หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

ตระกูล ฉี 徐 (แซ่ชือ)

รูปภาพของ อาฉี

徐 (pinyin xú (xu2), Wade-Giles hsü2)

อักษรตัวนี้ เป็นอักษรเฉพาะ ที่หมายถึง ซิ้นสฺวี โดยตรง จึงไม่นิยมแปล แต่ถ้าอยู่ในรูปประโยคอื่น จะสื่อความหมายในทาง ค่อยๆ ช้าๆ ราบเรียบนุ่มนวน

การอ่านในภาษาอื่นๆ

徐 (từ, chờ, chừa, giờ, thờ, xờ)

(revised: seo, McCune-Reischauer: sŏ, Yale: se)

สำหรัชาวตระกูล สวี+ฉีวฺ (ชือ) ในเมืองไทย เมื่อเปลี่ยนเป็นนามสกุล มีไม่น้อยที่ตั้งนามสกุลขึ้นต้นด้วยคำว่า "ศรี..." , "เชื้อ..." , "ซื่อ(สัตย์)..." , ... เป็นต้น



ประวัติความเป็นมาของตระกูลสฺวี (ชือ)

คนตระกูลสวี (ฉีวฺ / ชื้อ) เป็นลูกหลานของต้าซื่อหลังกง บรรพบุรุษรุ่นที่ 3ที่อยู่อย่างถาวรใน 13 หมู่บ้านของตำบลตงเหลียนและทังเคิงอำเภอฮงสุน มีอยู่ประมาณ สี่หมื่นคน,นอกนั้นอาศัยอยู่ในประเทศไทยประมาณห้าหมื่นคน


จากคำชี้แจงข้างตนทำให้รู้ว่า เอี้ยนจางกง (บรรพบุรุษรุ่นแรก)ของเราลูกหลานมากมาย,ตระกูลชื้อของเรามีการสืบทอดมายาวนาน, ตั้งแต่เอี้ยนจางกง มาถึงปัจจุบันประมาณ 600 ปี, ลูกหลานมากมายคนมีความรู้มีความสามารถมีออกมาทุกยุคทุนสมัย, ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผู้ร่วมตระกูลชื้อได้กระจายอยู่ทั่วไปในไทย, สิงคโปร์, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย ในประเทศจีนกระจายอยู่ในมณฑลกวางตุ้ง, ใต้หวัน, เสฉวน, เจียงซี, ในมณฑลกวางตุ้งกระจายอยู่ที่อำเภอฮงสุน, อำเภอเจียวหลิงและอำเภอหวู่หัวของจังหวัดเหมยโจว, อำเภอลู่เหอของจังหวัดซานเหวี่ย, อำเภอเจีหยาง, อำเภอเจียงซี, อำเภอเฉาหยาง, อำเภอปู่หนิงของจังหวัดซานโถว, รวมอาศัยอยู่ใน7 อำเภอของ 3 จังหวัด, ประชากรของผู้ร่วมตระกูลชื้อรวมประมาณ 180,000 คน, ถือเป็นวงศ์ตระกูลใหญ่มีความรุ่งเรืองมั่งคั่งและลูกหลานมากมาย

ผู้ร่วมตระกูลทั้งหลายเรามีทรัพยากรคนและทรัพยสินมากมาย,โดยมีความผูกพันทางสายเลือดยิ่งทำให้ความรักใคร่สมานไมตรีของผู้ร่วมตระกูลมีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ขอให้ผู้ร่วมตระกูลสามัคคีร่วมแรงร่วมใจรักชาติบ้านเมือง, ให้กิจการของเราก้าวไปข้างหน้าเพื่อบรรลุเป้าหมายความเจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว, การสืบต่อจากบรรพบุรุษและแนะนำส่งเสริมคนรุ่งหลังบรรลุผลเป็นศรีเป็นเกียรติแก่บรรพบุรุษของวงศ์ตระกูล

การสืบหารากฐานของบรรพบุรุษและการสืบต่อของตระกูลรำลึกถึงบรรพบุรุษของเรา เป๊าะยี่กง ยั่วมู่กง ได้สร้างรกรากขึ้นที่เมืองชื้อ, ชื่อเสียงความมีเมตตาคุณงามความดีและผลงานที่บรรพชนแต่ละรุ่นแต่ละสมัยที่สร้างสมมีรากฐานสืบต่อกันยาวนาน เริ่มตั้งแต่เป๊าะยี่กง บรรพบุรุษต้นตระกูลชื้อ (เมื่อ 4,200 ปีก่อน) มีบุตรชายชื่อ ยั่วมู่กง ได้รับการแต่งตั้งจากอ๋องเซี่ยให้เป็นเจ้าครองเมืองชื้อ, สืบทอดลูกหลานมากมายเป็นหนึ่งในสิบตระกูลใหญ่ในราชวงศ์สมัยนั้น, ในช่วงการปกครองแบ่งออกเป็นเหนือและใต้นั้น, ได้ไปอาศัยอยู่บริเวณทะเลตะวันออก (ปัจจุบันอยู่ระหว่างมณฑลเจียงซีและอันฮุย) ในปีสุดท้ายของราชวงศ์ซ่ง (ทายาทรุ่นที่ 35) คนโตอีหลังกง ได้ย้ายจากเหมืองหนิงตูมณฑลเจียงซี ไปอยู่ที่หมู่บ้านสือปี้มณฑลฮกเกี้ยน คนรองเอ้อหลังกง ได้ย้ายไปเมืองเหลียนเฉิงมณฑลฮกเกี้ยน อีหลังกง มีบุตรชายชื่อปิ่งหลังกง (รุ่นที่ 36) ปิ่งหลังกงมีบุตรชายชื่ออี่หลังกง (รุ่นที่ 37) อีหลังกงมีบุตรชายชื่อเทียนหุ้ยกง (รุ่นที่ 38) เทียนหุ้ยกงมีบุตรชาย 1 คน ชื่อเซ่อหลังกง (รุ่นที่ 39) เซ่อหลังกงมีบุตรชาย 2 คน คนโตเอี้ยนฮุยกง คนรองเอี้ยนจางจง (จากเอี้ยนจางกงเริ่มต้นนับบรรพบุรุษรุ่นที่ 1 ใหม่)

ปีสุดท้ายของราชวงศ์หยวน, เอ้อหลังกง สืบทอดต่อมาอีก 5 ชั่วคนถึงเจินเหยินกง เวลานั้นบ้านเมืองวุ่นวายจากภัยสงครามจึงได้ย้ายออกจากฮกเกี้ยนไปอยู่ที่ยังเมืองฉางเอ้อ มณฑลกวางตุ้ง (ปัจจุบันอำเภอหวู่หัว) ต่อมาเหตุจากสงครามอีก,เอี้ยนจากกง (บรรพบุรุษต้นตระกูล)และพี่ชายเอี้ยนฮุยกง จำเป็นต้องดิ้นรนหลบภัยไปหมู่บ้านเจียอิ้งเฉินเซียง (ปัจจุบันคืออำเภอเหมย)ได้อาศัยอยู่กับบ้านครอบครัวตะกูลเซียวหมู่บ้านเฉิงเซียง, ได้นับถือเซียวไท่กง เป็นบิดาบุญธรรม, ดังนั้นจึงได้เปลี่ยนไปใช้แซ่เซียว, คนโตใช้ชื่อเซียวเจียอีหลัง คนรองให้ชื่อเซียวเจียเอ้อหลังกง, หลังจากนั้นได้ติดตามบิดาบุญธรรมย้ายจากเจียยิ่งไปอยู่ที่เขากวนอิมซาน เล่ากันว่าเอี้ยนฮุยกง (อีหลังกง) ถูกโจรทำร้ายถึงแก่ความตายที่ตำหนักหงซือตำบลทังหนาน อำเภอฮงสุน เหลือแต่บรรพบุรุษต้นตระกูลเอี้ยนจางกง (เซียวเจียเอ้อหลัง) และภรรยาแซ่อึ้ง

ต่อมาได้ย้ายออกจากบ้านตระกูลเซียงไปอยู่บ้านซานตั้นหมู่บ้านปู่โถว ตำบลทังเคิง อำเภอฮงสุน ปัจจุบันคือ หมู่บ้านเซี้ยพอสร้างบ้านและจัดตังศาลบูชาบรรพบุรษ ตงไห่พัง เอ้อหลังกงมีบุตรชายหนึ่งคนชื่อเซียวเนี้ยนชิหลังกง (บรรพบุรุษรุ่นที่ 2) ภรรยาแซ่ตั้ง มีบุตรชาย 4 คน คนอีหลังกง คนรองเอ้อหลังกง คนที่ 3 ซานหลังกงคนที่ 4 ซื่อหลังกง คนโตและคนที่ 3 อายุสั้น เสียชีวิตแต่เยาว์วัย สำหรับคนรองเอ้อหลังกงมีภรรยาแซ่เต็ง มีบุตรชาย 5 คน ทั้งหมดได้ย้ายไปอยู่หลินจูเคิงชิงหนานจิงบริเวณปากคลอง 3 แพร่งของไห่ลู่เฟิง หลังจากนั้นลูกหลานของเอ้อหลังกงได้ทะยอยเดินทางไปหากินที่ใต้หวัน เขตซินจูและเถาหยวน และปัจจุบันมีกิจการและฐานะที่มั่งคั่ง

สำหรับซื่อหลังกงมีภรรยาแซ่เล้า มีบุตรชาย 2 คน คนโตเสี่ยวสือซานหลังกง คนรองเสี่ยวสือหวู่หลังกง พอสืบทอดถึงรุ่นที่ 3 ลูกหลานทรัพยากรสมบูรณ์พร้อมจึงได้กลับคืนสู่เชื้อสายตระกูลชื้อจากที่ใช้นามสกุลเซียวเปลี่ยนชื่อเดิมของบรรพบุรุษรุ่นที่ 2 เซียวเนี่นยชีหลัง เป็นชื้อเนียนซานหลัง

หลายร้อยปีมานี้ลูกหลานของตระกูลชื้อทุกยุคทุกสมัยสำนึกในบุญคุณของบ้านตระกูลเซียวตลอดยังคงเรียกบรรพบุรุษรุ่นแรกเอี้ยนฮุยกง เป็นเซียวเจียอีหลังเอี้ยนจางกง เป็นเซียวเจียเอ้อหลัง ที่มาและเหตุผลข้างต้นคือการกลับคืนสู่ตระกูลชื้อจากตระกูลเซียวของบรรพบุรุษ



Link ที่เกี่ยวข้อง :

สมาคมตระกูลชื่อแห่งประเทศไทย xuthailand.net/

กลุ่มยุวชนตระกูลชือ sites.google.com/site/youngxuclub

เฟรตบุคตระกูลฉี https://www.facebook.com/XuThai


รูปภาพของ ท้ายแถว

ปริศนา 徐福 or 徐巿

ปริศนาที่สวีฝู (徐福 or 徐巿) ข้ามทะเลไปญี่ปุ่น

หลังจากอิ๋งเจิ้ง กษัตริย์ก๊กฉิน ใช้กำลังทหารรวมประเทศจีนเป็นเอกภาพ แล้วตั้งตนเป็นจักรพรรดิองค์แรกในประวัติศาสตร์จีน พระองค์ปรารถนาจะมี พระชนมายุยืนยาวเพื่อจะปกครองแผ่นดินตลอดไป พระองค์ทรงทราบเรื่องเล่าที่ว่า กลางทะเลโป๋ไห่มีภูเขาเทวดา บนภูเขามียาอายุวัฒนะที่กินแล้วไม่แก่ ดังนั้น จักรพรรดิฉินสื่อหวง จึงส่งคนออกทะเลไปสืบเสาะหายาอายุวัฒนะ บุคคลแรกที่ออกทะเล ไปสืบเสาะหายาให้จักพรรดิฉินสื่อหวง คือหลูเซิงจากแคว้นเอี้ยน หลูเซิงออกเดินทางจากเจี๊ยะซึซึ่ง ก็คือเกาะฉินหวงเต่าในทุกวันนี้ แต่เขาหายาไม่พบ ปัจจุบัน ในสวนสาธารณะตงซานของเมืองฉินหวงเต่า ยังมีศิลาจารึกที่มีตัวอักษรแกะสลักว่า "สถานที่ออกทะเลหายาอายุวัฒนะ เพื่อจักรพรรดิฉินสื่อหวง" ในค.ศ.1992 มีการสร้างรูปปั้นหินแกะสลักของจักรพรรดิ ที่มีความสูง 6 เมตร หนัก 80 ตันเพื่อเป็นที่ระลึกถึง จักรพรรดิองค์แรกในประวัติศาสตร์จีน ที่บริเวณนั้น

หลูเซิงหายาอายุวัฒนะไม่สำเร็จ จักรพรรดิฉินสื่อหวง จึงโปรดให้ส่งขุนนางสวีฝูออกทะเลไปแทน สวีฝูไปครั้งแรกกลับมาทูลจักรพรรดิว่า เขาได้ปีนขึ้นบนภูเขาเทวดา และ เห็นยาอายุวัฒนะกับตาแล้ว แต่เทวดาบนเขาไม่พอใจกับเครื่องบวงสรวงที่ตนนำไปให้ บอกว่าน้อยเกินไป แล้วยังบอกกับสวีฝูว่า หากจะขอยาให้ได้ ต้องนำเด็กชายหญิง 3,000 คนและช่างฝีมือที่มีความเชี่ยวชาญในการก่อสร้างจำนวนหนึ่ง ไปถวายเสียก่อน เมื่อทราบว่าสวีฝูพบยาอายุวัฒนะแล้ว จักรพรรดิฉินสื่อหวงดีพระทัยมาก รีบจัดการคัดเลือกเด็กชายหญิง 3,000 คน และช่างฝีมือจำนวนหนึ่ง ให้ไปกับสวีฝูออกทะเลไปที่ภูเขาเทวดา กองเรือของสวีฝูแล่นออกสู่กลางทะเลไประยะหนึ่ง ก็ยังไม่ได้ยาอายุวัฒนะมา สวีฝูส่งคนกลับมาทูลจักรพรรดิว่า คราวนี้พบปลามังกรมหึมาตัวหนึ่ง ขวางทางไม่ให้กองเรือเข้าเทียบฝั่งภูเขาเทวดา ถ้าอยากไปให้ถึงภูเขา จะต้องให้ทหารแม่นธนู และใช้อาวุธทันสมัยฆ่าปลามังกรตัวนั้นให้ได้ บังเอิญ จักรพรรดิฉินสื่อหวงทรงพระสุบินว่า พระองค์สู้รบกับเจ้าแห่งทะเล จึงถามโหร ได้รับคำอธิบายว่า เจ้าแห่งทะเลก็คือสัญลักษณ์ของปลามังกรนั่นเอง ดังนั้น พระองค์ก็ยิ่งทรงเชื่อคำกราบทูลของสวีฝู โปรดให้ทหารแม่นธนู ผู้กล้าหาญ ทหารใช้อาวุธต่างๆ ตามเสด็จพระองค์ออกทะเลไป เมื่อเรื่อเข้าใกล้เกาะจือฝูเต่า พบปลาตัวใหญ่ตัวหนึ่งจริงๆ จักรพรรดิฉินสื่อหวงทรงยิงธนูฆ่าปลาตัวนั้นด้วยพระองค์เอง เห็นว่าครั้งนี้ได้ฟันฝ่าอุปสรรคที่ขวางทางไปภูเขาเทวดาได้แล้ว แต่ที่ไหนได้ยาอายุวัฒนะก็ยังค้นไม่พบ เพราะความจริง ไม่มียาชนิดนั้นในโลก สวีฝูไม่กล้ากลับมาเฝ้าจักรพรรดิ จึงนำเด็กชายหญิงและชางฝีมือที่จักรพรรดิประทาน หนีไปตั้งถิ่นฐานที่ญี่ปุ่น ในที่สุด สวีฝูเสียชีวิตที่ภูเขาฟูจิของญี่ปุ่น

ในญี่ปุ่นมีเรื่องเล่าและตำนานเกี่ยวกับสวีฝูมากมาย นักวิชาการบางคนเห็นว่า สวีฝูก็คือพระจักรพรรดิ ผู้มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์การสถาปนาประเทศของญี่ปุ่น ประชาชนญี่ปุ่นก็นับถือสวีฝูเป็นบรรพบุรุษศักดิ์สิทธิ์ ยกย่องเขาเป็น "เทพแห่งการเกษตร" และ "เภสัชเทพ" ปัจจุบัน ท้องที่บางแห่งของญี่ปุ่นยังมีสุสาน ตำหนัก แท่นหินและศิลาจารึกแห่งสวีฝู เมื่อค.ศ.1991 ประชาชนญี่ปุ่นยังตั้งชื่อสวนสาธารณะ ที่สร้างใหม่แห่งหนึ่งว่า "หนทางของสวีฝู" ทุกฤดูใบไม้ร่วง ประชาชนในท้องถิ่นก็จะไปประกอบพิธีเซ่นไหว้บูชาสวีฝู และจะจัดงานมโหฬารทุก 50 ปี

คัดลอกมาจาก China Radio International http://thai.cri.cn


Xu Fu (Chinese: 徐福 or 徐巿, not to be confused with another Chinese character 市, the pronunciation of which is Shi), was born in 255 BC in the Qi and served as a court sorcerer in Qin Dynasty China when he was alive. During his lifetime, he was sent by Qin Shi Huang to the eastern seas twice to look for the elixir of life. His two journeys occurred between 219 BC and 210 BC. It was believed that the fleet included 60 barques and around 5000 crew members, 3000 virgin boys and girls, and craftsmen of different fields. After he embarked on a second mission in 210 BC, he never returned. Various records suggest that he may have arrived and died in Japan.

The ruler of Qin, Qin Shi Huang feared death and sought a way to live forever. He entrusted Xu Fu with the task of finding the secret of immortality. In 219 BC, Xu Fu was sent with three thousand virgin boys and girls to retrieve the elixir of life from the immortals that lived on Penglai Mountain in the eastern seas. Xu sailed for several years without finding the mountain. In 210 BC, when Qin Shi Huang questioned him, Xu Fu claims there was a giant sea creature blocking the path, and asked for archers to kill the creature. Qin Shi Huang agreed, and sent archers to kill a giant fish. Xu then set sail again, but he never returned from this trip. The Records of the Grand Historian says he came to a place with "flat plains and wide swamps" (平原廣澤, possibly Kyūshū of Japan) and proclaimed himself to be king, never to return.

Later historical texts were also unclear with where Xu Fu actually ended up. Sanguo Zhi, Book of Later Han, and Guadi Zhi all state that he landed in "Zhizhou" (直洲), but the whereabouts of Zhizhou are unknown. Finally in the Later Zhou Dynasty (AD 951-960) of the Five Dynasties and Ten Kingdoms Period, monk Yichu wrote that Xu Fu landed in Japan, and also said Xu Fu named Mount Fuji as Penglai. This theory is what formed the "Legend of Xu Fu", which later spread to Japan, as evidenced by the many memorials to him there.

Those who support the theory that Xu Fu landed in Japan credit him with being the catalyst for the development of ancient Japanese society. The Jōmon culture which had existed in ancient Japan for over 6000 years suddenly disappeared around 300 BC. The farming techniques and knowledge that Xu brought along are said to have improved the quality of life of the ancient Japanese people and he is said to have introduced many new plants and techniques to ancient Japan. To these achievements is attributed the worship of Xu Fu as the "God of farming", "God of medicine" and "God of silk" by the Japanese. Numerous temples and memorials of Xu can be found in many places in Japan.

From Wikipedia, the free encyclopedia http://en.wikipedia.org/wiki/Xu_Fu

รูปภาพของ อ๋า

เซี่ยง ฉี หมักไก่ ปุ้ย

หงัย เซี่ยง ฉี   หงัยเหมื่ยงจึ้อปุ้ย  อาปาหงัย ถ่อย จึ้อปุ้ย

ของเซี่ยงฉี  มี  30 ปุ้ย 

อาปาหงัยเคยบอกว่า ก่อนหน้าชุด  30 ปุ้ยนี้ก็มีชุดก่อนหน้าอีกอาปาเคยท่องให้ฟัง 

แต่หงัยไม่ได้สนใจจำ ตอนนั้นยังเด็ก

การที่มีปุ้ยนี้ทำให้เรารู้ต้นกำเนิดของเรา  รู้อารยธรรม รู้ประเพณี รู้ความเจริญด้านการเรียนรู้การถ่ายทอด 

การเคารพกฏเกณ์  ค้นคว้าหาอดีตต้นตอของของเผ่าพันธ์ 

ปุ้ยของตระกูลฉี

กับ  เหนี่ยม  ไถ่  เซี่ยว  ปัก  

เซียน ฟุก  ยุ้น  จุง  เหลียง

ไถ้   สี  จวุง  หวุน  จิ้น 

ฮิน  กอ  ปิด  ชุง  หมิน 

แรท  ถ่อย  เหมียง วุ่ย   เฮี้ยน

ยิด  แส้  กุง  เงี๊ยบ  สิน

ตอนหงัยยังเด็ก  อาปา แนะนำให้หงัยเรียกคนอายุ เกือบ  80  ปีว่า   อากอ

หงัยสงสัยว่าอาปาเล่นมุก ลองดูว่าหงัยจะรู้จักการเรียกผู้ใหญ่ที่ถูกต้องหรือเปล่า 

หงัยก็ไม่ยอมเรียก  ยืนยันจะเรียกว่าอากง  อาปาหงัยหัวเราะใหญ่เลย  แล้วอากอคนนั้นก็บอกว่าเรียกอากอก็ไม่ผิด   

ที่จริงต้องเรียกว่าอาหลานต่างหาก   เป็นเพราะอากอเขาปุ้ยต่ำกว่าหงัยตั้ง  2  ขั้น

เมื่อไม่นานนี้อาปาบอกว่า  เซี่ยง ฉี  มีการตั้ง  ปุ้ย  ชุดใหม่เพิ่มต่ออีกแล้ว  แต่หงัยยังไม่รู้  ถ้าอาปายังอยู่ คงเอามาบอกเล่าแล้ว

รูปภาพของ ฉีคุ้นหยุง

แรทจื้อปุ้ย

ขออนุญาตเข้ามาขอความรู้ในส่วนนี้ว่า

อาปาเคยสอนหงัยไว้เช่นกันว่าถ้าใครถามก็ให้ตอบว่า แรทจื้อปุ้ย

หากเรียงลำดับปุ้ยของตระกูลฉีที่คุณอ๋าเขียนมาข้างต้น จะเหมือนกันหมดใช่ไหมครับ

ขอคาระวะ

ไหง ฉีเหมียงฝา ขอคาระวะ อาสุกกุง   อาปาไหง ถ่อย  จื้อปุ้ย  ไหง เหมียง จื้อปุ้ย  หงี  แรท จื้อปุ้ย     ไหงต้องห้ำหงี  " อาสุกกุง " จั้งตุ้ย แหหมอ

สอบถามเรื่องปุ้ยหน่อยครับ

แล้วจะรู้ได้อย่างไรครับว่าลำดับเราปุ้ยไหน แล้วปุ้ยเค้าต้องใช้เอามาตั้งเป็นส่วนหนึ่งของชื่อใช่รึเปล่าครับ พี่น้องรุ่นป๊าลงท้ายด้วยคำว่า ทัด(达)หมดเลยอ่าครับ  

รูปภาพของ อาฉี

ต้องถามอาปา อากุง

จะรู้ว่าเราปุ้ยอะไรชั้นไหน ต้องถามอาปา หรือ อากุง หรือญาติผู้ใหญ่ของตนเอง แล้วไล่ลำดับชั้นเอา

คนอื่นไม่สามารถบอกได้เพราะ แต่ละแซ่ หรือแต่ละวงตระกูล ที่มาคนละสาย จะมีการไล่ลำดับสายกันเอง

ส่วนวิธีการตั้งชื่อรุ่น มักใช้วิธีการตั้งคำกลอนที่มีความหมายดีและดีทุกตัวอักษร ที่บรรพชนประพันธ์ขึ้นให้ลูกหลานเหลนโหลน ของตนได้ใช้กันชั้นละตัวอักษร ต่างแซ่ต่างประพันธ์ขึ้นเอง ไม่สามารถเปรียบเที่ยบกันได้ (หากใกล้หมดคำกลอน เขาจะมีการประพันธ์ต่อให้ใช้กันทั้งตระกูลของตน)  ซึ่งคนบางตระกูล ก็เลือกใช้จำตัวเลขลำดับชั้นต่อๆกันไปก็มี และก็มีไม่น้อยที่นิยมใช้ชื่อปุ้ยมาประกอบกับชื่อลูก

หงัยเซี่ยงฉี

ผมเพิ่งจะรู้ครับว่ารุ่รผมเขาเรียกเฮี้ยนจื้อปุ้ย

เพราะอาป๊าหยังวุ่ยจื้อปุ้ยเหมือนกัน

รูปภาพของ tonkla

ชอบคำว่าปุ้ย

มาอ่านแล้วทั้งได้สาระ และไม่ได้สาระแบบว่าจินตนาการขึ้นเอง สรุปว่าชอบทุกปุ้ยเลย จริงๆนะคะ ชอบจังคำว่าปุ้ย คำนี้ดีเนอะ

เหมียงจื้อปุ้ยครับ

ผมก็เหมียงจื้อปุ้ย เพราะว่าป๊าผมเขาถ่อยจื้อปุ้ย ตอนผมเกิดมาก็เป็นอาสุกคนอื่นแล้วครับ ถ้าป๊ายังอยู่เขาให้ผมเรียก ลูกชายของลูกพี่ลูกน้องผม แบบให้เรียกชื่อเฉยๆทั้งๆที่แก่กว่าผมเป็น10ปี แต่ผมก็แอบเรียกโก๊อยู่นะ ไม่กล้าเรียกชื่อเฉยๆ  

วุ่ยจื้อปุ้ยครับ

ตอนป๊าผมยังอยู่เคยตั้งชื่อจีนไว้ให้ผมว่า ฉีวุ่ยหลุ๋ง แต่ตัวท่านบอกว่าท่านชื่อ ฉีเหมียงฮับ  ตอนแรกผมยังไม่ค่อยเข้าใจเรื่องลำดับของ "ปุ้ย" ต่างๆ ของตระกูล ฉี จนกระทั่ง มาพบ Web ฮากกา สมัคเป็นสมาชิกและได้รู้เรื่องราวของต้นน้ำ ขอขอบคุณ Web Master และสมาคม ฮากกามากๆ ครับ

รูปภาพของ อาฉี

ยินดีครับอาหลุ๋ง

พอทราบไหมว่า อากุงมาจากหมู่บ้านไหน เผื่อเป็นละแวกเดียวกัน

อากง,อาม่า มาจาฟุงสุ่นครับ

ผมเจอก้อกวงลูกอาซัมปัก ท่านบอกว่า ต้นตระกูลมาจากฟุงสุ่น (ตั๊กกัง) ครับ

รูปภาพของ อาฉี

ท๊องคังเหมือนกัน

เซี่ยงฉีเป็นสกุลใหญ่ในตำบลทองคลังที่มีหลายหมู่บ้าน 

อาปาไหง ปูแถวฉ่ายหงิน ถ้ามีโอกาสน่าไปเยือนศาลบรรพชนอีก คงได้พบคนรุ่นลูกหลานทางโน้น ที่ลำดับชั้นใกล้เคียงกัน ที่ยังเหลืออยู่ และสามารถลำดับญาติกันได้อยู่นะ

 

 

 

 

 

 

ขอขอบคุณที่ลงภาพหมู่บ้านตระกูล ฉี มาให้ดูครับ

ขอบคุณภาพต่างๆมากครับดูแล้วรู้สึก..ผูกพันธ์..มากครับ

ท๊องคัง...กับ..ตั๊กกัง ที่เดียวกันใช่ใหม่ครับ

ทราบแต่ว่าอากงเซี่ยงฉี..อาม่าเซี่ยงผุ่ง..เดินทางมาครั้งแรกก็มาทำทอผ้าแถวสะพานอ่อนปทุมวัน..หรือแถวเชียงกงตอนนี้อะครับตอนนั้นเตี่ยผมกับลุงๆ ก็เรียนภาษาจีนแถวบ้วยตง..ละแวกวัดดวงแขครับ

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal