หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

จีนฮ่อ คือ เผ่าหุย回族 ไม่ใช่ เผ่าฮั่น汉族

รูปภาพของ ฉินเทียน

มุสลิมจีนที่เชียงใหม่ คือจีนฮ่อ หรือ เผ่าหุย ไม่ใช่ เผ่าฮั่น และไม่ใช่ฮากกา แต่คนไทย มักเข้าใจผิดว่าคือพวกจีนเดียวกัน

วกจีนฮ่อ (จีนหุย) นี้จะมีความรู้ในภาษาจีนกลาง เนื่องจากเรียนภาษาจีนกลาง มานานมาก และใกล้เคียงกับพวก เผ่าหนีเจิ้ง หรือ แม่งจุ  มีมากในเขตปกครองตนเองหนิงเซียหุย และมณฑลหยุงหนาน  ซึ่งแต่เดิมเผ่าหุย นี้ จะใช้อักษรอาหรับ เป็นหลัก แต่ต้องมาเปลี่ยนเป็นเรียนภาษาจีนกลาง อันเป็นภาษาราชการชั้นสูงของเผ่าฮั่น ซึ่งภาษาฮากกา หรือขักฝ่าของขักหงิ่น คือ ภาษาฮั่นโบราณ ครับ

หมายเหตุ  ภาษาจีน : 回 (หุย) = ภาษาสยาม : ฮ่อ =  ภาษาอังกฤษ : Haw ภาษาลาว: ຮໍ່ = การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงRTGS : โฮ

https://th.wikipedia.org/wiki/เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย


รูปภาพของ จองกว๊านหมิ่น

จีนเผ่าหุยกับหมู

พูดถึงชาวจีนเผ่าหุย ที่นับถือศาสนาอิสลาม ไม่กินเนื้อหมูเหมือนชาวจีนทั่วไป มีที่มาที่ไป กล่าวคือ ยุคสมัยราชวงศ์ถังและซ่ง พวกมุสลิมอาหรับเปอร์เซียมาค้าขายที่เมืองจีน ได้นำเอาวัฒนธรรมหลายอย่างมาด้วย โดยเฉพาะข้อห้ามของศาสดาโมฮัมหมัด ที่ไม่ให้เลี้ยงและกินเนื้อหมู จนลุล่วงมาถึงสมัยราชวงศ์หงวน พวกจีนเผ่าหุยแถบมณฑลกานซู ต่างรับเอาวัฒนธรรมนี้ มาเป็นข้อปฏิบัติกันถ้วนหน้า จนมาถึงต้นราชวงศ์หมิง ฮ่องเต้หมิงอู่จงได้สาวงามชาวหุยเป็นสนม จากอิทธิพลของเธอ ทำให้ยุคนั้น ประเพณีไม่บริโภคเนื้อหมูกระจายไปเป็นวงกว้าง ต่อมาการไม่บริโภคเนื้อหมูเริ่มถูกต่อต้านดูหมิ่นใส่ร้าย อิทธิพลทางการเมืองของพวกหุยค่อยๆถูกริดรอน จวบมาถึงสมัยต้าชิง ประเพณีนี้จึงถูกกำจัดไปหมดสิ้น

เหตุใดศาสนาอิสลามจึงห้ามกินหมู:

เหตุที่สั่งห้าม เพราะหมูเป็นสัตว์ที่น่ารังเกียจ กินและนอนคลุกอยู่กับขี้ของมัน พระเจ้าระบุว่าเป็นสัตว์สกปรก เหตุชาวมุสลิมไม่กินหมู ไม่ใช่สาเหตุหมูมีพยาธิอย่างเดียว ถึงแม้อนาคตจะสามารถทำให้เนื้อหมูปลอดพยาธิ หรือเลี้ยงหมูอย่างดีแค่ไหน ไม่ต้องให้มันกินและนอนคลุกขี้ แต่มุสลิมก็จะไม่กินหมูอยู่ดี เนื่องเพราะพระเจ้าบัญญัติห้ามไว้

ไม่เพียงเท่านี้ พระเจ้ายังห้ามกินเนื้อสัตว์ที่ตายเอง เลือดสัตว์ หรือสัตว์ที่ถูกเชือดโดยไม่กล่าวนามอัลเลาะฮฺ ทั้งนี้ ยังระบุเนื้อหมูเป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด ซึ่งการกินเนื้อหมูเป็นสาเหตุให้เกิดโรคไม่น้อยกว่าเจ็ดสิบชนิด ในเนื้อหมูจะมีพยาธิหลายอย่างด้วยกัน เช่นพยาธิตัวกลม พยาธิเข็มหมุด พยาธิปากขอ พยาธิตัวตืดฯลฯ หนึ่งในพยาธิที่อันตรายที่สุดคือพยาธิตัวตืด โดยมันสามารถแฝงตัวอยู่ในลำไส้เป็นเวลานาน เซลล์ไข่ของมันจะเข้าไปตามกระแสเลือด สามารถเข้าถึงทุกส่วนของร่างกาย หากเข้าไปในสมอง เป็นสาเหตุให้เกิดความจำเสื่อม เข้าสู่หัวใจ ทำให้เกิดโรคหัวใจ เข้าสู่ตาทำให้ตาบอด เข้าสู่ตับทำให้ตับถูกทำลาย ทั้งยังทำลายอวัยวะส่วนอื่นของร่างกายได้ด้วย

มีการเข้าใจผิดคิดว่า เนื้อหมูที่ปรุงสุกดีแล้ว พยาธิหรือไข่ของมันจะตาย จากงานวิจัยที่น่าเชื่อถือในอเมริกาพบว่า พยาธิในเนื้อหมูบางชนิดมีเกราะที่เกิดจากไขมันห่อหุ้มอยู่ ความร้อนจากการหุงต้มธรรมดา ไม่สามารถทำลายมันได้ นอกจากนี้ เนื้อหมูยังมีไขมันมากเกินความจำเป็น ก่อให้เกิดไขมันสะสมในเส้นเลือด เป็นสาเหตุของโรคความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ 

หมูเป็นสัตว์ที่สกปรกที่สุดในโลก มันใช้ชีวิตและเติบโตบนโคลน มูล และสิ่งสกปรกโสโครก มันเป็นสัตว์ที่กินซากสกปรกที่ดีที่สุดที่พระเจ้าทรงสร้าง หมู่บ้านใดไม่มีห้องน้ำที่อนามัย และชาวบ้านขับถ่ายสิ่งปฏิกูลในที่โล่ง บ่อยครั้งที่สิ่งขับถ่ายนั้นถูกทำให้สะอาดโดยหมู แม้หมูจะถูกเลี้ยงอย่างสะอาดและถูกสุขลักษณะเพียงใด แต่โดยธรรมชาติ มันยังคงเป็นเป็นสัตว์ที่สกปรกอยู่ดี 

ที่น่าทึ่ง หมูเป็นสัตว์ที่มีความอายน้อยที่สุดในโลก เป็นสัตว์ที่เชิญชวนตัวอื่นให้ร่วมเพศกับคู่ของมัน ว่ากันว่า ในอเมริกาผู้คนส่วนมากรับประทานเนื้อหมู จึงมีพฤติกรรมนิยมเล่นเซ็กส์หมู่เหมือนสัญชาตญาณหมูนั่นเอง

อาจมีคนถามว่า ในเมื่อไม่ให้กินหมู แล้วพระเจ้าสร้างหมูมาทำไม คำตอบคือ พระเจ้าสร้างสิ่งมีชีวิตที่หลากหลายมากมายชนิด ไม่ใช่สัตว์ทุกชนิดที่ถูกสร้างมาเพื่อเป็นอาหารสำหรับมนุษย์ ดังนั้นจึงต้องเลือก สิ่งที่พระเจ้าอนุญาตและไม่อนุญาต อาหารชนิดใดที่พระเจ้าไม่ได้บัญญัติห้ามไว้ สิ่งหรือสัตว์นั้นกินได้ 

สรุป สิ่งหรือสัตว์ที่พระเจ้าบัญญัติห้ามกิน ได้แก่สิ่งมึนเมาทุกชนิด สัตว์ที่ตายเอง สัตว์ที่ไม่ได้กล่าวนามพระเจ้าขณะเชือด สัตว์ที่ใช้กรงเล็บหรือเขี้ยวล่าเหยื่อเป็นอาหาร เนื้อลา เนื้อหมา รวมทั้งอาหารที่ขโมยมา หรือซื้อหามาด้วยดอกเบี้ยที่ผิดหลักการศาสนา นอกเหนือสิ่งหรือสัตว์ที่กล่าวมา สัตว์น้ำทั้งหมดอนุญาตให้กินได้ ทั้งหมดทั้งปวงได้ถูกบัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอานทั้งสิ้นแล้ว

ไม่เฉพาะศาสนาอิสลาม ที่มีกฎระเบียบตราไว้ แม้แต่ศาสนาพุทธหรือศาสนาคริสต์ก็มีบทบัญญัติห้ามเช่นกัน และที่สำคัญไม่เคยมีใครถามเลยว่า ทำไมชาวยิวและชาวคริสต์ ปัจจุบันทำไมกินหมู ทั้งที่ในไบเบิลพันธสัญญาเก่าได้ระบุไว้ชัดเจนว่าห้ามกินหมู

หมายเหตุ  : ข้อความเหล่านี้ มาจากหลายแหล่ง นำมาเรียบเรียงใหม่
รูปภาพของ YupSinFa

ขอแก้เพื่อความถูกต้อง

สวัสดีครับ ไท้ก๋าหยิ่น ที่รัก-เคารพ ทุกท่าน
ช่วงนี้ไหงแทบไม่ได้เข้ามาชุมชนเราเลย เนื่องจากภาระหน้าที่อันหนักหน่วง และเดินทางบ่อย วันนี้ได้เข้ามาเยี่ยมชมชุมชนของเราด้วยความคิดถึง จึงมาพบบล๊อคของคุณฉินเทียน ที่ได้กรุณานำมาแบ่งปันให่้กับพวกเรา ชาวไทยเชื้อสายฮากกา ได้เป็นการประดับความรู้
ไหงพบว่า ข้อมูลที่คุณฉินเทียนนำมาแบ่งปัน มันคลาดเคลื่อนไปจากความจริง ไกลเลยทีเดียว  แต่ว่า ทั้งนี้ ต้องขอออกตัวกับคุณฉินเทียน ก่อน นะครับ ด้วยความเคารพอย่างสูง อยากกราบเรียนว่า ความตั้งใจของท่าน นั้น สูงส่งยิ่งนัก แต่เมื่อคุณฉินเทียน ได้ข้อมูลมาที่คลาดเคลื่อน และในฐานะที่ไหง่เป็นผู้รู้ดีเกี่ยวกับเรื่องนี้ จึงจำเป็นต้องขอแก้ไข เพื่อไม่ให้คุณฉินเทียน และทุกท่าน ทั้งสมาชิก และอาคันตุกะที่เข้ามาเสาะหาข้อมูลในชุมชนของเรา ได้ข้อความที่ไม่ถูกต้อง กลับไป อันจะทำให้เกิดการเข้าใจที่ไม่ตรงกับความจริง
เข้าทำนอง ร่วมด้วยช่วยกันแก้ไข เพื่อประโยชน์อันสูงสุดของชุมชนของเรา นะครับ
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คุณฉินเทียน จะเข้าใจ และไม่เสียกำลังใจนะครับ เพราะคนอย่างคุณฉินเทียน นั้น นับว่า เป็นผู้ที่น่ายกย่อง เป็นอย่างยิ่ง เนื่องด้วยมีเจตนาอันสูงส่ง และดีงาม ในการที่จะจรรโลง ผลประโยชน์ ให้กับ มวลมนุษยชาติ ของเรา
ออกตัวเสียนาน เป็นเพราะว่า กลัวคุณฉินเทียนจะไม่เข้าใจ เอาเป็นว่า เรามาเข้าเนื้อหา กันเลย นะครับ
"จีนฮ่อ" เป็นชื่่อเรียกของชาวจีน จากมณฑล "หยุนหนาน" หรือ ยูนนาน ที่ชาวไทยล้านนา เรียกจีนกลุ่มนี้ มานานหลายร้อยปี จากการสัณนิษฐาน จากที่มาของค่าว่า "ฮ่อ" นั้น อันหนึ่ง มาจากการที่ชาวจีน กลุ่มนี้ ได้ใช้ ฬ่อ และม้าต่าง บรรทุกใบชาแห้ง ลงมาตามเส้นทาง "ฉา หมา กู่ ต้าว" (เส้นทางม้าต่างชาโบราณ) ล่องลงมาทางทิศใต้ ผ่านรัฐฉาน เชียงตุง เข้าเชียงแสน มาเชียงราย ถึงเชียงใหม่ เมืองเอก และศูนย์กลางการค้าการปกครองของราชอาณาจักรล้านนา ในอดีต ดังนี้ ชาวไทยล้านนา จึงเรียกคนจีนกลุ่มนี้ว่า "จีนฮ่อ" ด้วยภาพที่เห็นชินตา ในการใช้ฬ่อ เป็นสัตว์ต่างบรรทุกใบชาและสินค้า จากยูนนาน มาถึงในดินแดนล้านนา คำว่า "ฮ่อ" เพี้ยนมาจากคำว่า ฬ่อ นั่นเอง
ชาวจีนยูนนาน คนไต ในรัฐฉาน ทั้งไตยอง ไตขึน ไตโหลง
(ไทใหญ่) เรียกพวกยูนนานว่า "แข่" แตกต่างจากชาวล้านนา ที่เรียกว่า "ฬ่อ" แล้วเพี้ยนมาเป็น "ฮ่อ"
ชาวไตลื้อ ในสิบสองปันนา เรียกชาวฮั่นยูนนาน ว่า "แส" เรียกนครคุนหมิง ว่า "เจียงแส่" เรียกทะเลสาบเตียนฉือติดนครคุนหมิงว่า "หนองแส" ยังไงเล่าครับ
จีนฮ่อ ในเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน เป็นจีน ครับ และเป็นชาวฮั่น เหมือนกับจีนทุก ๆ กลุ่ม ครับ
           และจีนฮ่อ เราชาวล้านนา ใช้เรียกชาวจีนยูนนาน เพียงกลุ่มเดียว ครับ นอกนั้น ก็เรียก แต้จิ๋ว ไหหลำ แคะ ฯลฯ ตามชื่อที่เจ้าของเขาเรียกตัวเอง
จีนฮ่อ หรือจีนยูนนาน เป็นจีนกลุ่มแรกสุด ที่เข้ามาค้าขายและอาศัยอยู่ในดินแดนล้านนา เข้าใจว่า มาไม่ต่ำกว่า 200 ปี ขึ้นไป พวกรุ่นแรก จึงเป็นพวก พ่อค้าม้าต่างชา หรือฬ่อต่างชา ซึ่งมาอยู่อาศัย ค้าขาย เมื่อสองร้อยปีก่อนขึ้นไป ที่ถูกใจ หรือต้องใจสาวล้านนา จนอยู่กินเป็นคู่ผัวตัวเมีย ก็จึงตั้งหลักปักฐานในดินแดนล้านนา ไม่ได้กลับไปยูนนาน บ้านเดิม ก็มีมากมายหลายกลุ่มหลายครอบครัว
ตระกูลเก่าแก่ของชาวจีนยูนนาน หรือจีนฮ่อ ในเชียงใหม่-เชียงราย เอ่ยออกมา หลายท่านก็รู้จัก ทั้งฮ่อพุทธ ฮ่อมุสลิม เช่น ตระกูลรุจิพรรณ ตระกูลวีระพันธ์ ตระกูลจันทร์ต๊ะ ตระกูลโชคชัยวงศ์ ฯลฯ
อันนี้ถือว่าเป็นหน่อเนื้อเชื้อไขของชาวจีนยูนนานในยุคสมัยการค้าม้าต่างชา ในสมัยโบราณ ครับ
นอกจากนี้ ยังมีชาวจีนฮ่อ อีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันถือว่าเป็นกลุ่มใหญ่มากเลยทีเดียว นั่นคือ อดีตทหารจีนคณะชาติ ของพรรคก๊กมินตั๋ง (กว๋อหมินตั่ง) ซึ่งถูกทหารกองทัพปลดปล่อยประชาชนของท่านจอมพลจูเต๋อ ตีออกมาจนถอยร่นเข้ามาในเขตพม่า และถูกทหารรัฐบาลพม่า ตีต่อจนถอยเข้ามายังเขตประเทศไทยที่อำเภอแม่สาย แม่จัน เชียงของ เทิง จังหวัดเชียงราย และอำเภอแม่อาย อำเภอฝาง อำเภอไชยปราการ จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอปาย อำเภอปางมะผ้า อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน และ อำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย(ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดพะเยา)
ทหารจีนกองพล 93 กลุ่มนี้ 99 เปอร์เซ็นต์ เป็นชาวหยุนหนาน หรือยูนนาน เมื่อเข้ามาในประเทศไทยแล้ว รัฐบาลไทยในสมัยนั้น จึงเสนอข้อแลกเปลี่ยน ให้กองทหารกองพลนี้ ร่วมช่วยรัฐบาลไทย ปราบปรามกลุ่มผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ เพื่อแลกกับสิทธิในการอยู่อาศัยถาวร และความเป็นประชาชนไทย ผลปรากฎว่าได้ผลดีอย่าง 100 เปอร์เซ็นต์ เขาเหล่านี้จึงได้กลายมาเป็นคนไทยโดยสมบูรณ์ (ในช่วงแรก ๆ รัฐบาลไต้หวันยังส่งเงินช่วยเหลือมาให้เป็นระยะ ๆ มาถึงงวดสุดท้าย ประมาณปี พศ.2535 ผ่านธนาคารกรุงเทพ ซึ่งตอนนั้นไหงเป็นพนักงานอยู่ และได้ไปจ่ายเช็คให้ทหารเหล่านี้ ในฐานะที่เป็นพนักงานที่พอพูดภาษาจีนกลางได้ ทหารเหล่านี้ในตอนนั้น บางท่านก็แก่หงำเหงือก บางท่านก็กำลังอยู่ในวัยกลางคน บางท่านก็ไม่มีแขน ไม่มีขา แต่ทุกท่านก็มารับเงินด้วยความเบิกบานใจ มีนายพลหลี่มี่ หรือนายพล เลาลี มากำกับดูแล ทักทาย อดีตลูกน้องผู้ใต้บังคับบัญชา ตบบ่า-ลูบหลัง ทุกท่านเมื่อเห็นเจ้านายเก่า ต่างพากัน ต๊ะเบ๊ะ เป็นภาพที่น่ารักน่าเอ็นดู และสุดแสนประทับใจ)
ที่เล่ามานี้ ไหงจึงถือว่า ไหงเป็นคนที่อยู่ในพื้นที่ ได้พบปะ-คลุกคลีกับพี่น้องชาวจีนฮ่อ หยุนหนาน จนเกือบจะกลายเป็นเขยยูนนานมุสลิม และยุนนานพุทธ ถึง 2 ครั้ง 2 ครา
ไม่รวมกับที่ได้สืบเสาะศึกษาเล่าเรียนด้วยตัวเอง และมีอดีตนายทหารใหญ่ชาวจีนฮ่อ อย่างท่านพลตรีเฉิน โหมว ซิว (นายเจริญ ปรีดีพจน์ ผู้ล่วงลับ) หรือ เสธ.เฉิน ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอำเภอเชียงของ ซึ่งท่านได้เมตตาไหงมาก อุตส่าห์เล่้าเรื่อง และมอบหน้งสือการต่อสู้ของอดีตทหารจีนคณะชาติ ต่อ กองกำลังผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ นับว่าเป็นหนังสือที่ทรงค่าน่าอ่านมาก
ไหงยังรู้จักเป็นการส่วนตัวกับ ลูกชายของนายพลต้วน และตัวท่าน เสธ,เฉิน ลูกชายของผู้พันหลี่ (คุณจำเริญ ชีวินเฉลิมโชติแห่งแม่สลองวิลล่า ประธานสมาคมผู้ผลิตและจำหน่ายชาไทย-ส่วนไหงเป็นที่ปรึกษาสมาคมชาไทย) ลูกชายผู้พันลีแห่งดอยวาวี (คุณคณิต ขันมอญ แห่งเลาลีรีสอร์ท อุปนายกสมาคมชาไทยฯ) เรียกว่าไหงมีเพื่อน ๆ เป็นฮ่อ ในเชียงใหม่ และเชียงราย ทั้งฮ่้อพุทธ ฮ่อมุสลิม เยอะแยะมากมายเลยละ ไม่นับฮ่อขนานแท้ดั้งเดิม ในมณฑลหยุนหนาน ที่ตอนนี้นับญาติผูกมิตรกันไปก็หลายครอบครัวอยู่นา
ทุกวันนี้ ชาวไทยเชื้อสายหยุนหนาน หรือจีนฮ่อ รุ่นหลัง หรือรุ่นอดีตทหารจีนก๊กมินตั๋ง จึงยังคงมีรุ่นแรก รุ่นสอง รุ่นสาม จนมาถึงรุ่นสี่ รุ่นห้า แล้ว (กลุ่มคนที่เป็นผู้นำชุมชนในเวลานี้ เป็นกลุ่มคนรุ่นที่สอง หรือ ตี้เอ้อร์ไต้ อย่าง อาโกจำเริญ)
จีนฮ่อ จึงเป็นคำที่พวกเราไทยล้านนา เรียกชาวจีนหยุนหนาน หรือยูนนาน ทั้งกลุ่ม ทั้งฮ่อพุทธ ฮ่อมุสลิม หาได้ใช้เรียกจีนมุสลิม เพียงอย่างเดียว ไม่
ประเทศจีน เป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรนับถือศาสนาอิสลาม เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากอินโดนีเซีย ชาวจีน ที่นับถืออิสลาม มีทั้งชาวจีนฮั่นแท้ ๆ อย่างชาวเซี่ยงไฮ้ หางโจว ฮกเกี้ยน ยูนนาน กุ้ยโจว เสฉวน ซีอาน หนิงเซี่ย ปักกิ่ง เที่ยนสิน และชาวส่วนน้อย อย่างแมนจู ก็มีมุสลิม มองโกล ก็มีมุสลิม และพวกอุยกูร์ คาซัก เคอร์กิซ ฯลฯ
รัฐบาลจีนใหม่ ได้เรียกชาวฮั่น แท้ ๆ ที่เป็นมุสลิม ว่า หุยจู๋ คำว่า หุย หมายถึงอิสลาม จู๋ แปลว่า ชนชาติ หุยจู๋ จึงหมายถึงจีนมุสลิม อย่างที่มณฑลหนิงเซี่ย ประชากรทั้งมณฑล เป็นชาวฮั่น และนับถือศาสนาอิสลาม รัฐบาลจีนใหม่ จึงเปลี่ยนให้มณฑลหนิงเซีย เป็น "เขตปกครองตนเองชนชาติหุยแห่งหนิงเซี่ย" อย่างที่ผมได้เรียนรับใช้ไปแล้ว
ฮ่อ กับ หุย มีความหมายกันในคนละบริบท ฮ่อ คือคนจีนในมณฑลยุนนาน ส่วน หุย คือจีนฮั่นมุสลิม คนละบริบท กันนะครับ
ฮ่อ เป็นคำเรียกของพวกเราชาวไทยล้านนา ที่เรียกคนจีนยูนนาน ทั้งพุทธ และมุสลิม เรียกจนกลายเป็นภาษาล้านนาไปแล้ว และเพื่อน ๆ ชาวยูนนาน ก็ยอมรับ ให้พวกเราเรียกพวกเขาว่าฮ่อ เพราะเราเรียกเขามาเป็น ร้อย ๆ ปีแล้ว
ฮ่อ รู้ภาษาจีนกลาง ก็ ฮ่อ เป็นจีนยูนนาน นี่ครับ ภาษาหยุนหนานฟางเหยียน กุ้ยโจว และ กุ้ยหลิ่ว(พูดกันในเมืองหลิ่วโจว และเมืองกุ้ยหลิน) สามกลุ่มนี้ จัดอยู่ในกลุ่มภาษาปักกิ่ง ครับ พี่น้อง เป็นเช่นไร อยู่ตั้งไกลโพ้นจากกรุงปักกิ่ง ทำไมคนที่นี่ถึงพูดภาษาท้องถิ่นเป็นกลุ่มภาษาปักกิ่ง โปรดตามย้อนไปอ่านงานเขียนของไหง ท่านจะพบ และเข้าใจ ครับ
ทุกวันนี้ ไหงได้ยินคนที่คุนหมิง และเมืองต่าง ๆ ในมณฑลหยุนหนาน พูดภาษา หยุนหนาน ไหงก็ฟังรู้เรื่อง คนปักกิ่ง หรือคนจีนทุกคน ก็รู้เรื่อง ก็เพราะภาษาถิ่นของเขา มันเป็นกลุ่มภาษาปักกิ่ง ครับ พี่น้อง
ท่านใดอยากพิสูจน์ ตามผมไปคุนหมิง สิครับ แล้วท่านจะหลงรัก หยุนหนาน
ส่วนชาวหุย หรือชาวจีนฮั่นแท้ ๆ ที่เป็นมุสลิม แต่เดิมหรือในชีวิตปกติ เขาก็ใช้อักษรฮั่น แต่เมื่อมาเป็นมุสลิม เขาก็ต้องศึกษาอักษรอารบิก เพื่อใช้ในการศึกษาพระคัมภีร์กุรอ่าน ตามหลักศาสนาของเขา เปรียบเหมือนชาวพุทธต้องเรียนภาษาบาลี เพื่ออ่านพระไตรปิฏก ยังไงยังงั้น    
มาถึงตรงนี้ คุณฉินเทียน และทุกท่าน คงเข้าใจแล้วนะครับ ว่า
           ฮ่อ คือชาวจีนยูนนาน ที่คนไทยล้านนาเรียก 
หุย คือชาวจีนฮั่น แท้ ๆ ที่รัฐบาลจีนใหม่ เรียก
และยังมีชนชาติส่วนน้อย อีกหลายชนชาติ ที่เป็นอิสลาม เช่น มองโกล(ส่วนหนึ่ง) แมนจู(ส่วนหนึ่ง) ถู่เจีย(ส่วนหนึ่ง) อุยกูร์ (ทั้้งหมด) คาซัก(ทั้งหมด) คีร์กิซ(ทั้งหมด) ทาจิก(ทั้งหมด) อย่างนี้เป็นต้น ครับ
หวังว่า การแก้ไขจากไหง่ คงจะเป็นประโยชน์ ต่อผู้อ่านทุกท่าน นะครับ
ขอขอบพระคุณ คุณฉินเทียน เป็นอย่างยิ่ง ครับ.
หมายเหตุ-ทฤษฎีที่ว่าด้วยคนล้านนาเรียกจีนฮ่อ ที่เพี้ยนมาจากฬ่อ นั้น เป็นทฤษฎีที่ตัวไหงเองให้น้ำหนักมากที่สุด ซึ่งไหงก็จำไม่ได้แล้วว่า ได้รับการอ้างอิงมาจากแหล่งใด เนื่่องด้วยมันนานมามากเหลือเกิน ส่วนทฤษฎีของท่าน อาจารย์เจี่ยแยนจอง ซินซาง ชาวจีนเชื้อสายไทยฮากกาจากหาดใหญ่ ที่ไปโด่งดังเป็นนักวิชาการด้านไทยศึกษาในมหาวิทยาลัยชนชาติแห่งมณฑลหยุนหนาน นั้น ก็เป็นทฤษฎีที่น่าเชื่อถือมาก อันหนึ่ง ครับ.
 
รูปภาพของ นายวีรพนธ์

มุสลิมจีนฮ่อ

มุสลิมจีนฮ่อ โดย บินมูซา วันที่ อาทิตย์ กันยายน 2551

Posted by Ching ching

ที่มาhttp://muslimthai.ning.com/profile/Chingching

งานของคุณ Ching ching มุสลีมะฮ์ Chiang Mai

บทความที่อ่านข้างล่างนี้เป็นผลงานตัวจบสมัยเมื่อ 7-8 ปีก่อนสมัยที่ยังเรียนป. ตรีอยู่ โดยมีอ. อรรถจักร สัตยานุรักษ์ เป็นที่ปรึกษา
และอ. เคยจะเอาไปลง นิตยสารศิลปะและวัฒนธรรม แต่ก็ไม่รู้ว่าสำเร็จหรือเปล่า แต่ลองอ่านดูนะคะ เผื่อจะได้ความรู้เกี่ยวกับมุสลิมจีนฮ่อในภาคเหนือบ้าง จะทยอยลงเรื่อยๆ นะคะ ติชมกันได้ เวอร์ชั่นนี้ไม่ได้แก้ไขเลย แม้แต่นิดเดียว
แต่คาดว่าคงต้องแก้ไขกันบ้าง อินชาอัลเลาะห์ จะหาเวลาแก้ไขอีกครั้งคะ วัสลาม

ประวัติความเป็นมาของชุมชนมุสลิมจีนฮ่อ

ความเป็นมาของจีนฮ่อ
จีนฮ่อ คือชาวจีนยูนนานที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางเหนือของประเทศไทย และกลุ่มจีนฮ่อนี้มีทั้งที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานตามปกติในฐานะเพื่อนบ้านใกล้เคียงซึ่งอพยพมาตั้งหลักแหล่งค้าขายนานมาแล้วประมาณ 100 กว่าปี (มีการตั้งถิ่นฐานของชาวจีนครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5) ซึ่งตั้งถิ่นฐานในจังหวัดเชียงใหม่ และอีกกลุ่มหนึ่งคือ กลุ่มที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานด้วยสาเหตุที่เกี่ยวกับการสงครามในช่วงเวลาที่จีนมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองตั้งแต่ พ.ศ. 2492 ซึ่งจะกล่าวต่อไป

ที่มาของคำว่า “จีนฮ่อ”
คำว่า “จีนฮ่อ” ได้มีผู้ศึกษาเกี่ยวกับคำว่า “ฮ่อ” ไว้หลายแนวคิด คือ
“ฮ่อ” เป็นคำไทยที่ใช้เรียกชาวยูนนานซึ่งเป็นจีนที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยทางภาคเหนือ
ในทางเหนือเรียกจีนที่เดินบกเข้ามาในประเทศไทยว่า ฮ่อ ทั้งหมดมิได้กำหนดเฉพาะชาวยูนนาน
เจีย แยนจอง (ยรรยง จิระนคร, 2538) ได้เคยตั้งคำถามว่าเหตุใดเราจึงเรียกชาวยูนนานว่า “ฮ่อ” ทั้งๆ ที่ชาวจีนยูนนานไม่ได้เรียกตัวเองว่า “ฮ่อ”
นิยามคำว่า “ฮ่อ” เป็นคำนิยามที่ไทยลื้อ ไทโยน และชาวหลวงพระบาง ชาวเชียงตุงใช้เรียกผู้ปกครองชาวจีนยูนนานในสมัยโบราณเป็น “เจ้าว่องฮ่อ” เรียกคนจีนในยูนนานเป็น “ฮ่อ” ตำนานสิงหนวัติของเชียงใหม่กล่าวถึง “กษัตริย์ฮ่อเทวกาล” วรรณกรรมเรื่องท้าวฮุ่งของหลวงพระบางกล่าวถึง “เจ้าว่องฮ่อ” ไว้หลายครั้ง
คำว่า “ฮ่อ” มาจากคำจีนยูนนานที่เรียกแม่น้ำว่า “ห้อ” เพราะจดหมายเหตุจีนสมัยราชวงศ์สุย และรางวงศ์ถัง (พ.ศ. 1124-1450) เรียกชนเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่กลุ่มแม่น้ำแส (ทะเลสาบเอ๋อห่ายปัจจุบัน) เป็น“ห้อ” ดังนั้นความเป็นมาของคำว่า “ฮ่อ” จึงมาต่อเนื่องแต่โบราณว่ากลุ่มชนที่อยู่ริมแม่น้ำเสในยูนนาน คือ พวกฮ่อ (กลุ่มชนริมแม่น้ำ) และต่อมากลายเป็นชาวจีนยูนนานไปตั้งถิ่นฐานที่ใดก็ได้เรียกขานว่าเป็น “ฮ่อ”เช่นเดียวกับกลุ่มที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางเหนือของไทย
ส่วนในนิยามของไทลื้อสิบสิงปันนาและไทเขินเชียงตุง หมายถึงจีนทั่วไป คือจะเรียกประเทศจีนว่า เมืองฮ่อ เรียกคนจีนว่า “ฮ่อ” อักขระวิธีการสะกดของอักษรลื้อหรืออักษรล้านนาจะเขียนว่า “ห้อ”
สำหรับภาษาพูดและเขียนที่กลุ่มจีนฮ่อใช้อยู่เป็นภาษาจีนที่ใกล้เคียงกับภาษาจีนกลาง ดังนั้น ชาวจีนยูนนานจะเข้าใจภาษาจีนกลางได้ง่ายกว่าชาวจีนกลุ่มอื่นๆ
อีกส่วนหนึ่งเป็นความเข้าใจของชาวจีนฮ่อเองว่า “ฮ่อ” มาจากคำพูดติดปากของคนจีนยูนนานในช่วงแรกที่อพยพเข้ามาอยู่ในไทยซึ่งพูดภาษาไทยไม่ได้ และเมื่อคนเมืองหรือคนไทยพูดด้วยหรือถามอะไรมักจะตอบว่า “ฮ่อๆ ฮ่อๆ” ดังนั้นจึงเรียกคนจีนยูนนานว่า “ฮ่อ”
อาจสรุปได้ว่า ในทัศนะของผู้ที่ไม่ใช่ชาวจีนฮ่อ “ฮ่อ” คือ ชาวจีนที่อพยพเข้ามาในไทยภาคเหนือโดยทางบก และเมื่อมณฑลที่อยู่ใกล้ไทยมากที่สุดคือยูนนาน ดังนั้นชาวจีนส่วนใหญ่จึงมาจากยูนนาน และเนื่องจากในอดีตมณฑลนี้ประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม จีนฮ่อที่เข้ามาในไทย ส่วนใหญ่จึงเป็นมุสลิม คนไทยจึงเรียกคนจีนกลุ่มนี้ว่า “ฮ่อ”

เมื่อกล่าวคำว่า “มุสลิม” เรามักจะคิดว่าเป็นแขก หรือคนที่มาจากเชื้อสายมาเลเซีย ปากีสถาน อินเดีย และเมื่อพบบุคคลที่เป็นจีนมุสลิมก็มักจะเกิดคำถามว่า เป็นคนจีนแล้วทำไมเป็นมุสลิม ทั้งที่ความเป็นจริงแล้วจีนมุสลิมในประเทศจีนมีมากกว่าคนไทยทั้งประเทศ “สถิติจีนมุสลิมแผ่นดินใหญ่ ปี ค.ศ. 1979 (พ.ศ. 2522) มีจำนวน 115,000,000 คน จากจำนวนประชากรทั้งสิ้น 960,000,000 คน”
ประเทศจีนถือได้ว่าเป็นประเทศแรกและประเทศเดียวที่มีคนมุสลิมที่ไม่ใช่ชาวอาหรับอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และเป็นแหล่งแรกของศาสนาอิสลามที่กระจายไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ปรากฏว่าจำนวนมุสลิมในจีนมากถึง 50 ล้านคน จึงทำให้ศาสนาอิสลามกลายเป็นศาสนาที่ใหญ่ศาสนาหนึ่งในประเทศจีน และทางรัฐบาลยอมรับว่า บรรดามุสลิมคือผู้นับถือศาสนาอันเป็นชนส่วนน้อยที่มากที่สุดของประเทศจีน ซึ่งมีทั้งหมด 56 ชนชาติ 55 ชนกลุ่มน้อย คือมุสลิมที่มีชื่อ “หุย” พวกมองโกลซึ่งมีชื่อว่า “เหมิง” (meng) พวกทิเบตที่มีชื่อว่า “จ้าง” (zhang) และพวกแมนจูเรียที่มีชื่อว่า “หมั่น” (manzu) ในปัจจุบันจีนมุสลิมอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นภายในมณฑลต่างๆ ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ คือ หูเป่ย ซีนเกียง ส่วนทางยูนนาน เราพบว่ามุสลิมอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นในมณฑลยูนนาน เสฉวน และทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ชาวมุสลิมอาศัยอยู่แถบหนิงเช่ย ในอันเว่ย โดยเป็นแหล่งที่มีมุสลิมอยู่อย่างหนาแน่นมากที่สุด
เนื่องจากการขยายอาณาจักรของจีนจึงทำให้จีนประกอบไปด้วยคนหลากหลายเชื้อชาติและเพื่อทราบถึงความแตกต่างในเชื้อชาติเผ่าพันธุ์เดิม ตามที่ได้กล่าวไปแล้วสำหรับ “ฮ่อ” คือคำที่ใช้เรียกชาวจีนมุสลิมโดยทั่วไป เป็นไปไปได้ว่า “ฮ่อ”มาจากคำว่า “หุย” ซึ่งเป็นคำที่ชาวจีนใช้เรียกผู้ที่เป็นมุสลิมตั้งแต่แรกเริ่ม


สาเหตุสำคัญที่ผลักดันให้มุสลิมจีนฮ่ออพยพออกจากจีน

มุสลิมจีนฮ่อที่อพยพออกจากจีนนั้นมิได้อพยพมาครั้งเดียว หากแต่มีหลายกลุ่มและสาเหตุที่ผลักดันให้อพยพออกมาแตกต่างกันไป
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในจีนคือ ราชสำนักแห่งราชวงศ์ชิง ( พ.ศ. 2171 – 2453) ได้ดำเนินนโยบายบีบคั้น ทำการกดข่มเหงขี่ชาวจีนฮั่น( แผ่นดินใหญ่ ) เป็นอย่างมาก พยายามควบคุมมุสลิมให้เลิกนับถือศาสนา.... ในที่สุดบรรดามุสลิมจึงได้ก่อความไม่สงบขึ้นเพื่อต่อต้านความอธรรม เป็นผลทำให้กษัตริย์แห่งแมนจูเรียได้ทรงพิโรธ จึงทรงสั่งให้ปราบปารมมุสลิมการปราบปรามครั้งนี้ได้มีการสังหารมุสลิมในมณฑลต่างๆ เป็นจำนวนมาก
ในช่วงระยะปี พ.ศ. 2398จนถึง พ.ศ. 2419 ได้เกิดกบฏขึ้นในยูนาน การกบฏครั้งนี้ได้เกิดขึ้นจากชนที่นับถือศาสนาอิสลามไม่พอใจการปกครองของรัฐบาลจีน จึงทำให้มุสลิมชาวจีนยูนานได้ก่อความไม่สงบขึ้น เพื่อต่อต้านความอธรรม จนในที่สุดพื้นที่ทางแถบทางทิศตะวันตกของมณฑลยูนานจึงตกอยู่ในการควบคุมของมุสลิมชาวจีนยูนาน และตั้งเมืองตาลีฟูเป็นเมืองหลวงของยูนาน แต่ต่อมาภายหลังผู้นำมุสลิมที่มีชื่อว่า สุลัยมานถูกสังหาร จึงทำให้ชาวมุสลิมถูกไล่ล่าสังหารอย่างโหดร้าย มีการสังหารผู้คนในหมู่บ้านมุสลิมลงอย่างราบคราบในยามราตรี ก่อนที่จะถูกประหาร ครอบครัวชาวมุสลิมต่างตระหนกตกใจ บ้านของพวกเขาถูกปล้นสะดมและสุเหร่าถูกเผา เสียงร้องหวีดด้วยความกลัวกระจายจากหมู่บ้านหนึ่งไปยังอีกหมู่บ้านหนึ่ง ชาวมุสลิมจึงได้วิ่งเข้าจับอาวุธบ้างและรวมตัวกันเป็นหมู่ใหญ่มีชาวจีนมุสลิมมากกว่า 1 ล้านคนถูกฆ่าตาย เพื่อการล้างแค้นในที่สุดพวกแบนไทก็ถูกปราบปรามอย่างราบคราบ แต่ในขณะเดียวกันประชากรมากกว่า 1 ใน 4 ของยูนานก็ได้ประสบความพินาศย่อยยับและต้องอพยพหลบภัยไปที่อื่นเนื่องจากเกิดโรคระบาดคือ กาฬโรค ภัยพิบัติก็ได้เกิดขึ้นตามการกบฏมาและได้ทำลายมณฑลนี้อย่างหน้าประหวั่นพรั่นพรึง



จากเหตุการณ์ในจีนดังกล่าวที่เกิดขึ้นจึงน่าเป็นเหตุผลต่อการอพยพการเข้ามาของจีนฮ่อจากยูนานในสมัยรัชกาลที่ 5 ( ท่านขุนชวงเลียง วงศ์ลือเกียรติ ซึ่งจะกล่าวในบทต่อไป ) โดยมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในภาคเหนือของไทย
ในปี พ.ศ. 2492 เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน ทำให้กำลังทหารจีนคณะชาติได้หลบหนีออกจากประเทศจีนอย่างเด็ดขาด กลุ่มจีนฮ่อที่อพยพเพราะการสงครามนี้ยังแยกตัวออกเป็นกลุ่มย่อยสองกลุ่มคือ กลุ่มจีนฮ่ออพยพ อันได้แก่ครอบครัวทหารจีนคณะชาติที่หลบหนีติดตามทหารเข้ามาในพม่า และเมื่อถูกพม่าปราบปรามก็ถอนร่มเข้ามาในประเทศไทย ส่วนกลุ่มอพยพอีกกลุ่มหนึ่ง คือ ชาวจีนยูนานที่ไม่ได้ตามครอบครัวมาแต่ไม่ชอบระบบคอมมิวนิสต์ จึงหนีออกจากยูนานเข้ามาในพม่า และบางส่วนเข้ามาในกลุ่มย่อยที่สองที่อพยพอันเกี่ยวเนื่องมาจากสงคราม คือ กลุ่มทหารจีนกลุ่มคณะชาติที่ตกค้างหรือพวกเราต่างก็รู้จักกันดีในนามก๊กมินตั๋ง ( KMT) กองพล 93นั้นเอง และในข้อเท็จจริงชาวจีนกลุ่มนี้มิใช่กลุ่มชาวจีนคณะชาติที่ตกค้าง อีกต่อไปแล้วเพราะมิได้มีสถานะเป็นทหารอีกต่อไปแล้ว เนื่องจากรัฐบาลจีนคณะชาติได้ดำเนินการโดยผ่านองค์การสหประชาชาติ ให้ทำการอพยพทหารกลุ่มทหารดังกล่าวไปยังไต้หวันหลายครั้ง ครั้งสำคัญในช่วง พ.ศ. 2496 และ พ.ศ. 2504 แต่ยังมีบางส่วนไม่ยอมกลับและทางรัฐบาลไต้หวันก็ไม่รับผิดชอบต่อกลุ่มทหารกลุ่มนี้อีกต่อไป ดังนั้นจีนฮ่อกลุ่มนี้มิได้เป็นทหารทั้งของรัฐบาลจีนคณะชาติหรือพลเมืองที่สาธารณรัฐประชาชนจีนรับรอง ดังนั้นสถานภาพของจีนฮ่อกลุ่มนี้อยู่ในสถานภาพของจีนฮ่อถืออาวุธที่ตั้งถิ่นฐานในบริเวณตะเข็บของชายแดนไทยและพม่า

ดังนั้นเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองและเหตุการณ์ ต่างๆตามที่กล่าวมาข้างต้นจึงทำให้ชาวมุสลิมจีนฮ่อบางส่วนที่เป็นทหารและบางส่วนที่เดินทางเข้ามาค้าขายในไทยและพม่า ไม่สามารถกลับไปเมืองจีนได้ จึงปักหลักตั้งฐานทำการค้าขายในทางภาคเหนือของไทย ซึ่งทางรัฐบาลของไทยได้จัดสถานที่เป็นศูนย์อพยพอยู่ประมาณ 50 กว่าศูนย์ทางภาคเหนือ

 

ดูงานเปรียบเทียบที่http://www.oknation.net/blog/naichumpol/2008/03/24/entry-3

เชียงใหม่กับการอพยพของชาวมุสลิม

ประวัติชาวไทยมุสลิมที่มีเชื้อสายจีนยูนนาน และบังคลาเทศ ปากีสถานในจังหวัดเชียงใหม่

นำเสนอ มุสลิมจีนฮ่อโดย นายชุมพล ศรีสมบัติ

 

 

ที่มาhttp://www.oknation.net/blog/print.php?id=318116

ขอขอบคุณ

รูปภาพของ ฉินเทียน

โปรด รับชม ในรายการพันแสงรุ้ง ที่ได้ลงไว้แล้วข้างบนครับ

ความเชื่อเกี่ยวกับ หมู นั้น ทุกท่านที่บริโภค เนื้อหมู หรือเนื้อสุกร คงทราบดีว่าเป็นอย่างไร ไม่จำเป็นต้องชี้แจงแถลงให้มากมายครับ

เพราะ ทุกท่านสามารถพิสูจน์ได้ ในปัจจุบันทันที มีวิจารณญาณในการรับรู้รับทราบ ( เนื้อหมูยังเป็นของไหว้ในเทศกาลต่างๆ ของจีน )

-------------------------------------------------------------------------------------------------

ตั้งแต่นาทีที่ 5.00 เป็นต้นไป ดร.พันกวี มาไพโรจน์ (ในคลิป) ได้บอกไว้อย่างชัดเจน

สรุป คือ ฮั่นเจียว ไม่ใช่ หุยเจียว  ผู้ไม่มีความรู้ ควรรับฟังผู้มีความรู้ ไม่ควรคิดเองครับ

ฮั่น ก็คือ ฮั่น มีวัฒนธรรมฮั่น แล้ว หุย ก็คือ หุย มีวัฒนธรรมหุย ไม่ควรสับสนครับ ตอเซีย  

------------------------------------------------------------------------------------------------

ในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี มีการปราบปรามโจร ในภาคเหนือ ซึ่งทำให้บ้านเมืองสงบสุข ทุกข์ภัยหายไป ไพร่ฟ้าหน้าใส ครับ

http://th.wikipedia.org/wiki/สงครามปราบฮ่อ

รูปภาพของ YupSinFa

นักวิชาการสติเฟื่อง

        ท่านที่รัก

         ก่อนที่ไหงจะร่ายยาวทำความเข้าใจถึงเรื่องราวของชาวจีนหยุนหนาน และจีนฮ่อที่พวกเราชาวไทยล้านนาเรียกมานมนานกาเล และหุย-ฮั่น ตามบล๊อคนี้ ไหงได้เข้าไปเปิดฟังรายการพันแสงรุ้่ง ในตอนนี้ เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการเสริมความเข้าใจและขยายความในสิ่งที่เป็นจริง ไม่ให้ผิดพลาดคลาดเคลื่อน

         ในนาที่ที่ 5 ที่นักวิชาการชาวเชียงใหม่เชื้อสายหยุนหนานท่านนี้ พูด ขอเรียนว่าคำพูดที่ท่านกล่าวนั้นเป็นสิ่งที่คลาดเคลื่อนไปมาก-อันนี้นับว่าเป็นจุดบอดของแวดวงวิชาการไทย คือผู้ที่มีตำแหน่งแห่งหนทางวิชาการ ที่ผู้คนทั่วไปเข้าใจว่า ท่านจะต้องรู้ นั้น ปรากฏว่าท่านรู้ไม่จริง ครับ...

         คำว่า "เจี้ยว" ในภาษาจีนกลาง แปลว่า การนับถือ (คำกริยา) เช่น ฝอเจี้ยว-แปลว่า นับถือศาสนาพุทธ หุยเจี้ยว-แปลว่า นับถือศาสนาอิสลาม ต้าวเจี้ยว-แปลว่า นับถือลัทธิเต๋า

         ในประเทศจีน 9 ล้าน 6 แสน ตารางกิโลเมตร และคนจีน 1 พัน 3 ร้อยห้าสิบล้านคน ไม่มีคำว่า "ฮั่นเจี้ยว" ครับ

         ฮั่น เป็นราชวงศ์แรก ที่มีความยิ่งใหญ่ยาวนานมาถึงสี่ร้อยกว่าปีจนคนจีนแท้ ๆ ในประเทศจีน เรียกตัวเองว่า ชนชาติฺฮั่น และถูกใช้อย่างเป็นทางการตอนประกาศสถาปนาประเทศจีนใหม่ 

         คำว่า "ฮั่นเจี้ยว" ถ้าแปลตรงตัวว่า "นับถือฮั่น" ถ้าไปพูดกับใครในประเทศจีน คนจีนคงจะ งง เป็นไก่ตาแตก ว่า หมายถึงอะไร

         อันนี้เป็นผลจากนักวิชาการสติเฟื่อง ที่อยู่แต่บนหอคอยงาช้าง ไม่รู้เรื่องราวของความเป็นจริง-ไหง เข้าไปในมณฑลยูนนาน เกือบทุกเดือน ถ้านับว่าตัวเองเป็นฮากกา เป็นกว่างตง มีคนรู้จัก-ญาติพี่น้องในประเทศจีน ถ้ามากที่สุด ก็นับว่ารู้จักจีนในประเทศจีนมากที่สุด ก็ต้องเป็นญาิติพี่น้องในเหมยโจว

         รองลงมาที่ไหงรู้จักมากที่สุด ก็หนีไม่พ้นชาวจีนฮ่อ ในมณฑลยูนนาน หรือหยุนหนาน นี่แหละครับ รวมแล้ว นับเป็นปริมาณ มากกว่าจำนวนญาติในเหมยโจวเสียอีกครับ-ดังนี้ ความรู้ความเข้าใจในความเป็นจีนฮ่อ จีนหยุนหนาน และเรื่องราวเกี่ยวกับจีนทั้งหมด (ในภาคสนาม-และภาคปฏิบัติ) ไหงคิดว่า ไหงมีประสบการณ์ที่ได้สัมผัสจริงมากที่สุด.

        นักวิชาการสติเฟื่องเหล่านี้ ถึงแม้ว่าจะเป็นเชื้อเป็นสาย นับถือมุสลิม แต่ว่า มาจากต้นตระกูลที่เข้ามาในสมัยร้อยสองร้อยปีก่อน ความเป็นจีนไม่มีเหลือ พูดฮ่อ พูดจีนกลางไม่ได้สักคำ คงเหลือแต่ศาสนาที่ติดครอบครัวสืบทอดกันมารุ่นสู่รุ่น ไม่ได้ลงไปสัมผัสความเป็นจริง ในสถานที่จริง มีความรู้เรื่องรากเหง้าของตัวเอง น้อยกว่า ลูก-หลานจีนฮ่อ ที่สืบเชื้อจากทหารจีนคณะชาติในรุ่นหลัง มากมายนัก

       แต่้ด้วยความเป็นนักวิชาการที่มีสังกัด การพูด การให้ความเห็น จึงต้องนำมาอ้างอิง 

       อันนี้แหละครับ ที่เป็นบ่อเกิดของความไม่รู้ ผู้ไม่รู้จริง แต่มีภาพว่ารู้ แล้วเอาความไม่ถูกมาพูด ความไม่ถูำก จึงกลายมาเป็นความถูก

       อันตรายครับ

       ผู้ที่มีภาพว่ามีความรู้ แต่เอาความไม่รู้มาพูด จึงทำให้คนไม่รู้ คิดว่า คนรู้ไม่จริง พูดในสิ่งที่ถูกต้อง

       อันตราย อีกแล้วครับ

       ด้วยความรับผิดชอบในสิ่งที่ถูกต้อง และรับผิดชอบต่อสังคม คือ เป็นการป้องกันไม่ให้ ลูก-หลาน ของพวกเรา จะไม่ต้องได้รับข้อมูลที่ผิด แล้วคิดว่ามันถูก แล้วเราก็จะรับเอาข้อมูลที่มันไม่ถูก ถ่ายทอดลงไปเป็นลูกโซ่ ไหงจึงทนไม่ไหว เพราะกลัวว่าลูกของไหง่เข้ามาอ่านแล้วคิดว่า นักวิชาการบนหอคอยงาช้าง ท่านพูดถูก

       จึงขอแก้ว่า ผู้ไม่รู้(จริง) มาพูด(ไม่ถูก) จึงทำให้ ผู้ไม่รู้ คิดว่า ไ้ด้ฟังผู้รู้ แล้วตัวเองจึงรู้ (ในสิ่งที่ไม่ถูก-แล้วคิดว่าถูก)

       คนที่คิดเอง คือ

       นักวิชาการสติเฟื่อง

       หาได้เป็นคนที่รู้ จากเหตุการณ์จริง สถานที่จริง รู้มาจากคนที่รู้จริง ต่างหากครับ

       หาได้คิดเอง ไม่

       --------------------------------

       ไหงเป็นฮั่น พุทธ จึงไม่ใช่หุย

        ในประเทศจีน ฮั่นที่เป็นมุสลิม เรียกว่า หุย (แต่ที่จริงสายเลือดเป็นฮั่นแท้ ๆ)

        หุย จึงเป็น ศาสนา หุยที่เป็นฮั่น จึงมีวัฒนธรรม ที่ยังไง ยังไง ก็เ้ป็นฮั่น มีการฉลองตรุษจีน มีวัฒนธรรมทุกอย่าง แบบฮั่น พูดภาษาฮั่น (ไม่มีภาษาหุย) ยกเว้น กิจกรรมของฮั่น ที่เป็นพุทธ เขียนให้เห็นภาพ ก็คือ คนไทยอยุธยาแท้ ๆ แต่เป็นมุสลิม ก็มีวัฒนธรรม การกิน การอยู่ ทุกสิ่งทุกอย่าง แบบไทยแท้ 

        หุย ที่เป็นฮั่น ก็เช่นกันครับ 

        ยกเว้น หุย ที่เป็น ชนชาติส่วนน้อย ต่าง ๆ เช่น อุยกูร์ คาซัก ทาจิก ก็จะมีวัิฒนธรรมประจำชนชาติของตัวเอง เช่นภาษา การแต่งกาย จารีตประเพณี

        สิ่งที่หุย หรือมุสลิมทั่วโลกเหมือนกันหมด คือ หลัีกศาสนา ครับ

        เขียนให้ชัดเจนขึ้นมาอีก โดยใช้ข้อมูลที่ท่านอาจจะนึกไม่ถึง อย่าง ม้ง หรือ แม้ว ที่คนไทยเรียก ในประเทศจีน มีส่วนหนึ่งที่นับถือศาสนาอิสลาม นะครับ เอาละซี ทีนี้ วัฒนธรรมม้ง มุสลิม จะเป็นยังไง ก็ต้องเป็นวัฒนธรรมม้ง สิครับ พูดภาษาม้ง แต่งกายแบบม้ง แต่ข้อปฏิบัติทางศาสนา เป็นอิสลาม 

        ---------------------------------------------------

        อีกท่านหนึ่ง ครับ 

        ท่านพูดว่า จีนฮ่อ หรือจีนยูนนาน ว่า ภาษาจีนยูนนาน อยู่ในภาษาีจีนแมนดารินตะวันตก

         ปล่อยไก่เป็นเล้าอีกแล้วครับ

         ภาษาจีนยูนนาน ภาษาจีนกุ้ยโจว และภาษาจีนกุ้ยหลิ่ว (กุ้ยหลิน-หลิ่วโจว มณฑลกว่างซี) เป็นกลุ่มภาษาพูด ในกลุ่มภาษาจีนปักกิ่ง ครับ

         ภาษาจีนตะวันตก หรือ ซีฟาง ฟางเหยียน ถ้าไปถามคนจีน คนจีนก็จะบอกว่า ภาษาจีนตะวันตก ก็คือภาษาเสฉวน ยังไงเล่าครับ

         คนเสฉวน พูดภาษาถิ่น เป็นคนละภาษากับยูนนาน คนจีนปักกิ่งฟังไม่เข้าใจ ครับ แต่คนจีนปักกิ่ง ฟังยูนนาน พูด เข้าใจ เหมือนคนกรุงเทพ ฟังคนสุพรรณบุรี เข้าใจ 

         อีกอย่าง คำว่า จีนแมนดาริน มาจากคำที่ฝรั่งตะวันตกที่เหยียบย่ำยีต่อคนจีน ต่อประเทศจีน เป็นผู้บัญญัติศัพท์ตั้งให้ มาถามคนจีนว่า ภาษาแมนดาริน คืออะไร คนจีนทุกคน งง ตาเหลือก ครับ ด้วยไม่รู้จริง ๆ  ว่า แมนดาริน คือภา่ษาอะไร

         -----------------------------------

         ที่ยอมเสียเวลาเขียนมาทั้งหมด เพราะ กลัวลูกและหลานของไหง่มาอ่านแล้วจะได้ข้อมูลที่ผิด ติดตัวไป อันเป็นสิ่งที่ไหงกลัวมากที่สุดน่ะครับ ไท้ก๋าหยิ่น.

 

 

รูปภาพของ วี่ฟัด

หุยหรือฮ่อหรือฮั่น

คนจีนฮ่อเราจะเข้าใจได้ว่าเป็นชาวจีนที่อาศัยอยู่ในมณฑลยุนนานที่เดินทางโดยทางเท้าข้ามภูเขาสูงมาอาศัยอยู่ในประเทศไทยทางตอนเหนือ และในกลุ่มคนที่เราเรียกว่าจีนฮ่อเองก็มิใช่เป็นมุสลิมทั้งหมด ตามรายงานชาวจีนฮ่อจะเป็นมุสลิมเพียงหนึ่งในสามเท่านั้น

ส่วนชาวหุยจู๋ (  回族 ) คือชาวมุสลิมแน่ๆยิ่งกว่าแช่แป้งส่วนมากจะอาศัยอยู่ในเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยไล่ลงมาจนถึงยุนนาน

และในกลุ่มคนที่เป็นมุสลิมก็มีทั้งที่เป็นมุสลิมจีนและจีนมุสลิมหรือคนมุสลิมแท้ๆสืบเชื่อสายมุสลิมกันมาอย่างเหนียวแน่น และคนจีน ( ชาวฮั่น ) ที่มานับถือศาสนามุสลิม ดังนั้นเราจะเหมาว่าคนจีนที่นับถือศาสนามุสลิมทั้งหมดจะเป็นชาวหุยไปทั้งหมดคงไม่ได้

ดังนั้นในกลุ่มคนจีนที่นับถือศาสนามุสลิมทั้งมวลจึงมีทั้งชาวฮั่นและชาวหุย และในกลุ่มของคนจีนฮ่อที่เป็นมุสลิมเองจึงน่าจะมีทั้งชาวฮั่นและชาวหุยไปด้วย และตามที่ไหง่ได้กล่าวถึงมาตั้งแต่ต้นว่าชาวจีนฮ่อเองเป็นคนมุสลิมเพียงแค่หนึ่งในสามแล้วจะเหมาว่าชาวจีนฮ่อทั้งหมดเป็นชาวหุยมิได้เป็นชาวฮั่นนั้นคงจะไม่ถูกต้องอย่างแน่นอน

เจิ้งเหอนักเดินเรือผู้ยิ่งใหญ่ก็เป็นคนมุสลิมที่มีภูมิลำเนาอยู่ในมณฑลยุนนาน แล้วเจิ้งเหอเป็นชาวฮั่นหรือชาวหุย และทำใมเจิ้งเหอจึงมีแซ่แบบชาวฮั่น ชาวหุยจริงๆแล้วมีแซ่หรือไม่ อันนี้น่าสนใจนะ แต่ไหง่ว่าถ้าเป็นหุยแท้ๆแบบแถวเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยไม่น่าจะมีแซ่แบบชาวฮั่น และหากชาวจีนที่นับถือมุสลิมแล้วใช้แซ่แบบชาวฮั่นจะเป็นหุยหรือเปล่า หรือบางทีความเข้าใจของคนจะเหมาเอาว่าคนจีนที่เป็นคนมุสลิมจะเป็นชาวหุยไปทั้งหมด

ดังนั้นไหง่ค่อนข้างเห็นด้วยกับยับสินฝ่าว่าคนจีนฮ่อที่เป็นมุสลิมคงจะมิใช่ชาวหุยไปเสียทั้งหมดโดยเฉพาะคนจีนมุสลิมที่มีแซ่แบบชาวฮั่น

รูปภาพของ จองกว๊านหมิ่น

สาเหตุที่เรียกเผ่าหุย

中國古代時期  來自波斯和中亞地區的阿拉伯商人  經海路和陸路以絲綢之路  來到中國從事經商  會選擇寒冷季節到來前趕回去  氣候轉暖時再回來  這是被漢語人群稱做回回族  是指回來回去的原因  後來簡稱為回族

เมืองจีนในอดีตกาลนานโพ้น พวกพ่อค้าวานิชชาวเปอร์เซียและอาหรับจากแถบตะวันออกกลาง อาศัยเดินเรือทางทะเลและเดินเท้าจากเส้นทางสายไหมเข้ามาประเทศจีนเพื่อทำการค้าขาย เมื่อฤดูหนาวเริ่มย่างกรายมาเยือน พวกนี้จะรีบกลับถิ่นเดิม รอจนฤดูหนาวผ่านไป อากาศเริ่มอบอุ่น ก็กลับมาค้าขายดังเดิม พวกนี้จึงถูกชาวฮั่นเรียกว่าพวกไปไปมามาหรือกลับไปกลับมา

สรุป  : พวกหุยที่แท้จริงคือพวกอาหรับ-เปอร์เซียนั้นเอง ที่เป็นพวกมุสลิมแท้ ส่วนพวกจีน มองโกล อุยกูร์ ฯลฯ ล้วนนับถือภายหลังทั้งสิ้น เหมือนสมัยสุโขทัย-อยุธยาที่พวกฝรั่งมังค่ายังไม่ได้เดินทางมาเผยแพร่ศาสนาคริสต์ ชาวสยามต่างนับถือศาสนาพุทธเกือบทั้งสิ้น จวบปัจจุบันชาวไทยที่หันมานับถือศาสนาคริสต์มีมากขึ้น ฉะนั้น ชาวไทยที่นับถือคริสต์ ก็เปรียบเหมือนพวกคนจีนที่ไปนับถือศาสนาอิสลามฉันนั้น ชาวไทยก็คือชาวไทย ชาวจีนก็คือชาวจีนไม่เปลี่ยนแปลง ต่างกันที่นับถือศาสนาเท่านั้น ส่วนสถานที่อยู่ ไม่สลักสำคัญอะไร กระจายไปตามพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ เพียงแหล่งที่มีมากสุดอาจเป็นที่หนิงเซี้ยก็เท่านั้น
 
 
รูปภาพของ นายวีรพนธ์

21. 回族 ชนกลุ่มน้อยเผ่าหุย

21. 回族 ชนกลุ่มน้อยเผ่าหุย

 
คัดลอกภาพจาก http://www.cnr.cn/2008tf/dmqhxgx/qhh/200803/W020080323466236072255.jpg http://www.56china.com/uploadfile/2009/1018/20091018020721585.jpg

ชาวเผ่าหุยเป็นชนกลุ่มน้อยที่กระจัดกระจายมากที่สุดเผ่าหนึ่ง อาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วประเทศจีน แต่บริเวณที่มีชาวหุยรวมตัวกันอาศัยอยู่มากที่สุดคือบริเวณเขตปกครองตนเองเผ่าหุยเมืองหนิงเซี่ย นอกจากนี้ในบริเวณมณฑลกานซู๋ ชิงห่าย ยูนนาน เหอเป่ย ซานตง เหอหนานก็มีชุมชนชาวหุยเล็กบ้างใหญ่บ้างอาศัยอยู่ประปราย จากการสำรวจจำนวนประชากรครั้งที่ 5 ของจีนในปี 2000 ชนกลุ่มน้อยเผ่าหุยมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 9,816,802 คน ชาวหุยอยู่ร่วมกับชาวฮั่นมาเป็นเวลาช้านาน ปัจจุบันพูดภาษาฮั่น และหากอยู่ในชุมชนเผ่าอื่นก็จะเรียนรู้ภาษาของเผ่าใกล้เคียง

ชื่อชนเผ่าหุยย่อมาจากชื่อเต็มว่า “หุยหุย” เป็นกลุ่มชนที่เกิดจากการรวมตัวกันของชนเผ่าเล็กเผ่าน้อยอาศัยอยู่ร่วมกัน มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์อารยธรรมร่วมกันเป็นเวลานาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง นับตั้งแต่ศาสนาอิสลามเผยแผ่เข้าสู่ประเทศจีนเป็นต้นมา กลุ่มคนเผ่าเล็กเผ่าน้อยเหล่านี้จึงเกิดการรวมตัวกันเป็นชนเผ่าเดียวกันที่เด่นชัดขึ้น

ราวสมัยถัง ปี ค.ศ. 651 ศาสนาอิสลามเริ่มเผยแผ่เข้ามายังประเทศจีน พ่อค้าชาวอาหรับเปอร์เซียเดินทางเข้ามาประเทศจีนในบริเวณกว่างโจว(广州Guǎnɡzhōu ) เฉวียนโจว(泉州 Quánzhōu) หางโจว(杭州Hánɡzhōu) หยางโจว(扬州Yánɡzhōu)และฉางอาน(长安Chánɡ’ ān) และได้ตั้งหลักปักฐานในบริเวณดังกล่าวเป็นจำนวนไม่น้อย ชาวอิสลามเหล่านี้ก่อสร้างมัสยิดในประเทศจีน ซึ่งเป็นมัสยิดรุ่นแรกที่ก่อสร้างขึ้นในประเทศจีน และมีจำนวนไม่น้อยที่หลังจากตั้งถิ่นฐานแล้วได้แต่งงานกับเผ่าพันธุ์เดียวกันสร้างครอบครัวและตั้งหลักปักฐานแน่นอน จึงมีการก่อสร้างศาสนสถานอิสลามขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นมัสยิด สุสาน เป็นต้น ในขณะนั้นชาวฮั่นเรียกชนกลุ่มนี้ว่า “ฟานเค่อ” (蕃客fānkè) หรือ “ถู่เซิงฝานเค่อ”(土生蕃客tǔshēnɡfānkè) จนกระทั่งสมัยหยวนชนกลุ่มนี้ถูกเรียกว่า “หุยหุยฝานเค่อ”(回回蕃客Huíhuífānkè) หรือ “หนานฝานหุยหุย”(南蕃回回nánfānhuíhuí) ต่อมารวมกับชนเผ่าเล็กน้อยอื่นๆเกิดเป็นสมาชิกส่วนสำคัญของเผ่า “หุย”

คำเรียกชนเผ่า “หุยหุย” ปรากฏครั้งแรกในบันทึก “เมิ่งซี” 《梦溪笔谈》Mènɡxī bǐtán ของเสิ่นคั่ว (沈括Shěn Kuò) และบันทึกชื่อ《黑鞑事略》Hēidá shìlüè “สังเขปเฮยต๋า” ของเผิงต้าหย่า (彭大雅Pénɡ Dàyǎ) ในสมัยเป่ยซ่ง (北宋Běisònɡ) และหนานซ่ง (南宋 Nánsònɡ) โดยมีกล่าวถึงชนกลุ่มหุยเหอ (回纥Huíhé) หุยกู่ (回鹘Huíɡǔ) ที่เป็นอิสลามิกชน ในศตวรรษที่ 13 หัวเมืองซีเจิง(西征Xīzhēnɡ) ซีเหลียว(西辽Xīliáo)ในเขตมองโกลล่มสลาย ชาวหุยเหออพยพไปทางตะวันออก พร้อมๆกับชนเผ่าที่นับถือศาสนาอิสลามด้วยกัน ได้แก่ ชาวเปอร์เซีย อาหรับ โดยอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณทุ่งราบภาคกลาง ซีเป่ย เจียงหนาน ยูนนาน ประกอบอาชีพ เลี้ยงสัตว์ ช่างงานฝีมือ ค้าขาย นักศึกษา และข้าราชการ ชนกลุ่มนี้ถูกเรียกว่า “หุยหุย” นับเป็นชนเผ่าที่มีบทบาทและมีความสำคัญอย่างมากในสมัยหยวน จากนั้นมาชาวหุยก็ใช้ชื่อ “หุย” เรียกตัวเองตลอดมา

นับตั้งแต่สมัยหยวนถึงต้นสมัยหมิง ชาวหุยหุยซึ่งสืบเชื้อสายมาจากชาวหุยเหอหรือชาวหุยกู่ยังคงนับถือศาสนาอิสลามอยู่ อันเป็นข้อแบ่งแยกที่ชัดเจนกับชนชาวอุยกูร์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณเกาชาง (高昌Gāochānɡ) เหอซี(河西Héxī) ซึ่งนับถือศาสนาพุทธ ต่อมากลางสมัยหมิงชาวอุยกูร์อพยพเข้ามาสู่ดินแดนประเทศจีนเพิ่มมากขึ้น และหันมานับถือศาสนาอิสลามตามอย่างชาวหุย ด้วยความความสัมพันธ์ของศาสนานี้เองที่หลอมรวมชนทั้งสองกลุ่มนี้เข้าด้วยกัน

ในสมัยหยวน พวกขุนนาง คหบดี ชนชั้นสูงของพวกมองโกลหันมานับถือศาสนาอิสลามมากขึ้น ศาสนาอิสลามก็ได้รวมชาวมองโกลเข้ามาอยู่กับพวกชนชาวหุยอีกเช่นกัน ในสมัยกษัตริย์เจิ้งเต๋อแห่งราชวงศ์หมิง (ปี 1506 - 1521) ชาวฮาลาฮุย (哈剌灰人Hāláhuīrén) ที่อาศัยอยู่บริเวณเมืองฮามี่ (哈密Hāmì) ชนกลุ่มนี้เดิมเป็นชาวมองโกล ได้อพยพจากเมืองฮามี่เข้าสู่ในบริเวณประเทศจีนในเมืองซู่โจว (肃州Sùzhōu) และมีวัฒนธรรมการ “ไม่กินหมู” เหมือนอย่างชาวหุยหุย แต่เนื่องจากอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลจีน และมีการแต่งงานข้ามเผ่าพันธุ์กับชาวฮั่น วัฒนธรรมต่างๆ ของชาวหุยหุยเริ่มซึมซับและรับเอาวัฒนธรรมของชาวฮั่นไปไม่น้อย กระทั่งบางกลุ่มมีชีวิตความเป็นอยู่ร่วมสังคมกับชาวฮั่นอย่างแยกไม่ออก นอกจากนี้ชาวหุยหุยยังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชาวฮิบรูหรือชาวยิวที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่บริเวณเมืองไคเฟิง (开封Kāifēnɡ) ในช่วงสมัยราชวงศ์ซ่ง (ปี ค.ศ. 1101 - 1125) ในสมัยหยวนเรียกชนชาวฮิบรูกลุ่มนี้ว่า “ซู่ฮูหุยหุย” (术忽回回Shùhū Huíhuí) ด้วยเหตุที่ชนกลุ่มนี้นับถือศาสนายิว ไม่กินเนื้อหมู เทศกาลและกิจกรรมสำคัญทางศาสนาคล้ายคลึงกับชาวหุยหุย โดยเฉพาะการแต่งกายในเทศกาลทางศาสนาที่จะคลุมศีรษะด้วยผ้าสีฟ้า บางครั้งจึงเรียกชนกลุ่มนี้ว่า “ชาวหุยหุยหมวกฟ้า” (蓝帽回回Lánmào Huíhuí) หรือ หุยหุยเขียว(青回回Qīnɡ Huíhuí) จากพัฒนาการที่ยาวนานสืบต่อมา ชนเผ่าชาวยิวในจีนกลุ่มนี้รวมตัวเข้ากับชาวหุยหุยเป็นกลุ่มชนเดียวกัน จนยอมรับที่จะเรียกตัวเองว่า “ชาวหุย”

ระบบสังคมของชาวหุยในสมัยหยวนเป็นแบบระบบสี่วรรณะ ในสมัยนั้นชาวหุยมีสถานภาพทางสังคมสูงกว่าชาวฮั่น โดยเฉพาะในช่วงการขยายอาณาเขตประเทศของราชวงศ์หยวน กลุ่มคนชาวหุยที่เป็นชนชั้นสูง ขุนนาง บัณฑิต พ่อค้าล้วนมีอิทธิพลต่อชาวฮั่นอย่างมาก การพัฒนาประเทศในสมัยนั้น ไม่ว่าจะเป็นการจราจรระหว่างส่วนกลางกับภาคตะวันตก การทหาร การปกครอง และเศรษฐกิจล้วนได้รับอิทธิพลจากชาวหุยแทบทั้งสิ้น ในขณะเดียวกันชาวหุยเองก็ได้วางรากฐานระบบเศรษฐกิจของตนแผ่ขยายไปทั่วดินแดนจีนในคราวนี้ แต่ด้วยความที่ชาวหุยอาศัยอยู่กระจัดกระจายทั้งยังถูกรังแกจากชาวมองโกล ทำให้ไม่มีความมั่นคงในชีวิต ส่งผลให้ ขนบธรรมเนียมประเพณีไม่เป็นที่ยอมรับ จนกระทั่งสมัยราชวงศ์หมิง อำนาจของราชสำนักหมิง เข้มแข็งขึ้น ชาวหุยและชาวมองโกลจึงตกอยู่ในการปกครองของราชสำนักหมิงในที่สุด ในสมัยราชวงศ์ชิงชาวหุยและมองโกลถูกกดขี่จากการปกครองของทางการในสมัยนั้นเป็นอย่างมาก เป็นเหตุให้ชาวหุยและชาวมองโกลพยายามลุกขึ้นต่อต้านการปกครองของทางการอย่างแรงกล้า

ชนกลุ่มน้อยชาวหุยแม้จะถือกำเนิดขึ้นในจีน แต่ก็มีลักษณะเด่นกว่าชนกลุ่มอื่นๆ คือไม่ได้เป็นกลุ่มชนที่อยู่ติดแผ่นดินมาแต่โบราณ หากแต่อพยพเข้ามาจากที่อื่น ชาวหุยที่อพยพเข้ามาในยุคแรกๆ ไร้ที่อยู่ ไร้ที่ดินทำกิน ไร้อาชีพ ในสมัยหมิงและชิงชาวหุยส่วนใหญ่มีชีวิตเร่ร่อนไม่เป็นหลักแหล่ง ในสมัยนั้นพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาล ผู้คนมีน้อยสามารถจับจองที่ดินทำกินได้อย่างอิสระเสรี ชาวหุยส่วนใหญ่มีชีวิตอยู่ด้วยการประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ในทุ่งหญ้าบริเวณชายแดนของซีเป่ยและยูนนาน

ในปี 1274 – 1289 ชาวหุยและชาวฮั่นร่วมกันบุกเบิกดินแดน สร้างระบบชลประทาน การเกษตร และก่อตั้งเมืองซ่านฉ่าน (鄯阐Shànchǎn) ขึ้น ซึ่งก็คือเมืองคุนหมิงในปัจจุบัน ในขณะเดียวกัน ชาวหุยและชาวฮั่นที่เมืองหนิงเซี่ย (宁夏Nínɡxià) ร่วมกันพัฒนาและสร้างระบบชลประทานขึ้นมากมาย เช่น การขุดคลอง ที่สำคัญได้แก่ คลองต้าชิง(大清渠Dàqīnɡqú) คลองฮุ่ยหนง(惠农渠Huìnónɡqú) คลองชีซิง (七星渠Qīxīnɡqú) คลองชางรุ่น (昌润渠Chānɡrùn qú) นับเป็นการพัฒนาด้านเกษตรกรรมของหนิงเซี่ยให้รุดหน้าไปกว่าบริเวณอื่นๆ อย่างมาก จนได้รับสมญานามว่า “เหนือกว่าเจียงหนาน” ชาวหุยทุกครัวเรือนตั้งบ้านเรือนเป็นหลักแหล่ง ประกอบอาชีพมีรายได้เลี้ยงตัวเอง ทำให้สภาพชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น นอกจากอาชีพเลี้ยงสัตว์และการเกษตรที่เป็นอาชีพหลักแล้ว ชาวหุยยังประกอบอาชีพเสริมซึ่งสามารถสร้างรายได้เลี้ยงครอบครัวอีกมากมาย เช่น การผลิตยา การขนส่ง งานหัตถกรรม และการค้าขาย นอกจากนี้ชาวหุยมีฝีมือด้านงานช่างมาก ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากฝีมือการช่างของชาวหุยมีคุณภาพดี และเป็นที่ยอมรับทั่วไป ได้แก่ การผลิตหนัง และการทำธูป อาชีพด้านการทำอัญมณี ผลิตภัณฑ์จากวัวและแกะ ล้วนเป็นอาชีพที่ชาวหุยได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษทั้งสิ้น และด้วยนิสัยชอบการค้าขาย ในสมัยหยวนพ่อค้าชาวหุยเดินทางค้าขายกระจายไปทั่วบริเวณประเทศจีน และรวมไปถึงการติดต่อการค้ากับต่างประเทศด้วย

จวบจนสมัยหมิงและชิง รวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง เป็นเหตุให้การพัฒนาและการจราจรไปมาหาสู่กันระหว่างส่วนกลางกับภาคตะวันตกหยุดชะงักลง การทำมาค้าขายของชาวหุยก็หยุดชะงักลงเช่นกัน และจุดนี้เองนับเป็นเป็นจุดเริ่มต้นของการหยุดการพัฒนาภาคตะวันตกของจีนซึ่งส่งผลมาจนถึงปัจจุบัน

ต่อมาในสมัยจักรวรรดินิยม ระบบสังคมแบบศักดินาและระบบขุนนางกดขี่ข่มเหงรังแกชาวหุยอย่างหนัก ชาวหุยไม่มีสถานภาพทางสังคมและการเมืองใดๆ สภาพเศรษฐกิจและสังคมพัฒนาไปอย่างเชื่องช้า รัฐบาลกว๋อหมินตั่งไม่ให้ความสำคัญกับชนกลุ่มน้อย ไม่เพียงแต่ไม่เคารพในขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมของชาวหุย ซ้ำร้ายไปกว่านั้นยังไม่ยอมรับการดำรงอยู่ของชนเผ่าหุยอีกด้วย ทางการถือว่าชนชาวหุยในสมัยนั้นเป็นเพียงชนอพยพเร่ร่อนเท่านั้น

ก่อนปี 1949 ระบบสังคมของชาวหุยเป็นแบบระบบศักดินาแบบการถือครองในกรรมสิทธิ์ที่ดิน การพัฒนาระบบเศรษฐกิจไม่สมดุล ชาวหุยในแต่ละพื้นที่มีทิศทางการพัฒนาต่างๆกันไป ชาวหุยที่เป็นชาวนาไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง หรือมีก็เป็นที่ทะเลทราย ที่ภูเขาสูง ที่ดินเค็มทำการเกษตรไม่ได้ ชาวนาตกอยู่ในสภาวะยากจน ล้มละลายและละทิ้งบ้านเรือนเร่ร่อนไปอยู่ที่อื่นเป็นจำนวนมาก
หลังการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐบาลสนับสนุนให้ชนกลุ่มน้อยมีสิทธิในการปกครองตนเอง นับตั้งแต่ ปี 1958 เป็นต้นมา ได้ก่อตั้งเขตปกครองตนเองชาวหุยในหลายพื้นที่ ดังนี้
1. เขตปกครองตนเองเผ่าหุยที่เมืองหนิงเซี่ย (宁夏回族自治区 Nínɡxià Huí Zú
zìzhìqū)
2. เขตปกครองตนเองเผ่าหุยเมืองหลินเซี่ย มณฑลกานซู่ (甘肃省临夏回族自治州
Gānsù shěnɡ Línxià Huí Zú zìzhìzhōu)
3. เขตปกครองตนเองเผ่าหุยเมืองชางจี๋ มณฑลซินเจียง ( 新疆昌吉回族自治州 Xīnjiānɡ Chānɡjí Huí Zú zìzhìzhōu)

พื้นที่เขตปกครองตนเองทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ ล้วนมีชาวหุยเป็นคณะกรรมการปกครองร่วมอยู่ด้วย ในปี 1980 มีชาวหุยเป็นข้าราชการในส่วนการปกครองอยู่ถึง 126,000 คน ภายใต้การดูแลและสนับสนุนของรัฐบาล ทางการได้ดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาความรู้ เทคโนโลยีและฝีมือแรงงานให้กับชาวหุย สร้างการพัฒนาผลผลิตและเพิ่มพูนรายได้ให้กับชาวหุย ส่งผลให้ชาวหุยมีสภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมของชาวหุยได้รับการยอมรับ และได้รับความเคารพจากรัฐบาล ในเขตความเจริญของเมืองต่างๆ มีร้านอาหารของชาวหุยเปิดขึ้นมากมาย และได้รับความนิยมจากบุคคลทั่วไป ชาวหุยมีอิสรเสรีในการนับถือศาสนา และด้วยเหตุผลทางศาสนานี้เอง อาหารของชาวหุยมีลักษณะพิเศษ ในสถานศึกษา สถานที่ทำงานหรือโรงงาน ต่างๆ ล้วนจัดให้มีโรงอาหารสำหรับชาวหุยโดยเฉพาะ หากไม่มีการจัดโรงอาหารเฉพาะ ก็มีการจ่ายเงินชดเชยค่าอาหารให้กับชาวหุยเป็นกรณีพิเศษ รัฐบาลให้ความสำคัญและเคารพต่อทุกๆ เทศกาลสำคัญทางศาสนาของชาวหุย สุสานของชาวหุยรัฐบาลก็ประกาศให้เป็นพื้นที่พิเศษ ชุมชนชาวหุยที่ใดที่ไม่มีพื้นที่สร้างสุสาน รัฐก็จัดหาที่ตามภูเขาไว้ให้เป็นสุสานเฉพาะของชาวหุยด้วย

ผลจากการปฏิวัติวัฒนธรรม และการล้มล้างระบบศักดินาที่กดขี่ข่มเหงประชาชนในสังคมอิสลาม เศรษฐกิจสังคมของชาวหุยเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เขตปกครองตนเองต่างๆของชาวหุยพัฒนารุดหน้าอย่างรวดเร็ว เขตปกครองตนเองชาวหุยที่เมืองหนิงเซี่ยสร้างเหมืองแร่ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ โรงกำเนิดไฟฟ้า เครื่องจักรกล เหมืองทอง อุตสาหกรรมเคมี มูลค่าการผลิตเพิ่มจาก 12,000,000 ล้านหยวนในปี 1949 เป็น 1,000 ล้านหยวน ในปี 1978 และในปี 1990 มูลค่าการผลิตที่ได้จากเขตปกครองตนเองเผ่าหุยเมืองหนิงเซี่ยมีมูลค่าสูงถึง 8,400 ล้านหยวน ทำให้คุณภาพชีวิตของชาวหุยดีขึ้นกว่าเดิมอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้การสร้างระบบชลประทานขนาดใหญ่ในเขตเมืองหนิงเซี่ยและกานซู่ ส่งผลดียิ่งต่อการพัฒนาระบบการเกษตรของชาวหุย ผลผลิตทางการเกษตรที่มาจากชาวหุยและฮั่นในบริเวณดังกล่าวมีปริมาณเพียงพอ และสามารถส่งออกสู่ตลาดทั่วประเทศ


ในด้านภาษาและวัฒนธรรม ด้วยเหตุที่ชนเผ่าหุยตั้งแต่อดีตเป็นต้นมาก่อร่างสร้างเป็นกลุ่มขึ้นจากการรวมตัวกันของชนหลายเชื้อชาติและหลายภาษา โดยมีศาสนาอิสลามเป็นสิ่งเชื่อมโยง ดังนั้นชาวหุยจึงประกอบด้วยกลุ่มชนที่มีภาษาพูดที่หลากหลาย ได้แก่ ชาวหุยที่อยู่ในพื้นที่ประเทศจีนมาแต่โบราณพูดภาษาหุยกู่(回鹘语Huíɡǔyǔ) ภาษามองโกล(蒙古语Měnɡɡǔyǔ) ภาษาฮั่น ส่วนชาวหุยที่อพยพมาจากที่อื่นพูดภาษาเปอร์เซีย(波斯语Bōsīyǔ)และภาษาอาหรับ(阿拉伯语 Ā lā bó yǔ) แต่จากการอยู่อาศัยรวมกันกับชาวฮั่น มีการแต่งงานกับชาวฮั่นทำให้ ภาษาและวัฒนธรรมของชาวหุยเริ่มหลอมรวมเข้ากับวัฒนธรรมของชาวฮั่นในที่สุด มีบางกลุ่มใช้ภาษาลูกผสมระหว่างภาษาฮั่นกับภาษาดั้งเดิม จนถึงสมัยหมิงชาวหุยที่พูดกันหลายภาษาหันมาใช้ภาษาฮั่นเป็นภาษาสื่อกลางระหว่างกัน มีชาวหุยบางกลุ่มโดยเฉพาะบริเวณชายแดนยังคงใช้ภาษาดั้งเดิม หรือใช้ภาษาที่เป็นภาษาถิ่นของท้องถิ่นที่อยู่นั้นๆ
ด้านวัฒนธรรมและวิทยาการ ชาวหุยได้สร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศจีนเป็นอย่างมาก นับตั้งแต่สมัยหยวนเป็นต้นมา ชาวหุยนำความรู้ด้านดาราศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ คีตวิทยา เผยแพร่สู่ดินแดนประเทศจีน การประดิษฐ์เข็มทิศ กระดาษ แป้ง การสร้างเครื่องมือเกี่ยวกับดาราศาสตร์ที่ปักกิ่ง เช่น หอดูดาว เครื่องวัดตำแหน่งดวงดาว เครื่องวัดบ่งทิศ เครื่องวัดเส้นศูนย์สูตร เครื่องวัดตำแหน่งลูกโลก ล้วนพัฒนาขึ้นมาจากความรู้ที่ชาวหุยนำเข้ามาทั้งสิ้น ในสมัยหมิงมีการก่อตั้งสถาบันปฏิทินชาวหุย นอกจากนี้วิศวกรที่มีชื่อเสียงคือ เฮ่อเตียร์ติง (黑迭儿丁 Hè dié’ér dīnɡ) เป็นผู้วางรากฐานการก่อสร้างพระราชวังต่างๆ รวมทั้งพระราชวังกู้กงก็เป็นวิศวกรชาวหุยท่านนี้ ในด้านการแพทย์ ชาวหุยมีตำรับยาและตำราการแพทย์ที่สำคัญอย่าง 《 回回药方》Huíhuí yàofānɡ “ตำรับยาหุยหุย” ก็ได้รับการยอมรับและใช้มาจนถึงปัจจุบัน

การเดินทางค้าขายของชาวหุยแผ่ขยายไปทั่วทั้งในประเทศจีนและต่างประเทศรวมกว่า 37 ประเทศ มูลเหตุการณ์เดินทางค้าขายนี้เองที่ทำให้เองชาวหุยไม่เพียงแต่นำวัฒนธรรมของตนเผยแพร่สู่นานาประเทศ แต่ยังมีการบันทึกการเดินทางของชาวหุยที่นำมาสู่การสร้างแผนที่การเดินทางทางทะเลที่สำคัญฉบับหนึ่งของจีน

ด้านวรรณคดี มีบทประพันธ์อันทรงคุณค่าของปราชญ์ชาวหุยและเป็นที่ยอมรับมาจนปัจจุบัน เช่น บทประพันธ์ชื่อ 《雁门集》Yànmén jí “ประชุมบทเยี่ยนเหมิน” บทประพันธ์ชื่อ《萨文锡逸诗》Sàwén xīyì shī “กลอนซ่าเหวินซีอี้” บทประพันธ์ชื่อ《西湖十景词》Xīhú shí jǐnɡ cí “ลำนำทศทัศนาสายธาราซีหู” เป็นต้น ในสมัยหยวนมีปราชญ์ชาวหุยชื่อ ซ่านซือ (赡思Shàn Sī) จดบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ อุทกศาสตร์ และการคำนวณ ในสมัยหมิง มีปราชญ์สาขาปรัชญาชาวหุยเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการกำเนิดของสรรพสิ่งในโลกว่าเกิดจากการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นขั้นตอน ด้านสังคมได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีด้านคุณธรรม และต่อต้านระบบสังคมศักดินา ต่อต้านความคิดเกี่ยวกับความเท่าเทียมของชายหญิง นับเป็นนักปรัชญาที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งในประวัติศาสตร์การศึกษาของจีน

การดนตรีของชาวหุยได้รับความนิยมมากในสมัยหยวน ถึงขั้นได้รับยกย่องให้เป็นดนตรีที่ใช้บรรเลงในราชสำนัก ดนตรีหุยจึงถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการด้านดนตรีของจีน หนึ่งในแปดคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ในสมัยหยวนคือ หม่าจิ่วเกา(马九皋Mǎ Jiǔɡāo) ก็เป็นชาวหุย เพลงภาษาหุยที่ชื่อ《花儿》Huā’ér “ดอกไม้” ซึ่งเป็นเพลงพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมทั่วไปในมณฑลกานซู่และชิงห่ายก็เป็นเพลงที่นำมาจากท่วงทำนองเพลงพื้นเมืองของชาวหุย ผลงานด้านจิตรกรรม ชาวหุยมีจิตรกรที่มีชื่อเสียงด้านการวาดภาพ ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงราชวงศ์หยวน ชื่อ เกาเค่อกง(高克恭Gāo Kèɡōnɡ) และอีกท่านหนึ่งที่มีชีวิตอยู่ในสมัยชิงคือ ก่ายฉี (改琦Gǎi Qí) ผลงานของจิตรกรชาวหุยทั้งสองท่านนี้ปัจจุบันได้รับยกย่องให้เป็นมรดกด้านจิตรกรรมอันล้ำค่ายิ่งของจีน
ด้านหัตถกรรม งานฝีมือ ชาวหุยมีฝีมือด้านการแกะสลักงาช้าง แกะสลักหิน การปักผ้า ทอพรม ซึ่งเป็นงานฝีมือที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของชาวหุยที่ได้รับการสืบทอดต่อมาจากบรรพบุรุษ

ด้านศาสนาความเชื่อ ชาวหุยนับถือศาสนาอิสลาม โดยได้รับอิทธิพลในเรื่องความเชื่อและ วัฒนธรรมเกี่ยวกับศาสนาอิสลามมาจากชาวอาหรับและเปอร์เซียมาแต่ครั้งอดีต ชาวจีนในสมัยถังและซ่งมีความรู้เกี่ยวกับศาสนาน้อยมาก ชาวฮั่นจึงมองการกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวอิสลามว่าเป็นพวกไหว้ฟ้าดิน ไหว้ผีสาง แต่ต่อมาในสมัยหยวน ชาวฮั่นเริ่มให้ความสนใจศาสนาอิสลามของชาวหุย โดยเรียกศาสนาอิสลามที่ชาวหุยนับถือว่า ศาสนาหุยหุย มัสยิดอิสลามถูกเรียกว่า โบสถ์หุยหุย สถานที่ปฏิบัติธรรมทางศาสนาอิสลามถูกเรียกชื่อว่าวัดหุยหุย นักบวชในศาสนาอิสลามก็เรียกว่าพระหุยหุย ในสมัยชิงเรียกชนกลุ่มน้อยอื่นๆที่นับถือศาสนาอิสลามด้วยการเติมคำว่า “หุย” ลงไป เช่น เรียกชนชาวตงเซียงว่า “ตงเซียงหุย”(东乡回Dōnɡxiānɡhuí) เรียกชาวอุยกูร์ว่า “ฉานหุย” (缠回Chánhuí) เรียกชาวซาลาว่า “ซาลาหุย” (撒拉回Sālāhuí) จนมักเกิดความสับสนว่าชนกลุ่มดังกล่าวเป็นชนกลุ่มย่อยของชนเผ่าหุยอยู่บ่อยๆ
ขนบธรรมเนียมของชาวหุย ชีวิตของชาวหุยผูกพันอยู่กับศาสนาอิสลามตั้งแต่เกิดจนตาย เมื่อมีเด็กแรกเกิดจะเชิญอีหม่าม(阿訇 Ā hōnɡ)มาตั้งชื่อให้ลูก เมื่อแต่งงานก็เชิญอีหม่ามทำพิธีแต่งงานให้ เมื่อเสียชีวิตก็เชิญอีหม่ามทำพิธีศพ ที่พิเศษคือชาวหุยจะไม่รับประทานเนื้อหมู ไม่บริโภคเลือดสัตว์และไม่บริโภคเนื้อสัตว์ที่ตายเองตามธรรมชาติ ซึ่งถือเป็นบทบัญญัติของคัมภีร์ กู่หลานจิง《古兰经》Gǔlánjīnɡ หมายถึง “คัมภีร์อัลกุรอ่าน” ที่เป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของชาวอิสลาม การปฏิบัติตามหลักศาสนา นานวันเข้ากลายเป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่นับถือเคร่งครัดสืบทอดสู่รุ่นหลัง จนถึงยุคปฏิวัติวัฒนธรรม รัฐมีนโยบายล้มล้างความไม่เท่าเทียมของระบบศักดินา รวมทั้งศาสนาความเชื่อต่างๆ ชาวหุยและชนเผ่าที่นับถือศาสนาอิสลามรวมพลังกันต่อต้านเพื่อปกป้องศาสนาของตนไว้ นับเป็นเหตุการณ์การรวมเผ่าชาวหุยครั้งสำคัญเลยก็ว่าได้

ชาวหุยอาศัยอยู่ร่วมกับชาวฮั่นมาเป็นเวลานาน ซึมซับและรับเอาวัฒนธรรมของชาวฮั่นไปไม่น้อย ในสมัยหมิง ชาวหุยเริ่มเลียนแบบการแต่งกายอย่างชาวฮั่น และเริ่มมีการใช้แซ่และชื่อเหมือนชาวฮั่น จนปลายสมัยหมิงกิจการด้านต่างๆของชาวหุยไม่ว่าจะเป็นการเกษตร การทหาร การค้า อุตสาหกรรมล้วนหลอมรวมกลมกลืนไปกับชาวฮั่น แต่อย่างไรก็ตาม ในขณะเดียวกันชาวหุยก็ยังคงรักษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนไว้อย่างมั่นคงและแนบแน่นเช่นเดียวกัน

ด้านวัฒนธรรมการกิน เป็นที่ทราบกันดีว่าชาวอิสลามไม่กินเนื้อหมู ชาวหุยก็เช่นเดียวกัน แต่จะกินเนื้อวัว เนื้อแกะ และงู ไม่กินเนื้อม้า ลา ล่อ สุนัข ไม่กินเลือดสัตว์ บ้านเรือนของชาวหุยสะอาดสะอ้านเป็นระเบียบ เมื่อเข้าบ้านของชาวหุยจะเห็นกาน้ำแขวนไว้ที่ขื่อประตู ชาวหุยจะใช้กาน้ำนี้ไว้ล้างหน้าและล้างมือ ชาวหุยจะไม่ใช้อ่างล้างหน้า แต่จะใช้กาน้ำที่แขวนไว้ที่ขื่อประตูนี้สำหรับชำระล้างร่างกาย กาน้ำชนิดนี้ชาวหุยได้รับอิทธิพลมาจากชาวอาหรับ ปัจจุบันโรงแรมที่พักในเมืองที่มีชาวหุยอาศัยอยู่ หากเป็นโรงแรมที่สร้างไว้ต้อนรับชาวหุยโดยเฉพาะแล้ว จะต้องแขวนกาน้ำชนิดนี้ไว้ที่หน้าโรงแรม เพื่อเป็นเครื่องยืนยันว่าเป็นที่พักแรมของชาวหุยอย่างแท้จริง

ชาวหุยมีเทศกาลสำคัญอยู่สองเทศกาลคือเทศกาลถือศีลอดและเทศกาลกุรปัง เทศกาลถือศีลอดจัดขึ้นในเดือนที่เก้าตามปฏิทินชาวหุย ส่วนเทศกาลกุรปังจัดขึ้นหลังจากเทศกาลถือศีลอดสิ้นสุดลง 70 วัน คือประมาณวันที่ 10 เดือนที่ 12 เพราะเป็นวันสุดท้ายที่พระศาสดาเดินทางไปเมกกะ ชาวหุยจะฆ่าวัว ฆ่าแกะเพื่อบูชา และจัดงานเฉลิมฉลองกันอย่างใหญ่โต

ขอขอบคุณ
รูปภาพของ นายวีรพนธ์

ชาวหุยคือใคร?

ไม่อนุญาตให้ก็อปปี้ข่าวและบทความออกไปจากเว็บไซต์ หากต้องการเผยแพร่กรุณาทำลิงค์เข้ามาอ่านในนี้ – ขอบคุณมาก

http://www.chinesemuslimthailand.com/printable.php?id=371

http://www.chinesemuslimthailand.com/printable.php?id=198

รูปภาพของ นายวีรพนธ์

หมู่บ้านชนบท... ของ ‘ชาวหุย’ บนแผ่นดินมังกร (1)

หมู่บ้านชนบท... ของ ‘ชาวหุย’ บนแผ่นดินมังกร (1)

 

ตำรวจกำลังเผยแพร่ความรู้ทางด้านกฎหมายแก่ตาแปะชาวหุย

พับลิกโพสต์ออนไลน์ : 29 ม.ค. 55

โดย : นิสรีน หวังตักวาดีน

 
ความเหลื่อมล้ำทางด้านวัฒนธรรมของสังคมชนบทและเมืองเป็นเรื่องที่พบในสังคมทั่วไป ทว่าความแตกต่างมาก น้อยนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ตั้งแต่สภาพภูมิประเทศ เบื้องหลังทางด้านประวัติศาสตร์ นโยบายของทางการ การศึกษา ศาสนา เป็นต้น หมู่บ้านชาวหุยที่ตั้งอยู่ตามภูมิภาคต่างๆของแผ่นดินมังกรมีลักษณะอย่างไร เหมือนอย่างที่ท่านคิดหรือเปล่า ? ตอนนี้ผู้เขียนใคร่นำเสนอหมู่ Huihuideng ของเมืองต้าหลี่ มณฑลยูนนาน

ปัจจุบันหมู่บ้าน Huihuideng ตำบล Yongjian Weishan ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของมณฑลยูนนาน Huihuideng เป็นหมู่บ้านมีประชากรทั้งหมด 1,243 ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด 4,783 คน ห่างจากเมืองต้าหลี่ประมาณ 36 กิโลเมตร Huihuideng เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนที่ราบ ประชากรในหมู่บ้านทั้งหมดเป็นชาวหุยที่นับถือศาสนาอิสลาม มีหมู่บ้านใกล้เคียงที่ห่างจากตัวหมู่บ้าน ไม่ไกลมาก มีประมาณ 4-5 หมู่บ้าน ส่วนมากเป็นหมู่บ้านชาวหุยเหมือนกัน เพียงแต่ว่ามีจำนวนประชากรน้อยกว่า Huihuideng อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 14.9 องศาเซลเซียส ตามสถิติของการอัตราประชากรในหมู่บ้านระบุ ว่า ช่วงที่สถาปนาสาธารณจีนใหม่ค.ศ. 1949 หมู่บ้านดังกล่าวมีประชากรทั้งหมด 423 ครัวเรือนมีจำนวนประชากรจำนวน 2,118 คน ปีค.ศ. 1980 มีประชากรทั้งหมด 3,790 หลังจากที่รัฐบาลจีนปฏิรูปการเปิดประเทศ มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจและทางรัฐบาลได้ดำเนินนโยบายลูกโทน แต่สำหรับกลุ่มชนชาติในชนบทนั้นสามารถมีบุตรได้ 2 คน ผลการสำรวจประชากรในหมู่บ้านในปี ค.ศ.1998 จึงมีประชากร 4,518 คน จะเห็นได้ว่าการอัตราการเจริญเติบโตของประชากรในหมู่บ้านนั้นมีความสอดคล้องกับนโยบายของทางรัฐบาล

กล่าวกันว่าสมัยราชวงศ์หยวน กุบไลข่าน (หลานของเจงกิสข่าน) นำกองทับมาปราบปรามเมืองต้าหลี่จนได้รับชัยชนะ และจัดให้ทหารอาศัยอยู่ในพื้นที่ ในสมัยนั้นเป็นคนตระกูล Tie,Shi,Long สมัยราชวงศ์หมิงกองทัพที่นำโดย MuYing (บุตรบุญธรรมของกษัตริย์จูหยวนจาง) และ Chang Yuchun เข้าพิชิตยูนนานและพม่า ชาวหุยในบริเวณดังกล่าวจึงได้รับพระราชทานแซ่(ตระกูล)Zhu, Hu, Ma, Mi, Yang เป็นต้น สมัยราชวงศ์ชิงนั้นเป็นถือว่าเป็นกลียุคของชาวหุยในแผ่นดินจีน ชาวบ้าน Huihuideng ในยุคนี้ก็ไม่แตกต่างอะไรกับชาวหุยทั่วไป กล่าวกันว่าในสมัยนั้นชาวบ้านในหมู่บ้าน Huihuideng และหมู่บ้านใกล้เคียงถูกทหารชิงมารังควานและ เข่นฆ่าผู้คนตายเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้นำครอบครัว และช่วงนี้เองที่เกิดกบฏมุสลิมในมณฑลยูนนาน เพื่อต่อต้านรัฐบาลของราชวงศ์ชิง นำโดยวีระบุรุษชาวหุยที่ชื่อว่าตู้เหวินซิ่ว เนื่องด้วยจุดชุมนุมของตู้เหวินซิ่วในช่วงต้นนั้นอยู่ที่หมู่บ้าน Xiaoweigeng เป็นหมู่บ้านที่ไม่ไกลจาก Huihuideng มากนัก จึงมีชายฉกรรจ์ของ Huihuideng เข้าร่วมอุดมการณ์ด้วยไม่น้อย

ด้วยเหตุที่หมู่บ้าน Huihuideng ตั้งอยู่ที่ราบและตั้งอยู่บริเวณใจกลางของหลายๆ หมู่บ้านจึงกลายเป็นที่ลี้ภัยของเด็กและสตรี เมื่อทหารแมนจูของราชวงศ์ชิงมาเห็นจึงไม่ได้ทำลาย หมู่บ้านนี้จึงมีชื่อเรียกในสมัยนั้นว่า Liu yi cun (เหลือไว้หมู่บ้านหนึ่ง) หลังจากที่ราชวงศ์ชิงล่มสลายก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นช่วงที่เกิดสงครามภายในของจีน ชาวบ้านในหมู่บ้านHuihuideng นิยมทำการค้ากับโลกภายนอกมากขึ้น เกิดขบวนคาราวานม้าเป็นจำนวนมาก และมีเส้นทางค้าขายที่ชัดเจนมากขึ้นคือทางเหนือเดินทางไปถึงธิเบต ทางใต้ไปถึงเมืองสิบสองปันนา ทางตะวันตกเดินทางเข้าประเทศพม่าและเข้าสู่ทางภาคเหนือของไทยและบางส่วนก็เดินทางไปยังประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียเป็นต้น

ชาวหุยนั้นมีเชื้อสายในการทำการค้าอยู่แล้ว แม้ว่าก่อนการสถาปนาจีนใหม่นั้นชาวบ้านส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรเป็นหลักการทำการค้าเป็นเรื่องรอง กล่าวกันว่าก่อนสถาปนาประเทศนั้นทั้งหมู่บ้านมีม้ามากกว่า 1,500 ตัว และเส้นทางสัญจรของม้าในสมัยนั้นเป็นพื้นทางทางด้านการคมนาคมในสมัยใหม่นี้ นอกจากนั้นแล้วในช่วงดังกล่าวยังเกิดอาชีพที่หลากหลายมากขึ้น มีโรงงานมัดย้อม แปรรูปหนังสัตว์ แปรรูปน้ำมัน และมีพ่อค้าแม่ขายมากขึ้น ในช่วงนี้มีการจัดสรรที่ดินทำกินให้กับประชากรอย่างชัดเจน แต่หลังจากปี ค.ศ.1979 นโยบายการจัดสรรที่ดินนั้นเปลี่ยนไปในรูปแบบของการเหมารวม โดยทางการจัดสรรให้ที่ดินเพื่ออยู่อาศัยเป็นหลัก จึงทำให้ที่ดินทำกินนั้นมีจำกัด แต่ขณะเดียวกันก็เกิดอาชีพที่หลากหลายมากขึ้น เช่น อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร งานก่อสร้าง การขนส่ง การค้าวัสดุยา และร้านค้าเบ็ดเตล็ดต่างๆ ทุกวันนี้เมื่อเดินดังกล่าวเข้าหมู่บ้านจึงไม่ต้อง ห่วงเรื่องปากท้องและของใช้พื้นฐานที่จำเป็น

ระบบเศรษฐกิจที่น่าชื่นชมของหมู่บ้าน Huihuideng ทุกวันนี้ก็คือระบบตลาดนัด ในหมู่บ้านจะมีลานกิจกรรมขนาดใหญ่ ภายในลานประกอบด้วยที่อาคารและที่โล่ง เมื่อถึงทุกวันที่ลงท้ายด้วยเลขห้าของเดือน (วันที่ 5,15,25) ชาวบ้านก็จะนำสินค้าต่างๆ ที่มีอยู่ภายในครัวเรือนมาจำหน่ายกันและกัน นอกจากเป็นสินค้าที่ทำขึ้นเองแล้ว ยังอาจเป็นสินค้าที่ชาวบ้านในหมู่บ้านไปรับมาเพื่อจำหน่ายให้แก่กัน ดังนั้นภายในตลาดนัดนั้นคุณสามารถเลือกซื้อของได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นของกินของใช้ บรรยากาศตลาดอาจ ‘วุ่นวาย’ หน่อย แต่สิ่งที่น่าสังเกตคือ พ่อค้าแม้ขายทั้งหมดนั้นเป็นคนภายในหมู่บ้านหรือหมู่บ้านใกล้เคียงเท่านั้น ไม่ใช่พ่อค้าคนกลางที่มาจากกองคาราวานสินค้าต่างถิ่น ระบบการค้าในหมู่บ้านนี้จึงไม่ต้องห่วงเรื่อง ‘เงินทองนั้นจะไปไหน’

ตั้งแต่เริ่มมีการก่อสร้างมัสยิดในสมัยราชวงศ์หมิง ค.ศ.1372 บรรพบุรุษของชาว Huihuideng ก็เริ่มจัดให้มีอิหม่ามและครูสอนศาสนา แต่รูปแบบการศึกษานั้นมีความชัดเจนก่อนสงคราม โลกครั้งที่สอง มีการสอนความรู้ทางด้านศาสนาและความรู้ทางด้านวัฒนธรรมจีน โดยมีการเชิญครูชาวฮั่นจากต่างหมู่บ้านมาสอนตำราโบราณของจีน ในปัจจุบันลูกหลาน Huihuideng นั้นประกอบด้วยผู้ที่เลือกเรียนสามัญและศาสนา เมื่อเทียบกับคนรุ่นก่อนๆ แล้ว ดูเหมือนคนรุ่นหลังๆ จะเลือกเรียนภาคสามัญมากกว่า แต่กระนั้นก็ตามเมื่อเรียนจบชั้นสูงสุดในหมู่บ้าน (มัธยมศึกษาปีที่ 3) มีน้อยคนมากที่จะเลือกศึกษาต่อ สถานภาพทางด้านการสมรสของชาว Huihuideng จึงต่ำกว่าที่ทางการกำหนด

‘การแนะนำ’ เพื่อให้ทั้งฝ่ายชายและหญิงรู้จักและสมรสนั้น เป็นเรื่องที่ชาว Huihuideng ให้ความสำคัญมาก ตามกฎหมายการสมรสของจีนในปัจจุบันนั้น กำหนดไว้ว่าสถานภาพของผู้ชายนั้นสามารถสมรสเมื่ออายุ 22 บริบรูณ์และผู้หญิงนั้นสามารถสมรสตอนอายุ 20 ปีบริบูรณ์ ชาว Huihuideng ส่วนมากยังคงถือว่า อายุไม่ถึงเกณฑ์ไม่ใช่ปัญหา ให้ผ่านพิธี ‘นิกะฮ์’ เป็นสำคัญ เมื่อถึงเกณฑ์แล้วค่อยกระเตงลูกไปจดทะเบียนสมรสตามที่กฎหมายกำหนด แต่บางคู่ก็ไม่มีการจดทะเบียนสมรสย้อนหลัง เพราะคิดว่าทะเบียนสมรสนั้นไม่เกิดคุณและโทษอะไรมาก

บ้านพักของชาว Huihuideng ยังคงเป็นบ้านโบราณแบบจีน เพราะเป็นหมู่บ้านแบบโบราณที่รัฐบาลต้องการให้อนุรักษ์รักษาไว้ ดังนั้นถ้ามองจากภายนอกนั้น จะมองเห็นหลังคาบ้านแบบจีนที่เป็นสีเดียวกัน และมีกำแพง(ทึบ)ที่ห้อมล้อมทั้งสี่ด้านรอบบ้านอย่างหนาแน่น เมื่อเดินเข้าไปในบ้านแล้วเราจะพบว่าโครงสร้างของแต่ละบ้านนั้นจะคล้ายๆ กันคือมีห้องโถงสำหรับรับแขก และห้องนอนอยู่หลังเดียวกัน ส่วนห้องครัวและห้องสุขานั้นจะอยู่ทั้งสองข้าง ตรงกลางเป็นบริเวณลานบ้านอเนกประสงค์ บ้างไว้ตากพืชผลทางการเกษตร บ้างไว้ปลูกดอกไม้ บ้างเป็นที่วิ่งเล่นของเด็กๆ

จะมีบ้านเรือนบางส่วนที่มีการต่อเติมรูปแบบของบ้านให้เป็นรูปแบบใหม่ เช่นมีห้องสุขาภายในบ้าน แต่ยังคงมีบ้านเรือนบางส่วนที่แยกที่พักและห้องสุขาอย่างชัดเจน และยังคงเป็นห้องสุขาแบบโบราณ เพราะชาวบ้านบางส่วนยังคงนำมูลไปใช้ประโยชน์กับไม้ผลต่างๆ ซึ่งการ ‘รียูส’ แบบนี้จะต้องให้มีการ ‘ปฏิรูป’ ใหม่ด้วย

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

http://www.yslzc.com/zhexieren/jcshj/mmqt/gnmsltb/200811/28523.html

หนังสือเรื่อง ประวัติชาวหุยต้าหลี่ สำนักพิมพ์ชนชาติยูนนาน ปี 2009

http://www.yslzc.com/zhexieren/jcshj/mmqt/gnmsltb/200811/28523.html

ที่มา http://www.publicpostonline.com/main/content.php?page=sub&category=6&id=291 ขอขอบคุณ

รูปภาพของ นายวีรพนธ์

หมู่บ้านชนบท... ของ ‘ชาวหุย’ บนแผ่นดินมังกร (จบ)

หมู่บ้านชนบท... ของ ‘ชาวหุย’ บนแผ่นดินมังกร (จบ)

บ้านพักที่เหมาเจ๋อตุงและคณะเคยแวะพัก ชาวบ้านยังคงรักษาไว้ให้คงสภาพเดิม

 

พับลิกโพสต์ออนไลน์ : 20 ก.พ. 55

โดย: นิสรีน หวังตักวาดีน

ฉบับที่ผ่านมาผู้เขียนได้แนะนำหมู่บ้านชนบทของชาวหุยที่อยู่ในมณฑลยูนนาน ฉบับนี้เรามาดูกันว่าหมู่บ้าน Danjiaji ที่ตั้งอยู่ตำบล Xinglong อำเภอ Xiji ที่อยู่ทางใต้ของมณฑลหนิงเซียะว่ามีความเป็นอยู่อย่างไร

อย่างที่ทราบกันดีว่ามณฑลหนิงเซียะเป็นมณฑลที่ปกครองตัวเองของชาวหุย(Ningxia Hui Autonomous Region ) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจีน หลังจากที่รัฐบาลจีนได้ประกาศนโยบายพัฒนาภาคตะวันตกแล้ว มณฑลหนิงเซี่ย จึงมีโอกาสพัฒนาแผนงานทางด้านต่างๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวหุย เช่นแผนงานการพัฒนาเป็นศูนย์อาหารฮาลาลเพื่อส่งออก การจัดประชุมการค้าระหว่างจีน-กลุ่มประเทศอาหรับ เป็นต้น

หมู่บ้าน Danjiaji เป็นหมู่บ้านที่ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 45 กิโลเมตรห้อมล้อมด้วยภูเขาสามด้าน มีทางด้านตะวันตกของหมู่บ้านเพียงด้านเดียวที่เป็นที่ราบ ทางด้านเหนือและใต้ของหมู่บ้านดังกล่าวประกอบด้วยสองหย่อมหมู่บ้าน รวมทั้งหมด 768 หลังคาเรือน มีประชากรทั้งหมด 4,078 คน ประชากรส่วนใหญ่ในหมู่บ้านนั้นคือชาวหุยตระกูล Dan ตามประวัติศาสตร์ระบุไว้ว่า สมัยราชวงศ์ชิงเกิดการปฏิวัติของชาวหุยบริเวณมณฑลซ่านซีและกานซู เนื่องมาจากความไม่พอใจในการกดขี่ชนชาติส่วนน้อยปกครองของรัฐบาลชิง แต่สุดท้ายก็ต้องพ่ายแพ้กองกำลังของทหารชิง จึงทำให้ชาวหุยต้องหลบหนีและบางส่วนได้หลบหนีมาอาศัยอยู่บริเวณดังกล่าว ซึ่งในช่วงแรกนั้นส่วนมากเป็นชาวหุยตระกูลDan แต่ปัจจุบันนั้นมีชาวหุยที่อยู่รวมกันหลายตระกูล เหตุการณ์ก่อนที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนสถาปนาประเทศจีนในปี ค.ศ. 1949 นั้นเป็นประวัติศาสตร์ที่ชาว Danjiaji ภาคภูมิใจ

ก่อนที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนสถาปนาประเทศจีนนั้น ภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตุง ได้มีการจัดตั้งกองทัพเดินทางไกล เพื่อเรียกร้องให้ชาวบ้านเข้าร่วมพรรคเพื่อโค่นล้มอำนาจพรรคก๊กหมินตั๋งในสมัยนั้น กองทัพดังกล่าวเรียกว่ากองทัพแดง ช่วงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1935 ถึงเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1936 กองทัพแดงได้เดินทางไปยังหมู่บ้านดังกล่าวถึง 3 ครั้งหนึ่งในสามนั้นนำโดยเหมาเจ๋อตุงได้เดินทางไปพักค้างในหมู่บ้าน โดยได้นำเสนอนโยบายทางด้านศาสนาของรัฐบาลและได้มอบป้ายคำขวัญที่มีใจความว่า“หุยฮั่นเสมือนพี่น้องกัน”

MaGuoxuan อายุ 71 ปีชาวบ้านหมู่บ้าน Danjiaji เล่าว่า “พ่อเคยเล่าให้ฟังเสมอว่า สมัยนั้นชาวบ้านมีฐานะยากจน เมื่อกองทัพแดงมาถึง อิหม่ามจะเป็นผู้นำในการต้อนรับ โดยสรรหาอาหารที่ดีมาเลี้ยงต้อนรับ หลังจากที่กองทัพแดงกลับก็จะได้ให้ป้ายคำขวัญไว้ว่า “อนุรักษ์มัสยิด” “หุยฮั่นเสมือนพี่น้องกัน” “กองทัพแดงคือกองทัพของคนจน” เป็นต้น ปัจจุบันชาวบ้านยังคงอนุรักษ์บ้านพักที่เหมาเจ๋อตุงและคณะเคยพัก

ในหมู่บ้านนั้นส่วนมากเป็นชาวหุย มีชาวฮั่นที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเพียง 20 หลังคา มีมัสยิดทั้งหมด 4 แห่ง รูปแบบมัสยิดนั้นลักษณะสถาปัตยกรรมที่ผสามผสานระหว่างอาหรับและจีน มัสยิดทั้ง 4 แห่งนั้นเน้นหนักในมัซฮับที่ ตนนับถือ ในอดีตนั้นชาวบ้านจะห้ามการสมรสระหว่างคู่บ่าวสาวที่ต่างมัซฮับ แต่หลังจากที่นโยบายความเสรีภาพทางศาสนาเข้าถึงชาวบ้านแล้ว ปัจจุบันนี้สถานการณ์ดีขึ้น แม้ว่าไม่ ส่งเสริมแต่ก็ไม่มีการห้ามอย่างรุนแรงเช่นในอดีต ผลจากการสำรวจการทำละหมาดของชาวบ้านพบว่า ผู้ที่สามารถเดินทางไปละหมาดที่มัสยิดได้วันละ 5 เวลานั้นส่วนมากจะผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป ส่วนชาวบ้านที่มีอายุอยู่ระหว่าง 30 - 49 นั้น เน้นละหมาดญุมอะฮ์และการละหมาดในเทศกาลสำคัญ นักวิชาการชาวหุย Ma Zongbao ได้ สรุปความเห็นสถานการณ์ทางด้านศาสนาของชาวบ้านว่า การประกอบศาสนกิจของชาว Danjiaji มีความแตกต่างระหว่างวัย อิหม่านจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นตามอายุ และจำนวนเวลาในการทำละหมาดนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะการทำงาน คนวัยหนุ่มมีจำนวนของการละหมาดน้อยนั้นเป็นเพราะความรีบเร่งในการทำงาน ในภาพรวมจึงทำให้เห็นว่าอิหม่านของชาวหุยนั้นมีแนวโน้มที่จะลดลง

 

มัสยิด Beidasi ซึ่งเป็นมัสยิดหนึ่งในสี่แห่งของหมู่บ้าน Danjiaji

 

ปัจจุบันชาวบ้านในหมู่บ้านส่วนน้อยที่จะมีพื้นที่เพาะปลูก ส่วนมากจึงหันมาเลี้ยงสัตว์ต่างๆ เช่นส่วนมากเลี้ยงวัวและแกะ ในหมู่บ้านจะมีตลาดนัด ‘กระบือ’ โดยจัดขึ้นทุกวันคู่ของปฏิทินทางจันทรคติ เมื่อถึงวันดังกล่าวชาวบ้านต่างก็จะมาตกลงซื้อขายวัวกัน ผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านกล่าวว่า “ตลาดนัดครั้งหนึ่งนั้นโดยเฉลี่ยแล้วมีการตกลงซื้อขายวัวกันประมาณ 400 ตัว เฉลี่ยตัวละ 7,000 หยวน”

ตลาดนัด ‘กระบือ’ ของหมู่บ้าน จึงเป็นตลาดนัดระดับหมู่บ้านที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ปัจจุบันโรงเชือดในหมู่บ้านนั้นส่วนมากเน้นชำแหละเป็นเนื้อแช่แข็งและส่งไปจำหน่ายยังมณฑลทางตะวันออกเช่น กวางตุ้ง ฮกเกี้ยน เป็นต้น ในหมู่บ้านยังมีอุตสาหกรรมขนาดย่อม ที่เน้นผลิตแป้งมันและวุ้นเส้น ในปี 2003 รัฐบาลได้มีโครงการจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมระดับตำบลขึ้น ซึ่งศูนย์กลางนั้นอยู่ที่ Danjiaji โดยมีเนื้อที่ 4,000 ตารางเมตร ปัจจุบันมีอุตสาหกรรมแปรรูปมันฝรั่ง 5 ราย และมีผู้ผลิตรายย่อยวุ้นเส้นและแป้งมัน 50 ราย

ภายในหมู่บ้าน Danjiaji มีทั้งโรงเรียนสอนสามัญและศาสนา โรงเรียนสามัญมีประวัติ 80 กว่าปี ในอดีตชาวบ้านมักจะเพิกเฉยต่อการเรียนภาคสามัญ ทางโรงเรียนจึงจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอาหรับเพิ่มเติมและโรงเรียนได้เชิญอิหม่ามในหมู่บ้านเป็นผู้สอน ในอดีตนั้นโรงเรียนสามัญส่วนมากมีเฉพาะนักเรียนผู้ชาย หลังจากการสถาปนาประเทศจีนใหม่แล้ว เริ่มมีนักเรียนหญิงเข้าเรียน จำนวนนักเรียนหญิงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากที่จีนปฏิรูปการเปิดประเทศในปี ค.ศ. 1978 โรงเรียนสอนศาสนา ในหมู่บ้านควบคุมดูแลโดยมัสยิด ผู้ปกครองจะส่งลูกไปร่ำเรียนศาสนาเมื่อเด็กอายุ 7 - 8 ขวบ โดยเน้นเนื้อหาทางด้านศาสนาที่นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เมื่อเรียนจบส่วนมากจะติดตามผู้ปกครองเพื่อไปประกอบอาชีพต่างๆ มีจำนวนน้อยที่สนใจศึกษาศาสนาต่อ ถ้ามีผู้ที่สนใจศึกษาต่อ ก็จะได้ร่ำเรียนเนื้อหาทางด้านภาษาอาหรับ (รวมทั้งเปอร์เซีย) และความรู้ทางด้านศาสนาเพิ่มขึ้น ปกติแล้วใช้เวลาในการ เรียนประมาณ 6-8 ปี ปัจจุบันสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป เพราะการศึกษาภาคบังคับของภาคสามัญถูกบังคับใช้ เด็กๆในหมู่บ้านจึงมุ่งศึกษาในโรงเรียนภาคสามัญ โรงเรียนสอนศาสนาแทบจะไม่มีนักเรียนเลย อิหม่ามภายในหมู่บ้านก็ยังคงห่วงความรู้ทางด้านศาสนาของเยาวชน ความสมดุลทางด้านการศึกษาภาคสามัญและศาสนา ยังคงเป็นโจทย์ของหมู่บ้าน Danjiaji

ทุกวันนี้เมื่อเดินเข้าหมู่บ้านดังกล่าวจะรู้สึกถึงความ ‘ศิวิไลซ์’ ร้านค้าประเภทต่างๆ ที่อยู่สองข้างทางเดินกว่า 40 ร้าน สามารถสัมผัสได้ถึงความสะดวกทางด้าน ‘วัตถุ’ ทันที หลายๆ คนกล่าวว่า ความเจริญในหมู่บ้านนั้นสู้ความ เจริญระดับอำเภอได้เลย ทว่าคำถามจะเกิดขึ้นทันทีเมื่อคุณได้เห็นตัวอย่าง

“เมื่อก่อนนะผู้ชายในหมู่บ้านแทบจะไม่มีการสูบบุหรี่หรือดื่มเหล้าเลย เมื่อใครแอบสูบและเห็นอิหม่ามเดินผ่านมาเขาก็จะรีบหลบทันที แต่สมัยนี้เปลี่ยนไป การสูบบุหรี่และดื่มเหล้านั้นถือเป็นเรื่องปกติ แม้จะเห็นอิหม่ามเดินผ่านมาก็เพิกเฉย ไม่สนใจ” นี่คือคำบอกเล่าของตาแปะคนหนึ่งในหมู่บ้าน Danjiaji

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง:

หนังสือ A Research on living villages of Hui ethnic group โดย Mazongbao

http://blog.sina.com.cn/s/blog_7c2a4ed1010113bj.html

http://www.nxnews.net/zghzw/1/2008-2-23/30001@806.htm

http://finance.ifeng.com/roll/20111130/5165052.shtml

ที่มา http://www.publicpostonline.com/main/content.php?page=sub&category=6&id=310 ขอขอบคุณ

รูปภาพของ วี่ฟัด

พบทายาทเจิ้งเหอ คนจีนมุสลิมยุนนาน

  การเดินทางไปเยือนประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ของคณะผู้แทนรัฐบาลไทยโดยการนำของ หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2518

 

 ปีนั้นผู้นำของรัฐบาลทั้ง 2 ได้ลงนามสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต   จนถึงวันนี้มิตรภาพของ 2 ประเทศได้พัฒนาอย่างแน่นแฟ้นยาวนาน 33 ปี

 ที่เชียงใหม่  นอกจากจะมีสัญลักษณ์แห่งความสัมพันธ์ในระดับพิเศษของทั้ง 2 ประเทศยืนยันอยู่ นั่นคือ  2  แพนด้า ช่วง ช่วง และหลินหุ้ย แล้ว

 

น่าประหลาดนัก ที่ปี 2548 ปีเดียวกันนั้น ขณะที่ทางการจีนฉลองครบรอบ 600 ปี ความยิ่งใหญ่ของ แม่ทัพเจิ้งเหอ ผู้สร้างตำนานสมุทรยาตรากระฉ่อนโลก  

 

การตามหาทายาทของเจิ้งเหอในเมืองไทยก็ได้ค้นพบโดยบังเอิญ 

 

….พวกเขาอยู่ที่เชียงใหม่นี่เอง 

 

การค้นพบครั้งนี้ทำให้ตระกูล "วงศ์ลือเกียรติถึงกับขนลุกและตกตะลึง ที่ได้เป็นถึง "ทายาทเจิ้งเหอแม่ทัพซำปอกง ผู้เป็นหนึ่งใน 32 ผู้บุกเบิกของโลก

 

                                             

          

                                                              เจิ้งเหอ  ภาพวาดจากศิลปินนิรนาม

 

                  "วงศ์ลือเกียรติมีชื่อเสียงอยู่ก่อนหน้านี้ในระดับโลก ด้วยความเป็นสกุลของฝ่ายแม่ของนักกอล์ฟฝาแฝดชื่อดัง อารี -นารี ซง วงศ์ลือเกียรติ

 

                ในระดับท้องถิ่น "วงศ์ลือเกียรติถือเป็นคหบดีชาวจีนมุสลิมผู้ร่ำรวยถึงขั้นมอบที่ดินกว่า 100 ไร่ เพื่อให้เป็นที่ตั้งสนามบินเชียงใหม่  และมี "เฮือนหลวงคือบ้านขนาดใหญ่ ตรงข้ามสุเหร่า ในซอยข้าวซอยอิสลามนี่เอง

 

          เมื่อปี 2548 ทายาทของ "วงศ์ลือเกียรติ"นำโดย   รศ.จีริจันทร์ วงศ์ลือเกียรติ  ประทีปะเสน นักวิชาการอิสระ ตั้งใจจะทำสิ่งพิเศษในวาระครบรอบ 100 ปีของขุนชวงเลียงฦาเกียรติ  บรรพบุรุษผู้นำม้าต่างเดินทางจากเมืองคุนหมิง มณฑลยูนนาน มาตั้งรกรากที่เชียงใหม่ ด้วยการจัดทำหนังสือเพื่อให้ทายาทรุ่นหลังได้รู้ถึงรากเหง้าที่มาตนเอง  แจกจ่ายกันในครอบครัว 

 

                การสืบค้นข้อมูลของเธอนี่เอง ทำให้ที่สุดก็ได้พบภาพถ่ายเก่าแก่ อันเป็นหลักฐานสำคัญที่ทำให้รู้ว่าพวกเธอเป็นลูกหลานของเจิ้งเหอ แม่ทัพขันที ผู้ยิ่งใหญ่ที่ไม่น้อยกว่า 20 ประเทศทั่วโลกได้จัดการฉลองและกล่าวขานถึง

                                                    

ภาพ ขุนชวงเลียงฯ ปรากฏบนจอขณะจีริจันทร์(ขวา)อธิบายความเชื่อมโยงกับเจิ้งเหอ      

      "เจิ้งเหอคือเด็กชายจากครอบครัวมุสลิม เกิดที่มณฑลยูนนานประเทศจีนที่ชีวิตถูกกวาดต้อนต้องมาติดตามกองทัพหมิงและที่สุดได้รับมอบหมายให้เป็นแม่ทัพบัญชากองเรือนับ 100 ลำ นำผู้คนกว่า 30,000 ชีวิต ท่องสมุทรสร้างประวัติศาสตร์การเดินเรือให้กับชาติจีนและโลกถึง 7 ครั้ง

 

                นักประวัติศาสตร์หลายชาติกำลังถกเถียงกันว่า  เจิ้งเหอ  อาจป็นผู้ค้นพบทวีปอเมริกาก่อนโคลัมบัสถึง 80 ปี รวมทั้งมีขนาดกองเรือที่ใหญ่กว่าของชาติตะวันตกหลายเท่า   สำหรับประเทศไทย เจิ้งเหอได้มีส่วนสำคัญในการปรับเปลี่ยนโฉมหน้าการเมืองภายในของกรุงศรีอยุธยาด้วย

 

                ความยิ่งใหญ่ของเจิ้งเหอถูกกล่าวขานถึงอย่างมากโดยสื่อนานาชาติในปีที่ครบรอบ 600 ปี การสมุทรยาตราของกองเรือเจิ้งเหอ

 

                สำหรับเมืองไทย ทั้งที่เจิ้งเหอมีส่วนเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ของประเทศ แต่มีการพูดถึงเจิ้งเหอไม่ครึกโครม  ที่เป็นรูปธรรมที่สุดเห็นจะเป็นหนังสือเรื่อง เจิ้งเหอ แม่ทัพจันที ซำปอกง” ของปริวัฒน์ จันทร นักเขียนจากเครือมติชน ที่เมื่อออกสู่ตลาดก็ตีพิมพ์ซ้ำในเวลารวดเร็ว

 

                ในหนังสือเล่มนี้เอง ได้ตีพิมพ์ภาพถ่ายทายาทเจิ้งเหอรุ่นที่ 19  ซึ่งปริวัฒน์ ถ่ายมาจากพิพิธภัณฑ์เจิ้งเหอที่เมืองคุนหมิง เพื่อประกอบงานของเขา  ซึ่งปรากฏว่าได้เป็นภาพเดียวกันกับที่อยู่บนเฮือนหลวงของขุนชวงเลียงฦาเกียรติผู้เป็นปู่ของรศ.จีริจันทร์ นั่นเอง

 

                 "คุณอาของดิฉันคือคุณพวงเพ็ชร วงศ์ลือเกียรติ เคยไปเที่ยวยูนนานและเห็นภาพถ่ายนี้ติดอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เจิ้งเหอ  มาบอกว่าเป็นภาพเดียวกันกับที่อยู่ที่บ้าน  เราก็ทราบแค่นั้น แต่ไม่รู้ว่าที่ที่ไปนั้นมีความสำคัญอย่างไร แต่คิดว่าอาจเกี่ยวพันกับบรรพบุรุษ จนกระทั่งมาเห็นภาพในหนังสือของคุณปริวัฒน์ จึงรู้ว่าเป็นภาพเดียวกัน

 

 

นั่นคือภาพของ ขุนชวงเลียงฦาเกียรติ และนางนพภรรยา พร้อมลูกทั้ง 10 คน ซึ่งคือปู่ ย่า พ่อและอาของเธอนั่นเอง   

                    

                                       ภาพที่คลี่คลายปริศนาทายาทเจิ้งเหอ ในภาพคือขุนชวงเลียง และครอบครัว ซึ่งปัจจุบันมีชีวิตอยู่ 4 คน คือนายสุรินทร์,  คุณหญิง จันทร์เพ็ญ นาวีเสถียรนาง

สมบูรณ์ วงศ์ลือเกียรติ
และ นางพวงเพ็ชร์  วงศ์ลือเกียรติ 

 

ด้วยความตื่นเต้นดีใจนี่เอง เธอได้ติดต่อปริวัฒน์ จันทร ผู้เขียนหนังสือเล่มนั้น และเขาก็ได้มาเชียงใหม่พบกับความตื่นเต้นที่ได้พบกันบุคคลที่เขารอคอยจะได้เห็นนั่นคือทายาทของเจิ้งเหอในเมืองไทย  แม้ทั้งหมดในภาพจะมีผู้มีชีวิตอยู่เพียง 4 คน ก็ตาม

 

 

                 นาง

จินตนา วงศ์ลือเกียรติ
  (สวมแว่นตาพี่สาวของรศจีริจันทร์  และเป็นคุณยายของ ฝาแฝดนักกอล์ฟชื่อดัง อารี-นารี ซง วงศ์ลือเกียรติ 

 

                          หลายคนอาจแปลกใจที่ว่า เมื่อเจิ้งเหอเป็นขันที แต่เหตุใดจึงมีทายาท  แต่สำหรับผู้ที่ติดตามข้อมูลของเจิ้งเหอมานานจะรู้ว่ามีการบันทึกไว้อย่างชัดเจนว่า พี่ชายของเจิ้งเหอได้ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของเจิ้งเหอ  และทางการจีนมีการสืบทอดติดตามสายตระกูลของเจิ้งเหอในยูนนานมาอย่างยาวนานมากแล้ว  ภาพนี้จึงไปปรากฏอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เจิ้งเหอในยูนนานได้

 

 

                รศ.จีริจันทร์ กล่าวว่า เธออ่านเรื่องของเจิ้งเหอแล้วรู้สึกว่าตัวเองเป็นเพียงธุลีเล็กๆ เมื่อเทียบกับความยิ่งใหญ่ของท่าน และเมื่อรู้ว่ามีความเกี่ยวพันกันก็ยิ่งตื่นเต้นและขนลุก  ซึ่งเมื่อขณะที่เธอกำลังพยายามรวบรวมเรื่องของปู่คือขุนชวงเลียง  ก็ได้สังเกตเห็นความละม้ายกันหลายประการของท่านทั้งสอง

 

          นอกจากจุดกำเนิดของความเป็นจีนมุสลิมที่เมืองยูนนานเหมือนกันแล้ว  ทั้ง 2 ก็มีความเป็นนักเดินทางเหมือนกัน  กระทั่งการเสียชีวิตก็ละม้าย  มีข้อสันนิษฐานบางข้อระบุว่าเจิ้งเหอเสียชีวิตในทะเล   สำหรับขุนชวงเลียงฯ ปู่ของเธอ ก็เสียชีวิตกลางทะเลทราย ขณะไปแสวงบุญที่เมกกะ

            ขุนชวงเลียงฦาเกียรติ  หรือ "เจิ้ง ชง ลิง"   เกิดที่เมืองหยีซี มณฑลยูนนาน  เดินทางมาเชียงใหม่เมื่อปี 2448  ด้วยขบวนม้าต่าง  บุกเบิกการค้าและตั้งรกรากที่เชียงใหม่  มีภรรยาเป็นชาวตากชื่อนางนพ และสร้างตระกูลขึ้นมาจนร่ำรวย  มีสถานะเป็นหัวหน้าของกลุ่มจีนฮ่อมุสลิมในเมืองเชียงใหม่ และมีสายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย  ถึงขั้นมอบดาบและที่ดินบริเวณหน้าไนท์บาร์ซ่าให้ปลูกเป็นเฮือนหลวง 

 

                เจิ้ง ชง ลิงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็น ขุนชวงเลียงฦาเกียรติ ในสมัยรัชกาลที่ 6 และเป็นต้นตระกูล "วงศ์ลือเกียรติ"ในปัจจุบัน .   

                                 

รูปภาพของ ฉินเทียน

回族

ชนเผ่าชาติพันธุ์หุย            回族 ้   http://en.wikipedia.org/wiki/Hui_people 

1 ใน 56 ชนเผ่าชาติพันธุ์ของจีน   http://hakkapeople.com/node/3256 

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal