หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

ชาวฮากกา

รูปภาพของ webmaster

ชาวฮากกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี http://th.wikipedia.org/wiki/ชาวแคะ

 


ฮากกา หรือ จีนแคะ
(客家 คำว่า แคะ ในภาษาไทยถูกเรียกตามภาษาแต้จิ๋วว่า แขะแก ในภาษาจีนกลางเรียกว่า เค่อเจีย มีความหมายว่า ครอบครัวผู้มาเยือน ส่วนในภาษาจีนแคะเอง เรียกว่า หักก๊า หรือ ฮากกา) คือ ชนกลุ่มจีนฮั่นกลุ่มหนึ่ง ซึ่งกล่าวกันว่ามีบรรพบุรุษที่มีต้นกำเนิดบริเวณมณฑลเหอหนานและซานซี ทางตอนเหนือของจีนเมื่อราว 2,700 ปีที่แล้ว บรรพบุรุษของชาวจีนฮากกาอพยพลงใต้ เนื่องจากความไม่สงบทางสังคม การลุกฮือ และการรุกรานจากผู้ยึดครองต่างชาติตั้งแต่ยุคราชวงศ์จิ้น (265-420) กระแสการอพยพครั้งต่อ ๆ มาเกิดขึ้นเมื่อยุคสิ้นราชวงศ์ถัง เมื่อประเทศจีนแตกออกเป็นส่วน ๆ และช่วงราชวงศ์ซ่ง ซึ่งเป็นช่วงที่ประชากรทางภาคเหนือลดลง. ช่วงที่สาม ที่ชาวจีนฮากกาอพยพลงใต้ คือช่วงที่ชาวหนี่ว์เจินสามารถยึดครองเมืองหลวงของราชวงศ์ซ่งเหนือไว้ได้. ช่วงที่สี่ เป็นช่วงที่ราชวงศ์ซ่งถูกโค่นล้มโดยชาวมองโกล ในสมัยราชวงศ์หยวน และช่วงสุดท้ายคือสมัยราชวงศ์หมิง ซึ่งถูกโค่นล้มโดยชาวแมนจูซึ่งก่อตั้งราชวงศ์ชิงในเวลาต่อมา

คำว่า แคะ นั้นกล่าวกันว่าเป็นคำเรียกที่ค่อนข้างใหม่ ระหว่างรัชสมัยของพระจักรพรรดิ์คังซี ได้โปรดให้มีการอพยพผู้คนแถบภูมิภาคชายฝั่งเป็นเวลาเกือบทศวรรษ เพื่อลดอิทธิพลที่ยังหลงเหลือของราชสำนักหมิง ซึ่งหลบหนีไปยังดินแดนซึ่งกลายเป็นไต้หวันในปัจจุบัน หลังจากที่กำจัดภัยคุกคามได้แล้ว พระจักรพรรดิ์คังซีได้มีพระบรมราชโองการ โปรดให้มีการอพยพผู้คนเข้าไปในดินแดนนี้อีกครั้ง ดังนั้นเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก มีการมอบเงินให้ครอบครัวแต่ละครอบครัวไว้สำหรับเริ่มชีวิตใหม่โดยลงทะเบียนว่าเป็น 'ครอบครัวผู้มาเยือน' (客戶 เค่อฮู่) ส่วนชนดั้งเดิมซึ่งอพยพกลับมายังถิ่นเดิมก็ได้พบกับการเข้ามาของผู้มาอยู่ใหม่ ชนดั้งเดิมก็เกิดความหวงแหนในดินแดนที่อุดมสมบูรณ์กว่าของพวกเขา จึงผลักดันชนกลุ่มใหม่ออกไปรอบนอก หรือไปตั้งหลักทำมาหากินในเขตที่มีแต่ภูเขา เมื่อเวลาผ่านไปกระแสการต่อต้านในท้องถิ่นก็แผ่ขยาย และกล่าวกันว่าคำว่า แคะ กลายเป็นคำที่ชนดั้งเดิมใช้เรียกผู้มาอยู่ใหม่อย่างดูแคลน แต่เมื่อเวลาผ่านไปอีกสิ่งดังกล่าวก็จางลง และมีการยอมรับคำว่าแคะให้ใช้เรียกชาวจีนแคะได้ในที่สุด เป็นที่รู้กันดีว่า ชาวนาจีนฮากกาใช้เท้าขณะอยู่ในท่ายืนดึงวัชพืชออกจากนาข้าว ซึ่งเป็นความหยิ่งในวัฒนธรรมของพวกเขา เพราะพวกเขาไม่ยอมคุกเข่า และคลานบนดินแดนที่เป็นของชาวแมนจู

กรณีนี้ก็มีความน่าสนใจประการหนึ่ง เพราะว่าชนที่มาอยู่ใหม่อาจไม่ใช่บรรพบุรุษของผู้พูดภาษาจีนฮากกาทั้งหมด เนื่องจากคำว่าฮากกาเป็นคำที่เหมาคลุม จากการศึกษารากเหง้าสืบสายชาวกวางตุ้งและฮากกา พบว่าแซ่บางแซ่มีบรรพบุรุษเดียวกัน แม้ว่าพวกเขาไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มชนอื่น ดั้งนั้นบรรพบุรุษของชาวฮากกาจึงเป็นชนกลุ่มหนึ่งซึ่งอพยพลงมาทางใต้ เราสามารถพบเห็นชาวฮากกาในมณฑลทางใต้ของจีน เช่น กวางตุ้ง ฮกเกี้ยนตะวันตก เจียงซี ตอนใต้ของหูหนาน กว่างซี ตอนใต้ของกุ้ยโจว ตะวันออกเฉียงใต้ของเสฉวน เกาะไหหลำและไต้หวัน

แม้ว่าชาวฮากกาจะมีวัฒนธรรมและภาษาที่แตกต่างเฉพาะตัวจากประชากรโดยรอบ แต่ชาวฮากกาก็ไม่ถูกจัดว่าเป็นชนกลุ่มน้อย และยังคงถูกจัดว่าเป็นชาวจีนฮั่น ในความขัดแย้งนี้ ชนกลุ่มเดิมถือว่าชาวฮากกาไม่ใช่คนจีนอย่างสิ้นเชิง แต่ว่าจากการสืบรากเหง้าซึ่งพบว่ามีบรรพบุรุษสายเดียวกัน ชาวฮากกาจึงเป็นชาวจีนเหมือนเพื่อนบ้านของพวกเขา ชาวจีนฮากกายังมีบทบาทในการกบฎไท่ผิงซึ่งนำโดย หงซิ่วฉวนผู้ที่คิดว่าตนเองคือน้องชายของพระเยซู และเป็นผู้นำสาวกซึ่งก่อตั้งอาณาจักรแห่งสวรรค์ไท่ผิง (ไท่ ผิง เทียน กั๋ว)

ชาวฮากกาในมณฑลฮกเกี้ยน

ชาวฮากกาที่ตั้งถิ่นฐานอยู่มนมณฑลฝูเจี้ยน (หรือคนไทยรู้จักในนามมณฑลฮกเกี้ยน) ได้พัฒนาสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เรียกว่า ถู่โหลว ซึ่งแปลว่าสิ่งก่อสร้างที่ทำจากดิน ด้วยเหตุผลที่ว่าชาวฮากกาเป็นผู้ที่มาอยู่ใหม่ ต้องตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตภูเขา และเพื่อป้องกันจากพวกขโมย และปล้นสะดม

ถู่โหลว มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสหรือวงกลม ออกแบบให้เป็นได้ทั้งป้อมค่ายและอาคารคล้ายอพาร์ตเมนต์ในเวลาเดียวกัน มีแต่ประตูทางเข้าออก ไม่มีหน้าต่างในระดับพื้นดิน แต่ละชั้นก็จะมีหน้าที่แตกต่างกัน ชั้นแรกเป็นชั้นไว้สำหรับเลี้ยงสัตว์ ชั้นสองเอาไว้สำหรับเก็บอาหาร และชั้นสามเป็นที่อยู่อาศัย

แผนที่เขตเหมยโจว มณฑลกวางตุ้ง

แผนที่เขตเหมยโจว มณฑลกวางตุ้ง

 

ชาวฮากกาในมณฑลกวางตุ้ง

ส่วนมากชาวฮากกาในมณฑลนี้จะอาศัยอยู่ทางตะวันออกของมณฑล โดยเฉพาะในเขตซิ่งหนิง-เหมยเสี้ยน (ตัวเต็ม: 興寧-梅縣, ตัวย่อ: 兴宁-梅县) เช่นเดียวกับญาติของพวกเขาในมณฑลฮกเกี้ยน ชาวฮากกาก็มีสถาปัตยกรรมเป็นของตน เรียกว่า เหวยหลงวู (ตัวเต็ม: 圍龍屋, ตัวย่อ: 围龙屋, wéilóngwū) และ ซื่อเจี่ยวโหลว (四角楼 sìjǐaolóu)

ชาวฮากกานอกดินแดนสาธารณรัฐประชาชนจีน

ชาวฮากกาส่วนมากที่อาศัยอยู่นอกแผ่นดินใหญ่จะอาศัยอยู่ที่มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย สาธารณรัฐจีน(ไต้หวัน) และติมอร์ตะวันออก

นอกจากนี้ชาวฮากกาก็ได้อพยพไปที่อื่น ๆ ด้วย เช่น ออสเตรเลีย แคนาดา สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เบลเยียม เยอรมนี และ เนเธอร์แลนด์ และยังพบชาวฮากกาในแอฟริกาใต้ มอริเชียส และหมู่เกาะแคริบเบียนโดยเฉพาะในจาเมก้า ชาวฮากกาพลัดถิ่นในสหราชอาณาจักรส่วนใหญ่มีความเกี่ยวดองกับฮ่องกง และน่าจะอพยพออกมาเมื่อครั้งฮ่องกงยังเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร

ในไต้หวัน ประชากรราวร้อยละ 15 เป็นชาวฮากกา ดังนั้นจึงเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีความสำคัญ ในคริสตศตวรรษที่ 18 และ 19 เกิดความขัดแย้งถึงขั้นใช้อาวุธเข้าปะทะกันระหว่างชาวฮากกาและชาวฝูเหล่า (福佬) ขึ้นหลายครั้ง บางครั้งเกิดจากสาเหตุทางเศรษฐกิจ บ้างก็จากการเมือง ซึ่งทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจกันระหว่างชน 2 กลุ่มนี้มาเป็นระยะเวลานาน แต่อย่างไรก็ตามชนทั้ง 2 กลุ่มก็ยังมีการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน

บุคคลสำคัญที่เป็นชาวฮากกา

ถึงแม้ประชากรชาวฮากกาจะมีจำนวนน้อย แต่ก็มีอิทธิพลต่อประวัติศาสตร์ของชาวจีนและของชาวจีนโพ้นทะเล โดยเฉพาะในเรื่องของการปฏิวัติและผู้นำทางการเมือง และก็ยังคงเป็นจริงอยู่ในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของจีนซึ่งผู้นำจีนที่มีชื่อเสียงหลายคนเป็นชาวฮากกา ระหว่างช่วงทศวรรษที่ 1980-1990 ชาวจีนฮากกาที่มีชื่อเสียงถึง 3 ท่านได้ครองอำนาจทางการเมืองพร้อมๆกันใน 3 ประเทศซึ่งมีชาวจีนเป็นชนส่วนใหญ่ อันได้แก่ เติ้งเสี่ยวผิงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน หลี่เติงฮุยแห่งสาธารณรัฐจีน และลีกวนยูแห่งสิงคโปร์

นอกจากนี้ ทั้งดร.ซุนยัดเซ็น เติ้งเสี่ยวผิง และลีกวนยู ซึ่งต่างก็เป็นชาวฮากกา และยังเป็น 3 คนในชาวจีน 4 คนซึ่งนิตยสารไทม์ (Time Magazine) จัดอันดับให้เป็นชาวเอเชียที่มีอิทธิพลที่สุด 20 อันดับแรกในศตวรรษที่ 20 ส่วนอันดับ 4 คือ เหมาเจ๋อตุง
ในส่วนของประเทศไทยนั้น พ.ต.ท ดร. ทักษิณ ชินวัตร ก็เป็นชาวจีนฮากกาด้วยเหมือนกัน


ภาษาจีนแคะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี http://th.wikipedia.org/wiki/ภาษาจีนแคะ

ภาษาจีนแคะ ฮักกา หรือ เค่อเจียฮั่ว (จีนตัวเต็ม: 客家話, จีนตัวย่อ: 客家话 Hakka Kèjiāhuà) คือหนึ่งในภาษาของตระกูลกลุ่มภาษาจีน มีผู้พูด 34 ล้านคน เป็นภาษาของชาวจีนฮั่น ที่มีบรรพบุรุษอยู่ในมณฑลเหอหนานและส่านซี ทางเหนือของจีนเมื่อกว่า 2,700 ปีที่แล้ว ต่อมาชาวฮากกา อพยพไปทางใต้ เข้าสู่มณฑลกวางตุ้งและฝูเจี้ยน และไปเป็นชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลก

แคะ / ฮักกา
客家話 / 客家话
พูดใน: จีน
ภูมิภาค: มณฑลกวางตุ้ง มณฑลฮกเกี้ยน มณฑลเจียงซี
จำนวนผู้พูด: 34 ล้านคน
อันดับ: 32 ตระกูลภาษา: Sino-Tibetan
ภาษาจีน แคะ / ฮักกา
รหัสภาษา
ISO 639-1: zh
ISO 639-2: chi (B) zho (T)
ISO 639-3: gan
หมายเหตุ: บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากลปรากฏอยู่ คุณอาจต้องการไทป์เฟซ ที่รองรับยูนิโคด เพื่อการแสดงผลที่สมบูรณ์

 

การกระจายตัวของผู้พูดภาษาจีนสำเนียงต่างๆ

ภาษาจีน ถิ่นต่างๆ อักษรจีน และ ภาษาอื่นๆที่พูดในประเทศจีน
ภาษาจีนราชการ จีนกลาง (จีนแผ่นดินใหญ่ ไต้หวัน) • สำเนียงกวางโจว (ฮ่องกง มาเก๊า และ กวางเจา โดยพฤตินัย )
ภาษาหลัก จีนกลาง • กั้น • กวางตุ้ง • แคะ • เซียง • หมิ่น • อู๋
จิ้น • ฮุย • ผิง
ภาษาย่อยในภาษาหมิ่น หมิ่นจง • หมิ่นตง • หมิ่นเป่ย์ • หมิ่นหนาน (ฮกเกี้ยน) • ปู๋เซียน • ไห่หนาน • สำเนียงแต้จิ๋ว
อักษรจีน อักษรจีนตัวเต็ม • อักษรจีนตัวย่อ • อักษรจีนกวางตุ้งตัวย่อ • พินอิน
ภาษาอื่นๆที่พูดในจีน จ้วง • ทิเบต • มองโกล • อุยกูร์ • คาซัค • คีร์กิซ • ม้ง • เมี่ยน • แมนจู • ไทลื้อ ฯลฯ
รับอิทธิพลจากภาษาจีน เกาหลี • ญี่ปุ่น • เวียดนาม


Link ที่เกี่ยวเนื่อง

http://en.wikipedia.org/wiki/Fujian
http://en.wikipedia.org/wiki/Hakka


รูปภาพของ ฉินเทียน

客家名人譜 = 客家名人谱

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal