หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

มาเรียนภาษามลายูไปพร้อมๆกันกับไหง่เถอะ

รูปภาพของ วี่ฟัด

เมื่อวันที่ 3 กันยายนนี้ได้มีโอกาศไปเยี่ยมลุงฉัตรธรรม ศิกษกวรกุล อายุ 90 แล้วครับ คุณลุงเขาจบเกษตรรุ่นหลังศาตราจารย์ดอกเตอร์ระพี ศาคริกแค่ปีสองปี ปริญญาโทมหาวิทยาลัยกิวชิว ประเทศญี่ปุ่น เคยทำงานให้หน่วยงานสหประชาชาติ ( undp )ในประเทศมาเลเซีย ร่วม 20 ปี หลังจากนั้นรัฐบาลมาเลเซียได้ขอตัวมาทำงานด้านการข่าวในสมัยที่ต้องต่อสู้กับโจรจีนมาลายาอีกร่วม 10 ปี คุณลุงเขาจึงรู้เรื่องการต่อสู้ระหว่างรัฐบาลมาเลเซียกับการต่อสู้กับโจรจีนมาลายาดี นอกจากนี้ทำให้คุณลุงยังเป็นคนไทยที่รู้ภาษามาลายูดีที่สุดคนหนึ่ง 

หลังจากที่ไหง่ไม่ได้ไปเยี่ยมคุณลุงร่วมสองปีเมื่อวันที่ 3 กันยาจึงไปเยี่ยมคุณลุงอีกที่นครปฐมโดยไม่แน่ใจว่ายังมีขีวิตอยู่หรือไม่เพราะรู้ว่าแกอายุร่วม 90 ปีแล้ว ปรากฏว่าแกยังแข็งแรงดียังขับรถไปใหนมาใหนได้ แล้วคุณลุงยังมอบหนังสือภาษามาลายูที่แกเขียนเองมาให้ไหง่สองเล่ม ใหนๆก็ใหนๆแล้ว เรามาเรียนพร้อมๆกันเลยดีกว่า โดยไหง่จะลงเป็นตอน

ภาษามาลายูเป็นภาษาที่ไม่มีตัวอักษรเขียน ในสมัยศรีวิชัยเคยใช้ตัวอักษรสันสกฤษเขียน ต่อมาเมื่อมาเลเซียมาเปลี่ยนเป็นมุสลิมโดยคนอินเดีนในราชวงศ์โมกุลจึงใชัอักษรอาหรับเขียนที่เราเรียกว่าอักษรยาวี ( yawi) ต่อมาเมื่อประเทศมาเลเซียอยู่ในปกครองของอังกฤษจึงหันมาใช้อักษรโรมันเขียนหรือที่เรียกว่า  อักษรรูมี ( rumi )

ตามบทเรียนต่อไปนี้จะใช้อักษรรูมี ( rumi ) ในการเขียนภาษามลายู มาเรียนพร้อมกันกับไหง่ครับไท้กา

บทที่ 1 สละในภาษามลายู

ในภาษามลายูมีสละอยู่ 6 ตัว

1.  A: ออกเสียง " อา " เช่น :-

saya อ่านว่า  ซา-ยา = ฉัน , ดิฉัน , ผม , กระผม , ข้าพเจ้า

Mata อ่านว่า มา-ตา = ดวงตา

kaya อ่านว่า กา-ยา = ร่ำรวย

2  E ( taling ) : ออกเสียง " เอ " หรือ " แอ " เช่น:-

meja  อ่านว่า เม-ยา หรือ แม-ยา = โต๊ะ

sewa อ่านว่า เซ-วา = ให้เช่า , รับจ้าง

( เป็นสละเสียงเปิด เสียงยาว )

3. E ( pepet  ) :  ออกเสียง " เออ " สั้นและเบาเช่น:-

kera อ่านว่า เกอ-ร่า หรืออาจได้ยินเป็น กว่า = ลิง

mesyuarat อ่านว่า เมอ-ซู-วะ-รัตหรือ มซัวรัต= การประชุม

peta - เปอ-ตา     = แผนที่

4. I : ออกเสียงเป็น " อิ " " อี " เช่น :-

pipi อ่านว่า ปิ-ปิ = แก้ม

biji      "      บิ-ยี = เมล็ด

kiri     "       กิ-รี  = ซ้าย

ในกรณีที่มีตัวสะกดตามหลัง I ให้เปลี่ยนเสียงเป็น " เอะ " หรือ " เอ " เช่น

bilik  อ่านว่า บี-เละก์ = ห้อง

kambing "    กัม-เบง  = แพะ

5. O: ออกเสียง " โอ " เช่น:-

bola อ่านว่า โบ-ล่า  = ลูกบอล

roti อ่านว่า โร-ตี  = ขนมปัง

topi  "        โต-ปิ  = หมวก

6. U : ออกเสียง "อุ " หรือ " อู " หรืออาจออกเสียง" โอ " เมื่อมีตัวสะกตตตาามเช่น  :-

susu อ่านว่า ซู-ซู = น้ำนม

buku     "       บู-กู   = หนังสือ

guru      "        กู-รู    = ครู

 

 


รูปภาพของ วี่ฟัด

เรียน Bahasa Malaysia ( ต่อ )

การออกเสียงสระเปลี่ยนไปเมื่อมีตัวสะกด ( ข้อยกเว้น )

sayap อ่าน ซา-ญัป       = ปีก

padang "      ปา- ดัง     = ที่ราบ

(  padang besar - ปาดัง เบอร์ซาร์  = ชื่อเมืองชายแดนไทยมาเลเซีย แปลว่าที่ราบใหญ่ )

merah อ่าน เม-ระห์    = สีแดง

dewi      "     เด-วี       = นางฟ้า

dewa    "      เด-วา     = เทวดา

parang  "     ปา-รัง     = สงคราม

ketam    "     เกอ- ตัม  = ปู

pipit       "      ปี-ปิด      = นกกระจอก

kikis       "       กี-กิส     = ขูด

lompat  "       โลมปัส  = กระโดด

tongkat "       ตง-กัต    = ไม้เท้า

kasut     "       กา-ซุ่ต    = รองเท้า

rumput  "        รุม-ปุต    =  หญ้า

 

สระควบ ( diftong )

ai ออกเสียง " ไอ "   เช่น :-

misai    อ่าน มี-ไซ      = หนวด

pantai     "    ปัน-ไต    = หาดทรายชายทะเล

tupai       "     ตู-ไป      = กระรอก

 

au อ่านออกเสียง " เอา " เช่น :-

kerbau  อ่าน เกอร์- เบา   = ควาย

hijau        "       ฮิ-เยา       = สีเขียว

pisau       "        ปี-เซา      = มีดสั้น

 

oi  ออกเสียง " โอย "   เช่น:-

kaloi   อ่าน  กา-โลย   = ชื่อปลาชนิดหนึ่ง

amboi   "     อัม-โบย   = โอย ( คำอุทาน )

tampou "     ตัม- โปย  = ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง 

รูปภาพของ วี่ฟัด

ขอทำความเข้าใจ

เป็นอย่างไรไท้กาการเรียนภาษามลายู ยังมีอีกเยอะคงเขียนลอกตำราไปเรื่อยๆกว่าจะจบคงเป็นปี ทางคุณลุงคนแต่งตำราท่านยินดีจะเผยแพร่อยู่แล้ว เพราะตอนนี้ท่าน 90 แล้ว ท่านจึงหวังว่าจะเป็นวิทยาทาน ถ้าการลงการสอนภาษาของไหง่เป็นแรงบันดาลใจให้มีการเรียนภาษาอื่นๆต่อๆไปคงจะดีมาก ใครที่คิดว่าการเรียนรู้ภาษาแค่ภาษาเดียวพอ เพื่อเอาสมองตนไปคิดอย่างอื่นๆนั้นเป็นความคิดที่เหลวไหลที่สุดและเปนการดูถูกสมองตนเอง เพราะนี่คือข้ออ้างของคนที่ไม่เอาใหน การเรียนรู้ภาษายิ่งเยอะยิ่งดี เพราะจะทำให้เกิดความเข้าใจในมิตรไมตรีจิตรกันระหว่างชาติ

คุณลุงเขาฝากมาอีกอย่างหนึ่งว่าภาษามลายูของท่านเป็นภาษามลายูที่เป็นภาษามาตรฐานในประเทศมาเลเซียซึ่งสำเนียงจะแตกต่างกับภาษามลายูในสามจังหวัดภาคใต้ เพราะคนมาเลเซียเขาเรียกภาษามลายูในสามจังหวัดว่าภาษามลายูเพี้ยน เสียง a แทนที่จะออกเป็นเสียง " อา " กลับออกเป็นเสียง " ออ " เช่นคำว่า " อารีรายา " ทางสามจังหวัดออกเสียงว่า " อารีรายอ " คุณลุงฉัตรธรรมจึงขอฝากมาด้วยครับ

蔡伟发 

รูปภาพของ วี่ฟัด

ภาษามลายูตอน พยัญชนะ the consonant

                 พยัญชนะ / The consonant

                  โดยทั่วไปการออกเสียงพยัญชนะภาษามลายูก็เช่นเดียวกับภาษาอังกฤษทั่วๆไป แต่มีบางพยัญชนะที่ออกเสียงแตกต่างออกไป เช่น :-

                    C : ออกเสียง จ. ( ภาษามลายูไม่ใช้ Ch )     เช่น:-

                           cuci        อ่าน     จู-จี               = ทำความสะอาด

                           camca       "        จัม-จา          = ช้อนตักอาหาร

 

                     G : ออกเสียง ก. เท่านั้น    เช่น:-

                             gagak      อ่าน    กา-กะก์                = อีกา

                             gunung     "       กู- นุง                  = ภูเขา

                              gigi            "       กี-กี                    = ฟัน

 

                        H ออกเสียง " ฮ "  อย่างชัดเจนและหนักแน่นเมื่อเป็นอักษรตัวแรกของพยางค์ เช่น :-

                             hidung     อ่าน      ฮี-ดง         =      จมูก

                              haus          "         ฮา-อูล      =      กระหายน้ำ

                              helai           "          เฮ-ไล      =      แผ่นชิ้น

                              hubaya       "         ฮู-บา-ยา    =    ระวัง

                          

รูปภาพของ วี่ฟัด

ภาษามลายูศึกษา ตอนพยัญชนะ ( ต่อ )

       K: ออกเสียง " ก " แต่เมื่ออยู่ท้ายคำจะไม่ออกเสียงแต่เป็นการสกัดคำให้เสียงสั้นและหนกัแน่นขึ้น   เช่น  :-

           kakak ( กา-กะก์)    = พี่สาว

           Kenal ( เกอ-นัล)    = รู้จัก

           budak ( บู-ดะก์)     = เด็ก

           perak  ( เป-ระก์)    = เงิน (โลหะ)

            tarik   ( ตา-เระก์)  = ดึง

            rokok ( โร-โกะก์) = บุหรี่

        R: ออกเสียง " ร"  เมื่ออยู่ท้ายคำต้องออกเสียงด้วยเช่น:-

             kertas ( เกอรฺ-ตัส)    = กระดาษ

             harta   ( ฮารฺ-ต้า )     = ทรัพย์สิน

             derma (เดอรฺ-มา)     = ของขวัญ

             lapar   ( ลา-ปารฺ)      = หิว

             pasir   ( ปา-เซรฺ)      = ทราย

             telur    ( เตอ-ลัวรฺ)    = ไข่

          NG : ออกเสียง  " ง" เช่น :-

              ngaum ( งา-อูม)   = คำราม

              ngeri  ( เงอ-รี)      = หวาดกลัว

              ngiang ( เงียง)     = เสียงพึมพำ

       NY : ออกเสียง " ญ " เช่น :-

              nyanyi  ( ญา- ญั )     = ร้องเพลง

              nyiwa   ( ญี-วา  )       = ชีวิต

              nyiur    ( ญั-โยร์)       = มะพร้าว

         SY: ออกเสียง " ญ " เช่น :-

               syah ( ชะห์ )  = กษัตริย์

               syarikat (ชา-ริ-กัต) = บริษัท

                syak ( ชะก์ )        = สงสัย

          KH: ออกเสียง " ค " เช่น:-

                khabar(คา-บาร์)    = ข่าว

                ikhlas ( อิค-ลัส)   = จริงใจ

                tawarikh ( ตา-วา-เระค์)  = ประวัติศาสตร์

 

รูปภาพของ wansa

ขอบคุณ

ขอบคุณที่แบ่งปัน  ความรู้เรื่องภาษามาลายู

รูปภาพของ วี่ฟัด

ดีใจที่มีคนเห็นความสำคัญ

ช่วงนี้สิ่งที่ไหง่เอียนมากที่สุดคืออะไรๆก็ AEC ไม่รู้ว่ามันจะบ้า aec ห่าเหวกันไปถึงใหน ไหง่เลยไม่เอ่ยถึง  aec เลย การที่รู้ภาษาใดภาษาหนึ่งเพิ่มเติมอีกหนึ่งภาษาสองภาษานั้นก็ดีอยู่แล้วไม่มีความจำเป็นที่จะต้องให้ aec มาเป็นตัวกำหนดบ้าๆบอๆให้กับเรา ที่จริงไหง่สนใจหลายภาษา เจอพวกพม่ามานับสิบปี ทักทายพวกมันทุกวัน " ทมินซาบาบิหละ " ตอนแรกคิดว่าจะศึกษาภาษาพม่าเหมือนกันแต่พอเจอไวยากรณ์พม่าแล้วต้องถอดใจ เพราะภาษาพม่ามันเอากรรมขึ้นก่อนแล้วตามด้วยประธานกริยานะครับ ( กรรม + ประธาน+ กิริยา ) คงงงพิลึก แบบ " ทมินซา " กินข้าว นี่ภาษาพม่า ทมินนี่แปลว่าข้าว ซาแปลว่ากินนะครับ จะเห็นได้ว่ามันวางรูปประโยคเป็น  กรรม + กริยา ( คล้ายๆภาษาบาลีที่มีวิภัฏ ปัจจัย ) เลยต้องถอดใจมาเรียนภาษามลายู ที่รูปแบบการเรียงประโยคเหมือนภาษาไทย ภาษาจีน

รูปภาพของ วี่ฟัด

BAHASA มลายู ( ต่อ ) จ๊ะ

คำสรรพนาม kata kanti Nama

saya ( ซา- ญา )       = ฉัน

beta ( เบ - ตา )         = ข้าพเจ้า ( คำราชาศัพท์ )

hamba(ฮัม - บา )     = บ่าว ( ใช้กับผู้เป็นเจ้านาย )

aku( อา-กู )  ku (กู)    = กู 

anda ( อัน - ดา )          = คุณ ( คำสุภาพ )

engkau ( เอิง - เกา )  kau ( เกา )   = เอ็ง ( ใช้กับเพื่อนหรือผู้มีระดับต่ำกว่า )

kamu ( กา - มู )             = แก พวกแก ( ใช้กับคนที่มีระดับต่ำกว่า)

mereka ( เมอ - เร - กา )   = พวกเขา

kami (  กา - มี )               = เรา ( ไม่รวมผู้ฟัง )

kita ( กี- ตา )                   = เรา ( รวมผู้ฟัง )

awak ( อา - วะก์ )          = แก ( ใช้กับคนระดับเดียวกัน) 

 

รูปภาพของ วี่ฟัด

ภาษามลายู : ตอนการแสดงความเป็นเจ้าของ

         ภาษามลายูนี่มีหลักไวยากรณ์แสดงความเป็นเจ้าของที่ง่ายและไม่ซับซ้อนอะไรเลย ง่ายกว่าภาษาไทย ภาษาจีนเสียอีก เช่น :-

            buku saya  ( บูกู - ซาญา )    = หนังสือของฉัน

            buku beta   ( บูกู - เบตา )     = หนังสือของข้าพเจ้า

            buku aku     ( บูกู - อากู  )     = หนังสือของกู

            buku anda    ( บูกู - อันดา )   = หนังสือของคุณ

            buku engkau ( บูกู - เอิงเกา ) = หนังสือของเอ็ง

            buku kamu    ( บูกู - คามู )     = หนังสือของพวกแก

            buku kami     ( บูกู - กามี )       = หนังสือของเรา ( ไม่รวมผู้ฟัง )

            buku kita       ( บูกู - กีตา )       = หนังสือของพวกเรา ( รวมทั้งผู้ฟังด้วย )

            buku awak     ( บูกู - อาวะห์ )    = หนังสือของแก

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal