หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

ชมบ้าน เตี่ย ที่ตลาดทึงแค ฮังสุน

รูปภาพของ suthin_sun

 

สืบเนื่องจากระหว่างไปเยี่ยม เมืองเกิด เตี่ยที่ ทึงแค ฮงสุน มีกิจกรรมหลายอย่างทั้งการพบปะ ญาติๆ แต่สิ่งหนึ่งน่าจะเป็นประโยชน์เชิงวิชาการด้านสถาปัตยกรรมก็เลยอยากเขียนเผยแพร่ไว้ ข้อมูลใดไม่ถูกต้องผิดพลาด ผู้น้อยน้อมรับนะครับถ้าใครจะเข้ามาช่วยแก้ไข เพิ่มเติมข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์ ในระหว่างอยู่ที่นั่นมีโอกาสไปชม บ้านเดิมเตี่ยที่ อยู่ใน ชุมชน(น่าจะ) ดั้งเดิมของตลาดทึงแค มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมเฉพาะ ที่ชัดเจนและเป็นชุมชนขนาดใหญ่สร้างบ้านเรือนติดๆกันที่พอจะเรียกได้ว่า เป็นชุมขนเมือง  ถ้านับช่วงเวลาที่ พ่อผมอาศัยอยู่กลุ่มอาคารนี้เกิน100ปีแน่นอน เพราะพ่อผมถ้าท่านยังมีชีวิตอยู่ขณะนี่ท่านก็100-110 ปีได้แล้ว

 

ภาพกว้างๆบริเวณตลาดทึงแค บริเวณเมืองเก่า สังเกตุชุมชนเก่าถนนจะแคบมาก ผมตั้งข้อสังเกตุว่าเมืองน่าจะสร้างมาหลายร้อยปี ก่อนเกิดอุตสาหกรรมรถยนต์ ถนนไม่เกิน2-3เมตร เดี๋ยวจะเห็นในภาพ สมัยนี้คงเรียกตรอกเล็กๆ แต่สมัยนั้นน่าจะเป็นถนนสัญจร กันด้วยรถลาก รึเกวียน ถ้าสังเกตุจากภาพ เริ่มมีอาคารสมัยใหม่ ปลูกสร้างขึ้นแซมมากขึ้นเรื่อยๆ

ซูมลงมา ตรงกลางภาพจะเห็นอาคารขนาดใหญ่ต้องเรียกว่าเป็นอาคารสาธารณะ ประเภทศาลเจ้า สมาคม จะเป็นอาคารปิดล้อม4ด้านชั้นเดียว วางผังอาคารตามคตินิยมความเชื่อลัทธิเต๋า ที่ชาวบ้านเราคุ้ยเคยว่า ศาสตร์ฮวงจุ้ย จะมีลานกลางบ้าน(court yard) และจัดวางพื้นที่ใช้สอยอาคาร ตามความสำคัญลดหลั่นกันไป พร้อมข้อห้ามปลีกย่อย ถ้าเป็นศาลเจ้าก็จะมีตำแหน่งที่ตั้งแท่นบูชา กลางซ้ายขวา ตามจารีตที่เราเคยเห็นทั่วไป บ้านพักอาศัยก็เช่นกัน  ตำแหน่งที่พักอาศัยก็ตามความสำคัญลำดับอาวุโสในตระกูล

 

สำหรับภาพนี่ จะเห็นมีอาคารสมัยใหม่ปะปนอยู่ แต่ถ้าสังเกตุบ้านพักอาศัยโบราณ จะเห็นบ้านหลังเล็ก พื้นที่ส่วนหน้าเปิดโล่งเหมือนกัน เพียงแต่ลด สเกลลดขนาดลงมา 

ภาพ isometric ให้พอมองเห็นภาพลักษณะของอาคาร เรียกกันหลายหลากชื่อ 

Hutongs เรียกตามชื่อย่านที่สร้าง ผู่ตง ปักกิ่ง 

TRADITIONAL COURTYARD RESIDENCES ถ้าทางวิชาการแบบโลกตะวันตกจะเรียกว่า Enclosed Open House จะมีบ้านลักษณะคล้ายกันในแถบ เมติเตอร์เรเนียน ภาษาจีนน่าจะเรียกว่า 四合院  SIHEYUAN "THE QUADRANGLE"

 

ถ้าดู จากรูปแบบการวางผังอาคาร จะเห็นว่ารับอิทธิพลมาจากการวางผังพระราชวังต้องห้าม ที่ปักกิ่ง ที่ยึดหลักความเชื่อตามลัทธิเต๋า และการมีรั้วรอบขอบชิด ป้อมคูประตูค่ายก็เป็นลักษณะอาคารที่เกิดขึ้นในยุคระบบเจ้าขุนมูลนาย คล้ายระบบฟิวดัลหรือระบบเจ้าครองนคร ในยุโรปยุคกลาง ที่พัฒนาขึ้นเป็นปราสาททรงสูงที่เราคุ้นตาในยุโรปและอังกฤษที่ได้รับอิทธิพลมาจาก จักรวรรดิโรมัน ที่มีลักษณะร่วมคือ กำแพงป้อมคู ประตูค่าย แต่ตัวอาคารของจีนจะมีลักษณะชั้นเดียว หรือไม่เกิน2ชั้นตามข้อจำกัดของวัสดุ(ไม้) และเทคโนโลยีที่จำกัด ต่างจากยุโรปที่พัฒนาเทคโนโลยีทรงโค้ง ARCH ทำให้สามารถสร้างอาคารที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ กลับมาฝั่งตะวันออกของเราอาคารเน้น วัสดุไม้ อาจมีผนังรับน้ำหนักผสมอยู่ด้วย

รูปแบบผังพระราชวังต้องห้าม ที่มีขนาดและพื้นที่ใหญ่โตมโหราฬ และมีอิทธิพลในการก่อสร้างบ้านพักอาศัยของ ขุนนางทั้งหลายที่อยู่รายล้อมพระราชวัง และแพร่หลายไปยังประชาชนทั่วไป โดยที่มีการลดขนาด พื้นที่ใช้สอยลงไปตามฐานะและกำลังทรัพย์

 

บ้านระดับ คหบดีหรือขุนนาง  อาจจะมีขนาดใหญ่และมีกลุ่มอาคารมากกว่านี้ก็ได้ตาม ขนาดและจำนวนคนในครอบครับ

เล่ามาซะยาว ยังไม่ถึงบ้านเตี่ย เลย 555 ครั้งแรกที่ไปเห็น บ้านในตลาดทึงแค ความรู้สึกแรก คือมันบ้านโบราณชัดๆ ลักษณะผังและแปลน อาคารมีส่วนคล้ายศาลเจ้าที่เราเห็นที่เมืองไทย ขาดแต่เพียงลวดลาย วิริศมาหราทั้งหลาย และที่น่าสนใจคือเป็นบ้านพักอาศัยที่มี โครงสร้างลักษณะผนังรับน้ำหนัก(wall bearing)ที่โครงสร้างหลังคาถ่ายน้ำหนักลงผนังโดยตรง ไม่ผ่านคานและเสาแบบอาคารสมัยใหม่

แปลนอาคารที่มีขนาดย่อม ลงมาที่เห็นได้แม้ในแถบ มณฑลกวางตุ้ง 

แปลนรูปนี้เป็นขนาดที่เรียกว่าย่อส่วน เล็กที่สุดแล้วเมื่อเทียบกับพระราชวังต้องห้ามที่ปักกิ่ง มีส่วนคล้ายหรือเกือบเหมือนบ้านในตลาดทึงแคที่สุด และมีจำนวนอาคารหลายหลังเป็นชุมชนขนาดใหญ่ทีเดียวเมื่อนึกถึงสภาพเมื่อ100-200ปีก่อน

ศาลเจ้าชุมชน ที่ยังคงลักษณะอาคารสมัยโบราณไว้ ไม่ใช่เรื่องแปลก ข้างๆมีตึก2ชั้นล้อศิลปสมัยเก่า

แต่เทคนิคการก่อสร้างน่าจะเป็นสมัยใหม่

ถนนตัดใหม่รอบๆ พื้นที่อาคารเก่าจะเห็นว่ามีขนาดกว้างพอสมควร รถยนต์พอวิ่งสัญจรได้ ที่เห็นภาพหลานกำลังเดินเข้าไปในตรอก ที่น่าจะเป็นถนนดั้งเดิมในสมัยสร้างชุมชนนี้

ยืนยันว่าเป็นถนน เพราะเดินลึกเข้าไปจะมีบ้าน siheyuan ทั้งสองฝากฝั่ง บ้านฝั่งขวานี้คือบ้านโบราณ ผนังที่เห็นนี่คือกำแพงส่วนหน้าบ้าน จะมองเห็นประตู Mainentrance ที่จะเข้าสู่พื้นที่ภายในบ้าน

 

ประตูรั้ว ด้านหน้าบ้าน เตี่ย สภาพทรดโทรมไปมากแล้ว(รูปที่ไม่กลับหัวให้ตั้ง ผมมีปัญหามากกับอัพรูปทางตั้งว่ามีขนาดใหญ่เกินไป ขออภัยที่ต้องเอียงคอดู 55) ปัจจุบัน พี่ชายและหลานๆก็ย้ายไปอยูที่อื่น ทั้งตึกแถว และ โรงงานที่สร้างขึ้นใหม่ที่นี่น่าจะให้คนอื่นอยู่

ประตู ชั้นในสภาพยังดีกว่าชั้นนอก แต่ปูนฉาบผนังก็เริ่มผุกร่อน ร่อนออกบางส่วนแล้ว สังเกตุป้ายชื่อบ้านเขียนด้วยสีแดงจางๆ มีที่มาทางประวัติศาสตร์เล็กๆในตระกูลอยู่ 55+ ล่ามบอกว่า เขียนสรรเสริญประธานเหมาว่า ประธานเหมาจงเจริญ ภายใต้อักษรนี้มีชื่อบ้านดั้งเดิมว่า บ้านสุขสันต์ คนที่เขียนใหม่คือพี่ชายผมเอง ด้วยว่าเฮียถือว่าเป็นคนไร้ญาติพี่น้อง ในยุคปฎิวัติวัฒนธรรม มีการกวาดล้างคนนิยมขวา อนุรักษ์นิยมในทุกหัวระแหง จับกุมลงโทษจนถึงขั้นประหารกันเลย ปู่ของล่ามก็โดนประหารเพราะเป็นกำนันในสมัยราชวงศ์ชิง ใครที่มีญาติที่อพยพออกนอกประเทศก็ถือว่าเป็นบุคคลที่ต้องจับตาดู ป้ายนี้พาพี่ชายเข้ารับราชการทหารได้ แกบอกเคยขอย้ายไปกองทัพอากาศ ผู้บังคับบัญชาไม่อนุมัติ แกก็งงๆ แกเลยพูดติดตลกว่า เขาคงกลัวขับเครื่องบินหนีมาลี้ภัยในไทย การมีล่ามร่วมสมัย ยุคนั้นทำให้ได้รับรู้ประวัติศาสตร์นอกตำรา จากปากชาวบ้านด้วย

 

พื้นที่เปิดโล่งส่วนหน้า courtyard  คล้ายๆสวนอยู่ระหว่าง ประตูหน้ากับประตูชั้นในใช้เป็นที่พักผ่อนเปิดโล่ง แต่ยังมีความส่วนตัวได้ถ้าปิด ประตูหลักด้านหน้า ใช้ปลูกต้นไม้ทำสวนผัก และมีบ่อน้ำด้วย

ผ่านประตูชั้นใน เข้าไปก็ยังจะมี courtyard ลานโล่งภายในอีกเหมือนกัน  มีอาคารรอง ปีกซ้าย ปีกขวามองเห็นโครงสร้างหลังคาบางส่วน ที่ใช้วัสดุพวกไม้มุงด้วยกระเบื้องซีเมนต์ บางบ้านอาจเป็นกระเบื้องดินเผา บ้านแบบนี้ไม่มี จันทันที่รับ น้ำหนักจากแปและกระเบื้องนะครับ หลังคาส่วนยื่นจึงต้องมี ไม้ค้ำยันรับแปมุงกระเบื้อง

 

ด้านในสุดของอาคารก็ยังเป็นโถงโล่งมีหลังคาคลุม ขนาดความกว้างไม่น่าเกิน5-6 ม. ความลึกไม่เกิน10ม. ด้านหลังสุดไม่มีห้องหรืออาคาร เป็นผนังปิดทึก ห้องพักอาศัยหลักอยู่2ข้างปีกซ้ายขวา ข้างละ2ห้อง ถือว่าเป็นบ้านแบบ siheyuan ที่ย่อ scale ย่อขนาดลงมาย่อมเยาว์สุด เล็กสุดแล้วกับบ้านสไตล์นี้ มีคำถามว่า อาคารแบบนี้ น่าจะสร้างยุคสมัยใดของราชวงศ์ชิง (การรับอิทธิพลทั้งศิลป ความรู้ เทคนิคการก่อสร้าง ไม่น่าสงสัยว่ามาจาก ส่วนศูนย์กลาง อำนาจ เศรษฐกิจในสมัยนั้นคือกรุงปักกิ่ง) น่าจะเกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาบริเวณนี้จาก การปกครองระดับตำบล3ตำบล ผนวก3ตำบลของแต่ละฝั่งแม่น้ำที่ขึ้นอยู่คนละอำเภอ มาเป็นอำเภอใหม่ในสมัย เฉียนหลงฮ่องเต้ รึไม่ 

 

บริเวณโถงหลังคาคลุมนี้ น่าจะเป็นห้องโถง เอนกประสงค์ที่คนในครอบครัวใช้ทำกิจกรรมร่วมกัน ปัจจุบัน กลายเป็นที่วางของและเครื่องครัว ซึ่งจริงๆแล้ว ห้องครัวจะอยู่  อาคารรองที่จะเดินผ่านมาไม่ซ้ายก็ขวา อีกข้างก็จะกลายเป็นที่เก็บของและ พืชพันธุ์ธัญหาร ส่วนนี้ควรเป็นที่วางโต๊ะเก้าอี้ไว้ล้อมวงกันกินข้าว รึสังสรรค์กันมากกว่า

โครงสร้างหลังคา ห้องโถงชั้นในสุดสังเกตุดูจะไม่มีจันทัน แต่จะมีไม้ที่ทำหน้าที่คล้าย แปรับหลังคาบ้านเรา แต่ใหญ่มากเป็นท่อนซุงกลมขนาดย่อมๆ ที่สามารถพาดผ่านความกว้างอาคารขนาด5-6ม.โดยไม่ตกท้องช้าง แล้วจะมีไม้หยักเงี่ยงให้กระเบื้องมุงสามารถเกาะอยู่ได้ ลักษณะการมุงคล้ายบ้านเรือนไทยโบราณ

https://www.youtube.com/watch?v=SX1ahDrjTc4

 

 

 

 


รูปภาพของ suthin_sun

(No subject)

รูปภาพของ pinglin

ติดตามครับ

บ้านคุณพ่อ ของอาก้อ อยู่ในตัวเมืองทึงแคเลยนะครับ

ดูไปก็ได้ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมดีครับ

ผมไปพักโรงแรม ใกล้ๆ กับตัวโรงอาบน้ำ

ไม่ค่อยพบบ้านยุคแบบนี้แล้ว แต่ห้องแถวก็ดูคลาสสิคดีครับ

รูปภาพของ suthin_sun

ครับ

ครับ ตามที่สอบถามอาศัย อยู่ที่นี่ตั้งแต่ก่อนออกเดินทางมาไทย และมีครอบครัวแล้ว แต่ในวัยเด็กของท่าน ไม่ได้ถามว่าเกิดที่นี่ หรือว่าที่ ไท้หลอ ตัวตึกแถวดูแล้วก็ให้นึกถึง ตึกแถวชุมชนตลาดหัวเมืองในไทยถือว่าได้รับอิทธิพลจากแถบนี้นี่เอง ทั้งจาก ฮงสุน แต้จิ๋ว โดยเฉพาะประตูบานเฟี้ยม(บานพับต่อเนื่อง) ลักษณะภายในเรือนแถว ตึกแถวก็เหมือนกับ ตึกแถวบ้านเราเป็นอันว่า กม.ควบคุมอาคารบ้านเราถือว่าอลุ้มอะล่วยให้ตึกแบบนี้ยังอยู่ในเมืองไทย ตึกแถวแบบนี้ ที่สวยงามได้ มาตราฐานเรียกกันตามศัทพ์ทางสถาปัตยกรรมว่า ตึกโคโลเนียล โปตุกีส  ยุคเก่าๆหาดูได้ที่ภูเก็ต สิงค์โปร์ ครับ

 

รูปภาพของ วี่ฟัด

คิดเหมือนกัน

นับแต่เคยไปย่านแต้จิ๋วเมื่อปี 2540 ( 18 ปีมาแล้วนะ ) ยังคิดเลยว่าไอ้บรรดาอาคารพาณิชย์ ( ชื่อแบบเป็นทางการ ) ที่ภาษาชาวบ้านเขาเรียกว่า " ตึกแถว " ในบ้านเราในประเทศไทยนี่มันเอาแบบมาจากถิ่นอิทธิพลของแต้จิ๋วนี่เอง ถ้าเป็นบริบทนี้ใช้คำว่า " ได้รับอิทธิพลได้ "

ยังมีอีกตัวอย่างหนึ่งคืออาณาจักรโบราณในประเทศไทยที่เรียกว่าอาณาจักรทวาราวดีที่ตั้งขึ้นตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 - 17 นั้นเดิมมีคนเข้าใจว่าเป็นอาณาจักรของมอญเนื่องจากพบวัตถุโบราณที่มีอักษรของมอญอยู่มากมาย แต่ต่อมาเมื่อมีการศึกษามากขึ้นดอกเตอร์ธิดา สารยา ผู้เชี่ยวชาญทวาราวดีมือหนึ่งของเมืองไทยว่าไม่ใช่หรอกเพียงแต่ทวาราวดีได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมมอญซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่แข็งกว่าเจริญรุ่งเรืองกว่าในสมัยนั้นเท่านั้น

รูปภาพของ suthin_sun

อาคารพานิชย์

อาคารพานิชย์ เป็นการผสมผสานกันหลายส่วน หลายๆวัฒนธรรม แก่นแกนอาจมาจากสังคมจีนที่มีความเป็น เมืองรึ ชุมชนเมืองขนาดใหญ่ที่ก่อตัวก่อนใครๆในภูมิภาค การใช้ที่ดินภายในพื้นที่จำกัดของเมืองที่มีกรอบ ของขอบเขตจากกำแพงเมืองเพื่อความปลอดภัย อาคารบ้านเรือนที่ต้องสนองตอบการทำมาค้าขายทำให้เราเห็นเรือนแถว ห้องแถว อยู่ในทุกชุมชนเมืองท่า ตลอดเส้นทางการค้าขายในแถบเอเซีย จนกระทั่งยุคล่าอาณานิคมจากฝั่งยุโรปเข้ามาสู่เอเซีย ศิลป ลวดลายจากทางยุโรปจึงเริ่มปรากฎบนอาคารเรือนแถว ห้องแถวในแถบ เอเซียเรียกรวมๆว่า โคโลเนียลโปรตุกีส ในแถบตอนใต้ปากแม่น้ำ กวางตุ้ง ฮ่องกง มาเก๊า มีอาคารเหล่านี้มากมาย นับวันจะเป็น สถาปัตยกรรมที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ เหมือนดั่ง ระหัสลับดาวินซี่(555+) ให้คนรุ่นหลังสงสัยและคันหาว่า ศิลป โรมัน เรอนาซ็องค์ มันมาปรากฎบนอาคารในแถบบ้านเราได้อย่างไร

 

รูปภาพของ suthin_sun

หมู่บ้าน แบบดั้งเดิมที่ ฮงสุน

http://www.chaokehui.com/thread-39710-1-1.html 

 

มีคลิปด้วยเสียดาย ฟังไม่ออกใครพอฟังออกมาสรุปให้ฟังจะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง 

รูปภาพของ suthin_sun

ข้อมูลใหม่

ข้อมูลใหม่ จากการเดินทางไปล่าสุด ได้ข้อมูลมาว่าการเรียกบ้านแบบนี้ ในแถบ แต้จิ๋ว ซัวเถา กิ๊กเอี้ย ฮงสุน ไม่เรียกว่าบ้าน สือเหอหยวน แต่เรียกกันว่า สี่เตี๊ยมกิม(สี่จุดทอง) คนที่นั้นบอกลักษณะบ้านแตกต่างจากทางเหนือ ขนาดผมเรียนมาทางด้านสถาปัตยกรรม ยังแยกแยะความแตกต่างไม่ได้คงต้องไปรีเสริท ค้นคว้าที่นั่นซักเดือนนึง 555+

 

ท่องคั้ง(ฮงซิน)

สวัสดีค่ะ เป็นสมาชิกใหม่ นั่งอ่านข้อมูลที่มีประโยชน์มากๆค่ะ

มีคำถามที่จะรบกวนถามเกี่ยวกับท่องคั้งค่ะ เดือนมกราคมจะพาป๊าไปไหว้พี่ชายที่เสียครบ100วัน ตัวเองไม่เคยไป เลยอยากรู้ข้อมูลค่ะ

# ท่องคั้งกับ fengshunคือที่เดียวกันใช่มั้ย

#อากาศเดือนมกราคมหนาวมากมั้ยค่ะ ป๊าอายุ82เลยสงสัยว่า

เวลาเช็คอากาศต้องใช้ชื่อว่าfengshun guangdong China 

หรือชื่ออิ่นค่ะ พี่ชายป๊าอยู่ที่ท่องคั้งเลยค่ะ 

รบกวนด้วยค่ะ/ขอบคุณค่ะ 

รูปภาพของ อาฉี

ตอบแล้ว

ตอบให้แล้วที่ http://hakkapeople.com/node/5045

รูปภาพของ suthin_sun

พึ่งมาเปิดอ่าน

คงได้คำตอบแล้วนะครับ มีอะไรที่สงสัยหรือต้องการข้อมูลสอบถามได้ครับ ถ้าหาให้ได้ยินดีครับ

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal