หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

ไหงเป็นสมาชิกใหม่ขอฝากตัวด้วย

รูปภาพของ paul

สวัสดีครับ

ไหงเป็นคนจีนแคะสมาชิกใหม่ ชื่อ  พล ชื่อจีน  Huang wei ming  อยู่นนทบุรี ทำงานเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย สอนทางด้านวิศวกรรม

ไหงอยากเข้าสังคม คบค้าสมาคม มีมิตรเพื่อนพ้องได้รรู้จักคนจีนแคะด้วยกัน เป็นเครือข่ายพี่น้องขักหงิน คนแคะด้วยกัน หรือมีสิ่งใดที่เราจะช่วยท่านได้ ปรึกษาหารือก็ได้ครับ

 

ขอฝากตัวด้วยครับ

 

coconutextra@gmail.com

 

 


ยินดีครับ

ยินดีต้อนรับ อาจารย์พล ครับ.

รูปภาพของ มะไฟ

ยินดีต้อนรับครับอาจารย์

ยินดีต้อนรับอาจารย์ด้วยครับ เราจะมีนักวิชาการเพิ่มอีกคน

รูปภาพของ YupSinFa

สวัสดีครับหวงเว่ยหมิงซินซาง

ไม่ทราบว่าท่านใช้ชื่อจีนตามที่ออกเสียงในพินยินว่า หวงเว่ยหมิง ตามนี้หรือปล่าวครับ  黄 为 明 ถ้าผิดก็ขออภัยด้วยครับ แซ่ฮวาง ถ้าถูกต้องตามนี้ แปลว่า แซ่เหลือง ภาษาฮากกา ออกเสียงว่า หว่อง ครับ อักษรตัวนี้ ออกเสียงใกล้เคียงกับคำว่า หวาง 王 มาก เพียงแต่ ฮวาง หวง ของอาจารย์ จะออกเสียงฮ. มากกว่า หรือไม่ก็หวางตัวหลัง ภาษาไทยเขียนเป็น หวัง ไปเลย ง่ายกว่าและชัดเจนกว่ามาก

เข้าใจว่าอาจารย์ น่าจะเป็น หว่องซินซาง นะครับ

ชุมชนของเรา มีกระบี่ไร้เทียมทาน มากมายหลายท่าน แต่ละคนก็ล้วนเยี่ยมวรยุทธ์ กันไปคนละแบบ คนละแนว แถมยังมี นักวิทยายุทธ์ฝีมือยอดเยี่ยมแห่งสำนักง๊อไบ๊อยู่ที่ลำปาง อีกนางนึงนะครับ สุภาพสตรีท่านนี้เป็นนาง(ไม่ใช่มาร) ที่ดีงาม และเยี่ยมวรยุทธ์มากท่านนึงครับ ส่วนท่านสุภาพบุรุษแต่ละท่าน ่ล้่วนฝีมือปราดเปรื่องในยุทธจักรกันทั้งนั้นครับ ขอให้ท่านซินซาง(ฮากกานิยมเรียกอาจารย์ว่า "ซินซาง" แต่ปัจจุบัน ซินซางในภาษาฮากกา หรือ เซียนเซิง ในภาษาจีนกลาง หมายถึง มิสเตอร์ ครับ) ได้โปรดสังเกตกระบวนท่า วรยุทธ์ ของท่านต่าง ๆ เอาเองครับ มีทั้งบุ๋น และ บู๊ ครับ สำหรับไหง คงถนัดทางด้านบุ๋นมากกว่าครับ อิอิ.

คนจีนแคะ ของเรา (อาจารย์พิมพ์เป็นจีนแคระ ไม่น่าจะถูกนะครับเพราะตรงกับคนแคระในภาษาไทยกลาง) ถ้าจะเรียกให้ถูกต้อง จะต้องเรียกว่า จีน ฮาก ครับ ส่วนคำว่า กา แปลว่า บ้าน หรือ ครอบครัว ในภาษาจีนกลาง ฮากกา ออกเสียงว่า เค่อเจีย ครับ ส่วน แคะ นั้น เป็นภาษาจีนแต๊จิ๋วที่ใช้เรียกพวกเราครับ ในไทยมีแต๊จิ๋วมากที่สุดในโลก ภาษาแต๊จิ๋วจึงมีอิทธิพลมากในสังคมไทย

พวกเราเรียกตัวเองว่า ฮากกา ซึ่งก็คือ ครอบครัวของชาว ฮาก และเรียกกันอย่างนี้เรื่อยมา จนคำว่า ฮากกา กลายเป็นคำสากลของพวกเราไปเสียแล้วครับ ใช้เรียกตรงกันทั่วโลก ที่มาของคำว่า ฮากกา หรือ เค่อเจีย นั้น เพราะเราเป็นชาวจีนที่อยู่ทางภาคเหนือ แถบทางใต้ของกรุงปักกิ่ง แล้วพากันอพยพเรื่อย ๆ มาได้ 2000 กว่าปี มากันเป็นระลอก ๆ แล้วมาตั้งหลักปักฐานเป็นกลุ่มก้อนที่หนาแน่นที่สุดในทางตอนใต้สุดของมณฑลฝูเจี้ยน(ฮกเกี้ยน) และทางตะวันออกเฉียงเหนือของกว่างตง ซึ่งก็คือเมืองเหมยโจว บ้านเกิดของ อากุง อาผอ ของพวกเรานั่นเองครับ

อาจารย์ หรือหว่องซินซางมีเรื่องใดอยากรู้ถามมาได้ครับ เพราะถ้าแต่ละท่านที่มีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ เขาเข้ามาเห็นเขาก็จะตอบให้เองครับ รับรองมีผู้เยี่ยมวรยุทธ์มากมายครับ เดี๋ยวซินซางจะเห็นเองครับ

ส่วนซินซางมีเรื่องดี ๆ อย่าอุบไว้คนเดียวนะครับ มาแบ่งปันประสบการณ์ความรู้ให้ไท้ก๋าหยิ่น(ทุกๆ ท่าน) ได้อ่านกันบ้างนะครับ

ยินดีอย่างยิ่งที่ได้ซินซางมาเป็นสมาชิกใหม่ครับ-ยับสินฝ่า

รูปภาพของ เฉินซิ่วเชง

ยินดีต้อนรับหวองซินซ้าง.

ยินดีที่ได้รู้จัก  หวองซินซ้าง. สมาชิกใหม่ที่จักได้มาร่วมบาทวิถีสังคมโลกอีกท่าน......

ยิ้นดีจ้าดนัก ที่ได้ฮู้จักกั๋น

 

ด้วยความยินดี

ยินดีที่ใด้รู้จัครับ มีวิชาการใหม่ ใหม่ ช่วยแนะนำด้วยครับ ไหงอยู่นครปฐม ครับ

รูปภาพของ paul

ขอบคุณครับที่ชี้แนะ

ชื่อจีน Huang Wei Ming , Huang แปลว่าเหลืองถูกต้องแล้วครับ  wei =ยิ่งใหญ่ Ming= สว่าง

ขอบคุณมากครับอากอยับสินฝา ที่จริงควรเขียนว่า แคะหรือฮากกา บรรพบุรุษ ไหงมาจากภาคตะวันออกของกวางตงครับ(เพิงซุน, ฮงสุน) ในโอกาสไหงอยากจะเอาเรื่องของ Hakka ngin จากวิกิพีเดีย มาเล่าให้ฟังดังนี้ครับ

แคะ หรือ ฮากกา (客家 คำว่า แคะ ในภาษาไทยถูกเรียกตามภาษาแต้จิ๋วว่า แขะแก ในภาษาจีนกลางเรียกว่า เค่อเจีย มีความหมายว่า ครอบครัวผู้มาเยือน ส่วนในภาษาจีนแคะเอง เรียกว่า หักก๊า หรือ ฮากกา) คือ ชนกลุ่มจีนฮั่นกลุ่มหนึ่ง ซึ่งกล่าวกันว่ามีบรรพบุรุษที่มีต้นกำเนิดบริเวณมณฑลเหอหนานและซานซี ทางตอนเหนือของจีนเมื่อราว 2,700 ปีที่แล้ว บรรพบุรุษของชาวจีนแคะอพยพลงใต้ เนื่องจากความไม่สงบทางสังคม การลุกฮือ และการรุกรานจากผู้ยึดครองต่างชาติตั้งแต่ยุคราชวงศ์จิ้น (265-420) กระแสการอพยพครั้งต่อ ๆ มาเกิดขึ้นเมื่อยุคสิ้นราชวงศ์ถัง เมื่อประเทศจีนแตกออกเป็นส่วน ๆ และช่วงราชวงศ์ซ่ง ซึ่งเป็นช่วงที่ประชากรทางภาคเหนือลดลง. ช่วงที่สาม ที่ชาวจีนแคะอพยพลงใต้ คือช่วงที่ชาวหนี่ว์เจินสามารถยึดครองเมืองหลวงของราชวงศ์ซ่งเหนือไว้ได้. ช่วงที่สี่ เป็นช่วงที่ราชวงศ์ซ่งถูกโค่นล้มโดยชาวมองโกล ในสมัยราชวงศ์หยวน และช่วงสุดท้ายคือสมัยราชวงศ์หมิง ซึ่งถูกโค่นล้มโดยชาวแมนจูซึ่งก่อตั้งราชวงศ์ชิงในเวลาต่อมา

ที่มาของคำว่า แคะ

คำว่า แคะ นั้นกล่าวกันว่าเป็นคำเรียกที่ค่อนข้างใหม่ ระหว่างรัชสมัยของพระจักรพรรดิ์คังซี ได้โปรดให้มีการอพยพผู้คนแถบภูมิภาคชายฝั่งเป็นเวลาเกือบทศวรรษ เพื่อลดอิทธิพลที่ยังหลงเหลือของราชสำนักหมิง ซึ่งหลบหนีไปยังดินแดนซึ่งกลายเป็นไต้หวันในปัจจุบัน หลังจากที่กำจัดภัยคุกคามได้แล้ว พระจักรพรรดิ์คังซีได้มีพระบรมราชโองการ โปรดให้มีการอพยพผู้คนเข้าไปในดินแดนนี้อีกครั้ง ดังนั้นเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก มีการมอบเงินให้ครอบครัวแต่ละครอบครัว ไว้สำหรับเริ่มชีวิตใหม่โดยลงทะเบียนว่าเป็น 'ครอบครัวผู้มาเยือน' (客戶 เค่อฮู่) ส่วนชนดั้งเดิมซึ่งอพยพกลับมายังถิ่นเดิม ก็ได้พบกับการเข้ามาของผู้มาอยู่ใหม่ ชนดั้งเดิมก็เกิดความหวงแหนในดินแดนที่อุดมสมบูรณ์กว่าของพวกเขา จึงผลักดันชนกลุ่มใหม่ออกไปรอบนอก หรือไปตั้งหลักทำมาหากินในเขตที่มีแต่ภูเขา เมื่อเวลาผ่านไปกระแสการต่อต้านในท้องถิ่นก็แผ่ขยาย และกล่าวกันว่าคำว่า แคะ กลายเป็นคำที่ชนดั้งเดิมใช้เรียกผู้มาอยู่ใหม่อย่างดูแคลน แต่เมื่อเวลาผ่านไปอีกสิ่งดังกล่าวก็จางลง และมีการยอมรับคำว่าแคะให้ใช้เรียกชาวจีนแคะได้ในที่สุด เป็นที่รู้กันดีว่าชาวนาจีนแคะ ใช้เท้าขณะอยู่ในท่ายืนดึงวัชพืชออกจากนาข้าว ซึ่งเป็นความหยิ่งในวัฒนธรรมของพวกเขา เพราะพวกเขาไม่ยอมคุกเข่า และคลานบนดินแดนที่เป็นของชาวแมนจู

กรณีนี้ก็มีความน่าสนใจประการหนึ่ง เพราะว่าชนที่มาอยู่ใหม่อาจไม่ใช่บรรพบุรุษ ของผู้พูดภาษาจีนแคะทั้งหมด เนื่องจากคำว่าแคะเป็นคำที่เหมาคลุม จากการศึกษารากเหง้าสืบสายชาวกวางตุ้งและแคะ พบว่าแซ่บางแซ่มีบรรพบุรุษเดียวกัน แม้ว่าพวกเขาไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มชนอื่น ดั้งนั้นบรรพบุรุษของชาวแคะจึงเป็นชนกลุ่มหนึ่งซึ่งอพยพลงมาทางใต้ เราสามารถพบเห็นชาวแคะในมณฑลทางใต้ของจีน เช่น กวางตุ้ง ฮกเกี้ยนตะวันตก เจียงซี ตอนใต้ของหูหนาน กว่างซี ตอนใต้ของกุ้ยโจว ตะวันออกเฉียงใต้ของเสฉวน เกาะไหหลำและไต้หวัน

แม้ว่าชาวแคะจะมีวัฒนธรรมและภาษาที่แตกต่างเฉพาะตัวจากประชากรโดยรอบ แต่ชาวแคะก็ไม่ถูกจัดว่าเป็นชนกลุ่มน้อย และยังคงถูกจัดว่าเป็นชาวจีนฮั่น ในความขัดแย้งนี้ ชนกลุ่มเดิมถือว่าชาวแคะไม่ใช่คนจีนอย่างสิ้นเชิง แต่ว่าจากการสืบรากเหง้าซึ่งพบว่ามีบรรพบุรุษสายเดียวกัน ชาวแคะจึงเป็นชาวจีนเหมือนเพื่อนบ้านของพวกเขา ชาวจีนแคะยังมีบทบาทในการกบฎไท่ผิงซึ่งนำโดย หงซิ่วฉวนผู้ที่คิดว่าตนเองคือน้องชายของพระเยซู และเป็นผู้นำสาวกซึ่งก่อตั้งอาณาจักรแห่งสวรรค์ไท่ผิง (ไท่ ผิง เทียน กั๋ว)

 ชาวแคะในมณฑลฮกเกี้ยน

ชาวแคะที่ตั้งถิ่นฐานอยู่มนมณฑลฝูเจี้ยน (หรือคนไทยรู้จักในนามมณฑลฮกเกี้ยน) ได้พัฒนาสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ เรียกว่า ถู่โหลว ซึ่งแปลว่าสิ่งก่อสร้างที่ทำจากดิน ด้วยเหตุผลที่ว่าชาวแคะเป็นผู้ที่มาอยู่ใหม่ ต้องตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตภูเขา และเพื่อป้องกันจากพวกขโมย และปล้นสะดม

ถู่โหลว มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสหรือวงกลม ออกแบบให้เป็นได้ทั้งป้อมค่ายและอาคารคล้ายอพาร์ตเมนต์ในเวลาเดียวกัน มีแต่ประตูทางเข้าออก ไม่มีหน้าต่างในระดับพื้นดิน แต่ละชั้นก็จะมีหน้าที่แตกต่างกัน ชั้นแรกเป็นชั้นไว้สำหรับเลี้ยงสัตว์ ชั้นสองเอาไว้สำหรับเก็บอาหาร และชั้นสามเป็นที่อยู่อาศัย

แผนที่เขตเหมยโจว มณฑลกวางตุ้ง

 ชาวแคะในมณฑลกวางตุ้ง

ส่วนมากชาวแคะในมณฑลนี้จะอาศัยอยู่ทางตะวันออกของมณฑล โดยเฉพาะในเขตซิ่งหนิง-เหมยเสี้ยน (ตัวเต็ม: 興寧-梅縣, ตัวย่อ: 兴宁-梅县) เช่นเดียวกับญาติของพวกเขาในมณฑลฮกเกี้ยน ชาวแคะก็มีสถาปัตยกรรมเป็นของตน เรียกว่า เหวยหลงวู (ตัวเต็ม: 圍龍屋, ตัวย่อ: 围龙屋, wéilóngwū) และ ซื่อเจี่ยวโหลว (四角楼 sìjǐaolóu)

 ชาวแคะนอกดินแดนสาธารณรัฐประชาชนจีน

ชาวแคะส่วนมากที่อาศัยอยู่นอกแผ่นดินใหญ่จะอาศัยอยู่ที่มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย สาธารณรัฐจีน(ไต้หวัน) และติมอร์ตะวันออก

นอกจากนี้ชาวแคะก็ได้อพยพไปที่อื่น ๆ ด้วย เช่น ออสเตรเลีย แคนาดา สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เบลเยียม เยอรมนี และ เนเธอร์แลนด์ และยังพบชาวแคะในแอฟริกาใต้ มอริเชียส และหมู่เกาะแคริบเบียนโดยเฉพาะในจาเมก้า ชาวแคะพลัดถิ่นในสหราชอาณาจักรส่วนใหญ่มีความเกี่ยวดองกับฮ่องกง และน่าจะอพยพออกมาเมื่อครั้งฮ่องกงยังเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร

ในไต้หวัน ประชากรราวร้อยละ 15 เป็นชาวแคะ ดังนั้นจึงเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีความสำคัญ ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 เกิดความขัดแย้งถึงขั้นใช้อาวุธเข้าปะทะกันระหว่างชาวแคะและชาวฝูเหล่า (福佬) ขึ้นหลายครั้ง บางครั้งเกิดจากสาเหตุทางเศรษฐกิจ บ้างก็จากการเมือง ซึ่งทำให้เกิดความไม่ไว้วางใจกันระหว่างชน 2 กลุ่มนี้มาเป็นระยะเวลานาน แต่อย่างไรก็ตามชนทั้ง 2 กลุ่มก็ยังมีการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน

บุคคลสำคัญที่เป็นชาวแคะ

ถึงแม้ประชากรชาวแคะจะมีจำนวนน้อย แต่ก็มีอิทธิพลต่อประวัติศาสตร์ของชาวจีนและของชาวจีนโพ้นทะเล โดยเฉพาะในเรื่องของการปฏิวัติและผู้นำทางการเมือง และก็ยังคงเป็นจริงอยู่ในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของจีนซึ่งผู้นำจีนที่มีชื่อเสียงหลายคนเป็นชาวแคะ ระหว่างช่วงทศวรรษที่ 1980-1990 ชาวจีนแคะที่มีชื่อเสียงถึง 3 ท่านได้ครองอำนาจทางการเมืองพร้อมๆกันใน 3 ประเทศซึ่งมีชาวจีนเป็นชนส่วนใหญ่ อันได้แก่ เติ้งเสี่ยวผิงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน หลี่เติงฮุยแห่งสาธารณรัฐจีน และลีกวนยูแห่งสิงคโปร์

นอกจากนี้ ทั้งดร.ซุนยัดเซ็น เติ้งเสี่ยวผิง และลีกวนยู ซึ่งต่างก็เป็นชาวแคะ และยังเป็น 3 คนในชาวจีน 4 คนซึ่งนิตยสารไทม์ (Time Magazine) จัดอันดับให้เป็นชาวเอเชียที่ทรงอิทธิพลที่สุด 20 อันดับแรกในศตวรรษที่ 20 ส่วนอันดับ 4 คือ เหมาเจ๋อตุง

 

รูปภาพของ paul

คนhakka, เชื่อสาย Hakka ที่สำคัญ

  • Malaysia
    • Yap Ah Loy 葉亞來/叶亚来 (1837-1885; Huiyang, Guangdong; born in China), founder of Kuala Lumpur
    • Chung Keng Quee 鄭景貴/郑景贵 (1827-1901; Zengcheng, Guangdong; born in China), founder of Taiping, Perak; Kapitan China, Penang and Perak
    • Yap Kwan Seng 葉觀盛/叶观盛 [34] (1846-1902; Chixi, Guangdong; born in China), Last Kapitan China, Kuala Lumpur, 1989-1902; A major road, Jalan Yap Kwan Seng, in Kuala Lumpur was named after him
    • Chung Thye Phin 鄭大平/郑大平 (1879-1935; Zengcheng, Guangdong; born in Malaysia), Last Kapitan China, Perak
    • Datuk Seri Lau Pak Khuan 劉伯群/刘伯群 (1894-1971; Zengcheng, Guangdong; born in China), Founding member of Malaysian Chinese Association; First Chinese to be conferred the "Datuk Seri" title by Malaysia Sultan; Led the unsuccessful bid for Chinese equal citizenship rights and official language status during drafting of Malaysia Constitution
    • Tan Sri Wong Pow Nee 王保尼, (1911-2002; born in Malaysia), Chief Minister of Penang, 1957–1969
    • Datuk Peter Lo Sui Yin 羅思仁/罗思仁 (Longchuan, Guangdong), Chief Minister of Sabah, 1965–67
    • Datuk Yong Teck Lee 楊德利/杨德利 (1958-; Longchuan, Guangdong), Chief Minister of Sabah, 1996–1998
    • Tan Sri Chong Kah Kiat 章家杰 (1948-), Chief Minister of Sabah, 2001–2003
    • Tan Sri Datuk Amar Stephen Yong Kuet Tze 楊國斯/杨国斯 (1921-2001; Dabu, Guangdong; born in Malaysia), former Minister of Science, Technology & Environment
    • Peter Chin Fah Kui 陳華貴/陈华贵 (1945-; Bao'an, Guangdong; born in Malaysia), Plantation Industries and Commodities Minister, Malaysia, 2004-
    • Liow Tiong Lai 廖中莱 (Dabu, Guangdong; born in Malaysia), Health Minister, Malaysia, 2008-
    • Teresa Kok 郭素沁 (1964-; Huizhou, Guangdong; born in Malaysia), Member of Parliament, 1999-; Won by the highest majority among 200 seats contested in the 2008 General Elections
    • Cheong Fatt Tze張弼士(1840–1916),a Hakka born in 1840 in Dabu, Guangdong Province. he was appointed the Chinese Consul, based in Penang in 1890. Minister for agriculture, industries, roads and mines for the provinces of Fujian and Guangdong for Qing Dynasty in 1899. He was member of the Legislative Assembly of Republic of China in 1912. A street in Penang, Malaysia was named after him.
  • Indonesia
    • Low Lan Pak 羅芳伯/罗芳伯 (1738-1778; Meixian, Guangdong), Founder and President, Hakka Lanfang Republic (present Western Kalimantan, now part of Indonesia), 1777–1884
    • Hasan Karman 黄少凡 (Meixian; Guangdong; born in Indonesia), Mayor of Singkawang, West Kalimantan; Indonesia's first Chinese mayor
  • Timor-Leste
    • Pedro Lay (born in East Timor), Minister of Infrastructure, 2007-
    • Gil Alves (born in East Timor), Minister of Tourism, Commerce & Industry, 2007-
  • Mauritius
    • Sir Moilin Jean Ah-Chuen 朱梅麟 (1909-1991; Meixian, Guangdong; born in Mauritius), First Chinese member, Legislative Council, 1949; Minister of Local Government, 1967–1976; Second Hakka after Sun Yatsen to have his portrait printed on the bills of a country's currency [37]
    • Noel Lee Cheong Lem 李國華/李国华 (1951-; Meixian, Guangdong; born in Mauritius), Minister of Tourism, 1993–1995
    • Joseph Tsang Mang Kin 曾繁興/曾繁兴 (1938-; Meixian, Guangdong; born in Mauritius), Minister of Art and Culture, 1995–2000
    • Emmanuel Jean Leung Shing 陳念汀/陈念汀 (1944-; Meixian, Guangdong; born in Mauritius), Minister of Justice and Human Rights, 2000–2005
    • Sylvio Tang Wah Hing 鄧學升/邓学升 (Meixian, Guangdong; born in Mauritius), Minister of Youth and Sports, 2005–2007
รูปภาพของ paul

คนhakka, เชื่อสาย Hakka ที่สำคัญ

Government officials

[edit] Entrepreneurs and corporate figures

  • Michael Lee-Chin (born in Jamaica), Chairman and CEO, AIC Limited, one of Canada's largest mutual fund companies
  • Dave Chong Min Kuin (born in 1956), Founder and Former Managing Director of NEC Infrontia Asia Pacifi

[edit] Literary figures, artists, academics and scientists

  • Huang Zunxian 黃遵憲/黄遵宪 (1848-1905; Meixian, Guangdong), Poet, writer and diplomat
  • Yong Mun Sen (Yong Yen Lang) 楊曼生/杨曼生 (1896-1962; Dabu, Guangdong; born in Malaysia); Pioneer artist and the father of Malaysian painting
  • Jimmy Choo 周仰杰 (1961-; born in Malaysia), Renowned designer of shoes and handbags, United Kingdom
  • Lo Hsiang-lin 羅香林/罗香林 (1906-1978, Xingning, Guangdong), Scholar on Hakka culture and language
  • Teng Yu-hsien 鄧雨賢/邓雨贤 (1906-1944; born in Taiwan), Taiwanese composer
  • Li Guohao 李國豪/李国豪 (1913-2005; Meixian, Guangdong), One of the top bridge experts in the world
  • Ivan A. Taslimson(Meixian, Guangdong; born in Indonesia), Artist, scientist, inventor, US tech tycoon. Founder of Solstice Group
  • Chung Li-ho 鐘理和/钟理和 (1915-1960; born in Taiwan), Famous Taiwanese novelist
  • Han Suyin 韓素音/韩素音 (1917-; Xinyang, Henan), Author of books on modern China
  • Lin Haiyin 林海音 (1918-2001; Jiaoling, Guangdong; born in Japan), Taiwanese novelist whose memoirs, 城南旧事 (My Memories of Old Beijing), was made into a movie of the same name
  • Shing-Tung Yau 丘成桐 (1949-; Jiaoling, Guangdong), Chinese-American mathematician

[edit] Actors, musicians and entertainers

  • Hong Kong
    • Chor Yuen 楚原 (1934-; Meixian, Guangdong; born in China), Hong Kong film director
    • Leslie Cheung 張國榮/张国荣 [43] (1956-2003; Meixian, Guangdong; born in Hong Kong), Famous singer/actor
    • Chow Yun-fat 周潤發/周润发 [44][45] (1955-; Bao'an, Guangdong; born in Hong Kong), One of the most famous actors in Asia; Lead actor in several Hollywood movies
    • Leon Lai 黎明 (1966-; Meixian, Guangdong; born in China), Singer/actor; One of the "Four Great Heavenly Kings" of Chinese pop music
    • Alex Man 萬梓良/万梓良 (1957-; Bao'an, Guangdong; born in Hong Kong), Actor; Best Actor, Golden Horse Awards, 1988
    • Cherie Chung 鍾楚紅/钟楚紅 (1960-; Boluo, Guangdong; born in Hong Kong), Actress
    • Jordan Chan 陳小春/陈小春 [46](1967-, Huiyang, Guangdong; born in Hong Kong), Actor/singer
    • Eric Tsang 曾志偉/曾志伟 (1953-; Wuhua, Guangdong; born in Hong Kong), Actor/comedian
    • Frances Yip 葉麗儀/叶丽仪 (1947-; Huiyang, Guangdong; born in Hong Kong), Singer
    • Deanie Ip 葉德嫻/叶德娴 (1947-; Huiyang, Guangdong; born in Dapengcheng), Singer/actress
    • Teresa Cheung Tak Lan 張德蘭/张德兰 (Dabu, Guangdong; born in Hong Kong), Popular Hong Kong singer in the 1970s-1980s
    • Chan Wai-Man 陳惠敏/陈惠敏 [47] (1946-; born in Hong Kong); Actor who is well-known for triad chief roles
    • Shing Fui-On 成奎安 (1955-2009; Xingning, Guangdong; born in Hong Kong), Actor who is well-known for bad guy roles
    • Angeline Leung 梁韵蕊 (Meixian, Guangdong), Winner, Miss Hong Kong pageant, 1982
    • Shallin Tse 謝寧/谢宁 (1963-; Meixian, Guangdong; born in China), Winner, Miss Hong Kong pageant, 1985
    • Shirley Yeung 楊思琦/杨思琦 (1978-; Meixian, Guangdong; born in Hong Kong), Winner, Miss Hong Kong pageant, 2001
    • Fiona Yuen 袁彩雲 (1976-; born in Germany), Second runner-up, Miss Hong Kong pageant, 1996
    • Kate Tsui 徐子珊 (1979-; Huizhou, Guangdong; born in Hong Kong), Winner, Miss Hong Kong pageant, 2004
    • Shermon Tang 鄧上文/邓上文 (1983-; born in Hong Kong), Miss Photogenic, Miss Hong Kong pageant, 2005
  • Taiwan
    • Hou Hsiao-Hsien 侯孝賢/侯孝贤 (1947-; Meixian, Guangdong; born in China), Award-winning film director and a leading figure of Taiwan's New Wave cinema movement
    • Edward Yang 楊德昌/杨德昌 (1947-2007; Meixian, Guangdong; born in China), Film director; Best Director, Cannes Film Festival, 2000
    • Luo Dayou 羅大佑/罗大佑 (1954-; Meixian, Guangdong; born in Taiwan), Influential singer-songwriter who revolutionized Chinese pop and rock music in the 1980s
    • Hebe Tien 田馥甄 (1983-; born in Taiwan), Member of S.H.E, Taiwanese female pop group
    • Ella Chen 陳嘉樺 (1981-; born in Taiwan), Member of S.H.E, Taiwanese female pop group
    • Joe Zhang Shu Wei 張書偉 (1980-; born in Taiwan), Members of ENERGY, Male pop group
    • Chen Qiao En 陳喬恩/陈乔恩 (1979-; born in Taiwan), Leading actress of Taiwan idol dramas, co-leader of 7 Flowers, Taiwanese female pop group
    • Shino Lin 林曉培/林晓培 (born in Taiwan), Singer
    • Julia Peng 彭佳慧 (1972-; Meixian, Guangdong; born in Taiwan), Singer
    • Alec Su 蘇有朋/苏有朋 [48] (1973-, born in Taiwan), Actor/singer
    • Bowie Tsang 曾寶儀/曾宝仪 (1973-; Wuhua, Guangdong), Compere/singer/actress
    • Chen Chien-Chou 陳建洲/陈建洲 (Blackie 黑人) (1977-; Meixian, Guangdong; born in Taiwan), Compere; Former national basketballer, Chinese Taipei national basketball team
  • China
    • Huang Wanqiu 黄婉秋 (1943-; Meixian, Guangdong), Lead actress of the classic movie, "Third Sister Liu" 刘三姐
    • Li Ai 李艾 (Meixian, Guangdong), Supermodel and one of China's most recognizable media personalities; Host, "China's Next Top Model"
  • Singapore
    • Fann Wong 范文芳 (1971-; born in Singapore), Actress/singer/model
    • Adrian Pang 彭耀順/彭耀顺 (1966-; born in Malaysia), Actor; Best Actor for Comedy Performance, Asian Television Awards, 2002
    • Xie Shaoguang 謝韶光/谢韶光 (1960-; born in Singapore), Actor; Best Actor, Asian Television Awards, 1998; Five-time winner of Singapore's best television actor award
    • Felicia Chin 陳靚瑄/陈靓瑄 (1984-; born in Singapore), Actress; Female winner, Star Search, 2003; Member of the Singapore national softball team at the age of 15[citation needed]
    • Wong Lilin 黃麗玲/黄丽玲 (born in Singapore), Actress
    • Michelle Chong 莊米雪/庄米雪 (1977-; born in Singapore), Actress/compere
    • Maggie Teng 鄧妙華/邓妙华 (born in Singapore), Singer; First Singaporean to break into Taiwan pop music industry in the 1980s[citation needed]
    • Lee Wei Song 李偉菘/李伟菘 (1966-; born in Singapore) and Lee Shih Shiong 李偲菘 (1966-; born in Singapore), Well-known songwriters[citation needed]
    • Ho Yeow Sun 何耀珊 (born in Singapore), Singer; First and only Asian singer to top the US Billboard Dance Chart and the UK MusicWeek Chart; Performed the Olympic Hymn, which was sung in Mandarin for the first time, accompanied by a choir of Overseas Chinese from 16 different nationalities for 2008 Beijing Olympics
    • Yew Hong Chow 遊宏釗/游宏钊, Classical musician and harmonica virtuso
  • Malaysia
    • Eric Moo 巫啟賢/巫启贤 (1963-; born in Malaysia), Award winning singer/composer/producer
    • Michael Wong 王光良 (1970-; born in Malaysia) and Victor Wong 黄品冠 (1972-; Jieyang, Guangdong; born in Malaysia), Singer-songwriters of "Guang Liang Pin Guan" 光良品冠 / "Wu Yin Liang Pin" 无印良品 fame
    • Penny Tai 戴佩妮 (1978-; Haifeng, Guangdong; born in Malaysia), Singer-songwriter; Best Composer, Golden Melody Awards, 2006
    • Z-Chen 張智成/张智成 (1973-; born in Malaysia), Singer; Known as "The Little Prince of R&B"
    • Gary Chaw 曹格 (1979-; born in Malaysia), Singer; Winner, Best Male Mandarin Singer, Golden Melody Awards, 2008
    • Wong Sze Zen (born in Malaysia), Miss Malaysia/World, 2003
    • Lim Pey Yeng 林佩盈 (born in Malaysia), First Runner Up, Miss Astro Chinese International Pegeant 2000, Famous TV / Event Host
  • Indonesia

[edit] Sportspersons

[edit] Religion

[edit] Others

รูปภาพของ YupSinFa

น้อมคารวะหว่องซินซาง(สำเนาเรียน-เว็ปมาสเตอร์)

              คุณหวงเว่ยหมิง - หว่ิองซินซางครับ ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลสำคัญของชาวฮากกาที่หงีนำมาลง สุดยอดเยี่ยมที่สุดเลยครับ ครบ ทุกยุค ทุกสมัย ละเอียดทุกขั้นตอน มีพ่อ-ลูก และคนในครอบครัวหรือตระกูลนั้น ๆ ที่มีชื่อเสียงพร้อมสรรพ นับตั้งแต่ฮ่องเต้หงซิ่วฉวน และขุนศึกคนสำคัญของท่าน ในสมัยไท่ผิงเทียนกว๋อ ซึ่งเป็นกบฏที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติจีน สามารถยึดครองจีนได้ถึงครึ่งราชอาณาจักรต้าชิง (ทฤษฎีตามความน่าจะเป็นของไหง่-ถ้าหงซิ่วฉวนสามารถล้มราชวงศ์ชิงได้สำเร็จ-ไหงว่าทุกวันนี้ภาษาจีนกลางคงเป็นภาษาฮากกาแทนภาษาปักกิ่งซึ่งเป็นภาษาจีนกลางอยู่้ในทุกวันนี้)

               ประวัติศาสตร์บุคคลสำคัญของคนฮากกา นับเริ่มจากสมัยหงซิ่วฉวนเป็นบุคคลสำคัญคนแรกนั้น ถูกต้องที่สุดแล้วครับ เ้พราะย้อนจากสมัยหงซิ่วฉวนคงไม่อาจจะทราบได้ว่ามีท่านใดเป็นชาวฮากกาบ้าง ประวัติศาสตร์บุคคลสำคัญของชาวฮากกาจึงเริ่มนับตั้งแต่ฮ่องเต้หงซิ่วฉวนและคณะลงมาจนถึงบุคคลสำคัญในราชวงศ์ชิงตอนปลาย แล้วเป็นสาธารณรัฐ และต่อด้วยประเทศจีนใหม่ จีนโพ้นทะเล ทั้งนักการเมือง-ผู้นำประเทศ และนักธุรกิจ ในประเทศต่าง ๆ 

               ลำดับบุคคลสำคัญของชาวฮากกาที่คุณหว่องซินซางนำมาลงนั้น ถือว่าเป็นรายงานชื่อเสียงเรียงนามของคนฮากกาที่โด่งดังที่มีความละเอียดมากที่สุด ที่คุณหว่องซินซางนำมาลงนั้น มีท่านที่ไหงทราบว่าเป็นชาวฮากกาอยู่ทั้ังหมด แต่ที่เป็นของแถมคือ ยังมีอีกหลายท่านที่ไหงหรือไท้ก๋าหยิ่นยังไม่ทราบ ที่สำคัญ ยังแบ่งออกเป็นครอบครัว แจกแจงให้ทราบ บอกถึงยุคสมัยและระยะเวลาที่บุคคลท่านนั้นดำรงชีวิตอยู่ ฯลฯ

               ไหงจะทำสำเนาเอกสารชิ้นนี้เก็บไว้เพื่ออ้างอิงครับ เพราะไหงถือว่้ามันเป็นประโยชน์กับไหงมาก ๆ เพราะไหงคิดว่าไหงจะต้องใช้มันตลอดชีวิตของไหง ในการอ้างอิงในด้านวิชาการในอนาคต

               ขอขอบพระคุณหว่องซินซางโก เป็นอย่างยิ่งครับ

               ขอเรียนเว็ปมาสเตอร์ว่า ไหง ขอออกความเห็นว่า เก็บรายงานที่ท่านหว่องซินซางนำมาลงนี้ไว้ เป็นเนื้อหาเฉพาะของชุมชนของเราเลยนะครับ เพราะมีประโยชน์มาก ๆ ไม้ต้องไปสืบค้นที่ไหนอีกแล้ว เพราะของท่านหว่องซินซางนี้ ละเอียดมากจริง ๆ 

               อั้นโตเซี้ย

ขอความกรุณาด้วย

อาสุก หว่อง ครับ ข้อมูล ที่สุกเอามาลงมีแปลเป็น ภาษาไทยให้อ่านใหมครับ ถ้าไม่มีจะหาใด้ที่ใหน ขอบคุณครับ

 

รูปภาพของ paul

อยากรู้ตรงถามไหงมาได้จ้ะ

ข้อความเหล่านี้อยากรู้ตรงไหนถามไหงได้จะแปลให้  หากมีเวลาไหงจะแปลทั้งหมดเป็นภาษาไทยให้ 

อากอ Huang

รูปภาพของ paul

การประชุมตัวแทนชาวHakka โลก World Hakka Congress

World Hakka Congress  การประชุมตัวแทนชาวHakka โลกครั้งที่ 24 ปี 2011

Beihai, Guangxi China

จะจัดที่ เมือง Beihai, มณทล กวางสี Guangxi ปรเทศจีนครับ

รูปภาพของ YupSinFa

北海-เป๋ยไห่-กว่างซี และชาวจ้วง

เมืองเป๋่ยไห่ มณฑลกว่างซี (เหลี่ยงกว่าง-กว่างตง-กว่างซี) ปัจจุบันมณฑลกว่างซี ถูกรัฐบาลซินหวา ให้เป็นเขตปกครองตนเอง ในระดับมณฑล มีชื่อเรียกเป็นภาษาไทย ว่า "เขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงแห่งกว่างซี" ถึงแม้ว่า กว่างซี จะอยู่ติดกับกว่างตง เป็นดินแดนของคนจีน ที่พูดภาษาเย่ หรือภาษากวางตุ้ง (มีสองสำเนียงคือ ซานเย่ กับ ซื่อเย่-ซ้ามยับ ซี้ยับ) คนจีนในกว่างซีจึงพูดภาษายับหรือภาษาเย่เหมือนกับคนจีนกว่างตง ในอดีต ประวัติศาสตร์จีน ถ้าพูดถึงสองมณฑลนี้ มักจะพูดว่า เหลี่ยงกว่าง อันหมายถึงมณฑล กว่างทั้งสองคือกวางตุ้ง กับ กวางสี (กว่างตง กว่างซี) กว่าง แปลเป็นไทย ตรงตัวว่า "กว้าง" มณฑล กว่างตง ก็เป็นมณฑล(พื้นที่)กว้าง ทางตะวันออก กว่างซี ก็เป็นมณฑลกว้างทางตะวันตก

คำว่า กว้างขวาง ในภาษาไทย น่าประหลาด มันตรงกับคำว่า "กว่างขว้อ" ของภาษาจีนกลาง ซึ่งแปลตรงตัวว่า "กว้างขวาง" เหมือนกันเด๊ะเลย

มณฑลกว่างซีมีชนชาติส่วนน้อยของจีน ที่มีจำนวนประชากรของชนชาติส่วนน้อยมากที่สุดในประเทศจีน นั่นก็คือ ชนชาติ "จ้วง" ซึ่งมีมากที่สุดในกว่างซี อาศัยอยู่แถบทางภาคตะวันตกของกว่างซี และทางเหนือกับตะวันตกเฉียงใต้ของ กว่างซี ซึ่งอยู่ติดเวียตนาม ส่วนทางตะวันออกของกว่างซี ก็เป็นที่อยู่ของพวก เย่ หรือ ชาวกว่าง ที่พูดภาษาเย่-ยับ และบริเวณแถบนี้ก็มีชาวฮากกา อาศัยอยู่หลายพื้นที่

เมืองเป๋ยไห่ ที่อาจารย์หว่อง พูดถึงว่าจะมีการประชุมฮากกาโลกในปีหน้านี้ อยู่ปลายแหลมสุดของกว่างซี ครับ คิดว่าน่าไปร่วมประชุมถ้าสามารถไปได้นะ ไหงคิดว่า เสร็จการประชุม ก็สามารถไปเที่ยวเมืองกุ้ยหลิน ชมทัศนียภาพของแม่น้ำหลีเจียงที่ใสดั่งกระจกแสนสวยงามมากครับ กุ้ยหลินเป็นเมืองที่ทิวสวยน้ำใส คู่แข่งกับ ซูโจว-หางโจวครับ แล้วก็ออกไปทางตะวันตก ไปเที่ยวชมเมืองของชาวจ้วง ญาติสนิทของคนไทย ครับ

เพลงรักชาวเรือ ภาพยนต์เพลงที่โด่งดังในอดีตก็อาศัยฉากของหลีเจียงกุ้ยหลิน และ ถิ่นของชาวจ้วงนี่แหละครับเป็นฉาก หลิวซานเจ่ หรือ มีสหลิว ก็เป็นชาวจ้วง ครับ ชาวจ้วง รับเอาวัฒนธรรมของชาวฮั่นไปมากเลยครับ ดังนั้น ปัจจุบัน ภาษาและการแต่งกายก็มาทางฮั่นครับ 

แต่ภาษาดั้งเดิมของชาวจ้วง ถึงแม้ว่าคนไทยอาจจะฟังไม่รู้เรื่อง ถ้าเขาพูดเป็นประโยค แต่ ถ้าแปล ศัพท์เป็นคำ ๆ แล้ว เราจะรู้ครับว่ามันตรงกัน เช่น ฉัน(เก๋า-กู-คำคำนี้ทางบ้านของคุณประนอมภรรยาไหง สุภาพสตรีบางคนเขายังใช้สรรพนามแทนตัวเองว่า เก๋า เหมือนกันครับ) เธอ (เหมิง-มึง-เห็นไหมครับว่าเป็นคำไทยโบราณ) น้ำ(หนำ) ข้าว(เขา) ไป(เมอ-ตรงกับภาษาไทลื้อ-ไทขึน-ไทใหญ่และไทยล้านนาออกเสียงว่า เมือ ครับ)

อันนี้ได้มาจากเพื่อนชาวจ้วงที่เคยเจอกันในเชียงรายครับพี่น้อง

รูปภาพของ paul

เป็นความรู้ที่ดีจากหงี

ได้เกร็ดความรู้จากอากอ ยับสินฝ่า ผู้ปราดเปรื่อง  นับถือ นับถือครับ

เซืยะ เซียะ หนี

รูปภาพของ webmaster

ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับครับท่านอาจารย์

รูปภาพของ อาคม

ยินดีต้อนรับครับ

สวัสดีครับ หล่อซือหว่องหวุ่ยหมิน ก่อนอื่นไหงว่าพวกเราเรียกพวกเรากันเองว่าฮากกาหงิน หรือขักหงินจะดีกว่าครับ คำว่าจีนแคะเป็นคำไทยปนแต้จิ๋ว แคะแต้จิ๋วแปลเป็นไทยว่าแขกผู้มาเยือนแต่ที่อาจารย์เขียนมาเป็นจีนแคระก็คือคนตัวจิ๋วๆ อย่างคนแคระทั้งเจ็ดของsnowwhiteครับ อาจารย์เซี่ยงหว่อง ที่เมืองจีนอยู่ที่ไหนครับ

รูปภาพของ กิ่มหมิ่น

ยินดีต้อนรับครับหวุ่ยหมินซินซัง

ไหงกิ่มหมิ่นครับ แช่เเเช่เดียวกันกับซินซังครับ

รูปภาพของ paul

ขอบคุณครับ

ขอบคุณครับที่แนะนำ ควรเขียนว่าแคะ  ถึงจะถูก  พ่อแม่ไหงบอกว่า มาจากเมืองฮงสุน หรือจีนกลางเรียกว่าเฟิงซุนครับ

รูปภาพของ อาคม

อาจารย์ paul

สวัสดีครับ อาจารย์ไม่ทราบว่าอาจารย์ทราบชื่อหมู่บ้านของพ่อแม่ที่ฟุงซุนมั้ยครับ ไหงมีญาติและเพื่อนเซี่ยงหว่องหลายคนครับ อาจจะเป็นญาติกันกับพวกเขาก็เป็นได้ครับ

รูปภาพของ paul

ขอบคุณมากครับที่แนะนำ

ไหงไม่ทราบเหมือนกันว่าอยู่หมู่บ้านอะไร แต๋รู้ว่าอยู่ที่ เฟิงชุน(ฮงสุน)ครับ  อย่างไรก็ตาม พวกเราก็เหมือนญาติกันนะ

รูปภาพของ จ๊องหยิ่นฮยุ๋ง

ยินดีต้อนรับครับ

ยินดีต้อนรับครับ หวองซินซ้าง.

รูปภาพของ ใช่หงี่อุ้ย

ยินดีที่ได้รู้จักครับ

ใช่หงี่อุ้ย

ยินดีที่ได้รู้จักครับ

อาจารย์

รูปภาพของ 廖诗雅

认识您很高兴

老师好,大家好!

我来介绍一下,我叫 廖诗雅 。我家在叻丕府,我也是客家人。但是我的客家话太差了,所以用普通话来介绍哟。 如果那个句话说得不正确的话,请大家介绍一下儿。

认识您们很高兴啊。

Smileสวัสดีอาจารย์,สมาชิกทุกท่านค่ะSmile

ก่อนอื่นขอแนะนำตัวหน่อยนะค่ะ ดิฉันชื่อจีน廖诗雅 อยู่จังหวัดราชบุรีค่ะ เป็นฮากกาหงิ่นเช่นกันค่ะ. แต่พูดฮากกาไม่ค่อยได้ ฟังได้นิดหน่อยค่ะ ดังนั้นดิฉันขออนุญาติใช้จีนกลางนะค่ะ หากว่ามีประโยคไหนพูดไม่ถูกต้อง ขอให้ทุกท่านช่วยชี้แนะด้วยค่ะ.

ยินดีที่ได้รู้จักทุกท่านค่ะ

รูปภาพของ จ๊องหยิ่นฮยุ๋ง

ยินดีที่ได้รู้จักครับ

ยินดีที่ได้รู้จักครับ คุณ廖诗雅

ขอโทษที่ถามนะครับ คุณ廖诗雅 เป็นญาติกับ ก๊อสมจิต (mrsomjit) หรือเปล่าครับ เพราะเห็นว่าแซ่เดียวกัน.

รูปภาพของ วี่ฟัด

จํองหยิ่นฮยุ่งเข้าใจถูกแล้วหละ

                  เลี่ยวซือยาก็คือลูกสาวของก๊อสมจิตรนั่นเอง พวกเราต่างเป็นกลุ่มผึ้งงานทำงานให้กับสมาคมอย่างเสียสละให้กับสมาคมฮากการาชบุรีตลอดมา ก็เนื่องจากมีความรักในความเป็นฮากกา และไม่เคยลืมกำพืดของความเป็นฮากกาของพวกเรา จนบัดนี้สมาคมฮากการาชบุรี ได้รับคำชมจากคนราชบุรีทั่วไปถึงความรักสามัคคีของพวกเรา แม้แต่กลุ่มคนแต้จิ๋วในจังหวัดราชบุรีที่มีมากกว่าคนฮากกาหลายสิบเท่าก็ยังยกย่องพวกเรา ปัญหาของสมาคมจีนในปัจจุบันไม่มีคนรุ่นใหม่ๆมาสืบทอดที่ยังทำงานล้วนแต่เกินกว่า 70 แต่สมาคมฮากกาไม่เป็นเช่นนั้นมีคนรุ่นใหม่ๆที่มีอายุระหว่าง 40-50 ปีอยู่มากมายที่เข้ามาสืบทอดเจตนารมณ์ของคนรุ่น อาปัก อาสุข

                   แต่เลี่ยวซิอยาคนนี้แหละที่มีอายุไม่ถึง 30 จะเป็นอนาคตของสมาคมฮากการาชบุรี ว่าสมาคมของเราคงมีคนสืบทอดรุ่นต่อรุ่น เลี่ยงซือยาสนใจภาษาจีนและมีความสามารถภาษาจีน กี่เคยไปอยู่หมอยแย้นกับพี่ชายอาก๊อสมจิตรครั้งละเป็นเดือนๆ  ซึ่งเป็นสิ่งที่ไหงอยากจะทำบ้างแต่ไม่มีเวลาที่จอยู่นานขนาดนั้น

                   ดังนั้นไหงจึงอยากจะขอให้บรรดาไท้กาหงิ่นช่วยแนะนำหลานไหงคนนี้ด้วย

รูปภาพของ YupSinFa

ไหงจะรับเลี่ยวซือยาเป็นหลานอีกคนนะวี่ฟัดโก

               คุณเลี่ยวซือหยา หรือ เหลี่ยวซือยา อายุยังไม่ถึง 30 แสดงว่ากี๋น่าจะ สัก 26-29 วัยเดียวกันกับ เจียงหงยิง หลานสาวไหง ที่จะมาไทย ถึงกรุงเ้ทพ วันที่ 29 กันยายนนี้พอดี ไหงอยากให้สองคนนี้รู้จักกัน จังเลย เห็นว่า อาซือยาได้ไปอยู่หมอยเย้น บ่อย ๆ ไหงอิจฉาจังเลย ต่อไปอยากให้ อาซือยาติดต่อไหงบ้า่ง ไหงแสดงความเห็นถึงกี๋ แล้ว กี๋ยังไม่ตอบมาเลย

               อาหงยิงคงจะได้ไปเที่ยวกรุงเทพด้วย อยากนัดให้ซือยา กับหงยิงได้เจอกัน เพราะต่อไป เธอจะมาไทยบ่อย ๆ แล้วไหงก็จะไปหมอยเย้นบ่อย ๆ ด้วยเช่นกัน บางทีอยากให้ซือยาช่วยไหงเรื่องภาษาบ้า่ง ไม่ทราบว่าตอนนี้กี๋ทำงานอะไรอยู่ที่ราชบุรี หรือว่าช่วยกิจการธุรกิจส่วนตัวของปา-แม ที่นั่น

               หากหนูเลี่ยวซือยา มาอ่านเห็น กรุณาติดต่อไหงด้่วย morakot.alfalfa@gmail.com

รูปภาพของ 廖诗雅

ขอโทษที่ตอบกลับช้าค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณอายับสินฝ่า

 

      ก่อนอื่นต้องขอโทษด้วยนะค่ะ ที่ไหงตอบจดหมายช้า เพราะสองสามวันมานี้ไหงไม่มีเวลาเข้าเน็ตเลยค่ะ ไหงเพิ่งจะเข้ามาอ่านข้อความก็วันนี้เองค่ะ.

 

รายละเอียดของไหงได้ตอบกลับทางเมลล์แล้วนะค่ะ 

 

รูปภาพของ 廖诗雅

ใช่ค่ะ

ใช่ค่ะ เป็นอาปาของไหงเองค่ะ

รูปภาพของ YupSinFa

คุณเหลี่ยวเสี่ยวเจ่แห่งราชบุรี

                 ชาวฮากการาชบุรีกำลังทำแต้มนำฮากกาทุกจังหวัด ไหงว่าเป็นผลงานที่น่ายกย่องของอาวี่ฟัดโก ที่ช่วยแนะนำบอกต่้อบรรดาเพื่อน พ้อง น้อง พี่ ฮากการาชบุรี จึงมีชาวไทยฮากกาแห่งราชบุรีเข้ามาสมัครเป็นสมาชิกชุมชนของเรามากมายหลายท่าน น่าชื่นชมจริง ๆ

                 ยินดีที่ได้รู้จักกับ คุณ เหลี่ยวเสียวเจ่ ที่เพิ่งเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่หมาด ๆ ของเรา ไหงว่า ภาษาจีนกลางที่หงีใช้ได้ดี คงจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนของเราและสมาชิกที่ไม่ค่อยเก่งภาษาอย่างไหง 

                 ขอโทษนะครับ ที่ไม่ได้เปิดซินหวาจื้อเตี่ยน เพราะตอนนี้กำลังปวดหัวและตาลาย จึงไม่ทราบว่า เซี้ยง เหลี่ยว ออกเสียงจีนกลางว่าอย่างไร ขอรบกวน หงี ช่วยตอบให้ไหงหน่อย ว่า ชื่อของหงี พินยิน สะกดอย่างไร ต่อไปหากเขียนถึงหงี จะได้พิมพ์ชื่อ-แซ่ ได้ถูก

                  ไหงยับสินฝ่า ครับ 叶 新 华 อยู่เชียงใหม่ คงเป็นอาโก หรือ อาสุก ของหงีนะครับ ยินดีที่ได้รู้จักครับ ตอบความเห็นนี้ด้วยนะครับ

รูปภาพของ YupSinFa

廖 诗 雅 小 姐

               คุณเลี่ยวซือยา ครับ ออกเสียงอย่างนี้ถูกต้องไหมครับ นึกขึ้นมาได้ว่า เซี้ยงเหลี่ยว ผู่้ทงฮว่า ออกเสียงว่า เลี่ยว จึงเปิดซินหวาจื้อเตี่ยน ออกดูชื่อของคุณอีกสองตัว จึงได้พิมพ์ขึ้นมา ช่วยบอกสมาชิกด้วยนะครับว่า ชื่อของคุณออกเสียงอย่างไหน เพราะการที่ล๊อคอินเข้ามาเป็นอักษรจีน ข้อเสียคือสมาชิกที่อ่านจีนไม่ได้ เขียนจีนไม่ได้ จะไม่สามารถสื่อสารถึงคุณได้เลย ถ้าเปลี่ยนเป็นอักษรโรมัน หรือ เป็นอักษรไทย ทับศัพท์ชื่อจีน ว่า เลี่ยวซือยา อย่างนี้จะสามารถทำให้สมาชิกทุกท่าน เขี่ยนถึงคุณได้ครับ

              ในบรรดาคนจีนฮากกาแซ่เลี่ยวหรือเซี้ยงเหลี่ยว ที่มีคุณูปการต่อประเทศจีนในยุคใกล้ หรือยุคปลายราชวงศ์ชิง ต่อด้วยยุคสาธารณรัฐ และตอนต้นของประเทศจีนใหม่ ที่มีชื่อเสียงและคุณูปการ คือ ท่านเลี่ยวจ้งไข่ เพื่อนสนิทและสหายร่วมอุดมการณ์ปฏิวัติซินไฮ่้ ของท่านด๊อกเตอร์ซุนจงซาน ซึ่งก็เป็นชาวฮากกาเหมือนกัน ท่านเลี่ยวจ้งไข่ เป็นเพื่อนสนิทและมือขวาของท่านด๊อกเตอร์ซุนที่ร่วมอุดมการณ์ปฏิวัติมาด้วยกันและท่านก็เป็นผู้นำปีกซ้ายของพรรคกว๋อหมินต่าง ภายหลังจากการอสัญกรรมของท่านด๊อกเตอร์ซุน ท่านถูกลอบสังหารจากพวกแก๊งชิงปัง ซึ่งในภายหลัง ประวัติศาสตร์จีนได้สันนิษฐานว่า เป็นฝีมือการสั่งการของจอมพลเจี่ยงเจี้ยสือ หรือเจี่ยงไก้เส็ก หรือเจียงไคเช็ค บุตรชายของท่าน คือ เลี่ยวจ้งไข่ ซึ่งเปรียบเป็นบุตรบุญธรรมของท่านด๊อกเตอร์ซุนจงซาน ภายหลังได้เป็นแกนนำรองในหมู่ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนรุ่นแรก ภรรยาของท่านเลี่ยวจ้งไข่ หรือมารดาของท่านเลี่ยวเฉิงจื้อ เป็นแกนนำของปีกซ้ายพรรคกว๋อหมินต่าง ซึ่งคัดค้านการนำของเจี่ยงเจี้ยสือ และเป็นพันธมิตรที่ดีมากกับพรรคคอมมิวนิสต์จีนหรือจงกว๋อก้งฉานต่าง คู่กันกับท่านซ่งชิ่งหลิง ภริยาหม้ายของท่านด๊อกเตอร์ซุน ท่านเลี่ยวเฉิงจื้อ มีตำแหน่งทางการบริหารประเทศจีนใหม่ เป็น รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีัน ภายหลังในยุคปฏิวัติวัฒนธรรม ท่านถูกเรดการ์ด และแก๊งสี่คนทำร้าย ในฐานะที่ท่านถูกใส่ความว่า เป็นผู้มีแนวทางความคิดด้านทุนนิยม เพราะสาเหตุที่ท่านเก่งภาษาอังกฤษ และท่านเป็นฝ่ายของเติ้งเสี่ยวผิงและท่านนายกรัฐมนตรีโจวเอินไหล

              ท่านเลี่ยวเฉิงจื้อยังมีส่วนสำคัญของประวัติศาสตร์จีน-ไทย คือท่านได้เป็นผู้ดูแล ซึ่งเป็นผู้ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรีโจวเอินไหลให้เป็นพ่อบุญธรรมและดูแลอุปการะ สองพี่น้อง ที่ทางรัฐบาลไทยภายใต้การนำของจอมพล ป. พิบูลสงคราม คือ ท่าน วรรณไว และ ท่านสิรินทร์ พัฒโนทัย สองพี่น้อง บุตรของ นายสังข์ พัฒโนทัย คนสนิทและที่ปรึกษาของท่านจอมพล ป. ที่ถูกส่งไปเป็นฑูตลับ ๆ ของไทย แก่ประเทศจีน ประวัติศาสตร์ จีน-ไทย ในตอนนี้ไม่ได้ถูกบันทึกไว้อย่างเป็นทางการ แต่มีหนังสือ ที่ท่านสิรินทร์ ได้เขียนไว้ เรื่อง "มุกมังกร" และยังได้ ถูกรัฐบาลจีนนำมาสร้างเป็นภาพยนต์โทรทัศน์ เมื่อสิบกว่าปีก่อน ออกอากาศทาง ช่อง 9 อสมท. เอาไว้จะเขียนเรื่องราวเรื่องนี้ให้ไท้ก๋าหยิ่นอ่านในภายหลัง

               สรุปก็คือ คนเซี้ยง เหลี่ยว หรือ เลี่ยว ชาวฮากกาที่โด่งดัง คือ ท่านเลี่ยวจ้งไข่ และ เลี่ยวเฉิงจื้อ สองพ่อลูก นี้เอง

ยินดีครับ

ยินดีตัอนรับครับ และขอถือโอกาสนี้ ต้อนรับ ไถ่ก๊าหยิน ที่สมัครเข้ามาเป็น
สมาชิก ในชุมชนเราทุกวัน ทุก ๆ ท่านครับ.

 

                                                

รูปภาพของ 廖诗雅

你好!叶新华叔叔

你好!叶新华叔叔

我的姓名 可以用拼音这样读 liao4(廖) shi1(诗) ya3(雅)

我是廖文轩的女儿 。认识您很高兴啊。

สวัสดีค่ะ คุณอา ยับสินฝ่า, ชื่อของไหงออกเสียงจีนกลางว่า liao shi ya .ไหงเป็นลูกสาวของ คุณ mrsomjit (สมจิตร),ยินดีที่ได้รักกับคุณอาเช่นกันค่ะ

สวัสดีครั

สวัสดีครับและยินดีด้วยกับสมาชิกใหม่แซ่เลี่ยวและ

แซ่หว่องครับ                          จากคนแซ่หว่อง หวางฮ่านเสียง นนทบูรี

 

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal