดิม  เห็นวันที่โพส์ทไว้รู้สึกนานแล้ว  ไม่ได้แวะกลับเข้ามาเลย     อย่าทิ้งไปซิ

เอ้น จิก๊างิ๋น อย่างน้อยเข้ามาดูอาทิตย์ละครั้งทักทายถามทุกข์สุขกันบ้างก็ยังดี

รูปภาพของ ฉินเทียน

การทำวิจัยในโครงการวิจัยพลังภาษาและวัฒนธรรมในการส่งเสริมการถ่ายทอดภูมิปัญญาอย่างยั่งยืนผ่านชุมชนออนไลน์ : กรณีศึกษากลุ่มจีนฮากกา ของ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล ร่วมกับ สมาคมฮากกาฯ กทม. สมาคมฮากกาปากช่อง สมาคมฮากการาชบุรี สมาคมฮากกานครราชสีมา สมาคมฮากกาบุรีรัมย์ สมาคมฮากกานครสวรรค์ โดยการสนับสนุนของสำนักงาน สสส. และhttp://hakkapeople.com/node/4136

ภาพ 黻 ได้ปรากฏอยู่บนฉลองพระองค์ของพระเจ้าแผ่นดินจีน ราชวงศ์ฮั่น ณ ประเทศจีน

 

ที่มา:http://travel.163.com/12/1202/14/8HNOG0TD00063KE8_all.html

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal