หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

ขักวอย

รูปภาพของ webmaster

ขออนุญาตย้ายมาจาก http://hakkapeople.com/node/194#comment-213 เพื่อให้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับภาษา


จากคุณ Tonkal

ไม่ทราบว่าคุณอาฉีมีหนังสือที่สอนภาษาจีนแคะมั๊ยคะ หนูไปหาซื้อที่ร้านหนังสือที่ไหนก็ไม่มีค่ะ มีแต่แต้จิ๋ว จีนกลาง กวางตุ้งค่ะ หนูอยากพูดภาษาจีนแคะได้กว่าปัจจุบัน หนูมีโอกาสได้ใช้ภาษาจีนแคะกับอาม่าหนูเอง แต่ว่าเดี๋ยวนี้ไม่ได้พูดเลย ลืมไปมากแล้วค่ะ

ที่ใต้หวันเค้าว่ามีหนังสือขาย แต่ว่าที่นั่นดั๊นเป็นอักษรจีนตัวเต็มอีก ดิฉันพอรู้จีนกลางมาบ้าง แต่ก็เป็นตัวย่อค่ะ ดิฉันอยากจะพูดจีนแคะได้และเก่งๆค่ะ ไม่งั้นแล้วดิฉันคงลืมไปมากกว่านี้ ดิฉันชอบในความเป็นจีนแคะมากค่ะ


จากคุณ ยับสินฝา

ที่คุณ tonkia แสดงความเห็นเกี่ยวกับหนังสือภาษาของเรา ไหงคิดว่ามีหลายคนที่อยากเรียน และอยากทราบคำศัพพ์ ในภาษาฮากกาของเรา ที่ได้แปลเป็น ไทย-ฮากกา ฮากกา-ไทย
ขอฝากไปยังคุณอาฉีในฐานะที่เป็นเว็บมาสเตอร์ ช่วยประสานงานไปยังผู้ที่มีตำราอยู่ อาจจะที่สมาคมฮากกาแห่งประเทศไทย โดยคุณสุรชัย หรือที่ปากช่องอาจจะมีซินซางที่รู้ดี มีอยู่ก็ได้ใช่ไหมครับ แล้วนำมาเรียบเรียงเป็นบล็อกสอนภาษาฮากกา โดยมีคำศัพท์ในภาษาไทย-สำเนียงแคะลึก-และสำเนียงแคะตื้น ให้เปรียบเทียบกัน
3 ช่อง


จากคุณอาฉี

เรื่องหนังสือ ไทย-จีนกลาง-ฮากกา ก็เห็นด้วย ว่าควรมีคนทำ และที่เคยเห็น ก็ต้องยกเครดิตให้คุณสุรชัย ผจก.ฮากกาแห่งประเทศไทย ได้ทำไว้แจกจ่าย เป็นหนังสือพร้อม CD เทียบกันมีทั้งจีนกลาง และชิมคัก ก็ไม่รู้ว่า หมดหรือยัง ให้ลองติดต่อที่ฮากกาแห่งประเทศไทย ดูนะ

และที่ไหงไม่กล้าคิดทำ เพราะรู้ตัวว่าด้วยความสามารถ (ไม่เคยได้เรียนภาษาจีนมาเลย) แต่ก็เห็นด้วย จะได้มีไว้ศึกษาบ้าง ซึ่งแถวนี้หาคนก้องคักได้น้อยลงเรื่อยๆแล้ว

"ถ้าท่านใดพอมีความรู้ จะช่วยแนะนำเขียนเป็น หนังสือ หรือบทความ ลงในเว็บนี้ไว้เป็นวิทยาทานด้วย ก็น่าจะดีไม่น้อย เพราะเป็นสื่อที่ทุกๆคนได้เห็น ผู้มีใจเขียนก็สามารถทยอยเขียนทีละเล็กละน้อย
รู้มามากใส่มาก รู้น้อยก็ใส่น้อย หลายๆคนช่วยกันเขียนแต่งเติม หรือเป็นบรรทัด บทความ แบบฮากกาวันละคำก็ยังได้ ซึ่งไม่ต้องใช้ความพยามทำเท่าเป็นรูปเล่ม ที่กว่าจะรวบรวมได้ครบเล่ม เหนื่อยยากมาก และลงทุนสูง"


ขักวอย

เห็นด้วยค่ะสำหรับการแบ่งปันความรู้กันวันละนิดกับขักวอย ไหงขออนุญาต

ประเดิมเป็นคำแรกเลยนะคะ

ขากไหน่ 忍受 แปลว่า อดทน

จีนกลางคือ ren(เสียง3)shou(เสียง4) เยิ่น โซ่ว

忍受 rěn shòu bear; endure

คำนี้อาม้ามักจะสอนไหงอยู่เสมอ คนเราขอให้มีความอดทนหมั่นเพียรทำ

ความดี อย่าได้ท้อถอย สู้สู้ค่ะSmile

รูปภาพของ YupSinFa

ชือฟ่าน

เรามาสนุกกันกับการแลกเปลี่ยนคำศัพท์กันเลยนะ

吃饭 / 喫飯 กินข้าว ฉิ่มขัก ว่า ซิดฟ้าน ป้านซานขัก ว่า ซิดผ่อน

เป็นคำในภาษาจีนกลางว่า ซือฟ่าน [chī fàn]

คำคำนี้มักจะใช้เป็นคำเปรียบเทียบระหว่าง สำเนียงฉิมขักกับป้านซานขัก

รูปภาพของ เหลี่ยวเม่ยจาง

ช่องก๊อ

ช่องก๊อที่แปลว่าร้องเพลง มันคือป้านซานขักใช่ไหม แล้วชิ้มขักล่ะ

ช่องก๊อเรียกว่าอะไร

 

 

รูปภาพของ แกว้น

黄妹掌唱歌

黄妹掌  ชื่อแปลกจริงๆครับ
แปลให้ด้วยซิ แสดงว่าฝ่ามือสวย หรือลายมือสวยครับ ??
“唱歌”  
chong5 go1 ช้องกอ (หมุ่ยแย้น) หรือ
chong5 gou1 ช้องเกา (ไท้ปู) 
รูปภาพของ อาฉี

ยิดติบ

ไหงมีความรู้น้อยก็ขอเสนอสิ่งน้อยๆ (小小) ปุนไหงเซี่ยยิดติบ

一 ยิด ที่แปลว่า 1 ในภาษาจีนกลาง คือ อิ [yī ] one; 1; single

บ่อยครั้งที่นำไปผสมคำให้มีความหมายกว้างมากขึ้น เช่น

ยิดติบ หมายถึง นิดนึง,เล็กน้อย ; ปุนไหงเซี่ยยิดติบ ให้ฉันได้เขียนสักนิด
一度 for a time; at one time; one time; once

ยิดห่า หมายถึง สักครั้ง ; ปุนไหงจ้อยิดหา ให้ฉันได้ทำสักครั้ง
一度 for a time; at one time; one time; once

小 แซ่ หมายถึงเล็กน้อย หรือจีนกลาง เสี่ยว [xiǎo] small; tiny; few; young
微小 wēi xiǎo small; little

(หากผมจำมาผิดก็ยอมรับเพราะรู้ไม่จริง ช่วยชี้แนะด้วยนะ)


ขอขอบคุณ คุณแกว้น ที่ช่วยกรุณา เติมเติมแก้ไขให้ถูกต้อง ควรเป็น ดังนี้

 一 ยิด ที่แปลว่า 1 ในภาษาจีนกลาง คือ อิ [yī ] one; 1; single
บ่อยครั้งที่นำไปผสมคำให้มีความหมายกว้างมากขึ้น เช่น

“一滴”
ยิดติบ สำเนียงทองคัง ฮงสุ่น
ยิดติ้ด (jit7 dit7) สำเนียงไท้ปูและหมุ่ยแย้นเหมือนกัน   
หมายถึง นิดนึง, เล็กน้อย; ปุนไหงเซี่ยยิดติบ ให้ฉันได้เขียนสักนิด หรือสักหน่อย

“一下”
ยิดห่า (jit7 ha3) สำเนียงทองคัง ฮงสุ่น
ยิดฮ้า (jit7 ha5) สำเนียงไท้ปูและหมุ่ยแย้นเหมือนกัน
หมายถึง ประเดี๋ยว หรือ ประเดี๋ยวเดียว ; ปุนไหงจ้อยิดห่า ให้ฉันได้ทำสักประเดี๋ยวเดียว

“一度”
ยิดถู่ (Jit7 tu3) สำเนียงทองคัง ฮงสุ่น
ยิดทู้ (Jit7 tu5) สำเนียงไท้ปูและหมุ่ยแย้นเหมือนกัน
หมายถึง ทันที หนึ่งองศา หนึ่งครั้ง เพียงครั้งเดียว กาลครั้งหนึ่ง

“小”
แซ่ สำเนียงทองคัง ฮงสุ่น หรือ แซ้ย สำเนียงไท้ปูและหมุ่ยแย้นเหมือนกัน (ภาษาพูด)
เซี่ยว (siau4) สำเนียงไท้ปู (ภาษาหนังสือ)
เสี่ยว (siau3) สำเนียงหมุ่ยแย้น (ภาษาหนังสือ)             
หมายถึง เล็ก เล็กน้อย หรือจีนกลาง เสี่ยว [xiǎo] small; tiny; few; young

“微小”

วุยเซี่ยว (wui1 siau4) สำเนียงไท้ปูหรือ
วุยเสี่ยว (wui1 siau3) สำเนียงหมุ่ยแย้น
หมายถึง   small; little

 


หมายเหตุ

  • ขออภัยท่านานทั้งสองที่ post มาก่อนหน้าที่เสียมรรยาท แก้ไขสีใส่อักษรข้อความของท่านโดยพลการ  มา ณ ที่นี้ด้วยหากไม่ตรงเจตนาเข้าไปแก้ไขได้ครับ
  • ดิกชั่นนารี ภาษาอังกฤษ-จีน ที่ไหงไปแอบเปิดมาลงคือ Chinese-English Dictionary (คลิกไปใช้ได้)
  • คำแนะนำในการลากก๊อบปีจากเว็บอื่น ควรลงในโปรแกรม Notepad ก่อน พิมพ์แก้ไขเสร็จแล้วค่อยมา ก๊อบมาแปะลง เพื่อความสะดวกในการจัดรูปแบบอักษร และการเขียนไว้ใน notepad save ไว้ก่อน จะช่วยให้สามารถเขียนบทความล่วงหน้า หากอินเตอร์เน็ต ไม่พร้อมก็เขียนเก็บไว้ก่อนได้ หรือเน็ตสะดุดมีปัญหา ก็สามารถบันทึกไว้ก่อนได้
    จะได้ไม่ต้องเขียนกันใหม่หมด

ไม่เป็นไรค่ะ

ยินดีค่ะที่ช่วยแก้ไข เพราะดูแล้วน่าอ่านมากขึ้นเยอะเลยค่ะSmile

รูปภาพของ YupSinFa

ถูกต้องแล้วครับ

         ขอบคุณที่คุณอาฉีช่วยจัดแต่งสีสันให้ เพื่อต่อ ๆ ไปจะได้เป็นรูปแบบเดียวกัน ครั้งต่อไปถ้าใครแสดงคำศัพท์มา ไม่ได้ใส่คำอ่านและอักษรฮั่น เหมือนไหง่ ก็ขอรบกวนคุณอาฉีช่วยตกแต่งให้ด้วยนะครับ

     ตอเซี้ย

รูปภาพของ อาฉี

วิธีหาอักษรจีนแบบถึกๆ

ก็จะพยายามเท่าที่ได้ แต่ก็ขออภัยที่ไม่กล้ารับปากท่านยับสินฝาเพราะ

  • บางช่วงไหงก็ไม่มีเวลาห่างหายไปเป็นระยะๆ ไม่ได้ตรวจดูรายละเอียดทั้งหมด และส่วนใหญ่จะไม่แก้ไขข้อความของผู้มีเกียรติทุกท่านที่เสนอความคิดเห็นในนี้ แต่กรณีนี้ ไหนๆก็ถือวิสาสะ ให้ Webmasterยกย่องจากความเห็นท้ายกระทู้ มาเป็นหัวเรื่องหลักแล้ว เลยถือโอกาสเพิ่มเติมอักษรจีน เพื่อความสมบูรณ์ในเชิงวิชาการ เป็นแนวทางไว้ศึกษากันได้
  • และอีกประการที่สำคัญคือ ไหงไม่มีโอกาสได้เรียนภาษาจีนมาเลย จึงไม่สามารถเขียนอ่านหนังสือจีนได้เลย มีบางตัวที่ใส่ไปได้เพราะ เอาคำแปลภาษาไทยที่ให้มา เปิดดิกหาคำภาษาอังกฤษที่คิดว่าใกล้เคียง แล้วนำไปเปิด Chinese-English Dictionary หรือจากที่อื่นๆเท่าที่หาได้ ถ้าเจอหลายคำ ก็เดาๆ Copy มาลงตามวิธีที่แนะนำไว้ข้างบน ก็ไม่แน่ใจว่าตัวไหนตรงเจตนาผู้เขียน จึงใส่ไปทั้งสองตัว ( 吃饭 / 喫飯 ) เจ้าของข้อความสามารถแก้ไขต่อได้นะ


ตัวอย่างกาีรหาอักษรแบบคนไม่รู้หนั้งสือจีน


วิสาสะ
=> ตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า acquaintance =>แล้วไปเปิด Chinese-English Dictionary ก็จะได้

Trad. Simp. Pinyin English
熟人   shú rén acquaintance; friend
熟知   shú zhī acquaintance
相識 相识 xiāng shí acquaintance

แล้วก็เดามาตัวหนึ่ง ถ้ายังไม่แน่ใจก็ไปเปิดหาข้อมูลแหล่งอื่นๆมาประกอบ

เช่นสงสัยตัว 熟 ก็ไปเปิดที่ wiktionary.org ก็จะพบรายละเอียดมากขึ้น

พอเจอที่ต้องการ ก็ Copy ใส่ Notepad (อยู่ที่ Start / Accessories) ก่อนค่อย Copy มาแปะลงในนี้ เพื่อไม่ให้ตัวอักษรมันติด Link และ Font ของเว็บเขามา ก็จะได้

熟 (pinyin shóu (shou2), Wade-Giles shou2) (radical 86 火+11, 15 strokes, cangjie input 卜戈火 (YIF), four-corner 05331)

  1. well-cooked
  2. ripe
  3. familiar with

เป็นต้น ก็ขอภัยที่ไหงเรียนมาน้อย ผู้รู้อย่าเพิ่งหัวเราะ วิธีถึกๆๆ ที่ไหงเลยต้องใช้ความพยามมากกว่าชาวบ้านเขา ท่านใดมีวิธีดีกว่านี้ช่วยแนะนำด้วยนะครับ

แต่ถ้าผู้รู้หนังสือจีนอยู่แล้วจะใช้วิธีการพิมพ์ Pinin ที่คีย์บอร์ด หรือมีแผ่นกระดานเขียนภาษาจีนใส่ได้เลย ทำง่ายกว่าวิธีถึกๆของไหงเยอะเลยครับ

รูปภาพของ เฉินซิ่วเชง

เห็นชอบเป็นอย่างยิ่ง

ไหงเป็นหลานสาวที่อยู่กับอากงอาม่า  พูดจีนแคะพอรู้ความบ้าง  แต่ไม่ได้เรียนเขียนจีน  ถ้าได้เข้ามาหัดอ่านที่นี่ได้ นับว่าเป็นประโยชน์ ไม่อยากเห็นภาษาที่มีรากฐานมายาวนานหายไปกับสายเลือด  หงีๆทั้งหลายต้องรวบรวม  พวกไหงๆทั้งหลายจะคอยเรียนแน่ๆ อาฉีและยับสินฝาคอยแก้ไขเรื่องความงามของอักษร หรือจัดการให้พวกเราได้ส่งข้อมูลได้ง่ายๆ ก็เป็นพระคุณอย่างยิ่ง  ดีมากค่ะ 

รูปภาพของ YupSinFa

ยินดีครับ

        สวัสดีครับคุณเฉินซิ่วเชง เสี่ยวเจี่ย ขอขอบคุณมาก ๆ ที่หงีเป็นคนไทยเชื่อสายฮากการุ่นใหม่ที่รักและหวงแหนวัฒนธรรมภาษาบรรพบุรุษของพวกเรา ไหงจะคอยเพิ่มเติมเกร็ดเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่าที่ความรู้ที่มีอยู่น้อยนิด ร่วมกันกับพวกเราทุกคน และคุณอาฉี ให้กับคนรุ่นใหม่ ได้เรียนรู้

ขอขคุณมากคับที่ชี้แนะ

ต้องขอขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างมากที่ให้ความรู้คับ

ความคิดเด็กรุ่นหลัง

ไหงก็เคยไปหาดูที่ร้านหนังสือครับ แต่มีแต้จิ๋ว จีนกลาง กวางตุ้งครับ ผมก็อยากได้เอามาเรียนรู้เหมือนกันคับ ที่สมาคมได้มีการจัดทำหนังสือบ้างหรือป่าวครับถ้ามีขอความกรุณาบอกต่อด้วยครับ ผมคิดมานานแล้วว่าอากกาหยิน ในประเทศไทยมีมากเป็นที่2รองจากแต้จิว แต่ทำไมไม่มีโรงเรียนสอนภาษาแคะ ถึงไม่มีก็น่าจะจัดทำหนังสือสอนก็ดีนะครับ ถ้าไหงพูดอะไรผิดไปต้องขออภัยมานะที่นี้ด้วยครับ ถ้ามีท่านที่มีความรู้ก็ต้องขอคำชี้แนะด้วยครับ

รูปภาพของ อาฉี

ก็ยอมรับว่าหายาก

ก็ยอมรับว่า แบบเรียนภาษา ฮากกา หายาก (แต่ก็พอมีอยู่บ้าง ดังที่กล่าวไว้แล้วที่ เรามาช่วยกันดีไหม )

คิดว่า :-

ภาษาฮากกาเองบางคำก็เขียนคำอ่านเป็นภาษาไทยได้ค่อนข้างยาก เช่นคำว่า อาบน้ำ ไม่รู้จะเขียนภาษาไทยได้ไง  แซ่ หลวง+เหลียง

และพื้นที่ดั่งเดิมของชาวฮากกากว้างใหญ่ จึงมีหลายสำเนียง (คงเหมือนภาษาไทยภาคก็มีสำเนียงแต่ละภาคแตกต่างกัน)

จึงทำให้ผู้รู้ก็ไม่ค่อยกล้าเขียน กลัวเขาว่าผิด ผู้ไม่รู้ก็เขียนไม่ได้ละมั้ง จึงทำให้หารูปเล่มได้ยาก มักใช้การสืบทอดจากคนในครอบครัวกันเป็นส่วนใหญ่

 

ดังนั้น จึงคิดว่า เมื่อมีความตั้งใจ
เพื่อสืบสานวัฒนธรรม ไม่ให้ขาดหายในยุคของพวกเรา
ช่วยกันคนละไม้ละมือ คนละนิดละหน่อย
รู้มาเยอะน้อยไม่ว่ากัน ผิดถูกค่อยๆเติมเต็มแก้ไขให้กัน  ไปทยอยหามาใส่ทีละประโยค สองประโยค ช่วยๆกัน นานวันไปมันก็จะค่อยๆเยอะเอง 

เราเริ่มวันนี้ทำวันนี้ด้วยมือพวกเราเอง ด้วยจะดีไหมละ

 

หมายเหตุ

มาเริ่มต้นกันโดย เน้นภาษาพูด ฮากกา-ไทย  กันก่อนเป็นไง เพราะเชื่อว่าคนเราเรียนรู้จากพูดเป็นก่อนเขียนเป็น
ส่วนภาษาเขียน หรืออักษรฮั่น มีก็ดีไม่มีก็ได้ เพราะบางตัวใช้ในภาษาเขียนจีนกลาง คนละสำนวนกัน และผู้รู้ก็มีน้อย กลัวผิด  แล้วจะไม่มีคนกล้ามาเติมเต็มให้กัน

ก็ขอข้อตกลงกันก่อนว่า สำเนียงต่างกันบ้างไม่ว่ากัน เพราะแต่ละบ้านอาจเรียกไม่เหมือนกันจริง จะได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันได้  เช่น ไหงฮั่มว่า ขักหงิน บางบ้านก็ฮั่มว่า ฮักหงิน ซึ่งต่างก็คือชาวฮากกาเช่นกัน ไม่ว่าใครถูกผิดพวกเราเห็นด้วยไหม

สำเนียงบ้านไหง

หงี่ มะไก้ ฮัก

ไหง หม่อแย้นฮัก

คำอาบน้ำ

คำว่า อาบน้ำ ถ้าเราพูดปั้นซั้นขัก  น่าจะเขียนอย่างนี้คือ แซ่ ลีหยอง (อ่านติดกัน)

         หก                  "              ลิหยุก

         สอง                "               ลีย่อง

ปู้ช้องยิ่ว คิดเห็น

รูปภาพของ วี่ฟัด

" แซ่ ลี-หยอง " " ชุง ลี-หยอง "

ตั้งแต่เล็กแต่น้อยไหง่ก็รับรู้ตลอดมาว่าถ้าจะไปอาบน้ำก็ต้อง " แซ่ ลีหยอง " ทั้งเกียดหยอง ฟุ้งสุ้น หรือหมอยแย้น เหมือนๆกันไม่แตกต่างกันเท่าไร แต่พอไปหมอยแย้นตั้งแต่ครั้งแรกจนปัจจุบันี้รวมห้าครั้งแล้ว ไม่เคยได้ยินคนหมอยแย้นเขาพูดว่า " แซ่ ลีหยอง " เลย แต่เขาจะพูดคำว่า " ชุง ลี-หยอง " ตอนแรกไหง่ก็งงๆว่า อะไรของมึงว๊ะชุงเหลี่ยง ชุงหล่าง กูไม่รู้เรื่อง 

รูปภาพของ แกว้น

“ชุงลีหย่อง 冲凉”....“แซ่ยลีหย่อง 洗凉”

อาวี่ฟัดยกมาแต่ละคำล้วนน่าสังเกตุทั้งนั้นนะครับ และ อ.เฉินซิ่วเชงก็มีความลึกซึ้งเปรียบเปยจนเห็นภาพพจน์ได้ดี นอกจากสองคำที่หลายคนกำลังพูดคุยกันอยู่คือ “ชุงลีหย่อง 冲凉” และ “แซ่ยลีหย่อง 洗凉” แล้วยังมีคำว่า “แซ่ยจ้าว 洗澡” หรือ “แซ่ยซิน 洗身” หรือ “แซ่ยซุ่ย 洗水” หรือ “ชุงซุ่ย 冲水” ก็มีคนใช้พูดสื่อสารกัน ซึ่งคำสุดท้ายตรงกับภาษาไทยคำว่า “อาบน้ำ” มากที่สุด 
ความสำคัญของคำทั้งหมดนี้ไม่ได้แยกแยะว่าเป็นคำเก่าหรือใหม่ หรือภาษาพูดของท้องถิ่นใดแต่ขึ้นอยู่กับความเคยชินของบุคคลหรือครอบครัวที่สืบทอดกันมาและกาลเทศะในการใช้ที่เหมาะสม ถ้าเป็นภาษาเขียนหรือภาษาที่เป็นทางการจะใช้คำว่า “ชุงลีหย่อง 冲凉” และ “แซ่ยจ้าว 洗澡” เป็นหลัก ส่วนคำอื่นๆจะใช้เป็นภาษาพูดหรือภาษาที่ไม่เป็นทางการเป็นส่วนใหญ่
อักษรตัวเขียนภาษาจีนจะอธิบายคำเปรียบเปยของ อ.เฉินซิ่วเชงได้ดี คำภาษาพูดหรือภาษาที่ใช้ไม่เป็นทางการทั้งหมดจะขึ้นต้นด้วยคำว่า “แซ่ย 洗” ซึ่งแปลว่า “ล้าง” แล้วตามด้วยคำที่ตัวมันเองไม่ได้แปลว่า “อาบน้ำ” โดยตรง ส่วนคำว่า “แซ่ยจ้าว 洗澡” แม้นขึ้นต้นด้วยคำที่แปลว่า “ล้าง” เช่นกันแต่คำว่า “จ้าว 澡” ตัวมันเองมีความหมายว่าอายน้ำอยู่แล้ว ทำให้เห็นความแตกต่างแยกแยะความเป็นเซาะกาวได้ช้ดเจน ขอบคุณ อ. ครับ

เห็นด้วยครับ

ที่แต่ละคนพูดกันคนละสำเนียง อย่าง งาปาถุงงามะยังพูดกันคนละสำเนียงกัน แต่ก็ยังรู้เรื่อง

อย่างเช่น คำว่า เวลา  งาปา พูดว่า สื่อกัน   งามะ พูดว่า สื่อเกียน ครับ

ถ้าไหงพิมพ์ผิดต้องขออภัยด้วยครับ สกิดยากครับ

เวลา

เวลา ฟุ้งสุ่ห์นปั้นซั้นขัก ง้าป๊า ฮั่ม เรียก ฉีห์ เกี๊ยน   (ตัวฉีห์ จะมีลมออกระหว่างลิ้นกระทบปุ่มเหงือก)

ถ้าเป็นจีนกลาง时

 

shí  อ่านสืร์อ  มีลมออกเหมือนกัน

时间  

(shí jiān)กาล เวลา  อ่าน สืร์อ เจียน

เหตุนี้เองความใกล้ชิดของภาษาจีนกลางกับชิมฮัก หรือ ชิ้มขักน่าจะคล้ายกันคือสื่อกัน อะไรทำนองนั้นกระมัง

รูปภาพของ เฉินซิ่วเชง

สือเกียนเช่นกัน

งากง  งาม่า  ก็พูดว่าสือเกียน เช่นกัน(ที่จริงไหงลืมไปแล้วนะเจ้า....คำๆนี้)  พอเข้ามาอ่านที่นี่  ไหงยิ้มได้จากที่นี่แหละ  ระลึกถึงความสุขยามที่ท่านๆยังอยู่กับเรา  ใช่แล้วที่คำๆนี้ที่ไหงเกือบลืม  (ยังพอได้พูดคุยกับ นศ.จีนที่มาจากคุนหมิงบ้าง  แต่เขาพูดเร็ว รัวมากต้องบอกให้พูดช้าๆ  นศ.จีนที่พูดจีนแคะมีมาเรียนที่โยนกตลอด พวกเขามาเรียน BBA ทกๆปี  เขาบอกว่าคนไทยเป็นคนที่มีน้ำใจ  ไม่อันตราย (แน่นอน)  งากง  งาม่า รวมทั้งญาติก็ล้วนอยู่ไทยได้อย่างมีความสุข  ตราบมาถึงรุ่นเรา ยังต้องไปไหว้กง  ม่า  ไหว้เจ้ากันอยู่ ทั้งที่ไม่ได้เรียนจีนนะเจ้า  ได้คำคำไหนที่คิดออกก็คงได้ความรู้ที่นี่  บางคำที่ยากๆเช่นคำว่า อธิการ  ประชุมหรืออืนๆเชิงวิชาการ  หรือการบริหาร ไหงก็ถามนศ.จีนนะเจ้า  แล้วจะรวบรวมมาให้  ถ้าทางนี้สงสัยเรื่องใด  ไหงก็คงไปถามนศ.จีน ที่อยู่ประจำกับเราได้  เขาเก่งภาษาไทยด้วยนะเจ้า  เฉพาะทักษะการพูดเขาพูดได้คนละเจ็ดภาษา (เฉพาะจีนของเขาก็หลากหลายแล้ว) เชิญถามกันได้นะเจ้า 

สวัสดีครับ

ยินดีที่ได้รู้จักครับคุณเฉินซิ่วเชง ผมก็ก็คงไม่ต่างกันหรอกครับพองากุง งาฝ่อ เสียที่บ้านก็มีแต่งามะ ที่ยังพูดกับไหงอยู่ แต่พี่งาจี่ไม่ได้พูดกับงามะ เลยจะลืมหมดแล้วครับ พอดีไหงกำลังหาเพลงฮักกาอยู่เปิดเจอเวปนี้เข้าก็เลยมาสมัคร เป็นสมาชิกเวปคับ ถ้าคุณมีคำไหนที่จำได้ช่วยบอกด้วยนะครับถ้าไหงจำคำไหนได้จะมาลงไว้ในบอร์ดนี้ครับ

คำว่า   หัว          งาปา พูดว่า ถิ่ว

            งามะ พูดว่า แถ่ว

มันสะกดยากครับถ้าผิดขอโทษด้วยครับ

ถ้าผิด ขอให้ช่วยแก้ด้วยนะครับ

รูปภาพของ มะไฟ

ลูกผสม

แสดงว่าหงีเป็นลูกผสม ป๊าหงีน่าจะเป็นฉิมขัก กับเม๊หงีน่าจะเป็นปั้นซั้นขัก หัวปั้นซั้นขักเรียก เถ่วหรือเรียกเถวหนา

รูปภาพของ เฉินซิ่วเชง

ขักว่อยชั้นสูงมาฝาก

สวัสดีเจ้า 

ไหงหายไปนาน  มัวทำวิจัยถนนดวงรัตน์ ลำปางให้เจ้านายอยู่นะเจ้า  เลยไม่มีเวลาติดตามข่าว

คำว่า มหาวิทยาลัย
อ่านว่า ไธ่ฮอก
  คำว่า โรงเรียน
อ่านว่า ฮอกเก้า
คำว่า  อนุบาล อ่านว่า  ยิวยิดแหย่น   คำว่า  อธิการ อ่านว่า  เก๋าจ๋อง
คำว่า  อาจารย์
อ่านว่า  ล่อซือ
  คำว่า   ครู 
อ่านว่า  ซิ่นซัง
คำว่า  หัวหน้าสาขา อ่านว่า  เลียงธ่อ   คำว่า  คณบดี
อ่านว่า  ซีจู๋หยิน

 

ค่อนข้างยากเช่นกัน  เพราะเป็นสำเนียงมาจากคุณหมิง  ถ้ามีท่านใดที่ชำนาญก็ต้องรบกวนให้ข้อมูลที่ถูกต้องด้วยนะเจ้า 

 

รูปภาพของ ท้ายแถว

สนใจๆ

สนใจสมัครเข้าเรียนชั้น ยิวยิดแหย่น ในฮากกาพีเพิลฮอกเก่า

ท่านทั้งหลายช่วยเป็น ซินซัง เห่าเจียง รับการคาราวะ จากศิษย์โง่ท้ายแถวด้วย นา นะ นะ

 

ป.ล. คิดค่าลงทะเบียนหรือเปล่า ...

รูปภาพของ อาฉี

น่าจะฟรี

เกาฟรี ฮอกฟรี

ว่าแต่ยังขาดแคลน อาสาสมัครแค่ 8 อัตรา ตามที่ ข้างบน(คุณเฉินซิ่วเชง) กล่าวถึงเท่านั้นเอง

 

 

สวัสดีครั

สวัสดีครับ  ไหงเซี่ยงฉิน ชื่อฝุงหงี ( 陳 鴻 義 ) เป็นคนแคะครับ  แต่เป็นรุ่นหลานจีนแล้ว  เพราะฉะนั้นภาษาจีนก็ไม่ต้องห่วงครับ (แทบจะไม่กระดิกหูเลย)

ดีใจมากครับที่ได้เจอเวปดีๆแบบนี้ 

ยินดีที่ได้รู้จักทุกๆท่านนะครับ 

ไหงก็เซี่

ไหงก็เซี่ยงฉิน ชื่อมุ้ยเหรียญ อยากรู้เรื่องพวกเราเยอะๆ

ได้ยินคุณ

ได้ยินคุณ ยับยุ้นเสิน  พูดถึง "หัว"  ก็ให้นึกถึงเครื่องไหว้ของคนจีนครับ 

คือ "หัวหมู" ในคำนี้เคยได้ยินสุกกุ๊ง เรียกว่า "จู๊แถว"

และเท่าที่จำได้ก็คู่กันไปกับ "ฝัดปั้น" ที่หมายถึง ขนมถ้วยฟู ครับ

 

ถ้าผิดพลาดประการใดรบกวนท่านผู้รู้กรุณาแก้ไขด้วยนะครับ

รูปภาพของ ใช่หงี่อุ้ย

ครับ จู่แ

ครับ

จู่แถ๋ว ก็ หัวหมู

ฝัดปั้น ก็ ขนมถ้วยฟู บางบ้านเรียกว่า ปอดปั้น ครับ

รูปภาพของ ซักเท่ว

หวัดดีครับ

หวัดดีครับ

ไหง่ เป็นลูกจีนแคะ อาป๊ะ กับ อาหม่า เสียตั้งแต่ไหง่เรียนอยู่ชั้น ป.หก กับ ม.หนึ่ง

ที่บ้านมีพี่น้องสิบคน ไหง่ เป็นคนเล็กสุด พี่ ๆ ทุกคนพูดจีนได้

แต่ปัจจุบันกลายเป็นคนไทย ใช้แต่ภาษาไทยกันไปหมดแล้ว

ไหง่ได้แต่หัดพูดตอนเด็ก ๆ ที่อาป๊ะกับอาหม่ายังไม่เสีย

ปัจจุบันพูดไม่ได้เลย จำได้แค่บางคำ ในชีวิตประจำวัน

เช่น

กินข้าว = ซึดฟั้น  


กินข้าวต้ม = ซึดจุ้ก 


อาบน้ำ = แซ่วเหลี่ยง


เข้านอน = โซ้ยมุ้ก

จำได้แค่นี้จริง ๆ ครับ เสียดายถ้าอาป๊ะกับอาหม่าอยู่ ไหง่ต้องพูดได้คล่องแน่ ๆ

วันนี้ดีใจมาก ๆ ที่มีโอกาสได้รู้จักเวบของชุมชนชาวฮากกา

ขอเป็นสมาชิกด้วยคนครับ

 

ขอบคุณมากครับ 

รูปภาพของ ซักเท่ว

หวัดดีครับ

Smile

รูปภาพของ ใช่หงี่อุ้ย

เอ...ซิดฟั่

เอ...ซิดฟั่น

เป็นคนชิ้มขักนี่ครับ

รูปภาพของ tonkla

ขอเป็นอาสาสมัคร รวบรวมจัดทำหนังสือค่ะ

ถึงพี่ๆน้องคุณน้า คุณอาทุกท่าน

ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณทุกท่านที่ได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับการรวบรวมความรู้เป็นหนังสือจีนแคะของพวกเรา ไม่คิดว่าโพสกระทู้ไว้จะได้รับความสนใจอย่างล้นหลามซะขนาดนี้ หนูขอเป็นอาสาสมัครในการรวบรวมค่ะ คิดว่าถ้าเราเริ่มต้นซะวันนี้ก็คงดีไม่น้อยสำหรับคนรุ่นต่อๆไป คิดว่ารุ่นเราๆจีนแคะเท่านี้รุ่นต่อไปจะรู้อีกเท่าไหน คงเหือดหายไปตามกาลเวลา ถ้าเราไม่รวบรวมความรู้และจัดเป็นหมวดหมู่ ทุกคนเห็นด้วยมั๊ยคะ

หนูพอมีความรู้ภาษาจีนกลางตัวย่อในระดับนึง คิดว่าจะผันเป็นพินอิน (pinyin) และอาจจะกำกับเป็นภาษาไทยไว้ด้วยสำหรับคนที่ไม่ถนัดภาษาอังกฤษนัก ตั้งใจไว้ว่าจะทำเป็นหนังสือคล้ายๆหนังสือที่เค้าสอนภาษาจีนกลางทั่วไปค่ะตามท้องตลาด แต่ทว่าเราคงไม่ได้ทำออกจำหน่ายแต่อย่างใด เป็นเพียงการรวบรวมไว้เท่านั้นเพื่อพี่น้องผองเรา ไม่มีมูลค่าใดๆทั้งสิ้น ในขั้นต้นนี้น่าจะมีหนังสือซักเล่มจากนั้น เราก็ทำเป็น CDs จะเอาสียงเพราะๆจากอากงอาม่าอาซ้อท่านใด คงต้องขอแรงท่านผู้รู้แนะนำให้รู้จักและรวมกลุ่มกันอัดเสียงขึ้นมา ใจเกินร้อยค่ะ ถ้าอัดเสียงตัวเองได้คงอัดไปแล้ว แต่ไม่สามารถเลย ภาษาจีนแคะของหนูยังห่างจากผู้รู้อีกมากค่ะ

เห็นทุกท่านโพสไว้ บางทียากที่จะรวบรวม บางท่านอาจจะขี้เกียจพิมพ์โพสต์ไว้ หนูจะให้เมลล์ไว้ในนี้นะคะ ถ้าได้ข้อมูลดีๆอย่างไร สแกน(scan) มาหนูยินดีพิมพ์ให้อย่างตั้งใจค่ะ

รู้แล้วบอกต่อนะคะ แล้วหนูจะมาอัพเดทหนังสือฮากกาให้ทราบเป็นระยะๆค่ะ

รบกวนช่วยบอก เผยแพร่ข่าวสารเรื่องหนังสือฮากกาด้วยนะคะ งานนี้หนูสู้เกินร้อย รบกวนคุณ webmaster กระจายข่าวนี้ไปยังสมาคม องค์กรฮากกาในแต่ละจังหวัดด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

tonkla003@hotmail.com

ขอโทษค่ะที่ลืมแนะนำตัวเองไป เพื่อความน่าเชื่อถือขอเเนะนำตัวเองซักนิดนึง หนูเรียนคณะวิศวกรรมเคมีที่ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง อยู่ กทม. นี้เองค่ะ

ขอบคุณในความกรุณาและข้อมูลดีๆจากทุกท่านในวันข้างหน้าค่ะ

tonkla

รูปภาพของ ท้ายแถว

ขักวอยเครือญาติ

ขอออกตัวหน่อยนะ ไหงเป็นฮากการุ่นท้ายแถว ความรู้ด้านภาษา และวัฒนธรรม ก็แทบไม่เหลือแล้ว พอมาเห็นในเว็บนี้ก็พอได้รื้อฟื้นความทรงจำบ้าง

ความรู้ก็ไม่มี ซีดีก็อยากได้จึงพยามขุดคุ้ยสิ่งที่ยังพอเหลือพอได้ยินอยู่บ้าง คือการเรียกชื่อเครือญาติ ผิดถูกประการใดโปรเสนอแนะ เพื่อให้ผุ้อ่านท่านอื่นไม่เข้าใจผิดเพี้ยนตาม ไหงฮากกาท้ายแถว รุ่นตกขบวน

คำที่จะนำมาเสนอเป็น การ ห้ำต้อ (เรียกชื่อ) เครือญาติ ในภาษาเรา (คำว่า "อา" ในนี้เป็นเสียงเรียกมีหรือไม่ก็ได้) เช่น

พ่อ - อาปา  ; แม่ - อาแม

พี่ชาย - อากอ(ทองคังขัก) ; อาโก(ชิมขัก)
พี่สาว - อาแจ๋(ทองคังขัก) ; อาจี้(ชิมขัก)
น้องชาย
- ล่อแท
; น้องสาว - ล่อม่อย
สามี - ล่อผอ ; ภรรยา / สะใภ้ -  ??? (ลืมแล้ว)

 พ่อของอาปาอาแม - อากุง หรือ  เรียกเจาะจง ทางอาปา อาแม ว่า
ปู่ - หนุ่ยกุง  ;  ตา - หงวยกุง

ลุง (พี่ชายพ่อ) - อาปัก  ; ภรรยาลุง - ปักแม
อา (น้องชายพ่อ) - อาสุข ; ภรรยาอาสุข - สุขแม
ลุง/อา
(พี่ชาย/น้องชาย แม่) - อาคิว  ; ภรรยาลุง - คิวแม
ป้า (พี่สาว/น้องสาว พ่อ) - กู  ; สามีป้า - กูชอง
ป้า/น้า (พี่สาว/น้องสาว แม่) - หยี  ; สามีน้า - หยี่ชอง

แม่ของ อาปา/อาแม -  อาม่า (ทองคังคัก) หรือ  อาโผ่(ชิมคัก)  เรียกเจาะจง ทางอาปา อาแม 

ย่า - หนุ่ยม่า  ;  ยาย - หงวยม่า

สูงกว่าอากุง,อาม่า  อีกชั้น  ก็เติม "เหล่า" ข้างหน้า เป็น เหล่ากุง,เหล่าม่า
สูงขั้นไปอีก ก็เป็น อาไท้ เป็น ไท้กุง , ไท้ม่า เป็นต้น

ถ้าต่ำลงไปชั้นลูก นิยมเรียกชื่อกันตรงๆ และถ้าเป็น หลาน ก็จะเรียก ว่า ซุง

 

ส่วนการลำดับ

พี่น้อง คนโต เรียกว่า ไถ่  ที่แปลว่าใหญ่ เช่น
พี่ชายใหญ่ - ไถ่กอ , ลุงคนโต - ไถ่ปัก , ป้าคนโต - ไถ่หยี  เป็นต้น

พี่น้อง คนที่รอง เรียกตามลำดับตัวเลข 2-หงี่ , 3-ซำ , ....  เช่น
พี่ชายคนที่2 - หงี่กอ , ลุงคนที่3 - ซำปัก , อาคนที่3 - ซำสุข  เป็นต้น

พี่น้องคนเล็ก เรียกว่า แซ่ ที่แปลว่าเล็ก  เช่น
อาคนเล็ก - แซ่สุข , น้องแม่คนเล็ก - แซ่คิว เป็นต้น

 

ผิดพลาดประการใดโปรดชี้แนะด้วยครับ และถ้าคุณ tonkal นำไปปรับแต่ง แก้ไขจัดหมวดหมู รวมเล่มก็คงจะดี ขอเอาใจช่วยครับ

เพิ่มเติมคำค่ะ

สามี คือ ล่อกุง ส่วน ภรรยา คือ ล่อผ่อค่ะ

สะใภ้

สะใภ้ ปั้้นซันขัก ออกเสียงว่า แซ่มแพ ครับ

รูปภาพของ มะไฟ

สะใภ้

สะใภ้ ปั้้นซันขัก ออกเสียงว่า เซ๊มเพ้ ครับ ปั้นซั้นขักบ้านโป่งเมืองกาญจน์นครปฐมนะครับ

รูปภาพของ มะไฟ

ลูกพี่ลูกน้อง

แถวบ้านปั้นซั้นขักเมืองกาญจน์ บ้านโป่ง นครปฐม จะเรียกลูกพี่ลูกน้องเป็นสองแบบนะครับ

ถ้าลูกพี่ลูกน้องข้างพ่อ จะเรียก  สุกปักจุ๊งถี่

ถ้าลูกพี่ลูกน้องข้างแม่ จะเรียก สุกปักจื้อโม่ย อย่างไหงที่เตรียมตัวไปเยี่ยมญาติที่ฝุงสุ่น เจียวถามชุน เหลวจู้เลี้ยง ติดต่อกลับไปที่ลูกพี่ลูกน้องไหง อายุต่างจากไหงเกือบสามสิบปี ไหงบอกกือผิดว่า ไหงเป็นสุกปักจื้อโม่ยกื๋อ กือบอกว่าเตี่ยไหงเป็นน้องชายเตี่ยกื๋อ จะต้องเป็นสุกปักจุ๊งถี่ ถึงจะถูก เพราะมีกุ๊งไท่คนเดียวกัน เลยได้ความรู้ในการเรียกญาติใหม่ ๆ จากที่ไม่ค่อยรู้ และได้หนังสือมาอีกเล่ม ตอนนี้ให้ลูกชายไหงที่เรียนภาษาจีนลองแปลให้ แล้วเอามาเรียบเรียงอีกที อาจได้มาแลกเปลี่ยนกันอีกที

รูปภาพของ มะไฟ

การเรียกแบบปั้นซั๊นขัก

ขอออกความเห็นนิดนึงในภาษาปั้นซั้นขัก แก้ไขนะครับ ในฐานะลูกปั้นซั๊นขัก

พี่ชาย - อาโก๊(ปันซั้นขัก) ; อาโก(ชิมขัก)
พี่สาว - อาเจ๋(ปันซั้นขัก) ; อาจี้(ชิมขัก)
น้องชาย
- ล่อเท้
; น้องสาว - ล่อโม่ย

พ่อของอาป๊าอาเม๊ - อากุ๊ง หรือ  เรียกเจาะจง ทางอาปา อาแม ว่า
  
ปู่อากุ๊ง ตา - เจี้ยกุ๊ง

ลุง (พี่ชายพ่อ) - อาปัก  ; ภรรยาลุง - ปักเม๊
อา (น้องชายพ่อ) - อาสุข ; ภรรยาอาสุข - สุขเม๊
ลุง/อา (พี่ชาย/น้องชาย แม่) - อาคิ๊ว  ; ภรรยาลุง - คิ้วเม๊
ป้า (พี่สาว/น้องสาว พ่อ) - กู๊  ; สามีป้า - กู๊ชอง
ป้า/น้า (พี่สาว/น้องสาว แม่) - หยี  ; สามีน้า - หยี่ช้อง

แม่ของ อาปา/อาแม -  อาม่า (ปันซันคัก) หรือ  อาโผ่(ชิมคัก)  เรียกเจาะจง ทางอาปา อาแม 

ย่า - อาม่า  ;  ยาย เจี้ยโผ

สูงกว่าอากุง,อาม่า  อีกชั้น  ก็เติม "เหล่า" ข้างหน้า เป็น เหล่ากุง,เหล่าม่า
สูงขั้นไปอีก ก็เป็น อาไท้ เป็น กุ๊งไท่ , ม่าไท่ เป็นต้น

ถ้าต่ำลงไปชั้นลูก นิยมเรียกชื่อกันตรงๆ และถ้าเป็น หลาน ก็จะเรียก ว่า ซุ๊

 

ส่วนการลำดับ

พี่น้อง คนโต เรียกว่า ไถ่  ที่แปลว่าใหญ่ เช่น
  พี่ชายใหญ่ - ไถ่โก๊ , ลุงคนโต - ไถ่ปัก , ป้าคนโต - ไถ่หยี  เป็นต้น

พี่น้อง คนที่รอง เรียกตามลำดับตัวเลข 2-หงี่ , 3-ซ๊ำ , ....  เช่น
พี่ชายคนที่2 - หงี่โก๊ , ลุงคนที่3 - ซ๊ำปัก , อาคนที่3 - ซ๊ำสุข  เป็นต้น

พี่น้องคนเล็ก เรียกว่า เซ่ ที่แปลว่าเล็ก  เช่น
อาคนเล็ก - เซ่สุข , น้องแม่คนเล็ก - เซ่คิ๊ว เป็นต้น

รูปภาพของ มะไฟ

แก้อีกที

สูงกว่าอากุง,อาม่า  อีกชั้น  ก็เติม "เหล่า" ข้างหน้า เป็น เหล่ากุง,เหล่าม่า
ถ้าเป็นปั้นซั้นขักจะเรียก กุ๊งไท่ สูงกว่า กุ๊งไท่ ก็ ล่อกุ๊งไท่  คำว่าเหล่าน่าจะเป็นภาษาฮอกล่อ(แต้จิ๋ว)มากกว่า

เรียกแบบบ้านไหง่

บ้านไหง่ เรียกลูกเขยว่า แซ้หล่อง

เรียกลูกสะใภ้ว่า ซิมคิว

รบกวนหน่อยนะคะ

ชื่อ มิ้นนะคะ พอดีเพิ่งจะเข้ามาอ่านครั้งแรก น่าสนใจมากเลยคะ

ศัพท์ส่วนมาก จะเจอทางฝ่ายแม่หมดค่ะ

อาม่าก็พูดจีนนะคะ แต่ฟังไม่รู้เรื่อง ก็เลยอยากเรียนภาษาเพื่อคุยกับม่าอะคะ

ก็จะได้ยิน ม่า พูดบ่อยๆ เลย ก็ หงี-ไหง - ซิดผ่อน นะค่ะ 

 

อยากจะถามว่า ซือไท่ เนี่ยแปลว่า อะไรคะ

แล้วก็ พี่สาว/น้องสาว แม่ เรียก หยี ใช่มั้ยคะ

แต่ที่บ้าน มิ้น เรียก อี๊ อ่ะค่ะ ไม่ทราบว่า มีคนเรียกกันบ้างรึป่าวคะ

 

อ้อ แล้วก็ จะมีคำว่า สะเทือนซาง ด้วยคะ

ซาง แปลว่า (หัว)ใจ  ใช่ไหมคะ

รูปภาพของ แกว้น

“ซางซิน 伤心” สะเทือนซาง

ซือไท่ 师太 ภาษาจีนกลาง (ฮากกาอ่าน ซือไท้) ใช้เรียกอาจารย์นักบวชที่เป็นหญิง 
น้องสาวแม่ เรียก “姨 หยื่อ หยี หรือ หยี่”
พี่สาวแม่เติมคำว่า “ไท้ 太” เข้าข้างหน้า
อี๊ เป็นภาษาแต้จิ๋ว
สะเทือนซาง เป็นภาษาไทย แปลว่า เจ็บใจ เกี่ยวข้องกับ “ซางซิน 伤心” แปลว่า “เจ็บใจ” ในภาษาจีนกลางหรือไม่ไม่ทราบได้ (伤 บาดเจ็บ บอบช้ำ 心 หัวใจ แปลเองนะ)
รูปภาพของ bundit

ป่ายส้านเสี้ยวเหวยเซียน

ดีใจจัง Laughing ที่ได้มาเป็นสมาชิก ได้รับรู้ถึงความมีน้ำใจ และ ความกตัญญู ต่อบุพการี และ แผ่นดินบ้านเกิด ไม่ลืมวัฒนธรรมภาษา มีการรวมตัวต่อยอดให้ยั่งยืนไปเรื่อยๆ

ขอแจมด้วย เคยเห็นอาโผ่วเวลาเลี้ยงหลาน มักจะพูดว่า โอ๊ยโหม่-เอาไม่เอา สุ้ยมุก-นอน เน้นเน้น-นม น่าจะถูกนะ ถ้าผิดก็แนะนำให้หน่อย

เอาไหม ปั้นซั้นขัก

เอาไหม ปั้นซั้นขัก อ้อยหมอ

นอน           "        ส่ห์อย (สห์-ออ-ย ไม้เอก)  หมุก

กินนม         "        ชิฮ์ด  แน้น

นมเจ็บ       "        แน้น ชิด

รูปภาพของ แกว้น

“จิดแน้น” จนระบมเจ็บ “痛 ทุ้ง”

 

 

โกสุพาสช่วยยกตัวอย่างประโยค “แน้นชิด” ให้หน่อยครับ.... ไหง่เคยติดตามผู้ใหญ่ไปเยี่ยมคนคลอดลูกหลายครั้งได้ยินผู้ใหญ่คุยกันว่า “จิดแน้น หรือ แน้นจิด” แปลว่า “น้ำนมกระปิกระปอย หรือ น้ำนมไม่ออก” จนเต้าระบมหรือเจ็บ “痛 tung5 ทุ้ง” ไม่แน่ใจว่าเป็นความหมายสถานการณ์เดียวกันหรือเปล่าครับ

การจัดทำหนังสือ ภาษาจีนฮากกา

จากที่อ่านมา ดีใจที่มีอาสาสมัครจากน้อง tonkla ที่จะอาสารวบรวมเป็นหนังสือตำราภาษาจีนแคะ แต่ว่าการทำงาน ก็ต้องมีการวางแผนและเตรียมงาน เห็นควรที่จะทำในนามสมาคมมากกว่า จะได้จัดพิมพ์และจดลิขสิทธิ์ไว้ โดยทีมงานจากพวกเราที่เป็นสมาชิกสมาคมฯนี่แหละ ซึ่งตำราจะได้มาตรฐาน ไม่ควรทำ หากจะมีข้อผิดพลาดเยอะ ผมก็อยากให้มีตำราออกมาเร็วๆ อีกทั้งการทำงานก็ต้องมีค่าใช้จ่าย หากจะตั้งงบประมาณการจัดทำจากสมาคมสักก้อนหนึ่ง การจัดทำก็น่าจะรวดเร็วขึ้น หรือจะจัดตั้งงบจัดทำต่างหาก ก็พร้อมจะช่วย พวกเราคิดว่าไงครับ คนละนิดละหน่อย น่าจะสำเร็จได้ และเข้าใจว่า ปัจจุบันยังมีคนที่พูดจีนแคะได้อยู่จำนวนมาก การจัดทำเป็น vcd โดยใช้ตัวแสดงก็น่าสนใจนะครับ จะเรียนรู้ได้เร็วกว่าการอ่านตำรา

รูปภาพของ มงคล

tonkla สู้ๆ

เข้ามาให้กำลังใจ สู้ๆ ก็เห็นด้วยกับทุกท่านที่เสนอมา

เมื่อทำงานมาก ก็ย่อมพบอุปสรรคมากกว่า ทำงานน้อยเป็นธรรมดา

 

แต่เชื่อว่างานนี้ไม่เหนื่อยเปล่า เพราะทุกบทความที่ได้เผยแพร่เป็นสาธารณะที่นี้ ซึ่งที่มีพยานรู้เห็นได้ทั่วโลกแล้ว ย่อมได้รับความคุ้มครองตาม พรบ. ลิกขสิทธิ์ พ.ศ.2537 โดยอัตโนมัติ ว่าท่านเป็นผู้เรียบเรียง ที่ผู้อื่นจะนำไปใช้ประโยชน์โดยไม่บอกกล่าวไม่ได้ และที่สำคัญกว่าอื่นใด คือเป็นการให้ความรู้เป็นทานนี้ ย่อมได้รับอนิสงฆ์แก่ตนเองร้อยเท่าทวีคูณ

 

ยอมรับว่าการทำตำราให้ได้มาตรฐานทำยากมาก  ส่วนใหญ่ใช่ว่าจะทำลำพังได้สำเร็จเพียงคนเดียวได้ง่ายๆ  เพราะการให้ความรู้ที่ผิด เปรียบเหมือนให้ยาพิษแก่ผู้เรียน และการลำดับการเรียนรู้ให้เป็นมาตรฐานยิ่งยากใหญ่หลายคนก็หลายความเห็นกว่าจะลงตัวได้ไม่ง่าย

แต่ถ้าทำเป็นบทความ ความคิดเห็น หรือฉบับเริ่มต้น เพื่อจะพัฒนาจะเป็นตำราได้ต่อไป จำเป็นต้องมีก้าวแรกเสมอ  และการทะยอยนำเสนอเป็นบทความ ที่มีช่องให้แสดงความคิดเห็น ให้สมาชิกทุกคนได้เป็นอาสาสมัครที่มาด้วยใจ ช่วยกันดู มีส่วนร่วมเติมเต็มให้กัน จนเป็นเอกสารที่สมบูรณ์มากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะเป็นตำราที่ดีได้เช่นกัน

ก็ไม่รู้ว่าจะมีสมาคมใดจะอาสาเป็นโปโมเตอร์ ให้ทุน ให้สถานที่ทำงานที่มีบุคลากรที่เหมาะสมกับงานให้หรือเปล่า  ถ้ายังไม่มีโปรโมเตอร์ แต่ทำในนามส่วนตัว ก็ไม่จำเป็นต้องทำภายใต้เงื่อนไขของนายทุน  (แต่คงต้องตามกติกาเว็บเขาอยู่บ้าง เพราะใช้พื้นที่เขานำเสนอเผยแพร่) และเชื่อว่าชุมชนชาวฮากกาพีเพิลตรงนี้ ก็จะได้ช่วยกันเป็นหมู่คณะได้เหมือนกัน

และคงต้องทำใจยอมรับอีกอย่างว่า ภาษาฮากกา มีหลายสำเนียง บางคำมีหลายเสียง อาจจะมีบางคนที่รู้จักเพียงบางเสียง ก็อาจคิดว่าเสียงที่ตัวเองไม่คุ้นคิดว่าผิด หรือบางคำก็ได้ยินมาผิดเพียนไปจริงๆก็มี  จึงต้องยอมรับกัน แล้วปรับปรุงกันไปทำกันไป ก็ย่อมจะได้งานทางวิชาการที่สมบูรณ์มากขึ้นเรื่อยๆ

 

ส่วนการทำเป็น VCD ด้วยก็ดี เป็นอีกช่องทางเหมือนมีเอกสารที่หลากหลายรูปแบบ ที่ต่างฝ่ายต่างทำ หรือทำร่วมกัน เสริมกันได้ ก็น่าจะสนับสนุน หรือให้มีคนทำเยอะๆ จะได้มีสื่อที่หลากหลายมากขึ้น

 

รูปภาพของ มะไฟ

อยากช่วย

เห็นบอกว่าอยากรวบรวมเป็นหนังสือหรือซีดี ขอบคุณแทนทุกคน มีอะไรให้ไหงช่วยบอกได้นะไหงอยากช่วยมากเลย ตอนนี้ไหงว่าง ๆ รับงานน้อยลง เหลือแค่สอนหนังสือวันเสาร์อาทิตย์เท่านั้น  อยากทำงานเพื่อส่วนรวมและเพื่อชนชาติพันธ์ฮักกาของเรา น้องสาวไหงก็น่าจะช่วยเรื่องข้อมูลทางวิชาการได้เหมือนกัน เซ่โม่ยไหง เป็นหัวหน้าภาควิชาภาษาจีนที่ ม.เกษตร  ชื่อ ดร.กนกพร นุ่มทอง แต่ตอนนี้เพิ่งแต่งงานมีลูกเล็ก แต่ก็มีทีมงานลูกศษย์ น้องไหงเป็นคนเขียนหนังสือ เรื่อง ๑๐๐ วีรสตรีในประวัติศาสตร์จีน ๑๐๐ วีรบุรุษฯ และ ๑๐๐ โสเภณีในประวัติฯ

รูปภาพของ อาฉี

เห็นด้วย

เห็นด้วยกับทุกท่าน ดังข้างบนว่า

ถูกใจ คำว่า

"การให้ความรู้เป็นทานนี้ ย่อมได้รับอนิสงฆ์แก่ตนเองร้อยเท่าทวีคูณ"

และทุกอย่างจะต้องมีการเริ่มต้น เพื่อความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้

 

การเสนอบทความ ความคิดเห็นต่างๆ บนเว็บ เป็นเอกสิทธิ์ฃองบุคคล หรือนิติบุคคลก็ได้ ไม่มีข้อจำกัดว่าต้องเป็นใครมีสังกัดหรือไม่ ในเมื่อทุกคนมาด้วยใจที่เปิดกว้างแล้ว  ย่อมทำได้เต็มที่ แต่ถ้าโชคดีมีกองทุนหน่วยงาน หรือองค์กรที่สังกัดเป็นโปรโมเตอร์ให้ ก็ค่อยจำเป็นต้องปรึกษาโปรโมเตอร์ หรือนายทุนบ้างละ 

 

ส่วนกติกาของเว็บ ก็ไม่มีอะไรมาก แค่จัดสรรพื้นที่เท่าที่มีอยู่ แบ่งกันให้ใช้งานได้ทั่วถึง บนความสามารถของเครื่องเท่าที่ admin จะทำให้ได้  โดยพยามไม่ให้ละเมิดกฏของสังคม และปกป้องสิทธิของสมาชิก เท่าที่จะทำได้

 

และงานแบบนี้ต่องยินดีสนับสนุนอย่างเต็มที่ เพราะเป็นหนึ่งในอุดมการณ์ของเว็บนี้ ที่ต้องการให้เป็นชุมชนของพี่น้องฮากกา ใช้ในการถ่ายทอดอารยธรรมจากบรรพบุรุษให้สืบไป ครับผม

ดีครับ

เห็นด้วยครับที่จะให้มีการจัดทำหนังสือ  พอดีผ่านมาเวปนี้รู้สึกดีมากเลยครับที่มีชุมชนคนจีนแคะอยู่ ผมเป็นหลานจีนที่พูดจีนแคะไม่ได้ แต่เตี๊ยผมพูดได้เขียนได้เพราะท่านเคยเรียนมาตอนเด็กๆ ตอนเล็กๆท่านก็สอนผมแต่ด้วยความเป็นเด็กก้เลยไม่ได้สนใจ แต่พอโตมาก้นึกเสียดาย อยากให้มีการจัดทำเป็นหนังสือครับ จะได้มีภาษาของบรรพบุรุษไว้สอนลูกหลาน

รูปภาพของ เฉินซิ่วเชง

วันและตัวเลข พูดว่าในภาษาฮากกา

ถามถึงวันอะไรแบบจีนฮากกา

วันอะไร = ลีไป่เกลียว  หรือ  เซนขีเกลียว (ขักวอย)

วันจันทร์=เซนขีหยิด หรือ รีไป่หยิด (ขักวอย)

วันอังคาร=เซนขีหงี่  หรือ ลีไป่หงี่ (ขักวอย)

วันพุธ  เซนขีซาม หรือ ลีไป่ซาม(ขักวอย)

วันพฤหัส  เซนขีซี่  หรือ ลีไป่ซี่ (ขักวอย)

วันศุกร์  เซนขีออื้อ  หรือ ลีไป่อื้อ (ขักวอย)

วันเสาร์ เซนขีหลิ หรือ ลีไป่หลุก (ขักวอย)

วันอาทิตย์  เซนขีหงิด หรือ ลีไป่หงิด(ขักวอย)

ถามถึงตัวเลข  ซู่ชื่อ

1  หยิด

2  หงี่

3  ซาม

4  ซี่

5  อื้อ

6  หลุก

7  ฉลิด

8  ปั๊ด

9  กิ้ว

10  สิ๊บ

เป็นสำเนียงแบบฟงสุน ประเทศจีน

วันและตัวเลขแบบหม่อยแย้น

วันอาทิตย์-ลีไป๊

วันจันทร์  -ลีไป๊หยิด

วันอังคาร -ลีไป๊งี้

วันพุธ     -ลีไป๊ซำ

วันพฤหัส-ลีไป๊ซี้

วันศุกร์  -ลีไป๊อื่อ

วันเสาร์ -ลีไป๊หลุก(หลี่+หยุก *ควบกัน*)

สัปดาห์ถัดไป-ฮ้า จัก ไป๊

ตัวเลข

1-หยิด

2-งี้

3-ซำ

4-ซี้

5-อื่อ(ในคอ)

6-หลุก(ควบ)

7-ฉิด

8-ปัด

9-กิ้ว

10-ซิบ

กิจเจ-ซิดใจ  อะไร-มะเก๊,มะแก๊,มะไก๊  คุณ-อึ่ง(ในคอ)  ผมรักคุณ-ไหง่อ๊อยอึ่ง 

ไก่ทอด-จ้างไก แหล่ว-บันได วุ่ค-บ้าน ซินซัง-ครู ล่อซือ-อาจารย์ จ่อก-โต๊ะ

ชินพู-รับรอง,การันตี  แหล่นไท้-แน่ใจ,ชัวร์,มั่นใจ ชิกา-กันเอง,ตนเอง

อาปาเฮ๊จ๊อ(จ๊อ=โจ+อ้อ *จะได้เสียงออริจินัล*)มะเก๊-คุณพ่อครับทำอะไรหรอ

ไหง่กิมหม่าหลุ่นแฮ๊ด-ผมอยู่มาเลเซีย ไหง่เต็ดก้องหักฟ่า-ผมพูดภาษาฮากกาได้

เหมยโจว-หม่อยจิว,หม่อยจู๋  เท่าไหร่-กิดตอ เอาไว้แค่นี้ก่อนครับ

เป็นสำเนีงกลางฮากกาหม่อยแย้น ประเทศจีน ถ้าผิดประการใดช่วยชี้แนะด้วยครับ

ศัพท์และประโยคหักฟ่า

แบบนี้ประโยคชั้นสูงครับ

ไหง่ สี่อ่อง ฮ็อกข่อยฟุย-ผมอยากหัดประชุม

ไหง่ อ้อย ฮี้ ไก๋ฉ่อง(ซื่อฉ่อง)-ฉันจะไปตลาด

(ใครอย่าไปพูด "ฮี้ตัดลัด" ที่ถ่องซานเชียวล่ะครับอายเขา)

ไหง่ อ้อย ฮี้ ปักฟ้อกุงซือ-ฉันจะไปห้างสรรพสินค้า

หงี่("อึ่ง"ในลำคอ) หม่อ แฮ๊ ฮ็อกเซ็น-คุณไม่ใช่นักเรียน

หงี่(อึ่ง)อ้อย ฮี้ ฮ็อกเก่า แฮ๊ หม่อ-คุณจะไปโรงเรียนใช่ไหม

ไหง่ จอนซิม ฮ็อก เจิดเงียบ-ผมตั้งใจเรียนวิชาชีพ

คำศัพท์

หยิ่ว-มี แจ้ว-วิ่ง ชา-รถยนต์,น้ำชา หยิ่มซุ่ย-จิบน้ำ ซิดย๊อก-กินยา แกว-สุนัข อับ-เป็ด

อับหม่า-นางโลม ปั้นกุ๊งหม่า-บุคคลเพศที่3 หน่ำใจ่,ไล๊ใจ่-ลูกชาย ม้อยใจ่-ลูกสาว

ล่อกุง-สามี ล่อผ่อ-ภรรยา อั้นผุ่ย-อ้วนมาก

รูปภาพของ อิชยา

ทำไมของไห

ทำไมของไหงนับเลข 2  ไม่เหมือน

หยิด 1

ร่ยอง 2

ซ้ำ 3 .... ซี่ 4.... อึ้ง 5 ....

พอถึง 20 นับ อ่านว่า หงี่ซิบ   แต่ตรงนับ 2 ไม่นับ หงี่  

และ 5 ออกเสียงว่า อึ้ง  ไม่เป็น อือ 

อาผอ อากุ๊งไหง เป็นชิมคัก และปั้นซันคัก  (ตามลำดับ)  

มาอาป๊าไหง  เป็นกวางตุ้ง อีก (แต่อาป๊าไม่อยู่สอน)

ตัวไหงเอง ก็ไม่ค่อยได้ใช้  เพราะญาติผุ้ใหญ่ค่อย ๆ จากไป 

รูปภาพของ หม่านชา

ตอบหงี่คับ

คำว่าร่ยอง อ่านจิงๆว่าเหลี่ยอง เป็นคำควบอะฮะมาจากตัวนี้(两)

รูปภาพของ Mr.Xiong

เรื่องของ 2

 งี้ คือตัวเลขครับ  เช่นหยิด งี้ ซาม, งี้เงียด, ที้งี้ (หนึ่งสองสาม,เดือนสอง,ที่สอง

ร่ยอง หรือ เหลียอง, ลียอง (เสียงควบ) เป็นจำนวน เช่น  ลียองย้อง,ลียองจักหงิ่น, ลียองเงียด-ลียองจักเงียด ( สองอย่าง,สองคน,สองเดือน)

熊永发

รูปภาพของ ท้ายแถว

หยิดแฮ่ ล่วงไก้หงิน

เหมือนๆ กันกับท่านทั่งสอง

นับตัวเลข 12345... อ่านตามภาษาหนังสือ (สำเนียงฟุงสุ่นหงิน) อ่านว่า หยิด หงี่ ซำ ซี่ (5มันอื้อพิมพ์ไทยไม่ถูก) ...

แต่พอบอกจำนวนนับ เลขสอง บ้านไหง ออกเสียง คล้ายๆ ล่วง(เหลี่ยง) เช่น ล่วงไก้, ล่วงจัก แต่สำนวน ล่วงไก้ กับ ล่วงจัก บางที่เห็นใช้ในสถานการณ์ต่างกัน ว่าใช้กับคน สัตว์ สิ่งของ หรืออะไรสักอย่าง แล้วแต่ท้องถิ่นด้วยมั่ง ค่อนข้างละเอียดอ่อนสไตล์ภาษาถิ่น ซึ่งไหงก็รู้ไม่ลึกพอ (ถ้าใช้ผิดขออภัย)

คงคล้ายๆภาษาไทย ก็มีการใช้เปลี่ยนรูปไปตามความนิยม เหมือนกัน  (ไม่ต้องมีเหตุผลว่าทำไมก็ได้มั้ง) เช่น

เดือนอ้าย เดือนยี่ ... เดือนสิบสอง ไม่ใช้สิบยี่ แต่ใช้ ยี่สิบ ไม่ใช้สองสิบ
หรือเบอร์โทรสมัยก่อน นิบมเรียกเบอร์โทรเลข สอง ว่า โท ก็ดีว่าคนฟังไม่เพี้ยน สองกับสาม

แต่เดี๋ยวนี้กลับไม่ค่อยได้ยินคนใช้ โท แทนสองแล้วมั้ง หรือว่า ยุคดิจิตอล 2G-3G ชัดล้านเปอร์เซนต์ไปแล้ว เลยเรียก สอง ตรงๆได้ ทำท่าจะกลายเป็นภาษาโบราณให้วัยรุ่นเซ็งหรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่ไม่ได้ดีใจหรือเสียใจ เพราะภาษาที่ยังไม่ตาย ย่อมมีการวิวัฒนาการของมันไปตามกาลเวลาเป็นเรื่องปรกติ เราสามารถเรียนรู้และเข้าใจร่วมกันได้เสมอ

รูปภาพของ ใช่หงี่อุ้ย

เดือน วันที่ และเทศกาล

เดือนของฝรั่ง   -   ฝุ่งม้อไก้เงี๊ยด 

มกราคม      -  จ้างเงี๊ยด

กุมพาพันธ์    -  หงีเงี๊ยด

มีนาคม    -    ซ่ามเงี๊ยด

เมษายน     -   วี่เงี๊ยด

พฤษภาคม    -   อึ้งเงี๊ยด

มิถุนายน    -    หยุกเงี๊ยด

กรกฏาคม   -   ฉิดเงี๊ยด

สิงหาคม    -    ปัดเงี๊ยด

กันยายน   -  กิ๊วเงี๊ยด

ตุลาคม   -  ซิบเงี๊ยด

พฤศจิกายน  -   ซิบหยิดเงี๊ยด

ธันวาคม   -  ซิบหงี่เงี๊ยด

วันที่

วันที่1 - ชู๊หยิดหงิด

วันที่2 - ชู๊หงี

วันที่3  -  ชู๊ซ้ำ

วันที่4   -   ชู๊สี่ 

วันที่5   -ชู๊อึ้ง

วันที่6  -  ชู้หยุก

วันที่7  -  ชู้ฉิด

วันที่8  -  ชู๊ปัด

วันที่9   -  ชู้กิ้ว

วันที่10  -  ชู้ซิบ

วันที่11  -  ซิบหยิดหงิด

วันที่12  -  ซิบหงี่หงิด

เทศกาลต่างๆๆของจีนใน1ปี

ตรุษจีน  -  กั้วเหนียน

เชงเม้ง    -  ชิ่นหมิน

สาทรจีน   -  ฉิดเงี๊ยดปั้น

ไหว้พระจันทร์   -  ปัดเงี๊ยดปั้น

กินเจ  -   ซิดใจ๊

ไหว้ขนมบัวลอย   -   ป้ายเสียกเหยียน

ส่งเจ้า  -  ซุ่งฉิน

 

ช่วยตอบหน

ช่วยตอบหน่อยว่า หมุกสับ แปลว่าอะไร

สอถาม

ใครรู้บ้างว่าคำว่า หมุกสับ แปลว่าอะไร

สวัสดีครับ

สวัสดีครับ ไหงไม่เข้ามานานพอูสมควรครับทุกท่านขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความรู้เพิ่มขึ้นนะครับ สำหรับไหงก็แค่พอฟังได้นิดหน่อยเองครับ และยินดีเรียนรู้จากทุกท่านเป็นที่สุดครับ

คุณทศพล ทรัพย์อมรไพศาล ครับ หมุกลับ เป็นภาษาไทยหรือจีนครับ นี้เขียนผิดหรือป่าวครับ

 

หมุก แส่บ ปั้นซั้นขัก แปล

หมุก แส่บ ปั้นซั้นขัก แปลว่า ง่วงนอน

     ปูช้องยิ่ว คิดเห็น หยีเกี้ยน

ตอบ

ภาษาจีน อาจออกเสียงเพี้ยนได้ น่าจะแปลว่า ง่วงนอน ครับ

ถ้าง่วงนอ

ถ้าง่วงนอนจะเป็น หมุกเส่บ แต่ถ้า หมุกสับ คืออะไร

ช่วยตอบด้วย

รูปภาพของ แกว้น

“มูกจู 目珠” และ “มูกซาบ 目闪”

“มูกซาบ หรือ ซาบมูก” เป็นสำนวนพื้นๆในชีวิตประจำวันของคนฮากกาทั่วไปทุกถิ่นแปลว่า “หลับตา หรือ ปิดตา” ซึ่งมีความหมายว่า “ง่วงนอน” เช่น “ซาบมูกจู” แปลว่า หลับตา หรือ ปิดตา 
“ซาบ” ไม่แนใจว่ามีตัวเขียนด้วยหรือเปล่า แปลว่า ปิด หรือ หลับ มีใช้ในกรณีของดวงตาส่วนจะมีกรณีอื่นอีกหรือเปล่ายังไม่แน่ใจ
“มูก 目หรือ มูกจู 目珠” แปลว่า ตา หรือ ดวงตา 
หรือ “หงั่นโซ้ย หรือ เงี่ยนซ้อย 眼睡” ของจุ้งฟะ “นอนหรือหลับแต่ตา แต่ร่างกายและจิตใจยังไม่ได้หลับ” หมายความว่า “ง่วงนอน” นั่นเอง
ส่วนสำเนียง “หมุกสับ หมุกแสบ หมุกแซบ หมุกเซียบ หมุกเสบ และ มูกซาบ” คงขึ้นอยู่กับความคุ้นเคยของบุคคล ครอบครัว และสำเนียงถิ่นของตนเอง เว้นแต่ที่จุงเหงี่ยนและซ้องห่องคงจะมีเพียงสำเนียงเดียวเมื่อนับพันปีก่อน  
(เพิ่มเติม) 
"มูกซาบ" เขียนได้ว่า  “目闪” 
闪 อ่านว่า "ซาบ sap7 หรือ ส่าม sam3" แปลว่า "หลับ หรือ กระพริบ หรือ หลีกหนี" ซึ่งหมุ่ยแย้น และไท้ปูออกเสียงเหมืนกัน
สำนวนง่วงนอนอีกคำหนึ่งคือ "ตุ้กมูกซ้อย"
"ตุ้กมูก" ไม่แน่ใจเป็นลักษณะอาการตากระตุกของคนง่วงนอนหรือเปล่า?
"捣" สำเนียงหมุ่ยแย้นอ่านว่า "duk5 ตุ๊ก" และสำเนียงไท้ปูอ่านว่า "duk1 ตุก" แปลว่า กระตุก หรือ สับ หรือ ตำ 
รูปภาพของ แกว้น

“มูกจู 目珠” และ “มูกซาบ 目闪” (เพิ่มเติม)

ดูเพิ่มเติมในความเห็นเดิม

(“มูกจู 目珠” และ “มูกซาบ 目闪”)

รูปภาพของ Mr.Xiong

ขอให้ระวังคำศัพท์ใหม่ด้วยนะ

รู้สึกดีใจที่มีโอกาสผ่านมาเห็น ชิก๋าหงิ๋น แสดงความคิดเห็นกันเยอะ   แต่ตอนนี้รู้สึกว่าภาษาแคะแท้ๆ จะหาฟังได้น่าจะเป็นหาดใหญ่ หรือ เบตงมากกว่านะ  ที่หม่อยเย่นตอนนี้ออกจะเสียงผสมกับจีนกลางเป็นส่วนใหญ่แล้วละ

ยกตัวอย่างให้นะ อาทิเช่น

เดิม              ตอนนี้      ความหมาย

หยิด              เย๋า           หนึ่่ง

ชุงเหลียง       แส่เซิน        อาบน้ำ

เกียกเกี๊ยก      ไค้วๆ          เร็วๆ

ล็อกซุ่ย          ล็อกหยี่       ฝนตก 

 ใครคิดว่ามีความเห็นอื่นก็สามารถมาแชร์กันได้นะ   บ้านพ่อผมอยู่หม่อยเย่น

 

แก้ไขให้อาก๊อxiongนิดนึงครับ

แซ่เสินไม่ใช่ศัพท์ใหม่ครับ

แซ่เสินเป็นศัพท์ออริจินัลเลยละครับ

ก่อนจะมาเป็นชุงเหลียง

ที่จริงไหง่เป็นหม่อยแย้น พอดีว่าอากุงกี่หลงๆลืมๆตอนแรกบอกว่าเจียวเหลี่ยง

พอไหง่ถามวันนี้ อากุงแค่จะสื่อว่าเจียวเหลี่ยงเซี่ยงฉีเยอะ ที่จริงตระกูลฉีของครอบครัวไหง่

มาจากหม่อยแย้นโดยตรงเลยครับ เพียงแต่อากุงเกิดและโตที่เมืองไทย พอกลับไปเยี่ยม

พี่น้องที่หม่อยแย้นก็ไม่ได้พูดกับใคร พูดแต่กับญาติๆ แต่อากุงบอกว่าญาติๆก็พูดแบบอากุง

นะครับ คือเรียกแทนบุคคลที่2ว่าหงี่ โดยที่ถูกต้องของหม่อยแย้นจริงๆจะพูดว่าอึ่ง(ในลำคอ)

อากุงนี่น้า... ฮา.

รูปภาพของ แกว้น

"ยิด" ก็หนึ่ง "ยาว" ก็หนึ่ง

อาซีโหย่งอยู่ใหน?? โดยส่วนตัวไหง่ไม่มีความรู้สึกว่าภาษาฮากกาแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน ถ้าจะมีบ้างก็เฉพาะเรื่องของสำเนียงเท่านั้นแต่ก็สื่อสารฟังกันรู้เรื่อง ความจริงภาษาไม่มีรูปแบบตายตัวรวมทั้งภาษาฮากกาพูดได้หลายลักษณะขึ้นกับความคุ้นเคยและความพอใจส่วนตนมากกว่า คำทั้งหมดที่ยกมาก็ไม่ใช้คำเก่าหรือคำใหม่ใดๆเลย
“หยิด หรือ ยิด” แปลว่า หนึ่ง ซึ่งสามารถพูดได้อีกว่า “ยาว” ออกเสียงเหมือนจีนกลาง ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนที่อาจผิดพลาดขึ้นระหว่างเลข 1 กับ 7 ซึ่งอ่านว่า “ฉิ่ด” และ ”เย๋า” เป็นสำเนียงไป๋ฮว้า หรือกวางตุ้งที่ใช้กันเป็นภาษากลางทั่วไปในมณฑลกวางตุ้ง
“ชุงเหลียง” แสดงความคิดเห็นแล้วในหน้านี้ 
“เกียกเกี๊ยก ไค้วๆ”  
“เกียกเกี๊ยก หรือ เกี่ยกเกี่ยก” เป็นภาษาพูด ส่วน “ไคว้ๆ 快快” เป็นภาษาหนังสือ แปลว่าเร็วๆ
“ล็อกซุ่ย 落水 ล็อกหยี่ หรือ ล็อกยื่อ หรือ ล็อกยี่ 落雨” แปลว่า ฝนตก ซึ่งก็มีใช้กันทั่วไปแล้วแต่อารมณ์ผู้พูดและ 落雨 ยังมีใช้ในรูป 下雨 แต่ไม่ค่อยจะใช้พูดกันในภาษาฮากกา (ดูเรื่องเล่าสนุกงานสัมมนาครบรอบ 5 ปีของสมาคมเหมยเซี่ยน)
รูปภาพของ Mr.Xiong

ตอบแกว้นกอ

เห็นด้วยครับ  ภาษาฮากกาแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน
ถ้าจะมีบ้างก็เฉพาะเรื่องของสำเนียงเท่านั้นแต่ก็สื่อสารฟังกันรู้เรื่อง
ความจริงภาษาไม่มีรูปแบบตายตัวรวมทั้งภาษาฮากกาพูดได้หลายลักษณะขึ้นกับความ
คุ้นเคยและความพอใจส่วนตนมากกว่า  ที่ไหง่บอกมานี้คือ คำพูดที่ได้ยินมาจากหม่อยแย้นจริงๆ ซึ่งบ้านไหง่มาจากหม่อยแย้น(ซันปา)เหมือนกันมักไม่ค่อยได้ยิน จึงนำมาเปรียบเทียบ เช่นคำว่าเย๋า เขาใช้กับหมายเลขโทรศัพท์ และ หมายถึงเอี่ยวในลูกเต๋าครับ

熊永发

รูปภาพของ แกว้น

อาซีโหย่งหยุ่งฟาด แทย

อาซีโหย่งหยุ่งฟาด แทย

ณเวลานี้จะเรียกหมุ่ยแย้นว่า "ซันปา" อีกไม่ได้แล้วต้องเรียกว่า "ซื้อสั่ง 市城" ตามความเจริญที่พัฒนาขึ้น 

แค่คำว่า "้น้องชาย" ภาษาพูดฮากกาของเราเรียกว่า "แทย" ภาษาหนังสือเีัรียกว่า "ที้" ถ้าไม่รู้ก็คงว่ากันยาวเหมือนกับหลายๆคำ  

"เลขหนึ่ง" ออกเสียงในภาษาพูดแตกต่างจากปกติเพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นระหว่างเลข 1 กับ 7 ที่มีเสียงคล้ายคลึงกัน

ภาษาพูดจีนกลาง กับภาษาพุดฮากกาสำเนียงไท้ปูออกเสียงเหมือนกันว่า "yao1 ยาว" ส่วนสำเนียงหมุ่ยแย้นออกเสียงตามอาหยุ่งว่า "เย๋า"

ภาษาพูดกวางตุ้งออกเสียงว่า "เย๋า"

ภาษาพูดฮกเกี้ยน และไหหลำออกเสียงเหมือนกันว่า "เอียว หรือเอี่ยว"

สำเนียงภาษาพูดทั้งหมดข้างต้นเป็นภาษาพูดทั่วไปที่ใช้กันมาแต่โบราณและไม่ปรากฎในพจนานุกรม ความสำคัญของคำนี้คือ ตัวเลขทางการค้า ราคาและปริมาณสินค้า ตัวเลขทางบัญชี ฯลฯที่มิอาจยอมเสี่ยงต่อความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดถึงหมายเลขโทรศัพท์ก็ตามจะใช้คำนี้เป็นปกติวิสัยอยู่แล้ว (ต่างจากปัจจุบันที่สามารถยืนยันตัวเลขผ่านแฟกซ์ และอีเมล์ได้ทันที)  

 

 

 

สอบถาม

อยากทราบคำว่า หมุกสับ คือ.......

                       ต้นหย่อก คือ............

                       ตุ๊งเจี้ย  คือ.........

ใครรู้ช่วยตอบด้วย

รูปภาพของ มงคล

สำเนียงคล้าย

คำว่า หมุก น่าจะเกี่ยวกับตา เช่น หมุกจู (ตา) แต่ ลับ ไม่รู้จริงๆ ไหงไม่ได้เรียนมา ลองถามคนพูดที่ไปได้ยินมา หรือเล่าเหตุการณ์ที่ทำให้ได้ยินมา เพื่อจะเดาสำเนียงออกว่า อะไรคือคำตอบที่ต้องการ

 

ส่วน ตุ๊งเจี้ย ขอเดาแบบคนไม่รู้ภาษาว่าน่าจะหมายถึง ตุงเจียก - เทศกาล กลางฤดู หรือเปล่านะก็ไม่รู้ ผู้รู้ก็ช่วยชี้แนะด้วยนะ

หรือว่าเพี้ยนมาจากคำเต็มว่า 中元节 (จุงเหงี่ยนเจียด) หรือเปล่าก็ไม่รู้ สำเนียงแต่ละบ้านอาจแตกต่างกัน เช่น

中 เคยได้ยินหลายเสียง จากจีนกลาง(จง),ปันซันขัก(จุง/ตุง) จนถึงแต้จิ๋ว(ตง) ที่หมายความว่า ตรงกลาง
元 (จีนกลาง แหยน, ปันซันขัก เหงียน) หมายถึง อันดับแรก, หัว, เริ่ม
节 (จีนกลาง เจี๋ย, ปันซันขัก เจียก) หมายถึง ส่วน ช่วงเวลา จุดเชี่อมต่อ หรือเทศกาลก็ได้

ความหมายรวมๆของ 中元节 คือวันจุงเหงียน (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 จีน) วันนี้ชาวฮากกาบางท้องที่เรียกว่า เป็นวันสารทผี (鬼节 กุ้ยจียด) จึงถือ เอาวันก่อนสารท 1 วัน คือ ขึ้น 14 ค่ำ เป็นวันสารทคน วันนี้จะทำพิธีไหว้บรรพบุรุษกลางเดือนเจ็ด ที่เรียกกันว่าวัน 七月米 (ฉิดเงียดปั้น) วันนี้บางบ้านก็จะทำขนม ฮฺยวงปั้น (ขนมอ่อน) แป้งทอดอ่อนเหนียวนุ่มโรยงา ที่รู้จักกัน ในนามกาลอจี้ นั้นเอง

 

ด้วยข้อจำกัดของภาษาท้องถิ่นคือ มีหลายสำเนียงคล้ายกันเหมือนบ้างต่างบ้างก็ว่ากันไป การเรียงสำนวนประโยคยังต่างกันบ้าง ปั่นซันขักจะเรียงละดับคำเหมือนจีนกลางเกือบทั้งหมด แต่ฉิมขักมีสำนวนเฉพาะตัวเองมากกว่า (อาจเป็นเพราะชาวปันซันขักเป็นผู้ที่ต่อสู้เพื่อชาวฮั่นถอยร่นมาเป็นรุ่นหลังกว่า จึงแยกตัวลงมาทีหลังกว่า วิวัฒนาการทางภาษาจึงยังไม่ทิ้งห่างจากจีนกลางปัจจุบัน ที่มาจากภาษาทางตอนเหนือด้วยกันมากนัก แต่สำเนียงเพียนไปตามชนพื้นเมืองที่อยู่ทางตอนใต้ของจีน ที่แตกต่างกันแต่ละท้องที่ บางคำเหมือนจีนกลาง บางคำเหมือนกวงตุ้ง บางคำเหมือนแต้จิ๋ว เพี้ยนมากเพียนน้อยก็ว่ากันไปแต่ละหมู่บ้าน แต่โดยรวมแล้วก็คือภาษาฮากกาด้วยกันนั่นเอง) คำเดียวกันจึงมีเสียงเรียกกันได้หลายสำเนียงสำนวน ที่ไม่มีคำใดผิด

มีคำบางคำที่อยู่คนละประโยค ความหมายไปคนละทางก็มี เช่นคำที่มีความหมายว่า กลม กับ กลิ้ง ในภาษาฮากกา หรือคำว่า พ่อ+ตา ในภาษาไทย

บางคำก็มีเสียงคล้ายกันมากแต่คนละความหมาย ซึ่งมีคำแบบนี้ในทุกภาษา เช่นคำว่า ไม่ กับ ไหม้ คำว่า ใช้ กับ ใช่ ในภาษาไทย 

มีคำศัพท์ไม่น้อยที่เป็นสำนวนสั้นๆที่รู้กันเฉพาะในหมู่ที่สนทนากันจึงคุยกันรู้เรื่องในท้องที่สถาณการณ์หนึ่ง (ขอตัวอย่างที่คนทั่วไปรู้จัก) เช่น ฝุ่งมอ-ผมแดง แต่ผมขาวผมทองผมดำก็ได้ เหมือนไทยว่า ฝรั่ง ที่ไม่เฉพาะฝรั่งเศษเท่านั้น หมายรวมถึงชาวตะวันตกทั้งหมด  ขืนไปแปลเป็น คนโกรกผมแดงมา ก็ได้ความหมายไปคนละเรื่องและถ้าเป็นคำย่อที่รู้กันเฉพาะหมู่บ้านก็ตีความผิดได้ได้เหมือนกัน

จึงทำให้ผู้คนที่รู้ภาษาเขาคุยกันเข้าใจแม้สำเนียงผิดเพี้ยนมากก็ไม่ถือสาคุยกันรู้เรื่องดี แต่พอยกมาถามเป็นบางคำก็ไม่กล้าเดา คิดว่า ถ้ายกมาทั้งประโยค
หรือบอกเหตุการณ์ที่ไปได้ยินมา ผู้ที่ยังฟังไม่ได้ศัพท์ก็ไม่สับสน เผื่อจะมีผู้ใจดีกล้าตอบได้ตรงความต้องการผู้ถามได้บ้าง

 

ไหงก็เคยเจอปัญหา กลัวอ่านเพี้ยนผิดสำเนียง จึงเอาตัวอักษรจีนบางตัวไปถาม คนจีนทั่วไปในตลาดเขาก็ตอบได้ทันที แต่หลายคนก็หลายคำตอบ พอไปถามผู้ที่เรียนรู้ภาษาจีน เรียนจบมาชั้นสูงมาจริง เขากลับตอบว่า"ฉันไม่ตอบ ถามแค่นี้ตอบไม่ได้! เดี๋ยวผิดไปกันใหญ่" ให้ไปเอามาทั้งย่อหน้า ถ้าไม่ใช่ศาสตร์เฉพาะทางที่ฉันไม่รู้ หรือคำในบทสวดมนต์จะแปลให้  ถ้าขืนยังไปเซ้าซี้ถามต่ออยากได้คำแปลเฉพาะคำที่ถาม จะเจอใส่มาเป็นชุด หลายๆรูปประโยค พร้อมคำแปลเมื่ออยู่ในคนละประโยค แถมดุกลับว่าอยากได้แบบไหนไปเลือกเอาเอง. มึนกลับไปเลย

รูปภาพของ Mr.Xiong

หมุกสับ

เข้าใจว่าเป็นคำพูดที่สำเนียงไม่ชัดมากกว่า   ตามความเห็นของผมแปลได้อย่างนี้ครับ

หมุกสับ คือ อาการตาปรือ,สัปงก หรือ พูดง่ายๆว่าง่วงนอนนั้นเอง

ต้นหย่อก (ตานย่อก) คือ ยารักษาโรคประมาณว่าแผนปัจจุบัน หรือ มีฉลาก

ซึ่งจะคู่กับ จุงย่อก   ยาแผนโบราณ

ตุ๊งเจี๊ย( ตุงที้)  ทิศใต้  ด้านใต้

ลองถามคนอื่นๆดู   อาจจะแปลอีกความหมายก็ได้ครับ

 

 

คล้ายๆกันครับ

ของไหง่ พูดว่า หมุกแซ่บ

อีกแบบคือ หงั่นโซ้ย ครับ

ซึ่งแปลว่า ง่วงนอนนั่นเองอย่างที่อาก๊อxiongบอก

รูปภาพของ แกว้น

“ตุนอยอก” ตุ๋นยา “อยอกตัน“ ใบสั่งยา

 

ต้นหย่อก คือ “ตุนอยอก 炖药” แปลว่า “ตุ๋นยา”

 

ตานย่อก ควรจะเป็น ย่อกตาน หรือ “อยอกตัน 药单” แปลว่า “ใบสั่งยา หรือ ใบตำรับยา” หรือ “เที่ยบยา” ในหนังจีน (ดูตัวอย่างตำรับยาอายุวัฒนะของทู่แถ่วสุขกุง)

 

ตุ๊งเจี้ย  (ถ้าเป็น ตุง 东 จะแปลว่าทิศตะวันออก และ เจี้ย น่าจะเป็นภาษาแต้จิ๋ว)

 

ฮากกาน่าจะเป็น “ตุงเจี้ยด 冬节 หรือ ตุงจื๊อ 冬至” แปลว่า “ฤดูหนาว หรือ เทศกาลฤดูหนาว” เมื่อถึงช่วงเวลานี้ชาวจีนนิยมตุ๋นสมุนไพรจีนเพี่อบำรุงร่างกาย สอดคล้องกับทั้ง 3 คำที่คุณทศพลยกมาเป็นเรื่องเดียวกัน

เป็ตคั้ง

ไม่ทราบว่าเป็ตคั้ง เป็นชื่อหมู่บ้านหรือตำบลใดในประเทศจีนค่ะ  เตี่ยก่อนจะเสียชีวิตท่านอยากจะกลับไป ลูกๆก็ไม่ทราบว่า เป็นที่ไหน จะเอาเถ้ากระดูกไปที่เมืองจีน ใช่ที่ซานโถวหรือเปล่าค่ะ

กรุณาด้วยเถอะค่ะ  เพราะญาติผู้ใหญ่ที่เหลืออยู่ก็ไม่รู้ เพราะไม่เคยไปเหมือนกัน

 กรุณาตอบท่าง E mail ได้ไหมค่ะ

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

ทวีสุข

 

เป็ตคั้ง

ในความเห็นของผมนะ เป็ต น่าจะแปลว่าทิศเหนือ คัง ก็อาจจะแปลว่าหนองน้ำอะไรทำนองนั้น ต้องดูตัวหนังสือจะแน่นอนกว่า  ถ้าจะให้ทราบที่อยู่

1. ดูว่ายังมี "แพ" จดหมายเก่าที่ส่งมาจากจีนเหลืออยู่ไม่ เอามาเป็นแนวทาง

2. มี"ฟุงสุ้ย" ของญาติใกล้ชิดหรือไม่ หรือของคนที่สนิทกันเรียกว่ามาสำเภาเดียวกัน (จริงๆแล้วเป็นเรือกลไปในสมัยใหม่นี้) ไปถ่ายมาแล้วส่งมาหรือให้ใครอ่านดู 

 ซึ่งจะทำให้การค้นหาแคบลงไปได้

เคยสอบถามลูกหลานจากชมภูทวีปว่าบ้านบรรพบุรุษอยู่หนใด ก็ตอบว่าไม่ทราบ ไม่เคยติดต่อไปเลย  ซึ่งเป็นไปได้คือสมัยก่อนยากจนจึงไม่มีใครสนใจใส่ใจ และอีกอย่างหนึ่งก็คือไม่มีฟุงสุ้ย ก็เป็นสาเหตุหนึ่งทำให้ขาดตอนไป อย่างน่าเสียดาย

ขักวอยซ์

Tonkla

ขอชื่นชมในความคิดที่ดี ในขณะที่ภาษาของเรากำลังจะเลือนหาย

แต่การรวบรวมต้องมีแผนและรูปแบบที่ชัดเจนหากรวบรวมกันเองพี่เกรงว่าจะทำให้เกิดความล่าช้าและไม่ครบถ้วน

พี่ขอแนะนำว่าควรมีการประชุมกันในชมรมเพื่อมีทีมงานทำงานด้านนี้โดยเฉพาะ

กำหนดรูปแบบ แนวทาง การหาข้อมูล งบประมาณ เวลา โดยเฉพาะลิขสิทธฺิ เพื่อป้องกันบุคคลไปหาประโยชน์ที่เราไม่ปราถนา

และการทำกิจกรรมนี้จะได้มีคนช่วยมากขึ้น

หากมีอะไรให้ช่วยก็ยินดีค่ะ

 

 

 

เล่่าเรื่อง

(ขอย้ายเรื่องนี้มาิอยู่หน้านี้นะครับ เพราะlog in ครั้งแรกๆแต่งเรื่องใส่เข้าไป จะหามาปรับแต่งก็ยังไม่รู้อยู่ไหน แถวเปล่าเปลี่ยวด้วย ขอบคุณครับ)

 

สมัยที่เป็นวัยรุ่นไปเรียนที่ต่างประเทศ
ไม่ค่อยจะรู้ซึ้งด้านประวัติศาสตร์ภูมิศาสตร์จีนมากมายนัก 
เจอเพื่อนๆที่มีพื้นแพคล้ายๆกันก็พูดแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ยังจำได้
มีสาวคนหนึ่งจากมาเลเซียด้านตะวันออก

เธอ:  "หงี่ มัก ไก๊ ฮัก?" (คุณเป็นฮากกาแบบไหน)

ผม:  "ไหง อึม ตี ไหง แห๊ หมัก ไก๊ ฮัก!"(ผมไม่รู้ว่าเป็นฮากกาแบบไหน)

ผมพูดต่อ: "ไหง ตี หงี แห๊ ฮัก สี่ หงิน ไก๊ ฮัก"
(ผมรู้เพียงแต่ว่าเธอเป็นฮากกาแบบหลอกให้ให้คนตกใจจนหัวใจวาย
[เพราะคำว่า'ฮัก'เสียงตรงกันคำว่าทำให้ตกใจนั่นเอง])

เธอ:   [งอนแล้วคว้างฆ้อนให้อีก หนึ่งอัน จนหลบไม่ทัน]

ตอนหลังก็ทราบว่ามีฮากกาแบบต้ืนและแบบลึก
ด้วยเหตุนี้จะถามว่าเป็นแบบไหนนะอย่างง่ายๆ ก็ถามว่าพูดคำว่า "ฮัก" หรือ
"คัก"แต่ที่บ้านผมเป็น'คัก' ครับ

 

ยี่สิบกว่าปีก่อนไปเมืองจีน เยี่ยมอากุง อาม่า ซึ่งอายุ
90กว่ากันทั้งคู่  ผมโตมาก็พูดแต่'คักฝ่า'  ก็คิดว่าน่าจะใช้ได้ 
แต่มีญาติบางคนบอกว่าพูด'คักฝ่า'ออกสำเนียงอย่าง'คนแต้จิ๋ว'พูด'คักฝ่า'
อ๊าวเป็นอย่างนั้นไป

มีเพื่อนพื้นแพเป็น'แต่จิ๋ว' ไปซัวถัว
ก็กระหยิ่มนึกว่าพูดคุยกับชาวบ้านได้คล่อง แต่คนที่นั่นบอกว่า
ลื้อพูดเป็นสำเนียง'แต้จิ๋ว'แบบบ้านนอก!!!  
ก็แน่นอนละครับปู่ย่าตายาย สมัยก่อนโน้นลำบากอยู่บ้านนอก ผจญกับความลำบากต่างๆนาๆ
ดิ้นรน โจรภัย แห้งแล้ง นายทุนเอารัดเอาเปรียบ สงครามในประเทศฯลฯ ฯลฯ 
ก็ต้องหาทางไปตายเอาดาบหน้าทำนองนั้น ส่วนพวกสำเนียงกรุง
อยู่ในเมืองสบายก็ไม่คิดหาทางไปเสี่ยงที่อื่นๆ

 

 ในปัจจุบันในสังคมก็เหมือนกันครับ
คนที่ไม่ลำบากที่บ้านนอกก็ไม่เข้าเมือง หรือไปต่างประเทศหางานทำละครับ 
ก็ต้องช่วยกันดูไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบอย่าให้่เหตุการณ์เหมือนเกิดขึ้นใน
จีนนั้น แต่ละยุคแต่ละสมัยไม่ว่ากลุ่มไหนขึ้นเรืองอำนาจ ผู้คนตายกันเป็นล้านๆคน

ดีใจมากๆ

ดีใจมากๆ ที่หาเว็บนี้เจอ ตั้งแต่อาม่า จากไปเมื่อเกือบ สี่ปี ที่แล้วก็ ก้องคัก น้อยมาก ยกเว้นยามที่ต้องการคุยแบบไม่ให้ใคร รู้เรื่อง เช่น ซิดผ่อนมั้ง ป้องมั่กไก้ แปลว่า กินข้าวหรือยัง กินกับอะไร

จอมั่กไก้ซิด แปล ทำอะไรกิน ซั้น แปล ภูเขา เหงา เหงา แปล ว่าง่าย สอนง่าย

คื่อหลี่หล่วงหล๋อย แปล ไปไหนมา

ตัดลัด แปล ตลาด

สุดท้ายนี้ ไว้คิดอะไรออกจะมาบอกอีกนะครับ ไม่มั่นใจว่า อากุง อาม่า เป็น ฮากกา แบบไหน แต่เท่าที่รู้ ขายทรัพย์สินทั้งหมด เพื่อเดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลเป็นเดือนๆ เพื่อมาเมืองไทย ขึ้นเรือแถวๆ บ้านโป่ง ราชบุรี ในปัจจุบัน

 ไหงอ้อยคื่อเซี้ยมโหล แปล ผมต้องการไปเมืองไทย

สวัสดีค่ะ

ดีใจจัง เจอคนพูดภาษาเดียวกัน ปกติจะใช้อยู่กับพี่ ๆ น้อง ๆ ตอนไปโรงเรียน เพื่อนๆ งง กันหมด พูดภาษาอารัยหว่า จีนกลางไม่ใช่ อิอิ หาคนพูดภาษานี้น้อยลงทุกทีนะคะ ปกติตอนเด็ก ๆได้ฟังและได้ใช้ตอนอยู่กับอาโผ่ และอากุง ได้มาโดยไม่รู้ตัวค่ะ

แวะมาคุยกัน

ถ้ายังไงแวะมาคุยกันนะคะ sumattana22@hotmail.com เผื่อแลกเปลี่ยนคำศัพท์กันค่ะ

รูปภาพของ tonkla

tonkla Hakka book

สวัสดีค่ะคุณน้าคุณอาเพื่อนๆพี่ๆและน้องๆชาวฮากกาทุกท่าน

พึ่งได้เข้ามาอัพเดทข่าวคราวทุกๆคนเมื่อไม่กี่วันมานี้เอง มีบทความใหม่ๆน่าสนใจเยอะเเยะเลยค่ะ ต้องติดตามอ่านกันซะยกใหญ่ ทุกๆคนเป็นยังไงบ้างคะ สบายดีกันไหมคะ ส่วน tonkla สบายดีค่ะ พึ่งได้มีเวลาออกมาหายใจ พักผ่อนประมาณนั้นเลยค่ะ เพราะว่ายังต้องวุ่นวายกับเรื่องเรียนที่มหาวิทยาลัย อีกประมาณ 2 เดือนก็ต้องสอบวัดระดับภาษาจีน (HSK) จากนั้นอีกพักนึงก็ต้องสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น พักได้อีกเดือนเศษก็ต้องสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษค่ะ

โปรแกรมค่อนข้างกระชั้นเข้ามาเรื่อยๆ ต้องเตรียมตัวในหลายๆด้านพร้อมๆกันไปค่ะ ขอมาอัพเดทเรื่องหนังสือฮากกาบ้างนะคะ ตอนนี้ก็นั่งทำต่อไปอยู่ค่ะ แต่ว่าเวลาส่วนใหญ่จะทำตอนดึกก่อนนอน เลยทำให้ค่อนข้างช้า ช้ากว่าก่อนหน้านี้ที่มีเวลาได้ทำค่อนข้างเยอะตอนปิดเทอมค่ะ แต่ก็ยังคงความตั้งใจไว้เช่นเดิม เห็นเพื่อนๆหลายคนมาโพสต์คำศัพท์เยอะเเยะ ขอบคุณมากนะคะ tonkla รบกวนให้ระบุไปด้วยว่าคำศัพท์นั่นเป็นสำเนียงฮากกาไหนค่ะ เช่น ฮากกาลึก-ตื้น? อย่างน้อย tonkla จะได้เช็คกับหนังสือตัวเองอีกทีด้วย เพราะว่าตอน โพสต์นี้ต้องระมัดระวังมาก ไม่แน่ใจก็ไม่กล้าให้ข้อมูลค่ะ

ถึงพี่ Chin Moi ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นที่ดีๆค่ะ ----------> กำหนดรูปแบบ แนวทาง การหาข้อมูล งบประมาณ เวลา โดยเฉพาะลิขสิทธิ์ เพื่อป้องกันบุคคลไปหาประโยชน์ที่เราไม่ปราถนา และการทำกิจกรรมนี้จะได้มีคนช่วยมากขึ้น..............ตอนนี้การทำงานยังไม่ได้รวมกลุ่มจนเป็นโครงงาน/ โครงการ การทำหนังสือ อย่างชัดเจนค่ะ ดังนั้นงบประมาณที่สืบค้นข้อมูล สื่อการเรียนต่างๆ ยังต้องเเอบเอาค่าขนมมาใช้ในการทำหนังสืออยู่ค่ะ อีกอย่างเพื่อนๆฮากกาในเวปนี้ยังกระจัดกระจายดังนั้นการประชุมรวมกลุ่มจึงไม่ใช่เรื่องง่าย เวลา โอกาสและจังหวะก็ค่อนข้างจำกัด โดยเฉพาะ tonkla เอง ก็ยังไม่กล้าที่จะเป็นตัวตั้งตัวตีจัดเป็นโครงการทำหนังสือค่ะ กลัวไม่มีเวลาให้มากพอ เเละกลัวเป็นการกดดันตัวเองว่าหนังสือต้องเเล้วเสร็จภายในเวลานั้นเวลานี้ ดังนั้นจึงเริ่มทำไปเท่าที่เวลาเอื้ออำนวย อันนี้ค่อยเครียดน้อยลงมาหน่อยค่ะ

มันเป็นเรื่องใหม่สำหรับตัวเองค่ะ เพราะว่าเราจะเเทนด้วยสัทอักษรฮากกาสากล จึงไม่ใช่เรื่องง่าย

สุดท้ายนี้ขอขอบคุณเพื่อนๆที่ให้คำชี้แนะและคำชี้นำแนะนำให้ติดต่อบุคคลที่ 3 นะคะ จะพยายาม แต่ตอนนี้ยังไม่ได้ติดต่ออะไรเลยค่ะ และอีกนิดนึงนะคะ สำหรับ PDF file Hakka book ทุกๆคนได้อ่านแล้วมีความเห็นอย่างไรบ้าง ถ้าเราเป็นคนที่ไม่มีความรู้ภาษาฮากกาเลย อ่านเเล้วจะเข้าใจไหม ต้องเพิ่มเติมตรงไหนอีกบ้างรึเปล่า มีใครได้ลองทำแบบฝึกหัดไปด้วย เรียนไปด้วยมากน้อยแค่ไหนแล้วคะ 555 อยากฟังความคิดเห็นนี้เพิ่มเติมค่ะ

แล้วพบกันใหม่นะคะ
tonkla

รูปภาพของ ใช่หงี่อุ้ย

ดีครับต้นกล้า

ใช่หงี่อุ้ย

ดีครับปุ้ย

จามดริวได้มะ

ดริวโทสับเสียอ่ะเบอร์ปุ้ยเลยหาย

ลบกานขอเบอร์กะเมล์หน่อยนะ

อิอิอิอ

ความใกล้ชิดของภาษาแคะกับภาษาญี่ปุ่น

ความใกล้ชิดของภาษาแคะกับภาษาญี่ปุ่น

ไหงว่า ภาษาจีนขักฝ่า ใกล้เคียง สำเนียงญี่ปุนมาก แม้จีนกลางยังไม่ใกล้เท่าไหร่

ไม่รู้ทำไมถึงคล้ายกัน

รูปภาพของ วี่ฟัด

ก๊อลองยกตัวอย่างหน่อยที่ว่าเหมือนภาษาญี่ปุ่น

         วันนี้อาก๊อตอบกระทู้เก่าๆเมื่อสองสามปีมาแล้วอย่างเมามัน เห็นก๊อสุภาสบอกว่าภาษาขักฟ้าคล้ายภาษาญี่ปุ่นมากที่สุดไหง่จึงสนใจมาก ลองยกตัวอย่างใ้ห้หน่อยครับ แล้วไหง่มีประเด็นที่จะกล่าวถึงเรื่องที่เกี่ยวกับคนฮากกากับญี่ปุ่นในพารากาฟต่อไป

          ตามเท่าที่เคยอ่านพบมาบ้างจากการค้นคว้าเรื่องเกี่ยวกับฮากกามาสิบกว่าปีเคยได้ยินมาว่าชาวไอนุซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยที่อยู่ในประเทศญี่ปุ่นนี่แหละครับคือกลุ่มคนฮากกาที่อพยพไปอยู่ญี่ปุ่นเมื่อพันกว่าปีก่อน

           ส่วนภาษาที่ไหง่เคยได้ยินมาและรู้สึกว่าสำเนียงใกล้เคียงภาษาญี่ปุ่นมากไหง่คิดว่าน่าเป็นภาษา " เจ้อเจียงฟางเหยียน " มากกว่า ถ้าใครเคยไปเที่ยวเซี่ยงไฮ้และเคยได้ยินคนเซี่ยงไฮ้พูดภาษา " เจ้องเจียงฟางเหยียน "กัน แล้วจะรู้สึกเลยว่าสำเนียงมันคล้ายภาษาญี่ปุ่นมาก 

รูปภาพของ อาฉี

จัดให้ เท่าที่ได้ครับ

ภาษาญี่ปุ่นคงต้องถามเจ้าของต้นเรื่อง ขักวอย (ต้นกล้า) ทราบมาว่าเขาสอนพิเศษอยู่ด้วย

 

ค่า ตัวเขียนใหญ่ ตัวเขียนเล็ก พินอิน  จีนกลาง ญี่ปุ่น ฮากกา กวางตุ้ง เกาหลี หมายเหตุ
1  อิ いち (อิ-จิ) หยิด ยัท 일 (อิล) ตัวเขียนใหญ่ 弌 เลิกใช้แล้ว เนื่องจากสามารถแก้ให้เป็น 弍 (2) หรือ 弎 (3) ได้ง่าย
2 貳 (ต)
贰 (ย)
èr  เอร に ( นิ) หงี่ หยี่ 이 (อี) ตัวเขียนใหญ่ 弍 เลิกใช้แล้ว เนื่องจากสามารถแก้ให้เป็น 弌 (1) หรือ 弎 (3) ได้ง่าย
สำหรับการใช้ 兩 (ต) หรือ 两 (ย) ให้ดูหัวข้อถัดไป
3 叄 (ต)
叁 (ย)
sān  ซัน さん (ซัน) ซาม ซ้าม 삼 (ซัม) ตัวเขียนใหญ่ 弎 เลิกใช้แล้ว เนื่องจากสามารถแก้ให้เป็น 弌 (1) หรือ 弍 (2) ได้ง่าย นอกจากนี้ยังมีอักษรต่างรูป 參 (ต) หรือ 参 (ย) อีกด้วย
4  ซื่อ よん (ย่ง) ซี่ เซ 사 (ซา) นอกจากนี้ยังมีอักษรต่างรูป 䦉 อีกด้วย (ส่วนซ้ายของตัวเขียนใหญ่ ประกอบกับตัวเขียนเล็ก)
5  อู้ ご (โก๊ะ) อื้อ ฮี๋ม 오 (โอ)  
6 陸 (ต)
陆 (ย)
liù  ลิ้ว ろく (โหล่-กุ๊) หลุก หลก 육 (ยุก)  
7  ชี なな (น๊า-หน่า) ฉลิด ชัด 칠 (ชิล)  
8  ปา はち (ฮา-จิ) ปั๊ด ปาด 팔 (พัล)  
9 jiǔ  จิ่ว きゅう (คิว) กิ้ว เก๋า 구 (คู)  
10 shí  สือ ゅう (ชู...) ซิบ สับ 십 (ชิบ) บางคนใช้ 什 เป็นตัวเขียนใหญ่ แต่ไม่เป็นที่ยอมรับ เนื่องจากสามารถแก้ให้เป็น 伍 (5) หรือ 仟 (1,000) ได้ง่าย
0 líng           〇 เป็นการนำเสนอที่ไม่เป็นทางการ แต่อักษรตัวเต็ม 零 มีการใช้ในโรงเรียนมากกว่า

ถูกผิดประการใด ไม่ชัวร์ ท่านใดรู้แจ้งแก้ไขให้ด้วยนะ ก๊อบเขามาจากหลายๆที่มารวมเทียบกัน

รูปภาพของ อาฉี

เก็บจิกซอเรื่องญี่ปุ่น มาเสริมกับวีฟัดกอ

ที่ว่า "อาจจะเป็นชาวฮากกาที่อพยพไปญี่ปุ่นเมื่อพันกว่าปีก่อน"นั้น

ถ้าเที่ยบ คศ.แล้ว พันกว่าปีก่อนน่าจะก่อนยุคภัยอู่หู ที่เริ่มมีบันทึกเกี่ยวกับชาวฮากกาละมั้ง (ซึ่งก่อนหน้านั้น ก็น่าจะมีชาวฮั่นพลัดถิ่นอยู่บ้าง  เป็นความเห็นส่วนตัวนะ)  คิดว่าตอนนั้น น่าจะยังเป็นชาวฮั่น ที่เป็นบรรพชนของชาวฮากกา และชาวอื่นๆ  แต่ชาวฮากกาที่ยังคงความเป็นฟอตซิลของชาวฮั่นยุคนั้นมากกว่า จึงเที่ยบเคียงความต่อเนื่อง หรือสืบรากเหง้าในประวัติศาสตร์ได้มากกว่าละมัง

ถ้าย้อยยุคไปอีก เป็นยุค 219 BC ยังพอมีเค้าโครง จากความเชื่อ ที่มีศาลเจ้าเพื่อเป็นการสักการะอยู่หลายแห่งในญี่ปุ่น แต่อาจไม่ถูกบันทึกอย่างเป็นทางการ อาจด้วยทุกยุคทุกชาติ ผู้เรื่องอำนาจเป็นผู้เลือกบันทึกประวัติศาสตร์ตนเองทั้งสิ้น

(อ้างถึง http://hakkapeople.com/node/973#comment-100 )

The ruler of Qin, Qin Shi Huang feared death and sought a way to live forever. He entrusted Xu Fu with the task of finding the secret of immortality. In 219 BC, Xu Fu was sent with three thousand virgin boys and girls to retrieve the elixir of life from the immortals that lived on Penglai Mountain in the eastern seas. Xu sailed for several years without finding the mountain. In 210 BC, when Qin Shi Huang questioned him, Xu Fu claims there was a giant sea creature blocking the path, and asked for archers to kill the creature. Qin Shi Huang agreed, and sent archers to kill a giant fish. Xu then set sail again, but he never returned from this trip. The Records of the Grand Historian says he came to a place with "flat plains and wide swamps" (平原廣澤, possibly Kyūshū of Japan) and proclaimed himself to be king, never to return.

Later historical texts were also unclear with where Xu Fu actually ended up. Sanguo Zhi, Book of Later Han, and Guadi Zhi all state that he landed in "Zhizhou" (直洲), but the whereabouts of Zhizhou are unknown. Finally in the Later Zhou Dynasty (AD 951-960) of the Five Dynasties and Ten Kingdoms Period, monk Yichu wrote that Xu Fu landed in Japan, and also said Xu Fu named Mount Fuji as Penglai. This theory is what formed the "Legend of Xu Fu", which later spread to Japan, as evidenced by the many memorials to him there.

Those who support the theory that Xu Fu landed in Japan credit him with being the catalyst for the development of ancient Japanese society. The Jōmon culture which had existed in ancient Japan for over 6000 years suddenly disappeared around 300 BC. The farming techniques and knowledge that Xu brought along are said to have improved the quality of life of the ancient Japanese people and he is said to have introduced many new plants and techniques to ancient Japan. To these achievements is attributed the worship of Xu Fu as the "God of farming", "God of medicine" and "God of silk" by the Japanese. Numerous temples and memorials of Xu can be found in many places in Japan. 

รูปภาพของ แกว้น

อาหารฮากกาและญี่ปุ่น??? เหมือนกัน

อาหารสิน่าชงน...... ฮากกาและญี่ปุ่นมีอาหารพื้นบ้านชีวิตประจำวันที่เหมือนกันหลายอย่างเช่น ข้าวหมาก หว่องจิ้ว แง้ยยับ แง้ยยับฉ่า แง้ยป้าน ซ้อนผ่านจื้อ ฟานสู่ยับ เป็นต้น 

ไม่ทราบมี

ไม่ทราบมีพิมพ์ขายเปล่าครับอยากขอสั่งซื้อครับ คิดราคา+ค่าส่งเท่าไหร่ครับ

สนุกดี

ไหง่ เซี้ยงจำ เต็ดฉื้อปุ๊ย

จะมาเริ่มเรียนภาษาแคะตอนแก่ สายไปไหมเนิ่ย

เป็ดคั้ง

ลองถามป่าป๊าว่ารู้ไหมว่าหมู่บ้านเป็ดคั้งอยู่ไหน  ป่าป๊าบอกว่าไม่ได้อยู่ซัวเถา อยู่ใกล้ๆ ท้องคั้งนั่นแหละแต่ป่าป๊าก็ไม่เคยไป  ตอนไปหมู่บ้านตัวเองช่วงนั่งในรถไกด์พาไปเยี่ยมญาติจะคอยบอกว่าทางซ้ายหมู่บ้านอะไร  ทางขวาหมู่บ้านอะไร   มีแยกไปซ้าย-ขวาแยะ ใกล้ๆ แต่ละหมู่บ้านห่างกันแค่ 2-3 กม.

ฮ่อหมอฮ่อหมอ

หงัยหว่อยก้อง หงัยหว่อยแทน หง่ายหว่อยก๊อง หง่ายหว่อยแทน ดีใจจัง สวัสดีชาวแคะทั้งหลาย หงัยงิบหลอยหลีถอhakkapeopleปัดเตี้ยมป้านเลี่ยว หันหมังซิดผ่อน หงีซิดผ่อนหมัง หงัยตู้แขว่เลี่ยว แต้นอิกห่า หงัยซิดเป้าฮ่อ อิกห่าหงัยงิบหลอย อา แสวจ้อหงายงิบหลอยนา หมิงเทียนจั้ยเจี้ยน

เรียนคุณเ

เรียนคุณเก้วจื้อ คำว่า หงัยตู้แขว่เลี่ยว มันเป็นคำจีนแคะ ผสมกัย จีนแต้จิ๋ว ที่ถูกต้องมันอาจจะเป็นดังนี้ หงัยตู้แขว่เอ่า และคำว่า ปัดเตี้ยมปั้นเลี่ยว มันอาจจะเป็น ปัดเตี้ยมปั้นเอ่า ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าจะเป็นภาษาเดียวกันกับของผมหรือไม่

รูปภาพของ อาฉี

คิดว่าถูกหมด

คิดว่าถูกหมดมั่งครับ

เพราะการออกเสียงแต่ละหมู่บ้านที่เป็นชาวฮากกาด้วยกัน แต่สำเนียงแตกต่างกัน

จึงเชื่อว่าทุกท่านต่างได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษของตน ที่ล้วนเป็นเจ้าของภาษามาอย่างนั้นเช่นกัน

แต่เพียงว่าบางคำ ของบางสำเนียงไปพร้องเสียงกับภาษาจีนกลางบ้าง  ฮกเกี้ยนบ้าง ฮอกล่อบ้าง  แต่เราเข้าใจกัน

 

จึงเป็นการดี ที่ทุกท่านต่างช่วยกันเสนอมาในรูปแบบของแต่ละคน ที่หลากหลาย จะได้เรียนรู้ซึ่งกันมากขึ้น และเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน ได้เห็นแทนหน้าตาบนเว็บได้มากขึ้น

 

รูปภาพของ ฉีคุ้นหยุง

คำนี้ออกสำเนียงแคะอย่างไรครับ

ชาวเน็ตจีนโหวต "ความกลมเกลียว" เป็นอักษรจีน ในดวงใจ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 ตุลาคม 2553 10:51 น.
和 ตัวอักษร เหอ จากคำว่า เหอเสีย ซึ่งแปลว่า "ความกลมเกลียว" (ภาพเอเยนซี)

       เอเยนซี - 《和谐》เหอเสีย ซึ่งแปลว่า "ความกลมเกลียว ปรองดอง" ได้รับการโหวตจากชาวเน็ต โดยนิตยสาร China Heritage magazine ให้เป็นตัวอักษรที่สำคัญที่สุด และยังสะท้อนให้เห็นคุณค่าการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
       
       สำนักข่าวซินหัว รายงานวันที่ 17 ต.ค.ว่า ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์และประวัติศาสตร์จีน จำนวน 50 คน ได้ร่วมกันเลือกตัวอักษรสำคัญ จำนวนทั้งสิ้น 374 ตัวอักษร สำหรับการโหวตทางอินเตอร์เน็ตครั้งนี้ เพื่อคัดให้เหลือ 100 ตัวอักษร
       
       โพลล์สำรวจนี้ ดำเนินการโดย Chinese National Geographic และ hanzi.com.โดยมีตัวอักษรยอดนิยมอื่นๆ อาทิ มังกร ฟินิกซ์ รวมทั้ง ขงจื่อ โดยเผยผลการสำรวจในนิตยสาร China Heritage
       
       ซู เป่ยเฉิง ผู้เชี่ยวชาญด้านอักษรจีน จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ซึ่งมีส่วนเสนอตัวอักษรสำหรับการโหวตครั้งนี้ กล่าวกับ โกลบอลไทมส์ว่า หลักในการเลือกตัวอักษรของเขาคือดูว่า เป็นตัวอักษรที่ใช้กันอยู่ปกติ แต่อย่างไรก็ตาม ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีแต่ตัวอักษรที่ให้ผลในทางบวกเพียงเท่านั้น ยังมีตัวอักษรที่ให้ความรู้สึกด้านตรงข้ามด้วย เช่น ขัดแย้ง ไม่ลงรอย และแตกต่าง
       
       หลี่ หมิง ปัญญาชนอีกคนจากสถาบันภาษาและประวัติศาสตร์ในชิงเต่า มณฑลซันตง ได้เลือกคำว่า "โลภ" เพื่อเตือนใจถึงสิ่งที่จะทำลายสังคมจีน เสมือนสนิมที่เกาะกินแผ่ขยายในวัฒนธรรมจีนหลายพันปี
       
       ขณะที่ซย่า ซื่อหลวน ศาสตราจารย์ด้านสังคมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง เลือกคำว่า "ทางสายกลาง"
       
       หวง ซิ่วฟาง บรรณาธิการนิตยสาร China Heritage กล่าวว่า ในตัวอักษรที่เลือกมา ก็ยังมีอีกหลายๆ ตัว ที่เป็นคำซึ่งมีอยู่แล้วในคำสอนของขงจื่อ เช่น เมตตากรุณา ซื่อสัตย์ กตัญญู มารยาท
       
       ซาเวียร์ การ์เนียร์ ผู้อำนวยการสมาคมฝรั่งเศส ในจีน เชื่อว่า ตัวอักษร "ความมีศีลธรรม" และ "ใจกรุณา" ยังเป็นตัวอักษรที่นิยมใช้ให้ปรากฎกันในภาษาจีน และมีความรู้สึกว่า ตัวอักษรสองตัวนี้ จะยังเป็นสรณะที่ยึดเหนี่ยวจิตใจในการดำเนินชีวิตของคนจีน

ฉีคุ้นหยุง

ตัวหนังสือจีนตัวนี้  เดี่ยวๆ 

หงีถามว่าสำเนียงแคะอย่างไร

ไหงภาษาปั้นซั้นขักออกเสียง  ฝ๋อ

ฮากกาเสียงน่าจะ  โฝ หรือ ฝ๋อ

คำคำนี้มีคำต่อ เป็น ฝ๋อผิน แปลว่า สันติสุข

 

 

รูปภาพของ YupSinFa

和-เหอ-คุณฉีคุ้นหยุง

                ได้อ่านบทความที่คุณฉีคุ้นหยุงคัดลอกมา ที่ชาวจีนโหวดเลือกตัวอักษรตัวนี้ว่าเป็นอักษรจีนที่น่าจะเป็นที่นิยมและมีความหมายดีที่สุด

                ไหงเห็นด้วยกับผลโหวดของพี่น้องชาวจีนที่ต้าลู่(แผ่นดินใหญ่-ถ่องซานหรือถางซานหรือแต้จิ๋วว่าตึ่งซัวไห่หนำว่าเด่งซัว-ก็หมายถึงแผ่นดินใหญ่(จีน)เช่นเดียวกัน ถ่อง-ถาง-ตึ่ง-เด่ง-เป็นคำเดียวกัน-ชาวจีนทางใต้นิยมเรียกตัวเองว่าถ่องหยิ่น-ตึ่งนั้ง-เด่งหนั่ง-ตามลำดับ-เราชาวฮากกามาจากทางเหนือมาอยู่กับชาวใต้จึงติดอิทธิพลของชาวใต้ไปด้วยเรียกตัวเองว่าถ่องหยิ่น ตามชาวใต้(แต้จิ๋ว-กวางตุ้ง-ฮกเกี้ยน-ไห่หนำ)ไปด้วย-คำว่าถ่อง มาจากคำว่า ถาง หมายถึงราชวงศ์ถังนั่นเอง-ราชวงศ์ถางเป็นราชวงศ์สมัยนั้นที่อาณาจักรต้าถาง เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดน่าจะเจริญที่สุดในโลกสมัยนั้น-หลี่ซื่อหมินหรือถังไท่จงฮ่องเต้ก็อยู่ในสมัยนี้-อู๋เจ๋อเทียน-บูเช็คเทียนจักรพรรดินีองค์แรกและองค์เดียวของจีนก็อยู่ในราชวงศ์นี้(เธอตั้งราชวงศ์อู๋ของเธอแต่หมดยุคเธอแล้วก็กลับมาเป็นถางเหมือนเดิม)-หยางกุ้ยเฟยนางสนมที่โด่งดังคับประวัติศาสตร์จีนก็อยู่ในสมัยนี้-ความเจริญของฉางอัน เมืองหลวงของราชวงศ์ถัง ถูกมาร์โคโปโล-นักเดินทางสำรวจเปิดเส้นทางสายไหมชื่อก้องโลกชาวโรมัน-ได้บันทึกถึงความยิ่งใหญ่และเจริญอันมโหฬารของกรุงฉางอันในสมัยนั้นอย่างวิจิตรพิสดารยิ่งใหญ่อย่างเห็นภาพตามไปด้วย-มาร์โคโปโลว่าในสมัยนั้นไม่มีนครหรือเมืองหลวงใดในโลกสมัยนั้นจะยิ่งใหญ่กว่ากรุงฉางอันของต้าถางไปได้-ถาง(ผู่ทง)-ถ่อง(ฮากกา)-ตึ่ง(แต้จิ๋ว-ฮกเกี้ยนใต้)-เด่ง(ไหหนำ)-ส่วนคำว่า "ฮั่น" เป็นคำสามัญอย่างเป็นทางการที่ชาวจีนเรียกเผ่าพันธุ์ของตัวเอง เพราะราชวงศ์ฮั่นเป็นราชวงศ์แรกของจีนที่มีความเจริญเป็นปึกแผ่นแน่นหนาต่อจากราชวงศ์ฉินของฉินสื่อหวงตี้-จิ๋นซีฮ่องเต้-และมาสิ้นสุดในยุคสมัยสามก๊กที่ลูกหลานของ-สุมาอี้(ซือหม่าเอี๋ยน)ได้ปราบสามอาณาจักรได้สำเร็จสามารถรวมอาณาจักรจีนเป็นหนึ่งเดียวได้อีกครั้งหนึ่งในชื่อของราชวงศ์จิ้น-สิริรวมอาณาจักรต้าฮั่นของหลิวปังต้นตระกูลของต้าฮั่นได้สี่ร้อยกว่าปี)

             ถึงไหนแล้วเนี่ยออกไปไกลถึงดวงจันทร์เลย อ้อ? พูดกันถึงผลโหวดของอักษรจีน ยอดนิยม คือ "和"  อักษรตัวนี้ผู่ทงฮว่าหรือภาษาจีนกลางออกเสียงว่า "เหอ" แปลตรงตัวว่า "และ" ในประโยคธรรมดาสามัญทั่ว ๆ ไป เช่น หว่อเหอหนี่-ฉันและเธอ-ฉันกับเธอ-แต่ในภาษากว๋อหยวี่หรือภาษาจีนกลางของไต้หวันจะออกเสียงตัวนี้ว่า ฮ้าน แปลเหมือนกัน ต่างกันที่การออกเสียงเท่านั้นไหงยังไม่เข้าใจว่า ไต้หวันกับต้าลู่ใช้ภาษาปักกิ่งเป็นภาษาจีนกลางเหมือนกันแต่มีอักษรบางตัวที่ออกเสียงไม่เหมือนกันที่ชัดเจนที่สุดก็คือตัว เหอ-ฮ้าน นี้แหละ คำ คำนี้ มีความหมายหรือนัยยะที่ลึกซึ้งมากนักเกินกว่าคนที่เรียนภาษาจีนแค่หางอึ่งอย่างไหงจะบรรยายได้-ต้องให้อาโกอาคมและอาจองหยิ่นฮยุ๋งโกเป็นผู้ตอบจะดีที่สุด.

             和 เหอ คำนี้โดด ๆ แปลว่า และหรือกับ ในด้านนามธรรมก็เป็นดั่งที่ท่านการ์เนียร์ ผอ.สมาคมจีน-ฝรั่งเศสว่าไว้นั่นแหละว่ามันหมายถึงความกลมเกลียวสมัครสมานสามัคคีและมีศีลธรรม จะเห็นได้ว่า อักษรตัวนี้เป็นอักษรที่ธรรมดามาก ๆ ในความที่ไม่ธรรมดาเลย

            อักษร เหอ นี้ ถ้ารวมกับคำว่า 平 - ผิง ซึ่งแปลว่า "ปลอดภัย" กลายเป็น 和平 - เหอผิง ก็จะกลายเป็นคำที่แปลว่า "สันติภาพ" เห็นไหมครับว่าเป็นคำธรรมดาที่ไม่ธรรมดาเลย คำ คำ นี้ คนไทยคุ้นเคยกันดีในคำของภาษาแต้จิ๋วว่า "ฮั่วเพ้ง" - ผักกาดดองตรานกพิราบ ยังไงเล่าครับ ฮั่วเพ้งตรงกับ เหอผิง - สันติภาพ-โรงงานสันติภาพฮั่วเพ้งตรานกพิราบ(เวลาทานผักกาดดองตรานกพิราบโปรดสังเกตชื่อโรงงานที่อยู่อำเภอสันทรายจังหวัดเชียงใหม่-จะบอกว่าผลิดโดยโรงงานสันติภาพฮั่วเพ้งนั่นเอง)

           ฮั่วเพ้ง หรือ เหอผิง ออกเสียงเป็นภาษาฮากกาหมอยเย้นว่า "เห่อผิ่ง" หรือ "ห่อผิ่ง" นั่้นเองครับคุณฉีคุ้นหยุง 

รูปภาพของ แกว้น

和谐 ฝอไห

团结 ton3 giet4 ถ่อนเกี้ยด
和谐 fo2 hai2 ฝอไห (หรือ) fo2 zai1 ฝอไจ

ปั้นซั้นขัก เลี่ยว

ปั้นซั้นขัก เลี่ยว แปลว่า แล้ว

               ฮ่อเหลี่ยว = เสร็จแล้ว

              เลี่ยวเหลี่ยว = หมดแล้ว

              ต้อ แหล่ว    = ถึงแล้ว

ปู้ช้องยิ่ว

รูปภาพของ แกว้น

เหมือนแต้จิ๋วเปี๊ยบเลย

 

ทั้ง 4 คำ เหมือนภาษาแต้จิ๋วเปี๊ยบเลยครับ !!!

รูปภาพของ แกว้น

“ตู้ไส่ ตู้ง้อว 肚饿” หิว

“ตู้ไส่ หรือ ตู้ง้อว 肚饿” แปลว่า หิว                                                                                                            
ตู้ไส่ เป็นภาษาพูดเซาะกาว “ตู้ง้อว 肚饿” เป็นภาษาหนังสือ

ภาษาแคะน่าจะเหมือนกวางตุ้งตรงตัวอักษรจีน

ภาษากวางตุ้งน่าจะใกล้เคียงกับแคะที่สุด

โดยเฉพาะตัวภาษาจีนนะครับ

มีหนังสือคู่มือหัดพูดภาษากวางตุ้ง-จีนกลาง ของนานมีบุ๊ค

คำจีนแบบกวางตุ้ง

ผมคิดว่าส่วนใหญ่น่าจะใช้ในภาษาแคะของเราแน่นอน

รวมทั้งคำจีนแบบจีนกลางก็ด้วย

น่าจะเคยผ่านตาบ้างล่ะนะ

ต้องช่วยกันสอนลูกๆหลานๆ

ต้องพยายามสอนให้มากๆเลย

บางทีเพราะเราไม่ค่อยได้พูด

เด็กๆก็ไม่เคยได้ยิน

เวลาสอนก็สอนยาก

ยิ่งจีนกลางเองก็ว่ายากแล้ว

ภาษาถิ่นก็ยิ่งเพี้ยนใหญ่

ดังนั้นต้องพูดให้เด็กฟังแต่เกิด

โตแล้วยากมาก

ไม่ค่อยสนใจกัน

ผมเองอากุงอาม่าเลี้ยงมาแต่แบเบาะ เวลาอาแมไปทำงาน

ก็เลยติดหุมาแต่เล็ก

เรียนจีนกลางก้ต้องท่องๆๆๆๆๆๆๆๆจำเป็นตัวไป

เดี๋ยวนี้ลูกๆเรียนแล้วกลุ้มแทน

เพราะไม่จำเอาซะเลย  ระบบปัจจุบันต่างจากสมัยที่เราเรียนเมื่อ30ปีก่อนมาก

แม้แต่ผมเองอักษรจีนใหม่ผมยังไม่รู้เลยรู้แต่แบบเก่า

ต้องแกะกันแล้วจำใหม่

เขียนแบบใหม่ดูง่ายแต่ผมว่าแบบเก่าง่ายกว่าเพราะเคยชินมากกว่า

ภาษาจีนแคะที่พอจำได้

ไหงเป็นลูกหลานคนจีนแคะที่พูดได้นิดๆหน่อยจริงๆแล้วน่าเสียดายเพราะอากุง เจี่ยกุง อาปา(ที่บ้านให้เรียกอาปั๊ก)มาจากเมืองจีนโดยตรงเลยแต่บ้านค้าขายสมัยก่อนข้าราชการชอบข่มแหงคนจีนอาเมเลยให้พูดไทยแต่ก็สอนภาษาจีนแคะใช้ในการค้าขายเช่น มาจ้องเตี๊ยมอาเมจะไปโอวเงี้ยว(มาเฝ้าหน้าร้านแม่จะไปเข้าห้องน้ำ)ส่วนซิ๊ดฟั๊น(กินข้าวสวย) ซิ๊ดจุ๊ก(กินข้าวต้ม) แซ่วเหลี่ยง(อาบน้ำ)พูดกันทุกวันอยู่แล้ว ปัจจุบันนี้รับราชการยังเสียดายที่ไม่พยายามพูดคุยกับอาปา อาเมให้มากกว่านี้

รูปภาพของ เฉินซิ่วเชง

เป็นภาษาที่น่ารัก

มาจ้องเตี๊ยมอาเมจะไปโอวเงี้ยว(มาเฝ้าหน้าร้านแม่จะไปเข้าห้องน้ำ)  ...น่าจะเป็นหรอย(มา)..โอช่างงดงาม  คิดดูสิว่าการพูดด้วยใสใจซื่อนี่มาจากรากฐานจิตนะ  เป็นปรัชญาเบื้องต้นของมนุษย์ที่สือสารชัดถ้อยชัดคำ  รู้สึกอย่างไรก็บอกแบบนั้น  แซ่วเหลี่ยง(อาบน้ำ) เช่นกัน  คำว่าแซ่ว(ยกขันราดน้ำโดยรวมกระโดดลงไปแช่ในน้ำ ในบึง ในหนอง..คิดถึงคำนี้..) แต่ฮากกาที่ไพเราะมีต่อไปอีก  คำว่าฉุงเหลี่ยง ฟังแล้วพัฒนาการของมนุษย์แสดงถึงระดับการพัฒนาไปอีกขั้น...ค่อยๆๆอาบแบบพิถีพิถัน เพราะฉนั้นไหงมักจะถูกถามจากอากง อาม่า ว่าหงีแซ่เหลียงแฮ่หมอ  (อาบเร็วเกินไป) แต่วันไหนฉุงเหลี่ยง วันนั้นเป็นวันพิเศษที่จะต้องพิถีพิถัน  อาบนานๆๆ อาบให้เย็นๆๆ  รวมความคือเย็นกายสบายใจนั่นเอง  ใครออกเสียงพูดได้ไพเราะ  น่าจะมาจากการฝึกพูดจีนแบบนี้มามากๆๆและระยะนานๆๆ  นี่คือเสน่ห์สำเนียงเสียงแบบดนตรีที่ไม่มีในจีนภาษาอื่นๆๆ  ทุกคนควรภาคภูมิใจ  เพราะเวลาที่ไหงฟังพี่ป้าน้าอาว์พูดเพราะมาก คล้ายๆคำเมืองเหนือของเราเช่นกัน  ฟังยาวๆ เอื้อนๆๆ  และเข้าใจทันที...น่ารักมากภาษาฮากกา!!!

รูปภาพของ Mr.Xiong

ภาษาฉิมฮาก (แคะลึก)

มาจ้องเตี๊ยมอาเมจะไปโอวเงี้ยว(มาเฝ้าหน้าร้านแม่จะไปเข้าห้องน้ำ)น่าจะเป็น

หร่อย จ่อง เตี๊ยม อาแม อ๊อย ฮี้ ออเงี้ยว

ถ้าแปลตรงตัวน่าจะเป็น มาเฝ้าร้านแม่จะไปฉี่่  ผมว่า้งั้นนะ

 

ยังพอจำได้

ที่บ้าน (ป้านซัมคัก) พูดว่า

  หร่อย จ้อง เตี้ยม อาเม อ๊อย ฮี้ โอเงี้ยว

ส่วนของผม

ส่วนของผมปั่นซั้นขัก พูดว่า หลอย จ้อง เตี้ยม อาแม้ อ้อย อ้อเหนี่ยว

สวัดดีครับ

ผมเป็นสมาชิกใหม่ดีใจที่ได้เจอweb นี้ผมเป็นจีนแคะรุ่นหลาน เมี่ยงอาเฟย เซี่ยงหลิว อากุงเป็นจีนแคะอาม้าเป็นจีนแต๋จิ้ว แต่ที่บ้านผมจะสอนให้พูดภาษาแคะกันผมพอรู้แบบนิดหน่อยเพราะเด็กๆอาปาจะพูดแต่ภาษาแคะก็ฟังออกบ้างไม่ออกบ้างจนปัจจุบันแทบจะลืมไปบ้างเลยอยากร่วมแสดงความคิดเห็นบ้างผิดถูกก็ช่วยแนะนำด้วยครับ ซิดซุ่ย กินนำ้ ซิดฟั่น กินข้าว ซิดจก กินข้าวต้ม ซิดยอก กินยา ซิดปั้นเทียว กินก๋วยเตี้ยว บุ้นเฉียน ให้ตัง หม่อเฉียน ไม่มีตัง ขี้ตะลัก ไปตลาด โอซือ อุจจาระ เมี้ยม หน้าตา ชุกซู เรียนหนังสือ เท่าที่จับได้ก็ประมาณนี้ถ้าคำไม่ถูกต้องช่วยแก้ไขด้วยครับ

                             

ขี้ตะลัก

ไหงบอกคุณ หลิวเฟย หน่อยครับ คำว่า "ขี้ตะลัก " ใช้ใด้ในเมืองไทยเท่านั้น

ท้องซาน ไม่ใช้คำว่า "ขี้ตะลัก "ครับ เขาใช้คำใหนไหงลืมแล้ว

คุณฉีเหมืองฝา

คุณฉีเหมืองฝาครับ

"ขี้ตะลัก"เป็นภาษาแต้จิ่วครับ   ภาษาแคะหมอยหย่านพูดว่า  ฮี้ชื่อฉ่อง  

ขอบคุณ

ขอบคุณครับ  คำว่า " ขื่อตะลัก "ผมไปปล่อยไก่ที่ ท้องซานมาแล้ว

เขาใช้2คำนี้ครับ

คำแรก 1.ฮี้ ไก๋ ฉ่อง (ขื่อ/คื่อ/คี่ ไก๋ ฉ่อง)

อันย๊อง ยา จ๊อ เต็ด(อันนี้ก็ได้)2.ฮี้ ซื่อ ฉ่อง (ขื่อ/คื่อ/คี่ ซื่อ ฉ่อง) ครับ

 

ไหง่อยากทราบว่า จั๊งหล่อยเลี่ยว แปลว่าอะไรครับ

แปลว่า กลับมาอีก ใช่หรือเปล่าครับ

จั๊งหล่อยเลี่ยว แปลว่าอะไรครับ

จั๊งหล่อยเลี่ยว แปลว่า พึ่งมาถึง  ถ้าปั้นซั้นขัก ว่า จั้งหลอยแหล่ว หรือ จั้งหลอยเหลี่ยว

เหลี่ยว แปลว่า เที่ยวก็ได้

ปู้ช้องยิ่ว หยีเกี้ยน

รูปภาพของ Mr.Xiong

จั๊งหล่อยเลี้ยว 2

น่าจะแปลได้ว่าเป็นการบอกลาของเพื่อนฝูง คนสนิทมากกว่า คือ ค่อยมาเที่ยว หรือ ค่อยเจอกันใหม่ ที่มีใช้กันอยู่ปัจจุบันคือ ห่านๆจั็งหล่อยเลี้ยว(หม่อยแย้น)

เรื่องสำเนียงก็อาจจะเป็นคำพ้องเสียง แต่ถ้าสือความหมายเข้าใจกันได้ก็เป็นเรื่องปกติน่ะ 

ไหง่อ๊อยจอนเหลี่ยว อืมม้อยเหลี่่ยว อาเหลี่ยว กี่อ๊อยฮี้เลี้ยว อ็๊อยเทนกองเหลียว ลองแปลเล่นๆดู

熊永发

รูปภาพของ แกว้น

“จั้งหล่อยเลี้ยว 才来聊”

“จั้งหล่อย 才来 หรือ จั้งหล่อยต้อว หรือจั้งหล่อยต้าว 才来到” แปลว่า พึ่งมาถึง
“จั้งหล่อยเลี้ยว 才来聊” แปลว่า พี่งมานั่งเล่น พี่งมาพูดคุยด้วย พึ่งมาเดินเล่น หรือ พึ่งมาเที่ยว หรืออีกความหมายหนึ่งเป็นการล่ำลาตามที่อาซีโหย่งว่าไว้คือ
“เสี่ยนเสี่ยนจั้งหล่อยเลี้ยว 闲闲才来聊” หรือพูดย่นย่อว่า “จั้งหล่อยเลี้ยว 才来聊” หมายความว่า ว่างว่างค่อยมาเยี่ยมใหม่ หรือ ค่อยมานั่งเล่นพูดคุยด้วยใหม่ หรือ ค่อยมาเที่ยวใหม่
我要回了(转),不要聊,啊疗,他要去聊,要天光了。
คำสุดท้ายเป็นคำพ้องเสียงและมีคำซ้ำกันด้วย
รูปภาพของ เหลี่ยวเม่ยจาง

คื่อตะลัด

คื่อตะลัดจ้ะ ไม่ใช่ขี้ตะลัก

รูปภาพของ แกว้น

“คี้ตาอลาด”

เฮ้ย... ครับใช่แล้ว
ฉีเหมืองฝาเข้าใจหยิบยกคำว่าตลาดขึ้นมาพูด ผู้ใหญ่เองร้อยละ 99.99 พูดทับศัพท์ภาษาไทยอยู่เป็นประจำเสมอมาว่า “คี้ตาอลาด” (ออกเสียงลักษณะเดียวกับย่างกับอย่าง) จนพวกเราเด็กๆหลงเข้าใจว่าเป็นภาษาจีน
วลีที่ใช้พูดมากขึ้นมาหน่อยคงจะเป็น “คี้ไกฉ่อง 去街场”
หรือวลีที่ค่อนข้างใช้น้อยที่สุดเพราะค่อนข้างเป็นทางการ “คี้ซื้อฉ่อง 去市场”

ฮ่อหมอ ห่

ฮ่อหมอ

ห่อหม่อ

ปุนหงัยก้องอิกห่ะ

มาจ้องเตี๊ยมอาเมจะไปโอวเงี้ยว(มาเฝ้าหน้าร้านแม่จะไปเข้าห้องน้ำ)

แห่เลี่ยว....

หลอยจ้องเตี้ยม อาหมะอ้อยคื่อออเหงี่ยว

หล่อยจ่องเตี๊ยม  อาแมอ๊อยคื้อออเงี้ยว

แซ่วเหลี่ยง(อาบน้ำ)

หงัยจะพูดว่า แซ่เหลวียงและแซ้เหลวี่ยง(พิมพืไทยยากหน่อย มี ล ว กล้ำกัน)

พูดถึงออเหงี่ยวออเงี้ยวก็ยังมีออสื่อ ออซี่

ยินหวุ่ยหงีหมอซิดช่อยตอตอ ซิดกำตอตอ  แต้นห่าหงีออซี่อึ๋มฉุด ตู้ซี่อึ๋มฮ่อ หงัยฮอกหงีตี

 หากคุณไม่กินผักเยอะๆทานส้มเยอะๆ ประเดี๋ยวก็ถ่ายไม่ออก ปวดท้อง ฉันจะบอกนายรู้ไว้

 สวัสดี หลิวเฟย

ถ้าเป้นหลิวอี้เฟยก็ดีนะ

ซิดซุ่ย กินนำ้ ซิดซุ่ย ซิดซุย

 

ซิดฟั่น กินข้าว ซิดฟ้าน  ซิดผ่อน

ซิดจก กินข้าวต้ม ซิดจุก

ซิดยอก กินยา

ซิดปั้นเทียว กินก๋วยเตี้ยว ซิดปั๊นเถี่ยว ซิดปั้นเถียว

บุ้นเฉียน ให้ตัง ปุนเฉียน ปุนเฉี่ยน

หม่อเฉียน ไม่มีตัง  หมอเฉียน หม่อเฉี่ยน

ขี้ตะลัก ไปตลาด คื่อตัดลัด  

โอซือ อุจจาระ ออซี่ ออสื่อ

เมี้ยม หน้าตา เมี่ยน เมี้ยน

ชุกซู เรียนหนังสือ ทุกซู

ทั้งหมดที่พิมพ์มาเป็นสำเนียงที่หงัยพูดอยู่ทุกวันทั้ง2แบบ

หอมปากหอมคอ

ได้ฝึกตัวเองไปด้วย

 

 

 

รูปภาพของ Lotus

จำได้ค่ะ

สวัสดีค่ะ พี่น้องฮากกาทุกท่าน ขอรำลึกถึงความหลังบ้าง หง่าวุกคา หง่าปาหมอยแย้นหล่อย กี่ก้อง คำว่ากินนำ้ พูดว่าญิมจุ้ย( ญิม = ดื่ม)
ดื่มชา = ญิ่มช่า ดื่มเหล้า=ญิมจิ้ว ถ้าผิดขออภัยค่ะ

ล้อกถ่ายซุ่ย

จินหงิดล้อกถ่ายซุ่ย

อั้นเหลียง เทียนฃีอึ่มหว่อยเงียด

หงีหงีก้ายถี่ฟองยิวล้อกซุ่ยหมออะ

 

 

 

 

อยากได้เทปภาษาแคะหาซื้อแถวไหนได้

ไหงเป็นปั้นซันคักอยู่กาญจนบุรีเซี่งจ๊ง อยากได้เทปภาษาแคะมาฟังมากๆไม่ทราบว่าหาซื้อได้ที่ไหน

และอยากจะเรียบนภาษาแคะมากๆที่ไหนเปิดสอนแนะนำด้วยนะครับ  ต๊อเชี่ยะ

ไหงเห่าซิ้ม

ดีใจมากที่มีเวปแบบนี้ ผมอีกคนนึงคับที่เป็นลูกหลานของชาวจีนแคะด้วย แต่อากุงผมพิ่งเสียไปเมื่อไม่นานมานี้เอง ผมรักอากุงผมมาก ตอนท่านอยู่ผมได้คุยกับท่านท่านเป็นคนสอนภาษาจีนให้ผม ผมพูดได้เล็กน้อย ตอนนี้ก็มีน้องชายของอากุงคับที่พูดคุยกันได้แต่ท่านหูไม่ดี อยากมีพี่ๆหรือน้องๆที่พูดได้มาคุยเรกเปลี่ยนกันบ้างนะคับ  0800561810 ทุกเวลา  ผมเป็นคนจังหวัดตรังคับ บ้านอยู่กันตัง kok.love.one@hotmail.com

ไอ้หย่าโห่งเต้าซี อากุงชอบด่าผม โง่จะตาย

ไอ้หย่าล้านเต้าซี  ขี้เกียดจะตาย

คิดโตะเทียมเหลียว กี่โมงแล้ว

โจ่ไค้วๆ  รีบๆทำ

หล่อยเต้าซู้        หล่อยเต้าโจ่   มาช่วยทำ

หยี่หยิ่วเชียนยุ้งเหม่า หยี่หยิ่วตางยุ้งเหม่า คุณมีเงินใช้ไหม

เอาไว้จะคิดให้อีกนะ ถ้าไม่ถูกก็ช่วยแก้ไข้ด้วย ผมพิมไม่ถูกถ้าให้ถูกก็โทรมาแล้วกันพูดชัดอยู่

หยิ่วปุงหยีม่อโตะม่อซาว

คนแก่ตามองไม่เห็นหูฟังอะไรก็ไม่รู้เรื่อง เหล่าหยินเยียนจู่ขอยอืมเตาหยีกุ้งตังมะเกอืมตี่สือ

ขอโทษที่ทำให้คุณลำบากใจ ตอล่อง ไหงโจ้หยีซิ้มกั่นนั่น

ไปไหนก้อได้ที่มีคุณกับผม ขี่ไห่นก่าเท็ดหยิ่วหยีกะไหง

ทุกคนมากินข้าวได้แล้ว  ใจ้หยินหล่อยซิดฟั่นเท็ดเหลียว

เข้ามาเร็วๆมีอะไรจะให้คุณ เกียกเกียกหล่อยหยิ่วมะเกปึนหยี

คุณพูดช้าๆหน่อยผมฟังไม่รู้เรื่อง หยีคองมั่นมั่นไหงอืมเซียวตังตี่สือ 

 

อยากรู้ว่า เกียดหยอง อยู่ที่ไหน

ผมเป็นลูกหลานจีนแคะที่อากุ้ง และ อาม่า มาจาก เกียดหยอง ซึ่งผมไม่ทราบว่า เกียดหยอง อยู่ที่ไหนของประเทศจีน

รูปภาพของ Ding JianMing

揭阳市

เท่าที่ทราบนะครับ เกียดหยองหรือเก๊กเอี้ยว น่าจะตรงกับ 揭阳市 (Jieyang Shi) ในมณฑลกวางตุ้งครับ (广东省) เกียดหยอง อยู่ติดทะเลใกล้ๆกับ 汕头, 潮州 และติดต่อกับ 梅州 (ดินแดนแห่งบรรพชนฮากกา) อาเมของไหงเป็นคนเกียดหยองเหมือนกัน แต่กื๋อเป็น ฮกล่อหงิน ไม่ใช่ขักหงิน แต่จากที่ดูในแผนที่แล้วเกียดหยองก็ใกล้เหมยโจวตอนล่าง แถวๆ 丰顺县 ซึ่งมีปั่นซันขักหงินเหมือนไหงเยอะมาก เพราะฉะนั้นเกียดหยองตอนบนๆก็น่าจะมีขักหงินอาศัยอยู่เหมือนกัน

  

ดูแผนที่เมืองต่างๆ ในกวางตุ็้ง เพิ่มเติมได้ที่   เมืองต่างๆ ในมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง)

บางคำที่ลืมช่วยหน่อยนะ

หยีลองยหยินหมายถึงอะไรคับ

ลีอ้อง หงิน แปล

ลีอ้อง หงิน แปลว่า สองคน (ปั้นซั้นขัก)

รูปภาพของ Ding JianMing

ฝากเนื้อฝากตัว

สวัสดีครับ ผมเป็น 半山客 (ปั้นซันคัก) อากุงเซี่ยงแตน (姓丁) งาม่าเซี่ยงฉี(姓徐) ส่วนทางแม่นั้นเป็นแต้จิ๋วครับ ชื่อที่งากุงตั้งให้คือ แตนซัน แต่ที่ใช้ในการทำงานคือ 丁建铭 ไม่รู้ว่าขักวอยก้องอย่างไร รบกวนผู้รู้ช่วยอ่านเป็นขักวอยให้ด้วยนะครับ สืบถามจากงาม่าท่านบอกว่าพวกเรามาจากฮงสุนครับ (峰顺县) หมู่บ้านถึงแค ตอนเล็กๆงาแมของพวกเราซึ่งเป็นคนแต้จิ๋วแท้ๆครับสอนให้ผมพูดภาษาแต้จิ๋ว ซึ่งทุกวันนี้ผมก็พอฟังออกบ้างแต่โต้ตอบได้ลำบากพอสมควร ตอนนี้งาแมเสียแล้วก็ใช้แต้จิ๋วกับพวกงาหยีงาคิวนะครับ ส่วนขักวอยพึ่งมารู้จักและสนใจเมื่อไม่นานมานี้ ผมคิดว่าขักวอยเป็นภาษาที่มีสำเนียงไพเราะมากครับไม่แพ้ภาษาจีนกลางเลย ตัวผมพูดจีนกลางได้ อ่านก็พอได้บ้างแต่ไม่เก่งมากนะครับ จบจาก มช. เรียนภาษาจีนกลางเป็นวิชาเสริม ปัจจุบันใช้ภาษาจีนกลางค่อนข้างเยอะครับและมีที่สอนพิเศษเยอะแยะมากมาย จึงย้อนกลับมามองขักวอยซึ่งเป็นรากฐานส่วนหนึ่งของตัวผมเองว่าควรจะหาทางพูดให้ได้ อยู่บ้านก็พยายามให้งาม่าพูดนะครับ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นจีนกลางหรือภาษาไทยมากกว่า ดีใจครับที่ได้เป็นสมาชิกเวปนี้ และดีใจอย่างยิ่งที่ทราบว่าจะมีการจัดทำหนังสือขักวอย ต้องการให้ผมช่วยเหลืออะไรติดต่อได้นะครับ ผมยินดีอย่างยิ่ง อยากให้ขักวอยอยู่คู่เมืองไทยของเราตลอดไป ตอนนั้ไหงกาล้อผ๋อกำลังตั้งท้องตั้งใจอย่างยิ่งว่าจะให้งาม่าตั้งชื่อให้เป็นขักวอยครับ  

รูปภาพของ Ding JianMing

บทเรียนบทที่ 1 吃早餐

 

ชุดนี้เป็นชุดแรกที่ผมอยากเอาขักวอยมาร่วมแชร์กับ แผ่นหยิวอากอ อาแจ๋ ทุกๆท่านที่รักในภาษาขักวอยของพวกเรา ผมแกะออกมาจากเวบไซท์สอนภาษาขักกาของใต้หวันนะครับ คำอ่านภาษาไทยในวงเล็บ (...../.....)  ด้านหน้าเป็นซิมขัก ส่วนหลัง / เป็นปั่นซันขักที่ผมถามอาม่าของผมเองครับ ร่วมสืบสานความเป็นขักการ่วมกันนะครับ 

รูปภาพของ webmaster

ขอบคุณ ยินดีครับ

เห็นว่าเป็นบทที่ 1 แสดงว่าอาจมีบทต่อๆไป จึงขออนุญาต นำขึ้นเป็นบล๊อกใหม่ ที่ บทเรียนบทที่ 1 吃早餐

เพื่อเนื้อหาของท่าน จะได้เรียงต่อเนื่องไปได้ สะดวกยิ่งขึ้น

ก็ขอแสดงความต้อนรับท่าน Ding JianMing ซินซัง และ ขอบคุณท่านแทนพี่น้องชาวฮากกาที่ผ่านมาพบ ได้รับสาระดีๆจากท่านต่อไป

รูปภาพของ Ding JianMing

จะพยายามต่อไปครับ

ครับ ผมก็คิดว่าจะพยายามแกะต่อไปแล้วเอามาแลกเปลี่ยนต่อไปครับ ไม่หวังสิ่งอื่นใดนอกจากอยากเป็นส่วนร่วมในการสืบสานภาษาฮากกาให้อยู่ต่อไป อยู่กับลูกๆหลานๆชาวฮากกา หรือผู้ที่สนใจภาษาของบรรชนชาวฮากกาของเรานะครับ

丁建铭

รูปภาพของ จ๊องหยิ่นฮยุ๋ง

คุณ Ding JianMing

ชื่อหงี 丁建铭 อ่านว่า แต๊น เกี่ยน เหมียง

ส่วนอำเภอฮงสุน ที่ถูกต้องเขียนว่า 丰顺县 ครับ

หมายเหตุ: คำฮากกาที่อาจปรากฏในข้อความข้างต้น เป็นสำเนียง 'ฟุ้งสุ่น' ของผู้เขียน.

อ่านเรื่องราวซุนจงซาน เป็นจีนแคะได้เลย

ต้องตามไปดูที่

hak.wikipedia.org/wiki/S%C3%BBn_Ch%C3%BBng-s%C3%A2n

เนื้อหาสั้นหน่อยแต่ก็มึนน่าดู

 

Sûn Chûng-sân (孫中山 1866-ngièn 11-ngie̍t 12-ngit —— 1925-ngièn 3-ngie̍t 12-ngit) he khiûn-thoi Chûng-koet ke mìn-chú kiet-min kâ, Chûng-fà-mìn-koet koet-fu, Chûng-koet Koet-mìn-tóng chúng-lî, Kóng-tûng-sén Hiông-sân-ngìn.

Sûn Chûng-sân chhai Chhîn-thùng chhṳ ńg-ngièn sṳ̍p-ngie̍t chhû
liuk-ngit sṳ̀ chhut-sên yî Chûng-koet Kóng-tûng-sén Chûng-sân-sṳ
chhui-hên nùng-chhûn mìn chṳ̂ kâ. Chhit-se sṳ̀ chiap-su chhòn-thúng
kau-yuk. 1879-ngièn, sṳ̍p-si-se Sûn Chûng-sân chhai tông-thi Yîn-koet ke koet-kau-fi khôi-phan yung Yîn-ngî su-kho ke séu-ho̍k "Iolani School" siû-thu̍k Yîn-ngî、Yîn-koet li̍t-sṳ́、Sṳ-ho̍kFa-ho̍kVu̍t-lîSṳn-kîn tén-tén khô-muk.

1881-ngièn pit-ngia̍p heu, chin-ngi̍p tông-thi chui kô ho̍k-fú、Mî-koet kau-fi ho̍k-káu "Oahu ho̍k-yen" ki-siu̍k ho̍k-ngia̍p. 1883-ngièn yù-yî Sûn Chûng-sân yû sin-fung Kî-tuk-kau ke yi-hiong, phî hiûng-chhòng sung-fì kâ-hiông. Thùng-ngièn Tûng-thiên to Hiông-kóng, lâu Liu̍k Hò-tûng yit-thùng chhai-yî Kûng-lî-voi su-sé ngi̍p Kî-tuk-kau. Chhṳ-ngièn chin-ngi̍p tûng-ông sû-yen.

เป็นไปได้ก็อ่านคู่กับเว็บภาษาจีนและไทยก็พอจะได้อรรถรส

zh.wikipedia.org/wiki/%E5%AD%AB%E4%B8%AD%E5%B1%B1

th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%8B%E0%B8%B8%E0%B8%99_%E0%B8%A2%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B9%87%E0%B8%99

เรื่องอื่นๆก็มีนะครับลองดู

เรียนhakka fa ผ่านweb

หากเราเปิดหน้าwikipedia

เราก้ไปคลิกที่ hakka fa ซ้ายมือช่องเลือกภาษา

หาอ่านได้ทุกอย่างเลย

สอนhakka faก็มีตัวอย่าง..

จะหาอ่านเป็นภาษาจีน-อังกฤษก็มี...เพียบ..ที่นี่

http://hakkatl.fhl.net/index.html

รับรองไม่ผิดหวัง

รูปภาพของ ชิวเกียว

เป็นสมาชิกชาวจีนแคะ

ดีใจที่เห็นเว็ปนี้ เพราะไม่รู้มาก่อนว่ามีเพื่อนๆ อยากทำหนังสือสำหรับชาวจีนแคะ ดีมั่กๆๆ เพราะรุ่นใหม่ๆ พูดไม่ได้กันแล้ว ตัวเองก็เกือบลืมหมด เพราะตายาย พ่อแม่จากไปแล้วก็ไม่ค่อยมีใครพูดด้วย ภาษาก็จะลืมเลือนไป ถ้ามีชมรมที่จัดรวบรวมภาษาได้เป็นรูปเล่มก็จะดี ยิ่งถ้ามีสอนกันด้วยก็ยิ่งดีใหญ่ วันนี้ก็เลยเอามาฝากสัก 3 ประโยค คือเวลาจะชมใคร ก็จะพูดว่า หงี่อั้นเลี้ยง แปลว่า เธอ/คุณสวยจัง หงี่อั้นเคี้ยง แปลว่า เธอ/คุณเก่งจัง ไหงโอ้ยฮี้เลา แปลว่า ฉันจะไปเที่ยว เป็นต้น

รูปภาพของ อาคม

ยินดีต้อนรับครับ คุณชิวเกียว

ยินดีต้อนรับครับ คุณชิวเกียว ก่อนอื่นช่วยแนะนำตัวหน่อยนะครับว่า เซี่ยงมักไก้ ถองซานอยู่ที่ไหน เผื่อได้เจอญาติบนเวปนี้ ซึ่งก็มีเจอกันหลายคนแล้ว ส่วนของไหง เซี่ยงจอง แซ่เตีย,เตียวในภาษาแต้จิ๋ว อยู่ไท่ปูครับ

รูปภาพของ เหลี่ยวเม่ยจาง

สวัสดีค่ะ

สวัสดี ชื่อเหลี่ยวเม่ยจางค่ะ จริงๆ แซ่เหลี่ยวไม่มีหรอก เพียงแต่ว่าอาหงิ่น(แม่ของอาป๊า)ชอบเติม

คำว่าเหลี่ยงให้ ไหงเป็นคนซิ่ง หวาง 黄妹掌 ตัวสุดท้ายนี้อ่านว่าจ่าง มาจากคำว่าจ่างฉวน

แต่ลดเสียงเพื่อให้มันไพเราะขึ้น

                  ชื่อแซ่ไหงแปลกใช่ไหมล่ะ  ใครมีชื่อ แซ่แปลกๆแบบไหงบ้าง แต่ความหมายดีนะ

ไหงก็เซี่ยงจอง(แซ่เตียว)

ไหงชื่อ เก้ว เซี่ยงจองเหมือนกัน ถ่องซันอาม่าบอกว่าอยู่ปู๋ไฉ่ (ปู๋ไฉ่..ม่อยจื้อไฝ่) ปัจจุบันอยู่ อ.ไทรโยค กาญจนบุรี

รูปภาพของ อาคม

จองอาเก้ว

สวัสดีครับ จองอาเก้ว ชือไล่ก๊อ หงีกับจ้องหยิ๋นฮวุ๋ง เป็นคนหมู่บ้านเดียวกันครับ

หงีอยู่ไทรโยคอยู่ที่ไหนครับ มีโอกาสคงได้เจอกันครับ ไหงมีญาติอยู่ลุ่มสุ่มครับ

 

ไหงเป็นลูกหลานท่าม่วง

ไหงเซี่ยงเจ้ว อากุ๋งไหงมาจากเกี๊ยดหยองพอมาถึงเมืองไทยก็ไปอยู่ที่ปากแพรก เมื่อ 90 ปีที่แล้ว ปัจจุบันนี้ อากู๋ไหงอีก 2 คน อยู่ ท่าม่วง และ ก๊กจิ๊ด ส่วน อาสุก และ เตี๋ย ไหง ตายหมดแล้ว ที่ปัดเพ็ด คนจีนแคะ มีเยอะมากกว่าแต้จิ๋ว ยินดีที่ได้สนทนาด้วย

สวัสดีค่ะ

Winkไหง่ เหมี่ยง หลิวกุ้ยเซียง (หมวย)

รูปภาพของ อาคม

สวัสดีครับ คุณหลิวกุ้ยเซียง

ยินดีต้อนรับสู่ชุมชนเราครับ ไหงเกิดสงขลาเหมือนกันครับ แนะนำตัวให้มากกว่านี้หน่อยครับเช่นว่าที่เมืองจีนอยู่ที่ไหนครับ

ไหงอยู่หาดใหญ่

หลิวกุ้ยเซียงอยู่ที่ไหนละครับ  ผมเซี่ยงหลิวเหมือนกันอยู่หาดใหญ่

เผื่อเจอจะได้ทักทาย  ส่วนคุณอาคมกลับหาดใหญ่บ่อยๆ  คงได้มี

โอกาสพบกัน

ว่างๆมาคุยกัน

เตดฮาจั๊งหง่อยกอ

รูปภาพของ แกว้น

忍耐 อดทน

"อดทน" อีกคำหนึ่งที่ใช้มาก  忍耐 (rěn nài) อดทน
รูปภาพของ มะไฟ

อาหารญี่ปุ่น

ชื่นชมจริง ๆ ที่ช่างสังเกต คนอยู่ญี่ปุ่นหลายปีแบบไหง คิดไม่ละเอียด ไม่เคยสังเกต เพราะสมัยก่อนก็คิดว่ามันเหมือน ๆ ของจีนเท่านั้น 

รูปภาพของ แกว้น

น่าฉงนจริง !!!

คารวะโกมะไฟ อาหารที่เหมือนกันมีหลายอย่างคงไม่บังเอญ เท่าที่ทราบ ฟานสู่ยับ ก็มีคนฮากกากับคนญี่ปุ่นที่รู้จักกิน
น่าฉงนจริง !!!
รูปภาพของ หม่านชา

你好呀

ไหง่ก้อเป็นปันซันขักซุนนะฮะ แต่ที่บ้านไม่ได้พูดแคะมากเท่าไหร่ ใช้ชีวิตแบบคนแต้จิ๋ว ทั้งๆที่มาจากเกียดหยอง แต่เรียกเก็กเอี๊ย เเทบจะไม่ใช่คนแคะแล้วด้วยซ้ำ แต่ยังมีบางอย่างที่ยังพอบ่งบอกถึงความเป็นคนแคะ คือ ยังทำจี่จิ้ว (ไก่เหล้า)เป็น ยังไหว้บัวลอยแบบที่เขาเสียบไม้ ไหว้มึ่นซิ่น ยังจำคำว่าซิดผ่อนได้ นอกนั้นไม่รู้จักแล้ว ถ้าคนอย่างเราไม่รู้รุ่นต่อๆไป ก้อคงเป็นคนไทยกันหมดแล้วแหละครับ

รูปภาพของ แกว้น

จิตวิญญาณคนฮากกาของหม่านชา

อ่านแล้วรู้สึกได้ว่าหม่านชามีจิตวิญญาณคนฮากกา ภาษา สำเนียง ประเพณีและวัฒนธรรมอาหารเป็นเพียงสัญลักษณ์ภายนอกที่สัมผัสได้แต่ก็ผันแปรได้ตามเหตุปัจจัย เมื่อรู้ก็สรรสร้างคืนมาใหม่ได้เช่นกันนะครับ

รูปภาพของ กิ่มหมิ่น

ไท้พู่ชุ่ง

ไหม่มีเพือนชื่อเล่น ...ไท้พู่ชุ่ง...แปลว่าอะไรครับ

รูปภาพของ แกว้น

ไท้พู่ชุ่ง ของกิมหมิ่น

อากิมหมิ่นถามไว้ตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว ผ่านตาไปได้ตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่รู้ครับ?

"ไท้พู่ชุ่ง" "ไท้ซู้ถุ่ง" คำสำนวนนี้ขอรวบรวมไว้ในบล็อก

คลิก "สำนวนพูดฮากฟ้า" 

 

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal