หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

ศาลเจ้าโรงเกือกของฮากกา

รูปภาพของ ป้าจี้

สวัสดีหนีห่าวค่ะไท้กา วันนี้ไปไหว้เจ้าขอพรที่ศาลเจ้าโรงเกือกกันนะคะ เป็นศาล1ใน6ของฮากกา

ศาลเจ้าโรงเกือก (เกือก=รองเท้า)

 

ศาลเจ้าโรงเกือก ตรง ซ.วานิช 2 แขวงตลาดน้อย ทางเข้าศาลเจ้าจะอยู่ก่อนสุดซอยเล็กน้อย ทางฝั่งขวามือ ศาลเจ้าที่นี่มีอายุร้อยกว่าปีแล้วค่ะ คนจีนแคะเป็นผู้สร้างขึ้น ในวันตรุษจีน จะมีคนมาไหว้ศาลเจ้าเยอะมาก เพราะที่นี่มีเทพเจ้าไฉ่ซิงเอี๊ยะ ที่ถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภ และปกติวันตรุษจีนจะมีการตั้งโต๊ะไหว้เทพเจ้าไฉ่ซิงเอี๊ยะกันอยู่แล้ว ใครสนใจที่จะมาไหว้ก็ซื้อของไหว้รวมไปถึงกระดาษเงิน ทองมาไหว้ด้วย พอไหว้เสร็จก็จะเอากระดาษลงมาเผาที่เตาด้านล่าง หากใครมีโอกาสไม่ต้องเป็นวันตรุษจีนก็ได้ค่ะ มากราบขอพรสักครั้งเพื่อเป็นสิริมงคลให้กับตนเองก็ดีนะคะเพราะเป็นศาลเจ้าเก่าแก่ที่มีมาแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แล้วจ้า

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก  เยาวราชที่รัก บายเซี่ยงไฮ้แมนชั่น และ

 ย่านจีนถิ่นบางกอก-Bangkok Chinatown


รูปภาพของ จองกว๊านหมิ่น

ภูมิหลังของเทพโชคลาภ

 

財神爺背景 = ภูมิหลังของเทพโชคลาภ

 

นำมาจากนิตยสารรายสัปดาห์

理財周刊 │ 2011/11/1 │

รูปภาพของ ฉินเทียน

ศาลเจ้าฮ้อนหว่องกุ๊ง อีกชื่อของ ศาลเจ้าโรงเกือก ครับ

ศาลเจ้าฯ แห่งนี้ มีที่ดินติด ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้กับ กรมการขนส่งทางน้ำ หรือ กรมเจ้าท่า โดย สมาคมฮากกาฯ กทม.  ให้การดูแลและรักษา  ให้คงอยู่ ท่ามกลางการพัฒนาของเมือง

ปัจจุบัน ศาลเจ้าฯ ไม่สง่างามเหมือนเมื่อไหง ยังเป็นเด็ก  ซึ่งสมัยก่อน จะมีให้เห็นการฝึกมวยจีน และอาวุธ การต่อสู้แบบจีน รวมทั้งพิธีกรรมทางจีนอื่นๆ 

 

 

รูปภาพของ จองกว๊านหมิ่น

漢王廟 - 漢王宮

 
漢王廟 - 漢王宮  =  ฮ้อนหว่องเมี้ยว   - ฮ้อนหว่องกุง
ภาพของคุณ  laser 
จาก   pantip
รูปภาพของ ป้าจี้

นิราศศาลเจ้าโรงเกือก

ตอเชี้ยอาจองกว๊านหมิ่นกอ  และอาไทฉินเทียน ที่มาร่่วแจมทั้งภาพและข้อมูล  ที่ไหง่สนใจศาลเจ้าแห่งนี้ก็เพราะคำว่า "เกือก" จึงอยากรู้ที่มา และวันนี้ไหง่ได้คำตอบจากกนิราศของนายบุศย์ซึ่งแต่งขี้นในสมัยรัชกาลที่6 {นิราศหมายถึงบทประพันธ์ประเภทหนึ่งที่แต่งขึ้นเพื่อบรรยายถึงสภาพการเดินทางหรือภูมิประเทศที่พบเห็น โดยมากมีการโยงเข้ากับคนรัก}

.... ถึงศาลเจ้าโรงเกือกเป็นชื่อตรอก

ถามเขาบอกให้ฟังคิดกังขา
ไหนองค์อารักษ์อันศักดา
มีสมญารองเท้าเป็นเจ้านาย
พอนึกได้เขาบอกว่าตรอกนี้
เดิมโรงมีแถวเทือกเย็บเกือกขาย
จึงตั้งชื่อลืออยู่ไม่รู้วาย
ถึงหยาบคายเป็นนามตามตำบล
องค์ไทยด้าวอารักษ์ที่ศักดิ์สิทธิ์
ฉันอุทิศขอถวายฝ่ายกุศล
ช่วยคุ้มครองป้องกันพาลประจญ
อย่าให้คน .............

 มังกรคาบแก้วบนหลังคาศาลเจ้าโรงเกือก

เจ้าแม่กวนอิมในศาลเจ้าโรงเกือก

ข้อมูลจาก  ศาลเจ้าโรงเกือก The Hakka association of thailand 

                นิราศชมตลาดสำเพ็ง นายบุศย์  แต่งเมื่อต้นสมัยรัชกาลที่ ๖

เกือกใครคิดว่าไม่สำคัญ

สวัสดีค่ะป้าจิ้

            ยังไม่เคยไปศาลเจ้าแห่งนี้  แต่คิดว่ามีโอกาสไปเยาวราช  จะต้องแวะไปสักหน่อยแล้ว

                     ฉินซิ่วฉุก

รูปภาพของ ป้าจี้

ทริปตลาดน้อย/ฉินซิ่วฉุก

ยินดีมากค่ะที่อาจี้ฉินซิ่วฉุกจะไปขอพรจากศาลเจ้าโรงเกือก ไหง่ว่าเกือกหรือรองเท้าที่ทำในสมัยร.5 น่าจะเป็นเกี๊ยะหรือเปล่าน่ะ การที่คนทำรองเท้าได้ตั้งศาลเจ้าแห่งนี้ขึ้นมาก็แสดงให้เห็นถึงความกตัญญูรู้คุณต่อผู้ที่มีพระคุณ ซึ่งเป็นคุณสมบัติของคนฮากกาโดยแท้  นอกจากศาลฮากกาแห่งนี้แล้วยังมีสถานที่ที่น่าสนใจเช่น 1.วัดแม่ลูกประคำ(วัดคริสต์กาลหว่าร์)   2.รร.กุหลาบวิทยาลัย(เทียนจู้เจี้ยวเหมยกุ้ยเซี๊ยะเสี้ยว)    3.ธ.ไทยพานิชย์(อาคารเก่าแห่งแรกของธนาคารรูปแบบคลาสสิก)   4.กรมเจ้าท่า(กรมการขนส่งทางน้ำและพานิชย์นาวี)    5ศาลเจ้าโจวซือกง(ของชาวจีนฮกเกี้ยนเป็นสถานที่กินเจชื่อดังแห่งหนึ่ง)   6.ศาลเจ้าจี้จินเกาะ 7.และศาลเจ้าเซียงกง  ซึ่งตลอดเส้นทางมีอาหารอร่อยขึ้นชื่อให้เลือกกินมากมาย  อาจี้ฉินซิ่วฉุกลองดูเวปข้างล่างนี้เพื่อเป็นไกด์นำทางก่อนที่จะไปจริงนะคะ ไหง่เองก็จะหาโอกาสไปเช่นกัน  ไหง่ขออนุญาตกว๊านหมิ่นกอที่แนะนำข้อมูลจากพันทิพย์ เรื่อง"เที่ยวไปกินไป@ตลาดน้อยมาวางไว้ตรงนี้นะคะ เพื่อให้คนที่สนใจสะดวกในการเข้าชม  ขอบคุณค่ะ   Cool

http://topicstock.pantip.com/food/topicstock/2008/08/D6876761/D6876761.html

รูปภาพของ ป้าจี้

เรื่องเล่าคนตลาดน้อย

สวัสดีหนีห่าวค่ะไท้กา ช่วงเดือนเมษานี้อากาศร้อนมากๆ เรามาคลายร้อนฟังเรื่องเล่าคนตลาดน้อยกันนะคะ
จากอาเจ็กขำนาญ เกียรติ์กำใจ ผู้อาวุโสของตลาดน้อย(ตัวจริงเสียงจริง)ของย่านจีนถิ่นบางกอก มาฟังกันว่าเมื่อ80-90ปีที่แล้วตลาดน้อยมีสภาพเป็นอย่างไรนะคะ Cool

รูปภาพของ ฉินเทียน

เรื่องเล่านี้มีค่ามากครับ

คนจีน ย่านตลาดน้อย ค่อยๆหายไป ในกาลเวลา หาลูกหลานเหลนโหลนลือ ซึ่งจิตสำนึกกตัญญู มีหรือไม่ 

ประเทศ ขอบขันธสีมา อาณาจักรรัตนโกสินทร์  กำลัง จะหายไป ในกระแสความเป็นประเทศไทย ( ดีแต่กู้ )

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีสักกี่คนที่ทราบว่า พระองค์ท่านมาจากที่ใด พระราชบิดา นามว่า อะไร (คนปัจจุบันรู้แต่ว่าเป็นจีนมาจาก อ.ไหฮอง ) และ พระราชมารดา นามว่าอะไร ( ไหง ไปฟังคนจีนพูดกันว่า "ฮกเกี้ยน" ไม่ใช่ "นกเอี้ยง" ) ทำไมจึงเก่งกล้าในการศึกสงคราม แล้วทำไม ทางการจีน จึงไว้วางใจให้ยืมทหารหาญ และอาวุธยุทธภัณฑ์มาเพื่อการศึกสงคราม  แล้วใครกันแน่ที่แย่งราชบัลลังก์ ( พระยาสรรค์ แย่งราชบังลังก์ )

ราชวงศ์จักรี มีสัมพันธ์ไมตรี ที่ดีต่อจีน อย่างไร ให้ประจักษ์มาถึงปัจจุบันนี้ พ.ศ.๒๕๕๖  http://hakkapeople.com/node/3630

ใคร ใส่ร้าย ให้หมายมั่น ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจีนให้แตกแยก มันน่าจะเป็นคนถ่อย อย่างแน่แท้ หรือไม่ครับ

 

รูปภาพของ ฉินเทียน

財神宫 = 财神宫

เทพเจ้าประทานลาภ  = 財神宫 = 财神宫 = Cáishén gōng

ประทับอยู่ในศาลเจ้าทรงหกเหลี่ยมแบบ 2 ชั้น สร้างด้วยอิฐปูนและหลังคาทรงกระเบื้องจีนโครงประกอบไม้ศิลปะจีนฮั่น อยู่ด้านหน้าศาลเจ้าฮ้อนหว่องกุ๊ง  และอยู่ภายในบริวณพื้นที่ลานกว้างด้านนอกศาลเจ้าฮ้อนหว่อง ใกล้ท่าน้ำศาลเจ้าโรงเกือก ครับ

http://topicstock.pantip.com/food/topicstock/2008/08/D6876761/D6876761.html

สถานที่นี้ลมพัดเย็นสบายดี

ศาลเจ้าแห่งนี้ร่มรื่นเย็นสบายอยู่ติดแม่นำ้เจ้าพระยา  อาผ่อของไหง่พาไปไหว้เจ้าบ่อยๆตั้งแต่ไหง่ยังเด็กๆ(ตอนนี้เกษียรแล้ว) ยังจำได้ว่าเคยไปยืนดูชาวบ้านลงไปงมกุ้งได้ตัวใหญ่ๆที่ท่านำ้หน้าศาลเจ้านี้  แต่ปัจจุบันไม่มีแล้ว

รูปภาพของ ฉินเทียน

廟王漢=汉王庙

ประวัติศาลเจ้าฮ้อนหว่อง ซึ่งนายสุชาติ และ นางศิริพร พรชัยวิเศษกุล ได้เรียบเรียงและจัดพิมพ์ ถวายมีข้อความว่า “จากข้อมูลบนป้ายศิลาภายในศาลเจ้าพ่อฮ้อนหว่องกุงซึ่งบันทึก เมื่อรัชสมัยจักรพรรดิกวางสู ปีที่ 15 ตรงกับปี พ.ศ.2432 กล่าวว่า พ่อค้าชาวจีนฮากกา (จีนแคะ) ได้เชิญองค์เจ้าพ่อฮ้อนหว่องกุง จากเมืองจีนมาประดิษฐานบูชาในประเทศไทยเป็นเวลากว่า หนึ่งร้อยปีก่อนที่จะมีการสร้างศาลเจ้าที่เห็นอยู่ในปัจจุบันแล้วโดยศาลเจ้าหลังเดิมตั้งอยู่บริเวณด้านขวามือ ต่อมาเมื่อมีการจัดงานแห่เจ้าพ่อฮ้อนหว่องกุงขึ้น ผู้ที่มาร่วมพิธีแห่เจ้า เห็นว่าสถานที่ของศาลเจ้าหลังเดิมคับแคบไม่เหมาะสมแก่การประกอบพิธีกรรม ใน ปี พ.ศ.2431 คณะกรรมการศาลเจ้าซี่งเป็นกลุ่มพ่อค้าชาวจีนฮากกา ประกอบด้วย นายหลิ่วเขี่ยนฮิน นายหยี่จงซึ้น นายอึ้งเมี่ยวเหงี่ยน นายฉึ่นไท้เหงี่ยน นายจูกว้องยี้ นายหลิ่วเขี่ยนซุ้น นายเลี้ยวเหงี่ยนซุ้น นายเท้นวั้นฮับ และนายไล้หยิ่นจี๊ เป็นต้น ได้เชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงินซื้อที่ดินด้านซ้ายของศาลเจ้าหลังเดิม ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งขณะนั้นยังมีสิ่งปลูกสร้างเป็นบ้านไม้หลังคาจาก จากเจ้าของที่ดินซึ่งเป็นข้าราชการไทย เป็นเงินจำนวน 2,400 บาท เมื่อสร้างศาลเจ้าหลังใหม่แล้วเสร็จได้ใช้พื้นที่บริเวณด้านหน้าจัดให้มีการประมูลภาษีอากรประจำปีขึ้น รายได้จากการประมูลและเงินที่เหลือจากการเรี่ยไรซื้อที่ดิน ได้มอบให้เป็นเงินทุนสะสมของคณะกรรมการศาลเจ้า ไว้ใช้ในงานแห่เจ้า และบริหารงานของศาลเจ้าต่อไป ในอดีตศาลเจ้าพ่อฮ้อนหว่องกุง จะจัดงานแห่เจ้าฮ้อนหว่องกุง ขึ้นทุก 3 ปีครั้งหนึ่ง แต่ในปัจจุบันจะจัดเพียงงานประจำปี เนื่องในโอกาสวันประสูติของเจ้าพ่อประทานลาภ (เจ้าพ่อฉ่อยสึ่นหย่า) ในวันที่ 22 เดือน 7 ตามปฎิทินทางจันทรคติของจีน หรือประมาณเดือน สิงหาคม และ เจ้าพ่อฮ้อนหว่องกุง ในวันที่ 12 เดือน 9 ตามปฎิทินทางจันทรคติของจีน หรือประมาณเดือน ตุลาคมของทุกปี” 

http://www.car.chula.ac.th/cop/profile/2149/ 

https://www.facebook.com/profile.php?id=100003018442151

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal