หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

สำนักปรัชญาขงจื้อ

รูปภาพของ มงคล

ขงจื่อ กับสำนักปรัชญาขงจื่อ
เครดิต สถานีวิทยุ C.R.I. ปักกิ่ง ภาคภาษาไทย http://thai.cri.cn

ขงจื่อ
เมื่อกล่าวถึงวัฒนธรรมตั้งเดิมของจีน ก็ต้องเอ่ยถึงชื่อของขงจื่อ หรือขงจื๊อ เมื่อทศวรรษ1970 มีนักวิชาการชาวอเมริกันผู้หนึ่งได้จัดให้ขงจื่อเป็น อันดับที่5ใน100คนที่มีอิทธิพลสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ แต่กล่าวสำหรับคนจีนแล้ว อิทธิพลของขงจื่อน่าจะอยู่อันดับแรกมากกว่า กล่าวได้ว่าคนจีนทุกคนต่างได้รับอิทธิพลจากสำนักปรัชญาขงจื่อไม่มากก็น้อย

ขงจื่อเกิดในปี 551 และเสียชีวิตในปี 479 ก่อนคริสต์กาล มีชื่อตัวว่า ชิว เป็นคนรัฐหลู่ เป็นนักคิดและนักการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ในสมัยปลายยุคชุนชิว และเป็นผู้ก่อตั้งสำนักปราชญา"หรูเจีย"หรือสำนักปรัชญาขงจื่อนั่นเอง ได้รับการยกย่องว่า เป็นปรมาจารย์แห่งจริยธรรมผู้ยิ่งใหญ่

ขงจื่อเกิดที่รัฐหลู่ซึ่งถือว่าเป็นเมืองที่เก็บรักษาคัมภีร์โบราณสมัยราชวงศ์โจวได้สมบูรณ์ที่สุด ถึงกับได้ชื่อว่าเป็น "เมืองแห่งจารีตและ ดนตรี"มาแต่โบราณกาล การก่อรูปขึ้นของแนวคิดขงจื่ออาจได้รับ อิทธิพลจากขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมและบรรยากาศทางการศึกษา ของรัฐหลู่

ขงจื่อสูญเสียบิดาตั้งแต่อายุ 3 ขวบ มารดาซึ่งเป็นหญิงที่ซื่อ สัตย์สุจริตเลี้ยงดูขงจื่อมาด้วยความเข้มงวดกวดขัน เพื่อให้ลูกได้เป็น ผู้มีความรู้และคุณธรรม ขงจื่อมีความรักและสนใจในการศึกษาหาความรู้ตลอดจนพิธีกรรมการเซ่นสรวงต่างๆที่สืบทอดกันมาแต่โบราณกาล

ขงจื่อ "ตั้งตนเป็นอาจารย์เมื่ออายุ30" และเริ่มถ่ายทอดความรู้แก่ ลูกศิษย์อย่างไม่ท้อถอย การถ่ายทอดความรู้ของขงจื่อได้พลิกโฉม การศึกษาในยุคสมัยนั้นโดยทำลายธรรมเนียมการเรียนการสอนที่จำกัดอยู่เฉพาะแต่ในราชสำนัก ทำให้ประชาชนทั่วไปตื่นตัวทางการศึกษา และวัฒนธรรมมากขึ้น ขงจื่อมีวิธีของตนเองในการรับศิษย์ ไม่ว่าคนในชนชั้นใด แค่มอบสิ่งของเล็กน้อยแม้"เนื้อตากแห้ง"เพียง ชั้นเดียวก็รับไว้เป็นลูกศิษย์แล้ว เล่ากันว่า ท่านมีลูกศิษย์มากถึง 3,000 คน ที่ยกย่องกันว่า มีความรู้ปราดเปรื่องและคุณธรรมสูงส่งมี 70 คน จากสานุศิษย์ 70 คนนี้ คนรุ่นหลังจึงได้ทราบถึงแนวคิดต่างๆของขงจื่อ เนื่องจากลูกศิษย์ขงจื่อ ได้บันทึกคำสอนของอาจารย์ตนไว้ในรูปของ คำสนทนาระหว่างอาจารย์กับศิษย์โดยขึ้นต้นว่า "อาจารย์กล่าวว่า..." ภายหลังลูกศิษย์ได้นำคำสอนของขงจื่อมาประมวลแล้วเรียบเรียงขี้น เป็นหนังสือที่มีชื่อว่า"หลุนหวี่" บั้นตอนปลายชีวิต ขงจื่อก็ได้รวบรวม บันทึกพงศาวดารและปรากฏธรรมชาติต่างๆมีชื่อว่า "ชุนชิว" ขงจื่อยัง เป็นบรรณาธิการหนังสือสำคัญๆในวรรณคดีจีนซึ่งเป็นที่ยกย่องกันภายหลัง ได้แก่ "ซูจิง" ที่เป็นตำราประวัติศาสตร์ "ซือจิง"ที่เป็นตำราว่าด้วยลำนำกวี เป็นผู้ตรวจแก้ "อี้ว์จิง" ที่เป็นตำราว่าด้วยการดนตรี แต่สาบสูญไปในภาย หลังและ "หลี่จี้" ที่เป็นตำราว่าด้วยจารีตประเพณี หนังสือทั้ง 5 เล่มนี้เรียก รวมกันในภาษาจีนว่า "อู่จิง" หรือคัมภีร์ทั้งห้านั่นเอง

ขงจื่อเน้นหนักในการบ่มเพาะเรื่องเมตตาธรรม ความชอบธรรม และจารีตประเพณี คำสอนของขงจื่อเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและงดงามอย่างยิ่ง ความคิดของขงจื่อได้กลายเป็นแกนหลักสำคัญในวัฒนธรรมจีน และมีอิทธิพลสำคัญต่อความคิดของชนชาติจีน คุณธรรมอันดับแรก ที่ขงจื่อสอนสั่งคือ "เหริน" หรือเมตตาธรรม เมื่อลูกศิษย์แต่ละคนของ ขงจื่อเรียนถามท่านอาจารย์ว่า "อะไรเรียกว่า เหริน ?" ท่านก็จะตอบโดยพิจารณาตามบุคลิกอุปนิสัยใจคอของลูกศิษย์คนนั้น ๆ ดังนั้นเมื่อเห็นคำอธิบายกับลูกศิษย์แต่ละคนแล้วก็ไม่เหมือนกันเลย แต่ต้องเอาคำอธิบายทั้งหลายมารวมความกันจึงเป็นความหมายอัน สมบูรณ์แบบของ "เหริน" พอถึงวัยชรา ขงจื่อใช้เวลาทุ่มเทอยู่กับการจัดการประวัติศาสตร์ และดำเนินการด้านการศึกษาต่อไปขงจื่อก็ถึงแก่กรรมปี 479ก่อนค.ศ. ร่างถูกฝังไว้ที่ซื่อสุ่ยทางเหนือของรัฐหลู่(ปัจจุบันอยู่ในมณฑลซานตง)


ขงจื่อ 孔子 (นำมาจาก ผู้จัดการออนไลน์ www.manager.co.th)

ขงจื่อหรือขงจื๊อ (ก่อนค.ศ. 551-479) มีชื่อตัวว่า ชิว และสมญานามว่า จ้งหนี เป็นคนแคว้นหลู่ เป็นนักคิดและนักการศึกษาที่ยิ่งใหญ่ในสมัยปลายยุคชุนชิว และเป็นผู้ก่อตั้งสำนักปราชญ์ หรู่เจีย ซึ่งมีความหมายว่าบัณฑิตหรือผู้รู้

แนวคิดของขงจื่อหรือหรู่เจียนั้น มุ่งไปที่การบ่มเพาะเมตตาธรรม ความชอบธรรม และจารีตประเพณี สำหรับคำสอนที่สำคัญของขงจื่อล้วนถูกบันทึกไว้ใน “หลุนอวี่” โดยบรรดาศิษยานุศิษย์ของท่าน

ขงจื่อเกิดที่แคว้นหลู่ ซึ่งเป็นที่ดินศักดินาของป๋อฉิน บุตรของโจวกงต้านแห่งแคว้นโจว แคว้นหลู่ถือว่าเป็นเมืองที่เก็บรักษาคัมภีร์โบราณสมัยราชวงศ์โจวได้สมบูรณ์ที่สุด ถึงกับได้ชื่อว่าเป็น “เมืองแห่งจารีตและดนตรี”มาแต่โบราณแล้ว สถานการณ์ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมและบรรยากาศทางการศึกษาของแคว้นหลู่ มีผลมากต่อการก่อรูปแนวคิดของขงจื่อ

ขงจื่อสูญเสียบิดาตั้งแต่ยังเด็ก สภาพแวดล้อมครอบครัวซึ่งเคยมีบรรพบุรุษเป็นขุนนาง ก็เสื่อมถอย แม้ว่าชีวิตจะลำบากยากเข็ญ แต่ขงจื่อตอนอายุ 15 ก็ “ตั้งปณิธานไว้ว่าจะต้องร่ำเรียนจนสำเร็จ”

ขงจื่อ “ตั้งตนได้เมื่ออายุ 30” และเริ่มถ่ายทอดความรู้แก่ลูกศิษย์ แค่เอา “เนื้อตากแห้ง” เพียงเล็กน้อยมา ก็รับเป็นศิษย์แล้ว บ้างเล่าว่าท่านมีลูกศิษย์มากถึง 3,000 คน การสอนถ่ายทอดความรู้ของขงจื่อ ได้พลิกโฉมการศึกษาในยุคสมัยนั้น โดยทำลายธรรมเนียมการเรียนการสอนที่จำกัดอยู่เพียงที่ราชสำนัก ทำให้ประชาชนทั่วไปตื่นตัวทางการศึกษาและวัฒนธรรมมากขึ้น ตามหลักฐานทางวิชาการอาจสรุปได้ว่า ขงจื่อเป็นครูโรงเรียนราษฎร์คนแรกของจีน และไม่ต้องสงสัยเลยว่า ท่านเป็นครูที่ทรงอิทธิพลยิ่งใหญ่ต่อชาติจีน

ขงจื่อบากบั่นเผยแพร่ความรู้อย่างไม่ท้อถอย แม้ชีวิตจะผจญอุปสรรค์มาตลอดด้วยความยึดมั่นในอุดมการณ์ ท่านมุ่งสอนอบรมความเป็นคนที่สมบูรณ์ สร้างประโยชน์ต่อบ้านเมืองและสังคม และต้องระเหเร่ร่อนนานถึง 14 ปีไปตามเมืองแว่นแคว้นต่างๆ ซึ่งเต็มไปด้วยความความสับสนวุ่นวายทั้งปัญหาการเมืองการห่ำหั่นแก่งแย่งอำนาจ สงครามไม่รู้จบ...เพื่อเสนอแนวคิดการสร้างสังคมที่ดีงามยุติธรรมแก่บรรดาเจ้าครองนครรัฐต่างๆ แต่ก็ไม่เคยประสบความสำเร็จ กระทั่งเคยถูกกักตัวปล่อยให้อดอยากทรมาน ดังเช่นกรณีที่ขงจื่อและเหล่าศิษย์ถูกพวกนครไช่กักตัวไว้ ไม่ให้เดินทางไปช่วยราชการที่รัฐคู่อริแห่งฉู่ในราวปีที่ 489 ปีก่อนค.ศ. ในตอนนั้น จื่อลู่ศิษย์ผู้หนึ่งถึงกับถามว่า “อุดมการณ์ของท่านอาจารย์สูงส่งเกินไป จึงเข้ากับคนอื่นไม่ได้ ท่านอาจารย์ควรลดอุดมการณ์ให้ต่ำลงมาสักหน่อย?” แต่ขงจื่อผู้ล่วงสู่วัยชราแล้วในขณะนั้น ก็ตอบอย่างเด็ดเดี่ยวว่า “...ผู้มีอุดมการณ์ที่แม้สามารถทำอุดมคติให้เป็นจริงได้ ก็อาจไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม เธอกำลังหวั่นไหวในการปลูกฝังคุณธรรม ทั้งกังวลว่าผู้อื่นไม่ยอมรับตนนั้น ไม่เป็นความคิดที่ต่ำไปหรือ?”

หลังจากกลับมาที่แคว้นหลู่เมื่ออายุ 69 ปี ชาวหลู่ยกย่องขงจื่อให้เป็น “ขุนนางอาวุโสแห่งแคว้นหลู่” เมื่อต้นสมัยหลู่อายกงกับจี้คังจื่อมักจะถามข้อราชการกับขงจื่ออยู่บ่อยๆ แต่ท้ายที่สุดก็ไม่เคยได้นำมาใช้เลย พอถึงวัยชรา ขงจื่อใช้เวลาทุ่มเทอยู่กับการจัดการประวัติศาสตร์และดำเนินการด้านการศึกษาต่อไป มาถึงสมัยหลู่อายกงปีที่ 16 (ก่อนค.ศ. 479) ขงจื่อก็ถึงแก่กรรม ร่างถูกฝังไว้ที่ซื่อสุ่ย ทางเหนือของเมืองหลู่ซึ่งปัจจุบันอยู่ในมณฑลซานตง คำสอนของขงจื่อเป็นสิ่งที่มีคุณค่าและงดงามอย่างยิ่ง ความคิดของท่านได้กลายเป็นแกนสำคัญในวัฒนธรรมความคิดที่สืบทอดต่อๆกันมาของชนชาติจีน.

 


รูปภาพของ มงคล

เมิ่งจื่อ

เมิ่งจื่อ ตัวแทนสำคัญแห่งสำนักปรัชญาขงจื่อ
เครดิต สถานีวิทยุ C.R.I. ปักกิ่ง ภาคภาษาไทย http://thai.cri.cn

เมิ่งจื่อ ตัวแทนสำคัญแห่งสำนักปรัชญาขงจื่อ

เมิ่งจื่อเป็นนักคิดผู้ยิ่งใหญในสมัยจั้นกั๋วตั้งแต่ปี 475-221 ก่อนคริสต์ศักราช เป็นตัวแทนสำคัญแห่งสำนักปรัชญาขงจื่อหรือเรียกว่า "หรูเจีย"ในประวัติศาสตร์ของจีน

เมิ่งจื่อแซ่เมิ่งซุน มีชื่อว่า เคอ??เกิดภายหลังขงจื่อ 79 ปี

สืบเชื้อสายตระกูลขุนนางในรัฐหลู ซึ่งเป็นบ้านเกิดของขงจื่อ(เมืองโจว เฉิงมณฑลซานตุงในปัจจุบัน)สมัยที่เมิ่งจื่อมีชีวิตอยู่นั้น เป็นยุคที่มี ปรัชญาการเมืองนับร้อยสำนัก เมิ่งจื่อเป็นครูสอนหนังสือ มีประสบ การณ์คล้ายๆขงจื่อ ต่อมา ได้เดินทางไปเผยแพร่คำสอนต่างๆของขงจื่อ โดยมีลูกศิษย์ลูกหาติดตามไปด้วยเป็นจำนวนไม่น้อย เมิ่งจื่อ เป็นผู้สืบทอดและพัฒนาแนวคิดขงจื่อในยุคต่อมา ได้สร้างระบบแนว คิดที่สมบูรณ์ชุดหนึ่ง ซึ่งได้ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อชนรุ่นหลัง จึงได้ชื่อว่า เป็น "นักปรัชญาเมธีผู้ยิ่งใหญ่ที่รองจากขงจื่อ"

เมิ่งจื่อได้เสริมการเน้นย้ำถึงความสำคัญของเมตตาธรรมที่เป็น แนวคิดหลักของขงจื่อ กล่าวคือ คนเรานั้นมีความดีเป็นพื้นฐานโดย ธรรมชาติ แต่ก็จะต้องมีพัฒนาการที่ก้าวหน้า เขาได้เสนอให้ผู้ ปกครองบ้านเมืองต้องถือหลักเมตตาธรรม ต้องให้ประชาชนได้ ทำมาหากินอย่างสุขสงบโดยให้ความสำคัญต่อราษฎรยิ่งกว่าชนชั้นผู้ปกครอง ซึ่งแนวคิดเหล่านี้ถือเป็นแนวคิดหลักของเมิ่งจื่อ เมิ่งจื่อยืนยันว่า ผู้ปกครองคนใดที่คงไว้ซึ่งคุณธรรมอย่างสมบูรณ์ ทั้งแผ่นดินก็ย่อมอยู่ในกำมือของเขา ผู้ปกครองต้องปฎิบัติตนเป็น ตัวแทนของประชาชนและจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนหรือยอมรับจากประชาชน แม้ว่าแนวคิดของเมิ่งจื่อจะมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งและยาวไกลทั้งทางด้านการเมือง ความคิด วัฒนธรรมและศีลธรรมของ สังคมในยุคต่อมาก็ตาม แต่เนื่องจากแนวคิดหลักการปกครองว่าด้วย เมตตาธรรมของเมิ่งจื่อไม่ได้รับการสรรเสริญจากผู้ปกครองในยุคนั้น เขาจึงได้แต่ถอนตัวเองออกมาและบันทึกผลงานเขียนอันทรงคุณค่าไว้ให้กับชนรุ่นหลัง

ผลงานเขียนของเมิ่งจื่อชื่อ"เมิ่งจื่อ"เป็นตำราที่เมิ่งจื่อและ บรรดาสานุศิษย์ได้ร่วมกันจัดทำขึ้น โดยมีทั้งหมด 7บท ที่สำคัญได้บันทึกคำกล่าวของเมิ่งจื่อ ตลอดจนการถกเถียงระหว่าง เมิ่งจื่อกับตัวแทนของสำนักปรัชญาอื่นๆ มีคุณลักษณะเป็นการ บันทึกคำสอนคล้ายกับตำรา "หลุนอี่ว์"ของขงจื่อแต่ได้รับการยอม รับว่าเป็นตำราที่มีความโดดเด่นในการใช้ภาษาที่งดงามเทียบเท่า กับจวงจื่อซึ่งเป็นสุดยอดวรรณกรรมของบรรดาปราชญ์ยุคก่อนราช วงศ์ฉิน คุณลักษณะพิเศษของตำราเล่ม "เมิ่งจื่อ" คือการยกตัวอย่างรูปธรรมที่ช่วยในการอธิบายหลักเหตุผลให้เห็น ได้อย่างเด่นชัด บ้างเป็นคำเปรียบเทียบสั้นๆ บางครั้งก็เป็นนิทาน หรือสุภาษิตสอนใจ ซึ่งได้กลายเป็นสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายจนกระทั่งทุกวันนี้ ส่วนหนังสือ ตำรา"เมิ่งจื่อ"ได้รับการสรรเสริญให้เป็นหนังสือคลาสสิค ไม่ว่าการ สอบจอหงวนในอดีต หรือการเรียนหนังสือในปัจจุบัน หนังสือเล่มนี้ย่อมขาดเสียมิได้

รูปภาพของ มงคล

เมิ่งจื่อตัวแทนแห่ง สำนักปรัชญาขงจื่อ

เมิ่งจื่อ ตัวแทนสำคัญแห่งสำนักปรัชญาขงจื่อ
เครดิต สถานีวิทยุ C.R.I. ปักกิ่ง ภาคภาษาไทย http://thai.cri.cn

เหลาจื่อ หรือ เหลาตาน

สวัสดีครับ ท่านผู้ฟังที่เคารพ ยินดีต้อนรับท่านเข้าสู่รายการวัฒนธรรมจีน ประจำวันวันอังคาร พบกับผมยงเกียรติ ลู่ ท่านผู้ฟังครับ รายการวัฒนธรรมจีนวันนี้ ผมขอแนะนำเหลาจื่อศาสดาแห่งลัทธิเต๋าของจีนครับ

เหลาจื่อ(เล่าจื๊อ )หรือ เหลาตาน แซ่ หลี่ ชื่อตัวว่า เอ่อร์ เป็นคนอำเภอขู่เสี้ยนรัฐฉู่ซึ่งปัจจุบันคือเมืองลู่อี้ในมณฑลเหอหนาน เล่ากันว่า เหลาจื่อรูปร่างสูง หูยาว ตาโต หน้าผากกว้างและลิ้มฝีปากหนา เหลาจื่อเป็นศาสดาแห่งลัทธิเต๋าหรือ

ศาสนาเต๋า เรื่องราวของเหลาจื่อส่วนใหญ่พบอยู่ในตำนาน ไม่มีบันทึกว่าเกิดเมื่อใด แต่ซือหม่าเชียน นักประวัติศาสตร์ของจีนเชื่อว่า เหลาจื่อคงมีชีวิตอยู่ร่วมสมัยกับขงจื่อ (ขงจื๊อ) ในยุคชุนชิว-จั้นกั๋ว ตั้งแต่ปี 770 ถึง 221 ก่อนคริสต์กาล ในตำนานเล่าว่า เหลาจื่อเป็นปรมาจารย์ผู้เขียนตำรา "เต้าเต๋อจิง" คัมภีร์ว่าด้วยคุณธรรม ที่โด่งดังของลัทธิเต๋า แต่ยังไม่มีใครบอกได้ชัดเจนว่า เหลาจื่อเกิดเมื่อไร และอยู่จนถึงอายุเท่าไหร่

เหลาจื่อเป็นปราชญ์ร่วมยุคสมัยกับขงจื่อ เคยรับราชการเป็นผู้ ดูแลคลังเก็บหนังสือของบ้านเมืองซึ่งเทียบเท่ากับห้องสมุดแห่งชาติในปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้เอง เหลาจื่อจึงกลายเป็นพหูสูตร มีความรู้ลึกซึ้งและกว้างขวาง ได้รับความเคารพและเลื่อมใสศรัทธาจากคนทั่วไป

เหลาจื่อมักจะเผยแพร่ความรู้แก่ผู้คนไปทุกหนทุกแห่งสรรเสริญคุณงามความดีของราชวงศ์โจว ความคิดของเหลาจื่อกว้างขวางและลึกซึ้งมาก มีอยู่ครั้งหนึ่งขงจื่อเดินทางไปพบสนทนากับ เหลาจื่อ เพื่อขอเรียนรู้

ประเพณีและมารยาทของราชวงศ์โจว เหลาจื่อเห็นราชวงศ์เสื่อมโทรมลงเรื่อยๆ จึงได้ลาออกจากราชการ และขี่วัวสีดำเดินทางอออจากเมืองหลวง มุ่งหน้าทางทิศตะวันตก ขณะผ่านด่านหานกู่กวาน หยินสี่หัวหน้าด่านหานกู่กวานพอรู้ว่า เหลาจื่อจะผ่านมาก็แอบไปพบและขอให้เหลาจื่อ เขียนหนังสือให้เป็นที่ระลึก เหลาจื่อจึงเขียนหนังสือไว้ 5,000 ตัวอักษร แล้วขี่วัวสีดำมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกต่ออย่างไร้ร่องรอย มีบางคน บอกว่า เหลาจื่อมีอายุถึง 60 ปี แต่ก็มีบางคนบอกว่า เหลาจื่อมีอายุนานกว่า 200 ปี

ส่วนหนังสือที่มี 5,000 ตัวอักษรเล่มนี้ก็คือคัมภีร์ "เหลาจื่อ" หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คัมภีร์ "เต้าเต๋อจิง" (เต๋าเต็กเก็ง) ซึ่งเป็นผลงานอันลือเลื่อง และได้รับการยกย่องทั่วโลก นักปราชญ์ใน รุ่นหลังได้แบ่งเต๋าเต็กเก็งเป็น 81 บท

เหลาจื่อเป็นนักคิดวัตถุนิยมที่เรียบง่าย ตามความหมายของศัพท์ "เต๋า" มักแปลว่า "หนทาง" หรือ "วิถี" แต่ยากที่จะอธิบายความหมายของ

"เต๋า"ได้ดังที่บทที่ 1 ของคัมภีร์เต้าเต๋อจิงกล่าวว่า "เต๋าที่อธิบายได้ มิใช่เต๋าที่อมตะ" ปราชญ์ลัทธิเต๋าพยายามเสนอวิถีทางที่จะนำไปสู่ สังคมสันติภาพ โดยเชื่อว่า เต๋านั้นยิ่งใหญ่ครอบคลุมคุณธรรม เมตตาธรรม ความชอบธรรม เป็นสิ่งที่เป็นรูปธรรมที่สุด และเป็นแหล่งเกิดสรรพสิ่งต่างๆ หนังสือ "เต้าเต๋อจิง" ให้ความเห็นว่า สรรพสิ่งต่างๆไม่ได้ดำรงอยู่อย่างโดดเดี่ยว หากต้องอาศัยซึ่งกันและกันและมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

เหลาจื่อยังได้ชี้แจงหลักเกณฑ์ในหนังสือ"เต้าเต๋อจิง"ว่า สรรพสิ่งมีความสัมพันธ์กัน โดยพึ่งพิงซึ่งกันและกัน และก็ขัดแย้งกัน อาจกล่าวได้ว่า เป็นความสัมพันธ์ในเชิงวิภาษวิธี อย่างเช่นคำกล่าวที่ว่า "โชคดี" กับ "โชคร้าย" สามารถเปลี่ยน พลิกไปมาซึ่งกันและกันได้ "โชคดี" มีอยู่ใน "โชคร้าย" "โชคร้าย" แฝงอยู่ใน "โชคดี" หรือคำพูดที่เป็นสัจจะไม่ถูกหู คำพูดที่ไพเราะไม่ชอบด้วยสัจจะ ฯลฯ เหลาจื่อกล่าวว่า เมล็ดเม็ดเล็กๆเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่โตได้ ดินที่สลายนั้น สามารถนำไปทำเป็นเนินสูงได้ คนเราถ้าไม่กลัวความยากลำบาก ถ้าเริ่มต้นทีละเล็กทีละน้อยก็สามารถขจัดอุปสรรคและบรรลุภารกิจที่ยิ่งใหญ่ได้

คนรุ่นหลังยกย่องให้เหลาจื่อเป็นปฐมาจารย์แห่งลัทธิเต๋า แนวคิดด้านปรัชญาของเหลาจื่อมีฐานะสำคัญในประวัติปรัชญาของจีน ส่วนความคิดทางการเมืองของเหลาจื่อ เช่น "การปกครองประเทศใหญ่ก็เหมือนต้มปลาในหม้อ ถ้ากวนน้ำมากก็จะเสียหายมาก" ได้มี อิทธิพลต่อนักคิดก้าวหน้าและนักการปฏิรูปสังคมเพ้อฝันในยุคต่อมา คัมภีร "เต้าเต๋อจิง" มีอิทธิพลมากในทั่วโลก โดยมีฉบับแปลเป็น ภาษาต่างประเทศมากกว่า 250 สำนวน

ท่านผู้ฟังครับ ที่จบลงคือบทแนะนำเหลาจื่อ ศาสดาแห่งลัทธิเต๋าของจีนครับ รายการวัฒนธรรมจีนวันนี้ขอยุติลงเพียงเท่านี้ ต่อไปขอเชิญท่านฟังข่าววัฒนธรรมครับ

รูปภาพของ เฉินซิ่วเชง

ขงจื้อโดยเฉินซิ่วเชง

 Permalink : http://www.oknation.net/blog/mad/2007/09/18/entry-1

 www.oknation.net

Image

 คำกล่าวที่เลื่องลือ 5 ประโยคของท่านขงจื้อ -

 - มิตรจากแดนไกลมาหา สุดปรีดาปราโมทย์
หมายถึง มีเพื่อนจากแดนไกลมาหา นับว่าเป็นเรื่องที่ทำให้พวกเราดีใจเป็นที่สุด

 - น่านน้ำทั้งสี่ ล้วนแต่เป็นพี่น้อง
หมายถึง ทุกคนบนโลกนี้ ประดุจเป็นพี่น้องกัน

 - ตนเองไม่ต้องการสักนิด ก็อย่าคิดกระทำต่อผู้อื่น
หมายถึง อย่ากระทำในสิ่งที่แม้แต่ตนเองก็ยังไม่ชอบต่อผู้อื่น


- ประพฤติธรรมไม่โดดเดี่ยว ต้องมีเพื่อนบ้าน
หมายถึง ในโลกนี้ ผู้ที่ประพฤติตนอยู่ในคุณธรรมมีมากมาย ต้องมีผู้ร่วมอุดมการณ์อย่างแน่นอน

 - ปฏิบัติดีมีจรรยา นับว่าเป็นสิ่งสูงค่า
หมายถึง การปฏิบัติตนอย่างมีจรรยามารยาท ถือเป็นคุณค่าที่สูงส่ง

 

มีการจัดพิธีบวงสรวงดวงวิญญาณท่านขงจื้อประจำปี 2007 ที่เมืองฉู่ฟู่บ้านเกิดของท่าน, พร้อมกันนั้น ก็มีการประกาศผลจากกิจกรรมการรวบรวมความคิดเห็นเรื่อง “5 ประโยคที่คนจีนต้องรู้ในคัมภีร์หลุนอวี่ – คัมภีร์จริยวัตร”กิจกรรมการลงคะแนนเสียงทางอินเตอร์เนต มีการดำเนินงานเกือบ 3 เดือน ผลที่สุดก็ได้คัดสรร 5 ประโยคสำคัญที่สะท้อนถึงปรัชญาของท่านขงจื้อจากประโยคที่เด่นดังในคัมภีร์ นำเสนอต่อคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค เพื่อใช้เป็นคำกล่าวต้อนรับในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิคที่ปักกิ่งในปี 2008 เพื่อสะท้อนแนวคิดของการแข่งกีฬาของมวลมนุษยชาติในปักกิ่งเกมส์ แสดงถึงความเป็นชาติเก่าแก่มีความศิวิไลซ์  http://www.artgazine.com/shoutouts/viewtopic.php?t=2032

โอ่งเอียงและกระปุกออมสิน

      ในสมัยที่ท่านขงจื้อสอนหนังสือให้แก่บรรดาสานุศิษย์  มีวันหนึ่งท่านได้นำลูกศิษย์ออกศึกษานอกสถานที่   กระทั่งมาถึงศาลเจ้าแห่งหนึ่ง   ขงจื้อสังเกตเห็นโอ่งใบหนึ่งที่ตั้งตะแคงไปมาเหมือนตุ๊กตาล้มลุก  จึงเข้าไปถามคนเฝ้าศาลว่าทำไมโอ่งใบนั้นจึงตั้งไม่เหมือนใบอื่นๆ   คำตอบที่ได้รับก็คือ

          โอ่งใบนี้เขาเรียกว่าโอ่งเอียง

          เมื่อขงจื้อฟังดังนั้นแล้ว ก็หันกลับมาพูดกับบรรดาลูกศิษย์ว่า

          ครูเคยได้ยินว่าโอ่งเอียงถ้าไม่ใส่น้ำจะตะแคงไปด้านใดด้านหนึ่ง ถ้าหากเทน้ำลงไปครึ่งหนึ่ง   โอ่งก็จะตั้งตรงพอดี   แต่ถ้าหากเทน้ำลงจนเต็ม   โอ่งก็จะคว่ำทันที

          ลูกศิษย์ฟังก็ให้รู้สึกแปลกใจ   ขงจื้อจึงให้ลูกศิษย์นำน้ำมาเทลงไปในโอ่ง   เมื่อลูกศิษย์เทน้ำลงไปได้ครึ่งโอ่ง   ปรากฏว่าโอ่งที่ตั้งเอียงอยู่ก็กลับมาตั้งตรงกับพื้นพอดี 

          หลังจากนั้นขงจื้อก็ให้ลูกศิษย์เทน้ำให้เต็มโอ่ง   ผลปรากฏว่าโอ่งได้คว่ำลงจนทำให้น้ำไหลเจิ่งนองไปทั่วศาล   เมื่อจัดการทดลองเรียบร้อยแล้ว   ขงจื้อจึงให้โอวาทแก่ลูกศิษย์ของตนว่า

          กระบอกใส่เงินเมื่อว่างอยู่ กลับสามารถรักษาความปลอดภัยของตนไว้ได้   คนก็ควรจะเป็นเช่นนั้น   พึงเปิดใจให้กว้างในการรับรู้สรรพสิ่งอันสวยงามในโลกมนุษย์  ด้วยความนอบน้อมถ่อมตน   อย่าคิดแต่สิ่งชั่วร้าย   อย่าให้ความเย่อหยิ่งทะนงตนมาแทรกอยู่จนเต็มหัวอก  ไปทำแต่เรื่องเลวๆ ที่อับอายขายหน้าต่อฟ้าดิน   ซึ่งมันก็จะเป็นเช่นโอ่งเอียงคว่ำเพราะน้ำล้น   กระบอกเงินถูกผ่าเพราะเงินเต็ม   ทำลายชีวิตของตนไปทั้งชีวิต 

Permalink : http://www.oknation.net


 

รูปภาพของ ฉินเทียน

孔子,孔丘,子姓,孔氏,名丘,字仲尼

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal