หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

อยากทราบเรื่องพิธีกรรม หลังจากเสียชีวิตของคนจีนแคะ กงเต็กจีนแคะ (แบบละเอียด) หรือ หนังสือ ครับ

เนื่องจากว่า อะผ่อ ผมอายุ 90 แล้ว และที่บ้านไม่ค่อยรู้เรื่องพิธีกรรมเกี่ยวกับ จีนแคะเท่าไหร่

เลยอยากทราบว่าหาก อะผ่อเป็นอะไรไป  ผมจะทำกงเต็กให้ ตอนแรกคิดว่าจะทำแบบสากลทั่วไป

เพราะไม่รู้จะไปจ้างคนทำกงเต็กแบบ จีนแคะที่ไหนอย่างไร พอเจอเว็ปนี้ ความคิดเปลี่ยน

เลยอยากทราบว่าหากเมื่อถึงเวลานั้นขึ้นมาแล้วผมจะจัดพิธีกรรมแบบจีนแคะ ไม่ทราบว่าจะติดต่อได้ที่ไหน

ค่าใช้จ่ายกงเต็กเท่ากับแบบสากลทั่วไปหรือไม่ แล้วจะติดต่อได้ที่ไหนครับ (อะผ่อเดิมอยู่หาดใหญ่แต่ตอนนี้ อยู่อำเภอทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช)

เนื่องจากแถวนั้นส่วนใหญ่เป็นคนฮกเกี้ยน ครับ

อย่างไรขอเบอร์ติดต่อ ทางสมาคมฮากกา ที่ใกล้ที่สุด เพื่อจะได้สะดวก เมื่อถึีงเวลาที่เราทุกคนหนีไม่พ้น รบกวนด้วยครับ


เรียนคุณ ล้อกิมซือ1

ไหงต้องขออภัยด้วยที่จำเป็นต้องเรียนถามหงีตรงนี้ 
และขอเรียนผ่านไปถึงเวปมาสเตอร์ด้วย

เนื่องจากข้อเขียนของหงีที่โพสท์ลงวันนี้เมื่อเวลา ๑๙.๑๒ 
มีข้อความที่ทำให้เกิดความเสียหายกับบุคคลอื่น 
ซึ่งบุคคลนั้นได้ฝากผ่านเพื่อนของไหงมา 
จึงอยากถามว่า  หงีเขียนข้อความนี้เพื่อประสงค์สิ่งใด ?

เนื่องจากทำให้บุคคลอื่นที่เป็นบุคคลที่ ๓ เสียหาย หลังจากที่บุคคลนั้นได้สอบถามไปยังเบอร์ที่โพสท์ ข้อความในเวปก็ถูกลบไป

รูปภาพของ webmaster

ลบให้แล้วครับ

ได้ลบ คห. ให้แล้ว ตามความประสงค์ของผู้เขียน และผู้แจ้ง

ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ช่วยดูแล และเข้าใจซึ่งกัน และกันครับ

เรียนคุณ ล้อ กิม ซือ 1

ก่อนอื่นขอขอบคุณเวปมาสเตอร์ที่รับแจ้ง

 

แต่สิ่งที่เพื่อนของผมต้องการจริงๆ คือ คำขอโทษ

 

เพียงคำขอโทษเท่านั้น  ไม่ต้องการอะไรอื่น

 

ขอให้คุณ ล้อกิมซือ  หรือ ผู้ที่รู้จักได้ช่วยบอกให้ด้วย

 

ทำผิดรับผิด  แค่คำขอโทษ เชื่อว่าทุกคนอภัยให้ได้

 

และก็จะลืมเรื่องไม่ดีนั้นๆไป  ขอร้องเถอะ  ไม่ต้องแสดงตัวก็ได้

 

เพียงแค่ออกมากล่าวคำว่า  ขอโทษ  เรื่องก็จบ

แม่ชีแบบนี้ไหง่เคยเห็นมาแล้วครับ

ไหง่เคยไปปาดังเบซาร์ ที่ศาลาแป๊ะกง(คิดว่าชาวฮากกาหลายท่านที่เคยไปปาดังฯคงรู้จักครับ)

ก็เป็นงานศพของอาเจียผ่อไท้ของไหง่

และอีกครั้งที่ไหง่ไปก็เป็นงานศพของอาคิวกุงของไหง่ครับ ไหง่ก็เห็นแม่ชีเค้าก็ทำพิธี

แบบในภาพนี่แหละครับโดยมีการใส่เสื้อเป็นรุ่นเช่น ถ้าผู้ตายมีแค่รุ่นลูก ลูกก็ต้องใส่เสื้อดำ

ถ้าผู้ตายมีรุ่นหลานก็ให้ใส่เสื้อขาวทั้งงาน

ถ้าผู้ตายมีรุ่นเหลนก็ให้ใส่เสื้อเหลืองทั้งงาน(ตอนงานศพอาเจียผ่อไท้ไหง่แค่3ขวบแต่พอจำได้)

ถ้าผู้ตายมีรุ่นโหลนก็ให้ใส่เสื้อสีแดงทั้งงานครับ(อันสุดท้ายไหง่ไม่ค่อยแน่ใจเพราะไม่เคยเจอ)

มีการให้ลูกชายคนโตวิ่งไล่จับแม่ชีด้วยไหง่ไม่รู้ว่ามันเป็นขั้นตอนของพิธีกรรมอะไร 

แต่ถ้าวิ่งไล่แม่ชีไม่ทันจริงๆแม่ชีจะชะลอความเร็วให้เราจับ(ไม่รู้ว่าแม่ชีเหนื่อยรึเปล่า)

โดยหลังจากฝังผู้ตายแม่ชีจะใช้เปลือกหอย2อันมาทำพิธีเรียกวิญญาณเข้าบ้านกระดาษ

(อันนี้ไหง่ก็ยังไม่ชัวร์แต่เคยได้ยินมา)

ลืมบอกไปครับเสื้อที่ใส่ต้องเป็นเฉพาะญาติเท่านั้น

เวลาเดินกงเต๊ก ลูกคนโตถือกระถางธูป

ลูกคนรองถือเสื้อผู้ตายที่ผูกไว้กับ(ไม่แน่ใจว่าไผ่กวนอิมรึเปล่า) ลูกหลานที่เหลือก็แค่เดินตาม

นี่เป็นเพียงแค่เท่าที่ไหง่จำได้จากมันสมองอันน้อยนิดของไหง่นะครับ

ใครทราบจริงๆก็ช่วยแนะนำนะครับ

ที่บ้านผม

ลูก ลูกสะใภ้ หลานใน ใส่สีดำ

หลานนอกสีขาว ลูกเขยก้อใส่สีขาว

เหลนในสีเขียว เหลนนอกสีเหลือง

โหลนในสีแดง โหลนนอกสีน้ำเงิน

ช่ายยยๆๆแม่ชีจะมาทำพิธีที่บ้าน

จำได้วาแม่ชีจะสวดไหว้ข้าว(เพราะว่าให้พวกเรายกข้าวไหว้ส่งต่อกันที่ละคน) หลังจากนั้นก้อท่องอะรไม่รู้(คิดว่าน่าท่องเรียกวิญญาณ) แต่ที่ได้ยินชัดก้อคือชื่ออากุงเราชัดมาก แล้วก้อเอาที่เหมือนเปลือกหอยสองอันร้อยเหรียญไว้วนที่ธูปป้ายวิญญาณ แล้วก้อโยนตรงหน้าลูกชาย พอคว่ำอันหงายอัน แม่ชีก้อบอกว่า ไป่ซำ (กราบสามครั้ง)เป็นอันเส็ด จากนั้นก้อเอายันต์ที่แม่ชีให้มาติดที่หน้าบ้าน (บ้านผมอยู่สะเดา) 

ของคุณน่าจะถูกต้องครับ

ผมไปมาไม่กี่งานเอง

ญาติๆผมก็มาจาก สะเดา-ปาดังฯ-ทุ่งลุง ซะเยอะครับ

ที่สะเดากับปาดังฯญาติฝ่ายอาผ่อผมค่อนข้างจะเป็นที่รู้จักของคนที่นั่น

ผมไม่รู้ว่าชื่ออะไร แต่รู้ว่าเค้าซื้อเกณฑ์ทหารที่เขตสะเดาได้ เป็นเจ้าของที่ๆ

ห้างจากกรุงเทพห้างหนึ่งเคยจะมาขอ ซื้อที่มาลงทุน อีกท่านก็เป็นภรรยาของเจ้าของ

โรงแรมสาธิตที่ด่านนอกครับคือ อาหยี่ผ่อผมเอง

ส่วนเรื่องใส่สีอะไรนั้นคิดว่าที่คุณพูดมาคงจะถูกต้องที่สุดแล้วละครับ

คุณจุ้งฟะ

โรงแรมสาธิตเก่า หรือโรงแรมสาธิตใหม่ (สาธิตแกรนวิล)หรอคับ

หากเป็นโรงแรมสาธิตเก่า ลูกชายเขามีชื่อว่า พี่เนมช่ายป่ะคับ

โดยส่วนมากแล้วอ่ะผมมักจะขอที่บ้านไปงานศพเอง เพื่อที่จะไปดูกงเต็ก อากุง อาไท่ปักกุงผม ก้อเป็นคนมีชื่อเสียงในสะเดาด้วยอ่ะ อาปักผมอะ ชื่อว่า โกม่อย และ โกแอ่น (ปัจจุปัน ยี่ปักเสียแล้ว แม่ชีคลองแงะมาทำกงเต็ก)

ส่วนเรื่องสีการแต่งตัวอะคับ

พอดีว่าผมได้รื้อรูปถ่ายเก่าๆที่ถ่ายไว้ตั้งแต่งานอากุงไท่ ไล่ลงมาเรื่อยๆ ผมก้อคิดว่าน่าจะถูกต้องด้วยละคับ ได้ดูรูปถ่ายตอนเก่าๆ การแต่งตัวก้อเปลี่ยนไปเรื่อยๆตามยุคสมัย จำได้ดีเลยว่าตอนที่อากุงไท่เสีย ได้มีการตัดชุดกันเองด้วยผ้าดิบ ใส่ชุดผ้าดิบตลอดงานจนถึงสิ้นสุดการไว้ทุกข์ ตอนที่ไว้ทุกข์รองเท้าก้อให้ใส่แต่รองเท้าเกี๊ยะ ที่จำได้ไม่เคยลืมเลย มีอยู่รอบนึงตอนทำกงเต็ก แม่ชีให้ลอดใต้โลงศพ ซึ่งตอนนั้นผมยังเด็กอยู่เลยน่าจะอยู่สักประมานปสองได้ ร้องไห้ใหญ่เลย เพราะกลัวมาก แต่ตอนหลังพิธีนี้ได้หายไปแล้ว ตอนที่ฝัง ก้อเดินน่ะ ซึ่งตอนนั้นไว้ศพที่บ้านยังไม่มีศาลาฌาปนกิจเลย เดินตีนเปล่าจากบ้าน เวียนรอบตลาด แล้วก้อเดินต่อไปถึงเขาเล่สุสาน

เก่าหรือไม่ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ

รู้แต่ว่าเป็นโรงแรมหลังเขียวๆอ่ะ

ลูกชายชื่อ บอย กับแมน ยังหน้าตาไม่แก่เลย

แต่ตามศักดิ์ผมเรียก2คนนี้ว่าอาสุขครับ

อ่าผมจำได้แล้ว ญาติผมอีกคนที่สะเดา

ชื่อ สมถวิล ครับ

คุณจุ้งฟะ

หลังเขียวหรอ ผมขอไปดูก่อนน่ะเพระว่าจำไม่ได้เหมอ่นกัน

ห้าๆๆๆ

สมถวิลอ่ะช่ายชื่อนี้หรือป่าว เจ๊ออกะหรือป่าว น่าจะใช่น่ะ ลูกสาวเขาก้อคือพี่ชุ

อาสุข(รึเปล่า)กัมปนาท

คิดว่าน่าจะใช่นะครับ น่าจะมีสมถวิลเดียวที่ดังๆอยู่ในสะเดา หลานชายเค้าชื่อสตางครับ

ตอนเด็กๆผมไปบ้านของอาหยี่ผ่อสมถวิลหลายครั้งครับ

มีศาลาที่เคยเป็นร้านขายปลาอยู่หน้าบ้าน

เจ้าของร้านคืออาคิวกุงของผมเองเสียชีวิตไปได้ปีกว่าแล้วมั้งครับ ผมเองก็ไม่ได้สนิทกับ

อาหยี่ผ่อสมถวิลมากนะครับ เพราะเราเป็นญาติค่อนข้างห่างกันแล้ว แบบว่าเค้าเป็นลูกพี่ลูกน้อง

ของอาผ่อผมอีกทีนึง ตอนนี้ผมอายุ17จะ18แล้ว เค้าคงไม่รู้จักผม ผมเองก็จำหน้าเค้าไม่ได้แล้ว

แต่รู้จักกับป่าป๊าผมครับ

ใช่แล้วละคุณจุ้งฟ่ะ

ใช่เลยละคับ

ว่าแต่อายุเพิ่ง18เองหรอคับ

ผมว่าผมอ่อนแล้วน่ะเนี่ย ยังมีเด็กกว่าผมอีกหรอเนี่ย

ห้าๆๆๆๆๆ

ผม25คับ

พื่ น้องกันทั้งนั้น

เนื้องในวัน ขึ้นปีใหม่ ขอให้พี่ น้องชาวฮากกา จงมีแต่ความสุข ความเจริญ สุขภาพแข็งแรง สุขกาย สุขใจตลอดปี 2554 ทุกท่าม ทุกคนไป

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๔

ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ ๒๕๕๔

 

ขอส่งความปรารถนาดีสู่ทุกท่าน

 

ขอให้ประสบความสุข สำเร็จ ทุกประการ

 

ซิ้น เหนียน ฝัด ฉอย

รูปภาพของ อาคม

คุณกัมปนาท

แสดงว่า หงีเป็นหลาน หยุกฝ่าสุข อาปาหงี อาเหงี่ยน ใช่ไม๊ อางี่ปักแมหงีเป็นคนปั้นลู่เตี่ยม เซี่ยงพัน อาเงียดหยุงจี

คุณอาคม

คับผม ช่ายๆๆๆๆๆ อาหยกฟ่า กี่เป็นอาไท่ปักกุงผมเอง

อากุงผมชื่อว่า กุ้ยยิว อาแหย่นสุขเป็นอา คับ 

ส่วนอาปักแมช่ายเลย เป็นคน ปอลู่เตี่ยม อาเยียดหยุง ถูกต้องเลยคับ

ถูกต้องเลย

บ้านไหงก้อแบบนี้เลย

พูดแล้วก้อนึกถึงตอนที่แม่ชีคลองแงะร่ายรำดอกไม้ทดแทนคุณ สวยมากๆๆ

พร้อมเพียงกัน มือไม้อ่อน ขอชมเลยคับว่าแม่ชีคลองแงะ สวยงามจิงๆ ทุกสิงทุกอย่างเป็นระเบียบพร้อมเพียงตลอดเริ่มงานจนเส็ดงานเลยคับ

รูปภาพของ นายวีรพนธ์

พิธีกรรมกงเต็ก

พิธีกงเต็ก

 


พิธีสวดมนต์สาธยายพระสูตร อุทิศส่วนบุญกุศลให้ผู้ล่วงลับ(กงเต็ก)

ผู้คนในยุคปัจจุบันมักจะมีคำถามมากมาย เกี่ยวกับการจัดงานศพที่ต้องนิมนต์พระสงฆ์มาประกอบพิธีกงเต็กว่า ทำกงเต็กเพื่ออะไร? ลูกหลานจะได้อะไร? ผู้ล่วงลับจะได้รับผลบุญจริงหรือ? และคำถามอีกมากที่ยังไม่มีคำตอบให้กับบรรดาลูกหลานที่เป็นเจ้าภาพจัดงาน ก็ขอถือโอกาสนี้อธิบายพอสรุปเพื่อความกระจ่างดังนี้

ตามความเชื่อหรือประเพณีนิยมของคนจีนโบราณส่วนใหญ่ว่า เมื่อมีผู้ล่วงลับลงภายในระยะเวลา 49 วัน จะต้องประกอบพิธีกงเต็กเพื่ออุทิศผลแห่งบุญกุศลนี้ให้กับผู้ล่วงลับ ซึ่งถือว่าเป็นบุญที่มีอานิสงส์มากเหตุผลเพราะในการประกอบพิธีกงเต็กนั้นต้องอัญเชิญปวงพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งหลายเสด็จมายังมณฑลพิธีเพื่อเป็นประธานในพิธีและเป็นสักขีพยานในการสวดสรรเสริญและสวดสาธยายพระสูตรต่างๆ ซึ่งจะมีเสียงอันไพเราะที่เกิดจากเครื่องดนตรีประโคมในขณะสวดสาธยายพระสูตร จากการประกอบพิธีนั้น เรียกกันว่า (ธรรมคีตา)
การทำพิธีกงเต็ก เป็นการอุทิศผลแห่งบุญกุศลที่ลูกหลานพร้อมใจกระทำเพื่อผู้ล่วงลับเป็นครั้งสุดท้าย แสดงถึงความกตัญญูรู้คุณรำลึกถึงพระคุณของผู้ล่วงลับที่มีต่อลูกหลานญาติมิตร ผลแห่งบุญที่อุทิศให้ผู้ล่วงลับจะถึงหรือไม่จะได้บุญมากหรือบุญน้อยก็ขึ้นอยู่กับความศรัทธาและความตั้งใจจริงในการทำบุญกุศลนั้นของลูกหลานญาติ มิตร อานิสงส์ใดๆก็ตามที่เกิดจากการทำบุญกุศลทุกๆประการจะจับต้องเป็นรูปธรรมมิได้ แต่จะสัมผัสได้จากความรู้สึกทางจิตใจเกิดมีปิติ มีความอิ่มใจ รับรู้ได้ถึงผลของการทำบุญกุศลนั้น แต่สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งที่จับต้องได้และมองเห็นชัด คือ ปัจจัยที่เจ้าภาพได้ถวายให้กับพระคุณเจ้าผู้ประกอบพิธีกงเต็กได้ถูกนำไปทำนุบำรุงพระศาสนา วัดวาอาราม เสนาสนะ และใช้เป็นสิ่งจำเป็นในการอุปโภค บริโภค สำหรับพระภิกษุสงฆ์เพื่อให้ท่านดำรงสมณะเพศอยู่ได้ จะได้เป็นกำลังสำคัญอย่างยิ่งที่จะจรรโลงเผยแผ่พระธรรมและสืบต่อพระพุทธ-ศาสนาให้คงอยู่ต่อไปในภายภาคหน้า

บทสรุปสุดท้าย ของการประกอบพิธีกงเต็กที่มองเห็นได้ชัดเจน คือ ได้สืบทอดธรรมเนียมประเพณีเก่าแก่ของคนจีนโบราณไว้ให้ชนรุ่นหลังได้เรียนรู้ ได้ภาคภูมิใจในวัฒนธรรมอันดีงามของบรรพชน เป็นมรดกตกทอดสู่คนรุ่นใหม่ เพื่อมิให้เสื่อมสิ้นสูญหายไปกับกาลเวลาให้ผู้คนในยุคปัจจุบันได้ตระหนักและรักษาไว้ให้คงอยู่สืบต่อไป
พิธีกงเต็ก เป็นพิธีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ถือเป็นประเพณีอันเก่าแก่สืบทอดมาแต่โบราณของชาวจีน อันแสดงให้เห็นว่า ชาวจีนนั้นเป็นชนชาติหนึ่งในโลกที่มีความกตัญญูกตเวทีสูงมาก เมื่อผู้มีพระคุณเสียชีวิตลงในขณะที่ตนเองรู้สึกว่ายังมิได้ปฏิบัติตนตอบแทน พระคุณให้เพียงพอ จึงจัดนิมนต์พระสงฆ์มาประกอบพิธีกงเต็ก เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ

ความเป็นมาของพิธีกงเต็ก

พิธีกงเต็ก เป็นพิธีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ถือเป็นประเพณีอันเก่าแก่สืบทอดมาแต่โบราณของชาวจีน อันแสดงให้เห็นว่าชาวจีนนั้นเป็นชนชาติหนึ่งในโลกที่มีความกตัญญูกตเวทีสูงมาก เมื่อผู้มีพระคุณเสียชีวิตลงในขณะที่ตนเองรู้สึกว่ายังมิได้ปฏิบัติตนตอบแทนพระคุณให้เพียงพอ จึงจัดนิมนต์พระสงฆ์มาประกอบพิธีกงเต็ก เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับ


คำว่า (กงเต็ก) นี้ เป็นคำสองคำรวมกัน คือ

1.คำว่า กง ในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน หมายถึง การกระทำในสิ่งที่ถูกที่ชอบที่เป็นประโยชน์ แทนวิญญาณผู้มรณะเพื่อประสบความสุขความสบาย และผลแห่งศีลที่วิญญาณได้รับต่อหน้าพระพุทธปฏิมากร กับผลแห่งการถวายพระพุทธบูชา ทั้งผลแห่งไทยทานที่ได้บริจาคแก่ปวงภูต,ปีศาจ, เปรต,อสุรกายใหญ่น้อย และมนุษย์อันไร้ที่พึ่งเหล่านี้ จะบังเกิดบุญราศีกับทางสุคติแก่วิญญาณผู้มรณะ
2.คำว่า เต็ก ในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน หมายถึง กุศลกรรมอันเกิดจากกรรมดีงามอำนวยทิตานุหิตประโยชน์ (ประโยชน์จากการเกื้อกูลใหญ่น้อย) น้อมอุทิศให้แก่วิญญาณผู้มรณะบรรลุถึงปัตตานุโมทนา (การโมทนาส่วนบุญที่ผู้อื่นให้) และด้วยเดชะอำนาจกับบารมีแห่งคุณพระรัตนตรัย และอานุภาพแห่งทวยเทพที่ศักดิ์สิทธิ์ จะดลบันดาลให้บรรลุถึงความสุขสังคโยคกับบุญญานุภาพแก่วิญญาณผู้มรณะ

เบื้องต้นแห่งการมีพิธีกงเต็ก
เบื้องต้นแห่งการมีพิธีกงเต็กในพระคัมภีร์สูตรมีกล่าวไว้ด้วยกันหลายเรื่อง ดังจะยกมาเป็นอุทาหรณ์เพียง 2 เรื่อง ดังต่อไปนี้
เรื่องที่หนึ่ง
ในสมัยพระพุทธกาล มีบุตรเศรษฐีคนหนึ่งในกรุงสาวัตถีได้กระทำมาตุฆาต (คือ ฆ่ามารดา) ในขณะโทษะจริตครอบงำ ครั้นรู้สึกตัวเกรงกลัวต่อบาปกรรมจึงได้ไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุเพื่อล้างบาป ในระหว่างบวชเป็นพระภิกษุอยู่นั้นได้หมั่นสวดมนต์ภาวนาขอลุแก่โทษตลอดเวลา ต่อมาไม่ช้าพระภิกษุองค์นั้นก็ถึงแก่มรณภาพลงกรรมชั่วที่ได้ประกอบไว้แต่หนหลังได้นำวิญญาณของเขาไปทนทุกข์ทรมานอยู่ในนรก ภายหลังยังมีพระภิกษุอีกรูปหนึ่งซึ่งเป็นศิษย์ของพระภิกษุที่มรณภาพไปอยู่ในนรก เมื่อได้ฌาณสมาบัติแล้วเล็งฌาณไปเห็นอาจารย์ของตนกำลังทนทุกข์เวทนาอยู่ในอเวจีชั้นลึก ก็เกิดความสงสารจึงประกอบพิธีกงเต็กขึ้น อัญเชิญวิญญาณของอาจารย์มายังพิธีขอขมากรรมต่อพระศรีรัตนตรัยกับทำบุญถวายแด่พระพุทธ, พระสงฆ์, ทำทานแก่มนุษย์ไร้ที่พึ่ง, แก่สัตว์โลกใหญ่น้อยต่างๆ อุทิศไทยทานแก่บรรดาภูต, ปีศาจ และเปรตในนรก แล้วแผ่บุญกุศลให้แก่วิญญาณอาจารย์ การบำเพ็ญกุศลใน พิธีกงเต็ก นี้ ให้บังเกิดผลแก่วิญญาณของอาจารย์ได้หลุดพ้นจากกองทุกข์ในอเวจีไปสู่สุคติ

 


เรื่องที่สอง
ในสมัยราชวงศ์เหลียง อันมี “ พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ ” ครองราชย์เมื่อ พ.ศ.1450 พระองค์ทรงนับถือพระพุทธศาสนามาก ทรงปฏิสังขรณ์และทำนุบำรุงวัดวาอารามทั่วแผ่นดิน ทรงเจริญพระพุทธมนต์ทั้งเช้าและค่ำเป็นกิจวัตร ส่วนพระนาง “ ฮูฮองเฮา ” ทรงเกลียดชังพระพุทธศาสนาถึงกับครั้งหนึ่งได้นำเอาพระคัมภีร์ของพระสวามีไปเผาทิ้ง ครั้นพระนางสิ้นพระชนม์ลง กรรมชั่วนั้นให้ผลแก่วิญญาณพระนางไปเป็นงูอยู่ในอบายภูมิ วันหนึ่งงูตัวนี้ได้มาปรากฏตัวในพระสุบิน (เข้าฝัน) ต่อหน้าพระพักตร์พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้ พรรณนาเล่าถึงความชั่วที่ได้กระทำไปเมื่อยังมีชีวิตอยู่ บัดนี้ได้มารับการทรมานอยู่ในนรกและรู้สำนึกผิดแล้ว จึงทูลขอพระกรุณาต่อพระสวามีช่วยพระนางให้หลุดพ้นจากกองทุกข์ครั้งนี้ด้วย พระเจ้าเหลียงบู๊ตี้จึงนิมนต์ท่านพระอาจารย์จิกง ผู้เป็นพระภิกษุอาวุโสและถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดมาประกอบพิธีกงเต็ก อุทิศบุญกุศลให้แก่พระนางไป ต่อมาไม่ช้าพระนางได้มาเข้าฝันพระสวามีและกราบทูลว่าเธอได้หลุดพ้นจากการเป็นงูไปสู่สุคติแล้ว ในพระสูตรมีอรรถอธิบายดังนี้ ฉะนั้น การกระทำพิธีกงเต็กบำเพ็ญกุศลแก่วิญญาณผู้ที่ล่วงลับไป จึงได้ปฏิบัติกันต่อๆมาทั่วประเทศจีนตราบเท่าทุกวันนี้

การเตรียมงาน
1. ติดต่อ ซินแส หรืออาจารย์ (กรณีที่ต้องการให้มีการดูวันดี)หรือติดต่อวัดในสังกัด คณะสงฆ์จีนนิกาย
2. ติดต่อเขตที่ผู้ตายอาศัยอยู่เพื่อออกใบมรณะบัตร
3. ติดต่อร้านโลงศพ เกี่ยวกับเรื่องโลงศพ พิธีบรรจุศพ การเคลื่อนศพ ฯลฯ
4. นิมนต์พระ เพื่อสวดใบพิธีบรรจุศพ (นิมนต์พระจีน 1-3 รูปทำพิธีบรรจุศพลงโลงและตอกโลง พร้อมจูงศพไปวัด)
5. ติดต่อวัดเพื่อจัดสวดพระอภิธรรม
6. ติดต่อสมาคมจีนเพื่อให้ทางสมาคมช่วยในการดำเนินพิธีการต่างๆ
7. ติดต่อคนรับจัดของเซ่นไหว้ (สามารถจัดการเองได้)
8. ติดต่อพระเรื่องฝังศพ เพื่อสวดมนต์ในระหว่างพิธีฝังศพ (งานฝังนิมนต์พระจีน 1-3 รูปจูงศพ)
9. ติดต่อสุสานที่ต้องการจะนำศพไปฝังหรือติดต่อทางวัดในกรณีเผา
10. ติดต่อของว่างหรืออาหารในระหว่างสวดพระอภิธรรมศพ 7 วัน

( หมายเหตุ ) ในการเตรียมงานกงเต็กหากท่านไม่มีความรู้ให้ติดต่อวัดในสังกัดคณะสงฆ์จีนนิกาย ได้ที่นี่

การเตรียมของให้สำหรับผู้ตาย
เมื่อญาติผู้ใหญ่เสียชีวิตลง สิ่งที่ลูกหลานจะต้องเตรียมมีดังต่อไปนี้
1. ผ้าคลุมศพ หรือ ทอลอนีป๋วย (หาซื้อได้ที่วัดจีนทุกวัด)
2. ใบเบิกทาง หรือ อวงแซจิ้ (หาซื้อได้ที่วัดจีนทุกวัด นิยมซื้อเป็นชุด คือ 1 ลัง ใช้ทั้งงาน)
3. ภาพของผู้ตายใส่กรอบสำหรับตั้งหน้าโลงศพ
4. ของใช้ส่วนตัว เช่น
4.1 เสื้อผ้าเย็บกระเป๋าทุกใบแบบไม่มีปม (ให้เลือกชุดที่ผู้ตายชอบ)
4.2 รองเท้า
4.3 ไม้เท้า (ถ้ามี)
4.4 แว่นตา (ถ้ามี)
4.5 ฟันปลอม (ถ้ามี)
5. ดอกบัว 3 ดอก
6. ยอดทับทิม
7. เอกสารประจำตัวผู้ตาย เช่นบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน เพื่อออกในมรณะบัตร
8.. เตี๊ยบ (มีเฉพาะของผู้หญิง เป็นเสมือนใบประวัติของผู้ตาย ส่วนใหญ่จะประมูลได้มาจากพระพุทธบาท สระบุรี)

เครื่องแต่งกายของลูกหลานในงาน
ลูกชาย หมายถึง ลูกชายของผู้ตายทั้งหมดและรวมหลานชายคนแรกที่เกิดจากลูกชายคนโต
• หมายเหตุ หลานชายคนแรกที่เกิดจากลูกชายคนโต ถือว่าเป็นลูกคนสุดท้ายของผู้ตาย
• ใส่ชุดผ้าดิบด้านใน
• ชุดกระสอบ ประกอบด้วย

1. เสื้อ
2. หมวกทรงสูง
3. เชือกคาดเอวที่มีถุงผ้าเล็กๆ ห้อยไว้
4. ไม้ไผ่ (เสียบไว้ที่เอว)

 


• หมายเหตุ ไม้ไผ่เปรียบเสมือนคบเพลิง เพื่อส่องทาง และ ป้องกันอันตรายขณะเดินทางไปฝังศพ

ลูกสาวที่แต่งงานแล้วและลูกสะใภ้

• ใส่ชุดผ้าดิบด้านใน
• ชุดกระสอบ ประกอบด้วย
1. เสื้อ
2. กระโปรง

3. หมวกสามเหลี่ยม
4. เชือกคาดเอวที่มีถุงผ้าเล็กๆ ห้อยไว้ (กรณีของคนที่ตั้งท้อง จะไม่ใช้เชือกคาดเอวคาดไว้แต่ให้ผูกถุงเล็กๆไว้ที่ด้านขวาของ ชุดกระสอบบริเวณเอว)

ลูกสาวที่ยังไม่แต่งงาน
• ใส่ชุดผ้าดิบด้านใน
• ชุดกระสอบ ประกอบด้วย
1. เสื้อ
2. หมวกสามเหลี่ยม
3. เชือกคาดเอวที่มีถุงผ้าเล็กๆ ห้อย

ลูกเขย

• ใส่ชุดเสื้อผ้าสีขาว
• ผ้าผืนยาวสีขาวสำหรับพันรอบ เอว และเหน็บชายผ้าทั้งสองข้างไว้ข้างเอว (คล้ายๆ ชุดในหนังจีน)
• หมวกเหมือนลูกชายแต่เป็นสีขาว



หลาน


• กรณีที่เป็นหลานใน (ลูกของลูกชาย) หมวกจะเป็นสีขาว

• กรณีที่เป็นหลานนอก (ลูกของลูกสาว) หมวกจะเป็นสีน้ำเงิน

• กรณีที่เป็นเหลนใน (หลานของลูกชาย) หมวกจะเป็นสีฟ้า
• กรณีที่เป็นเหลนนอก
(หลานของลูกสาว) หมวกจะเป็นสีชมพู

 


รูปแบบการทำพิธีกงเต๊ก

การประกอบพิธีกงเต็กนั้น จะต้องจัดสถานที่ให้เป็นปรัมพิธี หรือ ห้องพิธี สมมุติเป็นมณเฑียรเสมาพระพุทธจักร มีโต๊ะประดิษฐานพระรูปของพระศากยมุนีพุทธเจ้า, พระอมิตาภพุทธเจ้า, พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า, พระมัญชุศรีโพธิสัตว์, พระสมันตภัทรโพธิสัตว์, พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์, พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ ประดับด้วย เครื่องสักการบูชาพร้อมมูล มีพระภิกษุเข้าประจำพิธี

แบ่งได้ สามแบบ คือ พิธีของคนกวางตุ้ง และ พิธีคนแต้จิ๋ว พิธีคนแคะ

1. แบบพระสงฆ์เป็นผู้ทำพิธี ซึ่งถ้าต่างคณะสงฆ์ก็มีรายละเอียดต่างกันชัดเจน อีกทั้งพระสงฆ์จีน นั้นก็รูปแบบแตกต่างกันขอยกตัวอย่าง ของกงเต็กแบบพระจีน
1.1 กงเต็กแบบแต้จิ๋ว
1. แบบคนตายผู้ชาย จะไม่มีพิธีกินน้ำแดง แต่จะสวดสาธยายพระสูตรต่าง ๆ แทน
2. แบบคนตายผู้หญิง จะมีพิธีน้ำแดง พิธีกินน้ำแดง เป็นการสอนเรื่องความกตัญญู เลือด หรือน้ำแดง ที่ลูกหลานดื่ม นั้นคือน้ำนมจากแม่
1.2 กงเต็กแบบคนกวางตุ้ง กวางตุ้งจะมีพิธีแตกต่างกัน สังเกตง่าย ๆ คือผ้าโพกหัวจะเป็นสีขาว ไม่ใส่เสื้อกระสอบ และจะต้องมีพิธีโยคะตันตระ พิธีเปิดประตูนรก
2. แบบคนธรรมดาประกอบพิธี เป็นผู้ชายสวมชุดพระจีนสีขาว
3. แบบกงเต๊กจีนแคะ เป็นนางหรือ "ชี" ทำพิธี แต่ไม่ใช่นางชีโกนหัวและพระจีนแคะ

ขนาดในการทำพิธีกงเต๊ก



ขนาดในการทำพิธีกงเต๊กจะใหญ่ หรือเล็กขึ้นอยู่กับจำนวนพระที่นิมนต์มาสวด ถ้าเป็นกงเต๊กใหญ่จะต้องนิมนต์พระมาสวด 5 รูป ขึ้นไปอาจเป็น 5, 7, 9 หรือ 11 รูป หรือ 21 รูป ก็ได้

ช่วงเวลาในการทำพิธี
พิธีกรรมงานกงเต๊กจะแบ่งออกเป็น 3 แบบช่วงเวลา

วัน-คืน เริ่มเวลา 9.00-22.00
ครึ่งวัน-ครึ่งคืน เริ่มเวลา 13.00-22.00
ครึ่งคืน เริ่มเวลา 16.00-22.00

โดยทางวัดจีนส่งคนมาจัดสถานที่และเตรียมสิ่งของแต่เช้าตรู่ ก่อนเริ่มพิธีร้านทำกระดาษกงเต๊กจะเอาของมาส่งให้ ลูกหลานตรวจนับรับของให้เรียบร้อย แล้วจัดการเอากระดาษทองกระดาษทอง ที่เตรียมไว้มากมายล่วงหน้า ใส่ในบรรดาของกงเต๊กชนิดต่างๆ ให้มากที่สุด ซึ่งกระดาษเงินกระดาษทองจะมี 3 แบบด้วยกันคือ
1. แบบตั่วกิม หรือจะเรียกว่าค้อซีก็ได้ เป็นกระดาษเงินกระดาษทองแบบแผ่นใหญ่ ลูกหลานเอามาพับเป็นแบบยาว ๆ แหลม ๆ
2. แบบกิมจั้ว เป็นกระดาษเงินกระดาษทองแบบแผ่นเล็ก ลูกหลานเอามาม้วนกลม ๆ แล้วปิดหัวท้ายให้แหลม ๆ
3. แบบทองแท่งสำเร็จรูป เรียกว่า กิมเตี๊ยว

รูปแบบพิธีกงเต็ก


ช่วงเตรียมของกงเต๊กนี้ พระจีนจะเป็นผู้เขียน "ใบส่งของ" ให้เหมือนเป็นการจ่าหน้าซองจดหมาย เพื่อให้รู้ว่าผู้รับของคือใคร ผู้ส่งคือใคร ใบกระดาษบอกชื่อผู้ส่งผู้รับนี้ ต้องปิดบนของกงเต๊กทุกชิ้น เช่นเดียวกับที่ลูกหลานต้องเอาเสื้อของผู้ตาย เลือกตัวที่ผู้ตายชอบมากที่สุดเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ตายน่าจะจำลายผ้าได้เนื่องจากเสื้อผ้าจะต้องถูกตัดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เพื่อแปะติดไปกับของทุกชิ้น เพื่อที่ผู้ตายจะได้รู้ว่ากองของกงเต๊กที่เผาไปนี้เป็นของท่านและเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นมาเอาของผิดกองเช่นกัน เพราะแต่ละวันแต่ละวัดจะมีพิธีกงเต๊กซ้อนกันหลายงาน จากนั้นพระจะประจำที่เพื่อเริ่มพิธีสวดมนต์ต์ ลูกหลานจะใส่ชุดกระสอบเต๊กชุดใหญ่ นั่งประจำหน้าที่พระพุทธ ลูกชายนั่งหน้าสุด ลูกสะใภ้ลูกสาวนั่งแถวสอง ชั้นเขยและชั้นหลานนั่งแถวหลังตามมา ที่เบื้องหน้าลูกชายมี ม้ากงเต๊ก

รายละเอียดลำดับการประกอบพิธีกงเต็ก

พิธีเริ่มด้วยการเปิดกลอง (บรรเลง 3 ธง) ปี่พาทย์มโหรีบรรเลงรับพระสวด ประสานมนต์ที่หน้าพระพุทธ และพระโพธิ์สัตว์ พิธีกรรมช่วงนี้ เรียกง่าย ๆ ว่า สวดเปิดมณฑลสถาน คืออัญเชิญพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์เจ้าทั้งหลายมาเป็นสักขีพยานในการประกอบพิธีให้บังเกิดความศักดิ์สิทธิ์และเป็นสิริมงคล ในช่วงระหว่างพิธีสวด หลังจากที่พระอ่านเอกสารเรียกว่าฎีกา (ภาษาจีนรียกส่อบุ่ง)ที่ระบุ ชื่อผู้ตาย ที่อยู่ที่เมืองจีน ที่อยู่เมืองไทยบ้านเลขที่ ซอย ถนน เวลาเกิด เสีย ของผู้ตาย และบรรดาชื่อลูกหลาน และระบุว่า ในขณะนี้กำลัจะประกอบพิธีใดที่ไหน เวลาอะไร แล้วก็จะนำเอาฎีกานั้นมาใส่ที่ม้ากงเต๊กพร้อมด้วยการทำพิธีที่ม้า ท่านจะเอาธูป 3 ดอก และเทียนเล่มหนึ่งมาเขียนยันต์ที่หัวม้า พร้อมสวดคาถา และพรมน้ำมนต์จากถ้วยเล็ก ๆ ด้วยนิ้วอย่างมีลีลาน่าดู แล้วใช้ใบทับทิมพรมตามอีกที จากนั้นพระจะสั่งให้ลูกชายคนโตยกม้ากงเต๊กขึ้นจบเพื่อให้เจ้าหน้าที่นำไปเผา ระหว่างพิธีตอนนี้พระรูปอื่นก็ยังสวดมนต์ต์อยู่




หลังจากสวดมนต์ต์เปิดมณฑลสถานเสร็จพระสงฆ์จะพาลูกหลานมายังหน้าโต๊ะไหว้ผู้ตาย(เลงไจ้ ที่สถิตย์ของวิญญาณ)เพื่อทำพิธีสวดเชิญวิญญาณของผู้ตามให้มาร่วมพิธี ในระหว่างที่สวด พระสงฆ์จะทำการเปิดรัศมี (ไคกวง) โคมวิญญาณซึ่งมีชื่อผู้ตายและเสื้อผ้าของผู้ตายสวมอยู่ กระถางธูปหรือป้ายวิญญาณ รูปถ่าย ของผู้ตาย เพื่อให้ป็นที่สถิตย์แห่งวิญญาณของผู้ตาย

หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่จะก็นำบรรดาของไหว้คือ
1. ข้าว 1 ชาม
2. เหล้า 1 แก้ว
3. น้ำชา 1 แก้ว
4. กับข้าว 3 อย่าง
5. ซาแซ 1 ชุด (หมู ไก่ เป็ด ปลา ตับ)
6. ผลไม้ 5 อย่าง
7. ชกก๊วย 1 อัน สีขาว และให้ลูกหลานจบถวาย เมื่อพระสวดเสร็จ ลูกหลานกราบพระ 3 ครั้ง

พิธีเชิญวิญญาณผู้ตายมาร่วมพิธีชำระดวงวิญญาณ(มก-ยก)

มักทำในช่วงบ่ายโมง พระและลูกหลานย้ายมาที่บริเวณหน้าศพ มีการนำห้องน้ำกงเต๊กมาวาง ภายในห้องน้ำมีอ่างขาวใส่น้ำสะอาด และผ้าขนหนูสีขาว ขั้นแรก พระสงฆ์จะสวดเจริญพุทธมนต์เชิญดวงวิญญาณมาร่วมในพิธีและอ่านฎีกา เพื่อขอนำวิญญาณผู้ตายมายังสถานที่ประกอบพิธี

หลังจากนั้นจะนำฎีกา ใส่ยังนกกงเต๊ก ให้ลูกชายยกขึ้นใหว้ แล้วเจ้าหน้าที่เอาไปเผา และยกโคมวิญญาณมาให้พระท่านถือไว้ถูกย้ายมาตั้งด้านหน้า พิธีกรรมในช่วงนี้คือ การสวดเชิญวิญญาณมาเข้าพิธี


ต่อมาเจ้าหน้าที่จะเอาเสื้อผ้ากงเต๊กมาให้ลูกชายไหว้ เพื่อเอาไปเผา หลังจากพระสวดไปได้ครู่หนึ่ง เจ้าหน้าที่จะเชิญ ลูกชายคนโต มาเชิญกระถางธูปหรือป้ายวิญญาณ(ในกรณีธรรมเนียมกวางตุ้ง) ไปยังห้องน้ำ

พระสงฆ์จะสวดมนต์และทำน้ำพระพุทธมนต์ ให้เจ้าหน้าที่นำไปประพรม กระถางธูปหรือป้าย พร้อมกับเทน้ำพระพุทธมนต์ส่วนหนึ่งลงไปในอ่างน้ำที่เตรียมไว้ หลังจากนั้น พระสงฆ์จะสวดมนต์ครู่หนึ่ง เจ้าหน้าที่ก็จะให้ลูกคนโตเชิญกระถางธูปมายังโต๊ะที่พระสงฆ์สวดมนต์ต์อยู่ เพื่อให้พระสงฆ์ทำการประพรมน้ำพระพุทธมนต์อีกครั้ง

จากนั้นพระสงฆ์จะนำลูกหลานเดินไปยังหน้าปะรำพระพุทธ โดยลูกชายคนโตจะเชิญกระถางธูป และลูกชายคนรองถือโคมวิญญาณตามไปด้วย แล้วพระสงฆ์จะสวดขอขมากรรมแทนผู้ตาย ในช่วงนี้ลูกหลานจะต้องกราบพระแทนวิญญาณผู้ตาย

หลังจากนั้น พระจะพาเดินกลับไปยังหน้าโต๊ะผู้ตายอีกครั้ง เพื่อเชิญกระถางธูปกลับที่ เป็นอันจบพิธี ซึ่งในพิธีมีความหมายเพื่อชำระอกุศลกรรมขอผู้ตาย ที่ในช่วงที่มีชีวิตอยู่อาจได้กระทำกรรมใดไว้โดยตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ บันนี้ลูกหลายของผู้ตาย อาศัยความกตัญญูขอขมากรรมเหล่านั้นแทนท่าน เมื่อเสร็จพิธี ลูกสะใภ้จะถูกตามตัวให้ยกอ่างน้ำในห้องน้ำกงเต๊กไปเททิ้งตามธรรมเนียมที่ลูกสะใภ้ต้องปรนนิบัติพ่อแม่สามี ถ้าไม่มีสะใภ้ก็เป็นหน้าที่ลูกสาวไปแทน
เมื่อเสร็จพิธี ลูกสะใภ้จะถูกตามตัวให้ยกอ่างน้ำในห้องน้ำกงเต๊กไปเททิ้งตามธรรมเนียมที่ลูกสะใภ้ต้องปรนนิบัติพ่อแม่สามี ถ้าไม่มีสะใภ้ก็เป็นหน้าที่ลูกสาวไปแทน

พิธีไหว้บรรพบุรุษ ของไหว้ประกอบด้วย

1. ข้าวสวยและตะเกียบ
2. เหล้าขาว 1 ขวด
3. น้ำชา
4. กับข้าว 5 อย่าง แบ่งเป็น 10 ชุด
5. ซาแซ 1 ชุด
6. ผลไม้ 5 อย่าง 1 ชุด
7. ฮกก๊วยสีแดง 1 อัน
8. อั่งถ่อก๊วย 12 อัน
9. ส้ม 24 ใบ
10. ขนมจันอับ 1 กิโลกรัม

ที่ปักธูปชุดที่ 1 วางกลาง คือชุดปักธูปไหว้อากง - อาม่า หรือบิดามารดา
ที่ปักธูปชุดที่ 2 อยู่ขวา เป็นชุดปักธูปไหว้พ่อตาแม่ยายของคุณพ่อ มีคำจีนเรียกว่า หวั่วกงหวั่วม่า
ที่ปักธูปชุดที่ 3 ตั้งทางซ้าย เป็นชุดปักธูปไหว้พี่น้องของคุณพ่อที่เสียชีวิตไปแล้ว

พระทำพิธีสวดมนต์ จนถึงตอนที่ลูกหลานต้องทำการไหว้ อาหารให้บรรพบุรุษ เมื่อไหว้สำรับกับข้าวบนโต๊ะแล้ว ก็ตามด้วยการไหว้กระดาษเงิน กระดาษทองการไหว้หีบเสื้อผ้าให้บรรพบุรุษ ซึ่งจำนวนหีบเสื้อผ้านั้น จะไม่ถูกกำหนดไว้ตายตัว โดยจะนับตามจำนวนของลูกใน คือคนในแซ่ จึงได้แก่ฝ่ายชายและสะใภ้ส่วนลูกนอกคือลูกสาวถือว่าแต่งงานไปแล้วใช้แซ่อื่น คือไปเป็นคนในตระกูลอื่นก็จะไม่ไหว้และไม่ฝากหีบเสื้อผ้าไปให้ แต่ถ้าบ้านใดรู้สึกผูกผันอยากไหว้ ก็ไม่ใช่ว่าผิด แต่การไหว้หีบเสื้อผ้าให้ก็ต้องเสียสตางค์ซื้อมา ถ้าเราอยากเสียเงินเพิ่ม ก็เป็นสิทธิของเรา

พิธีบูชาพระเจดีย์


ในพิธีนี้ พระสงฆ์สวดมนต์นำดวงวิญญาณผู้มรณะเดินเวียนประทักษิณรอบพระเจดีย์ (ผู้หญิงใช้สระอโนดาตหรือสระบัวแทน) เป็นการแสดงความเคารพบูชาพระเจดีย์และพระพุทธองค์ พระพุทธศาสนา ถือว่า พระเจดีย์เป็นสังเวชนียสถาน เป็นสิ่งที่ควรแก่การเคารพบูชากราบไหว้ เป็นตัวแทนของพระบรมศาสดาดุจเดียวกับพระพุทธ

ความหมายของพิธี
นี้ คือ เป็นเครื่องเตือนใจพุทธศาสนิกชนให้ระลึกถึงคุณงามความดีของพระศาสดาที่มีแก่ เหล่าเวไนยสัตว์ เป็นเครื่องมือช่วยให้พุทธบริษัทเจริญพุทธานุสติได้ง่ายขึ้น คิดเจริญรอยตามพระพุทธองค์ ระลึกถึงพระคุณพระรัตนตรัยเป็นอารมณ์แล้วจะได้สั่งสมบุญกุศลบารมี

พิธีการข้ามสะพานกงเต็ก

พิธีกรรมข้ามสะพานของลูกหลาน
คือการที่พระสงฆ์จีนพาดวงวิญญาณมาส่งยังเขตแดนสวรรค์ โดยมีลูกหลานกตัญญูตามมาส่งด้วยนั่นเอง ส่งเสร็จก็ข้ามกลับโดยทุกครั้งที่ข้ามสะพานลูกหลานทุกคนต้องโยนเหรียญสตางค์ลงในอ่างน้ำ ประหนึ่งเป็นการสอนให้ลูกหลานรู้ว่าเงินทอง ชื่อเสียง ไม่สามารถนำติดตัวไปได้แม้เหรียญสตางค์เรายังต้องโยนลงอ่างน้ำ แต่จะมีข้อสำคัญว่า ถ้าลูกหลานที่เป็นผู้หญิงใครมีประจำเดือนจะไม่ให้ข้ามสะพานก่อนเริ่มพิธีลูกชายคนโตจะถูกต้องไปไหว้บูชาสะพานไหว้ธูป 2 ดอก ขนม และกระดาษเงินกระดาษทอง

พิธีเริ่มจากการสวดมนต์ของพระจีนที่หน้าหน้าศพ สวดจนได้จังหวะของบทตอน พระทั้งหมดก็จะเดินขบวน โดยมีลูกชายคนโตถือกระถางธูป ลูกรองลงมาจะเป็นผู้ถือโคมวิญญาณ โดยจะไล่ตามศักดิ์ และอาวุโส ลูกในที่นี้คือลูกชายนำหน้า ลูกชายคนโตคือหัวขบวน ตามด้วยลูกชายคนต่อ ๆ มา ถ้าลูกชายคนโตมีลูกชายตามศักดิ์แล้วลูกชายคนโตของลูกชายคนโตเท่านั้น ก็จะมาต่อท้าย เป็นลูกชายคนเล็ก แล้วจึงตามด้วยลูกสะใภ้ แล้วตามด้วยลูกสาว ตามด้วยลูกเขย แล้วตามด้วยชั้นหลานและเหลน

การข้ามสะพานจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือช่วงข้ามไปและช่วงข้ามกลับ ช่วงแรกจะเป็นการพา ดวงวิญญาณข้ามไปส่ง แดนสวรรค์ เมื่อข้ามไปถึงพระสงฆ์จีนจะหยุดขบวน มีการจุดธูป 3 ดอก ให้ลูกชายคนโตไหว้ เพื่อเป็นการไหว้พระพุทธแทนตัวผู้ตาย แล้วปักธูปลงในกระถางธูปของผู้ตายเอง จากนั้นขบวนพระก็จะพาขบวนลูกหลานข้ามกลับมายังโลกมนุษย์และขากลับจะต้องข้ามสะพานสวนทางกับขาไป ข้ามไปกี่รอบก็ต้องข้ามกลับจำนวนรอบเท่าเดิม

ธรรมเนียมการกราบ
• พระ กราบ 3 ครั้ง
• คนตาย (แบบไทย) กราบ 1 ครั้งแบบไม่แบมือ
• คนตาย (แบบจีน)
1. กราบ 4 ครั้งแบบแบมือ
2. กราบแบบคุกเข่า โดยเอามือจับหัวเข่าแล้วก้ม คำนับ 3 ครั้ง (กรณีที่ผู้ตายมีอายุมากกว่า)
3. ยืนคำนับ โดยการเอามือไว้ข้างลำตัวแล้วโน้มตัว คำนับ 3 ครั้ง (กรณีที่ผู้ตายมีอายุน้อยกว่าหรือเท่ากัน) หมายเหตุ กราบ 4 ครั้งหมายถึง พ่อ-แม่ พ่อ-แม่ มี ความเชื่อว่าถ้ากราบ 4 ครั้งแล้วลูกหลานจะโชคดีทุกเวลา

กระดาษเงินกระดาษทอง


ประวัติที่มาของการเผา กระดาษเงินกระดาษทอง แท้ที่จริงเริ่มมาจากรัชสมัย พระเจ้าถังไท่จง (พ.ศ. 1170-1193) แห่งราชวงศ์ถัง สาเหตุที่พระองค์ส่งเสริมก็คือ ตอนที่ครองราชย์ใหม่ ๆ ด้วยทรงเป็นห่วง เกรงว่าบ้านเมืองจะไม่สงบเรียบร้อย อัครเสนาบดีเว่ยเจิงจึงถวายแผนการว่า ขอให้พระองค์ทรงทำเป็นว่าป่วยหนักแล้ววิญญาณได้ไปท่องเที่ยวในนรก และได้ถูกพวกผีเปรตมากมายห้อมล้อม วิงวอนให้พระองค์ทรงโปรดสงเคราะห์ช่วยเหลือ พระองค์ได้รับปากว่ารอให้กลับเมืองมนุษย์ก่อนแล้วจะหาวิธีส่งเงินทองไปให้พวกเขา ด้วยเหตุนี้จึงได้แนะนำส่งเสริมให้ประชาชนเผากระดาษเงินกระดาษทองสงเคราะห์พวกเปรต

เหตุผลประการที่ 1 คือ เป็นการเพิ่มงานอาชีพและรายได้แก่ประชาชน
เหตุผลประการที่ 2 คือ ทำให้ประะชาชนรู้ว่านรกมีจริง บาปบุญคุณโทษมีจริงเป็นการเตือนสติไม่ให้ประชาชนกระทำผิดกฎหมาย ด้วยเหตุดังกล่าว จึงส่งเสริมการเผากระดาษเงินกระดาษทอง ประชาชนก็เชื่อคิดว่าเป็นความจริง จึงไม่กล้าทำบาปทำชั่ว บ้านเมืองจึงเกิดความร่มเย็นสงบสุขนับแต่นั้นมา

กระดาษเงินกระดาษทองแต่ละประเภท


คนจีนเชื่อกันว่า เมื่อตายไปแล้วจะไปยังอีกภพโลกหนึ่ง เรียกว่า "อิมกัง" ดังนั้นลูกหลานจึงต้องส่งเงินทองไปให้ เพื่อแสดงความกตัญญู ด้วยการไหว้เจ้า แล้วเผากระดาษเงินกระดาษทองไปให้ และการไหว้เจ้ายังเป็นสิริมงคลแก่ลูกหลาน ให้มีความสุขความเจริญ ซึ่งกระดาษเงินกระดาษทองบางแบบใช้ไหว้เจ้า บางแบบใช้ไหว้บรรพบุรุษ

กอจี๊ หรือ จี๊จุ้ย เป็นกระดาษเงินกระดาษทองชิ้นใหญ่ มีกระดาษแดงตัดเป็นลายตัวหนังสือว่า "เผ่งอัน" เป็นคำอวยพร แปลว่า โชคดดีใช้สำหรับไหว้เจ้าที่ ไหว้เทพยดาฟ้าดิน
กิมจั้ว หรือ งึ้งจั๊ว หมายถึงกระดาษเงินกระดาษทอง เวลาจะไหว้จะทำเป็นชุด ก่อนไหว้ลูกหลานจ้องนำมาพับเป็นรูปดอกไม้ ใช้ไหว้ได้ทุกอย่าง
กิมเต้า หรือ งึ้งเต้า หรือถังเงินถังทอง ใช้ไหว้เจ้าที่ ไหว้เทพยดาฟ้าดิน
กิมเตี๊ยว คือ แท่งทอง ใช้ไหว้บรรพบุรุษ ไหว้คนตาย
ค้อซี คือ กระดาษทอง ก่อนใช้ให้พับเป็นรูปร่างก่อน เช่น พับเป็นเรือ เรียกว่า "เคี้ยวเท่าซี" เชื่อกันว่าการพับเรือ จะไก้มูลค่าสูงกว่าการพับอย่างอื่น ใช้ไหว้ได้ทุกอย่าง รวมทั้งไหว้คนตาย โดยเฉพาะพิธีทำกงเต๊ก ลูกหลานต้องพับค้อซี ให้มากที่สุด
อิมกังจัวยี่ คือแบงก์กงเต็กนั่นเอง
อ่วงแซจิ่ว ใช้เผาเป็นใบเบิกทาง ไปสวรรค์สำหรับผู้ตาย
เพ้า คือ ชุดของเทพเจ้า คล้ายกับที่คนไทยถวายผ้าห่มพระพุทธรูป มีการทำของเจ้าหลายองค์ เช่น ชุดของเจ้าแม่กวนอิม เจ้าแม่ทับทิม พระพุทธ
ตั้วกิม เป็นกระดาษเงินกระดาษทองที่ญาติสนิทนำไปไหว้ผู้ตาย
การเผากระดาษเงินกระดาษทองจะต้องทิ้งไว้สักพัก เพื่อให้ทุกคนได้เส้นไหว้เสร็จ ก็จะทำการ "เหี่ยง" หรือจบเหนือศีรษะ ระหว่างนี้ให้ทำการอธิฐานขอพรไปด้วย แล้วจึงนำไปเผา เมื่อไฟมอดแล้วจึงไหว้ลา เป็นการเสร็จพิธี ลูกหลานจะกราบหน้าศพ 4 ครั้ง แล้วเหี่ยงหีบเสื้อผ้ากับโคมวิญญาณเพื่อนำไปเผา เช่นเดียวกับบรรดาของกงเต๊กอื่น ๆ ทั้งหมด ลูกหลานต้องช่วยกันเหี่ยงโดยมีหลักการว่าคนอื่นอาจช่วยยกของได้ แต่ลูกหลานเท่านั้นที่ต้องเป็นผู้เหี่ยงของกงเต๊กทั้งหลาย และต้องเหี่ยงทุกชิ้นไม่ขาดตกสิ่งใด


 

สำนักสงฆ์สุธรรม (เฮี่ยงจงเจงเสี่ย)
354 หมู่บ้านเศรษฐกิจ ซอย 10 บางแคเหนือ กทม 10160
โทร 02-4211236 Fax 02-4210341

Power By พงศ์กรณ์ อุ่นสกุลรัตน์ แสดงผลในเวล

ขอขอบคุณ ที่มา http://www.samnaksonksutham.com/viewpage.php?page_id=4

รายละเอียดคลิ๊กดูได้ตามเวปด้านบน

รูปภาพของ YupSinFa

ขอบพระคุณอาโกวีรพนธ์อย่างยิ่ง

                  อาโกวีรพนธ์ได้เข้ามาตอบกระทู้เกี่ยวกับพิธีกรรม "กงเต๊ก" ที่มีสมาชิกได้เข้ามาโพสต์ถามด้วยความอยากรู้ และอาโกวีรพนธ์ ได้กรุณา ตอบ แบบ ผู้รู้จริง ประกอบกับข้อมูลที่ชัดเจน-ถูกต้อง นับว่าเป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ รวมถึงผู้ที่จำเป็นจะต้อง "รู้ให้มาก" เกี่ยวกับวัฒนธรรมจีน ของพวกเรา อย่างไหง ด้วย

                  นับว่าสิ่งที่อาโกวีรพนธ์ นำมาแสดงให้ทุกท่านได้ทราบ นั้น เป็นคำตอบที่มีคุณค่าต่อผู้ที่ "ใฝ่รู้" และ "จำเป็นต้องรู้" ด้วยองค์ประกอบที่ชัดเจน สามารถอ้างอิงและเห็นภาพได้เป็นอย่างดี

                  ไหงอยากรบกวนอาโกวีรพนธ์ ช่วยนำรูปแบบ หรือ ส่วนประกอบในการทำพิธีกงเต๊ก แบบ จีนแคะ หรือฮากกา เรา  ซึ่งในชีวิตไหงเคยเห็นมาครั้งหนึ่งซึ่ง นานมาก แล้ว ไหงคิดว่า การทำพิธีกงเต๊กของฮากกาเรา มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ไม่เหมือนใคร ไหงอยากรู้เพื่อจะได้เก็บไว้อ้างอิงในอนาคต เพราะพิธีกรรมของพวกเรา นับวันจะหาดูได้น้อยไม่เหมือนกับของชาวแต้จิ๋ว โดยเฉพาะไหงอยากทราบในรายละเอียด และการแต่งกายในช่วงที่ตั้งศพบำเพ็ญกุศล ว่าพวกเรา มีการแต่งกายในชุดไว้ทุกข์ แตกต่างจากจีนอื่น ๆ อย่างไร

                  อากุงของไหง่ ท่านเป็นผู้ที่มีสายตายาวไกลและมีวิสัยทัศน์มาก ท่านจากโลกนี้ไปเกือบ 35 ปี ท่านได้สั่งเสียไว้เลยว่า ให้จัดพีธีศพของท่านเป็นแบบไทย ๆ และต้องเผา เพื่อไม่ให้เป็นภาระของลูก-หลาน และก็ไม่ต้องเป็นภาระจริง ๆ เพราะตลอด 35 ปีที่ผ่านมา ไหงไม่เคยได้ทำพิธี ชิหมิง (เชงเม้ง) ที่หน้าฮวงซุ้ย เลย อย่างมากก็แค่ ถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุที่วัดแล้วอุทิศส่วนกุศลให้ท่านเท่านั้น อย่างนี้ ในด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรม ไหงถือว่าตัวไหงขาดทุนเพราะไม่มีโอกาสได้สัมผัสวัฒนธรรมของเรา แต่ในด้านเศรษฐกิจ ไหงก็เท่าทุนเพราะไม่ได้เสียเงินไปในการทำพิธีทั้งชีวิต แต่ไหงคิดว่า ไหงอยากเสียเงินเพื่อรักษาวัฒนธรรมไว้ จะดีกว่า

                  ปัจจุบันนี้ โลกเราเจริญมากขึ้น แต่วัฒนธรรมที่ดีงาม กลับเหือดหายไป ไหงในฐานะที่เป็นคนรุ่นกลางเก่า กลางใหม่ จึงคิดว่า อยากรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไว้ให้มาก ๆ ถึงแม้ว่าจะรักษาไว้ในรูปแบบของไดอารี่ หรือความทรงจำ ไม่ถึงกับจะต้องประกอบพิธีกรรมตามประเพณีและวัฒนธรรม นั้น ๆ ก็ตาม

                  จึงอยากรบกวนอาโกวีรพนธ์ และแต่ละท่าน หากมีเนื้อหาเกี่ยวกับ ประเพณีและวัฒนธรรม "ฮากกา" ในแต่ละอย่าง เช่น กงเต๊กแบบฮากกา กรุณาช่วยเผยแพร่ให้ทุกท่านเอาบุญด้วยเถิด ตัวไหง จะเป็นผู้เก็บรายละเอียดเพื่อเป็น พจนานุกรม ทีมีชีวิต เอง

                  การรักษาวัฒนธรรมประเพณีของพวกเรา ชาวไทยเชื้อสายฮากกา จะได้ดำรงอยู่อย่างน้อย ก็ชั่วอายุของพวกเรา ไปอีก 30-50 ปี

                  ขอขอบพระคุณอาโกวีรพนธ์ผู้ให้ข้อมูล-ความกระจ่าง และขอขอบพระคุณ ผู้โพสต์ถามเรื่องราวของพิธีกงเต๊กนี้

                  ขอขอบพระคุณ - โตเซี้ย.

รูปภาพของ นายวีรพนธ์

กงเต็กจีนฮากกา

ผมเคยทำพิธีกงเต็ก 2 ครั้ง แม่ แล้ว พ่อ วิ่งจับแม่ชีตอนแก่ หอบและเหนื่อย (เข่าอ่อนหมด) แม่ชีก็ยังสาว จะจับได้ยังไง กติกาให้เดินตาม แม่ชีออกวิ่ง จึงจะวิ่งตามจับได้ อ้อมโต๊ะสี่เหลี่ยมสองตัว เดินข้ามสะพาน และอื่น ๆ อีกเยอะ ทำทีเป็นชั่วโมง พักดูแม่ชีรำฉาบและทำต่อ จำไม่ค่อยได้ นานหลายปีแล้ว ลูกชายคนโตให้ลูกชายทำแทนได้ ไม่งั้นคงต้องจัดงานอีกคน ตอนของแม่ไม่ได้ไปสุสาน ให้เฝ้าบ้าน ตอนพ่อได้ไปสุสาน ไม่ไว้ทุกข์ เพราะอยู่ไกล ต้องทำอะไรต่ออะไรทุกอาทิตย์ ขึ้นลงไม่ได้ หาเสื้อใหม่สีฉูดฉาดไปเปลี่ยน แม่ชีจัดการให้หมด ผมว่าให้คุณอาคม หรือคนที่อยู่ อำเภอหาดใหญ่ ไปที่อารามแม่ชีที่ทำพิธีกงเต็กฮากกา     แม่ชีจะพูดฮากกา อยู่ถนนชีอุทิศ ด้านข้างของสมาคมฮากกาหาดใหญ่ ทางทิศตะวันออก หรือวัดถาวรวราราม ถนนอะไรจำไม่ได้แล้ว เข้าทางถนนแสงจันทร์ก็ได้ไปสอบถามและจดบันทึกรายละเอียด นำมาลงในเวป อ้อยังมีที่ตำบลทุ่งลุงอีกแห่ง ว่าง ๆ จะนำรูปแม่ชีกำลังทำพิธีมาลงให้ดูครับ คุณยับสินฝ่า

 

รูปภาพของ นายวีรพนธ์

เรียนเวปมาสเตอร์ที่เคารพ

ผมไม่สามรถโหลดภาพลงได้ ทั้งที่เคยโหลดได้ ช่วยแนะนำผมหน่อยครับ เข้าไปอ่านวิธีการใส่รูปหลายครั้ง ลองผิดลองถูก ก็ยังไม่ได้ครับ จะขึ้นข้อความตามข้างล่างครับ 

Directory: files/u160
  • warning: tempnam() [function.tempnam]: SAFE MODE Restriction in effect. The script whose uid is 552 is not allowed to access owned by uid 0 in /home/hakkapeopl/domains/hakkapeople.com/public_html/modules/imce/imce.module on line 236.
  • warning: move_uploaded_file() [function.move-uploaded-file]: Unable to access in /home/hakkapeopl/domains/hakkapeople.com/public_html/modules/imce/imce.module on line 238.
File upload error. Could not move uploaded file.
รูปภาพของ webmaster

กำลังตรวจสอบครับ

เป็นปัญหาของทาง Server จริงๆ
กำลังตรวจสอบให้ครับ

ขอขอบคุณที่แจ้งมาครับ

รูปภาพของ นายวีรพนธ์

โพสได้แล้วครับ

ขอบคุณครับ แก้ไขให้เร็วมากครับ

รูปภาพของ นายวีรพนธ์

แม่ชีฮากกา (ขออนุญาตเผยแพร่ เพื่อเป็นวิทยาทาน)

รูปภาพของ Mr.Xiong

ไจจี่,ไจกูว

ขออนุญาติเสริมนิดนึง   เท่าที่ทราบมาจริงๆแล้วชาวฮากกาจะไม่มีการบันเทิงใดๆมาตั้งแต่ในอดีต  เนื่องจากสงคราม และ การอพยพ ของบรรพชน  แต่ที่เรามีชาติอื่นไม่มีเขาเรียกว่า พิธีหั่งไจงี่ซึบสี่เฟินจง (บางที่ไจจี่,บางแห่งไจกุง)

ในขั้นตอนที่คุณวีรพนธ์เอ่ยมานั้นเป็นธรรมคติเพื่อเป็นการแสดงความกตัญญู
การสวดส่งวิญญาณของผู้เสียชีวิต  แบบย่อๆคือการส่งวิญญาณจะต้องเดินทางไกล ไปตามทาง(ที่สมมุติ)ต่างๆ ข้ามสะพาน ป่าเขา รวมไปเจ้าที่เจ้าทาง,พระโพธิสัตว์ฯลฯ  จะมีเจ้าหน้าที่ยามเฝ้าประตูทางเข้าสวรรค์ เมื่อเดินทางผ่านมาจึงต้องแสดงโชว์กายกรรมบ้าง รำบ้าง พอเป็นพิธีเพื่อล่อหลอกให้เจ้าหน้าที่เผลอ(เขาว่า) จะได้นำส่งวิญญาณผ่านด่านไปได้ และ ที่ให้วิ่งนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งในพิธีประมาณว่ารีบตาม วิ่งหนีให้ทันผู้นำทาง

อีกนัยหนึ่งอย่างที่กล่าวตอนต้นเราไม่มีการละเล่นบันเทิงเหมือนชาติอื่นแบบว่างิ้ว ละคร มีเฉพาะซานกอเท่านั้น   เพื่อเป็นการคลายความเศร้าหดหู่ในงานจึงมีสอดแทรกการละเล่นแบบนี้ในพิธีศพแบบฮากกา ย่อๆนะ

     ในหาดใหญ่มีหลายแห่งครับเป็นโรงเจนะ  ก็มีก๋วงเหลียนทุ๊งต้นถนนแสงจันทร์,กวนอิมอัม ใกล้ๆสมาคมฮากกาหาดใหญ่,ไกลไปอีกหน่อยก็ที่คลองแงะกวนอิมกิ้วซื่ออัมครับ  สวดและพูดฮากกาครับ  อ้อ วัดฉือฉาง ท่านเจ้าอาวาสก็เป็นคนฮากกาครับ

กงเต็กจีนฮากกา

งานอาผ่อผม ปะมาน10ปีที่แล้ว วิ่งจับแม่ชี มีพี่ชายคนโต พี่ชายคนที่สาม และก้อพี่ชายคนที่สี่

วิ่งจับแม่ชีติดด้วย ตอนที่จับติดน่ะ แม่ชีหันฉาบมาที่หน้าพี่ชายคนโต พี่ชายเบรคไม่ทันก้อจูบเอาฉาบเต็มๆ แขกเรือหัวเราะกันใหญ่เลย ได้อั๋งเปามาแบ่งกันด้วย

รูปภาพของ นายวีรพนธ์

ค่าใช้จ่าย

ออร์แกไนเซอร์ งานศพ มาแรง แต่"พิธีกงเต็ก"กำลังจะตาย ?

วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 เวลา 13:01:55 น.




เครื่องกระดาษและของไหว้ ราคาปรับแพงขึ้น


วงดนตรีที่ซินแสจัดมาเสร็จ


พิธีกงเต็ก พ.ศ.2553


ส่งขึ้นไปใช้ในสวรรค์


บรรยากาศที่กำลังหายไป

บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เคยประเมินว่าธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานศพทำให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนประมาณ 35,000 ล้านบาทต่อปี


จริงๆ แล้ว ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการจัดงานศพ แตกต่างกัน ตามรายละเอียดปลีกย่อยของความต้องการของเจ้าภาพงานศพ การจัดพิธีแตกต่างกันตามความเชื่อทางศาสนา งานศพในกรุงเทพฯ เมืองธุรกิจใหญ่ๆ และต่างจังหวัด ก็แตกต่างกัน อย่างกรุงเทพฯและเมืองธุรกิจใหญ่ๆโดยเฉลี่ยจะสูงกว่าต่างจังหวัดประมาณ 3 เท่าตัว

 

ธุรกิจใหม่ที่เกิดขึ้นและกำลังแพร่หลายคือ อาชีพรับจัดงานหรือออร์แกไนเซอร์ ที่เข้ามาแบ่งเบาภาระของญาติผู้ตายได้อย่างเบ็ดเสร็จ แต่ต้องจ่ายแพงกว่า

 

แต่พิธีกรรมและธุรกิจงานศพที่กำลังค่อยๆ หายไปก็คือ พิธีกงเต็กเพราะค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า พิธีงานศพแบบไทย หลายเท่า

 

ปัจจุบัน พิธีกงเต็ก เจ้าภาพจัดงานศพจะมีค่าใช้จ่าย 2 ส่วนคือ ค่าใช้จ่ายให้กับคณะที่จัดพิธีกงเต็ก และค่าใช้จ่ายเพิ่มให้กับทางวัด โดยค่าใช้จ่ายให้กับคณะที่จัดพิธีกงเต็กนั้นแตกต่างกันในกรณีที่เป็นกงเต็กใหญ่หรือเล็ก กล่าวคือกงเต็กใหญ่จะมีพระสวด 9 รูป สวดตั้งแต่ 9 โมงเช้าถึง 4 ทุ่ม ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยประมาณ 35,000 บาท ซึ่งค่าใช้จ่ายนี้ยังไม่รวมเครื่องกระดาษและของไหว้ในพิธีที่เจ้าภาพจะต้องจัดเตรียมเอง หากจะให้คณะจัดพิธีกงเต็ก บริษัทธุรกิจรับทำศพชื่อดังรายหนึ่งคิดราคา 8,000 บาท อย่างไรก็ตาม ราคารวม 43,000 บาทนี้ ยังไม่รวมเงินใส่ซองให้พระที่มาสวดอีก

เช่นเดียวกับพิธีกงเต็กเล็ก นิมนต์พระสวด 3-7 รูป สวดตั้งแต่ 3 โมงครึ่งถึง 4 ทุ่ม ค่าใช้จ่าย 25,000 บาท ซึ่งยังไม่รวมเครื่องกระดาษและของไหว้ในพิธีอีก 8,000 บาท รวมราคา 33,000 บาท และยังไม่รวมเงินใส่ซองให้พระที่มาสวดเช่นเดียวกัน

 

นอกจากนี้เจ้าภาพยังมีค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มให้กับทางวัด โดยในวันทำพิธีกงเต็กนั้นทางวัดจะคิดค่าอนุญาตทำพิธีกงเต็ก ค่าบำรุงเตาเผาเครื่องกงเต็ก และค่าตำรวจรักษาการคืนทำกงเต็ก ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในส่วนนี้จะแตกต่างกันในแต่ละวัดอยู่ที่ประมาณ 500-1,000 บาท

 

อัตรา ค่าใช้จ่าย พิธีกงเต็ก ใหญ่ ในต่างจังหวัดใกล้กรุงเทพ ตกประมาณ 30,000 บาท โดยมีซินแส จัดการให้เรียบร้อย

 

ค่าหลุมฝังศพ จะมีราคาตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 1,000,000 บาทขึ้นไปทั้งนี้ขึ้นกับทำเล สำหรับทำเลปานกลางก็จะมีราคาประมาณ 1 แสนบาท แต่ถ้าทำเลดีก็จะมีราคา 2-3 แสนบาทขึ้นไป โดยในงานแบบจีนจะมีส่วนเพิ่มคือ เสื้อผ้าของญาติที่จะใช้ทำพิธีกงเต็ก ค่าจัดพิธีกงเต็ก ของไหว้ศพ เครื่องกระดาษ(ใช้เผา) ค่าดูฮวงจุ้ย และอื่นๆ

 

อย่างไรก็ตามในปัจจุบันชาวไทยเชื้อสายจีนบางส่วนไม่ได้เคร่งครัดที่จะต้องมีพิธีกงเต็ก หรือการฝังศพ โดยหันมาเผาศพผู้ที่เสียชีวิตเช่นเดียวกับพิธีของคนไทยมากขึ้น ซึ่งบางครั้งก็เป็นความประสงค์ของผู้ที่เสียชีวิตที่ไม่ต้องการให้เป็นภาระกับลูกหลานมากเกินไป

 

จริงๆ แล้ว ธุรกิจจัดกงเต๊ก กงเต็กหมายถึงการที่ลูกหลานทำบุญกุศล ทั้งทำแทนผู้ตายและทำให้ผู้ตายเพื่อให้ผู้ตายได้กุศลผลบุญมากพอที่จะขึ้นไปสวรรค์ โดยพิธีกงเต็กมี 3 แบบคือ แบบพระจีนเป็นผู้ทำพิธี ซึ่งถ้าต่างนิกายกันก็จะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน แบบคนธรรมดาเป็นผู้ประกอบพิธี โดยจะเป็นผู้ชายสวมชุดพระจีนสีขาว และแบบกงเต็กจีนแคะ การทำพิธีกงเต็กจะใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับจำนวนพระที่นิมนต์มาสวด

ถ้าเป็นกงเต็กใหญ่ก็จะต้องนิมนต์พระมาสวด 5 รูปขึ้นไป และถ้าเป็นกงเต็กเล็กก็จะมีการนิมนต์พระมาสวดรูปเดียวหรือ 3-5 รูป ซึ่งปัจจุบันผู้ที่ดำเนินการธุรกิจจัดพิธีกงเต็กนั้นส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ดำเนินธุรกิจนี้มาเป็นเวลานาน และจะได้รับการติดต่อในลักษณะบอกต่อๆกัน หรือการให้เบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ไว้กับทางวัดที่อนุญาตให้มีการทำพิธีกงเต็กในวัดได้ ค่าใช้จ่ายนั้นเป็นการตกลงกันระหว่างเจ้าภาพและผู้ดำเนินการธุรกิจจัดพิธีกงเต็ก

นอกจากนี้ธุรกิจต่อเนื่องจากธุรกิจกงเต็กคือ ธุรกิจเครื่องกระดาษ ของไหว้ รวมทั้งชุดที่ใส่เฉพาะในพิธีกงเต็กที่ทำจากผ้ากระสอบและผ้าดิบ

 

จากการสัมภาษณ์ คนจีนรุ่นที่ 2-3 ต่างเชื่อว่า พิธีกงเต็ก จะค่อยๆ หมดความนิยม เพราะคนรุ่นใหม่ ไม่เห็นความสำคัญ และมักนิยมพิธีงานศพแบบไทย มากกว่า เพราะสะดวกและประหยัดกว่ามาก คนจีนรุ่นเก่าที่ไม่อยากให้ลูกหลานเดือดร้อนก็มักจะบอกไว้ล่วงหน้าว่า ไม่ต้องทำพิธีกงเต็ก ...(นะ)อาตี๋ อาหมวย

 

 

( ขอบคุณ เครือญาติและครอบครัวของ"คุณแม่ทับทิม จิตรเพียรค้า" หนองแค สระบุรี ที่อนุญาตให้ถ่ายรูปและให้ข้อมูล อย่างดี )

 

ขอขอบคุณ ที่มา http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1280228324

รายละเอียด คลิ๊กดูได้ตามเวปด้านบน

รูปภาพของ YupSinFa

อยากทราบความเป็นมากงเต๊กแบบฮากกา

                 ในอดีตไหงพอเคยได้ร่วมพิธีและเห็นพิธีกงเต๊กแบบแต๊จิ๋วมากก็หลายครั้ง แต่มีอยู่ครั้งหนึ่ง นานมากแล้ว ในงานศพของผู้ใหญ่ชาวฮากกาท่านหนึ่ง ไหงเพิ่งได้รู้ว่า พิธีกงเต๊กของแบบฮากกาเรา มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นอย่างยิ่ง ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใครเลย จีนแต่ละที่ก็คล้าย ๆ กัน แต่ของฮากกาเรา ใช้นางชี ซึ่งก็ไม่ได้เป็นแม่ชีจากสำนักพุทธมหายานแต่อย่างใด แต่เป็นนางชีคล้าย ๆ กับนักบวชก็ไม่เชิง ดูไป น่าจะจัดอยู่ในกลุ่มของพวกเจ้าลัทธิเจ้าพิธี หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "แม่หมอ" จะถูกกว่า

                 จึงเป็นเรื่องที่น่าจะมาทำการวิเคราะห์ และจดข้อมูลเก็บไว้เป็นแบบวิชาการ ไปเลยเพื่อไม่ให้มีการสูญหาย หรือลางเลือนไปตามกาลเวลา ไหงจะทำหน้าที่สืบหาข้อมูลทางด้านในประเทศจีน ทางหนึ่ง ว่าการประกอบพิธีกรรมศพ ในแต่ละท้องที่ มีความเหมือน-คล้าย และแตกต่างกันอย่างไร มีที่ไหนบ้าง? ที่มีการใช้นางชีแบบของฮากกาประเทศไทยเรา ในกลุ่มชาวฮากกาโพ้นทะเลในประเทศต่าง ๆ นั้น มีการใช้นางชีทำพิธีกงเต๊กเหมือนบ้านเราหรือปล่าว? แต่เป็นที่เข้าใจว่า ในประเทศจีนนั้น การประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลศพ แบบโบราณดั้งเดิม น่าจะสูญหายหรือเปลี่ยนแปลงจากดั้งเดิมไปมาก เนื่องจากเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ และในช่วงแรกของการบริหารประเทศ จีนก็ถูกนำเข้าสู่การปฏิวัติใหญ่ทางวัฒนธรรม อย่าว่าแต่ประเพณีและพิธีกรรมเลย ที่หายไป แม้แต่โบราณสถานสำคัญ ๆ ยังถูกพวกเยาวชนเรดการ์ด ทำลายอย่างบ้าคลั่ง กลับมาฟื้นฟูกันแทบจะไม่ทันกาล

                    ดังนั้น ไหงจึงอยากให้ ไท้ก๋าหยิ่น พวกเราทั้งหลาย ในส่วนที่เป็นผู้รู้ เช่น อาโกวีรพนธ์ ช่วยเหนื่อยขึ้นอีกนิดนึง หาความเป็นมาของการทำกงเต๊กแบบฮากกานางชีว่าเป็นมาอย่างไร อาโก xiong ขอช่วยเสริมด้านข้อมูลเพิ่ม เพราะทางหาดใหญ่ วัฒนธรรมฮากกาดั้งเดิมยังคงเหลืออยู่บ้าง ที่สำคัญที่สุด ไหงจะขอลงทุนเอง ถ้าที่หาดใหญ่ หรือจังหวัดไหน ในภาคใต้ของไทย ที่อาโกวีรพนธ์ และอา xiong โก ทราบว่า มีผู้อาวุโสที่มีฐานะ เสียชีวิตลง และจะต้องทำพิธีกงเต๊กแบบฮากกาด้วยแน่นอน กรุณาบอกไหงด้วย อย่าลืมนะครับ อาโกทั้งสองช่วยจดไว้เลย ไหง ยับสินฝ่า จะขออนุญาต เจ้าภาพ ไปบันทึกและวิจัยพร้อมทั้งสัมภาษณ์ คณะแม่ชีหรือคณะนางเจ้าพิธีฯ อย่างละเอียด เอาในแบบวิชาการไปเลย เพราะไหงเห็นว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อพวกเราทุกคนเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องรักษาเอาไว้ให้นานที่สุด ถึงแม้ว่าความเจริญแบบสมัยใหม่ จะเข้ามาแทนที่ก็ตาม อย่างน้อยที่สุด เรายังสามารถมีภาพที่เก็บได้เป็นอย่างดี ไปอีกเป็นร้อยปี และมีข้อมูลเพื่อเล่าให้ลูกหลานฟังได้ไปอีกนาน

                    ไหงในฐานะที่ตอนนี้เปิดตัวเป็นนักวิชาการอิสระ ด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมจีน จึงจำเป็นต้องรวบรวมข้อมูลไว้ เป็นอย่างยิ่ง เพื่อใช้อ้างอิงในการบรรยาย และการสอนนักศึกษาเอกภาษาจีน ต่อไป

                     จึงขอขอบพระคุณ ท่านเจ้าของกระดานสนทนานี้ ที่ได้จุดประกายขึ้นมา ขอขอบพระคุณ อาโกวีรพนธ์ และอา xiong โก ที่ได้เข้ามาช่วยเติมเต็มข้อมูลนี้ให้กว้างขวาง ไหงจึงขอความช่วยเหลือจากอาโกวีรพนธ์ และ อา xiong โก รวมทั้งอาโกทั้งหลาย ไว้ ณ ที่นี้ด้วย และต่อไป บทความ กระดานสนทนา และความรู้เกี่ยวกับเกร็ดวัฒนธรรม และ ประเพณีจีน ไหงจะเก็บรวบรวมไว้ อย่างเป็นกิจจลักษณะ ต่อไป

                     ขอทางท่านเว็ปมาสเตอร์ช่วยจัดเป็นหน้าเกี่ยวกับ รวมวัฒนธรรมฮากกา หรือรวมวัฒนธรรมประเพณี และ รวมศิลปจีน ฯลฯ แบบรวมเรื่องชาจีน ด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง

                     ขอขอบพระคุณครับ

                     เกี่ยวกับการวิจัยที่เป็นทางการ ทางด้านการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต คงต้องขอความช่วยเหลือจากยุวชนแต่ละท่านด้วยนะ ใช่ไหมครับ เลี่ยวซือย่า คนเก่ง

รูปภาพของ นายวีรพนธ์

คุณยับสินฝ่า

ลองเข้าไปดูเวปนี้ครับ เผื่อมีอะไรเกี่ยวข้องกัน

http://www.gc263.com/bbs/viewthread.php?tid=25587&extra=&ordertype=1

รูปภาพของ YupSinFa

ขอบพระคุณยิ่งครับอาโกวีรพนธ์

             ช่วงนี้ไหงยังวิ่งงานอยู่ ในช่วงวันหยุดปีใหม่ ไหง่จะถือโอกาสเข้ามาดูและศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับ พิธีกรรมกงเต๊กแบบฮากกา อย่างเจาะลึกในบล๊อคนี้และลิงค์่ต่าง ๆ ที่อาโกวีรพนธ์ กรุณาแนะนำเพิ่มเติม

              ต้องขอขอบพระคุณอาโกวีรพนธ์เป็นอย่างยิ่งครับ

รูปภาพของ Mr.Xiong

เกิด แต่ง ตาย

   ไหนๆก็ไหนๆแล้วถ้าอายับกอจะรวบรวมขอให้รวมตั้งแต่เกิดดีกว่าครับฮากกาเราพิเศษจริงๆตั้งแต่เกิด และ วันเกิดจนถึงวันตายนะครับ เช่น บ้านไหนมีลูกตั้งชื่ออย่างไรที่ถูกต้อง ลูกชายแขวนเต็งที่บ้านจือกุง ครบเดือนต้มไข่  เลี้ยงก๋ายจิว ฯลฯ

ตอนแต่งรับเจ้าสาวอย่างไร เอาอะไรตามมาบ้านสามีบ้าง  ทำไมต้องจุดตะเกียงหัวเตียง ฯลฯ

ตอนตายก็ไม่เหมือนแต้จิ๋วนะ ไม่มีป้อนข้าวมื้อสุดท้าย ลูกหลานจะนั่งด้านในข้างโลงเท่านั้น  ไม่สวมรองเท้าในงานศพ ทานเจ ส่งศพต้องร้องไห้ทุกคน  ลักษณะของฮวงซุ้ย (ฟุ้งซุย) ที่ฝังศพก็สามารถบอกประวัติของคนตายได้ และรูปร่างของฮวงซุ้ยของแท้ต้องเป็นหลังเต่าแบบฮากกาครับ  ที่บอกมานี้ค่อนข้างเคร่งครับสำหรับชาวฮากกาโบราณจริงๆ

มาหาดใหญ่เมื่อไรผมจะบริการเองครับ

 

ไม่รู้ว่าจะตรงกันหรือป่าว

ที่แถวบ้านผม(สะเดา) มีงานศพบ่อยมาก และส่วนใหญ่ที่เห็นทำกงเต็กก้อจะเป็นแม่ชีมาจากคลองแงะ ที่จำได้เพราะว่าบ้านผมก้อใช้แม่ชีที่นี่ละที่มาทำให้ องกุง อาผ่อ อากุงไท่ อาผ่อไท่ ไท่ปักกุง ไท่ปักผ่อ แซ่คิวกุง อายี่ปัก อาปัก และก้ออีกหลายๆทั้ง เพราะว่าบ้านผมถือเป็นตระกูลที่ใหญ่เลยก้อเรียกได้ว่าในสะเดา และที่สำคัญ ผมก้อชอบดูกงเต็กของฮากกามาก หากว่าที่สะเดามีงานกงเต็กฮากกาผมสามารถโพสลงบอกคุณยับสิบฟ่าได้หรือป่าวครับ

หากว่าโพสอันนี้ได้ล่วงเกินบุคคลท่านใดลงไปผมต้องขออภัยไว้ด้วยน่ะคับ

ปล. รูปกงเต็กฮากกาผมมีเยอะมาก ซึ่งถ่ายมากจากงานญาติๆผม อยากจะเอาลง แต่ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง หากเอาลงจะผิดหรือป่าวครับ

รูปภาพของ กิ่มหมิ่น

สวัสดีคุณกัมปนาท

ชุมชนฮากกายินดีต้อนรับครับ หงี่อยู่สะเดา ชุมชนนี้มีโกอาคมก็อยู่สะเดา เหมือนกัน คงได้มีโอกาสพบกันนะครับ

สวัสดีคับ

คับผม โกอาคม ผมไม่ค่อยคุ้นชื่ออ่ะคับ แต่ว่าไม่แน่น่ะ หากว่าได้เห็นหน้าอาจจะรู้จักกะได้

เจอหน้ากันบ่อย แต่ไม่รู้จักชื่อก้ออาจจะเป็นไปได้ หวังว่าโอกาสดีๆคงมาถึงน่ะคับผม

รูปภาพของ กิ่มหมิ่น

คุณกัมปนาท2

ตกลงคุณรู้จักคุณอาคมเเล้วยัง ว่าเป็นใคร เห็นรู้จักชื่อญาติผู้ใหญ่คุณดี ดีที่ไม่บอกว่าคุณมีไฝมีปานอยู่ตรงนั้น( เห็นคุณเล่นน้ำตอนเด็กๆ) 

คุณกิ่มหมิ่น

ยังเลยอ่ะ

ยังงงอยู่เลย

ต้องเห็นหน้าอ่ะคงจะร้องดังอ้อ หรือไม่ก้อถึงบางอ้อ

รูปภาพของ กิ่มหมิ่น

คุณกัมปนาทเลือกเอา คนไหนเป็นโกอาคม

มีข้อมูลเเละภาพในชุมชนฮากกานี้ ขยัยหาหน่อยก็จะพบ

ได้คับ

คับๆๆ

ได้ๆๆเดียวจะลองทายดูน่ะ

รูปภาพของ กิ่มหมิ่น

คุณกัมปนาทเลือกเอา คนไหนเป็นโกอาคม2

เจอละ

แต่ไม่คุ้นหน้าเลยอ่ะคับ

รูปภาพของ กิ่มหมิ่น

รู้เเล้วหรือ ว่าคนไหน

โกอาคมทุกวันไม่ได้อยู่ ปั้นลู้เตี้ยม  ท่านอยู่กรุงเทพ (ม่องกอกตี๋หม่อ)

รู้แล้วคับ

ถึงว่าละไม่คุ้นหน้าเลย

 

รูปภาพของ webmaster

ยินดีครับ

การนำสาระมาลงไม่ผิดกติกาอะไรครับ

ถ้าภาพที่นำมาเจ้าของยินดีเปิดเผย และไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใครก็ไม่น่ามีปัญหา

ส่วนการนำมาลง ถ้าเป็นการเพิ่มความคิดเห็น หรือเรื่องเสริม หรือขยายความกับเนื้อหาที่มีอยู่  ก็เพิ่มเป็นความคิดเห็น ในบล๊อกนั้นๆ แต่ถ้ามีมุมมองอื่น หรือมีเนื้อหาพอพอที่จะเป็นเรื่องใหม่ได้ ก็สร้างเป็นบล๊อกใหม่ก็ได้ครับ

ขอบคุณคับ

ขอบคุณมากคับผม

ผมเป็นเยา

ผมเป็นเยาวชนคนหนึ่งที่สนใจในธรรมเนียมของเราชาวฮากกาโดยเฉพาะพิธีกงเต็กเพราะผมคิดว่าเป็นพิธีที่สำคัญ อีกอย่างมันเป็นความภาคภูมิใจของเราที่มีพิธีที่แตกต่างและน่าสนใจ แต่กลับพบว่าเมื่อลองสืบค้นข้อมูลทางเน็ต แทบจะไม่มีเลยและผมเคยซื้อหนังสือธรรมเนียมจีน มีเหมือน มีแตกต่าง ของคุณจิตรา พบว่ามีการเขียนโดยสรุปมาก ไม่ค่อยลงลึกอะไร ผมเลยอยากให้อาปัก อาสุก ลองสืบค้น ศึกษา และรวบรวมข้อมูลให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษา ได้เข้าใจ ที่มา ขั้นตอนแต่ขั้นว่ามาได้อย่างไร หมายความว่าอย่างไร (เช่นในงานศพอาผ่อผมที่คลองแงะ โดยแม่ชีที่คลองแงะ ผมจำได้แม่ชีมีการรำฉาบไฟ ผมถามญาติผู้ใหญ่ผมว่าทำไปทำไมก็ไม่มีใครรู้) เพื่อจะได้เข้าใจ ภาคภูมิใจในความเป็นชาวฮากกา  เมื่อช่วงกลางปี เกือบปลายๆๆปี เจ้าอาวาสวัดแม่ชีที่คลองแงะท่านได้มรณะภาพ งานศพจัดอย่างยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะพิธีกงเต็กที่มีแม่ชีจากหลายๆๆๆที่มาทำพิธี (มีแม่ชีจากมาเลย์ น่าจะเป็นแม่ชีจากปีนังมาด้วย) และเป็นพิธีที่ค่อนข้างจะละเอียด ผมว่าเป็นโอกาสดีที่อาปักอาสุกจะลองติดต่อเพื่อหาข้อมูล และน่าจะมีภาพประกอบที่สมบูรณ์  น่าจะเป็นข้อมูลที่ดีที่เราจะรวบรวมมาเพื่อเยาวชนรุ่นหลัง

ถ้าอาปัก อาสุกสนใจลองสอบถามที่วัดแม่ชีที่คลองแงะดูนะครับ

รูปภาพของ วี่ฟัด

ยินดี " อาหมากฮุ่ง "

              ตอนแรกไหงมองชื่อหงีแบบคนสายตายาว ( ชักแก่แล้ว ) ไหงเห็นตัว k เป็นตัว h ไหงจึงตั้งชื่อหงีว่าเป็น " อาหมากฮุ่ง " หรือที่ภาษาอีสานบ้านเฮาเขาหมายถึงมะละกอนั่นเอง ถ้าเป็น " ตำหมากฮุ่ง " ก็หมายถึงส้มตำนั่นเอง ไหงตั้งชื่อให้ใครชอบทุกคนไปถามอาบัสสุได้เลยเมื่อรู้ว่าหงีเป็นเยาวชนก็น่ายินดีมากถึงมากที่สุด

              ตอนแรกที่ไหงอ่านที่หงีชอบพิธีกรรมกงเต็กทำให้ไหงงงมากถึงมากที่สุดเหมือนกัน และสงสัยว่าเยาวชนอย่างหงีถึงมาสนใจกิจกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับความตาย เยาวชนอย่างหงีน่าจะเป็นเด็กแนว ไม่ว่าแนวใดแนวหนึ่ง แนวเกาหลี แนวสกา ( เพลงประเภทหนึ่ง ) แนวBB  แนวFB ฯลฯ หรือแนวอื่นๆท่เด็กแนววัยรุ่นอย่างหงีน่าจะเป็น บอกตามตรงว่าไหงเองอายุขนาดกลางคนแล้วไหง่ยังไม่อยากนึกถึงความตายเลย เพราะมันดูหวิวๆยังไงไม่รู้ แม้จะรู้ว่าสักวันหนึ่งเราก็จะต้องเผชิญกับมันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่สำหรับหงีเป็นวัยรุ่น วัยเยาวชนชีวิตยังสดใสซาบซ่า แต่หงีกลับมาสนใจกิจกรรมเกี่ยวกับความตาย ไหงงงหวะ

              แต่สำหรับชีวิตใดชีวิตหนึ่งที่เกิดขึ้นมาในโลกนี้แล้ว กฏธรรมชาติมันกำหนดมาแล้วว่ามันจะต้องดำเนินไปตามกฏพระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มันไม่มีหนทางเป็นอื่นไปได้ดังนั้นเราจะต้องดำรงค์ชีวิตที่มีอยู่โดยความไม่ประมาท เราอย่าคิดว่าเราเก่ง  เราแน่ เราเจ๋งฉิบหายเลย คนอื่นอย่ามาแหยม ถ้าคิดอย่างนั้นคือความประมาทซึ่งเป็นหนทางแห่งความตาย ดังนั้นถ้าเราคิดว่าสักวันหนึ่งเราต้องตาย ตั้งมรณานุสติไว้ เราคงไม่ไปทำความชั่วหรือดำรงค์ชีวิตโดยเบียดเบียนผู้อื่นหรอก อาหมากฮุ่งว่าใหม

ผมก้อไปทุกคืนเลย

ตอนที่เจ้าอาวาสแม่ชีคลองแงะเสียผมและเพื่อน(กัมปนาท)เราได้ไปกันทุกคืนเลย และก้อได้อยู่ดูพิธีกงเต็กด้วย ซึ่งทำพิธีกงเต็กโดยแม่ชีมาเลย์จากรัฐปีนัง

ซึ่งได้เป็นเจ้าภาพร่วมกันกับแม่ชีคลองแงะ และที่คุณแม็กคุงกล่าวมาข้างต้นว่ามีรำฉาบไฟ

แล้วก้อยังมีเชิ่ดสิงโตอีกด้วย เปรียบเสมือนเป็นการแสดงกายกรรม(หรือป่าว)ก้อไม่แน่ใจ

แต่ที่แน่ๆสวยงามมาก ไม่ทราบว่าคุณแม็กคุงพอจะจำตอนที่ลอดใต้สะพานได้หรือป่าวที่ต่อโต๊ะสองตัว แล้วเอาผ้าขาวโยงลงมาที่โต๊ะอีกตัว แม่ชีรำได้สวยมาก อีกรอบนึงงานของผู้หญิงที่รำดอกไม้ แม่ชีรำกันสองคนได้พร้อมเพียงกันสวยจิงๆ คุกเข่าก้อพร้อมกัน ยืนขึ้นก้อพร้อมกัน

สวยมากๆเลยคับแม่ชีคลองแงะนี้สุดยอดจิงๆเลยคับ

รูปภาพของ หม่านชา

客家梅州佛教、三辰救苦

ต้นตอพิธีกงเต็กของอากูเนยี่อง มาจากพิธีซามฉิ่นกิวคูของพระนี้แหละครับแต่ส่วนหนึ่งของกงเต็ก ร้องแบบซันกอ อันนี้ของแคะม่อยจู ไม่รู้อันเดียวกะม่อยแย้นอะป่าว

รูปภาพของ หม่านชา

อากูเนยี่

อากูเนยี่องหาเท่าไหร่ก้อไม่มีคับ มีแต่สั้นๆ ไม่รู้ว่าคืออะไร ที่สำคัญจับใจความลำบาก

รูปภาพของ หม่านชา

....................

อ้าวเงียบกันซะแล้วหรือคับ

รูปภาพของ จองกว๊านหมิ่น

พิธีต่าจาย-กุ๊งแต่ะฉบับลูกทุ่ง

คิดอยู่นาน จะเขียนเรื่องนี้ดีไหม เห็นคุณยับสินฝ่าต้องการรู้พิธีการต่าจายของจ๊ายจี่จ๊ายหม่า ที่สุดเขียนดีกว่า แม้จะออกลูกทุ่งขาดวิชาการ แต่เป็นประสบการณ์ตรง เผื่อมีปัญหาอะไรข้องใจ จะได้ช่วยกันถก ให้คนรุ่นหลังได้เข้าใจ หากไม่เหมาะสม ขอเว็บมาสเตอร์ลบออกด่วน

หลังแพทย์บอกไม่เกินสองวัน ผู้ป่วยต้องถึงแก่กรรม จึงรีบติดต่อสถานสุสาน ร้านขายโลง วัดและสำนักต่าจายอามเป็นการด่วน เพื่อไม่ให้งานติดขัด ส่วนกงเต็กแบบพระจีนเก้ารูป ร้านโลงเป็นธุระจัดการให้

ทันทีที่อาปาสิ้นลมหายใจ มีการเคลื่อนร่างให้เท้าออกสู่หน้าประตูบ้าน นัยว่าให้วิญญาณผู้ตายออกสู่ภายนอกได้สะดวก ไม่หลงวนเวียนอยู่ในบ้าน คนงานร้านโลงเอากระดาษเงินกระดาษทองรองพื้น โปรยด้วยใบชาจนทั่ว เสร็จจึงยกร่างลงโลง ปิดฝายกขึ้นรถไปวัดเพื่อบำเพ็ญกุศล

หลังพระสงฆ์สี่รูปสวดพระอภิธรรมเสร็จ คิวแรกเป็นพิธีกงเต็ก มีการตั้งรูปภาพเทวดาและเจ้าต่างๆพร้อมฉากมากมาย พระเก้ารูปเริ่มสวดอุทิศส่วนกุศล มีทั้งท่ายืนแบบสงบและเดินวนเวียน โดยกระทบฉาบและตีกลองประกอบเป็นระยะ สลับไปมาจนเสร็จพิธี

ตกค่ำเป็นพิธีต่าจายแบบคนแคะ จ๊ายจี่รูปร่างหน้าตาสวยงามเจ็ดนาง เมื่อจัดการติดตั้งอุปกรณ์เสร็จเรียกลูกหลานให้นั่งเรียงแถวเดี่ยว จากลูกคนโตไปจนถึงหลานเหลนตามลำดับ แล้วเริ่มสวดมนต์ด้วยสำเนียงแคะลึกอันไพเราะไปเรื่อยๆ โดยมีลูกหลานกราบไหว้เป็นระยะ เสร็จจากช่วงนี้ให้พัก

ช่วงที่สอง ให้ทุกคนยืนฟังสวดพร้อมโค้งคำนับเป็นระยะ คราวนี้ให้ลูกชายคนโตกราบไหว้ทำความเคารพเสื้อของผู้ล่วงลับ โดยที่เสื้อวางครอบที่พนักเก้าอี้ จากนั้นจ๊ายจี่นำลูกหลานเดินวนและพาข้ามสะพานไม้พร้อมโปรยเหรียญสตางค์ เสร็จแล้วให้ลูกชายคนโตประคองกระถางธูปเดินตามสั่งกำชับเวลาจ๊ายจี่วิ่ง ลูกหลานทุกคนต้องวิ่งตามให้ทัน กระถางธูปห้ามหล่นเด็ดขาด พิธีตอนนี้ ทุกคนเหน็ดเหนื่อยปานจะขาดใจ

ช่วงที่สาม เป็นการแสดงโชว์ของจ๊ายจี่ทั้งหมด รำบุปผาเพลิง ฟ้อนฉาบ กายกรรม พร้อมเพรียงทุกท่วงท่า สวยสดงดงามจริงๆ

ส่งสุสาน รุ่งเช้าทำพิธีเผาหุ่นกระดาษ เมื่อจ๊ายจี่สวดมนต์เสร็จ ให้ลูกหลานช่วยกันเผาส่งไปยังปรโลกเพื่อผู้ตายจะได้ใช้สอย จากนั้นขบวนรถได้ออกเดินทางไปยังสุสาน โดยมีจ๊ายจี่ตามไปหนึ่งนาง ระหว่างเดินทาง หากมีการข้ามสะพาน ลูกหลานต้องร้องพร้อมกันว่า อาปา อากุง ก๊อเขี่ยวลอ ตลอดทุกสะพาน

ที่เก๋งสุสาน มีการสวดอีกระลอกใหญ่ เมื่อหย่อนโลงลงไปเรียบร้อย มีการตั้งวัดระยะห่างของฝาผนังกับโลง ซึ่งเป็นเคล็ดอะไรสักอย่าง แล้วจ๊ายจี่สวดอีกเป็นครั้งสุดท้าย ทุกอย่างเป็นอันจบพิธี เมื่อกลับถึงบ้าน มีการเตรียมขันใบใหญ่แช่กิ่งใบทับทิม ให้ทุกคนล้างหน้าเพื่อความเป็นศิริมงคล

หมายเหตุ : แต่งกาย สิ่งของในงาน ใกล้เคียงที่โพสต์ไว้ในเว็บฮากกาฯ ขอละไว้ไม่กล่าวถึงเมื่อยังอยู่ อามะสั่งนักสั่งหนา ต้องทำพิธีต่าจายให้ได้ ห้ามขาดเด็ดขาดคำว่าจ๊ายหม่า คนเฒ่าคนแก่บอกไม่สุภาพ ไม่ควรเรียก

รูปภาพของ webmaster

มีข้อมูลมาแชร์กันดีแล้วครับ

พื้นที่บนนี้ เปิดกว้างให้ทุกคน ได้ลงบันทึกความทรงจำ และพูดคุยสาระต่างๆ รู้น้อยรู้เยอะหรือไม่รู้ ก็พุดคุยกันได้ตรงไปตรงมาเหมือนพี่น้อง  เพราะทุกเรื่องต่างคือเกร็ดความรู้ ประวัติศาสตร์ ในแง่มุมต่างๆ ที่ช่วยเติมเต็มให้กันได้เสมอและกว้างขวางขึ้นหลายมิติ

(ยกเว้นเป็นเรื่องระหว่างบุคคล ถึงบุคคลที่สาม ที่ไม่สามารถชี้แจงในทางสร้างสรรแก่ส่วนรวมได้ หรือมีเจ้าทุกข์ขอร้องมา จึงจะพิจารณาตามเหตุอันควร ก็ขอให้ทุกท่านสบายใจได้)

รูปภาพของ ฉินเทียน

กบนอกกะลา ตอน มังกรกตัญญู

 

รูปภาพของ ฉินเทียน

การพันผ้าคล้าย มัมมี่ มีในพิธีศพของจีน

โปรดฟังจาก ข่าวและบทสัมภาษณ์ ของ ฮวงสุ้ย บางบัวทองมูลนิธิ  ครับ

 

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal