หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

นิทานจีน

รูปภาพของ ท้ายแถว

ได้ตาม Link พันธมิตร ตามที่ท่านวีรพนธ์ถามถึง ไปดูแล้วเห็นมีนิทานจีนหลายเรื่องแต่จมอยู่หน้าลึกๆ(หาไม่ค่อยเจอ) จึงขอคัดลอกนิทานจีน จาก สถานีวิทยุ CRI.CN มา นำเสนอแบบยาวเหยียด เพื่อไม่ให้เงียบเหงา อ่าน/วิจารณ์/อ้างถึง กันได้นานๆ

ช่องแคบซานเสีย

แม่น้ำแยงซีเป็นแม่น้ำสายใหญ่ที่สุดของจีนและยาวเป็นที่สามของโลก ตอนต้นของแม่น้ำแยงซีมีช่องแคบสามแห่งคือช่องแคบชูถึงเสียช่องแคบอูเสียและช่องแคบซีหลิงเสียชื่อรวมสามแห่งนี้ก็คือซานเสีย ช่องแคบซานเสียของแม่น้ำแยงซีมีความยาวเกือบ 200 กิโลเมตร สองฝั่งแม่น้ำมีลักษณะภูมิประเทศที่พิเศษ มีทิวทัศน์สวยงาม เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของโลก

สุดช่องแคบด้านตะวันตกของช่องแคบซานเสียคือช่องแคบชูถังเสีย มีเขตท่องเที่ยวแห่งหนึ่งชื่อเมืองไป๋ตี้เฉิง เมืองไป๋ตี้เฉิงได้ชื่อจากเรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์ที่เป็นเรื่องจริง

เมื่อปีค.ศ 25 จีนกำลังอยู่ในช่วงเปลี่ยนยุดเปลี่ยนสมัย สมัยราชวงค์ ซีฮํ่น ถูกทหารกบฏชาวนาโค่นล้ม แต่ราชวงค์ใหม่ยังไม่ได้เกิดขึ้น นายพลกงซุนสวู้เป็นเจ้าครองเมืองท้องถิ่นทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ อยู่ระหว่างรอโอกาสเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

เล่ากันว่ามีวันหนึ่ง กงซุนสวู้นอนหลับฝันว่ามีคนในฝันคนหนึ่งบอกกับเขาว่า ท่านสามารถเป็นฮ่องเต้ได้ 12 ปี หลังตื่นขึ้นแล้วเขารู้สึกแปลกใจมาก วันรุ่งขึ้น กงซุนสวู้เดินเล่นในสวนและได้เห็นละอองสีขาวลอยขึ้นจากบ่อน้ำ เหมือนมังกรสีขาวกำลังบินขึ้นสู่ท้องฟ้า กงซุนสวู้คิดว่านี่เป็นสัญญลักษณ์ที่ให้เขาขึ้นครองอำนาจรัฐ ดังนั้น กงซุนสวู้จึงจัดพิธีขึ้นครองราชเป็นฮ่องเต้โดยใช้นามไป๋ตี้ และตั้งชื่อเมืองที่อยู่ใกล้ ๆ กับช่องแคบชูถังเสียว่า ไป๋ตี้เฉิง และสั่งทหารจำนวนมากไปประจำการ

บุคคลสำคัญคนที่สองในเรื่องเล่าคือนาย หใม่าเหยียนซึ่งเป็นเพื่อนที่ดีของกงซุนสวู้ พอเขาได้ยินเรื่องนี้ก็เดินทางมาช่วยกงซุนสวู้ คาดไม่ถึงว่ากงซุนสวู้พอเห็นเพื่อนมาก็วางท่าเป็นใหญ่เป็นโต และสั่งให้ข้ารับใช้ของตนเย็บเสื้อชาวบ้านเนื้อผ้าธรรมดาให้นาย หม่าเหยียนสวมใส่ และจัดพิธีการมโหฬารท่ามกลางเสียงกราบไหว้ดังกึกก้องจากกองทหารรักษาวังและขุนนางขุนศึกจำนวนนับร้อยคน แล้วจึงสั่งให้นายหม่าเหยียนมาเข้าเฝ้า มอบตำแหน่งแม่ทัพให้แก่นายหม่าเหยียนนำกองทัพทั่วประเทศ เพื่อน ๆ ที่ตามนายหม่า เหยียนมาเข้าเฝ้าล้วนดีใจใหญ่ หวังว่าสามารถอยู่ต่อช่วยเหลือเขา แต่นายหม่าเหยียนกลับบอกกับเพื่อน ๆ ว่า โลกนี้กำลังวุ่นวายอยู่ ยังไม่ทราบว่าใครสามารถปกครองทั่วประเทศได้ กงซุนสวู้ไม่รู้จักต้อนรับบุคคลที่มีความสามารถด้วยท่าทีที่ถ่อมตน ร่วมกันปรึกษาหารือบริหารบ้านเมือง กลับสนใจแต่เรื่องเล็กเรื่องน้อย ไม่มีคุณสมบัติที่จะเป็นฮ่องเต้ได้ ยิ่งไม่สามารถให้บุคคลที่มีความสามารถอยู่ช่วยเหลือเขาได้ พอพูดจบก็ลาออกจากตำแหน่งไป

เวลาเดียวกันนั้น นายหลิวสิ้วที่อยู่ภาคกลางของจีนได้สร้างอำนาจรัฐตุงฮั่นขึ้น เขาเขียนจดหมายให้แก่กงซุนสวู้ โน้มแน้วจูงใจให้กงซุนสวู้ยอมจำนน แต่กงซุนสวู้คิดว่าตนเองเป็นฮ่องเต้ จะยอมจำนนได้ไง ก็เลยปฏิเสธไป ปีค.ศ 37 หลิวสิ้วยกทัพตีกงซุนสวู้ กงซุนสวู้ถูกทหารฆ่าตาย

กงซุนสวู้เป็นฮ่องเต้ 12 ปี สุดท้ายถูกฆ่าตาย แต่กงซุนสวู้ได้ปกครองภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนเป็นเวลา 28 ปี ในช่วงเวลานั้น เขตภาคตะวันตกเฉียงใต้ค่อนข้างมั่นคงสงบ ไม่ถูกกระทบจากสงครามกลางเมืองในภาคกลางของจีน ช่วงที่เขาขึ้นเป็นฮ่องเต้เองนั้น กงซุนสวู้ได้พัฒนาการเกษตร สร้างเขตชลประทาน สร้างความสงบสุขให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น ดังนั้น หลังจากเขาเสียชีวิตในสงครามแล้ว ประชาชนในท้องถิ่นจึงได้สร้างวัดไป๋ตี้ในเมืองไป๋ตี้เฉิงขึ้นเพื่อรำลึกถึงเขา

นอกจากเมืองไป๋ตี้เฉิงแล้ว ช่องแคบซานเสียยังมีโบราณสถานและเรื่องเล่าอีกมากมาย อย่างเช่นริมสองฝั่งช่องแคบซานเสียมีภูเขางดงาม 12 ลูก และได้รัยขนานนามว่า เขานางฟ้า และมีการตั้งชื่อต่าง ๆ ให้กับนางฟ้า 12 องค์ ทั้งยังได้แต่งเทพนิยายเกี่ยวกับนางฟ้าแต่ละองค์ด้วยปัจจุบัน โครงการชลประทานใหญ่ที่สุดของโลกกำลังดำเนินงานก่อสร้างในช่องแคบซานเสีย พอแม่น้ำแยงซีถูกกักเก็บที่ซานเสียแล้ว ระดับน้ำจะสูงขึ้น 110 เมตร ซึ่งมีระดับเหนือน้ำทะเล 175 เมตร ทิวทัศน์ธรรมชาติและทิวทัศน์ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมส่วนหนึ่งจะต้องจมอยู่ใต้น้ำ แต่ขณะเดียวกันก็จะเกิดทิวทัศน์ใหม่ ๆ ขึ้นเช่นกัน

จากthai.cri.cn/chinaabc/chapter16/chapter160308.htm

หวงตี้สู่รบกับชืออิ๋ว

หลายพันปีก่อน ในบริเวณน่านน้ำหวงเหอ(แม่น้ำเหลือง)และแม่น้ำฉางเจียง(แม่น้ำแยงซี)มีเผ่าชนต่างๆอาศัยอยู่เป็นอย่างมาก ในจำนวนนี้ หวงตี้เป็น ผู้นำเผ่าชนที่มีเชื่อเสียงที่สุดน่านน่านน้ำหวงเหอ และมีผู้นำเผ่าชนอีกคนหนึ่งคือ เหยียนตี้ หวงตี้กับเหยียนตี้เป็นพี่น้องกัน บริเวณลุ่มแม่น้ำแยงซีมีเผ่าชนอีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ชนเผ่าจิ่วหลี ผู้นำของเขาเรียกว่าชืออิ๋ว เข้มแข็งเกรียงไกรมาก

ชืออิ๋วมีพี่น้องร่วมกัน 81 คน แต่ละคนล้วนมีใบหน้าเหมือนสัตว์แต่มีรูปร่างเป็นมนุษย์ มีกำลังเข้มแข็งมาก พวกเขาชำนาญด้านการผลิตอาวุธต่างๆ เช่นมีดดาบ ธนูเป็นต้น ชืออิ๋ว ได้นำเผ่าชนที่เข้มแข็งเที่ยวรุกรานหรือก่อกวนชนเผ่าอื่นๆ

ครั้งหนึ่ง ชืออิ๋วได้ยึดครองพื้นที่แห่งหนึ่งของเหยียนตี้ เหยียนตี้ต่อสู้ต้านทาน แต่เขาไม่ใช่คู่ต่อสู้ของชืออิ๋ว และประสบความพ่ายแพ้อย่างย่อยยับ เหยียนตี้ไม่มีทางออก จึงหนีไปยังจู๋ลู่ซึ่งเป็นเขตที่อยู่ของหวงตีเพื่อขอความช่วยเหลือ หวงตี้มีความคิดจะกำจัดชนเผ่าที่เป็นภัยนี้มาเป็นเวลานานแล้ว จึงร่วมกับผู้นำเผ่าชนอื่นๆ สู้รบขั้นเด็ดขาดที่จู๋ลู่ นั่นก็คือการสู้รบจู๋ลู่ที่มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์

ในช่วงเริ่มต้นสงคราม ชืออิ๋ว อาศัยอาวุธที่ดีกว่าและความกล้าหาญของทหาร ได้ชัยชนะต่อเนื่องกัน แต่ต่อมา หวงตี้ได้เชิญชวนมังกรและสัตว์ป่าที่แปลกประหลาดมาช่วยเหลือ แม้ว่า พลทหารของ ชืออิ๋วยังองอาจกล้าหาญ แต่เมื่อพบกับทหารของหวงตี้ และสัตว์ป่า จึงต้านไม่อยู่และพ่ายแพ้อย่างยับเยิน

หวงตี้จึงนำทหารฉวยโอกาสไล่ตาม แต่ฉับพลันนั้น เกิดพายุโหมพัดกระหน่ำจนฝุ่นตลบมืดมัวไปหมดและมีฝนตกอย่างร้ายแรง ทหารหวงตี้ไม่สามารถไล่ติดตามต่อไปได้ ความจริง ชืออิ๋ว ได้เชิญชวนเทพแห่งลมกับฝนมาช่วย หวงตี้ก็ไม่ยอมอ่อนข้อ จึงชวนเทพยดาแห่งความแห้งแล้งมาช่วย และขับไล่พายุฝน ลมและฝนก็หยุดทันที ท้องฟ้าปลอดโปร่ง

ชืออิ๋วจึงใช้เวทย์มนต์สร้างหมอก ทำให้พลทหารหวงตี้หลงทาง หวงตี้อาศัยดาวเหนือชี้ทาง และสร้างรถเข็มทิศ นำพลทหารและตีฝ่าออกจากหมอก

ด้วยการสู้รบอย่างดุเดือดหลายครั้ง หวงตี้ได้สังหารพี่น้อง 81 คนของชืออิ๋ว และจับเป็นชืออิ๋วได้ในที่สุด หวงตี้สั่งให้จับชืออิ๋ว ใส่พันธนาการ แล้วประหารชีวิตเสีย และเนื่องจากเกรงว่า ชืออิ๋ว จะก่อเหตุอาละวาดต่อหลังสิ้นชีวิตแล้ว จึงแยกฝังศีรษะและร่างกายของชืออิ๋วไว้ ในสองที่ที่ห่างไกลจากกัน เครื่องพันธนาการที่ชืออิ๋วเคยใส่ถูกทิ้งอยู่ที่เขาร้าง และกลายเปลี่ยนเป็นต้นเมเปิล ใบสีแดงแต่ละใบล้วนเป็นเลือดของชืออิ๋ว

หลังจากชืออิ๋วตายแล้ว ภาพลักษณ์ที่องอาจกล้าหาญของเขายังคงความน่าสะพรึงกลัว หวงตี้จึงวาดภาพชืออิ๋วบนธงรบ และสนับสนุนทหารของตนให้สู้รบอย่างกล้าหาญ และใช้ในการข่มขวัญเผ่าชนที่อยากจะเป็นปรปักษ์ต่อเขา ต่อมา หวงตี้ได้รับการสนับสนุนจากเผ่าชนต่างๆอย่างมาก และค่อยๆกลายเป็นผู้นำของเผ่าชนต่างๆ

หวงตี้เป็นผู้มีฝีมือและประดิษฐ์คิดสร้างสิ่งใหม่ๆเป็นจำนวนมาก เช่น สร้างตำหนัก สร้างรถ สร้างเรือผลิตเสื้อผ้าสีสันต่างๆเป็นต้น ภรรยาของหวงตี้มีชื่อว่าเหลยจู่ เป็นนักประดิษฐ์คิดค้นเช่นกัน ในอดีต แม้มี่ตัวไหมในป่า แต่มนุษย์ก็ยังไม่รู้ว่าตัวไหมจะใช้ประโยชน์ได้อย่างไร เหลยจู่ได้สอนให้มนุษย์เลี้ยงไหม สาวไหมและทอไหม ตั้งแต่นั้นมา จีนเริ่มเข้าสู่อารยธรรมผ้าไหม ในขณะที่หวงตี้คิดค้นศาลา เธอก็ได้ผลิตร่มซึ่งก็คือศาลาเคลื่อนที่ในขณะฝนตกนั่นเอง

เรื่องเล่าขานสมัยโบราณของจีนล้วนยกย่องหวงตี้เป็นอย่างมาก ชนรุ่นหลังล้วนถือหวงตี้เป็นบรรพบุรุษของชนเผ่าหวาเซี่ยหรือประชาชาติจีน ชาวจีนเป็นลูกหลานของหวงตี้ เนื่องจากเหยียนตี้กับหวงตี้เป็นญาติใกล้ชิด และได้รวมตัวผสมผสานกันในเวลาต่อมา ฉนั้น ชาวจีนจึงเรียกตนเองว่า เป็นลูกหลานเหยียนหวง เพื่อรำลึกบรรพบุรุษร่วมกัน ชาวจีนได้สร้างสุสานหวงตี้แห่งหนึ่งที่ภูเขาเฉียวซันในทางภาคเหนือของอำเภอหวังหลิงของมณฑลสั่นซีซึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเหลือง ฤดูใบไม้ผลิทุกปี ผู้แทนชาวจีนในท้องที่ต่างๆทั่วโลกจะชุมนุมกันที่นี่ ร่วมกันคารวะ บรรพบุรุษประชาชาติจีน

จากthai.cri.cn/chinaabc/chapter16/chapter160108.htm

เรื่องเล่าเกี่ยวกับภูเขาหลูซาน

ภูเขาหลูซานอยู่ในมณฑลเจียงซีทางภาคใต้ของจีน มีทิวทัศน์ธรรมชาติสวยงาม ตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับขุนเขาลูกนี้มากมาย ภูเขาหลูซานขึ้นชื่อในด้านความสูงชัน แปลกและสวยงาม เคยมีนักประพันธ์หรือนักกวีที่มีชื่อเสียงเดินทางขึ้นเขาหลูซานเพื่อแต่งบทกวี ทำให้ภูเขาหลูซานกลายเป็นแหล่งกำเนิดบทกวีเทือกเขาสายน้ำและสวนไร่นา ทั้งเป็นแหล่งที่เกิดภาพวาดโบราณหรือ ภาพวาดซานสุ่ยของจีน นายหลี่ไป๋ นักกวีที่มีชื่อเสียงในสมัยราชวงค์ถังก็เคยแต่งกลอนที่บรรยายน้ำตกหลูซานว่า รึจ้าวเซียงหลูเซิงจื่อเยียน หยาวค่านผู้ปู้กว้าเฉียนชวาน เฟยหลิวจื๋อเสี้ยซันเชียนฉื่อ อี๋ซื่อหยินเหอลั่วจิ่วเทียน ความหมายคือแสงอาทิตย์ส่องภูเขาเหมือนเตาเผาธูปเทียน ดูไกล ๆ เห็นน้ำตกเหมือนผ้าขาวผืนยาวแขวนบนท้องฟ้า น้ำไหลเชี่ยวกราดลงมานับพันเมตร สงสัยเป็นสายน้ำแห่งดวงดาวบนท้องฟ้าล่วงลงสู่โลก นายซูสื้อนักกวีที่มีชื่อเสียงของสมัยราชวงค์ซ้งเคยไปเที่ยวหลูซานหลายครั้งและแต่งกลองที่แปลออกมามีความหมายว่า ชมดูหลูซานจากต่างมุมได้เห็นทิวเขาที่ต่างโฉม ตัวอยู่ท่ามกลางเทือกเขาสูงมิอาจรู้หน้าตาที่แท้จริง

ภูเขาหลูซานยังมีชื่ออื่น ๆ เช่น คว่างหลูหรือคว่างซาน เล่ากันว่าเมื่อสมัยราชวงค์โจวคือประมาณศตวรรษที่ 4 มีชายคนหนึ่งชื่อคว่างสูขึ้นเขาหลูซานเพื่อศึกษาวิชาลัทธิเต๋า ฮ่องกเต้โจวเทียนจื่อพอทราบเรื่องนี้ก็สั่งให้ข้าไปเชิญนายคว่างสูลงภูเขาไปเข้าวัง แต่นายคว่างสูปฏิเสธโดยซ้อมตัวอยู่ในภูเขาลึก และหายสาบสูญไปในที่สุด ชาวบ้านท้องถิ่นเล่าลือกันว่าเขาได้บำเพ็ญตนสำเร็จและกลายเป็นเซียนไปแล้ว และตั้งชื่อสถานที่ที่นายคว่างหลูบำเพ็ญตนว่า เสินเซียนจือหลู หมายความว่าเป็นบ้านพักของเทวดา หลังจากนั้นภูเขานี้ก็ได้ชื่อว่าหลูซานหรือคว่างซานหรือคว่างหลู

เมื่อปีค.ศ 381 เป็นสมัยราชวงค์ ตุงจิ้น ของจีน หลวงพ่อฮุ่ยหยวนนำลูกศิษย์เดินทางมาที่หลูซาน และสร้างวัดตุงหลินภายใต้การช่วยเหลือของข้าราชการท้องถิ่น ทำให้เขานี้กลายเป็นแหล่งเผยแพร่ศาสนาพุทธนิกายจิ้นถู่จงซึ่งเป็นหนึ่งของศาสนาพุทธนิกายมหายานของอินเดียโบราณ ขณะเดียวกันก็ได้กลายเป็นสถานที่ประกอบพิธีศาสนาพุทธของพุทธศาสนาทางภาคใต้ของจีน หลวงพ่อฮุ่ยหยวนบำเพ็ญตนและเป็นเจ้าอาวาสเป็นเวลา 36 ปีบนเขาหลูซาน ท่านเคร่งครัดในพระวินัย และปฏิบัติธรรมอย่างลึกซึ้ง ได้รับความเคารพนับถือจากผู้คนโดยทั่วไป

สำหรับวัดตุงหลินและหลวงพ่อฮุ่ยหยวนยังมีเรื่องเล่าขานด้านศาสนามากมาย เล่ากันว่าในขณะที่ที่สร้างวัดตุงหลิน เนื่องจากวัตถุก่อสร้างไม่พอใช้ ทำให้หลวงพ่อต้องคอยเป็นห่วงทุก ๆ วัน มีคืนหนึ่งเกิดฟ้าผ่ามีฝนตกหนักมาก พระสงค์ทั้งหมดได้แต่นั่งอยู่ภายในกุฏิ ไม่สามารถเดินออกไปไหนได้ วันรุ่งขึ้นฝนหยุดตก เกิดแอ่งน้ำปกคลุมพื้นที่ราบ และมีท่อนไม้มากมายลอยอยู่บนผิวน้ำ หลวงพ่อฮุ่ยหยวนคิดว่าไม้เหล่านี้คงเป็นเทวดาส่งมาให้เพื่อช่วยสร้างวัดตุงหลิน ท่านจึงสั่งให้เอาไม้เหล่านี้สร้างวิหารขึ้นและตั้งชื่อว่า เสินยู่นเตี้ยน หมายถึงวิหารที่เทวดาขนส่งมาให้ ส่วนสระน้ำที่มีท่อนไม้ลอยบนผิวน้ำก็ได้ชื่อว่า ชูถู่ฉือ หมายความว่า สระน้ำที่มีไม้

หน้าวัดตุงหลินมีสระน้ำดอกบัวขาวหรือไป๋เหลียนจื๋อแห่งหนึ่ง น้ำใสสะอาด ใบบัวสีเขียวรองรับดอกบัวสีขาวลอยเด่นเต็มสระน้ำ มีบรรยากาศสดชื่นสงบเงียบ เล่ากันว่า สระน้ำดอกบัวขาวนี้ขุดขึ้นโดยนายเสี้ยหลิงหย่วนบุคคลที่มีชื่อเสียงสมัยตุงจิ้น เขาเป็นหลานปู่ของนายเสี้ยเสวียนนักการเมืองที่มีชื่อเสียงของสมัยตุงจิ้น เขาเป็นหลานชายลูกพี่ลูกน้องของนายหวางซีจือศิลปินนักเขียนตัวอักษรจีน มีความรอบรู้และเฉลียวฉลาดมาก เขาเดินทางมาถึงหลูซานและขอเข้าร่วมเป็นสมาชิกของ สมาคมไป๋เหลียนเซ่อ ซึ่งเป็นที่สวดมนต์บำเพ็ญตนของพระสงฆ์และเป็นสถานที่ที่เจ้าอาวาสพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ทางธรรมกับศาสนิกชนที่มีฐานะตำแหน่งสูงหรือศิลปินที่มีชื่อเสียง แต่หลวงพ่อปฏิเสธการรองขอของนายเสี้ยหลิงหย่วนและบอกว่า ความคิดจิตใจของคุณซับซ้อนเกินไป ต้องขุดสระน้ำดอกบัว 3 แห่ง รอจนกระทั่งใจสงบเย็นลงก่อนแล้วจึงจะเข้าเป็นสมาชิกของไป๋เหลียนเซ่อได้ นายเสี้ยหลิงหย่วนจำเป็นต้องขุดสระน้ำดอกบัวขาวขึ้น 3 บ่อแล้ว จึงได้รับการอนุญาติให้เข้าร่วม สมาคมไป๋เหลียนเซ่อ หลวงพ่อฮุ่ยเหยียนเมื่อได้พูดคุยสนทนากับนายเสี้ยหลิงหย่วนแล้ว เกิดความประทับใจมากซึ่งกันและกัน เลยคบเป็นเพื่อนที่ดีตั้งแต่นั้นมา หลังจากหลวงพ่อมรณภาพแล้ว นายเสี้ยหลิงหย่วนรู้สึกเศร้าโศกอย่างยิ่ง ได้เดินทางจากนานกิงมายังหลูซานโดยเฉพาะ เพื่อสร้างศิลาจารึกหน้าหลุมฝังศพของหลวงพ่อภูเขาหลูซานนอกจากมีวัฒนธรรมแห่งมนุษย์ชาติอันลึกซึ้งยาวไกลแล้ว ยังมีทิวทัศน์ที่สวยงามมาก เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของจีนร่วมกันคารวะ บรรพบุรุษประชาชาติจีน

จากthai.cri.cn/chinaabc/chapter16/chapter160310.htm

นิทานเรื่องร้อยก้าวยิงทะลุใบหยาง

ในสมัยจั้นกว๋อของจีน มีรัฐต่างๆหลาย แต่ละรัฐต่างมีบุคคลผู้มี ชื่อเสียงจำนวนหนึ่ง เรื่องราวของพวกเขาเหล่านี้ได้ แพร่หลาย กันมาจนถึงปัจจุบัน

ในสมัยจั้นกว๋อ มีขุนพลนามกระเดื่องนายหนึ่งชื่อไป๋ฉี่ เขา มีความสันทัดในการทำศึกยิ่ง เนื่องจากเขาบัญชาการรบไม่เคยประสบความพ่าย แพ้ ดังนั้นผู้คนต่างยกย่องเขาว่า”ขุนพลผู้พิชิตตลอดกาล” มีอยู่ปีหนึ่ง กษัตริย์รัฐฉินทรงให้ขุนพลไป๋ฉี่ยกทัพไปโจมตีรัฐเว่ย. ถ้ารัฐเว่ยถูกรัฐฉินโจมตียึดได้ ก็จะเกิดผลกระทบต่อไปอีกหลายรัฐ ดังนั้น ผู้คน ทั้งหลายต่างรู้สึกวิตกกังวล. มีที่ปรึกษาผู้หนึ่งชื่อซูลี่ ได้รับคำสั่งให้ไปพูดโน้มน้าวไป๋ฉี๋อย่า ได้ไปรุกโจมตีรัฐเว่ย. ซูลี่พยายามหาวิธีไปเยี่ยมคารวะไป๋ฉี่ และเล่านิทานเรื่องหนึ่งให้ เขาฟังว่า:

ในกาลก่อน รัฐฉู่มีนักแม่นธนูคนหนึ่งชื่อหยั่งอิ๋วจี เขาฝึกยิงธนูมาตั้ง แต่เด็ก สามารถเล็งยิงถูกในต้นหยางได้อย่างแม่นยำในระยะห่างร้อยก้าว. เวลานั้นยังมีทหารหาญนายหนึ่งชื่อพันหู่ ก็มีความชำนาญ ในการยิง ธนูเช่นกัน. วันหนึ่ง ทั้งสองประลองฝีมือการยิงธนูกันที่ สนาม มีผู้คนมาห้อมล้อมดูกันมากมาย.เป้ายิงแข่งขันตั้งอยู่ไกลออกไป ๕๐ ก้าว ตรงกลางเป้าวาดเป็นรูปหัวใจแดง พันหู่น้าวธนูยิงออกไปติดๆกันสามดอก และถูกใจกลางเป้าทั้งสามดอก ผู้ชมที่ห้อมล้อมดูอยู่รอบๆต่าง ส่งเสียง เชียร์ดังเซ็งแซ่. หยั่งอิ๋วจีกวาดตาไปรอบๆกล่าวว่า:ยิงเป้าหัวใจแดงระยะ ๕๐ ก้าวใกล้เกินไป เป้าใหญ่เกินไป เรามาประ ลองยิงใบต้นหยางที่มีระยะร้อยก้าวเถิด”.

ว่าแล้ว เขาชี้ไปยังต้นหยางต้นหนึ่งที่อยู่ไกลออกไปร้อยก้าว ให้คนเลือกใบบนต้นใบหนึ่งแล้วทาใบไม้ให้เป็นสีแดง จากนั้น เขา น้าวธนู ธนูแหวกอากาศเสียงดัง”เฟี้ยว”เท่านั้น ก็เห็นหัวธนูทะลุใจกลาง ใบต้นหยางพอดี.

ผู้คนที่ยืนชมอยู่ในบริเวณนั้นต่างตะลึงพรึงเพริดไปหมด. พันหู่รู้ ตัวดีว่าไม่มีฝีมือเทียบเท่า แต่ก็ไม่เชื่อว่าหยั่งอิ๋วจีจะสามารถยิงทะลุ ใบไม้ได้ทุกครั้ง จึงเดินไปใต้ต้นหยางต้นนั้น แล้วเลือกใบหยางสามใบ ใช้สีเขียนลำดับตัวเลขไว้บนใบให้หยั่งอิ๋วจียิงตามลำดับตัวเลข.

หยั่งอิ๋วจีเดินไปดูลำดับตัวเลขบนใบหยางที่ใต้ต้นหยาง จากนั้น ถอยหลังไปร้อยก้าว แล้วน้าวธนู ยิงติดต่อกันออกไปสามดอก ธนูแยกย้ายกันยิงถูกใบไม้ที่เขียนลำดับตัวเลขไว้ทั้งสามใบ. กลุ่มคนที่ อยู่รอบๆไชโยโห่ร้องกันดังเอ็ดอึง พันหู่ก็ให้รู้สึกเลื่อมใสยิ่ง.

ท่ามกลางเสียงไชโยโห่ร้อง ก็แว่วเสียงคนผู้หนึ่งพูดขึ้นว่า:“เออ! มีฝีมือร้อยก้าวยิงทะลุใบหยาง จึงสมกับที่จะให้ข้าชี้แนะ.” หยั่งอิ๋วจีเห็นคนผู้นี้วาจาโอหังยิ่ง อดที่จะถามด้วยความโกรธมิ ได้ว่า:”ท่านเตรียมจะ สอนข้ายิงธนูอย่างไร?” คนผู้นั้นกล่าวอย่างไม่รีบร้อนว่า“ข้าหาใช่จะสอน เจ้ายิงธนูเช่นไรไม่ เพียงแต่อยากเตือนสติท่านว่าควรจะรักษาชื่อเสียงการ

ยิงธนูอย่างไร ท่านเคยคิดไหมว่า เมื่อท่านหมดเรี่ยวแรง หรือยิงธนูเบี่ยง เบนไปเพียงนิดเดียว ขอแต่ให้ยิงไม่ถูกเป้า ก็จะส่งผลกระทบต่อชื่อเสียง ของท่านที่ร่ำลือว่ายิงร้อยครั้งถูกร้อยครั้ง ผู้ที่สันทัดในการยิงธนูที่แท้จริง ควรจะรักษาชื่อเสียงไว้.” หยั่งอิ๋วจีฟังแล้วรู้สึกว่ามีเหตุผล จึงกล่าวขอโทษต่อคนผู้นี้. ขุนพลไป๋ฉี่แห่งรัฐฉินฟังนิทานของซูลี่แล้วได้คิดว่า การที่จะรักษาชื่อเสียงขุนพลผู้พิชิตตลอดกาลของเขาไว้นั้น เขาไม่ควร ออกรบง่ายๆ. ดังนั้น เขาจึงอ้างว่าเจ็บป่วย ยุติรุกการโจมตีรัฐเว่ย.

จากthai.cri.cn/chinaabc/chapter16/chapter160403.htm

นิทานเรื่องร้องครั้งแรกคนก็ตะลึง

ระหว่างศตวรรษที่ ๙ ถึงศตวรรษที่ ๕ ก่อนคริสต์กาล จีนอยู่ ในยุคสมัย จั้นกว๋อ. ในช่วงนั้นมีรัฐเจ้าผู้ครองนครหลายสิบรัฐ การที่คิดจะดำรง อยู่ได้นั้น การดำเนินนโยบายในประเทศและต่างประเทศที่ถูกต้องและมีประสิทธิผลของแต่ละรัฐนั้นมีความสำคัญยิ่ง ดังนั้นจึง เกิดชั้นชนที่ปรึกษาที่ช่วยวางแผนกลอุบายให้แก่บรรดากษัตริย์เป็นพิเศษ ที่ปรึกษาเหล่านี้มีความคิดปรัญญาและวิธีการปกครอง ประเทศของตน โดยเฉพาะมีความเชี่ยวชาญในการพูดอุปมาอุปไมย ได้อย่าง ลึกซึ้ง โดยใช้เสียดสีและตักเตือนผู้กุมอำนาจการเมือง ทำให้ผู้กุมอำนาจการเมืองไม่เพียงแต่ไม่โกรธเท่านั้น หากยังยินดี ที่จะรับฟังด้วย.

นิทานเรื่อง”ร้องครั้งแรกคนก็ตกตะลึง”นี้ก็คือนิทานที่ฉุนอีคุนผู้ เป็นที่ปรึกษานำมาอุปมาอุปไมยกล่าวเตือนกษัตริย์.

ฉีเวยอ๋องเป็นกษัตริย์รัฐฉีที่เพิ่งขึ้นครองราชย์ไม่นาน. ตอนที่ฉีเวยอ๋องยัง ทรงเป็นมกุฏราชกุมารอยู่นั้น ก็ทรงมีพระปรีชาสามารถยิ่ง แล้ว พระองค์มิเพียงทรงพากเพียรศึกษาวิชาทางบุ๋นและบู๊เท่านั้น ยังทรงเอาพระทัยใส่เรื่องการบริหารประเทศด้วย โดยทรงหวังว่าเมื่อ พระองค์ขึ้นครองราชย์แล้วจะได้สร้างสรรค์ประเทศให้มีความเข้มแข็งเกรียงไกร. แต่หลังจากฉี วยอ๋องได้ขึ้นครองราชย์แล้ว พระองค์ทรงพบว่า อำนาจบารมีและการเสวยสุขขององค์กษัตริย์นั้นมีมากกว่า มกุฏราชกุมารมากมายนัก. ทุกวันเวลาออกว่าราชการที่ท้องพระโรง บรรดาขุนนางแวดล้อมหน้าหลัง ครั้น เสด็จกลับพระตำหนักก็มีน้ำจัณฑ์กระยาหารเลิศรสและเหล่าสนมนางในคอยปรนนิบัติ. นานเข้า ความ ตั้งพระทัยในขณะเป็นมกุฏราชกุมารก็ค่อยๆเลือนรางหายไป.

สองปีกว่าผ่านไป กษัตริย์ฉีเวยอ๋องได้แต่เสวยน้ำจัณฑ์มัวเมาอยู่กับบาทบริจาริกา แต่ละวันทรงหมกมุ่นเสวยน้ำจัณฑ์และทรงล่าสัตว์ไม่ทรงปฏิบัติ ราชกิจอะไร ผลักภารกิจให้เหล่าขุนนางผู้ใหญ่ไปรับผิดชอบ. ดังนั้น กิจการบ้านเมือง ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย เหล่าขุนนางเริ่มทุจริตต่อหน้าที่ ประเทศนับวันอ่อนแอ รัฐใกล้เคียงต่างหมายจะฉวยโอกาสมารุกราน ขุนนางที่ซื่อสัตย์สุจริตและชาวบ้านต่างวิตกกังวลยิ่ง แต่ก็ไม่กล้าทูลทัดทาน.

มีขุนนางที่ปรึกษาคนหนึ่งชื่อฉุนอีคุน เขามีฝีปากคมคาย มีพรสวรรค์ในการพูด ตามปกติก็มักจะใช้คำพูดปริศนาที่ฟังสนุกเพลิดเพลินบางเรื่องมา โต้คารมกับผู้อื่น. เขารู้ว่ากษัตริย์ฉีเวยอ๋องเมื่อจะทรงแสดงสติปัญญา ของพระองค์นั้น ก็ทรงชอบกล่าวคำปริศนาบางอย่าง. ดังนั้น เขาจึงตัดสินใจ เตรียมหาโอกาสแนะนำชี้แจงต่อพระองค์ .

วันหนึ่ง ฉุนอีคุนเข้าเฝ้ากษัตริย์ฉีเวยอ๋องจึงทูลต่อพระองค์ว่า”ฝ่าบาท ข้าพระองค์มีปริศนาข้อหนึ่งจะขอให้พระองค์ทรงช่วย ทายดู” กษัตริย์ฉีเวยอ๋องทรงถามว่า:”เป็นปริศนาอะไร ลองว่ามาซิ.” ฉุนอีคุนกราบทูลว่า:”มีรัฐหนึ่ง มีนกยักษ์ตัวหนึ่ง พักพิงอยู่ในพระราชวังมานานสามปีเต็มๆ แต่มันไม่บิน และก็ไม่ร้อง ได้แต่งอตัวอย่างไร้จุดหมาย ฝ่าบาททรงทายซิว่ามันเป็นนกอะไรพะยะค่ะ?”

กษัตริย์ฉีเวยอ๋องสดับฟังแล้ว ก็เข้าพระทัยทันทีว่าฉุนอีคุนยก ปริศนา มาเปรียบเทียบเสียดสีพระองค์ว่าไม่ทรงมีผลงานอะไร. แต่จะ ทรงตอบปริศนาของเขาอย่างไร? พระองค์ทรงคิดอยู่ครู่หนึ่ง จึงตรัสตอบฉุนอีคุนว่า:”เจ้าไม่รู้หรอกว่า เจ้านกยักษ์ตัวนี้หากไม่นึก อยากบิน มัน ก็ไม่บิน ลองมันนึกอยากบินก็จะบินพุ่งทะลุท้องฟ้าออกไป หากมันไม่นึก อยากร้อง มันก็ไม่ร้อง แต่ถ้ามันร้องขึ้นมา จะ ต้องทำให้ผู้คนตกตะลึง เจ้าคอยดูเถิด”.

จากนั้นมา กษัตริย์ฉีเวยอ๋องก็ทรงออกว่าราชการ บริหารปกครองบ้านเมืองด้วยพระองค์เอง ปรับปรุงการบริหารอย่างเข้มงวด เรียกขุนนางทั่วรัฐเข้าเฝ้า ประทานรางวัลแก่ผู้มีความดีความชอบ ลงโทษพวกทุจริต . ต่อ จากนั้นก็ปรับปรุงด้านการทหาร เสริมกำลังประเทศให้เข้มแข็ง รัฐฉีมี ความเจริญรุ่งเรืองขึ้นโดยทั่วด้าน รัฐที่เคยคิด จะมารุกรานเมื่อทราบข่าวแล้วต่างตื่นตระหนกกตกใจ กล่าวว่าฉีเวย อ๋องเสมือนหนึ่งนกยักษ์”ไม่นึกอยากร้องก็ไม่ร้อง แต่พอร้องขึ้นมาคนก็ตะลึง”ต่อมาภายหลัง คำพูดที่ว่า”ร้องครั้งแรกคนก็ตกตะลึง”ได้กลาย เป็นสำนวนไป โดยใช้อุปมาว่าคนผู้หนึ่งมีความสามรถที่ไม่ธรรมดา ขอแต่ให้นำมาใช้ให้ถูกต้อง พอได้แสดงบทบาท มักจะมีการกระทำที่ชวนให้ผู้คนตกตะลึง

จากthai.cri.cn/chinaabc/chapter16/chapter160402.htm

นิทานเรื่องฉลาดแต่เด็ก

ขงจื้อผู้อยู่ในศตวรรษที่๖ ก่อนคริสต์กาลนั้นเป็นนักคิด นักการศึกษาที่มีชื่อ เสียงในประวัติของจีน วิชาการสำนักหยูที่เขาก่อ ตั้งขึ้นนั้น ได้กลาย เป็นส่วนประกอบสำคัญที่สุดของวัฒนธรรมจีนยุคหลัง. ในสมัยศักดินาอันยาวนานของจีน ผู้ปกครองต่างนับถือความคิดสำนักปรัชญาขงจื้อเป็นความคิดยึดประเพณีนิยมดั้งเดิม ด้วยเหตุนี้ วงศ์ตระกูลขงจื้อจึงเป็นวงศ์ตระกูลที่มีชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือกันมากตลอดมา. ในบรรดาชนรุ่นหลังที่เป็นญาติสายตรงของขงจื้อก็ปรากฏบุคคลที่มีชื่อเสียงมากมาย ข่งหยงผู้เป็น หลานรุ่นที่๒๐ของเขาก็คือคนหนึ่งในจำนวนนี้. นิทานเรื่อง”ฉลาดแต่เด็ก โตขึ้นไม่แน่ว่าจะได้ดี”ที่จะนำมาเล่านี้ก็เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับข่งหยง.

นิทานเรื่องนี้มาจากหนังสือ”ซื่อซัวซินอวี่”ซึ่งเป็นหนังสือชุมนุมนวนิยายสมัย โบราณของจีน.

ข่งหยงเป็นผู้มีความรู้กว้างขวางคนหนึ่งนึ่งในสมัยราชวงศ์ฮั่นของจีนเมื่อศตวรรษที่ ๒ แห่งคริสต์กาล เนื่องจากเขาได้รับการกล่อมเกลาจากทาง ครอบครัว เขาจึงมีความเฉลียวฉลาดมาตั้งแต่เด็ก มีความสันทัดในการใช้คารมโวหารเป็นพิเศษอายุไม่มากนัก แต่ก็มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันไม่น้อย

เมื่อข่งหยงอายุสิบขวบ เขาได้ติดตามบิดาไปเมืองลั่วหยาง เพื่อจะไปเยี่ยมคารวะหลี่หยวนหลี่ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ในท้องถิ่น หลี่หยวนหลี่ เป็นปัญญาชนที่มีความหยิ่งยโสที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง ตามปกติมีผู้มา

เยี่ยมคารวะเขามากมาย แต่ผู้ที่มาถ้าเป็นคนที่ไม่มีชื่อเสียงเรียงนาม คน เฝ้าประตูก็จะไม่รายงานขออนุญาตให้ผ่านเข้าไปได้.

ข่งหยงในวัยสิบขวบใคร่จะได้พบปัญญาชนท่านนี้ยิ่ง มีอยู่วันหนึ่ง เขาได้ มาถึงหน้าประตูคฤหาสน์ของหลี่หยวนหลี่ และขอให้ยามเฝ้าประตูรายงานต่อหลี่หยวนหลี่ แต่ยามเฝ้าประตูเห็นว่าเป็นเด็กคนหนึ่งเท่านั้น ก็คิดที่จะหลอกให้ข่งหยงรีบจากไปเสีย ข่งหยงเกิด ความคิดที่แยบคายขึ้นมาอย่างฉับพลัน เขาบอกยามเฝ้าประตู ว่า :”ข้าเป็น ญาติของท่านหลี่ ท่านจะต้องให้ข้าเข้าพบเป็นแน่”.

หลังจากยามเฝ้าประตูไปรายงานแล้ว หลี่หยงหลี่เกิดรู้สึกสงสัยอยู่ บ้าง เพราะตนนั้นหาได้มีญาติเป็นเด็กเช่นนี้ไม่ แต่ทว่า เขายังคงให้ข่งหยงเข้าพบ.

ครั้นหลี่หยงหลี่ได้เห็นข่งหยง ก็ถามเขาอย่างประหลาดใจว่า: “ขอถาม สักนิด เจ้ากับข้ามีความสัมพันธ์เป็นญาติมิตรกันหรือ?”

ข่งหยงตอบว่า:”ข้าเป็นลูกหลานของขงจื้อ ท่านเป็นลูกหลานของเหลาจื้อ ผู้คนในใต้หล้าต่างรู้ว่าขงจื้อเคยขอคำแนะนำปัญหาด้านขนบธรรมเนียมกับเหลาจื้อ ดังนั้น ทั้งสองจึงมีความสัมพันธ์ฉันอาจารย์กับลูก ศิษย์ ด้วยเหตุนี้ ข้ากับท่านจึงนับว่าคบกันมาหลายชั่วคนแล้ว”.

ในประวัติศาสตร์จีน มีปรัชญาเมธีที่มีชื่อเสียงในยุคสมัยเดียวกับขงจื้ออีกท่านหนึ่งนามเหลาจื้อ. เหลาจื้อเดิมชื่อหลี่ตาน เป็นผู้ก่อตั้งสำนัก ลัทธิเต๋า. เล่ากันว่า ในปีครั้งกระโน้น ในยามที่ขงจื้อเจอปัญหาที่ไม่เข้าใจก็จะถ่อมตนเรียกตนเองว่าลูกศิษย์ ไปขอคำแนะนำจากกับหลี่ตาน.

ขณะนั้นในบ้านของหลี่หยงหลี่มีแขกนั่งอยู่มากมาย ทุกคนต่างรู้สึกทึ่งในความรู้อันกว้างขวางและปฏิภาณไหวพริบของข่งหยงเด็กในวัย เพียงสิบขวบผู้นี้ยิ่งนัก. ในยามนั้นพอดีมีชายผู้หนึ่งชื่อเฉินเหว่ยมาเยี่ยมคารวะหลี่หยงหลี่. เฉินเหว่ยเป็นปัญญาชนที่มีชื่อเสียงอยู่บ้างคนหนึ่ง แขกที่นั่งอยู่ก่อนแล้วได้เล่าเรื่องเมื่อสักครู่ของข่งหยงให้เขาฟัง เฉินเหว่ย กลับพูดต่อหน้าข่งหยงหน้าตาเฉยว่า:”ตอนเป็นเด็กฉลาด โตขึ้นไม่แน่ว่าจะได้ดี” ความหมายก็คือตอนเด็กแม้จะฉลาด โตขึ้นกลับไม่แน่ว่า จะมีความสามารถ. ข่งหยงผู้เฉลียวฉลาดตอบกลับทันทีว่า”ท่านเฉิน เมื่อตอนเป็นเด็กต้องเป็นคนที่เฉลียวฉลาดแน่ๆ” ความหมายก็คือเฉินเหว่ย เป็นผู้มีสติปัญญาสามัญ. เฉินเหว่ยได้ยิน คำพูดของข่งหยงแล้วก็ต้องอ้ำอึ้งไปนานไม่รู้จะกล่าวว่ากระไรดี.

นอกจากนี้ นิทานเรื่อง”ข่งหยงสละผลสาลี่”ก็เป็นเรื่องที่รู้กันดี ในจีน. นิทานเรื่องนี้ได้เล่าถึง ตอนที่ข่งหยงยังเป็นเด็กเล็กอยู่นั้น คนในครอบครัวนั่งกินผลสาลี่อยู่ด้วยกัน เขามักจะเลือกผลที่โตที่สุด ให้ผู้ใหญ่ และผลที่เล็กที่สุดเหลือไว้ให้แก่ตนเอง เขาเป็นผู้มีมรรยาทยิ่ง.ครั้นข่งหยงเจริญเติบโตขึ้น เขาก็ยิ่งมีความรู้ความสามารถ ได้ดำรง ตำแหน่งเป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายบริหารในท้องถิ่นแห่งหนึ่ง. แต่เวลานั้นประเทศได้เริ่มแตกแยก “ยุคสมัยสามก๊ก”ในประวัติศาสตร์กำลังเริ่มขึ้น. ข่งหยงเป็นนักวิชาการที่แท้จริงคนหนึ่ง การพูดและการกระทำตลอดจน ข้อเขียนของเขามักจะเผยให้เห็นถึงความวิตกกังวลและความไม่พอใจที่มีต่อสถานการณ์การเมืองในขณะนั้น และสุดท้ายก็ถูกโจโฉบุคคลผู้มีชื่อเสียงอีกคนในประวัติศาสตร์จีนประหารเสีย

จากthai.cri.cn/chinaabc/chapter16/chapter160401.htm

นิทานเรื่องตงฟางซั่วไปทวงข้าวสารที่ฉางอัน

ตงฟางซั่วเป็นบุคคลที่รู้จักกันดีในทุกครอบครัวของจีน เรื่องราวเกี่ยว กับสติภูมิปัญญาของเขาเป็นที่เล่าลือกันอย่างแพร่หลายในหมู่ ชาวบ้าน.ตงฟางซั่วเป็นปัญญาชนในสมัยราชวงศ์ฮั่นเมื่อศตวรรษที่สาม ก่อนคริสต์กาล เขามีความสามารถในการเขียนบทประพันธ์และเป็นผู้ ที่มีอารมณ์ขัน. เริ่มแรกเดิมทีเขาเป็นขุนนางชั้นผู้น้อยคนหนึ่งที่เมือง ฉางอันซึ่งเป็นราชธานีในขณะนั้น. เวลานั้นผู้ที่คอยดูแลขบวนม้าของกษัตริย์นั้นล้วนเป็นพวกคนแคระ. แม้คนแคระเหล่านี้จะมีรูปร่างเตี้ยม่อต้อ แต่พวกเขากลับ มีโอกาสเข้าเฝ้าใกล้องค์กษัตริย์อยู่เสมอ. ตงฟางซั่วคิดที่จะให้กษัตริย์สนพระทัยในตนบ้าง เพื่อจะได้ใช้เขาให้ปฏิบัติในตำแหน่งหน้าที่สำคัญ ดัง นั้นเขาจึงคิดอุบายไว้อย่างหนึ่ง.

วันหนึ่ง ตงฟางซั่วได้บอกคนแคระคนหนึ่งที่ดูแลม้าว่า “เมื่อเร็วๆนี้ องค์กษัตริย์ตรัสว่า พวกเจ้าเหล่านี้ รูปร่างเตี้ยแคระ ทำ ไร่ไถนามีแรงไม่เท่าคนอื่น เป็นทหารก็สู้รบชนะคนอื่นไม่ได้ เป็น ขุนนาง ท้องถิ่นก็ควบคุมคนใครไว้ไม่อยู่ เปลืองทรัพย์สินเงินทองของประเทศเสีย

เปล่าๆ พระองค์ทรงเตรียมที่จะฆ่าคนแคระในทั่วประ เทศเสียให้หมดสิ้น”.

เจ้าคนแคระฟังแล้วตกใจกลัวจนร้องไห้.ตงฟางซั่วกล่าวว่า: ”เอาอย่าง

นี้ข้าจะช่วยพวกเจ้าคิดหาวิธีก็แล้วกัน”

คนแคระรู้สึกซาบซึ้งใจยิ่ง ถามว่าจะใช้วิธีอะไรกันแน่. ตงฟางซั่วกล่าวว่า”เจ้าควรไปรวมพวกคนแคระทั้งหมด พอเข้าเฝ้ากษัตริย์ พวกเจ้าก็คุกเข่าอย่าได้ลุกขึ้น เพื่อขอให้กษัตริย์ทรงอภัยพวกเจ้าที่มีรูปร่างเตี้ยแคระ”. และแล้ว ในขณะที่องค์กษัตริย์จะเสด็จออกพระตำหนักนั้น เหล่าคนแคระทั้งหมดก็พากันคุกเข้าต่อหน้าพระพักตร์พระองค์เพื่อขออภัยโทษ. กษัตริย์ทรงไม่รู้ว่าเป็นเพราะเหตุผลอันใด. ดังนั้น กษัตริย์จึงรับสั่งให้ตงฟางซั้วเข้าเฝ้า ตรัสถามเขา ว่าเหตุไฉนจึเหล่า คนแคระกล่าวว่า”ตงฟางซั่วว่าพระองค์จะทรงฆ่าข้าพระองค์ทั้งหมดพะยะค่ะ”

ปล่อยข่าวลือหลอกลวงผู้คน. ตงฟางซั่วกล่าวว่า”ถึงอย่างไรข้าพระองค์ ก็คงต้องโทษประหารแล้ว ถ้าอย่างนั้นข้าพระองค์ก็ขอพูดอย่างตรงไปตรง มา คนแคระพวกนี้มีรูปร่างสูงไม่ถึงเมตร เงินเดือนแต่ละเดือนคือข้าวสาร หนึ่งกระสอบ เงินสองร้อยเหรียญ. ข้าพระองค์รูปร่างสูงประมาณสองเมตร เงินเดือนแต่ละเดือนก็ข้าวสารหนึ่งกระสอบ เงินสองร้อยเหรียญ. ผลก็คือ เหล่าคนแคระต่างมีข้าวกินกันจนท้องจะแตกตาย ข้าพระองค์กลับจะอด ตาย นี่เป็นเรื่องที่ไม่ชอบธรรมยิ่ง. ถ้าพระองค์ทรงเห็นว่าคำกราบทูลของข้าพระองค์มีเหตุผล ก็ได้ทรงเปลี่ยนแปลงการกระทำเช่นนี้เสียเถิดพะยะ ค่ะ”.

กษัตริย์ได้ทรงฟังแล้วทรงสรวลขึ้นด้วยเสียงอันดัง. ทว่า ตงฟางซั่ว กลับได้บรรลุวัตถุประสงค์ของตน จากนั้นมา องค์กษัตริย์ทรง โยกย้ายเขามาเป็นขุนนางที่คอยรับใช้อยู่ใกล้ชิดพระองค์. และนี่ก็คือ นิทาน เรื่อง”ไปทวงข้าวสารที่ฉางอัน”

เกี่ยวกับนิทานของตงฟางซั่วนั้นยังมเรื่องราวอีกมากมาย. วันหนึ่งในฤดูร้อนของ ขณะตงฟางซั่วและบรรดาขุนนางกำลังทำงานอยู่นั้น เหล่า มหาดเล็กของกษัตริย์ได้แบกของป่าที่หายากไหหนึ่งเข้ามา และบอกว่าองค์กษัตริย์พระราชทานพวกเขา. โดยทั่วไปแล้วจะ ต้องอ่านพระราชโองการขององค์กษัตริย์แล้ว ทุกคนจึงจะกินได้. แต่ตงฟางซั่วไม่ทันรอให้อ่านพระราชโองการ ก็ใช้ดาบสะพายหั่นเนื้อก้อนหนึ่งเอากลับ บ้านไป ทุกคนต่างตกใจกลัวยิ่ง. ต่อมามีคนกล่าว โทษเขาว่าไม่เคารพนบนอบกษัตริย์ ดังนั้นกษัตริย์มีรับสั่งให้ตงฟางซั่วเข้าเฝ้า ให้เขาทูลชี้ แจงการกระทำของตน. ตงฟางซั่วทูลอย่างไม่รีบร้อนว่า” ในเมื่อเนื้อเหล่านั้นเป็นของที่พระองค์ทรงพระราชท่านแก่ ข้าพระองค์ทั้งหลายแล้ว การอ่านพระราชโองการเป็นเพียงเรื่องเวลา เท่านั้น การที่ข้าพระองค์หั่นเนื้อกลับบ้านตามอำเภอใจก่อนที่จะได้ ฟังอ่านพระราชโองการ นั้น แสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญของข้าพระ องค์ แม้ข้าพระองค์หั่นก้อนเนื้อก่อนเอง แต่หั่นเพียงก้อนนิด เดียว แสดงถึงจิตใจซื่อสัตย์สุจริตของข้าพระองค์ ข้าพระองค์พอหั่น ก้อนเนื้อแล้วก็กลับบ้าน ก็เพื่อให้บิดามารดาได้ลิ้มรส แสดงว่าข้าพระองค์ มีความเคารพนับถือต่อผู้สูงอายุ. ในเมื่อเป็นเช่นนี้ ฝ่าบาทจะลง โทษข้าพระองค์อย่างไรได้?” กษัตริย์ทรงตรับฟังแล้ว ก็ได้แต่แย้มพระสรวลไม่ตรัสว่ากระไร

จากthai.cri.cn/chinaabc/chapter16/chapter160405.htm

นิทานเรื่องไม่ยอมค้อมคำนับเพื่อข้าวห้าโต่ว

เถาหยวนหมิงเป็นกวีเอกในสมัยโบราณของจีน บทกวีของเขาไม่เพียงมีชื่อเสียงยิ่ง หากตัวเขายังได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ปรารถนาในลาภยศและชื่อเสียง ไม่ยอมประจบและอิงผู้มีอิทธิพล

เถาหยวนหมิงเกิดปีค.ศ ๓๖๕ เป็นกวีที่เขียนบทพรรณนาธรรมชาติที่มีบรรยากาศและกลิ่นอายชนบทเป็นคนแรกของจีน ในยุคสมัยนั้น มีการเปลี่ยนราชวงศ์อยู่เรื่อย สังคมวุ่นวายปั่นป่วน ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนลำบากยากแค้นยิ่ง ฤดูดูใบไม้ร่วงปีค.ศ๔๐๕ เพื่อหาเลี้ยงครอบครัว เถาหยวนหมิงได้ไปเป็นผู้ว่าการอำเภอ

เผิงเจ๋อที่ห่างจากบ้านเกิดของตนไม่ไกลนัก และในฤดูหนาวปีเดียว กัน ผู้บังคับบัญชาของเขาได้ส่งผู้ตรวจการคนหนึ่งมาดูงาน ผู้ตรวจ การคนนี้เป็นคนไม่สุภาพและยังหยิ่งยโส พอเขาเดินทางถึงเขตอำเภอเผิงเจ๋อก็ส่งคนมาสั่งให้นายอำเภอมาเข้าพบเขา.

เถาหยวนหมิงได้ข่าว แม้ในใจจะดูถูกคนประเภทที่อาศัยชื่อของผู้บังคับบัญชามาออกคำสั่งก็ตาม แต่ยังคงรีบออกเดินทาง ทว่า คนรับใช้ของเขารีบทักท้วงเถาหยวนหมิงว่า”การเข้าพบผู้ตรวจการท่านนี้ต้องระวังแต่งกายให้เรียบร้อย และยังต้องมีท่าทีอ่อนน้อมถ่อมตน มิฉะนั้น เขาจะต้องใส่ร้ายท่านต่อผู้บังคับบัญชาของท่านแน่ๆ”

เถาหยวนหมิงผู้มีจิตใจงดงามและมีคุณธรรมสูงส่งมาแต่ไหนแต่ไร ถอนใจยาวกล่าวว่า”ข้าพเจ้ายอมอดตาย ก็จะไม่ค้อมคำนับเพื่อเบี้ยหวัดข้าวห้าโต่วและคนต่ำช้าสามานย์เช่นนี้” พูดจบเขาได้เขียนหนังสือลาออกจากตำแหน่งทันที ลาออกจากตำแหน่งนายอำเภอที่ดำรงอยู่กว่า ๘๐ วัน จากนั้นเถาหยวนหมิงไม่กลับเข้ารับราชการอีกเลย

เถาหยวนหมิงที่ลาออกจากราชการ ได้ปลีกตัวไปทำนาที่บ้านเกิดของตน ใช้ชีวิตหาเลี้ยงชีพด้วยการทำเรือกสวนไร่นา และการใช้ชีวิตอย่างสงบตามนาสวนในชนบท ทำให้เขาค้นพบที่พักพิงทางใจของตน เขาได้ประพันธ์กวีที่บรรยายความสวยงามของธรรมชาติและ นาสวน เขาได้เขียนถึงชีวิตอันสงบสันโดษและสบายใจของชาวนาว่า”แลไปเห็นหมู่บ้านรำไร มีควันไฟหุงต้มลอยอ้อยอิ่ง “ เขาเขียนความรู้สึกในการใช้แรงงานของตนว่า”เก็บเบญจมาศใต้รั้วบูรพาทิศ ยามสงบจิตเงยหน้าเห็นเขาหนานซาน“ เขายังได้ถึงความทุกข์ความสุขในการทำงานของชาวนาว่า” ปลูกต้นถัวเชิงเขาหนานซานเอย ถั่วงอกเงยเบาบางหญ้าดาษดื่น”และ”งานหว่านไถในวสันต์แสนเหนื่อยยาก ถึงตรำตรากยังมิวายหวั่นผวา”

การใช้ชีวิตในนาสวนแม้จะดีงาม แต่ทว่าก็ยากลำบากยิ่ง ไม่เหน็ดเหนื่อยทำงานก็ไม่ได้ผลเก็บเกี่ยว ถ้าประสบภัยธรรมชาติหรือภัยพิบัติจากน้ำมือมนุษย์ แม้ทำงานเหนื่อยยากก็ไม่มีผลเก็บเกี่ยวอะไรเลย ชีวิตยามปัจฉิมวัยของเถาหยวนหมิงยากจนค่นแค้น โดย เฉพาะหลังจากบ้านของเขาถูกเพลิงไหม้วอดวายแล้ว ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในครอบครัวยิ่งตกอยู่ในสภาพเสมือนหนึ่งผีซ้ำด้ามพลอย มีความทุกข์ลำเค็ญยิ่ง เถาหยวนหมิงเสียชีวิตท่ามกลางความยากจนและเจ็บป่วยในขณะที่เขามีอายุ ๖๓ ปี.

ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของเถาหยวนหมิงอยู่ที่เขาได้ประพันธ์บทกวีมากมายที่อุดมไปด้วยข้อมูลของงานการเกษตรและนาสวนบนพื้น ฐานจากประสบการณ์และความปราดเปรื่องในด้านกวีอันยอดเยี่ยมของตน สรรพสิ่งธรรมดาๆ อย่างเช่น ต้นหม่อน ปอ ไก่ สุนัขซึ่งที่ผ่านมาไม่ค่อยได้พบเห็นในบทกวี เมื่อเถาหยวนหมิงนำสิ่งเหล่านี้ประพันธ์เข้าไว้ในบทกวี ทำให้เกิดบรรยากาศที่เปี่ยมไปด้วยความคึกคักสนุกสนาน ความใกล้ชิดสนิทใจในธรรมชาติที่เถาหยวนหมิงพรรณนา มักสามารถทำให้ผู้อ่านเกิดความใฝ่ฝันอยู่เสมอ.

นอกจากบทกวีแล้ว เถาหยวนหมิงยังมีบทร้อยแก้วดีเยี่ยมไม่น้อยทิ้งไว้ให้ชนรุ่นหลัง ที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ”บันทึกบทกวีธารสวนดอกท้อ” ในบทประพันธ์บทนี้ ผู้ประพันธ์ได้พรรณนาถึงดินแดนในจินตนาการแบบยูโตเปียของชาวตะวันตก สถานที่นั่นไม่มีความวุ่นวาย ไม่มีการเปลี่ยนราชวงศ์ ไม่มีรัฐและกษัตริย์กับขุนนางประชาราษฎร์ ไม่มีการเกณฑ์แรงงานและภาษีทุกชนิด ชาวบ้านมีชีวิตแสนสุขที่มีความเป็นอยู่อุดมสมบูรณ์ ไม่มีการชิงดีชิงเด่นกัน ภาษาอันสละสลวยของผู้ประพันธ์ ทำให้บทประพันธ์บทนี้มีเสน่ห์รัดรึงใจตลอดไป กระทั่งชนรุ่นหลังเรียกสังคมจินตการนี้ว่า”เถาฮวาหยวน”หรือ”ธารสวนดอกท้อ” ในวงราชการขาดข้าราชการไปหนึ่งคน แต่ในวรรณโลกมีกวีเพิ่มขึ้นหนึ่งคน เรื่องราวของเถาหยวนหมิงที่”ไม่ยอมค้อมคำนับเพื่อข้าวห้าโต่ว” ได้เป็นภาพพจน์ที่พรรณนาความแข็งแกร่ง ซื่อตรง ไม่ยอมประจบสอพลอและไม่อิงอิทธิพลผู้ใดของปัญญาชนจีน ในชีวิต ประจำวัน ถ้าคนผู้หนึ่งไม่ยินดีที่จะลดศักดิ์ศรีของตนเพื่อแลกกับผล ประโยชน์ทางวัตถุบางอย่าง ก็มักกล่าวว่า “ไม่ยอมค้อมคำนับเพื่อข้าวห้าโต่ว”

จากthai.cri.cn/chinaabc/chapter16/chapter160404.htm

นิทานเรื่องจุดไฟสัญญาณแจ้งเหตุหยอกล้อเจ้าผู้ครองนคร

 

ในราชวงศ์ศักดินาของแต่ละยุคแต่ละสมัยของจีน กษัตริย์เป็นผู้ปกครองสูงสุดของประเทศ ทรงมีอำนาจสูงส่ง แต่ถ้าเมื่อใดกษัตริย์ถืออำนาจประเทศ ชาติเป็นของเล่นอย่างเด็กเล่นขายของใช้อำนาจตามอำเภอใจ ในที่สุด ก็จะทำให้ประเทศต้องสูญสิ้นเอกราช.

กษัตริย์โจวอิวอ๋องเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์โจวเมื่อศตวรรษที่ ๘ ก่อนคริสต์กาล. เมื่อพระองค์บริหาราชการแผ่นดินนั้น ทรงโง่ เขลาเบาปัญญายิ่ง ไม่สนพระทัยในกิจการบ้านเมือง ทุกวันก็ได้แต่ ทรงหาความสุขสำราญหยอกล้อกับเหล่านางสนมนางใน.นางสนม ที่กษตริยโจว์อิวอ๋องทรงโปรดปรานที่สุดนางหนึ่งชื่อเปาซึ ไม่ว่านาง ต้องการอะไร ก็ทรง ประทานให้ แต่นางสนมเปาซึกลับไม่เคยแสดงสีหน้ายินดีแต่อย่างใด น้อยครั้งนักที่นางจะยิ้มแย้มสักที. เพื่อที่จะให้นางผู้เลอโฉมได้หัวเราะบ้าง กษัตริย์โจวอิวอ๋องต้องทรงหาวิธีการต่างๆนานา มาหยอกเย้าให้ นางได้หัวเราะบ้าง แต่ทว่าพระองค์ยิ่งคิดที่จะให้นางหัวเราะ นางยิ่งปั้นหน้าเคร่งขรึม จงใจไม่หัวเราะ.

มีอยู่วันหนึ่ง กษัตริย์โจวอิวอ๋องทรงพานางสนมเปาซึเสด็จประพาสนอก เมืองโดยได้เสด็จถึงหอส่งไฟสัญญาณแจ้งเหตุที่เขาหลีซาน. กษัตริย์ โจวอิวอ๋องทรงอธิบายประโยชน์ในการใช้หอส่งไฟสัญญาณ แจ้งเหตุต่อ นางสนมเปาซึว่านี่เป็นสิ่งก่อสร้างที่ใช้ในการแจ้งข่าวสง คราม. เวลานั้น จาก ชายแดนถึงเมืองหลวง แต่ละช่วงระยะหนึ่งจะ ต้องสร้างหอสูงขึ้นแห่งหนึ่ง และจัดพลทหารเฝ้าประจำทั้งกลางวัน และกลางคืน เมื่อมีศัตรูมา รุกรานทางชายแดน ทหารที่ประจำอยู่บน หอก็จะจุดไฟสัญญาณ ทันที แล้วส่งสัญญาณแจ้งเหตุร้ายไปยังหอส่ง ไฟสัญญาณแจ้งเหตุที่อยู่ ใกล้เคียง โดยจะส่งต่อๆกันไปเป็นแนวเช่นนี้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทางชายแดนก็จะส่งข่าวไปถึงเมืองหลวงโดยเร็ว. และเมื่อใดเมืองหลวงถูกคุกคาม หอส่งสัญญาณแจ้งเหตุบนเขาหลี ซานก็จะจุดไฟสัญญาณแจ้ง เหตุ ส่งข่าวไปถึงเจ้าผู้ครองนครรัฐที่ขึ้นกับราชวงศ์โจว บรรดาเจ้าผู้ครองนครรัฐก็จะส่งทหารมาช่วยเหลือทันที.

นางสนมเปาซึฟังคำบอกเล่าของกษัตริย์โจวอิวอ๋องแล้ว ก็ไม่เชื่อว่าหอบน เนินสูงนี้พอจุดไฟก็สามารถระดมทหารที่อยู่ห่างไกลพันลี้รุดมา ช่วยเหลือ ได้. เพื่อที่จะให้นางเปาซึมีความเบิกบานใจ กษัตริย์โจว อิวอ๋องทรงมี คำสั่งให้พลทหารจุดไฟสัญญาณแจ้งเหตุ. ไฟสัญญาณ แจ้งเหตุได้จุดขึ้น ต่อๆกันไปบนหอส่งสัญญาณแจ้งเหตุ เจ้าผู้ครอง นครรัฐใน ท้องที่ต่างๆ ได้รับข่าวโดยเร็ว นึกว่าเมืองหลวงถูกรุกโจมตี ต่างพากันนำกองทหารรุดมาช่วยเหลือ.

แต่ว่าขณะที่เจ้าครองนครรัฐต่างๆเร่งรุดมาถึงเชิงเขาหลีซานนั้น กลับเห็นกษัตริย์โจวอิวอ๋องและนางสนมกำลังเสพสุราหาความสำราญ อยู่บนหอสูง หาได้มีศัตรูอะไรไม่ จึงค่อยรู้ว่าถูกพระองค์ทรงปั่นหัวเล่นเสียแล้ว. บรรดา เจ้าผู้ครองนครรัฐต่างไม่กล้าแสดงความเดือดดาล ได้แต่ นำกองทหารกลับ ไปด้วยความโกรธแค้น. นางสนมเปาซึได้เห็นบรรดา เจ้าผู้ครองนครรัฐ ที่ตามปกติมีน้ำใจและจิตใจกล้าหาญมากนี้ หลังจาก ถูกหยอกล้อเช่นนี้แล้วต่างก็ตีหน้าไม่สนิท ก็ให้รู้สึกสนุกมาก เลยอดที่จะยิ้มๆไม่ ได้. กษัตริย์โจวอิวอ๋องทอดพระเนตรเห็นนางสนมคนโปรดในที่สุดก็ได้ยิ้มออกมา ก็ทรงรู้สึกโสมนัสยิ่ง.

รอจนบรรดาเจ้าผู้ครองนครรัฐต่างถอยกลับไปแล้ว กษัตริย์โจวอิวอ๋องก็ทรงให้พลทหารจุดไฟสัญญาณแจ้งเหตุอีก บรรดาเจ้าผู้ครอง นครรัฐก็รีบ นำกองทัพรุดหน้ามาอีก. กษัตริย์โจวอิวอ๋องและนางสนม เปาซึเห็น บรรดาเจ้าผู้ครองนครรัฐหลงกลอีก ต่างสรวลสันติ์บันเทิงยิ่ง อยู่บนหอส่งไฟสัญญาณแจ้งเหตุ. กษัตริย์โจวอิวอ๋องทรงจุดไฟส่ง สัญญาณแจ้งเหตุครั้งแล้วครั้งเล่าเช่นนี้มาหยอกล้อบรรดาเจ้าผู้ครอง นครรัฐ. จนในที่สุด เมื่อจุดไฟสัญญาณแจ้งเหตุอีก ก็ไม่มีเจ้าผู้ครองนคร รัฐหลงกลอีกแม้สักผู้เดียว.

ต่อมาไม่นาน กษัตริย์โจวอิวอ๋องทรงคิดที่จะแต่งตั้งนางสนมเปาซึขึ้นเป็นองค์มเหสี และแต่งตั้งโอรสของนางขึ้นเป็นรัชทายาท และเพื่อ ที่จะบรรลุเป้าหมายนี้ พระองค์ได้ทรงถอดองค์มเหสีและองค์รัชทายาทเดิม ออก. พระราชบิดาขององค์มเหสีเดิมนั้นทรงเป็นกษัตริย์ของรัฐเซิน

ครั้นทรงได้ข่าวว่าพระธิดาของพระองค์ถูกถอด ออกจากตำแหน่งมเหสีก็ทรงกริ้วมาก จึงทรงติดต่อกับรัฐอื่นๆทันที และยกทัพไปโจมตี ราชวงศ์โจว. กษัตริย์โจวอิวอ๋องทรงมีรับสั่งให้รีบจุดไฟส่งสัญญาณแจ้ง เหตุ ทันที เพื่อเรียกหาเจ้าผู้ครองนครรัฐ.ทว่าบรรดาเจ้าผู้ครองนครรัฐไม่เชื่อในกษัตริย์โจวอิวอ๋องอีกแล้ว ไม่ว่า ไฟสัญญาณแจ้งเหตุจะจุดต่อๆกันสักเท่าไร ก็ไม่มีเจ้าผู้ครองนครรัฐรุดหน้ามาช่วยเหลือสักราย. เมืองหลวงของราชวงศ์โจวก็ถูก ตีแตกในไม่ช้า กษัตริย์โจวอิวอ๋องถูกปลงพระชนม์นางสนมเปาซึถูกจับตัวไป ราชวงศ์โจว ก็สูญสิ้น

จากthai.cri.cn/chinaabc/chapter16/chapter160406.htm

นิทานเรื่องความอัปยศของหานซิ่นที่ต้องมุดลอดขา

 

ราชวงศ์ฉินในศตวรรษที่สองก่อนคริสต์กาลนั้น เป็นราชวงศ์ศักดินาที่รวบรวมจีนเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันครั้งแรกในประวัติศาสตร์ จีน กำแพงจีนยาวหมื่นลี้ของจีนก้ได้เริ่มสร้างขึ้นอย่างใหญ่โตในราช วงศ์นี้. แต่เนื่องจากการปกครองแบบทรราชย์ขององค์จักรพรรดิ์ทั้งบิดาและโอรสติดต่อกันสองสมัย การปกครองของราชวงศ์ฉินดำรงอยู่ได้เพียง ๑๕ปีเท่านั้น. ปลายราชวงศ์ฉิน เกิดการลุกขึ้นสู้ของชาวนาเกิด ขึ้นไม่ขาด สาย มีวีรบุรุษผู้กล้าปรากฏขึ้นมากมาย และหานซิ่นก็ คือผู้บญชาการ การทหารที่มีชื่อเสียงผู้หนึ่ง.

หานซิ่นเป็นผู้บัญชาการการทหารที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งในยุคสมัย โบราณของจีน เขามาจากวงศ์ตระกูลที่ยากจน กำพร้าพ่อแม่มาตั้งแต่ เด็ก. ก่อน หน้าที่หันซิ่นสร้างความดีความชอบทางการทหารนั้น เขาไม่ได้ประกอบ กิจการค้า และก็ไม่สมัครใจที่จะทำไร่ไถนา ทางบ้านก็ไม่มีทรัพย์สมบัติ อะไร เขามีชีวิตที่ยากจนข้นแค้นถูกผู้อื่นดูถูกดูแคลน มักจะ ต้องอดมื้อกินมื้ออยู่เสมอ. เขาคบหามีความสนิทสนมกับขุน นางผู้น้อยคนหนึ่งใน ท้องถิ่น ดังนั้นจึงมักจะไปกินข้าวฟรีที่บ้านของขุนนางผู้นี้เป็น ประจำ แต่นานเข้า ภรรยาของขุนนางผู้นี้ให้รู้ สึกไม่พอใจยิ่ง จึงจงใจกินข้าวก่อนเวลา พอหานซิ่นมาถึงก็ไม่มี ข้าวจะให้กินแล้ว หานซิ่นจึงโกรธมากถึงกับเลิกคบหาขุนนางผู้ นี้เสีย.

เพื่อที่จะประทังชีวิตให้อยู่รอด หานซิ่นได้แต่ไปตกปลาที่คลอง หวยสุ่ยในท้องถิ่น ที่นั่นมีหญิงชราซักเสื้อผ้านางหนึ่งเห็นเขาไม่มีข้าวกิน ก็เอาข้าวที่ตนติดมาให้เขากิน และทำเช่นนี้ติดต่อกันมานานหลายสิบวัน หานซิ่นรู้สึกซาบซึ้งใจยิ่ง เขาจึงกล่าวต่อหญิงชราว่า “ สักวันหนึ่ง ข้าจะตอบแทนบุญคุณท่านอย่างดี”. หญิงชรา ฟังแล้วรู้สึกไม่พอใจยิ่ง กล่าวว่า”เจ้าเป็นชายชาตรี ไม่สามารถหาเลี้ยงตน ข้าเห็นเจ้าน่าสงสารจึงให้ข้าว เจ้ากิน ใครยังหวังจะให้เจ้ามาตอบแทนบุญคุณอีก”. หานซิ่งฟังแล้วให้ รู้สึกละอายใจยิ่ง ตั้งปณิธานไว้ว่าจะต้องทำภารกิจ อะไรขึ้นสักราย”.

ที่เมืองหวยเฉิงบ้านเกิดของหานซิ่น มีหนุ่มๆบางรายดูถูกหานซิ่น มีอยู่ วันหนึ่ง มีหนุ่มน้อยคนหนึ่งเห็นหานซิ่นมีรูปร่างสูงใหญ่ แต่กลับสะพาย ดาบติดตัวอยู่เสมอ คิดว่าหานซิ่นคงขี้ขลาดตาขาว จึงสกัดกั้นตัวหานซิ่น ที่กลางตลาดที่เต็มไปด้วยผู้คน แล้วกล่าวว่า “ถ้าแกมีความกล้าพอ ก็ชักดาบมาแทงข้า แต่ถ้าแกขี้ขลาดตาขาว ก็จงมุดลอดใต้ขาข้า ไป.” ผู้คนที่มามุงดูกันต่างรู้ว่านี่เป็นการจงใจจะหาเรื่องมาทำให้หานซิ่นอัปยศอดสู ต่างไม่รู้ว่าหานซิ่นจะทำอย่างไร. เห็นแต่หานซิ่นตรึกตรอง อยู่ครู่หนึ่ง ไม่พูดจาอะไร ก็มุดลอดขาของคนผู้นั้นไป. ผู้คนที่อยู่ในบริเวณนั้นต่างพากัน หัวเราะกันอย่างครื้นเครง พากันเห็นว่าหาน ซิ่นเป็นคนขี้ขลาดกลัวตาย ไม่มีความกล้าพอ. และนี่ก็คือเรื่องราว”ความอัปยศที่ต้องมุดลอดใต้ขา ของหานซิ่น”ที่มีการเล่าลือต่อๆกันมาในภายหลัง.

ความจริงหานซิ่นนั้นเป็นผู้ที่มีกุศโลบายและเต็มไปด้วยแผนการยิ่งคนหนึ่ง. เขามองเห็นถึงสังคมในยุคสมัยนั้นกำลังตกอยู่ ในระหว่างการเปลี่ยนราชวงศ์ ดังนั้นจึงมุ่งมั่นศึกษาค้นคว้าตำราพิชัย สงคราม ฝึกวิทยายุทธ โดยมีความเชื่อมั่นว่าจะต้องมีวันที่ตนเงยหน้า อ้าปากได้. ปี ๒๐๙ ก่อนคริสต์กาล การลุกขึ้นสู้ของชาวนาที่คัดค้านการปกครอง ของ ราชวงศ์ฉินในท้องที่ต่างๆทั่วประเทศได้ปะทุขึ้น หานซิ่นได้เข้า ร่วมกอง ทหารที่มีกำลังค่อนข้างเข้มแข็งหน่วยหนึ่ง. หัวหน้าของกอง ทหารก็คือ หลิวปังซึ่งต่อมาภายหลังเป็นปฐมจักรพรรดิ์ของราชวงศ์ต่อมา. เริ่มแรก นั้น หานซิ่นเป็นเพียงขุนนางผู้น้อยที่ดูแลควบคุมการลำ เลียงเสบียงและ หญ้าเท่านั้น ซึ่งไม่ได้ดิบได้ดีอะไรนัก. ต่อมาภาย หลังเขาได้รู้จักกับที่ ปรึกษาของหลิวปังนามเซียวเหอ คนทั้งสองมัก จะอภิปรายเหตุการณ์ บ้านเมืองและการทหารเสมอ เซียวเหอรู้สึกว่า หานซิ่นนั้นเป็นผู้ที่มี ความสามารถและสติปัญญาคนหนึ่ง ดังนั้นจึง พยายามแนะนำให้แก่หลิว ปัง แต่หลิวปังยังคงไม่ยอมใช้ให้หานซิ่น ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งสำคัญ.

วันหนึ่ง หานซิ่นที่ท้อแท้หมดกำลังใจได้จากกองทหารของหลิว ปังไป อย่างเงียบๆ โดยไปเข้ากับกองทหารลุกขึ้นสู้หน่วยอื่น. หลัง จากเซียว เหอรู้ข่าวหานซิ่นจากไป เขารีบขี่ม้าไล่กวดไปโดยไม่ได้ รายงานต่อหลิว ปัง. ครั้นหลิวปังได้ข่าว คิดว่าทั้งสองหนีไปด้วยกัน. สองวันต่อมา เซียว เหอและหานซิ่นก็กลับมา หลิวปังทั้งตื่นตระหนก ตกใจทั้งดีใจ ถามเซียว เหอว่าเป็นเรื่องอันใดกันแน่. เซียวเหอกล่าว ว่า”ข้าพเจ้าไปไล่ตามคนมาให้ท่าน” หลิวปังให้รู้สึกสงสัยถามว่า”ที่ แล้วมานายทหารชั้นสูงที่หนีไปมีหลายสิบคน ท่านล้วนไม่ไล่ตาม กลับมา เหตุไฉนจึงไปไล่ตามเฉพาะหานซิ่นกลับมา”. เซียวเหอ กล่าวว่า”นายทหารที่หนีไปก่อนหน้านี้ล้วน เป็นคนธรรมดาสามัญไม่มีฝีมือ ได้มาโดยง่าย ส่วนหานซิ่นนั้นเป็นคนที่มี ความสามารถยิ่ง. ถ้า ท่านคิดที่จะยึดชิงอำนาจการปกครอง ประเทศชาติ นอกจากหานซิ่น แล้วท่านก็จะหาคนปรึกษาหารือเรื่อง สำคัญๆร่วมกับท่านไม่ได้อีกแล้ว” หลิวปังกล่าวว่า”ถ้างั้นก็ให้เขาเป็น นายทหารอยู่ใต้การนำของท่านเถิด” เซียวเหอกล่าวว่า”ให้เขาเป็น นายทหารธรรมดา เขาไม่แน่ว่าจะยอม อยู่” หลิวปังว่า”ถ้างั้นก็ให้เขาเป็นผู้บัญชาการการทหารก็แล้วกัน” จากนั้นมา หานซิ่นก็ได้กลับกลายจากขุนนางที่ดูแลควบคุมการลำ เลียงเสบียงและหญ้ามาเป็นนายทหารผู้หนึ่ง. และในระหว่างช่วยหลิวปังสู้รบเพื่อชิงความเป็นใหญ่ในใต้หล้านั้น เขาสู้รบครั้งใดย่อมชนะครั้งนั้น ได้สร้างคุณงามความดีอันโดดเด่น

จากthai.cri.cn/chinaabc/chapter16/chapter160407.htm

นิทานเรื่องแบ่งข้าวต้มสับผักเค็ม

 

ฟ่านจ้งเอียนเป็นนักการเมืองและนักวรรณคดีที่ยอดเยี่ยมในประวัติศาสตร์จีน เขาไม่เพียงแต่มีคุณูปการอันเลิศล้ำในทางการเมืองเท่านั้น หากยังมี ความสามารถยิ่งในด้านวรรณคดีและการทหารด้วย. บทประ พันธ์ที่มี ชื่อเสียงที่สุดของเขาคือ”บันทึกที่หอเย่หยาง” ในบทประพันธ์ มีประโยค ที่ว่า”บัญฑิต(ผู้รู้)จะต้องเป็นคนแรกที่กังวลสนใจในความ เดือดร้อนลำเค็ญของโลก และก็เป็นคนสุดท้ายที่เสพย์สุข” ซึ่งเป็นประโยคที่ชนรุ่นหลังนิยมชมชอบกันและท่องสืบทอดกันมาอย่างแพร่ หลาย. มีนิทานเล่าถึงการพากเพียรศึกษาในสมัยเด็กของเขา.

ฟ่านจ้งเอียนเป็นชาวราชวงค์ซ่งเมื่อศตวรรษที่ ๑๐ แห่งคริสตกาล ตอนที่ เขามีอายุยังไม่ครบสามขวบ บิดาก็ป่วยและเสียชีวิต ครอบครัวมีฐานะยากจนมาก. ครั้นอายุสิบกว่าขวบ ฟ่านจ้ง เอียน ก็เดินทางจากบ้านไปแสวงหาวิชาความรู้โดยลำพังตัวคนเดียว โดย ไปไหว้ครูศึกษาที่สถานศึกษาอิ้งเทียนฝู่ที่มีชื่อเสียงในเวลานั้น. ใน ระ หว่างที่อยู่ในสถานศึกษาอิ้งเทียนฝู่นั้น ฟ่านจ้งเอียนมีชีวิตที่ ลำบาก ยากยิ่ง เนื่องจากไม่มีเงินเพียงพอที่จะซื้ออาหาร ดังนั้นในช่วง ระยะ เวลาอันยาวนานหนึ่ง เขาได้แต่กินข้าวต้มทุกวัน. ทุกเช้าเขาจะ ต้มข้าวต้ม ครั้นต้มสุกแล้ว ปล่อยให้ข้าวต้มเย็นจับตัวแล้ว ก็จะแบ่ง ข้าว ต้มออกเป็นสามส่วน เอาผักเค็มมาสับให้ละเอียด แบ่งเป็นอาหาร สามมื้อกินในหนึ่งวัน.

มีอยู่วันหนึ่ง ขณะที่ฟ่านจ้งเอียนกำลังกินข้าวอยู่นั้น เพื่อนคนหนึ่งของ เขาได้มาเยี่ยม พบว่าอาหารการกินของฟ่านจ้งเอียนไม่ดีมาก อดรนทน ไม่ได้ จึงเอาเงินให้ฟ่านจ้งเอียนปรับปรุงชีวิตสักหน่อย. ฟ่านจ้งเอียน ปฏิเสธอย่างละมุนละไมแต่มีความเด็ดเดี่ยวยิ่ง. เพื่อนของเขาจน ปัญญา วันต่อมาได้ส่งอาหารเลิศรสมาให้มากมาย ฟ่านจ้งเอียนได้แต่รับไว้.

เวลาผ่านไปอีกหลายวัน เพื่อนของเขาผู้นี้ก็มาเยี่ยมเยียนฟ่านจ้งเอียน อีก เขาได้เห็นอย่างตกใจว่า อาหารเลิศรสจำพวกหมู เห็ด เป็ด ไก่ที่ เขาส่งมาครั้งที่แล้วขึ้นราหมดแล้ว ฟ่านจ้งเอียนไม่ได้ แตะต้องกินเลยแม้ สักคำ. เพื่อนของเขาโกรธยิ่ง กล่าวต่อฟ่านจ้ง เอียนว่า” ท่านมีจิตใจ งดงามและคุณธรรมสูงส่งเกินไปเสียแล้ว ของ กินเล็กน้อยก็ไม่ยอมรับ ทำ ให้ข้าพเจ้าผู้เป็นเพื่อนเสียใจเหลือเกิน!”

ฟ่านจ้งเอียนยิ้มๆกล่าวว่า” ท่านผู้พี่เข้าใจผิดไปแล้ว ข้าพเจ้าไม่ใช่ไม่ กิน หากไม่กล้ากินต่างหาก. ข้าพเจ้าเกรงว่าพอกินเนื้อและ ปลา แล้ว จะกลืนข้าวต้มและผักเค็มไม่ลง. ความปรารถนาดีของ ท่านข้าพเจ้ารู้อยู่แก่ใจ ท่านอย่าได้โกรธเป็นอันขาด” ผู้เป็นเพื่อน ได้ฟังคำพูดของ เขาแล้ว ให้รู้สึกนับถือในบุคคลิกลักษณะประจำตัว ของเขายิ่งขึ้น.

มีอยู่ครั้งหนึ่ง มีคนถามถึงปณิธานของฟ่านจ้งเอียน เขากล่าวว่า “ปณิธาน ของข้าพเจ้านั้นคือเป็นนายแพทย์ที่ดีคนหนึ่ง หรือไม่ก็เป็น อัครเสนาบดีที่ดีคนหนึ่ง. นายแพทย์ที่ดีช่วยผู้คนรักษาโรค อัครเส นาบดีที่ดีช่วยปกครองประเทศชาติ”. ต่อมาภายหลัง ฟ่านจ้งเอียนก็ ได้เป็นอัครเสนาบดีจริงๆ กลายเป็นนักการเมืองที่มีชื่อเสียงของราชวงศ์ซ่ง.

ฟ่านจ้งเอียนถืองานส่งเสริมการศึกษาและปฏิรูปองค์กรข้าราชการเป็นเรื่องสำคัญสองรายในการสร้างรัฐให้เข้มแข็งเกรียงไกร เขาได้สร้างโรงเรียนในทั่วรัฐเป็นการใหญ่ เสริมกำลังด้านครูบาอาจารย์ อบรมบ่มเพาะบุคคลากรที่ชาติต้องการเร่งด่วน. ตัวเขาเองก็พยายาม ส่งเสริมผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ต่อมามีนักการเมืองและนักวรรณ คดีที่มีชื่อนามโอวหยางซิว นักวรรณคดีนามโจวตุนอี้ นักปราชญ์ นามจางไจ้เป็นต้นล้วนได้รับความช่วยเหลือจากฟ่านจ้งเอียน.

ในยามว่างจากกิจการการเมืองนั้น ฟ่านจ้งเอียนมีความพากเพียร ในการแต่งบทประพันธ์ ได้เขียนบทประพันธ์ดีๆไว้มากมาย. สิ่งที่ควรกล่าวถึงก็คือ เขาคัดค้านบทประพันธ์ที่มีเนื้อหาไร้สาระในเวลานั้น มีความคิดเห็นว่าวรรณกรรมควรประสานเข้ากับความเป็นจริงทางสังคม ส่งเสริมสังคมและผู้คนให้พัฒนาไป. ความคิดเห็นนี้ได้ ส่งอิทธิพลอันลึกซึ้งต่อการพัฒนาวรรณกรรมของคนรุ่นหลัง.

จากthai.cri.cn/chinaabc/chapter16/chapter160408.htm

คางคกล้อเล่นกับมังกร

ในสมัย ตงฮั่นของจีน กรุงลั่วย่าง และเขตที่อยู่โดยรอบเกิดแผ่นดินไหวบ่อยครั้ง ตามที่บันทึกในประวัติศาสตร์ ภายในช่วงเวลา ๕๐ ปีนับแต่ตั้งปี คศ ๘๙ จนถึงปี คศ ๑๔๐ พื้นที่เหล่านี้เกิดแผ่นดินไหว ถึง๓๓ ครั้ง เป็นเหตุให้มีคนและปศุสัตว์ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ผู้คนหวาดกลัวแผ่นดินไหวอย่างมาก พระจักรพรรดิตระหนักว่า เกิดเหตุการณ์เไหล่านี้เพราะว่ามีการล่วงเกินสวรรค์ จึงเรียกเก็บภาษีเพิ่มจากประชาชน เพื่อใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมบวงสนวง ในสมัยนั้น มีนักวิทยาศาสต์ชื่อ จางเหิง ได้ศึกษาค้นคว้าด้านดาราศาสตร์ ปฏิทินและคณิตศาสตร์ในระดับที่ลึกซึ้งมาก นาย จางเหิง ไม่เชื่อคำโฆษณาไสยศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องแผ่นดินไหว เขาเห็นว่า แผ่นดินไหวนั้นน่าจะเป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติอย่างหนึ่ง เพียงแต่ว่าผู้คนมีความรู้ทางด้านนี้น้อยมาก ด้วยเหตุนี้ เขาจึงเร่งศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับแผ่นดินไหว

นาย จางเหิง ได้สังเกตและบันทึกปรากฎการณ์แผ่นดินไหวแต่ละครั้ง และใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์วิเคราะห์สาเหตุที่ก่อให้เกิดแผ่นดินไหว หลังจากได้ดำเนินการทดลองครั้งแล้วครั้งเล่าเป็นเวลาหลายปี ปี คศ๑๓๒ นาย จางเหิง ได้ประดิษฐ์อุปกรณ์พยากรณ์แผ่นดินไหวเครื่องแรกของจีนขึ้นซึ่งก็เป็นเครื่องแรกตลอดจน ของโลกด้วย และตั้งชื่อว่า ตี้ต้งหยี

เครื่อง ตี้ต้งหยี นี้หล่อขึ้นด้วยทองสัมฤทธิ์ มีรูปลักษณ์ไหเหล้าทรงกลมขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางมีความยาวเกือบหนึ่งเมตร ตรงจุดศูนย์กลางมีเสาทองแดงใหญ่อันหนึ่ง รอบนอกมีแท่งทองแดงเล็ก ๘ ท่อน รอบข้างมีมังกรหล่อ ๘ ตัว มังกร ๘ ตัวนี้ได้เชื่อมกับแท่งทองแดง ๘ ท่อนที่ตั้งอยู่ชั้นใน หัวมังกรเหล่านี้เงยหน้าขึ้นเล็กน้อย และหันไปยัง ๘ ทิศ เช่น ทิศตะวันออก ใต้ ตะวันตก เหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันตกเฉียงเหนือ และตะวันตกเฉียงใต้เป็นต้น มังกรแต่ละตัวอมลูกทองแดงทรงลดมในปาก ใต้มังกรแต่ละตัวมีคางคกทองแดงท่านั่งยอง ๆ คางคกทองแดงล้วนเงยหน้า อ้าปาก กว้าง ดูเหมือนพร้อมที่จะรับลูกทองแดงกลมที่จะตกลงมาจากปากของมังกร ได้ทุกเมื่อ รูปลักษณ์ของคางคกและมังกรดูน่ารักมาก ดูเหมือนกำลังล้อเล่นกัน ผู้คนจึงเรียกว่า คางคกล้อเล่นกับมังกร มาพรรณนารูปลักษณะของ อุปกรพยากรณ์แผ่นดินไหว หรือ เครื่อง ตี้ต้งหยี ตามการออกแบบของ นาย จางเหิง ถ้าทิศไหนเกิดแผ่นดินไหว แท่งทองแดงในเครื่องตี้ต้งหยี ก็จะเอียงลาดไปยังทิศนั้น และทำให้มังกรที่หันหน้าไปทางทิศนั้นอ้าปากออก

และคลายลูกทองแดงที่อมไว้ในปาก ลูกทองแดงก็จะตกไปยังปากของคางคก และเกิดเสียงดัง ตัง ขึ้น เป็นการรายงานต่อผู้คนว่า ทิศไหนเกิดแผ่นดินไหวแล้ว ทำให้รัฐบาลสามารถดำเนินงานกู้ภัยบรรเทาทุกข์ได้ปีคศ ๑๓๓ เมืองลั่วหยางเกิดแผ่นดินไหว เครื่อง ตี้ต้งหยี ที่นาย จางเหิงได้ประดิษฐ์ขึ้นตรวจสอบอย่างถูกต้องแม่นยำ หลังจากนั้นเป็นเวลา ๔ ปี เขตลั่วหย่างได้เกิดแผ่นดินไหวอีก ๓ ครั้ง ตามลำดับ เครื่อง ตี้ต้งหยี ก็ล้วนตรวจสอบรู้ได้อย่างถูกต้องเช่นกัน ไม่เคยพลาดสักครั้ง แต่มีอยู่วันหนึ่งในเดือนกุมภาพันธ์ ปี คศ ๑๓๘ นาย จางเหินและคนอื่น ๆ พบว่า ลูกบอลทองแดงเล็ก ๆในปากของตัวมังกรที่หันไปทางทิศตะวันตกได้ตกลงไปยังปากของคางคกที่อยู่ข้างล่าง แต่ผู้คนกลับไม่พบที่ไหนในแดนนั้นเกิดแผ่นดินไหวแม้แต่น้อย ด้วยเหตุนี้ นักวิชาการบางคนที่ไม่ค่อยเชื่อ เครื่อง ตี้ต้งหยีตั้งแต่แรก จึง ออกมาโจมตีว่า เครื่อง ตี้ต้งหยี ใช้ไม่ได้ วัดได้แต่แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในบริเวณรอบ ๆ เมืองลั่วหยาง แต่หลังจากนั้นอีก ๓ หรือ ๔ วัน ทูตจากมณฑล กันสู้ ที่อยู่ทางภาคตะวันตกของลั่วหยางเดินทางมาลั่วหยางเพื่อรายงานเรื่อง มณฑลกันสู้เกิดแผ่นดินไหว ถึงตอนนี้ ผู้คนจึงมีความเชื่ออย่างสิ้นเชิงว่า เครื่อง ตี้ต้งหยี ไม่ใช่แค่เป็น เรื่องคางคกล้อเล่นมังกรเท่านั้น หากเป็นอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ที่มีประโยชน์อย่างแท้จริง หลังจากนั้น จีนจึงเริ่มต้นประวัติศาสตร์ที่ใช้อุปกรณ์ตรวจวัดและบันทึกแผ่นดินไหวในระยะไกล

จากthai.cri.cn/chinaabc/chapter16/chapter160501.htm

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal