หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

รู้เรื่องเมืองมังกร 22 ประวัติศาสตร์จีน 5 "การปกครองของจิ๋นซีฮ่องเต้"

รูปภาพของ YupSinFa2

ท่านผู้อ่านครับ จิ๋นซีฮ่องเต้เมื่อได้บรมราชาภิเษก เป็นจักรพรรดิ์สมบูรณ์แบบ แล้วได้กำจัดพ่อเลี้ยงลวี่ปู้เหว่ย และขันทีปลอมเล่าไอ่ เีป็นที่เรียบร้อย หลังจากนั้น พระองค์ก็ทรงจัดการวางแผนการเมืองการปกครอง ในราชอาณาจักร "ต้าฉิน" ของพระองค์ โดยมีอัครมหาเสนาบดีที่ปรึุกษาคนสนิท "หลี่ซือ" รัฐบุรุษคนแรกของมหาอาณาจักรจงกว๋อ เป็นผู้เสนอรูปแบบการปกครองประเทศ

ไหงขอย้อนไปเล่าเกร็ดประวัติศาสตร์ในช่วงที่ลวี่ปู้เหว่ยได้พบกับเจ้าชายจื่อฉู แล้วทำการ "ขุน" จนได้เป็นกษัตริย์แห่งรัฐฉินได้สำเร็จ โดยเก็บเอาจากหนังสือและภาพยนต์เรื่องจิ๋นซีฮ่องเต้เวอร์ชั่น ต่าง ๆ มาเล่าให้ท่านทั้้งหลายอ่าน โดยย่อ ๆ ดังนี้ นะครับ

ลวี่ปู้เหว่ยเป็นพ่อค้ามหาเศรษฐีแห่งรัฐจ้าว หนึ่งในรัฐใหญ่ 6 รัฐที่เหลือในช่วงปลายราชวงศ์โจวและยุคสงครามระหว่างรัฐ ลวี่ปู้เหว่ยได้พบกับเจ้าชายจื่อฉู แล้วก็มองเห็นโอกาสในการที่จะยกระดับตัวเองจากพ่อค้าสามัญชน ให้กลายเป็นมหาเสนาบดีใหญ่ มีอำนาจล้นฟ้า แล้วเขาก็ทำได้สำเร็จจริง ๆ ลวี่ปู้เหว่ยได้ยกเมียน้อยของตนเอง ให้กับเจ้าชายจื่อฉู ในภาพยนต์และหนังสือที่ได้อ่านมา บางเล่มบางเวอร์ชั่น ถึงกับเขียนว่าเมียน้อยของลวี่ปู้เหว่ย ได้มีครรภ์อ่อน ๆ กับลวี่ปู้เหว่ยแล้วจริง ๆ นั่นเท่ากับว่า ทารกในท้องซึ่งต่อมาจะได้เป็นจอมจักรพรรดิ์แห่งราชอาณาจักรต้าฉิน นั้น เป็นบุตรชายของลวี่ปู้เหว่ย จริง ๆ

ในตอนจบเรื่องของบางเวอร์ชั่น ถึงกับให้ลวี่ปู้เหว่ยก่อนที่จะตายได้หัวเราะร่าพร้อมกับกล่าวว่า "ภาระกิจของข้าสำเร็จแล้ว ลูกชายข้าได้เป็นจอมจักรพรรดิ์แล้ว..."

เมื่อเจ้าชายจื่อฉูได้กลับมายังรัฐฉิน จนได้เป็นกษัตริย์ แล้วสิ้นพระชนม์ ลวี่ปู้เหว่ยก็ได้เป็นผู้สำเร็จราชการ เพราะองค์กษัตริย์ยังเป็นผู้เยาว์ นี้เท่ากับว่าลวี่ปู้เหว่ยได้มีอำนาจสูงสุดตามที่ตนตั้งเป้าหมายไว้ แต่ว่า อำนาจได้ทำให้ผู้ที่ใช้มัน หลงไหลเสียจนวางไม่ลง เขาได้ปกครองรัฐฉินจนถึงวาระที่เจิ้งหวางทรงบรรลุนิติภาวะ

เจิ้งหวางนั้น ก็ได้ตระหนักถึงอำนาจและบารมีของลวี่ปู้เหว่ยดีครับ แต่ได้ทำตัวเป็นเด็กว่านอนสอนง่าย ไม่ได้สำแดงความฉลาดความสามารถออกมาให้เห็น จนทำให้ลวี่ปู้เหว่ยตายใจ ตรงนี้หากแม้นว่า ลวี่ปู้เหว่ยเป็นบิดาของเจิ้งหวางจริง แต่ว่าเขาได้หลงอำนาจไปเสียแล้ว แม้ว่าจะรู้อยู่แก่ใจก็หาได้ถ่ายโอนอำนาจที่แท้จริงให้กับองค์กษัตริย์ ไม่ อีกทางหนึ่ง เล่าไอ่ ขันทีปลอมก็เข้าใจเอาเองว่าตนเป็นชู้รักกับไทเฮา สามารถที่จะบงการให้ข้ารัฐกับหน่วยทหารให้เข้ากับฝ่ายตนได้ ที่สำคัญเล่าไอ่เองก็คิดปรามาสแก่องค์กษัตริย์เช่นเดียวกับลวี่ปู้เหว่ย เช่นกัน

ในส่วนของเจิ้งหวางนั้น สองปีก่อนที่จะทรงบรรลุนิติภาวะ ทรงปลุกปั้นชุบเลี้ยงนายทหารและเสนาบดีหนุ่ม ๆ ที่ทรงไว้วางใจ และเป็นคนดีมีความสามารถ ที่สำคัญมีความจงรักภักดี่ต่องพระองค์ ทหารและเสนาบดีหนุ่มที่เป็นทึี่ปรึกษาให้กับหวางเจิ้ง นั้น เราจะเรียกว่าเป็นกลุ่มยังเติร์กผู้ใกล้ชิดองค์กษัตริย์ก็คงจะไม่ผิืดจากความจริงนัก

เมื่อถึงเวลาบรมราชาภิเษก ข้างมหาเสนาบดีลวี่ปู้เหว่ยก็ตายใจว่ากษัตริย์หนุ่มบ่มิไก๊ไม่มีน้ำยา มาประจวบกับเล่าไอ่คิดการใหญ่ก่อการยึดอำนาจในวันบรมราชาภิเษกขององค์กษัตริย์เจิ้งหวางเสียด้วย...

ในฉากนี้ ในตอนที่หวางเจิ้งกำลังคารวะฟ้า-ดินอยู่นั้น เล่าไอ่ พร้อมกับกองทหารส่วนหนึ่ง ได้เข้ามาขัดจังหวะ....แล้วชูพระบรมราชโองการของสมเด็จพระพันปีไทเฮา ให้ทุกคนรวมทั้งหวางเจิ้งคุกเข่าฟังพระบรมราชโองการ (ที่เล่าไอ่ทำเช่นนี้ได้เพราะหลงลำพองคิดเอาเองว่า ตนมีพระราชลัญจกรขององค์ไทเฮา ทุกคนรวมทั้งหวางเจิ้งและลวี่ปู้เหว่ยจะต้องยอมสยบด้วยตราราชลัญจกรที่ตนเองถืออยู่-แต่เล่าไอ่คาดคิดผิดถนัดครับ เพราะหวางเจิ้งไม่สนใจลัญจกรของพระมารดาของตนเลย) เมื่อเป็นอย่้างนี้ แทนที่หวางเจิ้งจะคุกเข่าน้อมรับพระบรมราชโองการ กลับใช้เท้าเตะราชโองการและตราลัญจกรที่เล่าไอ่ถืออยู่เสียกระเด็น หลังจากนั้นจึงสั่งให้ราชองครักษ์เข้าคุมตัวเล่าไอ่ในทันที

เจอไม้นี้เข้า เล่าไอ่ก็เข่าอ่อนนะซีครับท่านผู้ชม (จะเห็นว่าเนื้อหาในภาพยนต์นั้นแตกต่างจากบันทึกประวัติศาสตร์ที่เป็นทางการอย่างสิ้นเชิง-แต่ที่เหมือนกันก็คือ เล่าไอ่ถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยวิธีใช้ม้าแยกร่าง)

ส่วนลวี่ปู้เหว่ย นั้น ถูกเจิ้งหวางถอดออกจากยศตำแหน่งทั้งหมด พร้อมกับพระราชทานสุราหนึ่งจอก อย่างที่ไหงว่าไว้ตอนต้นนั้นแหละครับ ว่า ลวี่ปู้เหว่ยเมื่อได้รู้ว่าองค์กษัตริย์หวางเจิ้งมีพระปรีชาสามารถแล้ว ก็ยอมสยบ แล้วยอมรับชะตากรรม ด้วยรู้ว่าภาระกิจที่ตนเองตั้งไว้มาถึงเป้าหมายแล้ว จึงรับจอกสุรานั้นมาืดื่ม นั่นหมายความว่า เจิ้งหวางผู้พระราชทานจอกสุรา มีพระราชประสงค์ให้ผู้รับพระราชทาน ดื่มเพื่อเป็นการปลิดชีพ นั่นเองครับ

เรื่องของการพระราชทานสุราหนึ่งจอก นั้น เป็นธรรมเนียมปฏิบัติของฮ่องเต้ในราชวงศ์ต่าง ๆ ที่มีพระราชประสงค์ให้ข้าราชบริพารหรือเสนาอามาตย์ได้รับโทษไม่ให้มีชีวิตอยู่อีกต่อไป เรียกได้ว่าเป็นการสั่งประหารนั่นเองครับ เพียงแต่ว่า เป็นการสั่งประหารที่ให้เกี่ยรตแก่ผู้ถูกประหาร ด้วยการพระราชทานสุราผสมยาพิษ และผู้รับพระราชทาน ก็ต้องยอมรับ เรียกว่า ไม่ยอมรับก็ไม่ได้ อย่้างไรก็ต้องตายอย่างเดียว เพียงแต่ว่า การตายด้วยสุราอาบยาพิษมันทรมานน้อยกว่าการถูกบั่นคอหรือม้าแยกร่าง ขุนนางในประวัติศาสตร์จีนหลาย ๆ คน ที่ได้รับพระราชทานสุราผสมยาพิษ รู้สึกดีใจและเต็มใจเสียด้วยครับ ที่ฮ่องเต้ทรงพระกรุณาพระราชทานความตายด้วยวิธีนี้ให้.

เรื่องเล่าโดยย่อก็จบเท่านี้ครับ เรามาติดตามเนื้อหาของตอนนี้ในประวัติศาสตร์กันต่อครับ

ดังที่ได้รับใช้ไปแล้วว่า ปีที่ 246ก่อนคริสตศักราชพระเยซูจวงเซียงหวางกษัตริย์แห่งรัฐฉินซึ่งเป็นพระราชบิดาของหวางเจิ้ง สิ้นพระชนม์ในขณะที่หวางเจิ้งทรงมีพระชนมายุเพียง 13 พรรษา หวางเจิ้งจึงได้ขึ้นครองราชย์เป็นอ๋องแห่งรัฐฉินสืบต่อพระราชบิดา ทรงพระนามว่า ฉินหวางเจิ้งซึ่งต่อไปอีกไม่กี่ปี ฉินหวางเจิ้งผู้นี้ก็จะเป็นผู้รวบรวมรัฐต่าง ๆ ก่อตั้งเป็นราชอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่เพียงหนึ่งเดียวเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติจีนทรงพระนามว่า “ฉินสื่อหวงตี้” แต่ในระหว่างที่หวางเจิ้งยังทรงพระเยาว์อยู่ลวี่ปู้เหว่ยอัครมหาเสนาบดีเป็นผู้สำเร็จราชการงานเมืองแล้วยังคงนโยบายของรัฐฉินเหมือนดังเช่นเจ้าผู้ครองรัฐองค์ก่อน ๆด้วยการสร้างรัฐฉินให้เข้มแข็ง แล้วก็รวมจีนให้เข้าเป็นหนึ่งเดียวให้จนได้

นับว่าอัครมหาเสนาบดีลวี่ปู้เหว่ยก็เป็นมหาบุรุษอีกท่านหนึ่งในประวัติศาสตร์ชาติจีนในยุคสงครามระหว่างรัฐหรือจ้านกว๋อที่มีส่วนให้จีนได้รวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันคุณูปการของลวี่ปู้เหว่ยตรงนี้นับว่าเป็นสิ่งที่นักประวัติศาสตร์จีนล้วนไม่ลืม

ปีที่ 230 ก่อนคริสตศักราชรัฐฉินภายใต้การนำของลวี่ปู้เหว่ย กองทัพรัฐฉินบุกเข้าพิชิตรัฐหาน ยึดหานตานเมืองเอกของรัฐหานได้

ปีที่ 228 ก่อนคริสตศักราชพระเยซูกองทัพรัฐฉินบุกขยี้รัฐจ้าว บ้านเดิมของลวี่ปู้เหว่ยสามารถพิชิตรัฐจ้าวได้อย่างสะดวกโยธิน

ปีที่ 225 ก่อนคริสตศักราชพระเยซูกองทัพรัฐฉินบุกยึดรัฐเว่ย ตั้งฐานทัพล้อมต้าเหลียง เมืองเอกของรัฐเว่ยอยู่ 3เดือน ต้าเหลียงจึงแตก และตกอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐฉินไปอีกรัฐหนึ่ง

ปีที่ 223 ก่อนคริสตศักราชรัฐฉินก็พิชิตรัฐฉู่ไปอีกรัฐหนึ่ง

ปีที่ 222 ก่อนคริสตศักราชพระเยซูรัฐฉินสามารถพิชิตรัฐเอี้ยนได้อีกแล้วครับท่าน

สุดท้าย ปีที่ 221 ก่อนคริสตศักราช กองทัพรัฐฉินบุกพิชิตรัฐฉีโดยที่รัฐฉินใช้วิธีการลอบบี้ยิสต์ใช้ทองคำแท่งซื้อตัวขุนนางคนสนิทของเจ้าผู้ครองรัฐโดยแทบที่จะไม่ใช้กำลังทหารสักเท่าไหร่เลย

แล้วในที่สุดก็เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้แล้วว่า ตลอดระยะเวลา 123 ปี ระหว่างปีที่ 305 ถึงปีที่182 ก่อนคริสตศักราชของพี่น้องชาวคริสต์ นับรวมเจ้าผู้ครองนครรัฐฉิน 7 องค์ ซึ่งได้สืบทอดปณิธานเดียวกันในการสร้างแสนยานุภาพทางการทหารและดำเนินเกมการเมืองในทุกวิถีทางที่จะทำให้รัฐทั้งเจ็ดได้รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนับตั้งแต่ เสี่ยวกงหวาง ฮุ่ยหวาง อู่หวาง เจาหวาง เสี่ยวเหวินหวาง จวงเซียงหวางและองค์สุดท้ายก็คือหวางอิ๋งเจิ้ง ภายใต้การสำเร็จราชการของลวี่ปู้เหว่ย นับว่าตัวลวี่ปู้เหว่ยนี้นอกจากเป็นนักธุรกิจที่เก่งกล้าสามารถแล้วยังเก่งในด้านการเมืองการปกครองและการทหารแต่ว่าลำพังตัวลวี่ปู้เหว่ยเพียงคนเดียวคงไม่สามารถทำการใหญ่ได้สำเร็จดอกหรอกครับท่านผู้ชมลวี่ปู้เหว่ยคงจะมีแม่ทัพนายกองและเหล่าเสนาบดีที่ซื่อสัตย์จงรักภักดีและเปี่ยมด้วยความสามารถในการศึกคอยเป็นเหล่ากุนซือที่ปรึกษาเป็นอย่างดี

ในระหว่างที่หวางอิ๋งเจิ้งขึ้นครองบัลลังก์ภายใต้การสำเร็จราชการของลวี่ปู้เหว่ยสมเด็จพระราชบิดาบุญธรรมมหาเสนาบดีรัฐฉินใช้เวลาเพียง 10 ปีเท่านั้นครับในการพิชิตรัฐที่เหลือทั้ง 6ส่งผลให้หวางอิ๋งเจิ้งสามารถรวบรวมแผ่นดินที่แบ่งแยกเป็นรัฐ ๆรวมเข้าเป็นราชอาณาจักรฉินได้สำเร็จ

ในช่วงระยะเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อของยุคสงครามระหว่างรัฐหรือ “จ้านกว๋อ” นี้ ท่านซือหม่าเชียน บิดาแห่งประวัติศาสตร์จีนได้กล่าวถึงการพิชิตรัฐต่างๆ ของรัฐฉินไว้ว่า “เหมือนตัวหม่อนที่กินใบหม่อนทีละใบ ทีละใบ จนหมด”เป็นถ้อยคำที่ผู้เรียบเรียงประวัติศาสตร์จีนแทบทุกคนอดที่จะยกขึ้นอ้างอิงไม่ได้นับแต่อดีตกาลมาจนถึงปัจจุบัน(จาก “ประวัติศาสตร์จีน” ของท่านอาจารย์ทวีป วรดิลก)

การบรมราชาภิเษกของฉินสื่อหวงตี้

ฉินหวางเจิ้ง เมื่อได้ยึดรัฐฉีอันเป็นรัฐสุดท้ายในบรรดาหกรัฐที่พระองค์สามารถพิชิตได้มาตามลำดับอาณาจักร “จงกว๋อ” ที่แยกแตกกันมาแต่เดิมก็สามารถรวมเข้าเป็นอาณาจักรเดียวกันเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ปรมาจารย์ประวัติศาสตร์จีนซือหม่าเชียน ท่านได้บันทึกไว้ในสื่อจี้ของท่านไว้ว่า...

“ตัวข้าผู้ปราศจากความสำคัญใด ๆ”(หมายถึงหวางอิ๋งเจิ้ง-สินฝ่า) หวางเจิ้งรับสั่งกับหลี่ซือซึ่งเป็นกุนซือคนสนิทของพระองค์ “ข้าได้สร้างกองกำลังทหารที่เข้มแข็งขึ้นเพื่อกำราบให้เจ้าผู้ครองรัฐทั้งปวงที่ไม่ยอมอ่อนน้อมต่อตัวข้าฯ ด้วยความเมตตาช่วยเหลือแห่งกฤดาภินิหารแห่งดวงวิญญาณบรรพชนของข้าบรรดาเจ้าผู้ครองรัฐได้ถูกข้าพิพากษาไปตามสมควรแก่ฐานานุภาพแล้วในที่สุดทั่วทั้งอาณาจักรก็บังเกิดสันติสุข ด้วยเหตุนี้ ถ้าข้าไม่ปราบดาภิเษกตำแหน่งจอมกษัตริย์ขึ้นมาเสียใหม่ให้สมควรแก่ฐานันดรของข้าฯข้าฯจะสามารถธำรงไว้ซึ่งผลสำเร็จของข้าภายหลังจากนี้ไปเสียได้อย่างไร...”

จากพระราชดำรัสนี้ของหวางอิ๋งเจิ้งความหมายของอิ๋งเจิ้งหวางเอง ในฐานะกษัตริย์ พระองค์ทรงถือว่าพระองค์ทรงไว้ซึ่งคุณงามความดีใหญ่ยิ่งกว่ากษัตริย์องค์ใดในอดีตกาลนับตั้งแต่ยุคราชวงศ์ซาง มาถึงราชวงศ์โจว พระองค์ทรงเห็นว่าตำแหน่งกษัตริย์ที่พระองค์ดำรงอยู่นั้น เล็กน้อยไปเสียแล้วสำหรับพระองค์แต่อย่างไรก็ตาม คำเรียกกษัตริย์ตามที่ขุนนางใหญ่น้อยทูลเสนอ ก็ไม่เป็นที่สบพระทัยแล้วในที่สุดพระองค์ก็ทรงคิดได้เอง โดยนำเอาคำเรียกสามกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ในบรรพกาลคือ “ซานหวง” ( 三皇 – สามกษัตริย์ ) ได้แก่ เทียนหวง ( 天皇 – กษัตริย์แห่งสวรรค์ ) ตี้หวง ( 地皇 – กษัตริย์แห่งพิภพ และ เหรินหวง ( 人皇 – กษัตริย์แห่งมนุษย์) มารวมกับคำว่า “อู่ตี้” ( 五帝- ห้ากษัตริย์ ) ได้แก่ หวงตี้ จวนซวี่ ตี้คู่กษัตริย์เหยา และกษัตริย์ซุ่น (ตามพระนามในตอนราชวงศ์เซี่ย – ยุคตำนานของจีน)ซึ่งกษัตริย์ทั้งห้านี้เป็นแบบฉบับเป็นไอดอลของกษัตริย์ที่ทรงคุณงามความดีในอดีตอันเป็นที่ยกย่องสืบต่อกันมาโดยหวางเจิ้งทรงรวมคำว่า “หวง” กับคำว่า “ตี้” เข้าด้วยกัน บัญญัติเป็นศัพท์ใหม่ในคำว่า “หวงตี้” – 皇帝 อันหมายถึงกษัตราธิราช หรือจักรพรรดิ อันเป็นจอมกษัตริย์และคำคำนี้เองครับ ไท้ก๋าหยิ่น ที่เราคนไทยรู้จักคุ้นหูกันดีในคำว่า “ฮ่องเต้”อันเป็นเสียงในภาษาหมิ่นหนานหรือฮกเกี้ยนใต้ ครับพี่น้อง(ในชั้นนี้ท่านกั้วเค่อได้กรุณาถามนำไปในตอนที่แล้วละครับว่า จิ๋นซีฮ่องเต้ยังไม่เกิดขึ้นเลยแล้วทำไมไหงใช้คำว่า ฮ่องเต้ เรียกกษัตริย์ ในสมัยเซี่ย ซาง และโจว ล่ะไหงได้เรียนรับใช้ไปแล้วครับ ว่า มัน “ติดปากน่ะครับ-อิอิ.-ต้องขอขอบพระคุณท่านที่ได้กรุณาติงมาเพื่อให้ท่านผู้อ่านส่วนใหญ่ไม่ไขว้เขวและสามารถาเข้าใจถึงที่มาที่ไปได้มาถึงตอนนี้ท่านทั้งหลายคงถึง “บางอ้อ” แล้วใช่ไหมครับ)

และนับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปครับที่คำว่า หวงตี้ หรือฮ่องเต้ ก็ได้ใช้ติดต่อกันมาอีกร่วมสองพันปี ในประวัติศาสตร์จีนควบคู่กันไปกับแต่ละราชวงศ์ที่ขึ้นมาปกครองราชอาณาจักรจงกว๋ออันยิ่งใหญ่จนถึงราชวงศ์ชิงอันเป็นราชวงศ์สุดท้ายของจีน

หวางเจิ้ง ก็ทรงเริ่มใช้พระนามว่า “ฉินสื่อหวงตี้”หรือ “จิ๋นซีฮ่องเต้” ตามที่พระองค์ทรงคิดขึ้นได้ และจักรพรรดิที่ขึ้นมาปกครองอาณาจักรสืบต่อจากพระองค์ก็จะใช้คำว่าหวงตี้-ฮ่องเต้สืบต่อกันไปไม่รู้หมด

การปกครองอาณาจักรของฉินสื่อหวงตี้ด้วยระบอบอัตาธิปไตยตามที่ท่านอาจารย์ทวีปวรดิลก ท่านว่าไว้ฉินสื่อหวงตี้ก็ได้ผสมผสานความเก่งกล้าปรีชาสามารถของพระองค์เข้ากับความโหดร้ายทารุณและเฉียบขาดพระองค์ทรงทำลายหรือยกเลิกระบบเจ้าที่ดินศักดินาที่บรรดานครรัฐแต่เดิมจัดสรรให้แก่บรรดาขุนนางและเจ้านายต่างๆ ให้รวมกันเข้ามาภายในราชอาณาจักรของพระองค์ ลบล้างความเป็นรัฐที่เป็นอิสระต่อกันให้รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน(รัฐเดี่ยว)แล้วเพียงชั่วระยะเวลาเพียงไม่ถึงยี่สิบปีดีเท่าใดนักครับท่านผู้อ่านทั้งหลายความโหดร้ายทารุณในฐานะจอมจักรพรรดิ์ผู้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดของพระองค์ทั้งในด้านการกดขี่บังคับเกณฑ์แรงงานผู้คนนับแสนนับล้านให้มาสร้างมหากำแพงยักษ์หมื่นลี้ จนกลายมาเป็นสิ่งมหัศจรรย์หนึ่งในเจ็ดของโลกตกทอดมาถึงทุกวันนี้การก่อสร้างมหาสุสานของพระองค์ที่เราได้เห็นและรัฐบาลจีนทุกวันนี้เองยังขุดได้ไม่หมดการขุดรีดภาษีจากราษฎร์ถึง ยี่สิบสามสิบเท่าตัว ที่สำคัญที่สุดคือการ “เผาหนังสือฝังผู้รู้” จนบรรดานักปราชญ์ราชบัณฑิตพากันประนามสาบแช่งมาตลอดระยะเวลาสองพันกว่าปีสิ่งเหล่านี้แหละครับไท้ก๋าหยิ่น(ท่านทั้งหลาย)ที่เป็นผลส่งให้ราชวงศ์ฉินของพระองค์ต้องถึงกาลอวสานไปหลังจากที่พระองค์สวรรคตไปไม่ถึง4 ปี???

การสถาปนาราชวงศ์ฉินของพระองค์เป็นราชวงศ์แรกของจีนที่อาณาจักรจงกว๋อเป็นปึกแผ่นหนึ่งเดียวโดยระบอบการปกครองที่รวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลางของพระองค์ ได้สืบต่อกันมาเป็นระยะเวลาถึงกว่าสองพันปี(มีเว้นไปในสมัยสามก๊กของราชวงศ์ฮั่น) ระยะเวลาสองพันปีมานี้ได้สร้างและพิสูจน์แล้วว่าเป็นระบอบการปกครองที่ยาวนานที่สุดในโลกจนกระทั่งถึงยุคสาธารณรัฐจีน และสาธารณรัฐประชาชนจีนในทุกวันนี้พระองค์ถูกประณามมาทุกยุคทุกสมัยว่า เป็นจอมทรราชย์แห่งประวัติศาสตร์จีนตลอดมาแต่ว่า...

ในยุคสมัยปัจจุบันนี้รัฐบาลจีนและนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์จีนในประเทศจีนได้ลงความเห็นและสรุปอย่างเป็นทางการแล้วว่า ฉินสื่อหวงตี้คืออภิพญามหาจอมจักรพรรดิ์ผู้สถาปนาจีนขึ้นมาเป็นประเทศที่มีความเป็นเอกภาพทั้งอาณาเขต ระบบมาตราวัด และตัวอักษร คำว่า “ฉิน”จึงมีความเหมาะสมอย่างเป็นที่สุดและที่สำคัญคำว่าฉินนี้ได้เป็นต้นกำเนิดของชื่อ “จีน”ในภาษาไทย และคำว่า “China”ในภาษาอังกฤษอย่างสอดคล้องกันเป็นที่สุด และที่สำคัญยิ่งกว่านี้ก็คือนับตั้งแต่ยุคสมัยของพระองค์เป็นต้นมา ได้เป็นจุดที่รวบรวมจีนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันด้วยการใช้ภาษาอักษรแบบเดียวกัน ส่งผลให้ จีน เป็นอาณาจักรเพียงหนึ่งเดียวไม่ต้องเป็นเหมือนทวีปยุโรปที่มีหลาย ๆ ประเทศแยกย่อยกันไปครับท่านผู้อ่าน

ภาพของ มหาจักรพรรดิ์ฉินสื่อหวงตี้ ในรูปแบบต่้าง ๆ

ระบอบการปกครองของฉินสื่อหวงตี้

เมื่อสถาปนามหาอาณาจักรฉิน ขึ้นสำเร็จแล้วฉินสื่อหวงตี้ทรงออกแบบการปกครอง รวมถึงขุนนางชั้นผู้ใหญ่ส่วนมากเห็นพ้องต้องกันว่าจะต้องให้มีการจัดสรรที่นา หรือ “ศักดินา”แล้วพระราชทานให้แก่เจ้าราชวงศ์แบ่งแยกกันไป “กินเมือง”เหมือนอย่างกับการจัดสรรในสมัยราชวงศ์โจวแต่มีเสนาบดีว่าการกระทรวงยุติธรรมคนหนึ่ง ซึ่งมีนามว่า “หลี่ซือ”เพียงคนเดียวที่คัดค้าน โดยหลี่ซือให้เหตุผลว่าถ้าแบ่งแยกอาณาจักรออกเป็นเขตแคว้นให้มีการแบ่งปันกันไปปกครองเหมือนกับราชวงศ์โจวแล้วละก็เจ้าผู้ครองเขตแคว้นต่าง ๆ ต่อไปก็จะเกิดการสั่งสมกองกำลังแล้วเกิดการสู้รบกันเองต่อไปเป็นวงจรอุบาทว์(เหมือนกับสมัยนี้เปี๊ยบเลยใช่ไหมครับทท่านผู้ชม)แล้วระยะเวลาในประวัติศาสตร์มันก็ได้พิสูจน์ได้ในตัวของมันเองอยู่แล้ว....

 

มหาเสนาบดีว่าการกระทรวงยุติธรรมนามหลี่ซือกราบทูลว่า “บัดนี้ โดยพระบรมเดชานุภาพอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ดินแดนทั้งหมดภายในมหาสมุทรทั้งสี่ก็ได้กลายมาเป็นเขตท้องที่ภายใต้อำนาจการปกครองของพระองค์แล้วเพียงแต่พระองค์พระราชทานรางวัลบรรดาเจ้านายและขุนนางที่รับใช้พระองค์มาด้วยดีทั้งส่วยสาอากรและสินทรัพย์ต่าง ๆ ให้มากพอ ก็จะทรงปกครองและควบคุมผู้ที่รับใช้พระองค์ได้โดยง่ายและก็จะไม่มีความแตกแยกขัดแย้งใด ๆ ขึ้นในแผ่นดินด้วยนี่เป็นวิถีทางแห่งการธำรงไว้ซึ่งสันติสุข ไม่ใช่ด้วยการแต่งตั้งเจ้านาย(ปกครองดินแดน) ใด ๆ เลย” – จากประวัติศาสตร์จีน ทวีป วรดิลก

จากคำกราบบังคมทูลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมหลี่ซือผลปรากฎว่าฉินสื่อหวงตี้ทรงเห็นชอบครับท่านทั้งหลายทรงโปรดให้มีการรวบอำนาจไว้ที่ส่วนกลางโดยที่ศูนย์กลางแห่งอำนาจรวมศูนย์ไว้ที่พระองค์เพียงผู้เดียว แต่มีการแบ่งเขตการปกครองออกเป็นเขต ๆ หรือจังหวัด ทั่วทั้งอาณาจักรอยู่ 36 จังหวัด หรือ 36 มณฑล 36แคว้นแล้วแต่จะเรียก แล้วให้ส่วนกลางหรือพระองค์เอง ทรงตั้ง “ผู้ว่าราชการจังหวัด”เข้าไปเป็นซีอีโอ บริหารเขตแคว้นแทนพระเนตรพระกรรณ(ภายหลังอาณาจักรของพระองค์เพิ่มเขตการปกครองเป็น 42 เขต)แต่ละแว่นแคว้นหรือจังหวัดจะมีผู้ว่าราชการจังหวัดหรือ “จุน” (ตามคำเรียกในสมัยนั้น)ปกครองทั้งฝ่ายพลเรือน และฝ่ายทหาร และยังมีผู้ตรวจการอีกตำแหน่งหนึ่งเพื่อเป็นการคานอำนาจกันในแต่ละเขตแคว้นก็จะมีการแบ่งแยกการปกครองออกเป็นส่วนภูมิภาคเป็น เสี้ยน หรืออำเภอตำบล หมู่บ้าน แยกย่อยลงไป

ความคิดของหลี่ซือในเรื่องการปกครองซึ่งฉินสื่อหวงตี้ทรงเห็นชอบนี้ เป็นการย่อยสลายระบอบการปกครองแบบการกระจายอำนาจจากส่วนกลางของราชวงศ์โจวและขุนนางที่รับราชการในแต่ละจังหวัดแต่ละแว่นแคว้นซึ่งแต่เดิมเป็นการสืบสายเลือดสืบตระกูลต่อ ๆ กันมาล้วนเป็นอันถูกยกเลิกไปเสียหมดเปลี่ยนมาเป็นการแต่งตั้งจากองค์จักรพรรดิ์ทรงเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนแต่เพียงผู้เดียวและขุนนางที่ปกครองแว่นแคว้น เขต อำเภอ ตำบลหมู่บ้านก็ต้องรับคำสั่งและนโยบายจากส่วนกลางโดยตรงและเพียงแห่งเดียว...

จากการถวายคำเสนอนี้ ส่งผลให้หลี่ซือได้กลายมาเป็นอัครมหาเสนาบดีคู่พระทัยที่ทรงไว้ใจและขอคำปรึกษา หลี่ซือผู้นี้ต่อมาได้เป็นผู้วางรากฐานการเมืองการปกครอง ให้แก่ฉินสื่อหวงตี้


อัครมหาเสนาบดีหลี่ซือระหว่้างถวายคำแนะนำให้แก่จิ๋นซีฮ่องเต้ภายในห้องพระบรรทม หลี่ซือได้รับการสถาปนาให้เป็นสมุหนายก เรียกง่าย ๆ ว่านายกรัฐมนตรีนั่นแหละครับ แต่ไหงชอบเรียกว่า อัครมหาเสนาบดี มากกว่า

นายกรัฐมนตรีหลี่ซือ

ภาพเขียนการ์ตูนสมัยปัจจุบันเป็นภาพของหลี่ซือ


หลี่ซือ รัฐบุรุษในสมัยราชวงศ์ฉิน

จากการวางแผนการปกครองระหว่างฉินสื่อหวงตี้กับเสนาบดีหลี่ซือ ในการปกครองอาณาจักร ได้ข้อสรุปว่าเพื่อให้การปกครองทั่วทั้งอาณาจักรได้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปในทิศทางเดียวกันจึงได้มีพระบรมราชโองการกำหนดให้ทั่วทั้งอาณาจักรใช้ภาษาหนังสือ มาตราชั่ง ตวง วัดและเพลาล้อเกวียนและรถม้าเป็นมาตรฐานอย่างเดียวกันทั้งหมด

เกี่ยวกับเรื่องนี้ในสมัยที่ยังไม่ได้รวมเป็นหนึ่งเดียวแต่ละรัฐต่างใช้มาตราและภาษาหนังสือหรือตัวอักษร แตกต่างกันต่างคนต่างใช้ไม่เหมือนกัน กาลเวลาได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นคุณูปการอันใหญ่หลวงในการผูกชนชาติจีนไว้เข้าด้วยกันไม่ว่าจะอยู่แว่นแคว้นแดนใดโดยที่สำเนียงพูดแตกต่างกันมากมายหลายสิบสำเนียงเนื่องจากอาณาจักรมีความกว้างใหญ่ไพศาลแต่ผู้คนทั้งอาณาจักรก็สามารถสื่อสารกันเข้าใจได้ด้วยอักษรแบบเดียวกันการใช้มาตราชั่งตวงวัดที่เป็นแบบมาตรฐานเดียวกัน ก็ส่งผลประโยชน์ในด้านการค้าขายสร้างความสะดวกในการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้ากันและกันในระหว่างพ่อค้าในแต่ละเมือง

 

ด้านการคมนาคมในอาณาจักรฉินสื่อหวงได้มีบัญชาให้สร้างถนนใหญ่กว้าง 15 เมตรให้มีการขุดคลองเพื่อความสะดวกในการคมนาคมทางน้ำทางหลวงนั้นเล่าก็ได้มีการปลูกต้นสนไว้สองข้างทาง(ในปัจจุบันยังสามารถพบเห็นต้นสนสองข้างทางทั่วไปในนครซีอาน มณฑลส่านซีซึ่งคงไม่ใช่ต้นสนในสมัยของจิ๋นซีฮ่องเต้หรือฉินสื่อหวงตี้หลงเหลือมาถึงปัจจุบันหรอกใช่ไหมครับ)ถนนสาย “ราชรถศึก” สายหนึ่งตั้งต้นจากกรุงเสี้ยนหยางเมืองหลวง ไปทางทิศตะวันออกจนถึงชายทะเล อีกทางหนึ่งตัดลงทางทิศใต้ไปยังมณฑลเจ้อเจียง เจียงซู ในปัจจุบันและยังสร้างถนนระหว่างมณฑลหูหนาน เจียงซี และกว่างตงในปัจจุบันแม้แต่เขตแคว้นที่ห่างไกลและทุรกันดารอย่างหยุนหนานและกุ้ยโจวส่วนทางด้านเหนือทรงบัญชาให้ “ม่งเถียน” แม่ทัพผู้มีความสามารถคู่พระทัยสร้างถนนจากเสี้ยนหยางตัดผ่านทางเหนือของมณฑลส่านซีในปัจจุบันจนไปถึงเมืองเป่าโถวในเขตปกครองมองโกเลียใน ในปัจจุบัน

นอกจากการตัดถนนยังมีการขุดคลองที่ชื่อว่าหลินซูในเขตปกครองจ้วงกว่างซีในปัจจุบันให้เชื่อมกับแม่น้ำลี่เจียง เซียงเจียงเพื่อเชื่อมต่อกับแม่น้ำฉางเจียง(แยงซีเกียง) และจูเจียง-แม่น้ำไข่มุกไหลจากกว่างซีจ้วงไปในกว่างโจว มณฑลกว่างตงไปออกทะเลที่เมืองจูไห่ มณฑลกว่างตงในปัจจุบัน

การตัดถนนและคูคลองในสมัยของฉินสื่อหวงตี้นี้ได้เป็นการเปิดเส้นทางคมนาคมที่สำคัญทั้งทางบกและทางน้ำมาตั้งแต่สองพันปีก่อนและเป็นประโยชน์อย่างใหญ่หลวงต่อการเดินทางระหว่างภูมิภาคต่าง ๆ กันในอาณาจักรเป็นการทำลายความเป็นรัฐเอกเทศที่เคยแบ่งแยกกันมาแต่เดิมในยุคชุนชิวและจ้านกว๋อลงโดยปริยาย...

 

โปรดติดตามตอนต่อไป กำแพงหมื่นลี่และสุสานจิ๋นซี.

Yubsinfa - Klit.Y


 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal