หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

คำจีนในภาษาไทย

รูปภาพของ จ๊องหยิ่นฮยุ๋ง
ในภาษาไทยของเรามีคำจีนอยู่เยอะ บางคำเราใช้เสียจนลืมไปว่าเอามาจากจีน เช่น "โต๊ะ" ถ้าเราไม่เรียกโต๊ะ จะเรียกว่าอะไร ตั่งหรือ ก็ไม่ใช่อีก เพราะตั่ง มันเตี้ยกว่าโต๊ะ และเล็กกว่าเตียง

วัฒนธรรมเรามันนั่งกับพื้น กินข้าวก็วางสำรับกับพื้น ถ้าเป็นเจ้านายหรือขุนนางวางน้ำที่ใหญ่ๆ ก็ใช้โตก ก็ยังคงนั่งกับพื้นอยู่ดี แต่จีนเขานั่งโต๊ะมานานแล้ว จงดูในเรื่องสามก๊ก

เช้ง ก็อีกคำหนึ่ง คนที่ไม่รู้ภาษาจีนจะต้องว่าเป็นคำไทย "เช้งวับ" เรามักพูดกัน แต่เดี๋ยวนี้มีใหม่มาอีกคำ คือ "เช้งกะเด๊ะ"

คำต่างๆ ที่เข้ามามั่วอยู่ในภาษาไทย ไม่ว่าจีนจะใช้เข้ามา หรือว่าไทยเอามาใช้ เท่าที่พอนึกออกนั้นดังนี้

เฮง
แปลว่า โชคดี

ซวย แปลว่า เคราะห์ร้าย, ฉิบหาย, มักใช้ควบคู่กันกับเฮง เป็น "เฮง-ซวย" ความหมายไปในทางซวย มากกว่าเฮง

กี๋ แปลว่า สิ่งรอง เช่น ถาดมีตีนที่รองชุดน้ำชา หรือรองกระถางต้นไม้ หรือพวงแก้ว

ก๊วน แปลว่า ด่าน, เช่น "ซือเกี๋ยนกับทหารทั้งปวงก็พาเอาโอยเลงก๋งไปไว้ที่กงก๊วน" (เลียดก๊ก) แต่เราเอามาใช้ในความว่า พวก, หมู่, กลุ่ม

เก๊ะ แปลว่า ตู้ใส่เงินที่มีลิ้นชัก เจาะรูยาวประมาณครึ่งคืบ เวลาเอาเงินออกต้องชักลิ้นชัก

กั๊ก แปลว่า ทางแยก เช่น สี่กั๊กพระยาศรี, ซากั๊กโล่ (สามแยกต้นประดู่), เส้นกลางระหว่างเบอร์หนึ่งกับอีกเบอร์หนึ่ง เช่น กั๊ก ๒-๓, สุราจำนวนในสี่ของขวด

เก้าอี้ แปลว่า ม้านั่ง

ตั๋ง แปลว่า เงินมาก

โต๊ะ แปลว่า เครื่องตั้งที่มีลักษณะคล้ายเตียง แต่สูงกว่าเตียง

ตุน แปลว่า กักไว้, เก็บไว้, เรามักใช้คู่กันเป็นกักตุน

ตู๊ แปลว่า ยันไว้, ปะทะไว้ เช่น เรือจะเข้าท่าเอาถ่อตู๊ไว้เพื่อไม่ให้เรือกระทบตลิ่งแรง ชดเชย เช่น ขาดทุนหัวหอมก็เอากำไรกระเทียมมาตู๊

เขียม แปลว่า ประหยัด

จั๊วะ
แปลว่า ขาว, เช่น "ขาวจั๊วะน่าเจี๊ยะ" อย่างที่เราชอบพูดกัน แต่คนจีนเขาพูดแค่ จั๊ว เท่านั้น

เจ๊ง แปลว่า ชิบหาย

เช้ง แปลว่า สวย, ใส ไทยใช้ขยายสวย เป็น สวยเช้ง เช่น "แหมวันนี้เธอแต่งตัวเสียสวยเช้งเลยนะ"

เซ้ง แปลว่า ซื้อต่อ หรือขายต่อ เช่น เซ้งตึก

ถัว แปลว่า ชดเชย, เช่น "ขาดทุนมั่ง ได้กำไรมั่ง ก็ถัวกันไป"

เซี้ยว แปลว่า บ้า, เซี้ยวนั้ง = คนบ้า

ปึ๊ง จีนเขาหมายถึงหนังสือ แต่ไทยเราเอามาใช้เป็นวิเศษณ์ของหนังสือที่หนา ว่า หนาเป็นปึ๊ง หรือ "ปึ๊งเบ้อเร่อ"

ฮ้วน แปลว่า กบฏ, แข็งข้อ, ต่อต้านอำนาจที่เหนือกว่า

เฮี้ยน แปลว่า ขลัง

เฮี้ยบ แปลว่า เคร่งระเบียบวินัย

เฮี้ยว แปลว่า หาเรื่อง, พาลเกเร

ยี่ห้อ แปลว่า ชื่อหรือสัญลักษณ์ของสินค้าหรือห้างร้าน

หุน แปลว่า มาตรวัดของจีน ๑ หุน เท่ากับ ๑ ใน ๘ ของนิ้ว (ไทยเรา ๔ กระเบียด เป็น ๑ นิ้ว)

ที่มา: ศิลปวัฒนธรรม, 1 กุมภาพันธ์ พศ 2550

ต่อยอด

เจ้าสัว มาจาก จ่อซัว เศรษฐี คนรวย

เถ้าแก่ เจ้าของร้าน เถ่าเก ภาษาแต้จิ๋ว หรือ เถวก๊า ปั้นซั้นขัก

แต่ถ้าเเป็น เฒ่าแก่ กลายเป็นผู้สูงอายุไป

ฮั้ว ทั้งไทยและจีนมีความหมายเหมือนกัน สมยอมกัน ร่วมมือกัน

จ้ำบ๊ะ  โชว์สกปรกในงานวัด คำนี้จีนมีไหม๊แปลว่าอะไร

บ๊ะจ่าง ข้าวเหนียวใส่ใส้หมูของคนจีน  แต่คนไทยก็ชอบ

อาซ้อ  คำนี้คนไทยรู้จักดีเพราะมี อาซ้อไฮโซ

ตื้อ  เพี้ยนมาจาก ตื่อซี่ เช่น ตามตื้อ หรือ ตื้อผู้หญิง คงแปลว่าตอแย

ยังมีอีกมาก  ตอนนี้คิดไม่ออก

 

รูปภาพของ เหลี่ยวเม่ยจาง

...ดีจัง

ขอบคุณสำหรับเนื้อหาดีๆ ไหงจะติดตามมันไปตลอดนะ

ทุกๆคน

รูปภาพของ แกว้น

“ ตั่ง ” ตามคำอธิบายของศิลปวัฒนธรรมคืออะไร??

      “ ตั่ง ” ตามคำอธิบายของศิลปวัฒนธรรมว่า.... “ ตั่งหรือ ก็ไม่ใช่อีก เพราะตั่ง มันเตี้ยกว่าโต๊ะ และเล็กกว่าเตียง ” นั้นมันคืออะไร?? 
      ในภาษาไทยของเราเรียกภาชนะสำหรับรองนั่งว่า “ เก้าอี้ ” หรือเรียกตามคำไทยแท้ว่า “ ม้านั่ง ” โดยไม่ได้แบ่งแยกลักษณะของภาชนะ แต่ในภาษาจีนแบ่งออกเป็นสองชนิดคือ
     
      “ 凳 ” ภาษาฮากกาเรียกว่า “ แต้น ” หรือ “ เต้น ” และภาษาแต้จิ๋วเรียกว่า “ ตั่ง ” หมายถึงภาชนะรองนั่งที่ไม่มีพนักพิง
     
      “ 椅 ” ภาษาฮากกาเรียกว่า “ ยื่อ ” หรือ “ หยื่อ ” และภาษาแต้จิ๋วเรียกว่า “ อี๋ ” หมายถึงภาชนะรองนั่งที่มีพนักพิง ในอดีตโบราณมักทำด้วยหวายสานและมีขนาดสูงใหญ่กว่าภาชนะรองนั่งที่ไม่มีพนักพิง จึงมักเรียกว่า 高椅 “ โกวยื่อ ” หรือ “ กาวหยื่อ ” ในภาษาพูดฮากกา หรือ “ เกาอี๋ ” ในภาษาแต้จิ๋วจึงเป็นที่มาของคำว่า “ เก้าอี้ ” ในภาษาไทย
 
      ขอรูปด้วยครับ.... กว๊านหมิ่นโก 
รูปภาพของ จองกว๊านหมิ่น

矮凳 - 高椅

 
 
矮凳  -  ม้านั่ง
長凳  -  ม้านั่งยาว
高椅  -  เก้าอี้    
長高椅  -  เก้าอี้ยาว
รูปภาพของ แกว้น

เก้าอี้โบราณของแท้ดั้งเดิม 古代高椅

      ก้ำเซี้ยกว๊านหมิ่นโก.... 
      
      ปัจจุบันแทบจะไม่มีเก้าอี้ที่ทำจากวัสดุหวายอีกแล้ว และการเรียกชื่อจะจำแนกตามลักษณะพนักพิงตามภาพของกว๊านหมิ่นโกดังกล่าว แต่ในอดีตโบราณที่มีเก้าอี้ทำจากวัสดุหวายอยู่มาก ภาษาพูดฮากกาจะเรียกชื่อตามวัสดุของเก้าอี้นั้น
     
      เก้าอี้ทำจากวัสดุหวายแม้จะมีพนักพิงหรือไม่ก็ตามเรียกว่า “ แถ่นยื่อ ” หรือ “ แถ่นหยื่อ ” 藤椅
      และเก้าอี้ทำจากวัสดุไม้จะมีพนักพิงหรือไม่ก็ตามเรียกว่า “ แต้น ” หรือ “ เต้น ” 凳 
เก้าอี้โบราณของแท้ดั้งเดิมทำจากวัสดุหวายเรียกว่า “ แถ่นยื่อ ”  藤椅 
 
 
เก้าอี้หวาย “ แถ่นยื่อ ”  藤椅  หรือ  “ โกวแถ่นยื่อ ”  高藤椅 
  เก้าอี้หวายไม่มีพนักพิง “ แถ่นยื่อ ”  藤椅 
เก้าอี้หวายเอนพิง “ แพ้นแถ่นยื่อ ” 偏藤椅

ที่เคยไปฟังมา

พอแขกมาผู้ใหญ่จะพูดปั้นซั้นขักว่า น้า แต้น หลอย ช้อ แปลว่า เอาเก้าอี้มานั่ง แล้วเชิญต่อ เชี่ยง ช้อ แปลว่า เชิญนั่ง 

  คำว่าแต้น แปลว่า เก้าอี้ หรือ ม้านั่ง พึ่งเข้าใจตรงนี้เอง และ

      "        แปลได้อีกว่า  รอ เป็นคำพ้องเสียงในปั้นซั้นขักฝ่า

 

รูปภาพของ วี่ฟัด

ตั๋งโต๊ะเอาโต๊ะมาตั้ง

         คำว่าโต๊ะนี่ ไหงคิดว่าว่าจากตั๋งโต๊ะเสียอีก ตรงที่ ....อั๊วชื่อ...........ตั๋งโต๊ะ......ตลุงตุ้งแช..... เอาโต๊ะมาตั้ง .......... ตลุ้งตุ้งแช่........อั๊วจึงชื่อ......ตั๋งโต๊ะ...........
รูปภาพของ manao120

55555

ตลกดีนะครับ

5555555

5555555

รูปภาพของ YupSinFa

คำจีนในภาษาไทยที่ตรงกับภาษาล้านนา

                 ต้องยอมรับว่า ภาษาไทยมากมายหลายคำ ได้ยืมหรือเอามาจากภาษาจีน มาตั้งแต่โบราณกาลนับแต่สมัยอยุธยาเป็นต้นมา ซึ่งมีชาวฮกเกี้ยน เข้ามาเป็นกลุ่มแรกตามมาด้วยกลุ่มชาวแต้จิ๋วที่เข้ามามากที่สุด

                 ดังนั้น คำศัพท์ต่าง ๆ ที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้ คนไทยส่วนใหญ่ แม้แต่คนไทยเชื้อสายจีนของเรา ยังคิดไม่ถึง ว่า ศัพท์เหล่านี้ เป็นคำที่มาจากภาษาจีน ซึ่งส่วนใหญ่ มาจากฮกเกี้ยนและแต้จิ๋ว

                 เห็นคำศัพท์คำหนึ่ง ที่ออกเสียงว่า "เขียม" แปลว่า ประหยัด คำ ๆ นี้ ในภาษาล้านนา มีความหมาย ว่า ประหยัดก็ไม่เชิง แต่จะมีความหมายไปในทางที่ว่า ไม่มี หรือ มีน้อยมากกว่า เช่น สินฝ่านี่เขียมส๊ะตาง ขะหนาด แปลว่ สินฝ่านี่ เงินมีน้อยมาก หรือ ลิ้นจี่ปีนี้เขียม แต้ ๆ แปลว่า ลิ้นจี่ ปีนี้ มีน้อยจริง ๆ อย่างนี้เป็นต้น ไหงคิดว่า เป็นความบังเอิญ มากกว่า

                 มีคำในภาษาผู่ทงฮว่า ที่มีการออกเสียงใกล้เคียงกับภาษาไทยทุกภาค และแปลเหมือนกัน คือ "หม่า" แปลว่า "ม้า"

                 สองคำในภาษาฮากกา ที่ไทยยืมมาใช้ ไหงคิดว่า ป้านเถ่ว ไทยเรียกว่า ก๋วยเตี๋ยว กับ ย้องเท้วฟู้ ไทยเอามาเรียก เย็นตาโฟ

                 ท่านใดนึกคำ ไหน ได้อีก เอามาลงให้กันอ่านบ้าง สนุกดี ครับ

                 อ้อ เพิ่งนึกได้ มีอีกคำนึง ที่คนไทย ยืมมาใช้อย่างตรงตัวที่สุดเลย คำนั้นคือ 行  ผู่ทงฮว่า ออกเสียงว่า "หาง" แต้จิ๋ว ออกเสียงว่า ฮ๊าง ฮ่าง ห้าง แปลความหมายได้ว่า กิจการ ที่มีหน้าร้าน คนไทยเลยยืมมาใช้อย่างตรงตัวที่สุดเลยครับ เช่น ห้างไทยไดมารู ห้างสรรพสินค้า ห้างทองเยาวราช เป็นต้น (อันนี้มีแถมครับ มีแถม เจ้าของห้าง ถ้าเป็นคนไทยแท้ ก็เรียกคุณ นั่น คุณนี่ ถ้าเป็นคนจีน พี่ไทยก็เรียก "เถ้าแก่" แต่ถ้าเป็นชาวไทยเชื้อสายอินเดีย เจ้าของห้างขายผ้า พี่ไทยกลับเรียก "นายห้าง" อันนี้น่าคิดนะครับ น่าคิด)

                 เรื่องภาษานี่ต้องคุยกันอีกยาว น่าสนุกดีนะครับ

รูปภาพของ ท้ายแถว

ชื่อนักษัตร

เคยเห็นแถวๆนี้ (จำไม่ได้หน้าไหน) มีคนลง ภาษาฮากกา ว่า

หนู - ชู่ (ชวด)
กระต่าย - ถู้ (เถาะ)
มังกร - หลุง (มะโรง)
งู - สา (มะเส็ง)
ม้า - มา (มะเมีย)
ไก่ - แก (ระกา)

ก็น่าเชื่อ ว่าโหรไทยตั่งแต่โบราณา คงต้องได้รับการถ่ายทอดวิชา จากทางจีนโบราณ (ฮั่น) ละมัง

เพราะ จาก 12 ปีนักษัตร บังเอินมีเสียงใกล้กันถึงครึ่ง และชื่อปีนักษัตรที่ไทยใช้ ก็ไม่สามารถแยกอักษรหาที่มารากศัพท์แบบไทยๆได้ และทางจีนก็ยังยอมรับว่าภาษาฮากกา เป็นฟอตซิลทางภาษาของจีนโบราณ เช่นกัน

จึงน่าจะเป็นวิชาการที่ตกทอดมาตั้งแต่สมัยนั้น เพราะถ้าไม่ใช่มาจากต้นตำหรับภาษาของปรามจารย์เดียวกัน ที่นิยมถ่ายทอดวิชาโดยให้ท่องคำเฉพาะเป็นภาษาต้นตำหรับ (คงเหมือนหมอดูฟุงซุ้ย ในปัจจุบันก็ยังให้เรียกชื่อเฉพาะเป็นภาษาจีน เช่น 甲 , 乙 , 丙 , 丁 , 戊 , 己 , 庚 , 辛 , 壬 , 癸  และ 子, 丑, 寅, 卯, 辰, 巳, 午, 未, 申, 酉, 戌, 亥 เป็นต้น) จึงจะบังเอินได้ขนาดนี้

ลองเทียบภาษาอื่นๆ (จาก wikipedia และได้เติมภาษาฮากกาให้แล้ว) ก็พบว่า ไม่มีภาษาใด ใกล้ภาษาของบรรพบุรุษเราได้เท่านี้)

อักษรจีน ผู่ทงฮว่า ฉิมฮาก ปันซันขัก ชื่อนักษัตร ภาษาไทย ภาษาบาลี ภาษาไทยวน ภาษาไทลื้อ ภาษาไทใหญ่ ภาษาเวียดนาม
สู่ ฉู่ ชู่ ชวด หนู มุสิก ใจ้ ใจ้ เจ้อ-อี Tí ตี๊
หนิว แหง่ว แหงว ฉลู วัว อุสุภ, อุสภ เป้า เป้า เป้า Sửu สือ-ว
ฝู่ ฝู่ ฟู่ ขาล เสือ พยาฆร, พยัฆะ, วยาฆร, พยคฆ ยี ยี ยี Dần เหยิ่น
ถู้ ถู้ ถู้ เถาะ กระต่าย สะสะ, สัศ เม้า เหม้า เหม้า Mạo หม่าว
龍/龙 หลง หลุง หลุง/ลยุ๋ง มะโรง งูใหญ่ มังกร, นาค, สงกา สี สี สี Thìn ถิ่น
สือ สา สา มะเส็ง งูเล็ก สัป, สปปก ใส้ ใส้ เส้อ-อื Tị ติ
馬/马 หม่า มา มา มะเมีย ม้า ดุรงค, อัสส, อัสดร สง้า สะงะ สีงะ Ngọ หง่อ
หยาง หยอง หยอง มะแม แพะ เอฬกะ, อัชฉะ เม็ด เม็ด โมด Mùi หมุ่ย
โหว แห็ว แห็ว วอก ลิง มกฏะ, กปิ สัน แสน สัน Thân เทิน
雞/鸡 จี แก/ไก แก ระกา ไก่ กุกกุฎ, กุกกุฏ เล้า เล้า เฮ้า Dậu เหย่า
โก่ว แกว แก้ว จอ หมา โสณ, สุนัข เส็ด เส็ด เม็ด Tuất ต๊วด
豬/猪 จู จู จู กุน หมู สุกร, วราห, กุญชร ใก๊ ใก๊ เก้อ-อื Hợi เห่ย


รบกวน ท่านที่ออกเสียงจีนกลาง ชิมขัก และปันซันขัก ได้ชัดๆ ช่วยแก้ไข และเขียนคำอ่านให้ด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง (ไหงเป็นฮากกาท้ายแถว สำเนียงและภาษาไม่ค่อยถูกต้อง ต้องขออภัยด้วยครับ)
รูปภาพของ จ๊องหยิ่นฮยุ๋ง

มะโรง - หลุง หรือ ลยุ๋ง

ขออนุญาตแก้ไขนิดหนึ่งครับ
มะโรง - หลุง หรือ ลยุ๋ง
วอก - แห็ว
จอ - แก้ว

หมายเหตุ: คำฮากกาที่อาจปรากฏในข้อความข้างต้น เป็นสำเนียง 'ปั้นซั้นขัก' ของผู้เขียน.

รูปภาพของ ท้ายแถว

รับทราบ ขอบคุณ

รับทราบ แล้วจะไปแก้ไข

อ้อ!  แล้วจีนกลาง กับ ฉิมขัก ออกเสียงอ่านทั้ง 12 ตัว

鼠 , 牛 , 虎 , 兔 , 龍/龙 , 蛇 , 馬/马 , 羊 , 猴 , 雞/鸡 , 狗 , 豬/猪

อ่านว่าอย่างไร ใครตอบได้ช่วยที 

ขอบคุณครับ

รูปภาพของ อาคม

ผู่ทงฮว่า และ ฉิมฮาก

คุณท้ายแถว ไหงสายตาไม่ค่อยดี(ล่อฟา)เข้าใจว่าหงีชื่อ ท้ายแกว เหมือนที่อาปักไหงชอบเรียกไหงตอนเด็กๆ เพราะว่าไหงเป็นลูกคนโต

ผู่ทงฮว่า สู่ , หนิว , ฝู่ , ถู้ , หลง , สือ , หม่า , หยาง , โหว , จี , โก่ว , จู

ฉิมฮาก  ฉู่ , แหง่ว , ฝู่ , ถู้ , หลุง , สา , มา , หยอง , แห็ว , แก/ไก , แกว , จู

จะเห็นว่า ฉิมฮากมีสำเนียงใกล้เคียงผู่ทงฮว่ามากๆ

รูปภาพของ ท้ายแถว

ขอบคุณครับ

ขอบคุณมากๆ

แล้วจะนำไปใส่ในตาราง รวมทุกภาษา ครับ

รูปภาพของ กิ่มหมิ่น

อาคม หงี่เห่า เจ่าออน

เปิดคออมฟังเพลงฮากกา เลยเลี้ยวดูเว็ปชุมชนพวกเรา เห็นคุณอาคมออนอยู่เลแวยทักทายครับ
รูปภาพของ อาคม

เจ่าเสิ่นฮ่าว กิ่มหมิ่น

เจ่าเสิ่นฮ่าว  กิ่มหมิ่นกอ เห็นหงีใช้ เห่า ตัวนี้ มันดูดุไปนะเหมือนงูเห่า ไม่ว่ากัน อาทิตย์หน้ามีแขกผู้ใหญ่มา ถ้ามีโอกาสก็น่าจะรวมกลุ่มพบปะกันก็ดีครับ
รูปภาพของ อิชยา

ของที่บ้านไหง

ของที่บ้านไหง  คำว่า  จอ หรือ หมา หรือ สุนัข  นี่  ออกเสียงสั้นกว่า ใช้คำว่า  เก้ว   ใช้สระเอ (เ) เสียงสั้นกว่า  (แ)

 

แล้วคำว่า เก๋ง, ในภาษาไทย เอาไปใช้เรียกกันมาก เช่น รถเก๋ง  ศาลาเก๋งจีน 

เก๋า  ใช้ในภาษาไทยกันมากเหมือนกัน เช่น ใช้ด่า  , ชื่อปลาเก๋า

2 คำนี้ใช่มาจากภาษาจีนหรือไม่ค่ะ

 

รูปภาพของ จ๊องหยิ่นฮยุ๋ง

การทับศัพท์ภาษาไทยที่มาจากภาษาจีน

“ก๋วยเตี๋ยว” (粿条; กั่วเถียว – จีนกลาง)

“ตุ๋น” (炖; ตุ้น – จีนกลาง)

“เจียว” (焦; เจียว – จีนกลาง, แต้จิ๋ว) ในภาษาจีนเป็นคำคุณศัพท์ หมายถึง ความกรอบ ไหม้ของอาหารหรือสิ่งของทั่วไป ถ้าเป็นอาหาร ส่วนมากจะใช้น้ำมันร้อนที่มีปริมาณไม่มาก เชื่อว่าคำที่ถูกคนไทยนำเข้ามาใช้ก่อนคือ ไข่เจียว และคนไทยอาจเพิ่งจะรู้จักการเจียวเมื่อคนจีนอพยพนำวิธีนี้มาใช้ในเมืองไทย หลังจากนั้น จึงใช้คำนี้เป็นคำกริยาด้วย ก็เลยต่อคำขึ้นมาเป็นเจียวไข่เจียว กระเทียม เป็นต้น

“แหงๆ” เป็นศัพท์แต้จิ๋วแท้ๆ ตัวหนังสือจีนของคำนี้คือ 硬 (ยิ่ง – จีนกลาง) สำเนียงแต้จิ๋วออกเสียง “แง๋” ความหมายพื้นฐานหมายถึง แข็ง คงทน ไม่อ่อนนุ่มเปลี่ยนแปลงง่าย จึงขยายความหมายให้หมายถึง ความแน่นอน 

“เก่ง” คำทับศัพท์คำนี้มาจากภาษาจีนสำนวนกวางตุ้ง ตัวหนังสือจีนเขียนว่า 劲 (จิ้น – จีนกลาง) ความหมายดั้งเดิมหมายถึง เรี่ยวแรง แต่ในภาษาจีนกวางตุ้งออกเสียงว่า “เก่ง” หมายถึง มีความสามารถ มีฝีไม้ฝีมือ ในยุคใดยุคหนึ่ง คำนี้ก็ตามบรรพบุรุษชาวกวางตุ้งมาถึงเมืองไทย และถูกคนไทยใช้ในความหมายเดียวกัน

ที่มา: จดหมายข่าว  อาศรมสยาม-จีนวิทยา ฉบับที่ 28 (ธันวาคม 2547)

คำฮิต

โผ  คำนี้เป็นคำแต้จิ๋ว  ความหมายบัญชีรายชื่อที่เขียนตั้งไว้คนไทยนำมาใช้เฉยเลย

โพย  คำนี้ก็แต้จิ๋ว ความหมายเหมือนๆกับโผแต่มีเพิ่มคล้ายเป็นจดหมายแถมบางครั้งฝากเงินด้วย

เปีย คำนี้ออกเสียงแต้จิ๋ว เปีย หรือ เปียว ความหมายประมูล เช่น เปียแชร์

ผ้าผวย  ทางใต้เรียกผ้าห่ม  น่าจะมาจากจีนแต้จิ๋ว ผวยแปลว่าผ้าห่ม

แป๊ะเจี๊ยะ  คำโหดคำนี้คนแทบทุกคนไม่ชอบ  ไม่อยากแปลคิดว่ารู้กันแล้ว

เก๊าเจี๊ยะ เก้าเจี๊ยะ อีกคำที่ไม่สวยเลยทุกคนก็ไม่ชอบแต่บางครั้งก็เลี่ยงไม่ได้

หมี่  คำง่ายๆนี้ก็คำจากภาษาจีน  คำไทยไม่มีจึงใช้ทับศัพย์ไปเลย

โดยเฉพาะอาหารมาจากภาษาจีนทับศัพย์มากมายจนกลายเป็นภาษาไทยไปเลย 

รูปภาพของ จ๊องหยิ่นฮยุ๋ง

ขออนุโมทนา

หลังก่อตั้งมูลนิธิประจักษ์-ละออ ตั้งคารวคุณ เจ้าสัวประจักษ์ เดินสายสร้างกุศลไม่หยุด  ล่าสุดไปแจกทุนการศึกษาที่หนองบัวลำภูและสร้างอาคารเรียนกงลี้จงซัน ที่ตลาดพลูแห่งละ  1  ล้าน  และมอบสี TOA ให้ผู้ว่าฯ กทม.ซ่อมเมืองกับโครงการ  1  อำเภอ  1  ห้องสมุดในชายแดนภาคใต้...

ที่มา: ไทยรัฐ, 20 ก.ค. 2553

โรงเรียนกงลี้จงซัน เป็นโรงเรียนแรกในชีวิตของไหง จ๊องหยิ่นฮยุ๋ง ครับ.
รูปภาพของ chunlian

โรงเรียน

โรงเรียน กงลี้จงซัน เป็นโรงเรียนแรกในชีวิตของไหงเหมือนกัน แต่ก่อนบ้านอยู่ซอยโรงเจ  ไม่ทราบ คุณ จ๊องหยิ่นฮยุ๋ง จบปีไหน เผื่ออยู่รุ่นใกล้ๆ กัน

รูปภาพของ จ๊องหยิ่นฮยุ๋ง

ไหงจบ ป.4 ปี

ไหงจบ ป.4 ปี 2516  ยินดีที่ได้รู้จักครับ.

รูปภาพของ chunlian

ไหงเพิ่งเ

ไหงเพิ่งเข้าเรียน ป.1 เล็ก  ปีนั้น พี่ชายไหง 2 คน น่าจะอยู่ ป.3 พอดีคนนึงสอบตก เลยมาอยู่ชั้นเดียวกัน กื๋ออาจจะเข้าเรียนพร้อมหงี พี่ชายคนนี้ ชื่อเล็ก (กิมไช์) อีกคนชื่อ อ๊อน (กิมอัง)  โลกมันกลมจัง

รูปภาพของ จ๊องหยิ่นฮยุ๋ง

คำไทยที่มาจากฮากกา


คำไทย

คำจีนฮากกา

เสียงอ่านภาษาไทย

คำจีนกลาง

คีม

เขียม

/

ทื่อ

ถุ่น

/

ผู้

กู้

สะใภ้

心婦/心婢*

เซ็ม เพ

媳婦/媳妇

ออกขี้

屙屎

ออ ซี้

大便

ออกเยี่ยว

屙尿

ออ เนี้ยว

小便

 

ที่มา: หนังสือคำไทยที่มาจากจีน, กวี ไพรัชเวทย์(张国都)

            *http://www.hakka.gov.tw/ct.asp?xItem=15264&ctNode=191&mp=100

ปั้นซั้นขักได้ยินมา

ไทยว่า ขี้ ปั้นซั็นขักหว่า(ว่า) อ๊อ ชี่ฮ์ (ชฮ์=ชมีลมออก)

   "     เยี่ยว        "           อ๊อ เหนี่ยว

   "     อุจจาระ     "           เสียว เปี้ยน   (คำสุภาพ)

   "     ปัสสาวะ     "           ไถ่    เปี้ยน   (    "     มักไม่ค่อยได้ยิน) 

รูปภาพของ อาฉี

小便 & 大便

น่าจะพิมพ์สลับกันนะ 小便 - ปัสสาวะ  : 大便 - อุจจาระ

รูปภาพของ manao120

55555

囤 ถุนแบบนี้ใช่ไหมครับ

รูปภาพของ manao120

ขอบคุณครับ

ขอบคุณครับ 谢谢您

คำจีนที่แปลเป็นไทย

ยกตัวอย่าง จับเลี้ยง หมายถึง สมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็น 10 อย่าง

จับ แปลว่า สิบ เลี้ยง แปลว่า เย็น 

แล้วก๋วยเตี๋ยว ที่แยก ก๋วย แปลว่า, เตี๋ยว แปลว่าอะไร 

ก๋วยจั๊บ ที่แยก ก๋วย แปลว่า, จั๊บ แปลว่าอะไร  

ใครรู้คำแปลช่วยเขียนบอกที ขอบคุณค่ะSmile 

รูปภาพของ อาคม

จับ เขียนไทยแปลเป็นไทย

การเอาสำเนียงจีนมาเขียนเป็นไทย แล้วแปลเป็นไทย เพี้ยนได้ตลอดครับ ยิ่งบ้านเราคนแต้จิ๋วเยอะกว่าส่วนมากจะเป็นสำเนียงแต้จิ๋ว อย่างคำว่า จับเลี้ยง ไม่ได้หมายความว่ามี10อย่างก็ได้ มันก็คำเดียวกันกับก๋วยจับ ก๋วยจั๊บ นั่นแหละ จับ จั๊บตัวเดียวกันเวลากินก๋วยจับ ลองนับดูว่าเขาใส่ของมาให้ครบ10อย่างมั้ย เขาจะใช้ภาษาจีนคำนี้ 什หมายถึง หลากหลาย ปะปน คละเคล้า

ส่วนคำว่าก้วย ก๋วย แปลว่าขนม เตี้ยว เตี๋ยว แปลว่าเป็นเส้นๆ

ก๋วยจับ จีนกลางเรียกว่า จูจ๋า 猪杂 ฮากกาเรียก จูชับ หรือหมูรวมมิตร

จับเลี้ยง ฮากกา เรียก 杂凉 ชับลีอ่อง ชับคือรวมมิตร ไม่เรียกสิบลีอ่อง เพราะมันไม่ได้หมายถึง10อย่าง... 

 

รูปภาพของ อาฉี

粿雜

หาคำที่เสียงใกล้เคียงมาเพิ่มอีก  เรื่องอาหารน่าจะมาทางสายฮกเกี้ยนมากกว่าจีนกลาง ไม่แน่ใจนะว่ามาจากตัวไหน 

ก๋วยเตี๋ยว
粿條 / 粿条  guǒ tiáo

ก๋วยจับ 
粿汁 guǒ zhī / 粿雜 (粿杂)  guǒ zá

ผู้รู้ชี้แนะด้วยนะครับ

หมายเหตุ
ยังพิมพ์ไม่เสร็จเลยอากออาคมตอบให้แล้ว เฉือนเวลากันหน่อยเดียว  555 แต่ไหนๆก็พิมพ์ไปแล้วก็คงไว้ละกันไม่ได้เจตนาเทียบเคียงศัพท์

 

รูปภาพของ แกว้น

ก๋วยจั๊บ จั๊บเลี้ยง

杂(雜)
     
      คำนี้ภาษาฮากกาอ่านว่า “ชาบ” และภาษาแต้จิ๋วอ่านว่า “จั๊บ” มีความหมายว่า คละ หรือคละเคล้า หรือหลากหลาย” เช่น
     
      สินค้าของชำ 杂货 ภาษาฮากกาเรียกว่า “ชาบฟ้อว” และภาษาแต้จิ๋วเรียกว่า “จั๊บห่วย”  แต่ในบางสถานการณ์หมายถึงสินค้าเกรดรอง หรือสินค้าคุณภาพต่ำเช่น อาหารคุณภาพต่ำ เป็นต้น
     
      อาหารคุณภาพต่ำ 杂粮 ซึ่งคงรวมถึงอาหารประเภทจังค์ฟูดด้วย ภาษาฮากกาออกเสียงว่า “ชาบลีหย่อง” และภาษาแต้จิ๋วออกเสียงว่า “จั๊บเลี้ยง” เหมือนกับเครื่องดื่มสมุนไพรดับร้อนที่รู้จักกัน
     
      เครื่องดื่มจั๊บเลี้ยง 杂凉 ภาษาฮากกาเรียกว่า “ชาบลีหย่อง” และแต้จิ๋วเรียกว่า “จั๊บเลี้ยง” หมายถึงสมุนไพรรวมกันหลายชนิดใช้ต้มน้ำดื่มออกฤทธิ์เย็น โดยทั่วไปส่วนประกอบมีไม่ถึงสิบชนิดด้วยซ้ำอย่างที่โกอาคมบอกไว้แล้ว ถ้ามากเกินไปเวลากลางคืนนอนหลับอาจเป็นตะคิวได้นะครับ
     
      ส่วนคำว่าเสิน 什 หรือ “ซีบ” ในภาษาฮากกา หรือ “จั๊บ” ในภาษาแต้จิ๋วนั้น นอกจากแปลว่าสิบแล้วยังแปลว่า “คละเคล้า” ได้ด้วย ความหมายจึงไม่แตกต่างกัน แต่คำนี้มีใช้น้อยมาก 
     
      ถ้าจำไม่ผิดเคยเห็นถุงบรรจุพลาสติกที่แขวนอยู่ในร้านขายยาเขียนคำว่า “ 杂凉 ”หมายความว่าสมุนไพรหลายอย่างออกฤทธิ์เย็น !!!!!!
 
馃(餜)
     
      ก๋วยตี๋ยว 馃条 ภาษาฮากกาเรียกว่า “ก้อวเถี่ยว” หรือ “กั่วเถี่ยว” ภาษาพูดเรียกว่า 版条 “ปั้นเถี่ยว” 
     
      ก๋วยจั๊บ 馃杂 ภาษาฮากกาอ่านว่า “ก้อวชาบ” หมายถึงแผ่นแป้งใส่เครื่องในหมูรวมมิตร
     
      ต้มรวมมิตรเครื่องในหมู 猪杂汤 ภาษาฮากกาเรียกว่า “จูชาบทอง” หรือ “จูตู้นุ้ยทอง” 猪肚内 ในภาษาพูด 
     
      รอถึงออกเจแล้วค่อยทานนะครับ....
 
      (ร่างเตรียมไว้แล้วก่อนเข้ามาเห็นความเห็นของโกอาคม.... อ่านอีกเวอชั่นแล้วกันนะครับ ) 

ตัว什ตัวนี

ตัว什ตัวนี้ที่เราคุ้นเคยกันมากที่สุดก็คือ什么 แต่什นี้มีความหมายหลายอย่าง อีกความหมายหนึ่งคือเหมือนกับ十 เรียกว่า大十

ใช้สำหรับเขียนเชคแสดงจำนวนเงินในช่องตัวหนังสือ นอกจากนี้ก็ยังเป็นหน่วยในกองทหาร หนึ่ง什มี10คน คงมีความหมายเหมือนกับหนึ่งหมู่ของไทยเรา

ทีนี้ก็มาถึง什ในความหมายที่เรากำลังคุยกันเช่น什凉,粿什,ความจริงคำพวกนี้เป็นภาษาพูดหรือ口语 ตัวหนังสือเกิดจากการเทียบเคียงทีหลัง

ซึ่งบางทีก็มาจากผู้ไม่รู้จริงก็ได้ โดยเฉพาะบางคำแพร่หลายในเมืองไทย ที่เมืองจีนไม่ใช้กัน

สำหรับเมืองไทยที่มีคนแต้จิ๋วเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นข้อมูลหรือความรู้เหล่านี้ก็มักจะอ้างอิงมาจากผู้ทรงคุณวุฒิย่านเยาวราช ซึ่ง 什凉ภาษาแต้จิ๋วออกเสียงว่า จับเลี้ยง

 粿什ออกเสียงว่า ก๋วยจับ ซึ่ง十 ที่แปลว่า 10ก็ออกเสียง จับ เหมือนกัน จึงทำให้เข้าใจว่า 什凉หมายถึงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสม10 อย่าง

 粿什คืออาหารที่มีเครื่องปรุง 10อย่าง ความจริงตัว什ยังมีอีกความหมายหนึ่งคือมากหน้าหลายตา ใช้เหมือนกับตัว雜

เราจะเห็นว่าตัว什นี้อ่านว่า shen ก็คือ 什么ใช้แทน 甚麽 อ่านว่าshi หมายถึง10 อ่านว่า shiเหมือนกันแต่มีความหมายว่ามากมายเช่นเดียวกับตัว雜

แต่ไม่มีการอ่านออกเสียงใกล้เคียงกับตัว雜เลย นอกจากอ่านเป็นสำเนียงแต้จิ๋วเท่านั้นดังนั้นจึงสันนิษฐานว่า คำว่าก๋วยจับ 粿什หรือจับเลี้ยง 什凉

เกิดจากการเทียบเคียงโดยยึดเอาสำเนียงแต้จิ๋วเป็นที่ตั้ง แต่ถ้าจะเขียนให้ถูกต้องตามหลักภาษาจีนต้องใช้雜凉กับ粿雜

รูปภาพของ จองกว๊านหมิ่น

จับเลี้ยง-ก๋วยเตี๋ยว-ก๋วยจั๊บ

什凉   =   จับเลี้ยง
 
粿條   =   ก๋วยเตี๋ยว   
 
粿汁   =   ก๋วยจั๊บ      
 
什   -  สิ่งของหลายๆอย่างคละปนกัน
凉   -  เย็น
粿   -  ข้าวเจ้าที่ถูกกรรมวิธีแปรรูปให้เป็นแผ่นเป็นเส้น
條   -  ใหญ่เล็กหนาบางเป็นเส้นๆ 
汁   -  น้ำที่ผ่านการเจือปนสารปรุงแต่งเพื่อให้ข้นขึ้น เช่นเจือปนแป้งมัน 

คุยเรื่อง

คุยเรื่อง 雜 กันต่อ คำๆนี้ที่คนไทยคุ้นเคยมากที่สุด น่าจะเป็นคำว่า จับฉ่าย ซึ่งเป็นสำเนียงแต้จิ๋วอีกเช่นกัน

และก็ทำนองเดียวกันที่เป็นที่เข้าใจมาตั้งแต่อ้อนแต่ออกว่าหมายถึงต้มผักที่มีผักผสมกัน10อย่าง

อีกคำคือคำว่า杂货店คำๆนี้คนไทยไม่ค่อยนิยม จะไปนิยมเรียกว่า ร้านโชห่วย กับร้านขายของชำซะมากกว่า

สงสัยคนแต้จิ๋วไม่นิยมเรียก ร้านจับห่วย แต่สมัยเด็กๆแม่ผมจะเรียก ชับฟ่อเตี้ยม เสมอ

ความจริง คำว่า 杂货 เป็นคำเดียวที่มีบรรจุในพจนานุกรมหลายๆเล่มของจีน นอกจากนี้ในวรรณคดีจีนหลายเรื่องยังมี山东杂货郎 แสดงว่าเป็นคำที่มาตรฐาน

ส่วนคำว่า 粗货 และ 参货 ไม่มีในพจนานุกรม คำว่า杂货,粗货,参货 ทั้ง 3คำนี้ล้วนหมายถึงสิ่งเดียวกัน นั่นคือร้านขายของเบ็ดเตล็ดที่ใช้ในครัวเรือน

ตั้งแต่สากกระเบือยันเรือรบ 杂货หมายถึงมีสินค้าหลายๆอย่างผสมปนเปมั่วซั่วคละเคล้ากันไป

ส่วน 粗货 ก็หมายถึงผลิตภัณท์ที่ผลิตอย่างลวกๆไม่ประนีต

参货ตัวนี้ในภาษาจีนไม่ค่อยได้พบเห็น คงใช้กันเฉพาะถิ่น แต่คนไทยเอามาดัดแปลงใช้ได้หลากหลายมาก

ปกติ参ตัวนี้แปลว่าปะปนมักใช้คู่กันเป็น 参杂 คนไทยเราเรียกร้านขายของชำ ในความหมายเช่นเดียวกันกับ ร้านโชห่วย

ในขณะเดียวกันก็ยังใช้เรียกแปลงเพาะชำ หรือเรีอนเพาะชำ การปักกิ่งไม้บางชนิดที่แพร่พันธุ์ด้วยการปักกิ่ง

เราเรียกว่า ปักชำ ในขณะที่กล้าไม้ยังเล็กต้องการการอนุบาลอย่างใกล้ชิด เราจะหว่านในแปลงเล็กๆ

อนุบาลจนมันเติบโตได้ที่ เราก็จะเลือกต้นที่แข็งแรงไปปลูกในแปลงจริง สำหรับแปลงกล้านี้เราเรียกว่าแปลงเพาะชำ

ที่เราเรียกว่าปักชำหรือแปลงเพาะชำก็เนื่องจากว่า ต้นกล้าเล็ก หรือกิ่งชำนั้นใช้พื้นที่น้อย เราจึงอาจจะปักกิ่งไม้หลายๆชนิด

หรือหว่านเมล็ดหลายๆชนิดปนกันไป เพื่อสะดวกต่อการดูแล หรือการอนุบาลเบื้องต้น

รูปภาพของ นายวีรพนธ์

มีอีก 1 จับ

จับยี่กี

ไม่รู้เกี่ยวข้องกันหรือเปล่า 555

เกี่ยวข้องเลยล่ะ

จับยี่กี เกี่ยวข้องกับการพนัน ระวังคุกนะครับโก๊

อนุมานเท่านั้น

จับหยี่กี น่าจะหมายถึง หวย12ตัว  แถวท่ายางเพชรบุรี คุณแม่ผมนอกจากทำร้านตัดเย็บเสื้อผ้าและรับซักแห้ง  ยังหารายได้พิเศษเลี้ยงลูก โดยเก็บโพยหวย แทงเองบ้าง เอาเปอร์เซ็นขายมาแทง นอกจากหวยรัฐบาลรายเดือนละ2ครั้ง ยังมีหวยจับหยี่กี ออกรายวัน เป็นหวยล้วง เลข1ถึง12 ตาชื่นเป็นเจ้ามือหวย ราวผมป.4 พศ.2511 ตาชื่นถูกยิงตาย วันนั้นมีงิ้วที่ศาลเจ้าแม่ท่ายาง ผมกินก๋วยเตี๋ยวร้านหัวมุมถัดไป1ห้อง หลังจากนั้นแม่ก็ยังส่งหวยสมมติเจ้ามือกำนันอู๊ด บางครั้งแม่ถูกตำรวจจับ ก็ได้กำนันประกันตัวออกมาได้ ปัจจุบัน กำนันนั้นก็ตายไปนานแล้ว แม่ก็ประกอบกิจการค้าใหญ่โตขึ้นมา แม้หวยคุณแม่ก็แค่เล่นอดิเรกส่งเจ้ามืออื่นเล็กๆน้อย มีอยู่สมัยหนึ่งยุคทักษิณเป็นนายก นำหวยใต้ดินยกขึ้นมาเป็นหวยบนดิน  เอารายได้ส่งเด็กเรียนดีแต่ยากจน นั้นเป็นอดีตที่ผ่านมา บันทึกไว้  ปัจจุบันพศ.2556 คุณแม่ผมท่านเสียชีวิตไปกว่า3ปีแล้วครับ

รูปภาพของ แกว้น

ร้านโชวห่วย และร้านจั๊บห่วย ความเหมือนที่ต่างกัน

ขอเสริมเติมก๊อวคากโกนะครับ....
      “จั๊บห่วย” 杂货 เป็นภาษาแต้จิ๋ว และภาษาฮากกาเรียกว่า “ชาบฟ้อว” หมายถึงสินค้าที่แตกต่างกันหลายอย่างคละรวมอยู่ในที่เดียวกัน ส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทบริโภคทั่วไป ข้าวสาร อาหารแห้ง และสินค้าอุปโภคในครัวเรือน ซึ่งไม่รวมถึงสินค้าอุปกรณ์ไฟฟ้าและวัสดุก่อสร้างที่ภาษาแต้จิ๋วเรียกว่า “โหงวกิม” 五金 หรือ “อึ้งกิม” ในภาษาฮากกา
      “ชำ” คำที่ใช้หมายถึงร้านชำในภาษาไทยเป็นคำในภาษาจีนอ่านว่า “ชาน” 掺 ในภาษาจีนกลาง และสำเนียงฮากกา แต้จื๋ว และฮกเกี้ยนอ่านออกเสียงเหมือนกันว่า “ชำ” หมายถึงคละรวมกัน จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกร้านจั๊บห่วยอีกชื่อหนึ่งว่า “ร้านชำ” ในภาษาไทย 
      “โชวห่วย” 粗货 เป็นภาษาแต้จิ๋ว และภาษาฮากกาเรียกว่า “ชูฟ้อว หรือชือฟ้อว” คำว่าชู 粗 นอกจากแปลว่าหยาบในความหมายทั่วไปแล้ว ยังหมายถึงสิ่งของที่มีรูปลักษณ์ ขนาด และน้ำหนักต่างๆกัน ร้านโชวห่วยจึงมีจำนวนหมวดหมู่ของสินค้าหลากหลายมากกว่าร้านจั๊บห่วย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของใช้ส่วนตัวและไม่รวมถึงสินค้าสำหรับบริโภค ข้าวสาร อาหารแห้ง เป็นต้น
      อย่างไรก็ตาม ร้านชำในปัจจุบันมีการปรับตัวนำสินค้าโชวห่วยมารวมขายในร้านด้วยเช่นกัน
      นอกจากนี้คำที่มีความหมายว่า “คละรวม” ในภาษาฮากกาที่มีใช้มากอีกคำหนึ่งคือคำว่า “เลา” 揉 และ
      คำว่า “ชำ” ในภาษาไทยที่มีความหมายว่าปักชำนั้น ภาษาฮากกาใช้คำว่า “ช๊าบ” 插 นะครับ....
รูปภาพของ แกว้น

เกี่ยวแน่นอนครับ....

เกี่ยวแน่นอนครับ.... "คุกตะราง"
รูปภาพของ แกว้น

คำจีนในภาษาไทย “ ปุ้นกี๋ ” และ “ ปุ้นเต้า ”

ขออนุญาตนิตยสารศิลปวัฒนธรรมนะครับ....

“ กี๋ ” 箕 เป็นคำภาษาแต้จิ๋ว และภาษาฮากกาเรียกว่า “ กี ” หมายถึงภาชนะที่มีมาตั้งแต่โบราณของชาวจีน ลักษณะสานด้วยไม้ไผ่ แบ่งตามการใช้งานได้สองชนิดคือ

“ ป๊อกี หรือ ป้อวกี ” 簸箕 ลักษณะทรงกลมแบนราบคล้ายถาดใช้สำหรับบรรจุพืชผัก ผลหมาก รากไม้ในการตากแดดให้แห้ง หรือใช้สำหรับกระดกเพื่อคัดแยกสิ่งเจือปน และเศษดินทรายออกจากกัน ภาษาแต้จิ๋วเรียกว่า “ ปั่วกี๋ ”

“ ปุ้นกี หรือ ปุ๊ดกี ” 畚箕 หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ เต้วกี ” 斗箕 ลักษณะเป็นกระบวยหน้ากว้างใช้สำหรับตักและโกยสิ่งของเพื่อการเคลื่อนย้าย คำในภาษาไทยเรียกตามภาษาแต้จิ๋วว่า “ ปุ้นกี๋ ”

“ ปุ้นเต้ว หรือปุ๊ดเต้ว ” 畚斗 เกิดจากการนำชื่อสองคำข้างต้นมารวมกันโดยตัดคำว่า “ กี ” ที่หมายถึงภาชนะที่ทำด้วยไม้ไผ่ออกไป จึงเป็นที่มาของภาชนะโกยขยะที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน คำในภาษาไทยเรียกตามภาษาแต้จิ๋วว่า “ ปุ้นเต้า ”

รูปภาพของ จองกว๊านหมิ่น

簸箕-畚箕-畚斗

 
 簸箕  -  กระด้ง
 
 畚箕  -  บุ้งกี๋
 
 竹籮  -  กระบุง
 
 畚斗  -  ปุ้นเต้า
 
 畚塵斗  -  ปุ้นเต้าโกยฝุ่น
รูปภาพของ แกว้น

" กี๋ " แฟชั่นหิ้วไข่ไก่ไปร้านโกปียามเช้า

       ก้ำเซี้ยกว๊านหมิ่นโก.... เมื่อคืนนี้ดึกไปหน่อย และตั้งใจจะมาต่อคืนนี้ ช่วยออมแรงได้มากนะครับ

 

       " กี๋ " หรือ " กี " ในควา่มหมายว่า " พวงแก้ว " ของ " ศิลปวัฒนธรรม " นั้นพบว่ามีการใช้พูดโดยทั่วไป แต่ไม่พบว่ามีการบัญญัติความหมายนี้อย่างเป็นทางการ

       ในวัยเด็กได้มีโอกาสเห็นผู้สูงวัยรวมตัวกันเดินแกว่งแขนออกกำลังกายในยามเช้าของทุกวันเสร็จแล้ว ต่างก็หิ้วพวงใบเล็กบรรจุด้วยแก้วที่มีไข่ไก่อยู่ด้วย พร้อมทั้งขวดเกลือ ขวดพลิกไทย และขวดซ้อสแม็กกี่ไปยังร้านโกปี เพื่อดื่มเครื่องดื่มกับไข่ลวก ซึ่งนิยมกันมากในยุคที่คอเรสเตอรอลยังไม่ถูกกำหนดให้เป็นตัวผู้ร้าย

       พวงที่ว่านี้บางครั้งได้ยินเรียกว่า " ชุนกี "  春箕 หมายถึงพวงไข่ และบางครั้งก็ได้ยินเรียกว่า " ฉ่ากี " 茶箕 หมายถึงพวงน้ำชา ดังนั้นพวงแก้วก็คือพวงสำหรับบรรจุแก้วนั่นเอง.... 

รูปภาพของ Pare17

น้องใหม่ ใฝ่รู้

รูปภาพของ อาฉี

ยินดีต้อนรับผู้ใฝ่รู้

ยินดีต้อนรับผู้ใฝ่รู้ครับ

รูปภาพของ วี่ฟัด

ครับยินดีเหมือนกัน

ความไฝ่รู้เป็นนิสัยที่นักปราชญ์พึงมี หรือแบบที่ไอส์ไตย์เคยบอกว่าอย่าหยุดความสงสัยเป็นอันขาด ความสงสัยนี่แหละคือเหตุปัจจัยของความไม่รู้

เคยมีอยู่ครั้งเคยเข้าไปอบรมอะไรสักแห่งหนึ่งจพไม่ได้แล้ว เขาให้เขียนคุณสมบัติอุปนิสัยที่ดีและไม่ดีของเรา ไหง่เขียนข้อดีของไหง่ข้อแรกเลยว่า " ไฝ่รู้ " แต่ดันไปเขียนว่า " ไผรู้  "  เลยกลายเป็นความไฝ่รู้แบบภาคตะวันออกเฉียงเหนือไป

ดังนั้นถ้าหากอยากให้เกิดผลคือความรู้ แล้วไซร้ ด็ต้องสร้างเหตุปัจจัยคือความเป็นคนขี้สงสัยเป็นเจ้าหนูจำไม  ตั้งคำถามว่าทำไมๆๆๆๆๆๆ บ่อย แล้วหาคำตอบด้วยตัวเองโดยการเป็นนักอ่าน อ่านหนังสือ อ่านเว๊ป ถ้ายังไม่ได้คำตอบก็ให้มาตั้งคำถามไว้ เดี๋ยวก็จะมีผู้รู้ ผู้อาวุโสที่ผ่านร้อนผ่านหนาวผ่านฝนมาเยอะกว่ามาตอบให้จ้า

 
[email protected]    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal