หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

ตระกูล ไช่ , ไช้ 蔡 (แซ่ฉั่ว)

รูปภาพของ วี่ฟัด

 

 

แซ่ฉั่วมีที่มาที่ไปจากไหน

เมื่อเร็วๆนี้ คุณจิตวดี ผู้ฟังที่ใช้ที่อยู่อี-เมลว่า artpuiart@hotmail.comเขียนอี-เมลมาคุยกับซีอาร์ไอ ภาคภาษาไทยว่า อยากรู้ว่า แซ่ฉั่วมีที่มาที่ไปจากไหน เราต้องศึกษาที่ไหนคะจึงจะรู้ รายการ"เล่าเรื่องเมืองจีน"วันนี้ เราขอนำข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับแซ่ฉั่วมาเสนอให้ท่านผู้ฟัง ตามคำขอของคุณจิตวดีครับ

ท่านผู้ฟังครับ ฉั่ว ภาษาจีนกลางอ่านว่า ไช่(i)แรกเริ่มเดิมที ไช่เป็นชื่อของก๊กหนึ่งในสมัยราชวงศ์โจวของจีน หนังสื่อ"สื่อจี้"หรือ"บันทึกประวัติศาสตร์")ซึ่งเป็นบทนิพนธ์ด้านประวัติศาสตร์ชิ้นยิ่งใหญ่ของจีนบันทึกไว้ว่า สมัยศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสต์กาล โจวอู่อ๋อง กษัตริย์ของก๊กโจวใช้กำลังทัพโค่นล้มการปกครองของราชวงศ์ซางแล้วก็แต่งตั้งให้ซูตู้ น้องชายเขาให้เป็นอ๋องของก๊กไช่ ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑลเหอหนันในปัจจุบัน คนสมัยนั้นจึงเรียกอ๋องของก๊กไช่ว่า"ไช่ซู" นอกจากทำหน้าที่ปกครองแผ่นดินแล้ว ไช่ซูยังต้องร่วมมืออ๋องก๊กอื่นอีก 2 องค์ซึ่งเป็นพี่น้องของโจวอู่อ๋อง ผู้ก่อตั้งสมัยราชวงศ์โจว เพื่อควบคุมเฝ้าติดตามอู่เกิงลู่ฟู ลูกชายของอดีตกษัตริย์ราชวงศ์ซางที่ประจำเมืองหลวงเก่า และปกครองชาวเมืองที่สืบทอดมาจากราชวงศ์ซาง หลังจากโจวอู่อ๋องสวรรคต จีตั้นผู้เป็นน้องชายของโจวอู่อ๋องเช่นกันได้สืบราชสมบัติต่อมา ไช่ซูสร้างความไม่พอใจต่อเขาจึงคบคิดกับอ๋องก๊กอีกองค์หนึ่งคือ อู่เกิงและชนเผ่าน้อยทางภาคตะวันออกของจีน รวมกันจัดกองทัพก่อกบฏต่อต้านกษัตริย์องค์ใหม่ แต่ในที่สุดก็ประสบความล้มเหลว ไช่ซูถูกเนรเทศออกจากก๊กไช่ให้ไปประจำเขตทุรกันดาร ส่วนพักพวกถูกประหารชีวิต แต่หู ซึ่งเป็นลูกชายของไช่ซูเป็นคนมีความซื่อสัตย์และมีวิสัยทัศน์ ไม่ร่วมมือกับบิดาผู้ทรยศมักใฝ่ จึงได้รับการยกย่องชื่นชม กษัตริย์องค์จึงมอบหมายหูให้เป็นเสนาบดี ช่วยพระโอรสปกครองก๊กหลู่ เนื่องจากหูใช้ความอดทนและขยันหมั่นเพียร จึงประสบผลสำเร็จในด้านการปกครอง ต่อมากษัตริย์แต่งตั้งหูขึ้นเป็นอ๋องของก๊กไช่องค์ใหม่ ลูกหลานของหูก็ใช้"ไช่"ซึ่งภาษาไทยอ่านว่า"ฉั่ว"เป็นแซ่ของตระกูล นามสกุล"ไช่"ก็ค่อยๆกลายเป็นนามสกุลที่ใหญ่ที่สุดในก๊กไช่

ต่อมาในยุคสมัยก่อนราชวงศ์ฉิน คนตระกูลไช่ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในมณฑลเหอหนันและอันฮุยในปัจจุบัน และมีจำนวนหนึ่งไปเป็นขุนนางขุนศึกหรือทำการค้านอกก๊กไช่รวมทั้งไปตั้งหลักแหล่งในก๊กอื่นๆ ลูกหลานตระกูลไช่ไปเป็นข้าราชการ ตำแหน่งตั้งแต่อัครเสนาบดีถึงขุนนางในก๊กต่างๆมากมาย เช่นก๊กฉิน ก๊กฉี ก๊กฉู่และก๊กจี้นซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นก๊กใหญ่ที่เข้มแข็งเกรียงไกร ในสมัยราชวงศ์ฮั่น เริ่มมีคนแซ่ไช่ซึ่งเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงทางสังคมไปใช้ชีวิตในบริเวณมณฑลเจียงซู เจ้อเจียง แต่เหอหนันยังคงเป็นพื้นที่ที่อยู่อาศัยหลักของคนแซ่ไช่ จนปลายสมัยราชวงศ์ฮั่น ตระกูลไช่เริ่มกระจายไปยังภาคเหนือและภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ได้แก่มองโกลเลียใน หนิงเซี่ยและกันซู่ของจีนในปัจจุบัน

ท่านผู้ฟังทั้งหลายคงอยากจะทราบว่า เมื่อไรตระกูลไช่ถึงจะไปตั้งถิ่นฐานที่ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีน เพราะว่า ทุกวันนี้ ตระกูลไช่หรือฉั่วยังคงเป็นตระกูลใหญ่ในภูมิภาคดังกล่าว เขาบอกว่า คนไทยที่แซ่ฉั่วส่วนใหญ่มีบรรพชนมากจากฮกเกี้ยน กว่างตงและไหหลำมิใช่หรือ ใจเย็นๆนะครับ กำลังจะเล่าให้ฟังต่อนะครับ

ช่วงต้นสมัยราชวงศ์ถาง ชาวตระกูลไช่อพยพไปอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีนซึ่งก็คือมณฑลฮกเกี้ยนและกว่างตงในตอนนี้ แล้วก็เริ่มสร้างความเจริญในภูมิภาคดังกล่าว พร้อมกันนั้น ตระกูลไช่หรือฉั่วก็กลายเป็นตระกูลใหญ่ที่โน่น ปลายสมัยนั้น สังคมเกิดความวุ่นวายอันเนื่องด้วยขุนศึกชนเผ่าน้อยที่ประจำทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีนก่อกบฏและนำทัพไปโจมตีราชสำนักถาง คนแซ่ไช่ที่กระจายในท้องที่อื่นๆของจีนก็เดินทางไปลี้ภัยในเขตชายหาดทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ปลายราชวงศ์หมิง เจิงเฉิงกง แม่ทัพผู้ยิ่งใหญ่ชนะสงครามทรยศและเอาเกาะไต้หวันคืนประเทศจีนได้ ลูกน้องของเขาก็มีคนตระกูลไช่จำนวนหนึ่งประจำไต้หวันตลอดชีวิตและมีครอบครัวที่โน่น ตั้งแต่นั้นมา ก็มีคนแซ่ไช่หรือฉั่วย้ายไปอยู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทวีปยุโรปและอเมริกาเรื่อยๆครับ

ท่านผู้ฟังครับ ในประวัติศาสตร์จีน บุคคลนามสกุลไช่ที่สร้างชื่อเสียงโด่งดังมีมากมาย ยกตัวอย่างเช่นในสมัยโบราณ ไช่หลุน ผู้ประดิษฐ์คิดค้นวิธีการผลิตกระดาษ ซึ่งเป็นสิ่งประดิฐษ์ใหญ่ในสมัยโบราณ 1 ใน 4 ของจีน ไช่ยง นักประพันธ์ที่เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ ดนตรี ดาราศาสตร์ ศิลปะพู่กันจีนและวาดเขียนเป็นต้น ส่วนในยุคใกล้ ก็มีไช่หยวนเผย นักการศึกษามีชื่อเสียงและอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ไช่เอ้อ นักการทหารผู้พิทักษ์ประชาธิปไตยและไช่ถิงไข่ แม่ทัพต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่นและอดีตรองประธานสภาปรึกษาการเมืองแห่งชาติจีนเป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า คนที่มีนามสกุลไช่หรือฉั่วสร้างคุณความดีในระดับสูงให้อารยธรรมจีน ตระกูลไช่และฉั่วจึงมีประวัติที่น่าภาคภูมิใจ

ท่านผู้ฟังครับ ปัจจุบันนี้ ถ้าพิจารณาตามจำนวนประชากรคนแซ่ไช่หรือฉั่ว นามสกุลไช่หรือฉั่วใหญ่เป็นอันดับที่ 44 ของรายชื่อนามสกุลในประเทศจีน ท่านผู้ฟังครับ รายการ"เล่าเรืองเมืองจีน"วันนี้ ขอจบลงเพียงเท่านี้ ต่อไปเป็นรายการ"มอบเพลงจากใจ"

คัดลอกมาจาก รายการวิทยุของสถานีวิทยุซีอาร์ไอ กรุงปักกิ่ง

http://thai.cri.cn/1/2006/06/16/21@70716.htm


มีใครแซ่ใช่ หรือเซี่ยงใช่ไหมคะ

สวัสดีค่ะ แซ่ใช่ค่ะ เพิ่งจะเปลี่ยนนามสกุลเมื่อสองปีที่แล้วเองค่ะ

มีใครแซ่ใช่ หรือเซี่ยงใช่บ้างไหมคะ

ที่บ้านมีทั้งแซ่และเซี่ยงเลย

 

ใช่ หรือไช่

 

แต่ฝั่งอาม่า แซ่ล้อ

รูปภาพของ วี่ฟัด

ไหงเซี้ยงใช้ " ใช้วี่ฟัด " " ไช่เหวยฟา "

ยินดีกับ " caija " ด้วยครับที่มีชาติตระกูลเซี้ยงใช้ เซี้ยงเดียวกับกับไหง เซี้ยงใช้หรือแซ่ฉั่ว มีคนใช้แซ่นี้เป็นรอันดับที่ 44 ของประเทศจีน บางทีภาษาอังกฤษเขาก็ใช้  " tsai " เช่น " ไช่ฉิน " นักร้องชาวใต้หวันขวัญใจของไหง เขาก็ใช้ว่า " tsaiqin " แล้วยังมีนักร้องสมัยใหม่อีกคนที่มีชื่อเสียงคือ โจวสลีนไช่ หรือ " ไช่อี้หลิน " แล้วยังมีนักร้องชาวสิงค์โปร์อีกคน ที่ซิ่งไช่ สรุปแล้วเซี้ยงใช้หรือซิ่งไช่มีนักร้องนักแสดงมากมาย 

ไหงจึงดีใจมากที่ยังมีอาเซ้โม้ยเซี้ยงใช้อีกคน

รูปภาพของ YupSinFa

คุณูปการของคน เซี้ยง ไช่

                ไหงกำลังสืบค้น ประวัติของบุคคลท่านหนึ่ง ในประวัติศาสตร์จีนใหม่ ในยุคสาธารณรัฐ ท่านผู้นี้ เป็นผู้ "ปิดทองหลังพระ" มิหนำซ้ำยังเป็นสุภาพสตรีอีกด้วย ท่านเป็นคน ถ้าพูดตรง ๆ คือ เป็นคนชั้นรากหญ้า ที่ต่ำต้อยมาก ๆ อาชีพของท่าน ถือกันว่า เป็นอาชีพที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ท่านทำงานอยู่ในโรงเตี้ยม ใน มหานครเซี่ยงไฮ้ ท่านผู้นี้ มีส่วนทำให้ประวัติศาสตร์จีนเปลี่ยน มีคนนำชีวประวัติของท่าน มาสร้างเป็นภาพยนต์ทีวี หลายครั้ง  ท่านผู้นี้ มีนามว่า

                "ไช่จินฮวา"

                อีกท่านหนึ่ง ท่านผู้นี้ กลับตรงกันข้ามกับ ไช่จินฮวา ท่านเป็นผู้สูงศักดิ์ มีความรู้สูงส่ง เป็น ปราชญ์ เป็น ศาสตราจารย์ ท่าน เป็น อดีต อธิการบดี มหาวิทยาลัย อันดับ 1 ของจีน ท่านผู้นี้คือ "ศาสตราจารย์ ไช่หยวนเผย" อธิการบดี มหาวิทยาลัย ปักกิ่ง หรือ เป่ยต้า ท่านเป็นนักคิด นักปราชญ์ นักวิชาการ ที่เป็นมิตร กับ ลัทธิคอมมิวนิสต์ ท่าน เป็นเจ้าของโครงการ ส่งนักเรียนจีนไป "กึ่งเรียน กึ่งทำงาน" ที่ประเทศฝรั่งเศส และได้สร้าง "มหาบุรุษ" ของจีนขึ้นมามากมายหลายท่าน แต่หลายท่าน ก็สละชีพไปในสงคราม จีน-ญี่ปุ่น และสงครามกลางเมืองเสียก่อน คงเหลือ บุคคลที่โด่งดังที่สุด 2 ท่าน ซึ่งเป็นมหาบุรุษของจีนใหม่ ถือว่า เป็น รากเหง้าของวิสัยทัศน์ของท่าน ไช่หยวนเผย มหาบุรุษ 2 ท่าน นี้ คือ ท่านนายกรัฐมนตรีโจวเอินไหล อันเป็นที่รักยิ่ง ของประชาชนจีน กับ เติ้งเสี่ยวผิง ผู้สร้างประเทศจีนใหม่ให้ทันสมัย

               ปัจจุบัน หน้าอาคารอำนวยการของเป่ยต้า หรือ มหาวิทยาลัยปักกิ่ง มีอนุสาวรีย์ของท่านศาสตราจารย์ ไช่หยวนเผย ตั้งเด่นเป็นสง่า เป็นที่เคารพ ของบรรดา นิสิต เป่ยต้า กันทุกคน

              หงาเก้ อ๋าผอ ก็ เซี้ยง ไช่ เหมือนกันนะ

รูปภาพของ จ๊องหยิ่นฮยุ๋ง

รูปศาสตราจารย์ ไช่หยวนเผย

รูปภาพของ นายวีรพนธ์

บุคคลแซ่ "ไช่" ซึ่งมีชื่อเสียงอยู่ในประวัติศาสตร์

แซ่ "ไช่" (สำเนียงจีนกลาง) หรือ "แซ่ฉั่ว" (สำเนียงแต้จิ๋ว) มีความหมายหรือแปลว่า (1) หญ้าป่า (2) กระดองเต่าขนาดใหญ่ที่ใช้สำหรับเสี่ยงทาย (3) ชื่อแคว้นในสมัยราชวงศ์โจว (4) สังหาร (5) เนรเทศ (6) นามสกุล (แซ่)

แซ่นี้ เก็บอยู่ใน "ทำเนียบร้อยแซ่" กระจายอยู่กว้างขวางมาก

บรรพชนถือกำเนิดมาแต่สมัยราชวงศ์โจวตะวันตก (1100-770 ปีก่อน ค.ศ.) โจวเหวินอ๋องพระราชทานให้ ซู่ตู้ โอรสไปกินเมืองไช่ (อยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของไช่หนาน ในมณฑลเหอหนาน) ผู้สืบเชื้อสายรุ่นหลังใช้ชื่อเมือง "ไช่" เป็นแซ่

มีบุคคลแซ่ "ไช่" ซึ่งมีชื่อเสียงอยู่ในประวัติศาสตร์ เช่น

ไช่หลุน นักประดิษฐ์สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ได้สังเกตและสรุปความจัดเจนในการใช้ใยปอทำกระดาษมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตกเป็นต้นมา ประดิษฐ์วิธีใช้เปลือกไม้ หัวปอ ผ้าขี้ริ้ว และอวนจับปลา ผลิตกระดาษ อันได้ขยายวัตถุดิบการทำกระดาษให้กว้างขึ้น ยกคุณภาพของกระดาษให้ดีขึ้น ผู้คนในเวลานั้นยกย่องว่า "กระดาษของไช่โหว"(เจ้าพระยาไช่)

ไช่เหวินจี กวีหญิงสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก บุตรสาวของไช่ยง มีความรู้กว้างขวาง วาจาคมคาย ช่ำชองทางเสียงสัมผัส บทกวีชื่อ "ความเศร้าเคล้าความแค้น" เต็มไปด้วยความโศกศัลย์รันทด เพลงขลุ่ย 18 จังหวะอันลือชื่อของจีน ก็ว่ากันว่าหล่อนเป็นผู้แต่ง

ไช่หยวนเผย นักปฏิบัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุน นักการศึกษา นักวิทยาศาสตร์ยุคใกล้ เคยดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีศึกษาธิการของรัฐบาลชั่วคราวนานกิง อธิการบดีมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ผู้อำนวยการสถาบันค้นคว้าส่วนกลางเคยเสนอการปรับปรุงระบบการศึกษา ให้หญิงชายเรียนร่วมห้องกันได้ ยกเลิกการเรียนแต่คัมภีร์ นับเป็น ผู้ก่อตั้งระบบการศึกษาของจีนยุคปัจจุบันโดยพื้นฐาน

แซ่นี้ มีสมาคมอยู่ในเมืองไทย มีชื่อว่า "สมาคมสกุลไชย" ตั้งอยู่ที่ 342/71-73 หลังถนนตรอกพุฒ ปทุมวัน กรุงเทพฯ โทร. 0-2214-0754

ที่มา http://topicstock.pantip.com/lumpini/topicstock/L2630884/L2630884.html

รูปภาพของ idylynn

นามสกุล

นามสกุล ฉั่วตระกูล ค่ะ Laughing

รูปภาพของ วี่ฟัด

ยินดีกับพี่น้องร่วมเซี่ยงไช่

      ไหง่ยินดีกับ idylynn สมาชิกใหม่อาเซ้โม้ยคนเชียงรายผู้มีหน้าตาจิ้มลิ้มพริ้มพราว  ถ้าไหง่เดาอาเซ้โม้ยน่าจะเป็นคนฮากกาฟุ้งซุ้น เซี่ยงไช่ เป็นแน่ เพราะในย่านทางภาคเหนือโดยเฉพาะคนเชียงรายจะมีคนเชื้อสายฮากกาฟุ้งซุ้นมากเป็นพิเศษ

       โดยปรกติถ้าเป็นคนเชี่ยงไช่ ฟุ้งซุ้น หรือคนแต้จิ๋วแซ่ฉั่ว มักจะตั้งนามสกุลที่มีคำว่า  " ฉั่ว " หรือ " ฉัตร " โดยรักษาตัวอักษร " ฉ " เอาไว้ 

         แต่หากเป็นคนเซี้ยงใช้ แบบหมอยแย้นๆแบบไหง่ มักจะตั้งนามสกุลที่มีคำว่า " ชัย " อยู่ในนามสกุลเนื่องจากพ้องเสียงกับคำว่า " ใช้ " เช่นไหง่จะตั้งนามสกุลว่า " ชัยวีรสกุล " หรือญาติข้างอาผ่อของยับสินฝ่าทางเชียงใหม่( เชี้ยงใช้ หมอยแย้น ) ก็ตั้งนามสกุลว่า " ชัยวงศ์ญาติ " เป็นต้น  

รูปภาพของ idylynn

ค่ะ

ค่ะ สวัสดีค่ะ Smile ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ

 

จริงๆ เท่าที่อากุงอาม่าเล่าให้ฟัง พ่อของอากุงขึ้นเรือสำเภามากับญาติค่ะ คนหนึ่งไปตั้งรกรากที่ดอนเมือง ส่วนพ่อของอากุงมาแต่งงานที่ อ.พาน จังหวัดเชียงรายค่ะ ตอนแรกก็แซ่ฉั่ว แต่ตอนสงครามโลกเขาให้เปลี่ยนนามสกุล ก็เลยเปลี่ยนเป็น ฉั่วตระกูลค่ะ

 

^^ 

เซี่ยงใช่

ผมก็เซี่ยงใช่ ยินดีมากๆครับที่ได้รู้จัก

รูปภาพของ CBlingbling

ยินดีมาก

ยินดีมาก ที่ได้รู้จักทุกคนค่ะ อาก๊งกับอาผ่อ แซ่ไช่ และแซ่ไล้ค่ะ

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal