หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

งานประเพณีแห่เจ้าซือจุง + เจ้าพ่อปุนเถ้ากง – เจ้าแม่ทับทิมลำปาง

รูปภาพของ เฉินซิ่วเชง

งานประเพณีแห่เจ้าซือจุง + เจ้าพ่อปุนเถ้ากง – เจ้าแม่ทับทิมลำปาง

Diary by ปวินท์รัตน์, ท่องเที่ยวทั่วเมืองลำปาง, เรื่องราวสาระ 108, by prawinrat.

เฉินซิ่วเชง/อ.ปวินท์รัตน์ แซ่ตั้ง:คณะนิเทศฯ  มหาวิทยาลัยโยนก


เป็นประเพณีที่คนไทยเชื้อสายจีนมีความเชื่อว่า จะทำให้ครอบครัว และอาชีพที่ประกอบการอยู่
มีความเจริญก้าวหน้าและรุ่งเรือง หากได้ร่วมพิธีจะทำให้ชีวิตรุ่งโรจน์มาก นับนานาประการ

องค์กรจีนในลำปาง จัดประเพณีแห่เจ้าซือจุง-เจ้าปุนเถ้ากง-เจ้าแม่ทับทิม เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

มูลนิธิลำปางสงเคราะห์ ร่วมกับเทศบาลเขลางค์นครลำปางและองค์กรจีนในลำปาง จัดประเพณีแห่เจ้าซือจุง-เจ้าปุนเถ้ากง-เจ้าแม่ทับทิม เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  นายประเสริฐ รัตนไฟศาลศรี ประธานมูลนิธิลำปางสงเคราะห์ เปิดเผยว่า ในปี 2552 มูลนิธิลำปางสงเคราะห์ ร่วมกับ เทศบาลนครลำปางและองค์กรจีนต่างๆ ในจังหวัดลำปาง จัดประเพณีแห่เจ้าซือจุง-เจ้าปุนเถ้ากง-เจ้าแม่ทับทิม อย่างยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นประเพณีที่คนไทยเชื้อสายจีนมีความเชื่อว่า จะทำให้ครอบครัวและอาชีพที่ประกอบกิจการอยู่ มีความเจริญก้าวหน้าและรุ่งเรือง   หากได้ร่วมพิธีด้วยก็จะทำให้ทุกชีวิตรุ่งโรจน์มากนับนานาประการ การแห่เจ้าครั้งที่ 5 (5-6  ธันวาคม ทุกปี) โดยวันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม เวลา09.09น. พิธีปล่อยขบวนแห่เจ้าซือจุง – เจ้าพ่อปุนเถ้ากง – เจ้าแม่ทับทิมลำปาง ณ “ข่วงนคร” เทศบาลนครลำปาง ไปตามถนนสายต่างๆ บริเวณในเมืองตลอดวัน จนเสร็จสิ้น ช่วงกลางคืน มีการแสดง สิงโตดอกเหมยและมหรสพ –รีวิว ณ โรงเรียนประชาวิทย์ลำปาง การแสดงมังกรลอยฟ้า ลอยลงมาระเบิดถ้ำ มังกรเสาพ่นพลุไฟและยิงพลุ ณ บริเวณริมแม่น้ำวัง ตรงข้ามศาลเจ้าแม่ทับทิมลำปาง

และในวันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม เวลา 07.30 น. ชมขบวนการแห่เจ้าซือจุน-เจ้าพ่อปุนเถ้ากง-เจ้าแม่ทับทิมลำปาง เริ่มปล่อยขบวน ณ โรงเรียนเทศบาล4 ไปตามถนนสายต่างๆ บริเวณต.สบตุ๋ย ตลอดทั้งวัน เพื่อให้ประชาชนได้ชมขบวนแห่เจ้า และเป็นการสืบทอดประเพณีให้อนุชนรุ่นหลัง  ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าว เพื่อรวมพลังพี่น้องไทย-จีน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แสดงถึงพลังองค์กรจีนในจังหวัดลำปาง จัดงานมหากุศลอย่างยิ่งใหญ่ตระกาตา ถวายความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ และเพื่อเป็นสิริมงคล ให้แก่ประชาชน

(ข่าวเก่าเล่าใหม่ : ภาพโดย อ.ฟี่โฟโต้/อ.มงคล ใจสุข  คณะนิเทศฯ มหาวิทยาลัยโยนก : การข่าว สวท.)


รูปภาพของ เฉินซิ่วเชง

องค์กรจีนลำปาง แห่เจ้าซือจุง-เจ้าปุนเถ้ากง-เจ้าแม่ทับทิม

ไหงได้ภาพมานาน   เพียงไม่มีเวลากับการจัดเก็บในwww. prawinrat.com พอจะมีเวลาช่วงนี้ก่อนไปจัดการด้านอื่นๆ  นั่งหน้าเครื่องคอมทำได้หลายงานพร้อมๆกัน  จึงรีบจัดการเก็บภาพขบวนแห่มาให้ทุกท่านชม  สามารถคลิกภาพให้ขยายได้ทันที  และสามารถก๊อบปี้ไปได้  เพื่อการปชส.นะเจ้า ไหงต้องการสาระข่าวการท่องเที่ยวของลำปาง  เพื่อส่งมอบให้มูลนิธิลำปางสงเคราะห์  ที่ทำการของมวลชนรวมจีนฉิมและปั้นไว้ที่ทำการพวกเรา  จะได้เปิดให้ผู้ใหญ่หลายท่านชมกิจกรรมที่ผ่านมา  โดยไหงจะนำโครงการของต้นกล้าเข้าไปปรึกษาด้วยในเบื้องต้น  เพื่อการวิวัฒนชนเผ่าชาวจีนในลำปาง  ซึ่งคุยกันด้วยคำพูดในเบื้องต้นไปแล้ว  ไหงไปประสานงานเรื่องหนังสือฮากกา   ทุกท่านสนใจจึงรีบกลับมาเก็บข่าวเหล่านี้ เพื่อเปิดให้ท่านชมพร้อมกัน...จึงเรียนมาเพื่อให้ทุกท่านทราบ...และคงจะดีถ้าทุกท่านที่เริ่มเก็บข่าวจากจว.ท่าน  นำมาให้ที่นีเป็นศูนย์กลางต่อไป  ในอนาคตจึงจะสามารถทำการรวบรวมทุกสิ่งในนามฮากกาหงิน  ภาคพื้นเอเชียแบบไทย  เรื่องอาหาร  ดนตรี ปรัชญาและการดำเนินชีวิตที่เป็นของเราโดยตรง  จะเกิดขึ้นที่นี่แน่นอน...เก็บภาพมาบันทึกกันนะเจ้าทุกท่าน   จะนำมาให้ไหงทำแบบนี้ก็ได้  เพียงส่งทางเว็บมาสเตอร์ และให้ส่งปลายทางที่ไหง  ไหงจัดเก็บแบบลักษณะนี้ให้ทุกท่านที่นี่....ด้วยความยินดี
รูปภาพของ เฉินซิ่วเชง

งานรำลึกประวัติศาสตร์รถไฟ รถม้า ลำปาง

ข่าวเก่าเล่าใหม่....

กิจกรรม งานรำลึกประวัติศาสตร์รถไฟ รถม้า ลำปาง ครั้งที่ 11 (1-5 เมย 53) ตอน 2

เมื่อพูดถึงเมืองลำปาง  สิ่งที่คนมักนึกถึงนั้นก็คือ เมือง รถม้า รถไฟ น้ำตกแจ้ซ้อน

วัดพระธาตุลำปางหลวง  ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย  และก็ยังมีกิจกรรมมากมายในเมืองเล็ก ๆ

แห่งนี้ที่น่าเที่ยวมากมาย  แม้จะไม่ใช่เมืองท่องเที่ยวที่ใหญ่โต  แต่ก็ยังคงความมีเสน่ห์และมนต์คลั่งมากมาย

สำหรับเมืองลำปางนี้   ลำปางเริ่มตระหนักในเรื่องของการท่องเที่ยวมากแล้วนับจากอดีต

ที่ไม่ค่อยมุ่งเรื่องการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเท่าที่ควร  การพลิกเมืองลำปางให้

เป็นอีกเมืองท่องเที่ยวขึ้นชื่อของภาคเหนือนั้นไม่ยาก   และไม่ง่ายเลยทีเดียว

และสิ่งที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวน่าจะเป็นกิจกรรมดี ๆ  ที่สนุกและน่าสนใจมากกว่า

“คุณมาถึงลำปางหรือยัง” อะไรเป็นตัววัดกันล่ะ  ว่าคุณมาถึงลำปาง  ถ้าพูดถึงเชียงใหม่ก็ต้องเป็น

พระธาตุดอยสุเทพ  ส่วนลำปางเราก็มีเช่นกันนั้น  หากคุณมาลำปางแล้วคุณไม่ขึ้นรถม้า

คุณแน่ใจหรือว่าคุณมาถึงลำปางแล้ว   ฉนั้นคุณจะพลาดได้อย่างไรการนั่งรถม้าชมเมือง

ยิ่งนั่งรถม้าตอนฤดูหนาวบรรยาการศอย่าบอกใครเชียว!

ประเพณีลำปางกำลังกลับมาโดยเมืองลำปางเริ่มตระหนักถึงการเริ่มต้นอันปนะเพณีที่สวยงาม

การมาเที่ยวลำปางคงไม่ใช่แค่มาเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวเท่านั้น

คงมีอีกมากมายที่ทุกคนจะนึกถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปวัฒนธรรม

ที่ผสมผสานระหว่างศิลปะของพม่ากับเมืองล้านนาที่ลงตัว

 

กิจกรรม  งานรำลึกประวัติศาสตร์รถไฟ รถม้า ลำปาง ครั้งที่ 11 (1-5 เมย 53) ตอน 2

ดิฉัน(เฉินซิวเชง)ชุดญี่ปุ่นสีน้ำเงินนะเจ้า คนที่สาม  ไปเป็นดาราเดินผ่านเวที ด้วยชุดญี่ปุ่นแบบนักท่องเที่ยว

ถูกบังคับเชิงนี้เสียแล้ว   ม่วนแต้ๆๆจาวเหนือ   วันที่ 1 เมษานี้   อ.ไทย,ญึ่ปุ่นและฝรั่งนานาชาติของโยนก  

ได้ประชันฝี่เท้าก้าวย่างบนเวที 30 วินาที   เอาเถิดเผื่อได้เกิดบ้างนะ  หุหุ

กิจกรรม   งานรำลึกประวัติศาสตร์รถไฟ รถม้า ลำปาง ครั้งที่ 11 (1-5 เมย 53) ตอน 3

http://www.prawinrat.com/?p=178  คลิกที่แจ่งส่องลำปาง 5  ดาวโหลดรอสักครู่จะพบ  แจ่งส่องลำปาง 5 

ประกอบด้วยสาระดังนี้.....

 

- ปีฟื้นฟู ส.ค.ส. วันเถลิงศกใหม่สยาม-สงกรานต์ ๑-๑๕ เมษายน   ร่วมลายเซ็นหัตถ์

  พ่อเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต สืบสมัย ร.๕-ร.๖ สู่ปัจจุบัน  ในมหาวาระมหกรรมเมษายน ๑-๑๕ลำปาง๒๕๕๓
- ส.ค.ส.พ่อเจ้ายุคธงช้างเผือก รถไฟหลวงสายเหนือถึงนครลำปาง  
  
     พร้อมโน้ตเพลง และเนื้อเพลงเถลิงศกสมัยปีใหม่สยาม ๑ เมษายน
     คำขวัญจากผู้ว่าราชการจังหวัด  แลปีฟื้นฟู ส.ค.ส.วันเถลิงศกใหม่สยาม-สงกรานต์๑-๑๕ เมษายน
     ร่วมลายเซ็นหัตถ์ พ่อเจ้าบุญวาทย์วงษ์มานิต สืบสมัย ร.๕-ร.๖ สู่ปัจจุบัน ในมหาวาระมหกรรมเมษายน ๑-๑๕ลำปาง๒๕๕๓
     นายกเหล่ากาชาดจังหวัดในบรรยากาศชุ่มฉ่ำรดน้ำดำหัวบนขบวนแห่รถม้าสงกรานต์ ๒๕๕
     ยิ้ม Thailand Land of Smile ปณ.สยาม-ลำปาง ๒๔๔๗-ปัจจุบัน
     หลักซีเมนต์พระรูปจัตุรมุขยุครถไฟ-สาธารณสุขสยามนครลำปาง
     นาฏศิลป์แม่ลูกคุนหมิงปักกิ่งณหาดลาวาก่อนไปแสดงหน้าพระที่นั่งฯ
     สมุดร่วมลายเซ็นหัตถ์พ่อเจ้าส่งความสุขปี๋ใหม่ตรุษไทยเมษายน
     เสียงกลองวันลงนาม ART  IS BORDERLESSไทย-ญี่ปุ่น น.23-24
     วันเปิดเวทีแจ่งส่องลำปาง LPREPORTER 2010(๒๕๕๓) น.25
- จากคู่มือ ๓๕ จุดประวัติศาสตร์ศึกษาสัญจร ปศส.
     Roleplay เม็ดเลย์ประวัติศาสตร์ท่องเที่ยวนครลำปาง²พระราชพิธีเปิดงานสลุงหลวงก๋องใหญ่ปี๋ใหม่เมือง
     พิธีเปิดงานสงกรานต์ ๑๓   เมษายน วันปี๋ใหม่เมือง
     วาระยิ้มแม่ญิงก๋างจ้อง ไฝ กิ๋ว สิว ปาน ฝ้า ลักยิ้ม โหงวเฮ้งผู้เข้ารอบรูปสังคม
     แวดวงยิ้มแบบนักข่าวและผู้เข้ารอบแจ่งส่องลูกพ่อเจ้า
     ส.ค.ส.ปี๋ใหม่เมือง แจ่งส่องยิ้มอิ่ม ส่องยิ้ม  แบบไทย- จีน- มุสลิม  ฯลฯ
     ฝากวาระยิ้มปี๋ใหม่ร่วมขันดำหัวที่แพร่ ส่งยิ้มปีเมษา แด่ทุกๆภาคแห่งสภาการศึกษาครูภูมิปัญญาไทย
     มุมส่องไฝดาราหน้าเน็ต ดาราแหล่งข่าวออนไลน์
     แจ่งสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศๆไทยฯส่องลำปาง
     ผลตัดสินรางวัลไฝแก้มโดดเด่นม็อกม่วน๒๕๕๒
- ประเทศสยามแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใน ร.๕ทรงเปลี่ยนปฏิทินนับ
     ปีจุลศักราช (จศ.)เป็นรัตนโกสินทร์ศกในปี ร.ศ.๑๐๘ ตรงกับพ.ศ.๒๔๓๒
     กำหนดวันขึ้นศกใหม่ ๑ เมษายน ประกาศสงกรานต์ ๑๓ เมษายน(ประเพณีชาวเหนือ
     ถือสำคัญถึงวันพญาวันคือวันที่ ๑๕เมษา) พ.ศ.๒๔๘๒ เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่
     สากลเป็นวันที่ ๑ มกราคม
     ส.ค.ส.ลายเซ็นต์หัตถ์พ่อเจ้า ในทำเนียบหอจดหมายเหตุแห่งชาติจึงเป็นมรดก
     แห่งชัยมงคลปีเก่าสยามร่วมวาระฤกษ์เปิดสถานีรถไฟนครลำปาง ๒๔๕๙
 -ลายเซ็นต์หัตถ์พ่อเจ้ามีความหมายคู่ความเป็นอมตะลำนำเถลิงศกปีใหม่สยาม ๑ เมษายน
 -หัวลำโพง-นครลำปางรถม้า-รถไฟ-ไปรษณีย์สื่อคมนาคมทุกระบบ
  คือปัจจัยหลัก ที่มีในแผนพัฒนา ท่องเที่ยวภาคเหนือนครลำปาง.
- ลำนำศิลปะ ยุคธงช้างเผือกสยามเหนือและใต้   ไร้ขอบฟ้าศิลปิน
 

 

คณะกรรมการตัดสินภาพแจ่งส่องมอกม่วนลำปางประจำปี ๒๕๕๓
ขอประกาศ
ผู้ชนะเลิศรางวัลเงินสด๑ชั่ง๓ตำลึงจากศาลเจ้าแม่ทับทิม 
ประเภทไฝแก้มโดดเด่นเม็ดงามพิเศษเหนือใครที่เวทีอุปรากรไหหลำลำปาง
 

 

***ไฝขนาดไข่เป๋ดโฮงงิ้วไหหลำปี๋นี้เอาไปกิ๋นแหละเน้อ ?! ดูรูปประกอบที่แจ่งลำปาง!!!!
       กำเมืองบอกว่าม่วนขนาด  (สนุกมากที่ศาลเจ้า)
       กับปีใหม่เมืองของคนเมืองลำปางหนาเจ้า....
รูปภาพของ เฉินซิ่วเชง

ภูมิหลังของชาวจีนโพ้นทะเลลำปาง

ภูมิหลังของชาวจีนโพ้นทะเลลำปาง

 posted on 07 Dec 2008 19:35 by chineses-coming  in OverseasChinese

ชาวจีนโพ้นทะเล (Overseas Chinese)คือ
กลุ่มคนเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ภายนอกประเทศจีน
ชาวจีนมีประวัติการอพยพไปยังดินแดนต่างๆมาตั้งแต่ยุคของจิ๋นซีฮ่องเต้
เนื่องจากปัญหาความยากจนและภัยสงคราม

ไทยก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีชาวจีน อพยพมาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก

 

 

โดยเริ่มอพยพเข้ามาในเมืองไทยตั้งแต่ 500-600 ปี รอนแรมเสี่ยงตายล่องเรือสำเภา หรือที่คนจีนเรียกว่า เพียวหลิง ฮั้วไห่ เหมาเสี่ยน (เพียวหลิง = เรือใบ, เหมาเสี่ยน = เสี่ยงตาย) ชาวจีนได้เริ่มเดินเรือสำเภามาค้าขายในประเทศไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัย และสอนชาวไทยทำเครื่องถ้วยชามสังคโลก จนกระทั่งสมัยอยุธยาได้ปรากฏหลักฐานว่ามีชาวจีนมาสร้างบ้านเรื่อน ตั้งรกรากและทำการค้า้เป็นจำนวนมาก

 

 

ทำให้บางทีมีการแต่งงานข้ามเชื้อชาติของ ชาวไทยกับชาวจีนที่อพยพมา ในสมัยของจองพล ป.พิบูลสงคราม  ชายไทยเชื้อสายจีนจำเป็นต้องเข้า รับการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหาร และได้มีการประกาศอาชีพสงวนเฉพาะคนไทยเท่านั้น  อีกทั้งยังประกาศอัตราภาษีกฏการควบคุม  ธุรกิจของชาวจีนใหม่ด้วย  ปัจจุบันมีคนไทยเชื้อสายจีนมีประมาณ100-200 แซ่  และประมาณ 50-60 แซ่ ที่สามารถรวมตัว เป็นสมาคมตระกูลแซ่ได้  และสมาคมต่างๆ เหล่านี้เองที่เป็นตัวเชื่อม ไปยังเครือข่ายคนจีนในประเทศต่างๆรวมแผ่นดินเกิด  ซึ่งสมาคมตระกูลแซ่เหล่านั้นมีบทบาทมาก ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง และมีบทบาทสำคัญในการนำทุนกลับไปแผ่นดินเกิด เมื่อจีนพลิกม่านไม้ไผ่เปิดประเทศรับทุนต่างชาติในช่วงกลางทศวรรษ 2520   เนื่องจากคนจีนมีวิถีปรัชญาที่สมบูรณ์แบบในการดำเนินชีวิต ทำงานหามรุ่งหามค่ำ กินน้อย เก็บเยอะ เก็บหอมรอมริบจนกระทั่งสามารถเปิดกิจการเป็นของตนเองได้ จึงไม่แปลกเลยที่ธุรกิจชั้นนำของประเทศไทย  จะมีคนไทยเชื้อสายจีนเป็นเจ้าของกิจการเป็นส่วนใหญ่ส่งผลให้เกิดอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของไทยเป็นอย่างมากเยี่ยมชมชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพมาอยู่ร่วมกับชาวล้านนาลำปาง

 
กาดกองต้า ตลาดโบราณ แหล่งท่องเที่ยวเชิงศิลปะ วัฒนธรรม ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของเมืองลำปาง

อันนี้คือ หน้าตา อาคารสถานที่ คงจะคุ้น ตา ผู้ที่นิยมเดิน กาดกองต้า อยู่
กาดกองต้า หรือ ตลาดจีน ที่ชาวบ้านเรียกติด ปาก เป็นย่านตลาดเก่าตั้งอยู่ขนานกับลำน้ำวัง บน ถนนตลาดเก่าตลอดทั้งสาย จุดเริ่มต้นอยู่บริเวณ เชิงสะพานรัษฎาไล่ไปจนสุดปลายถนนย้อนเวลา

กลับไปเมื่อกว่า 100 ปี (ราวสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินท ร์) ภาพความคึกคักจอแจ ขวัก ไขว่ เต็มไปด้วยผู้คน จะมีอยู่ตลอดย่านนี้ ด้วยเพราะในยามนั้น กาดกองต้า เป็นศูนย์กลางการค้าที่ สำคัญของ เมืองลำปาง และของภาคเหนือ

 นี่คืออาคารฟองหลี สถาปัตย์แบบขนมปังขิงสไตร์ล้านนาลำปาง อาคารหม่องหง่วยสิ่น กาดกองต้า ได้รับรางวัล และได้รับคำชื่นชมจาก น. ณ ปากน้ำ (ประยูร อุลชาฎะ) ว่าเป็น "อาคาร ขนมปังขิงริมถนนที่งดงามที่สุดในประเทศไทย" เมื่อพ.ศ.25 31 ในหนังสือแบบแผนบ้านเรือนในสยาม นอกจากนั้นอาคาร นี้ยังถือเป็นจุดเด่นสำคัญของอาคารเก่าในย่านกาดกองต้านี้ด้วย
มีข่าวแจ้งมาอย่างไม่เป็นทางการว่าใน ปีนี้ สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้คัด เลือกอาคารสถาปัตยกรรมในลำปาง จำนวน 3 แห่งให้ได้รับ รางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น  ดังต่อไปนี้
 

กลุ่มอาคารบริเวณกาดกองต้า ประเภทชุม ชน       อาคารฟองหลี กาดกองต้า ประเภทอาคารพาณิชย์

ชาวจีนในลำปาง  

 

 

อาคารเยี่ยนซีไท้ลีกี สร้างประมาณ พ.ศ.24
61 บริเวณกาดกองต้า เดิมเป็นของตระกูลทิวารี   ธุรกิจการลงทุนและ
ตระกูลจีนที่มีชื่อเสียงในลำปาง ชาวจีนนั้นขึ้นชื่อมาแต่ไหนแต่ไรเรื่องการค้าข าย   ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญ    ของเมืองที่ควบคู่ไป กับพลังทางการเมือง   สังคม และวิถีชีวิตวัฒนธรม   ดังนั้นครานี้จะอธิบายถึงธุรกิจ   และกลุ่มตระกูล ที่มีบทบาทสำคัญในเมืองลำปาง โดยพิจารณา ประกอบกับการอพยพเข้ามาของชาวจีนในลำปาง
ซึ่งสามารแบ่งเป็นสองระลอกใหญ่ๆด้วยกัน ได้แก่ระลอกแรก   ถือเป็นกลุ่มจีนเก่า  สะสมทุนด้วยการค้าขาย อันมีรากฐานมาจากการขนส่งทางน้ำ   โดย เรือแม่ปะ  (เรือหางแมงป่อง) อาศัยการค้าขาย   โดยการนำเข้าสินค้าพวกของใช้จำเป็น   และสินค้า สำเร็จรูป    อุปกรณ์เครื่องจักรมาจากต่างประเทศ  ได้แก่  น้ำมันก๊าด   ไม้ขีดไฟ   เกลือ   สบู่ เครื่องเหล็ก เสื้อผ้าสำเร็จรูป   ด้าย ปลาแห้ง และสินค้าบริโภค   อุปโภคต่างๆ   สำหรับชาวตะวันตก  รวมถึงผลไม้ ต่างประเทศซึ่งสินค้าส่วนมาก   จะเป็นผลผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรม    ของอังกฤษ กิจการดัง กล่าวมีทำเลที่ตั้งบนทำเลถนนตลาดจีน    (ที่ในอดีตก็มีพ่อค้าอื่นๆเช่น   พม่า ไทใหญ่    อินเดียฯลฯ แต่ พ่อค้าชาวจีน   กลับมีบทบาทมากที่สุดในภายหลัง)    ซึ่งทำหน้าที่ทั้งท่เรือ ร้านค้า    และบ้านพักอาศัย อยู่ในตัว    ขณะที่บางรายมีความดีความชอบ   ได้รับการแต่งตั้งมียศถาบรรดาศักดิ์   ตัวอย่างตระกูล   

ชีวิตที่หลากหลาย

 

ชีวิตที่หลากหลาย(3)

  คนจีน...ภาพจากทายาทตระกูลฟองอาภา
 ลำปางในพงศาวดารไทยถิ่นเหนือ

ตระกูลฟองอาภาจีนฟอง    เป็นพ่อค้าที่ฐานะมั่งคั่งเนื่องจาก   ได้รับสัมปทานป่าไม้    เป็นเจ้าภาษี นายอากรฝิ่น   และสุรา   ภายหลังสร้างอาคารฟองหลี    ทั้งยังมีความสนิทสนมกับเจ้าบุญวาทย์วงษ์ มานิต    ถึงกับได้ตั้งนามสกุลให้ว่า   ฟองอาภา   เจ้าสัวฟองยังได้สร้างอาคารฟองหลี  ราวพ.ศ.2434- 2444   นโยบายของรัฐเปลี่ยนระบบการเก็บภาษี   ให้ส่วนกลางลงมาควบคุมแทน ทำให้ฐานะไม่ มั่งคั่งดังเก่า   ทำให้อาคารดังกล่าวเปลี่ยนเจ้าของเรื่อยมา ตระกูลสินานนท์,   ทิพยมณฑลหลวงวานิชกำจร   (นามเดิมคือ   นายกิมเฉียน   แซ่อึ้ง)    ทำมาค้า ขายเปิดกิจการชื่อ   ห้างกิมฮง    มีความดีความชอบหลายประการ   ได้แก่ มีส่วนร่วมในการปราบเงี้ยว ทั้งยังเป็นผู้บริจาคทรัพย์เพื่อ   สาธารณะประโยชน์    ทั้งยังเป็นผู้สร้างวัดเกาะวาลุการามด้วย ภาย หลังได้รับการแต่งตั้งให้เป็น    หลวงวานิชกำจร   ทั้งยังได้รับพระราชทานนามสกุล   สินานนท์ และ ทิพยมณฑลด้วย   ต่อมาได้ทำการสร้างบ้านสินานนท์    เมื่อพ.ศ.2462 โดยช่างกวางตุ้ง

 


บ้านสินานนท์ สร้างเมื่อพ.ศ.2462 โดย หลวงวานิชกำจร
ตระกูลพานิชพันธ์แม่แดง   พานิชพันธ์    ร่วมกับสามีคือ   นายเกากี่    พานิชพันธ์(แซ่ฮ้อ) ประกอบ ธุรกิจค้าขายเสื้อผ้าและข้าวของเบ็ดเตล็ด    ซึ่งนายเกากี่สะสมทุนมาจ   ากการทำงานสร้างทางรถไฟ กับนายช่างเยอรมัน    จนสามารถเปิดร้านสรรพสินค้าดังกล่าว     มีการบันทึกถึงการล่องเรือซื้อ-ขาย
สินค้าจากกับปากน้ำโพ    กรุงเทพฯ    ด้วยตัวเองของแม่แดงอย่างพิสดาร   ทั้งยังถือว่าเป็นเจ้าหนี้ราย สำคัญของคุ้มหลวงเจ้านายลำปาง    มีทรัพย์สินมากมายรวมถึงที่ดินบ้านกาดเมฆกว่า 60 ไร่ตระกูลพานิชพัฒน์   คุณพ่อคำ พานิชพัฒน์    และภรรยาคือ แม่ไหม แซ่ภู่     (บุตรคือ ศาสตราจารย์
ดุสิต พานิชพัฒน์)    เดิมค้าขายอยู่บริเวณตลาดจีน   ประเภทขนมหวานต่างๆ   และขยายการค้ามาเป็น การค้าแบบสรรพสินค้า   รวมเครื่องอุปโภคบริโภค    รวมไปถึงการค้าขายทางเรือและสินค้าวัวต่าง
ตระกูลทิวารี    เจ้าของในอดีตได้สร้างอาคารเยี่ยนซีไท้ลีกี    เมื่อพ.ศ.2461 เพื่อใช้เป็นห้างสรรพ สินค้า     ซึ่งคาดกันว่าเป็นห้างใหญ่แห่งแรกของลำปาง
ตระกูลบุปผาเจริญ   นายเฮินซุน แซ่แห่ว      (บุปผาเจริญ) แม่เลี้ยงบุญนาค    เคยมีถิ่นฐานอยู่บริเวณ ตลาดจีน    ถือเป็นรุ่นบุกเบิกพ่อค้าผ้า ต่อมาขยายกิจการค้าผ้าเมืองมากขึ้น    ก่อนจะขยายตัว จน สามารถเข้ามามีบทบาทกับเศรษฐกิจอย่างสูง   ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันนอกจากนั้นยังมีตระกูลอื่นๆ   อีกที่ยังไม่มีรายละเอียดนัก ที่ยังต้องสืบและค้นคว้ากันเพิ่มเติมอีก ได้แก่   ตระกูลโรจนศักดิ์   ตระกูลคมสัน   ตระกูลเสาจินดารัตน์   ตระกูลเพ็ชรสุวรรณ    ฯลฯ จากเนื้อหา *เรียบเรียงจาก
ทัศนีย์ ขัดสืบ,ชาวจีนลำปาง ใน ฮู้คิง…ฮู้คนลำปาง,ลำปาง

ชาวจีนในลำปาง  

ศาลเจ้าแม่ทับทิม

ภาวะคุกคามจากนโยบายระดับประเทศ สมัยรัชกาลที่ 6 จนถึง   จอมพล แปลก พิบูลสงคราม     ประชากรชาวจีนในสยามได้ขยายตัวเป็น จำนวนมาก    มีบทบาทสูงทางเศรษฐกิจ    บางส่วนยังเหตุความวุ่นวายจากการผละงาน    การจลาจล จนถึงต้องปราบปรามกันอย่างหนัก    ทำให้แม้รัชกาลที่6 เอง    ก็ทรงมองอย่างดูแคลน   มีอคติและ เรียกชาวจีนว่าเป็น “ยิวแห่งบูรพาทิศ”     (ซึ่งพระองค์ทรงได้รับอิทธิพลความหวาดกลัวที่ ชาวตะวันตกมองจีนอีกทีหนึ่ง)    ขณะที่สมัยจอมพล แปลกเองก็    สืบทอดความคิดดังกล่าวมาไม่น้อย ไปกว่ากัน    เริ่มจากการแทรกแซงทางการค้า   ด้วยการตั้งบริษัทในนามของรัฐบาล    จนถึงออก กฎหมายกีดกันคนต่างด้าว  (โดยเฉพาะชาวจีน)   ถึงกับประกาศเขตหวงห้าม    มิให้ชาวต่างด้าวเข้า หลังการประกาศ   และเริ่มใช้กับภาคเหนือ   เมื่อปลายเดือนมกราคม พ.ศ.2486   ครอบคลุมพื้นที่ 6 จังหวัด อันได้แก่   เชียงใหม่   ลำพูน   ลำปาง   เชียงราย   แพร่   อุตรดิตถ์   ชาวจีนนับพันต้องอพยพ เคลื่อนย้ายภายในเดือนเมษายน    ความเป็นปึกแผ่นของสถาบันต่างๆ   ในนามชาวจีนดังที่กล่าวมาแล้วชาวจีน   เข้ามามีบทบาทในเมืองนครลำปาง    ระลอกแรก    คือบริเวณกาดกองต้า (หรือตลาดจีน) ในระลอกที่สองก็เป็นผลมาจากเส้นทางรถไฟ   ตั้งแต่พ.ศ.2459    ขณะที่ชาวจีนมี บทบาทอย่างสูงทางเศรษฐกิจ    ก็มีแรงกดดันมิใช่น้อย    ฉะนั้นจึงมีการรวมกลุ่มกันขึ้นเพื่อสร้าง อำนาจต่อรอง    และสร้างสวัสดิการร่วมกันภายในกลุ่ม    (ขณะที่ก็ยังมีการแบ่งแยกในกลุ่มภาษาอีก โดยเฉพาะที่โดดเด่นก็คือ ชาวจีนไหหลำ)   ดังปรากฏเป็นโครงสร้างและสถาบันต่างๆดังนี้ศาลเจ้า หรือศาสนสถานของชาวจีน   เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อ   ซึ่งก่อตั้งขึ้น ประจำกลุ่มภาษา ได้แก่ ศาลเจ้าแม่ทับทิม ถ.ทิพย์ช้าง ของชาวไหหลำ สร้างราวๆหลังสงคราม โลกครั้งที่  2  (หลังพ.ศ.2488) ศาลปุงเถ้ากง    ของชาวแต้จิ๋วและจีนแคะ (มีบริเวณตลาดจีน ถ.ทิพย์ ช้าง สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2436 และบริเวณสบตุ๋ย ถ.ประสานไมตรี สร้างราวหลังสงครามโลก ครั้งที่2 เช่นกัน)

โรงเรียนจีน
กล่าวกันว่าในระยะแรก   ลูกคนจีนในลำปางเรียนภาษาจีนที่    จือป้อเสีย   ที่บริษัทจังหวัดลำปางก่อน จะมีโรงเรียน   ในพ.ศ.2466 ที่พ่อค้าชาวจีนไหหลำ   ซื้อที่ดินและบริจาคที่ดินสร้างโรงเรียนจีนแห่งแรกในลำปาง   เรียกว่า โรงเรียนยกส่าย   (ปัจจุบันคือ โรงเรียนมัธยมวิทยา)   บริเวณถนนฉัตรไชย อีก 3 ปีต่อมา   ชาวจีนแคะ   แต้จิ๋ว และกวางตุ้งก็รวมตัวกันตั้งโรงเรียนอีกแห่งหนึ่งชื่อ โรงเรียนฮั้วเคี้ยว (แปลว่าจีนโพ้นทะเล) หรือ หนานปางกงสิหวาเฉียว หรือ หวาเฉียว หรือ กงลิยิหวา (ปัจจุบันก็ คือ โรงเรียนประชาวิทย์) เมื่อพ.ศ.2469 ไม่น้อยหน้ากัน ซึ่งได้รับบริจาคที่ดินจาก ประธานชมรม ชาวจีนโพ้นทะเลในลำปางขณะนั้นอย่างไรก็ตามก็มีความพยายามจะรวมทั้งสองโรงเรียนเข้าด้วยกันช่วง  ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ในที่สุดโรงเรียนทั้งสอง  ก็ถูกสั่งปิดในช่วงสงคราม   และโรงเรียนยกส่ายถูกยึดเป็นฐานที่พักพิง  จนถึงพ.ศ.2489 พ่อค้าจีนก็ขอเปิดโรงเรียนทั้งสอง   โดยรวมเป็นโรงเรียนเดียวกันในนาม โรง เรียนยกฮั้ว    หรือโรงเรียนประชาวิทย์   (หรือกงลิยิหวา)   เป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษา   ขณะที่ใช้ โรงเรียนยกส่ายเป็นที่ตั้งสโมสรชาวจีน  (หวาเฉียวจี้เลาะปู้)ชื่อ    สโมสรสหมิตร ในพ.ศ.2495 จึงขอ ใช้พื้นที่โรงเรียนยกส่าย    เป็นที่ตั้งโรงเรียน จึงได้ชื่อว่า   โรงเรียนมัธยมวิทยา จนในที่สุด ความพยายามดังกล่าวก็ปรากฏเป็นเครือข่ายในนาม มูลนิธิเพื่อการศึกษาประชาวิทย์- มัธยมวิทยา เมื่อพ.ศ.2519 องค์กรอื่นๆ



โรงเรียนยกส่าย หรือมัธยมวิทยาในปัจจุบัน (โรงเรียนของเฉินซิ่วเชง)

มูลนิธิลำปางสงเคราะห์    เดิมก่อตั้งขึ้นเมื่อพ.ศ.2503    บริเวณตรงข้ามโรงแรมร่มศรีทองในปัจจุบัน แต่ได้ย้ายไปตั้งบริเวณถนนสุเรนทร์ เมื่อ พ.ศ.2512    ซึ่งเป็นมูลนิธิกลางของชาวจีนลำปางใน ทุกกลุ่มภาษา คือ จีนแคะ กวางตุ้ง แต้จิ๋ว ไหหลำ
ซึ่งมีหน้าที่ด้านสาธารณกุศล เช่น ใช้เป็นที่ บำเพ็ญกุศลศพหรือบริจาคโลงศพให้คนอนาถา บริจาคสิ่งของสงเคราะห์คนยากไร้ คนไร้ที่พึ่งนอกจากนั้นยังมีสมาคม ชมรมอื่นๆอีก(ยังต้องค้นคว้ารวบรวมเพิ่มเติมอีก)เช่น ชมรมฮงสุน ฯลฯ

เรื่องของสุสานคนจีนลำปางดีงนี้คือสุสานจีน ในลำปางมีอยู่ 3 แห่งแห่งแรก คือ สุสานพระบาท มีอายุมากกว่า 100 ปี สันนิษฐานว่าเป็นเขตป่าสงวน ชาวจีนจึงได้นำ ศพมาฝัง   ขณะที่รัฐบาล บ้านเมืองก็ไม่ได้เห็นปัญหา   แต่ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ชาวจีนอพยพเข้ามามาก   จึงขยายพื้นที่ออกไปอย่างมาก   ทั้งที่พื้นที่ดังกล่าวไม่มีโฉนด   (ได้รับการบอกเล่า ว่ากำลังอยู่ในช่วงดำเนินการขอโฉนดที่ดินอยู่ เมื่อพ.ศ.2548)

 



สุสานพระบาทของชาวจีน

แห่งที่สอง   คือ สุสานจี้หนาน   อยู่บริเวณใกล้กับสุสานพระบาท สร้างขึ้นในปีพ.ศ.2510 เป็นพื้นที่ที่    มีใบโฉนดเรียบร้อยแล้ว ส่วนแห่งที่สาม คือ สุสานจีน ถ.ลำปาง-เด่นชัย สร้างขึ้นในปีพ.ศ.2517 เป็นพื้นที่ที่มีโฉนดเรียบ ร้อยแล้วเช่นกัน

*เรียบเรียงจากทัศนีย์ ขัดสืบ,ชาวจีนลำปาง ใน ฮู้คิง…ฮู้คนลำปาง,ลำปาง : บรรณกิจการพิมพ์.2548. 

กาด คือ ตลาด เป็นภาษาท้องถิ่นล้านนา(คำเมือง)

กองต้า คือ ตรอกท่าน้ำกาดกองต้า ก็คือ ตลาดบริเวณตรอกท่าน้ำ

 

 

 

จุดเริ่มต้นของชาวจีนโพ้นทะเลจะพักอาศัยที่สถานีรถไฟลำปาง    โดยรวมกันตั้งเป็นกาดเก้าจาว  เพราะเป็นเส้นทางคมนาคมทางเดียวที่จะเดินทางไปสู่จังหวัดอื่นได้แบบที่นี่เป็นศูนย์กลาง อย่างเมืองเชียงใหม่ แต่โดดเด่นเป็นเมืองท่าค้าขาย ในยุคที่การเดินทางทางบกยังมีความยาก ลำบาก ด้วยอุปสรรคทางธรรมชาติที่เต็มไปด้วยป่าเขา ถนนหนทางก็ยังไม่มีมากมายสะดวกสบาย ดังเช่นในวันนี้ การคมนาคมจึงต้องใช้ทางน้ำเป็นสำคัญ ทั้งการเดินทางไปมาหาสู่ ทำมามาค้าขาย การลำเลียงสินค้าเส้นทางเหนือ ไม่ว่าจะเป็นการนำสินค้าจากเหนือลงไป "เมืองใต้" ซึ่งหมายรวมถึงดินแดนที่อยู่ใต้ดินแดนล้านนาลงไปทั้งหมด   และการขนถ่ายสินค้า   ที่มาจากต่างประเทศผ่านท่า เรือเมืองบางกอก หรือสินค้าจากเมืองใต้ขึ้นมา ล้วนแต่ใช้การล่องเรือมาตามแม่น้ำสายหลัก ล่อง เข้าลำน้ำวังสุดทางที่ เขลางค์นคร หรือ นครลำปาง ท่าน้ำใหญ่เชิงสะพานรัษ กาดกองต้า จึงรับ บทบาทเป็นศูนย์กลางการค้าที่สำคัญ ซื้อขายแลกเปลี่ยน และกระจายสินค้าไปตามหัวเมืองต่างๆ โดยวิธีขนส่งทางบก ใช้รถต่าง ม้าต่าง หรืออืนๆต่อไป กาดกองต้า  ศูนย์การค้าสำคัญ จึงคับคั่งไปด้วยพ่อค้าวานิชผู้มั่งคั่งหลายหลายเชื้อชาติ ทั้งไทย พม่า จีน และฝรั่ง การผสมผสานทางวัฒนธรรมจึงเกิดขึ้น และที่แสดงออกเห็นเป็นรูปธรรมที่ ชัดเจนคือสถาปัตยกรรมนานาชาติ ที่แสดงผ่านบ้านเรือนสิ่งก่อสร้าง มีทั้งเรือนแบบไทยภาคกลาง เรือนล้านนา เรือนพม่า และที่สำคัญดูจะโดดเด่นเห็นจะเป็นเรือนแบบจีน และเรือนขนมปังขิงแบบ ฝรั่งตะวันตก ทั้งนี้อาจเพราะในสมัยนั้นประเพณีราชนิยมแบบตะวันตกกำลังได้รับความนิยมสูง สุด ในภาคกลาง ชาวตะวันตกเข้ามามีความสัมพันธ์กับสยามมากมาย จะด้วยบทบาทใดก็ตาม แต่รูป แบบสถาปัตยกรรมงามแปลกตา ที่นำมาเผยแพร่ก็เป็นที่ถูกใจของชาวสยาม นำมาประยุกต์ใช้สร้าง บ้านเรือนเป็นที่สวยงาม ระบาดไปเกือบทุกพื้นที่ของประเทศ รวมทั้งที่กาดกองต้า ก็มีเรือนฝรั่ง  ผสมจีนแบบนี้อยู่หลายแห่ง กาดกองต้า   ได้ถูกลดบทบาทลงจนไม่เหลือภาพของความมั่งคั่ง   จอแจดังในอดีต แต่สิ่งที่ยังดำรงอยู่คือ   ชุมชนและวิถีของผู้คนที่วันนี้ได้ถูกเรียกขานว่าเป็น   "ชุมชนย่านตลาดเก่า" รวมทั้งอาคาร สิ่งก่อสร้างหลากวัฒนธรรม   อันเป็นมรดกล้ำค่า เป็นแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยว   ผู้โหยหาอดีตอันคลาสสิก   การเดินชมกาดกองต้าในวันนี้   ต้องถือว่าเป็นรายการท่องเที่ยวเมืองลำปางที่ต้องไม่ พลาดชม และมีบรรยากาศหลากหลาย   ให้เลือกสัมผัสถ้าต้องการความ   สงบเย็นซึมซับบรรยากาศ ชื่นชมกับสถาปัตยกรรมต้องชมในวันธรรมดาจันทร์-ศุกร์

 

 

ถ้าต้องการความคึกคักของผู้คน สนุกสนาน มีตลาดถนนคนเดิน  ต้องเดินในวัน เสาร์-อาทิตย์

http://images.google.co.th/

 

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal