หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

-ค- มิ่งมงคล ร้อยรัดคติจีน 3 คติจีน

รูปภาพของ เฉินซิ่วเชง

-ค- มิ่งมงคล ร้อยรัดคติจีน 3

นานาสาระมิ่งมงคล ร้อยรัดคติจีน 3 ตามด้วยอักษร -ค- คติจีน

แหล่งเรียนรู้แบบจีนๆหวังว่าคงจะให้ข้อคิดที่ดีๆ แด่ท่านผู้อ่าน

จากวิถีชีวิตการดำเนินชีวิตจะสอดคล้องกับวิถีแบบพุทธ

www.amulet.in.th/forums/view_topic.php?t=231

ฮก ลก ซิ่ว กับตำนานและความหมายแห่งเทพเจ้า ฮก ลก ซิ่วเป็นสัญลักษณ์แทนเทพเจ้า หรือ เซียน ทั้ง 3 ของจีน ในกระบวนโป๊ยเซียน หรือผู้สำเร็จทั้งแปด นับเป็น สุดยอดมงคล แห่งการอวยพร ฝู (ภาษาจีนกลาง) หรือ ฮก(ในภาษาแต้จิ๋ว)หมายถึง บุญวาสนา อำนาจ เกียรติยศ

ลักษณะของฮก เป็นรูปขุนนางจีนสวมหมวก มีใบพูกางออกไปสองข้าง มือถือคธายู่อี่ ซึ่งเป็นคธา แห่งความสมปรารถนา มีพาหนะ คือ ค้างคาวเหตุที่เป็น ค้างคาว เนื่องจากเป็นสัตว์สี่เท้าแต่มีปีก เป็นสัตว์ที่ ไม่รู้จักลงยังแผ่นดินเหมือนนกทั้งปวงจึงเป็นที่หมาย แห่งวาสนา

ลู่ (ภาษาจีนกลาง)หรือ หลก(ในภาษาแต้จิ๋ว) หมายถึง โชคลาภและความมั่งคั่ง บริบูรณ์ด้วยโภคสมบัติ คือ ประกอบพร้อมด้วยเครื่องอุปโภค บริโภค แก้ว แหวนเงินทอง และบริบูรณ์ด้วยบริวารสมบัติ มีบุตร ภรรยา ญาติมิตร คนใช้สอย เป็นต้น

ลักษณะของลก เป็นรูปเศรษฐี สวมหมวกมีเส้าข้างหลังสูง มีผ้าคลุมลงไปเบื้องหลัง แสดงโภคสมบัติ มือหนึ่งอุ้มเด็ก แสดง ถึงบริวาร สมบัติ นิยมให้เป็นเด็กผู้ชาย เพราะหมายถึงการสืบต่อวงศ์ตระกูล มีพาหนะ คือ กวางดาว ซึ่ง ดวงดาวบนตัวกวางคล้ายกับอีแปะจีน แสดงถึง โภคสมบัติ

โซ่ว (ภาษาจีนกลาง)หรือ ซิ่ว (ในภาษาแต้จิ๋ว) หมายถึงอายุยืน ลักษณะของซิ่วเป็นรูปชายชราหน้าตาใจดี หนวดเครายาวสีขาว มือหนึ่งถือไม้เท้า อีกมือ หนึ่งถือผลท้อ ซึ่งเป็นผลไม้แห่งความยั่งยืนและมักจะ มีนกกระเรียนขาวอยู่ข้างกาย มีพาหนะ คือ นกดำ เพราะเป็นสัตว์ที่ไม่มีผู้ใดเห็นตายอยู่ในที่แห่งใด เช่นกับเราพูดกันอยู่ว่า กาไม่รู้จัก ตาย นอกจากมีผู้ทำอันตราย เพราะไม่ได้เห็นศพกาตายอยู่ในที่แห่งใด

การแสดงออกใช้เป็นสัญลักษณ์ในรูปแบบต่าง ๆ กันคือ แสดงออก โดยรูปมนุษย์ คือรูป ฮก ลก ซิ่ว ที่พบเห็นได้ทั่วไป แสดงออกโดยรูปสัตว์ เช่น ฮกในรูปค้างคาว ลกในรูป กวางดาว และซิ่วในรูปนกกระเรียน

แสดงออกโดยเครื่องประดับทองฟ้า เช่น ดวงดาว พระอาทิตย์ พระจันทร์ เมฆ แสดงออกโดยพฤกษาชาติและบุปผชาติ การแสดงออกของ ฮก ลง ซิ่ว มีนัยเกี่ยวกับการอวยพร อันเป็น มงคล

ดังนั้นสัญลักษณ์ทั้งหลายที่แสดงออกมาจึงเรียกว่า เครื่องมงคลแบบจีน เครื่องมงคลแบบจีนแบ่งตามหมวด ฮก ลก และซิ่ว ฮก ความสุขสมหวังดังใจปรารถนา ยู่อี้ คือคฑาวิเศษ เป็นของพระราชทานแก่ขุนนางและพระชั้นผู้ใหญ่ เพื่อแสดงถึงอำนาจวาสนากล่าวว่า สามารถขอพรศักดิ์ สิทธิ์ จากคฑานี้ได้

ดอกพุดตานหรือโบตั๋นเป็นราชาแห่งดอกไม้ เพราะเมื่อปลูกที่ใดไม้อื่น จะโน้มเข้าหาแสดงถึงอำนาจวาสนา ดอกบัวหรือพุดตานน้ำเป็นราชาแห่งไม้น้ำ เป็นดอกไม้พิเศษที่สะอาด บริสุทธิ์ มีประโยชน์ทั้งต้น และบานได้โดยอาศัยแสงจันทร์ ในขณะที่ดอกไม้อื่นบานโดยแสงอาทิตย์

ส้มมือ มี รูปร่างมีสัณฐานเหมือนมือพระโพธิสัตว์ แสดงถึงความมีโชค สิงโต เป็นสัตว์ ที่มีนัยแสดงถึงอำนาจเป็นที่รู้จัก แพร่หลาย

นกยูง เป็นสัญลักษณ์ของพระอาทิตย์เพราะแววหางของนกยูง เหมือนแสง อาทิตย์ และ ความสง่างามของนกยูง มีความหมายถึงอำนาจวาสนา ค้างคาว เป็นสัตว์ที่ไม่รู้จักลงดิน แสดงถึงวาสนา พระอาทิตย์ มี อานุภาพ ให้แสงสว่าง ให้ชีวิต เป็นเครื่องหมายของอำนาจ โป๊ยเซียน 八仙 พระอาทิตย์ มี อานุภาพ ให้แสงสว่าง ให้ชีวิต ให้อำนาจ

www.phuketvegetarian.com/borad/data/5/0090-1.html

“โป๊ยเซียนข้ามทะเล” (八仙过海)

“โป๊ยเซียน” (八仙) เป็นการออกเสียงในสำเนียงแต้จิ๋วที่คนไทยคุ้นเคยกัน แต่ถ้าเป็นสำเนียงจีนกลางจะออกเสียงว่า

“ปาเซียน” คำว่า “ปา”(โป๊ย) หมายถึงเลข 8 ส่วน คำว่า “เซียน” ก็คือผู้วิเศษตามความเชื่อของจีน

คติความเชื่อเรื่องโป๊ยเซียนเป็นความเชื่อของลัทธิเต๋า ซึ่งเป็นกลุ่มเทพเจ้าที่นิยมนับรวมกันทั้ง 8 องค์

ดูจะเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน สัญลักษณ์ของโป๊ยเซียนจะมีความหมายถึง

“ความสุข ความโชคดี และขออำนวยพรให้มีอายุยืนยาว”

สำหรับในวัฒนธรรมจีนแล้ว ภาพวาดและงานศิลปหัตถกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับ “โป๊ยเซียน” (八仙图)

และ “โป๊ยเซียนข้ามทะเล” (八仙过海) ดังนั้น เมื่อเห็นภาพโป๊ยเซียน ณ ที่ใด

นั้นก็คือสัญลักษณ์แทนความหมายถึงการอวยพรให้ท่านสุขสมหวังในชีวิต และมีอายุมั่นขวัญยืนนั้นเอง

ตำนานเกี่ยวกับโป๊ยเซียนนั้นมีอยู่หลายตำนาน แต่ละยุคแต่ละสมัยก็แตกต่างกันออกไป

มากบ้างน้อยบ้าง บันทึกเก่าแก่เกี่ยวกับโป๊ยเซียนว่ากันว่า มีมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก หรือ ซีฮั่น

มีปรากฏอยู่ในบทบันทึก “หวายหนานจื่อ” (潍南子) ของหลิวอัน (刘安)และเรียกเซียนทั้งแปดว่า “ปากง”(八公)

ซึ่งเป็นเทพเซียนที่มุ่งแสวงหายาอายุวัฒนะ และได้บำเพ็ญเพียรจนกระทั้งสำเร็จกลายเป็นเซียน

บันทึก “ซวี่เซียนจ้วน” (续仙传)ของเสิ่นเฟิ่น (沈汾) สมัยหนานถัง รวมทั้งบทบันทึก

“หนานถังซู” (南唐书) ของลู่อิ๋ว (陆游) ต่างก็มีข้อความเล่าเรื่องโป๊ยเซียน ในสมัย 5 ราชวงศ์

หรือ อู่ไต้ มีปรากฏภาพวาดของนักพรตจิตรกรผู้เขียนภาพชื่อ “แปดเซียนแห่งภูเขาลู่ซาน” (蜀中八仙)

ซึ่งบุคคลในภาพแม้เรียกว่าแปดเซียน (โป๊ยเซียน) แต่ทว่า กลับมีชื่อเสียงเรียงนามไม่เหมือนกับโป๊ยเซียนในปัจจุบัน

ที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันดี ชื่อของโป๊ยเซียนในสมัยห้าราชวงศ์นั้นได้แก่ หยงเฉิงกง (容成公) ,

หลีเอ่อ (李耳), ต่งจ้งซู (董仲舒) , จางเต้าหลิง (张道陵) , เอี๋ยนจวินผิง (严君平),

หลี่ปาไป่ (李八百) , ฟั่นฉางเซิง (范长生) และ จูเซียนเซิง (朱先生) จวบจนกระทั้งถึงสมัย ราชวงศ์หมิง อู๋หยวนไท้(吴元泰)

 

ได้ประพันธ์บันทึกตำนานเรียกว่า “แปดเซียนออกท่องทะเลตะวันออก” (八仙出处东游记) เรียกกันย่อ ๆ ว่า “ท่องตะวันออก” (东游记) ทำให้นับตั้งแต่นั้นมา ชื่อของเซียนทั้งแปด

(โป๊ยเซียน) ถึงได้บทสรุปที่ตรง กันกับคำเรียกในทุกวันนี้และยังได้สืบทอดต่อ ๆ กันมากว่า 500 ปี โดยได้ยึดเอาแบบฉบับชื่อเรียกของโป๊ยเซียนตามแบบของอู๋หยวนไท้เป็นบรรทัดฐานสืบเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

 

โป๊ยเซียน (แปดเซียน) ประกอบไปด้วย

 

1. จงหลีเฉวียน (หั่งเจ็งลี้)

2. หลีเถียไกว่ (ลี้ทิไกว้)

3. จางกั่วเหลา (เตียก้วยเล่า)

4. หลี่ว์ต้งปิน (ลื่อตั่งปิง)

5. เฉากว๋อจิ้ว (เชาก๊กกู๋)

6. หันเซียงจื่อ (ฮั่งเซียงจื้อ)

7. เหอเซียนกู (ฮ้อเซียนโกว)

8. หลันไฉ่เหอ (น้าไช่ฮั้ว)

 

หมายเหตุ ชื่อในวงเล็บเป็นชื่อในสำเนียงแต้จิ๋ว ที่คนไทยคุ้นเคยกันมากกว่า ความเชื่อความศรัทธาในโป๊ยเซียนนั้น แม้ว่าเซียนทั้งแปดจะจัดอยู่ในลัทธิเต๋า แต่ในวัฒนธรรมจีนได้ผสมผสานกลมกลืนเซียนฝ่ายเต๋ากับเทพฝ่ายพุทธ (มหายาน) รวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจนแยกไม่ออก อีกทั้งนานวันเข้า โป๊ยเซียนก็ได้กลายมาเป็น “สัญลักษณ์”ของความเป็นสิริมงคล กลายเป็นสัญลักษณ์ของการอำนวยพรวันเกิดไปในที่สุด อนึ่ง ในวัฒนธรรมมงคลของประเทศญี่ปุ่นก็มีความเชื่อเรื่องโป๊ยเซียน เช่นเดียวกัน แต่ทางญี่ปุ่นจะมีเพียง 7 องค์เรียกว่า “ฉิชิฟุคุจิน” (七福神) ประกอบไปด้วย เอบิสุ, ไดโรกุ, บิซามอน, เบ็นเท็น, ฟุกุโรจะกุจู, โฮเทอิ และจูโระจิน และยังนิยมภาพอวยพรแบบญี่ปุ่น “เจ็ดเซียนนั่งเรือวิเศษ” คล้ายกับ “แปดเซียนข้ามทะเล”ของจีนอีกด้วย นับเป็นอีกมิติวัฒนธรรมตะวันออกระหว่างศาสนาและ ความศรัทธาที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งนอกจากนี้ รูปสัญลักษณ์ของโป๊ยเซียน ยังสามารถใช้ภาพของวิเศษทั้งแปดอย่างเป็นสัญลักษณ์แทนตัวโป๊ยเซียนได้เช่นกัน สัญลักษณ์ทั้งแปดอย่างนี้เป็นของใช้หรืออาวุธประจำตัวของเซียนทั้งแปดที่เรียกกันว่า “ปาเป่า” (八宝) หรือ “อั้นปาเป่า” (暗八宝) แปลว่า ของวิเศษ 8 ชนิดของโป๊ยเซียน ซึ่งถือกันว่าเป็นของสิริมงคลที่สามารถขจัดสิ่งชั่วร้ายและภูตผีปีศาจ อ้างอิงจาก : หนังสือ 108 ลัญลักษณ์จีน – ปิยะแสง จันทรวงศไพศาล

www.numtan.com/story_2/view.php?id=67

 

สิ่งมงคลตามแบบคติจีน

 

มังกรจีนตามแบบคติจีน

www.forlayman.com

มังกรทอง ของชาวจีนเป็นตัวแทนขององค์จักรพรรดิ

เป็นสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ เจริญรุ่งเรือง และความมีอำนาจ

ดังนั้นจึงถือเป็นสัตว์ที่เป็น มงคล ถ้าได้พบเห็น หรือเยี่ยมกรายผ่านบ้านใคร

ถือได้ว่าเสมือนได้รับพรจากมังกร คนจีนเชื่อกันว่า ฝูงชี บรรพบุรุษของชาวฮั่นในตำนานเป็นลูกของมังกร จีนจึงถือว่าตนเป็นลูกหลานของมังกร

ถ้ามองอีกแง่หนึ่งตามตำนานมังกรเป็นผู้ให้น้ำแก่โลกมนุษย์

ซึ่งน้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการที่จะทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์

จึงอาจถือได้ว่ามังกรเป็น ผู้ที่นำความอุดมสมบูรณ์มาให้ก็ได้

การจัดแห่มังกรทองจะทำได้ต่อเมื่อท้องถิ่นนั้นมีแม่น้ำมีภูเขา และเป็นเมืองใหญ่เท่านั้น

 

เทพประจำทิศทั้งสี่ในคติจีน

 

นับแต่โบราณกาล ชาวจีนได้มอบน่านฟ้าทั้งสี่ทิศไว้ภายใต้การคุ้มครองของสัตว์เทพทั้งสี่ อันได้แก่ มังกร เขียว เสือขาว หงส์แดง และเต่าดำ ดังคำกล่าวที่ ว่า “ซ้ายมังกรเขียว ขวาเสือขาวครอง หงส์แดงนำหน้า เต่าดำ สถิตยังเบื้องหลัง” พัฒนาการของแนวคิดความเชื่อดังกล่าว มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับ ศาสตร์พยากรณ์และ คติความเชื่อในลัทธิเต๋าของ ชาวจีนที่สืบทอดมานานนับพันปี ชาวจีนโบราณแบ่งท้องฟ้า ออกเป็น 4 ส่วน คือ ตะวันออก ตก เหนือและใต้ จากการสังเกตหมู่ดาวบนท้องฟ้า จับกลุ่มทิศทางการเรียงตัวของหมู่ดาวเทียบ เข้ากับ ลักษณะของคน สัตว์หรือรูปลักษณ์ในตำนานตามความเชื่อของตน โดยให้ทิศตะวันออกแทนกลุ่มดาวมังกรเขียว (จากตำนานการปรากฏขึ้นของ จักรพรรดิเหลืองทางทิศตะวันออก) ตะวันตกแทนกลุ่มดาวเสือขาว ทิศใต้แทน กลุ่มดาวหงส์แดงและทิศเหนือ แทนกลุ่มดาวเต่าดำ แต่ละทิศครองดาว 7 ดวง (รวม 28 ดวง) ภายในสุสานยุคจั้น กั๋ว (ราว 433 ปีก่อนคริสตศักราช) แห่งหนึ่งในมณฑลหูเป่ย ได้มีการขุดพบภาพวาดของหมู่ดาว 28 ดวงกับ มังกรเขียวและเสือขาวบนฝา ของภาชนะเคลือบใบหนึ่ง ซึ่งบอกเราว่า การกำหนดเรียกหมู่ดาวบนท้องฟ้า ได้เกิดขึ้น ก่อนหน้าเวลานี้อีกนานนัก สัตว์เทพทั้งสี่ต่างยึด ครองน่านฟ้าทั้งสี่ทิศ กลายเป็นตัวแทนของทิศทั้งสี่ จนกระทั่ง การศึกษาว่าด้วยศาสตร์แห่งธาตุทั้งห้า และภูมิพยากรณ์ (ฮวงจุ้ย อินหยาง เป็นต้น) เป็นที่แพร่หลาย สัตว์เทพ ทั้งสี่และดวงดาวทั้ง 28 เป็นที่รู้จักในฐานะของ “เทพเจ้าผู้พิทักษ์” ตำหนักและสิ่งปลูกสร้างในวังหลวง ได้รับ การ ประดับตกแต่งเป็นลวดลายของสัตว์เทพทั้งสี่ ส่วนประตูทางทิศเหนือของวังหลวงมักได้ชื่อว่า ประตูเสวียนอู่ (เต่าดำ) เนื่องจาก หงส์แดง แทนสัญลักษณ์ของ ไฟ ขณะที่สถาปัตยกรรมโบราณของจีนล้วนแต่สร้างด้วยไม้ จึง มักไม่ปรากฏรูป แต่จะปรากฏในเชิงสัญลักษณ์อยู่บนกำแพง (ทาสีแดง)แทน เมื่อถึงสมัยฉินและฮั่น สัตว์เทพทั้ง สี่ก็เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปในฐานะตัวแทนของฤดูกาลและสีสันทั้ง สี่ ในช่วงเวลาดังกล่าว สัตว์เทพทั้งสี่ได้ปรากฏ ใน ศาสตร์วิทยาการของจีนหลากหลายสาขา อาทิ ดาราศาสตร์ และภูมิศาสตร์ และการทหาร ดังเช่น ในตำราพิชัยสงครามบทหนึ่ง ได้กล่าวถึงการกำหนดทิศทาง เดินทัพไว้ว่า “การเคลื่อนทัพนั้น ซ้ายเป็นมังกรเขียว ขวาเสือขาว ทัพหน้าคือหงส์แดงและเต่าดำคุมหลัง บัญชาการจากเบื้องบน นำปฏิบัติสู่เบื้องล่าง” เนื่อง จากผู้ คนในสมัยนั้นต่างคุ้นเคยกับตำแหน่ง ของสัตว์เทพทั้งสี่เป็นอย่าง ดี ภายหลังจึงได้รับการประยุกต์ให้กลายเป็น สัญลักษณ์ของธงนำทัพไป ต่อเมื่อศาสนาเต๋ารุ่งเรืองขึ้น มังกรเขียว เสือขาว หงส์แดงและเต่าดำในฐานะเทพเจ้าผู้ คุ้มครองมนุษย์ ต่างมีความสำคัญขึ้น ถูกยกให้มีความเป็นมนุษย์ยิ่ง ขึ้น ต่างมีชื่อเรียกเป็นมนุษย์ และต่อมาอีกไม่ นาน เทพเสวียนอู่หรือเต่าดำ ก็โดดเด่นขึ้นในฐานะของ “เจินอู่” ปรมาจารย์เต๋าผู้สำเร็จมรรคผล ส่วนหงส์แดง เป็น เทพที่มีบทบาทแยกออกมาเป็นเอกเทศ ขณะที่มังกรเขียวและเสือขาวกลายเป็นเทพทวารบาลผู้รักษาประตูทาง เข้าสู่มรรคา แห่งเต๋า

 

 

เสือขาว ประจำทิศตะวันตก สีขาว ธาตุทอง ฤดูใบไม้ร่วง

เสือ เป็นเจ้าแห่งสัตว์ป่าทั้งมวล เนื่องจากประจำทิศตะวันตก ธาตุทอง มีสีขาว จึงกลายเป็น เสือขาว

เป็นตัวแทนของอำนาจ บารมี ความ เคารพยำเกรงและการทหาร เนื่องจากเสือเป็นนักล่า กินเนื้อ ดังนั้น จึงมีภาพลักษณ์เป็นเทพเจ้าแห่งศึกสงครามและ การล่าสังหารอีกด้วย สถานที่หรือ ชัยภูมิในสมัยโบราณหากมีชื่อของเสือขาว จึงมักมีนัยสำคัญทางทหาร นอกจากนี้ ยังใช้ ในการตั้งชื่อหน่วยกำลังรบ และใช้เป็นตราสัญลักษณ์ในการบัญชาการเคลื่อนทัพ หรือสลักเป็นลวดลายคู่กับมังกรเขียวบนบาน ประตูทั้งสองข้าง เพื่อป้องกันสิ่งชั่วร้าย

 

มังกรเขียว ประจำทิศตะวันออก สีเขียว ธาตุไม้ ฤดูใบไม้ผลิ


ชาวจีนโบราณ ถือว่ามังกรเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจกษัตริย์ และเป็นสัตว์มงคลชนิดหนึ่ง นับตั้งแต่ยุคของจักรพรรดิ เหลืองเป็นต้นมา มังกรก็กลายเป็นตัวแทน ของผู้มีเชื้อสายจีนทั้งมวล โดยเฉพาะเมื่อถึงสมัยราชวงศ์ฮั่น ปรากฏภาพวาดและ ตำนานเกี่ยวกับหวงตี้หรือจักรพรรดิเหลืองที่ทรงมังกรเป็น พาหนะเหินบินสู่ฟ้า มังกรจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิผู้ยิ่งยงอีกด้วย ตำนานกล่าวว่า มังกรเขียว มีลำตัวเป็นงู หัวเป็นกิเลน หางเป็นปลา มีเครายาว มีเขา เท้าคล้ายกรงเล็บ รูปลักษณ์เป็น มังกรเหิน เปี่ยมด้วยพลังอำนาจ

post.jpg image by postja
ภาพจาก: board.palungjit.com/

ความหมายสิริมงคลของหงส์

หงส์ของจีนเป็นสัญลักษณ์แห่งดวงอาทิตย์และความอบอุ่นสำหรับฤดูร้อนและฤดู
เก็บเกี่ยวพืชไร่ และเป็นเครื่องหมายที่คุณงามความดี ตามนิทานเล่าว่า หงส์มาปรากฏตัวในครั้งที่นักปราชญ์ขงจื๊อเกิดพอดี หงส์ได้กลาย เป็นส่วนร่วมของการทำพิธีเคารพบูชาระหว่างสมัยราชวงศ์ฮั่น และการกล่าวอ้างการมา เยือนของหงส์เกิดขึ้นบ่อยๆ เพื่อการที่ จะป่าวประกาศว่าการปกครองแผ่นดิน ในแต่ละรัชกาลนั้นประผลสำเร็จ ด้วยดี จึงมีคำกล่าวเกี่ยวกับหงส์หลายสำนวน เช่น หงส์สำแดงฤทธิ์เหมือนผู้นำมาซึ่งการเกิดอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์ หงส์จะลงสู่พื้นดินเพียงแต่เมื่อมีบางสิ่งที่แวดล้อมอยู่นั้นมีค่าพอ หงส์นำมาซึ่งความมั่งคั่งโภคทรัพย์ เมื่อหงส์ปรากฏโลกจะยินดีต่อสันติภาพอันยิ่งใหญ่ และสะดวกสบาย สัญลักษณ์ลักทธิ เต๋าคือ สัญลักษณ์หงส์เก้าตัวสำหรับทำลายล้างความสกปรก สัญลักษณ์งานมงคลสมรสหงส์คู่มังกร มีการจัดคู่สัตว์ที่แน่ นอนตามรูปแบบสัญลักษณ์ของความเป็นสิริมงคลในวัฒนธรรมจีนที่สำคัญที่สุดกว่าอะไรทั้งหมด คือ คู่ของมังกรกับหงส์พร้อมด้วย ไข่มุก ซึ่งจะเห็นบ่อยครั้งในบัตรเชิญแต่งงาน สิ่งสำคัญอย่างแท้จริงในสัญลักษณ์หงส์กับมังกรคือ "หงส์คู่มังกรขอให้มีโชคลาภ สถาพร" สาเหตุที่ใช้หงส์คู่มังกรในพิธีแต่งงานของชาวจีน คือ มังกรเป็นภาพสมมติให้เป็นสัญลักษณ์ของเพศชายผู้มีพลัง อำนาจ ขณะที่หงส์เป็นตัน แทนแห่งเพศหญิง อันถือเป็นการแสดงความเคารพต่อเจ้าบ่าวและเจ้าสาว ในการจับคู่เปรียบเทียบที่ได้จากหงส์และมังกรมี 5 ประการ คือ มังกร (ด้านซ้าย) หงส์ (ด้านขวา) ความรู้หรือความฉลาด ความงดงาม นิ่มนวล ประสบการณ์ เป็นธรรมชาติ การฝึกหัด มีเหตุผล ความสุขุม ความสามารถทางเสี่ยงโชค ความอดทน มีชีวิตอันควรเคารพ ลักษณะลวดลายหงส์

ภาพจาก: bbs.asiasoft.co.

 

1. หงเหี่ยงโบวตั่ว
ลวดลายหงส์กับดอกโบตั๋น คือ ชีวิตที่มีความสุข

2. แป๊ะเจี้ยวเชี่ยวหง
ลวดลายนกร้อยคาระวะหงส์ คือ ความรุ่งเรืองและความสุข

3-หล่วงหงห่วงเม้ง
ลวดลายหงส์ตัวผู้ และตัวเมียร้องเพลงด้วยกัน
คือ การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขนิยมใช้เป็น คำ อวยพรแด่คู่วิวาห์


4. เล้งหงกิ๊กเซี้ยง ลวดลายมังกรคู่กับหงส์ นิยมใช้เป็นคำอวยพร ให้คู่สมรส ให้ครองคู่อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

www.chinawudang.com

จบตอนอักษร ค (คติจีน)

10 พค.52

รวบรวมโดยเฉินซิ่วเชง


ที่มาของเทพทั้งแปด

อ่านบทความนี้แล้วทำให้รู้เกี่ยวกับเทพเจ้าของจีนนะค่ะ  แต่อยากจะเสนอแนะความคิด  หากสามารถถอดความหมายคำอ่านหรือชื่อเรียกของเทพเจ้า  ก็จะสามารถให้ผู้อ่านได้เรียนรู้ภาษาจีนกลางได้อีกอย่างหนึ่งด้วยนะค่ะ   ขอให้เขียนต่อไปนะค่ะ  เป็นกำลังใจให้คะ

ถ้ามีภาษา

ถ้ามีภาษาจีนกำกับด้วยก็ดีนะครับ

ขออนุญาตเผยแพร่นะครับ

ภาพงดงาม และรู้ความหมายด้วย

ขอบคุณที่นำบทความดี ๆ มาให้อ่าน

ปล.หากเป็นคำอ่านแต้จิ๋ว อยากรบกวนกำกับคำอ่านแคะด้วย จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งครับ 

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal