หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

-ก- มิ่งมงคล ร้อยรัดคติจีน 1 กลอนจีน-ไทย

รูปภาพของ เฉินซิ่วเชง

อักษร ก (กลอนจีน-ไทย) 

-ก- มิ่งมงคล  ร้อยรัดคติจีน 1

ลีลาหลากหลายเบิกบานตามฤดูกาลเป็นมรดกแห่งจิตวิญญาณแบบจีน

อารยธรรมจีนเป็นอารยธรรมตะวันออก    ที่เกิดขึ้นก่อนยุคประวัติศาสตร์  

โดยเกิดขึ้นในยุคโลกโบราณในช่วงยุคหินใหม่

โดยความเจริญของ   อารยธรรมจีนที่สืบเนื่อง  ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันนั้น  

กลายเป็นอู่วัฒนธรรมที่เป็นแหล่งเคลื่อน

ไหววิทยาการด้านต่างๆเพราะว่าจีนมี  อาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล  

ประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติ  ที่อยู่ร่วมกันทำ

ให้เกิดการผสมผสาน   และมีวัฒนธรรมที่หลากหลาย  

เป็นบ่อเกิดของอารยธรรม  ที่เจริญรุ่งเรืองเป็นเอกลักษณ์ที่

สืบสานกันมาอย่างยืนยาว   ชาวจีนโพ้นทะเล  (Overseas Chinese) 

คือกลุ่มคนเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่

ภายนอกประเทศจีนชาวจีนมี   ประวัติการอพยพไปยังดินแดนต่างๆ  

มาตั้งแต่ยุคของจิ๋นซีฮ่องเต้เนื่องจาก  ปัญหา

ความ ยากจนและภัยสงคราม   ได้นำเอาปรัชญาที่เกิดจากการสร้างสรรค์อันฉลาด  

เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง   ผลักดันให้ เกิดการพัฒนาสืบต่อมาใน  

ด้านการออกแบบทาง   สถาปัตยกรรม   อนุสรณ์สถาน   ประติมากรรม

สวน  และ ภูมิทัศน์   ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรม  

ที่เกี่ยวข้องหรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐาน  ของมนุษย์ซึ่งได้

เกิดขึ้นในช่วง เวลาใดเวลาหนึ่ง  ให้ปรากฏบนพื้นที่ใดๆของโลก  

ซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรมเป็นสิ่ง  ที่ยืนยันถึงหลัก

ฐานของอารยธรรม ที่ปรากฏให้เห็นอยู่  

ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว   เก็บไว้เพื่อเป็นตัวอย่างอันโดดเด่น  

ของสิ่งที่เรียกว่าอู่ วัฒนธรรม  อันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้าน  

วัฒนธรรม   สังคมศิลปกรรม  วิทยา

ศาสตร์   เทคโนโลยี อุตสาหกรรมในประวัติศาสตร์ 

ของมนุษยชาติมีความคิดและความเชื่อ   ที่เกี่ยวข้องโดยตรง

กับเหตุการณ์หรือมีความ โดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์ต่างๆรวบรวม 

และเก็บไว้โดยลูกหลานชาวจีนโพ้นทะเล   ที่รัก

และหวงแหนมรดกวัฒนธรรม นานาสาระให้เป็นหลักฐานจารึกร่องรอย 

ที่เห็นได้ชัดเจนและะกระจายชื่อเสียง   ไปยัง

แหล่งต่างๆให้สมกับเป็นลูก หลานแดนมังกร

 

แหล่งวรรณกรรมจีน

อักษร ก.

จากกลอนแบบจีน  

เป็นภาพจาก:www.thaigoodview.com/node/10898พร้อมประว้ติหลี่ไป๋

บทกวีของหลี่ไป๋ที่เหลือตกทอด  มาจนถึงปัจจุบันมีกว่า  900 บท

มีบทร้อยแก้วกว่า 60 บท  บทกวีของ หลี่ไป๋ดึงดูดใจผู้คน  

ทั้งหลายด้วยภาพจินตนาการ   อันมหัศจรรยที่สง่างามมีอิทธิพลลึกซึ้ง  

และยืนยาวต่อชนรุ่นหลัง  ได้รับการยกย่องคือ  เซียนแห่งกวี

 

 

 

 

 

คิดถึง หลี่ ไป๋ ที่ปลายฟ้า ภาพประกอบจากwww.blubie.de/li_bai

สายลมเย็นพัดโบยยังปลายฟ้า

บุรุษหนึ่งนั้นคิดสิ่งใดอยู่ในใจกันเล่า?

เมื่อใดหนอห่านป่าจะกลับมา?

บรรดาแม่น้ำและทะเลสาบเต็มตื้นไปด้วยสายน้ำฤดูใบไม้ร่วง

วรรณศิลป์และความสำเร็จแห่งชีวิตอยู่ตรงกันข้าม

ภูตผีปีศาจฮึกเหิมยามมนุษย์ล้มเหลว

สนทนาร่วมกับกวีเจ้าอารมณ์

โยนกวีนิพนธ์บทหนึ่งลงในแม่น้ำหมี่หลิว

...ภาพบทกวีที่มีชื่อเสียงของหลี่ไป๋...www.bloggang.com

จีนมีประวัติศาสตร์เนิ่นนานหลายพันปีและมีบันทึกเกี่ยวกับหญิงงามไว้มากมาย

แต่หากถามว่าสตรีที่งดงามที่สุดในยุค

โบราณคือใคร คำตอบแรกสุดน่าจะเป็นซีซือ(ตามสำเนียงภาษาจีนกลาง)

หรือที่คนไทยรู้จักในนามไซซีตามสำเนียงฮกเกี้ยนในเรื่องเลียดก๊ก

ภาพจาก:gotoknow.org/blog

มัจฉาจมวารี...ไซซีหญิงงามผู้พลิกแผ่นดินจีน

ชีวิตไซซีเกี่ยวพันกับการเมืองการปกครองในยุคที่เธอมีชีวิตอยู่คือ

ยุคชุนชิว อย่างมากยุคชุนชิวนี้เริ่มตั้งแต่ปี 722 จนถึงปี 476ก่อนคริสตศักราช

โดยเป็นส่วนหนึ่งในสมัยราชวงศ์โจวตะวันออก(ยุคชุนชิวนี้มีคนดังระดับโลกที่อยู่ร่วมสมัยกับ

ไซซีอีกหลายคน เช่น ขงจื๊อจอมปราชญ์ และซุนวูผู้แต่งคัมภีร์พิชัยสงครามอันเลื่องชื่อ

ส่วน หลี่ไป๋ ยอดกวีของจีน(พ.ศ. 1244-1305) ได้พรรณาความงามของไซซีเอา

ไว้ว่า“ได้ยลโฉมนงนุชสุดโสภา แม้มัจฉาตะลึง

ชมจมวารี” คือไซซีนั้นเดิมเป็นคนฟอกด้าย   เมื่อไปฟอกด้าย 

ที่ริมน้ำปลาที่กำลังว่ายน้ำอยู่แลเห็นเข้า  

ถึงขนาดตกตะลึงเอาแต่จ้อง   จนลืมว่าย  

ทำให้จมดิ่งลงในน้ำจนเป็นที่มาของ “มัจฉาจม วารี”

อันลือลั่นสาวงามสองคนคือ   ไซซี และเจิ้งตั้น  

ได้ทำการฝึกสอนศิลปวิทยา ต่างๆ เช่น การ

ขับร้องการฟ้อนรำ รวมทั้งกิริยามารยาทต่างๆ

เพื่อปรนนิบัติผู้ชาย ระหว่างที่ฝึกสอนอยู่ราว 3ปีนี้

ตำนานเล่าว่า

ฟ่านหลีกับไซซีได้  ตกหลุมรักซึ่งกันและกันแต่ภารกิจ  

เพื่อแผ่นดินเกิดนั้นยิ่งใหญ่กว่า จึงต้อง“จำ

ใจ จำจากเจ้า จำจร”

อาจารย์ถาวร สิกขโกศลถอดความเป็นกลอนไทยไว้ดังนี้

“ซึ่งฝันว่าตะวันดับลับขอบฟ้าดาวธรรมราชาจะปรากฏ

ฝันว่าทะเลเหือดแห้งหมดมกรยศจะกระเดื่องพระเดชา

 

ภูเขาพังแผ่นดินจะราบคาบเพราะพระปราบอริสิ้นทุกทิศา

ซึ่งฝันว่าดอกไม้หมองโรยราพืชพรรณธัญญาจะสมบูรณ์”

 

นี่เองที่ทำให้ฟูไซลุ่มหลงไซซีหนักยิ่งขึ้นไปอีก!

คนจีนยกย่องไซซีไม่ใช่เพียงแค่เพราะความงามแสนพิสุทธิ์

 

และสติปัญญาสุดล้ำเลิศของเธอ แต่เพราะว่าเธอยอม

เสียสละตนเองเพื่อแคว้นเย่ว์อันเป็นมาตุภูมินั่นเอง

 

บทกวีนี้ชื่อ   "ความคิดคำนึงในคืนสงัด"   มีชื่อเสียงในราชวงศ์ถัง  

หลี่ไป๋ชื่ออ่านว่าหลี่ ป๋อก็ได้(แต่เจ้าตัวอ่านว่าไป๋)  

เป็นกวีเอกชื่อดังมาก   แต่พบจุดจบแบบอนาถไม่ใช่เล่น   

ว่ากันว่า เมาเหล้าลงเรือแล้วอยากอุ้มจันทร์เลยตกน้ำตาย  

ไม่รู้จริงเท็จแค่ไหนอาจจะเป็นการฆาตกรรมก็ได้

"ดื่มเหล้าเคล้าแสงจันทรา
 

เมามายสุราเลิศรส

แหงนหน้าพิศมองจันทร

มือย้อนหงายขึ้นฟ้า

หมายไขว่คว้าดวงแข

ที่แลเห็นในสายธาร"

 

----หลี่ไป๋---------

 

นี่เป็นบทกวีมีชื่อของหลี่ไป๋เทียบคำแปลแบบคำต่อคำ

 

เงียบ คืนคิด

เตียง หน้าสว่าง จันทร์ แสง

สงสัย เป็นดิน บน น้ำค้างแข็ง

ยก หัว มองสว่าง จันทร์

ก้ม หัว คิด เดิมชนบท

เป็นภาพจาก:http://www.oknation.net/blog/fontree/category/li-bai_poem/page3

 

หลี่ไป๋อยู่ในลำเรือเรียบร้อยแล้ว พร้อมจะจากไปทันใดข้า

ก็ได้ยินเสียงกระทืบเท้าและเสียงร้องจาก

ชายฝั่งน้ำในสระเถาฮัวลึกพันฟุตทว่าหาได้

ลึกเท่าความรู้สึกของหวั่งหลุนยามส่งข้าล่องเรือ

 

ภาพวาดหลี่ไป๋ จิบเหล้าชมจันทร์

ความแตกต่างระหว่างกลอนจีนและไทย

การเรียงถ้อยคำของภาษาจีนต่างกับภาษาไทยเช่นคำแสดงตำแหน่งหรือ

ที่เรียกว่าบุพบทนั้นจีนจะไว้ข้างหลัง เช่น บนฟ้า จีนก็เรียงเป็น ฟ้า-บน

ในห้องจีนก็เรียงเป็น ห้อง-ใน เป็นต้น)โดยอรรถรสแล้วกวีบทนี้ ความหมายว่า

แสงจันทร์สว่างส่องตรงหน้าเตียง    ดูประดุจน้ำค้างแข็งบนพื้นดิน

เงยหน้ามองจันทร์สว่าง     ก้มหน้าคิดถึงบ้านเดิม

กวีได้เปรียบแสงจันทร์ที่สว่างนวลซึ่งทอดเข้ามาในห้องนอน

มาตกตรงหน้าเตียงเสมือนกับหยาด

น้ำค้างแข็งที่พราวอยู่บนพื้นดินในบรรยากาศแบบนี้

ช่างดูเงียบเหงากวีได้เงยหน้าขึ้นทอดทัศนา

แสงจันทร์ที่สุกสว่างแล้วก็ก้มหน้าลงทอดถอนใจ

คิดถึงบ้านเก่าของตนในชนบทกวีหลี่ไป๋ ชอบ

Drinking Aloneunder the Moon) ว่ากันว่า เขาตายเพราะไล่จับเงา

จันทร์ในแม่น้ำ(ตอนเมา)ปรากฏการณ์

พระจันทร์ยิ้ม (Earth Shine)ให้นึกถึงสำนวนเสี้ยวหลี่ฉางเตา

รอยยิ้มซ่อนดาบ  ก็เลยเอามาตั้งเป็นกระทู้

รอยยิ้มซ่อนดาบ    สถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบันล้วนแล้ว

แต่แฝงไปด้วยรอยยิ้มซ่อนดาบ

รอยใจใครขีดไว้เป็นรอยยิ้มร่าน้ำตาปรอยปริ่มไห้ซ่อนความขื่นขมคอย

ใครปลอบ เล่าแม่ ดาบ ที่คมลูบไล้-เล่นล้วนเลือดไหล

บางคนก็มีรอยใจใจโดนขีดเป็นรอย แต่ก็ยังแกล้งยิ้มทั้งน้ำตา เกือบๆ

จะร้องไห้ซ่อนความขมขื่นไว้รอให้ใครปลอบประโลมเล่าแม่คุณ

(นางเอกเจ้าน้ำตา)อุปมาเหมือนคนที่ชอบเล่นกะของมีคมเช่นดาบเวลา

โดนคมดาบบาดมือจึงร้องไห้(วิ่งหาคนปลอบ) รอยจันทร์กระต่ายเต้นในจันทร์

ยิ้มยั่วหรือเย้ยหยันหยอกเย้าซ่อนนัยยะสำคัญใดเล่าแม่เอย 

ดาบสหลับเนตรเข้า-นิโรธล้วนลืมมองในพระจันทร์

เขาว่ามีเทวดามาวาดรูปกระต่ายไว้(กระต่ายกระโดดโลดเต้น)

กระต่ายกระโดดโลดเต้นคงกำลังยั่วยิ้ม

เยาะเย้ยหยอกเย้าคนที่ถูกมีดบาดมืออยู่กระมัง

แต่ถึงแม้นคนจะตีความร่องรอยของดวงจันทร์

บนฟ้าว่าอย่างไรก็ตามทีเถอะแม่คุณ(ผู้โดนมีดบาดมือ)
 

ดาบส  (หรือผู้ปฏิบัติธรรม)  ก็ไม่สนใจมอง

ดวงจันทร์หรอกว่ามีกระต่าย หรือเปล่า

เพราะ ดาบส มุ่งแต่จะทำสมาธิเข้านิโรธสมาบัติ

ก็เลยลืมมองพระจันทร์

รอยเกวียนเวียนเคลื่อนต้อนตามโค

ยิ้มและรู้จักโง-กระโหลกไว้

ซ่อนเร้น ณ กกโพธิ์เพียรพาก

ดาบที่ถือวาง ให้- ห่าง

ให้เห็นธรรมพอดาบสนั่งสมาธิเข้านิโรธสมาบัติ

ก็เลยเห็นกฎแห่งกรรม

(กงกำกงเกวียนเวียน ไล่ต้อนตามตีนโค

ใครทำกรรมอะไรไว้กรรมนั้น

ก็ย่อมค่อยๆหมุนตามมาข้างหลัง)

หรืออาจแปลได้ว่าทุกข์

ที่เราประสบอยู่นี้คือผลของกรรมเก่า

เมื่อเห็นกฎแห่งกรรมแล้วดาบสก็ยิ้มชอบใจ

(ยิ้มในสมาธิ) โงหัว นั่งตัวตรง ซ่อนเร้น

บำเพ็ญเพียรใต้ต้นโพธิ์วางดาบแห่งกิเลสตัณหาและอุป

ปาทานไว้ ห่างไกลแล้วจึงทำให้เกิดดวงตาเห็นธรรม

รอยจารจารึกไล้ลายลักษณ์ยิ้มเถิดหากอ่านอัก-ขระแล้ว

ซ่อนแสร้งแสดงหลัก -ธรรมพุทธ ศาสตร์เอย

ดาบหมั่นเคาะสนิมแผ้ว-พฤกษ์เหี้ยนเตียนหนาม


คนอ่านอ่านโคลงที่คนแต่งแต่งไว้เป็นลายลักษณ์อักษรนี้

ก็(คง)ขอให้ยิ้มแย้มเถิด(เพราะมันเดินเรื่องมาตลกๆ พิกล)

ในยามที่อ่านอักษระเหล่านี้ ได้ซ่อน หลักธรรมทางพุทธศาสนาไว้

เช่นเรื่องของการละซึ่งกิเลสตัณหาและอุปาทาน

หรือที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์ หรือการรู้จักบำเพ็ญเพียรเพื่อความพ้นทุกข์เป็นต้น
 

ดาบที่ให้ทิ้งคือกิเลสตัณหาและอุปาทาน

ส่วนดาบที่ให้ถือคือดาบแห่งปัญญาที่ต้องหมั่นเคาะสนิม

อันได้แก่กิเลสตัณหาและอุปาทาน ออกไป เมื่อดาบถูกเคาะสนิมดาบ

ก็จะไม่ทื่อและใช้แผ้วถางอุปสรรคและเสี้ยนหนามในชีวิต

ให้หมดไปได้อย่าปล่อยให้สนิมเกาะดาบแห่งปัญญาอยู่เลย

 

 

จบตอนที่หนึ่งเรื่องอักษร ก

12 เมษายน 2552

 

 

 


 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal