หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

ไม่มีความเข้มแข็งใดทำลายน้ำได้

รูปภาพของ นายวีรพนธ์


คําพูดมีค่ากว่าทอง...?

           สิ่งใดที่เป็นอมตะ ถือว่าไม่ตาย ทันยุคทันสมัยเสมอ อย่างคลิปที่โกวีรพลนํามาลงไว้ นับว่าทรงคุณค่าทุกครั้งที่ได้ดู มันครบเครื่องทั้งสาระ แสง สี เสียง ประเทืองปัญญาจริงๆๆๆ...

          ดังคําของศาสดาเล่าจื้อ ที่พูดกับจอมปราชญ์ขงจื้อว่า...

          " คนรวยมอบของขวัญด้วยทอง แต่ข้าไม่มีทอง มีก็แต่คําพูดเพียงเล็กน้อย...

           * อันชื่อเสียงเกียรติยศ ล้วนไม่จีรังยั่งยืน

           * ไร้ประโยชน์ก็อาจเป็นประโยชน์ยิ่งได้

           * อ่อนแอคือรอด อ่อนโยนจึงดํารงอยู่

           * ไม่มีอะไรอ่อนกว่านํา แต่ไม่มีความเข็มแข็งใดทําลายนําได้ จงเป็นอย่างนําเถอะ ( นะนะคุณแม่คุณพ่อ )

                   -----------------------------------------------------------                                                                                              สุภาษิตชาวบ้าน

 * สุ่ย นั่ว ส่าน ซั้ง, หยิน หยาง ห่าน เจวี้ย, เสวียะ จิง หมิง หลี่, ปู๋ ปี่ หนี่ หว่อ, ส่าน เอ้อ เส่อ หวาน

 คุณสมบัติของนําคือโอบล้อมทุกสิ่ง,มืด-สว่างครองโลก,อ่านคัมภีร์แจ้งสัจธรรม,เรา-ท่านอย่าเปรียบเลย,ดี/ชั่วตายเกลี้ยง!! แกวกๆๆๆๆ 

รูปภาพของ ฉินเทียน

ภูมิปัญญาจีน ถิ่นบรรพชน บนรากฐาน เต๋า และ ขงจื่อ

ภาพยนตร์ เป็นผลงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ความหมายของเต๋า และ ขงจื้อ คือ รากฐานของประเทศจีน และชาวจีนโพ้นทะเล ทั่วโลก ซึ่งต่อมา ในประวัติศาสตร์ หลักนิติธรรม และหลักศาสนาอื่นๆ จึงเข้าไปมีอิทธิพล ต่อคนจีน และคนเชื้อสายจีน

ท่านขงจื่อ เป็นชนชาติพันธุ์เผ่าฮั่น  และมีผู้ศรัทธาเคารพนับถือ เลี่ยงลือสืบต่อมากระทั่งถึงปัจจุบัน และตลอดไป ในปรัชญาและแนวทางด้วยความเคารพและนบนอบครับ

 

ช่วยบอกอธิบาย?

           ฉินเทียน ช่วยบอกหลักการของท่านขงจื้อแบบสั้นๆ ว่ามีอะไรที่ทําให้คนจีนทั่วโลกยึดถือครับ!

รูปภาพของ ฉินเทียน

ท่านขงจื่อ ชื่อนี้มีในจีนทั่วโลก ครับ

ศึกษาหาความรู้ http://hakkapeople.com/node/3700

2 พันกว่าปี เด๋วนี้คนจีนยังใช้...?

           คําว่า " หลี่เจี๋ย " (หลี่เม่า-จริยธรรรม จู๋เจี๋ย-ข้อไผ่) ในหลุ่นอวี่ของจอมปราชญ์ขงจื้อ แปลเป็นไทยง่ายๆว่า " ระเบียบจริยธรรม " หรือ " จรรยามารยาท " ก็ดูดี ดูหรือฟังเป็นภาษาที่งดงาม แต่ในส่วนของจีน อธิบายลึกลงไปถึงคําว่า " เจี๋ย " หรือ " ข้อ " หมายถึงข้อไผ่ที่มีความแข็งแกร่ง ทําให้ลําไผ่ยืนต้นยาวได้ 20-30 เมตร โดยไม่หักโค่นเมื่อต้องลมแรง หลี่เจี๋ยของขงจื้อจึงหมายถึง " ข้อระเบียบจริยาฯ " ที่มีความแข็งแกร่งมั่นคง ที่ในภาษาไทยไม่ค่อยใช้กัน และใช้คําว่าข้อเป็นแค่หัวข้อหรือข้อ 1,2 ไปตามเรื่อง แต่ข้อระเบียบจริยาฯของขงจื้อหนักแน่น ฝังรากลึกลงในวัฒนธรรมของจีน เช่น..

           คําว่า " ไป๋ซ่านเสี้ยวเซียน " แปลว่า " ร้อยความดีกตัญญูเป็นข้อแรก " เสมือนไผ่ข้อแรก ที่คํายันข้ออื่นๆให้ยืนหยัดได้ คําพูดของท่านขงจื้อจึงไม่เกี่ยวว่าเป็นใคร สูงส่งหรือตําต้อย จิตใจต้องมีความกตัญญู ครอบครัวจึงอบอุ่นมั่นคง สืบสายสกุลได้ยาวนานนับสิบนับร้อยรุ่น ข้อพิสูจน์คือ ลูกหลานสายตรงของขงจื้อในจีน ปัจจุบันยังมีอยู่

            คําสอนของขงจื้อในรูปแบบสังคมเป็นสุข ก็มีดังที่จะกล่าวย่อๆว่า...

             1.เสวียะ เอ๋อ สือ สี จือ, ปู๋ อี้ เอยีย ฮู? โหย่ว เพอง จื้อ เหวียน ฟัง ไหล, ปู๋ อี้ เล่อ ฮู? เหริน ปู๋ จือ เอ๋อ ปู๋ อวิ่น, ปู๋ อี้ กยุน จื่อ ฮู?

             1.ขณะฝึกเรียนรู้นั้น มิสําราญหรือ? มีสหายจากแดนไกลมาเยือน มิมีสุขหรือ? ถึงผู้คนมิเข้าใจก็มิโกรธ นี่มิใช่สุภาพชนหรือ?

             คําอธิบาย ขณะได้ฝึกฝนเรียนรู้วิชาการ ทุกๆขั้นตอนของการเรียนรู้ มิใช่เรื่องที่น่าพึงพอใจดอกหรือ?, มีสหายจากแดนไกลมาเยี่ยมเยือน นานๆจะได้พบสักครั้ง มิใช่เรื่องทําให้เป็นสุขใจหรือ?, ผู้คนไม่เข้าใจตัวเรา หรือเข้าใจเราผิด เราก็มิใส่ใจ นี่มิใช่การแสดงออกของสุภาพชนหรือ?

            2.เฉี่ยว เอยี่ยน หลิง เส่อ,เซียง อี่ เยิ่น!

            2.พูดแยบคายฟังดูดี,เปี่ยมเมตตาธรรม!

           คําอธิบาย คําพูดที่ทําให้ผู้คนชอบอกชอบใจ แล้วเสแสร้งปั้นหน้าว่าชื่นใจ บุคคลชนิดนี้ มักมีธรรมะในใจน้อยมาก

           นี่เป็นเพียงตัวอย่างคําสอนเล็กๆน้อยๆของท่านขงจื้อ ที่คนรุ่นหลังๆได้ศึกษาสืบทอดกันไม่ขาดสาย (กว่านหมิ่นโกหรือผู้รู้ภาษาจีน ช่วยโพสท์ตัวจีน ก็จะเป็นประโยชน์ไม่น้อยครับ ขอบคุณ) 

รูปภาพของ จองกว๊านหมิ่น

เสริมอักษรจีนคำสอนขงจื้อ

คําว่าหลี่เจี๋ย-หลี่เม่า(禮節-禮貌)-จริยธรรรม จู๋เจี๋ย(竹節)-ข้อไผ่ ในหลุ่นอวี่(倫語)ของจอมปราชญ์ขงจื้อ แปลเป็นไทยง่ายๆว่า "ระเบียบจริยธรรม "หรือ "จรรยามารยาท "ก็ดูดี ดูหรือฟังเป็นภาษาที่งดงาม แต่ในส่วนของจีน อธิบายลึกลงไปถึงคําว่า  เจี๋ย(節)หรือข้อ หมายถึงข้อไผ่ที่มีความแข็งแกร่ง ทําให้ลําไผ่ยืนต้นยาวได้ 20-30 เมตร โดยไม่หักโค่นเมื่อต้องลมแรง หลี่เจี๋ย(禮節)ของขงจื้อจึงหมายถึงข้อระเบียบจริยาฯที่มีความแข็งแกร่งมั่นคง ที่ในภาษาไทยไม่ค่อยใช้กัน และใช้คําว่าข้อเป็นแค่หัวข้อหรือข้อ 1,2 ไปตามเรื่อง แต่ข้อระเบียบจริยาฯของขงจื้อหนักแน่น ฝังรากลึกลงในวัฒนธรรมของจีน เช่น คําว่าไป๋ซ่านเสี้ยวเซียน(百善孝先)แปลว่าร้อยความดีกตัญญูเป็นข้อแรก เสมือนไผ่ข้อแรก ที่คํายันข้ออื่นๆให้ยืนหยัดได้ คําพูดของท่านขงจื้อจึงไม่เกี่ยวว่าเป็นใคร สูงส่งหรือต่ำต้อย จิตใจต้องมีความกตัญญู ครอบครัวจึงอบอุ่นมั่นคง สืบสายสกุลได้ยาวนานนับสิบนับร้อยรุ่น ข้อพิสูจน์คือ ลูกหลานสายตรงของขงจื้อในจีน ปัจจุบันยังมีอยู่ คําสอนของขงจื้อในรูปแบบสังคมเป็นสุข ก็มีดังที่จะกล่าวย่อๆว่า     
 
1.ขณะฝึกเรียนรู้นั้น มิสําราญหรือ?
เสวียะ เอ๋อ สือ สี จือ,ปู๋ อี้ เอยีย ฮู? 
學而時習之  不亦悅乎?
 
2.มีสหายจากแดนไกลมาเยือน มิมีสุขหรือ?
โหย่ว เพอง จื้อ เหวียน ฟัง ไหล, ปู๋ อี้ เล่อ ฮู?
有朋自遠方來  不亦樂乎? 
 
3.ถึงผู้คนมิเข้าใจก็มิโกรธ นี่มิใช่สุภาพชนหรือ?
เหริน ปู๋ จือ เอ๋อ ปู๋ อวิ่น ,ปู๋ อี้ กยุน จื่อ ฮู?
人不知而不愠  不亦君子乎?
 
4.พูดแยบคายฟังดูดี,เปี่ยมเมตตาธรรม!
เฉี่ยว เอยี่ยน หลิง เส่อ,เซียง อี่ เยิ่น!
巧言令色  鮮矣仁!
 
คําอธิบาย:ขณะได้ฝึกฝนเรียนรู้วิชาการ ทุกๆขั้นตอนของการเรียนรู้ มิใช่เรื่องที่น่าพึงพอใจดอกหรือ? มีสหายจากแดนไกลมาเยี่ยมเยือน นานๆจะได้พบสักครั้ง มิใช่เรื่องทําให้เป็นสุขใจหรือ? ผู้คนไม่เข้าใจตัวเรา หรือเข้าใจเราผิด เราก็มิใส่ใจ นี่มิใช่การแสดงออกของสุภาพชนหรือ? คําพูดที่ทําให้ผู้คนชอบอกชอบใจ แล้วเสแสร้งปั้นหน้าว่าชื่นใจ บุคคลชนิดนี้ มักมีธรรมะในใจน้อยมาก นี่เป็นเพียงตัวอย่างคําสอนเล็กๆน้อยๆของท่านขงจื้อ ที่คนรุ่นหลังๆได้ศึกษาสืบทอดกันไม่ขาดสาย
รูปภาพของ แกว้น

知识 และ 相遇

      ขออนุญาตกว๊านหมิ่นโกครับ

      จีอ ในข้อหนึ่งคงจะหมายถึง 知识 หรือเปล่า?

      และข้อสี่คงเป็นเซียงอวี่เยิ่น 相遇仁 หรือเปล่าครับ? 

รูปภาพของ จองกว๊านหมิ่น

ตามนี้ถูกต้องแล้วครับ

 
學而時習之 -  อ่านว่า  เสวียะ เอ๋อ สือ สี จือ

鮮矣仁  -  อ่านว่า  เซียนอี๋เหยิน
รูปภาพของ วี่ฟัด

วิวาทะเรื่องขงจื่อระหว่างจีนกับเกาหลี

                      ในระหว่างที่อาเฮียฉินเทียนกำลังหาทางอรรถาธิบายเรื่องของขงจื้อ  พอดีเมื่ออาทิตย์ที่แล้วไหง่ได้ไปจางเจียเจี้ย พอกลับมาจับไข้ไปสองสามวันเพราะจากหนาวมาเจอร้อนเลยเป็นกระทบหนาวกระทบร้อน ตอนนี้ค่อยยังชั่วบ้างแล้ว

                      คือในระหว่างอยู่ที่จางเจียเจี้ยได้ยินคนจีนมันคุยกันว่า ดันมีนักประวัติศาสตร์เกาหลีใต้นายหนึ่งดันไปค้นคว้าอีท่าใหนก็ไม่รู้เหมือนกันมันบอกว่า ขงจื้อเป็นคนเกาหลีแต่หนีมาอยู่เมืองจีนแล้วไม่ยอมกลับ ทำให้คนจีนเขาแค้นกันมากว่าเกาหลีขี้ตู่กลางนา  ขี้ตาตุ๊กแก ขี้มูกยายแก่ อรแช่อรชร ขงจื้อนี่เกิดในสมัยจ้านกั๋ว ( ยุคนครรัฐ )เชียวนาอย่างต่ำไม่น่าจะน้อยกว่าสองพันห้าร้อยปี  ตอนนั้นไอ้ประเทศเกาหลีมันเกิดหรือยังไม่รู้

                   ไอ้เรื่องขี้ตู่แบบนี้ศาสนาพุทธเราก็เจอก็ศาสนาฮินดูที่อัพเกรดมาจากศาสนาพราหมณ์ มาขี้ตู่ว่าพระพุทธเจ้าเป็นอวตารปางที่สิบของพระนารายณ์ ว่าเข้าไปนั่น ซึ่งเป็นไปไม่ได้เลยเพราะพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นเพื่อเป็นกบฏต่อศาสนาพราหมณ์โดยตรง  พระพุทธเจ้ายังเคยเป็นกบฏมาแล้ว ตอนนี้ใครเป็นกบฏถือว่าอินเทรนฝุดฝุดใช่ใหมไท้กา อิอิอิ ( หัวเราะแบบมีเลศนัย )

รูปภาพของ วี่ฟัด

เกาลี้เกาหลีกับวัฒนธรรมK-POP

ปรกติไหง่ไม่ค่อยรู้เรื่องอะไรมากมายกับไอ้วัฒนธรรมk-pop อะไรมากนักหรอกเพราะอยู่นอกเหนือความสนใจของไหง่

  ไอ้คำว่าpopๆนี้มันก็มาแนวๆว่ามาเร็วไปเร็วไม่ถาวร ถ้าเป็นฝรั่งมันจะมีคำเรียกวัฒนธรรมแบบนี้ว่า "bubble gum culture " หรือวัฒธรรมแบบหมากฝรั่งกล่าวคือพอเคี้ยวๆไปชักจืดแล้วก็คายทิ้งลงพื้นแล้ว ไม่ถาวร ไม่classic

  เมื่อวานได้เอาประเด็นเรื่องขงจื้อกับเกาหลีไปคุยกับหลานจึงรู้ว่าประเด็นนี้มันมีเป็นปีแล้วและยังไม่เท่านั้นเกาหลีมันยังขี้ตู่อีกว่า พระพุทธเจ้าเป็นคนเกาหลี มวยไทยดั้งเดิมเป็นของเกาหลี  เอากับมันสิ ไอ้พวกนี้มันประกาศมาจากกระทรวงวัฒธรรมของมันเองเลยนะ สงสัยเกามากไปจนจะบ้ากันไปใหญ่

รูปภาพของ วี่ฟัด

ถ้ายังยึดถือคำสอนขงจื้อ

ไม่ต้องมานั่งปฏิรูปให้เมื่อยตุ้มหรอก แต่มันไม่ใช่เดี๋ยวนี้มือใครยาวสาวได้สาวเอา

4.พูดแยบคาย

4.พูดแยบคายฟังดูดี,เปี่ยมเมตตาธรรม!

เฉี่ยว เอยี่ยน หลิง เส่อ,เซียง อี่ เยิ่น!
巧言令色 鮮矣仁!
"ผู้ที่พูดจาแยบคายฟังดูดี มักขาดเมตตาธรรม" 鮮矣仁หมายถึงขาดแคลนหรือมีน้อย

 มิใช่เปี่ยมด้วยเมตตาธรรมครับ ภาษาใน  มักจะมีความหมายเฉพาะ เช่น 學而時習之 不亦悅乎?เดิมคือ學而時習之 不亦说乎? แต่说 ในที่นี้อ่านว่าyue4 มีความหมายว่า 悅
รูปภาพของ จองกว๊านหมิ่น

ภาษาจีนโบราณยากหยั่งถึง

巧言令色 และ  花言巧語 มีความหมายที่ใกล้เคียงกัน แปลได้ว่า พูดจาภาษาดอกไม้ พูดจาดูดีน่าเชื่อถือน่าเลื่อมใส ส่วน 鮮矣仁 หมายถึง ขาดความจริงใจ ขาดคุณธรรม เมื่อรวมเป็นประโยค 巧言令色  鮮矣仁 จึงมีความหมายพูดจาดีมีหลักการ แต่ขาดคุณธรรม ขาดความจริงใจ ปากอย่างใจอย่าง ปากหวานก้นเปรี้ยว คนประเภทนี้มักเป็นคนขาดเมตตาธรรม มีธรรมะในใจน้อย ตามที่คุณ  過客 อธิบาย ถูกต้องแล้ว 
สำหรับอักษร 鮮 ที่เรียนรู้กันมา ส่วนมากจะรู้ในความหมายว่าสด สดใส เช่น ปลาสด (鮮魚) ดอกไม้สด (鮮花)ใหม่สดใส (新鮮) ที่แปลว่าน้อยหรือขาด (少) แทบไม่เคยรู้ความหมาย ภาษาจีนโบราณช่างลึกซึ้งยากหยั่งถึงจริงๆ
รูปภาพของ แกว้น

ภาษาจีนยากมากจิงจิง

      ก้ำเซี้ยกว๊านหมิ่นโก และก้อวคากโกครับ ภาษาจีนยากอย่างที่คิดจริงๆ.... ฮาฮา 
 
      แสดงว่า 之 ถูกใช้อ้างอิง 知识 นั่นเองสิครับ
 
      ตามนัยความหมายของก้อวคากโก และคำว่าฮวาเหยียนเฉี่ยวอวี่ 花言巧语 ของกว๊านหมิ่นโกจึงนึกขึ้นได้ว่าคำนี้มีใช้กันทั่วไป หมายความว่าพูดจาแพรวพราวหลอกลวงเช่นเดียวกับคำว่าเฉี่ยวเหยีนหลิ่งเซ่อ 巧言令色 โดยไม่มีความหมายเชิงบวกเลยซึ่งต่างกับคำว่าแยบคายในภาษาไทย
 
      เซียน 鲜 นอกจากหมายความว่า สด ใหม่ แล้วมันยังมีความหมายว่าขาดแคลนตามที่ก้อวคากโกกรุณาให้ไว้แต่จะอ่านว่าเสี่ยน และไม่อ่านว่าเซียน
 
      และซัว 说 นอกจากมีความหมายตามข้างต้นแล้วมันยังมีความหมายว่า พูดจาให้ร้ายผู้อื่น แต่อ่านออกเสียงตามพินอิงว่าซุ่ย shui4 และออกเสียงตามจู้อิงจื้อหมู่ว่าซุ่ย ˋ
      และจะเป็นคำเดียวกับคำว่าซวยในภาษาไทยหรือเปล่าไม่รู้ครับ??
 
 
      ภาษาจีนยากจิงจิง

วันนี้มาค

วันนี้มาคุยถึงตัว说 อีกครั้งก็ได้(เพราะจำได้ว่าเคยคุยในกระทู้ไหนมาครั้งหนึ่งแล้ว)

说ตัวนี้อ่านว่า shuo หมายถึงพูด เป็นความหมายของ说 ที่รู้จักกันและใช้แพร่หลายที่สุด

ส่วน 说 ที่อ่านว่า yue4 หมายถึง悅 อย่างที่ได้คุยไปแล้วครั้งก่อน

ในอีกมิติหนึ่งอ่านว่าshui4 เป็นคำเฉพาะจะมีความหมายว่าเอาชัยด้วยวาจา หรือคำพูด มีใช้เพียงไม่กี่คำเช่น 說服 อ่านว่าshui4 fu3 ความหมายเหมือน convince ในภาษาอังกฤษ

ผู้ที่ทำหน้าที่說服เรียกว่า 說客 ในสมัย战国 ขงจื๊อเดินทางไปโฆษณาแนวคิดในการบริหารบ้านเมือง ตามหัวเมืองต่างๆเรียกว่า 游说
แต่ไม่มีความหมายในแง่ร้าย หรือให้ร้ายแต่อย่างใด

ส่วนคำว่า "ซวย" คือตัว衰 เฮงซวย ก็คือ 兴衰แต่ 兴衰 ในภาษาจีนไม่ได้ใช้ในแง่ลบอย่างภาษาไทย

รูปภาพของ แกว้น

ภาษาจีนยากจินจิน

      ก้ำเซี้ยก้อวคากโก ถูกต้องตามนั้นจริงด้วยครับ
     
      ซุ่ย 说 [动] 用话劝说别人,使他听从自己的意见:~客, 游~。
      หมายความว่า พูดแนะนำ โน้มน้าว ชักนำให้ผู้อื่นเชื่อในความเห็นของตนเอง
 
      แและจินจิน 真真 เป็นภาษาฮากกาหมายความว่าจริงจริง ไม่ใช่ภาษาชาวเฟส จึงสามารถนำไปใช้ได้อย่างสบายใจนะครับ

ไม่ใช่เทวดาแต่ยิ่งกว่า....?

           ขอขอบคุณทุกๆท่าน ที่เข้ามาแสดงความสามารถและความคิดเห็น ในบล๊อกของโกวีรพนธ์ ที่ท่านคัดสรรค์สิ่งดีๆให้พวกเราได้เรียนรู้ และตีแผ่ปรัชญาของสุดยอดปราชญ์บรรพชนจีนของเรา ให้ได้มีการสืบทอดเรียนรู้กันต่อไป อย่าง...

             ท่านเล่าจื้อ คนจีนบอกว่าท่านเป็นเสมือนจิตวิญญาณของชาวจีน ประวัติการต่อสู้ไม่เด่นชัดนัก มีเพียงมรดกธรรม " เต้าเต๋อจิง " 5000 ตัวอักษรทิ้งไว้ที่นายด่าน ก่อนออกไปปลีกวิเวกตามป่าเขา แล้วบรรลุธรรมคืนสู่ธรรมชาติอย่างไร้ร่องรอย

               ส่วนขงจื้อมีประวัติชีวิตการต่อสู้โชกโชน และมีคําสอนทิ้งไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษา คนจีนผู้รู้บอกว่าคําสอนท่านเป็นเสมือนอาภรณ์ของคนจีน ถ้าพูดแบบไทยเข้าใจง่ายๆ คือ เล่าจื้อเป็น " นามธรรม " ขงจื้อเป็น " รูปธรรม " และรูปธรรมนี่แหละ คือชีวประวัติที่จับต้องได้ ดังตอนหนึ่งในชีวิตของท่าน เมื่อถูกผู้มีอํานาจเล่นงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าศึกษาเช่นกัน ว่าความเป็นจอมปราชญ์ของท่าน ก็ต้องอาศัยรากหญ้า แถมเป็นรากหญ้าที่ควรจะรัดคอท่านขงจื้อเสียซําไป เพราะ....

                  " ถึงเวลาที่เจ้าต้องแก้แค้นแล้ว? " (เซี่ยน ไจ้ หนี่ เป้า โฉว เตอ จี ฮู้ย เต้า เลอ? ) เรื่องมีอยู่ว่า ครั้งที่ขงจื้อเป็นอัครเสนาบดีอยู่รัฐเว้ย ลูกศิษย์ชื่อจื้อเกาอยู่กองราชทัณฑ์ เขาเคยสั่งลงโทษตัดเท้านักโทษคนหนึ่ง ซึ่งเป็นยามเฝ้าประตูอยู่ในวัง

                   ช่วงนั้น มีคนเป่าหูเจ้าผู้ครองนครว่าขงจื้อคิดกบฎ เว้ยอ๋องจึงส่งคนไปจับขงจื้อ ท่านต้องรีบหลบหนีทันที พร้อมกับบรรดาลูกศิษย์

                ขณะหนีกับจื้อเกาจนถึงหน้าประตู ยามที่เคยถูกจื้อเกาลงโทษตัดเท้ามีชื่อว่าเหวย เขาได้พาคนทั้งสองหลบซ่อนในห้องลับ คนของเว้ยอ๋องจึงจับขงจื้อกับศิษย์ไม่ได้

                พอถึงเที่ยงคืน จื้อเกาได้ถามนายเหวยว่า " เนื่องจากเราต้องรักษากฎหมายและทําตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เราจึงจับท่านตัดเท้าเสียตามกฎหมาย (หว่อ อิน เว้ย ปู้ เหนิง ปู๋ จุน โซ้ว กว๋อ เจีย เตอ ฝ่า ลวี้ เฉิง จิง ชิน จื้อ ป่า หนี่ เจี่ยว เจี๋ยน เตี้ยว )

                  บัดนี้ เป็นโอกาสและถึงเวลาที่ท่านต้องแก้แค้นแล้ว แต่ทําไมท่านจึงกลับมาช่วยพวกเรา ให้เล็ดรอดหลบหนีมาได้ ว่าไปแล้วพวกเรายังมีประโยชน์อะไรสําหรับท่านอีก? "

                   ยามผู้ถูกตัดเท้าตอบ " การที่เท้าของข้าฯถูกตัดทิ้งเป็นเรื่องที่สมควร เพราะทําผิดกฎหมายอย่างไร้ข้อสงสัย ( หว่อ เตอ เจี่ยว สวอ อี่ เอี้ยว เป้ย เจี่ยน, ซื่อ หว่อ เตอ จุ้ย สวอ อิง โซ่ว เตอ ) และในขณะที่ท่านดําเนินคดีของข้าฯ ท่านได้พยายามคิดช่วยบรรเทาโทษเปลี่ยนจากหนักเป็นเบา โดยการช่วยพูดแทนข้าฯกับท่านเว้ยอ๋องอยู่ไม่น้อย ถึงขนาดจะยกโทษให้แก่ข้าฯ เรื่องนี้ข้าฯทราบดี

                 และหลังจากที่ข้าฯถูกลงโทษไปแล้ว ท่านมีสีหน้าเศร้าสลดและไม่สบายใจจนเห็นได้ชัด เพราะข้าฯสังเกตดูอยู่ ซึ่งแสดงว่าการลงโทษของท่าน ไม่ได้เกิดจากเจตนาของท่านเองเป็นการส่วนตัว จริงๆแล้วท่านได้แสดงออกถึงจิตสํานึกแห่งความรักความเมตตา ( เติ่ง เต้า เจ้อ เจี้ยน เอยี่ย จื่อ พ่าน เจวี๋ย เลอ จือ โฮ่ว, หนี่ เตอ เหลี่ยน ซ่าง อิ้ว เซี้ยน ชู เหิ่น ปู้ ไคว่ เล่อ เตอ ย่าง จื่อ, เจ้อ อิ้ว ซื่อ หว่อ สว่อ คั้น เจี้ยน เตอ เจ้อ เขอ อี่ เจี้ยน เต๋อ ปิ้ง ปู๋ ซื่อ ชู อวี่ หนี่ เตอ ซือ อี้,ไน่ ซื่อ หนี่ เตอ เปิ่น ซิ่น สว่อ เปี่ยว เซี่ยน เตอ อ้าย ซิน )

               ดังนั้น ถึงเท้าของข้าฯจะถูกตัดขาดจนด้วน แต่ก็ยังรู้สึกสบายใจ และขอบคุณท่านเป็นอย่างยิ่ง! " ( สวอ อี่ หว่อ เตอ เจี่ยว ซุย ซื่อ เป้ย เจี่ยน เชวี่ย ไห ซื่อเหิ่น ไคว้ เล่อ เอ๋อ อิ้ว เหิ่น กั่น จี หนี่ เตอ! "

               ประวัติศาสตร์สอนเรา แล้วเป็นตัวอย่างให้ได้คิดพัฒนา เหมือนจีนคิดส่งยานอวกาศไปลงดวงจันทรฺสําเร็จแล้ว เมื่อวานซืน( 14 ธ.ค.2013) นี่คือลักษณะการพัฒนาอันยิ่งของคนจีน ที่ยิ่งกว่าเทวดาเสียอีก!

                

ขั้นตอนการบรรลุของจอมป...?

           การบรรลุรู้ของปราชญ์ ก็เช่นเดียวกับการเจริญเติบโตของร่างกาย+จิตใจของมนุษย์ทั่วไป เพียงมีพัฒนาการที่แตกต่างกันไปบ้าง ตามพื้นเพของบุญวาสนาที่ต่างกันด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น บางคนเกิดมาเพื่อเป็นนักกีฬา ร่างกายและจิตใจก็ใฝ่หาการฝึกฝนร่างกายและเทคนิคการกีฬาในประเภทที่ตนชอบ เพื่อเอาชนะคู่แข่ง แต่ก็ย่อมมีขั้นตอนการฝึกฝนเช่นกัน มิใช่ต้องการเป็นนักกีฬาระดับแชมป์ ก็เป็นได้ดังใจหมายทันที มันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้!

              การเป็นปราชญ์ก็เช่นกัน มีขั้นตอนของการฝึกฝน เช่น ท่านขงจื้อได้กล่าวการบรรลุความเป็นปราชญ์ของท่านว่า...

                " อู่ สือ โหย่ว อู่ เอ๋อ จื้อ อวี่ เสวียะ, ซาน สือ เอ๋อ ลี่, ซื่อ สือ เอ๋อ ปู้ ฮว่อ, อู่ สือ เอ๋อ จือ เทียน มิ่ง, ลิ่ว สือ เอ๋อ เอ่อ ซุ่น, ชี สือ เอ๋อ ฉง ซิน สว่อ วี่ ปู๋ วี่ จวี. "

                 * อธิบาย ช่วงฉันอายุ 15 มุ่งมั่นแต่เรื่องการศึกษา อายุ 30 สามารถรักษาความเชื่อมั่นยืนหยัดในตนได้มั่นคง อายุ 40 ได้บรรลุรู้เรื่องราวต่างๆอย่างไร้ข้อสงสัย อายุ 50 ก็สามารถเข้าใจวิถีแห่งสวรรค์ อายุ 60 ฟังได้ทุกเรื่องราวไม่ว่าดี-ร้ายด้วยใจสงบ อายุ 70 ทุกสิ่งที่ฉันทํา ล้วนทําได้ตามที่ใจต้องการ แต่ไม่ละเมิดเกินเลยกฎเกณฑ์อันดี

         ไหง่แม้อายุล่วงเลย 60 ไปแล้ว ยังวนเวียนอยู่ในขั้นตอนแรก คือช่วงอายุ 15 ปี ของท่านจอมปราชญ์เท่านั้น ยังไม่อาจถึงขั้นยืนหยัดในตนอย่างถูกต้องได้ เพราะทุกเรื่องของกระแสโลกเชี่ยวกรากยากที่จะยืนหยัดอย่างเด็ดเดี่ยวได้ ทุกเรื่องไม่ว่าดี-ร้าย ผิด-ถูก ก็ยังคงเหมือนคนทั่วไป คือ ไม่ดีใจก็เสียใจ ไม่ชนะก็แพ้ แต่โชคดีดีอยู่หน่อย ที่ไม่ยึดติดต่อสิ่งที่กล่าวมามากเกินไป และคิดระวังอยู่เสมอว่า อย่าละเมิดกฎเกณฑ์อันดีเป็นใช้ได้!  

           

รูปภาพของ จองกว๊านหมิ่น

คำพูดขงจื้อจอมปราชญ์

 
ช่วงฉันอายุ  15  มุ่งมั่นแต่เรื่องการศึกษา    
อายุ  30  สามารถรักษาความเชื่อมั่นยืนหยัดในตนได้มั่นคง   
อายุ  40  ได้บรรลุรู้เรื่องราวต่างๆอย่างไร้ข้อสงสัย   
อายุ  50  สามารถเข้าใจวิถีแห่งสวรรค์   
อายุ  60  ฟังได้ทุกเรื่องราวไม่ว่าดีร้ายด้วยใจสงบ   
อายุ  70  ทุกสิ่งที่ฉันทํา ล้วนทําได้ตามที่ใจต้องการ แต่ไม่ละเมิดเกินเลยกฎเกณฑ์อันดี
 
อู่สืออู่เอ๋อโหย่วจื้ออวี่เสวียะ  
ซานสือเอ๋อลี่  
ซื่อสือเอ๋อปู้ฮว่อ  
อู่สือเอ๋อจือเทียนมิ่ง   
ลิ่วสือเอ๋อเอ่อซุ่น  
ชีสือเอ๋อฉงซินสว่อวี่ปู๋วี่จวี
 
吾十五而有志於学
三十而立
四十而不惑
五十而知天命
六十而耳順
七十而從心所慾不踰矩
รูปภาพของ ฉินเทียน

孔子曰

孔丘(西元前551年9月28日生),字仲尼。排行老二,編撰中國第一部編年體史書《春秋》。孔子出生於魯國(今山東省);享年73歲,孔子的言行思想主要記載於《論語》

https://www.facebook.com/Confucius.saying

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal