หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

ผมเคยไปไท้ปูเมื่อปี 1985 ,1987,1989

ไหง่เคยไปไท้ปูเมื่อปี 1985 ตอนเปิดประเทศใหม่ สมัยนี้ทันสมัยมากครับ ตอนไปกับสมาคมไท้ปู ตอนนั้นไม่สวยงามเหมือนตอนนี้เลยครับ ว่าง ๆ จะลงรูปที่ไปเที่ยวมา ไปหลายตำบล เกือบครบทุกที ไปอยู่ไปกินครั้้งละ 16 วันครับรู้สึกว่าช่วงเดือนพฤษภาคม 1985 ,ปี 1987,1989 รวม 3 ครั้ง  รู้สึกดีใจที่เรามีเพื่อนชาวฮากกา ของเรามากมาย สังคมของคนแคะยังไม่หยุดนิ่งในสยาม ครั้งแรกที่ไปพวกเรากลัวกินอาหารที่เมืองจีนไม่ได้ พวกเราเตรียมมาม่า ปลากระป๋อง และอื่น ๆ มากมาย พร้อมทั้งยาหม่อง ยาผงตราพระเจดีย์ พริกไทย เตรียมไปแจก เพราะสมัยนั้นคนจีนนิยมมากครับ

ตอนที่ไหง่ไปเที่ยวครั้งแรก เค้าจัดให้นั่งเครื่องบินไปลงฮ่องกง แล้วให้ต่อนั่งเรือเดินสมุทร ไปซัวเถา เพื่อย้อนรอยเส้นทางอตีดที่อาป๋า มาจากเมืองจีน ถามว่าสนุกไหม อยากตอบว่าสนุกมากครับ มีที่นอน มีคลับ มีห้องบรรเทิง  เรือแล่นโต้คลื่นทะเลในมหาสมุทร บางครั้งคลื่นสูงมากสูงน้อยสลับกันไป  ทำให้่ต้องเดินออกมาทางระเบียงเรือ ทำจิตใจระลึกถึงว่า เรือที่เรานั่ง 5 ชั้น มีความสุขสบาย แต่สมัยอาป๋า บอกว่าต้องแย่งกันกิน แย่งกันนอน ห้องน้ำก้อไม่มี เป็นเรือประมงลำใหญ่ เท่านั้นเอง ต้องลำบากเดินทาง ประมาณ 30-45 วัน ไหง่ระลึกถึงทันที ออกราว 1 ทุ่มฮ่องกง มาถึงซันโถวรุ่งเช้า 9.00 น.อ้อลืมเล่าไปเรื่องหนึ่ง ยุดปี 1985 คนที่จะเดินทางเข้าประเทศจีน จะมีสิทธซื้อตั๋วเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออะไรสักอย่าง เข้าประเทศจีน แล้วนำไปขายตั๋ว ที่เมืองจีนได้ด้วย ทำให้เรามีเงินเที่ยวเพิ่มขึ้น ประมาณ 400-500 หยวน เยอะเหมือนกัน แต่ต้องระมัดระวังแก็งทั่วไป  มีผู้ใหญ่ไท้ปูมารับ และให้พักผ่อนที่บ้านของคนไท้ปูในซันโถว สมัยก่อนที่ไป เมืองซันโถว เป็นเมืองยังไม่ทันสมัย ถนนลาดยาง 2 เลน บ้านเมืองเล็ก ๆ สนามบินยังใช้เดินไปขึ้นเครื่องบิน 2 ใบพัดอยู่เลยครับ สมกลับที่เค้าตั้งโครงการนี้ว่า "กลับแผ่นดิน แม่"(จ้อนกาทรวง) รุ่นแรกปี 1985

จากนั้นเดินทางด้วยรถตู้ไปไท้ปู ตลอดระยะเวลาผ่านเมืองต่าง ๆ ของซันโถว ซึ่งเป็นของพวกชาวแต้จิว มาเริ่มเข้าเขตคนแคะ ด่านแรกน่าจะเป็นเฟิงซุ่น การเดินทางต้องขึ้นเขา-ลงเขา ลูกแล้วลูกเล่า สมแล้วที่ใคร ๆ บอกว่า คนแคะเป็นชาวภูเขา

แต่สำหรับผมแล้ว เมืองที่อยากไปจริง ๆ เพราะได้ยินชื่อเสียงมานานว่า ถ้าอยากกินเต้าฟูที่อร่อย และขายกันทั้งเมืองเลย ต้องที่ อึ้งฝ่า ครับ

ปรากฏว่าไปครั้งแรกไม่ได้ไปเมืองนี้ ผิดหวังครับ ได้ไปจริง ปี 1987 ครับ (ไม่รู้ว่าผ่านมานานแล้ว ยังคงเอกลักษณ์เดิมหรือเปล่า) สุดยอดจริง ๆ ความอร่อยยังติดปากทุกวันนี้ครับ ใครไปเที่ยวอยากแนะนำ ให้ขึ้นเครื่องบินไปลงฮ่องกง ต่อเรือไปซัวเถา แล้วเข้าไท้ปู หลังจากพักหลายวันแล้ว หารถตู้สัก 1 คัน เหมาเดินทางไปกวางเจา เที่ยวสวนสาธารณะ 5 แพะ(ที่มาของถ่านไฟฉายตรา 5 แพะ) พิพิธภัณ ดร.ซุนยัดเซน เที่ยวสัก 2-3 วัน ค่อยกลับประเทศไทยจะได้อารมณ์หลากหลายครับ อ้อตอนที่ไปครั้งนั้น มีหลานอาป๋าไหง่เป็นผู้จัดการโรงแรมในกวางเจา ให้การดูแล มอบคนขับและรถตู้ เอาไว้ใช้ไปเที่ยว กลางคืนพาเที่ยวในท์คลับที่โรงแรมอีกด้วย

พวกเราเข้าพักที่เรือนรับรองภายในสถานที่ราชการ อำเภอไท้ปู ซึ่งสมัยนั้นถือว่าดีที่สุดแล้วครับ แต่ละวันตื่นเช้า ออกไปยังสถานที่ต่าง ๆ ทุกวัน 7.30 น.ต้องตื่นขึ้นมากินอาหารเช้าครับ เช่น โล้ชู่ปั้น (กิมอี้ไทย) และหลายอย่าง เป็นต้น อนุสรณ์นายพลจูเต๋อ ตั้งอยู่ที่ สามโห้ปัน(จุดรวมแม่น้ำ 3 สาย)และเมืองโกปี แหล่งผลิตงานเซรามิคที่ยิ่งใหญ่ของคนฮากกา (เป็นที่มาของชามตราไก่ ลำปาง แซ่เดียวกับไหง่) ส่งมาขายเมืองไทย สมัย ร.5 นอกจากนี้ยังไปเยี่ยมชมโรงเรียนต่าง ๆ มีโรงเรียนอนุบาลแห่งหนึ่ง มีประกาศจัดตั้งว่าเป็นโรงเรียนอนุบาลที่จัดตั้งเป็นแห่งที่ 2 ของประเทศจีน นับว่าน่าภูมิใจมาก(จำชื่อไม่ได้แล้ว เพราะบันทึกถูกน้ำท่วม) ข้อมูลสมัยนั้น บอกว่าชาวไท้ปูมีระบบการศึกษาที่ดีเกือบที่สุดของประเทศจีน ประชากรเกือบร้อยละื 90 กว่าเปอร์เซ็นต์ เป็นคนที่อ่านออกเขียนได้ ยุดนั้นมีนิยามคำหนึ่ง ของคนจีนกล่าวกัน  "มีเรื่องทะเลาะกับใครก้อได้ แต่กับคนไท้ปู ไม่ได้" เพราะคนไท้ปูมีการศึกษาสูงมาก ประกอบกับในยุคจีนเปลี่ยนแผ่นดิน(สงครามจีน) คนไท้ปูเป็นจอมพลถึง 76 คน นำโดยจอมพลจูเต๋อ ปราบเจียงไคเช็ค ตกทะเลไปไต้หวัน (ข้อมูลจากการบอกเล่า ผู้อาวุโสไท้ปูที่เมืองจีน) อ้อขอเล่าเพิ่ม มีโรงเรียนแห่งหนึ่งที่ไปทัศนศึกษาเป็นบ้านเกิดครอบครัวของท่านลีกวนยู  ทางโรงเรียนบอกว่าเป็นโรงเรียนที่ท่าน ลีกวนยู อนุเคราะห์สร้างให้ใหม่ เพื่อเป็นอนุสรณ์ฺของอาป๋า อาแม และครอบครัวครับ

ด้วยจิตและวิญญาณ ของฮากกาหยิ่น ดูรูปปัจจุบันที่เจริญทันสมัยแล้ว รู้สึกว่าบรรยากาศเดิม สมัยรุ่นอาป๋า มีลักษณะทั่วไปแบบกลิ่นหญ้า และกลิ่นดั้งเดิมหายไปหมดสิ้น มีแต่ตึก บ้านช่อง ที่ทันสมัย อย่างยิ่ง อยู่ระหว่างเตรียมการจะนำรูปภาพเก่า ๆ ปี 1985 มาลงให้ชมกัน เพื่อคนรุ่นต่อไปจะได้นึกภาพและบรรยากาศ ดั้งเดิมบรรพบุรุษ จะดีกว่า  กราบขอเวลาสักพักนึงครับ

ปัจจุบันที่เมืองจีน ไหง่ยังมีพี่ น้องและหลาน ส่วนมากทำงานเกี่ยวกับโรงพยาบาล อาไท้โก(ตอนนี้เกษียณแล้ว) เป็นพยาบาล หลานสาวเป็นพยาบาล หลานชายคนแรกเป็นหมอแผนโบราณ หลานชายคนที่สองเป็นหมอแผนปัจจุบันที่เหมยเย้น ด้วย 

สะพานที่ข้ามแม่น้ำ ในอตีดมีสถานีโทรทัศน์ของท้องถิ่นด้วย ข้างใต้สะพานชาวบ้านที่ถูกเวนคืน ทางราชการสร้างบ้านใต้สะพานให้(ใต้ถุนสะพาน) จากดูรูปปัจจุบันแตกต่างกันเลยครับ มีคนไทยที่เกิดเมืองไทยมาพูดคุยด้วยหลายคนเหมือนกัน พวกเขากับไปช่วยประเทศจีน ตอนสงครามโลก และญี่ปุ้น ไหง่ทำนามบัตรหายไปแล้ว(เพราะย้ายบ้าน)

ไปประเทศจีนครั้งแรก ไหง่กลับมาเขียนเรื่องราวต่าง ๆ ที่ไปทัศนศึกษามาร่วม 300 กว่าหน้า ไหง่เป็นคนฟังภาษาจีนออก เกือบทุกสำเนียง

แคะ แต้จิว จีนกลาง แต่มีข้อเสียออกสำเนียงไม่ได้ ชัดเจน หนังสือเล่มนั้นโดยน้ำท่วมเสียหายไปนานแล้ว คุณมงคล มหกิจไพศาล ได้ส่งไปแปลเป็นภาษาจีน ประเภทหนังสืออ่านเสริมที่โรงเรียนในไท้ปู ชื่อหนังสือว่า แผ่นดินแม่ จากชาวจีนโพ้ทะเลในขณะนั้น

ไหง่ต้องขอขอบคุณ ทีมงานที่กรุณาสอนไหง่ลงรูปภาพ จะตอบสนองหลาย ๆ คน ที่อยากดูบ้านเมืองฮากกา เดิม ๆ เป็นสภาพอย่างไรเร็ว ๆ นี้ครับ 

ตอนที่ 1 ไปครั้งแรก ปี 1985

ทางสมาคมไท้ปูแห่งประเทศไทย โดยท่านนายกฯ เลี่ยวเหมยหลิน ได้มีโอกาสพูดคุยกับท่านนายกจีน เจียงเจียหมิน พูดถึงประเทศไทยมีความสัมพันธ์กับประเทศจีนแล้ว เราน่าจะมีโครงการสานต่อลูกหลานที่เกิดในโพ้นทะเล ทั่วโลก ให้มีโอกาสและกลับบ้านเกิด หรือภาษาไทยเรียกว่า กลับ แผ่นดินแม่   ได้มอบเงินทุนเริ่มโครงการ 50,000 บาท ผู้รับผิดชอบโครงการ คุณสมชาย (เขยทรงสมัย) จึงเริ่มเสาะแสวงหาลูกหลานที่จะร่วมโครงการดังกล่าว ได้รวม 6 คน ชาย 4 หญิง 2 เมื่อเป็นรูปเป็นร่างเรียบร้อยแล้ว กำหนดจัดประชุมเดือนละ 1 ครั้ง ประมาณ 5 ครั้งก่อนเดินทางไป

ช่วงเวลานั้น ข่าวต่าง ๆ ของเมืองจีน ค่อนข้างจะมีภาพพจน์ที่ไม่ดี ใครไปเมืองจีน จะโดนญาติพี่น้อง ไถเงินบ้าง ด่าบ้างเวลาขอเงินแล้วไม่ได้ เรื่องอาหารการกิน สกปรก นานาจิตตัง สารพัดเรื่องราว แต่การเดินไปครั้งนี้ ทางข้าราชการท้องถิ่น ได้บอกว่าเรื่องราว ๆ ต่าง ๆ อย่าไปกลัวทั้งสิ้น ทางนั้นจะดูแลอย่างดี และเต็มที่ (ปรากฏว่าจริงครับ เค้าจะมีคนคอยดูเราอย่าง ดี ตลอดเวลากลางคืน กลางวัน จนกว่าจะนอน) ก่อนไปด้วยความวิตกกังวลใจ คณะของเราเตรียม มาม่า ปลากระป๋อง ของกินเพียบ ยาดม ยาหม่อง ยาหอม น้ำปลา พริกไทย ครับ

ตอนนั้นเรามีงบประมาณจำกัด เราตกลงใช้สายการบิน แอร์อินเดีย ไปลงฮ่องกง เวลาช่วงเช้า ต่อเรือไปซัวเถา ตอน 18.00 น. มีเรื่องสาระเล็กน้อย บนเครื่องบิน พนักงานแอร์ เค้ามีวิธีกินมะม่วงไม่เหมือนพวกเรา มะม่วงอินเดียผลจะใหญ่มาก จะต้องรอให้สุกง่อม แล้วก้อบีบให้น่วม ก่อน ต่อจากนั้นใช้หลอดกาแฟ ดูดน้ำมะม่วงกินครับ พวกเรามองและชวนให้เค้ากินมะม่วงแรด แบบที่เรากิน(ดิบ ๆ) เอาไหม ปรากฏว่าเค้าปฏิเสธกันครับ (ต่อมาภายหลัง เจอแขกอินเดียที่บางรัก  ถึงทราบว่ากินแบบนั้น จริง ๆ ด้วยครับ) ในคณะของเรามีพี่ใหญ่ (คุณมนูญ เมธารมณ์) ผ่านอเมริกา ญี่ปุ่น ทำให้สบายใจ และอาโกสมชาย (เขยทรงสมัย) จบไต้หวันมา ภาษาจีันคล่องดีครับ และอาโกบัญชา เรี่ยวแรงกุศล  ผู้มากประสบการณ์ การเดินทางจึงเป็น ทิป ที่มีความสุข สนุกสนาน อันดียิ่ง

เพื่อความสมบูรณ์ ไหง่จะลงภาพในอตีดที่ปัจจุบัน หาดูได้ยาก สมัยปี 1985 ยังมีกลิ่นสาปของเหมาเจ๋อตุง ธรรมชาติสีเขียวตามเชิงเขานำมาลงให้ชมกันต่อไป

ช่วงนี้ลูกสาวเริ่มจะพอมีเวลา จะเริ่มทะยอยนำรูปภาพเก่า สมัย ปี 1985 มาิเริ่มลงให้ดูกันได้บ้างแล้ว เราไม่เก่งทาง ไอ ที ก้อต้องรอลูกสาวนะ

รูปภาพบางรูปอธิบายไม่ค่อยถูก เพราะนานมากล้ว แต่ถ้่าถามความรู้สึกยังจำได้ดี บรรยายกาศที่แสนจะอบอุ่นมากครับ จะลงรูปไปเรื่อย ๆ ครับ 


รูปภาพของ วี่ฟัด

ฮากกาอาวุโส

         บางทีคำว่า " อาวุโส " ก็ไม่ได้หมายความว่า " แก่ " หรอกนะครับไหง่ว่า คำว่าอาวุโสอาจหมายถึงผู้มากไปด้วยประสบการณ์ ใช่มะครับบางทีผู้ที่ดำรงค์ตำแหน่งผู้จัดการอาวุโสดูหนุ่มจะตายไป ดังนั้นที่ไหง่จั่วหัวมานั้นก็มิได้บังอาจจะหมายถึงว่าอาโกกัวนัยคิ้นจะแก่หรอกนะครับ แต่ไหง่จะสื่อว่าอาโกคือคนฮากกาผู้มากเต็มเปี่ยมไปด้วยประสบการณ์ต่างหากเล่าครับ

             อาโกเคยไปไท้ปูมาแล้วตั้งแต่เมื่อเกือบสามสิบปีก่อนคงจะไม่ต้องพูดหละว่าประสบการณ์ฮากกาของอาโกจะมากมายเพียงไร อาโกเคยไปไท้ปูในช่วงระยะเวลาเดียวกับที่ไท้ปักไหง่เดินทางไปหมอยแย้นทีเดียวเชียวแหละ ตัวไหง่เองเคยไปหมอยแย้นมาแล้วห้าครั้งก็ในช่วงแค่ประมาณสิบกว่าปีที่ผ่านมานี้เอง ไหง่จึงยังถือว่าประสบการณ์ฮากกายังน้อยกว่าอาโกมากมายนัก

            ในชุมชนแห่งนี้มีชาวไท้ปูอยู่หลายท่านเดี๋ยวชาวไท้ปูก็คงมาทักทายอาโกเองแหละครับ อีกอย่างหนึ่งครับในชุมชนนี้อย่าใช้คำเรียกตัวเองว่า " ผม " เลยครับดูมันห่างเหินไม่เป็นกันเองตามประสาพี่น้องชาวฮากกาเลย ถ้าจะให้ดีที่สุดแบบเป๊ปซี่ใช้คำวา " ไหง หรือ ไหง่ " ดีกว่านะครับไหง่ว๊า

รูปภาพของ webmaster

ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับสู่ชุมชนชาวฮากกา ครับผม

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal