ขอขอบคุณทุกกำลังใจที่มอบให้ค่ะ ไม่เคยคิดเลยว่าตัวเองจะได้มาเป็นคนทำหนังสือฮากกาซะเอง แต่เนื่องจากเข้าใจความรู้สึกของตัวเองและอีกหลายๆคนที่อยากจะหาหนังสือไว้เป็นแบบเรียน คงได้เวลาที่ต้องลงมือทำซักที การทำหนังสือฮากกานี้ค่อนข้างยาก เพราะว่าเราต้องเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งและพยายามทำความเข้าใจกับเนื้อหามาตรฐานที่ชาวฮากกาทั่วโลกที่เค้าเรียนและสื่อสารกัน ต่อไปนี้เราจะไม่ต่างคนต่างพิมพ์แล้ว บางคนพิมพ์ ไหง บ้างก็ ไง๋ ต่อไปเราต้องพิมพ์เป็น ngai ไม่ใช่คนไทยเท่านั้นที่จะเข้าใจจริงมั๊ยคะ ต่อไปเราก็มาเพิ่มวรรณยุกต์เข้าไปถึงจะครบถ้วน
เพราะความรู้ภาษาจีนกลางของหนูมีจำกัด จึงต้องศึกษาเพิ่มเติมอย่างแข็งขัน นั่นเป็นเพราะว่าที่ไต้หวันเค้าใช้ภาษาจีนตัวเต็มกัน ดังนั้นตำราเนื้อหาหนูจึงต้องใช้เวลาทำความเข้าใจ หนูอ่านอักษรจีนตัวย่อได้สบายกว่าตัวเต็มค่ะ แต่เพราะว่าจะทำหนังสือเรียนฮากกาฉบับภาษาไทย หนูจึงต้องทำความเข้าใจอักษรจีนตัวเต็มเพิ่มเติม เลยไม่รู้ว่าจะเป็นคนทำหนังสือหรือจะเป็นคนที่มานั่งเรียนกันแน่ ^^ เลยต้องทำทั้งสองอย่างควบคู่กันไป
บางครั้งฟังอย่างเดียวก็ช่วยได้นะคะ ช่วยได้ดีกว่าการอ่านเชียวล่ะค่ะ ตอนนี้หนูฟังคนไต้หวันอธิบายภาษาฮากกา ตอนแรกยังไม่ค่อยชิน เพราะว่าคนจีนกับคนไต้หวันสำเนียงค่อนข้างไม่เหมือนกัน ไปๆมาๆต้องมาเพิ่มทักษะการฟังภาษาจีนฉบับไต้หวัน หนูต้องพยายามเดินสายกลางเข้าไว้ ไม่รู้ว่าจะได้ซักกี่น้ำ เกรงว่าสำเนียงภาษาจีนของหนูจะรวมปนเป ไปเรียนอะไรก็โน้มเอียงไปเรื่อย จึงนับว่าค่อนข้างหนักพอสมควรกับการทำหนังสือเล่มนี้ เพราะว่าต้องใช้เวลาเเละเรียนจีนกลางไปด้วยนั่นเอง ที่ไต้หวันเค้าไม่มีเวอร์ชันการสอนเป็นภาษาอังกฤษ งั้นเราต้องใช้ภาษาจีนกลางสื่อสารอย่างเดียวที่พอจะช่วยได้ ต้องถอนหายใจให้ 1 เฮือกน้อยๆ
หนูทำเป็น Word ไว้ แต่ที่นี่เค้าให้ทำเป็น JPEK ถึงจะโพสได้ โพสแล้วก็ยังไม่ชัด เดี๋ยวต้องให้คุณ webmaster คอยช่วยอีกแรงนึงค่ะ จัดทำเป็น Word แต่เริ่มแรกจะได้สะดวกเวลาแก้ไขเมื่อออกมาเป็นรูปเล่มค่ะ ผลประโยชน์ที่จะได้จากหนังสือเล่มนี้เพื่อฮากกาทุกคนค่ะ
tonkla
ขักวอย เครือญาติ
ขอออกตัวหน่อยนะ ไหงเป็นฮากการุ่นท้ายแถว ความรู้ด้านภาษา และวัฒนธรรม
ก็แทบไม่เหลือแล้ว พอมาเห็นในเว็บนี้ก็พอได้รื้อฟื้นความทรงจำบ้าง
ความรู้ก็ไม่มี
ซีดีก็อยากได้จึงพยามขุดคุ้ยสิ่งที่ยังพอเหลือพอได้ยินอยู่บ้าง
คือการเรียกชื่อเครือญาติ ผิดถูกประการใดโปรเสนอแนะ
เพื่อให้ผุ้อ่านท่านอื่นไม่เข้าใจผิดเพี้ยนตาม ไหงฮากกาท้ายแถว รุ่นตกขบวน
คำที่จะนำมาเสนอเป็น การ ห้ำต้อ (เรียกชื่อ) เครือญาติ ในภาษาเรา (คำว่า "อา" ในนี้เป็นเสียงเรียกมีหรือไม่ก็ได้) เช่น
พ่อ - อาปา ; แม่ - อาแม
พี่ชาย - อากอ(ปันวันขัก) ; อาโก(ชิมขัก)
พี่สาว - อาแจ๋(ปันวันขัก) ; อาจี้(ชิมขัก)
น้องชาย - ล่อแท ; น้องสาว - ล่อม่อย
สามี - ล่อผอ ; ภรรยา / สะใภ้ - ??? (ลืมแล้ว)
พ่อของอาปาอาแม - อากุง หรือ เรียกเจาะจง ทางอาปา อาแม ว่า
ปู่ - หนุ่ยกุง ; ตา - หงวยกุง
ลุง (พี่ชายพ่อ) - อาปัก ; ภรรยาลุง - ปักแม
อา (น้องชายพ่อ) - อาสุข ; ภรรยาอาสุข - สุขแม
ลุง/อา (พี่ชาย/น้องชาย แม่) - อาคิว ; ภรรยาลุง - คิวแม
ป้า (พี่สาว/น้องสาว พ่อ) - กู ; สามีป้า - กูชอง
ป้า/น้า (พี่สาว/น้องสาว แม่) - หยี ; สามีน้า - หยี่ชอง
แม่ของ อาปา/อาแม - อาม่า (ปันซันคัก) หรือ อาโผ่(ชิมคัก) เรียกเจาะจง ทางอาปา อาแม
ย่า - หนุ่ยม่า ; ยาย - หงวยม่า
สูงกว่าอากุง,อาม่า อีกชั้น ก็เติม "เหล่า" ข้างหน้า เป็น เหล่ากุง,เหล่าม่า
สูงขั้นไปอีก ก็เป็น อาไท้ เป็น ไท้กุง , ไท้ม่า เป็นต้น
ถ้าต่ำลงไปชั้นลูก นิยมเรียกชื่อกันตรงๆ และถ้าเป็น หลาน ก็จะเรียก ว่า ซุง
ส่วนการลำดับ
พี่น้อง คนโต เรียกว่า ไถ่ ที่แปลว่าใหญ่ เช่น
พี่ชายใหญ่ - ไถ่กอ , ลุงคนโต - ไถ่ปัก , ป้าคนโต - ไถ่หยี เป็นต้น
พี่น้อง คนที่รอง เรียกตามลำดับตัวเลข 2-หงี่ , 3-ซำ , .... เช่น
พี่ชายคนที่2 - หงี่กอ , ลุงคนที่3 - ซำปัก , อาคนที่3 - ซำสุข เป็นต้น
พี่น้องคนเล็ก เรียกว่า แซ่ ที่แปลว่าเล็ก เช่น
อาคนเล็ก - แซ่สุข , น้องแม่คนเล็ก - แซ่คิว เป็นต้น
ผิดพลาดประการใดโปรดชี้แนะด้วยครับ และถ้าคุณ tonkal นำไปปรับแต่ง แก้ไขจัดหมวดหมู รวมเล่มก็คงจะดี ขอเอาใจช่วยครับ
อืมตี้ หงี่เก๊ามักไก้
ผู้น้อยขอคาราวะ
ก็ขออภัย ถ้าเข้าใจผิด เพราะภาษาไหงไม่แข็งแรง อ่านเสียงในฟีลมเข้าใจไม่ถึง 20% ถ้าแปลให้ด้วยจะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง จะได้ศึกษาภาษาไปด้วย
ขอย้อนความเล็กน้อย
พอดีช่วงนั้น ทางเว็บมีการ แจก VCD เพลงฮากกา ฟรี! ให้กับผู้ที่เขียนเรื่องอะไรก็ได้มาลง
ด้วยความรู้ที่ไม่มี แต่อยากได้ VCD จึงเอาสิ่งที่เคยได้ยินและยังใช้เรียกขานกันในหมู่ญาติ อาจจะถูกมากกว่าผิด และที่เข้าใจผิดบางคำ ก็จะได้มีผู้ช่วยชี้แนะแก้ไขให้ ก็ขอขอบคุณ ผู้รู้ทั้งหลาย ที่ได้ช่วยชี้แนะมาแล้ว
ก็หวังว่าในชุมชนนี้ คงได้ท่านได้มาช่วย เผยแพร่ความรู้และวัฒนธรรม ก้องฮ้อ ยิวหยุ่ง . หงีอ้อยเกามักไก้ ฮ้อหงินหยุ่ง ก็เสนอมากันขึ้นมา จะได้เป็นประโยชน์อย่างมาก.
หงี มุ่น หลอย ฉิ่ว ห้อ แหล่ว
อาก๊อ Sunthorn... ไหง หว่า.. ทุก หม่า ไก้ ก็ ห้อ เก๊า หลอย หมอ หยุ่ง .. ไหง หว่า อื๋ม วุ่ย นา.. ตี๊ หม่า ไก้ ตี๊ หลอย เซี้ยน ... กิ๊น หงิด หมอ หยุ่ง.. เพ็ด หงิด ไหง หว่า ยิ้ว หยุ่ง นา อาก๊อ อา...
ขอโทษ ช่วยแปลให้ครับ
อืมตี้ หงี่เก๊ามักไก้ ไม่รู้ คุณสอนอะไร
หงี่เก๊าอั่นแหนน หมอหงีนกื๋อหยุ่ง คุณสอนเช่นนี้ ไม่มีคนเขาใช้
เก๊าคื้อก็หมอห้อหยุ่ง สอนไปก็ไม่มีใครใช้ ไหง่หว่าช๊อกเก๊า ฮ้อหยุ่ง ฉันว่า สอนที่ใช้ประโยชน์
เก๊าหยิน ยิ้วหยินก็คื่่อหยุ่ง อันแหนนฮ่อเก๊า สอนคน มีคนไปใช้ประโยชน์ เช่นนี้ น่าสอน
หล่อยเก๊าหยินฮ่ำอาซุก อาปัก คิวแม้ มาสอนคนเรียก คุณอาชาย คุณลุง คุณน้าสะใภ้ ไหง๋หมอคิวแม้ ไหง่อืมตี้ว่าช๊อกฮ้ำลี้สาอ่ะ ฉันไม่มีคุณน้าสะใภ้ ฉันไม่รู้ว่าจะไปเรียกใครค่ะ
ฮ่างิด ต่อไปวันหน้า หงี้หลอยเก๊าหงินก้องท่องฝา คุณมาสอนคนพูดภาษาจีน ปั้นเขี่ยนไหง ฉัน...(แปลไม่ได้) อันแหน่ไหงว่าหันยิวหยุง เช่นนี้ยังได้ใช้ประโยชน์
หงี่คืนซ้อน คุณลองไปคิดดูค่ะ
ไท้กุง , ไท้ม่า
ไท้กุง , ไท้ม่า คือ เหล่าโจวกง เหล่าโจวม่า ใช่เปล่าครับ
พี่สะใภ้ น้องสะใภ้
พี่สะใภ้ น้องสะใภ้ และ พี่เขย เรียกว่าอะไรครับ
น้องเขย น่าจะเรียกว่า ล่อม่อย นะครับ
comment เล็กๆ
น้องสาว : น่าจะเป็น เซ่โม่ย นะ รวมทั้ง อาคนเล็ก : น่าจะเป็น เซ่สุก ไม่ใช่ แซ่ เพราะว่า จีนแคะ เซ่หมายถึง prefix ที่แปลว่าเล็ก น้อย เช่น เซ่ฟู่ จะหมายถึง เสือน้อย
ทายาทรุ่นหลังเหมือนกัน ทำหนังสือรวมเล่มเสร็จเมื่อไร ขอด้วยนะ หาซื้อตามร้าน ไม่เคยมีเลย อยากให้ลูกหลานที่มีเชื้อสายจีนแคะพูดกันได้มากกว่านี้
ขอบคุณที่ทักท้วง
ขอบคุณที่ทักท้วง เรื่องแซ่ม่อย ล่อม่อย ไหงก็ไม่ค่อยมั่นใจเหมือนกัน และยังสับสนกับการเรียก สะใภ , ภรรยาว่าไงกันบ้างก็ยังงงๆ
ส่วนการออกเสียง ตัว 小 (จีนกลาง เซี่ยว [xiǎo] แต้จิ๋ว โซ้ย) ที่แปลว่าเล็กน้อย ก็ไม่แน่ใจว่าภาษาฮากาออกเสียงอย่างไร เห็นบางบ้านก็ออกเสียงว่า เซ่ กัน แต่ทางญาติไหงเขาให้ฮัั่มว่า แซ่... เช่น น้องสาวคนสุดท้อง เรียกแซ่มอย ก็เลยจำมางั้นๆ อาจจะจำมาผิดพลาดก็ขออภัยด้วยครับ
และก็ยังมีอีก หลายตำแหน่งญาติที่ยังไล่ไม่ครบ ถ้าท่านพอทราบช่วยเติมๆให้ด้วยนะครับ
ขอท้วงนิด
ขอท้วงนิดนะ
เสี่ยว(ภาษากลาง) ภาษาแคะ จะเรียกว่า แซ้ หรือ เซี่ยว ก็ได้แล้วแต่ว่าเราจะใช้ตอนไหน เช่น
แซ้ม่อย = น้องสาวสุดท้อง หรือ คนเล็ก หรือ เด็กน้อย
แซ้จัก = อันเล็ก ไท้แซ้ = ใหญ่เล็ก
เซี่ยวซื้อ = เรื่องเล็กน้อย
ขอให้เข้าใจว่าภาษาฮากกาดั่งเดิมจะอยู่นอกเมืองจีนแล้วนะ
เพราะตั้งแต่บรรพบุรุษอพยพมาก็ยังใช้ภาษาเดิม แต่ที่เหมยโจวภาษาท้องถิ่น( ปูถุงหว่า) จะผสม และ ส่วนใหญ่จะใช้ภาษาจีนกลางไปแล้ว
ยกตัวอย่างเช่น จ๊าเจ่า (เช้าตรู่) เป็น เจาเสิ่น หรือ เจาซั่งแล้ว
เกียกๆ ( เร็วๆ ) เป็น ไค่วๆ
หยิด (หนึ่ง,เอี่ยว) เหยา
ส่วนเรื่องของบุคคลที่เป็นเขยก็เติมคำว่า ชอง ตามหลัง เช่น กูชอง,
สะใภ้เติมคำว่า แม ตามหลัง เช่น สุกแม,คิวแม
หรือส่วนใหญ่สนิทกันก็จะเรียกแมแม ส่วนอาแม ก็คือ อามะ แม่นั้นเอง
ที่อ่านมาของคุณไม่ผิดแต่น่าจะเป็นแคะครึ่งเสียง( ป้านซังฮาก) มากกว่า
ขอบคุณครับ
ขอบคุณครับ
ยินดีช่วยครับ
ถ้าท่าน tonkla มีปัญหาเรื่องการส่ง word ขึ้นเว็บ ให้ส่งเมล์มา แล้วจะให้ admin จัดการให้ครับ
เพราะการส่งเป็นรูปดูสวยดี แต่มักจะมีปัญหาเรื่องขนาด กับความคมชัดดังว่า
ยินดีช่วยเต็มที่ เพื่อให้ลูกหลานได้มีหนังสือฮากกาได้ศึกษากัน ครับ
อยากช่วยครับ
เป็นทายาทที่พูดจีนไม่ได้ครับแต่ก้อยากช่วย อยากให้มีเป็นหนังสือ ผิดพลาดประการณ์ใดช่วยแก้ไขแนะนำด้วยครับ เอาที่จำได้นะครับสำเนียงอาจแปลกๆ
พ่อ - เตี๊ย
พี่เขย - จี้ช๊อง
ลุงเขย - กู๋ช๊อง
เที๊ยน -ฟ้า
ถี่ - ดิน
กิ๊ม -ทอง
เหง็น - เงิน
มุกห๊า - บ้าน
คื้อ - ไป
จ้อน - กลับ
ชิ่ว - เหม็น
เฮวี๊ยง - หอม
ช่อย - ผัก
ช่อยเถว - หัวไชเท้า
ลี่โหว่ย - ใหน
มาไก้ - อะไร
เก้ว - หมา
ฟั๊นหงิน - คนแถวบ้านเรียกแทนคนไทย
เล่าจื้อ - คนลาว (ไม่แน่ใจ )
เต้น - เก้าอี้
ช่อยปั้น - ขนมใส้ปั้น
ล็อคซุ่ย - ฝนตก
ฟุ้งช๊อย - ลมพัด
ผิดพลาดประการณ์ใด ขออภัย
คำเรียกลำดับญาติ/หรือคนในครอบครัว
ฝากถึงคุณtonkhlaหน่อยค่ะว่าที่บ้านเนี่ยถ้าสะใภ้เรียกซิมคิว ,สามีเรียกเล่ากุง,ภรรยาเรียกเล่าผ่อ,แม่ของแม่เรียกเจี่ยผ่อ,พ่อของเเม่เรียกเจี่ยกุง และถ้าเป็นคนไทยเค้าจะเรียกว่าเสี่ยมหยิ่นคะ ส่วนหญิงไทยก็เสี่ยมผ่อไม่แน่ใจว่าแต่ละท้องถิ่นคำพูดมันอาจจะเพี้ยนกันไปไม่เหมือนกันหรือไม่
ตอบครับ
ที่ไท่เหมือนกัน
เนื่องจากคุณต้นกล้าเค้าเป็นปั้นซันขัก
แต่คุณเป็นชิมขักครับ
ขอบคุณมาก
ขอบคุณมากครับ
ถ้าเป็นหลานนอกหมายถึงลูกของลูกสาว ก็เรียกว่า ง้อยซุน
ถ้าเป็นหลานหมายถึงลูกของพี่น้องของตัวเองเรียกว่า ชึด
ลูกสะใภ้ - ซิมคิว
ลูกเขย - แซ๋หล๋อง
ลูกชาย - ล้าย
ลูกสาว - ม้อย
ปู่ - อากุง
ย่า บ้านผมเรียกว่า อาผ๋อ
พี่ชาย/น้องชายย่า - คิวกุง ภรรยาคิวกุง - คิวผ๋อ
พี่สาว/น้องสาวน้อง - หยี่ผ๋อ สามีหยี่ผ๋อ - หยี่ชองกุง
พี่ชายอากุง - ปักกุง ภรรยา - ปักผ๋อ
น้องชายอากุง - สุขกุง ภรรยา - สุขผ๋อ
พี่สาวน้องสาอากุง - กูผ๋อ
ถ้าผิดพลาดประการใดต้องขออภัยด้วยครับเนื่องจากไม่ค่อยได้ใช้ครับอีกอย่างก็คือ สะกดเป็นภาษาไทยไม่ค่อยถูกครับ เลยไม่ทราบว่าจะออกเสียงหรือเขีนผิดไหม ถ้าผิดพลาดตรงไหนก็ต้องขอความกรุณาช่วยแก้ด้วยนะครับขอขอบคุณมากครับ
สวัสดีครับผมเพิ่งสมัครเป็นสมาชิค
ผมก็เป็นลูกหลานจีนแคะเหมือนกันอายุ21
บ้านผมแซ่หว่อง เพิ่งซื้อหนังสือคือฮากกาคือจีนแคะมาอ่าน
ทำให้ได้รู้เรื่องราวบรรพบุรุษ และอยากเรียนภาษาแคะ
แต่หาแหล่งเรียนไม่ได้สักที (อาผ่อ อากุง เสียแล้ว )
โชคดีที่มาเจอเวปนี้ ขอบคุณมากๆครับ
เรียกคล้า
เรียกคล้ายๆกันครับ
ป้า - ลุงเขย ถ้าหยี่ – ถ้าหยีฉ้อง (หลานนอก)
ลุง – ป้าสะใภ้ ถ้าคิ้ว – ถ้าคิ้วหยอง(หลานนอก) น้า – น้าเขย หยี่ – หยี่ฉ้อง (หลานนอก)
น้า – น้าเขย กู – กูฉ้อง (หลานใน)
อา – อาสะใภ้ คิ้ว – คิ้วหยอง อา – อาสะใภ้ ช่วยสุก – ซิม (หลานใน)
ป้า – ลุงเขย กู – กูฉ้อง (หลานใน)
เจี่ยกุงถ่าย – เจี่ยผ่อถ่าย
ผักกุง – ผักผ่อ
คิ้วกุง – คิ้วผ่อ
ถ้าคิ้วกุง
สุกกุง – สุกผ่อ
หยี่ผ่อ
กูผ่อ
ขอเสริมอีกนิด
ยี้เย่น- หมอหรือโรงพยาบาล ไม่แน่ใจใครช่วยบอกที
โรงพยาบาล
โรงพยาบาลครับ ยีเย้น
ซินซาง หมอครับ (หมอดูก็ได้)
การทักทาย
อยากทราบคำว่า
สวัสดีค่ะ
พี่ชายสบายดีไหม
อากาศที่นั่นเป็นอย่างไรบ้าง
แม่บอกว่าคิดถึงพี่ชายและพี่สาว
ขอให้สุขภาพแข็งแรง
เมื่อไหร่จะมาเมืองไทยอีก
คิดถึงพี่ๆทุกคน
ขักวอย เครือญาติ
สามี - ล่อกุง ; ภรรยา / สะใภ้ - ล่อผอ
ที่จำได้ค่ะ
สวัสดีคร
สวัสดีครับทุกท่าน ผมไม่ได้เข้ามานานพอสมควรแล้วครับเนื่องจากไม่ว่างวันนี้ขอเพิ่มคำศัพท์สักนิดครับ
คุณครู - ซินซัง
หมอ - ยีซัง
ทหาร - ปิน
ตำรวจ - ม้าต่า
พระ - หว่อซ้อง
พระเครื่อง - ฟุต
สอน - เกา สอนหนังสือ - เกาซู
เรียน - ทุก เรียนหนังสือ - ทุกซู
หนังสือ - ซู
คนงาน - กุงหยิ่น
รถยนต์ - ชา
ขับ - ซือ ขับรถยนต์ - ซือชา
มอเตอร์ไซร์ - มอตอแซ
ขี่ - ขี่ (คำว่าขี่นี้ภาษาไทยยืมมาจากภาษาจีนครับ)
ขี่มอเตอร์ไซร์ - ขี่มอตอแซ
วิ่ง - แจ่ว
เดิน - หั่ง
หยุด - ถิ่น หยุดรถ - ถิ่นชา
ถ้าผิดพลาดประการใดต้องขออภัยด้วยครับ กรุณาช่วยผมแก้ไข้ด้วยครับคือว่าภาษาไทยเอามาสะกดมันยากครับ
เพิ่งเติมครับ
พระเครื่อง พระที่ตั้งบูชา หรือพระพุทธรูป ใช้เหมือนกันหมดครับ คือ ฟุต แต่ถ้าบ้านใครเรียกนอกเหนือจากนี้ขอคำแนะนำด้วยครับ
...
เท่าที่ได้อ่านมา ส่วนใหญ่ ออกสำเนียง ปั้นซันคั่ก เช่นของคุณ ท้ายแถว, คุณ Teerazu, คุณ ท้ามหยอง ส่วนของคุณ ยับยุ้นเสิน และ คุณ จุงอาเจี๊ยบ เป็นชิ่มคั่ก สำเนียงไม่เป็นปัญหา ขอให้พยายามพูด ภาษาของตัวเอง เพราะ ภาษาแต่ล่ะอำเภอ สำเนียงก็ต่างกันแล้ว เช่น ในเขตปกครองของหมอยเย่น อำเภอส่วนใหญ่ พูดสำเนียง ชิ่มคั่ก ซึ่งเดิมเรียกว่า กายิ่นจิว มีเพียงอำเภอ Fengshun (ทองคัง) ที่พูดปั่นซันคั่ก และสำเนียงปั้นซันคั่ก พูดกันที่ เกียดหยอง เกียดซี้ (ห่อผ่อ) ผูแหนน (โผวเล้ง) แล้วก็ลุกฮ่อ ลุกฟุง แล้วก็ในฮกเกี้ยนบางส่วน ซึ่งสำเนียงก็เพี้ยนกันตามพื้นที่ เช่นสำเนียง Fengshun กับ สำเนียงลุกฮ่อ ก็เปรียบเสมือน สำเนียงคนกรุงเทพฯ กับ คุนสุพรรณฯ ทั้งๆที่เป็น ปั้นสันคั่ก ส่วนฟุ้ยจิวคั่ก ก็เป็นชิ่มคั่ก ซึ่งคำบางคำก็พูดต่างกับชิ่มคั่กหมอยเย่น... แต่ทางการ เค้าถือว่าหมอยเย่นคั่กฝ้า เป็นภาษา Hakka ทางการ
จริงครับ
คิดว่าจริงตามคุณอาคมว่ามา และ สำเนียงไม่ใช้ปัญหา ครับ
ชาวฮากกาในแผ่นดินแม่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตเหมยโจ
โดยที่เหมยเซี่ยน เป็นศูนย์กลาง ภาษาพื้นบ้านเป็นชิมขัก ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้กันเป็นส่วนมากของชาวฮากกา รวมทั้งต้าปูและอำเภอใกล้เคียง ก็ใช้ชิมขักที่สำเนียงเพี้ยนกันเพียงเล็กน้อย
ส่วนฮากกาที่เฟิงสุ่น เกียดหยอง และที่ใกล้เคียง ใช้ภาษาปันซันขัก ที่สำเนียงก็คล้ายกันมากเช่นกัน
สำหรับในไทยแล้ว ฮอกล้อ ที่มีพื้นที่น้อยกว่า ฮากกา มากก็จริงแต่กลับเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดในไทย
ส่วน ปันซันขัก ถึงในจีนจะมีพื้นที่น้อยกว่าชิมขัก แต่ในไทยแล้ว ก็ถือว่ามีไม่น้อย อาจเป็นเพราะปริมาณคนที่มา เรียลำดับความสะดวกในการออกทะเลก็เป็นได้
เท่าที่เห็นในเว็บนี้ น่าจะพอๆกันมั้ง
ดังนั้น จึงคิดว่าสำเนียงไม่ใช่อุปสรรค ในเมื่อพวกเราเป็นฮากกาด้วยกัน ใครใครใช้ภาษาใดก็ได้ตามแต่ที่รู้มาน่าจะดีที่สุด ใครสำเนียงต่างกันอย่างไร ก็บอกกันได้ ไม่มีใครถูกใครผิด จะได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันไปด้วยจริงไหม
สวัสดีครับ คุณอาคม ซินเหงี่ยนเฮ่า
ตรุษจีนไหง่ไปกลับบ้านพี่สาวพี่ชาย ไหงไดัถามถึงบ้านเกิดของคุณเเม่ไหง่กับพี่ๆ เมื่อก่อนไม่ได้สนใจ ที่จำมาก็ไม่ค่อยถูกต้อง เมื่อไหง่กับคุยกับพี่บ้านเกิดคุณเเม่ ก็ได้รายละเอียดดังนี้ ( ลุกฟุง. มาลุกชุน )ขอคุณช่วยให้รายละเอียดด้วยครับ
สายเลือดสำคัญกว่าสำเนียง
เห็นด้วยกับคุณมงคล ตามที่คุณมงคลเขียนมานั้นเป็นข้อมูลที่ถูกต้องทุกประการ และชาวฮงสุนในประเทศไทยก็เป็นชาวฮากกาส่วนใหญ่ ซึ่งอพยพมามากกว่าฮากกาหมอยเย้น กับฮากกาไท้ปู ไหงขอเพิ่มเติมว่า ฮากกาไม่ว่าจะอยู่มณฑล ไหน อำเภอใด มีสำเนียงที่ต่างกันไป แต่พวกเราชาวฮากกาคือสายเลือดเดียวกันทั้งหมด คือ "ฮากกา" นั่นเองครับ
ส่วนไหงเป็นฉิ่มขัก ฮากกาหมอยเย้นครับ
เพิ่มเติมหน่อย
ขับ - ซือ ขับรถยนต์ - ซือชา
มอเตอร์ไซร์ - มอตอแซ
ขี่ - ขี่ (คำว่าขี่นี้ภาษาไทยยืมมาจากภาษาจีนครับ)
หงัยกั้ยก้องหว่า "ทับ" ทับชา ขี่รถขับรถขี่จักรยานก็ใช้ตัวเดียวกัน
ภาษาฮากกา กับ ภาษาจีนกลาง
ไหงมีข้อสังเกตส่วนตัวจากที่มีโอกาสได้เรียนรู้ทั้งภาษาฮากกาและจีนกลาง (โดยไม่ได้อ้างอิงจากทฤษฎีใดๆ) ดังนี้
มีหลายคำ เมื่อเสียงวรรณยุกต์ในภาษาฮากกาเป็นเสียง เอก ในภาษาจีนกลางจะเป็นเสียง โท ตัวอย่างเช่น
คำอ่านภาษาฮากกา
คำอ่านภาษาจีนกลาง
ตัวเขียน
ความหมาย
หงี่
เอ้อ
二
สอง
หลุก
ลิ่ว
六
หก
หวั่น
วั่น
万 /萬
หมื่น
ไถ่
ต้า
大
ใหญ่
ส่อง
ส้าง
上
บน
แถ่ว
โต้ว
豆
ถั่ว
หงิด
รื่อ
日
วัน
หย่า
เย่
夜
กลางคืน
ถี่
ตี้
地
พื้นดิน
ฉื่อ
จื้อ
自
ตนเอง
และในทางกลับกัน เวลาที่เสียงวรรณยุกต์ในภาษาฮากกาเป็นเสียง โท ในภาษาจีนกลางกลับกลายเป็นเสียง เอก ไปตัวอย่างเช่น
คำอ่านภาษาฮากกา
คำอ่านภาษาจีนกลาง
ตัวเขียนย่อ
ความหมาย
อื้อ
อู่
五
ห้า
ลย่อง
เหลี่ยง
两
สอง
กิ้ว
จิ่ว
九
เก้า
กิ้ว
จิ่ว
久
นาน
ซิ่ว
โส่ว
手
มือ
แซ่ว
เส่า
少
น้อย
ซุ่ย
สุ่ย
水
น้ำ
ก้อง
เจี่ยง
讲 /講
พูด
แจ้ว
โจ่ว
走
วิ่ง (เดิน - จีนกลาง)
สี้
สื่อ
死
ตาย
ลักษณะเช่นนี้ บางครั้งก็ทำให้การเรียนภาษาจีนกลางมีปัญหาบ้างเหมือนกัน.
ขอแจมบ้าง
อันนี้เป็นฮากกาแบบปั้นซานคัก มีใครที่มีความรู้ภาษาฮากกาแบบชิมฮัก ลองนำมาเปรียบเทียบเพิ่มเติมบ้างก็ดีครับ
การลดเสียงในกรณีของภาษาผู่ทงฮั่ว ที่เสียงสามมาเจอกัน ต้องลดเสียงตัวหน้าเป็นเสียงที่สอง และอีกกรณีที่เสียงสี่มาเจอกันแล้วต้องลดตัวหน้าเป็นเสียงสองนั้น ไหงได้ศึกษามานานแล้วพบว่าในภาษาฮากกา และภาษาแต้จิ๋วก็ใช้หลักนี้คล้ายๆกัน
ภาษาฮากกาเป็นภาษาที่ไหงไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไรแต่ถ้าใครที่มีความรู้ภาษาผู้ทงฮั่ว ถ้าได้ฟังคนฮากกา ( โดยเฉพาะอย่างยิ่งฮากกาแบบชิมฮัก ) พูดคุยก็จะสามารถเดาได้โดยไม่ยากนัก - ไหงก็ใช้วิธีนี้เวลาเดินทางไปเยี่ยมญาติ ( ทั่นชิน ) ที่หมอยแย้นบ่อยๆ ไหงก็ใช้วิธีฟังไปเดาไปสนุกดีจะตาย อิจฉาละซิพี่น้องชาวฮากกาทุกท่าน
แจมให้ด้วยคน
ที่อ๋าฮยุ่งโก กรุณา เปรียบเทียบมา ใช้ภาษาฮากกาฮงสุน ไหงขอเปรียบเทียบกับภาษาฮากกา ฉิ่ม ตามที่ อาวี่ฟัดโก ร้องขอมา แบบคร่าว ๆ ดังนี้
ภาษาผู่ทงฮว่า ฮากกาฉิ่ม
ว่าน ว้าน แปล หมื่น
ต้า ไท้ แปล ใหญ่
ซ่าง ซ้อง แปล ข้างบน
ยื่อ หยิด แปล วัน
ตี้ ที้ แปล พื้นดิน
อู่ (อึ๋)ม แปล 5
เหลี่ยง ลี่-ย่ง(ควบกล้ำ) แปล สอง-คู่
เอ้อร์ ง-ยี้ แปล 2
เซ่า เซ่ แปล น้อย
เจียง ก๋อง แปล แม่น้ำ
โจ่ว เจ่ว แปล เดิน-ไป
เสย หมะหยิ่น แปล ใคร?
หมายเหตุ-คำคำนี้ ใช้ตัวอักษรไม่เหมือนกัน เสย ของผู่ทง ใช้ 谁 ฉิ่ม ใช้ หมะหยิ่น ตรงกับ ผู่ทง ว่า เสอเมอเหริน โดย ตัด เมอ ออก กลายเป็น เสอ-เหริน (หมะหยิ่น) ส่วน ฮงสุน ใช้ คำว่า นิ-ไสย นิ-ไหงไม่ทราบว่า ผู่ทง คือตัวไหน แต่ ไสย คือ เสย ในผู่ทงนั่นเอง
หมายเหตุ-ผิดพลาดประการใดขอผู้รู้มากกว่าโปรดชี้แนะ-ตอเซี้ย
ภาษาฮากกา
คำว่า 少 (เส่า - จีนกลาง) ออกเสียงว่า แซ่ว แปลว่า น้อย (จำนวน)
คำว่า 细 (ซี่ - จีนกลาง) ออกเสียงว่า แซ่ แปลว่า เล็ก (ขนาด)
คำว่า 走 (โจ่ว - จีนกลาง) ฮากกา แปลว่า วิ่ง, ไป แต่จีนกลาง กลับแปลว่า เดิน, ไป (คำว่า วิ่ง จีนกลางใช้คำว่า 跑เผ่า)
คำว่า ใคร ปั้นซั้นขักใช้คำว่า ลี่ สา คำว่า ลี่ ไหงไม่รู้ว่าเขียนยังไง แต่ สา ใช้ตัว 儕 (ไฉ - จีนกลาง) แปลว่า รุ่นเดียวกัน, บุคคลประเภทเดียวกัน
ไหงไม่แน่ใจว่าคำว่า หมะหยิ่น จะกร่อนเสียงมาจากคำว่า หมะไก้หยิ่น หรือเปล่า
พูดถึงการกร่อนเสียง มีคนเคยเสนอทฤษฎีไว้ว่า งา กร่อนเสียงมาจากคำว่า ไหงไก้ และคำอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน ตัวอย่างเช่น
ไหงไก้ไล่
กร่อนเสียงเป็น
งาไล่
หงีไก้ไล่
เงียไล่
กื๋อไก้ไล่
เกียไล่
เพิ่มเติมภาษาฮากกา
ต้องยอมรับว่า สำเนียง ฉิ่ม ใน ถ่องซาน มีคนฮากกาพูด มากที่สุด แต่สำเนียงป้าน ในประเทศไทย มีคนพูด มากที่สุด
ใคร? ในสำเนียงป้าน ไหงได้ยิน ว่า นิ่สาย? ลี่ไส? ลี่สาย? ไหงเข้าใจว่า สาย? มาจาก เสย? ใน ผู่ทงฮว่าที่แท้มาจากคำว่าไฉ-ส่วน นี่ หรือ ลี่ ไหงไม่ทราบจริง ๆ ว่า มาจากคำ ไหน ใน ผู่ทง
ส่วนในสำเนียงฉิ่ม ไหง แปลว่า ฉัน ถ้า พูดว่า ของฉัน จะเปลี่ยนเสียงเป็น หงา เช่น หงาเก้เผ่งยิว-เพื่อนของฉัน หงาเก้อาปา-คุณพ่อของฉัน หงาวุกคา-ที่บ้านฉัน หงาเก้เล่าผอ-ภรรยาของฉัน วิวัฒนาการของภาษาก็มีการตัดต่อเหมือนกันทุกภาษา เดี๋ยวนี้ ก็เริ่มได้ยินแล้ว ว่า มีการ ตัด คำ เช่น หงาไล้-ลูกชายฉัน หงาเล่าผอ-ภรรยาฉัน เป็นต้น
ส่วนคำว่า หมะหยิ่น ไหงค่อนข้างเข้าใจว่า มาจาก สำนวน(การเล่นคำ) ในผู่ทงฮว่า ว่า เสอเมอเหริน ในบทเพลงซานเกอ ไหงจึงอนุมานเอาว่า หมะหยิ่น ตัดเสียงจาก เสอเมอเหริน เป็นสำเนียงฉิ่ม ว่า หมะ(เส่อ) กับ เหริน(หยิ่น) กลายมาเป็น หมะหยิ่น เหมือนกับคำว่า เสอเมอ (ผู่ทง) ฉิ่ม ออกเสียงว่า หมะกาย
ผิดถูกอย่างไร กรุณาชี้แนะ
ไหง ยิ้ว หยิด ติ๊บ
ไหง ทุก อาก๊อ "จ๊องหยิ่นฮยุ๋ง" กื๋อ เซี่ย หลอย ... ไหง หว่า กื๋อ อั้น เคี่ยง ... จิ๊น ๆ นา
อาก๊อ กื๋อ เก๊า "กร่อนเสียง" ... ไหง ยิ้ว "คำซ้ำ" .. หวุก ค้า ไหว ก้อง หม่า ไก้ ..ฉิ่ว ยิ้ว ก้อง เลวี่ยง ลิ้น ซ้ำ ลิ้น
มั้ง ๆ (เร็ว ๆ) ... เช่น มั้ง ๆ จ้อ ห้อ หมอ.. จ้อ หม่า ไก้ อั้น หมั่น... 5555++
ต๊อ ๆ (เยอะ ๆ) ... เช่น หงี ปุ๊น ไหง อั้น เช่ว .. ปุ๊น ไหง ต๊อ ๆ ห้อ หมอ
วู้ ๆ (ด๊ำ ดำ) ... เช่น คื่อ จ้อ หม่า ไก หลอย.. หงี ไก้ เมี่ยน วู้ ๆ (หรืออาจจะเพิ่มเป็นอุทานเสริมบทว่า "วู้ ๆ เต๋า ๆ ก็ได้ครับ)
เซ่ ๆ (เล็ก ๆ) ... เช่น หลี ไก้ ฝ่อ เซ่ ๆ อัน ห้อ เซียก.. เปี้ยน ต้อ เห่ว ซัง หงิน แหล่ว อั้น ม่อ ค่อน 555+++
ขอเพิ่มเติม
ที่ไหน จีนดั้งเดิมเขียน..哪裡 จีนย่อเขียน...哪里 คิดเห็นเอง หลี่ นี้น่าจะหมายถึง ลี่ ( สา )
แต่ภาษาเขีียนคำว่า ใคร มักเขียน.. 誰 กลางอ่าน เหซิร์ย ฮากกา อ่าน สุห์ย
หลักการเปลี่ยนเสียงของคำในภาษาฮากกา
ในภาษาจีนกลางมี หลักหรือกฎในการเปลี่ยนเสียงของคำ อยู่ว่า ถ้าคำที่มีเสียง 3 ในระบบพินอิน (เทียบอย่างง่ายๆ ก็คือ เสียงวรรณยุกต์เอก ในภาษาไทย) สองคำอยู่ติดกัน จะต้องเปลี่ยนเสียงของคำหน้า (หรือ พยางค์หน้า) ให้เป็น เสียง 2 (เสียงจัตวา) โดยไม่มีข้อยกเว้น
ตัวอย่างเช่น คำว่า หนี่你 กับคำว่า ห่าว好 เมื่อมาอยู่ติดกันเป็น 你好 จะต้องอ่าน (หรือพูด) ว่า หนีห่าว เท่านั้น จะไม่อ่านว่า หนี่ห่าว เด็ดขาด
จากการสังเกตส่วนตัวของไหง (อีกแล้ว) หลักแบบนี้ก็มีอยู่ในภาษาฮากกาของเราเหมือนกัน แต่กลับข้างกัน คือ ถ้าคำสองคำซึ่งอยู่ติดกันเป็น เสียงวรรณยุกต์จัตวาเหมือนกัน จะต้องเปลี่ยนเสียงของคำหน้าให้เป็น เสียงวรรณยุกต์เอก เช่น แถ่ว หนา (ศีรษะ - คำแปล) ไม่อ่านว่า แถว หนา, หงิ่น หงิน (ทุกคน), ส่า สา (ทุกคน), แหย่น แหยน (กลมๆ), หย่อง หมอย (ชื่อผลไม้ชนิดหนึ่ง), หล่ำ เถียน (ชื่อสถานที่) ฯลฯ
เท่าที่ไหงรู้ ภาษาแต้จิ๋วก็มีหลักทำนองนี้อยู่ด้วยเหมือนกัน
จึงนับว่าเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของทั้ง 3 ภาษาที่กล่าวมา.
ขอแจมหน่อย
ให้ความเห็น
เมื่อกี๊ถามเตี่ยผม เขาตอบความแตกต่างนี้ ว่าอย่างเราพูดปั้นซั้นขัก แตกต่างกับชิ้มขักอย่างไร เขาตอบว่าคล้ายๆกัน เพียงชิ้มขักอาจออกเสียงต่ำลงเล็กน้อย คล้ายภาษาไทยกับภาษาลาว
สอบถาม พ่อ แม่ ของทวด
รบกวนเรียนสอบถามครับ
พอดีเมื่อช่วงเชงเม้ง ไปไหว้สุสานบรรพชนที่ฮงสุน
ไปพบสุสานของ พ่อ-แม่ ของปู่ทวด
ผู้เชียวชาญประวัติศาสตร์ไทย ให้เรียกว่า ปู่เทียด ย่าเทียด
ไม่แน่ใจจะเรียกท่านว่าอย่างไรดีในภาษาแคะ
เรียกอาโจ้วกุ๊ง/ม่า หรือ อาเหล่าไท้กุ๊ง/ม่า ได้หรือไม่ครับ
ใช่ไหม?
ใช่เรียกว่า "ไถ่กุ๊งไท้ , ไถ่ผอไท้" หรือเปล่า
ขอบคุณ
ครับ
ครับ อยากทราบการเรียกที่ถูกต้องครับ
ญาติทางนั้นก็บอกไม่ถูกเหมือนกันครับ
กินข้าว กินน้ำ
กินข้าว กินน้ำ พูด เขียน อย่างไรครับ จีนแคะ