หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

ฮากกา - รากกลาง 01

รูปภาพของ สิทธิพร1

01.客家人-根系中原


รูปภาพของ ฉินเทียน

客(家)人


粵闽赣三省五江流域图

赣江流域图+汀江流域图+梅江流域图+北江流域图+(东)東江流域图

รูปภาพของ วี่ฟัด

客家 ทำไมต้อง " เจีย "

เห็นชอบเรียกกันนักว่าเค่อเหริน จะว่าเรียกแบบย่อๆเพื่อความสะดวกอาจจะอนุโลมให้ได้บ้างแต่ถ้าเป็นความจงใจหรือตั้งใจแล้วแปลว่าคนเรียกไม่เข้าใจหรือไม่รู้ประวัติศาสตร์ของความเป็นมาของ Hakka เลย

คำว่า  " เจีย " หมายถึง บ้าน , ครัว หรือครอบครัว ( family ) 

เการอพยพของมนุษยชาติในโลกนั้นมีอยู่หลากหลายเหตุผลเช่น

1. การอพยพเพื่อไปทำมาหากินในแหล่งที่มีความอุดมสมบูรณ์กว่า 

2. การอพยพในลักษณะครอบครัวขยาย 

3. การอพยพเพื่อหลบภัยอย่างใดอย่างหนึ่ง 

เหตุผลของการอพยพของคนฮากกา จึงน่าจะเป็นข้อที่ 3 มากกว่า เพราะดั้งเดิมคนฮากกามีภูมิลำเนาดั้งเดิมอยู่ในเขตจงหยวนซึ่งอุดมสมบูรณ์อยู่แล้วด้วยแม่น้ำใหญ่ถึงสองสายเหตุผลข้อที่ 1 จึงตกไป ส่วนเหตุผลข้อที่ 2 คงจะมีส่วนอยู่บ้างแต่คงจะเป็นรองเหตุผลข้อที่ 3

และตามประวัติศาสตร์กลุ่มคนฮากกาคือกลั่มคนที่ไม่ใช่กลุ่มคน " โลกสวย  " เพราะถ้าเป็นกลุ่มโลกสวยคือกลุ่มคนที่ยังอยู่ในเขตจงหวนมาจนปัจจุบันนี้ เมื่อโลกไม่สวยเสียแล้วจึงออกมาต่อต้านอำนาจ และการต่อต้านอำนาจในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ( monarchy ) จึงมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกลงโทษหนักๆขนาดประหาร 7 ชั่วโคตรแบบที่เราเคยดูหนังจีนกัน ดังนั้นการที่จะหลบหลีกหนีภัยเพียงตัวคนเดียวคงจะไม่ได้แน่ไม่อย่างนั่นครอบครัวที่ไม่ได้หสีมาด้วยคงถูกประหารหมดจึงมีความจำเป็นที่จะต้องหนีกันมาแบบทั้งครอบครัวดังนั้นคำว่า " เจีย หรือกา หรือ แก จึงมีความสำคัญต่อความเป็นฮากกาเป็นอย่างมาก

ในประวัติศาสตร์ชาติไทยก็มีคำที่หมายถึงการอพยพในลักษณะเป็นครอบครัวเช่นกันคือคำว่า " เทครัว " ซึ่งหมายถึงการกวาดต้อนคนเพื่อมาใช้แรงงานเป็นทหารเอาไว้สู้กับพม่าหรือมาใช้แรงงานในไร่นาเพื่อสะสมเสบียงกรัง

คำว่า " ครัว หรือ เจีย หรือกา หรือ แก หรือ family จึงมีความสำคัญด้วยปการฉนี้ครับ....ไท้กา 

รูปภาพของ วี่ฟัด

การรับรู้เรื่องราวของฮากกา

ไหง่รับรู้เรื่องราวความเป็นมาของความเป็นฮากกามาตั้งแต่ 2536 ยี่สิบเอ็ดปีมาแล้ว เมื่อครั้งได้มีโอกาศไปปักกิ่งครั้งแรกกับ น.ส.พ.ไทยรัฐ ดังนั้นไกด์มัคคุเทศน์ จึงระดับวีไอพี รถคันไหง่มัไกด์จีนจากกองบรรณาธิการ ไชนีส พิคทอเรียน ภาคภาษาไทย ที่นามมีเคยเอามาขายแต่ขณะนี้ไม่มีแล้วที่ชื่อภาษาไทยว่า " นิตยสารภาพจีน " ชื่อว่า " เฉาชิ่งฉา " อาจี้จบจากมหาวิทยาลัยปักกิ่งภาควิชาภาษาไทย และยังมาจบปริญญาโทภาษาไทยที่มหาวิทยาลัยศิลปากรที่นครปฐมอีก  อาจี้จึงเคยมาอยู่นครปฐม ที่ไหง่เรียกอาจี้เพราะอาจี้เขามีสามีเป็นคนฮิลแหน่น คนฮากกา ก่อนกลับจึงได้มีการแลกเปลี่ยนที่อยู่กันเพื่อไหง่จะได้ส่งรูปที่ถ่ายไปให้อาจี้ที่ปักกิ่ง ( สมัยนั้นยังไม่มีอินเตอร์เน็ต ) พอส่งจดหมายส่งรูปไปไหง่เลยถามอาจี้เขาด้วยเกี่ยวกับคนฮากกา อาจี้ก็เขียนมาอธิบายเรื่องการอพยพเดินทางของคนฮากกา 7 ครั้งเหมือนกับที่เรารู้ๆในหนังสือของอาจารย์วรศักดิ์นั่นแหละ ถามไปตอบมาอยู่ร่วมสองปี ไหง่จึงรับรู้เรื่องราวของคนฮากกามานับแต่นั้น มันนานมากเลยนะ เสียดายจดหมายที่อาจี้ส่งมาไม่รู้หายไปใหนแล้ว

รูปภาพของ วี่ฟัด

ลองมาร์ชกลยุทธแบบคนฮากกา

สุดยอดกลยุทธของซุนวูว่าไปแล้วก็คือการเผ่น ใส่หลวงพ่อโกย วัดหน้าตั้งนี่เอง เฉกเช่นเดียวกับการเดินทางไกลที่เรียกว่า " ลองมาร์ช " ของพรรคคอมมินิสต์จีน ในช่วงปี 1934 - 1936 ประมาณร่วมสองปี คิดเป็นระยะทาง 25,000 ลี้ หรือ 12,500 กิโล โดยการนำทัพของท่านประธานเหมานี่เอง มีคนตายไปจากการเดินทางนี่ก็เยอะนะ ว่ากันว่าพอสิ้นสุดการเดินทางมีคนเหลือเพียง 1 ใน 5 ของผู้ร่วมเดินทางตั้งแต่แรกเท่านั้น เขาว่ากันอีกว่ากลยุทธลองมาร์ชนี้ท่านประธานของเราที่มีเชื้อสายฮากกานำวิธีการอพยพของคนฮากกาไปใช้เชียวนา

ที่จริงถ้าจะนำประเด็นฮากกาไปพูดให้น่าสนุกตื่นเต้นมันต้องมีประเด็นเปรียบเทียบรองรับอยู่ มันถึงจะน่าสนใจกว่าที่จะนำประเด็นแบบตรงไปตรงมามาเล่าสู่กันฟัง ที่จริงประเด็นฮากกาของไหง่นั้นมันอยู่ในพุงหมดแล้วก็แหมถกเถียงก้น ด่ากันมาร่วมห้าปีแล้วจนมันตกผลึกแล้ว เพียงแต่ว่าจะจับประเด็นมาเล่นอย่างไรที่มันสนุกน่าสนใจเท่านั้น และนับจากนี้ไหง่จะลองจับประเด็นมาเล่นแบบมันๆสนุกๆมาเล่นกันวันบะประเด็นสองประเด็น

ที่จริงการถกเถียงกันคือวิธีการศึกษาที่ดีที่สุดที่เขาใช้กันมาตั้งแต่สมัยเพลโต โซเครติส ถกเถียงกันเรื่องการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่มีข้อสรุปมากมาย จนมาเขียนหนังสือ  " เดอะรีพลับบริค " ที่เขาพูดถึงจุดแข็งจุดอ่อนเรื่องประชาธิปไตย รวมถึงเรื่อง ethic  ( จริยธรรม ) ในระบอบประชาธิปไตยมาเกือบสามพันปีมาแล้ว แต่คนสมัยนี้มันเชื่อว่าประชาธิปไตยคือการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียวนี่อาเมนจบข่าวเลยไท้กา

ไหง่เป็นอีกคนที่ไม่เคยศรัทธาในคำว่าการเลือกตั้งมาเลยตั้งแต่เล็กแต่น้อย เพราะเป็นเด็กราชบุรี ดินแดนแห่งเจ้าบุญทุ่ม เคยเป็นเด็กโลกสวยในอดีตที่มีความหวังว่าสักวันคนไทยมันมีการศึกษามากขึ้นเรียนกันสูงๆขึ้นมันจะต้องดีขึ้นสักวัน แต่มาปัจจุบันนี้มันก็ยังเหมือนเดิมและดูมันแย่กว่าเดิมเสียอีก ปัจจุบันโลกไม่สวยสำหรับไหง่แล้วไท้กา

รูปภาพของ วี่ฟัด

ไปใหนมา , คี้ลี่วุ่ยหรอย , ฮี้ไน้หรอย

ในโลกนี้มีเพียงสองกลุ่มชาติพันธ์ที่ใช้คำทักทายว่า " ไปใหนมา " คือกลุ่มคนไท ( ทั้งกลุ่มไม่ว่าจะเป็นภาคใหน ไทกลุ่มใดไม่ว่า ไทยวน ไทลื้อ ไทอาหม ฯลฯ ) และอีกกลุ่มหนึ่งก็ไม่ใช่อื่นไกลก็คือคนฮากกาไม่ว่าทั้งตื้นลึกหนาบางก็ใช้คำทักทายว่าไปใหนมาหมด ( คี้หลี่วุ่ยหรอย , ฮี้ไน้หรอย )

ซึ่งกลุ่มคนที่ใช้ภาษาไท-กระได ดั้งเดิมเราเชื่อกันว่าเป็นคนอพยพมาจากเทือกเขาอัลไต แต่ต่อมาเมื่อได้มีการขุดพบหม้อแตกไหแตกที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ความเชื่อ เรื่องเป็นคนอพยพจากเทือกเขาอัลไตก็พลอยเลิกล้มความคิดไปเปลี่ยนเป็นว่าคนบ้านเชียงนี่แหละคือต้นตระกูลไทยใจช่างเหี้ยมหาญรักษาดินแดนไทยไว้ให้ลูกหลาน

                   แต่กลุ่มคนฮากกานี่ซิที่เขาเชื่อว่าเป็นคนอพยพจากแดนจงหยวนจริงๆและยังไม่เปลี่ยนความคิดนั้นเลยจนปัจจุบัน

                   ดังนั้นคำทักทายของกลุ่มชาติพันธ์ดังกล่าวข้างต้นนี้ก็ทำให้น่าคิดนะว่ามันเป็นอย่างไรกันแน่

                   การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่คือการกระตุ้นให้เกิดความคิดไม่ใช่ท่องจำเป็นนกแก้วนกขุนทองแบบการศึกษาประวัติศาสตร์เหมือนครั้งโบราณกาลมา

ความหลากหลายของภาษา

     ผมคิดเอง จะเรียกขักหงิน ฮากหงิ่น ขักก๊า ฮากกา  น่าจะอย่างเดียวกัน เป็นความสละสลวยของภาษา คือหมายถึง คนพูดภาษาจีนแคะ 

      เรามาดูคำว่า 大家好 ต้าเจียเห่า ไถ่ก๊าฮ่อ เป็นคำทักทาย ตรงกับไทยว่า สวัสดีท่านทั้งหลาย 

ท่านทั้งหลาย ขักฝ่าหว่า (แคะเรียก) ไถ่แฉก๊า ไถ่ก๊า

แล้ว ฟู่หงินก๊า แปลว่า ท่านผู้หญิง คุณนาย(หญิง)

ดูอีกอย่าง  历史家 ลี่สื่ร์อเจีย, แหล็ด(ขัก..ไม่แน่ใจ) ซื่อ ก๊า แปลว่า นักประวัติศาสตร์ จะเห็นว่า

ก๊า ตรงนี้ คงแปลว่า นัก ผู้ชำนาญการนั่นเอง ยังมี นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการต่างๆ เขาก็ใช้ ก๊านี้ใช่ไหมครับ

รูปภาพของ วี่ฟัด

ชี้แจงแถลงไข

              ไอ้คำว่า " ต้าเจียห่าว " มันเป็นคำทักทายของคนทางเหนือที่ใช้สำเนียงเป่ยฟางฟางเหยียน ดั้งเดิมคนจีนกลุ่มอื่นๆเขาไม่ใช้กันหรอกโก แต่มาภายหลังมันมีการติดต่อถ่ายทอดภาษากันขึ้นมันก็เลยลองนำวัฒธรรมทางภาษาอื่นๆมาใช้กันบ้างเท่านั้น คนฮากกาเขาทักกันว่าไปใหนมามาตั้งแต่โบราณกาลแล้ว เขาว่ากลุ่มชาติพันธ์ที่มีเรื่องราวของการอพยพบางทีอพยพกันไปกันมาคงก่งก๊งไม่รู้ว่าจะอพยพเดินทางกันไปใหน เลยต้องทักว่า ไปใหนมา ส่วนไอ้คำทักทายทำนองว่า " สบายดีหรือ " หรือ " หนีฮ่าว " ต้าเจียห่าว " " ฮาวอายู " นั้นมักจะเป็นเขตุที่มีความหนาวเย็นซึ่งมันง่ายต่อการเป็นไข้เป็นหวัด จึงต้องถามต้องทักทายเรื่องสุขภาพว่า " สบายดีมั่ยตัวเอง " 

            ส่วนเจียในคำว่าเค่อเจียนั้นมันหมายถึงครอบครัวแน่นอนครับ

          การศึกษาที่ดีต้องมีการถกเถียง ทะเลาะกันยิ่งดี ไม่ใช่เฉย ไม่หือ ไม่อือเลย แบบนั้นใช้ไม่ได้

รูปภาพของ วี่ฟัด

เพลงกล่อมเด็กอิทธิพลต่อบุคลิกของกลุ่มชน

ทุกชาติทุกภาษาทุกกลุ่มชนมักจะมีเพลงกล่อมเด็ก และเพลงกล่อมเด็กนี้เองบางทีอาจจะเป็นตัวกำหนดบุคลิกแห่งกลุ่มชาติพันธ์นั้นๆเช่นเพลงกล่อมเด็กปักษ์ใต้แถวสุราษฎ์ธานีที่ชื่อว่า " มะพร้าวนาฬิเก " มีเนื้อเพลงว่า

มะพร้าวนาฬิเกร์เอย     ต้นเดียวโด่เด่    กลาง ( ทะ ) เลขี้ผึ้ง

ฝนตกไม่ต้อง      ฟ้าร้องไม่ถึง       กลางเลขี้ผึ้ง      ถึงได้แก่ผู้พ้นบุญเอย.

เพลงกล่อมเด็กเพลงนี้เขาว่ากันว่าเป็นการสอนหลักธรรมในระดับโลกุตรเลยทีเดียวเชียง " ฝนตกไม่ต้อง ฟ้าร้องไม่ถึง " หมายถึง กิเลส ตัณหา อุปาทาน ไม่เข้ามาแผ้วพานเลย   

ตรงคำว่า " ถึงได้แก่ผู้พ้นบุญเอย " พ้นบุญ คำนี้มิได้หมายความว่าตายนะครับ ที่จริงคำว่า บุญ มันไม่ใช่คำดีเด่อะไรเลย คนสมัยนี้มันบ้าบุญ ติดบุญ ทำชั่วทำเลวอย่างไรก็ได้เดี๋ยวกูก็ทำบุญโจรมันก็ทำบุญได้ถือว่าเป็นมิจฉาทิตฐิมากเลย การบ้าบุญ นี่คือภูเขาขวางวิถีพุทธธรรมอีกอย่างหนึ่ง ที่ถูกต้องคือ ทำดีดีกว่าทำบุญ

( มีต่อเอาไว้ต่อตอนที่สองก็แล้วกันญาติโยม ) 

รูปภาพของ วี่ฟัด

ราชบุรีภูษา

ที่จริงอยากเขียนถึงที่อิสยานำมาลงเกี่ยวกับภูษาฮากกา อาจจะเรียกว่าเขียนเสริมก็ได้ เลยนำมาเขียนตรงนี้ไว้แทน 

ว่ากันว่าราชบุรีอาจเป็นดินแดนแห่งมนต์ขลังของอาภรภัณฑ์ก็ได้ มีทั้งผ้าโบราณที่ทรงคุณค่าราคาแพงแบบผ้าตีนจกราคาผืนละเป็นหมื่น และผ้าแบบบ้านๆที่ชาวบ้านชาวช่องเขาใช้กันแบบผ้าบาวม้าผืนละ 60  แม้แต่คนแต่งนิยายที่เกี่ยวกัยผีผ้า ที่นำมาทำละครผีอีเม้ยเรื่อง " สาบภูษาและรอยใหม " คือนายแพทย์พงศกร จินดาวัฒน ก็เป็นคนราชบุรีโดยกำเนิดเช่นกัน แสดงว่าคนราชบุรีอยู่ในภูษาวัฒนธรรมกันมานานจนอยู่ในกระแสโลหิตแล้ว

ที่อิสยานำมาลงเป็นประวัติของครอบครัวของอาโกจำลอง  กิตติภรณ์กุล กรรมการสมาคมฮากการาชบุรี  แต่งานของไหง่ที่กำลังทำอย่างขมักเขม้นอยู่ในขณะนี้จะเป็นลักษณะภาพรวม และอยากทำให้เป็นข้อมูลที่สามารถนำมาอ้างอิงได้ในภายภาคหน้า จึงต้องค้นคว้าหาหนังสือต่างๆที่เกี่ยวข้อง ที่กำลังค้นหาหนังสืออยู่เล่มหนึ่งแต่หายากแล้วคือ วารสารเมืองโบราณ ปีที่ 22  เล่มที่ 1 พ.ศ. 2539 ชื่อเล่มว่า " จีนในไทย ไทยในจีน " จะมีเรื่อง " ตำนานกี่กระตุก " 

ที่จริงอิสยาน่าจะนำเค้าโครงเนื้อหามาแล้วเขียนคล้ายๆเป็นบทละคร บทภาพยนต์ มีบทสนทนา บ้างเล็กน้อย ตรงช่วงที่เป็นการหักเหของชีวิตก็จะสมบูรณ์มากขึ้น และบทสนทนาก็จะต้องเข้ากับวัฒนธรรม ยุคสมัยในขณะนั้นด้วย

ไหง่  ต้องขอชมเชยว่า โกจำลองกล้าเปิดเผยถึงความล้มเหลวของครอบครัวตน ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะไม่กล้าเปิดเผย จะเปิดเผยแต่ในเรื่องความสำเร็จ จึงนับว่าเป็นเรื่องที่น่าชมเชยยิ่งซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาที่ปุถุชนจะต้องทำเรื่องผิดพลาดมาบ้างไม่มากก็น้อย 

รูปภาพของ อิชยา

ขอใช้สิทธ

ขอใช้สิทธิ์ที่ถูกพาดพิงLaughing

ต้องขอขอบคุณโก๊วี่ฝัดที่ให้เกียรติสนใจงานที่ไหง่ทำ .... แนวงานที่ทำเป็นแนวเรื่องเล่าของชาวฮากกา ... ซึ่งไม่อาจเทียบกับงานเรื่องผ้าขาวม้าอย่างที่โก๊วีฝัดทำอยู่ได้เลย ...

แนวทางเรื่องเล่าไม่เน้นว่าต้องถูกต้อง  หรือต้องเหมือนใคร ... เพราะไหง่เชื่อว่าแต่ละคนแต่ละครอบครัว ... ย่อมมีเรืองราวของตน  ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ได้พบเจอกันมา ... ต่างสถานะ  ต่างความเป็นอยู่ ... จึงไม่สามารถกำหนดตายตัวลงไป ... แต่เสน่ห์ของเรื่องเล่าจะแทรกภูมิปัญญาบ้าง   แทรกประสบการณ์บ้าง ... อันนี้ก็แล้วแต่ท่านผู้อ่านจะหยิบจับ  ค้นหาในประเด็นไหนได้บ้าง  ไม่ได้บ้างก็ว่ากันไป ...

ส่วนที่โก๊วี่ฝัดแนะนำให้นำเรื่องไปเขียนเป็นบทละคร ... อันนี้ต้องยกให้อาหงิ่วโก๊นำไปเขียน ... ข้าน้อยยังไร้ความสามารถ  มิบังอาจจริง ๆๆ ... หรือว่าพวกเราชาวเว็บจะมาช่วยกันเล่นเป็นตัวละคร   ช่วยกันสร้างบทละครจากเรื่องราวของฮากกาดีไหม.Laughing 

 และขอแจมเรื่องคำทักทาย ... ตอนเด็ก ๆ เวลาเจอผู้ใหญ่ก็พูดสวัสดี  แล้วก็ตามด้วย "ซิดผ่อนหมัง" ... และผู้ใหญก็จะตอบ "ซิดหมัง..หรือ..จั่งซิดห้อ" อะไรประมาณนี้ ...

ต่อมาได้ฟังจากครูว่า "คำทักทายของแต่ละชาติ   มักจะสื่อให้เห็นถึงสภาพความเป็นอยู่ของชนชาตินั้น" ... เช่น  

-- พวกฝรั่งมักทักทายกันว่า "คุณสบายดีหรือ?" ...แสดงถึงบ้านเมืองของพวกเขา  อากาศปรวนแปรมาก  ทำให้เจ็บป่วยง่าย  จึงทักทายถึงเรื่องสุขภาพ

--พวกคนจีนมักทักทายกันว่า "กินข้าวหรือยัง?" ...แสดงถึงบ้านเมืองของพวกเขา  แห้งแล้ง  ขาดแคลนพวกธัญญาหาร  จึงทักทายถึงเรื่องการกินการอยู่

--พวกคนไทยมักทักทายกันว่า "ไปไหนกันมา?" ...แสดงถึงนิสัยคนไทยชอบเที่ยว  ชอบสนุกสนานไปตามที่ต่าง ๆ  จึงทักทายกันเรื่องเดินทางเชิงเที่ยวพบปะสังสรรค์

++ ปล.เรื่องคำทักทายไม่อิงวิชาการนะ  เพราะเป็นเรื่องเล่าของไหง่เอง++

รูปภาพของ วี่ฟัด

ไม่ต้องขอ

              ไม่ใช่สภาไม่ต้งขอใช้สิทธิพาดพิง  สภาตอนนี้ก็ไม่มีแล้ว รักษากงรักษาการก็ไม่มีแล้ว จะพูดอะไรเชิญได้เลย ที่จริงชอบที่มีการถกเถียงกันถึงจะดี ประเภทเงียบๆ ไม่หือไม่อือเลยยังงั้นไม่ชอบเลย ใช้ไม่ได้ ไม่สนุกเลย ยิ่งถกเถียงกันยิ่งดี

           ที่จริงไหง่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเขียนเป็นบทละครหรือบทภาพยนต์ทั้งเรื่อง ทั้งตอน แต่อยากให้มีแทรกบ้างเมื่อถึงตอนสำคัญๆที่เป็นจุดหักเหของชีวิตจะทำให้น่าสนใจมากขึ้นเท่านั้น เพราะถ้าเป็นเรื่องเล่าเฉยๆมันจะสั้นไปไม่น่าสนใจ 

          ส่วนเรื่องคำทักทายของคนฮากกาที่จริงที่แท้คือ " ไปใหนมา " ส่วนคนแต้จิ๋วคือ " กินข้าวหรืยัง" ส่วนที่ทักทายทำนองเรื่องซิด ,เซ็ต เป็นการไปเลียนแบบการทักทายของคนแต้จิ๋ว และอาจเป็นเพราะมีคนฮากกาบางกลุ่มไปอยู่ท่ามกลางวงล้อมของคนแต้จิ๋วในเก็กเอี๊ยว เก๊กไซ เลยมีการเลียนแบบกันในทางวัฒนธรรมขึ้นจึงชอบนำคำทักทายแบบคนแต้จิ๋ว คือถามเรื่องกินมาใช้ และเขาว่ากันว่าคนแต้จิ๋วเขาไม่ค่อยมีอะไรกินกัน ด้วยความเป็นห่วงเป็นใยจึงต้องไถ่ถามกันเรื่องอาหารการกินว่ากินมาแล้วหรือยัง

              โต้แย้งมาเถอะ ยิ่งโต้แย้งยิ่งสนุก ไม่หือ ไม่อือ เซ็งระเบิดเลยตะเอง 

รูปภาพของ วี่ฟัด

เพลงกล่อมเด็กอิทธิพลต่อบุคลิกของกลุ่มชน (ต่อ )

ที่จริงไหง่สนใจในอารยธรรมทางฝ่ายภารตะและพระพุทธศาสนามากกว่าอารยธรรมทางฝ่ายจีนเยอะ จึงรู้สึกว่าจะถนัดทางฝ่ายภารตะเสียมากกว่า เพราะอารยธรรมจีนไม่ค่อยสนใจเท่าไร แต่พอมาอยู่เว๊ปนี้จึงได้แค่พอกล้อมแกล้มไป

ปรกติเรื่องมะพร้าวนาฬิเกย์ต้องเฉพาะคนที่เป็นแฟนพันธ์แท้ของท่านพุทธทาสเท่านั้นถึงจัพอรู้ ปรกติก็ไม่ค่อยมีใครเขารู้กัน  ไหง่อ่านหนังสือของท่านพุทธทาสมาตั้งเรียนมัธยม มีหนังสือของท่านอยู่หลายร้อยเล่ม ( เกิน 500 )  

ทีนี้จะมาพูดถึงเพลงกล่อมเด็ก ของฝ่ายฮากกากันว่าจะสร้างบุคลิกของกลุ่มชนฮากกาได้อย่างไร

เพลงกล่อมเด็กของคนฮากกา ทักคนต้องรู้ดีว่าคือ " เงี๊ยดกวงกวง " แต่ไหง่ไม่คิดว่าเงี๊ยดกวงกวงเป็นเพลงหรอกครับเพราะถ้าเป็นเพลงมันก็จะร้องมีท่วงทำนอง ( Melody ) แต่เงี๊ยดกวงกวง มันไม่มีท่วงทำนองดังกล่าว ดังนั้นไหง่จะขอเรียกเสียใหม่ว่า " บทกวีกล่อมเด็ก " คล้ายๆกับบทอาขยาน " เด็กเอ๋ยเด็กน้อยความรู้เจ้ายังด้อยเร่งศึกษา " นั่นแหละครับไท้กา ดังนั้นเงียดกวงกวงด้วยความเหมาะสมไหง่จึงจะขอเรียกเสียใหม่ว่า " บทกวีกล่อมเด็ก "

บทกวีกล่อมเด็กนี่แหละที่สร้างบัณฑิต ปัญญาชนมานักต่อนักแล้ว พอโผล่มาก็ ซิ้วไฉ ( บัณฑิตในระดับต้นๆ คงจะแค่ระดับปริญญาตรีมั้ง) หรอย ขี่ ( ภาษาไทยยืมภาษาฮากกามาใช้ ) พักม้า ( ตรงกับเสียงภาษาไทนเป๊ะ ) โป้เหลี่ยนถ่อง.........

ที่ไหง่จะไปวิเคราะห์ว่า วัฒนธรรมฮากกาหล่อหลอมให้เป็นอู๋จี้เยี๊ยะ ได้อย่างไรก็คงจะแนวๆนี้แน่ยังมีอีกเยอะ การที่จะวิเคาาะห์ในประเด็นนี้ต้องมีความเข้าใจเรื่องมนุษยวิทยาจึงจะเข้าใจและจับประเด็นได้ เหมือนกับอาจารย์นพดลยังเคยพูดว่าการศึกษาเรื่องเกี่ยวกับคนฮากกาต้องรู้และเข้าใจเรื่องมนุษยวิทยาจึงจะเข้าใจอย่างลึกซึ้ง

รูปภาพของ วี่ฟัด

ขอตั้งขอสังเกตุ

              ว่าด้วยเรื่องภาษาและมนุษยวิทยา พอดีวันนี้ไปคุยกับอาจารย์ทวีพงษ์ ชัยกูล ได้ข้อสังเกตุเกี่ยวกับเหตุผลที่กลุ่มไท - กะได เป็นคนอพยพ โดยอาจารย์ได้ตั้งข้อสังเกตุดังนี้

             ในกลุ่มชาติพันธ์ไท - กะได ทั้งกลุ่ม ( ไทย ไทยวน ไทลื้อ ล้านช้าง ลาวโซ่ง ล้วนมีคำในความหมายว่า " ไป " ล้วนเป็นคำเดียวทั้งสิ้นทั้งกลุ่ม

          ส่วนคำว่า " กลับ " ในกลุ่มไท- กะได ล้วนแน่แตกต่างกันทั้งสิ้นเช่น ล้านนา - ปิ๊ก ,  ปักษ์ใต้ - หลบ ,  ลาวโซ่ง - ต๋าว , อีสานลาว - เมื่อ ไม่ตรงกันสักภาษาเดียว

         ข้อสังเกตุนี้ทำให้นึกถึงว่าอย่างไร

        คำว่า " ไป " เป็นคำโบราณกว่าคำว่า " กลับ " และย่อมหมายถึงว่าดั้งเดิมก่อนจะมีการแยกตัวเป็นกลุ่มชาติพันธ์ไท- กะได ดังกล่าวนั้นมันต้องมีคำว่า " ไป " อยู่แล้ว ส่วนคำที่มีความหมายว่า " กลับ "  เป็นคำที่ล้วนแต่บัญญัติขึ้นภายหลังได้แยกแตกตัวในกลุ่มไท-กะไดแล้วทั้งสิ้น

        นี่แสดงให้เห็นได้ตามข้อสังเกตุอีกอย่างหนึ่งคือดั้งเดิมกลุ่มไท-กะได เดินหน้าอย่างเดียวไม่มีเกียร์ถอยหลัง " กลับ " หลังหันเลยพี่น้อง 

       แล้วลองนำข้อสังเกตุนี้ลองมาเปรียบเทียบกับภาษาในกลุ่มภาษาจีนดูซิน่าศึกษาเชียวนา อ้าวลองมาเป็นนักมนุษยวิทยาดู น่าสนใจมากเลยนะ 

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal