หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

-ญ- มิ่งมงคลร้อยรัคติจีน9 ยอดหญิงแผ่นดินจีนผู้ยิ่งใหญ่

รูปภาพของ เฉินซิ่วเชง

27/กค/52 

ตามด้วยอักษร -ญ-

ยอดหญิงแผ่นดินจีนผู้ยิ่งใหญ่

-ญ- มิ่งมงคลร้อยรัคติจีน 9

น้อมรับศรัทธาที่ยิ่งใหญ่จากหญิงงามของแผ่นดินจีน
 

แก่นแท้เหตุการณ์ประวัติศาสตร์จีนสำคัญ

ที่พลิกผันชะตาชีวิตของชนชาติอันยิ่งใหญ่ด้วยสตรีเหนือบุรษ

รหัสความงามของสตรี..คำว่า

มัจฉาจมวารี   ปักษีตกนภา

จันทร์หลบโฉมสุดา และมวลผกาละอายนาง 

 "แม่นางหยางกุ้ยเฟย,หวัง จ้าวจวิน,เตียวเสี้ยน,ไซซี .

闭月羞花 อ่านว่า ปี้ เยี่ยว์ ซิ่ว ฮัว  หมายถึง "จันทร์เขินบุปผาอาย "

นิทานนี้ 闭月(ปี้ เยี่ยว์) และ 羞花(ซิ่วฮัว) ต่างก็เป็นชื่อของหญิงงามในยุคโบราณของจีน

 เป็นฉายาของแม่นางเตี้ยวฉาน และแม่นางหยาง อี้ว์หวน

ซึ่งแต่ละฉายาต่างก็มีคำบอกเล่าถึงที่มา ดังจะกล่าวต่อไปนี้   เรื่องมีอยู่ว่า

เตี้ยวฉานซึ่งเป็นหญิงงามผู้หนึ่งในสมัยสามก๊ก

คืนหนึ่งเธอได้ออกมาเดินเล่นชมพระจันทร์ที่สวนดอกไม้ จู่ๆ ก็มีลมพัดแผ่วมา

กลุ่มเมฆก็พลันเคลื่อนตัวมาบดบังพระจันทร์ดวงโต

 บังเอิญผู้เป็นพ่อก็ผ่านมาเห็นเหตุการณ์ดังกล่าวเข้า ต่อมาเขาจึงบอกทุกคนถึงความงามของบุตรสาวว่างดงาม

จนพระจันทร์ที่ว่าสวยยังรู้สึกเขินจนต้องซ่อนตัวหลังม่านเมฆ   

 เพราะเหตุนี้เตี้ยวฉาน จึงได้รับสมญานามเสียใหม่ว่า "อับจันทร์" (ปี้ เยี่ยว์)

นอกจากนี้ยังมีอีกสาวงามนามว่า "หยาง อี้ว์หวน" เธอคือสนมนางหนึ่งในสมัยถัง

 เล่ากันว่าครั้งหนึ่งนั้นเธอออกมาชมดอกไม้ที่อุทยาน

เมื่อเห็นดอกไม้ที่บานสะพรั่ง ก็นึกให้น้อยใจ เมื่อวัยสาวถูกปิดกั้นอยู่แต่เพียงในพระราชวัง พลันเปรยออกมาว่า

"อา..เจ้าดอกไม้ ทุกปีที่ผ่านเจ้ายังมีวันได้ผลิแย้มกลีบใบ แต่ข้าเมื่อใดจะเห็นตะวันยังมิรู้"

 พูดจบ ก็เอื้อมมือไปสัมผัส ทันใดดอกไม้ก็ลดช่อต่ำลง บังเอิญนางกำนัลเดินมาพบเข้า จึงเก็บเอา

เรื่องนี้ไปคุยจนทั่ววัง ว่าความงดงามของหยาง อี้ว์หวนนั้นแม้กระทั่งบุปผา

ที่สวยสะพรั่งยังละอายจนต้องลดช่อหลบ  เพราะเหตุนี้ จึงเป็นที่มาของ "บุปผาอาย" (ซิ่วฮัว)

ทั้งนี้ 闭月羞花,月亮见了躲避,花儿见了含羞 (จันทร์เขินบุปผาอาย

พระจันทร์เห็นแล้วอยากหลบ ดอกไม้พบรู้สึกอาย)

ใช้เปรียบเทียบถึงหญิงสาวที่งดงามจนไม่มีใครเทียบเทียมได้

จริงๆแล้วยอดหญิงงามของจีนที่เล่ากันมา ยังมีอีกหลายคน

เชื่อว่าน่าจะพอเคยได้ยินกันมาบ้างเช่น ไซซี เตียวเสี้ยน หยางกุ้ยเฟย และหวัง จ้าวจวิน

Thanks Credit to http://www.chinese.cn สถาบันขงจื่อออนไลน์

ที่รวบรวมบทความและความรู้ดีๆ ให้คอวัฒนธรรมจีน

 

 ภาพจาก: gotoknow.org/blog/phetroong/214554

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 5 พฤศจิกายน 2551 18:17 น.

 

โฉมงามหนึ่ง...ซีซือ xishi...    

งามเลื่องลือที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติจีน

  เสน่ห์นางนั้นชวนไหลหลงยิ่ง

  ความงามนั้นมีไว้เพื่อประโยชน์แห่งแผ่นดิน

  ความงามที่สั่นสะเทือนราชบัลลังก์ฟูไชฮ่องเต้ผู้เก่งกล้า

  นักรบที่แข็งแกร่งที่สุด กลับสยบในอ้อมกอดแห่งโฉมอิสตรี

  เมืองล่มสลาย  ฟูไชเชือดพระศอสังเวยคมเสน่ห์ของนางผู้ถูกส่งมากำจัดพระองค์

 เพราะความงามดุจเทพวิจิตรสร้าง

เพราะความงามดุจลูกเกาทัณฑ์อาบยาพิษที่บุรุษอาชาไนยยินดีแอ่นอกรับ

นี่แหละ  ซีซือ...   โฉมงามผู้ทำลายเมืองและราชบัลลังก์ศัตรู

โฉมงามสอง...หวางเจาจวิน wang zhaojin   ผู้ถูกจำพรากจากบ้านเกิดเมืองนอน

ความงามของนาง...ทำให้ต้องนิราศร้างจากแผ่นดินเกิด

ความงามคือทูตสันถวไมตรีไปยังเซียงหนู

ผู้พบเห็นต้องตะลึงในความงามอันหาที่ติมิได้

ขับเพลงเสนาะ กับเครื่องดีดคู่กาย...แสนไพเราะยิ่ง

ทำนองเศร้าสร้อยที่ต้องร้างไกลจากบ้านมายังถิ่นอนารยธรรมแดนศัตรู

แลตายเพราะตรอมตรม  แสนรันทดยิ่งนัก

โฉมงามสาม...เตียวเสี้ยน diaochan   นางผู้พลิกแผ่นดินให้ลุกเป็นไฟ

ความงามของนางเป็นมหันตภัยยิ่งของนักรบผู้แข็งแกร่งทุกคนที่ใกล้ชิด

ลิโป้สังหารตั๋งโต๊ะก็เพราะแย่งชิงนาง

ตั๋งโต๊ะตายเพราะเมียรักโดยแท้

ลิโป้ถูกยั่วเสน่ห์ และลุ่มหลงนาง

ความภักดีมิได้มีไว้มอบแก่บุรุษ แต่...เพราะงมงายในเสน่ห์เหลือล้นของนาง

ร่ำสุรา เมามาย เคล้ากายนารี จนพบจุดจบอย่างไร้ศักดิ์ศรี

บ้านเมืองที่แข็งแกร่งต้องพินาศเพราะนางโดยแท้

โฉมงามสี่...หยางกุ้ยเฟย yang guifei  นางผู้สั่นสะท้านราชสำนัก

ความงามที่อวบอิ่มยามดรุณแรก ...สบตาแรกไฟราคฮ่องเต้เฒ่าถังหมิงก็ลุกโชน

ถังหมิงพรากนางไปจากโอรส...ยกฐานะลูกสะใภ้ขึ้นเป็นสนมเอก

ฐานะมารดาบุญธรรม

หลี่เม่าโอรสชอกช้ำใจที่ถูกพรากชายา

ถังหมิงเมามายลุ่มหลงนางจนบ้านเมืองระส่ำระสายด้วยไร้ฮ่องเต้ออกว่าราชการ

นางและพวกเรืองอำนาจขึ้น

นางมีลูกบุญธรรมกำยำคนหนึ่งไว้ข้างกาย...  แม้ถูกอัปเปหิ แต่ก็กลับมาอีก

แต่เพราะนาง...ได้ชักศึกเข้าเมือง ราชสำนักป่นป่วนเพราะแย่งชิงบัลลังก์

เฒ่าถังหมิงฮ่องเต้หนีพร้อมนาง...แต่ไม่รอด   

หยางกุ้ยเฟยถูกกำจัด  ...ฮ่องเต้พร่ำเพ้อถึงนางจนประชวรและสวรรคต

โฉมงามหยางกุ้ยเฟย คือ อิสตรีผู้ล่มราชบัลลังก์โดยแท้

............................................................................................................

ความงามของสตรียอดวิไล   คือมหันตภัยของบุรุษ  

ความงามที่อาบยาพิษ  คือความงามที่อาจล่มบ้านล่มเมืองได้

บุรุษผู้เก่งกล้าเพียงไหน ...ย่อมสยบต่อเบื้องเท้านางได้...หากปล่อยราคะเข้าครอบงำ 

ในประวัติศาสตร์ของจีนมีการกล่าวขวัญหญิงสาวหลายนางที่มีความงามเป็นเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็น ไซซี

หวังเจาจวิน หยางกุ้ยเฟย เฉินหยวนหยวน หรือไช่เหวินจี

แล้วมาตรฐานสาวงามตามแบบจีนดั้งเดิมนั้นเป็นอย่างไร...

ใบหน้า

แต่ไหนแต่ไรมา ชาวจีนมองว่าใบหน้ารูปไข่เป็นรูปหน้าที่ได้สัดส่วนที่สุด

เมื่อแบ่งตามขวางแล้วจะได้ 3 ส่วน : จากไรผมถึงคิ้ว

จากคิ้วถึงปลายจมูก จากปลายจมูกถึงคาง เมื่อมีรูปหน้าที่สวยงามแล้วราย

ละเอียดบนใบหน้าก็ต้องเหมาะเจาะ ระยะห่างระหว่างตา 2 ข้าง

จะต้องเท่ากับความยาวของดวงตา ยิ่งถ้าใครมีลักยิ้มบนแก้ม

ก็จะถูกมองว่าเป็นหญิงสาวที่มีเสน่ห์คนหนึ่ง

คิ้ว

ชาวจีนเชื่อกันว่า คิ้วและดวงตาของผู้หญิงสามารถสะท้อนถึงจิตใจของพวกเธอได้

ส่วนคิ้วรูปแบบไหนจึงจะเรียกว่าสวยนั้น ต้องบอกว่าขึ้นอยู่กับยุคสมัย

อย่างในสมัยราชวงศ์ฉิน (221-207 ปีก่อนคริสตศักราช)

แม่นางทั้งหลายนิยมคิ้วดก ยาว และโค้ง ขณะที่สาวสมัยฮั่นนิยมคิ้วรูปสามเหลี่ยมคล้าย “八”

เรื่อยมาจนถึงสมัยถังหญิงสาวนิยมกันคิ้วให้เป็นรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวหรือใบหลิว

กระทั่งในช่วงกลางศตวรรษที่ 14 คิ้วโก่ง บางก็กลายเป็นรูปทรงยอดนิยม

ดวงตา

ในบทกลอนของจีนมักเปรียบเทียบความงามของหญิงสาวว่างามดุจ

ดอกท้อแย้มบานในฤดูใบไม้ผลิ ดวงตาเรียวยาว หางตาตวัดโค้งขึ้น ลูกนัยน์ตาดำสนิท

ริมฝีปาก

ริมฝีปากเล็ก สีชมพู เป็นมันเงา มุมปากโค้งขึ้น หรือที่เรียกว่า

“ปากเล็กเหมือนผลเชอร์รี่” เป็นปากที่ชาวจีนสมัยก่อนมองว่างามที่สุด

รูปร่าง

ทฤษฏีความงามแบบดั้งเดิมของจีนกล่าวไว้ว่า เอวที่คอดกิ่วเป็นความงามอย่างหนึ่งของผู้หญิง

 ส่วนเว้าส่วนโค้งที่งดงามได้สัดส่วนสะท้อนถึงความอ่อนช้อยและอ่อนโยนของผู้หญิง จีนในยุคโบราณมองว่า

หญิงสาวที่มีเอวและสะโพกเป็นรูปนาฬิกาทรายนับเป็นหญิงสาวที่มีรูปร่างงดงามสมบูรณ์แบบ

ในตำนานและบทกลอนเก่าแก่ก็เคยพาดพิงถึงเสน่ห์อันเย้ายวนใจของเอวที่คอดกิ่ว

และที่โด่งดังเรื่องหนึ่งคงหนีไม่พ้นเรื่องราวเมื่อ 2,000 กว่าปีก่อนของฉู่หลิงอ๋อง ผู้ครองรัฐฉู่

ผู้ชื่นชอบหญิงสาวที่มีเอวเล็ก บรรดาพระสนมชายาต้องการเป็นที่โปรดปรานก็พากันอดอาหารมัดเอว

จนสุขภาพย่ำแย่ แม้แต่ขุนนางก็พยายามจะผอมเพื่อเอาใจฉู่หลิงอ๋อง วันๆ หนึ่งทานอาหารแค่มื้อเดียว

ไม่นานก็ร่างกายทรุดโทรมยืนแทบไม่อยู่ ไฉนเลยจะมีเรี่ยวแรงสนใจงานการ

เซ็กซี่อย่างจีน

ความเซ็กซี่ของสาวจีนสมัยก่อนเป็นอย่างไร? สะโพกยกกระชับ หน้าอกภูเขาไฟหาใช่คำตอบสุดท้าย

สมัยก่อนชาวจีนมองว่าคิ้วคือสิ่งที่เซ็กซี่ที่สุดของผู้หญิง โดยคิ้วนั้นสามารถสะท้อนอารมณ์ของหญิงสาวได้

ดังนั้นจึงมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า “สายรุ้งแห่งอารมณ์” (七情之虹) ส่วนอวัยวะที่ถูกมองว่าเซ็กซี่รองลงมาได้แก่ ไหปลาร้าและคออันงามระหง

งามที่ใจใช่ใบหน้า

แม้จะมีรูปร่างหน้าตาสะสวยเพียงไร แต่สิ่งที่สำคัญและได้รับการยกย่องเสียยิ่งกว่า

ความงามภายนอกก็คือหญิงสาวผู้ทรงไว้ซึ่ง 3 เชื่อฟัง 4 คุณธรรม...3 เชื่อฟังก็ได้แก่

ก่อนแต่งให้เชื่อฟังบิดา หลังแต่งให้เชื่อฟังสามี และเมื่อสามีตายจากก็ให้เชื่อฟังลูกชาย

ถือเป็นแนวคิดที่ยิ่งใหญ่ของผู้หญิงในสมัยก่อน ทั้งชีวิตทำเพื่อคนอื่นและอยู่เพื่อคนอื่น

 

ส่วน 4 คุณธรรมนั้นก็ได้แก่ รูปร่างหน้าตาจะต้องสะอาดสะอ้าน

อีกทั้งกริยามารยาทเพียบพร้อม กล่าวมธุรสวาจา อีกทั้งการบ้านการเรือนไม่ขาดตกบกพร่องนั่นเอง

ความรู้ของหญิงสาว

ดนตรี - ดนตรีในที่นี้หมายถึงพิณ 7 สาย ซึ่งมีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 3,000 ปี

หมากรุก - หมายถึงหมากล้อม หญิงสมัยก่อนไม่มีโอกาสได้ทำงานเหมือนกับผู้ชาย

ดังนั้นจึงได้รวมตัวกันเล่นหมากล้อมเพื่อผ่อนคลาย

เขียนพู่กัน – การเขียนอักษรหรือคำกลอนไม่ใช่เรื่องสำหรับผู้ชายเฉพาะ

ผู้หญิงเรียนรู้ว่าจะเขียน อ่าน และเขียนพู่กันจีนอย่างไร ไม่ว่าจะมีภูมิหลังทางครอบครัวอย่างไร

พวกเธออ่านเพื่อพัฒนาตัวเอง เขียนบทกลอนเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกและเรื่องราวชีวิตของตัวเอง

และเขียนพู่กันจีนเพื่อความบันเทิง

วาดภาพ - ในสมัยก่อนมีผู้หญิงหลายคนที่มีพรสวรรค์ในการวาดรูป แม้ว่าทักษะของพวกเธอมักถูกมองข้าม

โดยสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่ก็ตาม หัวข้อที่พวกเธอชอบวาดส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับดอกไม้ สัตว์เลี้ยง และหญิงงาม

งานเย็บปัก - งานเย็บปักถักร้อยนั้นก็นับว่าเป็นสัญลักษณ์ของหญิงสาวที่ขยันขันแข็ง

และสะท้อนให้เห็นถึงอารมณ์และความฉลาดของผู้หญิงด้วย ทั้งยังเป็นมาตรฐานของศรีภรรยาที่ดี

 

แก่นแท้เหตุการณ์ประวัติศาสตร์จีนสำคัญ  ที่พลิกผันชะตาชีวิตของชนชาติจีน

อันยิ่งใหญ่    ด้วยสตรีเหนือบุรุษที่นอกจากความงามอะไรคือสาเหตุ ทีหญิงจีน

ได้รับการยกย่องกล่าวขาน อธิเช่น  บูเช็กเทียน  หยางกุ้ยเฟย  ไชซี  เตียวเสี้ยน

 

ไม่ว่าสมัยนี้หรือสมัยใด     การที่สตรีจะตั้งตนมีอำนาจเหนือผู้คนนั้นท่านว่าง่ายหรือไม่  

 อย่าว่าแต่อิตถีสตรีเพศที่บอบบางเลย  แม้แต่บุรุษชาติอาชาไนยเองก็แสนยาก

    

บูเช็กเทียน

ภาพจาก: mblog.manager.co.th/.../

ภาพจาก: mblog.manager.co.th/ana123/162--/

เรื่องพระนางบูเช็กเทียนทรงปลดดอกโบตั๋น -武则天贬牡丹

武则天在一年冬天来到花园里游览,  大雪刚停,到处都是白色的,

十分漂亮。  突然她看见了在雪中盛开的红梅,高兴极

了。这时,武则天想:  如果现在能让百花盛开该有多好。 

 于是,她写了一首诗,  让宫女拿到花园里焚烧,  告诉百花仙

子。  百花仙子听到这个消息,  都十分害怕。大家都说:

“咱们还是早点做准备,  提前开花吧。  如果武则天生气了,咱

们都要倒霉了。”只有牡丹仙子不同意她们的意见,  她说:

“百花开放,  是遵从季节的  ,怎么能随便开放呢?  武则天

太霸道了,  我就不开,  看她怎么办!”

ในฤดูหนาวของปีหนึ่ง  พระนางบูเช็กเทียน  ( 武则天-- อู่เจ๋อเทียน – จีนกลาง )  

ได้เสด็จลงประพาสในอุทยาน พายุหิมะเพิ่งหยุดพัด  

ทุกหนทุกแห่งล้วนแต่เป็นสีขาว  งดงามเหลือคณา   

 พลันพระนางก็ได้ทรงทอดพระเนตรเห็นดอกเหมยสีแดงบานอยู่ท่ามกลางหิมะ   ทรง

สำราญพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ณ   ขณะนั้น    พระนางบูเช็กเทียนทรงดำริว่า  

 หากตอนนี้ สามารถทำให้มีบุปผชาตินานาพรรณเบ่งบานได้ ก็

คงจะดีไม่น้อย   ดังนั้น   พระนางจึงทรงรจนาบทกวีขึ้นมาบทหนึ่ง   

ให้นางกำนัลนำไปจุดไฟเผาในอุทยาน   เพื่อบอกกล่าวต่อเทพแห่งบุ

ปผานานาพรรณ   เทพแห่งบุปผานานาพรรณได้ทราบข่าวนี้แล้ว   

ต่างพากันเกรงกลัว ทุกนางล้วนกล่าวว่า    “เราคงต้องเตรียมงานให้

พร้อมเร็วหน่อย ทำให้ดอกไม้บานก่อนเวลากันเถอะ   

 หากพระนางบูเช็กเทียนทรงกริ้วแล้วละก็   พวกเราล้วนต้องประสบโชคร้ายกันแล้วล่ะ”  

มีแต่เพียงเทพแห่งดอกโบตั๋นที่ไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นของเหล่าเทพ    

นางกล่าวว่า    “นานาบุปผชาติเบ่งบาน  ล้วนแต่ต้องเป็นไปตามฤดูกาล 

นึกจะบานตามอำเภอใจได้อย่างไร ?    พระนางบูเช็กเทียนทรงฝ่าฝืนกฎเกินไปแล้ว   

 ข้าก็จะไม่บาน    ดูซิว่าพระนางจะทรงทำอย่างไร ?”

第二天,  百花都开放了,  武则天高兴极了, 

可是她发现只有牡丹没有开花。 

 武则天十分生气, 

 她命令士兵把花园中所有的牡丹都烧掉, 

 并且把长安城中的牡丹都扔到洛阳的山上。  可是,牡丹到了洛阳,

  又开始了新的生命,  开得特别好,  得到了洛阳人们的喜爱。 

后来,越来越多的人都开始栽种牡丹,  洛阳的牡丹就全国闻名了。

ในวันต่อมา   บุปผชาตินานาพรรณล้วนเบ่งบาน   

พระนางบูเช็กเทียน ทรงสำราญพระทัยเป็นอย่างยิ่ง

แต่ทว่า พระนางทรงทอดพระเนตรเห็นว่า

มีแต่เพียงดอกโบตั๋นที่ไม่ยอมบาน   พระนางบู

เช็กเทียนทรงกริ้วมาก   ทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้ทหารนำเอา

ต้นดอกโบตั๋นทั้งหมดในอุทยานไปเผาทิ้ง   

อีกทั้งให้นำเอาต้นดอกโบตั๋นทั้งหมดในเมืองฉางอันไปทิ้งไว้บนเขาลั่วหยาง แต่

ทว่า   เมื่อถึงลั่วหยาง ดอกโบตั๋นก็กลับฟื้นคืนชีพ  

เบ่งบานอย่างงามวิจิตรตระการตา  

เป็นที่รักใคร่ชื่นชอบของชาวเมืองลั่วหยาง   ต่อมา  

ผู้คนจำนวนมาก   ยิ่งนับวันก็ยิ่งลงมือปลูกดอก

โบตั๋น   ดอกโบตั๋นของเมืองลั่วหยางจึงได้มีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วประเทศ

มีคำกล่าวว่า "ถ้าอยากจะย้อนดูจีนในช่วงเวลาไม่กี่สิบปีให้ไป--กวางเจา,   

ถ้าอยากดูจีนในร้อยปีให้ไป--เซี่ยงไฮ้   ถ้าอยากย้อนดูจีนในห้าร้อยปีให้ไป--ปักกิ่ง  

แต่ถ้าอยากดูจีนในห้าพันปี ให้มาที่--ซีอาน"...   

นั่นเพราะว่าซีอานเป็นเมืองหลวงที่ยาวนานถึง 13 ราชวงศ์ด้วยกัน...  

โดยราชวงศ์สุดท้ายที่ตั้งเมืองหลวงที่นี่คือ ราชวงศ์ถัง 唐朝   

ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งยุคทองของ จีน...   การเป็นเมืองหลวงอันยาวนาน  

ทำให้ที่นี่ปรากฏสุสานฮ่องเต้มากมาย    เป้าหมายการเดินทางวันนี้เป็นสุสานสำคัญหนึ่งของจีน...  

สุสานเฉียนหลิง   เป็นสถานที่บรรจุร่างของสามี ภรรยาคู่หนึ่ง    ที่มีคำเรียกหาว่า "ฮ่องเต้"  

ทั้งคู่ในประวัติศาสตร์จีน——ฮ่องเต้ถังเกาจง 唐高宗   

และบูเช็กเทียน 武则天   ("อู่เจ๋อเทียน" ในภาษาจีนกลาง)

สุสานเฉียนหลิง 乾陵   มีความเป็นอันดับหนึ่งใน 5 ประการด้วยกัน ได้แก่...   

 (1) เป็นสุสานเพียงแห่งเดียวที่บรรจุพระศพของฮ่องเต้ 2 พระองค์ร่วมกัน  

โดยทั้งสองพระองค์นั้นมีความ สัมพันธ์เป็นสามีภรรยา...    

(2) ริเริ่มธรรมเนียมการตั้งแท่นศิลาสรรเสริญพระเกียรติของฮ่องเต้  

 และยังเป็นสุสานเพียงแห่งเดียวที่ปรากฏแท่นสดุดีไร้อักษร            

 "อู๋จื้อเปย" 无字 碑...   

(3) ริเริ่มธรรมเนียมการจัดวางกลุ่มหินสลักต่างๆ   บนเรียงรายสองข้างทางทอดสู่ตัวสุสาน... 

(4) ริเริ่มธรรมเนียมการวางสิงโตหินคู่ตรง   4 ประตูทางเข้าสู่ตัวสุสาน...   

(5) เป็น สุสานที่มีหุ่นของผู้นำชนกลุ่มน้อยและคณะตัวแทนจากดินแดนอื่นมากที่สุดถึง 61 ตัวด้วยกัน

ทางศักดิ์สิทธิ์
“神道”หรือ “司马道”

 


สองข้างประดับด้วยหุ่นหินแกะสลักขนาดใหญ่ มีสัตว์มงคล

อาทิ ม้าบิน นก องครักษ์ และเสนาบดี ทำหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์ร่างที่นอนนิทราอยู่ใต้เนินดินเบื้องหลัง

สองฮ่องเต้ผู้ฝังร่างอยู่ใต้ยอดเขาเหนือของเขาเหลียงซาน 梁山

นั้นก็คือ ฮ่องเต้ถังเกาจง 唐高宗 และ"บูเช็กเทียน" 武则天 ฮ่องเต้สตรีองค์เดียวของจีน...

ถังเกาจงเป็นฮ่องเต้องค์ที่ 3 ของราชวงศ์ถัง    ตามประวัติแล้วฮ่องเต้พระองค์นี้ไม่โดดเด่นใน

ด้านการบริหารราชกิจนัก    ออกจะเจ้าสำราญนิดๆ   

 แต่ก็ยังสามารถรักษาสภาพต้นยุคทองของราชวงศ์ถังไว้ได้.

.. ส่วนอู่เจ๋อเทียนนั้น   เดิมเป็นสนมของฮ่องเต้ถังไท่จง   唐太宗   ผู้เป็น

พระบิดา... นางต้องปลงผมออกบวชเป็นชีตามธรรมเนียมที่ว่า   

เมื่อฮ่องเต้ที่ถวายงานรับใช้สวรรคตลง   สนมผู้ไร้โอรสธิดาจะ

ต้องออกบวชและสวดมนต์ภาวนาถวายเป็นพระกุศลแด่องค์

ฮ่องเต้...   แต่แล้วด้วยรูปโฉมที่งดงาม   ทำให้นางสามารถกลับคืนสู่วังหลวง

ได้ในฐานะสนมของฮ่องเต้องค์ถัดมา...   และก็ด้วยความอำมหิตมากอุบาย  

สามารถทำให้ฮ่องเต้ถังเกาจงปลด

ฮองเฮาเดิม   แล้วแต่งตั้งนางเป็นฮองเฮาแทนในปีต่อมา  

(ตามบันทึก นางบีบคอพระธิดาทารกของตัวเองจนตาย แล้วโยนความผิดไปให้องค์ฮองเฮา)

ศิลาสดุดีพระเกียรติถังเกาจง "ซู่เซิ่งจี้เปย"
述圣记碑

 


บูเช็กเทียนบัญชาให้ช่างแกะศิลาบรรยายคุณความดีของพระสวามี 

จากเนื้อหาบนแท่นศิลานี้เอง   ทำให้คาดเดากันว่าในสุสานที่บรรจุ

พระศพของถังเกาจงจะต้องมีหนังสือและภาพล้ำค่า

ต่างๆ ที่เป็นของรักอยู่มากมาย ... แท่นศิลานี้ ชาวบ้านเรียกว่า

"ศิลาเจ็ดท่อน" 七节碑——ชีเจ๋เปย... (ตัวศิลามี 5 ท่อน.. รวมส่วนหลังคากับฐานเข้าไป ก็ 7 พอดี)

พระนางเริ่มแสดงความปรีชาและ  ความเด็ดขาดตั้งแต่เมื่อครั้งยังเป็นสนม  

ในรัชสมัยของฮ่องเต้ถังไท่จง 唐太宗... ถังไท่จงมียอดอาชาอยู่ตัวหนึ่ง  

ม้าตัวนี้ขึ้นชื่อเรื่องความพยศ ไม่มีใคร สามารถปราบให้เชื่องได้

แต่สนมคนนี้ก็ได้ทูลขอเครื่องมือ 3 อย่างไปปราบพยศ  

ก็คือ แส้เหล็ก ฆ้อนเหล็ก และกริช... นางทูลว่า เมื่อพยศก็ให้ใช้แส้เหล็ก

นี้ฟาดโบย หากยังไม่สงบ ก็ให้ใช้

ฆ้อนเหล็กตีที่หัว แต่หากยังไม่หยุดพยศอีก ก็ให้ใช้กริชเชือดคอเสีย...

พอได้ขึ้นเป็นฮองเฮาในยุคของฮ่องเต้ถังเกาจง 唐高宗   

พระนางก็เริ่มเข้าไปมีบทบาทในการบริหารราชการบ้านเมือง...

ด้วยความเฉลียวฉลาดและความโหดเหี้ยมเด็ดขาด   ทำให้พระนาง

สามารถกุมอำนาจเหนือเสนาบดีชั้นผู้ใหญ่ต่างๆ...

และเมื่อฮ่องเต้ถังเกาจงสิ้นพระชนม์ ก็ได้สถาปนาตัวเองขึ้นเป็นฮ่องเต้...  

ด้วยพระปรีชาทางการบริหาร การสรรหาและเลือกใช้คน   ทำให้

แผ่นดินในรัชสมัยของพระนางเจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก

เป็นยุคที่ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี   ถือเป็นยุคทองยุคหนึ่งของจีน...

ศิลาไร้อักษร "อู๋จื้อเปย"
无字碑


 

แท่นหินนี้   คือแผ่นศิลาสดุดีคุณความดีขององค์ฮ่องเต้หน้าสุสาน

ทว่าแผ่นศิลาของบูเช็กเทียนนั้นกลับว่างเปล่า ไม่มีตัวอักษรแม้แต่ตัวเดียว 

(ตัวอักษรที่ปรากฏอยู่ถูกจารึกในยุคหลัง)   มี

คำอธิบายปรากฏการณ์นี้หลายอย่าง... บ้างก็ว่า  

 เป็นเพราะพระนางมีพระประสงค์ให้ชนรุ่นหลัง 

 เป็นฝ่ายสดุดีคุณงามความดีของพระองค์เอง... บ้างก็ว่า เป็นเพราะพระองค์เห็นว่าคุณูปการ

ต่างๆ   ที่ได้สร้างขึ้นแก่แผ่นดินจีนนั้น ยิ่งใหญ่แลมากมายจนไม่สามารถบรรยายได้หมด

หุ่นผู้นำชนกลุ่มน้อยและคณะทูตานุทูต

 


รูปสลักหินเหล่านี้ เรียงรายอยู่สองฝั่งทางเข้าสุสาน   

ตามบันทึกบอกว่าพิธีพระศพของถังเกาจงนั้น   มีผู้นำชนกลุ่มน้อย 

และคณะทูตต่างถิ่นเดินทางมาร่วมไว้อาลัยเป็นจำนวนมาก    มีทั้งมา

จากเอเชียกลางและดินแดนทางตะวันตกของอาณาจักร...

บูเช็กเทียนจึงได้มีบัญชาให้ช่างสลักหินจำลอง 

กลุ่มผู้นำแคว้นและตัวแทนเหล่านั้นตามคนจริง โดยให้สลักชื่อตัว   ตำแหน่ง  

และดินแดนที่มาไว้ด้านหลังของหุ่น... เสียดายที่ปัจจุบันส่วนศีรษะหุ่นทุกตัว เสียหายไปทั้งหมด

สิงโตหินคู่ปากทางเข้าสุสานเฉียนหลิง

เชื่อกันว่าสุสานแห่งนี้เป็นเพียงสุสานเดียวเท่านั้น ที่ยังไม่โดนถูกขุดโขมย...

หลังจากมีความพยายามโขมยขุด/ระเบิดอยู่หลายครั้ง

แต่ก็ยังไม่มีใครหาทางเข้าสุสานพบ...

จนกระทั่งมีการพบ

โดยบังเอิญจากการระเบิดหินของชาวบ้าน เมื่อชัดเจนแล้วว่า

เป็นทางเข้าสุสานแน่ เจ้าหน้าที่ก็เริ่มทำการขุดสำรวจ...

ในเบื้องต้นพบว่าทางเข้าที่เป็นทางลาดนั้นถูกอุดด้วยท่อนหิน   

การอุดเป็นไปในลักษณะวางทับซ้อนกันเป็นชั้นๆ

 เป็นจำนวนทั้งหมด 39 ชั้น ผิวหน้าปรากฏ 410  ท่อน ประเมินว่าน่าจะใช้

ท่อนหินทั้งหมดกว่า   8,000 ท่อน ระหว่างชั้นหินใช้เหล็กรัดติดกัน  

 ทั้งยังมีการเทน้ำเหล็กเหลวร้อนๆ เชื่อมท่อนหินให้ติดสนิทอีกด้วย...

จนบัดนี้สุสานนี้ยังคงนอนสงบนิ่งไร้การรบกวนจาก

โลกภายนอก

ป้าย "สุสานเฉียนหลิง ถังเกาจง"
《唐高宗乾陵》


แท่นป้ายตั้งอยู่กลางทางเดินเข้าสู่เนินดินสุสาน   ป้ายเดิมนั้นเสียหายหมดแล้ว 

 

ป้ายนี้สร้างใหม่ในยุคชิง... ด้านหลังเป็นยอดเขาทิศเหนือของเขาเหลียงซาน 梁山

สุสานเฉียนหลิงอยู่ใต้ยอดเขา

จาก...http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=tikamygdala&group=22&month=09-2008&date=18 

 

หยางกุ้ยเฟย หยางกุ้ยเฟย “ความงามที่ทำให้แม้แต่มวลหมู่ดอกไม้ยังต้องละอาย”

ภาพจาก: m.exteen.com/blog/whitemaples/read/1408175 

 

ภาพจาก: roch.clubdara.com/topic.php?topic=2668

หยางกุ้ยเฟย “ความงามที่ทำให้แม้แต่มวลหมู่ดอกไม้ยังต้องละอาย”

หยางอี้หวน มีชีวิตอยู่ในปี 719-756 เป็นชาวเมืองหย่งเล่อ   

มีความสามารถในทางดนตรีขับร้องและฟ้อนรำ    ที่จริงเป็นชายาของโซ่วอ๋อง    

โอรสองค์ที่ 18 ของฮ่องเต้ถังเสวียนจง ภาย

หลังถังเสวียนจงพบว่าหยางอี้หวนมีรูปโฉมงดงาม     คิดจะเรียกเข้าวัง    

ดังนั้นจึงตั้งให้เป็นนักบวชหญิงฉายาไท่เจิน สมัยเทียนเป่าปีที่สี่ (ค.ศ. 745) ได้เข้าวัง เป็นที่โปรดปรานของถัง

เสวียนจง จึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสนมเอกหรือกุ้ยเฟย (ในขณะนั้นถังเสวียนจงมีพระชนมายุ 61 พรรษา     

ส่วนหยางกุ้ยเฟยมีอายุเพียง 27 ปีเท่านั้น) ทั้งบิดาและพี่ชายของหยางกุ้ยเฟย

ต่างก็มีอำนาจวาสนาในแผ่นดิน ทุกครั้งที่นางจะนั่งรถม้า   

ต่างก็มีบรรดาขุนนางใหญ่บังคับรถม้าให้ด้วยตัวเอง    

นางมีช่างถักทอและปักผ้าถึงเจ็ดร้อยคน มีผู้คนมากมายแย่งกันมอบของ

กำนัลต่างๆ ให้ เนื่องจากขุนนางจางจิ่วจางและหวังอี้มอบของกำนัลให้นางต่างก็ได้เลื่อนตำแหน่ง    

ดังนั้นบรรดาขุนนางทั้งหลายต่างก็หวังที่   จะได้รับผลตอบแทนเช่นเดียวกัน หยางกุ้ย

เฟยโปรดปรานลิ้นจี่จากแดนหลิ่งหนาน   ก็มีผู้คนคิดหาวิธีที่จะนำส่งมาถึงเมืองฉางอานให้เร็วที่สุด

ภายหลังเกิดเหตุการณ์ก่อกบฏ ถังเสวียนจงต้องหลบหนีออกจากนครฉางอาน

เมื่อไปถึงเนินหม่าเหวย บรรดาทหารทั้งหลายไม่ยอมเดินทางต่อ ต่างก็กล่าวว่า เป็นเพราะหยางกั๋วจง ซึ่งเป็น

ลูกพี่ลูกน้องของหยางกุ้ยเฟยสมคบคิดกับคนต่างเผ่า ทำให้อานลู่ซาน ก่อกบฏ

เพื่อที่จะปลอบขวัญทหารถังเสวียนจงจึงได้รับสั่งให้ประหารชีวิตหยางกั๋วจง

แต่บรรดาทหารต่างก็ยังคงไม่ยอม เดินทางต่ออยู่นั่นเอง ต่างก็กล่าวว่าหยางกั๋วจงนั้น

เป็นลูกพี่ลูกน้องของหยางกุ้ยเฟย เมื่อพี่ชายมีความผิด น้องสาวก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงความผิดนั้นไปได้

หยางกุ้ยเฟยจึงถูกประหารชีวิตเช่นกัน

“ความงามที่ทำให้แม้แต่มวลหมู่ดอกไม้ยังต้องละอาย” เป็นฉายาของหยางกุ้ยเฟย

ตอนต้นรัชสมัย ฮ่องเต้มีความลุ่มหลงในอิสตรี จึงได้ส่งคนออกค้นหาสาวงาม ในขณะนั้นหยางหยวนเหยี

ยนมีธิดาที่รูปโฉมงดงามนามว่าหยางอี้หวนถูกเลือกเข้าวัง หลังจากที่เข้าวังแล้ว

นางก็มักจะคิดถึงบ้านเกิด วันหนึ่งนางไปเดินเล่นในสวนดอกไม้ มองเห็นดอกโบตั๋นและกุหลาบจีนที่กำลังบาน

สะพรั่ง แล้วคิดถึงตนเองที่ถูกกักอยู่ในวังหลวง ผ่านวัยสาวไปอย่างไร้ความหมาย

นางร้องไห้พลางลูบดอกไม้นั้น เมื่อนางแตะถูกกลีบดอกไม้กลีบนั้นก็หุบลง ใครจะคิดว่าต้นไม้ที่นางลูบนั้นคือ

ต้นนางอาย นางกำนัลคนหนึ่งพบเห็นเหตุการณ์นี้เข้า จึงนำไปเล่าลือว่าหาก

หยางอี้หวนเทียบความงามกับดอกไม้แล้ว ดอกไม้ยังต้องละอายก้มลงให้แก่นาง เรื่องนี้ได้ยินไปถึงพระกรรณ

ฮ่องเต้ พระองค์มีความยินดีเป็นอย่างมาก จึงทรงเรียกหยางอี้หวนให้เข้าพบทันที

นางแต่งกายงดงามแล้วจึงมาเข้าเฝ้า ฮ่องเต้ได้พบว่านางมีรูปโฉมที่งดงามเป็นอย่างยิ่ง จึงให้อยู่ปรนนิบัติรับ

ใช้ข้างกาย เนื่องจากนางรู้จักเอาใจจึงเป็นที่โปรดปรานของฮ่องเต้ ไม่นานนักก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกุ้ยเฟย

หลังจากที่หยางกุ้ยเฟยมีอำนาจ ก็ได้ร่วมมือกับหยางกั๋วจงให้ร้ายขุนนางที่ภักดี

หลังจากเกิดเหตุก่อกบฏ ฮ่องเต้ได้นำเอาหยางกุ้ยเฟยรวมทั้งเหล่าขุนนางบุ๋นบู๊หลบหนีไปทางตะวันตก อานลู่

ซานยกทัพติดตามไป เพราะไม่เพียงแต่ต้องการแผ่นดินราชวงศ์ถังเท่านั้น

ยังต้องการสาวงามหยางกุ้ยเฟยอีกด้วย ระหว่างทางที่หลบหนีนั้นเหล่าขุนนางทั้งหลายถามฮ่องเต้ว่าท่านต้องการ

แผ่นดินหรือต้องการหยางกุ้ยเฟย หากไม่ประหารนางพวกเราก็จะไม่ร่วมทางไปด้วย

ด้วยความจำเป็นฮ่องเต้จึงสั่งให้ประหารชีวิตหยางกุ้ยเฟย ให้นางผูกคอตายใต้ต้นหลีในสวน ภายหลัง กวี

เอกไป๋จวีอี้ได้แต่งลำนำ “ฉางเฮิ่นเกอ” บรรยายเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ตอนนี้ขึ้น

แหล่งข้อมูล
http://mblog.manager.co.th/nelumbo/th-7393/

 

หยางกุ้ยเฟยดื่มเหล้าในสวนอุทยาน

 

ภาพนี้โด่งดัง   ภาพตอนหยางกุ้ยเฟยอาบน้ำ

ภาพจาก: roch.clubdara.com/topic.php?topic=2668

 

ภาพจาก: mblog.manager.co.th/ana123/207---/

หยางกุ้ยเฟย -- 杨贵

 

唐朝是中国历史上一个很繁荣的时期。 尤其到唐玄宗的时候,经济繁荣,

 社会安定。杨贵妃就生活在这个时代。 杨贵妃名叫杨玉环, 是一位官员的女儿,长得

倾国倾城, 而且能歌善舞。 她开始的时候是皇帝的儿子李瑁的妻子,

但是后来唐玄宗喜欢上她, 经过一番周折以后,

杨玉环成了唐玄宗的妃子, 被称为杨贵妃。 唐玄宗十分喜欢杨贵妃,

每天陪她游玩, 看她跳舞,满足她所有的要求,

还让她的哥哥杨国忠做丞相。杨国忠是一个奸臣,

做了很多不利于国家的事情。 这 样,国家渐渐地衰落了。

后来有一个掌握军队的大官安禄山叛乱, 攻打当时的都城长安,

于是唐玄宗带领杨贵妃逃走。半路上,保护唐玄宗的军队要求唐玄宗惩

治杨贵妃, 认为所有的灾难都是这个女人造成的。 唐玄宗没有办法,

只好处死了杨贵妃。 这时杨贵妃才38岁。

ราชวงศ์ถังเป็นยุคที่รุ่งเรืองมากในประวัติศาสตร์จีน  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

ในสมัยฮ่องเต้ถังสยวนจง (ค.ศ. 712-756) เศรษฐกิจรุ่งเรือง สังคมสงบเรียบร้อย  

หยางกุ้ยเฟยก็มีชีวิตอยู่ในยุคนี้   หยางกุ้ยเฟยชื่อจริงว่าหยางอวี๋หวน

 เป็นลูกสาวข้าราชการคนหนึ่ง   รูปร่างหน้าตาสวยเลื่องลือทั่วทั้งบ้านทั้งเมือง   

ทั้งยังสามารถร้องเพลงร่ายรำ ได้อย่างงดงาม ตอนแรกนางเป็นชา

ยาของหลี่เม่าพระราชบุตรของฮ่องเต้  แต่ทว่า ต่อมาฮ่องเต้ถังสยวนจงได้ทรงพอพระทัยในตัวนาง  

หลังจากผ่านปัญหายุ่งยาก    หยางอวี๋หวนได้กลายมาเป็นสนมของฮ่องเต้   

ได้รับ การขนานนามว่าหยางกุ้ยเฟย  ฮ่องเต้ถังสยวนจงทรงโปรดปรานนางเป็นอย่างยิ่ง 

ทรงพระสำราญเที่ยวเล่นอยู่กับนางทุกวัน   ทอดพระเนตรนางร่ายรำ

นางต้องการสิ่งใดก็ตามใจนางทุกเรื่อง   ทั้งยังทรงแต่งตั้ง

หยางกั๋วจงพี่ชายของนางขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการ   หยางกั๋วจงเป็นขุนนางทรราชย์

ได้กระทำการอันไม่เป็นผลดีต่อบ้านเมืองมากมายหลายเรื่อง  เช่นนี้แล้ว บ้านเมืองจึงได้ค่อยๆ ตกต่ำ

ลง  ต่อมาได้มีขุนนางผู้ใหญ่ผู้บัญชาการเหล่าทัพ, อันลู่ซาน,ได้ก่อการกบฏขึ้น 

บุกเข้าโจมตีฉางอานเมืองหลวงในขณะนั้น ดังนั้น ฮ่องเต้ถังสยวนจง จึงทรงพาหยางกุ้ยเฟยหลบหนีไป

กลางทาง ทหารองครักษ์ของฮ่องเต้ถังสยวนจง  ได้ขอให้พระองค์ทรงลงอาญาหยางกุ้ยเฟย 

เพราะคิดว่านางเป็นต้นเหตุของภัยพิบัติที่เกิดขึ้น ฮ่องเต้ไม่มีทางเลือก    ได้แต่ทรงสั่งประ

หารหยางกุ้ยเฟย   ขณะนั้นนางมีอายุเพียง 38 ปี

 

บ่อสรงน้ำหยางกุ้ยเฟย

 

บ่อสรงน้ำหยางกุ้ยเฟย (หวาชิงฉือ) ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของซีอานราวๆ 45 กม. เชิงเขาลี่ซาน

เมื่อ 2,500 ปีก่อน เป็นวังฤดูร้อนก๊กฉิน สมัยราชวงศ์ถัง พระเจ้าถังเถียนจงและ

สนมเอกหยางกุ้ยเฟยเสด็จมาพักผ่อนที่นี่เสมอ

บริเวณ หวาชิงฉือ สร้างเป็นสวนตกแต่งด้วยบึง เก๋งจีน ภูเขาจำลอง สวยงาม ร่มรื่น

เสาประดับดอกไม้ลายมังกร

มีรูปปั้นหยางกุ้ยเฟยตั้งอยู่ในสวน

1 ใน 4 สาวงามอันเลื่องชื่อของเมืองจีน

มีลำธารน้ำร้อนไหลผ่านและมีบ่อน้ำร้อนหลายสิบแห่ง น้ำมีอุณหภูมิประมาณ 28-30 องศา

นี่คือบ่อสรงน้ำของสนมเอกหยางกุ้ยเฟย ทำด้วยหยกขาว มีคนโยนเหรียญอธิษฐานขอพร

ภายในหวาชิงฉือมีโรงแรมเปิดให้แขกเข้าพักในฤดูหนาว  เพื่อมาพัก

หยางกุ้ยเฟย

 

               สุสานหยางกุ้ยเฟย

นิทานชาวบ้านของจีนเล่าว่า แป้งหอมและเครื่องสำอางนั้นหยางกุ้ยเฟยเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใช้

ทำให้นางมีกลิ่นกายหอมฟุ้งจรุงใจและงามถึงขั้น

" เพียงชม้ายอายสรวลแสนยวลยล

สาววิมลหกวังในไร้สิริ "

แม้หยางกุ้ยเฟยตายแล้ว อานุภาพความงามและความศักดิ์สิทธิ์ของนาง

ทำให้ดินที่สุสานมีคุณสมบัติเป็นแป้งวิเศษ.. ลบไฝฝ้าจุดด่างดำและความอัปลักษณ์ในกายหญิงได้อย่างมหัศจรรย์ !

สาวอัปลักษณ์แซ่จาง.. เป็นผู้พบความวิเศษนี้ก่อนจนกลายเป็นหญิงงาม

เมื่อข่าวเล่าลือออกไป..

ผู้คนก็แตกตื่นกันมาขนเอาดินที่สุสานนางไปใช้

จะเติมดินใหม่สักเท่าไหร่ก็ถูกคนขุดพร่องยุบไปทุกที

ในที่สุด ผู้รักษาสุสานจึงต้องใช้อิฐกองพูนกลบเป็นเนินขึ้นมาแทน ..เฮ้อ

สุสานหยางกุ้ยเฟยเป็นสุสานที่ใช้อิฐเรียงชิดปิดเนินดินเรียบร้อยเพียงสุสานเดียว..

ชาวบ้านจีนจึงแต่งนิทานแสดงสาเหตุให้สอดคล้องตำนานแป้งหอมของยอดหญิงงามผู้นี้

____________________________________________________________

*จาก สี่ยอดหญิงงาม ผู้พลิกประวัติศาสตร์จีน ของ ถาวร สิกขโกศล

 

 ไชซี มัจฉาจมวารี

The Four Beauties หรือ สี่ยอดสาวงามของจีนนั่นเอง

เรื่องราวของสี่ยอดสาวงามของจีนนี้ เป็นเรื่องราวที่โด่งดัง  

และเป็นที่เล่าขานของชนรุ่นหลังมากมาย   บ้างก็ว่าทั้งสี่นางเป็นผู้มีคุณต่อแผ่นดินล้นเหลือ   

ที่ได้ช่วยผ่อนคลายทุกข์เข็ญของ

ชาวประชา จากผู้มีอำนาจที่คิดจะมายึดครองอธิปไตยของเมืองอื่น บ้างก็ว่านางทั้งสี่  

 เป็นผู้ทำให้แผ่นดินล่มสลาย และเกิดการจราจลกันอีกนานต่อมา   สำหรับข้าพเจ้า มองเห็นความเสีย

สละของสาวงามบางท่าน   และได้ชื่นชมกับความสามารถ 

 กอปรกับเชาว์ปัญญาของแม่นางทั้งสี่นี้เป็นอย่างมาก ไหนจะต้องยอมจากถิ่นฐานบ้านเกิด   

ถูกดูหมิ่นดูแคลนจากคนต่างเชื้อสาย ต้องใช้ความสามารถในการร้องรำทำเพลง   

เสน่ห์ความงามเพื่อหลอกล่อบุรุศเพศให้หลงใหล   และเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้สละตัวเองมา...  

จะหาผู้ที่เสียสละเพื่อผู้อื่น โดยไม่คิดหวัง   เพื่อตนเอง   ในปัจจุบันนี้คงยากนักหนา

 

ในบรรดาสี่ยอดสาวงามผู้พลิกประวัติศาสตร์จีนทั้งสี่นาง   ข้าพเจ้าขอบอกว่า   

ข้าพเจ้าชอบแม่นางไซซีมากเป็นพิเศษ    เพราะเมื่อตอนเด็กได้ชมละครเรื่องนี้ทางโทรทัศน์    และมีความ

ประทับใจในอุปนิสัยและปัญญาของนางมาก    ต่อเมื่อหลายปีผ่านไป ข้าพเจ้าได้อ่านคำ

วิจารณ์ความงามของสวางามทั้งสี่นางนี้     ผู้เขียน (ขออภัยที่ข้าพเจ้าจำไม่ได้) ได้กล่าวว่า ใน

บรรดาสาวงามที่สี่นาง ไซซี ถือว่าเป็นผู้ที่มีความงดงามมากที่สุด   

หากจะเปรียบเทียบกับวรรณคดีไทย    ไซซี    ก็เปรียบได้กับนางสีดาเลยทีเดียว

ไซซี (ซีซือ) ความงามที่ทำให้แม้แต่ฝูงปลายังต้องจมลงสู่ใต้น้ำ

ไซซี หรือซีซือ นามอี๋กวง เกิดในสมัยชุนชิว (ช่วงปี 722-481 ก่อนคริสต์ศักราช)

ที่มณฑลเจ้อเจียง เป็นผู้ที่มีความงดงามมาแต่กำเนิด

ในสมัยชุนชิวนี้ รัฐอู่และรัฐเยว่ทำสงครามกัน   เนื่องจากรัฐอู่มีกำลังทหารที่กล้าแข็ง  

ในเวลาที่ไม่นานนักก็สามารถเอาชนะรัฐเยว่ได้   และนำเอาเยว่อ๋องโกวเจี้ยน และอัครเสนาบดีนาม

ฟ่านหลี่ ไปเป็นตัวประกัน เพื่อแก้แค้นที่ชาติถูกรุกราน    เยว่อ๋องยอมตกอยู่ภายใต้อำนาจของอู่อ๋อง  

และแสร้งว่ามีความซื่อสัตย์    และจงรักภักดีเป็นอย่างยิ่ง    ครั้งหนึ่งอู่อ๋องมีอาการปวด

ท้อง บรรดาหมอหลวงทั้งหลายที่เชิญมาต่างก็ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นโรคอะไร  

เมื่อเยว่อ๋องโกวเจี้ยนได้ทราบเรื่องนี้    จึงได้ชิมอุจจาระของอู่อ๋องต่อหน้าบรรดาขุนนางทั้งหลาย และ

กล่าวว่า “ท่านอ๋องไม่ได้ป่วยเป็นโรคอันใด   แค่โดนความเย็นมากไปเท่านั้น

เพียงดื่มเหล้าให้ร่างกายอบอุ่นก็เพียงพอแล้ว”   อู่อ๋องทำตามที่โกวเจี้ยนแนะนำดื่มเหล้าเข้าไปเล็กน้อย ก็มี

อาการดีขึ้นทันที   อู่อ๋องเห็นว่าโกวเจี้ยนมีความจงรักภักดี    จึงปล่อยตัวให้กลับรัฐเยว่ 


โกวเจี้ยนกลับไปยังรัฐเยว่แล้ว    ฟ่านหลี่ก็ได้เสนอแผนกู้ชาติ 3 แผนให้แก่เยว่อ๋อง  

หนึ่งคือ สั่งสมกำลังทหาร ฝึกฝนการรบ   สองคือพัฒนาด้านการกสิกรรม และสามคือ คัดเลือกหญิงงาม

เพื่อส่งให้แก่อู่อ๋อง    เพื่อเป็นสายคอยส่งข่าวภายในให้ ในเวลานั้น   

มีหญิงสาวนามว่าไซซี เป็นหญิงซักผ้า   มีรูปร่างหน้าตางดงามเหนือกว่าผู้อื่น   

เมื่อนางไปซักผ้าอยู่ริมแม่น้ำนั้น    น้ำ  อันใสสะอาดจะสะท้อนเงาอันงดงามของนาง

ทำให้ยิ่งดูงดงามมากยิ่งขึ้น เมื่อมองเห็นเงาของนางแล้ว    

บรรดาปลาทั้งหลายที่ว่ายน้ำอยู่ ต่างก็ลืมที่จะว่ายน้ำ    และค่อยๆจมลงสู่ก้นแม่น้ำ

ไป นับแต่นั้นมาฉายา   “ความงามที่ทำให้แม้แต่ฝูงปลายังต้องจมลงสู่ใต้น้ำ”

ของไซซี ก็เล่าลือกันไปทั่วบริเวณนั้น   หลังจากที่ไซซีถูกเลือกไปถวายแล้วนั้น    

เมื่ออู่อ๋องเห็นไซซีมีรูปโฉมที่งดงาม   ก็เกิดความลุ่มหลงเป็นอย่างมากจนกระทั่งละเลยราชการ    

ไม่สนใจบ้านเมือง   ทำให้บ้านเมืองอ่อนแอลงเรื่อยๆ    เยว่อ๋องโกวเจี้ยน    

จึงถือโอกาสยกทัพเข้าโจมตีรัฐอู่    และสามารถกู้ชาติได้สำเร็จ   

ไซซีเสียสละเพื่อบ้านเมือง    แสดงให้เห็นถึงหญิงสาวคนหนึ่งที่มีความรักชาติเป็นอย่างยิ่ง

ตำนานเล่าว่า หลังจากที่รัฐอู่พ่ายแพ้แล้ว   ไซซีได้ออกท่องเที่ยวไปกับฟ่านหลี่   

ไม่ทราบว่าสุดท้ายมีชะตากรรมอย่างไร   เป็นที่ระลึกถึงของชนรุ่นหลังตลอดมา

แหล่งข้อมูล
http://mblog.manager.co.th/nelumbo/th-7393/

ไซซี จอมใจจอมราชันย์  

 ปัญญายอดพธู

 

ปัญญายอดพธู  ไซซีกับผีผา (พิณน้ำเต้า)

ไซซี จอมใจจอมราชันย์ ตอนที่ 2 มัจฉาจมวารี
 มัจฉาจมวารี

ความงามของไซซีเป็นภาพลักษณ์ที่คนรุ่นหลังอนุมานเอาจากประวัติชีวิตของเธอกับ

จินตนาการของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกวีและนักเล่านิทานชาวบ้าน

ความงามของเธอจึงปรากฏอยู่ในบทสดุดีของกวี

นิยายอิงประวัติศาสตร์และนิทานชาวบ้านยิ่งกว่าหนังสือประเภทอื่นๆ

"หลี่ไป๋" หนึ่งในสองกวีผู้ยิ่งใหญ่ที่สุดของจีน ได้รับสมญานามว่า

"เทวกวี" พรรณาโฉมไซซีไว้งามยิ่ง

 

ไซซีกับผีผา (พิณน้ำเต้า)

(หลี่ไป๋ มหากวีของจีนซึ่งเทียบได้กับสุนทรภู่ของไทย) พรรณาความ

งามของไซซีไว้สั้นๆว่า

"แม้มัจฉาตะลึงชมจมวารี"

ไซซีศรีสมรนครเย่ว์ พื้นเพอยู่ภูจู้หลัวสาน

เลอโฉมเลิศลบทุกภพกาล ปทุมมาลย์ละอายลักษณ์ภคินี

"งามอย่างมีคุณค่า"

จากหลักฐานทางลายลักษณ์อักษรและเรื่องเล่าของชาวบ้านทั้งหมด

ทำให้เชื่อว่า ไซซีนั้นงามพร้อมทั้งรูปสมบัติ ปัญญาสมบัติ และจรรยา

สมบัติ ไม่เช่นนั้นยอดคนที่แท้อย่างฟ่านหลีคงไม่เลือกเป็นคู่ชีวิต

และยากที่เธอจะทำการใหญ่เพื่อบ้านเกิดเมืองนอนของตนได้สำเร็จ

หญิงงามของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา)

เตียวเสี้ยน 

เตียวเสี้ยน “ความงามที่ทำให้แม้แต่ดวงจันทร์ยังต้องหลบเลี่ยงให้”
เตียวเสี้ยน   จันทร์หลบโฉมสุดาเตียวเสี้ยนเป็นที่รู้จักกันในเรื่องสามก๊กนางไม่เพียงมี
รูปโฉมงดงามเสียงร้องละลีลา  การร่ายรำก็เป็นที่หน้าหลงใหลเช่นเดียวกัน 
 
ว่ากันว่าคืนหนึ่งนางนั่งชม จันทร์อยู่ในสวน พลันมีกลุ่มเมฆมาบดบังจันทร์นั้น
เหมือนกับจันทร์นั้นอายจึงหลบกลุ่มเมฆไป

 
เตียวเสี้ยน หรือเตียวฉาน เป็นนางระบำของขุนนางที่ชื่อว่าอ๋องอุ้น
ในสมัยปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก   มีรูปโฉมที่งดงามเป็นอย่างยิ่ง
 
และมีความสามารถในการฟ้อนรำเป็นเลิศ ครั้นเมื่อนางเห็น
ว่าราชวงศ์ฮั่นตะวันออกตกอยู่ใต้อำนาจของขุนนางทรราชตั๋งโต๊ะ 
 
ซึ่งแอบอ้างราชโองการปกครองเหล่าขุนนาง   ทำให้ขุนทางทั้งหลายไม่กล้าขัดขืน
  
อีกทั้งอ๋องอุ้นกลัดกลุ้มใจ กินไม่ได้นอนไม่ หลับ ในคืนพระจันทร์สว่างสดใส  
นางได้จุดธูปอธิษฐานต่อสวรรค์ยินดีที่จะรับภาระช่วยเหลือผู้เป็นนา
 
อ๋องอุ้นผ่านมา   ได้ยินเข้าก็รู้สึกซาบซึ้งยิ่งนัก จึงตรงเข้าไปพยุงนางลุกขึ้น และคำนับนาง
นับจากนั้นจึงได้รับเตียวเสี้ยนเป็นธิดาบุญธรรม

 
อ๋องอุ้นเห็นว่าตั๋งโต๊ะกำลังยึดครองราชวงศ์ฮั่นตะวันออก
จึงได้วางแผนการอันต่อเนื่อง ยกเตียวเสี้ยนให้แก้ลิโป้
ก่อนอย่างลับๆ แล้วจึงค่อยยกนางให้แก่ตั๋งโต๊ะ ลิโป้นั้นมีความกล้าหาญอายุยัง
น้อย ส่วนตั๋งโต๊ะเจ้าเล่ห์เพทุบาย เพื่อที่จะดึงลิโป้มาเป็นพวก
ตั๋งโต๊ะจึงได้รับลิโป้เป็นลูกบุญธรรม ทั้งสองต่างก็ฝักใฝ่ในอิสตรี
ดังนั้นนับจากนั้นมาเตียวเสี้ยนต้องรับมือกับบุคคลทั้งสอง ทำให้
ทั้งคู่หลงใหล หลังจากที่ตั๋งโต๊ะรับเตียวเสี้ยนไว้เป็นภรรยาน้อย ลิโป้เกิดความไม่พอใจเป็นอย่างมาก

 
วันหนึ่ง ในขณะที่ตั๋งโต๊ะไปร่วมประชุมเหล่าขุนนาง ลิโป้ก็แอบเข้าไปพบกับเตียวเสี้ยน
และนัดพบกันที่ศาลาฟ่งอี๋ เมื่อเตียวเสี้ยนไปพบลิโป้
ก็ได้แสร้งร้องไห้บอกเล่าความทุกข์ที่ถูกตั๋งโต๊ะขืน
ใจ ลิโป้โกรธมาก ในเวลาเดียวกันนั้นเองตั๋งโต๊ะกลับมาพบเข้า
และด้วยความโกรธจึงได้แย่งเอาง้าวในมือของลิโป้และตรงเข้าแทง
แต่ลิโป้หนีไปได้ นับจากนั้นทั้งสองต่างก็เกิดความระแวง
ซึ่งกันและกัน จนท้ายที่สุดอ๋องอุ้นก็สามารถเกลี้ยกล่อมลิโป้ให้กำจัดตั๋งโต๊ะได้ในที่สุด
ฉายา “ความงามที่ทำให้แม้แต่ดวงจันทร์ยังต้องหลบเลี่ยงให้”ของเตียวเสี้ยนนั้นมาจากเรื่องราวตอนที่
นางกำลังอธิษฐานต่อดวงจันทร์อยู่ภายในสวน ทันใดนั้นมีลมพัดขึ้นเบา ๆ
เมฆจึงลอยมาบดบังอันสว่างสดใส ขณะนั้นบังเอิญอ๋องอุ้นมาพบเข้า
เพื่อที่จะเป็นการกล่าวชมว่าธิดาของตนนั้นมี
ความงามเพียงใด เมื่อพบปะผู้คนก็มักจะกล่าวว่า
บุตรีของข้าหากเทียบความงามกับดวงจันทร์แล้ว
ดวงจันทร์ยังมิอาจเทียบได้ รีบหลบเข้าไปหลังหมู่เมฆ ดังนั้นผู้คนจึงขนานนามเตียวเสี้ยน
ว่า “ความงามที่ทำให้แม้แต่ดวงจันทร์ยังต้องหลบเลี่ยงให้
เตียวเสี้ยน “ความงามที่ทำให้แม้แต่ดวงจันทร์ยังต้องหลบเลี่ยงให้"" 
 

เตียวเสี้ยน หรือ เตียวฉาน (อังกฤษ: Diao Chan จีน: 貂蝉, 貂蟬 พินอิน: Diāochán)

เป็นหนึ่งในสี่หญิงงามแห่งแผ่นดินจีน เชื่อว่าเกิดใน ค.ศ. 169 ซึ่งเป็นยุคสามก๊ก

และปรากฎตัวในนิยายเรื่องสามก๊กด้วย

เตียวเสี้ยนได้รับฉายานามว่า "จันทร์หลบโฉมสุดา"

 

 (จีน: 闭月 พินอิน: bì yuè)

ซึ่งหมายถึง "ความงามที่ทำให้แม้แต่ดวงจันทร์ยังต้องหลบเลี่ยงให้"

(a face that would make the full moon hide behind the clouds)

 


เตียวเสี้ยนแตกต่างจากหญิงงามอีกสามคน

 

เนื่องจากไม่ได้รับการยืนยันว่ามีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์

 


จบตอนอักษร -ญ-

มิ่งมงคลร้อยรัคติจีน 9

ยอดหญิงแผ่นดินจีนผู้ยิ่งใหญ่

28 กค 52

รวบรวมโดยเฉินซิ่วเชง

 

 

 

 


 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal