หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

ประเพณีแต่งงานของจีนแคะ

ประเพณีการแต่งงานของคนจีนแคะ(ขัก)

ประเพณีการแต่งงานของชาวจีนแคะ(ขัก) ปั้นซั้นขัก ซึ่งมีความหมายคล้ายกับลูกครึ่งหรือที่เขาเรียกกันว่าแคะตื้น เนื่องจากมีความใกล้ชิดและคล้ายกับแต้จิ๋วมาก และภาษาของชาวปั้นซั้นขัก บางส่วนจะมีการนำคำของแต้จิ๋วมาผสม เนื่องจากมีพื้นที่ติดกับแต้จิ๋วในเมืองจีน จึงมีการผสานวัฒนธรรมดั้งเดิมของจีนแคะ(ขัก)และแต้จิ๋วไว้ด้วยกัน แต่ก็มีที่แตกต่างกันบ้างในรายละเอียดซึ่งจะมีการแจงรายละเอียดให้ทราบต่อไป

โดยทั่วไปนั้นประเพณีการแต่งงานของชาวจีนในกลุ่มชาติพันธุ์แต้จิ๋วและขักจะแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอนกล่าวคือ ขั้นตอนที่หนึ่งจะเป็นการดูฤกษ์ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมากโดยฝ่ายชายจะเป็นฝ่ายไปขอวัน เดือน ปีเกิดของฝ่ายหญิงมาเพื่อนำไปให้ “ซิ๊นซั๊ง”(ซินแส) ดูว่าดวงสมพงษ์กันหรือไม่ และถ้าดวงของทั้งคู่สมพงษ์กันก็จะหาฤกษ์ยามต่างๆ แล้วนำกำหนดการนี้ไปแจ้งให้ฝ่ายหญิงได้ทราบ

ขั้นตอนที่สอง คือการหมั้นหมาย ในวันนี้ฝ่ายชายจะต้องยกสินสอดทองหมั้นเพื่อไปหมั้นหมายฝ่ายหญิง ซึ่งนอกจากสินสอดแล้วฝ่ายชายยังต้องนำสิ่งของต่างๆดังนี้ไปร่วมประกอบพิธีในการหมั้นหมายด้วย อันได้แก่ ส้มติดตัวอักษร “ซังฮี้” โดยจัดเป็นเลขคู่ ส่วนมากนิยมจัดเป็น 24 , 44 หรือ 88 ผล , ขาหมูสด ,ซี่เตี้ยมกิ้ม “สี่เตียมกิม”(คำเรียกรวมเครื่องประดับที่ใช้เป็นสินสอดสี่อย่าง ประกอบไปด้วย ต่างหู กำไล สร้อย แหวน) , ขนมแต่งงานหรือที่เรียกกันว่า “ขนมซี่เส็ดม้วยซิด (ซี้เส็กม่วยเจี๊ยะ)(ขนม 4 อย่าง มีงา, ถั่ว, เปี๊ยะเล็ก, แป้งมันนิ่มคลุกงา,  ซองสีแดงเป็นเงินที่ฝ่ายชายมอบให้ฝ่ายหญิงเพื่อนำไปซื้อของที่จะต้องใช้ในวันแต่งงาน , เป็ด ไก่ ปลา ตับหมู หมูสด 2 ชิ้น เรียกรวมว่า “...............(โง้ปี่)” 

ส่วนฝ่ายหญิงก็จะต้องจัดเตรียม ส้มติดตัวอักษร “..............(ซังฮี้)” โดยจัดเป็นเลขคู่ , กล้วยหอมทั้งเครือผูกเชือกสีแดงและผูกกระดาษแดง , หัวใจหมู , ตับหมู , ไข่ 12 ใบ หรือซาลาเปา 12 ลูก , ขนมบัวลอย เมื่อฝ่ายชายมาถึง ฝ่ายหญิงก็จะต้องมอบ เอี้ยมสีแดงที่เสียบปิ่นทอง มี“อึ้งจุ้งจื้อ (โหวงเจ๋งจี่) 5เมล็ดพันธุ์ มีข้าวเปลือก,งา,ถั่วเขียว,แป้งข้าวหมาก,สาคู เม็ดเล็กย้อมสีแดง เอามาเคล้ารวม ใส่อยู่ข้างใน และ           “ต้นชุ้นช่อ(เซียงเฉ่า)”  2 ต้น ให้กับฝ่ายชายไป สำหรับ “ปิ่นทอง” นั้นฝ่ายชายต้องนำกลับมาคืนให้ฝ่ายหญิงในคืนก่อนวันส่งตัวเจ้าสาว เพื่อให้เจ้าสาวใช้ปักผมในคืนวันส่งตัว

ขั้นตอนที่สาม คือวันเตือนแต่ง หมายถึงวันก่อนวันแต่งงานตามฤกษ์ที่ได้กำหนดไว้ ประมาณ 2-3 วัน ในวันนี้ฝ่ายชายจะต้องมาที่บ้านฝ่ายหญิงเพื่อนำ ขาหมู 2 ขา , หมูสามชั้น 1 ชิ้นมาให้พ่อของฝ่ายหญิง ขาหมู 2 ขา หมายถึง การที่พ่อเจ้าสาวได้พาเจ้าสาวขึ้นรถในวันแต่งงาน ซึ่งเมื่อพ่อเจ้าสาวได้รับขาหมูแล้วก็จะตัดขาส่วนล่างออกคืนให้กับฝ่ายชายไป เปรียบเหมือนกับการที่เจ้าสาวได้ออกจากบ้านไปเป็นคนของบ้านฝ่ายชายแล้ว ส่วนหมูสามชั้น หมายถึง การทดแทนคุณให้กับพ่อแม่ฝ่ายหญิงที่ได้เลี้ยงดูเจ้าสาวมา นอกจากนี้ก็ยังมี เป็ด ไก่ ที่ฝ่ายชายต้องนำมาเพื่อให้ฝ่ายหญิงไหว้เจ้า

ขั้นตอนที่สี่ คือวันแต่งงาน ในวันนี้เจ้าสาวจะต้องรับประทานไข่ต้มที่แกะเปลือกอย่างสวยงามไม่มีรอยแตก 2 ฟอง(จีนขักจะไปกินตอนทำพิธีเปิดขันหมากเสร็จ) เพราะมีความเชื่อว่าเมื่อรับประทานไข่ต้มแล้วจะได้ลูกชาย และลูกที่คลอดออกมาก็จะครบ 32 ประการ จากนั้นก็จะแต่งหน้า ทำผม ปักปิ่นทอง และกิ่งทับทิมให้เรียบร้อย(จีนแคะ(ขัก)จะติดใบไม้เรียกว่าใบหมะช่อ มีลักษณะคล้ายใบมะกอกป่า/ใบหนาดแต่ใบเล็กกว่า เหมือนใบไม้ที่ในหลวงพระราชทานให้เอกอัครราชทูตทัดหูก่อนอกไปเป็นตัวแทนประเทศ เพื่อเป็นสิริมงคล) ในส่วนของข้าวของเครื่องใช้ที่ต้องเตรียมไปบ้านฝ่ายชายนั้น ประกอบไปด้วย เอี๊ยมแต่งงาน ที่ปักคำว่า “ปักเหนียนฮ้อล่อ แปลว่า อยู่กินกันจนแก่เฒ่า , เหรียญมังกรทอง , ต้นชุ้นช่อหมายถึง ความยั่งยืนรักกันจนแก่เฒ่า ,    บู๊ถองป๊อ (ก้อนน้ำตาลทรายแดงห่อด้วยกระดาษแดงใช้คู่กับชุ้นช่อ), ถังน้ำสีแดง , กระโถน , กระจก , ชุดกรรไกร เข็ม ด้าย , ชุดน้ำชา , ชุดเครื่องนอนที่ปักลายหงษ์กับมังกร , ตะเกียบ , ไม้บรรทัด 1 คู่ , รองเท้าเกี๊ยะ นอกจากนี้ก็เป็นสิ่งของที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน เมื่อเจ้าสาวแต่งตัวเสร็จแล้วก็จะต้องมานั่งร่วมรับประทานอาหาร 10 อย่างกับครอบครัว โดยมีพ่อแม่เป็นคนคีบอาหารต่างๆให้รับประทาน ซึ่งอาหารทั้ง 10 ชนิดคือ ชุยฉ่าย หมายถึง การเหลือเงินเหลือทองไว้ใช้ , ...............(ขื่นฉ่าย) หมายถึง การรู้จักเก็บออม ,.............( ตั่วฉ่าย) หมายถึง การได้เป็นคนใหญ่คนโต ,   ช้อยเถว(ใช้เท้า) หมายถึง การเป็นคนเฉลียวฉลาด , .................ซึ้งเกี้ย หมายถึง การเป็นคนคิดเก่ง , เต่ากัว หมายถึง การได้เป็นผู้ยิงใหญ่ ,เก้าฮับฉ้อย (เกาฮะ) หมายถึง การมีคนรักและเอ็นดู , เป็ด หมายถึง ความสุข , ไก่ หมายถึง การรู้จักเก็บเงินทอง , ปลา หมายถึง ความคล่องแคล่ว ว่องไว

ซึ่งระหว่างคีบอาหารนี้ แม่เจ้าสาวก็จะ “ต้าซี้กู่” คือการพูดคำอวยพรสี่คำคือ “ซิดจู๊ตู้(เจี๊ยะตือโต๋ว กินกระเพาะหมู)” หมายถึง การเปลี่ยนนิสัยใจคอให้เป็นผู้ใหญ่ขึ้น “ซิดจู๊ก๊อน(เจี๊ยตือกัว กินตับหมู)” หมายถึง การจะได้เป็นคนใหญ่คนโตในภายภาคหน้า “ซิดส้อน (เจ๊ยสึ่ง กินกระเทียม)” หมายถึง มีเงินมีทอง “ซิดเก้าฮับ(เจี๊ยเกาฮะ)” หมายถึง การมีคนรักและเอ็นดู

ก่อนขบวนขันหมากจะเข้าบ้านเจ้าสาว ประเพณีจีนแคะ(ขัก) จะมีการเชิญขันหมาก โดยผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวจะกางร่มแดงถือพานที่ใส่ส้ม ๔ ลูกไปชิญขันหมาก และปัจจุบันมีการแปลงพิธีการเพิ่ม(ไม่ใช่ประเพณีเดิม)จะมีการล้างเท้าของเจ้าบ่าว โดยส่วนใหญ่จะให้น้องชาย หรือหลานชายของเจ้าสาวเป็นผู้ล้างเท้าให้ โดยนิยมจัดเตรียมของคือ เอาหญ้าเจ้าชู้หรือหญ้าแพรกที่มีหัววางที่พื้นดินหน้าบ้าน เอาหินลับมีดวางทับปิดทับด้วยใบตองก้านยาว ๆ สวย ๆแล้วให้เจ้าบ่าวขึ้นไปยืนบนของสามสิ่ง โดยมีความหมายว่า เจ้าบ่าวจะไม่เจ้าชู้ คือเหยียบหญ้าเจ้าชู้ จะหนักแน่น มั่นคง ไม่หูเบาเหมือนดั่งหิน ที่ถูกเหยียบก็ไม่แตกหัก น้ำที่ล้างเท้าจะเป็นน้ำสะอาดใช้พรมลงบนรองเท้า เพื่อขับไล่สิ่งไม่เป็นมงคล

หลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้วเจ้าสาวก็จะขึ้นไปรอให้เจ้าบ่าวมารับที่ห้องของตน เมื่อเจ้าบ่าวมาถึง ก็จะมีเถ้าแก่ของฝ่ายชายถือซองแดงแจกคนที่ยืนกั้นประตูเงินประตูทอง เพื่อให้เจ้าบ่าวข้ามไปรับตัวเจ้าสาวได้สำเร็จ หลังจากนั้นเจ้าบ่าวก็จะต้องมาไหว้เจ้าที่และบรรพบุรุษของฝ่ายเจ้าสาว (ดูท้ายเรื่อง)ต่อมาบ่าวสาวก็จะกินขนมอี๊ ก่อนที่บ่าวสาวจะออกเดินทางเจ้าสาวจะต้องมอบ “ต้น.........(อั่งฮวย)” ให้เจ้าบ่าว ส่วนเจ้าบ่าวก็มอบ “ต้นเซียงเฉ่า” ให้เจ้าสาวเพื่อการเดินทางจะได้ปลอดภัย หลังจากพ่อเจ้าสาวจะพาเจ้าสาวขึ้นรถเจ้าบ่าว โดยพ่อเจ้าสาวจะเอาใบทับทิมจุ่มน้ำพรมให้กับเจ้าสาวและรถเพื่อความเป็นสิริมงคล, ก่อนขึ้นรถจะมีตะเกียงนำหน้าและ มี “หีบ (กั๊บบ่วง หีบสมบัติ)”[1]ตามหลังซึ่งตลอดเวลาเจ้าสาวจะต้องถือพัดจีนสีแดงไว้ตลอด  ในส่วนของรถที่นำมาใช้รับเจ้าสาวนั้นจะต้องติดคำว่า “ปักสื่อหมอกี้ (แป๊ะ สื่อ บ่อ กี๋)” หมายถึง สำเร็จลุล่วง สมีครสมานรักกัน และมีแซ่ของทั้งสองฝ่ายติดไว้ที่หน้ารถ

ช่วงเปิดเซี้ยม(หาบ) จะมีการเปิดเซี้ยมโดยก่อนจะเปิดเซี้ยมจะมีการพูดที่เป็นสิริมงคลเพื่อเป็นสิริมงคล เช่นปักเหนียนฮ่อยล่อ(อยู่กันยืนยาว ถือไม้เท้ายอดทอง กระบองยอดเพชร)เสร็จแล้วผู้ใหญ่ฝ่ายหญิง จะใช้ไม้คานหาบเปิดฝาเซี้ยมเป็นเสร็จพิธี แล้วจึงใส่ส้ม ๔ ลูก พร้อมซองแดงให้กลับคืนแก่ฝ่ายเจ้าบ่าว ส่วนขั้นตอนการเปิดขันหมากดูสินสอดทองหมั้นคงคล้ายกันคือจะให้เถ้าแก่ฝ่ายชายเปิดขันหมากจัดเรียงเพื่อให้ฝ่ายเจ้าสาวดูว่าครบถ้วนตามตกลงหรือไม่เสร็จแล้วผู้ใหญ่จะโรยของมงคล(อึ้งจุ้งจื้อ 5เมล็ดพันธุ์ มีข้าวเปลือก,งา,ถั่วเขียว,แป้งข้าวหมาก,สาคู เม็ดเล็กย้อมสีแดง เอามาเคล้ารวมกันเมื่อโรยเสร็จแล้วพ่อแม่ฝ่ายหญิงจะเก็บสินสอดทองหมั้นฯลฯ  หลังจากนั้นจึงให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวกินขนมบัวลอย โดยเจ้าบ่าวเจ้าสาวจะกินไข่ปอกคนละลูก ความหมายเหมือนแต้จิ๋ว  แต่ถ้าปั้นซั้นขักดั้งเดิมจะให้เจ้าบ่าวเจ้าสาวกินน้ำข้าวใส่เกลือเพิ่มไปอีกอย่าง เพื่อให้รำลึกถึงความยากลำบากของบรรพบุรุษของชาวจีนแคะ(ขัก)

การรับไหว้ของจีนแคะก็จะเหมือนของแต้จิ๋ว เพียงแต่แต้จิ๋ว จะให้ฝ่ายผู้ชายเป็นใหญ่ แต่จีนแคะ(ขัก)จะเน้นฝ่ายหญิงเป็นใหญ่ โดยจะมีการเรียงลำดับดังนี้

ญาติข้างแม่เจ้าสาวตามลำดับอาวุโส   ญาติข้างพ่อเจ้าสาวตามลำดับอาวุโส พี่ในระดับเดียวกันฝ่ายแม่/พ่อ ไล่เรียงไปเรื่อย ๆ กรณีผู้ใหญ่ที่ไม่แต่งงานจะไมให้นั่งรับน้ำชา แต่จะให้ยืนรับน้ำชา

เมื่อเจ้าสาวเดินทางมาถึงบ้านเจ้าบ่าวที่บ้านเจ้าบ่าวจะติดอักษรมงคล คีหลินต้อค่ำ ผู้ที่ถือตะเกียงจะรีบนำตะเกียงไปไว้ที่ห้องนอนของทั้งคู่บริเวณหัวเตียงก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ตะเกียงดับระหว่างพิธี เนื่องจากเชื่อว่าถ้าตะเกียงดับจะเกิดสิ่งที่ไม่ดี โดยตะเกียงนี้จะต้องจุดต่อเนื่องกัน 3วัน3คืน ส่วนเจ้าบ่าวก็จะต้อง ไหว้ฟ้าดิน ไหว้บรรพบุรุษ และทำพิธียกน้ำชาให้กับพ่อแม่และญาติฝ่ายเจ้าบ่าว จากนั้นก็จะร่วมรับประทานอาหารโดยแยกโต๊ะให้กับบ่าวสาวและบนโต๊ะจะต้องจุดเทียนมงคล 1 คู่ไว้ด้วย เมื่อรับประทานอาหารเสร็จก็จะส่งตัวบ่าวสาวเข้าหอ โดยมีผู้อาวุโสที่ประสบความสำเร็จในชีวิตและครอบครัวเป็นคนปูเตียงให้

ขั้นตอนที่ห้า คือวันตึ่งฉู่ หมายถึงวันที่เจ้าสาวจะได้กลับบ้านไปเยี่ยมพ่อแม่ของตนเองหลังจากแต่งงาน โดยส่วนใหญ่แล้วเจ้าสาวจะเดินทางไปหลังจากที่แต่งงานไปได้แล้ว 3-5 วันซึ่งในวันนี้พี่ชายหรือน้องชายของเจ้าสาวจะเดินทางมารับเจ้าสาวและเจ้าบ่าวไป โดยบ่าวสาวจะต้องเตรียมขนมและผลไม้มาไหว้เจ้าด้วย หลังจากนั้นก็จะทำพิธียกน้ำชาให้กับพ่อแม่และญาติของฝ่ายเจ้าสาว

เมื่อเสร็จสิ้นทั้งห้าขั้นตอนแล้วก็จะถือว่าเป็นการเสร็จสิ้นพิธีการแต่งงานตามแบบของกลุ่มชาติพันธุ์แต้จิ๋วอย่างสมบูรณ์ถูกต้องตามรเบียบประเพณีและพิธีกรรม

ขั้นตอนการไหว้ฟ้าดิน บรรพบุรุษ ของปั้นซั้นขัก จะมีขั้นตอนที่แตกต่างกับแต้จิ๋วในรายละเอียด เช่น จำนวนถ้วยน้ำชา เหล้า วิธีการรินแบบปั้นซั้น จะมีการรินเพื่อล้างไล่สิ่งสกปรกไม่เป็นมงคลก่อน แล้วจึงรินไหว้จริง จำนวนถ้วยแต่ละเจ้าไม่เท่ากัน  การรินจะเริ่มรินแก้วที่1 แล้วเทไล่ไปแก้วที่ 2 ...3.... ไปเรื่อย ๆ และเททิ้งที่แก้วสุดท้าย แล้วจึงเริ่มรินจริง ๆ อีกที



*ที่มาhttp://www.chinese-punsunkhak.com/?q=node/36


 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal