หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

ล่อปัดกู้แถวหน่อ

(แตกประเด็นมาจาก http://hakkapeople.com/node/783#comment-9104 )

ไหงขออัญเชิญตอนหนึ่งของกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวณ พระที่นั่งเย็นทรงพระราชทานในวันพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2504 ว่า

“การก่อสร้างอาคารสมัยใหม่นี้เป็นเกียรติแก่ผู้สร้างเพียงคนเดียว
แต่โบราณสถานนั้นเป็นเกียรติของชาติ อิฐเก่าๆแผ่นเดียวก็มีค่าควรที่เราจะช่วยกันรักษาไว้
ถ้าประเทศไทยขาดสุโขทัย อยุธยา และกรุงเทพแล้วก็ไม่มีความหมาย"

 

老八股頭腦 ล่อปัดกู้แถวหน่อ คือคนหัวคิดโบราณคนหัวคิดอนุรักษ์ด้านขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ที่มนุษย์ บรรพชนได้สร้างขึ้นมาแต่อดีต จนตกทอดมายังปัจจุบันเพื่อให้รู้ถึงวิวัฒนาการของมนุษย์ว่าได้พัฒนามาจากอดีต สู่ปัจจุบันได้อย่างไร?และจะพัฒนาต่อไปอย่างไรเช่นนี้

เราคนปัจจุบันได้ศึกษาความเป็นมา ได้เห็นแล้วว่าสิ่งใดสุดโต่งควรแก้ไขก็ต้องแก้ไขสิ่งใดดีอยู่สมควรอนุรัษ์ไว้ก็ควรให้มีต่อไป ไม่ใช่เห็นว่าสิ่งใดไม่ดียังฝืนทุรังจะรับมาทั้งแท่ง สิ่งใดที่ดีอยู่แล้วจะหาว่าโบราณ จะพาลทิ้งมันเสียทั้งหมด เราถองหงินควรจะภูมิใจในสิ่งที่บรรพบุรุษของพวกเราได้สร้างประเพณี วัฒนธรรมต่าง ๆไว้เป็นแบบอย่างยึดถือสืบมาจนปัจจุบัน

สิ่งที่เรียกว่าขนบธรรมเนียมประเพณี(มักจะต่อท้ายด้วยว่า อันดีงาม)นี้มีแต่มนุษย์เท่านั้นที่สามารถสร้างขึ้นได้ สัตว์ หรือสิ่งมีชีวิตอื่น ๆไม่สามารถสร้างได้แบบมนุษย์เรา

สิ่งนี้ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สามารถแยกแยะได้ว่ามนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ ต่างจากสัตว์เดรัจฉานอย่างไร?ก็ด้วยจากสิ่งที่เรียกว่าศิลปวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมจารีตประเพณีต่าง ๆนี้ ซึ่งชาติใด ภาษาใดก็มีจารีตประเพณีแตกต่างกันไป แล้วแต่ความเชื่อต่าง ๆ ของชนชาตินั้นๆ ภาษานั้น ๆ

ไหงได้คัดข้อเขียนมาจาก http://www.meemodo.com/THculture.htmlเกี่ยวกับเรื่องขนบธรรมเนียมประเพณีบางส่วนมาลงไว้ให้ ขอขอบคุณทางเว็บดังกล่าวมาด้วยครับ

 

ขนบธรรมเนียมประเพณี

เป็นคำที่ใช้เรียกรวมกัน ซึ่งมีความหมายว่า สิ่งที่หมู่คณะในสังคมหนึ่งๆ นิยมประพฤติปฏิบัติต่อเนื่องสืบกันมาเป็น เวลานานจนยึดถือกันในจิตใจว่าต้องปฏิบัติเช่นนั้น จึงจะเกิดความสุขความเจริญ

 

ขนบธรรมเนียม

ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยมีอยู่มากมายหลายประการเช่น ผู้น้อยต้องมีความเคารพผู้ใหญ่ มีความจงรักภักดีต่อ ชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ แสดงความเคารพกันด้วยการยกมือไหว้หรือกราบทำการต้อนรับแขกที่มาเยี่ยม เยียนตามสมควร ผู้ชายไทยต้องทำงานหนักกว่าผู้หญิงต้องประกอบอาชีพอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องกล้าหาญ ต้องเป็นผู้ นำครอบครัวควรศึกษาพระธรรมโดยบวชเป็นพระภิกษุอย่างน้อยหนึ่งพรรษา ผู้หญิงต้องแต่งกายมิดชิดเลี้ยงลูก จัดบ้านเรือนและปรุงอาหาร มีกิริยามารยาทเหมาะสมตามโอกาส

 

ความหมายของประเพณี

ประเพณีมีความหมายรวมถึง แบบความเชื่อ ความคิด การกระทำ ค่านิยม ทัศนคติศีลธรรม จารีตระเบียบ แบบแผน และวิธีการกระทำสิ่งต่าง ๆตลอดจนถึงการประกอบพิธีกรรมในโอกาสต่าง ๆ ที่กระทำกันมาแต่ใน อดีตลักษณะสำคัญของประเพณี คือเป็นสิ่งที่ปฏิบัติเชื่อถือมานานจนกลายเป็นแบบอย่างความคิด หรือการกระทำที่สืบต่อกันมา และยังมีอิทธิพลอยู่ในปัจจุบัน

ประเพณีเกิดจากความเชื่อในสิ่งที่มีอำนาจเหนือมนุษย์เช่น อำนาจของดินฟ้าอากาศ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยไม่ทราบสาเหตุต่าง ๆฉะนั้นประเพณี คือ ความประพฤติของคนส่วนรวมที่ถือกันเป็นธรรมเนียม หรือเป็นระเบียบแบบแผน และสืบต่อกันมาจนเป็นพิมพ์เดียวกันและยังคงอยู่ได้ก็เพราะมีสิ่งใหม่เข้ามาช่วยเสริม สร้างสิ่งเก่าอยู่เสมอและกลมกลืนเข้ากันได้ดี

ประเพณีคือ ระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติที่เห็นว่าดีกว่า ถูกต้องกว่าหรือเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ใน สังคมและมีการปฏิบัติสืบต่อกันมา

ประเพณีคือ ความประพฤติที่สืบต่อกันมาจนเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ในหมู่คณะเป็นนิสัยสังคม ซึ่ง เกิดขึ้นจากการที่ต้องเอาอย่างบุคคลอื่น ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ตนหากจะกล่าวถึงประเพณีไทยก็หมายถึง นิสัยสังคมของคนไทยซึ่งได้รับมรดกตกทอดมาแต่ดั้งเดิมและมองเห็นได้ในทุกภาคของไทย

ประเพณีเป็นเรื่องของความประพฤติของกลุ่มชน ยึดถือเป็นแบบแผนสืบต่อกันมานานถ้าใครประพฤตินอก แบบ ถือเป็นการผิดประเพณีเป็นการแสดงถึงเอกลักษณ์ของชาติอีกอย่างหนึ่ง โดยเนื้อหาสาระแล้ว ประเพณีกับวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่กลุ่มชนในสังคมร่วมกันสร้างขึ้นแต่ประเพณีเป็นวัฒนธรรมที่มีเงื่อนไขที่ค่อนข้าง ชัดเจน กล่าวคือเป็นสิ่งที่สังคมสร้างขึ้นเป็นมรดกคนรุ่นหลังจะต้องรับไว้ และปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไปรวมทั้งมีการเผยแพร่แก่คนในสังคมอื่น ๆ ด้วย

 

ชนิดของประเพณี

ประเพณีแบ่งตามลักษณะของความเข้มงวดในการที่จะต้องปฏิบัติตามเป็น 3 แบบด้วยกัน คือ

  1. จารีตประเพณี หรือ กฎศีลธรรม(Mores) คือประเพณีที่สังคมถือว่าถ้าใครฝ่าฝืนงดเว้นไม่ กระทำตามถือ ว่าเป็นความผิดจารีตประเพณีเกี่ยวข้องกับศีลธรรมของคนส่วนรวมในสังคมไทย เช่น การแสดงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ เป็นต้น

    จารีตประเพณีหรือกฎศีลธรรมของแต่ละแห่งย่อมไม่เหมือนกัน เพราะมีค่านิยม (Valu)ที่ยึดถือต่าง กัน ดังนั้นถ้าบุคคลใดนำจารีตประเพณีของตนไปเปรียบเทียบกับของคนอื่นว่าดีหรือ เลวกว่าตนก็เป็นการเปรียบเทียบที่ไม่ถูกต้อง เพราะสภาพหรือสิ่งแวดล้อม ตลอดจนความเชื่อต่าง ๆย่อมต่างกันไป เช่น เรา เคารพผู้ที่อาวุโสกว่า แต่ชาวอเมริกันรักความเท่าเทียมกัน

  2. ขนบประเพณี (Institution) บางครั้งเรียกว่าระเบียบประเพณีหมายถึงประเพณีที่สังคมกำหนด ระเบียบ แบบแผนไว้อย่างชัดว่าควรจะประพฤติปฏิบัติเป็นขั้นตอนอย่างไร เช่นประเพณีแต่งงานต้องเริ่มตั้งแต่การ หมั้น การแต่ง ซึ่งแต่ละขั้นตอนจะมีพิธีมากมายสำหรับคู่บ่าวสาวต้องปฏิบัติตามหรือพิธีศพ ซึ่งจะต้องเริ่ม ตั้งแต่มีการรดน้ำศพ แต่งตัวศพ สวดศพ เผาศพเป็นลำดับ
  3. ธรรมเนียมประเพณี (Convention) หมายถึงประเพณีที่ปฏิบัติกันอยู่ในชีวิตประจำวัน หากมี การฝ่าฝืนก็ไม่ถือเป็นเรื่องผิด นอกจากจะเห็นว่าเป็นผู้เสียมารยาทเท่านั้นไม่มีระเบียบแบบแผนเหมือนขนบ ประเพณี

ก็คิดว่าน่าจะพอตอบคำถามเกี่ยวกับ ล่อปัดกู้ได้บ้างไม่มากก็น้อยครับคำกล่าวที่ว่า “อย่าข่มเขา โคขืนให้กลืนหญ้า”และ"ประเพณีคลุมถุงชน" กับคนสมัยใหม่ ไม่น่าจะเกิดขึ้นแล้ว เพราะอะไร? คิดเอาก็รู้แล้วครับ

 

โลกสมัยใหม่ของเราขนะนี้ที่เห็น ๆ มีที่น่าห่วงอยู่ 2 เรื่อง คือ

  1. ประชาธิปไตยแบบ 2 ขั้ว(ของไทยเรา)ต่างคนต่างอิสระในความคิด ต่างก็ว่าของตนถูกไม่มีใครยอมรับว่าตนเองผิด
  2. ยุคโลกไร้ขอบเขต เด็กสมัยนี้ ต้องรู้เรื่องอินเตอร์เน็ตเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกคน ใครที่มีบุตร คงจะซาบซึ้งดี ว่าเด็กยุคใหม่ ว่าไม่นอน สอนไม่ง่ายขนาดไหน? ไม่รู้ว่ามาจากการ

เห็นว่าคนรุ่นพ่อ รุ่นแม่ คร่ำครึกันหรือเปล่า ?


 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal