หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

ประวัติสมาคมฮากกา ปากช่อง 北沖客家會館之歷史

รูปภาพของ webmaster

ประวัติสมาคมฮากกา ปากช่อง 北沖客家會館之歷史
(คัดลอกจากหนังสือ เทเบิลเทนนิสชิงถ้วยฮากกาฯ "ปากช่อง 2008" ISBN 978 974 766 040 1)

1 ซ.1 ถ.เทศบาล 17 ต.ปากช่อง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130 โทร. 044 311007 

(GPS. 14.70401 ํ N , 101.41249 ํ E)

ประวัติสมาคมฮากกาปากช่อง 北沖客家會館之歷史

ชุมชนปากช่องตั้งอยู่บนพื้นที่เทือกเขาสูง ซึ่งในอดีตมีอากาศเยือกเย็นตลอดทุกฤดูกาล เป็นพื้นที่ป่าดงดิบที่มี ต้นไม้ใหญ่น้อยนานาพันธุ์ปกคลุมอย่างหนาแน่น มีสายน้ำ ไหลเย็นตลอดปี จึงเป็นที่อยู่ของเหล่าสิงสาราสัตว์ใหญ่น้อยมากมาย และชุกชุมด้วยเชื้อไข้ป่าไข้มาลาเรีย ที่เป็นอันตรายแก่ผู้อยู่อาศัย และผู้สัญจรเดินทาง จนเป็นที่เล่าลือกันว่า เป็นดงพญาไฟ แห่งเทือกเขาดงพญาเย็น ที่กันอาณาเขต ระหว่างภาคกลางกับภาคอีสาน

ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างทางรถ ไฟ ซึ่งต้องระเบิดภูเขา เพื่อวางรางรถไฟ เป็นช่องทาง จาก กรุง สยามไปโคราชจึงได้ชื่อบ้านปากช่องได้มีชาวฮากกาเป็น หนึ่งในชนกลุ่มแรกๆ ที่มาอาศัยอยู่ อาจเป็นเพราะสภาพที่
รายล้อมไปด้วยขุนเขา ที่มีความใกล้เคียงกับภูมิประเทศเดิม ของชาวฮากกาในประเทศจีน และอยู่บนเส้นทางผ่านที่สำคัญ เหมาะแก่การทำธุรกิจอาชีพต่างๆ จึงมีชาวฮากกามาอาศัยอยู่ภายใต้ร่มโพธิสมภารแห่งเมืองสยามมากขึ้นเรื่อยๆ

ต่อมาในปี 2499 ได้มีการสร้างถนนมิตรภาพต่อจากจังหวัดสระบุรีไปนครราชสีมา จึงทำให้มีผู้คนเชื้อชาติต่างๆ ที่จากบ้านเกิดเมืองนอนมาตั้งถิ่นฐานมากขึ้นเรื่อยๆ ต่างคนต่างทำมาหาเลี้ยงชีพไปตามความสันทัด ซึ่งโดยพื้นฐาน ชาวฮากกา เป็นผู้มีความขยันอดทน ใฝ่การศึกษาในศิลปาชีพต่างๆ จึงมักนิยม ประกอบสัมมาชีพที่ต้องอาศัยฝีมือความชำนาญ เช่น ช่างทอง ช่างเหล็ก ช่างภาพ ช่างเครื่องเสียง อู่ซ่อมรถ โรงกลึง การผลิตแปรรูปอาหาร ภัตตาคาร การประดิษฐ์จำหน่าย ภูษาอาภรณ์ การค้าพืชไร่ของป่า เครื่องก่อสร้าง และสินค้าเบ็ดเตล็ดต่างๆ ซึ่งมีส่วนช่วยกันสร้างความเจริญ รุ่งเรืองแก่ชุมชนขึ้นอย่างรวดเร็ว และได้ปรับฐานะจากกิ่งอำเภอ เป็นอำเภอปากช่องขึ้นตามลำดับ ซึ่งในสมัยนั้นชาวไทย ชาวฮากกา และชาวจีนโพ้น ทะเลอื่นๆ ได้มีการช่วยเหลือกันด้วยดีเสมอมา โดยไม่เลือกเชื้อชาติ ศาสนา ก่อนที่จะรวมตัวกันเป็นกลุ่มองค์กร สาธารณกุศลในภายหลัง

จนกระทั่งในราวต้นปี 2507 ได้เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ เกิดสมาคมฮากกาขึ้น คือ ได้มีชาวจีนอายุราว 80 ปี อาศัยเช่าบ้านอยู่ข้าง ธนาคารไทยพัฒนา มีฐานะยากจน เลี้ยงชีพด้วยการทำเต้าหู้ขาย ไม่มีลูกเมียญาติพี่น้องเกิดป่วยตายอยู่ในบ้าน จึงไม่มี ใครจัดการศพให้ เถ้าแก่กวงฮั้ว (歲添先生) จึงได้ชักชวนชาวฮากกาได้หลายคน ร่วมกันช่วยเหลือจัดพิธีการ งานศพ และคุณจองค่องเซียน (張貺先 ร้านใบโพธิ การช่าง) ได้เขียนคำไว้อาลัยอ่านในงานฝังศพ เพื่อให้ผู้ตายได้ไปสู่สุคติ

จากเหตุการณ์ในครั้งนั้นชาวฮากกาปากช่องได้ร่วมปรึกษากันที่บ้านของคุณวันเทียม แซ่อุ่น (วุนซุ่ยเทียน 溫歲添 ร้านก้วงฮั้ว) ชวนกันก่อตั้ง “ชมรมผู้สูงอายุฮากกาปากช่อง” (織成立客家老人會) ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ไม่ว่าจะเป็นงานมงคลหรืองานศพ โดยจะช่วยเจ้าภาพ จัดการงานในพิธี และเชื่อมความสามัคคีของชาวฮากกาในปากช่อง โดยมีผู้ร่วมประสานงานในครั้งนั้นหลายท่านเช่น คุณเจ็นฝ่านซิ้น (曾繁盛 ร้านทองตราไก่), คุณหวองซุนกวง (王仲光ร้านเฮงย่งหลี), คุณเถียน ฟู่แค (田湖溪 ร้าน ซ.ภูษา), คุณห่อล้องเจ้ง (何浪增 ร้าน ศิริวัฒน์) , คุณวุนซักฉุ่ง (溫石崇 ร้านฉุ่งกี่), คุณหอทุ้ยเซน (何兌增 ร้านยอดภูษา) , คุณฉีซุ่งถ่อย (徐重臺 ร้านใจ้หลี), คุณฉีจั้นถอย(徐贊台 ร้านเตียงแซ ), คุณหว่อง ฉิ่นฝ่า (黃承華 ร้านไทยศิลป์) , คุณหอโฟ่วไจ้ (何火載 ร้านเลิศศิลป์), และคุณหลีเมียวออน (李懋安 ร้านหมูสะเต๊ะ) เป็นต้น ได้ชักชวนพี่น้องชาวฮากกา ผู้ที่ใช้ภาษาเดียวกันเป็นสื่อเชื่อมความสามัคคี ให้ความเกื้อกูลกันมากขึ้น ใครพร้อมด้านใด ก็ช่วยเหลือกันอย่างเต็มที่ บ้างก็ช่วยปัจจัย บ้างก็ช่วยสละเวลา หรือข้าวของต่างๆ เช่น คุณวุนซักฉุ่ง ที่มีกิจการรถโดยสาร ก็จะนำรถโดยสารมาบริการให้ฟรีเสมอ คุณค่องเซียน ถนัดด้านพิธีการ ก็ช่วยจัดการพิธีต่างๆ ทุกคนมาร่วมช่วยกันด้วยความจริงใจ เข้มแข็ง เป็นปึกแผ่น จึงทำให้มีพลังที่สามารถช่วยงานสังคม และชุมชนกันได้มากขึ้น

ต่อมาในปี 2509 ได้จัดตั้ง “ชมรมผู้สูงอายุฮากกาปากช่อง” (織成立客家老人會) มีคณะทำงานประกอบด้วย
1.王仲光 理事長 นายซุนกวง แซ่หวัง (หวองชุ้นกวง) ร้านเฮงย่งหลี เป็นประธานชมรม
2.曾昌盛 財政 นายฮ้องเส็ง แซ่จัง (เจ็นฝ่านซิ้น) ร้านทองตราไก่ เป็นเหรัญญิก
3.陳縱盛 秘書 นายเจียงซือ แซ่ฉิน (ฉินจุ้งซิ้น) ร้านช.ประดิษฐ์ เป็นเลขานุการ

ในปี 2511 ได้เลือกตั้งคุณฮ้องเส็ง แซ่จัง (曾繁盛) เป็นประธานชมรม สมัยที่ 2 คณะทำงานมีความเห็นว่าควร ปรับเปลี่ยนชื่อชมรมใหม่ เพื่อรองรับสมาชิก และสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้สร้างสรรค์มากขึ้น ซึ่งในขณะนั้นมีพี่น้อง ชาวฮากกาประมาณกว่า 100 ครัวเรือน หรือมากกว่า 200 คน ที่อาศัยอยู่ในอำเภอปากช่อง จึงได้ประชุมลงความเห็นร่วมกันที่ภัตตาคารแต้ฮกกี่ (福記酒樓) โดยเปลี่ยนจาก “ชมรมผู้สูงอายุฮากกาปากช่อง” (織成立客家老人會) มาเป็น “ชมรมฮากกาปากช่อง” (北沖客屬理事會) หลังจากได้จัดตั้งชมรมแล้ว ก็มีพี่น้องชาวฮากกา มาเข้า รวมกลุ่มช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นสาธารณกุศลมากขึ้น และทำให้ชาวฮากกา เริ่มเป็นกลุ่มก้อน ที่รู้จักกันเป็นวงกว้าง มากขึ้นเรื่อยๆ แต่ยังไม่มีที่ทำการเป็นหลักแหล่งโดยอาศัย ภัตตาคารต่างๆ หมุนเวียนกันเป็นที่ประชุมเรื่อยมาทุกเดือน

ในปี 2513 มีการเลือกตั้งคณะทำงาน เป็นสมัยที่ 3 ซึ่งถือเป็นกรรมการ ผู้ก่อตั้งชมรมชมรมฮากกาปากช่อง ให้เป็นองค์กรสาธารณกุศล มีที่ทำการเต็มรูปแบบ ได้มาถึงปัจจุบัน ประกอบด้วย :-

คณะกรรมการสมัยที่ 6 -2517


1. 曾繁盛 理事長 นายฮ้องเส็ง แซ่จัง (เจ็นฝ่านซิ้น) ร้านทองตราไก่ ประธานชมรม
2. 王仲光 理事 นายซุ้งกวง แซ่หวัง (หว่องชุนกวง) ร้านเฮงย่งหลี กรรมการ
3. 田湖溪 理事 นายฟู้แค แซ่เถียน (เถียนฟู้แค) ร้าน ซ.ภูษา กรรมการ
4. 何浪增 理事 นายล่องเซน แซ่หอ (หอล่องเซน) ร้านศิริวัฒน์ กรรมการ
5. 陳縱盛 理事 นายเจียงซือ แซ่ฉิ่น (ฉินจุ้งซึ้น) ร้าน ช.ประดิษฐ์ กรรมการ
6. 何兌增 理事 นายทุ้ยเซน แซ่หอ (หอทุ้ยเซน) ร้านยอดภูษา กรรมการ
7. 田按東 理事 นายปราโมทย์ พาหิระ (เถียนอ้อนตุง) ร้านเจริญพัฒนา กรรมการ
8. 張貺先 理事 นายค่องเซียน แซ่จอง (จองข้องเชียน) ร้านใบโพธิ์การช่าง กรรมการ
9. 黃承華 理事 นายฉิ่นฝ่า แซ่หว่อง (หว่องฉิ่นฝ่า) ร้านไทยศิลป์ กรรมการ
10. 何火載 理事 นายโฟ่วไจ้ แซ่ห่อ (หอโฟ่วไจ้) ร้านเลิศศิลป์ กรรมการ
11. 劉漢滔 理事 นายฮ่อนเทา แซ่หลิ่ว (หลิ่วฮ่อนเทา) ร้านฮั่นปิง กรรมการ
12. 張安庭 理事 นายออนถิ่น แซ่จอง (จองออนถิ่น) ร้านอันถิ่น กรรมการ
13. 溫石崇 理事 นายซักฉุ่ง แซ่หวุน (วุนซักฉุ่ง) ร้านฉุ่งกี่ กรรมการ
14. 徐重臺 理事 นายชุ่งถ่อย แซ่ฉี่ (ฉีชุ่งถ่อย) ร้านใจ้หลี กรรมการ
15. 徐贊生 理事 นายจังไท้ แซ่ชือ (ฉีจั้นเซน) ร้านเตียงแซ กรรมการ
16. 藍義 理事 นายงี้ แซ่หล่ำ (หล่ำหงี้) ร้านทรงสากล กรรมการ
17. 李懋安 理事 นายเมียวออน แซ่หลี (หลีเมียวออน) ร้านหมูสะเต๊ะ กรรมการ

ต่อมาได้มีการประชุมคณะกรรมการกันที่ภัตตาคารการพานิช มีมติให้ จัดหาที่ตั้งของชมรม โดยประธานเป็น ผู้เจรจาขอซื้อ 2 ห้องในซอยอาภารัตน์ (ซอย 1 ถนน เทศบาล 17 ในปัจจุบัน) และเถ้าแก่กวงฮั้วเป็นผู้ขายห้องเมื่อทราบว่าจะใช้ทำชมรมฮากกา จึงได้บริจาคกลับคืนให้ ชมรมฯ หนึ่งหมื่นบาท คณะกรรมการและสมาชิก ต่างช่วย กันบริจาคเงินสมทบเพื่อซื้อที่ และบ้างก็นำสิ่งของเครื่องใช้ มาช่วยกันตกแต่งปรับปรุงที่ทำการของชมรมฯ จนเป็นที่สำเร็จเรียบร้อยในปลายปีนั้นเอง ได้ประชุมเลี้ยงฉลองกัน ในวันที่ 15 ธันวาคม และในการประชุมครั้งนี้ ได้หารือวิธีการที่จะจัดตั้งชมรม ให้เป็นองค์กรที่สามารถสนับสนุนงาน กับทางราชการได้อย่างสง่าผ่าเผย โดยมีแนวคิดที่จะร่วม กับ สมาคมฮากกานครราชสีมาที่มีอยู่ก่อนแล้ว และด้วยข้อเสนอแนะจากคุณมุข สุจินดาเสถียร (田沐庭) ร้านผ่านฟ้า อดีตนายกสมาคมฮากกานครราชสีมา

ในต้นปี 2515 นายปราโมทย์ พาหิระ (田按東) เป็นประธาน สมัยที่ 4 ที่ประชุมได้แต่งตั้งผู้แทนไปติดต่อสมาคมฮากกานครราชสีมา (議決委派四位代表計) จำนวน 4 คน คือ นายซุ้งกวง แซ่หวัง (王仲光) , นายฮ้องเส็ง แซ่จัง (曾繁盛) , นายเถียนฟู่แค (田湖溪) และนายปราโมทย์ พาหิระ
(田按東) ผลจากการไปเจรจาติดต่อกับสมาคมฮากกานครราชสีมา และด้วยการสนับสนุนโดยคุณมงคล เทียนไพบูรณ์ (田偉民) นายกสมาคมฮากกานครราชสีมา อยู่ก่อนแล้ว จึงได้รับการตอบรับด้วยความยินดียิ่ง และให้ใช้ชื่อว่า “สำนักงานอนุกรรมการสมาคมฮากกานครราชสีมา ประจำอำเภอปากช่อง” (柯叻客屬會所駐北沖幹事辦事處) และในคืนนั้นเอง ก็ได้กลับมาประชุมหารือถึงการ จัดตั้งสำนักงานฯสมาคม

เปิดที่ทำการอนุสมาคม 2516


ในปี 2516 ได้ทำพิธีเปิดป้าย สำนักงานอนุกรรมการ สมาคมฮากกา โดยเรียนเชิญ นายวิชิต ศุขะวิริยะผู้ว่าราชการ จังหวัดนครราชสีมา นายจรวย ยิ่งสวัสดิ์ นายอำเภอปากช่อง คุณมงคล เทียนไพฑูรย์ (田偉民) นายกสมาคมฮากกา นครราชสีมา รวมทั้งพ่อค้าประชาชนในอำเภอปากช่องมา ร่วมงานในพิธีเปิดป้ายสมาคมฮากกา อย่างเป็นทางการใน วันที่ 18 มิถุนายน 2516 ณ ที่ทำการในปัจจุบันนี้

ในปี 2517 นายปราโมทย์ พาหิระ (田按東) เป็นประธาน สมัยที่ 5 ได้มีการ เพิ่มคณะกรรมการจาก 17 คนเป็น 21 คน ซึ่งในยุคของประธานชมรมทั้งสองท่าน คือ คุณฮ้องเส็ง และคุณปราโมทย์และด้วยความร่วมมือจากสมาชิกสมาคมทุกท่าน ทำให้สมาคมฮากกาปากช่อง เป็นที่รู้จักของชาวปากช่องเป็นอย่างดีว่า เป็นสมาคมที่บำเพ็ญ ประโยชน์เพื่อสังคม และทำให้ชาวฮากการู้รักสามัคคีกันเป็นอย่างดี โดยให้มีการจัดงานสังสรรค์สมาชิกเป็นประจำทุกปี ในวันที่ 15 ของเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ ระหว่างสมาชิก จากเริ่มต้นจนถึงปัจจุบันตลอดมาไม่เคยขาด

ปี 2521 คุณหย่องค่อยฝ่า 楊楷華 (ร้านนิวสมบูรณ์) เป็นประธานสมัยที่ 6 และ เพิ่มตำแหน่งรองประธานชมรม อีก 2 ตำแหน่ง และต่อมาสมัยที่ 7,8 และ 9 คุณฮ้องเส็ง แซ่จัง 曾昌盛 เป็นประธาน 3 สมัย
คณะกรรมการสมัยที่ 11 - 2525


ปี 2528 คุณปราโมทย์ พาหิระ (田按東) ได้รับเลือก เป็นประธานอีก 5 สมัยคือสมัยที่ 10-15 เป็นเวลา 7 ปี และเนื่องจากทางชมรม ได้มีกฎเกณฑ์ การสงเคราะห์ช่วยเหลือ สมาชิกในด้านต่างๆ เป็นที่ลงตัวดีแล้ว จึงไม่มีการปรับปรุงแก้ไขเปลี่ยนแปลงใดๆ มากนัก ทั้งกรรมการ และสมาชิกหลายท่าน จึงมีเวลาได้ไปช่วยงานสังคมอื่นๆ เช่น ร่วมเป็นกรรมการมูลนิธิสว่างวิชาธรรมสถาน กรรมการศาลเจ้าพ่อรูปสวย และองค์กรการกุศลต่างๆ เพื่อความเป็นปึกแผ่น สามัคคีกลมเกลียวกัน ของชาวปากช่องมากยิ่งขึ้น


ในปี 2535 คุณหลิ่วฮั้นเทา 劉漢滔 (ร้านฮั่นปิง) เป็น ประธาน สมัยที่ 16

ในปี 2537 คุณค้องเซียน แซ่จอง 張貺先 (ร้านใบโพธิ์ การช่าง) เป็นประธาน สมัยที่ 17

ในปี 2539 คุณงี้ แซ่หล่ำ 藍義 (ร้านทรงสากล) เป็นประธาน สมัยที่ 18-19

ในปี 2543 คุณค้องเซียน แซ่จอง 張貺先 เป็นประธานสมัยที่ 20 ที่ประชุมได้ลงความเห็นกว่า สมควรเปิด โอกาสให้คนหนุ่มรุ่นใหม่เข้ามาบริหารสมาคม เพื่อให้ทันสมัยต่อโลกในปัจจุบัน จึงจะเจริญเติบโตยิ่งขึ้น

ในปี 2545 คุณสุรชัย จิรสุวรรณพงศ์ 曾祥榮 (ร้านทองตราไก่2) บุตรของบรรพชนผู้ริเริ่มก่อตั้งท่านหนึ่ง(曾冒盛) ได้รับเลือกเป็นประธานชมรม สมัยที่ 21 และ 22 มีความคิด ที่จะยกฐานะขึ้นเป็นสมาคม โดยคุณกู้ศักดิ์ ขวัญศิริกุล (張天喜) เป็นเลขาสมาคม และคณะกรรมการสมัยที่ 23 ได้ดำเนินการจดทะเบียนโดยได้รับใบอนุญาตจัดตั้งได้สำเร็จ ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ.2547 เล่มที่ 121 ตอนที่ 35ง. หน้า 41 ในนาม “สมาคมฮากกาปากช่อง” ซึ่งมีวัตถุประสงค์คือ
1. ส่งเสริมความสามัคคีและช่วยเหลือชาวฮากกาด้วยกัน
2. ร่วมกันบำเพ็ญกุศล และสาธารณประโยชน์
3. ช่วยเหลือผู้ยากไร้


ปี พ.ศ.2549-2552 นายกุล ศรีมิ่งมงคลกุล 徐志均 (บริษัทตังนำเกษตร) บุตรของบรรพชนผู้ร่วมก่อตั้งชมรมฮากกาปากช่อง (徐贊生) ได้รับเลือกเป็นนายกสมาคมฮากกาปากช่อง สมัยที่ 23-24 ด้วยความร่วมมือจากอดีตนายกสมาคม และคณะกรรมการทุกท่านเป็นอย่างดี จึงได้มีกิจกรรมที่หลากหลายที่มากขึ้น ตั้งแต่การปรับปรุงตกแต่งที่ทำการสมาคม ให้สวยงามเย็นสบาย สามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่เดิมได้มากขึ้น มีการจัดคณะเดินทางไปยังถิ่นฐานบ้านเกิดของบรรพบุรุษฮากกา ที่ได้รับการต้อนรับอย่างเป็นทางการ จากเจ้าเมืองฟุงสุ่น และหม่อยแหย้น ได้มีการจัดตั้ง ชมรมฝึกสอนการร้องเพลง ชมรมปิงปองที่มีอุปกรณ์ และ เครื่องฝึกซ้อมที่ทันสมัย และจัดให้มีการออกเดินเยี่ยมเยียนบ้านสมาชิก ในช่วงตรุษจีน และวาระต่างๆ เป็นต้น


ปี พ.ศ.2553-2555 นายบำรุง ลาภรังสิรัตน์ 劉文華 ผลิตภัณฑ์ไก่ชัยฟ้า เป็นนายกสมาคมฮากกาปากช่อง สมัยที่ 25-26


ปี พ.ศ.2556-ปัจจุบัน นายกุล ศรีมิ่งมงคลกุล 徐志均 บริษัทเขาใหญ่ 168 เป็นนายกสมาคมฮากกาปากช่อง สมัยที่ 27-ปัจจุบัน

 

ส่วนในด้านการจัดการ ได้พยายามรวบรวมทายาท ผู้ก่อตั้งเข้าเป็นกรรมการ ให้ชาวฮากกาปากช่อง มีส่วนร่วมการดำเนินงานมากขึ้น ด้วยนโยบายที่เปิดกว้าง และสร้างความสัมพันธ์กับองค์กรมวลชนต่างๆ จึงได้ความ ร่วมแรงร่วมใจกันอย่าง กว้างขวาง ทำให้มีศักยภาพที่สูงขึ้น จนได้รับความไว้วางใจให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเทเบิลเทนนิส ชิงถ้วยฮากกา ประเทศไทย ในครั้งที่ 6 โดยใช้ชื่องานว่า “ปากช่อง 2008” ที่จะจัดขึ้นในปี พ.ศ.2551

ที่ปรึกษาสมาคมฮากกาปากช่อง สมัยที่ 23 ประกอบด้วย
1 นาย ชนะศักดิ๋ อุ่นเมตตาอารี 溫清榮
2 นาย ไพฑูรย์ เกื้อสกุล 丘派吞
3 นาย เกษม ศรีกัลยบุตร 陳開修
4 นาย เกียรติพงษ์ ศิริพงษ์พานิช 陳福茂
5 นาย ปราโมทย์ พาหิระ 田按東
6 นาย ไพโรจน์ พัตตานิชานนท์ 江派洛
7 นาย สมศักดิ์ ตันเจริญ 陳國興
8 นาย เก้งเจีย แซ่เจี่ย 謝景章
9 นาง มณีรัตน์ จิรสุวรรณพงศ์ 曾吳滿美
10 นาย ค่องเซียน แซ่จอง 張貺先

คณะกรรมการสมาคมฮากกาปากช่อง สมัยที่ 23
1 นาย กุล ศรีมิ่งมงคลกุล 徐志均 นายกสมาคม
2 นาย สุรชัย จิรสุวรรณพงศ์ 曾祥榮 อุปนายก
3 นาย กฤชวัฒน์ ศิริวงศ์ศาล 陳秋文 อุปนายก รองเหรัญญิก
4 นาย สมชาย โรจนมงคลกุล 黃萬盛 อุปนายก
5 นาย สมเกียรติ จนะพันธ์ 黃中和 อุปนายก
6 นาย ซิ่นเหมี่ยน แซ่หว่อง 黃承麵 อุปนายก
7 นาย งี้ แซ่หล่ำ 藍義 เลขาจีน
8 นาย สุรสิทธิ์ จิรสุวรรณพงศ์ 曾祥宗 รองเลขาจีน
9 นาย นิยม โรจนวิจิตรกุล 張利昌 รองเลขาจีน
10 นาย กู้ศักดิ์ ขวัญศิริกุล 張天喜 เลขาไทย
11 นาย คณิตศักดิ์ สิทธิพงศ์ธนกุล 李兆文 รองเลขาไทย
12 นาย บำรุง ลาภรังสิรัตน์ 劉文華 อุปนายก เหรัญญิก
13 นาย พิเชษฐ์ ตุลาบดี 楊國楨 อุปนายก ปฎิคม
14 นาย ธวัชชัย ศิริพิทักษ์วงศ์ 徐富權 อุปนายก ทะเบียน
15 นาย คณากร ศรีมิ่งมงคลกุล 徐可均 ผู้ช่วยทะเบียน
16 นาย นิพนธ์ จารุรัตน์อาภา 黃亞成 กรรมการ
17 นาย กิมเถ่า แซ่ฉิ่น 陳幹濤 กรรมการ
18 นาย กวงเม้ง นวฤทธิ์อัศวิน 黃光明 กรรมการ
19 นาย วิลา วิวัฒน์มนัสกุล 徐阿浪 กรรมการ
20 นาย วิชาญ อัครบรรยง 饒和宗 กรรมการ
21 นาย อนุวัตร ศรีกัลยาณบุตร 陳泰泉 กรรมการ
22 นาย มนัส ลาภรังสิรัตน์ 劉文龍 กรรมการ
23 นาย เนียม งามพลกรัง 曾昭捻 กรรมการ
24 นาย บุญยัง กาญจนา 符文榮 กรรมการ
25 นาย ชูศักดิ์ อนุสกุลเจริญพร 鍾淮柱 กรรมการ


北沖客屬幹事處為何會發起成立的過程、本人張貺先﹑回憶當時起源的情形頗有一些明悉﹑謹將略記簡單概況詳述一二。起源於佛曆2507年二三月之間﹑因有一位华人﹑年紀約八十歲左右﹑租家於現今泰帕立銀行前後﹑平素賣豆腐謀生﹑環境清寒﹑病逝於住寓﹑無親人看終料理﹑在此情況之下﹑適遇溫廣和東翁歲添先生﹑有鑑於此﹑立即邀請好幾位客家老闆人士踴躍幫助料理各項工作﹑還山之曰﹑本人張貺先亦參加送葬行列﹑而且自備寫有-篇奠章在義山眾人舉行永別禮之時﹑向柩前告讀悼書﹑使其靈安淨土。自那事過後﹑大家就誠意集合討論而決議組織成立客人老人會﹑立即得到多位前輩們的至持﹑同意負責為召集人計有曾繁盛﹑王仲光﹑溫歲添﹑田湖溪﹑何浪增﹑宗旨是為客家人如有紅白好事之時﹑大家不分彼此齊心協助主家料理各項工作﹑在這種情態之下合力維持了兩年的時光。迨至佛曆2509年再蒙多位熱心前輩們假福記酒樓開會提議﹑討論老人會以後改稱為北沖客屬理事會﹑同時推選理事人職位﹑首推王仲光為笫一屆主任﹑財政﹑曾繁盛﹑陳縱盛為中文秘書。至2510年再由理事會討論﹑議決委派四位代表計﹑曾繁盛﹑王仲光﹑田湖溪﹑田按東至柯叻客館申請成立分會﹑馬上得到接納名為 柯叻客屬會所駐北沖幹事辦事處﹑隨即將理事會改選為第二屆並擴充加入理事多人如 田按東﹑劉漢滔﹑黃承華﹑張貺先﹑何火載﹑徐重臺﹑徐贊生﹑溫石崇﹑張安庭﹑何兌增﹑藍義等並選出曾繁盛先生為笫二屆幹事主任﹑任期一屆兩年。

至2512年得悉溫廣和東翁有意承讓兩閒空屋﹑於是由曾主任去接洽買來做會所﹑而以二十萬銖成交﹑溫先生首先贊助一萬銖﹑餘款由四位理事即 曾繁盛﹑田湖溪﹑田按東﹑王仲光先行代付﹑諸會員得知情形都熱心贊助捐款使各項財務和建築工程順利完竣﹑而在+二月底召開改選第三屆理事﹑結果由全班人馬蟬聯。並召開首次會員常年聯歡大會日期定為+二月+五日﹑一直至今。至2513年七月理事會籌備舉行現今會所揭幕儀式﹑恭請當時府尹﹑縣長﹑長官和當地僑商主持剪綵。2515年改選第四屆理事會並擴增理事人員由十七增至廿一位由 田按東先生任幹事主任。第五屆理事由舊的連任未有多大變動﹑時至笫六屆2521年由 楊楷華先生任幹事主任並增加兩位副主任職。第七﹑八﹑九屆由 曾繁盛先生連任三屆幹事主任。繼由田按東先生連任五屆幹事主任至第十五屆﹑此時北沖客屬幹事處成績已做到對內對外聲譽興隆﹑眾人皆知。第十六屆則由劉漢滔先生接任﹑其他各職無更改﹑至+七屆改選本人張貺先被選為幹事主任兼中文秘書。第+八和+九屆由藍義先生連任兩期主任﹑至第二+屆復蒙理事會再選本人張貺先為幹事主任。至佛曆2544年12月改選第廿一屆理事會﹑本人張貺先因年邁力疲﹑不能繼接兼職﹑吾會後起之秀人材輩出﹑敬望諸位選任賢能﹑為會務擴展發揚光大。選出結果由 曾祥榮先生任第廿一屆幹事主任﹑全部理事皆係中青年接班﹑有意改造會務於是向政府呈請註冊為合法社團﹑得批淮名為 北沖客家會館。成績可嘉﹑並連任第廿二屆理事長兩任四年﹑至佛曆2548年12月改選由 徐志均先生任笫廿三屆理事長﹑目下推動會務井井有條﹑並將現會所改修煥然一新﹑顯出青出於藍勝於藍。以上所述是依回憶而紀錄﹑因歷史悠久﹑未克週詳之處﹑尚希予諒之。
本會歷屆理事長名錄(佛曆 2509—2550)

第一屆 王仲光
第二屆 曾繁盛
第三屆 曾繁盛
第四屆 田按東
第五屆 田按東
第六屆 楊楷華
第七屆 曾繁盛
第八屆 曾繁盛
第九屆 曾繁盛
第十屆 田按東
第十一屆 田按東
第十二屆 田按東
第十三屆 田按東
第十四屆 田按東
第十五屆 田按東
第十六屆 劉漢滔
第十七屆 張貺先
第十八屆 藍義
第十九屆 藍義
第廿屆 張貺先
第廿一屆 曾祥榮
第廿二屆 曾祥榮
第廿三屆 徐志均
第廿四屆 徐志均
第廿五屆 劉文華
第廿六屆 劉文華
第廿七屆 徐志均
第廿八屆 徐志均
第廿九屆 徐志均


ที่อยู่ สมาคมฮากกาปากช่อง
  (GPS. 14.70399 ํ N , 101.41241 ํ E)
เลขที่ 1 ซ.1 ถ.เทศบาล 17 ต.ปากช่อง อ.ปากช่อง
จ.นครราชสีมา 30130 โทร. 044 311007
www.hakkapeople.com/pakchong

1 ซ.1 ถ.เทศบาล 17 ต.ปากช่อง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130 โทร. 044 311007 

(GPS. 14.70401 ํ N , 101.41249 ํ E)


View Larger Map

 


ปั้นซันคัก

เป็นข้อเขียนที่เยี่ยมมาก นับเป็นครั้งแรกที่ผมได้เห็นคำว่า "ปั้นซันคัก" ในอินเตอร์เน็ต หลังเพียรพยายามหามานาน เพื่อหาความหมายว่าใช่อย่างที่ "เซ้สุก" ผมบอกไว้หรือไม่ว่าคือ ชาวจีนแคะที่อาศัยอยู่ในพื้นที่กึ่งกลางความสูงของภูเขาในประเทศจีน ผมเองเป็นจีนแคะกว่า 90% เตี๊ยผมท่านเสียไปนานแล้ว เคยเป็นสมาชิกของสโมสรตระกูลจก ซึ่งตามจริงผมก็ควรจะเป็นสมาชิกด้วย แต่ด้วยการขาดการติดต่อมานานหลังจากที่เตี๊ยเสียก็ไม่รู้ว่าจะติดต่อกับสโมสรตระกูลจกอย่างไร หากท่านใดเป็นสมาชิกตระกูลจกได้อ่านโพสต์นี้แล้ว ช่วยให้ข้อมูลผมที่ s_teeraparptatree@hotmail.com จักเป็นพระคุณยิ่ง เพราะผมมีแผนจะไปเยี่ยมบ้านบรรพชนและท่องเที่ยวประเทศจีน แต่ไม่รู้ว่า หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ เมือง ที่บรรพรุษอยู่นั่นอยู่ที่ไหน ชื่อจีนของผมคือ ฉิน หวู้ ซั้น

รูปภาพของ อาฉี

ยินดี

ยินดีรู้จักครับ ไหงก็ฟุงสุ่นคักเหมือนกัน (ทองคัง)

ยินดีเช่นกัน

ยินดีรู้จักเช่นกันครับ อาฉี หงีรู้จักหมูบ้านที่ชื่อ ซัคฝูไช่ มั้ยครับ เม๊เขาบอกว่าบรรพบุรุษของเตี๊ยไหงอยู่ที่นี่

ฉิน หวู้ ซั้น

Wusun

ไหงเพิ่งมาเจอข้อเขียนนี้  วันนี้นี่เอง  รู้ว่าหงีเป็นคนเมืองกาญน์  ซึ่งก็คงเป็นคนปั้นซั้นขักแน่นอนต้องขอ

ย้ำไม่ได้คิดแบ่งแยก  เพียงแต่อยากจะบ่งบอกว่าคนแถวนี้โดยมากจะมาจากฟุ้งสุ่น เกียดหย๋อง จึงเป็น

ชาวจีนปั้นซั้นขักแทบทั้งสิ้น  เพราะ ซิดผ่อน กับ ซิดฝ้าน  เถวขี้ กับ ฮ่องซิ้น แสดงให้รู้ว่ามากันละท้องที่

แม้ว่าจะเป็นคนจีนเชื้อสายจีนแคะด้วยกัน  ดีใจเพราะว่ามันเหมือนกับว่าสนิทชิดเชื้อกว่า  คนอื่นคงไม่ว่า

กัน  ซึ่งบางครั้งเจอคนที่แซ่เดียวด้วยยิ่งเพิ่มความดีใจไปใหญ่ดูเสมือนรู้จักกันมานานเน  แต่ทุกคนก็ยัง

เป็น จิก๊างิ๋น  อยู่เหมือนเดิม  เห็นวันที่โพส์ทไว้รู้สึกนานแล้ว  ไม่ได้แวะกลับเข้ามาเลย     อย่าทิ้งไปซิ

เอ้น จิก๊างิ๋น อย่างน้อยเข้ามาดูอาทิตย์ละครั้งทักทายถามทุกข์สุขกันบ้างก็ยังดี

รูปภาพของ ฉินเทียน

การทำวิจัยในโครงการวิจัยพลังภาษาและวัฒนธรรมในการส่งเสริมการถ่ายทอดภูมิปัญญาอย่างยั่งยืนผ่านชุมชนออนไลน์ : กรณีศึกษากลุ่มจีนฮากกา ของ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ม.มหิดล ร่วมกับ สมาคมฮากกาฯ กทม. สมาคมฮากกาปากช่อง สมาคมฮากการาชบุรี สมาคมฮากกานครราชสีมา สมาคมฮากกาบุรีรัมย์ สมาคมฮากกานครสวรรค์ โดยการสนับสนุนของสำนักงาน สสส. และhttp://hakkapeople.com/node/4136

ภาพ 黻 ได้ปรากฏอยู่บนฉลองพระองค์ของพระเจ้าแผ่นดินจีน ราชวงศ์ฮั่น ณ ประเทศจีน

 

ที่มา:http://travel.163.com/12/1202/14/8HNOG0TD00063KE8_all.html

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal