หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

-ข- มิ่งมงคล ร้อยรัดคติจีน 2 ขงเบ้ง คำคมขงเบ้ง

รูปภาพของ เฉินซิ่วเชง

-ข- มิ่งมงคล  ร้อยรัดคติจีน 2

นานาสาระมิ่งมงคล  ร้อยรัดคติจีน 2

ตามด้วยอักษร -ข- ขงเบ้ง


 คำคมขงเบ้ง


ภาพจาก: www.oknation.net

 

1. ถ้าคุณคิดจะเป็นใหญ่ คุณก็จะได้เป็นใหญ่ ถ้าคุณคิดอยากเป็นอะไรคุณก็จะได้เป็นสิ่งนั้น

   เพราะแสวงหา มิใช่เพราะรอคอย

   เพราะเชี่ยวชาญ มิใช่เพราะโอกาส

   เพราะสามารถ มิใช่เพราะโชคช่วย ดังนี้ แล้ว "ลิขิต  ฟ้าหรือจะสู้มานะตน"

2. นกทำรังให้ดูที่ไม้ ข้าเลือกนายให้ดูที่น้ำใจ

3. ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด

4. ผู้ที่มีเกียรติ คือ ผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น

5. ถ้าสติไม่มา ปัญญาก็ไม่มี

6. ไม้คดใช้ทำขอเหล็กงอใช้ทำเคียว แต่คนคดเคี้ยวใช้ทำอะไรไม่ได้เลย

7. เล่นหมากรุก อย่าเอาแต่บุกอย่างเดียว เดินหมากรุกยังต้องคิด เดินหมากชีวิตจะไม่คิดได้อย่างไร

8. เมื่อใครสักคนหนึ่งทำผิด ท่านอย่าเพิ่งตำหนิหรือต่อว่าเขาเพราะถ้าท่านเป็นเขาและตกอยู่

   ในสภาพแวดล้อมเช่นเดียว   กับเขาท่านอาจจะตัดสินใจทำเช่นเดียวกับเขาก็ได้

9. การบริหารคือการทำงานให้สำเร็จโดยอาศัยมือผู้อื่น

10.ผู้ปกครองระดับธรรมดา ใช้ความสามารถของตนอย่างเต็มที่ ผู้ปกครองระดับกลาง

   ใช้กำลังของคนอื่นอย่างเต็มที่   ผู้ปกครองระดับสูง ใช้ปัญญาของคนอื่นอย่างเต็มที่

11.อ่านคนออก บอกคนได้ ใช้คนเป็น

12.เมื่อนักการฑูตพูดว่า "ใช่" หรือ "อาจจะ" เขามีความหมายว่า "อาจจะ"

   เมื่อนักการฑูตพูดว่า "อาจจะ" เขามีความหมายว่า "ไม่"

   เมื่อนักการฑูตพูดว่า "ไม่" เขาไม่ใช่นักการฑูตเพราะนักการฑูตที่ดีจะไม่ปฏิเสธใคร

13.เมื่อสุภาพสตรีพูดว่า "ไม่" หล่อนมีความหมายว่า "อาจจะ" เมื่อสุภาพสตรีพูดว่า "อาจจะ"

   หล่อนมีความหมายว่า "ใช่" หรือ "ได้" เมื่อสุภาพสตรีพูดว่า "ใช่" หรือ " ได้"

   หล่อนไม่ใช่สุภาพสตรี.สุภาพสตรีจะไม่ตอบรับใครง่าย ๆ

14.คิดทำการใหญ่ อย่าสนใจเรื่องเล็กน้อย

15.ตาสามารถมองเห็นสิ่งที่ไกลได้ แต่ไม่สามารถมองเห็นคิ้วของตน

16.คนส่วนใหญ่ใส่ใจกับผลได้ระยะสั้นเท่านั้น แต่คนฉลาดอย่างแท้จริงจะมองไปยังอนาคต

จาก http://www.pantown.com/board.php?id=4057&name=board1&topic=577&action=view




 

คำคมขงเบ้งย่อมไม่ธรรมดา

เป็นปรัชญาที่แฝงไปด้วยแง่คิด จับต้องด้วยจิตที่ชำระแล้ว

ขงเบ้งคือใคร?

จึงมิอาจไม่เขียนถึง"ขงเบ้ง"..คนที่ได้ชื่อว่า "ฉลาดที่สุด" ในวรรณกรรมเรื่อง "สามก๊ก" โดย

ความฉลาดของขงเบ้ง เป็นที่ยอมรับทั่วโลก ชนิดที่ใครฉลาด ก็จะถูกนำไปเปรียบเทียบ กับ"ขงเบ้ง"

ขงเบ้ง"รู้"..แม้กระทั่งว่าไปช่วยเล่าปี่ ไม่มีทางสำเร็จ และตนจะไม่ได้ "กลับบ้าน"...

แต่ ยอมไปทำงานเพื่อเล่าปี่ !!!

"เล่าปี่อุตส่าห์มาหาถึงสามครั้ง จะตัดประโยชน์เสียก็เอ็นดู จึงไปด้วยเล่าปี่ เจ้าอยู่ภายหลัง

จงรักษาโคกระบือไร่นาทั้งปวงเอา   ไว้อย่าให้เป็นอันตรายเสียได้ เราไปช่วยเล่าปี่ทำนุบำรุงแผ่นดินเป็นสุขแล้วจะกลับมาทำนาเหมือนเก่า" ..

นี่คือประโยคที่เล่าปี่บอกน้องชาย ก่อนเก็นของออกเดินทางไปร่วมงานกับเล่าปี่และบอกกับเล่าปี่ว่า ..

"อย่าร้องไห้วิตกไปเลย ข้าพเจ้าจะไปทำราชการด้วยท่าน ถึงแม้ว่าข้าพเจ้าจะเป็นประการใดก็ดี"

 

ว่ากันว่า"ขงเบ้ง"เห็น"โหงวเฮ้ง" ของเล่าปี่ก็รู้ว่าไม่มีทางทำงานใหญ่สำเร็จ

แต่รับคำไปทำงานด้วยเพราะ

"ชอบความท้าทาย"..และรู้ว่าตนจะไม่ได้กลับมาเขาโง้วลังกั๋ง.

แต่ปลอบน้องชายให้"รอ"..อยู่ที่บ้าน

 

ภาพจาก: www.oknation.net/blog/autis/2009/02/06/entry-1 

 

ชื่อของ"ขงเบ้ง"..ปรากฏครั้งแรก เมื่อเล่าปี่พ่ายแพ้เสียท่าจนเหลือแต่ตัว..

เหตุการณ์นั้น เกิดขึ้นในปี ค.ศ.207

เมื่อ "เล่าปี่" เดินทางไปเยี่ยมคำนับ"สุมาเต๊กโช" เจ้าของฉายา "ซินแสแว่นน้ำ"

ซึ่งหมายถึงผู้ที่มองคนออกได้ทะลุปรุโปร่ง  ที่เมืองซงหยง  เพื่อเชื้อเชิญสุมาเต๊กโชไปเป็นที่ปรึกษา

"ข้าพเจ้าเป็นแต่บัณฑิตธรรมดาเท่านั้น จะรอบรู้สถานการณ์บ้านเมือง แลการแผ่นดินอันลึกซึ้งก็

หาไม่ แลผู้ที่ฝักใฝ่ลัทธิขงจื๊อ หรือบัณฑิตทั่วไปก็จะหาทราบความ ปัจจุบันสมัยนี้ไม่เลย

มีแต่ปราชญ์ทรงปัญญาพิเศษเท่านั้น จึงจะเข้าใจสถานการณ์ 

แถบนี้ก็มี 2 คนเท่านั้น" ซินแสแว่นน้ำกล่าว

จากเรื่องราวของเล่าปี่กับขงเบ้ง  ย่อมมีผลงานวิพากษ์วิจารณ์ตัวละครเอกทั้งสองในแง่ลบอย่างแน่นอน

ผู้เขียนจึงวิพากษ์งานเขียนเหล่านั้น  ที่มักวิจารณ์เล่าปี่กับขงเบ้งแบบเสียๆหายๆ

ผ่านหนังสือเล่มนี้   โดยตั้งอยู่บนเหตุผลที่ผมเห็นว่า “น่าเชื่อถือ” พอสมควร

เพราะเท่าที่ผมติดตามงานเขียนของคุณก่อศักดิ์   เห็นว่าเขามีความรู้เกี่ยว

กับประวัติศาสตร์จีนอย่างลึกซึ้งเลยทีเดียว  ไม่ว่าจะเป็นยุคใด สมัยใดก็ตาม

และสามารถนำความรู้นั้นมาอธิบายได้กระจ่าง 

สอดแทรกหลักการบริหารได้อย่างลงตัว โดยปราศจากอคติใดๆ

 

การเล่าเรื่องของอ่านสามก๊ก ถกบริหาร ค่อนข้างน่าสนใจทีเดียว 

เมื่อเล่าถึงตัวละครอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ผู้เขียนนำมาขยายความตัวละครตัวนั้นในย่อหน้าต่อไป สั้น

ยาวตามแต่ความสำคัญของเนื้อหาในวรรณกรรมและประวัติศาสตร์จริง

ทำให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจเนื้อหาและตัวละครที่กล่าวถึงได้ง่ายกว่าเดิม

งานเขียนเล่มนี้ยังนำเนื้อหาบางตอนในสามก๊กฉบับหลอกว้านจงมาเปรียบเทียบ

กับบันทึกประวัติศาสตร์ ซึ่งส่วนใหญ่อ้างอิงจากจดหมายเหตุฉบับเฉินโซ่ว

จึงทำให้เห็นภาพเหตุการณ์ในเรื่องได้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น ตอนศึกผาแดง

(ที่นำมาสร้างใน Red Cliff ) ในนิยายจะเน้นบทบาทของขงเบ้งมากเป็นพิเศษ

เก่งกาจราวกับเทพยดา ทั้งๆที่ในความเป็นจริง ขงเบ้งออกสู่สมรภูมิจริงครั้งแรก

บทบาทในช่วงนี้จึงมีไม่มากนัก เป็นเพียงการเก็บประสบการณ์มากกว่า

ขณะที่กลุ่มเล่าปี่ยังเป็นเพียงกองกำลังเล็กๆ ต่อต้านโจโฉโดยใช้วิธีการรบแบบกองโจร

ตอดเล็ก ตอดน้อยไปเรื่อย กำลังหลักที่ต่อต้านแสนยานุภาพของโจโฉจริงๆ

คือทัพกังตั๋งภายใต้การนำของแม่ทัพจิวยี่ ที่ผู้เขียนยังยอมรับว่า “เก่งกว่า”

ขงเบ้งด้วยซ้ำ และไม่มีเหตุผลกลใดที่จิวยี่จะไปอิจฉาริษยาขงเบ้งเลยสักนิด

โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่า “อ่านสามก๊ก ถกบริหาร”

เป็นหนังสือวิเคราะห์วรรณกรรมเชิงบริหารที่ดีเล่มหนึ่ง เปี่ยมไปด้วยคุณค่า

ไม่มีพิษภัย แต่ติดใจในประเด็นที่ขงเบ้งรวบอำนาจการตัดสินใจไว้เพียงผู้เดียว

โดยกระจายอำนาจให้กับผู้อื่น  จนตนเองต้องตรากตรำทำงานหนัก

แล้วเสียชีวิตในวัยที่ถือว่าไม่มากนัก  ดูเหมือนผู้เขียนไม่ได้ยกเป็นข้อเสียหนึ่ง ของขงเบ้งแบบชัดๆ

อธิบายเพียงสาเหตุที่ขงเบ้งต้องทำเช่นนั้น  มองว่าขงเบ้งยังขาด  “ความไว้เนื้อเชื่อใจ”

ในความสามารถของลูกน้องมากกว่า  และไม่ปล่อยวางงานบางอย่างที่ไม่สำคัญมากนัก

ให้ผู้ใต้บังคับระดับรองลงมาดูแล  เพื่อแบ่งเบาภาระให้กับตนเอง

ใน “อ่านสามก๊ก ถกบริหาร”  ฝากข้อคิดที่ได้จากวรรณกรรมเรื่องนี้หลายประการ

แต่มีประเด็นหนึ่งที่คุณก่อศักดิ์ย้ำมาตลอดในเนื้อหา  ว่าด้วยเรื่องคุณค่าของสามก๊กนั่นเอง

        “สามก๊ก” เปรียบดั่งคัมภีร์เชิงบริหารปกครองที่สำคัญฉบับหนึ่ง

        มิใช่ในแง่ตำราพิชัยยุทธแต่อย่างใด

        ด้วยเหตุกลยุทธ กลศึกต่างๆ ในเรื่อง

        มิอาจนำมาใช้ใน “ชีวิตจริง” ได้

 

จาก: www.oknation.net/blog/autis/2009/02/06/entry-1

 

"ปราชญ์ทรงปัญญา ซึ่งท่านว่ามานั้น จะเป็นผู้ใดหรือ?" เล่าปี่ถามตาลุกวาว "เอกบุรุษผู้ทรงภูมิปัญญา

ล้ำเลิศนั้นมีสอง หนึ่งเรียกว่าฮกหลง หนึ่งเรียกว่าฮองซู อันฮกหลงนั้น มีนามว่าจูกัดเหลียง

ชื่อรองว่าขงเบ้ง อันฮองซูนั้นมีนามว่าบังทอง ชื่อรองว่าซื่อหยวน"

 

เมื่อทราบว่าเป็นใคร เล่าปี่จึงวานให้ชีซีไปเชื้อเชิญขงเบ้งมาช่วยงาน แต่ชีซีกล่าวว่า "

ผู้มีปัญญาเช่นนี้หาได้ยากนัก ท่านสมควรไปเชิญเขาด้วยตนเอง มิฉะนั้นท่านคงไม่อาจให้เขามา

 

หาท่านได้" และกว่าจะได้ตัว เล่าปี่ต้องไปเยือน"กระท่อมหญ้า" ถึงสามครา

ก่อนที่ "ไอ้หนุ่มหลังเขา"วัย 26 ยอมไปช่วยงานเชื้อพระวงศ์วัยครึ่งร้อยทำงาน

จากหนังสือ "ศิลปะการใช้คนในสามก๊ก"

เขียนโดย ฮว่อหยี่เจีย แปลและเรียบเรียงจีนโดย บุญศักดิ์ แสงระวี สำนักพิมพ์ ก.ไก่,กทม.

 

จุดเด่นการใช้คนของสามก๊ก

จุดเด่นการใช้คนของ "ขงเบ้ง"


 

ขงเบ้ง เป็นบัณฑิตมีชื่อแห่งเกงจิ๋ว เลื่องลือในด้านความปรีชาสามารถ

และด้านศีลธรรมในสมัยนั้น การใช้คนของขงเบ้ง

จึงสอดคล้องกับบุคลิกลักษณะของเขา การเลือกเฟ้นบุคลากรของเขา

จึงมักจะยืนหยัดในบรรทัดฐาน ประการหนึ่งมาโดยตลอด

คือ "ต้องพร้อมด้วยศีลธรรม และ ความสามารถ"



จุดเด่นการใช้คนของ "โจโฉ"

 

โจโฉ ถือกำเนิดจากครอบครัวขันที จึงยากที่จะได้รับการสนับสนุนจากคน

ในตระกูลบัณฑิต เพราะ บัณฑิตทั้งหลายยึดถือในหลัก

ซื่อสัตย์ กตัญญูแห่งสำ นักหรูของขงจื้อเป็นสำคัญ ส่วนมากจึงไม่ยอม

สวามิภักดิ์ต่อโจโฉ เมื่อโจโฉ ต้องการจะรวบรวมคนมี

ความสามารถมาช่วยเขาครองแผ่นดิน ไม่ว่าคนนั้นจะมีศีลธรรมหรือไม่

ขอแต่ให้มีความสามารถก็รับไว้ใช้ จึงได้กลายเป็นจุดเด่น

แห่งการใช้คนของ เขาที่ "เอาแต่ความสามารถ"


 


จุดเด่นการใช้คนของ "ซุนกวน"

ซุนกวน เป็นคนสุขุมแต่เด็ดขาด การเลือกเฟ้นบุคลากรของเขาจะต้องผ่าน

การตรวจสอบอย่างจริงจัง และผ่านการใคร่ครวญ

ซ้ำแล้วซ้ำอีก เมื่อเขาตัดสิน ใจแล้วก็จะให้ความเชื่อถืออย่างเต็มที่

ทำได้ถึงขั้น "ถ้าระแวงก็ไม่ใช้ ถ้าใช้ก็ไม่ ระแวง"

จึงสามารถที่จะขยายสติปัญญาและพลังของพวกเขาได้อย่างเต็มที่

บุคคลทั้งสามจึงต่างมีจุดเด่นแห่งการใช้คนที่เป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง

จุดซึ่งร่วมกัน
 

ไม่ถืออาวุโส ไม่ยึดกฎตายตัว ไม่ถือความใกล้ชิด แยกคุณโทษแจ่มชัด

"ข้อเตือนสติ" จากการใช้คนในสามก๊ก

- เคารพนักปราชญ์ ยกย่องบัณฑิต จึงได้บัณฑิต

- สามัคคีคนทั้งปวง จึงสามารถบรรลุภารกิจ

- ใช้คนที่มีความสามารถ ไม่ใช่ที่แก่หรืออ่อน

- อย่าเลือกคนแต่รูปร่างหน้าตา

- การปฏิเสธคำทักท้วงเป็น "ภัย"

- การตั้งกลุ่มพรรคพวกนำมาซึ่ง "จุดจบ"

- ใช้เล่ห์ได้คน แต่ไม่ได้ใจคน

- ระวังข้อเสียของการเหมางานทำแทน

วันนี้จะขอแทรกคติในการบริหารไว้ด้วยเลยนะคะ


1. คนที่ฉลาดปราดเปรื่องจริง เขานั่งนิ่งสงวนคม เปรียบกับกลอนของสุนทรภู่ ที่ว่า อันความคิดวิทยา คือ 

   อาวุธ  ประเสริฐสุดซ่อนไว้เสียในฝัก  สงวนคมสมนึก ใครฮึกฮัก จะค่อยชักฟาดฟันให้บรรลัย

2. อาวุธที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ คือความคิด และความคิดเจาะกำแพงก็ย่อมได้ ถ้าเรารบด้วยสมอง

   ก็ไม่ต้องใช้กำลัง เพราะ ไม่มีสิ่งใดในโลกหล้าที่จะต้าน ทานปัญญาของมุนุษย์ได้

3. มีหนังสือ เล่มนึง บอกว่า ผู้บริหารที่มีความสามารถ จะต้องมีทักษะความชำนาญ อยู่ 3 ด้าน คือ


    1. ด้านเทคนิค (TECHNICAL SKILLS) คือความสามารถในการทำงานต่างๆในหน้าที่

2. ด้านมนุษยสัมพันธ์ (HUMAN SKILLS) คือความสามารถในการปกครองผู้ได้บังคับบัญชา

3. ด้านความคิดรวบยอด (CONCEPTUAL SKILLS) คือความสามารถในการวางแผนแก้ปัญหาต่างๆด้วยความคิดสร้างสรรค์ และสามารถ

วิเคราะห์สถานการณ์ ต่างๆที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างแม่นยำ เรียกว่าวิสัยทัศน์(vision)

Cradit by B[east`M[asteR จากhttp://images.google.co.th

 

นี่คือสาระจากขงเบ้งที่เราชาวฮากกาควรภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง

วิกิพีเดีย..เขียนถึงขงเบ้งไว้ว่า

 

 

ขงเบ้ง (ขงหมิง) หรือ จูกัดเหลียง (จูเก๋อเลี่ยง) ค.ศ.181-234 เป็นนักการเมืองสมัยปลายราชวังศ์ฮั้น

หรือสมัยหลังราชวงศ์ฮั่นหากหากว่าตามประวัติศาสตร์ ขงเบ้งเป็นที่ปรึกษาด้านการยุทธนาการของเล่าปี่

มีตำแหน่งอัครเสนาบดีและผู้บัญชาการทหารสูงสุด แห่งวุ่ยก๊ก กับทั้งยังเป็นนักการเมือง นักการทูต วิศวกร

นักวิชาการ และได้ชื่อว่าเป็นนักประดิษฐ์ผู้ยิ่งใหญ่ โดยเป็นผู้คิดค้น หมั่นโถว ธนูไฟ โคมลอย ระบบชลประทาน

 

ส่วน"ขงเบ้ง"ในวรรณกรรม"สามก๊ก"..บรรยายสรุปได้ว่า

 

ในวรรณกรรมเรื่อง"สามก๊ก".. ขงเบ้งถูกยกย่องว่าหยั่งรู้ดินฟ้ามหาสมุทร ได้รับฉายาจากบังเต็กกงว่า

"ฮกหลง" หมายถึง มังกรซุ่ม หรือ มังกรหลับ จากคำ

แนะนำของชีซี ทำให้เล่าปี่ต้องไปเชิญขงเบ้งด้วยตัวเองถึงสามครั้งสามครา ขงเบ้ง

(Zhuge Liang -(Kong Ming)) (ค.ศ. 181-234) มีชื่อจริงว่า จูเก๋

อเหลียง โดยขงเบ้งเป็นชื่อรอง เป็นบุตรชายคนที่ 2 ของ จูเก๋อกุย ขุนนางตงฉินของพระเจ้าเหี้ยนเต้

โดยขงเบ้งมีพี่ชายและน้องชายอย่างละคน คือ จูเก๋อกึ๋น พี่ชาย เป็น

ที่ปรึกษาของง่อก๊ก และน้องชาย จูเก๋อจิ๋น

 

ขงเบ้ง เป็นผู้ฉลาดปราดเปรื่อง รอบรู้สรรพวิชาอย่างแตกฉาน ทั้งวิทยาศาสตร์ โหราศาสตร์ การเมือง การปกครอง

การทูต และแม้กระทั่งไสยศาสตร์ มีอุปนิสัย ใจคอเยือกเย็น มีเมตตา ชอบลองดีกับผู้ที่อวดโอ้ อุดมด้วยวาทะ

ศิลป์  ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบกับชาวบ้าน ที่เชิงเขาโง้วลังกั๋ง โดยช่วยเหลือชาวบ้านในการทำนา ต่าง ๆ จนเป็นที่

นับถือของชาวบ้าน

 

ขงเบ้ง มาเป็นกุนซือให้เล่าปี่เมื่ออายุเพียง 26 จึงไม่ได้เป็นที่ยอมรับของนายทหารจ๊กก๊ก

รวมทั้งกวนอูและเตียวหุย  แต่เมื่อขงเบ้งได้แสดงฝีมือให้ปรากฏด้วย  การทลายทัพของโจโฉที่เนินพกบ๋อง

แล้ว เขาก็กลายเป็นที่นับถือและเลื่องลือถึงความสามารถอันปราดเปรื่อง

 

 

ภาพของขงเบ้งก็คือ ในยามออกศึก

เขาจะบัญชาการการรบบนรถเลื่อน

โดยมีหมวกและพัดขนห่านเป็นของประจำตัว

 

 

 

 

 

 

ขงเบ้ง..ดังที่สุดก็คือตอน"โจโฉแตกทัพเรือ"..

 

เหตุการณ์เริ่มเมื่อ"ซุนกวน"รู้ว่าโจโฉยกทัพลงมาที่"กังตั๋ง" แล้วให้"โลซก"

ไปสืบราชการลับที่เมืองเกงจิ๋ว

ซึ่งเมื่อโลซกมาถึง ก็เข้าแวะเยี่ยมเล่าปี่ ซึ่ง"ขงเบ้ง"ได้ร่วมวงสนทนากัน

และคิดอุบายให้โจโฉกับ ซุนกวนผิดใจกัน โดยอาสาเล่าปี่ว่าจะใช้ลิ้นยาว 3 นิ้ว

 ให้โจโฉพ่ายยับ เมื่อได้รับอนุญาต เล่าปี่จึงเดินทางไปพบซุนกวนที่เมืองกังตั๋ง

ที่เมืองกังตั๋ง เมื่อขงเบ้งพบที่ปรึกษา

และนายทหารของซุนกวน ก็รู้ว่าทั้งหมดยัง ตกลงกันไม่ได้ ว่าจะ"สู้"

กับโจโฉดีหรือไม่ ขณะที่ซุนกวนก็ยังลังเล

ซุนกวนเมื่อทราบว่าขงเล้งมาถึง ก็ได้เชิญ ขงเบ้งเข้ามาร่วมถกปัญหา ซึ่งที่

 

นั่น เตียวเจียว ยีหวน โปเจ๋า ซีหอง ลกเจ๊ก เหยียมจุ้น เทียตก

 เป็นขุนนางที่สนับสนุนให้ซุนกวนเข้าสวามิภักดิ์โจโฉ

 

เลยถูกขงเบ้งโต้จนปิดปาก กันทุกคนที่สำคัญคือ"ขงเบ้ง"รู้จัก..ซุนกวนดี

 

เริ่มเมื่อซุนกวนเข้าพบ "นางงอก๊กไถ่" น้าสาวที่บอกว่า

พี่ของซุนกวน คือซุนเซ็ก ก่อนตายได้สั่งไว้ว่า

"การข้างในให้ปรึกษาเตียวเจียว

การข้างนอกให้ ปรึกษาจิวยี่" ซุนกวนจึงปรึกษาจิวยี่

เรื่องนี้ ขงเบ้งรู้ว่าจิวยี่ก็เอน

ไปทางหนุนนายให้อ่อนน้อมด้วยโจโฉ

จึงงัด"แผนเด็ด"..ออกมา

"ขงเบ้ง"บอกจิวยี่ว่า โจโฉมากังตั๋ง

เพราะต้องการผู้หญิงสองคนไปเป็นนางบำเรอ

คนแรก ชื่อ"เสียวเกี้ยว" อีกคนคือ"ไต้เกี้ยว"

ทำให้จิวยี่หลงกลโกรธโจโฉ   และตัดสินใจเข้าไปย้ำกับซึนกวนว่า

เพื่อศักดิ์ศรี"อ๋อง" จำต้องสู้กับโจโฉ

จิวยี่เป็นคนที่"รู้ทัน"ว่าหากขงเบ้งอยู่ จะเป็นภัยกับตน

จึงวางแผนหลายแผนฆ่าขงเบ้ง..แต่ไม่สำเร็จสักครั้ง

รวมทั้งอุบายให้ขงเบ้งช่วยทำเกาทัณฑ์สิบหมื่นดอกในสิบวัน

ก่อนตามมาด้วยศึก"เซ็กเพ็ก"ที่โจโฉแตกทัพเรือ !!!

ศึกครั้งนี้ เริ่มตั้งแต่ขงเบ้งเรียกลมตะวันออก

ขณะที่"บังทอง"เดินทางไปกลอ่ม ให้โจโฉผูกเรือ

เป็นแพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันทหารเมาคลื่น   

และรู้ว่า เมื่อโจโฉแตกทัพ จิวยี่จะฆ่าตนแน่..

ขงเบ้งจึงให้"จูล่ง"มารับตัวเขาไป

โดยทหารของจิวยี่ไม่กล้าทำอะไรเพราะเจอคำถาม

..You Know Wyho Am I ....My nane is จูล่ง..

.

ศึกครั้งนี้"โจโฉ" รอดตายเพราะขงเบ้งให้"กวนอู"

ไปรอรับเพื่อ"ล้างบุญคุณ"ที่โจโฉเคยเลี้ยงดูตนอย่างดี

สุสานขงเบ้ง

อนุสาวรีย์ ที่เมือง yinan

ขงเบ้ง ..มีทั้งคนรักและคนชัง

บางคนบอกว่าขงเบ้ง..โหดร้าย บ้าเลือด เป็นอาชญากรรมเลือดเย็น

เพราะในวรรณกรม"สามก๊ก"

ขงเบ้งคือบุคลที่วางแผนทำสงครามที่"ฆ่า"คนมากที่สุด ขณะที่อีกฝ่าย ..

มองว่าขงเบ้งคือสุดยอดกุนซือ และการกระทำ

ทุกอย่างก็เพื่อ"ยับยั้งโจโฉ"ที่กำลังตั้งตั๋วเป็น"ตั๋งโต๊ะคนใหม่"

ด้วยการปฏิบัติร้ายต่อฮ่องเต้ ไม่ว่าใครจะมองมุมไหน

แต่สิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ก็คือ"ขงเบ้ง"เป็น"ผู้หยั่งรู้ดินฟ้า"

ที่รู้แม้กระทั่ง"วันตาย"ของตัวเอง แต่ก็

พยายาม"ลองของ"กับยมบาล ด้วยการทำพิธีสะเดาะเคราะห์ตาม

คำแนะนำของ "เกียงอุย" แต่ไม่สำเร็จเพราะ

ในระหว่างการทำพิธีต่ออายุให้อยู่อีก 2 ปีนั้น "อุยเอี๋ยน"

เกิดวิ่งไปสะดุดโคมต่ออายุจนล้มดับ..หมาย

ถึง"ขงเบ้งตาย" ซึ่งเป็นจุดจบของ"วุ่ยก๊ก"



อีกอนุสาวรีย์

รูปปั้นที่ the Wuhou Temple บ้านเกิดขงเบ้ง

 

นี่คือขงเบ้ง..ผู้หยั่งรู้ดินฟ้ามหาสมุทรแห่ง"สามก๊ก"

 

หนุ่มวัย 26 ที่ลงจากเขาโง้วลังกั๋งเพื่อช่วยเล่าปี่ และสร้างผลงานจนลือเลื่อง ไปทั้งเมือง

และมีอนุสาวรีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อยอมรับ"ความรู้" ของเขามากมายหลายแห่ง

หนุ่มวัย 26 ที่ทำงาน ครั้งแรกให้เล่าปี่ด้วยการเผาทัพโจโฉ 10 หมื่นคนที่หุบเขาพกบ๋อง ที่ในหนังสือเขียนพรรณาว่า

"ศพดาษไปดังขอนไม้ โลหิตไหลแดงไปทั่วป่า"

หนุ่มวัย 26 ที่อีกไม่กี่วันต่อมา ก็ทำน้ำท่วมทัพโจโฉตายอีก 10 หมื่น 3 พันคน


หนุ่มวัย 26 ที่ปีต่อมา อาสาเล่าปี่ด้วยลิ้นยาว 3 นิ้ว ไปกล่อมซุนกวนรบโจโฉจน"แตกทัพเรือ"สูญเสียทหารไป 83 หมื่นคน

หนุ่มวัย 26 ที่อีก 3 ปี ต่อมาในวัย 29 ก็นำ"เกงจิ๋ว"มาประเคนเล่าปี่ และอีก 7 ปีต่อมา ในวัย 36

ก็แบ่งเมืองจีนเป็น 3 ส่วน โดยให้"เจ้านาย"เป็น "อ๋อง" ปกครอง "วุ่ยก๊ก" ..ตามสัญญาประโยคแรก

ที่กล่าวกับเล่าปี่ที่กระท่อมหญ้าว่า "คิดเอาเมืองเกงจิ๋วแล้ว เมืองเสฉวนก็ได้โดยง่าย" และปัจจุบัน ที่เมืองเฉินตู มลฑลเสฉวน

มีศาลเจ้าขงเบ้งและเล่าปี่ กวน อู เตียวหุย และขุนพลอีกหลายคนให้คนรุ่นหลังได้กราบไหว้


นี่คือ ตัวละคร"สามก๊ก"ที่น่าจะเป็นคนที่ผู้อ่านจำได้มากที่สุด !!


 

จบตอนอักษร -ข-

นานาสาระมิ่งมงคล ร้อยรัดคติจีน

รวบรวมโดยเฉินซิ่วเชง

วันที่ 18เมษายน 2552


 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal