หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

ร่วมรจน์บทกวีจีน

 
 水調歌頭    東坡詞
 
明月幾時有?把酒問青天。  
不知天上宮闕,今夕是何年。
我欲乘風歸去,又恐瓊樓玉宇,高處不勝寒。 
起舞弄清影,何似在人間。
轉朱閣,低綺戶,照無眠。
不應有恨,何事長向別時圓? 
人有悲歡離合,月有陰晴圓缺,此事古難全。
但願人長久,千里共嬋娟。 
 
ยกจอกถามนภา  จันทรามีแต่หนไหน 
ไป่รู้บนสวรรค์   ราตรีนี้เป็นคราใด
ใคร่เหิรลมหวนกลับคืน   ยังหวั่นเกรงแดนเมืองฟ้า  ช่างสูงส่งแลเหน็บหนาว  
จึ่งร่ายรำล้อเงาจันทร์  แดนมนุษย์หาไหนปาน  
เดือนคล้อยผ่าน  ตำหนักหอ  ใจอาวรณ์ยากหลับใหล
ใยเล่าจึ่งแค้นเคือง    ไม่สมหวังดั่งเดือนเพ็ญ
คนมีสุขทุกข์จำพราก    เดือนมีขึ้นมีข้างแรม  ยากสมปองแต่โบราณ  
ขอสัมพันธ์ยั่งยืนนาน    สุดขอบฟ้าร่วมจันทรา
 

赠别

 
赠别 杜牧
 
多情却似总无情, 

惟觉樽前笑不成。 

蜡烛有心还惜别, 

替人垂泪到天明。 
 
รักมากเปรียบเสมือนดั่งไร้รัก
มีเพียงจอกสุราไม่หรรษา
ดวงเทียนอาลัยยังอำลา
รินหลั่งน้ำตาให้เราจนรุ่งราง
รูปภาพของ นายวีรพนธ์

สิ่งที่ต้องขวนขวาย

รูปภาพของ จองกว๊านหมิ่น

ร้อยแก้วบทกวีท่านตู้มู้

อ่านกวีรักของตู้มู้ “มอบบทกวีให้เป็นของขวัญก่อนอำลาจากกัน” ให้อารมณ์ซาบซึ้งดีเหลือเกิน ขออนุญาตคุณ  过客  รจนาบทกวีนี้เป็นแบบร้อยแก้วนะครับ

กวีบทนี้ เขียนบรรบายถึงความรักของหนุ่มสาว ที่มีต่อกันอย่างท่วมท้น เมื่อถึงเวลาต้องลาจาก ทั้งที่ความรักล้นแน่นอก แม้มีจอกสุราอยู่เบื้องหน้า ก็ไม่อาจช่วยให้ยิ้มแย้มออก เป็นช่วงเวลาที่สุดแสนทรมาน มีความรักก็เหมือนดั่งไม่มี แม้เทียนยังเห็นใจในความพลัดพราก ต้องหลั่งน้ำตาแสดงความอาดูรจนรุ่งสาง บทกวีนี้อาจหมายบรรยายถึงความรักของตู้มู้กับสาวคนรักของท่าน

无题  唐

无题  唐 李商隐
 
相见时难别亦难,东风无力百花残。 
春蚕到死丝方尽,蜡炬成灰泪始干。 
晓镜但愁云鬓改,夜吟应觉月光寒。 
蓬山此去无多路,青鸟殷勤为探看。 
 
ยามประสบพบยากจากแสนยาก 
ลมโปรยโชยอ่อนบุปผาโรย 
ตัวไหมสิ้นใจจึ่งสิ้นสุดสายใย 
เปลวเทียนดับมอดน้ำตาจึ่งแห้งเหือด 
โฉมนางงามระทมกาลแปรผัน 
ครวญคร่ำยามดึกจันทร์ริบหรี่ 
จากนี้คิดไปไร้ซึ่งหนทาง 
วอนวิหคส่งข่าวแทนข้าที
สวัสดีครับโก๊วีรพนธ์และจ๊องโก๊ ไม่เจอกันทางเวบบอร์ดนานนะครับ ขอบคุณที่เข้ามาร่วมรจน์บทกวี ช่วงนี้ค่อนข้างเงียบเหงาไม่มีอะไรทำ  
เลยว่าจะเสนอบทกวีจีนให้เพื่อนสมาชิกสัก4-5บท อาจจะเป็นบทที่คุ้นเคยกันอยู่แล้ว 
รูปภาพของ จองกว๊านหมิ่น

无题詩 - ร้อยแก้วบทกลอนไม่ต้องตั้งชื่อ

ขออนุญาตคุณ   过客  ร่วมรจน์บทกวีตามเคย

บทกลอนบทนี้เขียนถึงความรักของชายหนุ่มหญิงสาว มีอุปสรรคขัดขวาง ยากนักที่จะได้พบกัน แต่เมื่อโอกาสมาถึง หมื่นแสนล้านคำที่พรั่งพรูจากใจยังไม่สุดสิ้น เพียงพริบตาก็ต้องมาลาจาก เป็นช่วงเวลาที่สุดแสนยากยิ่งที่ต้องพลัดพรากอีกครา ขอผูกเป็นร้อยแก้วดังนี้: 

เธอและฉันจะพบกันสักครั้งแสนลำบาก แต่ยามจากกลับรู้สึกยากยิ่งกว่าหลายเท่า ลมแห่งบูรพาสงบแล้ว มวลบุปผาต่างร่วงโรย หนอนไหมคลายไหมหมดก็สิ้นชีพ ดังเช่นความคิดถึงของฉันตราบชีวิตสิ้นจึงสงบ คราเมื่อเทียนเผาไหม้ คลายหยดเทียนดั่งน้ำตา รอเทียนเผาไหม้หมดจึงหยุดหลั่ง แต่น้ำตาแห่งความคิดถึงของฉัน ต้องรอวันตายมาเยือนเท่านั้นถึงหยุดไหล ยามเช้าส่องกระจกมองใบหน้า เห็นใบหน้าที่หมองคล้ำอีกทั้งผมที่เคยดกดำ มาบัดนี้ได้กลายขาวโพลนเสียแล้ว ยามค่ำคืนอ่านบทกลอน รู้สึกถึงแสงจันทร์ที่เย็นยะเยือก แม้ว่าที่อยู่ของเธอจะไม่ห่างไกลนัก แต่จนปัญญาที่จะได้พบกัน รู้สึกระทมทุกข์เหลือเกิน วานหน่อยได้ไหมนกเขียวที่อารีย์จ๋า ช่วยเป็นสื่อให้เราสอง ได้รู้ข่าวคราวกันบ้าง เพื่อปลอบประโลมใจคลายความคิดถึงและความทุกข์ต่อกัน
 

無題  李商隱 - 謝宇威爵士唐詩專輯

虞美人

虞美人 李煜

春花秋月何时了 
往事知多少 
小楼昨夜又东风 
故国不堪回首月明中 
雕栏玉砌应犹在 
只是朱颜改 
问君能有几多愁 
恰似一江春水向东流  
 
  
บุบผาจันทราคราใดสิ้น 
ความหลังฝังใจมากเพียงใด 
ลมบูรพาผ่านหอเมื่อคืนวาน 
สิ้นแผ่นดินสุดจะทานกลางแสงจันทร์ 
วิหารเวียงวังงามตระการนั้นยังคง 
เพียงโฉมงามนางอนงค์ที่เปลี่ยนไป 
ถามใจนั้นระทมทุกข์มีเท่าใด 
ดังสายน้ำที่ไหลไปไม่หวนคืน 
รูปภาพของ จองกว๊านหมิ่น

คิดถึงดอกหวีเหม่ยเหยิน

อีกหนึ่งบทกลอนดีดี ขอร่ายบทร้อยแก้วดังนี้:

กลอนบทนี้ เป็นกลอนตอนหลี่วี่ถูกจับเป็นเชลยอยู่ที่เมืองเปี้ยนจิง พรรณนารำพันถึงวันคืนไม่คอยท่า วันเวลาไม่คอยใคร สายน้ำไหลไปย่อมไม่ไหลย้อนกลับ ทุกสรรพสิ่งยังคงเหมือนเดิม แต่สังขารหน้าตาของคนต้องร่วงโรยซีดเซียวด้วยความระทมทุกข์ เมื่อเห็นจันทราแลหมู่มวลบุปผามาลี จิตกระหวัดย้อนคิดถึงอดีตสมัยอยู่อุทยานในวังเมืองหนานจิง
 
กาลเวลาผ่านไปปีแล้วปีเล่า เมื่อไหร่ถึงสิ้นสุด อดีตเรารู้อะไรมากมายแค่ไหร่ เมื่อคืนลมบูรพาโชยพัดมาในหอน้อย ทำให้คิดถึงบ้านเมืองที่เคยอยู่อู่ที่เคยนอนอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันจนสุดทานทน สถานวังเวียงอันโอ่อ่าในอดีตยังคงหลงเหลืออยู่ เพียงอาจลดความสวยงามอลังการแต่เดิมไปบ้าง ขอถามท่านหน่อยเถิดจะรู้สึกเศร้าหมองมากน้อยเพียงใด ทว่าความทุกข์เศร้าหมองเช่นนั้นก็เหมือนดั่งสายน้ำอันกว้างใหญ่ที่ค่อยๆไหลลับไป
 

虞美人 - 鄧麗君 主唱
虞美人花 - ดอกป๊อปปี้

送柴侍御 唐

送柴侍御 王昌龄

流水通波接武冈,
送君不觉有离伤。 
青山一道同云雨,
明月何曾是两乡。

สายน้ำกระทบคลื่นเนินอู่กัง
จากกันวันนี้ไม่โศกา
เขาเขียวทิวแนวร่วมฝนฟ้า
เดือนเพ็ญไหนหรือมีสองดวง
รูปภาพของ จองกว๊านหมิ่น

送柴侍御 - ส่งขุนนางไฉกลับบ้าน

สายน้ำและเกลียวคลื่นไม่อาจรับรู้ถึงความรู้สึกของการลาจาก ยังคงไหลสู่ด้านล่างเลียบเมืองอู่กังตามวิถี เป็นเรื่องราวร่ำลากันของสองสหายระหว่างขุนนางฉายและหวังชางหลิง(ผู้แต่งบทกวี)คราวขุนนางฉายมาเยี่ยมเยียนถึงถิ่นอำเภออู่กัง ไม่มีงานเลี้ยงไหนไม่เลิกรา งานเสร็จก็ต้องจาก จึงเป็นหน้าที่ของหวังชางหลิ่งที่ต้องไปส่งเพื่อน แต่การส่งครั้งนี้ ไม่มีความเศร้าเสียใจใดๆ ตลอดเส้นทางต้องผจญกับเมฆฝนและผ่านแมกไม้เขาเขียวด้วยกัน ท้ายสุดก็ต้องลากันไปคนละแห่งหน แม้จะอยู่คนละที่ แต่ก็อยู่ใต้แสงจันทร์ดวงเดียวกัน

 

王昌龄画像

 

送別

รูปภาพของ จองกว๊านหมิ่น

静夜思 - 李白

静夜思 - 李白 - ความคิดถึงในคืนสงบ

床前明月光      หน้าเตียงนอนแสงจันทร์ส่องนวลใย
疑是地上霜      ให้สงสัยน้ำค้างหล่นบนพื้นดิน 
舉頭望明月      ยกหัวมองแสงจันทร์พลันถวิล  
低頭思故鄉      ก้มหน้าอินคิดถึงถิ่นดินแดนเกิด

เป็นการนำธรรมชาติมาเปรียบเทียบกับความรู้สึก จนเกิดมโนภาพเคว้งคว้างงงงวยสงสัย เห็นแสงจันทร์คิดว่าเป็นน้ำค้างแข็งหล่นโรยทั่วพื้นดิน จนต้องยกหัวขึ้นมองให้แน่ใจ เมื่อไม่ได้เป็นอย่างที่คิด จึงทรุดตัวก้มหน้าหวนคิดถึงบ้านเกิดทันใด

ผู้แต่งบทกวีหลี่ไป่  (李白) ชาวฮั่น พื้นเพเดิมเป็นคนเสฉวน เกิดที่เจี้ยนหนานเต้า (绵州 เหมียนเจา) อายุห้าขวบติดตามย้ายถิ่นฐานตามผู้พ่อหลี่เค่อ  (李客) ไปยังอำเภอชางหลง  (昌隆县) มีลูกชายสองหญิงหนึ่ง รวมผลงานบทกวีทั้งสิ้นกว่าพันบท อายุหกสิบเอ็ดปีเสียชีวิต สุสานอยู่ที่มณฑลอานฮุย  (安徽省)
 
 
 李白画像
 
 思故鄉

พลังประชา

พลังประชาชน    ศรีบูรพา
 
           หยดฝนย้อยหยาดฟ้ามาสู่ดิน             ประมวลสิ้นเป็นมหาสาครใหญ่
          แผดเสียงซัดปฐพีอึงมี่ไป                  พลังไหลแรงรุดสุดต้านทาน
          อันประชาสามัคคีมีจัดตั้ง                   เป็นพลังแกร่งกล้ามหาศาล
          แสนอาวุธแสนศัตรูหมู่อันธพาล          ไม่อาจต้านแรงมหาประชาชน 


群 众 的 力 量
西巫拉帕(泰国)

雨水从天滴下落,
万涓总汇流成河。
汹涌澎湃惊天地,
气势如虹涛声急。

万众一心团结紧,
铜墙铁壁志如钢。
枪林弹雨何所惧,
滚滚洪流向前去。
 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal