หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

พิธีต่างๆ สำหรับผู้ที่เพิ่งเสียชีวิต

คุณยายเพิ่งจะเสียไปเมื่อ 3 เดือนก่อนค่ะ เลยอยากทราบว่าเราจะไหว้คุณยายได้เหมือนกับไหว้บรรพบุรุษหรือเปล่าค่ะ เพราะว่าตอนเทศกาลบ๊ะจ่าง ก็ไหว้ไม่ได้เพราะเค้าถือว่าจะผูกมัดคุณยายไว้ ก็เลยอยากจะรู้ว่าพิธีอื่นมีข้อห้ามด้วยหรือเปล่าค่ะ ขอบคุณมากค่ะ


การไหว้ในผู้เพิ่งเสียชีวิต

สวัสดีครับคุณ peanutska ที่บ้านไหง อาแม้ไหงเพิ่งเสียไป 3 ปี และแม่แฟนไหงก็เพิ่งเสียไปได้ 2 ปี เกี่ยวกับการไหว้ในเทศกาลต่าง ๆ ไหว้ได้ตามปรกติครับ ยกเว้นผูกขนมจ้างในปีแรก อย่างที่คุณเข้าใจถูกต้องแล้วครับ
     การปฏิบัติ คือ 49 วัน ซองก๊อ คือนำรูปขึ้นตั้งบนหิ้งได้ การไหว้ มีสามครั้งใหญ่ คือ 49 วัน ไหว้มีหัวหมู ฝัดปั้น (ฮ้วกก้วย) ยีเซวี้ยง (อุยเซีย) 1 ครั้ง/ ครบปี 1 ครั้ง/ ครบ 2 ปี เรียกว่า 3 ปี อีกหนึ่งครั้ง ส่วนการไหว้ในเทศกาล ก็ไหว้ได้ปรกติทุกอย่างดังที่กล่าวมาแล้ว
     หมายเหตุ นี่เป็นการไหว้ตามแบบของทางไหงที่ปฏิบัติมา(ที่บ้าน ปั้นซั้นขัก)หากจะมีที่ต่างออกไปจากนี้ก็มีได้ แต่ที่บ้านไหงตามนี้แน่นอนครับ.               

การไหว้ที่บ้านไหง

ที่บ้านไหง เป็นปั้นซั้นขัก ก็ไหว้แบบเดียวกับบ้าน คุณ แจวชิ้นสุ้ย ครับ  ต่างนิดเดียวครับ

คือที่บ้านไม่ไหว้ขนม ปะจ้างเลย

อยากให้มี

อยากให้มีรายละเอียดเริ่มต้น ตั้งแต่บรรพบุรุษเราเสียชีวิต จนถึง ฝังเสร็จครับ

เพราะที่บ้านมีอะผ่อเป็นจีนแคะ อายุ มากแล้ว อยากศึกษา แต่ค้นหาข้อมูลแล้วไม่พบเลยครับ 

 

รูปภาพของ จ๊องหยิ่นฮยุ๋ง

ตอบ คุณ peanutska

ขออนุญาตเสริมจาก ชิ้นสุ้ยก๊อ ครับ

ไหงเพิ่งไปถามอาปัก-อาแม้ มา

ถ้าเป็นหิ้งที่บ้าน สามารถไหว้ในเทศกาลต่างๆ ได้ตามปรกติเหมือนที่ ชิ้นสุ้ยก๊อ บอกครับ แต่ถ้าที่ฟุ้งสุ้ย หรือ ฮวงซุ้ย (ถ้ามี) ใน 3 ปีแรกไหว้ไม่ได้ (นับปีที่ถึงแก่กรรมเป็นปีที่ 1) ดังนั้น กรณีของคุณยายของหงี ปี 2556 จึงจะเริ่มไปไหว้ฟุ้งสุ้ยของท่านได้ครับ


หมายเหตุ เช่นเดียวกับของ ชิ้นสุ้ยก๊อ ครับ หากจะมีที่แตกต่างออกไปจากนี้ก็มีได้

รูปภาพของ มะไฟ

การไหว้บรรพบุรุษ

การไหว้บรรพบุรุษของปั้นซ้นขักแถวบ้านไหง กาญจน์ ราชบุรี สามปีแรกไหว้ได้ครับ แต่สามปีแรกตองดูวันดี ไม้ให้ชงกับลูกหลาน การไหว้จะไหว้ก่อนชิ้นหมินสองถึง สามเดือน สามปีแรกจะเป็นแบบนี้ หลังจากสามปีไหว้ได้ปกติ ช่วงทำศพจะทำพิธีแก้ชงไว้กอ่น หากลูกลานหรือใครชงก็จะได้แก้ได้ทันที เคล็ดในการแก้ชงจะอธิบายอีกครั้ง ส่วนที่ไหว้ไม่ได้ก็มีแค่กรณีคุ้งหมอง ห้าไหว้กี่ปีก็จะกำหนดไว้

รูปภาพของ ใช่หงี่อุ้ย

ขอเพิ่มนิดเนิงครับ

ใช่หงี่อุ้ย

ตามที่อาม่าไหงสอนมานะครับ

การไหว้่ในช่วงเทศการต่างๆ

เนื่องจากผู้ตายเป็นผู้ที่เพิ่งตายใหม่

การไว้จะไม่ไหว้รววกับบรรพบรุษที่ตายมานานแล้วครับ

 โดยส่วนมากจะไหว้ก่อนบรรพบรุษเรา ๑ วันครับก็คือวันจ่าย

คนแคะเรามีธรรมเนียมการถือทุกข์ต่างจากคนแต้จิิ๋วก็คือ

คนแคะจะมีธรรมเนียมที่เรียกว่า เหยียนฉิดปักก๊องงิบ ปักหงิดปักก๊องฉุด

คือเวลาเราไหว้ครบสี่สิบเก้าวันในนับเข้าตามจำนวนของลูกชาย

แล้วถ้าเป็นร้อยวันให้นับออกตามจำนานของลูกชาย

แล้วหนึ่งปีถึงจะสามารถไหว้รวมกับบรรพบรุษเก่าได้

ซึ่งคนแคะจะถือ ๑ ปี  ส่วนคนแต้จิ๋วจะถือ ๓ ปี

แล้วภายใน ๑ ปีจะไม่จัดงานมงคลหรือผูกบะจ่างครับ

 

ขอความรู้หน่อยครับ

สวัสดีครับ พอดีอาม่าไหงเพิ่งเสีย อ่านกระทู้นี้ได้ประโยชน์มากๆ เลย

อยากจะขอถามความรู้ครับว่า ที่ว่า

"คนแคะจะมีธรรมเนียมที่เรียกว่า เหยียนฉิดปักก๊องงิบ ปักหงิดปักก๊องฉุด

คือเวลาเราไหว้ครบสี่สิบเก้าวันให้นับเข้าตามจำนวนของลูกชาย

แล้วถ้าเป็นร้อยวันให้นับออกตามจำนวนของลูกชาย"

ช่วยอธิบายเพิ่มเติมสักนิดได้ไหมครับ คือไหงจำได้คลับคล้ายคลับคลาว่า ตอนอากุงไหงเสีย ตอนไหว้เหยียนฉิด จะต้องไหว้ก่อนครบวัน มีเชิญรูปขึ้นหิ้ง ไม่ทราบเข้าใจถูกหรือเปล่า รบกวนท่านผู้รู้ไขข้อข้องใจด้วยครับ

ขอบคุณครับ 

รูปภาพของ ใช่หงี่อุ้ย

ตอบครับ

ใช่หงี่อุ้ย

ใช่ครับ

เข้าใจถูกต้องครับ

เหยียนฉิกปักก๊องงิบ  ก็คือไหว้สี่สิบเก้าวันจะนับเข้าตามจำนวนลุกชายครับ

ส่วนของไหว้มีพิเศษก็คือ ยี่เซียง หรือหีบเสื้อผ้า

ส่วนปักหงิดปักก๊องฉุด ก็คือนับออกตามจะนวนลูกชาย ครับ

วันนี้ต้องไหว้หีบเสื้อผ้าด้วยเหมือนกันครับ

ปล.นับเฉพาะลูกชายที่ยังมีชีวิตอยู่ครับ

 

ไม่รู้ว่าเหมือนกันป่าว

ที่บ้านผมอากุงเสีย หลังจากฝังเส็ด แม่ชีก้อมาทำพิธีที่บ้านเรียกวิญญาณกับบ้าน เอาผ้าแดงคลุมรูปถ่ายไว้ ตอนนั้นน้องสะใภ้คลอดลูก แม่ชีก้อไม่ให้กลับมาอยู่ในบ้านจนกว่าจะนำอากุงขึ้นหิ้งบรรพชน ไว้ทุกข์สี่สิบเก้าวัน แต่มาปลดทุกข์วันที่สี่สิบแปด เพราะว่าอากุงมีลูกชายคนนึงก้อเลยหักให้ลูกชายหนึึ่งวัน หลังจากนั้นกอ่นถึงชินมิ่น ไปไหว้ล่วงหน้า ที่สุสาน ไหว้เจ้าที่เส็ด ก้อต้องไป่ซากุงซาผ่อ แล้วจะต่อด้วยไหว้อากุงและอาผ่อ แล้วแม่ชีก้อสวดต่อ แล้วยังต้องทำิพิธีต้าจายอีกสามครั้้้ง(ปีละครั้ง) แต่ระหว่างที่อยู่ในช่วงไว้ทุกข์ ที่บ้านจะแบ่งเป็นเจ็ดละบุคคล เจ็ดวันแรกลูกชายลูกสะใภ้ไหว้ เจ็ดที่สอง ลูกสาวไหว้ เจ็ดที่สามลูกเขยไหว้ เจ็ดที่สี่หลานในไหว้ เจ็ดที่ห้าหลานนอกไหว้ เจ็ดที่หกบรรดาหลานเขย เจ็ดสุดท้ายทุกคนพร้อมกันไหว้

แค่นี้ก่อนน่ะแล้วเดียวจะมาเล่าให้ฟังตอนทำกงเต็กตั้งแต่ชุืมนุมเทวดาจนส่งเจ้าเลย

 

รูปภาพของ ใช่หงี่อุ้ย

ใช่หงี่อุ

ใช่หงี่อุ้ย

ยังไหว้ได้ครับ

แต่ต้องไหว้ก่อนวันไหว้บรรพบรุษหนึ่งวันครับ

ก็คือแยกไหว้ครับไหว้วันจ่าย ส่วนวันไหว้ก็ไหว้บรรพบรุษไป

เนื่องจากผู้ตายยังใหม่อยู่จึงไปไหว้รวมกันครับซึ่งคนแคะเราจะถือธรรมเนียมนี้เป็นเวลาหนึ่งปีครับ  ต่างจากชาวแต้จิ๋วที่ถือธรรมเนียมนี่เป็นเวลสามปี

ส่วนการไหว่บะจ่าง ไหว้ได้ครับ

แต่จะไม่ทำหรือไม่ผูกบะจ่างในบ้านครับ

ซึ่งคนแคะเราก็ถือธรรมเนียมนี้แค่หนึ่งปีเหมือนกันครับ

ในปีต่อไปก็สามารถทำได้เหมือนเดิม

ถ้าที่บ้านพ่อเพิ่งเสีย จะสามารถจัดพิธีมงคลสมรสได้เมื่อไหร่คะ

ถ้าที่บ้านพ่อเพิ่งเสีย จะสามารถจัดพิธีมงคลสมรสได้เมื่อไหร่คะ

รูปภาพของ อาฉี

ธรรมเนียมผสม

ที่บ้านเป็นธรรมเนียมผสมแคะแต้จิ๋วไทยไปแล้ว คือทางบ้านแคะอยู่ในดงแต้จิ๋ว แต่แม่ยายเป็นแต้จิ๋วในดงแคะ

ตอนนั้นถ้าจำมาไม่ผิด คับคลายคับคลาผู้ใหญ่เขาว่ามา ถ้าไม่แต่งภายในไม่นานวัน หรือไม่ก็ให้เว้นไป 3 ปี แต่ก็สงสัยว่าทำไม ภายในไม่กี่วันก็ได้ เขาตอบมาว่าถ้ามีความพร้อม หรือเหตุจำเป็นให้ถือว่าสะใภเป็นคนในครอบครัวจะได้ร่วมด้วยช่วยกันจัดงานศพให้ให้ลุล่วง โดยพิธีสมรสเป็นแบบถูกต้องเรียบง่ายตามธรรมเนียม อาจไม่จำเป็นต้องมีงานรื่นเริงอะไรทำนองนั้น

(หากผิดพลาดคลาดเคลื่อนประการใดผู้รู้ชี้แนะด้วยนะครับ)

เพิ่มเติมรายละเอียดอีกนิดคะ รบกวนด้วยคะ

เพิ่มเติมรายละเอียดอีกนิดคะ เห็นทางคนจีนแคะบอกว่า 1 ปี แต่ถ้าเป็นแต้จิ๋ว 3ปี จริงไหมคะ

รูปภาพของ ใช่หงี่อุ้ย

จริงครับ

ใช่หงี่อุ้ย

ถ้าเป็นทางฝ่านคนแคะจริงๆจะถือ1ปี ใน 1 ปีจะำม่มีงานรื่นเริงหรืองานมงคล และจะไม่มันบะจ่างด้วย ส่วนทางแต้จิ๋วจะถือ 3 ปีครับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความพร้อมแต่ละบ้าน ของทุกอย่างมีทางออกครับ ถ้าจำเป็น

รูปภาพของ อาฉี

ขอบคุณใช่หงี่อุ้ย

ผมก็เคยได้ยินมาทำนองนั้นแต่มาหลายสายไม่ได้สรุปไว้ ต้องขอขอบคุณที่ให้ความชัดเจน และจากข้อเขียนของท่านที่มีต่อเนื่องมายาวนานตั้งแต่ปีแรกๆของการก่อตั้งเว็บ เชื่อมั่นได้ว่าท่านเป็นผู้มีน้ำใจ มีความรู้ ให้คำแนะนำผู้ต้องการความช่วยเหลือด้วยดีเสมอมา ขอชื่นชมจากใจว่าท่าน และบรรพชนของท่าน เป็นผู้สนใจศึกษา สืบทอด อนุรักษ์ร่องรอยเกร็ดอารยธรรมให้สืบทอดต่อไปได้เป็นอย่างดี

แต่อย่างว่าเรื่องทางนี้ไม่สามารถพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ได้ จึงมีความเชื่อที่หลากหลาย เป็นประเพณีนิยมแต่ละท้องถิ่น บ้างก็ถือมากไว้ก่อนเพื่อรวมผลดีที่ควรจะได้ และเลี่ยงครหาจากบางฝ่าย  บ้างก็ลดทอนให้เหลือเฉพาะที่สะดวกปฏิบัติได้ในสังคมปัจจุบัน บ้างก็เลือกวิธีแก้ไขจนลูกหลานคิดว่าเป็นพิธีหลักแตกแขนงกันไป  โดยส่วนตัวเชื่อว่าทุกอย่างมีเหตุผลตามถิ่นกำเนิดประเพณีนั้นๆ

ดังนั้น อาจมีท่านผู้รู้อื่นเสนอมาแบบต่างๆ ก็ขอขอบคุณล่วงหน้า เพราะจะได้ศึกษาเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จากตำราแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่หลากหลาย มิใช่ว่าแบบใดถูกแบบใดผิดแต่ประการใด

จึงคิดว่ากรณีการสมรส ญาติผู้ใหญ่ของคนละฝ่าย อาจถือขนบธรรมเนียมมาเหมือนบ้างต่างบ้าง การพูดคุยทำความเข้าใจ เลือกวิธีที่เหมาะสมร่วมกันจะเป็นการดีที่สุด ไหนๆก็จะเป็นทองแผ่นเดียวกันแล้ว จะได้ไม่ให้ผิดผี และผิดคน (แต่งเร็วก็ว่าผิดผี ช้าก็หาว่าดึงเกม) และขอสนับสนุนคำพูดของคุณใช่หงี่อุ้ย  ว่า "ของทุกอย่างมีทางออกครับ"

รูปภาพของ จ๊องหยิ่นฮยุ๋ง

ตอบ คุณ Phupoo

อาปักไหงบอกว่า สามารถจัดงานแต่งงานได้ภายใน 100 วัน (ปัก หงิด หนุ่ย - 百日内)มิฉะนั้น ก็ต้องเว้น 3 ปีครับ

รูปภาพของ วี่ฟัด

ไม่ใช่ปัญหาของคนสมัยนี้หรอก

โถ โถ โถ ถ้าคนรุ่นปัจจุบันทันด่วนแบบปัจจุบันนี้ได้ยินกฏกติกาแบบนี้ฮาไปหลายตลบ สามปีเอง ต่อให้สิบปียังได้เลย ทางแก้ง่ายนิดเดียวเป็นกิ๊กไปพลางๆก่อนก็ได้หนิ ทางแก้ไม่เห็นจะยากเลยตัวเอง ขำจังยังมีกิ๊ก

รูปภาพของ ท้ายแถว

ไม่รู้ไม่เป็นไร

ไม่รู้ไม่เป็นไรแต่แครความรู้สึกผู้อื่นบ้างก็ดี ผมเองก็ไม่รู้เหมือนกันแต่เห็นใจท่านผู้อ่าน

เมื่อเตรียมการดูฤกษ์ดูชัยมาแล้ว ไม่เกิน 100 วันก็น่าจะไม่มีปัญหาอะไร แต่ถามแบบนี้คงเกิน- 3 เดือน ถ้าพอทนรอไปอีกหน่อย จะอ้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแคะหรือไทยเขาไม่ถือ 1-3 ปี อีกแค่ 8-9 เดือน แป๊บๆ ก็ครบปีถึงมีฤกษ์ (ไม่ใช่นักแต่งมืออาชีพเตรียมงานเกือบไม่ทั้นแล้ว) ดูที่ผู้ใหญ่ที่ต้องอยู่ด้วยกัน(ถ้ามี)จะยินดีแค่ไหน ยึดมั่นประเพณีหรือเป็นข้ออ้าง  แต่ที่สำคัญที่สุดคือคนที่อยู่กินด้วยกันคือเราทั้งสองจะร่วมคู่ชู้ชื่นต่างหาก

คิดว่าคงมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งที่รอไม่ได้ ยังอยู่ในช่วงไว้ทุกข์พอดี เชื่อว่าน่าจะมีทางออกที่เป็นศิริมงคล และผู้ใหญ่อาจเปิดใจรับได้ด้วย

ก็ต้องขออภัยที่ผมไม่รู้จริงๆ ถ้ามีรายละเอียดอีกนิดเช่น ฝ่ายใดยึดธรรมเนียมเชื้อสายใดยึดมั่นแค่ไหนจึงจะพอสบายใจ  ผู้ใหญ่เสียกี่เดือนแล้ว กำหนดแต่งต้องการเมื่อไหร่ บอกไว้บ้างเผื่อมีผู้รู้ผ่านมาพอจะช่วยไกด์ทางออกได้บ้าง (ไม่รู้มีธรรมเนียมแต่งจริง แต่งหลอก มั่นไว้ก่อน เลื่อนพิธีแต่ง เลื่อนเวลาจดทะเบียน ฤกษ์คำนับบรรพชน ที่ช่วยให้สบายใจขึ้นบ้างหรือเปล่าก็ไม่รู้นะ)

รูปภาพของ ใช่หงี่อุ้ย

ยินดีครับ

ใช่หงี่อุ้ย

ยินดีครับอาฉีก๊อ อะไรที่ไหงรู้ ไหงก็จะบอกเพื่องให้ธรรมเนียมของชาวจีนแคะยังคงอยู่และดำรงค์อยู่ในสังคนไทยให้เหมือนกับธรรมเนียมแต้จิ๋วที่แฝงรากลึกอยู่ในสังคมไทย ไหงอยากให้ธรรมเนียมแคะเราเป็นแบบนั้นบ้าง 

ขอบคุณทุกท่านมากๆนะคะ หรือเป็นการช่วยแก้เคล็ดบ้างไหมคะ

ขอบคุณทุกท่านมากๆ นะคะ แต่ก็อยากจะขอคำแนะนำเพิ่มเติม สำหรับ"ทางออก" ที่จะทำให้ครอบครัวเป็นสุข หรือแ

รูปภาพของ จองกว๊านหมิ่น

การยึดติดเป็นทุกข์

การยึดติดเป็นทุกข์ มีหลักประกันอะไร ระยะเวลาที่รอคอย จิตใจ
มนุษย์ไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อเจอสิ่งที่ดีกว่า รวยกว่า สวยหล่อกว่า
ถูกใจกว่า เพราะจิตสามารถแปรได้ตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง ตราบที่
กิเลสตัณหายังบริบูรณ์อยู่ แม้คำมั่นสัญญาก็แค่ลมปาก ทางที่ดี 
เมื่องานเสร็จเรียบร้อย ปรึกษาหาวันดีแต่งตามที่ตั้งใจ ไม่มีอะไรเสียหาย 
แต่ถ้ากลัวหน้าพะวงหลัง รอคอยได้ ทำใจได้หากมีเหตุต้องพลัดพราก ก็ทำ
ตามประเพณี 
 
อันที่จริง ความดีความชั่วความถูกต้อง ทุกสิ่งล้วนอยู่ที่พฤติกรรมส่วนตน
ทั้งสิ้น อย่างอื่นเป็นแค่รอง ขอเพียงทำแล้วมีความสุข สมหวัง โดยไม่ผิด
ศีลผิดธรรม ก็ใช้ได้แล้ว

ผมถือ

ในส่วนของไหงถือหลัก ล่อปัดกู้ โบราณมาอย่างไร เราต้องทำตามนั้น

รูปภาพของ ท้ายแถว

อยากรู้ล่อปัดกู้

อยากรู้ล่อปัดกู้ แนะนำให้ถืออย่างไร หรือมีทางออกกรณีนี้เช่นไรครับ ผมคนรุ่นหลังไม่ค่อยรู้เรื่อง ขออภัย

无古不成今

 
    ไม่มีอดีตก็ไม่มีปัจจุบัน  
รูปภาพของ จองกว๊านหมิ่น

มัชฌิมาปฏิปทา

ภาพยนต์เหลียงซานเป๊าะจุ๊อิงถาย ให้แง่คิดอะไรมากมายหลายอย่าง
การที่พ่อถืออำนาจบาทใหญ่ บังคับลูกสาวต้องแต่งงานตามความต้อง
การของตนเอง ไม่คำนึงถึงความรู้สึกผู้อื่น เป็นการข่มขืนน้ำใจที่โหด
เหี้ยมอำหิต แม้เป็นความหวังดีก็ตาม คิดแต่เพียงว่าตนเองเป็นผู้ให้
กำเนิด ย่อมมีสิทธิในชีวิตของลูก ห้ามต่อต้านขัดขืน หากละเลยถือว่าอกตัญญู 
ช่างเป็นเรื่องน่าขันและไร้สาระที่สุด 
 
จุดจบของเรื่อง นางเอกยอมพลีชีพเพื่อรัก ยอมตายไม่ยอมแต่ง มิถือเป็นการ
อกตัญญูที่ร้ายแรงหรอกหรือ ที่ทำให้พ่อแม่ต้องเสียใจ ทุกอย่างมีมูลเหตุ หาก
ไม่ใช่เรื่องผิดศีลธรรม และพ่อไม่มีทิฐิมานะ ตามใจลูกสาวแต่ต้น โศกนาฏ
กรรมก็ไม่เกิด  
 
ธรรมเนียมประเพณีโบราณต่างๆ หาใช่เรื่องถูกต้องไปเสียหมด เช่นวิวาห์คลุม
ถุงชน การสัญญาหมั้นหมายเป็นคู่ครองกันตั้งแต่ยังเป็นทารก การบีบรัดเท้า
เด็กหญิงให้เล็กลีบถือว่าสวยงาม เหล่านี้ล้วนถูกยกเลิก ฉะนั้น จึงน่าขึ้นอยู่กับ
ความศรัทธา ความสมัครใจและความยินยอม ใครใคร่ทำทำ ใครใคร่ฝืนฝืน 
ไม่มีใครผิดใครถูก อยู่ที่สามัญสำนึกของแต่ละคนมากกว่า ไม่ใช่ว่า ใครไม่ทำ
ตามประเพณีปฏิบัติ ทั้งที่ไม่ใช่เรื่องเสียหายหรือผิดศีลธรรม ก็ถูกประณามว่า
เป็นผู้อกตัญญู อย่างนี้หาเป็นธรรมไม่ ควรเดินทางสายกลาง ไม่ตึงหรือหย่อน
เกินไป ดังพุทธพจน์ การเดินสายกลางเป็นสิ่งประเสริฐสุด  
 
ปัจจุบันโลกก้าวสู่ยุคโลกาภิวัตน์ ข่าวสารความรู้ต่างๆทั่วโลกกองอยู่ข้างหน้า 
ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทั่วโลก การจำกัดสิทธิสตรีในอิหร่านกำลังถูกต่อต้าน 
การปกครองแบบเผด็จการถูกโค่นเป็นต้น อย่าให้วิธีการเก่าๆมามีบทบาท
เหนือวิถีชีวิตของเราเลย  

ล่อปัดกู้แถวหน่อ

ขอแตกประเด็นไป http://hakkapeople.com/node/3092

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal