หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

การวิจัย เกี่ยวกับการฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมฮากกา (ห้วยกระบอก)

รูปภาพของ อาฉี

วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม 2555 นี้ จะมีทีมงาน ไปลงพื้นที่วิจัยเกี่ยวกับการฟื้นฟูภาษา และวัฒนธรรมฮากกา

ณ ที่ ศาลามูลนิธิสาธารณประโยชน์มวลชน ตลาดชุมชนห้วยกระบอก  อ.ท่ามะกา  จ.ราชบุรี+กาญจนบุรี+นครปฐม มีกำหนดการคราวๆ ดังนี้

เวลา 9.00 น. อ.ดร.ศิริเพ็ญ  อึ้งสิทธิพูนพร และทีมงาน ชี้แจงโครงการศึกษาวิจัย เกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณี และอาหาร ที่จะลงพื้นที่ ชุมชนห้วยกระบอก  อ.ท่ามะกา  จ.กาญจนบุรี

เวลา 10.00 น. อ.นภดล  ชวาลกร ผู้อำนวยการศูนย์ฮากกาศึกษา กล่าวเปิดโครงการ  ร่วมกับ ตัวแทน อ.ยิ่งศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงศ์  ผู้อำนวยการโรงเรียนธุรกิจการอาหารไทยและนานาชาติ ประธานกลุ่มฟื้นฟูอาหารฮากกา และนายยกสมาคมฮากการาชบุรี นายยกสมาคมฮากกานครสวรรค์

โดยมีการประชุมเสวนาแลกเปลี่ยนประสพการณ์ กันระหว่างผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้

12.00 น. ร่วมรับประทานอาหาร และบ่าย คณะทำงาน ลงพื้นที่

 

หากมีรายละเอียดเพิ่มเติม แก้ไข ประการใด คุณมะไฟหรือคณะทำงานจะแจ้งให้ทราบเพิ่มเติมภายหน้า


รูปภาพของ มะไฟ

คืบหน้าล่าสุด

สรุปคณะที่จะไปร่วมกิจกรรมแสดงความจำนงแล้ว ดังนี โดยยังไม่รวมปากช่องและราชบุรี นะครับ  ตอนนี้คณะประมาณ 50 ท่านแล้ว

- คณะวิจัย 8 คน

- นครสวรรค์  10 คน

- ปากช่อง    13-14 คน

- ราชบุรี        คน

-  อ.เกศนี(พร้อมแม่)  2 คน

-  ฉินเทียน  

-   โก๊อาคม พร้อมคณะ 6 ท่าน (จนท.ของสหประชาชาติพร้อมผู้ติดตาม  4 ท่าน)

-   อ.นภดล และคณะ  4 ท่าน

-  ขิ้นสุ่ยโก๊

- ต้นกล้า

- สุพัฒน์(ท่ายาง) 

-คุณสมใจ เลขาสมาคมฮงสุน

-นพ.อนุชิต นิติธรรมยง

- สมาคมฮากกานครปฐม 7 คน 

- ป้าจี้  2 คน

- คุณอิชยาและอาหยี  2 ท่าน 

ฯลฯ  แจ้งความจำนงเพิ่มได้นะครับ  

ยอด ณ ปัจจุบัน     50 คน 

รูปภาพของ อาฉี

ปากช่องแจ้งชื่อผู้ไปด้วย

คุณ บำรุง ลาภรังสิรัตน์  劉文華  (นายกฮากกาปากช่อง)
คุณ ประทุมภรณ์ เทพอารักษ์กุล 王金珠 (นายกสตรีฮากกาปากช่อง)
คุณ รุจิรา วีรศักดิ์วงศ์ 曾秀蓮
คุณ เนียม งามพลกรัง 曾昭捻
คุณ กิมเถ่า แซ่ฉิ่น 陳幹濤
คุณ ประไพ คูณทวีทรัพย์ 蔡玉梅
คุณ อัญชลี จริยสุธรรมกุล 徐清雲
คุณ ปิยฉัตร แซ่เล้า
คุณ นภัสนันท์  อนุวัตรโชติกุล

คุณ สุนีย์ ศรีมิ่งมงคลกุล 徐小月
คุณ คณากร ศรีมิ่งมงคลกุล 徐可均
คุณ สว่างใจ ศรีมิ่งมงคลกุล 林阿榆
ดญ.นุชมาศ ศรีมิ่งมงคลกุล 徐伟玉
ส่วนคุณแม่ อายุ 84 ไม่แน่ใจว่าวันเดินทางจะสะดวกเดินทางหรือไม่ยังไม่แน่นอน

จึงเรียนมาเพื่อขออนุญาตแจ้งให้คณะผู้จัดทราบ เป็นการเบื้องต้น

ขอบคุณครับ

อักษรซื่อจากใจ...

          ไหง่ไม่เคยคาดคิดมาก่อนในชีวิตเลยว่า เพียงได้พบปะกับบุคคลจะทําให้เราซาบซึ้งถึงกับต้องแอบไปหลั่งนําตา ด้วยความปลาบปลื้มที่มันซ่อนอยู่ในก้นบึ้งของหัวใจ ทั้งที่บุคคลเหล่านั้น ไม่เคยพูดจาวิสาสะเป็นการส่วนตัว แม้เพียงครั้งเดียว แต่เขาเหล่านั้น ถือเป็นกระบี่มือ 1 ของ " ฮัก P " เพียงได้พบและสัมผัสมือ จิตวิญญาณแห่งฮักกาหงิ่นที่ซ่อนเร้น มันพลุ่งพล่านซาบซึ้งล้นปรี่อย่างสุดควบคุม ความรู้สึกอย่างนี้นี่เล่า อาวี่ฟัดโกถึงบอกว่า " การไปเยี่ยมบ้านเกิดของฮักกาหงิ่น เปรียบเหมือนคนมุสลิม ต้องไปเมกกะอย่างน้อยสักครั้งในชีวิต " นี่แค่ได้พบปะฮักด้วยกัน ยังให้ความรู้สึกถึงเพียงนี้ หากได้ไปเยี่ยมมาตุภูมิแห่งบรรพชน คงได้บรรลุรู้อย่างถึงใจ อย่างที่วี่ฟัดโกรู้สึกและยอมทุ่มเท ความคิดความรู้แด่ชาวฮัก P อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย

          ไหง่ต้องขออภัยชาว " ฮัก P " ที่มิได้ร่วมวงสนทนาด้วย สาเหตุก็ดังที่กล่าวข้างต้น ไม่งั้นคงได้เห็นเล่าปี่(ตัวปลอม)รําไห้แน่ๆ    เออเนาะ ช่างเป็นไปได้ แค่สื่อสายตาก็สัมผัสถึงวิญญาณ เหลือเชื่อจริงๆๆ....ไอ้ควาย(หงิ่ว)

รูปภาพของ อาฉี

หาห้วยกระบอกไม่เจอ

หาชื่อ ตลาดห้วยกระบอก ในแผนที่ google ไม่เจอ (เจอแต่ร้าค้าหรือสถานที่ที่มีคำว่าห้วยกระบอก) สงสัยอากู๋ยังไม่รู้จัก ห้วยกระบอก หรือเราหาไม่เป็นก็ไม่ทราบ

จึงขอถามว่า ใช่อาคารหลังนี้ 13.949483N,99.880678E หรือไม่ครับ (ถ้าไม่ใช่บอกด้วยนะ เผื่อคนไปไม่ถูกจะได้ดูตาม)


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

ขอบคุณครับ

รูปภาพของ มะไฟ

ใช่ครับ

ถูกแล้วครับ ตลาดสดก็อยู่ใกล้ ๆ นั่นแหละครับ

รูปภาพของ มะไฟ

เพิ่มเติม

ฉินเทียนขอเพิ่มอีก ๒ คนเป็น ๓ คน

ปากช่องขอเพิ่มอีก ๓ รวมเป็น ๑๓ คน

ยอดตอนนี้ ๗๓ คน 

ขอเพิ่มจำนวนด้วยค่ะ

คุณมะไฟ

ไหงพาน้องชายไปด้วย  อีก 1  คน  และคนชราอายุ  80  กว่า อีก  1  คน เป็นคนแซ่กอ  ไหงเรียนกื่อว่า   กู๊ช้อง  บ้านอยู่อึ้งคังพู่  กลับไปบ้านที่มืองจีนหลายครั้ง  รวมทั้งหมด  4  คน

                    เกษณี  (ฉินซิวฉุก)

รูปภาพของ มะไฟ

ได้ครับอาจารย์

ไหงลงบันทึกยอดคนไว้แล้ว บอกเม้หงีว่าจะมีคนรู้จักเม้หงี กับเจี๊ยกุ๊งหงี คนเซี่ยงว่องที่บ้านติดกับเจี๊ยกุ๊งหงี ห้วยกระบอกทางไปหนองตาล ที่วันนั้นไหงโทรถามเขาบอกว่ารู้แล้วว่าลูกใคร กื๋ออายุเกือบเก้าสิบแล้ว เห็นบอกว่าอาหยีหงีเคยมาอยู่ห้องแถวในตลาดด้วย 

รูปภาพของ วี่ฟัด

อาหารฮากกาแบบอาเม้

           เรื่องงานวิจัยนี้ไหง่ทราบมาสักพักหนึ่งแล้วจากการได้คุยทางเฟชบุ๊คกับอาจารย์ดอกเตอร์ ซึ่งงานวิจัยภาษาวัฒนธรรมฮากกานี้เป็นงานวิจัยอย่างเป็นทางการของสถาบันภาษาวัฒนธรรมเอเซีย มหาวิทยาลัยมหิดล ดังนั้นงานนี้ไม่ควรพลาดและไม่น่าพลาดเป็นอย่างยิ่งครับ ได้ไปคาราวะถูเถ่วศุกกุ๊ง ก็ถือเป็นมงคลในชีวิตแล้ว

          งานวิจัยคืองานที่นำข้อเท็จจริงในชีวิตประจำวันที่ได้ปฏิบัติมานานแสนนานของกลุ่มชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจนเรียกได้ว่าวิถีชีวิต ( the way of life ) ของกลุ่มชนนั้นๆจนเรียกได้ว่าเป็น " วัฒนธรรม " ในที่นี้คือกลุ่มชนคนฮากกาห้วยกระบอก ซึ่งก็คือ " วัฒนธรรมฮากกาห้วยกระบอก " ดังที่กล่าวมาแล้วว่าวัฒนธรรมคือวิถีชีวิต อาหารการกินในชีวิตประจำวันก็ต้องเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมด้วยอย่างแน่นอน แล้วนำมาวิเคราะห์และเขียนเป็นรายงานไว้ให้อนุชนรุ่นหลังๆได้ศึกษาเรียนรู้  

           พระพุทธศาสนาเขาก็จัดเป็นศาสนาที่เป็นวิถีชีวิต ( the way of life  ) เหมือนกัน ซึ่งโดยปรกติเรื่องราวทางศาสนาต่างๆทั้งหลาย เขาจะจัดว่าเป็น " ปรัชญา " ( Philosophy)  แต่มีพระพุทธศาสนาเพียงศาสนาเดียวที่เป็นลักษณะทั้ง Philosophy และ the way of life คือทั้งปรัชญาและวิถีชีวิต       

           อันที่จริงห้วยกระบอกไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับไหง่ เพราะไหง่เคยมาอาเม้ไหง่ไปกินอาหารที่ห้วยกระบอกมานานแล้ว แต่เคยไปแต่ร้าน " จันทร์เจริญ " และรู้จักอาก๊อเจ้าของร้านเป็นอย่างดีดี แต่ไหง่ว่าร้านจันทร์เจริญ ชักจะแอปพราย ( ดัดแปลง ) อาหารฮากกาไปสู่อาหารจีนแบบทั่วๆไป ไปมากแล้ว บางทีเอกลักษณ์อาหารฮากาจึงน้อยลงไป

           ต่อมาภายหลังได้ไปร้านอาหารฮากกาอีกร้านหนึ่งชื่อร้าน " แก้วเจริญ " ที่อาก๊อมะไฟชวนชิมไว้ แล้วไหง่รู้ทันทีเลยว่านี่แหละคือ อาหารในวิถีชีวิตประจำวันของไหง่มาตั้งแต่เกิดเลยก็ว่าได้ อาเม้ไหง่เป็นฮากกาเชื้อสายปั้นซันขัก เกิดลูกแก แถวๆระแวกวัดดอนขมิ้น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี จนอายุสัก10 ขวบ จึงย้ายมาอยู่ราชบุรี ( เหตุผลการย้ายสงสัยเพราะสงครามมหาเอเซียบูรพา โดนญี่ปุ่นขับ )

           ดังนั้นบ้านไหง่จึงผสมผสานระหว่างอาหารแบบปั้น ( ข้างอาเม้ ) และอาหารแบบหมอยแย้น ( ข้างไท้ปัก ) แต่ถ้าถามว่าแบบใหนคุ้นกว่าก็ต้องเป็นแบบปั้นซันขักแบบห้วยกระบอกนี่แหละที่คุ้นที่สุด

          ยังไงๆต้องไปให้ได้ครับ อาโกสิทธิพร ป้าจี้ และอีกหลายๆท่านที่อยากจะมานานแล้ว เที่ยวนี้ต้องมาใหได้นะครับ วันที่ 14 กรกฎาคม 55 ต้องมาให้ได้ครับ สนุกกว่ามาแค่กลุ่มเดียวอีก เที่ยวนี้เพื่อนเยอะสนุกดี

รูปภาพของ tonkla

Tonkla ไปด้วย

ขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมด้วยนะคะ คือถ้าหนูจะไปงานนี้ต้องไป ยังไงคะ เป็นงานไปกลับหรืออย่างไรคะ พอดีวันงานเป็นวันเสาร์หนูเลยอยากจะเข้าไปร่วมงานด้วย เผื่อได้ช่วยอะไรได้บ้างค่ะจะได้ศึกษาไว้ค่ะ 

โครงการวิจัย

ตอเชี้ยอาฉีโกมากๆเลยค่ะ ไหนๆอาฉีโกก็กรุณาประชาสัมพันธ์โครงการให้แล้ว จะขอเพิ่มเติมรายละเอียดอีกหน่อยนะคะ

ชื่อโครงการวิจัยจริงๆคือ การฟื้นฟูของกินพื้นบ้านเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารและสืบสานวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจาก สสส (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ- ขอย้ำว่าแหล่งทุนนี้เขาห้ามเรื่องเหล้าบุหรี่เด็ดขาด หมายความว่าต้องปลอดเรื่องเหล้าบุหรี่ค่ะ) ในโครงการนี้มีหลายพื้นที่ที่คณะวิจัยต้องไป เพราะมีหลายกลุ่มชาติพันธุ์ เช่น ไทยดำที่นครปฐม เขมรถิ่นไทยที่สุรินทร์ มลายูที่ยะลา เป็นต้น ซึ่งกลุ่มฮากกาก็เป็นพื้นที่หนึ่งในโครงการนี้ 

ที่จริงไหงทำงานเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์มาหลายพื้นที่แล้ว และที่สถาบันฯก็มีพื้นที่ทำงานเกือบทุกจังหวัด สำหรับโครงการนี้จริงๆแล้วเป็นการต่อยอดจากพื้นที่เดิม แต่ไหงได้เสนอกลุ่มฮากกาเข้าไปด้วย ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีโครงการวิจัยมาก่อน ก็เพราะอยากให้มีการฟื้นฟูและทำงานวิจัยเกี่ยวกับกลุ่มฮากกาบ้าง และที่เลือกพื้นที่ห้วยกระบอก ก็เพราะได้ไปดูพื้นที่มาแล้ว ประกอบกับได้รับการเสนอแนะจากอาก๊อมะไฟการันตีว่า ยังเป็นพื้นที่ที่ยังมีคนฮากกาอยู่เป็นจำนวนมากและมีอาหารที่เป็นเอกลักษณ์อยู่ ทั้งยังไม่มีคนเข้าไปทำงานวิจัยเลย ไหงก็ว่าน่าจะลองดู และพื้นที่นี้ยังไม่ไกลจากกรุงเทพมากนัก การไปมาสะดวกไปเช้าเย็นกลับได้

เป็นปกติที่่ก่อนทำงานวิจัย ต้องมีการไปชี้แจงว่าจะทำอะไร วัตถุประสงค์ และผู้ที่ทำวิจัย บางคนอาจจะสงสัยว่าคนวิจัยคือนักวิชาการ แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไปหรอกค่ะ เดี๋ยวนี้มีการสนับสนุนให้คนในชุมชนเป็นผู้ทำงานวิจัยเอง เพราะชุมชนจะได้ประโยชน์เองและมีความยั่งยืนกว่า นักวิชาการก็เพียงแต่หาโครงการไปสนับสนุนและทำงานเคียงข้างไปกับชุมชนเท่านั้นเอง 

การวิจัยแบบนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะที่ผ่านมาที่สถาบันฯก็ทำอยู่แล้ว การวิจัยนี้ก็เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการที่ชุมชนทำเอง สุดท้ายแล้วก็มีการเผยแพร่สู่สาธารณะ

การอธิบายคงทำให้เข้าใจยาก คงต้องเข้าไปร่วมฟังและยิ่งชุมชนได้ทำเองก็จะเข้าใจ ที่เรากำหนดการณ์ล่วงหน้านานเพราะว่าต้องขอทบทวนวรรณกรรมก่อนนะคะ หากใครมีข้อมูลเกี่ยวกับการฟื้นฟูอาหารของกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ หรือข้อมูลของชุมชนฮากกาห้วยกระบอก ก็สามารถบอกกล่าวได้ค่ะ ถือว่าช่วยกันค้นหาข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้นะคะ

ความคืบหน้าจะแจ้งให้ทราบเป็นระยะไปนะคะ หากใครสนใจจะไปร่วมแจมในครั้งแรกนี้ก็ยินดีนะคะ จะได้เห็นพลังของชาวฮากกาเราด้วยนะคะ 

 

รูปภาพของ อาฉี

ขออนุญาต คณะดำเนินการวิจัยฯ

เนื่องจากเห็นว่าในงานนี้มีสมาชิกเว็บ และผู้ทรงคุณวุฒิ จะมาร่วมกิจกรรมด้วยหลายท่านอยู่แล้ว  ซึ่งที่ห้วยกระบอก อันที่เป็นแหล่งที่มี 客家人 อยู่หนาแน่นที่สุดแหล่งหนึงของประเทศไทย ที่ยังคงอารยธรรมอยู่หลายอย่างทั้งด้านภาษาและอาหาร เป็นที่น่าเชิดชูประกาศให้พี่น้องจากที่อื่นๆสมควรมาเยี่ยมชม อีกทั้งยังจะได้พบเห็นการลงพื้นที่ทำวิจัย อย่างเป็นวิชาการ เพื่อการฟื้นฟูได้อย่างเป็นกิจลักษณะ อันถือได้ว่าจะเป็นแบบอย่างให้นำไปขยายผล และขยายเครือข่ายให้เกิดความร่วมมือกันในด้านต่างๆ  ในอนาคตได้เป็นอย่างดี

จึงถือโอกาสขอเรียนปรึกษา ท่าน ดร.ผิง เจ้าของโครงการ , ท่านมะไฟ ผู้ประสานงาน และเจ้าภาพฝ่ายพื้นที่ เพื่ออาจจะขออนุญาตเชิญชวนผู้สนใจที่จะร่วมฟื้นฟูอารยธรรมฮากกา สมาชิกเว็บฯ  มาร่วม(สันจร)มาพบปะสังสรรค์  ซึ่งพวกเราได้ทิ้งช่วงกันมานานพอสมควรแล้ว  และยังจะได้มาเยือนถิ่นพี่น้องร่วมชาติพันธุ์ ในโอกาสดีๆเช่นนี้อีกด้วย

ก็ไม่ทราบว่าท่านทั้งหลาย จะมีความเห็นเป็นอย่างไรบ้าง และถ้ามีค่าใช้จ่าย หรือต้องเตรียมความพร้อม มีกำหนดการอย่างไร กรุณาแจ้งเพื่อนสมาชิกที่สนใจจะมาร่วมด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง

รูปภาพของ วี่ฟัด

ได้เลยครับ ไหง่ว่าไม่มีครั้งใหนเหมาะเท่าครั้งนี้

          ไหง่เห็นด้วยเลยครับ แต่ที่จริงห้วยกระบอกน่าจะอยู่ในเขตอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี นะครับ แต่ห้วยกระบอกเป็นเขตติดต่อกับอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี และอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ดังนั้นจึงถือได้ว่าเราชาวราชบุรี ชาวฮากการาชบุรี ชาวสมาคมฮากการาชบุรี จะต้องเป็นเจ้าบ้านที่จะต้องร่วมต้อนรับชา่วชุมชนคนฮากกาด้วย ยังงี้ไหง่ในฐานะชาวฮากการาชบุรีจะต้องต้อนรับชาวชุมชนคนฮากกา อย่างเต็มที่แน่นอนครับ

            ไหง่จึงเห็นด้วยและเชิญชวนชาวชุมชนคนฮากกามากันมากๆ ไหง่ได้นำบร๊อกเรื่องการวิจัยในครั้งนี้ไปแชร์ในเฟชบุ๊คของไหง่ มีคนฮากกาที่เขาไม่เคยเข้ามาที่นี่สนใจกันหลายท่าน โดยเฉพาะคนเชื้อสายฟุ้งสุ่น เช่นอาศุขประมวล ( ที่จริงอาศุขเขาไม่ได้แก่มากหรอกแต่ไหง่เรียกตามหลานกี่ ) อาศุขประมวลเป็นอาศุขแท้ๆของ " นันทขว้าง สิรสุนทร " คอลัมนิสต์วิจารย์ภาพยนต์ชื่อดังในเครือเนชั่น และยังเป็นแชมป์แฟนพันธ์แท้แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด อาศุขประมวล คนเชื้อสายฟุ้งซุ่นบอกว่าบิดาก็เคยอยู่ที่ห้วยกระบอกมาก่อน ตอนหลังจึงย้ายเข้ากรุงเทพ กี่ก็อยากมา 

           สรุปว่าไหง่เห็นด้วยครับ ชาวฮากการาชบุรีจะต้องหาของฝากติดไม่ติดมือแก่ชาวชุมชนคนฮากกาทุกท่านด้วยครับ 

รูปภาพของ สิทธิพร1

ไหง่ชุมชนคน ฮากกานครสวรรค์ ขอร่วมงานนี้ด้วย10ท่าน

สวัสดีวี่ฟัดกอ  ไหง่เห็นด้วยกับหงี่ที่เชิญชวน ชาวฮากกามาร่วมงานที่ห้วยกระบอก อย่างนายกกิตติมศักดิ์ถาวร นายอนันต์ อารียาภินันท์ กี่ก็ปั้นซันฮากสายฟุ่งสุ่น กี่อยาก มาห้วยกระบอกหลายครั้งแล้ว เที่ยวนี้กี่ได้มาพบคนฮากกามากๆกี่คงไม่ผิดหวัง ไหง่จัดมาประมาณ10ท่าน ฟุงสุ่น6และเหมยเสี้ยน4ท่าน อยากเจอชาวเว็บชุมชนฮากกามากๆครับ หวังว่าชาวเว็บคงเจียดเวลามาพบกันหลายๆท่านจะดีใจมาก       จาก สิทธิพร หยกรัตนศักดิ์ (俞文君)

รูปภาพของ tonkla

Tonkla ขอลงพื้นที่ด้วยคนค่ะ

ถึงผู้ที่เกี่ยวข้องทุกส่วนฝ่าย

 กำหนดการณ์มีการกล่าวแถลงจุดประสงค์ของงาน ทำพิธีเปิด แล้วก็เสวนา คือถ้าเป็นบุคคลภายนอก ตัวอย่างเช่น ต้นกล้าเองซึ่งยังไม่เคยออกพื้นที่ต่างจังหวัดกับเพื่อนสมาชิกจังหวัดต่างๆเลย และอาคมยังไม่แก่กล้า ดังนั้นการไปนั่งฟังและรับรู้จึงถือว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่การสัมมนาด้วยคงต้องนั่งฟังอีกตามเคย และการลงพื้นที่นี้เป็นการลงแบบใด แบ่งงานกันอย่างไร หรือเพียงเป็นการเข้าไปสอบถามพูดคุย แล้วใครเป็นคนจดเนื้อหา เราเน้นไปที่เนื้อหาส่วนใด เอกสารใครเป็นคนดูเเลรวบรวม หรือมีเอกสารกันทุกคนเลยคะ แบ่งเพื่อนๆสมาชิกที่เข้าร่วมไปในงานครั้งนี้เป็นกลุ่มๆดีไหมคะ ไม่งั้นหัวหน้าโครงการจะได้ทำงานคนเดียว ขอเสนอให้แบ่งกลุ่มคละกันไปสุดท้ายนำผลงานมารายงานสรุปให้ทุกท่านทราบตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย ใช้เวลาซักหัวข้อละ 5 นาที ทุกคนจะได้ฟังกันด้วยกัน ใครมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมก็บันทึกต่อได้ค่ะ 

เรามีเวลาไม่มากเพราะเป็นงานไปกลับ ใครไปยังไงรบกวนแจ้งด้วยนะคะจะได้ไม่ต่างคนต่างไปจะหลงทางกันได้ เราทำป้ายชื่อกนดีไหมคะ คือ คิดในมุมมองหนูเองที่ยังไม่เคยเจอเพื่อนสมาชิกหลายๆคนค่ะ อยากให้เเสดงรายละเอียด เช่น อาโกสิทธิพร (นครสวรรค์) วีฟัด (ราชบุรี) หนูขอรายชื่อด้วยนะคะจะทำบตรชื่อให้ค่ะ นอกจากนี้อยากให้มีกิจกรรมเพิ่มเติมขอให้ทุกๆคนเสนอมาในที่นี้ด้วยนะคะ เพราะเป็นการรวมกลุ่มจำนวนพอสมควรค่ะ

ต้นกล้าขอเสนอความเห็นอัพเดทงานที่เพื่อนสมาชิกเจอกันที่สมาคมฮากกาแห่งประเทศไทยค่ะ แผนงานตั้งไว้ 1 ปี มี 4 โปรคเจคใหญ่ เรามีรายชื่อแกนหลักของกลุ่มแล้ว ยินดีต้อนรับผู้สนใจเพื่อนสมาชิกที่ยังไม่มีรายชื่อเข้าร่วมกลุ่มตามความสนใจได้เลยค่ะ ถือเป็นการกระตุ้นงานไปในตัวด้วย ผ่านมาหลายเดือนแล้วจึงอยากให้อัพเดทงานกันค่ะ ผู้ริเริ่มโครงการดีจะได้มีกำลังใจสู้ยิ่งขึ้น เมื่อรู้ว่างานที่แบ่งมีพวกเราสานต่อยู่ค่ะ

อาโกสิทธพรคะ หนูขอรายชื่อด้วยะคะ หนูจะทำป้ายลงท้ายว่า ........ (นครสวรรค์) ค่ะ ขอบคุณค่ะ

รูปภาพของ สิทธิพร1

ขอแจ้งคุณ Tonkla

สวัสดีคุณ 

Tonkla ไหง่ดีใจมากที่จะได้พบกับหงี่ในงานวิจัย การฟื้นฟูภาษาวัฒนธรรมฮากกา หงี่ให้ไหง่แจ้งชื่อไหง่เลยจัดมา10ท่านเลยดังนี้       นาย อนันต์ อารียาภินันท์ (劉瑞滎)       นายเจริญชัย ทวนไกรพล (羅炳發)        นายสุรเดช เลิศวิทยากร (劉偉强)            นายวันชัย พันธุรพงค์ (藩薘英)           นายสุรชาติ วัฒนามั่นวรกิจ (陳偉基)        นายพงษ์ศักดิ์ ประเสริฐทรัพย์ (沈瑞粦)   นายสุรศักดิ์ จันทสุทธิบวร (劉志强)        คูณเพ็ญศรี จันทสุทธิบวร (劉美琳)       คุณอัญชลี หยกรัตนศักดิ์ (俞秀华)           นายสิทธิพร หยกรัตนศักดิ์ (俞文君) อีก1ท่านยังไม่แน่ใจ แล้วพบกันในวันงาน 

รูปภาพของ มะไฟ

แผนที่ไปห้วยกระบอก

รบกวนอาฉีส่งให้ โก๊นภดลด้วย ไหงหาเมลล์ไม่เจอ

 

รูปภาพของ วี่ฟัด

伴客家

ผู้ร่วมอุดมการณ์ฮากกาเดียวกัน ( 伴客家 ) ทั้งหลายครับไหง่ยังเห็นเงียบๆกันอยู่เลยครับ อุดมการณ์ฮากกาของพวกเราผู้มีเชื้อสายฮากกามันลดน้อยถอยลงกันหรือเปล่า เห็นเงียบกันมาก ส่งสัญญาณ ส่งความคิดเห็นกันหน่อยครับ ไหง่ก็พยายามชักชวนทางเฟชบุ๊คอยู่ เห็นว่าปิยณัฐเด็กมัธยมปลาย ม.6 จากพนมทวน ก็ยังสนใจที่จะมาร่วมงานกับพวกเรา ส่วนทางญาติทางนันทขว้าง สิรสุนทร ที่ไหง่แอ๊ดเฟชบุ๊คไว้ก็สนใจห้วยกระบอกว่าอยากมาดูถิ่นที่เตี่ยพวกเขาเคยอยู่มาย้ายไปอยู่กรุงเทพ เมื่อช่วงบ่ายไหง่ก็ได้คุยกับอาหงิ่วโกเห็นว่าเงียบๆไป อาหงิ่วโกบอกมาแน่ๆ ส่วนตัวไหง่เต็มที่อยู่แล้ว เพราะไหง่ไม่เคยคิดเล็กคิดน้อยหยุมหยิม แบ่งแยกหรือรังเกียจเดียดฉันท์ที่น้องชาวฮากกาไม่ว่าจะเป็นฮากกาจากที่ใหนก็ตาม เรื่องราวตั้งแต่ครั้งโบร่ำโบราณตั้งแต่พระเจ้าเหานุ่งเตี่ยว ก็ไม่ควรหยิบยกเอามาเหน็บแนมกระแทกแดกดันอยู่ได้ทุกวี่ทุกวัน. ว่างงานมากหรือไง ไม่ทราบตัวเอง

มีคนถามไหง่บ่อยมากว่า " พระปิดตาหายไปใหน " ไหง่บอกว่าไม่มีอะไรหรอกอยากเปลี่ยนบ้าง ไหง่เลยขึ้นไปขี่บนหลังอูฐแล้วกำก้อนขี้หมาอยู่ในกำมือ แล้วขว้างก้อนขี้หมาออกไป แล้วไหง่ก็ร้องออกมาว่า " เก้วซือผัดเก " เพื่อทำลายเสนียดจัญไรที่มากระทำต่อความเป็นฮากกาของพวกเรา เก้วซือผัดเก เก้วซือผัดเก เก้วซือผัดเก เก้วซือผัดเก เก้วซือผัดเก เก้วซือผัดเก เก้วซือผัดเก เก้วซือผัดเก

รูปภาพของ มะไฟ

อ.ยิ่งศักด

อ.ยิ่งศักดิ์ให้เลขาแจ้งมาไม่ได้

รูปภาพของ มะไฟ

เพิ่มเติมรายละเอียด

ไหงจะคุยรายละเอียดกับ อ.ศิริเพ็ญ เจ้าของโครงการอีกครั้ง ในเบื้องต้นเท่าที่คุยกัน อ.ศิริเพ็ญจะชี้แจงภาพรวมโครงการกับกรรมการมูลนิธิฯ ที่รวมรุ่นใหญ่กับรุ่นหนุ่มสาว แล้วจะแยกรุ่นหนุ่มสาวและเยาวชนที่จะช่วยงานวิจัยออกไปในห้องประชุมเล็ก(ห้องแอร์) ที่เหลือจะมีผู้อาวุโส ๓ ท่าน คือถูเถวสุกกุ๊ง สอกจื้อปัก และประธานศาลเจ้าหนองกร่าง ที่อายุเกิน ๙๐ ปี(มาจากเมืองจีนทั้ง ๓ คน) มาต้อนรับและพูดคุยกับแขกที่มาเยี่ยมเยียนร่วมกับประธานมูลนิธิฯ เสร็จแล้วจะพาแขกไปไหว้เจ้าซำ๊หวองหยา ที่ตอนนี้ได้ประวัติจากเมืองจีนมาแล้ว จะทำเป็นบอร์ดนิทรรศการ (กำลังติดต่อเนชั่นสุดสัปดาห์มาทำเรื่องศาลเจ้าจีนแคะ) เพราะที่นี่อายุกว่า ๑๐๐ ปี เก่ากว่าที่เนชั่นลงในหนังสืออีก ติดต่อคุณจิตราอยู่) และพาเดนเที่ยวตลาด  ส่วนอีกชุด จะมีคนนำทีมวิจัยลงพื้นที่เป้าหมายที่ต้องการทำวิจัย เพื่อไม่ให้ปนกันระหว่างงานวิชชาการ กับการเยี่ยมเยือนถิ่นจีน ฝากวี่ฟัดโก๊ติดต่ออาสุกประมวลอีกทาง เรื่องคุณนันทขว้าง ขอเชิญมาเยือนถิ่นพ่อแม่ ไหงติดต่อทางเนชั่นอีกทางอยู่ได้ให้ข้อมูลศาลเจ้าและถ่ินเดิมตระกูลคุณนันขว้างไปแล้ว

เพื่อช่วยฟื้นฟูห้วยกระบอกอีกที 

รูปภาพของ tonkla

พอเห็นเค้าโครงกันแล้วล่ะค่ะ

ช่วงนี้หนูเข้ามาเวปนี้ค่อนข้างบ่อย มาอัพเดทข่าวสารว่างานเป็นอย่างไร ถึงไหนแล้ว ดีใจมากเลยนะคะที่เห็นทุกคนร่วมไม้ร่วมมือช่วยกันเป็นอย่างดี สำหรับอาโกสิทธิพร รับทราบเรื่องรายชื่อค่ะ ถ้ามีรายละเอียดเพิ่มเติมอะไรอัพเดทกันได้ที่นี่เลยนะคะ ขอบคุณค่ะ

ขอสนับสนุนโครงการนี้ด้วย

ยินดีร่วมประชุมด้วยคนครับ ฮากกาเพชรบุรี

รูปภาพของ มะไฟ

ยินดีต้อนรับครับ

ยินดีต้อนรับครับ

รูปภาพของ ฉินเทียน

ขอเข้าร่วมด้วยนะครับ

ต้องการทราบรายละเอียด ครับ เริ่มกี่โมงครับ แล้ว เสร็จงานประมาณเวลาใด

รูปภาพของ วี่ฟัด

ยังเงียบๆกันอยู่เลยและประสบการณ์พบห้วยกระบอกแห่งเกาะปีนัง

              ช่วงวันที่ 18 - 20 นี้ไหง่ไปสงขลา - หาดใหญ่ - ปีนัง คือได้ไปหาดใหญ่ครั้งแรกในชีวิต ก็ได้ลงไปถึงเกาะหมากหรือเกาะปีนังซะเลย จากการเอื้อเฟื้อของอาโกอาคมที่เป็นคนขับรถพาไหง่เข้าไปถึงปีนัง ไปพักบ้านเฉินเกอเกอชาวเกาะปีนัง ที่เคยไปร่วมงานของสมาคมฮากการาชบุรีมาเมื่อปลายเดือนเมษายน 55 ที่ไหง่เคยมาเล่าเอาไว้แล้ว

               การไปปีนังในครั้งนี้ทำให้ไหง่ได้มีโอกาศไปที่ BALIK PULAU ซึ่งถือว่าเป็น HAKKA VILLAGE ของเกาะปีนัง หรือไหง่จะเรียกว่า " บาลิค ปูเลา ห้วยกระบอกแห่งเกาะปีนัง " บาลิคปูเลามีประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการอพยพของคนหมอยแย้นที่เก่าแก่ยาวนาน ลูกหลานคนหมอยแย้นที่นี่จะเป็นรุ่นสี่ขึ้นไปแล้ว แต่ทุกคนก็ยังสามารถพูดภาษาฮากกาได้ดีมากๆจนไหง่ซึ่งเป็นแค่รุ่นที่สองต้องอายแทบแทรกแผ่นดินหนี

               และเมื่อค้นคว้าลึกๆเข้าไปแล้วไหง่พบว่าชาวฮากกาหมอยแย้นที่บาลิกปูเลานี้ยังมีส่วนช่วยสนับสนุนให้ที่พำนักหลบภัยให้กับท่านดอกเตอร์ซุนจงซานขณะอยู่ในปีนังระยะหนึ่งในช่วงการปฏิวัติชิงไห่ จึงมีบ้านพำนักของท่านซุนจงซานอยู่ที่ปีนังและยังเก็บรักษาไว้จนปัจจุบัน

               ตอนนี้ไหง่จึงกำลังศึกษาประวัติของชาวฮากกาบาลิคปูเลาพร้อมกับเรื่องราวที่ได้ไปที่นี่มาด้วยตนเองแล้วไหง่จะเขียนเรื่อง " บาลิค ปูเลา ห้วยกระบอกแห่งเกาะปีนัง " เพียงแต่ที่ห้วยกระบอกเป็นคนฟุ้งซุ้น แต่ที่บาลิกปูเลา เป็นคนหมอยแย้น

              ในการวิจัยอาจนำชุมชนฮากกาทั้งสองมาเปรียบเทียบกัน หรืออาจเชื่อมชุมชนทั้งสองเป็นชุมชนฮากกา " ชุมชนพี่ชุมชนน้อง " ก็เป็นไปได้นะไหง่ว่า แต่ที่แปลกคือคนฮากกาในเมืองไทยมี " กู้ปักเซิง " ( อาจารย์นภดล ชวารกร ) เป็นผู้อนุรักษ์รักษาความเป็นฮากกา แต่ที่บาลิกปูเลามี " กู้เที้ยนฟัด " เป็นผู่้อนุรักษ์รักษา ไหง่อยากให้พี่น้องเซียงกู้ลูกหลานหมอยแย้นทั้งคู่มาเจอกันจังเลยครับ

รูปภาพของ วี่ฟัด

อุ่นเครื่องห้วยกระบอก - หลวงสิทธิเทพการ

หลวงสิทธิเทพการ ตำนานแห่งบ้านโป่ง

หลวงสิทธิเทพการ

 

ผมได้อ่านหนังสือหลายเล่มเกี่ยวกับตำนานต่างๆของจังหวัดราชบุรี และหากพูดถึงบ้านโป่งแล้วทุกคนในรุ่นเก่าๆ จะเอ่ยถึง "หลวงสิทธิเทพการ" เป็นประจำ จึงทำให้ผมอยากที่จะศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับชีวประวัติของท่าน รวมทั้งผลงานและคุณูปการต่างๆ ที่ท่านได้สร้างไว้ ซึ่งที่ค้นคว้าได้ต่อไปนี้ เป็นเพียงส่วนน้อยนิด ดังนั้นหากผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติมได้ช่วยกรุณาแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมไว้ในตอนท้ายบทความนี้ด้วย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นหลังที่จะทำการศึกษาต่อไป

จากหนังสือลุ่มน้ำแม่กลอง ประวัติศาสตร์ชาติพันธ์ "เครือญาติ" มอญ ซึ่งพิมพ์เมื่อ กันยายน 2547 ได้กล่าวถึงหลวงสิทธิเทพการ ไว้สั้นๆ ว่า

เมื่อเอ่ยหลวงสิทธิเทพการ หลวงสารเทพกิจ
คนราชบุรีรุ่นเก่าๆ ต้องรู้จักเป็นอย่างดี
ในภาพผู้ชายแต่งชุดขาว ถือไม้เท้าและหมวก
คือ หลวงสิทธิเทพการ หรือ กิมเลี้ยง วังตาล
คหบดีคนสำคัญของบ้านโป่ง

เจ้าของภาพ : มนัส-วรนุช พงษ์วัฒนา

"หลวงสิทธิเทพการ เดิมชื่อ กิมเลี้ยง (พ.ศ.2447-2502) เป็นลูกชาวจีนบ้านห้วยลึก ที่อพยพมาจากดอนกระเบื้อง หลวงสิทธิฯ เกิดที่ดอนกระเบื้องแล้วมาทำกิจการการค้าที่บ้านบางตาล (ทำนา ส่งฟืนให้รถไฟ ซื้อขาย-ข้าว) จนฐานะดี จึงเริ่มขยายกิจการมายังตลาดบ้านโป่ง (โรงสี โรงเลื่อย โรงน้ำแข็ง) ย้านมาตั้งบ้านเรือนอยู่ตลาดบ้านโป่งประมาณ พ.ศ.2470

ท่านได้บรรดาศักดิ์ เนื่องจากในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จทรงซ้อมรบสนามในกิจการเสือป่า ไม่มีผู้ใดมีกำลังผู้คนสร้างที่ซ้อมรบได้ทันกำหนดภายใน 3 สัปดาห์ ได้หลวงสิทธิฯ ท่านสามารถรับจ้างทำได้ทันเวลา จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์พร้อมกระบี่และตราตั้งให้ท่านเป็นผู้หนึ่งที่ช่วยเหลือสังคมบ้านโป่ง ผ่านองค์กรศาสนาคริสต์ เพราะท่านเป็นคริสตังโดยกำเนิด"

ผมพยายามค้นหาจาก Google เพิ่มเติม ไปพบกับกระทู้ "เล่าขานตำนานบ้านโป่ง" ใน http://www.pantown.com ซึ่ง Post โดย ชาวบ้านโป่งรุ่นพ่อ เมื่อ 26 ต.ค. 47 เรื่องหลวงสิทธิเทพการ เลยคัดลอกนำมาเขียนเพิ่มเติม ดังนี้

เมื่อเอ่ยถึงชื่อ " นายกิมเลี้ยง วังตาล " หลายคนอาจไม่รู้จักหรือทำท่างงๆ แต่ก็พอจะคุ้นเคยกับนามสกุลวังตาล ตระกูลคหบดีเก่าแก่ในบ้านโป่ง

แต่ถ้าเอ่ยถึงชื่อ " หลวงสิทธิเทพการ " คนบ้านโป่งรุ่นเก่าๆ ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปหลายคน ต้องรู้จักชื่อนี้เป็นอย่างดี "หลวงสิทธิเทพการ" คหบดีที่มีชื่อเสียงของชาวบ้านโป่ง ท่านเกิดที่ตำบลดอนกระเบื้อง พอโตขึ้นเป็นวัยหนุ่มด้วยที่เป็นลูกคนจีน ชอบค้าขายได้มาปักหลักทำการค้าที่บ้านบางตาล ก่อร่างสร้างตัวจนมีฐานะดี ก็ขยายกิจการมาที่ตลาดบ้านโป่ง โดยทำกิจการโรงเลื่อย โรงน้ำแข็ง (ตั้งอยู่ใกล้ๆกับโรงเรียนดุสิตวิทยา) ปัจจุบันได้เลิกกิจการไปหมดแล้ว

บ้านสังคหะวังตาล
เมื่อมีฐานะร่ำรวยจึงถือครองกรรมสิทธิที่ดินมากมายในจังหวัดราชบุรี และจังหวัดใกล้เคียง โดยเฉพาะที่อำเภอบ้านโป่ง ต่อมาท่านก็ได้ย้ายมาอาศัยที่บ้านโป่ง ประมาณปี พ.ศ.2470 โดยปลูกคฤหาสน์ " บ้านสังคหะวังตาล " หลังใหญ่ริมทางรถไฟ

สมัยก่อนนั้นจะมีช้างลากซุง มีคลองเชื่อมต่อกับแม่น้ำแม่กลอง ผ่านข้างบ้านหลวงสิทธิฯ หน้าบ้านจะมีสะพานเล็กๆเรียกว่าสะพานหลวงสิทธิฯ ซึ่งได้ขยายให้กว้างขึ้น ปัจจุบันสะพานนี้ก็ยังอยู่หน้าบ้านหลวงสิทธิ

ช่วงฤดูน้ำขึ้น น้ำจะไหลหลากเอ่อล้นเข้ามาในคลอง ไหลออกไปตามคลองข้างทางรถไฟ ผ่านหน้าวัดนักบุญยอแซฟ โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย ไปจนถึงคลองบางตาล ส่วนอีกทางก็ไหลไปออกทุ่งนาซึ่งอยู่ด้านหลังบ้านหลวงสิทธิฯ สภาพทุ่งนาในบ้านโป่งปัจจุบันหาดูได้ยาก ถ้ามีก็อยู่ไกลตัวเมืองออกไป ช่วงเวลาน้ำมามาก ชาวบ้านซึ่งอยู่บริเวณนั้นจะนำยอมาดักจับปลากัน

ส่วนสะพานหลวงสิทธิฯจะมีลูกเล็กเด็กแดง กระโจนน้ำเล่นเป็นที่สนุกสนาน เราไม่มีโอกาสได้เห็นภาพที่น่ารักแบบนี้อีกแล้ว ปัจจุบันคลองข้างทางรถไฟผ่านวัดนักบุญยอแซฟ โรงเรียนสารสิทธิ์ โดนถมหมดแล้ว ไม่เหลือความเป็นคลองให้เห็น

"บ้านสังคหะวังตาล" หรือ "บ้านหลวงสิทธิ์" เป็นอาคารเก่าแก่ที่สวยงาม สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 จนเป็นที่หมายตาของบรรดาผู้สร้างละคร และภาพยนตร์ และได้ยกกองถ่ายมาถ่ายทำหลายเรื่อง ที่ดังมากที่สุดคือเรื่อง "ลอดลายมังกร" จากนั้นก็มีเรื่อง "คู่กรรม" และล่าสุดเรื่อง "สี่แผ่นดิน"

ขบวนแห่ศพของคุณสุกานดา วังตาล
ผ่านถนนทรงพล กลางเมืองบ้านโป่ง
เมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว
เจ้าของภาพ : มนัส-วรนุช พงษ์วัฒนา
"นายกิมเลี้ยง วังตาล" หรือ "หลวงสิทธิเทพการ" ท่านได้บรรดาศักดิ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเสด็จซ้อมรบในกิจการเสือป่าที่ค่ายหลวงบ้านโป่งหลายครั้ง จำเป็นต้องสร้างค่ายซ้อมรบ และต้องอาศัยผู้คนจำนวนมากในการสร้างค่ายซ้อมรบให้ทันเวลาที่กำหนด หลวงสิทธิฯ ท่านสามารถเกณฑ์คนงานสร้างค่ายได้ทันกำหนดเวลา จึงได้รับความดีความชอบ โปรดเกล้าฯพระราชทานบรรดาศักดิ์พร้อมกระบี่ เป็น "หลวงสิทธิเทพการ"

หลวงสิทธิฯมีบุตรและธิดาหลายคน บุตรชายของท่านคนหนึ่งชื่อ คุณวินิจ วังตาล เป็น ส.ส.จังหวัดราชบุรี คนแรกที่เป็นชาวบ้านโป่ง เมื่อหลวงสิทธิฯเสียชีวิตลง ได้จัดงานตั้งศพไว้ที่บ้านมีผู้คนมาร่วมงานสวดศพมากมาย ทำพิธีแบบคาทอลิก เนื่องจากท่านเป็นคริสตังโดยกำเนิด

วันที่เคลื่อนศพไปบรรจุยังสุสานวัดดอนกระเบื้อง ผู้คนจากทั่วสารทิศไปร่วมงานมาก จนรถหัวขบวนอยู่ที่วัดดอนกระเบื้องแล้ว ท้ายขบวนยังอยู่ที่ตลาดบ้านโป่งอยู่เลย เมื่อเสร็จพิธีแล้วมีการจัดเลี้ยงโต๊ะจีน สำหรับผู้ที่มาร่วมพิธีหลายร้อยโต๊ะ ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจะเป็นงานศพเจ้าแรกหรือเปล่าในขณะนั้นที่มีการเลี้ยงโต๊ะจีนเป็นจำนวนมากเช่นนี้ คือเมื่อ 40 กว่าปีมาแล้ว คงเหลือแต่ความทรงจำสำหรับผู้ที่ไปร่วมงานในวันนั้นและนำมาเล่าสู่ให้ลูกหลานได้ฟังกัน

ผมได้ดำเนินการค้นหาเรื่องราวเกี่ยวกับหลวงสิทธิเทพการ ต่อ ก็ไปพบในกระทู้ของ http://www.nurnia.com/ ซึ่ง Post โดยคุณที่ใช้ชื่อว่า noi เมื่อ 21 ก.พ.2551 เกี่ยวกับ คุโณปการของหลวงสิทธิเทพการ (กิมเลี้ยง วังตาล) ไว้ตอนหนึ่งเกี่ยวกับ การมอบที่ดินสร้างโรงเรียนอนุบาลลูกแกประชาชนูทิศ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ศาลาพักผ่อนชั่วนิรันดร
ของหลวงสิทธิเทพการ
ณ สุสานวัดนักบุญคามีแอล
ต.ดอนกระเบื้อง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
"โรงเรียนอนุบาลลูกแกประชาชนูทิศ ตั้งอยู่เลขที่ 47 หมู่ 7 เขตเทศบาลตำบลลูกแก ต.ดอนขมิ้น อ.ท่ามะกา จ.กาญจนบุรี ก่อตั้งเมื่อ 1 กรกฏาคม พ.ศ.2466 เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 โดยอาศัยศาลาวัดเป็นที่เรียน และได้ตั้งชื่อว่า “โรงเรียนวัดลูกแก”
ต่อมามีนักเรียนเพิ่มมากขึ้น นายกิมเลี้ยง วังตาล ได้ยกที่ดิน 2 ไร่ 30 ตารางวา อยู่ในหมู่ 7 ต.ดอนขมิ้น (ปัจจุบันคือ บริเวณที่ตั้งเทศบาลตำบลลูกแก) ให้สร้างอาคารเรียนเป็นเอกเทศ จึงได้ย้ายจากศาลาวัด เมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2475 และเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนประชาชนูทิศ ต่อมาทางการได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนประชาบาลตำบลดอนขมิ้น(ลูกแกประชาชนูทิศ) และเปลี่ยนอีกครั้งเป็น โรงเรียนบ้านดอนขมิ้น แต่ประชาชนทั่วไปนิยมเรียก “โรงเรียนไทย” เนื่องจากขณะนั้นมีโรงเรียนจีนอีกแห่งชื่อ "ฮั้วมิน"

ต่อมานักเรียนเพิ่มจำนวนมากขึ้น อาคารเรียนเพียงหลังเดียวไม่พอเรียน คณะกรรมการศึกษาและครูใหญ่จึงได้ติดต่อขอความเมตตาจากท่านเจ้าอาวาสท่านพระครูจริยภิรัต(โป๊ะ) ขอที่ดินของวัดลูกแกสร้างอาคารเรียน ซึ่งท่านเจ้าอาวาสเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาที่จะส่งผลถึงศาสนาในอนาคต จึงอนุญาตให้สร้างในที่ของวัดได้

ทางโรงเรียนได้ปลูกอาคารแบบ 004 ขนาด 10 ห้องเรียน และเปิดใช้ทำการสอนเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2510 แต่นักเรียนอีกส่วนหนึ่งยังคงเรียนที่อาคารหลังเดิม และได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น “โรงเรียนวัดลูกแก(ลูกแกประชาชนูทิศ)” ในการเปิดทำการสอนโรงเรียนได้รับความไว้วางใจจากผู้ปกครองมากขึ้น ทำให้จำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นทุกปี โรงเรียนจึงขยายชั้นเรียน และเปิดทำการสอนในระดับชั้น อนุบาลถึงประถมศึกษาตอนปลาย และในปี พ.ศ.2534 ทางสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาได้อนุมัติให้เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาเปิดทำการสอนในระดับ มัธยมศึกษาปีที่ 1 – 3 จำนวน 41 ห้องเรียน มี นักเรียน ทั้งหมด 1,375 คน คณะครู 60 คน"

ผมคิดว่าสักวันหนึ่ง ผมคงจะต้องไปสืบค้นหาประวัติของท่านโดยละเอียดอีกครั้ง ที่ "บ้านสังคหะวังตาล" ไม่รู้ว่าบรรดาลูกหลานของท่านจะอนุญาตหรือไม่...แต่ก็ต้องลองดู...

ที่มา เล่าขานตำนานราชบุรี http://rb-vip.blogspot.com/2010/08/blog-post.html
รูปภาพของ ฉินเทียน

คฤหาสถ์ นี้ มีในละคร มงกุฏดอกส้ม

ใครอยากไปสัมผัส บรรยากาศ  ห้วยกระบอก  ครั้งนี้น่ามา นะครับ

รูปภาพของ วี่ฟัด

อุ่นเครื่องห้วยกระบอก - ร้านจันทร์เจริญ

( ร้านนี้จะเป็นหนึ่งในร้านอาหารฮากกาห้วยกระบอกที่จะให้พวกเราได้ชิมกันในวันงาน 14 กรกฎาคม 2555 แล้วเจอกันที่ห้วยกระบอก ขอบอกว่าพลาดไม่ได้เลยครับ...ตัวเอง )

[อ.บ้านโป่ง] ร้านจันทร์เจริญ ห้วยกระบอก

ขาหมูเจ้าอร่อยแห่งย่านห้วยกระบอก บอกชื่อห้วยกระบอกหลายคนคงอาจไม่คุ้น ตลาดห้วยกระบอกตั้งอยู่ที่ ตำบลกรับใหญ่ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เป็นที่ตั้งของร้านจันทร์เจริญที่เปิดขายมานานกว่า 50 ปีแล้ว โดยสูตรขาหมูที่นี่เป็นสูตรจีนแคะ คือจะไม่เน้นเครื่องพะโล้ แต่จะใช้เครื่องยาจีนที่ดีมีคุณภาพโดยคุณไพศาล เจนตระกูลโรจน์ ต้องไปเลือกซื้อเองถึงเยาวราช เพื่อให้ได้ยาจีนที่ดีที่สุดมาใช้ปรุงรส นอกจากขาหมูรสเด็ดที่ละลายในปาก ยังมีเมนูเด็ดอีกคือ กระเพาะหมู ไม่ว่าจะเป็นกระเพาะหมูตุ๋นยาจีน หรือกระเพาะหมูผัดเกี๋ยมไฉ่ก็อร่อยไม่แพ้กัน อีกเมนูแนะนำคือ ทอดมันหมู ที่เนื้อทอดมันเหนียว เด้ง และสุดท้ายกับลูกชิ้นหมูทำเองที่ยังปั้นด้วยมือ มีลูกค้าติดใจตามมาทานกันจนแฟนประจำเนิ่นนาน

การเดินทาง: จาก อ.บ้านโป่ง มุ่งหน้าไป กาญจนบุรี ถึงสามแยกลูกแกเลี้ยวขวา ตามป้ายห้วยกระบอก อีก 12 กม. สังเกตธนาคารกรุงศรีอยุธยา ร้านจันทร์เจริญจะอยู่ติดกับธนาคาร

โทรศัพท์: 032-291033 เปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 07.00 – 15.00 น.

โทรสั่งล่วงหน้า สำหรับขาหมูและกระเพาะหมู หมดเร็วมาก

ที่มา http://www.goratchaburi.com/index.asp?contentID=10000004&title=%5B%CD.%BA%E9%D2%B9%E2%BB%E8%A7%5D+%C3%E9%D2%B9%A8%D1%B9%B7%C3%EC%E0%A8%C3%D4%AD&getarticle=560&keyword=&catid=3

รูปภาพของ วี่ฟัด

อุ่นเครื่องห้วยกระบอก - หลวงสิทธิเทพการ ( เพิ่มเติม )

       ภาพทั้งหมดทั้งมวลนี้คือ " พิพิธภัฑณ์หลวงสิทธิ์เทพประการ ที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี " ซึ่งป้าจี้ได้นำมาฝากเพิ่มเติมไว้ในเฟชบุ๊คของไหง่ ไหง่จึงของนำมาเพิ่มเติมไว้ ยังไงป้าจี้ไม่พลาดแน่ใช่มั้ยครับในวันที่ 14 กรกฎาคมนี้

 

รูปภาพของ ป้าจี้

ห้วยกระบอก/บ้านตราไก่

      พิพิธภัณฑ์หลวงสิทธิเทพประการนี้ก็คือบ้านตราไก่(มีรูปไก่อยู่บนยอดตีก) ถ้าใครเป็นแฟนละครย้อนยุคของช่อง3 ก็จะคุ้นกับฉากเหล่านี้มาก 

       เฝ้าติดตามงานวิจัยของห้วยกระบอกแบบริงค์ไซด์เชียวแหละ เพราะนี่คือเจตนารมณ์แต่แรกที่อยากไปเรียนรู้ และยิ่งคุณวีฟัดนำภาพฮากกาช้อยมาเสนอแนะซะขนาดนั้น บอกได้เลยว่าไม่ไป  ไม่ได้แล้ว5555 (แต่ขอนัดแนะกับน้องชายไหง่ก่อนนะว่าว่างพาไปอ่ะเปล่า  เพราะไหง่ไม่รู้จักเส้นทางเลย)

รูปภาพของ มะไฟ

บ้านหลวงสิทธิ

บ้านหลวงสิทธิฯที่เห็นเป็นบ้านยุคหลัง เป็นยุคที่สร้างแบบทันสมัยแล้ว ยุคแรก ๆก็อยู่ห้วยกระบอกนี่แหละ ตรงบริเวณที่เป็นโรงหีบอ้อยแห่งแรกของเมืองไทย บ้านนี้เป็นบ้านไม้ คล้าย ๆ อาคารพิพิธฑภัณฑ์นี่แหละ หน้าบ้านมีสระว่ายน้ำ มีหัวจักรรถไฟ รางรถไฟ(ในอดีตมีรถไฟจากบ้านโป่งมาถึงห้วยกระบอก เพื่อบรรทุกน้ำเชื่อม นำ้ตาลแดง) ปัจจุบันก็ยังอยู่น่าเสียดายที่ทายาทปัจจุบัน เป็นอดีตนายตำรวจ ไม่อนุญาตให้ใครเข้าไปถ่ายรูปหรือเยี่ยมเยียน ตอนเด็ก ๆ ไหงเคยเข้าไปวิ่งเล่นประจำ สมัยนั้นเสี่ยวิวัฒน์ วังตาล ลูกชายคนที่ ๒ ของหลวงสิทธิเทพการ ครอบครองอยู่ ปัจจุบันก็ตกอยู่กับทายาทของเสี่ยวิวัฒน์

รูปภาพของ วี่ฟัด

อุ่นเครื่องห้วยกระบอก - ไฟใหม้บ้านโป่งครั้งประวัติศาสตร์ ปี 2497

  

       เมื่อปี 2497 ได้เกิดเพลิงใหม้ตลาดบ้านโป่งชนิดว่าใหม้เกือบทั้งตลาด ถ้าใครเป็นคนราชบุรี ต้องเคยได้ยินเรื่องราวของไฟใหม้บ้านโป่งครั้งนี้มาเป็นอย่างดี ไหง่เองก็เคยได้ยินอาเม้ของไหง่เล่าให้ฟังตั้งแต่เล็กๆเนื่องจากอาหยีกิมเลี้ยง( น้องสาวอาเม้ไหง่ ) ก็ตกเป็นผู้ประสบภัยถูกไฟใหม้บ้านในครั้งนั้นด้วย

         ไหง่ยังไม่เคยรู้เรื่องราวแบบละเอียดๆอย่างนี้มาก่อนเลย รู้เพียงแต่ว่าไฟใหม้บ้านโป่งขนานใหญ่ และในหลวงได้เสด็จเยี่ยมผู้ประสบภัยด้วย พอเห็นข้อมูลนี้เป็นข้อมูลเก่าแก่ที่ดีมากจึงอดที่จะนำมาฝากไม่ได้

          ช่วงสงครามมหาเอเซียบูรพา คนฮากกาถูกขับออกจากจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งถือเป็นการกระจายตัวของคนฮากกาไปยังภาคเหนือและภาคอีสานที่มีนัยสำคัญ และไหง่คิดว่าไฟใหม้บ้านโป่งปี 2497 นี้ก็เป็นสาเหตุที่คนฮากกากระจายตัวไปยังภูมิลำเนาอื่นๆเช่นกรุงเทพ เช่นกัน

 

"รถดับเพลิงจากกรุงเทพฯ รุดระงับเหตุตลาดบ้านโป่งทั้งตลาดวอด" (หนังสือพิมพ์ยวันพิมพ์ไทย : 10 กันยายน 2497)

"โศกนาฎกรรมใหญ่ยิ่งรอบสัปดานี้ ได้แก่พระเพลิงผลาญตลาดบ้านโป่งราพพณาสูร ประมาณค่าเสียหายกว่า 100 ล้านบาท" (หนังสือพิมพ์รายวันสารเสรี : 11 กันยายน 2497)

"เสด็จประพาสต้นเยี่ยมราษฎรที่ประสพเพลิงไหม้อำเภอบ้านโป่ง" (หนังสือพิมพ์รายวันศรีกรุง : 15 กันยายน 2497)

ไฟไหม้บ้านโป่งเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2497 นับเป็นไฟไหม้ใหญ่ครั้งที่ 2 หลังจากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้มาเมื่อ 19 ปีก่อน หนังสือพิมพ์พาดหัวเป็นข่าวใหญ่เกือบทุกฉบับ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จทรงเยียมให้กำลังใจราษฎร จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ต้องรุดมาบัญชาการยังที่เกิดเหตุด้วยตนเอง เหตุการณ์ครั้งนั้น นับเป็นตำนานความวิปโยคของคนบ้านโป่งที่เล่าขานกันไม่จบสิ้น

คุณยายบ้วย แซ่โง้ว ปัจจุบันอายุกว่า 70 ปี หนึ่งในผู้สูญเสียทรัพย์สินไปกับกองเพลิง ได้เล่าเหตุการย้อนหลังเมื่อ 40 ปีมาแล้วได้อย่างละเอียด ประหนึ่งว่า เรื่องราวเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้

"รถดับเพลิงทั้งจากกรุงเทพฯ และนครปฐม ต้องเรียกมาช่วยกัน ไหม้ตั้งแต่บ่ายสองโมงครึ่งถึงห้าโมงเย็น 12 ซอย สี่ถนน เริ่มตั้งแต่ปากซอย 6 ซึ่งเวลานี้เป็นร้านเฟอร์นิเจอร์ ไหม้ทั้งตลาดล่างและตลาดบน วอดวายทั้งเมือง บ้านต้นเพลิงเป็นร้านขายของโชวห่วยทั้งปลีกและส่ง มีนม เนย ไม้ขีดไฟ ฯลฯ ส่งไปขายเหมืองปิล็อกที่เมืองกาญจน์แล้วขาดทุน หรืออย่างไรไม่ทราบ ก็เลยวางเพลิง เขาลือกันว่าวางเพลิงครั้งหนึ่งแล้วในตอนกลางคืนก่อนวันเกิดเหตุ แต่มีคนเห็นก่อนจึงดับทัน ฉันนั้นไม่รู้ว่าเป็นอุบัติเหตุหรือวางเพลิงกันแน่"

"คุณเอ๋ย หนีกันจ้าละหวั่นสุดชีวิต ขวัญหนีดีฝ่อ ฉันกำลังลูกอ่อน อายุขวบเดียว ลูกอีกสี่คนไปโรงเรียนหมด ใจก็เป็นห่วงลูก ครูเขาก็ไม่ยอมให้ออกมา...ต่างคนต่างเอาตัวรอด ญาติพี่น้องที่อยู่ในกรุงเทพฯ รู้ข่าวรีบรุดมาบ้านโป่งช่วยกันขนของ คล้อยหลังมาแป๊บเดียว หันไปอีกที ไฟไหม้บ้านเมื่อไหร่ไม่รู้ ทั้งที่บ้านเราก็อยู่กันคนละฝั่งกับบ้านที่ไฟไหม้ คิดดูว่าเร็วขนาดไหน ลมแรงพัดสังกะสีมุงหลังคาบ้านหมุนติ้วขึ้นกลางอากาศ ฉันคว้ากระสอบได้ จับเสื้อผ้ายัดใส่...จะใส่กระเป๋าหรือถุงก็กลัวไม่จุ กลัวจะไม่มีเสื้อผ้าให้ลูกใส่ ตอนนั้นฐานะไม่ค่อยดี ขณะที่เราขนของวิ่งไปกองริมแม่น้ำแม่กลอง ขโมยมันฉวยโอกาสขนลงเรือพายหนีไป โอ้ เวรกรรมของฉัน"

"มีอาแป๊ะคนหนึ่ง บ้านแกขายผ้าห่มผ้าขนหนู เสื้อผ้าดีๆ ทั้งนั้น เป็นร้านใหญ่สองห้องอยู่ติดกับบ้านต้นเพลิง แกเป็นประธานโรงเจ มีหน้าที่เก็บเงินทองรายได้ของโรงเจไว้เป็นจำนวนมาก ก็ไปกับไฟหมด แกไม่ยอมหนีออกมา ยอมให้ไฟคลอกตาย แกว่าหมดแล้ว..ไม่มีอะไรเหลือแล้ว อยู่ไปก็ไม่มีประโยชน์ ตอนหลังเพื่อนบ้านต้องไปอุ้มออกมา"

"ในหลวงกับพระราชินี ท่านเสด็จกลับจากหัวหินด้วยรถไฟ ท่านรู้ข่าวก็เสด็จลงเยี่ยมประชาชน ต่อมาอีกไม่กี่วัน ท่านก็มาแจกของ จำได้ว่าวันนั้นค่ำแล้ว ชาวจีนไหหลำอยู่ท่าเรือเมล์ เข้าไปกอดขาท่าน ร้องไห้พร่ำพรรณนาว่าไม่มีที่พึ่งแล้ว ในหลวงพระราชทานเงิน เขาว่าให้เป็นพัน ตอนนั้นมูลนิธิต่างๆ ก็เอาเงินเอาของมาบริจาค เพื่อนบ้านแถบที่เขาไม่โดนไฟไหม้ก็หุงข้าวปลามาให้กิน แต่มันกินไม่ลงหรอก เพราะใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว คิดอย่างเดียวว่าเราจะไปอยู่ที่ไหนดี ที่เราเคยอยู่ก็เช่าเขาอยู่ เจ้าของเดิมเขาก็ดี อุตส่าห์เอาสังกะสีมาทำเพิงให้อยู่ชั่วคราวไปก่อน ต่างคนต่างสร้างไม่กี่วันก็เสร็จ ไอ้ซากตอเสาไหม้ไฟก็ยังไม่ดับดี...ยังไหม้อยู่อย่างนั้น หลายวันกว่าจะดับสนิท บ้านที่ขายข้าวสาร ไฟยังไหม้ข้าวสารอยู่เลย ข้าวสารนี่ดับยากนะ เป็นสิบวันกว่าจะมอดดับหมด บางคนก็เข้าไปรื้อข้าวของเงินทอง หวังว่าจะหลงเหลืออยู่ในกองเพลิงบ้าง ความเป็นอยู่แย่ ข้าวของก็ขายไม่ดี จะซื้อของหวานของเค็ม ก็ไม่มีแหล่งจะให้ซื้อ เพราะไฟไหม้หมด..กว่าจะฟื้นตัวได้เป็นปี ไหม้หมดทุกที่ เหลือแค่ตรงสถานีรถไฟเท่านั้น"

"ที่เราดูหนังเห็นคนตื่นไฟแบกโอ่งแบกตู้หนี เหมือนกับในหนังยังไงยังงั้น บางคนแบกโอ่งออกมา โถนึกย้อนกลับไป ขำก็ขำ สมเพชก็สมเพช ที่บ้านยังมีโอ่งเหลือจากเหตุการณ์ครั้งนั้น ไฟไหม้บูดเบี้ยวเก็บไว้เป็นที่ระลึก"

เหตุการณ์ไฟไหม้บ้านโป่งครั้งใหญ่คราวนั้น จากการรายงานข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ ระบุว่าเกิดจากการลอบวางเพลิง โดยเกิดขึ้นที่ห้องชั้นบนของบริษัทฮั่วเส็ง ติดต่อกับร้านเต๊กเซ้ง เพลิงได้เผาพลาญตัวเมืองบ้านโป่งกว่า 150,000 ตารางเมตร ส่วนมากเป็นที่ดินแลละบ้านเรือนของหลวงสิทธิเทพการ ซึ่งเป็นเจ้าของตลาดบน และนางทองคำ วงศาโรจน์ ซึ่งเป็นเจ้าของตลาดล่าง ต่างก็เป็นตระกูลเก่าและเศรษฐีที่ดินแห่งบ้านโป่ง เหตุการณ์คราวนั้นมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยสองราย สูญหายห้าคน และสูยเสียทรัพย์สินมูลค่ากว่า 100 ล้านบาท นับเป็นจำนวนเงินมหาศาล เมื่อเทียบกับข้าครองชีพย้อนหลังไปเมื่อกว่า 40 ปีก่อน

จากเมืองที่มีแต่อาคารบ้านเรือน ทำด้วยไม้หลังคามุงกระเบื้อง ทั้งชั้นเดียวและสองชั้น บางบ้านตัวบ้านเป็นไม้ไผ่ขัดแตะหลังคาจาก บ้านตึกยังไม่ค่อยมีให้เห็น ปัจจุบันกลับกลายเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยอาคารพาณิชย์ ยุค จอมพล ป.พิบูลสงคราม คือเป็นตึกสองชั้น ไม่เน้นการประดับตกแต่งด้วยปูนปั้นอยางที่เคยเป็นมา จะมีก็แต่เพียงเส้นแนวตั้งและแนวนอนตามขอบหน้าต่างและกัสาดของอาคาร นับเป็นอาคารสมัยใหม่ในยุคนั้น

คนบ้านโป่งบางคนกล่าวว่า เมืองบ้านโป่งก่อนไฟไหม้มีตอกซอกซอยแยกย่อยคดเคี้ยว แต่พอหลังเหตุการณ์ มีซอยมีถนนตัดแบ่งแยกอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยมากระทั่งทุกวันนี้ ด้วยมีเจ้าของที่ดินรายใหญ่เพียงสองคนเท่านั้น การปรับเปลี่ยนผังเมืองใหม่สมัยนายกเทศมนตรีกิจ ทรัพย์เย็น จึงเป็นเรื่องที่กระทำได้โดยสะดวก

ไฟไหม้ครั้งใหญ่คราวนั้น จึงนำทั้งความสูญเสียและการเปลี่ยนแปลงมาสู่บ้านโป่ง


ที่มา-ราชบุรีศึกษา

 http://rb-history.blogspot.com/2010/05/blog-post.html

รูปภาพของ วี่ฟัด

อุ่นเครื่องห้วยกระบอก - ในหลวงเสด็จเยี่ยมชาวบ้านโป่งผู้ประสบภัย

เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2497 ได้เกิดอัคคีภัยครั้งใหญ่ขึ้นที่ตลาดบ้านโป่ง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ไฟได้ลุกลามเผาไหม้อาคารบ้านเรือนของราษฎรอย่างรวดเร็วเป็นเวลาหลายชั่วโมง อาคารบ้านเรือนถูกไฟไหม้เสียหายเกือบทั้งตลาด ราษฎรจำนวนหลายร้อยหลังคาเรือนไม่มีที่อยู่อาศัย เกิดความเดือดร้อนอย่างมหันต์แก่ผู้ประสบภัยครั้งนี้
ความได้ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนรถยนต์พระที่นั่งเพื่อทอดพระเนตรสถานที่ และทรงเยี่ยมราษฎร เมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2497 ณ ที่ว่าการอำเภอบ้านโป่ง โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี (นายแม้น  อรจันทร์) และผู้ว่าราชการภาค (พระราชญาติรักษา) ในสมัยนั้น ได้เข้าเฝ้าและกราบบังคมทูลถวายรายงานเหตุการณ์ และการให้ความช่วยเหลือราษฎร 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้มีพระราชทานกระแสรับสั่งให้ผูว่าราชการจังหวัดราชบุรี และผู้ว่าราชการภาคให้ความช่วยเหลือแก่ราษฎร เป็นกรณีพิเศษอย่างใกล้ชิด พร้อมได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสิ่งของเครื่องนุ่งห่มแก่ผู้ประสบอัคคีภัย ยังความปลาบปลื้มปิติในพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น   
  
ภาพการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมผู้ประสบอัคคีภัยที่ตลาดบ้านโป่งของห้องภาพศรีเงิน เป็นภาพประทับจิตใจชาวบ้านโป่งมากว่า 50 ปี
วันที่ 13 กันยายน พ.ศ.2497 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสถานที่และทรงเยี่ยมราษฎรที่ประสบอัคคีภัยครั้งใหญ่ที่ตลาดบ้านโป่ง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ประทับบนที่ว่าการอำเภอบ้านโป่ง มีผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี (นายแม้น  อรจันทร์) และผู้ว่าราชการภาค (พระราชญาติรักษา) ในสมัยนั้น ได้เข้าเฝ้าและกราบบังคมทูลถวายรายงานเหตุการณ์และการให้ความช่วยเหลือราษฎร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ประทับบริเวณระเบียงที่ว่าการอำเภอบ้านโป่ง ให้ราษฎรที่มาเข้าเฝ้าฯ รับเสด็จฯ ชื่นชมพระบารมี
ประชาชนมาเฝ้าฯ รับเสด็จฯ อย่างล้นหลาม บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอบ้านโป่ง
ขบวนเสด็จพระราชดำเนินผ่านตลาดบ้านโป่งบริเวณที่ถูกเพลิงเผาพลาญ
ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุเพลิงไหม้ รับแจกอาหาร และของใช้ที่จำเป็น เช่น เสื้อผ้า ผ้าห่ม มุ้ง ผ้าขาวม้า เป็นต้น
รูปภาพของ วี่ฟัด

อุ่นเครื่องห้วยกระบอก - ประว้ติโดยสังเขปของเลโอหลวงสิทธิเทพการ

 ประวัติโดยสังเขปของเลโอหลวงสิทธิ์เทพการ

            เลโอ หลวงสิทธิ์เทพการ มีนามเดิมว่า กิมเลี้ยง  วังตาล เกิดเมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2428 ณ ตำบลดอนกระเบื้อง  อำเภอบ้านโป่ง  จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรของนายจุ้ย และนางเพชร นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก ขณะอยู่ที่ดอนกระเบื้องได้ประกอบอาชีพทางการเกษตร และซื้อข้าวเปลือกถั่ว, งา จากชาวบ้านในละแวกนั้น แล้วนำไปขายอีกต่อหนึ่ง ด้วยความมานะอุตสาหะทำให้ท่าน   มีฐานะดีขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งอายุ 26 ปี ได้สมรสกับ โรซา กุหลาบ  แซ่เล้า ซึ่งอยู่หมู่บ้านวังตะกู อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม เป็นธิดาของนายนาค และนางเซี๊ยะริ้ว  แซ่เล้า หลังจากสมรสแล้ว    ก็ยังประกอบอาชีพเดิมอยู่ที่ดอนกระเบื้อง
ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ที่บางตาล และยังยึดอาชีพเดิม คือ ซื้อขายข้าวเปลือก, ถั่ว, งา จาก   ชาวบ้านในหมู่บ้านแถบนั้น และยังได้ช่วยเหลือชาวบ้าน โดยให้เช่าโค กระบือ เอาไปไถนาบ้าง    ให้กู้ยืมเงินบ้าง ได้ทำความเจริญให้แก่ชาวบางตาลเป็นอันมาก นอกจากนั้นยังยกที่ดินให้แก่ วัดบางตาล  ประมาณ 500 ไร่ ทั้งยังได้ช่วยเหลือในการสร้างวัด หอระฆัง โรงเรียน โรงครัว ฯลฯ

ในปี พ.ศ.2468 ได้สร้างค่ายลูกเสือที่บ้านโป่ง (ค่ายหลวง)  จึงได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้งให้เป็นเสวกโท หลวงสิทธิ์เทพการ

ต่อมาในปี พ.ศ.2477 ได้ย้ายที่อยู่ และได้สร้างคฤหาสน์สังคหะที่บ้านโป่ง เป็นตึก 5 ชั้น   ได้ทำกิจการมากมาย สร้างตลาดและที่ทำงานเป็นที่เก็บค่าเช่าที่ดิน ค่าเช่าห้องแถว  และเป็นสำนักงานซื้อขายที่ดิน ได้ขยายกิจการ สร้างโรงน้ำแข็ง โรงเลื่อย และโรงงานอีกหลายแห่ง

ในปี พ.ศ.2480 ท่านได้บุกเบิกที่ดินที่ห้วยกระบอก ซึ่งเป็นเขตติดต่อกับ 3 จังหวัด คือ กาญจนบุรี ราชบุรี และนครปฐม ในสมัยนั้น ที่ดินราคาไร่ละประมาณ 25 สตางค์เท่านั้น ที่ดิน     ในบริเวณนี้เป็นป่าทั้งสิ้น มีสัตว์ป่านานาชนิด ท่านได้เดินทางมาสำรวจหลายครั้ง เห็นว่าเป็นที่ดินดี จึงซื้อเอาไว้หลายร้อยไร่ ต่อมาได้เช่าที่ดินของชาวบ้านและซื้อที่ดินชาวบ้านทำถนนจากลูกแก    เข้ามาสู่ที่ดินของท่านในห้วยกระบอก ลงทุนโดยจ้างชาวบ้านบุกเบิกป่าบ้าง ปลูกพืชต่างๆ บ้าง เช่น ยาสูบ อ้อยแดง และยังให้ที่ดินแก่ชาวบ้านเช่าอีกด้วย ต่อมาได้อุดหนุนให้ชาวบ้านปลูก มันสำปะหลัง แต่ไม่ค่อยได้ผลจึงเลิกรากันไป
ในปี พ.ศ.2486 ท่านได้ช่วยเหลือบรรดาคนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในห้วยกระบอก โดยปลูกที่อยู่อาศัย และได้พยายามติดต่อกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมืองเกี่ยวกับคนต่างด้าวนั้นจนเป็นที่  เรียบร้อย

ในปี พ.ศ.2489 มีโจรผู้ร้ายเข้ามาทำการโจรกรรมในหมู่บ้านห้วยกระบอกชุกชุม  ท่านได้ขออนุญาตต่อทางราชการ ซื้ออาวุธปืนมาป้องกันและปราบปรามจนสงบราบคาบ

ในปี พ.ศ.2496 ได้เกิดอุทกภัยน้ำท่วมตลาดห้วยกระบอก ท่านได้ทำทุกอย่างเพื่อช่วยประชาชนชาวห้วยกระบอก เช่น ให้ที่อยู่บ้าง แจกข้าวสารให้บ้าง เพื่อบรรเทาทุกข์ชาว       ห้วยกระบอก ต่อมาได้มีประชาชนเข้ามาอยู่ในห้วยกระบอกมากขึ้น เพราะเห็นว่าห้วยกระบอก เป็นที่ทำเลดี คุณหลวงสิทธิ์เทพการ ก็ได้นำความเจริญมาสู่ห้วยกระบอกเพิ่มขึ้นด้วยการ สร้างถนนจากห้วยกระบอกไปหนองกร่าง หนองไร่ หนองโพธิ์ และทุ่งลูกนก นอกจากนั้นยังได้สร้างทำนบ  กั้นน้ำที่เขาสะพายแร้งอีกด้วย

สำหรับวัดคาทอลิกห้วยกระบอก ท่านเป็นผู้ริเริ่มและเป็นกำลังสำคัญในการก่อสร้างวัดและโรงเรียน นอกจากนี้ท่านยังได้มอบที่ดิน จำนวน 300 ไร่เศษ ให้เป็นสมบัติของวัด และโรงเรียน และยังได้ให้ที่ดินแก่ทางราชการในการสร้างโรงเรียนเพื่อชาวห้วยกระบอกด้วย เช่น ให้ที่ดินแก่โรงเรียนบ้านห้วยกระบอก (สามัคคีวิทยา)  โรงเรียนบ้านห้วยกระบอก (เจริญราษฎร์สามัคคี)   โรงเรียน บ้านห้วยปลากด และโรงเรียนวัดห้วยผักชี เป็นต้น
ท่านได้ถึงแก่กรรมที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2502 รวมอายุได้  74 ปี ประชาชนมากมายได้ร่วมแสดงความอาลัยรักต่อท่านในวันทำพิธีบรรจุศพ ณ สุสาน วัดคาทอลิก ดอนกระเบื้อง

คุณหลวงสิทธิ์เทพการ เป็นบุคคลที่ทำความเจริญให้แก่ชุมชนห้วยกระบอก จากเดิมเป็นป่าให้กลับกลายมาเป็นเมืองที่น่าอยู่ และมีบุญคุณต่อวัดนักบุญเทเรซา และโรงเรียนเทพวิทยา  ดังกล่าวแล้ว จึงสมควรที่สังฆมณฑลราชบุรี ผู้บริหาร ครู นักเรียน ศิษย์เก่า ผู้ปกครอง ตลอดจน ชุมชนห้วยกระบอก จะได้ระลึกถึงและจดจำบุญคุณของท่านตลอดไปชั่วกาลนาน จึงขอเรียนเชิญทุกท่านร่วมใจกับผู้แทนฝ่ายต่างๆ วางพวงมาลาระลึกถึงบุญคุณของท่าน และร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ ขอพรสำหรับดวงวิญญาณของท่าน และขอพรสำหรับลูกหลานและญาติพี่น้องของท่านที่ยังคอยช่วยเหลือวัดและโรงเรียนแห่งนี้สืบต่อไป

ที่มา http://www.kamsondeedee.com/main/2008-11-13-03-03-29/132-news2010/1323-2010-05-25-02-46-24

รูปภาพของ มะไฟ

ความคืบหน้า

วันนี้ได้ประชุมทีมงานวิจัย ได้ความคืบหน้าพอสมควร ห้วยกระบอกจะมีทีมวิจัยท้องถิ่นเข้าร่วม นำโดยรองนายกเทศมนตรี เทศมนตรี ๖ คน ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ อายุระหว่าง ๒๐-๓๕ ปี มีเยาวชน และสตรี รวมประมาณ ๒๐ กว่าคนจะมาร่วมวิจัยเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมถิ่นของตนเอง ส่วนคณะแขกผู้จะมาเยือนได้คุยกันว่าอยากทราบจำนวนที่แน่นอน เพื่อเตรียมเรื่องอาหาร โดยอาหารจะมาจาก ๒ ร้านคือ แ้ก้วเจริญและจันทร์เจริญ จึงขอให้ผู้ที่จะไปร่วมกิจกรรมแสดงความจำนงด้วยครับ เท่าที่ทราบ ดังนี

       - คณะวิจัย ๘ คน

       - นครสวรรค์  ๑๐ คน

       - ปากช่อง    

       - นครปฐม ๓ คน

       - ราชบุรี        คน

       -  อ.เกศนี(พร้อมแม่)  ๒ คน

       -  ฉินเทียน  

      -   โก๊อาคม

     -   อ.นภดล และคณะ  ๔ ท่าน

     -  ขิ้นสุ่ยโก๊

     - ต้นกล้า

     - สุพัฒน์(ท่ายาง) 

     ฯลฯ  แจ้งความจำนงเพิ่มนะครับ  

รูปภาพของ จ๊องหยิ่นฮยุ๋ง

แจ้งชื่อเพิ่ม

ไหงจะเดินทางไปพร้อมกับ ชิ้นสุ้ยก๊อ ครับ

รูปภาพของ วี่ฟัด

หลวงสิทธิ์ในความรับรู้ของข้าพเจ้า ( ไหง่ ) ตอนที่ 1

เป็นไงครับ อุ่นเครื่องห้วยกระบอกกันมาพักใหญ่ ได้รับรู้เรื่องราวของบ้านโป่ง - ห้วยกระบอกไปมากพอสมควร บางเรื่องไหง่ก็ยังไม่รู้ก็ได้รู้ด้วย เรียกว่าเรียนรู้ไปด้วยกันเลยทีเดียว ที่จริงไหง่อยากจะให้ข้อมูลเพื่อให้ท่านทั้งหลายรู้ถึงบริบทความเป็นไปเป็นมาของพื้นที่ห้วยกระบอก - บ้านโป่ง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในก่ารเดินทางมาบ้านโป่ง - ห้วยกระบอก ในวันที่ 14 กรกฎาคม 2555 นี้

พอมาตอนนี้ไหง่อยากจะเขียนเล่าถึงหลวงสิทธิเทพการในความรับรู้ของข้าพเจ้า ( ไหง่ ) หลายท่านอาจจะสงสัยว่าทำใมไหง่ใช้คำว่า " ความรับรู้ " แทนที่จะใช้คำว่า " ความทรงจำ " ที่ไหง่ใช้คำว่าความรับรู้เพราะเรื่องราวทั้งหมดที่ไหง่จะพูดถึงนั้นล้วนแต่เป็นเรื่องที่ไหง่ได้ฟังจากผู้หลักผู้ใหญ่เล่าให้ไหง่ฟังมาตั้งแต่เด็กๆหรือตั้งแต่จำความได้ทีเดียว ซึ่งคำว่า " ความทรงจำ " น่าจะหมายถึงสิ่งที่เราได้ประสบรับรู้มาด้วยตนเอง ซึ่งไม่ใช่เลยเพราะไหง่ก็เกิดไม่ทันหลวงสิทธิ์เหมือนกัน

ตามที่เราทราบหลวงสิทธิเทพการ ท่าได้รับการแต่งตั้งเนื่องจากการทำความดีความชอบจากรพบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 6 ไหง่ว่าโชคดีนะที่หลวงสิทธิเทพการที่ท่านได้ล่้วงลับไปกว่า 50 ปีแล้ว มิฉะนั้นท่านอาจถูกกล่าวหาว่าเป็น " อำมาตย์ " จากไอ้พวกบ้าทั้งหลายก็ได้ในฐานะที่ท่านเป็นคุณหลวง โชคดีจริงๆพับผ่าซิ

ตามที่เราได้รับรู้รับทราบประวัติชีวิตความเป็นมาของหลวงสิทธิ์ นั้นจะเห็นได้ว่าหลวงสิทธิ์เป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ตัวยงชนิดว่าถ้าหลวงสิทธิอยู่จนถึงปัจจุบันนี้แล้วตระกูลอัศวโภคิน เจ้าของกิจการแลนด์แอนด์เฮ้าส์ คงต้องชิดซ้ายไปอย่างแน่นอน ตัวอย่างการพัฒนาที่ดินห้วยกระบอกเป็นตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจน มีที่ใหนที่ที่ดินเป็นป่าแท้ๆ แต่ตัดถนนจาำลูกแกเข้าไปเองกว่าสิบกิโลเข้าไปในที่ดินของตน ซึ่งหากเป็นสมัยนี้ห้วยกระบอกอาจมีชื่อว่า " ห้วยกระบอกการ์เด้นส์วิว " หรือ " ห้วยกระบอกริเวอร์ไซด์ " หรือ " ห้วยกระบอกลากูล " ก็เป็นไปได้นะครับไหง่ว๊า

หลวงสิทธิ์อาจเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เอกชนสมัยใหม่คนแรกๆของประเทศไทยก็ได้ คือเมื่อเกือบหกสิบเจ็ดสิบปีก่อน เราจะสังเหตุได้ว่านักพัฒนาอสังหาิริมทรัพย์ในสมับโบราณมักจะเป็นคนฮากกาเช่นที่หาดใหญ่ก้มี " ฉีกิมหยง " นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตลาดกิมหยงอันเลื่องชื่อของคนหาดใหญ่ 

การเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของหลวงสิทธิ์เทพการนั้นมิได้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์เฉพาะในอำเภอบ้านโป่งหรือที่ห้วยกระบอกเพียงแห่งเดียว แต่หลวงสิทธิ์ได้ทำการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไปเกือบทุกอำเภอในจังหวัดราชบุรี ข้ามไปยังจังหวัดสมุทรสงคราม  จนกระทั่งในจังหวัดนครปฐม เรียกว่าเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มือทองเลยทีเดียวในสมัยเมื่อ หกสิบเจ็ดสิบปีก่อน

รูปภาพของ มะไฟ

ช่อยก๊อน

ช่อยก๊อนที่โก๊สิทธิพรฝากซื้อจำนวน ๕ กก.ได้แล้วนะครับ มีทั้งแบบเป็นหัวและที่แต่งใบเรียบร้อยแล้ว (ชนิดแต่งใบ คือที่ส่งขาย เพราะคนแต้จิ๋วกทม.เขาชอบแบบนี้ ไม่ชอบใบเยอะเพราะดำ) ปี้นี้ร้านที่ไหงไปสั่้งทำแค่ร้อยกว่าโลเท่านั้น อีกร้านไม่ได้ไปดู ห้วยกระบอกมีทำแค่ ๓ เจ้า ผักปลูกเองทั้งหมด ตอนนี้กำลังตากชุดสุดท้ายอยู่  แต่เท่าที่เห็นมีเท่ากับถังสองร้อยลิตร ๓ ถัง ตากแล้วคงเหลือไม่กี่กิโล ราคา กก.ละ ๒๐๐ บาทเท่านั้น ที่ร้านวุ้นเส้นท่าเรือขายหัวละ(๑ ขีด) ๖๐ บาท ท่านใดสนใจแจ้งล่วงหน้าก่อนวันที่ ๑๐ นะครับ เพราะต้องแบ่งบางส่วนมาทำอาหารวันที่ ๑๔ ครับ

มะไฟ

โก๊มะไฟ บ้านหงีอยู่แถวไหนของนครปฐม เพราะพรุ่งนี้ไหงจะไปทำธุระที่นครปฐม จะได้แวะไปหาจะได้รู้จักหน้าค่าตา เห็นแต่ในเวป และ จะได้แบ่งช่อยก๊อนมาต้มกระดูกหมูกิน

หงีบอกเบอร์โทรมาให้ไหงด้วยจะได้ โทรไปหา

รูปภาพของ มะไฟ

เจ้วติ่นเงี๊ยบ

ไหงอยู่้ลำพยาติดกับโพรงมะเดื่อ นอกเมืองประมาณ7-8กม.ครับถ้าหงีมาโทรมาหาได้ 084-8015571 หรือ 089-6795168

รูปภาพของ มะไฟ

สูตรช่อยก๊อน

เคยเห็นแต่สูตรการต้มช่อยก๊อนทั่วไป แต่มีสูตรการต้มช่อยก๊อนแบบห้วยกระบอกที่ไม่เหมือนที่อื่น ตอนเด็ก ๆ การต้มช่อยก๊อนมีอีกวิธีคือ นำช่อยก๊อนแช่น้ำให้นิ่ม ล้างให้สะอาด แล้วนำหมูสามชั่้นไปผัดกับช่อยก๊อนที่แช่น้ำจนนิ่มและหั่นไม่ให้ยาวนัก ผัดพอสุก เติมซีอิ๊ว ปรุงรสให้เข้าที่ เสร็จนำไปใส่หม้อหุงข้าวที่ที่ใส่ข้าวสารที่ซาวน้ำแล้ว เติมน้ำให้เหมือนหุงข้าวปกติ  หุงจนสุก จะได้ข้าวช่อยก๊อนที่หอมอร่อย โดยตักกินโดยไม่ต้องกินกับกับข้าวอะไรเลย อาจจะมีน้ำซุปแก้ติดคอบสักชามก็พอ วิธีนี้คนห้วยกระบอกใช้กินแทนข้าวใส่ฟั้นสู(มัน)อร่อยอย่าบอกใคร  เราจะได้ข้าวที่เหมือนข้าวมันไก่เลิศรส ใครไม่เคยลองทำดูครับ

รูปภาพของ จองกว๊านหมิ่น

สงสัยเรื่องช่อยก๊อน

คุณมะไฟครับ ช่อยก๊อนเป็นผักอะไร ที่ว่าใส่ลงหม้อข้าวที่เตรียมหุง หมายถึงช่อยก๊อนที่ผัดเสร็จแล้วพร้อมหมูสามชั้น 
เอาไปละเลงผสมในหม้อข้าวแล้วหุงใช่ไหม ตลาดทั่วไปมีขายหรือเปล่า 
เคยไปตัวเมืองราชบุรี มีร้านข้าวมันไก่ดูจะเป็นร้านเก่าแก่ คนอุดหนุนเยอะ ข้าวของกี่ออกสีเหลืองแห้ง กลิ่นหอมและ
อร่อยมาก กินแล้วติดใจ ไม่ทราบใช้สูตรนี้หรือเปล่า กรุณาไขข้อข้องใจสักนิด
รูปภาพของ มะไฟ

ตอบเรื่องช่อยก๊อน

ช่อยก๊อนคือผักประจำเชื้อชาติจีนแคะนี่แหละ วิธีการทำที่ถามถูกต้องแล้วคือผัดให้เสร็จแล้วเอาไปหุงเหมือนหุงข้าวทั่วไป ถ้่้าเป็นข้าวหอมมะลิ เมื่อสุกจะระอุนุ่มหอมเหมือนข้าวมันไก่นี่แหละ แต่ไม่ต้องใช้อะไรผสมอีกแล้ว ตักกินได้เลย ช่อยก๊อนค่อนข้างหากินยาก ที่ทำเป็นลำ่เป็นสันจริง ๆ ก็น่าจะไม่เยอะ ห้วยกระบอกก็เป็นที่หนึ่งที่มีการอนุรักษ์อาหารชนิดนี้ ตลาดทั่วไปไม่มีขายหรอกครับ ที่เยาวราชมี ถุงละขีด ถุงนึง ๕๐-๖๐ บาท แพงครับ ห้วยกระบอกขีดละ ๒๐ บาทเท่านั้น ค่ารถไปถึงกทม.พ่อค้าคนกลางบวก ๓ เท่าเท่านั้นเอง

รูปภาพของ ฉินเทียน

อธิบาย แล้ว น่ารับประทาน ครับ

ช่อยก๊อนคือผักประจำเชื้อชาติจีนแคะนี่แหละ

รูปภาพของ อิชยา

ฝากซื้อช่อยก๊อน

สวัสดีค่ะอาโก๊มะไฟ

ขอฝากซื้อช่อยก๊อนด้วยได้ไหมค่ะ  สักครึ่งโล หรือ 1 โลก็ได้  ตามแต่ของจะมีมากหรือน้อยค่ะ

อาโก๊จะให้ส่งเงินไปทางไหนได้ค่ะ  บอกด้วย  หรือโทร.0815628760  แล้วอาโก๊จะไปกันยังไง  เมื่อไร  จะพ่วงอาเซ่คิ้วไปด้วยได้ไหม  รบกวนอาโก๊ช่วยบอกด้วย  ขอขอบคุณ 

รูปภาพของ วี่ฟัด

หลวงสิทธิในความรับรู้ของข้าพเจ้า ( ไหง่ ) ตอนที่ 2

ไหง่เป็นคนอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี อำเภอนี้เป็นอำเภอเล็กๆ เมื่อสมัยก่อนไม่ค่อยมีอะไรเท่าไร ยิ่งเมื่อสมัยสักห้าหกสิบปีจะเป็นอำเภอที่กันดานแล้งน้ำมาก จนต้องมีการขนน้ำด้วยรถไฟมาแจกกันเลยทีเดียว แต่พอมีถนนสายใหม่คือถนนธนบุรี - ปากท่อ หรือถนนพระราม 2 ทำให้อำเภอปากท่อ เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากยิ่งขึ้น คือถ้าใครจะเดินทางไปทางใต้โดยทางรถยนต์จะต้องผ่านอำเภอปากท่ออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ไม่ว่าจะไปทางถนนพระราม 2 หรือถนนเพชรเกษม เรียกว่าเป็นประตูสู่ภาคใต้ได้เลยทีเดียวเชียว

มีคนชอบถามไหง่อยู่บ่อยๆว่าเอ๊ะทำใมถึงมีชื่ออำเภอว่า " ปากท่อ " แล้วมันเกี่ยวอะไรกับท่อน้ำหรืออย่างไร อ๋อที่จริงคำว่า " ปากท่อ " มันมีตำนานอยู่ คำว่า " ปากท่อ " มันเพี้ยนมาจากคำว่า " ปักถ่อ " ซึ่งหมายถึงการที่นำเรื่อมาจอดที่ชายฝั่งแล้วเอาไม้ยาวๆปักไว้ที่พืนแล้วเอาเรือผูกเอาไว้เพื่อมิให้เรือลอยเท้งเต้งออกไป คือมันมีตำนานอยู่ว่าเมื่อสมัยก่อนหลายร้อยปีมาแล้วชายทะเลมันมาอยู่ตรงบริเวณอำเภอปากท่อนี้ ( ปัจจุบันชายทะเลมันอยู่ห่างออกไปสักยี่สิบกว่ากิโลได้ ) แล้วบริเวณนี้ในสมัยโบราณกาลนั้นมันมีสำเภาจีนมาจอด " ปักถ่อ " กันอยู่มากมาย ( สมัยเจิ้งเหอเปล่าก็ไม่รู้นะ๊ ) 

แต่ในตำนานนั้นมันก็มีความเป็นจริงมีหลักฐานทางธรณีวิทยามากมายที่แสดงว่าบริเวณนี้เคยเป็นชายฝั่งทะเลมาก่อนคือ ถนนสายโบราณที่มีชื่อว่า " ถนนท้าวอู่ทอง " ถนนท้าวอู่ทองนี้เป็นถนนที่ผ่านบริเวณ ตลาดปากท่อ แนวถนนนี้ตลอดทั้งสายถ้าขุดลงไปไม่ต้องลึกมาสักเมตรกว่าๆก็จะพบทรายและเปลือกหอยอยู่มากมาย จนนักธรณีวิทยาเขาสันนิษฐานว่าถนนท้าวอู่ทองนี้คือแนวชายหาดทะเลเก่าแต่ครั้งโบราณกาล  

พอพูดถึง " ถนนท้าวอู่ทอง " ถนนเส้นนี้ก็มีตำนานอีกนั่นแหละ ในทางประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยูธยาตอนต้น พระเจ้าอู่ทอง เป็นใครมาจากใหน ก็ยังเป็นที่สับสนจนเกิดตำนานพระเจ้าอู่ทองขึ้นมากมาย แต่มีอยู่ตำนานหนึ่งกล่าวไว้ว่า พระเจ้าอู่ทองเดิมเป็นกษัตริย์อยู่ที่นครศรีธรรมราช จนเมื่อเมืองเดิมเกิดโรคระบาดจนต้องทิ้งเมืองและเดินทางมาสร้างเมืองใหม่ที่ เมืองอโยธยาเดิมซึ่งก็คือกรุงศรีอยธยามในปัจจุบันนั่นเอง และถนนท้าวอู่ทองนี้คือเส้นทางเดินของพระเจ้าอู่ทองจากนครศรีธรรมราชไปสู่จังหวัดอยุธยา ซึ่งตามความเป็นจริงถนนท้าวอู่ทอง ที่ไหง่กล่าวมาข้างต้นนี้ก็เป็นถนนสายโบราณที่มาจากนครศรีธรรมราช ผ่านสุราษฎ ชุมพร เพชรบุรี มาราชบุรี ผ่านอำเภอปากท่อ อำเภอเมืองราชบุรี อำเภอบางแพ จนไปถึงจังหวัดนครปฐม และตลอดเส้นทางดังกล่าวจะมีศาลท้าวอู่ทองอยู่เป็นระยะตั้งแต่โบราณแล้ว และตลอดแนวถนนท้าวอู่ทองนี้คือชายหาดทะเลโบราณ

ไหง่จึงเป็นคนบ้านน๊อกบ้านนอก และไหง่ไม่เคยคิดว่าไอ้ความเป็นคนบ้านนอกของไหง่เป็นความน้อยเนื้อต่ำใจ เป็นปมด้วย จนเดี๋ยวนี้เวลาไหง่ไปคุยกับใครๆในกรุงเทพ ยังมีคนถารมไหง่บ่อยๆว่าเป็นคนที่ใหน ไหง่ก็บอกว่าเป็นคนราชบุรี ส่วนมากเขาจะพูดอีกว่า " ยังงั้นซิทำใมพูดเหน่อๆ " ไหง่ก็ไม่เคยโกรธเคือใครทั้งสิ้นหากมาว่าบ้านนอก พูดเหน่อ หรือเซาะกราว อย่างไร ซึ่งเป็นความจริงที่เราไปโต้แย้งหรือโกรธเคืองใครไม่ได้เลย เพราะเราเป็นอย่างนั้นจริงๆ แต่อาจจะมีบางคนเกิดบ้านนอกแท้ๆแต่พอใครบอกว่าเป็นคนบ้านนอกกลับหาว่าดูถูกดูหมิ่นกัน พอมาเจอแสงสีหน่อยเดียวทำเป็นลืมกำพีดของตัวเอง สมัยที่ไหง่เรียนชั้นประถม มีครูท่านหนึ่งชอบพูดว่า " อย่าลืมตัวเหมือนวัวลืมตีน " ซึ่งไหง่ก็จดจำคำของครูท่านนั้นมาตลอดจนไหง่แน่ใจได้ว่าไหง่เป็นใครมาจากใหน

           ไท้ปักของไหง่ถึงจะเป็นคนเกิดหมอยแย้นแท้ๆ แต่ก็ชอบเพลงลูกทุ่ง ไหง่ยังจำเพลงที่ไท้ปักไหง่ชอบร้องอยู่เพลงหนึ่งของ " ระพิน ภูไท " สักเมื่อเกือบสักสี่สิบปีมาแล้ว ที่ร้องว่า " จะจ้างสักพันฉันก็ไม่หันไปมองถึงเธอจะใส่ทองเส้นโตเท่าโซ่รถไฟ..........ก่อนอยู่บ้านนาเขาเรียกกันว่าอีกลอย พออยู่กรุงเทพมีผัวนายร้อย เปลี่ยนจากอีกลอยมาเป็นแรมจันทร์ "

อำเภอปากท่อ นี่แหละครับเป็นสถานที่เกิดของอาเม้ของโกอาคม ไหง่เคยไปหาอาเม้ของโกอาคมมาแล้วที่หาดใหญ่ อาเม้ของโกอาคมบอกว่า เกิดที่ปากท่อ พออายุได้สัก 4 - 5 ขวบก็ย้ายไปอยู่ที่โพธาราม แล้วพออายุได้สักสิบขวบจึงย้ายไปอยู่ที่สะเดา จังหวัดสงขลา อาเม้ของโกอาคมจำได้แต่เพียงว่า ที่บริเวณสถานีรถไฟปากท่อมีต้นไม่ใหญ่ๆอยู่ต้นหนึ่ง ซึ่งต้นไม้ต้นนั้นก็ยังอยู่ ซึ่งก็คือ " เจ้าแม่ต้นกร่าง " ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของคนปากท่อนั่นเอง และที่ไหง่ได้ไปที่หาดใหญ่ไหง่ยังได้พบกับอาปักเม้ท่านหนึ่งที่หาดใหญ่ อยู่ใกล้บ้านอาเม้ของโกอาคม อาปักเม้ก็บอกว่าเคยอยู่ที่ปากท่อ มาเหมือนกัน

ยังไม่ทันได้เล่าว่าหลวงสิทธิมาเกี่ยวข้องกับอำเภอปากท่ออย่างไร ไหง่ก็ชักเมื่อยแล้ว แล้วค่อยเล่าต่อในตอนที่สามก็แล้วกันครับ 

รูปภาพของ วี่ฟัด

หลวงสิทธิในความรับรู้ของข้าพเจ้า ( ไหง่ ) ตอนที่ 3

             แหมช่วงนี้งานเยอะจนไม่ค่อยมีสมาธิในการเขียนเลยครับ เรียกว่าเคลียดจนเขียนไม่ออกเลย ลองจดๆจ้องๆจะเขียนมาหลายครั้งแล้วทั้งเรื่องนี้ และเรื่อง BALIK PULAU ได้ลงมือเขียนไปบ้างแต่เขียนไม่ออกจนต้องยกเลิกไปกลางคัน

            แต่เมื่อสองสามวันนี้ก็มีข่าวแห่งความปลาบปลื้มยินดีแก่ชาวราชบุรีกันทั่วหน้า ที่ได้ทราบข่าวว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะเสด็จมายังโครงการในพระราชดำริ ที่เขาชะงุ้ม และสหกรณ์โคนมหนองโพ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2555 เรียกว่าถ้ามางานห้วยกระบอกวันที่ 14 แล้วอยู่ต่อรอรับเสด็จในวันที่ 15 ได้เลยครับไท้กา   

             เมื่อวานนี้ ( 11 ก.ค. 55 ) ไหง่ได้มีโอกาศขับรถไปทางจังหวัดนครปฐม ได้เห็นชาวอำเภอโพธาราม และอำเภอบ้านโป่ง ประดับธงธิวตามถนนเพชรเกษมกันพรึบไปหมดแล้ว

             ไหง่จึงนึกขึ้นมาได้ว่าในชีวิตเด็กบ้านนอกที่อยู่ที่อำเภอปากท่อของไหง่นั้นเคยรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวถึงสองครั้ง จึงอยากเล่าให้ไท้กาหงิ่นฟัง

             ครั้งแรกตอนเด็กๆมากๆคืออายุได้สัก 5 ขวบเห็นจะได้ตอนที่ไหง่ยังเรียนอยู่ชั้นอนุบาลอยู่เลยครับ เมื่อสักประมาณพ.ศ.สองพันห้าร้อยกว่าๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมราชินีนารถมักจะเสด็จแปรพระราชฐานไปหัวหินโดยทางรถไฟพระที่นั่งทุกปี ไหง่ยังจำได้ว่าวันหนึ่งคุณครูที่สอนอนุบาลของไหง่คือครูสุดใจ ก็บอกพวกนักเรียนว่าวันนี้จะพาพวกนักเรียนไปรับเสด็จที่สถานีรถไฟปากท่อ แล้วก็แจกธงชาติไทยเล็กๆแบบถือให้นักเรียนคนละอัน แล้วพากันเดินแถวจากโรงเรียนวัดปากท่อ ไปยังสถานีรถไฟปากท่อ พอรถไฟพระที่นั่งผ่านก็ได้ชลอความเร็วลงแต่ไม่ได้จอด พวกนักเรียนที่มารับเสด็จก็โบกธง ไหง่จำได้เพียงแค่นี้ เพราะยังเด็กมากๆ แต่อาจี้ของไหง่บอกว่าเห็นในหลวงทรงโบกพระหัตย์ด้วย

            ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2517 ตอนนี้ไหง่โตขึ้นมาหน่อยแล้วอายุสิบกว่าขวบ ก่อนหน้านี้สักอาทิตย์หนึ่งคุณครูก็มาบอกพวกเราว่าจะให้พวกเราแต่ชุดลูกเสือไปนรับเสด็จ ที่วัดสันติการาม ตำบลทุ่งหลวง อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ไหง่ดีใจมากเพราะในครอบครัวคนจีนแคะของไหง่ ไท้ปักได้ปลูกฝังในเรื่องความจงรัีกภักดีมาตลอดชีวิตไหง่ ไท้ปักไหง่อายุ 13 ปีก็ต้องเดินทางจากหมอยแย้นมาอยู่ในประเทศไทย เรียกว่าไปตายเอาดาบหน้าเมื่อได้เข้ามาในปี 2468 ตอนนั้นยังอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 6 อยู่เลยครับ ในตลอดชีวิตของไหง่ที่เห็นไท้ปักของไหง่มา ไท้ปักไหง่จะชื่นชมสถาบันพระมหากษัตริย์มาก

                พอถึงวันที่ 17 ตุลาคม 2517 ( ที่รู้วันแบบตรงเผงไม่ใชาอะไรหรอกครับเพราะไปค้นเว๊ปหมายเหตุราชบุรีเจอ http://rb-old.blogspot.com/2011/10/9_02.html ) ก็มีรถบัสขนาดใหญ่ก็มารับพวกเราที่แต่งชุดลูกเสือแต่เช้าประมาณยี่สิบกว่าคน ตามที่คุณครูเขาได้คัดเลือก พอไปถึงเราก็นั่งรออยู่ที่วัดสมัยนั้นยังอยู่ในสมัยผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์อยู่เลยครับ ได้เห็นทหารได้นำเครื่องตรวจหาวัตถุระเบิดออกตรวจไปทั่วบริเวณก่อนจะเสด็จมาถึง พอใกล้ที่จะเสด็จคุณครูที่ควบคุมเรามาก็ให้เราไปตั้งแถวตรงบริเวณที่ท่านจะเสด็จลงจากรถพระที่นั่งแล้วเสด็จพระราชดำเนินเข้าไปในพระอุโบสถ ซึ่งหากท่านเสด็จพระราชดำเนิน ไหง่จะอยู่ห่างจากพระองค์ท่านไม่เกินกว่า 3 - 4 เมตรเท่านั้น

              พอถึงเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาถึงและเสด็จลงจากรถพระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินมานั้น ทันทีที่ไหง่เห็นพระองค์ท่าน ไหง่มีความรู้สึกปลาบปลื้มยินดีที่สุดในชีวิต ตัวชาๆหูอื้อและเหมือนจะตัวลอยๆยังไงไม่รู้ เหมือนกับได้เห็นองค์เทพยดาเสด็จลงมายังพื้นพิภพ เหตุการณ์วันที่รับเสด็จในวันนั้นซึ่งเกือบ 40 ปีมาแล้ว แต่ไหง่ยังจำได้ดีและรู้สึกเหมือนเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวานนี้เอง นึกขึ้นมาทีไรยังรู้สึกปลาบปลื้มทุกครั้ง ไหง่ไม่เส่ียชาติเกิดแล้วที่ได้เกิดมาชาติหนึ่ง

                 นี่คือความรู้สึกของเด็กบ้านนอกอำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรีคนหนึ่งที่บอกเล่ามาแบบซื่อๆ ตรงไปตรงมา กับเหตุการณืที่ผ่านมาได้เกือบสี่สิบปีแล้วที่ไหง่จะจดจำไปจนลมหายใจสุดท้ายของไหง่

รูปภาพของ วี่ฟัด

นายกฮากการาชบุรีไปห้วยกระบอกแน่นอนแล้วครับ

ตอนแรกไหง่เรียนให้ท่านนายกสมาคมฮากการาชบุรีเรื่องงานวิจัยที่ห้วยกระบอก ท่านยังไม่รับปากเนื่องจากท่านมีนัดกับก๊วนกอร์ฟของท่าน พอดีเมื่อค่ำนี้ไหง่ไปงานงิ้วศาลเจ้าพ่อกวนอูริมน้ำในตัวเมืองราชบุรี ท่านแจ้งไหง่มาว่าพอดีก๊วนกอร์ฟยกเลิกจึงว่าง ท่านนายกราชบุรีบอกว่าจะไปแน่ๆพร้อมกรรมการอีกสัก 5-6 คน ยิ่งงานนี้อาจารย์นภดลมาด้วยท่านไม่พลาดแน่ สวนไหง่จะไปกับหงิ่วโกที่จะมาค้างที่บ้านไหง่

รูปภาพของ วี่ฟัด

คลิป..ในหลวงเสด็จบ้านโป่ง เมื่อ 2497

รูปภาพของ วี่ฟัด

เตรียมความพร้อมห้วยกระบอก

       วันนี้ไหง่ไปรับอาหงิ่วโกมาถึงบ้านไหง่แล้ว พรุ่งนี้ไหง่ก็จะไปรับอาจี้ยับเหียนจีนไปด้วย  อาโกหงิ่วบอกว่าคนฮากกาใต้หวัน สายอนุตรธรรม เขาสนใจที่จะมาร่วมกิจกรรมฮากกาห้วยกระบอก จะเดินทางมาเป็นผู้สังเกตุการด้วยครับ ชักจะแตกสายกันไปใหญ่แล้ว

       ปิยณัฐ เยาวชนฮากกาเขาก็จะมาด้วยครับ 

รูปภาพของ drpongnarin

คงได้มีโอกาสไปห้วยกระบอก

แม่ไหงอพยบจากลูกแก ใกล้ห้วยกระบอก  ไปอยู่พิษณุโลกตั้งแต่อายุประมาณ 10 ปี  ตอนนี้อายุเกือบ 80 ปีแล้ว  

ว่าง ๆ จะพาไปทานอาหาร เยี่ยมบ้านเก่าที่ลูกแก  แวะทานอาหารที่ห้วยกระบอก 

รูปภาพของ จองกว๊านหมิ่น

งานห้วยกระบอกอันยิ่งใหญ่

การจัดงานวิจัยครั้งนี้ของห้วยกระบอก ดูใหญ่โตครึกครื้น มีคนสำคัญไปร่วมมากมาย เป็นที่น่าสนใจยิ่ง ไหง่ซึ่งไม่เคยไปร่วมงานสมาคมฮากกาที่ไหนๆมาก่อน สนใจและอยากไปมาก แต่ติดธุระบางประการรู้สึกเสียดาย โอกาสหน้ามีจัดอีก คงไม่พลาดแน่ๆ อย่างไรก็ตาม ขอให้งานจงลุล่วงสำเร็จสมปรารถนาด้วยดีทุกประการเทอญ
รูปภาพของ วี่ฟัด

แสนเสียดาย

ที่จองกว้านหม่นศุขไม่ได้ไปห้วยกระบอก ไม่อย่างนั้นจะจัดให้จองกว้านหมิ่นศุขได้โชว์เพลง " เวี่ยเหลี่ยงไต้เปี่ยววอเตอซิน อาศุขคงะร้องแบบได้อารมณ์แน่ๆเพราะมีประสบการณ์จริง.

การร้องเพลงที่ดีต้องตีความหมายโจทก์ให้แตก เพื่อจะได่ใส่อารมณ์เพลงให้ตรงกับเพลง เพลงเศร้าก็ต้องร้องด้วยอารมณ์เศร้า. เพลงสนุกสนานก็ต้องร้องด้วยอารมณ์สนุกสนาน เพลงอกหักก็ต้องร้องแบบคนอกหัก แต่คนไม่เคยอกหักแบบไหง่จะไปร้องเพลงนี้ไหง่คงตีโจทก์เพลงไม่แตกแน่เพราะไม่เคยมีประสบการณ์อกหักมาก่อน

แต่ถ้าให้อาศุขผู้เปี่ยมประสบการณ์ตามที่อาศุขเล่า คงจะตีโจทก์เพลงนี้แตก และร้องได้อารมณ์เพลงอย่างเร้าอารมณ์อย่างแน่นอน

รูปภาพของ จองกว๊านหมิ่น

ยินดีครับคุณวี่ฟัด

ด้วยความยินดีครับคุณวี่ฟัด เพราะช่วงนั้นจะร้องแต่เพลงเศร้าสร้อยเป็นหลัก
อย่างเช่นเพลงหลานหวี่เฮย ม่งสิ่งปุ๊เหลี่ยวฉิง ซื่อเหยียน หนานว่างเตอชูเลี่ยนฉิงเหยิน
เหม่ยจิ่วเจียคาเฟย จากเธอที่กวางเจา ความรักสีดำ เสียสละรัก คืนนี้พี่คอยเจ้า ฯลฯ
รูปภาพของ มะไฟ

ภาพกิจกรรมบางส่วน

ประชุมคณะทำงานย่อย

 

 

รูปภาพของ อิชยา

ต้องขอขอบคุณเป็นอย่างมาก

ต้องขอขอบคุณเป็นอย่างมาก  ในความกรุณาของอาโก๊ทุกท่าน  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  อ.นพดล (ที่เอื้อเฟื้อให้โดยสารไปที่ห้วยกระบอก) ... และอาโก๊มะไฟ (ที่กรุณาประสานให้อาศุขกุ้งเพื่อนร่วมแซ่ของอาผอไหง  ได้พบกับอาเซ่หยี ซึ่งจากกันมาไม่น้อยกว่า 50ปี)  

และขอขอบคุณทางมูลนิธิและญาติพี่น้องชาวขักหงินที่ห้วยกระบอก  ซึ่งได้ให้การต้อนรับและเลี้ยงอาหารเป็นอย่างดี ...

ไหงเองขอเสนอความคิดเห็นสักเล็กน้อย  คือ  อยากให้ไถ่ก๊าหงินทุกท่านร่วมช่วยกันหาวิธีการพัฒนาให้  ชุมชนขักหงินของพวกเราให้มีความสัมพันธ์  ที่สามัคคี  รักใคร่กันให้มากขึ้น  ... ไหงหมายความว่า  ... แม้พวกเราขักหงินจะกระจายกันอยู่ห่างกันเพียงใด  แต่ความสัมพันธ์ที่มีต่อกัน  ดุจญาติมิตรที่อยู่ในบ้านเดียวกัน  ...  ไปมาหาสู่กันแลกเปลี่ยนช่วยเหลือกัน  ทำนองมีสุขร่วมเสพ  มีทุกข์ร่วมต้าน (ขอยืมคำคมจากหนังมาใช้หน่อย)   ... และไหงก็คิดว่าพวกเราทุกฅนยินดีให้ความร่วมมือ  ในการถ่ายทอด  แลกเปลี่ยนภูมิความรู้ซึ่งกันและกัน  และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม  ประเพณีของดั้งเดิมไว้เท่าที่ทำได้  รวมทั้งการประยุกต์ให้เหมาะกับยุคสมัยโดยไม่ทิ้งรากเหง้าเดิม  อย่างนี้น่าจะพอช่วยรักษาวัฒนธรรมประเพณีของบรรพชนขักหงินไว้ได้พอควร  เพื่อเป็นรากฐานในการเรียนรู้  วิถีแห่งวิวัฒนาการ  ถึงแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนไปตามกาล  ตามยุคสมัยก็ตาม   

ศิลปะ( รวมทั้งภาษาต่าง ๆ)  วัฒนธรรม  ประเพณีทั้งหลาย  ไม่ว่าจะเป็นของชนเผ่าใด  ย่อมเป็นคุณค่า  เป็นอารยธรรมของชนเหล่านั้น  ดังนั้นจึงไม่ควรมาโต้แย้งกันว่าใครดีกว่่า   ใครถูกต้องกว่า  

นี่เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวเท่านั้น  เพราะไหงคิดว่าหมดรุ่นพวกเราแล้ว  รุ่นต่อ ๆ ไปยิ่งห่าง และไม่สนใจ  ถ้าไม่เริ่มทำวันนี้  วันหน้าก็ยิ่งไม่มีแสงสว่างSmile  

รูปภาพของ วี่ฟัด

วิถีแห่ง " สัมมาทิษฐิ "

         คนฮากการุ่นใหม่ๆไม่ว่าขักหงิ่นหรือฮักหงิ่นเขาก็คิดอย่างที่แจ๋ยา (เรียนแบบอาจารย์นุช) คิดกันทั้งนั้นแหละไม่มีใครคิดแบ่งแยก ไหง่ก็ไม่เห็นใครว่าใครดีกว่าใครนะ โดยเฉพาะไหง่จะขอประกาศเป็นศัตรูหมายเลข 1 กับคนที่คิดจะแบ่งแยกและได้ต่อสู้เป็นหัวหมู่ทะลวงฟันมาตลอด มีหลายๆคนได้มาคุยกับไหง่ว่าเดี๋ยวเขาก็ตายไปเองแหละเหล่าแล้ว ไหง่ก็คิดแบบนั้นนะจนเดี๋ยวนี้ไหง่เอาธรรมะเข้าข่มเยอะมาก ข่มไปข่มมาก็มีตะบะแตกบ้าง กลายเป็นว่าเอาธรรมะเข้าขย่มเสียฉิบ                       พระพุทธเจ้าพูดถึงเรื่องความทุกข์ไว้ใน " อริยสัตย์ 4 " ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค และในข้อมรรคอันมีองค์ 8 อันประกอบด้วย 1. สัมมาทิษฐิ 2. สัมมาสังกัปปะ 3. สัมมาวาจา 4. สัมมากัมมันตะ 5. สัมมาอาชีวะ 6. สัมมาวายามะ 7. สัมมาสติ และ 8. สัมมาสมาธิ

           ทำใมพระพุทธเจ้าทรงนำ " สัมมาทิษฐิ " มาเป็นข้อแรกเพราะ " สัมมาทิษฐิ คือ  ความเห็นชอบ " ที่พระพุทธเจ้าเอาข้อมรรคข้อนี้มาเริ่มเป็นปฐมบทก็เพราะในอันดับแรกต้องมีความคิดความเห็นที่ถูกต้องก่อนเช่นเอาหลักง่ายๆว่า " ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว " ถ้ามีความคิดเป็น " มิจฉาทิษฐิ " เช่นคิดว่า " ทำดีได้ดีมีที่ใหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป " หรือ " โกงได้แต่ขอให้กูได้ประโยชน์บ้าง " ก็จบข่าวเลยไปข้ออื่นไม่เป็นแล้ว

           ดังนั้นไหง่คิดว่าในทุกๆเรื่องจะต้องอยู่ในสภาวะแห่ง " สัมมาทิษฐิ " แม้แต่ในเรื่อง " ฮากกา " ก็ตาม ความคิด ความเห็น ความอ่าน ถูกต้องก่อนจึงจะสามารถก้าวนำสู่เส้นทางแห่งวิถีในสิ่งนั้นๆก้าวย่างไปอย่างดีมีประสิทธิภาพ

          แต่ถ้ายังอยู่ในวิถีแห่ง " มิจฉาทิษฐิ " แล้วมันเหมือนพายเรือในอ่างวนไปวนมาเวียนไปเวียนมา มันมั่วๆ ไปข้างหน้าไม่เป็นเพราะมันไม่จริงแท้ มันกล้อมแกล้มๆไปวันๆ มันไม่ทะลุกลางปล้องไปได้
ลองดูก็ได้ว่าใครวนไปเวียนมากับใครที่ก้าวออกจากสู่เส้นทางตรงไปข้างหน้าอย่างสง่าผ่าเผย เรื่องอย่างนี้ดูไม่ยากหรอกแค่ชายตาไปดูด้วยหางตาก็รู้แล้ว

          เขียนยากๆแบบอิงบาลีอิงธรรมะสงสัยโต้ไม่เป็นแล้ว คนห่างวัดอย่างนั้น เอ้าวันที่ 29 ก.ค.55 นี้ก็เลือกตั้งแล้ว เอาเวลาไปหาเสียงเถอะ เอ้าพวกเราช่วยกันหน่อยอย่าทิ้งคนฮากกานะ เขต 2 เบอร์ 1 ถ้าไม่เลือกคนฮากกาด้วยกันจะไปเลือกแมวที่ไหนว๊ะ  ไหง่ว๊า 

ประชาสัมพันธ์ ปิดโครงการฟื้นฟูอาหารจีนแคะห้วยกระบอก

ยังจำกันได้ไหม เมื่อวันที่ 14 ก.ค. 55 ทีมวิจัยมหิดล กับสมาชิกฮากกาพีเพิล และสมาคมฮากกาบางจังหวัดได้ไปร่วมงาน เปิดตัวโครงการวิจัย "การฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมจีนแคะห้วยกระบอก ซึ่เน้นเรื่องการฟื้นฟูอาหารพื้นบ้าน"

ยังปลิ้มใจอยู่ทุกวันว่าพวกเราชาวฮากกามีความมุ่งมั่นที่จะถ่ายทอด และส่งต่อความรู้ที่มีประโยชน์จากบรรพชนไปสู่รุ่นลูกหลานสืบไป

ที่จริงโครงการนี้น่าจะปิดโครงการไปตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่ทุกอย่างก็คาดเดาไม่ได้ จึงยืดเยื้อมาจนถึงตอนนี้ ต้องทำให้สำเร็จ

เมื่อเปิดแล้วก็ต้องปิด ตามธรรมเนียม คือบอกให้ชุมชนรู้ว่าเราทำอะไรไปบ้างได้ผลอย่างไร เหมือนเป็นการคืนความรู้สู่ชุมชน 

กำหนดวันปิดโครงการในวันเสาร์ที่ 31 พ.ค. 57 ที่ศาลามูลนิธิ (ตรงศาลเจ้า ซัมซั้นเกว็ดหว่อง) จึงประชาสัมพันธ์ให้สมาชิกฮากกาพีเพิลทุกท่านทราบ และเชิญชวนไปร่วมงาน หากท่านใดไปได้ก็เชิญนะคะ

ในงานจะมีอาหารเลี้ยง และการทำกิ้วช้อยปั้นสดๆกันด้วย นอกจากนี้ก็จะมีซีดีรวบรวมงานฟื้นฟูอาหารแจกทุกท่านที่ไปร่วมงาน ถือเป็นการประชาสัมพันธ์งานวิจัยฮากกาอีกทางหนึ่ง 

หากโก๊มะไฟ เห็นคอมเม้นท์นี้แล้ว อยากให้ไปร่วมงานด้วยนะคะ ทราบว่าโก๊แข็งแรงมากขึ้นแล้ว ขอให้สุขภาพแข็งแรงๆ หายวันหายคืน เพราะงานวิจัยห้วยกระบอกโก๊มะไฟเป็นคนผลักดันให้เกิดขึ้น เมื่องานจบควรจะไปร่วมงานนะคะ

แล้วเจอกันวันที่ 31 พ.ค. นะคะ 

ไปร่วมงานปิดโครงการฯที่ห้วยกระบอก

ดีใจจังที่พบข้อมูลงานนี้ หาตั้งแต่เช้าในช่วงรอคำตอบจากวีฟัดโก แล้วมีรายละเอียดกำหนดการมากกว่านี้ไหมครับ เช่นเวลากิจกรรมต่างๆ แจ้งชื่อจำนวนได้ที่ใคร มีที่พักแรมในชุมชนที่ต้องจองไหม ฯลฯ
ขอขอบคุณมากครับ
โทร 0817737298
suijuk
ไชโย

ดีใจจังที

ดีใจจังที่พบข้อมูลงานนี้ หาตั้งแต่เช้าในช่วงรอคำตอบจากวีฟัดโก แล้วมีรายละเอียดกำหนดการมากกว่านี้ไหมครับ เช่นเวลากิจกรรมต่างๆ แจ้งชื่อจำนวนได้ที่ใคร มีที่พักแรมในชุมชนที่ต้องจองไหม ฯลฯ
ขอขอบคุณมากครับ
โทร 0817737298
suijuk
ไชโย

รูปภาพของ วี่ฟัด

พี่น้องชุมชนคนฮากกาเยี่ยมชมคฤหาสน์สังคหะวังตาล

ที่หน้าบ้านซึ่งใช้เป็นฉากลครโทรทัศน์อยู่หลายเรื่อง
ปรกติเขาจะไม่เปิดบ้านให้ใครเข้าไปชมง่ายๆ แต่วันนั้นถือว่าเป็นแขก วี.ไอ.พี. คนฮากกาเหมือนกับอดีตเจ้าของบ้าน เขาเลยเปิดให้พวกเราไปเดินเล่น นั่งเล่น หากอยู่นานกว่านี้อีกหน่อยอาจะได้นอนเล่นก็ได้ครับไหง่ว๊า 
รูปภาพของ มะไฟ

โชคดีที่ได้เข้าชม

ไหงยังคิดว่าจะได้เข้าไปหรือเปล่า ถือว่าโชคดีครับ เสียดายบ้านไม้ดั้งเดิมกับโรงหีบอ้อยแห่งแรกของเมืองไทยที่ห้วยกระบอกเขาไม่ยอมเปิดให้เข้าไปชม อนาคตคงมีโอกาส อย่างน้อยงานนี้มีคนได้พบญาติพี่น้อง ได้มาบ้านเกิดของตนเองในรอบหลายสิบปี เช่น อ.เกษฯได้พาแม่มาบ้านเกิดของตนเอง  อิชยา ก็ได้มาดูหมู่บ้านเดิมที่แม่เกิดและอาศัยอยู่ในวัยเด็ก โก๊ไก่นครสวรรค์ก็ได้กลับมาบ้านเกิดของตัวเอง และโก๊จากหัวหินก็ได้มาบ้านเกิดของแม่ตัวเอง และเพิ่งรู้ว่าไถ่คิ้วตัวเองก็คือประธานมูลนิธิประโยชน์มวลชนห้วยกระบอกนี่เอง 

รูปภาพของ ฉินเทียน

ไหง รู้สึก ปลื้ม ใจ

บรรพชน ท่าน ได้นำ คณะ ลูกหลาน มา พบกัน  ได้พบ กับ อาสุกกุ้ง อายุ ๙๘ ปี

การไปชม คฤหาสถ์ วังตาล ของ เจ้าสัว กิมเลี้ยง ชาวฮากกา  ด้วยกัน ซึ่งท่าน มี

ใจเอือเฟื้อ เอื้ออาทรต่อชุมชน ของบรรพชน และลูกหลาน จึงมีวันนี้ ครับ

ยินดีด้วย กับ ชาวเวป ฮากกา พีเพิล  ที่ได้ เข้าชม อย่าง วี ไอ พี   ก็เนื่องจาก

ความสามัคคี ดั่งเช่น สมัย ดร ซุนจงซาน และความเมตตา ของเจ้าบ้านทุกท่าน

คณะผู้จัดงาน และชาวชุมชน ห้วยกระบอก จะอยุ่ในความประทับใจทุกระดับสืบไป

เสียดายที่ไม่ได้ไปชมคฤหาสน์

เสียดายที่ไหงไม่ได้ไปชมคฤหาสน์กับสมาชิกเว็ปด้วย เพราะว่าต้องไปคุยกับทีมวิจัยในพื้นที่ต่อถึงการทำงานและดำเนินการ

ครั้งนี้ต้องขอขอบคุณก๊อมะไฟ และเจ้าของพื้นที่คือขักหงินที่ห้วยกระบอกด้วยจริงๆ เพราะทุกท่านได้ร่วมใจกันจัดงานนี้ขึ้นมา ทั้งยังอำนวยความสะดวกเรื่องสถานที่ และสนับสนุนเรื่องอาหารอีกด้วย โดยเฉพาะเรื่องอาหารที่ค่อนข้างจัดการได้ยาก ถ้าหากจำนวนคนไม่แน่นอน แต่เจ้าภาพก็จัดให้รับประทานกันอย่างอิ่มหนำสำราญเบิกบานใจ อาหารก็อร่อย ทีมวิจัยที่ไปกับไหง ถึงแม้จะไม่ใช่คนฮากกา แต่ก็ยังชมว่าอาหารอร่อยมาก (ทำวิจัยเรื่องอาหารก็ต้องชิมอย่างนี้แหละ)

สมาชิกชาวเว็ป

บรรยากาศในงาน

หมายเหตุ ตอนแรกพิมพ์และอัฟโหลดรูปเสร็จแล้ว พอกดส่งเกิดผิดพลาดอะไรไม่รู้ มันขึ้นว่าไม่มีข้อความ แปลกมากเลย ก็เลยต้องพิมพ์ใหม่ เสียดายที่ข้อความไม่เหมือนเดิมแล้ว ก็ขอแค่นี้ก่อนละกัน ไว้มีเวลาค่อยนำมาขึ้นใหม่

 

 

รูปภาพของ tonkla

งานที่ห้วยกระบอกสนุกมากค่ะ

งานที่ห้วยกระบอกสนุกมากเลยค่ะ ต้องขอขอบคุณทุกๆฝ่ายที่ช่วยให้งานที่สำคัญนี้เกิดขึ้นมาจนได้และสำเร็จด้วยดี นี่เป็นงานที่ 2 แล้วค่ะที่ได้เข้าร่วมกับเพื่อนๆสมาชิกทุกท่านรู้สึกประทับใจและอยากเข้าร่วมอีกในครั้งต่อๆไป เผื่อว่าจะได้ช่วยอีกแรงหนึ่งค่ะ ตอนนี้สนใจโครงการห้องสมุดฮากกามากเลยนะคะ ดีใจที่จะได้มีห้องสมุดแล้ว ถ้าสมาชิกท่านใดมีหนังสือ ตำราเนื้อหา ที่เกี่ยวข้องกับฮากกาไม่ว่าจะเป็นด้านไหนด้านหนึ่งสามารถร่วมบริจาคได้นะคะ เท่าที่ทราบตอนนี้รวบรวมได้แล้วจำนวนหนึ่ง มีทั้งภาษาจีนและไทย ตอนนี้ทางทีมงานกำลังจัดหมวดหมู่หนังสือ สแกนเอกสารเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และคีย์ข้อมูล แต่ปัญหาคือว่าทีมงานไม่รู้ภาษาจีน เลยทำให้งานมีปัญหาจึงขอประชาสัมพันธ์ขอความช่วยเหลือมายังสมาชิกทุกท่านค่ะ ส่วนหนูจะเข้าไปช่วยอยู่แล้วแน่นอนแต่ภาษาจีนก็ต้องออกตัวก่อนว่าอ่านออกได้ไม่ทุกตัว จึงไม่รู้ว่าจะสามารถทำได้ขนาดไหน ถ้าสมาชิกผู้รู้ท่านใดสะดวกหรือมีเวลาในวันเสาร์ หรืออาทิตย์ สามารถติดต่อเข้ามาทำงานร่วมช่วยกันได้นะคะ สถานที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากสมาคมฮากกาที่เยาวราชค่ะ

จึงมาประชาสัมพันธ์ ณ ที่นี้ค่ะ ขอบคุณค่ะ

รูปภาพของ สิทธิพร1

ต้องขอโทษชาวห้วยกระบอก และชาวฮากกาทุกท่าน

สวัสดีชาวห้วยกระบอกและคณะฮากกาทุกๆท่าน วันงานที่ห้วยกระบอก ผมและคณะฮากกานครสวรรค์ไปถึงงานช้ามาก พอดีโชเฟอร์ไม่ชำนานทาง เลยไม่ได้ทักทายชาวเว็ปหลายๆท่าน ผมทึ่งมาก ชาวชุมชนฮากกาห้วยกระบอก เป็นหมู่บ้านเล็กๆ แต่ชาวฮากกาห้วยกระบอก จัดงานได้ยิ่งใหญ่จริงๆ น่าชื่นชมมากครับ ตัวผมกะจะอยู่พูดคุย และรู้จักหลายๆท่าน พอดีเพื่อนที่ไปด้วย ติดงานเลี้ยง เลยต้องรีบกลับ ผมอยากอยู่คุยกับหลายๆท่าน อย่างคุณสุภาส คุณต้นกล้า คุณอิชยา อาแกว้น อาหงิว คุณสมบูรณ์ และอีกหลายๆท่านที่ไม่ได้เอ่ยถึง ผมต้องขอโทษชาวเว็ปชุมชนฮากกาในวันนั้นด้วย อยากทักทายอยากรู้จักทุกๆท่าน วันนั้นผมมีความสุขมาก ที่ได้มาเจอคนฮากกา ไหง่เฮ้ฮากกาหงิ่น สวัสดี ฮากกาหงิ่นทุกคน จากสิทธิพร นครสวรรค์ 俞文君

รูปภาพของ อาฉี

ภาพเก็บตกห้วยกระบอก

กาแฟโบราณ สูตรดั่งเดิม

เบื้องหลังการถ่ายทำ

พร้อมเสริฟแล้วจ้า

ผู้อาวุโสทักทาย

ไม่ต้องปิด ถึงปิดได้ก้รู้ว่าใคร

คุณต้อม(คนซ้าย) ทายาทฮากกา บรรณาธิการ วารสาร "รักลูก" ผู้จะมาช่วยงานด้านห้องสมุดฮากกา

หนุ่มหล่อ อารมณ์ดี มีความสามารถ มากประสบการณ์

ถ่ายรูปร่วมกับบางส่วน คณะปากช่อง

ถ่ายรูปร่วมกับบางส่วน คณะนครสวรรค์

บางส่วน คณะชาวเว็บ

บางส่วน เมนูอาหารฮากกา

ยืนยันความอิ่มอร่อย

ลงนามเยี่ยมชม พิพิธภัณฑ์บ้านโปร่ง บ้านสังคหะวังตาล

วัยนี้ น่าจะเกิดทัน

นี่คือสถาน แห่งบ้านทรายทอง....

ห้องนี่ถ่ายทำจันดารา ฉากคุณหลวง...

ขึ้นไปยอดอาคาร เขาว่าวันฟ้าเปิดมองเห็นถึงพระปฐมเจดีย์

รูปภาพของ มะไฟ

วรวัฒน์ วังตาล

วรวัฒน์ วังตาล ที่นำคณะเข้าชมวันนั้น คือทายาทของคุณ วินิจ วังตาล อดีต สส.ราชบุรี บุตรชายคนที่ ๓ ของหลวงสิทธิเทพการ ที่มีวลีเด็ดในการขอเสียงคนห้วยกระบอก และตำบลกรับใหญ่ ที่มีสิทธิเลือกตั้งเกือบหมื่นเสียง ว่า ผมไม่เคยลืมบุญคุณบ้านเกิด ข้าวแดงแกงร้อนที่ราดรดหัวผมจนโตมาทุกวันนี้ จนคนห้วยกระบอกเทคะแนนให้ทั้งหมด จนชนะทวิช กลิ่นประทุม ต่อมาเมื่อเป็น สส.ไม่กลับมาหาคนห้วยกระบอก การเลือกตั้งครั้งต่อมา จึงได้รับบทเรียนด้วยการที่คนห้วยกระบอกไม่ลงคะแนนให้หายไปเป็นหมื่นคะแนน สอบตกแบบชอกช้ำ

รูปภาพของ วี่ฟัด

พระบารมีปกเกล้าชาวบ้านโป่ง

 

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal