หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

中国姓氏的来历(吴姓)

  ปัจจุบันชื่อและชื่อสกุลเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งที่สำคัญของมนุษย์เรา นอกจากจะเป็นการแยกแยะตัวบุคคลแล้วยังแสดงถึงเชื้อสาย ครอบครัว และชาติตระกูลของคนเรา ในโลกนี้อาจจะมีคนบางจำพวกไม่มีชื่อหรือชื่อสกุล แต่พวกเขาก็ต้องมีคำเรียกขาน และต้องมีบรรพบุรุษสืบเชื้อสายของเขา และนั่นก็คือการสืบชาติสกุลของพวกเขาเหล่านั้นนั่นเอง ชื่อสกุลจึงไม่เพียงเป็นเรื่องของตัวบุคคล หรือเรื่องของครอบครัว แต่เป็นเรื่องของการสืบเชื้อสาย และเป็นวัฒนธรรมของมนุษยชาติ ดังคำกล่าวที่ว่า ต้นไม้สูงเสียดฟ้าย่อมมีรากเหง้า สายน้ำในหุบเขาย่อมมีต้นทาง ผ่านการศึกษาชื่อสกุลของคนเรา ไม่เพียงสามารถเรียนรู้ที่มาของบรรพบุรุษ ยังสามารถค้นพบความเป็นมาของมนุษยชาติ การพัฒนาของสังคมและการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอีกด้วย ชื่อสกุลจึงถือเป็นนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ของมนุษย์ชาติ

       คนจีนอาจเป็นชนชาติแรกที่ใช้ชื่อเรียกขาน ในการแยกแยะตัวบุคคล ถือเป็นนวัตกรรมอันดับที่5ของชาวจีน ในซีกโลกตะวันตก พึ่งจะมีนามสกุลใช้ในยุคกลาง ในประเทศเวียดนามและเกาหลีรู้จักใช้นามสกุลในศตวรรษที่10 ในญี่ปุ่นพึ่งเริ่มใช้นามสกุลในปีค.ศ.1870นี้เอง  ชื่อแรกที่ชาวจีนคิดขึ้นมาเพื่อจำแนกตัวบุคคลตั้งแต่โบราณนั้นคือ姓 ถ้าดูจากตัวอักษร 姓 ด้านขวามือคือตัว 生 หมายถึงการเกิด ซึ่งในภาษาจีนมีคำกล่าวว่า因生而赐姓นั่นคือ姓ของคนเรานั้นเกี่ยวพันกับการก่อกำเนิด เกี่ยวพันถึงชาติตระกูลและเชื้อสายของคนเรา ส่วนตัว女ด้านซ้ายมือ หมายถึงสตรี นั่นแสดงว่า姓ของคนเรานั้นสืบทอดมาจากสตรี 姓ในสมัยโบราณจึงมักมีตัว女ประกอบอยู่เช่น姬,姜,姚,赢 เป็นต้น ในสังคมรวมหมู่สมัยบรรพกาล คนเราไม่ได้ยึดหลักผัวหนึ่งเมียเดียว เด็กที่เกิดมารู้แต่ว่าใครเป็นแม่แต่ไม่รู้ว่าใครคือพ่อต้องใช้姓ตามแม่ จึงอาจกล่าวได้ว่าสตรีจีนเป็นสตรีเพียงชาติเดียวในโลกที่มีชื่อสกุลเป็นของตนเอง ส่วนสตรีไทยนั้นเกิดมาใช้นามสกุลตามพ่อ หลังแต่งงานใช้นามสกุลสามี การกำเนิด姓ของคนจีนในสมัยโบราณคาดว่าอาจกำหนดจากความนิยมสิ่งที่อยู่รอบๆตัว เช่นคนที่นิยมสีเหลืองก็อาจใช้黄เป็น姓ของตนเอง คนที่นิยมชมชอบความแข็งแรงของหมีก็อาจใช้熊เป็น姓ของตนเอง หรืออาจจะกำหนดจากสถานที่อยู่อาศัย จากตำแหน่งหน้าที่ การงานอาชีพเช่น 殷,唐,宋,侯,巫,司马ต่างๆเป็นต้นชอบ


姓 , 氏

ในสังคมบรรพกาลที่ยึดถือมารดาเป็นศูนย์กลางคนเราถือการสืบสกุลตามแม่ เมื่อสังคมได้พัฒนาสู่สังคมครอบครัวผู้ชายเป็นใหญ่ในครอบครัวย่อมต้องการสืบสกุลตามผู้ชายจึงได้คิดชื่อสกุลของผู้ชายขึ้นมา นั่นก็คือ 氏 氏นั้นเกิดจากการแต่งตั้งหรือปูนบำเหน็จ

ดังนั้น 氏 จึงเป็นของผู้ชาย แต่ก็มีเพียงในสังคมชั้นสูงเท่านั้น ในสมัย三代(夏,商,周)เฉพาะครอบครัวชั้นสูงมี姓มี氏และมี名แต่ในสังคมชั้นล่างมีเพียง 姓และ名เท่านั้น氏จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของความเหลื่อมล้ำต่ำสูงเป็นการแบ่งสถานะทางสังคม ส่วน 姓นั้นเป็นการสืบสายเลือด หนุ่มสาวที่ 同姓不同氏จะแต่งงานกันไม่ได้ แต่ถ้า同氏不同姓นั้นแต่งงานกันได้ จนถึงยุคสมัยฮั่น姓และ 氏 ได้รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เรียกว่า姓氏 แต่ไม่ว่าจะเรียก姓หรือ氏 หรือ 姓氏ก็ล้วนหมายถึง 姓เท่านั้น

การใช้姓แต่แรกเป็นการใช้เรียกชื่อกลุ่มคนเพื่อจำแนกกลุ่มหรือพรรคพวก อาจจะเป็นกลุ่มที่ทำอะไรคล้ายๆกัน มีความนิยมเหมือนไกัน หรือมีวิถีการดำรงชีวิตอย่างเดียวกัน ต่อมาเมื่อสมาชิกในกลุ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นการเรียกชื่อกลุ่มเริ่มไม่ชัดเจน ชาวจีนได้คิดค้นชื่อเรียกขึ้นมาอีกตัวหนึ่งนั่นคือ名 名จึงจะเป็นชื่อแรกที่ใช้จำแนกตัวบุคคลที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันหรือ 姓 氏 เดียวกัน ใน 《说文解字》ได้อธิบายความหมายของคำว่า名ไว้ว่า:“名,自命也,从口、从夕。夕者冥也,冥不相见,故以口自名。” นั่นคือ 名เป็นคำที่ใช้เรียกในเวลากลางคืน เนื่องจากเวลากลางคืนนั้นมองไม่เห็นตัวจึงต้องมีชื่อเรียกเฉพาะตัวบุคคลดูจากตัวอักษร名 ซึ่งประกอบด้วยตัว 夕แปลว่ากลางคืนและตัว口ที่แปลว่าปาก 名จึงเป็นชื่อเรียกชื่อแรกที่ใช้เรียกตัวบุคคลนอกจาก名แล้วคนจีนยังคิดค้นชื่อรียกสำหรับจำแนกตัวบุคคลอื่นๆขึ้นมาอีกนั่นคือ字 และ号ซึ่งต่างก็มีความสำคัญที่แตกต่างกันไป

姓,氏,名,字,号

       姓 และ 名นอกจากจะเป็นสัญลักษณ์ของตัวบุคคล ยังแสดงถึงที่มารากเหง้าของวงตระกูลอีกด้วย คนจีนในสมัยโบราณให้ความสำคัญในการตั้งชื่อเป็นอย่างมาก โดยหลังจากที่เด็กทารกเกิดมาครบ100วัน แม่หรือแม่นมจะต้องอุ้มทารกมาให้บิดาตั้งชื่อให้ ผู้เป็นบิดาจะกุมมือของทารกไว้และพิจารณาครุ่นคิดอย่างรอบคอบถี่ถ้วน แล้วกำหนดชื่อให้ทารกอย่างเป็นทางการ หลังจากนั้นจึงแจ้งให้กับญาติคนอื่นๆรับรู้ ขณะเดียวกันก็แจ้งทางการให้บันทึกในทะเบียนราษฎร์ รวมทั้งบันทึกลงในทำเนียบของตระกูล เรียกว่า 命名仪式 การ 命名仪式จึงถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับแรกในชีวิตของทารกที่เกิดมา พิธีเช่นนี้ถึงแม้จะไม่มีหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน แต่ยังคงมีการทำขวัญให้กับทารกเมื่อเกิดมาครบ100วัน

      名 ยังแบ่งออกเป็นหลายประเภทเช่น 乳名,本名,学名,笔名,艺名 ต่างๆเป็นต้น 乳名 เป็นชื่อที่มารดาหรือแม่นมใช้เรียกในขณะที่เลี้ยงดูเมื่อยังเป็นทารก โดยทั่วไปจะเป็นคำเรียกง่ายๆเช่นนายหมู นายไก่ นายดำ นายแดง เมื่อโตขึ้นก็จะเลิกใช้ ยกเว้นญาติผู้ใหญ่อาจยังใช้เรียกอยู่ 学名อาจเป็นชื่อที่ใช้เรียกเมื่อเด็กมีโอกาสได้เข้าเรียนหนังสือ ในสมัยโบราณหรือแม้แต่ในระยะอันใกล้นี้ คนยากคนจนชนชั้นรากหญ้า มักเป็นคนที่ไม่มีความรู้ การตั้งชื่อให้กับลูกหลานก็มักจะใช้คำเรียกแบบง่ายๆ บางทีก็อาจจะเป็นคำไม่เหมาะสมที่แสดงถึงปมด้อยของเด็ก เมื่อโตขึ้นมีโอกาสได้เรียนหนังสือ ครูมักจะตั้งชื่อให้ใหม่ซึ่งเป็นคำเรียกที่เหมาะสมมากกว่า อย่างเช่นชื่อภาษาจีนของผมเองก็เป็นชื่อที่ครูสอนภาษาจีนตั้งให้ และใช้มาจนถึงบัดนี้ ส่วน笔名คือนามปากกาซึ่งจะมีใช้เฉพาะผู้ทำงานทางด้านศิลปะและวรรณกรรม ส่วน艺名จะเป็นชื่อของพวกดารานักแสดงทั้งหลาย

        สิ่งที่นิยมในการ命名ของคนโบราณมีประมาน5ประเภทคือ 有信,有义,有象,有假,有类。以名生为信 คืออาศัยเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดของทารกตั้งเป็นชื่อ 以德命为义ก็คืออาศัยเรื่องราวหรือลักษณะที่เป็นมงคลมาตั้งเป็นชื่อเช่น 周文王เชื่อว่าบุตรชายที่เกิดมาเมื่อโตขึ้นต้องสามารถกรีฑาทัพโค่นล้มกษัตริย์โฉด 商纣王ได้ จึงตั้งชื่อว่า 姬发,以类命为象คืออาศัยลักษณะพิเศษของตัวเด็กที่เกิดมาตั้งเป็นชื่อ เช่น 孔子 เกิดมาหัวนูนเหมือนเนินเขาจึงได้ชื่อว่า 丘,取于物为假ก็คือถือเอาสิ่งนิยมที่มีอยู่รอบๆตัวมาตั้งเป็นชื่อ 取于父为类 ก็คือถือเอาสิ่งที่มีความเกี่ยวพันกับบิดามาตั้งเป็นชื่อเช่น鲁庄公เกิดวันเดียวกับบิดาจึงได้ชื่อว่า 曰同 นอกจากนี้ยังมีข้อห้ามในการตั้งชื่ออยู่6ข้อคือ 不以国名作人名;不以本国官名作人名;不以本国山川名作人名;不以疾病之名作人名;不以畜牲之名作人名;不以礼器礼品之名作人名。

         การกำเนิดของ字นั้นเดิมทีเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงที่จะเอ่ยนามของผู้ใหญ่โดยตรง ในสมัยโบราณนั้นผู้น้อยจะพูดถึงผู้ใหญ่ จะไม่เอ่ยชื่อโดยตรงถือเป็นการให้เกียรติ์และแสดงความเคารพ จึงมักจะเรียกหรือเอ่ยถึงลักษณะพิเศษหรือลักษณะเฉพาะตัวของบุคคลนั้นๆ นั่นคือการเกิดขึ้นของ字 เวลาผู้น้อยพูดถึงผู้ใหญ่จะเอ่ยได้เฉพาะ 字 เท่านั้นจะเอ่ย 姓名 โดยตรงไม่ได้ ดังนั้น 字 จึงเป็นคำเรียกที่แสดงถึงความเคารพที่มีต่อผู้ที่ถูกเรียก การกำหนด 字 นั้นจะต้องมีความสัมพันธ์หรือมีความเกี่ยวข้องกับ名อย่างใกล้ชิด หรือพูดอีกนัยหนึ่ง 字ก็คือการให้คำจำกัดความ หรือแสดงถึงความสัมพันธ์ของ名 นั้นเอง เช่น屈原,名原,字平 เมื่อเอา 字 กับ 名 รวมกันก็คือ 平原 หรือ 岳飞字鹏举 คำว่า 鹏举 ก็คือ飞นั่นเอง 白居易,字乐天 คนที่ 居易 ก็ย่อมจะ 乐天 หรือ 诸葛亮,字孔明。 明ก็คือความหมายของคำว่า亮 จึงมีคำโบราณกล่าวว่า“闻名即知其字,闻字即知其名。”

        นอกจากนี้คนในสมัยโบราณยังมี 号 อีกตัวหนึ่ง 号นี้ส่วนใหญ่เจ้าตัวจะกำหนดขึ้นเองโดยอิสระ เป็นการแสดงถึงบุคลิกภาพ จุดมุ่งหมายในชีวิตหรืออุดมการณ์ ความใฝ่ฝันความมุ่งมาดปรารถนาของตนเอง หรืออาจจะเป็นฉายาที่เพื่อนฝูงตั้งให้ หรือชื่อที่เพื่อนฝูงเรียกขานเนื่องจากบุคลิกพิเศษของคนคนนั้น การกำหนด 号 ยังมีหลายประเภทเช่น 别号,绰号,谥号เป็นต้น แต่ละประเภทก็จะเกี่ยวพันกับความจำเป็นในการดำเนินชีวิตการติดต่อสื่อสารในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือเพื่อการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งที่แตกต่างกัน การกำหนด别号 ให้กับตนเองไม่มีข้อจำกัดทั้งความหมายและจำนวนคำ มีตั้งแต่2คำ3คำหรือมากกว่านั้น เช่น ในสมัยราชวงศ์ชิงมีบุคคลที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งคือ郑板桥 ตั้ง别号 ให้กับตนเองถึง12 คำคือ“康熙秀才雍正举人乾隆进士” มีนักบวชนิกาย 禅宗ที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งในแถบ 东北三省 คือ 释成果法师 มี 别号 ยาวถึง28ตัวอักษรคือ “万里行脚僧小佛山长统理天下名山风月事兼理仙鹤粮饷不醒乡侯” นักปราชญ์ในสมัยราชซ่ง欧阳修ในบั้นปรายของชีวิตตั้ง 别号ให้ตนเองว่า “六一居士” หมายความว่า “一万卷书,一千卷古金石文,一张琴,一局棋,一壶酒加上他本人一老翁” ,共六个“一”

       ส่วน 绰号 จะเป็นฉายาที่ผู้อื่นตั้งให้ เป็นชื่อที่แสดงถึงลักษณะพิเศษอุปนิสัยใจคอ หรืออาจจะเป็นความสามารถพิเศษ หรือคุณความดีเป็นพิเศษที่ผู้ฟังสามารถจินตนาการถึงบุคลิกลักษณะของเจ้าของชื่อได้ เช่นตัวละครในเรื่อง108วีรบุรุษเขาเหลียงซาน林冲มีท่วงเพลงทวนที่ว่องไวปราดเปรียวดวงตาสดใสน่าเกรงขามจึงมีฉายาว่า“ 豹子头” ส่วน 李逵 มีนิสัยมุทะลุดุร้ายนิยมการฆ่าฟันจึงมีฉายา“黑旋风” 孙二娘 เปิดร้านขายเหล้าที่เนินสิบลี้ วางยาสลบแขกที่มากินเหล้าแล้วเอาไปเชือดมาทำไส้เกี๊ยวและไส้ซาลาเปาจึงมีฉายาว่า“母夜叉”ส่วน时迁 เป็นผู้มีวิชาตัวเบาเป็นเลิศจึงมีฉายาว่า“ 鼓上蚤”เหล่านี้เป็นต้น

       จากข้างต้นนี้จะเห็นได้ว่าคนจีนตั้งแต่สมัยโบราณแรกเกิดมาจะมี 姓,姓 สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ เมื่อมีอายุครบ100วันก็จะมี 名,姓 และ名 เป็นของ 家族 หลังจากที่ผู้ชายมีอายุครบ20เป็นถือว่าเป็นผู้ใหญ่แล้วต้องเติม字หลังชื่อเรียกว่า “男子二十,冠而字” ทั้งนี้เนื่องจากจีนโบราณถือว่าผู้ชายเมื่อมีอายุครบ20ปี ถึงวัย 成家立业 ต้องมีภาระมีครอบครัว มีหน้าที่การงาน มีการติดต่อกับผู้อื่น และมีฐานะทางสังคม ในวัยนี้เพื่อนฝูงในวัยเดียวกัน หรือผู้อ่อนเยาว์กว่าจะเรียก姓,名โดยตรงไม่ได้ ถือเป็นการเสียมารยาท จะเรียกได้เฉพาะ 字 เท่านั้น ดังนั้นจึงต้องเติม 字 หลังชื่อ 姓และ名 นั้นไว้สำหรับพ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ใช้เรียก ส่วนการติดต่อทางสังคม เพื่อนฝูงคนรุ่นเดียวกันและผู้เยาว์จะเรียกได้เฉพาะ字เท่านั้น ส่วนสตรีนั้นจะมี字เมื่ออายุครบ15 เพราะว่าคนจีนโบราณถือว่าสตรีเมื่ออายุครบ15เป็นวัยที่ต้องออกเรือนเรียกว่า “女子许嫁,笄而字” ดังนั้นสตรีจีนที่ออกเรือนจึงเรียกว่า“字人” สตรีที่อายุเลย15แล้วยังไม่ออกเรือนจึงเรียกว่า “待字闺中”

      วัฒนธรรมเรื่อง 姓,氏,名,字,号 ของจีนนั้นเริ่มไม่ได้รับความนิยมในปลายสมัยราชวงศ์ชิง โดยเฉพาะในช่วงขบวนการ4พฤษภา จนในที่สุดก็ถูกยกเลือกอย่างเป็นทางการ ปัจจุบันคำว่า 姓,氏 ใช้ร่วมกันหมายถึงแซ่หรือชื่อสกุล ส่วน 名,字 ก็เรียกรวมหมายถึงชื่อตัว ส่วนคำว่า 字,号 ปัจจุบันเรียกรวมกันกลายเป็นยี่ห้อสินค้าไป ผมเป็นคนค่อนข้างอนุรักษ์ในบางเรื่อง โดยเฉพาะในเรื่องของประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและวรรณกรรม เรื่อง 姓,氏,名,字,号 นั้นผมถือว่าเป็นวัฒนธรรมที่ดีงามของชาวจีนโดยเฉพาะ มีคุณูปการต่อการศึกษาการพัฒนาของสังคม และประวัติศาสตร์ ตลอดจนการสืบทอดรากเหง้าของชาติพันธุ์มนุษย์ เป็นนวัตกรรมยอดเยี่ยมที่สมควรรักษาเอาไว้ จึงเป็นเรื่องน่าเสียดายมากที่ต้องถูกยกเลือกไป

吴姓的来历

      吴姓的来历 
吴姓出于猎户จากคำกล่าวข้างต้นเราพอจะคาดเดาได้ว่า吴姓เป็นตระกูลแซ่ที่เก่าแก่มากที่สุดสกุลหนึ่ง เพราะการดำรงชีวิตของมนุษย์เราในสังคมแรกเริ่มสมัยบรรพกาล คือสังคมคนล่าสัตว์ อักษรนี้มีวิธีการเขียนหลายแบบเช่น吳,หรือนอกจากนี้ยังมีใน象形字,篆书และใน隶书อีก ตัวอักษรที่เราคุ้นเคยกันมากที่สุดในปัจจุบันคือ ตัวนี้ คนแซ่ เวลาแนะนำแซ่ของตัวเองมักจะพูดว่า口天吴 เนื่องจากตัว นั้นประกอบด้วยสองส่วนส่วนบนคือตัวและส่วนล่างคือตัว แต่ถ้าเป็นคนจีนในไทยที่มีอายุอานามประมาน50ปีจะคุ้นเคยกับตัวนี้มากกว่า ถ้าหากว่าใครมีพจนานุกรมจีนในช่วง40-50ปีก่อน จะอธิบายตัวนี้ว่า吳的古体หรือ吳的俗字ถ้าเราดูจากรูปลักษณ์ของ ตัวนี้ จะเห็นว่ามีลักษณะคล้ายกับคนที่ยืนกางขา สองมือเท้าสะเอวแล้วแหงนหน้ามองท้องฟ้า(双手叉腰脚立地仰首望天)ซึ่งอาจเป็นอากัปกริยาของคนที่ก่อนจะออกล่าสัตว์ แหงนหน้ามองสำรวจเมฆหมอกบนท้องฟ้า ดูว่าภูมิอากาศสดใสเหมาะที่จะออกไปทำมาหากิน หรือว่าจะเจอกับพายูฝน หรืออาจเป็นการแหงนมองท้องฟ้าเพื่ออธิษฐานต่อสิ่งศักดิ์สิทธ์ขอให้แคล้วคลาดปลอดภัย หรือให้ได้พบสัตว์ตัวใหญ่ได้อาหารติดไม้ติดมือกลับมา จึงเห็นได้ว่าการกำเนิดของอักษรตัวนี้เกี่ยวพันกับการดำรงชีวิตเพื่อความอยู่รอด และการต่อสู้กับภัยพิบัติทางธรรมชาติของมนุษย์ตั้งแต่ยุคโบราณ ส่วนตัวนี้ประกอบด้วยสองส่วนเช่นกันส่วนบนคือตัว นี้เหมือนส่วนหัวของคน หรือเป็นสัญลักษณ์ของการพูดหรือการส่งเสียง  ส่วนล่างคือตัว矢,矢ตัวนี้หมายถึงลูกธนูที่เป็นอุปกรณ์ในการล่าสัตว์ แต่ถ้าดูจากรูปลักษณ์โดยรวมของตัวนี้ จะเหมือนอากัปกริยาของคนที่เหลียวมองด้านหลังส่งเสียงร้องแล้วแกว่งแขนวิ่งไปข้างหน้า(挥手向前跑高声叫喊而不时地回头反顾) ซึ่งอาจจะเป็นการวิ่งหนีสัตว์ร้าย แล้วคอยเหลียวหลังดูว่ามันไล่ตามมาหรือไม่ หรืออาจจะพบกับสัตว์ใหญ่ที่ตัวเองรับมือสู้ไม่ไหว จึงวิ่งกลับมาตามหาพรรคพวกเพื่อขอความช่วยเหลือ ในขณะเดียวกันก็ส่งเสียงร้องเรียก ตัวนี้อ่านออกสำเนียงว่า”อู๋”ซึ่งอาจจะมาจากเสียงอุทานหรือเสียงกู่ร้องด้วยความดีใจหรือตกใจเมื่อได้พบเป้าหมายที่ต้องการจะล่า หรือเสียงร้องเรียกบอกกล่าวส่งสัญญาณให้พรรคพวกมาช่วยเหลือเมื่อเจอสัตว์ร้าย หรือเจอสัตว์ใหญ่ที่ตัวเองรับมือไม่ไหวขณะเดียวกันก็เหลียวมองดูว่ามันหนีไปทางไหนแล้ว ดังนั้นตัวนี้ออกเสียงอ่านว่า”อู๋”จึงเป็นการออกเสียงที่ไม่มีอะไรจะเหมาะเจาะยิ่งกว่านี้อีกแล้ว 
ยังอีกตัวหนึ่งเรียกว่า(披虎头皮的吴)นั่นคือในสมัยโบราณ吴姓กับ虞姓 นี้คือแซ่เดียวกันถ้าหากใครเคยดูหรืออ่านเรื่อง108วีรบุรุษเขาเหลียงซาน จะมีคนอาชีพล่าสัตว์มือถือสองง่ามเหล็กคลุมตัวด้วยหนังเสือมีหัวเสือครอบอยู่บนหัวปรากฏอยู่หลายตอน เช่นตอนที่ อู่ซง หลังจากพิชิตเสือร้ายบน เขาจิ่งหยังกังแล้ว พอเดินลงมาถึงเชิงเขา ก็เจอหัวเสือโผล่ออกมาจากพุ่มไม้อีกสองตัว นั่นคือนายพรานที่รับอาสาจะขึ้นไปปราบเสือร้ายตัวนี้บนเขาจิ่งหยังกัง ทำให้เราพอจะเข้าใจได้ว่า อาชีพคนล่าสัตว์ในสมัยโบราณเวลาออกล่าสัตว์ จะต้องคลุมหนังเสือกัน นอกจากเป็นการพลางตัวแล้ว ยังเป็นยันต์ป้องกันภัยได้อีกด้วย ดังนั้นตัวอักษร”อู๋”ทีเหมาะสมและถูกต้องตรงความหมายที่สุดน่าจะเป็นตัวนี้มากกว่า จวบจนปลายสมัยสมัยราชวงฉิน虞姓จึงได้แยกออกไปเป็นอีกแซ่หนึ่งต่างหากและอ่านออกเสียงว่า “ยวี๋” ดังนั้นถ้าหากว่าเรายังยึดถือประเพณี同姓不通婚คน姓吴กับคน姓虞ก็จะแต่งงานกันไม่ได้

敖包相会

1953年长春电影制片厂摄制《草原上的人们》片中插曲

เพลง 敖包相会 นี้น่าจะถือได้ว่าเป็นเพลงประจำของชุมชนคนล่าสัตว์ สำหรับคนไทยที่นิยมฟังเพลงจีนนั้นคิดว่าคงจะรู้จักกันเป็นส่วนมาก เป็นเพลงพื้นเมืองของชนเผ่าเลี้ยงสัตว์เร่ร่อนแถบทุ่งหญ้ามงโกเลีย เนื้อเพลงเป็นเรื่องของความรักระหว่างหนุ่มสาวในคืนเดือนเพ็ญ จึงมักจะนิยมร้องกันเวลาสังสรรค์ชมจันทร์ โดยเฉพาะคืนฉลองเทศกาลจงชิว นอกจากนี้ยังนิยมร้องให้กับคู่บ่าวสาวในวันแต่งงานอีกด้วย ในปีค.ศ.1953 มีบริษัทหนึ่งเอาไปเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง《草原上的人们》

ชื่อเพลง敖包相会 คำว่า相会เราคงไม่ต้องอธิบาย มาดูคำว่า敖包กัน คำว่า敖บางทีก็ใช้ตัว傲มีความหมายเดียวกับคำว่า遨 ซึ่งแปลว่าเดินทาง เร่ร่อน มีที่อยู่ไม่เป็นหลักแหล่ง เช่น遨游หรือ敖遊หรือ敖民,遨放เป็นต้น ในสมัยโบราณมนุษย์ยังดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ ยังไม่มีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย การออกล่าสัตว์แต่ละครั้งอาจจะต้องไปหลายวันเรียกว่า敖猎 หรือ游猎 เนื่องจากไม่ได้มีที่อยู่อาศัยเป็นบ้านเป็นเมืองที่ถาวร เวลาแยกย้ายกันออกไปล่าสัตว์ส่วนจึงต้องมีจุดนัดพบอาจจะเป็นเนินดินที่มีจุดเด่นจดจำได้ง่ายมีหลักหมุดปักไว้เป็นสัญลักษณ์เรียกว่า敖包นอกจากนี้ตัว 包นี้ยังคาดกันว่าอาจจะมาจากคำว่า同包หมายถึงพรรคพวก เนื่องจากสมัยก่อนเป็นสังคมรวมหมู่จึงไม่เน้นเรื่องของญาติพี่น้องสายเลือดเดียวกัน ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็น同胞 ที่หมายถึงพี่น้องสายเลือดเดียวกัน

เมื่อต่างแยกย้ายกันออกเดินทางไปหาอาหาร พอถึงเวลานัดหมายต่างก็กลับมาพบกันที่จุดนัดพบ ใครได้อะไรมาก็เอามารวมกัน มาสมัยนั้นก็ไม่มีกระทะหม้อต้มวิธีการที่สะดวกที่สุดก็คือก็จะก่อกองไฟเผาและย่าง ในระหว่างที่รออาหารสุกยามพลบค่ำ พระจันทร์เริ่มโผล่พ้นขอบฟ้า หนุ่มสาวก็จะเริ่มร้องเพลงเต้นรำรอบกองไฟ ซึ่งแน่นอนว่าการร้องรำของคนหนุ่มสาวย่อมหนีไม่พ้นเรื่องของความรัก

迷人的夜晚

 

 

 

           ขอฝากเพลง迷人的夜晚 อีกสักเพลง เพลงนี้ก็เหมือนกับเพลง敖包相会เป็นบรรยากาศของกลุ่มคนที่กลับจากออกล่าสัตว์ มารวมกลุ่มกันแล้วก่อกองไฟปิ้งย่าง
ร้องเพลงเต้นรำเล่นรอบกองไฟ นอกจากเป็นการหุงหาอาหารแล้ว ยังเป็นโอกาสการรวมกลุ่มสังสรรค์ของคนสมัยโบราณ
เนื้อหาของเพลงยังคงมีเรื่องของความรักระหว่างหนุ่มสาวเกี่ยวข้อง

中国民歌

ในVDOที่แปะมานี้ มีแถมมาอีก 2 เพลงคือเพลง珊瑚颂และเพลง 洪湖水浪打浪 ซึ่งทั้ง3 เพลงนี้ล้วนเป็นเพลงจีนประเภทที่เรียกว่า民歌  เพลง民歌  ของจีนนั้นจะมีวิธีการร้องที่เฉพาะ ไม่เหมือนกับการร้องเพลงทั่วๆไป ผู้ที่สนใจเพลง民歌 ของจีนจะสังเกตว่าเพลงประเภททุ่งหญ้า เพลงชาวเขาหรือเพลงชาวเรือ เช่นเพลง乌苏里船歌ถ้าเป็นนักร้องชายเสียงจะสูง ทุ้มลึก และกังวาน แต่ก็ฟังนุ่มนวลเหมือนเสียงที่ส่งมาจากที่ไกล ไม่กระด้างแข็งกร้าว สาเหตุเนื่องจากการดำรงชีวิตของคนเหล่านั้น ที่ต้องกู่ร้องส่งสัญญาณไปไกล หรือแม้แต่พูดกันก็อยู่ห่างกันระหว่างบนยอดเขากับเชิงเขา อย่างเช่นในเพลง 乌苏里船歌ที่ขับร้องโดย 郭颂 เป็นเพลงของชาวเรือที่ออกเรือหาปลาอาจจะไปหลายวัน พอกลับมาใกล้จะถึงบ้านก็ส่งสัญญาณให้คนในบ้านได้รับรู้ ส่วนคนในบ้านก็ส่งสัญญาณตอบกลับว่าได้ยินแล้ว ตอนเริ่มต้นเป็นสร้อยของเพลง2ประโยคที่ร้องว่า 啊朗赫赫呢哪,啊朗赫赫呢哪ประโยคแรกจะร้องด้วยเสียงที่กังวานฟังชัดเจนเป็นเสียงร้องของเจ้าตัวที่ร้องส่งสัญญาณให้คนที่อยู่ในบ้าน จึงฟังเหมือนเสียงอยู่ตรงหน้าเรา ส่วนประโยคที่สองเป็นเสียงร้องตอบมาจากคนในบ้าน จึงฟังเหมือนเสียงที่ดังมาแต่ไกลเหมือนเสียงสะท้อนกลับ เป็นวิธีการร้องที่เป็นลักษณะเฉพาะของเพลงประเภท民歌 ของจีน ช่วงหลังประมาณ 60 ปีมานี้ ทางจีนได้เอาวิธีการร้องแบบโอเปร่าของทางตะวันตกมาผสมผสานกับการร้องแบบ民歌 ของจีนเป็นการร้องแบบ艺术美声歌唱มาร้องเพลงสมัยใหม่รวมทั้งเพลงเก่าบางส่วนของจีนที่ไม่จำกัดอยู่เฉพาะในวงการ民歌 เท่านั้น สำหรับเพลง迷人的夜晚 นั้นผมหาเวอร์ชั่นที่ร้องให้ได้บรรยากาศของ 中国民歌ไม่ได้ ที่โพสท์มานี้ผมก็ไม่ทราบว่านักร้องเป็นใคร แต่ร้องในสไตล์通俗歌曲  จึงขาดบรรยากาศไปนิดหนึ่ง 

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal