หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

รายละเอียดโครงการวิจัยฯ

โครงการวิจัย พลังภาษาและวัฒนธรรมในการส่งเสริมการถ่ายทอดภูมิปัญญาอย่างยั่งยืนผ่านชุมชนออนไลน์ : กรณีศึกษากลุ่มจีนฮากกา 


ดูเต็มจอ บันทึก/ดาวโหลดรายละเอียดงานวิจัยฯ คลิกที่นี่


รูปภาพของ วี่ฟัด

งานวิจัยของไหง่

ตอนแรกๆไหง่ได้เคยคุยกับผ.ศ.ด.ร.ศิริเพ็ญเกี่ยวกับงานวิจัยมาบ้างแล้ว ตอนแรกๆก็ยังงงๆว่า " เอ๊ะไอ้การใช้การวิจัยทางเว๊ปเพจอินเตอร์เน็ตนั้นมันจะเป็นอย่างไร " ไหง่เคยเอาไปคุยกับเพื่อนซึ่งเป็นเซียนเรื่องวิจัยเคยคุมนิสิตคณะรัฐศาสตร์จุฬาไปทำวิจัยมาแล้วทั่วประเทศประเทศเขาก็ยังงงๆว่ามันคืออะไรกันแน่

แต่ตามความเข้าใจของไหง่ที่เคยได้คุยแลกเปลี่ยนกับอาจารย์แล้วไหง่มีความเข้าใจว่า " อย่าไปคิดมาก " การวิจัยทางอินตอร์เน็ตมันก็เหมือนกับการวิจัยตามชุมชนต่างๆเหมือนกับงานวิจัยห้วยกระบอกนั่นแหละ แต่ชุมชนของพวกเรา scope ( ขอบเขต ) มันค่อนข้างกว้างคือมันอาจจะเป็นทั้งโลกก็เป็นไปได้ คือว่าแล้วแต่ว่าผู้มีความอยากจะทำตัวเป็นนักวิชาการฮากกาจะอยู่ณ.แห่งหนตำบลใหนบนโลกใบนี้

ไหง่ได้เคยแสดงเจตจำนงค์ว่าอยากทำงานวิจัยในหัวข้อว่า " อุตสาหกรรมสิ่งทอของคนฮากกาฮิลแหน่นราชบุรี " เนื่องจากสมาคมฮากการาชบุรีในระยะแรก เกิดจากการรวมตัวของเจ้าของอุตสาหกรรมทอผ้่าซึ่งล้วนแต่เป็นของคนฮิลแหน่นทั้งสิ้น ซึ่งยังไม่ค่อยมีใครรวบรวมประวัติความเป็นมาซึ่งในปัจจุบันอุตสาหกรรมทอผ้าของคนฮิลแหน่นอยู่ในมือของลูกหลานคนฮากกาฮิลแหน่นรุ่นที่สามซึ่งมีพัฒนาการอย่างน่าสนใจ ใครเคยได้ยินแบรนด์ " ผ้าคาเมี่ยน " หรือไม่ ผ้าคำเมี่ยนนี่แหละคือผลิตผลของลูกหลานชาวโรงงานทอผ้าคนฮิลแหน่นเจนเนอเรชั่นที่สาม และโดยเหตุผลส่วนตัวคือ อาผ่อไหง่ที่หม่อยแย้นก็เป็นคนฮิลแหน่น เมื่อครั่งที่ศุขปักซุงถี่ ( ลูกพี่ลูกน้อง ) ของไหง่มาเที่ยวเมืองไทย ไหง่ยังพาไปตระเวณเยี่ยมเยือนตามโรงงานทอผ้าต่างๆ ศุขปักซุงที่ไหง่ยังเคยบอกว่าอาผ่อของเราก็ทอผ้า ทำให้ไหง่คิดได้ว่าคนฮิลแหน่นคงจะมีความเชี่ยวชาญการทอผ้ามาตั้งแต่อยู่ที่เมืองจีนแล้วจึงทำให้ไหง่สนใจในประเด็นนี้มาก ดังนั้นscope ของงานวิจัยจึงน่าจะศึกษาถึงประวัติการทอผ้าที่ฮิลแหน่นจนถึงราชบุรีตั้งแต่เจนเนอเรชั่นแรกจนถึงเจนเนอเรชั่นที่สามที่มีการพัฒนารูปแบบมีแบรนด์ " ผ้าคาเมี่ยน " ที่โด่งดังในปัจจุบันhttp://www.iurban.in.th/design/pakamia/

 ห่วง...ผ้าขาวม้าอาจถูกลืม!!

ปรับกลยุทธ์ผลิตเป็นสินค้า

สู่เทรนด์ยุคใหม่

 

แต่ความหวังยังพอมี เมื่อมีผู้ประกอบการท่านหนึ่งมีแนวคิดที่จะปลุกกระแสคนไทยทั้งประเทศให้กลับมานิยมใช้ผ้าขาวม้ากันอีก พร้อมกับปรับกลยุทธ์การผลิตผ้าขาวม้าให้ตรงกับยุคสมัยด้วยการทำออกมาเป็นสินค้าหลากหลายชนิดตอบสนองไลฟ์สไตล์ได้เกือบทุกกลุ่ม เหมาะกับเทรนด์ยุคปัจจุบันในด้านการใช้ชีวิต

การจุดประกายความคิดมาจากจุดเริ่มต้นด้วยการต่อยอดธุรกิจของคุณพ่อเธอคือ คุณยุทธนา โกมลกิตติพงศ์ เจ้าของโรงงานผลิตผ้าขาวม้าที่มีอายุยาวนานกว่า 40 ปีในจังหวัดราชบุรีคือ โรงงานยิ่งเจริญ จึงทำให้ คุณณัฐวรรณ โกมลกิตติพงศ์ หรือ คุณแอน เล็งเห็นถึงช่องทางการทำธุรกิจจากสิ่งใกล้ตัวจึงได้ผลิตสินค้าหลายชนิดจากผ้าขาวม้าคุณภาพเกรดเอ ในนามแบรนด์ "pakamian" (พา-คา-เมี่ยน)

 

 

ได้ฐานการผลิตของคุณพ่อ

ลุยผลิตสินค้าตามกลุ่มเป้าหมาย

 

คุณแอน สาวที่มีดีกรีปริญญาตรีจากคณะวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ ถึงแม้เธอจะร่ำเรียนมาทางสายที่ยาก แต่กลับกระโดดไปร่วมงานที่เกี่ยวกับเอเยนซี่อยู่หลายปี จนกระทั่งได้สร้างครอบครัว ซึ่งเธอและสามีคือ คุณกฤติน ทวีผลจรูญปริญญาตรีด้านการออกแบบและทำงานเป็นครีเอทีฟ ได้ร่วมกันคิดว่าน่าจะมีกิจการงานเป็นของตัวเองเสียทีเพื่อเป็นการปูทางธุรกิจในอนาคต

การเติบโตและได้คลุกคลีควบคู่มากับธุรกิจของคุณพ่อที่ทำมานานกว่า 40 ปี ทำให้คุณแอนเห็นว่าผ้าขาวม้านั้นมีเสน่ห์ในตัวของมัน ขณะเดียวกัน ก็อาจมีจุดอ่อนบ้าง ดังนั้น หากต้องการนำผ้าขาวม้ามาผลิตเป็นสินค้าเพื่อจำหน่ายในยุคปัจจุบันต้องหาทางแก้ไขจุดอ่อนแล้วเพิ่มความแข็งให้กับจุดเด่นต่อไป

วิธีการคิดของเธอมีอยู่ว่า หากเป็นผ้าขาวม้าธรรมดาก็อาจเหมือนทั่วไปตามตลาด ดังนั้น การสร้างมูลค่าและความน่าสนใจต้องอยู่ที่ ìความต่างî นั่นคือการออกแบบทั้งลายผ้าและรูปลักษณ์สินค้า

ทว่า...วิธีคิดเช่นนั้นจะต้องกลับมาดูถึงข้อดี และข้อเสียของผ้าขาวม้าก่อน ซึ่งเจ้าของสินค้าบอกว่าผ้าขาวม้าที่ใช้มีข้อดีคือเป็นผ้าขาวม้าจากบ้านไร่ที่ซึ่งเป็นต้นตำรับผ้าขาวม้าในเขตภาคกลาง เมื่อนำมาใช้แล้วจะรู้สึกสบายเพราะใช้ด้ายจากฝ้ายเส้นเล็กและเป็นฝ้ายแท้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ดังนั้น สินค้าทุกชนิดที่ผลิตออกมาจึงมีคุณภาพดี ทนทาน สวยงาม

ด้านข้อเสียนั้น เธอบอกว่า เกิดจากความรู้สึกของคนในยุคปัจจุบันที่เห็นว่าการนำผ้าขาวม้ามาใช้ดูเป็นของเชย ล้าสมัย จึงคิดว่าเหตุใดคนทั่วไปจึงคิดแบบนั้นและทำอย่างไรถึงจะปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อเรื่องดังกล่าวได้

"น่าจะเกิดจาก ลาย และสี ที่ผลิตออกมาแล้วยังคงเหมือนเดิม วนเวียนอยู่ไม่กี่แบบที่เป็นลายหมากรุก อาจเป็นเพราะลายมีแบบที่ตายตัว ดังนั้น จุดนี้จึงต้องมีการปรับใส่ลูกเล่นเข้าไป เพื่อเป็นการปรับสไตล์เข้าหาคนในยุคปัจจุบันมากขึ้นโดยอาจมีการเพิ่มสีสันที่โดดเด่นแล้วเฉียบเพื่อสร้างแรงสนใจ" เจ้าของสินค้า กล่าว

http://www.mcu.ac.th/thesis_file/254620.pdf

งานวิจัยฮากกาออนไลน์

ใครที่ยังไม่ได้เข้ามาอ่านโครงการวิจัยฮากกาออนไลน์ ขอให้รีบๆเข้ามาอ่านหรือบอกต่อกันหน่อยนะคะ เพราะว่าหากท่านพลาดโอกาสนี้แล้วรับรองว่าน่าเสียดายมาก

สิ่งที่อยากเน้นคือ โครงการนี้มีคนอยากเห็นกระบวนการทำงานมาก อยากเห็นเป็นตัวอย่างของการพัฒนาข้อมูลให้เป็นเชิงวิชาการที่ใช้อ้างอิงได้ ถือว่าท่านจะเป็นผู้บุกเบิกในงานวิจัยเช่นนี้ไปพร้อมๆกับเรา

ที่สำคัญคือ จะได้เรียนรู้กระบวนการวิจัย ได้รู้จักเพื่อนฮากกา และได้เครือข่ายของสมาคมฮากกาในจังหวัดต่างๆ ขอเน้นว่า เราจะมีการจัดสัญจรไปยังสมาคมฮากกาอย่างน้อย 3 จังหวัด ได้แก่ ฮากการาชบุรีฮากกานครสวรรค์ และฮากกาปากช่อง ซึ่งเป็นฐานที่ตั้งของเว็บมาสเตอร์เรานั่นเอง

งานนี้สนุกและมีประโยชน์อย่างมาก คนที่ยังไม่เคยร่วมงานพบปะสังสรรค์ไม่ต้องกลัว เพราะเราเป็นเหมือนพี่น้องฮากกากันทั้งนั้น

ในการพบปะเพื่อชี้แจงโครงการนี้ ตั้งเป้าไว้ที่ 25-30 คนค่ะ หวังว่าคงจะได้พบกันพร้อมหน้าพร้อมตานะคะ อยากเห็นการรวมตัวกันของคนทุกรุ่นอายุนะคะ

รูปภาพของ วี่ฟัด

มิราม่า

โรงแรมมิรามามันไปอยู่โลคัลโร๊ด วิภาวดี ซึ่งสำหรับไหง่ถือว่าไกลมาก เคยไปมาครั้งหนึ่งแล้วและครั้งที่สองเมื่อประมาณสามสี่เดือนก่อนไหง่เคยขับรถไปงานเลี้ยงของหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ปรากฏว่าไปไม่ทัน งานเริ่มหกโมงไปถึงเกือบสามทุ่มไหง่จึงจำโรงแรมนี้ได้ดี

          อ๋อจำผิดที่จริงไหง่จะพูดถึง " โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ " ไม่ใช่มิรามา มิรามามันอยู่ในเขตเมือง 

รูปภาพของ วี่ฟัด

เกล็ดเล็ก - เกล็ดน้อยเรื่องงานวิจัย

อะไรคือการวิจัย เพื่อนไหง่ซึ่งเคยเป็นอาจารย์สอนวิชา " ระเบียบวิธีวิจัย " ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งวิชานี้ต้องนำกลุ่มนิสิตไปลงภาคสนามวิจัยตามจังหวัดต่างๆเป็นเดือนๆ ตอบว่า การวิจัยคือการแสวงหาความรู้อย่่างมีระเบียบระบบมีข้อมูลหลักฐานอ้างอิง ดังนั้นเมื่อการวิจัยคือกระบวนการแสวงหาความรู้แล้วไซร้ ไหง่ว่าผู้ดำเนินการวิจัยจึงย่อมไม่จำเป็นที่ต้องมีความรู้ในเรื่องที่เราจะทำการวิจัยนั้นๆแต่อย่างใด

ไหง่จึงไม่ใช่ผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่ไหง่จะดำเนินการวิจัยเลย แต่ไหง่เคยได้รับรู้เรื่องราวเกล็ดเล็ก- เกล็ดน้อย ที่เคยได้ยินได้ฟังมาตลอดตั้งแต่เด็ก จึงอยากจะแสวงหาความรู้ให้เป็นระบบมากขึ้น เพื่อจัดเก็บเป็นข้อมูลของกลุ่มคนฮากกาฮินแหน่นราชบุรี

ที่จริงผู้ริเริ่มก่อตั้งสมาคมฮากการาชบุรีคนฮินแหน่นคือ  " หว่องเจ้นฉ่อย " หรือที่ไหง่จะเรียกว่า " เจ้นฉ่อยปัก " ซึ่งเจ้นฉ่อยปักก็ไม่ใช่ใครที่ใหนเป็นญาติของอาผ่อไหง่ที่เมืองจีน ไท้ปักไหง่จึงสนิทสนมกับเจ้นฉ่อยปักเนื่องจากเป็นญาติทางเมืองจีน เมื่อสี่สิบห้าสิบปีก่อน เจ้นฉ่อยปักจะมีชื่อเสียงโด่งดังว่าเป็นเจ้าของโรงงานทอผ้าที่ใหญ่ที่สุดในราชบุรีในขณะนั้น มีผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้า ผ้าทอบ้านไร่ตรารถไฟ ที่โด่งดังของสมัยนั้น แต่โรงงานของเจ้นฉ่อยปักก็ดำเนินกิจการได้เพียงสองรุ่นเท่านั้น คือเมื่อตกมาสู่เจนเนอเรชั่นที่สองบุตรของเจ้นฉ่อยปักคือ " หว่องฟุดฉั่น " ก็ต้องปิดโรงงานทอผ้าไปเนื่องจากความนิยมในผ้าขาวม้าลดน้อยลงเนื่องจากคนหันมาใช้ผ้าขนหนูกันมากขึ้นใช้ผ้าขาวม้ากันน้อยลง พอเลิกกิจการไปเครื่องทอผ้าจึงไม่ได้ใช้งานอยู่หลายปี ต่อมาได้มีคนติดต่อจะมาขอซื้อเครื่องทอผ้าในราคาหลายแสนอยู่เหมือนกันโดยคนมาติดต่อก็ไม่ได้บอกว่าใครเป็นผู้ซื้อ พอตกลงราคากันเสร็จสรรพก็นัดหมายว่าจะให้ไปส่งที่ใหนและจะจ่ายงินให้เมื่อนำไปส่งเรียบร้อยแล้ว ปรากฏว่าผู้มาติดต่อขอซื้อบอกให้ไปส่งที่วังไกลกังวล และเมื่อรู้ว่าใครเป็นผู้ซื้อ ฟุดฉั่นโก ( ตามลำดับญาติไหง่ต้องเรียกว่าอาโก )ก็ถวายเครื่องทอผ้าโดยไม่คิดมูลค่าใดเลยก็เนื่องจากผู้ซื้อก็คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และอาโกต้องเดินทางจากราชบุรีไปหัวหินเพื่อไปสนการใช้เครื่องทอผ้าอีกนับเดือน ไหง่ได้ไปเห็นรูปที่ฟุดฉั่นโกถ่ายกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทราบประวัตินี้ ชักสนุกแล้วซิครับไท้กา

แต่ขณะนี้โรงงานทอผ้าขาวม้าของคนฮินแหน่นราชบุรีอยู่ได้สบายๆแล้วครับไท้กา เนื่องจากเพราะกระแสความนิยมในสินค้าแบบคอนเท็มโพลารี่ ( contemporary )  สินค้าร่วมสมัยกลับมาอยู่ในกระแสนิยมอีกครั้งหนึ่งแล้ว

รูปภาพของ วี่ฟัด

ดีจัง

ไหง่เห็นดีด้วยเลยในการสัญจร ซึ่งไหง่ก็คิดๆไว้เหมือนกันว่าจะได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ของคนฮากกาที่มีชื่อมานานแล้วแต่ต้องถูกบดบังรัศมีไปจาก " โอ่งมังกร " ของคนแต้จิ๋วที่กลายเป็นสัญญลักษณ์ของเมืองราชบุรีไปเสียแล้ว แต่ถ้าย้อนไปสัก 30-50 ปีต้องยกให้ผ้าทอบ้านไร่ของคนฮินแหน่นที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วประเทศ

นายกสมาคมฮากการาชบุรีคนปัจจุบันคือคุณบดินภัทร์ ก็เป็นเจนเนอเรชั่นที่สองของอุตสาหกรรมทอผ้าของคนฮากกาเชื้อสายฮินแหน่นเช่นเดียวกัน ท่าบดินภัทรเป็นคนมีความสามารถช่วยเหลืองานส่วนรวมอย่างชัดเจนจนทางสมาคมฮินแหน่นได้ติดต่อทาบทามให้คุณบดินภัทรไปดำรงค์ตำแหน่งนายกสมาคมฮินแหน่น แต่ท่านยังปฏิเสธอยู่ เนื่องจากปัจจุบันท่านมาอยู่ราชบุรีเป็นหลักแล้วหลังจากโรงงานที่บางใหญ่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม จนต้องกลับมาตั้งโรงงานที่ราชบุรีอีก

และห่ากมีการสัญจรจะต้องเชิญน้องแอน เจนเนอเรชั่นที่สามเจ้าของแบรนด์ผ้่าคาเมี่ยนมาร่วมสนทนาด้วยอย่างแน่นอน

รูปภาพของ วี่ฟัด

เรียนเชิญเป็นนักวิจัยฮากกา

แทนที่จะชอบถามโน่นถามนี่เป็น " เจ้าหนูจามไม " แบบหนูอั๋น ก็ถึงคราวที่ไท้กาจะต้องเสาะแสวงหาความรู้ด้วยตนเองกันเสียที

และตามที่ไหง่เคยกล่าวว่า " การวิจัย " คือกระบวนการแสวงหาความรู้แล้วไซร้ ว่าแทนที่จะเก็บงำความรู้เอาไว้กับตัวเองจนตัวตายก็ต้องเปิดเผยข้อมูลให้ชาวบ้านชาวช่องสาธุชนคนรุ่นหลังเขาได้ค้นคว้าเขาได้รับรู้กันบ้างเป็นวิทยาทาน 

และที่สำคัญเป็นการเรียนรู้พัฒนาตนแบบไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นบัณฑิตมหาบัณฑิตก็สามารถเป็นนักวิจัยกับเขาได้เหมือนกัน และที่สำคัญปรัชญาทางการศึกษาคือการเรียนเพื่อรู้มิใช่เรียนเพื่อโก้เก๋แต่ประการใดเลยตัวเอง

รูปภาพของ tonkla

สมัครเป็นนักวิจัยฮากกาจ้า

โครงการวิจัยนี้น่าสนับสนุนเป็นอย่างยิ่งค่ะ ขอเชิญชวนเพื่อนพี่น้องสมาชิกทุกท่านมาร่วมโครงการนี้เยอะๆนะคะ ช่วยกันคนละไม้คนละมือก็เป็นพลังยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้ tonkla ขอสมัครร่วมทำงานวิจัยด้วยค่ะ ^^

อาจเลื่อนวันเปิดตัวโครงการเป็นปลายเดือน ต.ค.

ก่อนอื่นต้องขอโทษเรื่องการนัดหมายวันเวลาในการเปิดตัวโครงการวิจัยด้วย เพราะเดือน ต.ค. เป็นเดือนที่มีเทศกาลกินเจ ซึ่งคงมีชาวชุมชนฮากกาจำนวนหนึ่งที่ถือศีลกินเจกันอย่างจริงจัง ไหงก็เป็นคนหนึ่งที่ชอบเทศกาลนี้ หากไม่ติดว่าต้องเดินทางไปไหน ไหงจะกินเจที่บ้านจนครบ 10 วันเลย

และช่วงวันที่ 20-21 ต.ค. ก็มีงานประชุมชาวฮากกาที่หาดใหญ่อีก ไหงจึงคิดว่าน่าจะเลื่อนการประชุมงานวิจัยไปปลายเดือน น่าจะเหมาะสมกว่า ได้คุยกับอาสุกนภดลเหมือนกัน แต่กี่ก็ยังไม่สามารถล็อควันที่แน่นอนได้ แต่ตอนนี้มีตัวเลือกเหลืออยู่เพียง เสาร์หรืออาทิตย์สัปดาห์สุดท้ายของเดือนตุลาคม เพราะถ้าช้าไปกว่านี้ ไหงกลัวว่าจะช้าเกินไป เนื่องจากเรามีเวลาในการทำงานน้อย และเดือน พ.ย. ไหงก็มีการประชุมวิชาการ กับการอบรมทางใต้อีก ไหงจึงคิดว่าควรจะจัดในเดือนตุลาคมให้ได้

จึงขอเชิญชวนคนที่สนใจ แม้จะมีความรู้หรือไม่มีความรู้เกี่ยวกับฮากกาเลยก็ตาม ไม่ต้องกลัว อย่างที่วี่ฟัดโกบอก มาช่วยกันหาความรู้หรือช่วยกันถ่ายทอดความรู้ดีกว่า ขอเพียงมีความสนใจเท่านั้น รับรองว่าทำได้ทุกคน

สำหรับผู้ที่มีความรู้อยู่ท่วมท้นนั้น ไหงคงต้องติดต่อหลังไมค์ เพื่อให้เข้าร่วมโครงการนี้แน่นอน

ใครที่ต้องการพบปะชาวชุมชนฮากกา ท่านจะได้เจอในงานนี้แน่นอน จอมยุทธผู้กล้าฮากกาหงิ่น พร้อมแล้วค่ะ 

รูปภาพของ อิชยา

ขอเข้าร่ว

ขอเข้าร่วมทำวิจัยด้วยค่ะ....และขอคำแนะนำด้วยเพราะยังอ่อนหัด

รูปภาพของ วี่ฟัด

ถือว่าเป็นการฝึกฝนพัฒนาตน

        ดีแล้วแหละใช่ว่าไหง่จะรู้เรื่องนะ แต่ไหง่ได้ทาบทามอาจารย์ที่เป็นเพื่อนที่เคยสอนวิชาระเบียบวิธีวิจัยที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ มาเป็นทีมงานวิจัยในครั้งนี้ด้วย

        อาจารย์เป็นคนเกิดราชบุรี รู้ข้อมูลของราชบุรีดีอยู่แล้ว พอดีช่วงนี้ว่างพอดี

         ไหง่ได้ชักชวนให้ไปร่วมงานเปิดตัวที่โรงแรมมิราม่าด้วย

รูปภาพของ วี่ฟัด

ปลายเดือนตุลาดีกว่า

เพราะตอนนี้ชาวฮากกาตามสมาคมฮากกาต่างfocus ไปที่การประชุมฮากกามิครสัมพันธ์ที่หาดใหญ่กันหมดแล้ว ค่อยจบงานที่หาดใหญ่ก่อนค่อยเปิดตัวงานวิจัยจะดีกว่าคงสักวันเสาร์- อาทิตย์ที่ 26-27 ต.ค. ก็ได้ครับ

รูปภาพของ อิชยา

โก๊วี่ฝัด

โก๊วี่ฝัดค่ะ...ขอติดสอยห้อยตามไปเที่ยวเกาะหลีแป๊ะด้วยได้ไหมค่ะ....แบบขออาศัยบารมีของโก๊ค่ะ

รูปภาพของ วี่ฟัด

การเดินทา

การเดินทางโดยติดรถไปด้วยหรือการโดยสารทางเรือไปเกาะคงไม่มีปัญหาแต่จะมีปัญหาเรื่องที่พัก เพราะทางสมาคมฮากการาชบุรีเขาติดต่อจองรีสอร์ตบนเกาะหลีเป๊ะไว้นานแล้ว

วันนัดพบเปิดตัวโครงการวิจัยฮากกา

จากการคุยกับสมาชิกในเว็บหลายท่าน บอกว่าควรนัดล่วงหน้านานหน่อย เพราะหากกระชั้นเกินไป บางคนก็มีนัดแล้ว ไหงจึงกำหนดวันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม 2556 เวลา 9-16 น. โดยประมาณช่วงเช้าจะเป็นการทำความเข้าใจ เสนอแนะวิธีการ ช่วงบ่ายแบ่งหัวข้อ และความรับผิดชอบค่ะ ซึ่งถือเป็นฤกษ์งามยามดี ในการนัดสมาชิกเว็บชุมชนแห่งนี้เพื่อทำความเข้าใจการทำวิจัย โครงการพัฒนาข้อมูลในเว็บฮากกานี้ ให้เป็นเนื้อหาเชิงวิชาการที่สามารถอ้างอิงได้ อย่างน้อยถ้าหาก นศ. หรือผู้สนใจศึกษาเรื่องฮากกา พอคลิกมาเจอข้อมูลเหล่านี้ (หลังจากจบโครงการวิจัย) จะได้นำไปอ้างอิงได้ ถือเป็นการทบทวนวรรณกรรมนั่นเอง

ไหงได้ทาบทามสมาชิกเว็บบางท่านที่คาดว่าจะสามารถมาร่วมทำงานได้ และมีความรู้ความสนใจอยู่แล้ว แต่หากท่านใดสนใจ แต่ยังไม่ได้แจ้งความประสงค์ในเว็บนี้ ก็สามารถไปร่วมประชุมได้ในวัน เวลา ดังกล่าว สถานที่คือ ที่ โรงแรมมิราม่า กรุงเทพ   ดังแผนที่ข้างต้น 

หากใครยังลังเลก็ไม่ควรรีรอนะคะ เพราะว่า โอกาสไม่ได้มีมากนัก เมื่อโอกาสมาถึงควรจะรีบคว้าไว้ก่อน ไม่ต้องกลัวว่าจะทำไม่ได้ หากยังไม่ได้ลองทำ

ส่วนคนที่ไหงทาบทามไว้แล้ว จะมีจดหมายเชิญส่งไปถึงบ้าน เตรียมรับนะคะ 

แล้วพบกันค่ะ ตามวันเวลา และสถานที่ดังกล่าว 

หมายเหตุ มีอาหารกลางวัน และน้ำชาตลอดงานค่ะ หากใครต้องการโชว์อาหารฮากกา สามารถนำมาสมทบได้นะคะ ไม่ว่ากัน 

วันที่ 26 ต.ค. อาสุกนภดล มาร่วมเปิดโครงการวิจัยด้วย

อาสุกนภดล ชวาลกร คอนเฟิร์มแล้วนะ วันที่ 26ต.ค. 56 พบกันแน่นอนที่ รร.มิราม่า

อยากให้สมาชิกไปกันเยอะๆนะ ไปแสดงพลังของคนฮากกาว่าจะสืบสานภาษาและวัฒนธรรมของตนเอง และส่งต่อไปยังรุ่นต่อไปได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าใครไม่ว่างวันที่ 26ต.ค. แต่มีใจที่อยาก่วมงานวิจัย แสดงความประสงค์เข้ามาได้เลย รับไม่จำกัด ขอให้อยากทำเท่านั้นแหละ

อาสุกนภดลบอกว่าจะสั่งอาหารฮากกา มาเพิ่มด้วยนะ เพื่อให้เข้ากับบรรยากาศ หวังว่าจะได้เจอสมาชิกที่ยังไม่เคยเจอกันบ้างนะคะ

รูปภาพของ วี่ฟัด

ฉันทะของนักวิจัย

          ฉันทะเป็นหนึ่งในหลักธรรมของพรหมวิหาร 4 ในความหมายถึงความอยากที่เป็นกุศลกรรมมิใช่ความอยากในเชิงกิเลสซึ่งเป็นอกุศลกรรม

           ฉันทะจึงเป็นความอยากที่จะทำอะไรๆที่เป็นประโยชน์โภชย์ผลต่อชนทั้งมวล

            ฉันทะในการทำวิจัยนั้นก็ไม่ยากหรอกครับไท้กา ไหง่ว่าเอาเรื่งใกล้ตัวที่ตัวเองอยากรู้หรือเรื่องที่ตนสนใจอยู่แล้ว แบบไหง่ฮากการาชบุรีที่มีบริบทเป็นชาวฮากกาฮินแหน่นที่เป็นเจ้าของโรงทอผ้่าไหง่เลยเลือกแนวทางนี้

             แต่ถ้าเป็นนครสวรรค์น่าจะทำเรื่อง " สิงห์โตฮากกานครสวรรค์ " หรือเจ๋อิสยาที่สนใจเรื่องเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของคนฮากกา ปุ้ยเป็นคนฮากการุ่นใหม่อาจทำเรื่องคนรุ่นใหม่กับวัฒนธรรมดั้งเดิมของฮากกาเป็นต้น

             ส่วนอาหงิ่วโกก็กำลังแปลหนังสือ " การอพยพของคนฮากกา " ที่ไหง่ซื้อมาจากหม่อยแย้นก็น่าจะนำมาเป็นงานวิจ้ยได้เหมือนกัน

รูปภาพของ วี่ฟัด

ได้รับจดหมายเชิญแล้ว

ได้รับจดหมายเชิญประชุมแล้วเหมือนกันซองเบอเริ่มกว่าจะแกะมาได้ซองกระจุยหมด

ไหง่ได้เชิญชวนเพื่อนนักวิจัยไปด้วยคนหนึ่งอาจารย์ได้ออกหนังสือเชิญแบบเป็นทางการแล้ว

คงได้คนที่มีความรู้ในเรื่องงานวิจัยที่ดีมากๆคนหนึ่งที่เดียวแม้เขาจะไม่มีเชื้อสายฮากกา  ( มีเชื้อสายแต้จิ๋วสาย ผ.ก.ค. เจ็ดเสมียน ( ผ.ก.ค.ไม่ใช่ผู้ก่อการร้ายนะครับไท้กา แต่เป็นมุขของคนราชบุรีที่เขาหมายถึง ผักกาดเค็มซึ่งก็คือหัวใชโป๊นั่นเองครับ ) ) แต่ก็พอรู้ความเป็นไปของคนแคะในราชบุรีดี 

เขาเคยทำวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโทรัฐศาสตร์ จุฬา ในหัวข้อ.  "  

การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีผลกระทบต่อการดำรงอยู่ และการเสื่อมสลายของศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านไทย : กรณีศึกษาหมู่บ้านไทยวน ตำบลดอนแร่ จังหวัดราชบุรี

และการทอผ้าของกลุ่มคนยวนนี่แหละที่มามีส่วนเกี่ยวข้องกับคนฮินแหน่นในการทอผ้าด้วยแบบผสมกลมกลืน ( win-win. ) อย่างเข้ากันแม้มองดูจะไม่น่าจะเข้ากันได้ จึงเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจเชิงวัฒนธรรมที่กลมกลืนกันได้อย่างลงตัว แค่นี้ก็สนุกแล้วครับไท้กา
รูปภาพของ วี่ฟัด

อุ่นเครื่องงานวิจัยฮินแหน่น ( 兴宁的 织布 )

   ชาวจีนแคะรุ่นแรก ๆ ที่ผลิตเครื่องกี่กระตุกออกจำหน่ายในกรุงเทพ ชื่อนายว่อง ซุ่นยิด ภูมิลำเนาเดิมอยู่ที่เมืองฮินแหน่น มณฑลกวางตุ้ง ที่นี่มี ชาวจีนแคะอยู่มาก และมีความรู้เรื่องในการย้อมผ้าด้วยถ่านหินให้เป็นสี เทา และน้ำเงิน โดยแหล่งทอผ้าด้วยเครื่องชนิดนี้ในกรุงเทพฯยุกแรก ๆ นั้นอยู่แถบถนนบรรทัดทอง สะพานเหลือง ก่อนจะขยายโรงงานไปแถว คลองเตย และพระประแดงตามลำดับ มีหลักฐานว่า ในช่วงสงครามโลก ครั้งที่ 2 ทางราชการได้ส่งครูจีน 2 ท่านคือ นายยี่หลุ่น และพุดดิ้นนำเทคนิค การทอผ้าชนิดนี้ไปสอนชาวเกาะยอ จ.สงขลา ที่ใช้สืบกันมาทุกวันนี้ นอกจากภาคใต้แล้ว กี่กระตุกยังแพร่หลายไปในภาคอีสาน ภาคกลางด้วย ดังนั้นจึงนับว่าการใช้กี่กระตุกจึงเป็นยุคหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญของพัฒนา การอุตสาหกรรมสิ่งทอไทย
รูปภาพของ สิทธิพร1

ขอเข้าร่วมด้วยครับ "โครงการวิจัยฮากกา"

ไท้กาเฮ่า สวัสดีชาวชุมชนฮากกาทุกๆท่านครับ ผมขอเข้าร่วมงานนี้ครับ และขอเชิญชวนเพื่อนๆชุมชนทุกๆท่านเข้าร่วมด้วยครับจะได้รู้จักตัวจริงเสียงจริง ท้ายนี้ขอให้มากันเย๊ะๆครับ จะได้อบอุ่นแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น  สวัสดีครับ  俞文君

รูปภาพของ วี่ฟัด

ฮินแหน่นทุกผู้

ค้นไปค้นมาไหง่พอเก็บรายละเอียดได้บ้างแล้วว่าทำไมคนฮินแหน่นจึงต้องมาเกี่ยวข้องอย่างไรกับการทอผ้า

ดั้งเดิมในประเทศไทยคนไทยจะทอผ้าโดยใช้กี่ทอผ้าแบบพุ่ง ที่มีกระสวยด้ายใช้มือสอดกระสวยด้ายไปสอดมาในระหว่างด้ายเส้นพุ่งกับด้ายเส้นยืนมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล

แต่ต่อมาในสมัยปฎิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษ จอห์น เคย์ ได้ประดิษฐ์เครื่งทอผ้าแบบ " กี่กระตุก " ขึ้น กี่กระตุกนี่เองที่ทำให้เกิดความรวดเร็วในกาทอผ้าเพิ่มมากขึ้นกว่าเท่าตัว

ในสมัยรัชการที่ 6 นายหว่องซุ่นยิดชาวฮินแหน่นได้นำ " กี่กระตุก " เข้ามาในประเทศไทยเป็นคนแรกและยังผลิตกี่กระตุกจำหน่ายด้วย กี่กระตุกจึงแพร่หลายในระเทศไทยไปทั่วประเทศเพราะชาวฮินแหน่นนี่เอง

ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่าคนฮินแหน่นคือเจ้าแห่งเทคโนโลยี่ด้านฮาร์ทแวร์ การทอผ้าในประเทศไทย

จังหวะประเหมาะที่ชาวฮินแหน่นเจ้าแห่งฮาร์ทแวร์" เครื่องทอผ้ากี่กระตุก " มาอยู่ที่ราชบุรีจึงได้มาพบกับเจ้าแห่งซอร์ฟแวร์ลวดลายและฝีมือในการทอผ้าขาวม้าของชาวยวน คูบัว ราชบุรี  ( ลองคิดเล่นๆว่าถ้าคนฮินแหน่นไปตั้งโรงทอผ้าที่อื่นคงไม่ได้ลวดลายผ้าขาวม้าในปัจจุบันนี้ )

ชาวยวนคือใคร คำว่ายวนมาจากคำว่า "โยนก " ตามประวัติศาสตร์ชาวยวนที่มาอยู่ที่ราชบุรีคือชาวเชียงแสนที่ถูก " เทครัว " หรือจะเรียกว่ากวาดต้อนมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าตากสินจนถึงรัชกาลที่ 1 เนื่องจากเมื่อครั้งที่เราเสียกรุงครั้งที่สอง คนไทยถูกกวาดต้อนไปหมด จนแทบจะไม่มีคนอยู่ในย่านภาคกลางนีิ้เลย จึงต้องเทครัวเพื่อมาใช้แรงงานในการทำไร่ทำนาเพื่อหาเสบียงกรังในการรบกับพม่า และยังใช้ในการเป็นกำลังรบต่อสู้พม่าด้วย

คนยวน คูบัวนี่เองมีฝีมือในการทอผ้า และมีลวดลายทอผ้าซิ่นตีนจกที่มีชื่อเสียงราคาแพง ปัจจุบันก็ยังมีการทอผ้าซิ่นตีนจกกันอยู่ผืนๆหนึ่งมีราคาเหยียบหมื่น ( แต่ก็ขายดิบขายดีเพราะความปราณีตสวยงาม )

เมื่อเจ้าแห่งฮาร์ทแวร์คนฮินแหน่นมาพบกับเจ้าแห่งฝีมือการทอผ้าและลวดลายจึงถือว่าเป็นซอร์ฟแวร์ที่ดี ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจึงออกมาดีด้วย

เท่าที่ไหง่ทราบ ช่วงแรกๆคนฮินแหน่นเจ้าของโรงทอผ้าราชบุรี จะนำกี่กระตุกไปตั้งที่ลูกข่ายคนยวนถึงบ้านแล้วนำด้ายไปให้ด้วยเพื่อจะได้นั่งทอผ้าอยู่ที่บ้านยามเสร็จจากไร่นาเมื่อได้ผ้าจำนวนมากแล้วจึงนำมาส่งแล้วคิดเงินกัน

แต่ต่อมาเทคโนโลยี่เจริญขึ้นเครื่งทอผ้าจึงเปลี่ยนโฉมมาใช้มอเตอร์ไฟฟ้ากันหมดแล้วจึงเป็นอุตสาหกรรมทอผ้าเต็มตัว 

ชักสนุกแล้วซิไท้กา 

รูปภาพของ วี่ฟัด

เรียน หำช้อยโก

วันที่ 26 ต.ค. 56 ตั้งแต่เวลา 9.00 -  15.30 ขอเรียนเชิญอาโกมาที่โรงแรมมิราม่าหน่อยซิครับ จะได้เจอกันตัวเป็นๆ เพราะมีคนอยากเป็นอะแซหวุ่นกี้ขอดูตัวแม่ทัพกันเยอะเลย

อาจารย์ดอกเตอร์เรียนเชิญอาโกมาด้วยความเคารพครับ 

โดนยำแน่เลย

เอาอาจารย์ดอกเตอร์คนสวยมาเชิญด้วย เห็นผมเป็นลิโป้ไปได้ แล้วผมจะพรางตัวไป แบบ ลับ ลวง พราง ไม่ให้อาแซหวุ่นกี้ จับได้

รูปภาพของ วี่ฟัด

D.I.Y.

ตอนนี้ได้ยินแต่คนพูดDIY ๆ ไหง่ก็งงๆว่าอะไรของมึงว๊ะDIY ( ขอใช้ภาษาของอาจารย์เฉลิมชัยหน่อยเพื่อความบันเทิงเริงใจ )

จนมาถึงบางอ้อว่าอ๋อ DIY ก็มาจาก " Do it yourself . นั่นเองครับท่านผู้ชมคือทำด้วยตัวของมึงเอง

ไหง่เลยมานึกถึงงานวิจัยก็คือ DIY  อย่างหนึ่งเหมือนกัน 

เรียนเชิญอาโกหั่มช้อยกอน ร่วมงานวิจัย

ไหงขอเรียนเชิญอาโกหั่มช้อยกอนเป็นทางการผ่านหน้าเว็บละกัน เนื่องจากไม่มีที่อยู่ในการส่งจดหมาย ถือว่าให้เกียรติไหงละกันนะอาโก

งานวิจัยชิ้นนี้ถือว่าสำคัญมาก อย่างที่บอกไปตั้งแต่แรกในโครงการว่ามีนักวิชาการสนใจจ้องมองการทำงานของเราอยู่ เขาอยากจะดูเราเป็นต้นแบบในการทำวิจัยผ่านเว็บไซด์ว่าจะเป็นไปได้หรือ ที่คนในเว็บจะเขียนงานเชิงวิชาการได้ ขอย้ำว่า ได้แน่นอน เพราะว่า พวกเราชาวเว็บฮากกาเป็นเจ้าของความรู้เอง ก็เราทำเรื่องที่เรารู้ดีที่สุด ภาษาและวัฒนธรรมฮากกา ถ้าเราไม่รู้ก็ต้องไปค้นคว้า ถ้าเรารู้ก็นำมาแบ่งปัน แค่นั้นเอง ขอเพียงให้มีความรักและหวงแหนความเป็นภาษาและวัฒนธรรมของเราเอง แค่นั้นแหละ อะไรๆก็ทำได้

แล้วอย่างนี้อาโกจะไม่สนใจมาเป็นส่วนหนึ่งของงานนี้หรือ หลังจากโครงการนี้สำเร็จทุกคนที่มีงานเขียนจะปรากฏชื่อพร้อมผลงาน ในหน้าเว็บนี้ แล้วก็จะมีคนมาอ่านแล้วนำไปบอกกล่าวต่อ อย่างนี้จะไม่น่าสนใจหรือ

อีกอย่างที่สำคัญคือ โครงการแบบนี้คงไม่มีทำครั้งที่สอง หมายความว่า แหล่งทุนคงจะไม่สนับสนุนให้ทำซ้ำ นอกจากคนที่จะเขียนเอง แล้วทำเองไปเรื่อยๆ ซึ่งก็สามารถทำได้ และเป็นเป้าหมายสูงสุดที่แหล่งทุนต้องการเห็น แต่สิ่งสำคัญคือกลุ่มผู้บุกเบิกนี่แหละ

เพราะฉะนั้น งานนี้อาโกไม่ควรพลาด มาปรากฏตัวเถอะ จะได้รู้จักเพื่อนในเว็บให้มากกว่านี้ แล้วจะไม่ผิดหวัง

โดยความเคารพ

 黄丽萍

รูปภาพของ วี่ฟัด

ไม่ไปไม่ได้แล้วห่ำช้อยโก

ผ.ศ.ด.ร.มาเรียนเชิญด้วยตนเองแบบนี้ห่ำช้อยโกไม่ไปไม่ได้แล้วหละโกเอ๋ย

ไหง่ได้จัดรถตู้รับสายราชบุรีไปอีกหลายท่านเช่น อาจี้ยับเหียนจีน อาโกสมจิตร คุณหมออนุชิต ฉินซิ่วฉุก ( อาจารย์เกษณี ) และป้าจี้ เรียกว่าครบครันกันเลยทีเดียว ถ้าอาจารย์หลี่เหล่าซือว่างจะเรียนเชิญด้วยอีกท่านหนึ่ง  จะได้ให้อาจารย์หลี่มาร้องเพลงให้ท่านฟังด้วย ( เดี๋ยวนี้อาจารย์หลี่ ชาวเมืองฉางชุน มณฑลจี้หลิน เขตแมนจูเลีย  ชักจะกลายเป็นคนฮากกาแล้ว อาจารรย์สามารถร้องเพลงมาร์ชฮากกา ได้โดยไม่ต้องดูเนื้อเพลงเลย )

รูปภาพของ วี่ฟัด

กลุ่มราชบุรีพร้อมโลด

พรุ่งนี้ไหง่ก็จะนำกลุ่มจากราชบุรีประกอบด้วยไหง่ ผ.ศ จินตนา ( ไม่ใช่ใครที่ใหนก็อาจี้ยับเหียนจีนของเรานี่เองครับ  ) อาโกสมจิตรพร้อมกับอาเซ้า อาจารย์เกษณี ไทยจรรยา ( ฉินซิ่วฉุก ) คุณหมออนุชิต นิติธรรมยงค์ , อาจารย์วิรัตน์   พงษ์ทอง( ทายาทก้วยเตี๋ยวไข่ราชบุรี ) อดีตอาจารย์คณะรัฐศาสตร์จุฬา  , อดีตอาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ ม. ศิลปากร วังท่าพระ

ส่วนอาจารย์หลี่เหล่าซือไม่ว่างติดสอนภาษาจีนจึงไม่ได้ไป

พรุ่งนี้พบกันเก้าโมงเช้าครับ 

รูปภาพของ วี่ฟัด

Introduction Ratchaburi

ในจังหวัดราชบุรีประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธ์ต่างถึง 8 กลุ่มชาติพันธ์กล่าวคือ

1. กลุ่มชาติพันธ์ไทยพื้นถิ่น

2. กลุ่มชาติพันธ์จีนยังแบ่งกลุ่มย่อยสองกลุ่มใหญ่ๆคือกลุ่มจีนแต้จิ๋วและกลุ่มจีนฮากกา ส่วนกลุ่มจีนใหหลำและกวางตุ้งถือว่าน้อยมากในจังหวัดราชบุรี

3. กลุ่มชาติพันธ์มอญ

4. กลุ่มชาติพันธ์ยวนหรือโยนกเทครัวมาจากเมืองเชียงแสนในสมัยรัชกาลที่ 1

5. กลุ่มชาติพันธ์โซ่งหรือลาวโซ่ง ถูกเทครัวมาจากเมืองแถนหรือเมืองเดียนเบียนฟูในเวียดนามในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ( สมเด็จพระเจ้าตากสิน. )

6. กลุ่มชาติพันธ์กะเหรี่ยง ภูมิลำเนาดั้งเดิมของกลุ่มนี้คืออำเภอสวนผึ้งและอำเภอบ้านคา

7. กลุ่มชาติพันธ์เขมรลาวเดิม กลุ่มชาติพันธ์นี้จะมีสำเนียงภาษาคล้ายภาษาอีสานทาฝตอนใต้และมีภาษาเขมรเจือปนอยู่บ้างเล็กน้อย นักภาษาศาสตร์สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นกลุ่มคนลาวที่ถูกกวาดต้อนไปอยู่ในเขมรก่อนและต่อมาจึงถูกเทครัวเข้ามาอยู่ที่ราชบุรี

8. กลุ่มชาติพันธ์ลาวเวียง

จะเห็นได้ว่าในจังหวัดราชบุรีมีกลุ่มชาติพันธ์ที่มีความแตกต่างกันทางภาษาและวัฒนธรรมแต่ในการมีปฏิสัมพันธ์กันในเชิงสังคมนั้นไม่เคยมีปัญหากันในระหว่าางกลุ่มชาติพันธ์ทั้งแปดกลุ่มเลย

แต่มีกลุ่มชาติพันธ์ที่เคยมีการปฏิสัมพันธ์ในเชิงเศรษฐกิจที่เคยประสบความสำเร็จในอดีตมาแล้วคือกลุ่มชาติพันธ์จีนฮากกาและกลุ่มชาติพันธ์คนยวน

ดังนั่นแต่เดิมไหง่เคยมีความตั้งใจว่าจะทำงานวิจัยเฉพาะคนฮากกาฮินแหน่นเพียงอย่างเดียวนั้นแต่มันคงไม่สนุกกว่าการกล่าวถึงการมีปฏิสัมพันธ์ของสองกลุ่มชาติพันธ์ ซึ่งจะมีความน่าสนใจในวงวิชาการในวงกว้างมากกว่าตามคำแนะนำของอาจารย์วิรัตน์ซึ่งปรกติเราทั้งสองก็มีความสนใจในเรื่องกลุ่มชาติพันธ์เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

อาจารย์วิรัตน์เคยนำคณะของศาสตราจารย์เจียแยนจอง ( ยรรยงค์ จีนนคร ) มาทำวิจัยเกี่ยวกับลาวโซ่งในจังหวัดเพชรบุรีและราชบุรีมาแล้วเรียกว่าประสบการณ์ล้นปรี่ 

 

รูปภาพของ วี่ฟัด

การเขียนของไหง่

ไหง่สามารถเขียนได้หลายรูปแบบจะเอาแบบเป็นทางการก็เขียนได้ซึ่งโดยปรกติคนที่มีวิชาชีพทางกฎหมายจะได้เปรียบอาชีพอื่นในเรื่องการใช้ภาษาและการเขียนในลักษณะเป็นทางการเพราะวิชาชีพกฎหมายจะต้องใช้ภาษากฎหมายซึ่งเป็นภาษาไทยโบราณเช่นคำว่า. " หาได้ไม่" ซึ่งในปัจจุบันมีใช้ในภาษากฎหมายเม่านั้น
ดังนั้นไหง่ว่าการเขียนในเชิงวิชาการจึงไม่น่าเป็นอุปสรรคต่อคนในวิชาบีพกฎหมายแต่อย่างใด
แต่การเขียนแบบเอามันส์อ่านสนุกนั้นไม่ง่ายที่ใครจะเขียนได้นะ บุคคลที่มีชื่อเสียงในการเขียนต้องเขียนแล้วอ่านสนุกไม่น่าเบื่อเช่นม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมทและซูม ( สมชาย กรุสวนสมบัติ ) การเขียนที่ไม่สนุกจึงไม่น่าติดตามและน่าเบื่อ การเขียนหนังสือและอ่านสนุกจึงน่าจะเป็นพรสวรรค์ของบุคคลที่ห้ามลอกเลียนแบบแต่ประการใด
และบุคลากรในวิชาชีพกฎหมายจะมีความเชี่ยวชาญอยู่อีกอย่าวหนึ่งคือการสอบปากคำและการซักถามพยานซึ่งสามารถนำมาใช้ในการทำวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นอย่างยิ่ง

ภาษาท้องถิ่นของจีนพูดอย่าง-เขียนอีกอย่าง

สวัสดีเพื่อนชาวฮากกาทุกท่าน วันนี้ผมอยากบอกให้หลายๆท่านที่ยังไม่รู้ว่า ภาษาจีนแต่ละถิ่นนั้นมีภาษาพูด และภาษาเขียนที่ไม่เหมือนกัน เอาเท่าที่ผมเคยเห็นในคาราโอเกะและเห็นในนิตยสาร

เช่น  
---คนแคะ พูดว่าจ๊อหมะเก๊ หรือ จ้อหมะไก้

---ภาษาแต้จิ๋ว พูด จ๊อเมะไก๊

---กวางตุ้ง พูด จ่อมัดเย

---ไหหนำ พูด โต๊ะมิไก่

จะเขียนเป็นตัวหนังสือไม่ได้

---ถ้าจะเขียนให้ได้ ต้องใช้ตัวที่ออกเสียงเหมือน ซึ่งอ่านแบบคนรู้หนังสือจีนระดับด๊อกเตอร์ก็อ่านไม่รู้เรื่อง จะอ่านรู้เรื่องเฉพาะเจ้าของภาษาเท่านั้น แม้แต่ภาษาฮกเกี้ยนก็เช่นกัน ก็ที่หม่อยยั้น (ออกเสียงตามคนหม่อยยั้น เป็นการให้เกียรติ) ยังมีศิลาจารึกที่อ่านว่า ไหง่  ที่ไม่มีในพจนานุกรมจีน

-----มันก็ชัดเจนแล้วไม่ใช่หรือ? ประเทศจีนกว้างใหญ่มาก และมีมากถึง 56 เผ่า แต่ละเผ่าก็มีภาษาของตัวเอง บางเผ่ายังแตกภาษาออกไปอีกต่างหาก เฉพาะที่มณฑลกวางตุ้ง เป็นเผ่าฮั่นเกือบทั้งหมด-แต่ภาษาพูดก็แตกเป็นเสี่ยงๆ

---ในประวัติศาสตร์ เฉพาะที่มณฑลกวางตุ้งก็เคยยกพวกตีกับต่างภาษา ฆ่ากันตายเพราะคุยกันไม่รู้เรื่องนั่นเอง

---สมัยก่อนคนจีนที่มณฑลกวางตุ้ง (มณฑลไม่ใช่คน) ส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนหนังสือ

---จึงสื่อสารกันด้วยตัวหนังสือไม่ได้ ถ้าสื่อสารกันด้วยตัวหนังสือ จะรู้เรื่องกันทุกภาษา(จีน) เพราะตัวเขียนที่เป็นภาษาเขียนเหมือนกันหมด

---เพราะฉนั้น สำคัญมากเน้นว่าสำคัญมาก คนจีนจึงมีความคิดว่าควรใช้ภาษาเดียว(จีนทั่วโลก) จึงได้เกิดภาษาจีนกลาง

---และควรมีมาตรฐานเดียวกัน ไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหาคุยกันไม่รู้เรื่องอีก  กลายเป็นว่าเกิดภาษาใหม่มาจมเลย แบบไปกันคนละสำเนียง

----(พจนานุกรมจีน ไม่ว่าพิมพ์ที่ไหนในโลก ตัวกำกับการออกเสียงอาจจะต่างกัน ตำราใครตำราเขา แต่คนทำและคนใช้พจนานุกรมเล่มนั้นๆ สะกดออกมาแล้ว ในหนังสือตัวเดียวกัน การออกเสียง pronunciation เหมือนกันหมด ถ้าออกเสียงแล้วไม่เหมือนกันก็ต้องมีคนเพี้ยนหรือเพี้ยนทั้งคู่

 

- ตอนผมสมัครเข้ามาในเว็บชาวฮากกาครั้งแรกผมเขียนด้วยภาษาจีน ก็ชื่อก็บอกแล้วนี่ ว่าเป็นชาวฮากกา

---แล้วผมเขียนด้วยภาษาจีนไม่ได้หรือ?

---ผมติดต่อกับญาติที่ประเทศจีน ซึ่งมีเป็นร้อย

---ผมเมล์ด้วยภาษาจีน

---ถ้าผมเมล์เป็นภาษาไทย

---กูเกิ้ล ก็แปลเละเทะครับ! คนที่มีเชื้อสายจีน แต่อ่านหนังสือจีนไม่ออกพูดจีนไม่ได้ อย่าโทษคนอื่น

---ควรเรียนรู้ประเทศจีนมีเศรษฐกิจเป็นที่หนึ่งแล้ว

---แม้แต่สหรัฐอเมริกาตอน US government shutdown习近平,李克强 และคนจีนทั่วประเทศยังหนาวๆ ร้อนๆ เลย

---เพราะกลัว Obama ไม่ใช้หนี้

 

ถ้าใครพิมพ์ภาษาจีนว่า兴宁话 ไปวางใน google ค้นหา มันจะลิ๊งค์เข้า เวบจีน เป็นบล๊อกภาษาจีนเยอะแยะ ที่เกี่ยวกับ兴宁话 แล้วถ้าท่านเลือกเข้าไปที่自我详细一点的介绍 มันจะลิ๊งค์เข้า hakka poeple(Thailand) แต่ที่คนจีนเข้ามาน้อย เพราะเขาอ่านเว็บภาษาไทยไม่รู้เรื่องนั่นเอง สมัครเป็นสมาชิกก็ยาก (ผมพิมพ์มจากที่บ้านแล้วนำมาวาง มันจึงออกมาเพี้ยนๆ อยู่ห้องสมุด มีขีดจำกัดหลายๆอย่าง เฮ้อๆๆๆ )

廖添年 2013-10-30

 
[email protected]    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal