หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

ประสพการณ์ การร่วมเดินทางไปกับ Spirit of Asia ตอน Hakka People

รูปภาพของ อาฉี

ก่อนอื่นต้อง ขอขอบคุณผู้ที่มีส่วนสำคัญที่ทำให้งานนี้สำเร็จลงได้ คือ

 

ขอขอบคุณ
บริษัท แทลเลนท์ แมสมีเดีย จำกัด

ผู้อำนวยการสร้าง รายการ Spirit of Asia (ทาง TV Thai ทุกวันอาทิตย์ เวลา 17.30น.)
ที่นำเสนอ ตอน Hakka People และเป็นผู้ให้ทุนในการเดินทาง

ขอขอบคุณ

บริษัท ดรีม แทรเวิล เซอร์วิส จำกัด

ผู้ร่วมจัดเส้นทางการเดินทาง ติดต่อผู้นำทางในจีน จัดหาที่พัก และอำนวยความสะดวกในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง

ขอขอบคุณ

ศูนย์ฮากกาศึกษา (กรุงเทพฯ)
ที่ได้กรุณาสนับสนุนด้านข้อมูลของชาวฮากกา คำแนะนำต่างๆ และการทำหนังสือติดต่อประสารงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจีน

และที่ขาดเสียมิได้ ก็ขอขอบคุณ

พี่น้องชาวชุมชนคนฮากกาแห่งนี้
ที่ช่วยกันรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับชาวฮากกาลงในเว็บนี้ ที่ทำให้มีข้อมูลที่น่านสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ
กำหนดออกอากาศ ทาง PBS TV Thai
รายการ Spirit of Asia เรื่อง Hakka People

  • ตอนที่ 1 เพิงสุ่น (ทองคัง) วันอาทิตย์ ที่ 30 สิงหาคม 2552 เวลา 17.30น.
    Spirit of Asia ตอน : กลับถิ่นเกิดต้นตระกูลคนจีนแคะ
  • ตอนที่ 2 หย่งติ้ง บ้านดิน (ถู่โหล) วันอาทิตย์ ที่ 6 กันยายน 2552 เวลา 17.30น.
    Spirit of Asia ตอน : บ้านดินของจีนแคะกับอาคันตุกะผู้มาเยือน
  • ตอนที่ 3 ม.ชูซี หย่งติ้ง และ เหมยโจ วันอาทิตย์ ที่ 13 กันยายน 2552 เวลา 17.30น.
    Spirit of Asia ตอน : สื่อสำเนียงภาษาจีนแคะที่เหม่ยโจว
  • ตอนที่ 4 ชาวฮากกาในไทย วันอาทิตย์ ที่ 20 กันยายน 2552 เวลา 17.30น.
    Spirit of Asia ตอน : คนจีนแคะในสยาม


(สำหรับผู้ที่พลาดชม สามารถคลิกชมรายการย้อนหลังได้ที่นี่)

จึงขอถ่ายทอดการเดินทาง ที่เพิ่งผ่านมาแก่พี่น้องชุมชนคนฮากกาเพื่อเป็นการตอบแทน โดยเป็นตอนๆ ดังต่อไปนี้

แรกนัดพบ


ด้วยฝ่ายประสารงานของแทลเลนท์แมสมีเดีย (คุณบุณฑริกา สิริโภคาศัย) ได้รับมอบหมายมาว่าจะทำรายการ Sprid of Aisa ในตอน Hakka People ซึ่งจำเป็นต้องมีข้อมูลของคนฮากกาที่ละเอียดถูกต้อง และได้มาพบเห็นข้อมูลจากชุมชนคนฮากกาบนเว็บนี้แล้วติดต่อข้าพเจ้ามา จึงได้นัดไปพบกับ คุณนพดล ชวาลกร (ผู้อำนวยการศูนย์ฮากกาศึกษา) ผู้ทุ่มเทศึกษาด้านนี้อย่างจริงจัง จึงมีข้อมูลที่ละเอียดเชิงลึกในหลายแง่มุม และผู้สนับสนุนการก่อตั้งศูนย์ Hakka Academy ในเมืองเหมยโจ และผู้สนับสนุนการถ่ายทอดอารยธรรมฮากกาแก่เยาวชนเสมอมา

และได้แนะนำให้ไปพบกับ ผจก.บริษัทดรีม แทรเวิล เซอร์วิสจำกัด ผู้เป็นเชื้อสายฮากกาอย่างเหนียวแน่น ผู้มีความชำนาญพิเศษเกี่ยวกับเส้นทางการเดินทาง และแนะนำจุดที่หน้าสนใจต่างๆในเมืองจีนแถบที่มีชาวฮากกาอยู่แต่ดั่งเดิม จึงได้มีการติดต่อประสานงานกันอยู่หลายครั้ง ซึ่งจะมีคณะจากศูนย์ฮากกาศึกษา คือคุณนพดล และคุณทรงธรรม ว่าจะร่วมสมทบเดินทางไปด้วยกัน (โดยใช้ทุนส่วนตัว)

เมื่อสคริปการถ่ายทำ การเดินทางลงตัวแล้ว จึงได้กำหนดเดินทางในวันที่ 14-19 สิงหาคม 2552 แต่บังเอิญด้วยในช่วงเวลาใกล้ๆ กันนั้นสองท่านจากฮากกาศึกษา (คุณนพดล/คุณทรงธรรม) ได้มีคิวต้องไปไต้หวันอยู่ด้วย แต่บังเอินเกิดเหตุพายุในไต้หวัน จึงทำให้ท่านทั้งสองมีความจำเป็นต้องเลื่อนการเดินทาง จึงทำให้ต้องเลือนวันไป-กลับ ที่ไต้หวันมามาคาบเกี่ยวกัน ในวันดังกล่าว จึงเป็นที่น่าเสียดายที่ต้องขาดท่านผู้รู้ทั้งสองนี้ไม่ได้ไปด้วยกัน

ในวันที่ 14 สค. 52 ได้พบกับทีมงานของแทลเลนท์แมสมีเดีย ตามที่นัดหมาย ได้แก่คุณป๊อบ (นฤชิต รจนานนท์ เป็นโปรดิวเซอร์) และคุณจุก (เป็นตากล้อง) ที่สนามบินสุวรรณภูมิ เวลา 9.30 น. เพื่อขึ้นเครื่องในเวลา 11.30 น.

มีกำหนดการเดินทาง คือ
ลงเครื่องที่ ซัวเถา -> เฟิงสุ่น -> หย่งติ้ง -> เหมยโจ -> และมาขึ้นเครื่องกลับที่กวางเจา

 

ที่เลือกเส้นทางนี้ เพราะ

  • ซัวเถา เป็นทางออกทะเลที่ชาวจีนโพ้นทะเลมาอยู่ในเมืองไทย ส่วนใหญออกมาจากทางนี้ และเป็นจุดที่ใกล้แหล่งที่จะไปศึกษามากที่สุดจุดหนึ่ง
  • เฟิงสุ่น (ฟุงสุ่น/ทองคัง/ทึงแค) เป็นแหล่งที่มาของปันซันขัก ส่วนใหญ่ที่อยู่ในเมืองไทย และเป็นเมืองที่ยังคงวัฒนธรรมที่หลากหลาย
  • เหมยโจ (เหมยเสี้ยน/หมอยแหยน) เป็นเมืองศูนย์กลางชองชาวฮากกา มีพิธิภัณฑ์หลายอย่าง และแหล่งที่มาส่วนใหญ่ของชิมขัก ที่อยู่ในเมืองไทย
  • หย่งติ่ง เป็นแหล่งที่มี ถู่โหล (บ้านดิน) ของชาวฮากกาอยู่หนาแน่น น้อยใหญ่รวมกว่า 20,000 หลัง ที่ได้รับเป็นมรดกโลกอย่างน่าภาคภูมิ
  • กวางเจา มีสนามบินที่ใหญ่ มีเทียวบินให้เลือกมากมายทั้ง เช้า สาย บ่าย เย็น ต่างกับที่ซัวเถา มีเฉพาะเช้า ถ้าเดินทางจากเหมยโจมา จะฉุกละหุกมากๆ

 

ภาษาที่ใช้ในทิบนี้

  • ซัวเถา ใช้ภาษาแต้จิ๋วเป็นภาษาท้องถิ่น (คนขับรถเราก็ใช้ภาษานี้) ใช้ภาษากวงตุ้ง และจีนกลาง กับคนเมือง(คนในตลาด)ก็ได้
  • เฟิงสุ่น ใช้ภาษาปันซันคักเป็นภาษาท้องถิ่น ใช้ภาษาชิมคัก แต้จิ๋ว และจีนกลาง กับคนเมืองก็ได้
  • เหมยโจ ใช้ภาษาชิมคักเป็นภาษาท้องถิ่น ใช้ภาษาปันซันคักพอได้แต่การตอบรับไม่ค่อยดีนัก แต่ใช้จีนกลางกับคนเมืองก็ได้ดีกว่า
  • หย่งติ่ง ใช้ภาษาฮากกาสำเนียงฮกเกี้ยนเป็นภาษาท้องถิ่น ใช้ภาษาชิมคักพอได้แต่ดูเหมือนปันซันขักจะใกล้เคียงกันกว่า ซึ่งคนในเมืองจะใช้ภาษาฮกเกี้ยนและจีนกลางได้
  • กวางเจา ใช้ภาษากวงตุ้งเป็นภาษาท้องถิ่น คนเมืองจะใช้และจีนกลางก็ได้

ถึงแม้ว่าจะใช้ภาษาจีนกลางได้ กับคนที่อยู่ในตัวเมือง(ย้านร้านค้า)ทุกเมือง (ภาษาอังกฤษไม่ต้องพยามดีกว่า) แต่เมื่อจะลงถึงท้องที่สัมผัสกับชาวบ้านจริงๆ ที่เป็นคนพื้นเพ และผู้สูงวัยก็ยังจำเป็นต้องใช้ภาษาท้องถิ่นอยู่ดี

สรุปว่ามีภาษาที่ต้องใช้ในการเข้าถึงชาวบ้านชาวเมืองได้หมด ต้องใช้ถึง 6 ภาษา คือ จีนกลาง แต้จิ๋ว ปันซันขัก ฉิมขัก ฮกเกี้ยนขัก กวงตุ้ง งานนี้จึงต้องใช้ไกด์เปลือง คือ ไกท์ 2 คน + 1 คนขับรวมเป็น 3 คน พอจะผ่านจุดเก็บตังค์ค่าเข้าชม(ปรกติฟรีเฉพาะไกด์) แต่ละทีเขาก็งงที ว่าทำไมใช้สิทธิไกด์ถึง 3 แต่ลูกทัวร์มีเพียง 3 คน จึงบอกว่ามาถ่ายทำไปประชาสัมพันธ์ที่เมืองไทย ก็มักจะได้พรีทั้งคณะในหลายแห่ง

การเดินทางกำลังจะเริ่มต้น แล้วเหตุการณ์จะเป็นอย่างไร ได้พบกับอะไรมาบ้าง จะ(พยามหาเวลามา)เขียนต่อไปในโอกาสหน้า ที่จะบอกเล่าการเดินทางไปยังเมืองต่างๆ โปรดติดตามตอนต่อไป


รูปภาพของ YupSinFa

ตื่นเต้นมาก ๆ

          ไชโย คุณอาฉีของเราได้โกอินเตอร์แล้ว ไหงเป็นแฟนประจำของรายการสปิริตออฟเอเชีย และในฐานะที่เป็นสมาชิกชุมชนชาวฮากกา ขอแสดงความยินดี กับคุณอาฉี ที่ประสบความสำเร็จในการจัดทำเว็บชุมชนฮากกาของพวกเรา จนมีคนมองเห็น และได้ให้เป็นตัวแทนของพวกเราชาวฮากกาที่อยู่ในประเทศไทย ขอให้ท่านทำหน้าที่เป็นตัวแทนของพวกเราให้อย่างเต็มที่ และจะนับวันรอคอยติดตามชมผลงานของท่าน ผ่านทางหน้าจอโทรทัศน์ หากมีความคืบหน้าอย่างใด กรุณารีบขึ้นบอร์ดโดยเร็วนะครับ

           ตอเซี้ย

ขอบคุณอาจารย์ฉีมากๆ

ไหง่ได้ความรู้จากอาจาร์ฉีแยอะแยะเลย อั้นตอเชี้ยเก๊  ได้อาจาร์ฉีเป็บเวฟมาสเตอร์   พวกเราฮากกาหนิ่นไม่เหงาแล้ว ไชโยๆๆๆๆๆๆ

รูปภาพของ เฉินซิ่วเชง

ละเอียดมาก

ยินดีที่คุณฉีกลับมาพร้อมกับสาระดีๆๆน่าติดตาม   แบบละเอียดมาก 

ขอบคุณทีมงานมาก

รูปภาพของ มะไฟ

ฮากกาในเขมร

ช่วงเดือนนี้ไหงจะไปถามเรื่องคนฮากกาในเขมรให้ท่านอาฉี ที่เคยถามทางโทรศัพท์

ถ้ามีโอกาสไหงจะไปแถวท่าเรือ ท่ามะกา ถามให้ คิดว่าน่าจะมีเวลาช่วงวันหยุด

จะถามให้ว่าทำไมถึงมาเมืองไทย หลังจากอพยพมาอยู่เขมร พอดีอาฉีโทรมาถามหลังจากวันที่

๑๘ มกราคม ถ้าถามก่อนก็จะมีคำตอบได้ เพราะไหงไหว้เจ้าของตระกูลโง้ว เมื่อวันที่ ๑๘

ที่ผ่านมา คือมีคนตระกูลเดียวกับไหง อพยพจากเมืองจีนมาอยู่เวียดนาม แล้วเคลื่อนมาเขมร

ภายหลังตามพี่น้องมาอยู่เมืองไทยอีกที  อย่างช้าตระกูลไหงจะไหว้บรรพบุรุษอีกทีก็เดือนสามจีน ประมาณเมษายน คือปีนึงตระกูลไหงมีงาน ๓ ครั้ง ไหว้เจ้า ไหว้บรรพชน และจัดงานรวมญาติสังสรรค์อีกทีตอนเดือนพฤศจิกายนทุกปี  เรียกว่าประมาณทุก ๔ เดือนจะมีกิจกรรมของตระกูล

รูปภาพของ อาฉี

ขอบคุณอาโกมะไฟ

ขอบคุณครับ ที่ถามไปตอนนั้นเพราะ โปรดิวเซอร์ของรายการ Spirit of Asia เขาถามมาอีกทีว่า เขาไปพบชาวฮากกา อยู่กลุ่มใหญ่ คนแถวนั้นเรียกว่าหมู่บ้านเจ็ก อยู่ทางตอนเหนีือของเขมรใกล้ลาว มีทางแยกไปทางขวาออกเวียดนาม

เขาสงสัยว่า ฮากกากลุ่มนี้ มาอยู่ตั่งแต่สมัยใดกัน ไปมาทางใดจึงอยู่แถบนั้นได้  ?

และข้อมูลจากท่าน อ.paul คาดว่า อาจจะมาช่วงกลียุคปลายราชวงค์ชิงละมั่ง ก็อยู่ระหว่างหาข้อมูลดูอีกที

รูปภาพของ มะไฟ

น่าจะราวปี2460-68

น่าจะราวปี2460-68 ไหงว่า น่าจะเป็นช่วงเดียวกับที่อาสุกไหงอพยพมา ตอนนั้นไม่รู้สงครามอะไร เพราะญาติที่มาก็รุ่นราวคราวเดียวกับอาสุกไหง อาสุกไหงถ้าอยู่ก็อายุเกือบครบร้อยแล้ว

รูปภาพของ จ๊องหยิ่นฮยุ๋ง

ชาวฮากกาในเขมร

ชาวฮากกาเริ่มอพยพเข้ามาในเขมรช่วงสงครามจีน-ญีปุ่นครั้งที่ 2 (7 ก.ค. 2480 - 9 ก.ย. 2488) โดยอาศัยอยู่กันมากในจังหวัด Stung Treng ซึ่งอยู่ห่างจากพนมเปญประมาณ 400 กม. และอยู่ห่างจากชายแดนลาว 50 กม. ครับ


ที่มา: http://en.wikipedia.org/wiki/Chinese_Cambodian

เมืองไทยไม่มีไชน่าทาวน์

จริงครับ  เมืองไทยไม่มีไชน่าทาวน์

เพราะเมืองไทย ไม่ว่าแห่งหนตำบลไหนก็มีคนจีนอยู่เต็มไปหมด

ไหงไปอเมริกาเมื่อปี พ.ศ. 2508 คำแรกที่อาจารย์ถามไหงก็คือ

Are you sure you are Thai people ?  ไหงจึง งง และงงมากทำไมเขามองเราเป็นอะไร ?

เหตุที่เขาสงสัย เพราะเท่าที่เขาอ่านประวัติศาสตร์ไทยมา คนไทยตัวเล็ก ดำ ผมหยิก

ซึ่งไหงตัวใหญ่เกือบเท่าฝรั่ง ไม่ดำ ผมก็ไม่หยิก  เขาจึงไม่เชื่อว่าไหงเป็นคนไทย

จนไหงต้องยอมรับและบอกเขาว่า "Yes, I am Thai Chinese, my parent are Chinese

from China and I only was born in Thai.

ในเมืองไทยทุกหนทุกแห่งจะมีคนจีนอาศัยอยู่และทุกอาชีพก็มีคนจีนร่วมอยู่ด้วย

ถ้าจะนับไชน่าทาวน์ในเมืองไทย  ก็คือไชน่าทาวน์ทั้งประเทศนั่นเอง

ชื่อถนน ตำบล อำเภอ ก็มีชื่อจีนปนอยู่ด้วย ชื่อจังหวัดไม่อาจยืนยันได้

ตื่นตา ตื่นใจ

 ขอขอบคุณ คุณฉีที่รวบรวมไว้ให้ดู เพราะดูทีวีไม่ทัน

รูปภาพของ อาฉี

ตามคำเรียกร้อง เทปรายการ Spirit of Asia ตอน Hakka People

เชิญชมรายการ Spirit of Asia  (ย้อนหลัง) ตอน Hakka People ออกอากาศทาง PBS TV Thai ดังต่อไปนี้

ตอนที่ 1/4 กลับถิ่นเกิดต้นตระกูลคนจีนแคะ
Spirit of Asia ตอน : กลับถิ่นเกิดต้นตระกูลคนจีนแคะ
สถานที่ถ่ายทำ เมืองเพิงสุ่น (ทองคัง) ประเทศจีน
ออกอากาศเมื่อ วันอาทิตย์ ที่ 30 สิงหาคม 2552 เวลา 17.30น.

ตอนที่ 2/4 บ้านดินของจีนแคะกับอาคันตุกะผู้มาเยือน
Spirit of Asia ตอน : บ้านดินของจีนแคะกับอาคันตุกะผู้มาเยือน
สถานที่ถ่ายทำ เมืองหย่งติ้ง บ้านดิน (ถู่โหล)  ประเทศจีน
ออกอากาศเมื่อ วันอาทิตย์ ที่ 6 กันยายน 2552 เวลา 17.30น.

ตอนที่ 3/4 สื่อสำเนียงภาษาจีนแคะที่เหม่ยโจว
Spirit of Asia ตอน : สื่อสำเนียงภาษาจีนแคะที่เหม่ยโจว
สถานที่ถ่ายทำ ม.ชูซี หย่งติ้ง และ เหมยโจ  ประเทศจีน
ออกอากาศเมื่อ วันอาทิตย์ ที่ 13 กันยายน 2552 เวลา 17.30น.

ตอนที่ 4/4 คนจีนแคะในสยาม
Spirit of Asia ตอน : คนจีนแคะในสยาม
สถานที่ถ่ายทำ กรุงเทพฯ ประเทศไทย
ออกอากาศเมื่อ วันอาทิตย์ ที่ 20 กันยายน 2552 เวลา 17.30น.

ขอขอบคุณ สถานีโทรทัศน  PBS TV Thai และ บริษัท แทลเลนท์ แมสมีเดีย จำกัด ผู้ผลิตรายการ

อาฉีน่ารั

อาฉีน่ารักมากเลยครับ ที่นำมาให้ชม ขอขอบคุณในความเอื้อเฟื้อในครั้งนี้ โอกาสหน้ามีอะไรให้ผมรับใช้ก็ยินดีนะครับ

ผมเป็นลูกหลานคนแคะที่เกิดในเมืองไทย อากงมาจากเปี่ยงชุน ผมเพิ่งไปเยี่ยมอาปักที่เปี่ยงชุน มาเมื่อตอนสงกรานต์ที่ผ่านมา หลังจากกลับมาแล้วก็ลองหาข้อมูลจาก web พอดีมาเจอweb นี้ ดีใจมากครับ  ให้ผมได้รับรู้รากเหง้าของตัวเองมากขึ้น ขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมกับจัดทำ web นี้ขึ้นมาครับ

รูปภาพของ อาฉี

ขอบคุณครับ

ขอบคุณครับ และยินดีที่มีส่วนช่วยทำความพึงพอใจให้ท่านได้

คุณความดีทั้งหลาย ขอมอบให้แก่พี่น้องชาว hakkapeople.com ทุกท่าน ที่ช่วยกันเติมเต็มข้อมูลให้กัน จนทำให้มีทุกวันนี้ครับผม

 
[email protected]    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal