หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

ฮากกา คืออะไร ?

ชาวฮากา ที่ชาวไทยมักรู้จัก เรียกขานกันในนามว่า จีนแคะ (แคะ-เรียกตามภาษาแต้จิ๋ว) อันเป็นอีกชาติพันธุ์เชื้อสายหนึ่งของจีน ดังเช่น ชาวฮกเกี้ยน , ชาวไห่หนาน (ไหหลำ) , ชาวกวางตุ้ง เป็นต้น ซึ่ง ในภาษาสากล จะเรียกชาวจีนแคะ โดยรวมทุกท้องถิ่น อย่างเป็นทางการว่า 客家 อ่านว่าเสียงจีนกลางว่า เค่อเจีย(Kèjiā) เสียงจีนถิ่นออกเสียงว่า Haak3gaa1 / Hak7ga1 / ขักกา/ฮักกา หริอที่ชาวแต้จิ๋วออกเสียงเรียกเป็น แขะแก บางครั้ง จะได้ยินเรียกกันว่า 人เค่อเหริญ (ขักหงิน/ฮักหงิน/แคะนั้ง) ที่เข้าใจกันว่า ชาวเค่อ ก็คือ คนจีนแคะ เช่นกัน (ขอย้ำ จีนแคะ ไม่ใช่ จีนแคระ คนตัวเล็ก)

เนื่องจาก 客家人 มีสำเนียงที่หลากหลาย เพื่อให้สะดวกในการพิมพ์ และเข้าใจได้เป็นสากล เข้าใจตรงกันได้ว่า เป็นความหมายเดียวกันโดยไม่ยืมสำเนียงแต้จิ๋วหรือจีนกลางมาใช้ จึงใช้อักษร ไทย-อังกฤษ ว่า ฮากกา-hakka เป็นป้ายชื่อ โดยไม่เจาะจงว่า "Hakka - ฮากกา(客家)" คือ ชิมขัก/ปันซันขัก/หรือท้องถิ่นใดถิ่นหนึ่ง ตามสำเนียงถิ่นที่ใกล้เคียงกันแต่อย่างใด

客家人 (เคอเจียเหริญ ชาวฮากกา) หมายถึงชาวอาคันตุกะ หรือชาวแขกผู้มาเยือน ซึ่งเคยมีที่มาจาก ชาวจีนฮั่น ดินแดนทางจงหยวน ที่ได้ย้ายลงมา ด้วยเหตุผลต่างๆ เช่นภัยพิบัติทางธรรมชาติ การสงครามต่อต้านผู้รุกรานแผ่นดินจีน การเมืองการปกครองโดยกังฉิน และชาวต่างชาติ จึงมักเป็นผู้ใส่ใจในเรื่องบ้านเมือง มีความรู้ศิลปศาสตร์แขนงต่างๆ เคารพในเกียรติศักดิ์ศรี ยอมทุกข์ยาก เพื่อประเทศชาติ ยุติธรรม เมื่อจำต้องละถิ่นกำเนิดไปตั้งถิ่นฐานอยู่ตามแหล่งต่างๆ ซึ่งเป็นผู้ไปอยู่ทีหลัง จึงทำให้ตัวเลือกทำเลที่ดีในการตั้งถิ่นฐานมีเหลือไม่มากนัก เมื่อไม่ต้องเบียดเบียนแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ที่มีชนพื้นเมืองเดิมอยู่ก่อน ชาวฮากกาจึงมักตั้งบ้านเรือนอยู่ตามแถบป่าเขาถิ่นธุระกันดาน ที่ไม่มีผู้สนใจครอบครองอยู่ก่อน ซึ่งต้องป้องกันภัย สัตว์ร้าย โจรป่าต่างๆ ด้วยตนเองด้วยความมุมานะอดทน โดยยังคงรักษาภาษาจารีตวัฒนธรรมที่เคยรุ่งเรืองจากทางจงหยวน เลี้ยงชีพด้วยกสิกรรม งานฝีมือ และใส่ใจในการศึกษาทุกแขนง เพื่อหวังว่าจะได้มีโอกาสกลับมาช่วยพัฒนาชาติ และบางก็มีความจำเป็นที่ไม่สามารถเปิดเผยที่มากับคนท้องถิ่นได้ด้วยเหตุผลทางการเมือง ชนพื้นมืองจึงเรียกผู้ที่มาอยู่ใหม่นี้ว่า ครอบครัวผู้มาเยือน (客戶 เค่อฮู่) หรือเป็นชาวอาคันตุกะ หรือแขกผู้มาเยือน

บางส่วนของสาเหตุการเคลื่อนย้าย จากจงหยวน ลงมาอยู่ตอนใต้ของจีน เช่น
คศ.265-420 หลังยุคสามก๊ก บ้านเมืองเดือดร้อน ภัยอู่หู และภัยธรรมชาติ
คศ.618-907 ต่อต้านกับราชวงค์อ่อนแอ ขุนนางกังฉิน บิดเบือนการปกครอง ผู้ต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมต้อง­ลี้ภัยการเมือง
คศ.1127-1279 ขาดเสถียรภาพทางการเมือง มองโกลยึดอานาจ ผู้ปกป้องบ้านเมืองไม่สามารถทนอ­ยู่ได้
คศ.1368-1644 แมนจูรุกรานแผ่นดินจีน ออกปราบชาวฮั่นผู้รักชาติ สนับสนุนราชวงค์ ทั่วทั้งแผ่นดิน
คศ.1644-1911 เสื่อมถอยราชวงค์ชิง ต่างชาติมีอิธิพลต่ออการเมืองหล­ายด้าน จนเสื่อมเสียหลายอย่างเช่นเกาะฮ่องกง ก็มีผลให้ผู้มีอุดมการณ์เพื่อชา­ติบ้านเมืองต้องถอยร่นอีกครั้ง

เมื่อผู้มาเยือนดังกล่าว เป็นผู้ที่ได้รับภาษาและอารยธรรม จากจงหยวนในช่วงที่มีความเจริญถึงขีดสุดมาแล้ว เมื่อได้ตั้งถิ่นฐานจนเป็นหลักแหล่งแล้ว แต่ด้วยความสงบสันติมาเป็นเวลานาน โดยมีการติดต่อกับชนชาติอื่นๆ ค่อนข้างน้อย และด้วยความยึดมั่นในคุณธรรม เคารพบรรพชน ภาษาและวัฒนธรรมจึงค่อนข้างนิ่ง เมื่อเที่ยบกับภาษาทางจงหยวนเดิม ที่มีการผันแปรไปตามยุคสมัย จนเป็นภาษาจีนกลางในปัจจุบัน

ดังนั้นฮากกา จึงเป็นชนชาติจีนเชื้อสายหนึ่ง สืบสายจากชาวจีนฮั่นโบราณ ที่ยังคงไว้ซึ่งภาษาจีนฮั่นดั่งเดิม แถบจงหยวนของจีนอยู่มาก จึงมีสำเนียงภาษาของตนเอง ที่มีส่วนใกล้เคียงกับภาษาที่วิวัฒนาการมาเป็นจีนกลางในปัจจุบันอยู่บ้าง และยังคงมีการใช้อักษรจีนโบราณบางอักษรอยู่ถึงทุกวันนี้ จนกล่าวได้ว่า ภาษาฮากกา เป็นฟอสซิล มรดกทางภาษาของจีน ที่ยังมีชีวิตถึงทุกวันนี้

ดูเพิ่มเติม

 





สำเนียงภาษากับถิ่นที่อยู่

ตามที่ได้กล่าวมาว่า ชาวฮากกา ได้เคลื่อนย้ายกันมาหลายครั้ง ห่างกันหลายร้อยปี ดังนั้นสำเนียงภาษาจากต้นทางที่ติดตัวมาก่อนจะถูกอนุรักษ์โดยชาวฮากกาในแต่ละยุคจึงมีบางคำ บางสำนวนคลาดเคลื่อนกันบ้างเล็กน้อย เมื่อรวมกับถิ่นที่อยู่ใหม่ที่สภาพแวดล้อมต่างถิ่นกัน ห่างไกลกันมาก(ในสมัยก่อนแต่ละถิ่นอาจต้องเดินทางกันแรมเดือน) จึงทำให้อาจมีบางคำที่สำเนียงเหน่อไปคนละแบบ แต่ทั้งนี้ ก็ยังคงอัตลักษณ์ ความเป็นฮากกาอย่างเหนียวแน่น ไม่ได้เพี้ยนเสียงไปตามชุัมชนใกล้เคียงอย่างมีนัยสำคัญ

ซึ่งชาวฮากกา ได้มีกระจายอยู่ทั่วโลก ต่างมีภาษาจากต้นกำเนิดดั้งเดิม มาจากแหล่งเดียวกัน แม้นจะมีสำเนียงแตกต่างกันบ้าง แต่ยังพอสือสารกันได้ เช่นชาวฮากกาไต้หวันจะได้สำเนียงมาทาง ไห่ลู่ฟง เป็นส่วนใหญ่ ส่วนชาวฮากกา(จีนแคะ)ในไทย ก็ได้สำเนียงมาจากหลายอำเภอ ในแถบเหมยโจ (มณฑณกวางตุ้ง) ที่ออกทะเลมาทางซัวเถาเป็นส่วนมาก


แคะลึก VS แคะตื้น

เป็นคำเรียกที่ชาวซัวเถา(ชาวแต้จิ๋ว ที่มีมากที่สุดในไทย) เรียกชาวฮากกาในถิ่นต่างๆ โดยมองจากจุดที่ชาวซัวเถามองย้อนขึ้นไป กล่าวคือ

ซัวเถา เป็นเมืองท่า มีทางออกติดทะเล จึงเรียกชาวฮากกา ที่อยู่ ตอนลึกผ่านเทือกเขาไปในแผ่นดินจีน ว่า แคะลึก (ชิมแขะ/ชิมขัก) และแคะที่อยู่ครึ่งทางไปแคะลึกว่า แคะครึ่งทางเขา (ปัวซัวแขะ/ปันซันขัก)

ชิมขัก (แคะลึก) จึงหมายถึง 客家人 ที่อยู่ ลึกขึ้นไป ทางอำเภอต่างๆ โดยรอบเมือง เหมยเซี่ยน(หมอยแหยน)

ปันซันขัก (แคะตื้น) หมายถึง 客家人 ที่อยู่ระหว่างทางจากซัวเถาไปถิ่นแคะลึก เช่นอำเภอเฟิงสุ่น(ฟุงซุ้ย/ฮงสุน,ทองคัง/ทึงแค) , เจียยาง (เกียดหยอง/เก๊กเอี้ยว) เป็นต้น

แคะลึก และ แคะตื้น ต่างเป็น 客家人 (เคอเจียเหริญ) ไม่ว่าจะเรียกตัวเองว่าอย่างไร (客家ฮักกา /客人ขักหงิน) ต่างก็ใช้อักษรจีน 客家人 ตัวเดียวกัน สามารถสื่อสารกันได้อย่างราบรื้น แม้นมีบางคำที่ออกสำเนียงแตกต่างกันบ้าง อาจเป็นเพราะในสมัยก่อน การคมนาคม ติดต่อสื่อสารระหว่างกันเป็นไปด้วยความยากลำบาก และช่วงเวลาที่เคลื่อนย้ายจากจงหยวนต่างกัน

 

สำเนียงบอกถิ่นที่อยู่

คำง่ายๆ ที่ ออกเสียงต่างกันอย่างชัดเจน เพื่อใช้สอบถามกันว่า บรรพชนของตน มาจากแถบเมืองใด (ไม่ใช่เพื่อแบ่งแยกพวก) คือ ให้ถามว่า กินข้าว ที่อาโผ่ อาม่าเรียก เขาว่าอะไร ชิมขัก ว่า ซึดฝ่าน ปันซันขักว่า ซิดผ่อน เรารู้ว่าบรรพชนมาจากที่ใดขอบเขตในการติดตามหารากเง่าก็ชัดเจนขึ้น และนำไปประกอบกับแซ่ ชื่อหมู่บ้านด้วย ก็ค้นหาตัวตนได้ง่ายขึ้น และรับรู้กันในวงสนทนา ต่างพูด ชัด/เหน่อ กันคนละสำเนียงเท่านั้น ไม่ใช่เรื่องใหญ่


 


(เฉพาะผู้ต้องการศึกษาภาษาจากเว็บนี้)

จะเห็นสำเนียงของชาวฮากกาที่ใช้บนเว็บนี้ค่อนข้างหลาหลาย ที่ใช้แตกต่างกันตามถิ่นที่อยู่ ของบรรพชนของผู้เขียนนั้นๆ สำหรับผู้สืบเชื้อสายชาวฮากกา(จีนแคะ) ในประเทศไทย จัดกลุ่มสำเนียงใกล้เคียงกัน เป็น 2 กลุ่ม (มีสำเนียงอื่นๆ เช่น ฟุ้ยจิว, ไห่-ลุกฟุง ค่อนข้างมีเอกลักษณ์เฉพาะบ้าง แต่พบในไทยไม่มากนัก จึงขออนุญาตจัดกลุ่มสำเนียงที่พบเป็นส่วนใหญ่ในไทย พออนุมานกัน ไว้ด้วยกัน และบางสำเนียงขออภัยที่ไม่ได้กล่าวถึงทั้งหมด เพื่อให้สะดวกในการกล่าวถึงคราวๆโดยง่าย) ดังนี้

  • ชิมขัก (แคะลึก) เป็นภาษาถิ่นทางแถบ เหมยเสี้ยน (หมอยแหยน) , ต้าปู (ไทปู) , เจียวหลิง, ฟุ้ยจิว , เกาจิว , กองซีขัก เป็นต้น
  • ปันซ้นขัก (แคะตื้น) เป็นภาษาถิ่นทางแถบ เฟิงสุ่ย (ฟุงซุ้ย ทองคัง) , เจียหยาง (เกียดหยอง), หุยหลอย , ไห่-ลุกฟุง เป็นต้น

จึงเขื่อว่าทุกท่าน ต่างมีสำเนียงที่ชัดในแบบของหมู่บ้าน ตนเอง ผู้อยู่ใกล้แต้จิ๋ว ก็ไม่ได้หมายความว่าเพียนไปตามแต้จิ๋ว และผู้อยู่ติดฮกเกี่ยนกว่า ก็ไม่ต้องเพียนตามฮกเกี้ยนแต่อย่างใด ต่างก็ยังคงความเป็น 客家人 ใช้ภาษาฮากกา น้ำเสียงตามถิ่นที่อยู่เป็นเรื่องปรกติ ซึ่งทุกสำเนียง มีคุณค่า มีความชัดเจนในแบบของถิ่นบรรพชนในตัวเอง ควรค่าแก่การร่วมอนุรักษ์ทั้งสิ้น สามารถนำเสนอได้โดยไม่ต้องอายกัน (เพียงบอกว่าเป็นสำเนียงบ้านใดไว้อ้างอิงบ้างก็เป็นที่เข้าใจกัน) หากเกรงว่าภาษาถิ่นในแบบของตนจะสูญหายหรือผิดเพี้ยน (ส่วนใหญ่จะต่างกันที่วรรณยุคต์) ก็สามารถเสนอความเห็นว่าบ้านตนเรียกอย่างไร หรือทำตาราเที่ยบภาษาแต่ละถิ่น ให้ผู้อ่านเข้าใจอย่างถ่องแท้ได้ โดยไม่ถือว่าท่านใดผิดเพี้ยน ซึ่งอาจจะถูกต้องตามบรรพชนถิ่นที่ต่างกัน แต่อยู่ร่วมกันได้อย่างพี่น้องชาว 客家人

ดังนั้น จึงอยู่ที่ผู้เขามาศึกษาฮากกาจากเว็บนี้ ที่สามารถเลือกศึกษาได้อย่างหลากหลายสำเนียง ตามที่ผู้เขียนในสำเนียงต่างๆ จะลงไว้


หากเพื่อนสมาชิก เห็นว่ามีข้อความใดผิดพลาด เกินเลย ประการใด สมควรปรับปรุงช่วยแจ้ง [email protected] ด้วยจักเป็นพระคุณยิ่ง เพื่อจะได้ปรับปรุงให้ถูกต้องเหมาะสมยิ่งขึ้นได้ หรือมีข้อมูลเป็นความคิดเห็นมาเสริมเติมเต็มให้ครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เมื่อได้ปรับปรุงสักระยะแล้ว จะนำขึ้นไว้ที่ เรื่องเด่น เพื่อแนะนำให้ผู้ผ่านมาได้ทราบเรื่องราว ของชาวฮากกาโดยสังเขปจากบทความนี้ ได้ง่ายกว่าการค้นหาจากที่กระจายอยู่ทั่วไปทั้งเว็บ จนไม่ทราบว่าอยู่หน้าไหนกันบ้าง

 
[email protected]    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal