หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

เทศกาลตำนานจีน(ตำนานวันตรุษจีน)

เทศกาลตำนานจีน中国节日

 การก่อกำเนิดของเทศกาลจีนเป็นการตกผลึกทางวัฒนธรรม  และเป็นผลผลิตของประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน  ตั้งแต่สมัยสังคมบรรพกาลสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน  จุดกำเนิดของแต่ละเทศกาลเริ่มจากจุดเริ่มต้นเล็กๆ  แล้วขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป  จนก่อตัวเป็นประเพณีที่มีสีสันต์และหลากหลายของมวลมนุษย์  ดูจากท่วงทำนองและบรรยากาศของงานเทศกาล  เราสามารถแยกแยะให้เห็นถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่   และพัฒนาการของชนชาติ  จุดกำเนิดของเทศกาลต่างๆในอดีต  มักจะเกี่ยวโยงกับการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศที่สัมพันธ์กับการดำรงชีวิต  และการทำการผลิตของมวลมนุษย์  นักภูมิศาสตร์ของจีนโบราณพยายามที่จะค้นหาความเป็นไปของภูมิอากาศ  จนกระทั่งในปลายสมัยราชวงศ์โจว  จึงได้แบ่งสภาพภูมิอากาศออกเป็น 24 ช่วง(二十四节气)แต่ละช่วงกินเวลาประมาน 15 วัน   และเทศกาลต่างๆของจีนก็แยกไม่ออกจากวันเวลาใน 24 ช่วงนี้

เทศกาลต่างๆของจีนมักจะมีมาตั้งแต่ยุคก่อนราชวงศ์ฉิน  ส่วนใหญ่จะมีจุดกำเนิดมาจากลัทธิความเชื่อ  การบวงสรวงบูชายันต์ต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์   และตำนานเทพนิยาย  ต่อมายังได้รับผลกระทบจากความเชื่อทางศาสนา  ประวัติของวีรชนที่ได้รับการยกย่องในประวัติศาสตร์  ช่วยแต่งเติมให้ตำนานเทศกาลเหล่านี้มีสีสันต์ยิ่งขึ้น  สมัยราชวงศ์ฮั่นถือเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดหลังการรวมแผ่นดินจีนเป็นปึกแผ่น (แผ่นดินจีนถูกรวบรวมเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินโดยฉินซีฮ่องเต้)  มีความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางด้านการผลิตและวัฒนธรรม  มีความมั่นคงทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง   เทศกาลต่างๆจึงค่อยๆหลุดพ้นจาก  พิธีการบวงสรวงต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่งมงาย   จึงมักมีคำกล่าวว่า  เทศกาลต่างๆเกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่น  จนถึงสมัยราชวงศ์ถังจึงแปรเปลี่ยนเป็นเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลอง  ก่อตัวเป็นประเพณีวันมงคล  เป็นเทศกาลแห่งความรื่นเริงและสนุกสนานประจำปีอย่างแท้จริง  บรรดานักปราชน์นักกวีต่างก็รังสรรค์บทความบทกวีในเทศกาลต่างๆไว้มากมาย  เป็นผลผลิตทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า   สะท้อนถึงทัศนะ  ชีวิตความเป็นอยู่และการต่อสู้ของมวลมนุษย์ในแต่ละยุคสมัย  นอกจากจะเป็นเทศกาลแห่งความรื่นเริงแล้ว  ยังเสริมเติมความสมบูรณ์ให้กับเทศกาลต่างๆ  ตกทอดมาสู่ชนรุ่นหลังจนตราบทุกวันนี้ 

 

 春节 เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ 

    ชุนเจย๋ 春节 หรือเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ (คำว่า节 ออกเสียงอยู่ระหว่างคำว่าเจี๋ยกับเจ๋ ซึ่งค่อนข้างจะออกเสียงยากในภาษาไทย)   ตรงกับวันขึ้นหนึ่งค่ำเดือนอ้ายในปฏิทินการเกษตรของจีน   เดิมทีเรียกว่าวัน  过年  หรือวันขึ้นปีใหม่ของจีน   เป็นเวลาเริ่มแรกของวัน    วันเริ่มแรกของปี    และวันแรกของเดือนแรกของปี   จึงถือเป็นวัน 3 ปฐมฤกษ์(三元节)   วันเทศกาลฤดูใบไม้ผลิมีประวัติค่อนข้างยาวนาน   เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์อินซาง殷商(1766ปีก่อน ค.ศ.)   จนกระทั่งถึงยุคสาธารณรัฐ   การประชุมสภาในวันที่ 27 เดือน 9 ปีค.ศ. 1949 รัฐบาลจีนได้เปลี่ยนใช้ปีคริสต์ศักราชจึงกำหนดให้วันที่ 1 มกราเป็นวันขึ้นปีใหม่สากล   และเรียกวันขึ้น 1 ค่ำเดือนอ้ายว่า 春节 วันเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ   วันนี้เป็นวันที่ฤดูหนาวอันแห้งแล้งหนาวเหน็บได้ผ่านพ้นไป   บรรยากาศเริ่มเข้าสู่ความอบอุ่น   ต้นไม้ใบหญ้าที่แห้งเฉาตายซากเริ่มผลิดอกออกใบ   เสียงนกเสียงกาเริ่มบรรเลงเพลงแห่งความสดใส   ประชาชนเริ่มเตรียมการเพาะปลูกในศักราชใหม่อย่างเร่าร้อน    การเริ่มต้นชีวิตใหม่และความหวังใหม่ได้หวนกลับมาอีกครั้ง   จึงเป็นเทศกาลที่มีการเฉลิมฉลองกันอย่างยิ่งใหญ่ในปริมนฑลทั่วทั้งประเทศ   เริ่มตั้งแต่วันบูชาเทพแห่งเตาในวันที่ 23 เดือน 12  จนถึงเทศกาล หยวนเซียว ในวันขึ้น 15 ค่ำเดือนอ้าย   ถือเป็นช่วงแห่งเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ



门件飘飘始过年 

门件飘飘始过年 เหมินเจี้ยนพริ้วปลิวไสวเริ่มตรุษจีน
วันตรุษจีนถือเป็นหนึ่งในเทศกาลใหญ่ของจีน จึงมีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับวันนี้มากมาย เรื่องเหมินเจี้ยน (门件)เป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับวันเทศกาลนี้ เหมินหมายถึงประตูส่วนคำว่าเจี้ยน หมายถึงแผ่นผ้าหรือกระดาษตัดเป็นริ้วๆ หรือชิ้นยาวๆเขียนข้อความคำมงคล ติดหรือห้อยด้านบนของประตูบ้าน มีชื่อเรียกหลายอย่างเช่น เตี้ยวเจี้ยน หรือเชียนเอ๋อ เรื่องราวของเหมินเจี้ยนมีที่มาตั้งแต่สมัยต้นราชวศ์โจว เล่ากันว่าเจียงไท่กง(姜太公)ได้เข้าร่วมขบวนการต่อสู้กับกองทัพชาวนาของ จีฟา เมื่ออายุ 80 หลังจากโค่นล้มกษัตริย์โหดซางโจ้วหวาง商纣王 สถาปนาราชวงศ์โจวสำเร็จ ได้ปฏิรูปการปกครองในระบอบศักดินา封建制度 ขึ้นเป็นราชวงศ์แรกและจัดอวยยศลำดับทวยเทพในราชสำนัก จากนั้นจึงอำลากลับสู่บ้านเกิด เมื่อภรรยาของเจียงไท่กงรู้เรื่องต้องการได้รับการจัดลำดับบ้าง เจียงไท่กง จึงแต่งตั้งให้เป็นเทพีแห่งความยากจน ไม่ว่าไปเยือนถึงบ้านไหนก็ให้บ้านนั้นพบกับความหายนะมีแต่ความยากจนตลอดไป แต่มีข้อแม้ว่าห้ามไปเยือนครอบครัวที่ยากจนหรือลำบากข้นแค้นอยู่แล้ว เมื่อเรื่องราวนี้เผยแพร่ออกไป ชาวบ้านจึงเอาเศษผ้าหรือเศษกระดาษเก่าๆขาดๆ มาแขวนที่ประตูหน้าบ้านเพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นครอบครัวที่ยากจนอยู่แล้ว เทพีแห่งความยากจนจะได้ไม่มาเยือนอีก จึงเป็นที่มาของเหมินเจี้ยน หรือเชียนเอ๋อ ต่อมาจึงกลายเป็นเครื่องประดับประตูบ้านในวันเทศกาลต่างๆ เนื่องจากเห็นว่าเศษผ้าหรือเศษกระดาษดูสกปรกรกไม่งามตา จึงเปลี่ยนเป็นผ้าแดงหรือกระดาษมีลวดลายที่ขอบ ส่วนใหญ่จะนิยมสีแดงหรือเป็นสีสดใสอื่นก็ได้ กว้างประมาน6-7นิ้ว ยาวหนึ่งฟุต เขียนคำมงคลต่างๆสำหรับติดที่ 2 ข้างประตูบ้าน หรือเป็นแผ่นกระดาษยาวตลอดแนวขวางของประตูตัดเป็นริ้วๆเขียนคำมงคลต่างๆติดที่ขอบบนของประตู และจะติดอยู่เช่นนั้นตลอดไป ปล่อยให้ผุกร่อนไปตามกาลเวลา และเปลี่ยนอันใหม่เมื่อปีใหม่เวียนมาอีกครั้ง การประดับเหมินเจี้ยนเป็นวัฒนะธรรมหนึ่งที่มีมาแต่โบราณของจีน เป็นที่สนใจของชาวต่างชาติมาก พวกหมอสอนศาสนาต่างชาติที่เข้ามาเผยแพร่ศาสนาในภายหลังได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของชาวจีนและทำการเผยแพร่ไปสู่โลกภายนอก  
 
 熬年守岁 เฝ้ารุ่งรออรุน กำเนิดตำนานเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ
熬年守岁 นั้นก็คือการที่สมาชิกทุกคนในครอบครัว นั่งล้อมรอบกองไฟอยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตาในคืนสิ้นปีตลอดทั้งคืนโดยไม่ได้หลับนอน ตำนานในเรื่องนี้มีอยู่ว่า คำว่าปีในภาษาจีนที่เรียกว่า”เหนียน”นั้น ความจริงคำว่า”เหนียน”年เป็นชื่อของสัตว์ร้ายในสมัยสังคมการเกษตรของจีน สังเกตุดูอักษรตัวเหนียน เขียนคล้ายๆสัตว์ที่มีเขาหรือตัว牛 เล่ากันว่าตัวเหนียนรูปร่างใหญ่โตมีเขามีเขี้ยว มีนิสัยดุร้ายน่ากลัวอาศัยอยู่ในป่าลึก บางตำนานว่าอาศัยในทะเลลึก ล่าสัตว์ทุกชนิดเป็นอาหาร ชอบเปลี่ยนชนิดของอาหารทุกวัน และกินตั้งแต่สัตว์เล็กสัตว์น้อยไปจนถึงสัตว์ใหญ่และมนุษย์ ต่อมาคนเราเริ่มจับกฎเกณฑ์ของมันได้ว่า ทุกรอบ 365 วันมันจะลงจากเขาสู่แดนมนุษย์  เพื่อแสวงหาอาหารอันโอชะ ตัวเหนียนจะออกหาเหยื่อเฉพาะหลังพระอาทิตย์ตกดิน และหลบหนีไปเมื่อยามฟ้าสาง เมื่อจับกฎเกณฑ์ของมันได้ดังนี้จึงถือว่าคืนวันสิ้นปีเป็นคืนอันตราย เรียกว่า เหนียนกวาน年关 หรือ除夕ในวันนี้ทุกครัวเรือนต้องทำกิจกรรมทุกอย่างให้เสร็จสิ้นก่อนพระอาทิตย์ตกดิน เก็บกวาดครัวเรือนให้เรียบร้อย  นำสัตว์เลี้ยงเข้าคอกให้ปลอดภัย ปิดประตูหน้าต่างแล้วนั่งล้อมวงกินข้าวกันพร้อมหน้าพร้อมตา  เรียกว่ากินข้าว มื้อกลมเกลียว 团圆饭 และเนื่องจากคืนนี้เป็นคืนแห่งอันตรายที่ทุกคนอาจจะถูกตัวเหนียนทำร้าย ข้าวมื้อนี้จึงจัดทำอย่างหรูหราเป็นพิเศษ ก่อนกินข้าวต้องกราบไหว้บรรพบุรุษ ขอให้ท่านช่วยปกปักคุ้มภัย หลังอาหารมื้อนี้แล้วทุกคนต้องคอยเฝ้ายามระวังภัยไม่อาจหลับนอน จึงกลายเป็นประเพณี熬年守岁โต้รุ่งรับปีใหม่กัน ในช่วงหลังก็เปลี่ยนเป็นการสังสรรค์พูดคุย ถามสารทุกข์สุกดิบถ่ายทอดประสบการณ์ เล่าประวัติความเป็นมาของครอบครัวให้กับชนรุ่นหลัง
.
รูปภาพของ จองกว๊านหมิ่น

年獸生性凶残 - เหนียนสัตว์โหดร้ายป่าเถื่อน

 
คุณ  过客 สรรหาเรื่องราวมาเล่าได้สนุกมาก ได้ความรู้เพิ่มพูน ตัวเหนียนอาจจะนึกไม่ออกว่า หน้าตาเป็นอย่างไร ก็นำตัวเหนียนมาให้ชมกัน เผื่อใครกลัวมากจะได้หาวิธีรับมือแต่เนิ่นๆในวัน 除夕 
 
年獸是遠古時期凶猛的怪獸 形貌猙獰 生性凶残 隱于深山 只有除夕前后才會再出現人間尋找食物
เหนียนเป็นสัตว์ร้ายประหลาดยุคดึกดำบรรพ์ หน้าตาดุร้ายอัปลักษณ์ อุปนิสัยโหดร้ายป่าเถื่อนอีกต่างหาก ซ่อนเร้นตัวอยู่ในป่าเขาลึก เมื่อถึงวันสิ้นปีจะออกมาปรากฏตัวยังโลกมนุษย์เพื่อหาอาหารอีกครั้ง
 

รูปตัวเหนียน

รูปตัวเหนียนของจองโก๊นี่ดูดุร้ายน่าเกลียดพิลึก ขอบคุณที่ช่วยหารูปประกอบมาแบ่งปันให้เพื่อนสมาชิกได้ชมกันครับ
      ตัวเหนียนคงเป็นสัตว์ในจินตนาการกระมัง เคยมีคนสร้างภาพของมันไว้เหมือนกัน แต่คงเป็นจินตนาการของคนยุคหลัง ปัจจุบันในฮ่องกง กวางเจา ยังมีประเพณีตีเหนียน打年ในช่วงเทศกาลตรุษจีน ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นการปัดเป่าขับไล่สิ่งอัปมงคล โดยการให้ชายฉกรรจ์อาสาแต่งตัวเป็นตัวเหนียน เดินไปตามท้องถนน ให้ชาวบ้านเอาไม้ไล่ตี ตัวเหนียนที่แต่งตาแดงปากแดง มีเขี้ยวมีเขามีขนรุงรัง หน้าตาจะดูคล้ายสิงโตอะไรพรรณนั้น
      นอกจากนี้คำว่าเหนียนยังถือเป็นสิ่งอัปมงคล เมื่อเหนียนมาเยือนทุกสิ่งล้วนอับเฉา พืชพันธุ์ไม่ผลิดอกออกผล เมื่อเหนียนผ่านพ้นไป สรรพสิ่งเริ่มมีชีวิตใหม่ พืชพันธุ์ไม้เริ่มแตกดอกออกใบ เนื่องจากเหนียนชอบอยู่ในความมืด กลัวแสงสว่าง กลัวสีแดง และกลัวเสียงดัง จึงมีธรรมเนียมการจุดโคมสีแดงทั้งคืนในวันสิ้นปี ติดคำมงคลด้วยกระดาษสีแดง หรืออักษรแดงตามประตูบ้านเรือนต่างๆ และจุดประทัดกัน ดังนั้นในสมัยโบราณจึงเรียกวันขึ้นปีใหม่ว่าวัน 过年กว้อเหนียน หรือ度年关ตู้เหนียนกวาน คำว่ากว้อแปลว่า ผ่านพ้น หรือก้าวข้าม ส่วนคำว่าตู้ก็ แปลว่าฝ่าฟัน คำว่ากวานแปลว่าด่าน หรืออุปสรรค นั่นก็คือผ่านพ้น หรือก้าวข้ามสิ่งอัปมงคลเหล่านี้ไปนั่นเอง
      อีกเรื่องหนึ่งที่คล้ายๆตำนานตัวเหนียนก็คือเรื่อง除夕ที่หมายถึงวันสิ้นปี นั้นหมายถึงขจัด ส่วนนั้นในปัจจุบันหมายถึงกลางคืนหรือยามราตรี แต่ในสมัยโบรานก็เป็นสัตว์ร้ายชนิดหนึ่ง ที่มาทำร้ายผู้คนในทุกๆวันสิ้นปี จึงต้องมีการตระเตรียมป้องกันรับมือการคุกคามของตัวในวันสิ้นปี ในยามพลบค่ำของวันสิ้นปีในปีหนึ่ง ขณะที่เหล่าชายฉกรรจ์ได้ก่อกองไฟเฝ้าระวังภัยอยู่นั้น ตัวก็ได้คุกคามเข้ามา ขณะที่กำลังโรมรันพันตูอยู่นั้น ทำให้กองไฟกระจัดกระจายลุกลามไหม้ป่าไผ่ที่อยู่ข้างๆ ทำให้ปล้องไม่ไผ่แตกระเบิดส่งเสียงสนั่นกึกก้อง ตัว ได้ยินเสียงระเบิดก็ตกใจหนีไป เมื่อชาวบ้านจับกฎเกณฑ์และรู้จุดอ่อนของตัวได้ จึงมีการเผาปล้องไม่ไผ่ขับไล่ตัวในปีต่อๆมา กลายเป็นประเพณีจุดประทัดขับไล่รังควานสืบมา และเรียกประทัดว่า炮竹
        หลังจากผ่านค่ำคืนที่เคี่ยวกรำไปแล้ว  เมื่อเสียงไก่ขันแรกดังแว่วมา  แสงทองแสงแรกจับท้องฟ้า  ทุกครัวเรือนต่างเปิดประตูบ้านต้อนรับวันแรกของศักราชใหม่  สิ่งแรกที่จะต้องทำคือการจุดแพประทัด ตีฆ้องร้องป่าวเป็นการแสดงความยินดีต่อกัน  ที่สามารถผ่านด่านอุปสรรคนี้มาได้โดยปลอดภัย  และออกเยี่ยมเยียนเพื่อนบ้านญาติสนิทมิตรสหาย   สำรวจดูว่าอยู่รอดปลอดภัยหรือเปล่า   กลายเป็นประเพณิป้ายเหนียน拜年 ในวันเทศกาลนี้ (คงเหมือนกับการสวัสดีปีใหม่ของไทย)  การป้ายเหนียนมีอยู่หลายรูปแบบ  แต่ต้องให้ผู้เยาว์แสดงความคารวะต่อผู้ใหญ่ก่อน  สิ่งที่นำมาคารวะมักจะเป็นส้ม 2 ลูก หรือส้ม 4 ลูก  เนื่องจากส้มในภาษาจีนอ่านว่า กาน柑  หรือจี๋ คำว่ากานนั้นพ้องเสียงกับแปลว่าหวาน  ก็หมายถึงขอให้มีชีวิตที่หวานชื่น  คำว่าจี๋ก็พ้องเสียงกับ แปลว่ามงคล  ก็หมายความว่าขอให้ชีวิตพบแต่สิ่งที่ดีๆ  ส่วนผู้ใหญ่ก็จะรับไหว้ด้วยการให้เงิน ย่าซุ่ยเฉียน压岁钱
压岁钱 ยาซุ่ยเฉียน  เงินข่มวัย
คำว่ายา  แปลว่ากด ข่ม ซุ่ยแปลว่าวัยหรืออายุ เป็นการให้เงินมงคลแก่เด็กในวันนี้มีหลายวิธี  วิธีที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบันคือการเอาเงินใส่ซองแดง  ให้ในตอนรับไหว้หรือแม้แต่เพื่อนฝูงเพื่อนร่วมงานให้แก่กันและกันก็ได้ แบบนี้เรียกว่าเงิน红包  อีกวิธีหนึ่งคือพ่อแม่ผู้ใหญ่  เอาเหรียนเงินรูร้อยด้วยเชือกสีแดง  วางไว้ที่ปลายเท้าหรือวางไว้ที่ข้างหมอนตอนเด็กนอนหลับไปแล้ว  เมื่อเด็กตื่นขึ้นมาก็มักจะเอาเหรียญเงินนี้คล้องเอวเอาไว้ เรียกว่าเงินถ่วงเอว หรือเงินกดเอว(扎腰钱)       
       เรื่องราวมีอยู่ว่าในสมัยโบราณมีผีร้ายตัวหนึ่งเรียกว่า ซุ่ยชอบแอบเข้ามาทำร้ายเด็กๆยามดึกในคืนวันสิ้นปี โดยเฉพาะเด็กผู้ชาย  เด็กที่ถูกทำร้ายจะรู้สึกเป็นไข้ปวดหัวตัวร้อน  ถ้าไม่ถึงกับเสียชีวิตก็ต้องเสียสติกลายเป็นคนปัญญาอ่อน  มีครอบครัวหนึ่งพ่อแม่เอาเหรียญเงินทองเหลือง 8 อันร้อยกับเชือกสีแดงผูกเป็นเงื่อนมังกรให้ลูกเล่น เมื่อเด็กเล่นจนเหนื่อยอ่อนตกค่ำก็เอาเหรียญทองเหลืองวางไว้ข้างหมอนแล้วเข้านอน  คืนนั้นพ่อแม่เฝ้าดูลูกอยู่ด้วยความเป็นห่วง พอตกดึกตัวซุ่ยก็เล็ดลอดเข้ามา ขณะที่เอื้อมมือไปจับหัวเด็กนั้น เหรียญทองเหลืองก็เปล่งประกายแสงออกมา ตัวซุ่ย เห็นเข้าก็ร้องตกใจหนีหายไป จึงเรียกเงินนี้ว่า ยาซุ่ยเฉียน 压祟钱 หรือเงินข่มซุ่ย  และเนื่องจากตัวซุ่ยที่หมายถึงผีร้ายนั้น เป็นคำพ้องเสียงกับตัวซุ่ยที่แปลว่าวัย  จึงเปลี่ยนเป็น 压岁钱 เงินข่มวัย ในเวลาต่อมา

.

万年定太阳历

万年定太阳历 ว่านเหนียนผู้สร้างปฏิทินสุริยคติ

       ในเมื่อเหนียน เป็นคำเรียกของตัวสัตว์ร้าย  แล้วเหตุใดจึงกลายเป็นชื่อเรียกของปี  การเรียกรอบระยะเวลาหนึ่งปีของคนจีนนั้นมีหลายอย่าง  ในสมัยเซี่ย เรียกว่า ซุ่ยในสมัยซาง เรียกว่า ซื่อ  ต่อมาจึงได้เปลี่ยนเรียกว่า เหนียน   เล่ากันว่าในสมัยอินซาง มีชายหนุ่มผู้หนึ่งชื่อว่า ว่านเหนียน  เขาเฝ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลงของดวงอาทิตย์  ลมฝนและสายน้ำในขณะที่ขึ้นไปตัดไม้บนเขา   เขาได้สร้างเครื่องวัดเวลาด้วยแสงแดดขึ้นมาชุดหนึ่ง   แต่เครื่องมือชุดนี้ไม่สามารถใช้ได้ในยามที่ไม่มีแสงแดด   เขาจึงสร้างกระบอกน้ำหยดห้าชั้นขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง   เพื่อใช้ในเวลากลางคืนหรือยามหน้าฝน  จนในที่สุดเขาได้ค้นพบว่า  เมื่อดวงอาทิตย์ขึ้นลงประมาน 360 ครั้ง   ช่วงบรรยากาศจะหวนกลับคืนสู่จุดเริ่มต้นอีกครั้งหนึ่ง   ในรอบ 360 วันนี้จะมีวันหนึ่งที่มีกลางคืนยาวที่สุดเรียกว่าวัน ตงจื้อ 冬至และวันที่มีกลางวันยาวที่สุดเรียกว่าวัน เซี่ยจื้อ  夏至อาศัยระยะห่างระหว่างวันตงจื้อและวันเซี่ยจื้อ เป็นหลักแบ่งฤดูกาลออกเป็น 4 ฤดูในหนึ่งปี   ว่านเหนียน ตื่นเต้นกับสิ่งที่ตนเองค้นพบเป็นอย่างมาก   จึงนำขึ้นเสนอต่อกษัตริย์จู่อี่ ในสมัยนั้น  สมัยนั้นคนเรายังไม่รู้เรื่องปฏิทิน   การดำรงชีวิตก็เป็นไปตามยถากรรม   แล้วแต่ฝนฟ้าจะปรานี   กษัตริย์จู่อี่เห็นข้อเสนอของว่านเหนียน ก็ยินดีเป็นอย่างมาก   จึงสร้างหอดูดาว  หอน้ำหยด และหอนาฬิกาแดด  เพื่อให้ว่านเหนียนใช้สำหรับค้นคว้าความเปลี่ยนแปลงของดวงอาทิตย์ในรอบหนึ่งปี  ว่านเหนียนใช้ความมานะอยู่หลายปี   จนกระทั่งกลายเป็นชายชราที่ผมขาวหน้าตาเหี่ยวย่นจึงได้สร้างปฏิทินไท่หยางลี่   ถวายแก่กษัตริย์จู่อี่  กษัตริย์จู่อี่ จึงเรียกรอบระยะเวลาหนึ่งปีนี้ว่า เหนียน   ปฏิทินไท่หยางลี่ ของว่านเหนียน  จึงเป็นปฏิทินที่คำนวนตามการเปลี่ยนแปลงของระบบสุริยะฉบับแรกของจีน 
 
 春联与桃符 การประดับชุนเหลียนและเถาฝู
     การประดับชุนเหลียนในวันนี้คาดว่ามีมาตั้งแต่สมัยโบราณ แต่แพร่หลายที่สุดในสมัยราชวงศ์หมิง ชุนเหลียนคือการเขียนกลอนคู่ที่มีเนื้อหาสัมพันธ์กัน ชุดหนึ่งจะมีเพียงสองประโยค ประโยคหนึ่งมักจะนิยมมี 7 คำ แต่ก็มีที่มากกว่าหรือน้อยกว่า 7 คำ ปกติเรียกว่า ตุ้ยเหลียน 对联 แต่เนื่องจากนำมาประดับในวันเทศกาล 春节 จึงเรียกว่าชุนเหลียน 春联 การประดับชุนเหลียนในวันนี้นอกจากเพื่อความสวยงามแล้ว ยังเป็นเรื่องของความเชื่อที่มีมาแต่โบราน กลอนส่วนใหญ่จะมีเนื้อหาที่เป็นมงคล หรือแสดงออกถึงอุดมการณ์ที่ยิ่งใหญ่ หรืออาจจะสะท้อนถึงชีวิตความเป็นอยู่ที่ทุกข์เข็ญ การแต่งกลอนประเภทนี้มีหลักการค่อนข้างจะเข้มงวด นอกจากจะมีเนื้อหาที่สัมพันธ์กันแล้ว แต่ละคำในประโยคแรกจะต้องจับคู่กับคำในประโยคหลัง การติด春联จะต้องติด2ฝั่งซ้ายขวา โดยติดประโยคแรกทางขวามือเสมอ ถ้ามี横额 หรือเรียกว่า横联 จะต้องติดตรงกลางด้านบนระหว่าง2ประโยค

      การประดับชุนเหลียนมีหลายแบบ แต่ที่นิยมมากที่สุดคือติดที่สองฝั่งของประตูบ้าน หรือเสาซุ้มประตู นอกจากจะเป็นสิ่งมงคลแล้วยังถือเป็นการประดับประดา เพื่อเสริมบรรยากาศในวันเทศกาลอีกด้วย

      ในสมัยจิ้น ตะวันออก หวังซีจือ เป็นนักกวีและนักเขียนอักษร ที่มีชื่อ มักจะแต่งชุนเหลียนประดับไว้ที่ประตูบ้านเสมอ เนื่องจากเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียง จึงมักถูกคนขโมยไปเก็บไว้เป็นที่ระลึก ในปีหนึ่ง หวังซีจือ จึงแต่งชุนเหลียนชุดใหม่มีข้อความว่า โชคไม่มาซ้ำสอง เคราะห์ไม่ไปหนเดียว 福不双至   祸不单行 ชุนเหลียนที่มีข้อความไม่เป็นมงคลนี้จึงไม่มีใครกล้าขโมยอีก พอถึงวันเทศกาลหวังซีจือจึงเขียนเพิ่มเติมเป็น   โชคไม่มาซ้ำสองวันนี้มา   เคราะห์ไม่ไปหนเดียวไปเมื่อคืน 福不双至今日至  祸不单行昨夜行

 

     
.
รูปภาพของ วี่ฟัด

ตัวกาลกับตัวเหนียน

สุดยอดแห่งการแกะสลักปราสาทหิน หน้ากาล ที่ปราสาทบันทายสรี หรือปราสาทบันทายศรี 
หน้ากาลแสดงถึง " ตัวกาล " ที่มีรูปลักษณ์เป็นยักษ์หน้าตาน่าเกลียดน่ากลัวดุร้าย กลืนกินสรรพสิ่ง หนีอย่างไรก็หนีไม่พ้นตามหลักพระไตรลักษณ์ เช่นกัน
  
ภาพนี้เป็นหน้ากาลที่ปราสาทเขาพระวิหาร
 
       ปรกติไหง่เป็นคนที่สนใจอารยธรรมสายอินเดีย พราหมณ์ ฮินดูพุทธมานานแล้วตั้งแต่สมัยเรียนชั้นมัธยมศึกษา ส่วนอารยธรรมจีนบอกตามตรงว่าไม่เคยอยู่ในความสนใจของไหง่เลย จนกระทั่งได้ไปปักกิ่งเมื่อปี 2536 จึงมีความสนใจอยู่บ้าง ดังนั้นไหง่จึงมีความเข้าใจอารยธรรมอินเดียสายพราหมณ์ฮินดู พุทธ ดีกว่าทางสาวอารยธรรมจีนอยู่มาก จนเดี๋ยวนี้ไหง่ว่าไหง่ก็ไม่ค่อยรู้ทางสายจีนเท่าไรนะ  
 
        คงจะคล้ายๆอาจารย์นพดล ชวารกร ที่อาจารย์เคยกล่าวในงานมงคลสมรสของบุตรสาวของอาจารย์ว่าอาจารย์ก็สนใจอารยธรรมอินเดียสายพราหมณ์ ฮินดู อยู่เหมือนกันแบบที่อาจารย์บอกว่าชอบศึกษามหากาพย์มหาภารตยุทธ และมหากาพย์รามายณ มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่ของอารยธรรมพราหม์ฮินดู  แต่อาจารย์นพดล ชวารกร ก็ยังเพอเฟคเข้าไปอีกโดยอาจารย์เป็นเชี่ยวชาญอารยธรรมจีนอีกด้วย
 
         แต่พอไหง่ได้อ่านบทความของท่านกั่วเค่อเกี่ยวกับตัวเหนียน หรือบางสมัยก็เรียกว่าตัวซุ้ย (  ) ซึ่งทั้งสองคำล้วนแต่เป็นเรื่องเกี่ยว " เวลา " ทั้งสิ้น ทำให้ไหง่คิดขึ้นมาได้ว่าในอารยธรรมพราหมณ์ ฮินดู ก็มีตัวปีศาจคล้ายๆกับตัวเหนียน เหมือนกัน ซึ่งไหง่เชื่อว่าแนวคิดของคนโบราณอาจจะมีความคิดคล้ายๆกันทั้งสองอารยธรรมก็ได้ ตัวๆนี้ก็คือ  " ตัวกาล "
 
       ตัวกาลไม่ใช่คนแปลกหน้าที่ใหนก็คือ " กาลเวลา " นี่เองครับไท้กาหงิ่น กาลเวลาที่กลืนกินสรรพสิ่ง กลืนกินแม้กระทั่งตัวเอง อันนี้ก็ต้องเข้าหลักพระไตรลักษณ์ในทางพระพุทธศาสนา " อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา " ที่สรรพสิ่งทั้งหลายที่ต้องถูกกาลเวลากลืนกินไปจนไมสามารถคงอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอด ย่อมมีการเสี่อมสลายไปเป็นธรรมดา
 
        คนโบราณคงจะกลัวความเสื่อมเนื่องจากกาลเวลาเหมือนกัน กาลเวลาที่กลืนกิน ความสวย ความหล่อ ความเต่งตึง ความแข็งแรงมีกำลังวังชากระฉับกระเฉง ความหนุ่มสาว ต้องกลับเป็นความแก่ ในทางอารยธรรมพราหมณ์ ฮินดู จึงสร้างตัวกาลซึ่งทำรูปลักษณ์เป็นยักษ์น่าเกลียดน่ากลัว เช่นเดียวกับตัวเหนียน ที่ต้องทำเป็นสัตว์ที่มีรูปร่างน่าเกลียดน่ากลัวเหมือนกัน ซึ่งทั้งตัวกาล และตัวเหนียนตามความคิดเห็นของไหง่น่าจะเป็นแนวคิดในลักษณ์เดียวกันของทั้งสองอารยธรรม 

春联

    春联มีการพัฒนามาจากการประดับ 桃符 ในสมัยโบราณ ในยุคสมัย 五代 (คศ.964)กษัตริย์ 孟昶 แห่งราชวงศ์ 后蜀 สั่งให้เหล่าบัณฑิตเขียนคำขวัญบนแผ่น 桃符 เพื่อประดับในวันเทศกาล春节    แต่ไม่มีใครเขียนได้ถูกใจกษัตริย์孟昶จึงหยิบภู่กันเขียนว่า  “新年纳余庆,嘉节号长春”  เหล่าบัณฑิตขุนนางทั้งหลายต่างยกย่องว่าเขียนได้ดีเยี่ยม จึงเปลี่ยนจากการประดับเถาฝูเป็นการประดับ春联ตั้งแต่นั้นมา และ  “新年纳余庆,嘉节号长春” ยังถือเป็น 春联  ชุดแรกของจีน  
      การประดับ 春联 ได้รับความนิยมสูงสุดในสมัยราชวงศ์หมิง     หลังจากที่จูหยวนจาง นำกองทัพชาวนาลุกขึ้นสู้ โค่นล้มราชวงศ์หยวน ของชาวมองโกล และได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์หมิง จูหยวนจางมีชาติกำเนิดต้อยต่ำ ต้องการจะยกระดับความรู้และวัฒนธรรมของตนเอง และบ้านเมือง มีความสนใจเรื่องวรรณกรรมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องตุ้ยเหลียน และต้องการตรวจสอบทัศนคติของชาวเมืองที่มีต่อตนเอง จึงได้ประกาศให้ทุกครัวเรือนประดับ春联 ในวันขึ้นปีใหม่ จูหยวนจางต้องการจะตรวจสอบความคิดของชาวเมือง  จึงปลอมตัวออกสำรวจในวันสิ้นปี  พบว่ามีครอบครัวหนึ่งยังไม่ได้ประดับ春联   หลังจากสอบถามแล้วก็ทราบว่าเป็นครอบครัวคนรับจ้างตอนหมูที่ยากจน ไม่มีความรู้พอที่จะแต่ง春联 ได้ และไม่มีเงินไปจ้างผู้มีความรู้ช่วยเขียนให้ จูหยวนจางจึงแต่งชุนเหลียนให้ชุดหนึ่ง มีข้อความว่า สองมือเบิกช่องทางเกิดดับ ดาบเดียวตัดสิ้นเหตุปัญหา  双手劈开生死路,一刀割断是非根。 หลังจากนั้นจึงมีธรรมเนียมประดับ春联ตามบ้านเรือนต่างๆในวันเทศกาลนี้ตั้งแต่นั้นมา 
  天增岁月人增寿,春满乾坤福满门。  
      ผู้เขียน 对联 ชุดนี้คือ 张襄惠 ในสมัยราชวงศ์หมิงปี 嘉靖    ในสมัยที่ 张襄惠 ยังไม่ประสบความสำเร็จ มีชีวิตอยู่อย่างยากจนแสนเข็ญ แต่ภรรยากลับมาจากครอบครัวคหบดีที่มีชื่อเสียง ในวันที่พ่อตาจัดงานฉลองวันเกิดครบรอบ 50 ปี แขกเหรื่อมีทั้งพวกเจ้าขุนมูลนายระดับสูง และบรรดาเศรษฐีผู้มีเงิน ของขวัญล้ำค่ากองราวกับภูเขาเหล่ากา แต่ 张襄惠  ไม่มีของขวัญที่มีค่าอะไร     นอกจาก 对联 2 ประโยคนี้เท่านั้น ไม่เพียงแต่จะได้แต่คำพูดดูหมิ่นถากถาง แม้พ่อตาเองก็รู้สึกขายหน้า หลังจากนั้น 张襄惠  พยายามศึกษาเล่าเรียนจนกระทั่งสอบเป็นบัณฑิตได้สำเร็จ ได้รับการแต่งตั้งเป็นขุนนางในราชสำนัก ได้รับการยกย่องนับหน้าถือตา แม้แต่  对联 ที่เคยถูกคนดูหมิ่นก็กลับกลายเป็นของมีค่าขึ้นมาทันที มีคนมาขอคัดลอกเอาไปใช้ในงานวันเกิดและวันตรุษจีนสืบทอดกันต่อๆมา  ดั่งคำที่ว่า 十年窗下无人问,一举成名天下知。  

 门神与桃符 เถาฝูและนายทวาร

爆竹声中一岁除,春风送暖入屠苏。 

千门万户曈曈日,总把新桃换旧符。

      นี้เป็นบทกวีของ王安石 ในสมัยราชวงศ์ ที่พูดถึงประเพณีเปลี่ยนเถาฝูในช่วงเทศกาลตรุษจีน ตำนานมีอยู่ว่าในแดนโลกันต์มีต้นเถา(ต้นท้อ)ขนาดใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง แผ่กิ่งก้านสาขากว้างไกลถึง 3000 ลี้ มีไก่ทองตัวหนึ่งอาศัยอยู่บนต้นเถา มีประตูโลกันต์อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีนายทวารเฝ้าอยู่สองตนชื่อเซินซู 神荼   และอวี้-ลวี่郁垒  ตกกลางคืนเหล่าผีเปรตจะออกจากประตูโลกันต์ไปท่องเที่ยวในแดนมนุษย์ พอได้ยินเสียงไก่ทองขันยามฟ้าสาง   เหล่าผีเปรตก็จะกลับสู่แดนโลกันต์ หากมีผีเปรตตนใดทำเรื่องราวที่ผิดต่อฟ้าดิน เซินซูและอวี้-ลวี่ ก็จะจับเอาไปเลี้ยงเสือโลกันต์   ทำให้เหล่าผีเปรตต่างหวาดกลัวต่อสองนายทวารเป็นอย่างมาก คนในสมัยโบรานจึงถือเอาไม้เถาเป็นหนึ่งในห้าไม้มงคล และเอาต้นเถามาแกะเป็นรูปของนายทวารทั้งสองวางไว้ที่หน้าบ้านเพื่อป้องกันการรังควานของผีร้าย ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นเอาไม้เถามาทำเป็นแผ่นไม้กระดานวาดรูปของนายนายทวารทั้งสองแทน แต่การวาดรูปของนายทวารเป็นสิ่งที่ไม่อาจทำได้ในทุกครอบครัว จึงเปลี่ยนเป็นเขียนชื่อของนายทวารทั้งสองแทน ประเพณีนี้ได้เปลี่ยนเป็นเขียนคำมงคลบนไม้กระดานเถาในสมัยต่อมา เรียกว่า เถาฝู   ไม้เถาเป็นไม้เนื้ออ่อนไม่อาจอยู่ยงคงกระพัน จึงต้องมีการเปลี่ยนแผ่นใหม่อยู่เรื่อยๆ และเนื่องจากปลายปีมีวันเทศกาลผี ต้องมีการปัดกวาดขับไล่เสนียดจัญไร จึงถือโอกาสเปลี่ยนแผ่นเถาฝู ต้อนรับปีใหม่ ประเพณีเปลี่ยนเถาฝูในช่วงเทศกาลตรุษจีน ได้พัฒนามาเป็นการติด春联 จนถึงปัจจุบัน 
รูปภาพของ จองกว๊านหมิ่น

เรียนคุณ 过客

 
เรียนคุณ  过客 
 
คราวแรกเห็นตุ้ยเหลียนประโยค  天增岁月人增寿 ที่คุณอาคมนำมาลง ยังงงๆว่ามันออกความหมายสองแง่สองง่าม จะว่าทางดีทางร้ายก็ได้ ทางร้ายคืออายุคนจะมากขึ้น หมายถึงร่างกายจะแก่หง่อมลง สุขภาพเสื่อมลงไม่เป็นมลคล แต่อีกมุมหนึ่งสามารถหมายถึงคนได้อายุเพิ่มมากขึ้น กล่าวคือ จะมีร่างกายแข็งแรงอายุยืนยาวขึ้น เพราะได้รับการเพิ่มเติมอายุ คือถ้าอายุขัยแค่เจ็ดสิบ เมื่อได้รับเพิ่มแล้ว อายุขัยย่อมมีมากกว่าเจ็ดสิบขึ้นไปนั่นเอง ฉะนั้น ความหมายของประโยค  天增岁月人增寿 แปลแบบมงคลได้ว่า สวรรค์ได้เพิ่มกาลเวลาทอดยาวออกไป สวรรค์ชราลง แต่คนได้เพิ่มอายุ อายุยืนยาวขึ้น ตามเนื้อเรื่องพ่อตาของ  张襄惠 รู้สึกขายหน้า คงตีความว่าถูกแช่งให้แก่ลง แต่เมื่อได้เป็นบัณฑิต คนกลับมองว่าเป็นการให้พรอายุมั่นขวัญยืน ความเข้าใจนี้ ผิดถูกอย่างไรขอคุณ  过客 ช่วยอธิบายชี้แนะแถลงไขด้วย ขอบคุณล่วงหน้าครับ

เรียนจองโก๊

รียนจองโก๊
     ก่อนอื่นขอชี้แจงเรื่องตุ้ยเหลียนอย่างนี้ก่อนว่า ตุ้ยเหลียนนั้น ใจความหลักหรือทอปปิคจะอยู่ที่ประโยคหลัง ส่วนประโยคแรกนั้นจะเป็นตัวเปรียบเทียบ หรือตัวขับให้ทอปปิคของเราเด่นชัดขึ้น เรียกว่า 对比 อันนี้จะรวมถึงการแต่งประโยคประเภท 对比 ในบทความหรือบทกวีอื่นๆด้วย เช่นถ้าเราจะชมสตรีนางหนึ่งว่ามีความงามล้ำเลิศนัก เรามาสรรหาคำเยินยอว่าเธองามอย่างนี้งามอย่างนั้น มันอาจจะเห็นไม่ชัด หรือมองไม่เห็นภาพ แต่ถ้าเรายกเอาสิ่งอื่นใดที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่างามแท้ มาเปรียบเทียบจะทำให้เห็นได้ชัดกว่า เช่นแม้เทพธิดานางอัปสรยังไม่งามเท่าเธอ หรือเธอนั้นงามแม้วิหคตกนภา มัจฉาจมวารี
     ดังนั้นในตุ้ยเหลียนบทนี้ จุดประสงค์คือต้องการอวยพรวันเกิดให้พ่อตา ให้มีความสุขสดใสเพิ่มพูนทั่งโชคลาภและวาสนา 春 ตัวนี้คงไม่ได้หมายถึง 春天 หรือ 春节 เพราะไม่ได้เขียนในวันตรุษจีน ส่วนในประโยคแรกที่มีทั้งฟ้าเติมกาลเวลาและคนเพิ่มวัยนั้นเป็นประโยค 对比 เพื่อเน้นว่าความสุขสดใสและโชคลาภวาสนาจะเพิ่มพูนดั่งฟ้าและวัยของคนที่ต้องเพิ่มขึ้นตามกาลเวลา อีกประการหนึ่งคือปกติ 寿 ตัวนี้คนจีนถือเป็นคำมงคล ไม่ถือเป็นการสาปแช่ง โดยเฉพาะในวันเกิดผู้ใหญ่ มักนิยมเขียน 寿 ตัวโตโตมอบให้ ถือเป็นการอวยพรให้มีอายุยืนยาว ดังนั้นคนหัดเขียนพู่กันจึงต้องหัดเขียนตัว 寿 ให้งดงามและหลายๆแบบ แต่จะไม่ใช้กับเด็กหรือคนหนุ่มสาว ถือว่ายังไม่เหมาะกับวัยวุฒิ 

大地回春

 

大地回春

ความสุขสันติ์คืนผืนโลก


欢迎大地回春

สุดปรีดายามวสันต์คืนผืนโลก

枝头朵朵花如锦

มวลไม้ผลิดอกบานสะพรั่ง

原野层层草如茵

ทุ่งหญ้าเขียวขจีดั่งพรมปู

燕子归来寻旧巢

วิหคโผผินคืนรวงรัง

双双呢喃诉衷情

เคลียคลอเคียงคู่กระซิบภาษาใจ


大地万象更新

สรรพสิ่งฟื้นคืนชีวิตใหม่

蝴蝶翩翩舞轻盈

ผีเสื้อโบยบินรำเริงร่า

蜜蜂嗡嗡采花粉

ฝูงผึ้งบินวนชมดอกไม้

情侣漫步软风里

คู่รักเคียงคลอสายลมโชย

一片春色动人情

บรรยากาศสดใสเร้าใจคน


桃李争放 红白相映

หมู่ไม้แตกใบชูช่อ  แดงขาวสลับสี

堤边水滨吐清芬

สายน้ำริมตลิ่งส่งกลิ่นรวยระรื่น

大地回春

ความสุขสันติ์คืนผืนโลก

柳暗花明水绿山青

น้ำใสเขาเขียวป่าหลิวปรกครึ้มดอกไม้บาน

小鸟歌声唱不停

วิหคขับขานมิขาดเสียง

大地万象新

สรรพสิ่งฟื้นคืนชีวิตใหม่


欢迎大地回春

สุดปรีดายามวสันต์คืนผืนโลก

蝴蝶翩翩舞轻盈

ผีเสื้อโบยบินรำเริงร่า

蜜蜂嗡嗡采花粉

ฝูงผึ้งบินวนชมดอกไม้

情侣漫步软风里

คู่รักเคียงคลอสายลมโชย

一片春色动人情

บรรยากาศสดใสเร้าใจคน

 

ในวันตรุษจีนเรามักจะได้ยินคำว่า大地回春หรือ大地 เลยเอาเพลง大地回春 เพลงที่มีบรรยากาศ春节อันอบอวนมาฝาก 

 

 

 

元宵节 เทศกาลประดับโคมไฟ

元宵节 เทศกาลประดับโคมไฟ 

       เทศกาลหยวนเซียว ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือนอ้ายในปฏิทินการเกษตร 农历 ของจีน เป็นคืนเดือนเพ็ญครั้งแรกของปี เป็นเทศกาลที่คนไทยเราไม่ค่อยจะคุ้นเคยนัก นอกจากบางครอบครัวที่ยังมีประเพณีกิน ทังหยวน ติดโคมไฟหน้าบ้านในวันนี้แล้ว ก็ไม่มีพิธีกรรมที่ครึกครื้นอะไรนัก เทศกาลหยวนเซียวแต่เดิมทีเป็นวันเทศกาลของลัทธิเต๋า ลัทธิเต๋าแบ่งช่วงเวลาในหนึ่งปีเป็น 3 ช่วง คือต้น กลาง และปลาย วันเพ็ญครั้งแรกของปีเป็นวันปฐมต้น เป็นวันเกิดของเทพแห่งฟ้า เรียกว่าวันซ่างหยวน 上元 วันเพ็ญเดือน 7 เป็นวันปฐมกลางเป็นวันเกิดของเทพแห่งดินเรียกว่าวันจงหยวน 中元 วันเพ็ญเดือน 10 เป็นวันปฐมปลายเป็นวันเกิดของเทพแห่งน้ำเรียกว่าวันเซี่ยหยวน 下元 

       เทพแห่งฟ้าให้ลาภให้สุขแก่มวลมนุษย์ วันเกิดเทพแห่งฟ้าจึงเป็นวันแห่งความรื่นเริง ต้องประดับโคมไฟมีงานรื่นเริงเฉลิมฉลอง ต่อมาในสมัยราชวงศ์ฮั่น หลังจากที่หลิวปาง ปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์ฮั่น สิ้นพระชนม์ กษัตริย์ฮั่นฮุ่ยตี้ อ่อนแอถูกสนมหลี่ยึดกุมอำนาจไว้ในมือ หลังจากที่ฮั่นฮุ่ยตี้สิ้นพระชนม์ อำนาจจึงตกอยู่ในมือของสกุลหลี่ อย่างแท้จริง ทำการรีดนาทาเร้นจนราษฎรสุดจะทนทาน เมื่อสนมหลี่สิ้นพระชนม์ บรรดาญาติโยมในสกุลหลี่สมคบกับแม่ทัพหลี่ลู่ คิดขบถแย่งราชบัลลังค์ เปลี่ยนแผ่นดินเป็นศักราชของสกุลหลี่ ทางฝ่ายสกุลหลิวได้รวบรวมขุนนางที่ยังจงรักษ์ภัคดี ต่อสู้จนขับไล่สกุลหลี่ได้สำเร็จในวันขึ้น 15 ค่ำเดือนอ้าย สถาปนาบุตรชายคนที่สองของหลิวปาง หลิวเหิง ขึ้นเป็นกษัตริย์นามว่า ฮั่นเหวินตี้ เพื่อเป็นการรำลึกถึงวันปราบขบถสกุลหลี่ จึงประกาศให้มีการเฉลิมฉลองจัดงานรื่นเริงกันในวันนี้ และเป็นวันที่กษัตริย์จะเสด็จออกจากพระราชฐาน เพื่อร่วมทุกข์สุขกับปวงชน

闹元宵吃汤圆 หยวนเซียวคืนโกลาหลและประเพณีกินทังหยวน 

      เรื่องราวมีอยู่ว่าจักรพรรดิ์ฮั่นอู่ตี้ มีขุนนางที่โปรดปรานคนหนึ่งชื่อว่า ตงฟางซั่ว 东方朔 นอกจากจะเป็นคนที่เฉลียวฉลาดมีความสามารถแล้วยังเป็นคนที่อ่อนโยนมีเมตตา วันหนึ่งในฤดูหิมะตกตงฟางซั่ว เข้าไปเด็ดดอกเหมยในสวนหลวง พบนางกำนัลผู้หนึ่งกำลังจะฆ่าตัวตาย ตงฟางซั่ว จึงทำการช่วยเหลือไว้ หลังจากสอบถามได้ความว่า นางชื่อว่าหยวนเซียว 元宵 ตั้งแต่ถูกส่งตัวเข้าวังมา ไม่มีโอกาสได้พบหน้าพ่อแม่พี่น้อง โดยเฉพาะยามใกล้ถึงฤดูใบไม้ผลิจะคิดถึงทางบ้านเป็นพิเศษ เมื่อไม่สามารถกลับไปพบหน้าญาติพี่น้องได้ก็ไม่สู้ตายเสียดีกว่า ตงฟางซั่ว ได้ฟังแล้วรับปากว่าจะทำให้นางได้พบหน้าญาติพี่น้องอย่างแน่นอน หลังจากนั้นตงฟางซั่ว ได้ตั้งโต๊ะรับทำนายโชคชะตาในตลาด มีคนมาให้ทำนายมากมายแต่ทุกคนต่างได้คำทำนายเหมือนกันว่า วันที่16 เดือนอ้ายไฟครอกเผากาย ทำให้เกิดความวิตกไปทั่วทั้งนครฉางอัน ตงฟางซั่วยังกล่าวว่า ในวันขึ้น 13 ค่ำเป็นวันที่เทพอัคคีจะส่งสตรีในชุดแดงเพลิงลงมาสำรวจ เรามีวิธีแก้ไขให้พวกท่านรับไปดำเนินการ ว่าแล้วก็โยนเทียบสีแดงให้แล้วจากไป ชาวบ้านเหล่านั้นจึงเอาเทียบนั้นไปถวายให้แก่ฮั่นอู่ตี้ จักรพรรดิ์ฮั่นอู่ตี้เปิดดูเห็นในเทียบเขียนไว้ว่า ฉางอันมีภัย ไฟลุกท่วมทุกหัวเมือง ฮั่นอู่ตี้จึงปรึกษากับตงฟางซั่วว่าจะทำอย่างไรดี ตงฟางซั่ว กล่าวว่า ได้ข่าวว่าเทพอัคคีชอบกินทังหยวน 汤圆 นางกำนัลที่ชื่อหยวนเซียว มีฝีมือในการทำทังหยวน ให้ฮ่องเต้นำเอาทังหยวนถวายแก่เทพอัคคีในวันขึ้น 15 ค่ำ และให้ทุกครัวเรือนทำทังหยวนถวายเทพอัคคี ในวันนี้ นอกจากนี้ยังให้ประดับโคมไฟ จุดประทัดในเวลากลางคืน ให้สว่างไสวดูเหมือนไฟลุกท่วมเมือง ขณะเดียวกันก็ให้ชาวบ้านที่อยู่นอกเมืองเดินทางเข้าเมืองเพื่อหลบภัย ทำให้วุ่นวายโกลาหลดูเหมือนมีภัยวิบัติจริงๆ เพื่อตบตาเทพอัคคีว่านครฉางอันได้เกิดภัยพิบัติแล้วจะได้ผ่านเลยไป ฮั่นอู่ตี้ ได้ฟังก็สั่งการให้ไปดำเนินการทันที พอถึงวันขึ้น 15 ค่ำทุกบ้านเรือนต่างประดับโคมไฟ จนสว่างไสวทั่วทั้งเมือง จุดประทัดดังสะเทือนถึงแผ่นฟ้า ชาวบ้านที่อยู่นอกเมืองต่างพากันหลั่งไหลเข้าเมือง เมื่อได้เห็นความละลานตาของการประดับโคมไฟ ต่างส่งเสียงอึงคนึง ครอบครัวของหยวนเซียว ก็เดินทางเข้าเมืองเช่นกัน พอเห็นอักษรหยวนเซียว ที่ติดอยู่บนโคมไฟ จึงส่งเสียงร้องว่าหยวนเซียวด้วยความตื่นเต้น จนหยวนเซียว ได้ยินเสียงร้องเรียก จึงได้ออกมาพบหน้าบิดามารดา หลังจากคืนที่โกลาหลผ่านไป นครฉางอันก็สงบสุขไร้เภทภัยใดๆ ฮั่นอู่ตี้จึงประกาศให้คืนวันขึ้น 15 ค่ำเดือนอ้าย เป็นวันเทศกาลหยวนเซียว ต้องทำทังหยวนถวายเทพอัคคี ให้ทุกบ้านเรือนประดับโคมไฟและจุดประทัด และให้ทุกคนร่วมกันสร้างความครึกครื้นโกลาหลทั่วทั้งเมือง  กลายเป็นประเพณีหยวนเซียวคืนโกลาหล สืบต่อมา และเนื่องจากนาง หยวนเซียว มีฝีมือในการทำทังหยวน จึงเรียกทังหยวนว่า ขนมหยวนเซียว    ขนมทังหยวน ทำด้วยแป้งข้าวเหนียว ใส่ใส้งาดำ ใส้ถั่ว หรือใส้น้ำตาล ปั้นเป็นลูกกลมๆแล้วต้มใส่น้ำตาล เหมือนกับบัวลอยใส่ใส้ของบ้านเรา

      ประเพณีหยวนเซียว ได้รับการสืบทอดและพัฒนามาทุกยุคสมัย ในอดีตฮ่องเต้ถือเป็นสัญญลักษณ์ของความเจริญรุ่งเรืองของบ้านเมือง จึงต้องจัดให้เลิศหรูอลังการ์ สมัยราชวงศ์สุย สุยหยางตี้ จัดงานแสดงและงานประกวดโคมไฟ ในอณาบริเวนถึง 8 ลี้ สมัยถังได้ประกาศให้ประดับโคมไฟติดต่อกัน 3 วัน 3 คืน ถังไท่จง สั่งให้สร้างหอประดับโคมไฟสูงถึง 20 วา ใช้โคมไฟประดับถึง 5 หมื่นดวง ในสมัยซ่ง กษัตริย์เสเพลซ่งฮุยจง ได้ออกชมงานประดับโคมไฟที่เนินเต่าจำลองแล้วโยนเหรียญเงินให้แก่ผู้ชมงาน แย่งชิงกันเป็นที่สนุกสนาน และยังประกาศแจกเหล้าพระราชทานแก่ผู้เดินชมงานทุกคน สมัยราชวงศ์หมิง ได้ประกาศให้ประดับโคมไฟตั้งแต่วันขึ้น 8 ค่ำจนถึงวันที่ 17  จึงกลายเป็นเทศกาลต่อเนื่องกับเทศกาลฤดูใบไม้ผลิ

       ขนมทังหยวน เดิมทีไม่มีใส้ใช้แป้งข้าวเหนียวปั้นเป็นลูกกลมๆ แล้วต้มใส่น้ำตาล มักมีแดงขาวสองสีเรียกว่า ถังหยวน 糖圆 ถังแปลว่าน้ำตาล หยวนก็หมายถึงอะไรที่มีลักษณะกลมๆ การเอาอะไรมาต้มน้ำใส่เกลือใส่น้ำตาลเป็นน้ำแกงเรียกว่า ทัง  จึงเรียกว่า ทังหยวน 汤圆 ในเวลาต่อมา ในสมัยซ่งเริ่มพัฒนาเป็นแบบมีใส้ ส่วนใหญ่จะนิยมใส้งา ใส้พุทรา ใส้ถั่วและอื่นๆอีกหลายอย่าง 
รูปภาพของ นายวีรพนธ์

เทพและสัตว์ในตำนานจีน

 

ตำนานปีศาจ “เหนียน” / “年” 兽的传说
เล่ากันมาว่า ประเทศจีนในสมัยโบราณมีปีศาจตนหนึ่ง นามว่า “เหนียน” หัวมีขนรุงรัง ดุร้ายเป็นอย่างมาก “เหนียน” 
อาศัยในทะเลลึกเป็นเวลายาวนาน ทุกปีพอถึงวันสิ้นปีก็จะปีนขึ้นฝั่ง มาทำร้ายผู้คนและสัตว์เลี้ยง ดังนั้นทุกปีพอถึงวันสิ้นปี 
ผู้คนในหมู่บ้านบนภูเขาต่างก็อุ้มลูกจูงหลานเข้าไปในหุบเขาลึก เพื่อซ่อนตัวไม่ให้ปีศาจ “เหนียน”มาทำร้าย

วันสิ้นปีในปีนี้ คนในหมู่บ้าเถาชุนกำลังพากันหอบลูกจูงหลานไปหลบภัยบนภูเขา มีชายแก่ขอทานคนหนึ่งมาจากนอกหมู่บ้าน 

แขนสะพายกระเป๋า เคราขาวปลิวตามลม ตาเป็นประกาย บรรดาพี่น้องในหมู่บ้านเดียวกันล้วนปิดบ้านแน่นหนา บ้างเก็บข้าวของ
 บ้างต้อนวัวไล่แพะ ทั่วทุกแห่งสับสนอลหม่าน ทุกคนต่างตกอยู่ในภาวะรีบร้อนหวาดกลัว ในเวลานี้ 
ใครจะมีกะจิตกะใจมาสนใจชายแก่ขอทานล่ะ

มีเพียงยายแก่ที่อยู่ทางตะวันออกของหมู่บ้านให้อาหารแก่ชายแก่ อีกทั้งแนะนำให้เขารีบขึ้นเขาไปซ่อนตัวจากปีศาจ “เหนียน” 

ชายแก่ลูบเคราแล้วยิ้ม กล่าวว่า “ หากแม้นว่าท่านให้ข้าพักที่นี่หนึ่งคืน ข้าจะขับไล่ปีศาจเหนียนให้ท่าน ” 
ยายแก่มองเขาอย่างตกตะลึง เห็นเขาผมขาวหน้าแดงมีเลือดฝาด จิตใจกระปรี้กระเปร่า มีน้ำใจสูงส่ง 
แต่ยายแก่ก็ยังคงแนะให้เขาหลบหนีต่อไป ชายแก่ขอทานยิ้มแต่ไม่ได้พูดอะไร ยายแก่ไม่มีทางเลือก จำต้องทิ้งบ้านขึ้นเขาไปหลบภัย 
พอถึงเที่ยงคืน ปีศาจเหนียนก็ตรงดิ่งมายังหมู่บ้าน มันพบว่าบรรยากาศในหมู่บ้านไม่เหมือนกับทุกปี 
บ้านของยายทางด้านตะวันออก บนประตูแปะกระดาษสีแดง ในบ้านจุดเทียนสว่างไสว ปีศาจเหนียนตัวสั่นเทาไปหมดทั้งร่าง 
ส่งเสียงร้องออกมาทีหนึ่ง ปีศาจเหนียนหันไปจ้องเขม็งยังบ้านของยายแก่ชั่วครู่ ทันใดนั้นมันก็วิ่งเข้าไปอย่างบ้าคลั่ง 
พอเข้าไปใกล้ประตู ภายในบ้านก็มีเสียงประทัดดัง “ปัง ปัง” ขึ้นมา ปีศาจเหนียนตัวสั่นเทิ้ม ไม่กล้าเข้าไปใกล้อีก 
แท้จริงแล้ว ปีศาจเหนียนกลัวสีแดง แสงไฟ และเสียงประทัดที่สุด เวลานั้นเองประตูบ้านของยายแก่ก็เปิดออก 
มีเพียงชายชราที่ใส่ชุดยาวสีแดงยืนหัวเราะเสียงดังอยู่ เจ้าเหนียนหน้าถอดสี แล้ววิ่งหนีเตลิดเปิดเปิงไป
เช้าวันที่สองในวันปีใหม่ ผู้คนที่ไปหลบภัยกลับมาเห็นหมู่บ้านตนสงบสุขก็ตกตะลึง เวลานั้นยายแก่ก็รีบอธิบายกับพวกผู้คนในหมู่บ้าน
ว่านี่เป็นคำสัญญาของชายแก่ขอทาน พวกชาวบ้านพร้อมใจกันมุ่งหน้าไปบ้านยายแก่ พบเพียงกระดาษสีแดงที่แปะอยู่หน้าประตูบ้านของยายแก่ 
ภายในสวนมีไม้ไผ่กองหนึ่งที่ยังเผาไหม้ไม่หมดยังคงส่งเสียงระเบิดเป๊าะแป๊ะ ภายในบ้านยังมีเทียนสีแดงที่ยังคงมีแสงสว่างเหลืออยู่......

พวกชาวบ้านดีใจเป็นล้นพ้น เฉลิมฉลองความเป็นศิริมงคลที่มาถึง ค่อยๆเปลี่ยนชุดใหม่เปลี่ยนหมวกใหม่ 
ไปบ้านเพื่อนเยียมทเยียนญาติสนิทมิตรสหาย เรื่องนี้แพร่ออกไปรอบหมู่บ้านอย่างรวดเร็ว ทุกคนล้วนแต่ทราบวิธีการขับไล่ปีศาจเหนียน 
ตั้งแต่นั้นมาในคืนวันสิ้นปี ทุกบ้านก็จะแปะคำโคลงคู่สีแดง จุดประทัดเสียงดัง แต่ละบ้านจุดไฟสว่างไสว 
เฝ้ารอเวลาให้ถึงวันปีใหม่ พอเช้าวันปีใหม่ ก็ไปพากันแวะเวียนไปเยี่ยมเยียนเพื่อสนิทมิตรสหาย 
ประเพณีนี้นี้แพร่หลายออกไปอย่างกว้างขวาง กลายเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของประชาชนชาวจีน

สิงโตมงคลคู่บารมี
สิงโตเป็นสัตว์มงคลที่มีลักษณะแห่งความเป็นเจ้า โดยสามารถใช้สิงโตเพื่อสลายพลังปราณชี่พิฆาตต่างๆ และช่วยเรียกโชคลาภได้ แต่เนื่องจากสิงโตมีพลังมากจึงไม่เหมาะที่จะใช้กับบ้านอยู่อาศัยทั่วไป แต่เหมาะที่จะใช้สำหรับห้างร้าน บริษัท หรือสถานที่ราชการ

ตามตำนานโบราณเล่าว่า สิงโตตัวที่อยู่ตำแหน่งเสือขาว (หันหน้าออกด้านขวามือ) มีบรรดาศักดิ์เป็น "เส้าเป่า" 

ฃเป็นสิงโตเพศเมีย มีหน้าที่เป็นราชองครักษ์ให้กับเจ้าชายของราชวงศ์

    สิงโตตัวที่อยู่ตำแหน่งมังกรเขียว (หันหน้าออกทางซ้ายมือ) มีบรรดาศักดิ์เป็น "ไท่ซือ" เป็นสิงโตเพศผู้ 

ฃมีหน้าที่เป็นราชองครักษ์ของกษัตริย์ หรือ ฮ่องเต้ ดังนั้นแม้แต่เชื้อพระวงศ์ หรือ บรรดาขุนนางชั้นผู้ใหญ่ยังต้องให้ความเกรงใจและเกรงกลัว 

    การวางรูปปั้นสิงโตจะต้องวางเป็นคู่ โดยวางสิงโตเพศผู้ไว้ทางซ้าย และเพศเมียไว้ทางขวาที่บริเวณหน้าประตูของสถานที่นั้นๆ 

ให้หันหน้าออกไปทางด้านหน้า วิธีสังเกตุเพศของสิงโตคือ สิงโตเพศผู้ เท้าหน้าจะเหยียบลูกบอล และสิงโตเพศเมีย เท้าหน้าจะเหยียบลูก

   คนจีนเรียกสิงโตว่า ซือจือ คำแรกในชื่อของสิงโตนี้ปรากฏว่าไปพ้องเสียงกับคำว่า ซือ ที่ประกอบอยู่ในคำว่า ไทซือ อันแปลว่า มหาเสนาบดี
ในสมัยราชวงศ์โจ้วนั้น ตำแหน่งไทซือ เป็นตำแหน่งที่ขุนนางชั้นสูงสุด เมื่อคนจีนจะอวยพรกันให้เป็นใหญ่เป็นโต หรือได้ดีในทางราชการ จึงนำ
สิงโตมาใช้เป็นสัญลักษณ์ คำอวยพรหนึ่งที่ชอบกันมาก คือไท่ซือเส้าซือ แปลว่าขอให้เป็นใหญ่ทั้งบิดา และบุตร  

   นอกจากนี้สิงโตจะเป็นเครื่องหมายของความรุ่งเรืองและความมียศถาบรรดาศักดิ์ยังมีอำนาจขจัดปีศาจและสิ่งชั่วร้าย ทั้งยังช่วยให้มีฐานะ

ฃ และชื่อเสียง  สิงห์คู่ช่วยป้องกันสิ่งเลวร้ายที่เข้ามาสู่ภายในบ้าน จะช่วยคุ้มครองให้ร่มเย็นเป็นสุข ปราศจากการรบกวนของภูตผีปีศาจ 

คุณไสยมนต์ดำและคนพาล และจะช่วยหนุนส่งวาสนาให้รุ่งเรืองขึ้นด้วย เพิ่มพลังอำนาจให้แก่บ้าน


กิเลน
ตามตำนานของจีน



ถ้าเป็นตัวผู้เรียกว่า "กี" ถ้าเป็นตัวเมียเรียกว่า "เลน" หรือ "กิเลน" กิเลน ตามตำนานจีนว่ามีรูปร่างเหมือนกวาง 

แต่มีเขาเดียว หางเหมือนวัว หัวเป็นมังกร ตีนมีกีบเหมือนม้า 

(บางตำราว่ามีตัวเป็นสุนัข ลำตัวเป็นเนื้อสมัน) เกิดจากธาตุทั้งห้า คือ ดิน น้ำ ไฟ ไม้ และโลหะ ผสมกัน



เชื่อว่ามีอายุอยู่ได้ถึงพันปี และถือว่าเป็นยอดแห่งสัตว์ทั้งหลาย เป็นสัญลักษณ์แห่งคุณงามความดี 

ปรากฏให้เห็นเมื่อใด ก็จะเกิดผู้มีบุญมาปกครองบ้านเมืองให้อยู่เย็นเป็นสุ ขเมื่อนั้น 

กิเลนเป็นหนึ่งในสี่สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งประกอบด้วย หงส์ เต่า มังกร และกิเลน (บ้างว่าเป็น เสือ)



ตามความเชื่อเรื่องการสร้างโลกของจีน ในยุคของฟูซี (伏羲) 

ซึ่งเป็นผู้ปกครองชนเผ่าคนแรกของมนุษย์ได้สังเกตปราก ฏการณ์ต่าง ๆ ของธรรมชาติ 

จนสามารถพึ่งตัวเองได้ วันหนึ่งมีกิเลนตัวหนึ่งกระโดดขึ้นมาจากแม่น้ำหวงโฮ

บนหลังกิเลนมีสัญลักษณ์ปรากฏที่ถูกเรียกในภายหลังว่า แผนที่เหอ ซึ่งต่อมาได้พัฒนากลายเป็นตัวอักษร 

หลังจากนั้นองค์ความรู้ต่าง ๆ ของมนุษย์ก็บังเกิดและเจริญสืบต่อเรื่อยมา



ตามตำนานของไทย



คนไทยคงรู้จักกิเลนของจีนมานานแล้ว ในสมุดภาพสัตว์ป่าหิมพานต์

ที่ช่างโบราณได้ร่างแบบสำหรับผูกหุ่นเข้า กระบวนแห่พระบรมศพครั้งรัชกาลที่ 3 

ก็มีรูปกิเลนจีนทำหนวดยาว ๆ ส่วนภาพกิเลนแบบไทย มีกระหนกและ เครื่องประดับเป็นแบบไทยๆ 

การจัดลายประกอบผิดไปจากในสมุดภาพสัตว์ป่าหิมพานต์ขอ งโบราณนั้นบ้าง ที่แปลกอีกอย่างหนึ่ง คือ 

กิเลนไทยมีสองเขา ของจีนแท้ ๆ มีเขาเดียว ในวรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี ของกวีเอกสุนทรภู่ 

ก็มีสัตว์ประหลาดรูปร่างคล้ายกิเลนนี้ในเรื่องด้วย คือ ม้ามังกร หรือ ม้านิลมังกร นั่นเอง


ประวัติ ปี่เซียะ

ปี่เซี๊ยะ  (เทพร่ำรวย)

        ปี่เซี๊ยะเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ คำว่า ปี่เซี๊ยะเป็นสำเนียงจีนกลาง ถ้าจีนแต้จิ๋วเรียกว่า ผี่ชิว กวางตุ้งเรียก เพเย้า หรืออาจเรียกในชื่ออื่น ๆ เช่น เถาปก หรือ ฝูปอ นี้เป็นคำเรียกรวม ๆ ของ สิ่งซิ้วสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ตระกูลหนึ่งในจดหมายเหตุฮั่นชุในภาคที่ว่าด้วยดินแดนทางประจิมทิศมีข้อความระบุไว้ว่าในแคว้นหลีแถบเขาอูเกอซาน นั้นมีสัตว์ตระกูลนี้ปรากฏอยู่ลักษณะแตกต่างกันเล็กน้อย นั้นคือ เทียจนลก เทียนหลู่ ตัวคล้ายกวาง หางยาว มีเขาเดียว คำว่าเทียนลู่นั้นแปลตรงตัวว่า กวางสวรรค์ ครั้นต่อมาคำว่า ปี่เซี๊ยะ หรือ ผี่ชิว กลายเป็นคำที่คนทั่วไปคุ้นเคยกว่า เทียนลู่แล้วจึงให้เรียกรวมกันไปในทางมายาศาสตร์จีน แต่เดิม ปี่เซี๊ยะเป็นสัตว์มงคลที่มีอนุภาพในทางกำจัดปีศาจ และสิ่งชั่วร้ายรวมทั้งปกป้องจากคุณไสย และมนต์ดำต่าง ๆ กล่าวคือคำว่าปี่ หรือ ผี่ นั้น แปลว่า ปิด เร้นลับหลบซ่อน คำว่า ปี่เซี๊ยะ หรือ ชิว คือ อาถรรพณ์ สิ่งไม่ดี คุณไสย ภูติปีศาจ คำว่าปี่เซี๊ยะ หรือ ผี่ชิว จึงแปลได้ว่า ขจัดอาถรรพณ์ คนจีนสมัยก่อนจึงมักเขียนภาพ หรือตั้งปติมากรรม รูปปี่เซี๊ยะไว้ตามประตูบ้าน และสุสานทั่วไป บางทีก็ประดับไว้บนหลังคาพระราชวังต่าง ๆ เพื่อให้มันช่วยขจัดสิ่งอัปมงคลทั้งหลายนั้นเอง ว่ากันว่ามีพลังในการกำราบสิ่งชั่วร้าย

ปี่เซียะ  ปี่คือตัวผู้  ส่วนเซียะคือตัวเมีย  สองเขาจะเรียกว่าปี่เซียะ  ส่วนเขาเดียวจะเรียกว่าเทียนลก  ทางเหนือของจีนจะเรียกว่าปี่เซียะ  ส่วนทางใต้จะเรียกว่าเทียนลก  ถ้าเป็นตัวเดียวจะเป็นตัวเสี่ยงโชค  แต่ถ้าเป็นคู่สำหรับวัตุถุมงคล  สำหรับขจัดสิ่งชั่วร้าย

        (กวางตุ้งเรียก) เพเย้า (จีนกลางเรียก) ปี่เซี๊ยะป (แต้จิ๋วเรียก) ผี่ฮิวปี่เซี๊ยะ คือ เทพลก กวางสวรรค์มี 1 เขา มีปากไม่มีทวาร เชื่อกันว่าทรัพย์มีแต่เข้าไม่มีออก ร้านค้าหรือธนาคารนิยมมีไว้ บูชาเพื่อเก็บกักเงินทองไม่ให้รั่วไหลขจัดสิ่งอัปมงคล  ว่าเทพเซียนปี่เซี๊ยะจะลงมาคุ้มครองและให้โชคลาภนับแต่นี้ไปอีก 20 ปี 

พีซิว เป็นที่รู้จักในเมืองไทยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมซึ่งมีคนรู้จักน้อยมาก หากใครมีโอกาสไปเยือนประเทศจีนจะพบว่าสัตว์ตัวนี้ได้รับความนิยมมาก โดยเฉพาะในหมู่ผู้ทำมาค้าขาย ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ และหน้าผ่อนการพนัน เพราะเชื่อว่าตั้งไว้เพื่อดูดทรัพย์พวกนักเล่น นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่า พีซิว สามารถปกป้องคุ้มภัย ขจัดสิ่งอัปมงคล เมื่อได้ทรัพย์สินเงินทองมาแล้ว การใช้จ่ายจะรั่วไหลออกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

มีตำนานเล่าขานในทางมงคลถึง พีซิว มากมายโดยเฉพาะเรื่องราวในยุคต้นราชวงศ์ ชิง” (ราชวงศ์แมนจู) เล่ากันว่า เมื่อยุคเฉียนหลงฮ่องเต้ ครั้งยังเป็นองค์รัชทายาท เรียกกันว่า องค์ชายสี่” มีนักพรตท่านหนึ่งนำ พีซิว มามอบให้ โดยกำชับให้หมั่นดูแลทะนุถนอม พีซิวจักคุ้มครอง ปกป้องภัย และส่งพลังให้ขึ้นสู่ราชบัลลังก์ ซึ่งองค์ชายสี่ก็ได้ทำตามนั้น จวบจนต่อมาได้ขึ้นครองราชย์ พระองค์จึงพระราชทานยศตำแหน่งแก่ พีซิว นาม เทียนลู่” (บารมียศแห่งสวรรค์) และอยู่คู่เฉียนหลงฮ่องเต้ตลอดรัชสมัย 60 ปีที่ครองราชย์ ซึ่งนับเป็นระยะเวลาแห่งการครองราชย์อันยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์จีน

ปัจจุบัน พีซิว ตัวดังกล่าว ตั้งอยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติไต้หวัน

 


 

     สิงห์ เป็นสัตว์มงคลที่มีอำนาจในภาคพื้นดิน

สิงห์ สัตว์มงคลที่มีอำนาจในภาคพื้นดิน ให้คุณทางด้านแคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งปวง บางตำนานเล่าว่า 

 

สิงห์ไม่ใช่สัตว์พื้นบ้านของจีน

 แต่มีในถิ่นแอฟริกา มีนักเดินทางชาวจีนไปเห็น ก็ชอบมาก

 แต่ไม่สามารถนำกลับประเทศได้ จึงจดจำกลับมาสร้างภาพตามจินตนาการ มีความสง่างามกำยำล่ำสัน เสียงร้องก้องกังวาน

 ถือเป็นเจ้าแห่งสัตว์ป่าทั้งปวง สิงห์จึงเป็นที่ชื่นชม เคารพบูชาตั้งแต่กษัตริย์ จนถึงขุนนาง

         และนิยมจัดตั้งสิงห์คู่ไว้หน้าสถานที่สำคัญ เช่นหน้าพระราชวัง โบสถ์ วัด ยังมีบางตำนานกล่าวอีกว่า สิงห์ตัวผู้ 

และตัวเมียหยอกล้อเล่นกัน ขนของมันที่หลุดออกจากตัวเกาะกันเป็นลูกกลมๆ และต่อมาก็มีสิงห์ตัวเล็กออกจากก้อนกลมนั้น

          เราจึงเห็นรูปปั้นสิงห์ตัวผู้ (หวงไซจื้อ) จะเหยียบลูกโลก หรือลูกบอล ตัวเมีย (ฉือไซจื้อ) เหยียบลูกไว้ชาวจีนเชื่อว่า

 การจัดตั้งสิงห์ไว้หน้าประตู หรือปลายหัวเสา แสดงถึงอำนาจ น่าเกรงขาม เพราะสิงห์เป็นสัตว์เทพมงคล

       โดยเฉพาะสิงห์สีเขียวเป็นสัตว์เทพพาหนะของ มัญชุศรีมหา-โพธิสัตว์ (บุ่งชู้ผ่อสัก) ในพุทธมหายาน 

ดังนั้นสิงห์จึงเป็นสัญลักษณ์แห่งการปกป้องคุ้มภัย และมีอำนาจขจัดภูตผีปีศาจ ให้กับสถานที่นั้นๆอย่างยอดเยี่ยม


เต่ามังกร

ญลักษณ์ของความแข็งแกร่ง อายุยืน สุขภาพดี ตั้งใจ มุมานะ นำไปสู่ความก้าวหน้า 
ความสำเร็จ อย่างมั่นคง ยืนยาว และรวมถึงความเพิ่มพูนด้านทรัพย์สินเงินทอง และป้องกันคุ้มภัยจากสิ่งชั่วร้าย
เต่ามังกร เป็นสัตว์เทพที่มีพลังอำนาจ เป็นที่ศรัทธาสูงสุดของราชวงศ์ถัง ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ถังได้สร้างรูปปั้นเต่ามังกรไว้หน้าพระราชวัง และเป็นความเชื่อสืบต่อกันมาของชาวจีน เพราะมีความเชื่อว่า เต่ามังกร เป็นลูกตัวที่ ๙ ของพญามังกร ซึ่งออกมาเป็นเต่าหัวเป็นมังกร ตามความหมายแล้ว เต่า เป็นตัวแทนของความยั่งยืน แข็งแรง อดทน มีเกราะป้องกันอันตราย ส่วนมังกร คือ ความยิ่งใหญ่ ความดีงาม ความกล้าหาญ วาสนาบารมีสูงส่ง จึงถือเป็นมงคลสูงสุด เมื่อสัตว์มงคลทั้งสองชนิดมารวมกันไว้ ซึ่งเป็นสุดยอดปรารถนาของชาวจีนในอดีต และเป็นที่เชื่อถือมาจนถึงปัจจุบัน

 เจ้าคงคา

        เจ้าคงคาคนจีนเรียกว่าเจ้าคงคาว่า ฮ้อแปะ ฮ้อ แปลว่า แม่น้ำ แปะ คือ อาเปะหรือคุณลุง แสดงว่า เจ้าแม่น้ำหรือเจ้าคงคาเป็นบุรุษไม่ใฃ่พระแม่คงคาอย่างชาวไทย ตำนานของเจ้าคงคาหรือ ฮ้อแปะถูกผูกไว้กับแม่น้ำฮวงโห โยงเรื่องถึงเทพเจ้าผู้เปิดภูเขา ซึ่งสมัยเป็นมนุษย์ท่านคือ กษัตริย์อู๊ จีนกลาง เรียกท่านว่า ต้าหวี่ แต้จิ๋วเรียกว่า หยู,อู๊,อู้หรือ ไตัอู้ หรือ แฮอู้  มีเรื่องราวเล่าว่า ขณะไต้อู้ได้กำลังวิเคราะห์สถานการนำท่วมใหญ่ ที่แม่น้ำฮวงโห้ว พลันนั้นมีชายร่างปลากล่าวแก่ไต้อู้ว่า ท่านคือ ฮ้อแปะ อยากจะช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วม ได้ใช้แผนที่แม่น้ำที่เรียกว่า ฮ้อโต้ว มาช่วยในการหาสาเหตุที่น้ำท่วม แล้วก็ดำน้ำลงไป ฮ้อแปะเป็นเจ้าคงคาที่บางแห่งมีชื่อเรียกว่า ปิ่งอี๊  เปียอี๊ ได้เกิดอุบัติเหตุจมน้ำตายขณะที่ข้ามแม่น้ำฮวงโห้ว แต่ด้วยความที่เป็นสามัญชน เปี๊ยอี๊เป็นคนใจดีก็ได้เป็นเทวดา เง็กเซียนฮ่องเต้ได้บัญชาให้เป็นเจ้าคงคาที่ดูแลแม่น้ำ เพื่อเป็นที่ลำลือถึงความศักดิ์ของเจ้าคงคาได้มีเรื่องเล่าในราชวงศ์ถังว่า ขุนพลโป่วจื้องี้ได้ถูกส่งให้ไปดูแลพื้นที่ในลุ่มฮวงโห้ว วันหนึ่งแม่เกิดน้ำท่วม  ขุนพลโป่วจื้องี้ได้ขอพรให้เจ้าคงคาคอยช่วยให้น้ำหายท่วมจะยกลูกสาวของตนให้เจ้าคงคาแต่งงานด้วย ในไม่ช้าน้ำในแม่น้ำก็หายท่วม และลูกสาวของท่าน ขุนพลโป่วจื้องี้ ก็ได้หลับโดยไม่ตื่น ท่านได้จัดงานศพกับลูกและตั้งหุ่นบูชา  

             ในตำนานของจีนได้มีการผนวกพญานาคและพญามังกรของจีน ยกย่องให้เป็นเจ้าแห่งคงคา และเปลี่ยนเล่งอ๋วงมีอำนาจควบคุมแหล่งน้ำทั้งหมด

 เจ้าคงคา

 

 


 

 

 

 


 

“จงขุย” (钟馗) คือเทพผู้เป็นสัญลักษณ์ของการปราบภูตผีปีศาจ มีอำนาจวิเศษและอิทธิฤทธิ์ในการกำราบปีศาจและมารร้ายทั้งปวง บ้างยกย่องให้จงขุยเป็น “เทพแห่งปีศาจ” หรือ “เทพนักรบผู้กำจัดความชั่วร้าย” ภาพลักษณ์ของจงขุย จะเป็นเทพเจ้าหน้าดำ ตาโปนโต หนวดเคราลุกชี้ชัน และจะสวมชุดขุนนางสีแดง ในมือมักจะจับกระบี่อยู่เนืองนิตย์

ใน “วันเทศกาลตวนอู่” (端午节) ซึ่งตรงกับวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินจันทรคติจีน จะเป็นวันปล่อยผีให้มาพบญาติบนโลกมนุษย์ ชาวจีนจึงมักแขวนรูปเทพจงขุยไว้หน้าบ้าน เพื่อให้ท่านช่วยกำจัดปัดเป่าเคราะห์ร้ายและช่วยปกป้องคุ้มครองให้ปลอดภัย

          ตำนานเรื่องเล่าเกี่ยวกับประวัติที่มาของเทพเจ้าจงขุยนั้น กล่าวกันว่าในสมัยราชวงศ์ถัง จักรพรรดิถังเสวียนจงฮ่องเต้ (บ้างว่าเป็นจักรพรรดิถังหมินหวัง) ทรงประชวรอย่างหนัก ในคืนหนึ่งได้ทรงพระสุบิน (ฝัน) ว่า มีผีน้อยตนหนึ่งมาขโมยขลุ่ยหยกของพระองค์ ทันใดนั้นก็ปรากฏผีใหญ่อีกตนหนึ่ง หน้าตาดุดัน หนวดเคราชี้ชัน สวมชุดขุนนางฝ่ายบุ๋น ออกมาจับตัวผีน้อยไว้ แล้วหักแขนหักขา ควักลูกตามันมากิน ถังเสวียนจงฮ่องเต้ทรงตกพระทัยจึงตรัสถามถึงได้รู้ว่า ที่แท้ผีใหญ่ตนนี้ มีชื่อว่า “จงขุย” เคยสอบจองหงวนบู๊ได้ในสมัยถังเกาจงฮ่องเต้ แต่ไม่ผ่านการทดสอบ เพราะจงขุยมีหน้าตาอัปลักษณ์ จึงได้ตัดสินใจฆ่าตัวตาย ฮ่องเต้ทรงเมตตาสงสารจึงพระราชทานชุดขุนนางฝ่ายบุ๋นให้เป็นกรณีพิเศษและจัดพิธีศพให้ ทำให้จงขุยซาบซึ้งในน้ำพระทัย และตั้งใจว่าจะคอยพิทักษ์อารักขาฮ่องเต้และแผ่นดินต้าถังตลอดไป เมื่อพระองค์ทรงตื่นขึ้นมาจึงตรัสมอบหมายให้จิตรกรเอกนาม “อู๋เต้าจื่อ” วาดภาพของจงขุยตามที่เห็นในพระสุบิน และทรงแจกจ่ายรูปของจงขุยให้แก่ประชาราษฏร์ติดที่หน้าประตูบ้าน เพื่อป้องกันสิ่งอัปมงคลและสิ่งชั่วร้ายนานาประการ

          ในตำนานยังกล่าวด้วยว่า จงขุยได้รับมอบหมายจากสวรรค์ให้มีทหารในสังกัดถึง 3 พันนาย เพื่อช่วยในการปราบปีศาจ ดังนั้น สำหรับชาวจีนแล้ว จงขุยคือเทพผู้สำคัญที่สุดในยามที่ชาวบ้านเกรงกลัวภูตผี และกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของเทพเจ้าผู้พิทักษ์มนุษย์ให้พ้นจากภัยรังควานของภูตผีปีศาจสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน  

 เชื่อกันว่า ใครที่กลัวจะถูกทำของใส่ หรือถูกคุณไสยเล่นเอา ต้องมีจงขุยคุ้มครองอยู่ในบ้าน หรือกรณีที่ต้องเข้าโรงพยาบาล หรือคนป่วยไปพักฟื้นที่ไหน สถานที่เหล่านั้นถือว่า มันสกปรก คือมีคนตายมาก ต้องมีผีอยู่ ให้เอาเทพปราบมารองค์นี้ไปด้วย 

แล้วจะปลอดภัยหายเป็นปกติกลับบ้านได้
    อ้างอิงจาก  : หนังสือ 108 ลัญลักษณ์จีน – ปิยะแสง จันทรวงศไพศาล


ตำนานเทพบิดรผานกู่สร้างโลก

คนจีนเชื่อว่าจักรวาลในบุพกาลเป็นเพียงวัตถุก้อนเดียวหน้าตาคล้ายๆไข่ไก่ หมุนวนไปมาจนดูครึ้มเหมือนเมฆหมอก 

กาลเวลาผ่านไปก็มีสิ่งมีชีวิตประหลาดเกิดขึ้นจากกลุ่มเมฆหมอก มีชื่อเรียกกันว่า ผานกู่





ผานกู่อาศัยอยู่ในไข่ใบนี้เป็นเวลา 18000 ปี จึงตื่นขึ้น เมื่อเขาลืมตาขึ้น เห็นแต่ความมืดมัว และรู้สึกร้อนจนทนไม่ไหว หายใจไม่ค่อยออก

 เขาอยากจะยืนขึ้น แต่เปลือกไข่แข็งล้อมรอบตัวเขาจนไม่สามารถยืดเท้ายืดมือได้แม้นิดเดียว ผานกู่โกรธมาก 

จึงเอาขวานที่ติดตัวมาจามเปลือกไข่ ได้ยินเสียงกึกก้อง เปลือกไข่แตกออกทันที





ผานกู่นี้ ตัวโตเร็วมาก สูงขึ้นได้ถึงวันละ 1 จ้าง หรือ 3.33 เมตร พอโตขึ้นจักรวาลรูปไข่ก็แยกออกเป็นสองส่วน 

ส่วนที่ใสสะอาดก็ลอยขึ้นกลายมาเป็นท้องฟ้า ส่วนที่ขุ่นข้นกว่าตกลงมากลายเป็นตะกอน จากนั้นก็กลายเป็นแผ่นดิน 

โดยมีผานกู่อยู่ตรงกลางเป็นตัวแยก ด้วยความที่ผานกู่กลัวจักรวาลจะกลับเป็นรูปไข่เหมือนเดิม จึงเอาศีรษะทูนท้องฟ้าไว้และเอาเท้าเหยียบดิน

 ฟ้ากับดินก็แยกกันมากขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป จนผานกู่กลายเป็นยักษ์ที่ยืนค้ำฟ้าเอาไว้ 

กว่าที่ผานกู่จะตายประมาณว่าระยะทางระหว่างฟ้าดินห่างกันราว 90,000 ลี้ หรือประมาณ 45,000 กิโลเมตร

ฟ้ากับดินที่เทพบิดรผานกู่ไปคั่นไว้นั้น ฟ้าเปรียบได้กับเพศชาย เรียกว่า หยาง ซึ่งแสดงถึงความอบอุ่น 

แสงสว่างตรงข้ามกับหยิน ซึ่งเปรียบได้เหมือนเพศหญิง ซึ่งแสดงถึงความมืดและความหนาวเย็น



ส่วนดินที่ผานกู่ใช้เท้ายันไว้ เล่ากันว่ามีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีมหาสมุทรอยู่ล้อมทั้งสี่ด้าน 

เรียกได้ว่าเป็นด้านล่างของเปลือกไข่ ส่วนท้องฟ้าที่เป็นด้านบนของไข่นั้น มีรูปเหมือนชามคว่ำ มีพระอาทิตย์ 10 ดวง มีพระจันทร์ 12 ดวง 

ลอยไปลอยมาใต้รูปชามคว่ำฝา เนื่องจากพระอาทิตย์มีถึง 10 ดวง เลยต้องมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนไปปรากฏตัวบนท้องฟ้า

โดยพระอาทิตย์จะนั่งรถทรง มีหมู่มังกรลาก รุ่งอรุณที่พระอาทิตย์ต้องทำหน้าที่ก็จะค่อยๆเคลื่อนตัวออกจากหุบเขาแสงสว่าง 

แล้วไปสรงน้ำที่ทะเลสาบสุดขอบของจักรวาลด้านตะวันออก พอสรงสนานเสร็จ ก็จะปีนต้นไม้ที่อยู่ข้างทะเลสาบ 

อีก 9 ดวงที่ไม่มีหน้าที่ก็ปีนอยู่แถวกิ่งล่างๆ ดวงที่เข้าเวรก็ปีนอยู่แถวบนๆ เพื่อรอขึ้นไปทำหน้าที่ต่อ พอรถมารับพระอาทิตย์ก็นั่งรถไปเรื่อยๆจนถึงขอบตะวันตก 

ส่วนพระจันทร์ก็ใช่ย่อยไม่น้อยหน้ามีรถทรงเหมือนกัน แต่วิ่งสลับทางกัน พระจันทร์นั่งรถจากทางทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก



เมื่อเวลาผ่านไปนานอีกไม่รู้กี่หมื่นปี ฟ้ากับดินต่างอยู่ในสภาพถาวรแล้ว และไม่อาจจะเชื่อมต่อกันอีกแล้ว ผานกู่จึงรู้สึกวางใจ แต่ก็รู้สึกเหนื่อยล้า ไม่อาจยืนค้ำต่อไปได้ ร่างกายใหญ่โตของเขาจึงล้มลง พอผานกู่ตายไปก็สลายธาตุไปเป็นสิ่งต่างๆบนโลกมนุษย์ ลมหายใจกลายเป็นลมและกลุ่มเมฆ เสียงกลายเป็นฟ้าแลบ ฟ้าผ่า ตาซ้ายกลายเป็นเทือกเขาและภูเขา คอยค้ำยันฟ้าดินให้อยู่ห่างกันต่อไป ส่วนเลือดกลายมาเป็นแม่น้ำ เส้นเลือดกลายเป็นถนนหนทาง เนื้อกลายเป็นต้นไม้และดิน เส้นขนบนหัวกลายเป็นดวงดาว ผิวหน้ากับขนตามลำตัวกลายเป็นต้นหญ้า ดอกไม้ ส่วนฟันและกระดูกกลายเป็นหินและแร่ธาตุ ส่วนเหงื่อกลายมาเป็นน้ำค้างนั่นเอง


จิ้งจอกเก้าหางของจีน

 

 

 

 

เรื่องจิ้งจอกเก้าหางของจีน มีปรากฏอยู่ในตำนานเรื่อง ห้องสิน ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับไสยศาสตร์ และภูตผีปิศาจ



       เรื่องราวมีอยู่ว่า พระเจ้าโจ้วหวาง (ติวอ๋อง) แห่งราชวงศ์ซางได้ไปสักการะเจ้าแม่หนวี่วา หนึงวาสี ในวิหารของเจ้าแม่ ตามปกติ รูปเคารพเจ้าแม่จะมีผ้าแพรบางๆ กั้นใบหน้าอยู่ บังเอิญขณะนั้นมีลมพัดผ่านมา ทำให้ผ้าแพรเปิดออก โจ้วหวางได้เห็นใบหน้ารูปเคารพของเจ้าแม่หนวี่วางดงามยิ่งนัก จึงออกปากมาว่า เจ้า***ดงามขนาดนี้ หากได้มาเป็นมเหสีน่าจะดีเมื่อเจ้าแม่หนวี่วาได้ยินดังนั้น จึงกริ้วมาก รับสั่งให้ปิศาจจิ้งจอกเก้าหาง ปิศาจพิณ และปิศาจไก่ มาทำให้โจ้วหวางเกิดความลุ่มหลงจนบ้านเมืองล่มสลายเพื่อเป็นการลงโทษ แต่อย่าให้ราษฎรต้องเป็นอันตราย



       ในขณะนั้น มีนางงามนางหนึ่ง นามว่า ต๋าจี ลูกสาวของเจ้าเมืองเล็กๆ เมืองหนึ่งถูกส่งตัวเข้าวังเพื่อเป็นพระสนมของโจ้วหวาง ต๋าจี เป็นหญิงสาวที่มีรูปโฉมโนมพรรณงดงามมาก แต่หญิงงามมักอาภัพนัก จิ้งจอกเก้าหางได้แอบลอบฆ่าต๋าจี และสวมรอยเป็นต๋าจีเสียเองเพื่อลักลอบเข้าวังเมื่อโจ้วหวางได้พบต๋าจีก็รู้สึกพึงพอใจในตัวต๋าจีเป็นอย่างมาก เนื่องจากต๋าจีมีรูปโฉมงดงามราวกับเจ้าแม่หนวี่วา กิริยาวาจาไพเราะอ่อนหวานราวกับเทพธิดามาแต่สรวงสวรรค์ชั้นฟ้า ยากที่จะหาหญิงใดในแผ่นดินเสมอเหมือน จิ้งจอกเก้าหางจึงได้เริ่มการทำให้โจ้วหวางลุ่มหลงในตัวนาง ซึ่งไม่ได้เป็นการยากเย็นกระไรเลย เพราะนอกจากมีความงดงามเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ยังสามารถร้องเพลง และเล่นดนตรีได้ไพเราะ อีกทั้งร่ายรำได้งดงาม ทำให้โจ้วหวางนานวันก็ยิ่งลุ่มหลงนางจนถอนตัวไม่ขึ้น และนางก็ได้ส่งเสริมให้โจ้วหวางทำแต่เรื่องชั่วร้าย ฆ่าคนเหมือนผักเหมือนปลาอยู่เสมอมา



       ในที่สุดจิ้งจอกเก้าหางในร่างตาจี๋ ก็ได้ยุให้โจ้วหวางสร้างหอสอยดาวขึ้น ยังความทุกข์ยาก และนำมาซึ่งความตายแก่ราษฎรจำนวนมากมายมหาศาลที่ต้องถูกเกณฑ์แรงงานมาสร้างหอสอยดาวนี้แต่ในที่สุด ปิศาจทั้งสามก็ถูก เจียงจื่อหยา ซึ่งได้ฝึกวิชาบนภูเขาจนกลายเป็นผู้วิเศษ ได้รับบัญชา เทียนมิ่ง นักรบจากสวรรค์ให้มาปราบทุกข์เข็ญของเหล่าราษฎร พร้อมทั้ง นาจาศิษย์เอก



       ปิศาจทั้งสามถูกจับตัวไปให้เจ้าแม่หนวี่วา ตัดสินโทษ จิ้งจอกเก้าหางเห็นว่าตนสามารถทำงานที่เจ้าแม่มอบหมายให้ ทำไมจึงยังมีโทษอีก เจ้าแม่หนวี่วากล่าวว่าได้ใช้ให้ไปทำลายแต่เพียงโจ้วหวางเท่านั้น หาได้สั่งให้ไปเข่นฆ่าผู้คนมากมายเช่นนี้ไม่ การทำเกินกว่าคำสั่งแบบนี้จำต้องถูกลงโทษ ทั้งปิศาจพิณ และปิศาจไก่จึงถูกลงโทษให้ตายตกไปตามกัน ส่วนจิ้งจอกเก้าหางนั้นหลบหนีการลงโทษไปได้


...หงส์... 

สัตว์เทพประจำทิศใต้ในคติจีน


หงส์ เป็นเจ้าแห่งปักษา และเป็นสัตว์มงคลชนิดหนึ่งของจีนมาแต่โบราณ มีรูปลักษณ์เดิมมาจากนกหลากหลายชนิด อาทิ ไก่ฟ้า ห่านฟ้า นกกระจอก เหยี่ยวนกกระจอก นกนางแอ่นฯลฯ ในตำนานกล่าวว่า หงส์มีรูปคล้ายไก่ฟ้า มีสีขนสลับลายเป็นประกาย มีนิสัยรักสะอาด ช่างเลือก (มีความละเอียดอ่อนประณีต) เนื่องจากรูปลักษณ์เป็นนก ประจำทิศใต้ ธาตุไฟ สีแดง จึงได้ชื่อว่า หงส์แดง
       
       ภายหลังได้รับอิทธิพลจากความเชื่อลัทธิเต๋า จากสัตว์เทพค่อยวิวัฒนาการเป็นรูปลักษณ์ของครึ่งคนครึ่งสัตว์ จากนั้นกลายเป็นเทพที่มีรูปเป็นหญิง

หงส์ ชาวจีนเรียกว่าหง มีความหมายว่า ความสวย ความสง่างามเพศหญิง

 

 

โดยนำเอาสัตว์คือนก 5 ชนิดมาผสมกัน

1. หัว มาจาก ไก่ฟ้า

 

 

2. ปาก มาจาก นกแก้ว

3. ตัว มาจาก เป็ดแมนดาริน

4. ขา มาจาก นกกระสา

5. หาง มาจาก นกยูง

บางตำราก็กล่าวกันว่า หงส์   เป็นนกที่เกิดจากการปรุงแต่งขึ้นมาจากนกที่มีความสำคัญหลายชนิดด้วยกัน คือ

หัว ได้รับอิทธิพลแบบอย่างมาจากไก่ฟ้า

หงอน ได้มากจากนกเป็ดหงส์

จงอยปาก ได้มาจากนกนางแอ่น

หลัง ได้มาจากเต่า

หาง ได้มาจากสัตว์จำพวกปลา

ถ้าหงส์มีหัวสีแดงจะเป็นหงส์ตัวเมีย
ส่วนหงส์หัวสีเขียวหรือสีน้ำเงินจะเป็นหงส์ตัวผู้

ความหมายที่ดี 5 ประการ คือมีคุณธรรม, ความยุติธรรม, ศีลธรรม, มนุษยธรรม, สัจธรรม

ซึ่งนับว่าแปลกมากที่ได้แบบอย่างมาจากสัตว์น้ำด้วย มิใช่เอามาจากสัตว์ปีกเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม โดยมากเราก็จะเห็นหงส์มีส่วนประกอบของนกยูง และไก่ฟ้าหางยาวอยู่เป็นอันมาก ดังจะพบว่ามีจำนวนหลายสี และเป็นมันเลื่อมสวยงามตลอดทั้งตัว ขนส่วนหางมี 12 เส้น และขนหางแต่ละขนมี 5 สี คือ แดง ม่วง เขียว เหลือง และขาว บางตำราจึงได้แบ่งนกหงส์ออกเป็น 5 ชนิด คือ ชนิดขนแดง ขนสีม่วง ขนสีเขียว ขนสีเหลือ และขนสีขาว และชนิดสีขาวเรียกกันโดยทั่วไปว่า ห่านฟ้า

ขอขอบคุณ ที่มา http://board.postjung.com/530614.html

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal