หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

เทคนิคการวาดภาพจีนชั้นสูง..

รูปภาพของ เฉินซิ่วเชง

เทคนิคการวาดภาพจีนชั้นสูง
ทำไมภาพเขียนจีนชอบมีต้นไผ่และรูปสัตว์ประกอบเสมอ

ภาพเขียนจีนพอจะแบ่งได้เป็น ๖ ประเภท คือ ภาพภูมิประเทศ , ภาพคน , ภาพดอกไม้และนก ,ภาพต้นไผ่และก้อนหิน , ภาพสัตว์ , ภาพพระราชวังและสิ่งก่อสร้าง  แต่ภาพที่เห็นบ่อยๆเป็นภาพต้นไม้ ดอกไม้และสัตว์

 

ภาพจาก: www.thaimtb.com/cgi-bin/viewkatoo.pl?id=220301

 

ภาพจาก: www.zone-it.com/forum/index.php?topic=109910....

เป็นภาพจาก: www.zone-it.com/forum/index.php?topic=109910....

 

 

พจาก: www.oknation.net/blog/print.php?id=20398

เป็นภาพจาก: www.trekkingthai.com/cgi-bin/webboard/print.p...

 

เป็นภาพจาก: www.tarad.com/puishop/product.detail.php?lang...

 

สีขาวและความว่างในภาพวาดจีน

ภาพวาดจีนที่ใช้พู่กันจีนมีเอกลักษณ์หลายอย่าง   ตั้งแต่การใช้น้ำหนักของหมึก ความจาง-เข้มข้นของหมึก แรงตวัด แรงกดที่เขียนเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกต่าง ๆ ของศิลปินหรือผู้เขียน แต่สิ่งที่ทำให้ภาพวาดจีนแตกต่างจากโลกตะวันตกมากที่สุด นั่นก็คือ สีขาว หรือพื้นที่ที่ไม่ได้วาดนั่นเอง  เราจะคุ้นเคยกับภาพวาดในฝั่งตะวันตกที่ต้องวาดให้เต็มพื้นที่ ลงสีทุกตำแหน่งบนผืนผ้าใบ แต่แนวคิดการวาดภาพของจีนนั้นต่างกันไป   จีนจะไม่วาดภาพให้เต็มพื้นที่ แต่จะแบ่งสีขาวไว้เป็นความว่าง ให้ผู้ที่ดูภาพนั้นได้จินตนาการเอง บางภาพสีขาวก็แทนด้วยหมอก ด้วยเมฆ หิมะ ทะเลทราย น้ำตก บึง หนอง ฯลฯ

ปล่อยและเปิดให้คนได้จินตนาการและซึมซาบ

แม้บางครั้งศิลปินจะเขียนกลอนประกอบลงในภาพวาดไปด้วยเพื่อให้ชัดเจนขึ้น แต่น้ำหนักของตัวอักษรก็บอกอีกนั่นแหละ   ว่าคนวาดต้องการที่จะสื่ออะไร   เส้นหนักแน่น แข็ง เบาบางหรือโรย ๆ บางภาพยังมีการสื่อความหมายเป็นคติสอนใจอีก อย่างเช่นภาพนกตัวใหญ่ทักทายนกตัวเล็ก "หนีห่าว" ที่แฝงความหมายลึก ๆ ถึงการให้ความเมตตาต่อผู้น้อย หรือคนที่ตัวเล็กกว่าเรา  หลังจากได้ลองดูภาพวาดจีนไปเรื่อย ๆ และพิจารณาถึงความว่างที่แฝงจินตนาการให้คนที่เสพงานศิลปะ   นึกถึงอีกเพลงหนึ่งที่พออธิบายเรื่องราวที่ใกล้เคียงกับสีขาวของภาพวาดจีน
ข้อมูลนำมาจากหนังสือ "เส้นสายพู่กัันจีน" ที่สอนวิธีการวาดต้นไผ่ ใบไผ่ด้วยพู่กันจีน  จิตรกรจีนในฮ่องกงและนักเขียนอเมริกันร่วมมือกันเขียน เรียบเรียงเป็นภาษาไทย  โดย ณัฐพัฒน์ เป็นหนังสือเล่มบาง ๆ แค่หกสิบกว่าหน้า แต่อธิบายวิธีวาดและมีรูปประกอบ  ค่อนข้างละเอียด สวยงามและเข้าใจง่าย เราวาดใบไผ่ไม่เป็น     แต่อ่านแล้วรู้สึกว่าถ้าฝึกวาดตามที่หนังสือบอกคงวาดได้ไม่ยาก  nora.exteen.com

 

 

จิตรกรจีนในฮ่องกงและนักเขียนอเมริกันในแคลิฟอร์เนีย  ได้รวมพลังความสามารถในการเขียนคู่มือเล่มนี้ขึ้น เพื่อแนะนำให้รู้จักการเขียนภาพศิลปะที่งดงามของจีน  ในรูปแบบของการเขียนต้นไผ่ มันเป็นงานศิลปะที่สนุก น่าพิศวงและสวยงาม  ศิลปะการวาดภาพต้นไผ่ได้รับการเล่าขานมาว่ามีกำเนิดมาจากเจ้าหญิงลี แห่งราชวงศ์ถัง  นานมาแล้วการวาดภาพเป็นศิลปะล้ำค่าของเธอด้วยรูปแบบการแสดงออกที่งดงามนี้  เจ้าหญิงเลอโฉมผู้นี้จะนั่งอยู่ตามลำพังท่ามกลางชนบทยามราตรี และจ้องดูรูปแบบอันสง่างาม  ตามธรรมชาติของต้นไผ่ ขณะที่เงาของมันพาดผ่านไปตามพื้นดิน ภายใต้แสงจันทร์ เธอใช้พู่กันจีนจุ่มหมึกแล้ววาดภาพเงาของต้นไผ่  เป็นระยะเวลาหลายศตวรรษ จิตรกรในราชวงศ์ซุง หยวน หมิง และฉิง  ได้เลียนแบบงานศิลปะของเจ้าหญิงลี และการวาดภาพต้นไผ่ได้กลายรูปศิลปะของวัฒนธรรมจีนในประวัติศาสตร์และศิลปะของจีน ต้นไผ่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นพืชที่มีศักดิ์ศรีสูงสุด สำหรับชาวจีนแล้ว  ต้นไผ่เป็นต้นไม้ที่เขียวตลอดกาลซี่งมีความมั่นคงและมีไหวพริบในทุกสภาพ การวาดต้นไผ่เป็นรูปแบบศิลปะที่เป็นที่โปรดปรานในทุกราชวงศ์ของจีน ตามบันทึกในสมัยต้นๆ การวาดภาพต้นไผ่มีกำเนิดมาจากราชวงศ์ถังโบราณ  แต่ว่าตัวอย่างของภาพวาดอันงดงามพบในราชวงศ์ซุง โดยจิตรกรที่มีชื่อของสมัยนั้นคือ เวน ตุง (Wen Tung) และซู ชิ (Su Shih) การวาดภาพต้นไผ่เป็นศิลปะที่มีเสน่ห์ และจิตรกรผู้เข้มข้นด้วยอารมณ์หลงใหล ในความงามของทิวไผ่ สามารถใช้เทคนิคในการสร้างสรรค์งานอันปราณีตสวยงามขึ้นมาได้ โดยการใช้ความสามารถอันละเอียดอ่อนที่เรียกว่า “พรสวรรค์ทางศิลปะ” ประกอบกับ “ความรู้ความชำนาญที่ใช้ทำงานได้จริง” หนังสือเล่มนี้จะนำคุณไปสัมผัสกับทั้งสองประการข้างต้น ขอให้ศึกษา เตรียมวัสดุอุปกรณ์ และเริ่มต้นวาดภาพต้นไผ่ที่คุณประทับใจ เช่นเดียวกับเจ้าหญิงลีปฏิบัติในสมัยจีนโบราณ เมื่อเงาของต้นไผ่ที่กำลังแกว่งไกวอยู่สร้างแรงบันดาลใจในงานศิลปะของเธอ

เนื้อหาในเล่มมีทั้งหมดแปดบท

๑. ศิลปะการวาดภาพต้นไผ่
๒. อุปกรณ์ที่ใช้ในการวาดภาพต้นไผ่
๓. เทคนิคการใช้พู่กันจีน
๔. กาววาดลำต้น
๕. การวาดกิ่งไผ่
๖. การวาดข้อไผ่
๗. การวาดใบไผ่
๘. องค์ประกอบของการวาดต้นไผ่





ศิลปะการวาดภาพต้นไผ่


ก่อนที่คุณจะเริ่มวาดภาพต้นไผ่นั้น ขอให้หยุดสักครู่หนึ่งเพื่อสร้างความรู้สึกให้สอดคล้อง กับจิตรกรจีนว่าเขารู้สึกอย่างไรกับต้นไผ่ สิ่งนี้จะทำให้คุณเกิดความสร้างสรรค์ทางศิลปะ  ซึ่งไม่อาจสามารถบรรยายออกมาเป็นคำพูดได้ แต่คุณสามารถเห็นได้จากงานศิลปะ  ของจิตรกรจีนซึ่งเขาคิดถึงความงาม ความอ่อนไหว เคลื่อนไหวของต้นไผ่ ด้วยความรู้สึกที่ยากจะแสดงออกมาด้วยคำพูด  ต้นไผ่เมื่อยังอ่อนอยู่มีความงามเหมือนกับหญิงสาว และสง่างามเหมือนชายหนุ่ม และเมื่อมันเจริญเติบโตขึ้นมันก็เหมือนกับสุภาพบุรุษ ขณะที่ดอกกล้วยไม้แสดงความอ่อนหวาน  ต้นไผ่แสดงพลังที่นุ่มนวลและแข็งแกร่งในตัวของมัน สร้างความรู้สึกอันเป็นเอกลักษณ์ในตัวเอง  และคุณจะเริ่มรู้สึกถึงประสบการณ์ที่จิตรกรชาวจีนรู้สึกเมื่อเขาหรือเธอวาดภาพต้นไผ่ การพิจารณาดูตัวอย่างภาพวาดต้นไผ่ จะทำให้คุณเกิดความซึ้งใจขึ้นมาทันทีกับรูปแบบศิลปะของจีนดั้งเดิม ภาพวาดใช้สีดำบนพื้นสีขาว จิตรกรต้องคิดถึงภาพวาดในเงามืด ความเรียบง่ายและความชัดเจนของสไตล์การวาดภาพต้นไผ่ซึ่งมีความงดงาม ด้วยการแสดงออกถึงความงามที่เรียบง่ายโดยการใช้โทนสีดำไปจนถึงสีขาว ปราศจากสีอื่น บางคนเรียกการวาดภาพต้นไผ่ว่า “ศิลปะของความมืด” (art in blackness) ในขณะที่คนอื่นเรียกว่า “ศิลปะของความว่างเปล่า” (the art of white blankness) รูปแบบการวาดมีเสน่ห์ โดยการป้ายพู่กันสองสามครั้ง และความรู้สึกที่ต่อเนื่องของจิตรกรแสดง ออกมาในรูปของต้นไผ่ ด้วยการใช้น้ำหนักของสีอันละเอียดอ่อนที่แตกต่างกัน วาดฝีแปรงลงบนพื้นกระดาษสีขาว ซึ่งบิรเวณพื่นที่ที่ไม่ได้ถูกพู่กันสัมผัส ได้สร้างรูปแบบของการวาดภาพซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวในการวาดภาพต้นไผ่ บริเวณพื้นที่สีขาวมีความเด่นชัดอย่างลึกซึ้ง และสร้างความรู้สึกถึงความว่างเปล่าซึ่งอยู่ลึกลงไป และเกือบจะไม่เคยพบในรูปแบบอื่นของการวาดภาพด้วยพู่กันเลย


หมายเหตุ ต้นไผ่มีความหมายลึกซึ้งในวัฒนธรรมของจีน แสดงถึงคุณลักษณะความเป็นสุภาพบุรษอันสูงส่ง  ความตรงของลำต้นเสมือนความความสุภาพ ถ่อมตน ความเข้มแข็ง และต้นที่สูงชลูดเปรียบกับความไม่ย่อท้อหรือไม่ยอมแพ้

โดยเฉพาะภาพต้นไผ่ มีความหมายแฝงอยู่ คือ จากลักษณะลำต้นเป็นข้อๆ คนจีนให้ความหมายว่าจะเจริญขึ้นเรื่อยๆดีขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ  ส่วนลักษณะลำต้นที่ตรงไม่มีความหมายว่า  หากเปรียบเป็นคนก็เป็นคนที่ซื่อตรงไม่โกหกหลอกลวง

 

 

องค์ประกอบของการวาดไผ่



ภาพจากเวบ
http://xabusiness.com/chinese-bamboo-paintings.htm



การวาดภาพต้นไผ่ให้  ความสำคัญกับความงามของ 

บริเวณที่เป็นพื้นที่สีขาว  และการสไตล์การแสดงออกของเงา   

และการลงพู่กันที่ชัดเจน  ส่วนประกอบจึงเป็นสิ่งสำคัญ  

องค์ประกอบที่ดีจะต้องมีความสมดุล ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด  

คือ ความสมดุลแบบสบาย ๆ ซึ่งมีส่วนอื่น ๆ   ส่งเสริมให้ความความ  

สมดุลกับส่วนที่เป็นศูยน์กลาง   และความสมดุลกับส่วนที่เป็นศูยน์กลาง  

และความสมดุลที่เป็นระเบียบซึ่งส่วนอื่น ๆ   จะสร้างความ  

สมดุลให้กับส่วนที่เป็นศูยน์กลางแต่ละด้าน  

โดยทั่วไปอาจจะพูดได้ว่าส่วน 

ที่เป็นศูยน์กลางไม่ควรจะวางไว้ที่กลางกระดาษ   

หรือตามเส้นกลางในแนวนอน หรือตามเส้นตัดขวาง

ในการวาดภาพต้นไผ่   มักจะวางภาพที่มีความสมดุลแบบสบาย ๆ   

ส่วนประกอบที่ได้ผลคือ  การวางส่วนที่เป็นศูยน์กลาง  ไว้ส่วนบนหรือ  

ส่วนล่างแกนกลางของภาพ   แล้วให้ความสมดุลด้วยการเสิรมสร้างต่าง ๆ

เข้าไปในแนวทะแยงด้านตรงข้าม   การสร้างภาพในรูปสาม   

เหลี่ยมสามารถนำมาใช้ได้ผลดีเช่นกัน   เมื่อมีส่วนประกอบสามส่วน 

อยู่ในภาพคือส่วนที่เป็นศูยน์กลาง   ส่วนประกอบเสริมและส่วน   ประกอบย่อย  

การวางแผนในการวาดภาพในรูปแบบตัว   "Z" หรือ "S"    

ก็เป็นส่วนประกอบที่ดีในการวาดต้นไผ่     และการพิจารณาใน    

รื่องของมุมมองเป็นเรื่องสำคัญ    รวมทั้งความงามของบริเวณพื้นที่ว่างสีขาว   

ระหว่างการวาดภาพลำต้นหลัก กิ่ง และอื่น ๆ  

ในการวางแผนการวาดภาพต้นไผ่    ให้พิจารณากระดาษสีขาว  

ที่ว่างเปล่าซึ่งจะนำมาวาด   เช่นเดียวกับส่่วนของภาพที่จะวาดลงไป 

จะพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ   ให้คิดถึงส่วนประกอบเพื่อที่จะให้ภาพทั้งหมดที่ออกมา 

ไม่ออกนอกพื้นที่กระดาษอันจำกัด   สิ่งนี้ทำให้สามารถ 

                                                                                                                          วางแผนขนาดขององค์ประกอบที่จะใส่ลงไป   และพัฒนาเสรีภาพในการแสดงออกได้

 

 

รูปไผ่จากหนังสือที่เคยแปะรูปวิธีวาดไผ่เบื้องต้นให้ดู คราวนี้เป็นนรูปในเล่ม ลายเส้นทั้งคมทั้งพลิ้วเลย

 

ชาวจีนได้กล่าวไว้ว่า “ในการที่จะให้งานออกมาดูดีได้นั้น   คุณจะต้องเตรียมเครืองมือให้พร้อมเสียก่อน”
สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่า   คุณภาพของเครื่องมือและลักษณะการใช้เครื่องมือ   มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์งานของคุณโดยตรง  แล้วสะท้อนให้เห็นว่าพู่กันทู่ ๆ หมึกเรียบ ๆ และกระดาษธรรมดา ๆ   ก็สามารถสร้างภาพวาดต้นไผ่ที่มีชีวิตชีวา  และน่าสนใจได้อย่างไร พูดกันโดยทั่วไปแล้ว ส่วนประกอบสำคัญ ๔ อย่างที่จำเป็น
ต้องใช้ในการวาดภาพต้นไผ่คือ พู่กัน หมึก กระดาษ และจานหินผสมหมึก   จิตรกรจีนคิดว่าเครื่องมือเหล่านี้เป็นสิ่งที่หาค่ามิได้
และเคารพเครืองมือในการวาดภาพเสมือน “สมบัติ ๔ อย่างในห้องเรียน” (เหวินฝังซื่อเป่า)
พู่กันจีน

ในศตวรรษที่ห้าก่อนคริสต์ศักราช ได้มีการประดิษฐ์พู่กันจีนขึ้นสำหรับการเขียน (การประดิษฐ์ตัวอักษร) การวาดภาพในสมัยราชวงศ์ฉิง  ได้มีการพัฒนารูปแบบของพู่กันจีนจนเป็นอย่างที่เห็นกันในปัจจุบันนี้  พู่กันจีนมีความละเอียดอ่อนและตอบสนองต่อความต้องการ เส้นและรอยพู่กันที่วาดลงไปนั้นสามารถเป็นไปตามความรู้สึกของจิตรก  โดยพื้นฐานแล้ว พู่กันจีนมีอยู่ ๒ ชนิด พู่กันชนิดขนนิ่มและพู่กันชนิดขนแข็ง  พู่กันมีหลายขนาดด้วยกัน โดยสามารถวาดเส้นที่มีความหนาไปจนถึงเส้นบาง
และจากเส้นที่มีความอ่อนไหวจนถึงเส้นที่มีความมั่นคง  จิตรกรจีนจะพูดถึงพู่กันของเขาในลักษณะที่มีความ “คม” “สม่ำเสมอ” และ “แข็งแรง”  คม (sharp) หมายถึงปลายพู่กัน ความสม่ำเสมอ (even) หมายถึงการลงขนพู่กัน การใช้พู่กันอย่างสบาย ๆ
ความแข็งแรง (strong) หมายถึงขั้นตอนสุดท้ายของภาพวาดที่ปรากฏขึ้น  พู่กันมีส่วนประกอบ ๔ ส่วน ดังที่ได้แสดงไว้ในภาพบนคือ  ด้ามพู่กัน โคนพู่กัน  ตัวพู่กัน  ปลายพู่กัน  หากขนของพู่กันมีความยาวหนึ่งนิ้วครึ่ง โคนพู่กันควรจะเข้าไปอยู่ในด้ามพู่กันหนึ่งนิ้ว  และปล่อยให้ขนของพู่กันยาดของมาครึ่งนิ้วเพื่อใช้ในการวาดภาพ ดังนั้นปลายของพู่กันจะแข็งแรงและใช้งานได้ยาวนาน   ก่อนการใช้พู่กัน ให้นำพู่กันไปชุบน้ำเย็นสะอาดแล้วเช็ดให้แห้งก่อนที่จะจุ่มลงในหมึหลังจากการใช้งานแล้วให้ล้างหมึกออกจากพู่กันจนสะอาด โดยใช้น้ำเย็นและบีบให้แห้ง  ท้ายสุด ให้วางพู่กันโดยให้ปลายพู่กันคว่ำลง ดังแสดงไว้ในภาพ
 

ชุดพู่กันจีน มีพู่กันแท่นฝนหมึก

ในการวาดภาพต้นไผ่ คุณจะใช้พู่กันเฉพาะอย่างกับงานที่แตกต่างกัน โดยทั่วไปพู่กันชนิดขนแข็งใช้สำหรับการวาดเส้น ในขณะที่พู่กันขนนิ่มใช้สำหรับแต้มสี  ถ้าพูดอีกอย่างหนึ่งคือการใช้พู่กันชินดขนแข็งสำหรับวาดจุดที่มีความแหลมคมเช่น เส้นของใบไม้
และใช้พู่กันนิ่มสำหรับวาดภาพที่ต้องการให้หมึกซึม จิตรกรชาวจีนได้แบ่งพู่กันออกดังนี้

พู่กันจีนมักจะถูกเรียกว่า “ปลายปากกา” (penheads) ซึ่งเป็นพู่กันชนิดเดียวกันกับที่ใช้ ในการประดิษฐ์ตัวอักษรของจีน (Calligraphy)

พู่กันชนิดขนนิ่ม
พู่กันทิ (Tih brush) เป็นพู่กันที่มีขนาดใหญ่ มีขนพู่กันยาวกว่าสองนิ้ว
พู่กันไป่หยุง (Pai – Yung brush) ทำด้วยขนพู่กันชนิดนุ่ม  ผสมกับพู่กันที่แข็งกว่า พู่กันชนิดนี้มีทั้งขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก
พู่กันไป่เหวย (Pai – hwei bursh) มักจะใช้สำหรับวาดเส้น

พู่กันชนิดขนแข็ง
พู่กันทิ (Tih brush) เป็นพู่กันขนาดใหญ่ ทำด้วยขนพู่กันชนิดแข็ง

พู่กันกล้วยไม้และต้นไผ่ (Orchid – and – bamboo brush)

พู่กันประดิษฐ์ตัวอักษรและวาดภาพ (Calligraphy and painting bursh)

พู่กันเหวย และพู่กันถั่วแดง (Hwei brush and Red – bean bursh)

นักเรียนศิลปะที่วาดภาพต้นไผ่ ได้รับการแนะนำให้เตรียมพู่กันชนิดขนนุ่มหลาย ๆ ขนาดเพื่อใช้ในการวาดเส้นและแต้มสี และพู่กันชนิดขนแข็งหลายขนาดสำหรับการวาดภาพในรายละเอียด พู่กันจีนจะหมดสภาพหลังจากการใช้งานปลายพู่กันจะเริ่มทู่
แต่อย่าเพิ่งทิ้งไป พู่กันเก่า ๆ สามารถนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ  เช่น เพื่อการระบายพื้นที่ๆมีบริเวณกว้าง การวาดจุดและการวาดเงา
 
ขอบคุณภาพจาก oknation.net



หมึกจีนและจานหิมผสมหมึก

จานหมึกที่เราใช้อยู่ ซื้อมาจากเมืองจีน ทำด้วยหิน เอามาตั้งโชว์ก็สวยดี


ในการวาดภาพต้นไผ่หมึกมีส่วนสำคัญในกลุ่มจิตรกรชาวจีนถือว่าหมึกเป็นอุปกรณ์วาดภาพอย่างหนึ่ง  หากคุณสามารถใช้โทนสีหมึกทั้งอ่อนและเข้มได้อย่างเหมาะสมจะทำให้หมึกมีความแตกต่างอย่างมาก มีคำพูดเก่า ๆ กล่าวว่า “หมึกมีเจ็ดสี” ซึ่งหมายความว่า หมึก สามารถให้สีต่าง ๆ ได้อย่างมากมายหมึกเป็นจิตวิญญาณในการวาดภาพของจีน และเมื่อหมึกถูกนำมาวาดภาพได้อย่างสวยงามแล้วภาพวาดย่อมจะให้ความรู้สึกที่แตกต่างนานับปการ


หมึกจีนอยู่ในรูปของแท่งหมึกแห้ง ซึ่งมีด้วยการ ๓ ชนิด  หมึกที่ทำมากจากเขม่าน้ำมันตั้งอิ๋ว เขม่ายางสน และเขม่าแลคเกอร์ หมึกที่ทำมาจากเขม่าน้ำมัน  ตั้งอิ๋วมีคุณภาพดีที่สุดสำหรับการวาดภาพต้นไผ่ เนื่องจากมีความดำเป็นประกาย  ร้านขายอุปกรณ์สำหรับงานศิลปะจะมีแท่งหมึกนี้จำหน่าย  ให้เลือกชนิดที่เป็นผงละเอียดและผสมกาวเพียงเล็กน้อย มีสีดำสนิท  นอกจากหมึ แท่งแล้ว ร้านจำหน่ายอุปกรณ์สำหรับงานศิลปะสมัยใหม่มีหมึกน้ำจำหน่าย  ซึ่งช่วยประหยัดเวลาในการบทเป็นอย่างมาก

สมมติว่าคุณกำลังจะใช้หมึกชนิดแท่ง ให้เตรียมการดังต่อไปนี้

นำเอาจานหินผสมหมึกและไว้ด้านหน้าตัวคุณ จานหมึกผสมหมึกเป็นหินเรียบเนื้อละเอียด  ซึ่งได้รับการออกแบบให้มีหลุมตื้น ๆ ด้านบนใส่น้ำเย็นสะอาดลง  ในหลุมจานหินโดยให้เปียกจนครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด  จับแท่งหมึกในแนวดิ่งเพื่อให้ปลายแท่งหมึกอยู่บนด้านหินที่ฝน และหมุนแท่งหมึกไปรอบ ๆ เป็นรูปวงกลม ดังแสดงไว้ในภาพ (แต่ถ้าไม่ถนัดใช้หมึกแท่ง จะใช้หมึกแบบสำเร็จก็ได้ แนะนำหมึกของญี่ปุ่น คุณภาพจะดีกว่า)

วิธีใช้หมีกแท่ง-หมีกญี่ปุ่น

ใส่น้ำลงในหลุมจานหินไปเรื่อย ๆ จนคุณได้หมึกสำหรับใช้ในการวาดภาพ  ให้บดหมึกใหม่ไว้ใช้ทุกครั้งที่คุณวาดภาพ ล้างจานหินให้สะอาดหลังจากการใช้งานแล้วเช็ดแห้ง  สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากหมึกมีส่วนผสมกาวอยู่ด้วย  เมื่อหมึกแห้งจะเป็นการยากที่จะล้างออก นอกจากนี้การผสมหมึกเก่ากับใหม่  จะทำให้สีที่ออกมาไม่สวยงาม และทำให้พู่กันเสื่อมสภาพเร็วขึ้น  ความลับในการให้ได้สีหมึกที่สม่ำเสมอกัน คือให้ใส่น้ำเพียงหนึ่งช้อนลงในจานหินเท่านั้น  แล้วบดด้วยแท่งหมึกจนได้หมึกที่มีสีเข้มและเหนียว
แล้วจึงเติมน้ำลงไปอีกหนึ่งช้อนเล็กและบดอีกครั้งจนคุณได้คุณภาพของหมึก  ที่ต้องการในการวาดภาพ เมื่อคุณบดด้วยแท่งหมึก ให้บดช้า ๆ แล้วคุณจะได้หมึกที่มีคุณภาพดี ให้บดแท่งหมึกเบา ๆ เพื่อไม่ให้จานหินชำรุด  และเก็บแท่งหมึกไว้ในกล่องระหว่างที่ไม่มีการใช้งานเพื่อไม่ให้แท่งหมึกแตก

เมื่อคุณะลายหมึกในน้ำแล้ว หมึกสามารถแบ่งได้เป็น ๕ น้ำหนักสี คือ สีถ่าน สีดำเข้ม สีดำ สีเทากลาง สีเท่าอ่อน 

สีถ่านเป็นสีที่มีความเข้มมากและหนาเหมือนกับครีม
ในการทำหมึกให้เป็นสีถ่านจะต้องฝนแท่งหมึกลงในน้ำบนจานหิน
จนกระทั่งหมึกไม่ละลายอีกต่อไปแล้วปล่อยหมึกทิ้งไว้เช่นนั้นสักพักเพื่อ
ให้ส่วนที่เป็นน้ำระเหยออกไป ในการทำหมึกให้เป็นสีดำเข้มนั้น
ก็เพียงเติมน้ำลงไปในหมึกที่เป็นสีถ่านเล็กน้อย
และเติมน้ำลงไปอีกเล็กน้อยเพื่อทำสีดำ
เติมน้ำลงไปอีกเพื่อให้เป็นสีเทากลาง และเติมน้ำลงไปอีกหน่อยเพื่อให้เป็นสีเทาอ่อนซึ่งเป็นเพียงเงาบาง ๆ
ของสีหมึกที่หลงเหลืออยู่เท่านั้น ภาพล่างแสดงน้ำหนักสีของสีดำที่แตกต่างกัน

คุณสามารถทดสอบโทนสีที่คุณทำออกมา โดยการใช้พู่กันแต้มหมึกเล็กน้อยแล้วป้ายฝีแปรงเร็ว ๆ ลงบนกระดาษ
ใช้จานรองสะอาด ๆ (หรือจานหลุม) พร้อมกับน้ำเล็กน้อยแล้วนำพู่กันลงไปคนจนคุณได้โทนสีที่คุณต้องการ
การเตรียมสีจึงเป็นอันเสร็จเรียบร้อย หลังจากการวาดภาพในแต่ละตอนให้ล้างจานหินผสมสี
และผสมหมึกใหม่แต่ละครั้ง แล้วรักษาแท่งหมึกหมึกให้สะอาดโดยการล้างน้ำอยู่เสมอ
ให้เก็บแท่งหมึกในที่มืด และไม่ควรแช่ทิ้งไว้หรือให้โดนน้ำ ดังที่ได้กล่าวไว้แล้ว
ควรมีกล่องไว้บรรจุแท่งหมึกเพื่อการเก็บรักษาที่ดี เนื่องจากหมึกแท่งที่ชื้นจะทำให้หมึกเป็นก้อนหยาบ ไม่สะดวกต่อการใช้งาน

กระดาษจีน

โดยพื้นฐานแล้ว การวาดภาพต้นไผ่โดยการใช้โทนสีของหมึกเหมือนกับการวาดภาพสีน้ำโดยใช้สีดำนั่นเอง ดังนั้นอาจจะต้องใช้กระดาษสำหรับสีน้ำ ในประเทศจีน (ร้านส่วนมากมีกระดาษนี้จำหน่าย)  กระดาษสวน (Hsuen paper) เหมาะสำหรับการใช้งานที่สุด ไม่ว่าจะใช้กระดาษอะไรก็ตาม  ให้ดูคุณภาพของกระดาษก่อนวาดภาพ เพื่อให้คุณทำงานได้อย่างไม่มีอุปสรรค กระดาษจะต้องแน่น แข็ง  ไม่มีรอยเปื้อนและเหมาะสมที่จะใช้กับหมึก  กระดาษสวนมีอยู่ ๒ ชนิด ชนิดหนึ่งดูดซึมหมึกได้ดีเมื่อวาดด้วยพู่กัน  อีกชนิดหนึ่งลงสารส้มไว้จึงทำให้ไม่ดูดซึมหมึกและเหมาะสำหรับการวาดภาพที่ต้องใช้รายละเอียด  นอกจากกระดาษแล้วในทางตะวันออกบางครั้งจิตรกรวาดภาพลงบนผ้าไหม  ในการใช้ผ้าไหมเพื่อจุดประสงค์ดังกล่าว ผ้าไหมลิงบางชนิด (Thin “Ling” silk)ได้นำมาใช้ในการวาดภาพ โดยจะต้องลงสารส้มและแป้งเปียกก่อนที่จะน้ำมาใช้วาดภาพ

นอกจากกระดาษสวนแล้ว ยังมีการใช้กระดาษเหมียนในบางโอกาส (Mien paper) กระดาษชนิดหลังนี้ทำมาจากฝ้ายและสามารถดูดซึมน้ำได้เป็นอย่างดี  และถือว่าเป็นกระดาษดิบ (Raw paper) ซึ่งในเมืองไทยเรียกกระดาษชนิดนี้ว่า “กระดาษสา”
เมื่อกระดาษดิบได้รับการเคลือบด้วยยางสนและสารส้มก็จะเปลี่ยนเป็นกระดาษชนิดไม่ดูดซึม  กระดาษดิบเหมาะที่จะใช้กับงานที่ต้องใช้ “ผิวกระดาษขรุขระ”  เท่านั้น กระดาษสวนอย่างดีเรียกอีกอย่างว่ากระดาษข้าว  เป็นกระดาษขนาดใหญ่ เช่น ขนาด ๔, ๕, ๖ ฟุต ต่อม้วน ดังนั้นจึงสามารถวาดภาพใหญ่ ๆ ได้  นอกจากนั้นยังมีเกรดที่แตกต่างกัน โดยใช้ชื่อเรียกที่แตกต่างกัน เช่น กระดาษสวนเยนเหมียน กระดาษสวนยูเพน  กระดาษสวนกังสองชั้น กระดาษสวนกังชั้นเดียว กระดาษสวนที่ได้มาจากต้มและตี
กระดาษสารส้มซับเฉียน กระดาษสวนเต้าหู้ จิตรกรจีนจึงมีกระดาษมากมายให้เลือกเพื่อนำไปใช้งาน ในการใช้หมึกกับกระดานั้น ให้พยายามใช้พู่กันวาดชั้นเดียว  และให้พู่กันวาดอย่างรวดเร็วเพื่อไม่ให้หมึกเลอะหรือซึมขยายออกบนกระดาษมากเกินไป
ใช้หมึกสีดำอ่อนวาดลงบนกระดาษก่อน และในขณะที่กระดาษยังเปียกอยู่ให้ลงหมึกสีถ่านและสีดำเข้ม  เพื่อให้โครงสีรวม ๆ ของภาพก่อน ภาพวาดจะมองดูชุ่มชื้น  สีหมึกที่ทับกันอยู่นั้นจะต้องระมัดระวังอย่างดี ห้ามวาดทับซ้ำแล้วซ้ำอีกบนกระดาษ
จะทำให้กระดาษช้ำและรูปภาพจะดูเลอะไม่สะอาดสดใส

อุปกรณ์ทั้งหมดที่นักวาดภาพต้นไผ่ต้องใช้

๑.​ กระดาษสำหรับวาดภาพ
๒. พู่กันจีนหลายขนาด
๓. จานหิมผสมหมึก
๔. ถ้วยแบ่งน้ำ
๕. จานแบ่งโทนของหมึก
๖. ที่ทับกระดาษ
๗. ที่บรรจุหมึกแห้ง
๙. ที่พักพู่กัน

ข้อความในบล๊อคนี้นำมาจากหนังสือ "เส้นสายพู่กันจีน"
เรียบเรียงโดย ณัฐพัฒน์
พิมพ์ที่ สนพ.วาดศิลป์ พับลิชชิ่ง
บริษัทธนบรรณจัดจำหน่าย
ราคา ๑๑o บาท

วาดไผ่แบบลงสี




คลิปวาดไผ่กับนก เป็นภาพลงสี


คลิปรวมภาพไผ่จีน

เทคนิคการใช้พู่กันจีน
จิตรกรจีนผู้มีชื่อเสียงเป็นที่เคารพของคนจีนสมัยโบราณ
ได้สั่งสอนนักเรียนเกี่ยวกับการวาดภาพต้นไผ่ด้วยวิธีการที่น่าประทับใจดังนี้

“ก่อนการวาดรูป พวกเราควรจะนึกไว้ก่อนว่าจะเคลื่อนลีลามืออย่างไร”  
การเคลื่อนไหวลีลามือในการวาดภาพก็เหมือนกับการเคลื่อนไหวมือในการประดิษฐ์ตัวอักษร   
คุณควรจะนั่งหรือยืนตัวตรง หากคุณต้องการวาดภาพบนกระดาษ พัด ที่มีขนาดไม่เกิน ๒ ตารางฟุต  
ด้วยท่าทางที่เหมาะสมคุณอาจจะนั่งก็ได้   สำหรับภาพวาดที่มีขนาดใหญ่คุณจะต้องยืนตรง  
โดยให้แขนและข้อมือออกจากโต๊ะ ความจริงแล้วคุณกำลังถือพู่กันอยู่ โต๊ะควรจะมีความสูง ๔/๑o 
ของความสูงของคนวาด และบนโต๊ะควรจะกว้างและเรียบ    คลุมด้วยผ้าปูที่นอนเก่าๆหรือกระดาษหยาบที่ดูดซับได้เป็นอย่างดี  เพื่อป้องกันไม่ให้หมึกเปื้อนทะลุพื้นผิวโต๊ะ   นอกจากนี้กระดาษหยาบที่ปูไม่ควรจะยับหรือย่น   ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการวาดรูป   ผู้ที่เริ่มฝึกหัดควรจะเรียนรู้การจับพู่กันให้ห้อยลงเสียก่อน
และควรจะซื้อที่ใส่หมึก แท่งหมึก ที่แบ่งน้ำ  และชามจีนอีกสักสองสามใบ   สำหรับผสมหมึกและแต้มหมึก  
นอกจากนั้นควรจะมีพู่กันขนตั้งแต่ชนิดนุ่มไปจนถึงขนแข็ง หรือว่าทั้งสองอย่างโดยมีขนาดแตกต่างกัน  
วางแท่งหมึกและพู่กันทางด้านขวาของโต๊ะในการวาดรูป    ให้แบ่งพื้นที่ออกเป็นสองสามส่วน  เมื่อวาดแต่ละส่วนเสร็จแล้วให้แขวนภาพ   แล้วมองในระยะไกลว่าเป็นที่น่าพอใจหรือไม่หลังจากนั้นจึงวาดส่วนต่อไป   ในกรณีที่มีเรื่องราวในภาพที่ยุ่งยากซับซ้อน   ซึ่งจำเป็นต้องมีการจัดวาดองค์ประกอบและวาดลงรายละเอียดที่ต้องเสียเวลามาก“ใช้เวลาสิบวันในการวาดภูเขา   และ ห้าวันในการวาดลำธาร”    ซึ่งก็หมายความว่าจิตรกรควรจะวางแผนการวาดภาพในแต่ละส่วนเป็นอย่างดีจนกว่าภาพจะเสร็จ
ความสำเร็จสูงสุดในการวาดภาพต้นไผ่ คือการเรียนรู้ที่จะใช้พู่กันจีนอย่างชำนาญ

ก่อนอื่น ต้องเรียนรู้ในการจับพู่กันจีนเพื่อการวาดภาพอย่างถูกต้อง ให้จับด้ามพู่กันให้แน่น

  
โดยวางนิ้วหัวแม่มือของคุณไปทางด้านซ้ายของพู่กันจีน และนิ้วชี้และนิ้วกลางอยู่ทางด้านขวา  การทำเช่นนี้ทำให้จับพู่กันได้มั่นคง นอกจากนี้ยังช่วยนิ้วก้อยและนิ้วนางช่วยในการประคองพู่กันด้วย  การจับเช่นนี้ทำให้ด้ามพู่กันอยู่ในแนวตั้งกับกระดาษ ดูภาพประกอบ  เมื่อวาดภาพต้นไผ่เล็ก ๆ ผู้วาดอาจจะนั่งลงบนเก้าอี้และพักข้อมือลงบนโต๊ะเบา ๆ ท่านี้ยังเหมาะสมกับการวาดภาพที่เนี๊ยบและมีการใส่รายละเอียดมาก  ในการวาดภาพขนาดใหญ่หรือภาพที่มีเนื้อกว้าง ข้อมือและข้อศอกควรจะยกขึ้นเหนือโต๊ะและการจับพู่กันควรจะอยู่ใกล้กับปลายด้ามพู่กัน   การวางข้อมือในลักษณะนี้ทำให้เคลื่อนไหวได้กว้างขึ้น และทำให้การเคลื่อนไหวของพู่กันแน่นอนขึ้น คือสามารถใช้พู่กันได้ในพื้นที่ ๆ กว้างที่สุดและสามารถใช้แรงได้มากที่สุดเช่นกัน  การวาดภาพโดยการจับพู่กันไว้ในแนวดิ่งกับผิวกระดาษนี้ เรียกว่าการวาดโดยใช้จุดศูยน์กลางของพู่กัน  และมักจะใช้ในการวาดภาพต้นไผ่ไม่ว่าจะถือพู่กันในมืออย่างไรก็ตาม

การควบคุมพู่กันมีขั้นตอนพื้นฐาน ๕ ระดับด้วยกัน

การวางลง
การลากพู่กันขึ้น
การยกขึ้น
การกด
การเปลี่ยนทิศทาง

การวางลง คือการใช้พู่กันวาดลงบนกระดาษตามที่ต้องการ ผู้วาดจะกำกับพู่กันเพื่อวาดตามความต้องการ จากซ้ายไปขวา จากบนมาล่างและในทางกลับกันอื่น ๆ เขาอาจจะลากปลายพู่กันไปข้างหน้าเหมือนกับดึงเส้นเชือกหรือผลักมันราวกับผลักก้อนหิน

วิธีการใช้พู่กันที่แตกต่างกัน จะให้คุณภาพการวาดที่แตกต่างกันในการแสดงความเบา ความหนัก ความแน่น ความแม่นยำ ความกระด้าง ความสง่างาม และอื่น ๆ ทันทีที่วาดภาพเสร็จ  พู่กันจะถูกยกขึ้นจากกระดาษ การยกพู่กันจะต้องทำอย่างประณีตและสะอาด บางครั้งต้องยกพู่กันเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ขณะที่ปลายพู่กันจะยังคงสัมผัสกระดาษอยู่  การทำเช่นนี้เป็นประโยชน์ในการวาดเส้นบาง ๆ อย่างรวดเร็ว ปลายพู่กันเมื่อถูกกดลงบนกระดาษ  เส้นหมึกก็จะหนาและหนักมากขึ้นเท่านั้น ตัวอย่างต่อไป คือจิตรกรจะเปลี่ยนทิศทางที่จะวาด  ทำให้เกิดการเปลี่ยนทิศทางของเส้นที่วาด ด้วยการควบคุมพู่กันดังกล่าว  เส้นที่วาดอาจจะปรากฏออกมาในลักษณะที่ราบเรียบหรือขรุขระ  และอาจแสดงความว่างเปล่าหรือเส้นหมึกที่ขาดไม่ต่อเนื่อง   โดยใช้หมึกที่ปลายพู่กันจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น  นอกจากการวาดภาพโดยใช้จุดศูยน์กลางของพู่กันมาแล้ว ยังมีเทคนิคการใช้ปลายพู่กันและด้านข้างของพู่กัน  และเป็นที่เข้าใจกันเป็นอย่างดีว่า พู่กันได้ถูกสร้างขึ้นมาอย่างประณีตเพื่อการใช้งาน  เช่นขนซึ่งเป็นแกนของพู่กันมีความยาวมากกว่าที่อยู่โดยรอบ ดังนั้นในการใช้จุดกลางพู่กันให้เหมาะสมนั้น  จะต้องจับพู่กันอย่างมั่นคงและตั้งตรง เพื่อให้แกนอยู่ตรงกลางในขณะที่ลงพู่กันและมักใช้สำหรับการวาดโครงร่าง จุด และอื่น ๆ เมื่อใช้ด้านข้างของพู่กันด้ามพู่กันจะเอียงไปด้านหนึ่ง ตัวพู่กันและปลายพู่กันจะอยู่ด้านริมของด้ามพู่กัน  เทคนิคการใช้ด้านข้างของพู่กัน ใช้สำหรับการป้าย การทำโทนสีเข้มไปถึงสีอ่อน



เนื่องจากเรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญในการใช้พู่กันจีนของคุณ จึงขอทบทวนจุดต่าง ๆ ดังนี้

การใช้พู่กันวาดภาพอาจจะแบ่งออกเป็น “การวาดภาพโดยใช้จุดศูยน์กลางของพู่กัน” (การวาดภาพในแนวตั้ง) และ “การวาดโดยใช้ด้านข้างของพู่กัน” (การวาดภาพในแนวเอียง)ในการวาดโดยใช้จุดศูยน์กลางของพู่กันโดยทั่วไปมักจะใช้พู่กันชนิดขนแข็ง
และพู่กันชนิดขนนุ่มสำหรับการวาดโดยใช้ด้านข้างของพู่กัน จะจับพู่กันในท่าซึ่งจิตรกรจีนเรียกว่า  “พู่กันห้อย” เพื่อวาดโดยใช้ด้านข้างของพู่กันดังแสดงไว้ในภาพ  พูดกันโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว ในการวาดโดยใช้ด้านข้าง  พู่กันควรจะเอียงทำมุม ๓o องศากับหน้ากระดาษ การใช้ด้านข้างของพู่กันสามารถทำให้การลงสีอ่อนได้รวดเร็วโดยใช้พู่กันขนาดใหญ่  นอกจากนี้ยังมีการวาดด้วยพู่กันอีกหลายชนิดที่ควรจะทราบเช่นกัน
“การวาดเป็นจังหวะ” พู่กันจะเคลื่อนไปเหมือนกับการแตะ เช่น การวาดจุด
“การวาดอย่างรวดเร็ว” พู่กันจะเคลื่อนไหวลากลงบนหน้ากระดาษอย่างรวดเร็ว
“การวาดแบบลาก” ปลายของพู่กันเคลื่อนนำไปก่อน และส่วนที่เหลือตามไปด้านหลัง
ภาพต่อไปนี้แสดงการลงพู่กันด้วยเทคนิคต่าง ๆ

ในการวาดภาพต้นไผ่ให้จำกฎเหล่านี้ไว้คือ แกนด้านข้างของพู่กันจีนมีความเชื่อมโยงกันภายใน  ทำให้คุณมีเครื่องมือทางศิลปะที่มีความยืดหยุ่น  เมื่อคุณซื้อพู่กันจีนอันใหม่ คุณจะพบว่าขนของพู่กันมีปลอกสวมป้องกันอยู่  ให้เอาปลอกทิ้งไปและอย่าพยายามหาปลอกมาทดแทนเพราะมันจะทำลายขนของพู่กัน  ในการเตรียมพู่กันเพื่อการวาดรูป ให้ล้างพู่กันด้วยน้ำเย็นแล้วกดพู่กันลงเบา ๆ  แล้วพลิกพู่กันพื่อให้ขนแยกออกจากกัน ต่อจากนั้นให้กลิ้งขนพู่กันไปด้านข้าง  เพื่อกำจัดน้ำส่วนเกินออก ตอนนี้ก็พร้อมที่จะจุ่มลงในหมึกแล้ว  ให้ใส่หมึกเล็กน้อยลงในจานสีตื้น ๆ พร้อมกับพู่กันและเติมน้ำลงไปจำนวนเล็กน้อย  คนให้เข้ากันและคุณจะได้หมึกโทนสีเทา ยิ่งเติมน้ำมากขึ้นเท่าใดสีเทาของหมึกก็จะอ่อนลงเท่านั้น  กลิ้งพู่กันไปที่ด้านข้างของขวดหมึกเพื่อกำจัดหมึกส่วนเกินออกไป และห้ามจุ่มหมึกโดยใช้ปลายพู่กันทิ่มหรือกระแทกแรง ๆ  บนจานสี เพราะจะเป็นการทำลายขนของพู่กัน ทำให้ปลายขนพู่กันแตก จำไว้ว่าพู่กันเป็นหนึ่งใน “ทรัพย์สมบัติสี่อย่างในห้องเรียน”  ในการใช้พู่กันอย่างชำนาญนั้น คุณจะต้องเข้าใจความสามารถของมัน  รวมทั้งธรรมชาติและความดูดซึมของกระดาษด้วย  สิ่งเหล่านี้เป็น “จุดที่ดี” ของการวาดภาพในการวาดภาพในการจัดการกับงานศิลปะของคุณ  วัสดุได้เป็นธรรมชาติอย่างที่สองรองจากตัวคุณ และเมื่อควบคุมพู่กันได้แล้วนั้น  คุณจะสามารถวาดภาพได้อย่างสบายใจ  และทำให้คุณมีความชำนาญในศิลปะการวาดภาพอย่างมีอิสระในอารมณ์นักเขียนภาพผู้ยิ่งใหญ่ของจีนโบราณได้กล่าวไว้ว่า “ในการที่จะเป็นจิตรกรที่ดี   ผู้นั้นจะต้องเป็นนายของพู่กัน ไม่ใช่เป็นทาสของพู่กัน”

ข้อความในบล๊อคนี้นำมาจากหนังสือ "เส้นสายพู่กันจีน"
เรียบเรียงโดย ณัฐพัฒน์
พิมพ์ที่ สนพ.วาดศิลป์พับลิชชิ่ง
บริษัทธนบรรณจัดจำหน่าย
ราคา ๑๑o บาท

นึกได้ว่าเคยซื้อหนังสือภาพวาดของจีนไว้เล่มนึงเลยไปค้นดู ในเล่มมีรูปเกี่ยวกับไผ่ส่วนใหญ่  หน้าแรกๆมีรูปบอกวิธีวาดพร้อมคำบรรยาย เขียนตัวแบบหวัดเลยอ่านไม่ออกว่าเขียนอะไรมั่ง  มีทั้งหมดแปดรูป สแกนมาให้ดู ไว้บล๊อคหน้าจะให้ดูรูปสวยๆในเล่มค่ะ

หน้าปก




















บีจีจากเวบ chaparralgrafix.com
ไลน์จากคุณขุนพลน้อยโค่วจง



Free TextEditor
วาดใบไผ่


การวาดใบไผ่อย่างมีศิลปะเป็นสิ่งสำคัญของการวาดภาพต้นไผ่ที่ประสบผลสำเร็จ "ใบ"
บอกถึง "อารมณ์" ของต้นไผ่ และจะมีการวางรูปแบบของใบไผ่ที่แตกต่างกันมากมาย
บางครั้งใบไผ่ก็อยู่ใกล้กัน บางครั้งก็ห่างกันและบางครั้งก็ไขว้หรือทับกัน
นอกจากนั้นยังมีใบไผ่ที่พัดไหวตามลม และใบไผ่ที่สงบนิ่ง ใบไผ่ที่อยู่ท่ามกลาง
แสงอาทิตย์และสายฝน มันจะเปลี่ยนแปลงเรื่อยไป ขอให้เรียนรู้การวาดใบไผ่โดยการปฏิบัติตามคำแนะนำดังนี้

ในการวาดใบไผ่ให้วาดใบเอียง ๆ และฝีแปรงของพู่กันควรจะมีพลังอารมณ์ที่เด็ดเดี่ยว
โดยการวาดครั้งเดียว หากลังเลไม่แน่นอนใจ ใบจะดูหนาและขาดความแหลมคม
การวาดใบต้องใช้ความเข้มแข็งของข้อมือในการใช้พู่กัน ไม่ใช่การเคลื่อนไหวนิ้วมือ
แต่ละครั้งที่ลงพู่กันไปควรจะมีแรงกดและสร้างความแหลมที่ปลายใบ
ให้สังเกตว่าส่วนฐานของใบจะต้องกลมและเต็ม จากนั้นเรียวเล็กลง
ไปจนถึงจุดตรงปลาย ในการให้ได้ผลเช่นนี้จะต้องวาดพู่กันอย่างรวดเร็ว
กดพู่กันลงที่ส่วนฐานของใบ แล้วค่อย ๆ ปล่อยแรงกดขณะที่พู่กันเคลื่อนไปตามใบ
และจากนั้นเรียวลงไปจนถึงปลายใบให้สังเกตดังตัวอย่าง

กดพู่กันให้กว้างที่บริเวณฐานและลดแรงกดและความหนาลงจนไปถึงปลาย

การวาดใบไผ่ ให้ใช้หมึกที่มีความเข้มข้นของน้ำหนักสีระดับกลางและโทนสี
ที่แตกต่างกันตามต้องการ หากกิ่งไผ่เป็นสีเข้ม ใบควรจะเป็นสีเข้มด้วย
และหากกิ่งเป็นสีอ่อน ใบก็ควรจะเป็นสีอ่อน เพื่อให้เกิดความกลมกลืนในภาพ
ให้แยกลำต้นที่อยู่ด้านหน้าจากต้นที่อยู่ด้านหลัง โดยการใช่ช่องว่างที่เหมาะสม
หมึกสีเข้มใช้กับใบที่อยู่ด้านหน้า และหมึกสีอ่อนใช้กับใบที่อยู่ด้านหลัง

ในการวาดภาพใบไผ่ที่อยู่เป็นกลุ่ม ให้ใช้นำ้หนักหมึกสีเข้มกับใบไม้ที่อยู่ด้านหน้า
และใช้นำ้หนักหมึกสีอ่อนสำหรับใบที่อยู่ด้านหลัง
จากนั้นให้วาดใบที่อยู่กับก่ิงหลักด้านหน้าก่อน แล้วจึงวาดใบที่อยู่ด้านข้างที่ด้้านหลังดังภาพ



การวาดใบอ่อนและใบแก่ของไผ่ได้แสดงไว้ในภาพข้างล่าง
ใบอ่อนมีลักษณะแคบและสั้นกว่า ขณะเดียวกันก็ดูอ่อนโยนและมักจะผลิออกจาก
ปลายกิ่ง ส่วนใบแก่จะกว้างและยาวกว่า ตลอดจนมีลักษณะกิ่งใบแข็งแรง

ภาพบนแสดงให้เห็นว่าใบที่อยู่ติดกับลำต้น ไม่ควรยื่นออกไปมากและควรเชื่อมต่อกัน
ในขณะที่ใบที่อยู่ไกลออกไปควรจะคลี่ออกและดูเจริญเติบโต

การวาดใบแบ่งขั้นตอนออกเป็น ๒ ขั้นตอนคือ
๑. ใบชี้ขึ้นข้างบน
๒. ใบชี้ลงข้างล่าง

นอกจากนั้นใบไผ่ในวันที่อากาศสดใสจะชี้ขึ้นข้างบน
ขณะที่ใบไผ่ในวันที่ฝนตกมักจะชี้ลงข้างล่างเสมอ



คราวนี้เรามาเรียนรู้การวาดใบไผ่ในวันที่อากาศแจ่มใส จากการลงพู่กัน ๑ - ๗ ครั้ง​
(หนึ่งครั้งต่อใบ ๑ ใบ) และแต่ละลีลาของปลายพู่กันมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป

การลงพู่กันต่าง ๆ ที่ใช้ในการวาดใบไผ่

ต่อไปนี้จะได้เรียนรู้การวาดใบแก่ หรือใบไผ่ที่เห็นในวัันฝนตกเมื่อใบชี้ลง

ด้วยการฝึกฝนคุณจะพบว่า คุณสามารถวาดภาพเหล่านี้โดยเพียงแต่กวาดพู่กันจีนอย่างรวดเร็ว
และภาพก็จะเสร็จเรียบร้อยในเวลอันสั้นและรวดเร็ว

ในลักษณะนี้เรียกว่า "หางนกนางแอ่น" ซึ่งมี ๓ สไตล์ด้วยกันคือ
ปรกติเอนไปทางขวา เอนไปทางซ้าย (ลงพู่กัน ๓ ครั้ง ๑ ครั้ง ต่อ ๑ ใบ)

ให้สังเกตการจัดใบเป็นกลุ่มโดยการรวมลักษณะการลงพู่กันข้าง
ต้นเข้าด้วยกันนั้น มีรูปแบบเป็นอย่างไร ดังภาพที่แสดง

ในการวาดกลุ่มของใบไผ่ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ให้วาดใบไผ่ด้วยการลงพู่กัน ๕ ครั้ง
ดังภาพที่แสดงแล้วรวมเข้าด้วยกัน


ภาพนี้เป็นวิธีหนึ่งของการลงพู่กัน ๑o ครั้งในการวาดใบไผ่
ซึ่งใบด้านบนโน้มลงและกลืนไปกับใบด้านล่าง รูปแบบของใบไผ่และกลุ่มของใบไผ่มีมากมายหลายวิธี
มันจะช่วยให้จิตรกรมีเสรีภาพในการแสดงออก

ในการควบคุมเสรีภาพในการแสดงออกนั้น เราจะต้องพิจารณาจำนวนรูปแบบต่าง ๆ
ของใบซึ่งจะช่วยเสริมภาพที่ปรากฏออกมา เช่น การลงพู่กันซึ่งแสดงออกถึงใบที่อยู่ปลาย
สุดของกิ่งในวันที่ฝนโปรยลงมา ใบเหล่านี้จะถูกวาดให้อยู่ในลักษณะชี้ลงและอยู่ในแนวตั้ง

ภาพชุดต่อไปแสดงให้เห็นใบไผ่ที่มีลักษณะเอนอย่างง่าย ๆ

ใบไผ่เมื่อถูกลมพัดกระหน่ำทำให้เอนไปด้านขวา

ใบไผ่เมื่อถูกลมพัดเบา ๆ ทำให้เอนไปทางด้านซ้าย


ภาพชุดต่อไปแสดงให้เห็นถึงการลงพู่กันอย่างง่าย ๆ
(ทั้งในแนวดิ่งหรือเอนไปทางซ้ายหรือเอนไปทางขวา) รวมทั้งแสดงว่าใบที่ปลายกิ่ง
มีรูปแบบอย่างไรในวันที่อากาศแจ่มใส ใบต้องดูสวยงามและสดชื่น
คุณควรจะรู้แบบฟอร์มต่าง ๆ เหล่านี้ไว้ เพราะมันจะทำให้คุณสามารถวาดรูปได้หลากหลาย


รูปแบบของใบไผ่ที่สดชื่นมีความเป็นประกาย จะพบได้ที่ปลายกิ่งไผ่ในวันที่
อากาศอบอุ่นกำลังสบาย ในการวาดใบไผ่ไม่ควรปฏิบัติดังนี้

ห้ามวาดใบไผ่ที่มีลักษณะเหมือนกับใบพืชที่มีลักษณะกลมมน
หรือเมื่อวาดให้เรียวก็ใช้การวาดแบบรวดเร็ว ดังภาพที่แสดง


ใบไผ่มีลักษณะพิเศษในตัวมันเอง ซึ่งจะต้องคงลักษณะนี้ไว้ ใบไผ่
ไม่ควรจะวาดแยกออกมาแบบแข็ง ๆ เหมือนนิ้วมือทั้งห้านิ้วของเราเอง
หรือว่าสานกันไปมาดังภาพที่ได้แสดง

การจัดใบไผ่ขั้นพื้นฐานมี ๒ อย่างคือ ในแนวนอนกับแนวตั้ง
ซึ่งการผสมผสานของการจัดกลุ่มใบเป็นสิ่งสำคัญ ที่ทำให้เกิดความสง่าและสวยงาม
ก่อนอื่นเราจะศึกษาการจัดใบในแนวนอน ซึ่งใบต่าง ๆ จะอยู่รวมกลุ่มในแนวนอน
ใบหนึ่งอยู่เหนืออีกใบหนึ่ง ดังภาพแสดงการจัดกลุ่มใบด้านล่าง


ในการจัดกลุ่มให้สวยงามเช่นนี้ จะต้องวาดใบตามลำดับดังแสดงไว้ในภาพต่อไปนี้

ขั้นแรก ต้องวาดใบแถวบน (หนึ่งถึงสี่) ดังแสดงไว้ในภาพ A

ขั้นสอง ให้วาดใบในแถวที่สอง (ห้าถึงแปด) ดังแสดงไว้ในภาพ B

ขั้นสาม ให้วาดใบในแถวที่สาม (เก้าถึงสิบสี่) ดังแสดงไว้ในภาพ C

จากนั้นการจัดรูปแบบใบเป็นอันสมบูรณ์





ให้ทำความเข้าใจด้วยว่าส่วนประกอบของต้นไผ่ ขึ้นอยู่กับการที่ใบ
ไผ่ตัดกันไปมาในแนวตั้ง กลุ่มใบที่นำมาเป็นรูปแบบจะเลือกมาจากการประกอบของใบไผ่
ในแนวนอนแล้วนำมาประกอบในแนวตั้ง กลุ่มใบกลุ่มหนึ่งเหนือกลุ่มใบอีกกลุ่มหนึ่งเป็นลำดับ
ใบที่วาดลงไปต้องมีความแตกต่างเช่น กลุ่มใบบางกลุ่มแยกออกไปเป็นลักษณะตัว Y
บางกลุ่มก็แยกออกจากกันและกันและอื่น ๆ แต่ขอให้ระลึกไว้เสมอว่า
การจัดกลุ่มใบโดยทั่วไปนั้นจะต้องชัดเจนและไม่สับสนต่อสายตา
ใบที่วาดออกมาควรจะมีความเด่นและตัดกันไปมาเพื่อแสดงสัมพันธภาพที่ใกล้ชิดในกลุ่ม


ในการจัดกลุ่มใบให้เป็นยอดดังภาพ ต้องวาดตามขั้นตอนด่อไปนี้

การจัดกลุ่มใบในแนวนอน (เป็นชั้น) สามารถจัดแถวได้ถึง ๕ แถว
และหลังจากจัดใบให้ซ้อนกันเป็นชั้นได้ ๓ หรือ ๔ ชั้นในแนวตั้ง
แถวสุดท้ายควรจะทำให้สมบูรณ์โดยให้ใบอยู่ในลักษณะห้อยลงตามธรรมชาติของต้นไผ่
ภาพต่อไปนี้แสดงการจัดกลุ่มใบที่สมบูรณ์ ภาพ A - E แสดงขั้นตอนในการวาด

ขั้นแรก ให้วาดใบไม้แถวบนสุดในแนวนอนก่อน (๑-๔)
โดยลงพู่กัน ๔ ครั้ง ดังแสดงไว้ในภาพ A

ขั้นที่สอง วาดใบไม้ในแถวที่สอง (๔-๘) ใช้ลักษณะใบแบบ
"หางนกนางแอ่น" โดยให้เอนไปด้านซ้ายและขวาดังที่แสดงไว้ในภาพ B

ขั้นที่สาม วาดใบไม้แถวที่สาม (๙-๑๔) ใช้ลักษณะใบแบบ "หางนกนางแอ่น" เช่นเดียวกัน ดังแสดงไว้ในภาพ C

ขั้นที่สี่ วาดใบไม้แถวที่สี่ (๑๕-๑๘) ใช้ "หางนกนางแอ่น" เช่นกัน
ดังแสดงไว้ในภาพ D วาดใบที่ ๑๗ และ ๑๘ ให้กระดกขึ้นเล็กน้อย เพื่อเพิ่มความพุ่งให้แก่กลุ่ม

ขั้นที่ห้า วาดใบไม้แถวที่ห้า (๑๙-๒๔) โดยใช้ลักษณะใบแบบ
"หางนกนางแอ่น" ดังแสดงไว้ในภาพ E ให้ตกแต่งใบในแถวนี้เล็กน้อย เพื่อให้กลุ่มใบไผ่มีความสมบูรณ์

การจัดกลุ่มใบในแนวตั้งได้แสดงไว้ในภาพล่าง

การจัดกลุ่มใบในแนวตั้ง ได้แสดงไว้ในภาพ

โดยการวาดใบตามขั้นตอนจาก ๑ - ๑๒ จนกระทั่งเสร็จสมบูรณ์



การจัดกลุ่มใบในแนวตั้ง เริ่มต้นวาดใบที่ ๑ และ ๒ (ด้านซ้้ายใช้การลงพู่กันแบบ
"หางปลา") แล้วเพ่ิมใบที่ ๓ ลงไป จากนั้นให้วาดใบที่ ๓ ลงไป
จากนั้นให้วาดใบที่ ๔ และ ๕ โดยลงพู่กันแบบ "หางปลา"
แล้วเพิ่มใบที่ ๖ ใบที่ ๗ ไปจนถึง ๑o เป็นการผสมการวาดใบแบบหางปลาคู่เข้าด้วยกัน
สุดท้้ายให้จบด้วยการวาดใบแบบหางปลาที่ส่วนบนเพือให้ภาพที่สมบูรณ์


ข้อความในบล๊อคนี้นำมาจากหนังสือ "เส้นสายพู่กันจีน"
เรียบเรียงโดย ณัฐพัฒน์ พิมพ์ที่ สนพ.วาดศิลป์พับลิชชิ่ง
บริษัทธนบรรณจัดจำหน่าย ราคา ๑๑o บาท






เอาคลิปวาดไผ่มาฝากอีก คนวาดยังกะเสก ปาดพู่กันเร็ว ๆ ภาพออกมางามขนาดเลย
http://www.youtube.com/watch?v=Q8LhJxOAupI



คลิปวาดไผ่แบบลงสี
>http://www.youtube.com/watch?v=yB11lzu14UE



คลิปนี้ก็วาดสวย เห็นชื่อจิตรกรแล้วน่าจะเป็นคนอิตาเลียน วาดได้งามไม่แพ้คนจีนเลย
http://www.youtube.com/watch?v=4RCL6sVN2N8

วาดกิ่งไผ่


ในการวาดกิ่งไผ่ จะต้องจับพู่กันในลักษณะ “ชุงเฟ็ง” และในการวาดเส้นที่มั่นคงและเฉียบขาด
คุณจะเรียนรู้และมีความชำนาญในการวาดเส้นทั้งหนาและบาง โดยการใช้แรงกดตามจังหวะที่ถูกต้อง
ด้วยการฝึกฝนสมำ่เสมอ หมึกที่อยู่ในขนพู่กันควรจะมีความชุ่มและเข้ม ในขณะเดียวกัน
ตัวพู่กันควรจะแห้งเพื่อให้คุณสามารถใช้พู่กันได้อย่างคล่องแคล่วและรวดเร็วยิ่งขึ้น

การวาดกิ่งไผ่ ควรทำความเข้าใจว่ากิ่งไผ่นั้นงอกออกมาจากข้อไผ่ ดังนั้น
ให้วาดจากลำต้นออกไปโดยการใช้ฐานของกิ่งเป็นตัวเชื่อมปล้องสองปล้อง
กิ่งไผ่มีมากที่สุดที่บริเวณเหนือตอนกลางของลำต้น
และจะพบว่ากิ่งไผ่ที่งอกออกไปทั้งสองด้านของข้อ
ไผ่มีความแตกต่างกัน ในขณะที่คุณวาดภาพ
พยายามจัดกิ่งให้อยู่ในตำแหน่งที่สอดคล้องกัน
ในบทนี้จะมีภาพและเนื้อหาซึ่งจะแสดงให้คุณเห็นว่าจะวาดภาพในส่วนนี้ให้สวยงามได้อย่างไร

ให้สังเกตว่าในการวาดกิ่งไผ่ต้องใช้ความละเอียดอ่อน เมื่อเปรียบเทียบกับการวาดลำต้น
ในการวาดให้ลากพู่กันอย่างมั่นคงและแข็งแรง จากฐานเป็นเส้นหนา แล้วค่อย ๆ บางลงจนถึงปลาย ดังแสดงไว้ในภาพนี้

เมื่อวาดกิ่งไผ่ออกจากลำต้นที่สมบูรณ์ กิ่งไผ่ที่วาดควรจะเริ่มต้นจากข้อที่ ๕
จากลำต้นที่แสดงไว้ในภาพ และในการวาดกิ่งไผ่จากลำต้นเพียงส่วนหนึ่ง
กิ่งไผ่ที่วาดควรจะเริ่มต้นจากข้อที่ ๒ ดังแสดงไว้ในภาพล่างด้านขวา



ในภาพล่างแสดงให้เห็นว่ากิ่งไผ่งอกออกมาจากข้อไผ่
แล้วจึงแบ่งออกเป็นกิ่งไผ่เล็ก ๆ อีก ซึ่งภาพนี้ต้องใช้ศิลปะที่ละเอียดอ่อน

ให้สังเกตความหนาของหมึกที่ใช้ในการวาดกิ่งไผ่   ทุกข้อต่อของกิ่งไผ่มีลักษณะสั้น
และเป็นการใช้พู่กันวาดครั้งเดียว พูดอีกอย่างหนึ่งคือ แต่ละช่วงของกิ่งไผ่จะวาดเป็นเส้นสั้น ๆ
แล้วก็หยุดนิดนึงแล้วจึงวาดช่วงต่อไปทีละขั้น ๆ
การวาดกิ่งไผ่ไม่จำเป็นต้องปล่อยช่องว่างระหว่างช่วงเหมือนกับการวาดลำต้น


ให้วาดกิ่งไผ่ออกจากข้อของลำต้นเสมอ และให้สังเกตว่า
กิ่งไผ่จะอยู่ในลักษณะสลับกันไป กิ่งหนึ่งงอกเอนออกไปทางซ้าย   และอีกกิ่งหนึ่งงอกเอนออกไปทางขวา
ให้คิดเสมอว่ากิ่งจะอยู่ในลักษณะซ้าย ขวา ซ้าย ขวา

ขณะที่ลำต้นของไผ่มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก แต่การมอง
กิ่งไผ่นั้นจะออกมาในลักษณะที่กิ่งหนึ่งอยู่ด้านหน้า และอีกกิ่งหนึ่งอยู่ด้านหลัง ดังภาพ

กิ่งไผ่ที่บอบบางมักจะงอกออกมาจากลำต้นของต้นไผ่อ่อน
ก่ิงไผ่จะดูอ่อนไหวและละเมียดละไม ข้อไผ่มีขนาดเล็กและเรียบ
อย่างไรก็ตาม ในการวาดให้จับพู่กันให้มั่นคงและเคลื่อนไหวตลอด

กิ่งเล็ก ๆ มักจะปรากฎขึ้นที่ข้อต่อเล็ก ๆ ในแต่ละส่วนของกิ่งด้วย
พยายามใช้พู่กันอย่างรวดเร็วเมื่อวาดก่ิงไผ่ ให้ลากพู่กัน ลากไป ลากไป จนงานเสร็จเรียบร้อย

การวาดกิ่งไผ่แก่จะมีลักษณะมั่นคงและตรงไม่มีความนุ่มนวลอยู่เลย
ในการวาดกิ่งไผ่ชนิดนี้ให้วาดโดยใช้หมึกแห้งและเส้นบาง
และตรงข้อไ่ผ่ให้มีขนาดใหญ่กว่าข้อของกิ่งไผ่เล็กน้อย

กิ่งไผ่จะต้องแสดงความเอนเอียงของกิ่งที่แตกต่างกัน รวมทั้งจำนวนของใบที่อยู่บนกิ่งไผ่
พุ่มใบไผ่ที่บางเบาจะยื่นออกมาได้มั่นคงกว่า ในขณะที่พุ่มใบไผ่ที่หนาทำให้กิ่งไผ่ลู่ลง


นอกจากการเรียนรู้ว่าจะวาดกิ่งไผ่ได้อย่างไรแล้ว จิตรกรจะต้องเข้าใจ
ตำแหน่งกิ่งในสถานการณ์ที่แตกต่างกันด้วย (การจัดวางลักษณะของกิ่ง) ตัวอย่างเช่น กิ่งห้อยลง
ภาพแรกด้านล่างแสดงให้เห็นถึงกิ่งไผ่ที่ห้อยจากด้านขวาไปซ้าย ในขณะที่ภาพสองแสดงกิ่งไผ่ที่ห้อยจากซ้ายไปขวา

ในการวาดภาพกิ่งไผ่ที่ย้อยลง เช่นจากหน้าผาหรือนอกกำแพง
หรือว่ากิ่งไผ่ที่กำลังแกว่งไกวจากขวาไปซ้ายนั้น ให้วาดกิ่งที่เป็นหลักก่อน
จากบนลงมาด้านซ้ายแล้วจึงวาดกิ่งด้านข้างต่อไป จากนั้นให้หยุดและกดพู่กันเล็กน้อยที่ระหว่างข้อต่อ
ในการวาดกิ่งที่ห้อยลง ให้ลดแรงกดและความหนาเมื่อกำลังจะไปถึงปลายกิ่ง
ในการวาดกิ่งที่ห้อยจากต้นซ้ายไปขวาให้กลับตำแหน่งในการวาด


การจัดวางลักษณะของกิ่งในวันฝนตก หยาดฝนทำให้กิ่งไผ่มีน้ำหนักเพิ่งขึ้น
ในการวาดให้เริ่มต้นกิ่งที่เป็นหลักก่อน แล้วจึงวาดส่วนที่เหลือให้เสร็จ
จำไว้ว่ากิ่งสั้น ๆ จะโค้งงอเพียงเล็กน้อย ในขณะที่กิ่งที่ยาวและบอบบางจะห้อยลง

การจัดวางลักษณะของกิ่งในวันที่อากาศแจ่มใส   กิ่งไผ่จะชูชันและสดชื่นในการวาด
ให้คุณทำตัวให้สดชื่นกระฉับกระเฉงด้วย ขณะที่ลากพู่กันจากส่วนล่างไปส่วนบน
 และจะให้กิ่งมีความหนา บาง   มากหรือน้อยเพียงใดได้ตามชอบใจ

การจัดวางลักษณะของกิ่งในวันที่มีลมแรง   ตำแหน่งของก่ิงที่แสดงถึงว่า
ลมกำลังพัดอยู่ กิ่งไผ่ที่สั้นจะโน้มเพียงเล็กน้อย   ขณะที่กิ่งไผ่ที่ยาวจะโน้มลงมากกว่าในการวาด
ให้ใช้พู่กันในลักษณะที่มั่นคงและแข็งแรง   หากลงพัดจากด้านซ้าย
ก่ิงไผ่ที่อยู่ด้านซ้ายจะถูกบังคับให้ลู่ไปทางซ้าย   แล้วจะไปทางขวาหรือในทางกลับกัน
จุดนี้เป็นจุดที่ทำให้การวาดภาพต้นไผ่ได้กลายเป็นศิลปะบริสุทธิ์อย่างแท้จริง




การวาดข้อไผ่


ขณะที่การวาดข้อไผ่เป็นสิ่งสำคัญในตอนจบของการวาดภาพต้นไผ่   แต่การวาดข้อไผ่ก็เป็นเรื่องง่าย
เพียงแต่ใช้หมึกเข้ม ๆ และขนพู่กันที่แห้ง​ โดยใช้นำ้หนักสีที่เข้มกว่านำ้หนักสีของลำต้น

การให้หมึกซึมเข้าไปที่ลำต้นต้องทำก่อนที่สีที่ลำต้นจะแห้ง
เพื่อช่วยให้สีดูนุ่มและกลมกลืนกันกับข้อไผ่    ข้อไผ่แต่ละข้อควรจะมีขนาดใหญ่กว่าลำต้นเล็กน้อย
และข้อไผ่นี้ใช้เพื่อการเชื่อมต่อระหว่างปล้อง ๒ ปล้องเข้าด้วยกัน

ในการที่จะวาดให้ข้อไผ่มองดูกลมนั้น   ฝีแปรงของพู่กันควรจะโค้งจากซ้ายไปขวา
อย่างข้อไผ่ให้เป็นตะขอหรือวาดแบบกระตุก   ให้วาดให้ข้อไผ่จากมุม
โดยให้ส่วนโค้งอยู่ด้านบนหรือล่างแล้วแต่กรณี   ความจริงแล้วการวาดข้อไผ่ให้ดูกลมเข้ากับ
ลำต้นนั้นจะให้มุมมองที่น่าดูต่อภาพ   ด้วยเหตุนี้พึงจำไว้เสมอว่า ข้อไผ่ ๒
แบบที่แตกต่างกัน (โค้งอยู่ด้านบนกับด้านล่าง) จะต้องไม่วาดรวมอยู่ในภาพเดียวกัน
จิตรกรจะต้องเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะวาดให้โค้งอยู่ด้านบนหรือล่าง
ขึ้นอยู่กับมุมมององค์ประกอบของการวาดภาพต้นไผ่ว่าจะเป็นแบบใด

ภาพต่อไปนี้แสดงให้เห็นถึงการวาดข้อไผ่ที่ลงตัวสวยงามดังที่อธิบายไว้ข้างต้น





ข้อความในบล๊อคนี้นำมาจากหนังสือ "เส้นสายพู่กันจีน"
เรียบเรียงโดย ณัฐพัฒน์
พิมพ์ที่ สนพ.วาดศิลป์พับลิชชิ่ง
บริษัทธนบรรณจัดจำหน่าย
ราคา ๑๑o บาท






คราวนี้มีคลิปวาดไผ่มาฝากด้วย   เจอในยูตู๊บมีคนโหลดไว้ตรึมเลย


http://www.youtube.com/watch?v=-HKaZoXnwf8



http://www.youtube.com/watch?v=p_JPnUAwAZQ



http://www.youtube.com/watch?v=_36aaSBj8ew




บีจีจากเวบ http://www.chaparralgrafix.com/graphicspage27.htm

ภาพผู้ชายเลี้ยงห่าน น่าจะเป็นตำนานหรือไม่นิทานท้องถิ่น
ปรมาจารย์ตั๊กม้อ 
เด็กผู้หญิง ร่าเริงท่ามกลางดอกไม้
สาวงามตามจินตนาการของศิลปิน
ขอบคุณ 

ภาพเขียนพู่กันจีน จากพิพิธภัณฑ์ชนเผ่า แห่งเมืองคุนหมิง


ภาพจาก: www.o2blog.com/myblog/blog.php?user=prachya... 

 

 

 

ภาพจาก: thai.cri.cn/1/2005/03/08/[email protected]

  

 

ภาพจาก: www.oknation.net/.../2008/02/07/entry-1

 




นอกจากต้นไผ่ ยังมีรูปบางรูปที่เห็นบ่อยและมีความหมายในตัวเช่นกัน อาทิ

ดอกเหมย คนจีนถือว่าเป็นดอกไม้ชนิดเดียวของประเทศที่บานสู้หิมะ ฤดูหนาว

ไม่บานแข่งกับดอกไม้อื่น จึงเปรียบเสมือนคนที่ไม่สู้กับคนอื่น สงบเสงี่ยม ไม่อวดตัว

 

ดอกบัว เปรียบเหมือนคุณค่าของความงาม

ที่สามารถโผล่ออกมาจากโคลนตมได้โดยไม่

เปรอะเปื้อน จึงเป็นความสง่างามที่สูงค่า

 


ดอกบัวเป็นดอกไม้ที่ชาวจีนนิยมมากค่ะ

เราคงเคยเห็นภาพวาดแบบจีน
ที่เป็นรูปเด็กผู้ชายร่างกายแข็งแรงอ้วนท้วนสมบูรณ์ถือ

ไบบัวหรือดอกบัวไว้ในมือ
ภาพแบบนี้จะเป็นที่นิยมเพราะ

หมายความว่าครอบครัวนั้นจะมีลูกหลานเป็นชายไว้สืบสกุล
แบบไม่ขาดสาย และภาพปลาทองว่ายนํ้าไต้กอบัวที่มีใบใหญ่ไว้ป้องกันอันตรายแก่ปลาทอง


ภาพแบบนี้ถือว่าเป็นภาพมงคลให้ความหมายดี

หมายถึงความมั่งคั่งรํ่ารวยตลอดไปไม่มียากจน

ชาวอียิปต์รู้จักดอกบัวก่อนอินเดียอีกค่ะเพราะมีหลักฐานว่า

ได้พบดอกบัวมากมาย(ซากดอกบัวแห้งๆ)ที่หลุมศพหรือที่ปิรามิดของ

 พระเจ้าตูตังคามุน เมื่อ1361ก่อนพระเยซูประสูต

ดอกบัวในความหมายของอยิปต์คือการเกิดไหม่และใช้ในงานพิธีฝั่งศพในอียิปต์
คนที่เศร้าเสียใจจะถือดอกบัวในมือเป็นเคล็ดว่าบางที่ผู้ที่

จากไปแล้วอาจกลับมาเกิดไหม่อีกครั้งก็เป็นได้ชาวอินเดียนแดง

ยังมีเรื่องตำนานเกี่ยวกับดอกบัวเหมือนกัน เขาเล่าว่า
อเมริกาเหนือเป็นต้นกำเนิดของดอกบัวสีเหลืองค่ะ

ตำนานของอินเดียนแดงเผ่า ดาโกต้า
เล่าว่ามีนางฟ้า ได้ลงมาจากสวรรค์

และต้องการจะอาศัยอยู่กับอินเดียนเผ่านี้
หัวหน้าเผ่าชื่อว่า เรดสตรอว์เบอรี่ (Chief Red Strawberry)

ส่งลูกชายกับนางฟ้าองค์นี้นั่งเรือคานู
ข้ามทะเลสาปไปขอคำปรึกษาจากผู้รู้ที่อยู่ฝั่งตรงข้าม

ขณะที่นั่งเรือไปตอนกลางคืน
ท่ามกลางความมืดนั่นเรือได้ชนเข้ากับก้อนหินค่ะ เรือล่มนางฟ้าองค์นี้หล่นหายไปในนํ้า
ในตอนเช้ามีดอกไม้สีเหลืองปรากฏขึ้นในบริเวณที่เรือจม

 

ยังมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับดอกบัวอีกค่ะ     สมัยก่อนเชื่อว่าตั้งแต่มีดอกบัวสีขาว 

กำเนิดมาในโลกนี้มีส่วน  ทำให้มนุษย์มีความสุข   ความสงบมากขึ้น  

มีชีวิตที่ดีขึ้น   นี่เป็นความเชื่อของคนจีน   ในสมัยราชวงศ์หมิงอาจจะหมายถึง  

การที่คนจีนได้มีความเชื่อและนับถือศาสนาพุทธ 

ก็เป็นได้เพราะดอกบัวในแถวเอเชีย  

บ้านเรามักจะเกี่ยวโยงกับศาสนาพุทธนะคะ  

นอกจากสาสนาพุทธแล้วยังมีเรื่อง   เกี่ยวดอกบัวกับศาสนาอื่น 

เช่นเรื่องดังมีหลักฐานที่เกี่ยวกับดอกบัวอีก  

คือ  ได้มีการค้นพบรูปเกี่ยวกับ   ทางศาสนาเป็นรูปปั้น

ที่ทำจากดินเหนียวสีแดง   เป็นรูปเทพเจ้าหญิงที่มีลักษณะ   

ของความอุดมสมบูรณ์ค่ะคือมีตะโพกใหญ่   ทรวงอกที่อวบอิ่มสมบูรณ์  

มือทั้งสองช้อนที่ทรวงอกทั้งสองข้าง   มีดอกบัวประดับที่ศีรษะเชื่อว่า

เป็นพระแม่ธรณีที่ประทานความอุดมสมบูรณ์แก่โลกมนุษย์  

รูปปั้นนี้พบที่โมเฮนโดจาโร(Mohenjo-Daro)   

ได้พิสูจน์แล้วว่ารูปปั้นนี้มีอายุก่อนที่จะมี  

การบันทำเรื่องราวเป็นลายลักษณ์อักษร

เสียอีกหมายความว่าก่อนที่มนุษย์เรา

จะประดิษฐตัวหนังสือเพื่อบันทึกเรื่องราว

 


 


  ม้า ภาพม้าที่เห็นมักจะกำลังทำท่าทะยานไปข้างหน้า

หมายถึง ความก้าวหน้าไปไกล ความเจริญ

ภาพของการฝึกม้า ของ หลี่หลงเหมียน ในสมัยราชวงศ์ซ่ง

http://tv-guide.exteen.com/20080927/entry

ภาพการฝึกม้า หลีหลงเหมียน ราชวงศ์ซ่ง

จะเห็นได้ว่า ชายในภาพไม่ได้ใส่เครื่องแต่งกายอย่างจีน

แต่นุ่งกางเกงอย่างอนารยชน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรม

ของอนารยชนที่ถ่ายทอดให้แก่จีน นอกจากนี้

ในวัฒนธรรมของซินเจียงเอง ก็ปรากฏรูปของม้าและคนเลี้ยงม้า ซึ่งแสดงให้

เห็นถึงความนิยมในการใช้ม้าเป็นพาหนะ

และเครื่องแต่งกายของกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในซินเจียง ดังเช่น ภาพของชายกำลัง

บรรทุกของบนหลังม้า ซึ่งพบในถ้ำ ทางตอนเหนือของซินเจียง

ภาพชายกำลังบรรทุกของบนหลังม้า ทางเหนือของซินเจียง

หรือภาพพิมพ์บนผ้าไหม แสดงถึงฉากการล่าสัตว์

ซึ่งพบที่ถ้ำฮัสตานา[10] ซึ่งกำหนดอายุได้ในสมัยราชวงศ์ถัง จะเห็นได้ชัดว่า

ฉากการล่าสัตว์นี้ ก็พบในงานจิตรกรรมของจีนเช่นกัน

การล่าสัตว์ ภาพพิมพ์บนผ้าไหม ถ้ำฮัสตานา

สรุป

ทั้งอินเดีย เปอร์เซีย และซินเจียง ล้วนแต่แผ่อารยธรรมของตนเจ้ามาในประเทศจีนทั้งสิ้น โดยผ่านทางเส้นทางสายไหม ซึ่ง

ที่ทำหน้าที่เป็นเส้นทางสำหรับติดต่อค้าขายระหว่างพ่อค้าจีนกับชาติตะวันตก (อินเดีย เปอร์เซีย ซินเจียง) นอกจากจะทิ้งร่อง

รอยของอารยธรรมของตนเอาไว้ตามเมืองแถบเส้นทางสายไหมแล้ว ยังได้ส่งอิทธิพลเข้ามาถึงส่วนกลางของจีน และทิ้งร่อง

รอยอารยธรรมของตนให้แก่จีน ทั้งในเรื่องของความเชื่อ   และวัฒนธรรม   ทั้งนี้   ในแต่ละวัฒนธรรมที่ได้ส่งให้กับจีน   ก็มี

บทบาทและสัดส่วนที่แตกต่างกันออกไป   อาจเป็นในด้านเทคนิค    เชื่อที่ส่งผลให้    เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์

งานจิตรกรรม   ของใช้ในชีวิตประจำวัน   หรือความนิยมอื่นๆ    ทั้งหมดนี้ได้สะท้อนออกมา   ทางภาพจิตรกรรม ทั้งนี้ ก็ขึ้น

อยู่กับความเข้มข้นของกระแสที่เข้ามา   ผู้นำเข้ามา    ตลอดจนความนิยมของชาวจีนผู้รับ    ก่อนที่ จะมีการปรับให้เข้ากับวั

 ฒนธรรมและความเชื่อดั้งเดิมของจีน    จนกระทั่งมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

ภาพวาดจีน

 

http://cut107.multiply.com/photos/album/60/60

 

บนภาพวาดสีน้ำมันแบบตะวันตกจะไม่เขียนตัวอักษร

แต่ภาพวาดแบบจีนกลับเขียนอักษรไว้เยอะมาก แล้วก็ยังมีของสีแดง

รูปทรงต่างๆ ช่างน่าแปลกจริง !

นั่นเป็นตราประทับ อักษรบนตราประทับก็คือชื่อของศิลปิน

มันช่วยเพิ่มความสวยงามน่าชมให้กับภาพวาดแบบจีนแล้วก็ยัง

นับว่าเป็นงานศิลปะแบบหนึ่ง ดังนั้น ในภาพวาดแบบจีนแต่ละภาพ

จิตรกรไม่เพียงแต่ต้องวาดภาพได้สวย อีกทั้งยังต้องมี

ศิลปะการเขียนพู่กันจีนที่ดีมาก

 

 

ภาพวาดแบบจีนและภาพวาดสีน้ำมัน เป็นงานศิลปะที่ต่างกันโดยสิ้นเชิงจริงๆ

 

 

mblog.manager.co.th/ana123/124--/

 

 



 



 
[email protected]    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal