หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

เผ่าไต (ไท) + 傣族 + Dai ( Thai )

รูปภาพของ ฉินเทียน

เนื่องจาก ไหง ตอนนี้เป็น คนเชื้อจีน และ บุคคลสัญชาติไทย ได้รับชมรายการ ซึ่งมีคนเชื้อไท ได้แนะนำให้ดู จึงรู้ว่า เผ่าฮั่น กับ เผ่าไท มีอารยธรรมแตกต่างกันอย่างไร ดั่งในหลักว่า เข้าถึงเข้าใจในการอยู่ใกล้กัน  เหนืออื่นใด ไหง ยังได้เข้าใจอีกว่า คำว่า "เจ้า"  ในความหมายของคนเชื้อไท หมายถึงอย่างไร และเกี่ยวข้องอย่างไร กับ การเมืองการปกครองในปัจจุบันนี้ ที่ทำให้ ขักหงิ่น客入  HAKKA 客家 หรือ จีนแคะ กำลังประสบเหตุการณ์ใน โรงงาน และกิจการธุรกิจ ห้าง ร้าน ค้าขาย ตลอดถึง คนรับใช้ และคนงาน ของท่านทั้งหลายด้วยทั้งที่บ้านและที่ทำงาน

เผ่าไท หรือ ไต + 傣族 (Dǎizú) + Tai peoples  จึงเสนอให้ศึกษา เพื่อแสวงหาความเข้าใจในกลุ่มเผ่าชาติพันธุ์ มากยิ่งขึ้น ครับ


รูปภาพของ ฉินเทียน

รัฐฉาน

一 รัฐฉาน ตอนที่ 1

二 รัฐฉาน ตอนที่ 2

三 รัฐฉาน ตอนที่ 3

四 รัฐฉาน ตอนที่ 4

五 รัฐฉาน ตอนที่ 5

六 รัฐฉาน ตอนที่ 6

七 รัฐฉาน ตอนที่ 7

八 รัฐฉาน ตอนที่ 8

九 รัฐฉาน ตอนที่ 9

十 รัฐฉาน ตอนที่ 10

รูปภาพของ ฉินเทียน

รัฐฉาน ยังไร้ชาติ รัฐไทย ยังไร้สามัคคี

https://www.facebook.com/killtaiyai

หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556  

 

รูปภาพของ วี่ฟัด

มหากุมภะเมลา 2013

รูปภาพของ วี่ฟัด

เอาอีกแล้วรัฐฉาน

รู้สึกจะเป็นห่วงเป็นใยแบบออกนอกหน้าเจงๆ ที่จริงคนไทยใหญ่ในรัฐฉานแตกฉานซ่านเซ็นมานานหลายร้อยปีแล้ว

ที่เห็นกันง่ายๆก็คือคนยอง ( คนอพยพมาจากเมืองยอง ) ที่มีอยู่มากมายเกือบทั้งจังหวัดก็ที่ที่หละปูน ( ลำพูน ) ไงตัวเอง ที่จริงคำว่าหละปูนก็เป็นภาษายองไม่ใช่คำเมือง

ที่จริงคนยองที่หละปูนยังอพยพไปอยู่ตามหัวเมืองเหนืออีกหลายจังหวัดแม้แต่ที่ลำปางก็มี แม้แต่หลานสะไภ้ไหง่ที่อยู่ลำปางก็เป็นคนยอง เวลาคนลำปางเขาคุยกันเขาจะรู้เลยว่าหมู่บานใหนเป็นเชื้อสายใหน

พออาจารย์เฉินซิ่วเช็งคุยกับหลานสะไภ้ไหง่กื๊อยังรู้เลยว่าหลานสะไภ้ไหง่เป็นคนยอง

อย่าเป็นเดือดเป็นแค้นแทนคนยองหรือคนไทยใหญ่ให้มากนักเลย คิดหรือว่าพม่าจะยอมง่ายๆ บอกได้เลยว่าไม่มีทางที่พม่าจะยอมให้คนไทยใหญ่แยกตัวออกมาคล้ายๆกับสามจังหวัดของเรานั่นแหละ บ่องตงว่าไม่มีทางเจงเจง

รูปภาพของ YupSinFa

อาณาจักร์ของคนไต...?

อาโกฉินเทียน ครับ ค่ำคืนนี้ไหงนอนดึก แวะมาเที่ยวชุมชนของเรา เห็นบล๊อกของอาโกมีเนื้อหาน่าสนุก ก็เลยขอร่วมแจมด้วยคนนึง ถือว่าแลกเปลี่ยนความรู้กันไป เล็ก ๆ น้อย ๆ นะครับ อาโก

เกี่ยวกับเรื่อง ไต ไต ไท ไท ไหงรู้สึกว่าได้เขียนลงในชุมชนเราก็หลายช่วงหลายตอนอยู่ ครั้งนี้เอากลับมาโม้กันใหม่ คงไม่น่าจะเป็นไรเลย นะครีบอาโก ดีกว่าอยู่ เป๋า เป่า อิอิ.

ก่อนอื่น ขอเริ่มต้น ด้วยการทบทวนกันว่า ในโลกนี้ มีชาวไต(ไท) อยู่กี่กลุ่ม แต่ละกลุ่ม อาศัยอยู่ที่ไหน ในอนุภูมิภาค ในทวีปเอเชีย....

ชาวไต-ไท มีอยู่กระจายไปทั่ว ดินแดนเอเชียตะวีนออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้ ที่เราเรียกว่า "อุษาคเนย์" ให้ตายสิ ฉินเทียนโก ไหงชอบคำ ๆ นี้มาก...อุษาคเนย์ มันฟังแล้ว รู้สึกว่า มันมีความเป็น ไต เป็นไท ดีพิลึก

 

คนไต-ไท อาศัยหนาแน่น ที่ ประเทศไทย(ไต-ไท อดีต นักวิชาการสติเฟื่องของไทย เรียกพวกเราคนไท ว่า "ไทน้อย...คงคิดว่า โลกนี้มีแต่ไทใหญ่ในรัฐฉาน กับเราชาวไท ในเมืองไทย อิอิอิ.")  ในลาว(่ทั้งประเทศ)  ตอนเหนือของเวียตนาม ตอนใต้ของจีน ในมณฑลหยุนหนาน และกว่างซี ในพม่า ซึ่งก็คือรัฐฉาน ฉิ่น และคะฉิ่น ติดมณฑลหยุนหนานและธิเบต ทางตะวันออกสุดของอินเดีย ในรัฐอัสสัม อุณาจัลประเทศ และ นาคาแลนด์

ในประเทศไทย คนไทย ก็คือคนไท (ซึ่งก็คือ คนไต) มีชาวไท-ไต กลุ่มต่าง ๆ คือ ไทกรุงเทพ(คนภาคกลาง) ไทนครศรีธรรมราช ไทนครราชสีมา ไทอีสาน ไทในภาคเหนือ ซึ่งคนไทล้านนา เรียกตัวเองว่า "คนเมือง" แต่คนไต กลุ่มต่าง ๆ นอกประเทศไทย เรียกพวกเราคนล้านนาว่า "ไตโยน" เป็นยังไง เดี๋ยวค่อยเฉลย

นอกประเทศไทย อย่างในรัฐฉาน ของพม่า มีคนไต อยู่ 3 กลุ่ม และ 3 อาณาจักรไต ในอดีต คือ

1. รัฐฉานเหนือ มีเมืองล่าเสี้ยว เป็นเมืองเอก รัฐฉานเหนือ มีชาวไตโหลง (ไทหลวง-หลวงแปลว่าใหญ่) ในอดีตคือ ราชอาณาจักลาเสี้ยว ปัจจุบันอยู่ในรัฐฉาน

2. รัฐฉานตะวันตก มีเมือง "ต๋องกี" หรือ ต้นตี เป็นเมืองเอก รัฐฉานตะวันตก ก็เป็นชาวไตโหลง หรือไตใหญ่ เช่นกัน เมืองตองกี หรือ ต๋องกี หรือต้นตี แล้วแต่สำเนียง ถือเป็นเมืองเอก ของรัฐฉานทั้งหมด

3. รัฐฉานตะวันออก มีเมือง "เจียงตุ๋ง" หรือ เชียงตุง เป็นเมืองเอก ฉานตะวันออก เป็นคนไต "ขึุน" ครับ อดีต นักวิชาการสติเฟื่องของไทย เฟื่องสุด ๆ ครับ อาโก บอกว่า ไตขึน คือ ไตเขิน เรียกวัสดุเครื่องใช้ ที่สานด้วยตอกไม้ไผ่ เคลือบรัก ว่า เครื่องเขิน ผิดหลุดโลกไปเลย ครับ

ชาวไตขึน เรียกตัวเองว่า ไตขึน เพราะ กลางเมืองเชียงตุง มีแม่น้ำสายหนึ่ง ไหลขึ้นเหนือ คนไต ออกเสียงไม่มีสระเอือ จึงออกเสียงเป็น เหนอ เป็นขึน คำว่า ขึน แปลว่า "ขึ้น" ครับ

รัฐฉานตะวันออก ในอดีต คือ ราชอาณาจักร "เขมรัฐตุงคบุรี" ครับ กลางนครเชียงตุง มีหนองน้ำใหญ่ ชื่อว่า "หนองตุ๋ง" คำว่า ตุ๋ง ในภาษาไต และภาษาล้านนา แปลว่า "ผุดขึ้น" ครับ เชียงตุง จึงมีชื่อเรียกว่า "เจียงตุ๋ง" ในสำเนียงไต ครับ

คนไตขึน ในเชียงตุงหรือรัฐฉานตะวันออก พูดภาษาใกล้เคียงกับภาษาเชียงใหม่ มากที่สุด ในบรรดาทุกไต ครับ

เมืองยอง ที่เป็นที่มาของคนยอง ในประเทศไทย ก็อยู่้ในรัฐฉานตะวันออก ครับ ตั้งอยู่ห่างจากนครเชียงตุง ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ ติดกับแม่น้ำโขง คนละฝั่งกับ ราชอาณาจักรสิบสองปันนาของจีน ครับ

ชาวยอง เรียกตามชื่อเมืองของตัวเอง ครับ แท้ที่จริง คนเมืองยอง ก็คือ ชาว "ไตลื้อ" สิบสองปันนา นี่เองครับ เพราะตั้งอยู่คนละฝั่งแม่น้ำ เพียงแม่โขงกั้นไว้ ชาวเมืองยอง จึงเป็นไตลื้อ คนในเมืองยอง ปัจจุบัน ก็เรียกตัวเองว่า เป็น ไตลื้อ ครับ เพียงแต่พวกคนเมืองยอง ถูกกวาดต้อนมาอยู่ในเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา และลำปาง ได้เรียกตัวเอง ตามชื่อบ้านเมืองเดิมของตัวเอง มาสองร้อยกว่าปี ว่า เป็น "คนยอง" ครับ

ทุกวันนี้ ลูกหลานคนยอง ลำพูนเชียงใหม่ บางท่าน(ที่เป็นนักวิชาการ) ยังสับสนตนเอง ครับ ว่า ที่จริง ชาวยอง เป็นคนไต กลุ่มหนึ่ง ต่างหาก หรือปล่าว ปล่าวเลยครับ คนยอง ก็คือคนไตลื้อ นี่เองครับ ปัจจุบัน การไปมาหาสู่ง่ายมาก ๆ คนยอง(ในเมืองไทย)จึงเริ่มรับรู้แล้วละครับ ว่า ตัวเอง เป็นไตลื้อ นี่เอง นักวิชาการในเชียงใหม่ที่เป็นลูกหลานลื้อเมืองยอง มีชื่อเสียงหลายท่านครับ เช่น อาจารย์ของไหง่ อาจารย์แสวง มาละแซม อาจารย์วิวัฒน์ ศรีป่าซาง อาจารย์ไพศาล แสนไชย ฯลฯ

ถึุงไหนแล้วเนี่ย อ้อ ไตลื้อ สิบสองปันนา ปัจจุบันเป็นเขตสิบสองปันนา มณฑลหยุนหนาน ครับ ในอดีต เรียกว่า ราชอาณาจักรสิบสองปันนา ครับ มีหัวเมือง ในการปกครอง แบ่งเป็น พันนา มีอยู่ 12 พันนา (ปันนา) หรือ 12 หัวเมือง ครับ มีเมืองเชียงรุ่ง เป็นเมืองเอก ครับ ปัจจุบัน เขตสิบสองปันนา มณฑลหยุนหนาน แบ่งการปกครองออกเป็น 3 อำเภอ ครับ มีอำเภอเมืองเชียงรุ่ง อำเภอเมืองหล้า(เมิ่งหล่า) อำเภอเมืองฮาย(เมิ่งไห่) ครับ

ราชอาณาจักรสิบสองปันนา ในอดีตเป็นประเทศราชของไทยครับ และเสียไปให้กับ ราชวงศ์ชิง ของจีน ครับ นับเป็นการเสียดินแดนครั้งแรก ในสมัยรัตนโกสินทร์ ตรงกับรัชสมัยของล้นเกล้ารัชกาลที่ 4 ครับ

ไตหย่า ในมณฑลหยุนหนาน ปัจจุบัน มีอาศัยอยู่ในเมืองอวี้ซี และ หงเหอ ครับ พี่น้องไตหย่า เป็นคริสเตียน (ทั้งในหยุนหนานและในเมืองไทย) ครับ

ไตเหนอ หรือไทใหญ่ ในหยุนหนาน ที่เขตเต๋อหง และ เป่าซาน ครับ เป็นไทใหญ่ ครับ

ยังมีไตเอวลาย ครับ ไม่ทราบว่าประเทศจีนจัดคนกลุ่มนี้เป็นไตยังไง เพราะที่ไหงดูจากรูปภาพ คล้ายกับจะเป็นชนเผ่าเสียมากกว่า ที่เรียกว่าไตเอวลาย เพราะผ้าซิ่น บริเวณเอวและบั้นท้ายของสาว ๆ มีลายเป็นวง ๆ และสวมงอบ คล้ายกับของเวียตนาม ครับ

ในกว่างซี ก็มีไตหย่า ไตลื้อ ห่างออกไป ปะปนกับชาวจ้วงกว่างซี ซึ่งเป็นญาติใกล้ชิดกับพวกเราชาวไต-ไท ครับ

ตอนเหนือของเวียตนาม ทางเมืองแถน หรือเดียนเบียนฟู ก็มีไตลื้อ ไตดำหรือ ผู้ไท ในอดีต คือแคว้น สิบสองจุไท ครับ

ในประเทศลาว ไหงว่า ชาวลาวลุ่มทั่วประเทศเป็นไต ครับ จะไม่จัดเป็นไตได้ยังไงเล่าครับ ก็พูดกันฟังรู้เรื่องอย่างนี้ ก็คงเรียกว่า ไตลาว น่าจะถูกต้อง ครับ ในอดีต ก็มีหลายนครนะครับ เจริญรุ่งเรืองที่สุด ก็คือราชอาณาจักรหลวงพระบาง มีเืมืองเชียงทอง หรือหลวงพระบาง เป็นเมืองหลวง

ในประเทศอิินเดีย ที่รัฐอัสสัม จะเป็นอะไรอื่นไม่ได้ ก็มีแต่ ไตอาหม ครับ ไตอาหมนี้ การพูด เราคนไต คนไท ฟังไม่รู้เรื่องแล้วครับ เพราะวัฒนธรรมฮินดู เข้าไปครอบงำ และภาษาอัสสัม ก็เข้าไปกลืน แม้แต่เสื้อผ้า ก็สวมใส่ส่าหรี ยังคงมีแต่คำศัพท์บางคำเท่านั้น ครับ ที่บ่งบอกถึงความเ็ป็นไต

รัฐอุณาจัลประเทศ และ นาคาแลนด์ นี่สิครับ ของจริง มีไตใหญ่ และ ไตผาเก อันนี้ พูดภาษาไต ไหงยังฟังได้รู้เรื่องหมดเลยครับ น่าสนใจนะ คนไตในอินเดีย ที่เรานึกไม่ถึงว่า เหมือนกับบ้านนอกของเชียงใหม่ เชียงราย เลยละ

เรื่องไต ๆ นี้ น่าสนุกนะครับ สามารถเอามาโม้ เอามาเล่า ได้ไม่รู้เบื่อ เลยละครับ ฟังแต่เรื่องจีน ๆ ฮากกา ๆ แล้วมาอ่านเรื่องไตกันบ้างก็สนุกดีใช่ไหมครับ

สิบสองปันนา ไตลื้อ ยังคงเหลือเจ้า คนสุดท้าย ก่อนที่จะสถาปนาประเทศจีนใหม่ เวลานี้ท่านยังมีชีวิตอยู่นะครับ แต่อายุใกล้จะครบร้อยปี อีกไม่กี่ปีนี้แล้วหละครับ ท่านคือ "เจ้าหม่อมคำลือ" ครับ ปัจจุบัน อาศัยอยู่ใน เมือง "เจียงแส" หรือ นครคุนหมิง เมืองเอกของมณฑลหยุนหนาน ไงครับ คนไตลื้อเรียกคุนหมิงว่า "เจียงแส" เรียกทะเลสาบเตียนฉือที่คุนหมิงว่า "หนองแส" ครับ

คนเมืองล้านนา อย่างพวกไหง นะครับ คนไต กลุ่มต่าง ๆ เรียกพวกเราว่า "ไตโยน" หรือ ไตยวน ครับ ที่เรียกอย่างนี้ เพราะว่า เราเป็นลูกหลานของ "อาณาจักรแม่" ของพวกเราครับ อาณาจักรนี้ ก็คือ "โยนกนาคนครเชียงแสน" ไงครับ พญามังราย โอรสของกษัตริย์เชียงแสน กับ ธิดากษัตริย์สิบสองปันนา เสด็จพระราชสมภพที่เชียงแสนนี้ แล้วต่อมาทรงไปสร้างนครเชียงราย และเวียงกุมกาม และย้ายมาสร้างนครเชียงใหม่ เป็นเมืองเอกของอาณาจักรล้านนา ไงครับ

ฝั่งตรงข้ามของอาณาจักรโยนกนาคนครเชียงแสน ปัจจุบันอยู่ในเขตปกครองพิเศษต้นผึ้ง ฝั่งตรงข้ามอำเภอเชียงแสน อดีต คือ "อาณาจักรสุวรรณโคมคำ" ไงครับ

ที่มาของชื่อคนไตล้านนาที่คนไต กลุ่มต่าง ๆ เรียกเราว่า "ไตโยน" ก็ย่อมาจาก "โยนก" ไงครับ

กลับมาที่ล้านนา ครับ หลังจากที่พญามังราย ทรงสร้างเมืองเชียงใหม่ เป็นราชธานีของล้านนาแล้ว ก็มีกษัตริย์ ปกครองต่อมาอีกหลายองค์ อาณาจักรล้านนา ร่วมสมัยกับ อาณาจักรสุโขทัย ต่อเนื่องมาถึงช่วงกลางของอาณาจักรอโยธยา หรืออยุธยา ครับ หลังจากนั้น ถูกพม่ายึดได้ แล้วกลายเป็นเมืองร้าง ไปสองร้อยกว่าปีครับ 

อาณาจักรล้านนา จึงมีราชวงศ์อยู่ 2 ราชวงศ์ ครับ คือ ราชวงศ์มังราย ครับ และ.....

ราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน ครับ กล่าวคือ ล้านนาเป็นเมืองร้าง ต่อมาในยุคร่วมสมัย กับ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แห่งราชอาณาจักรธนบุรีศรีอโยธยา ต่อกับ ราชอาณาจักรรัตนโกสินทร์ฯ ช่วงของล้นเกล้า รัชกาลที่ 1 ครับ

ได้เกิดวีรบุรุษขึ้นมา เป็นสหายแก้ว สหายคำ กับ สมเด็จพระเจ้าตากสิน และ รัชกาลที่ 1 ครับ ท่านผู้นี้ คือ พระยาวชิรปราการ หรือ พระเจ้ากาวิละ กษัตริย์ ล้านนา ต้นราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน ครับ ท่านผู้นี้ เป็นทายาทของ "หนานทิพย์ช้าง" เจ้าผู้ครองนครลำปาง อันมีแนวคิดที่จะฟื้นบ้านฟื้นเมืองเชียงใหม่ เชียงราย ขึ้นมาเป็นปึกแผ่น อีก ครั้งหนึ่ง ครับ

ท่านได้เข้ามารุกไล่ พม่า ออกไปจากเมืองเชียงใหม่ ครับ ด้วยความร่วมมือของ พระเจ้าตาก กับ รัชกาลที่ 1 ครับ

ด้วยความที่เชียงใหม่ กลายเป็นเมืองร้างห่างผู้คน เมื่อฟื้นบ้านฟื้นเมืองขึ้นมาเรียบร้อยแล้ว ทีนี้ จะหาคนมาอยู่อาศัยกลายเป็นบ้านเมือง พญากาวิละ จะไปเอาใครมาอยู่ล่ะ ก็ต้อง ไป เอาชาวไต กลุ่มต่าง ๆ ตามที่ไหงโม้ไว้ข้างต้น กวาดต้อนมาอยู่เชียงใหม่ ครับ เริ่มจาก.....

ไปเอาคน ที่ โยนกนาคนครเชียงแสน มาครับ จัดเป็นกลุ่มใหญ่่เลยละครับ เพราะท่านถือว่า เชียงแสน เป็นอาณาจักรแม่ ของล้านนา ท่านก็มีเชื้อสายเชียงแสน จึงไปเอาคนเชียงแสน มาตั้งมั่นที่เชียงใหม่ ว่ากันว่า ในสมัยนั้น คนเชียงแสน ที่ไม่อยากจากบ้านจากเมืองมา ถึงกับต้องขึ้นไปหลบซ่อนอยู่บนภูเขา หรือข้ามน้ำโขงไปอีกฝั่งหนึ่งเลยละครับ

แล้วท่านก็ไปเอา ไตใหญ่มา ส่วนหนึ่ง เอาไตลื้อเมืองยองมาอีกส่วนหนึ่ง และเป็นส่วนใหญ่เสียด้วย กับเอาไตขึน เชียงตุงมาอีกส่วนใหญ่ ครับ และเอาไตลื้อสิบสองปันนามาด้วยครับ

ไม่พอ ครับ ยังเอาพวกพม่าแท้ ๆ มาเป็นของแถมครับ นัยว่าต้องการช่างฝีมือ ที่โดดเด่นในชาวไต กลุ่มต่าง ๆ ครับ คือพวกไตใหญ่ ถนัดในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน พวกไตขึน ถนัดเครื่องเงิน และเครื่องใช้ พวกไตลื้อ ถนัดเรื่ิองผ้าปักผ้าทอ ครับ ทีนี้ ด้านงานเหล็ก ไม่มีไตไหน ถนัด จึงไปเอาพวกพม่า มาไงครับ

ทุกวันนี้ ในตัวเมืองเชียงใหม่ จึงมีชุมชนชาวไต กลุ่มต่าง ๆ แต่ละกลุ่ม แต่ว่า ทุกกลุ่ม ได้หล่อหลอมรวมกัน กลายเป็นไตโยน หรือไตยวน ตามแบบเชียงแสน กันหมดครับ เรียกได้ว่า ถูกต้องตามความคิดของพญากาวิละ เลยครับ ที่ต้องการให้ วัฒนธรรมไตเชียงแสน เป็น กลุ่มหลัก

ในเมืองเชียงใหม่ นะครับ เข้าใจว่า หลายท่านคงรู้จักถนนวัวลาย ที่นี่ เป็นที่ทำเครื่องเงิน ครับ และทำเครื่องขึุน คือ ใช้ไม้ไผ่สาน แล้วชุบรัก ทาสี ทำเป็นกล่องใส่ผ้า ใส่เครื่องใช้ไม้สอย ใส่น้ำ ทำเป็นสำรับเรียกว่า โตก หรือทำเป็นพาน ต่าง ๆ ย่านถนนวัวลาย เป็นคนไตขึน จากเชียงตุง มาจับจอง หรืออาจจะถูกจัดสรรให้อยู่บริเวณนี้ ครับ ย่านวัวลาย อยู่ทางตอนใต้ของประตูเชียงใหม่ ครับ เดี๋ยวนี้ก็มีร้านเครื่องเงิน ตั้งอยู่หลายร้านครับ

พวกไตลื้อสิบสองปันนา ครับ ถูกจัดให้อยู่ชานเมืองเชียงใหม่ ทางตะวันออกเฉียงใต้ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ครับ ปัจจุบัน เป็นชุมชน เมืองกาย เมืองสาสตร หนองหอย เดี๋ยวนี้ก็ถูกไตยวน กลืน เหมือนกับ ขึน และ พม่า ในเมืองเชียงใหม่ ครับ

ชุมชนชาวพม่า ถูกจัดสรรให้อยู่ในกำแพงเมือง ด้านตะวันออกเฉียงใต้ ครับ บริเวณนี้ เรียกว่า บ้านทรายมูล ทุกวันนี้ยังมีวัดพม่า อยู่ครับ ชื่อวัดทรายมูลพม่า และมีวัดทรายมูลเมือง เป็นวัดของคนเมืองล้่านนา(ไตยวน) ครับ

ชุมชนพม่า ยังมีอีกที่หนึ่ง ครับ อยู่บริเวณกำแพงดินด้านทิศใต้ของประตูท่าแพ ครับ ตรงนี้เรียกว่า บ้านช่างฆ้อง ครับ ท่านที่รู้จักเชียงใหม่ไนท์บาซ่า ชุมชนช่างฆ้อง ก็คือย่านถนนลอยเคราะห์ กำแพงดิน ติดกับโรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง ครับ ชาวพม่าที่ถูกจัดให้มาอยู่ที่นี่ เป็นช่างทำฆ้อง ครับ 

อาผ่อของไหง่ มีคุณย่าเป็นพม่า มีคุณตาและคุณยายเป็นคนเชียงแสน ครับ อยู่ที่บ้านช่างฆ้องนี้เอง ตัวไหงจึงมีทั้่งสายเลือดพม่า เชียงแสน ทางย่าทวด ยายทวด และคุณยายแท้ ๆ ของไหง ก็เป็นคนเชียงราย อันเป็นคนไตยวน เชียงแสน นั่นเองครับ

อย่างที่บอก ครับ คนไต แต่ละกลุ่มที่ถูกกวาดต้อนมาเชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียง มักจะตั้งชื่อหมู่บ้านที่ตัวเองจากมา ที่เห็นชัดที่สุดก็คือ พวกไตลื้อสิบสองปันนา ครับ พวกนี้ ไม่ว่าจะอยู่ในอำเภอไหน จังหวัดอะไร เขาเหล่านี้ มาจากบ้านเมืองอะไรในสิบสองปันน ก็จะตั้งชื่อหมู่บ้านของตัวเอง ตามบ้านเก่า เช่น เมืองสาสตร เมืองกาย เมืองวะ เมืองเลน เมืองลวง เมืองขอน ห้วยเม็ง สันอุ้ม ฯลฯ และจะเห็นได้ว่า ชื่อหมู่บ้านเหล่านี้ จะมีอยู่ซ้ำ ๆ กันในหลายอำเภอหลายจังหวัด ครับ เห็นชื่ออย่างนี้ รู้เลยครับ ว่าเป็นบ้านของชาวไตลื้อ

ผิดกับ พวกลื้อเมืองยอง ครับ นัยว่า เขาเหล่านี้ น่าจะมีความภูมิใจในบ้านเมืองของตัวเอง หรือ เป็นเมืองของชาวลื้อที่ไม่ได้อยู่ในอาณาจักรสิบสองปันนา ด้วยว่าอยู่กันคนละฝั่งแม่น้ำ และเมืองยอง ก็เป็นเมืองที่กว้างใหญ่พอสมควร ถึงแม้ไม่ใช่เมืองเอกและอยู่ในส่วนหนึ่งของเชียงตุงก็ตาม

พวกคนเมืองยอง ไปอยู่ที่ไหน จึงเรียกตัวเองว่า เป็นคนยอง มากกว่า เรียกตัวเองว่าเป็นลื้อ อีกอย่าง เมืองยอง เป็นเพียงเมือง ๆ หนึ่ง ไม่มีหมุ่บ้านกระจายมากหลาย อันนี้ น่าจะเป็นเหตุผลที่พวกเขา เรียกตัวเองว่า เป็นคนยอง ครับ

ในประวัติศาสตร์ เราเรียกการฟื้นบ้านฟื้นเมืองของเชียงใหม่ล้านนาไทย ในยุคนี้ ว่า "ยุค เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" มีความหมายว่า เก็บผักใส่ตะกร้า เก็บข้าหลวง(ซึ่งก็คือประชากร) ใส่เมือง นั่นเองครับ

ก็คิดว่าน่าจะหมดแล้วนะครับ เกือบจะสองยามแล้ว อันที่จริงไหงจะนอนแล้วนะเนี่ย แต่มาเห็นกระทู้ จึงมีอารมณ์ร่วม ก็ออกมารำป้อ ร่วมกันกับ อาโกฉินเทียน และ วี่ฟัด โก พระเอกตัวจริงแห่งชุมชนฮากกา ของเรา

ก่อนจะนอนคืนนี้ ไหงขอออกตัวก่อนนะครับ ว่า ข้อเขียนหรือความเห็นในบล๊อกนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัว จากประสบการณ์จริง และจากการอ่าน การเรียน การพูดคุย กับพื้นที่มาตลอดชีวิตของไหง่ หาได้ เป็นข้อมูลที่สามารถอ้างอิง ทางวิชาการไม่ เพราะไหง เป็นพวกวิชาเกิน ครับ น้อง ๆ นักศึกษาหากท่านต้องการความรู้ ของชนกลุ่มไต แนะนำให้ไปถาม ท่านผู้รู้ ซึ่งก็มีมากมายหลายท่าน ใครไม่รู้จัก ถามไหง่ได้ ครับ ไหงจะบอกให้ ว่ามี ดร. อะไร ทั้งหลายแหล่บ้าง

นอนหลับฝันดีนะครับ ไท้ก๋าหยิ่น ไจ้เจี้ยน. 

รูปภาพของ ฉินเทียน

เป็นเหตุเป็นผล ครับ

ไหง ก็เคยอ่านในฉบับภาษาอังกฤษ  ซึ่งก็คล้ายกับที่ ยับสินฝ่าโก๊ ได้นำเรื่องมาเสนอดังนี้ว่า พระยาวชิรปราการ ในเอกสารประเทศไทย บอกว่า คือ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แต่สหราชอาณาจักร ผู้เข้าไปปกครอง พม่า บอกว่าไม่ใช่ แต่พิมพ์ว่า คือ พระเจ้าแห่งอาณาจักรเจ้าเจ็ดตน ซึ่งข้อมูลนี้ตรงกันครับ ระหว่าง ไหง กับ หงี

แต่ ไหง ก็เพิ่งทราบนี้ละครับว่า คือ  พระเจ้ากาวิละ กษัตริย์ อาณาจักรล้านนา และพระองค์ท่านยังเป็น ต้นราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน  โดยท่านผู้นี้ เป็นทายาทของ "หนานทิพย์ช้าง" เจ้าผู้ครองนครลำปาง (เขลางค์นคร) หรือ ครับ น่าสนใจศึกษามากมากครับ   ตอเซีย สำหรับข้อมูล แต่ว่ามีหนังสือหรือเอกสารแนะนำบ้างไหมครับ จะได้นำมาอ้างอิงได้ในงานทางวิชาการ อาจจะเป็นเอกสารจดหมายเหตุ บันทึกราชวงศ์ หรือ หลักฐานทางประวัติศาสตร์ อื่นๆ ซึ่งที่ลำปาง เชียงใหม่ เชียงราย  น่าจะมีเก็บไว้ ให้ศึกษาได้ เพราะไม่ได้ถูกทำลาย เช่น อาณาจักรศรีวิชัย อาณาจักรสุโขทัย และ อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา    ครับ

รูปภาพของ นายวีรพนธ์

มารู้จักไทยใหญ่ รู้จักรัฐฉาน

คนที่พูดภาษาตระกูลไต หรือไท มิใช่มีเฉพาะประเทศไทย แต่มีกระจายอยู่ทั่วไปในเอเซียอาคเนย์ โดยมีอยู่ในสิบสองปันนาของจีน ในรัฐอัสสัมของอินเดีย ในรัฐฉาน ในพม่า ในไทย ในลาว และเวียดนาม ด้วยเหตุที่คนตระกูลไต หรือไทเป็นกลุ่มคนที่มีมาก และอยู่ในที่ต่างกันห่างไกลกันอย่างนี้ ทำให้ภาษาพูด ภาษาเขียนผิดเพี้ยนแตกต่างกันไปบ้างตามท้องถิ่นนั้น ๆ

ลักษณะการอยู่อาศัยของชนชาติตระกูลไต หรือไทมักอยู่กันเป็นกลุ่มใหญ่ และนำเอาชื่อท้องถิ่นที่อาศัยอยู่มาใช้ต่อท้ายคำว่า "ไต หรือไท"

ไตอาหม (อยู่รัฐอัสสัม)

ไตมาว (อยู่เมืองมาว)

ไตใต้คง (อยู่ฟากใต้แม่น้ำคง)

ไตเหนือคง (อยู่ฟากเนือแม่น้ำคง)

ไตใหญ่ (กลุ่มใหญ่ที่สุด)

ไตน้อย (ไทย)

ไตโยน (อยู่ในแคว้นโยนก)

ไตเหนือ

ไตใต้ (อยู่ภาคใต้ของประเทศไทย)

หรือไตอิสาน เป็นต้น

ชนตระกูลไตเหล่านี้ แต่ละกลุ่มที่พูดสำเนียงเดียวกันจะอยู่กันเป็นกลุ่มใหญ่เป็นภูมิภาค หรือเป็นรัฐ แม้ว่าจะอยู่ห่างไกลกันมาก ต่างก็เข้าใจว่าภาษาที่ชนกลุ่มของตนพูดเป็นภาษาไต หรือภาษาไทแท้ ในส่วนศัพท์รากเหง้าของภาษานั้นเป็นคำเดียวกันและใช้พูดเหมือนกัน ก็เช่น

ข้าว กิน แขน ขา เข่า หัว ตัว ไป มา พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย หรือช้าง ม้า วัว ควาย หมู หมา กา ไก่ เป็ด ฯลฯ

คำศัพท์เหล่านี้เป็นคำไต หรือไทแท้ ไตทุกกลุ่มจึงใช้ศัพท์เดียวกันนี้พูดและสื่อสารต่อกัน

ไทยใหญ่เป็นสาขาหนึ่งของชนชาติไต อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของจีน รัฐอัสสัมของอินเดีย พม่าทางตอนเหนือ รัฐฉาน และทางภาคเหนือของไทย มีภาษาพูดและภาษาเขียนเฉพาะตน มีเอกลักษณ์การแต่งกายที่สวยงามไปอีกแบบ ประเพณีวัฒนธรรมส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนา กิจกรรมอันเนื่องด้วยประเพณีส่วนใหญ่จึงเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา จิตใจอ่อนโยนเพราะอาศัยกระบวนการขัดเกลาทางศาสนาและสังคม จึงดูเหมือนว่าถูกเอารัดเปรียบได้ง่าย

รัฐฉาน

รัฐฉานเป็นรัฐที่มีชนเผ่าหลายเผ่าอยู่ร่วมกัน โดยมีชาวไทยใหญ่อยู่มากที่สุด ก่อนปี 1947 บรรดาเจ้าฟ้าได้ร่วมกันก่อตั้งเป็นสหพันธรัฐไทยใหญ่ แต่เมื่อพม่าขอเอกราชจากอังกฤษพม่าโดยอ่อง ซานได้กระตุ้นและชักชวนให้สหพันธรัฐไทยใหญ่ร่วมกับพม่าก่อตั้งสหภาพพม่า รัฐฉานจึงเป็นรัฐหนึ่งในสหภาพพม่าตั้งแต่ปี 1947 เป็นต้นมา แต่อย่างไรก็ตาม คำว่า "รัฐสหภาพพม่า" ก็มีแต่เพียงชื่อไว้เรียกให้สวยงามฟังง่ายเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้มีอำนาจจริงนั้นไม่มีชนชาติอื่นเลยนอกจากพม่า รัฐฉานติดกับประเทศไทย พม่า จีน และลาว ดังนี้

  • ทิศตะวันตก ติดกับพม่า 
  • ทิศเหนือ ติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน
  • ทิศตะวันออก ติดกับประเทศลาว และประเทศไทย
  • ทิศใต้ ติดกับประเทศไทย


หัวเมืองในรัฐฉานแต่ละภาค มีดังนี้


หัวเมืองทางภาคเหนือ

1. ล่าเสี้ยว 2. เหม่เมี้ยว 3. หนองเขียว 4. จ้อกเม 5. น้ำสั่น

6. สี่ป้อ 7. เมืองมีด 8. เมืองกุ้ด 9. ก๊ดขาย 10. แสนหวี

11. เมืองไหย๋ 12. ต้างยาน 13. เมืองเป็ง 14. หมู่เจ้ 15. น้ำคำ

16. น้ำตู้ 17. กุ๋นโหลง 18. โหป่าง 19. กองแกง 20. เมืองใหม่

21. ป๋างหวาย 22. นาพาน 23. ม่านพ่าง 24. ป๋างยาง

หัวเมืองทางภาคใต้

1. ต๋องกี 2. โหโปง 3.หยองห้วย 4.สี่แสง 5.กะลอ

6.อ่องปาน 7.ปางตะระ 8.หยว่าหง่าน 9.ล๊อกจอก 10.ป๋างลอง

11.ฝายขุน 12.หลอยแหลม 13.ป๋างโหลง 14.ลายค่า 15.น้ำจ๋าง

16.กุ๋นฮิง 17.เมืองนาย 18.ลางเคอ 19.หมอกใหม่ 20.เมืองปั่น

21.เกซี 22.เมืองกึ๋ง 23.เมืองสู้ 24.เมืองหนอง

หัวเมืองทางภาคตะวันออก

1.เชียงตุง 2.เมืองเป็ง 3.เมืองยาง 4.เมืองขาก 5.เมืองโต๋น

6.เมืองสาด 7.ต้าขี้เล็ก 8.เมืองยอง 9.เมืองพยาก 10. เมืองลา


ชนเผ่าต่าง ๆ ในรัฐฉาน

ชนเผ่า 

 ถิ่นที่อาศัย 

 ไทยใหญ่  กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของรัฐฉาน
 อาข่า  ภาคตะวันออกแทบเชียงตุง
 อังซา  หนองฮายหญ้า (ภาคใต้)
 แอ่น  ทางตะวันออกเชียงตุง
 คะฉิ่น (ขาง)  ภาคเหนือ
 จีน  ส่วนใหญ่อยู่ภาคเหนือ แถบโกก้าง หลองหม่อ และทั่วไป
 ตะอาง (ปะหล่อง)  ภาคเหนือแถบดอยน้ำสั่น
 ต่องเลอ  ภาคใต้และภาคตะวันตก
 ทะนุ  ทางทิศตะวันตก (ติดพม่า) และภาคใต้
 ปะโอ (ต่องสู่)  ทางทิศตะวันตกและภาคกลาง
 ปะต่อง (ยางแดง)  ทางทิศใต้
 พม่า  ส่วนใหญ่อยู่ในตัวเมือง
 กระเหรี่ยง  อยู่ทางภาคกลางและทิศใต้
 ลาหุ  อยู่ทางภาคตะวันออก
 ลิซอ  อยู่ภาคเหนือและใต้
 ว้า  อยู่ภาคตะวันออก


เหตุการณ์ปัจจุบันในรัฐฉาน

1. ประชาชนในตัวเมือง

แต่ละเมืองจะมีกองทหารพม่าประจำอยู่ทางเข้าและทางออก สำหรับด้านที่ไม่มีกองทหารตั้งทัพอยู่ก็จะเกณฑ์ให้ชาวบ้านสร้างรั้วล้อมรอบเขตชานเมืองทุกด้าน ทางเข้าและทางออกจะมีด่านตรวจ และมีการเปิด-ปิดเป็นเวลา ด้านที่ไม่มีทหารอยู่ ประชาชนต้องทำด่านไว้ แล้วก็สับเปลี่ยนกันวันละบ้านไปเฝ้าเป็นยามตลอด 24 ชั่วโมง หากมีอะไรผิดสังเกตต้องรายงานให้ทราบทันที หากมีญาติมาพักแรมตามบ้าน หรือมีแขกมาพักตามโรงแรมต้องรายงานเจ้าหน้าที่ทหารให้ละเอียด แต่ละเมือง (จังหวัด) จะมีการเปิดบ่อนการพนัน และหวยอย่างเสรีทั้งกลางวันและกลางคืน โดยต้องส่งบำเหน็จให้ทหาร

ระบบเก็บภาษี

มีสองแบบ แบบหนึ่งต้องเสียเป็นรายปี แบบที่สองเป็นแบบที่ไม่มีข้อกำหนด โดยขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าหน้าที่ แต่ประชาชนต้องเสียทั้งสองรูปแบบ เจ้าหน้าที่จะทำหนังสือถึงผู้ใหญ่บ้านเองว่า ต้องการอะไร จำนวนเท่าใด และต้องส่งให้ถึงมือเจ้าหน้าที่เมื่อใด สิ่งที่ถูกสั่งให้จัดให้มีหลายรูปแบบ เช่น เงิน รถ เกวียน กำลังคนทำงาน มีทั้งงานลูกหาบ และงานอื่น ๆ (ทหารพม่าทำไร่ ทำนาเอง โดยบังคับให้ชาวบ้านทำให้) การขุดหลุมเพาะ การเก็บเกี่ยวพืชผล พืชธัญญาหารอื่น ๆ ไม้สัก ไม้ไผ่ ไม้ฝา ไม้พื้น ไม้รั้ว ฟืน น้ำ ม้า วัว ควาย ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนี้ ไม่มีการกำหนดเป็นระยะเวลาที่แน่นอนที่จะต้องส่งให้ แต่ขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าหน้าที่ทั้งจำนวนรายการ และวันเวลาที่ต้องจัดส่งให้

การศึกษาของชาวเมือง

ประชาชนในเมืองก็ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำไร่ ทำสวน และค้าขาย เด็กส่วนหนึ่งในตัวเมืองมีโอกาสได้โรงเรียน แต่สอนเป็นภาษาพม่า เมืองขนาดเล็กสอนอนุบาล-ป.6 สำหรับเมืองใหญ่ อนุบาล-ม.4 (ม.4 พม่าเทียบกับ ม.6 ไทย) นักเรียนส่วนใหญ่นอกจากได้เรียนในเมืองของตนเองแล้ว ส่วนใหญ่ที่ผ่านชั้นที่สุงสุดในเมืองของตนแล้วพ่อแม่ไม่สามารถที่จะส่งไปเรียนต่อในเมืองใหญ่ อีกประการหนึ่ง ผู้ที่เรียนจบการศึกษาระดับ ม.4 (เทียบเท่า ม.6) แล้วก็ไม่มีงานอะไรรองรับ นอกจากกลับมาประกอบอาชีพเดิมของครอบครัว สำหรับผู้ที่สามารถเรียนจนจบระดับปริญญา ซึ่งน้อยมาก ก็สมัครเป็นครู แต่เงินเดือนและสวัสดิการไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงชีพ

บางครอบครัวก็ส่งลูกชายเข้าบวชเรียนในพระพุทธศาสนา ซึ่งถือเป็นแนวทางหนึ่งที่จะทำให้เด็กได้รับการศึกษา เพราะการบวชเป็นสามเณรถึงแม้ว่าจะต้องเสียค่าเรียน และเงินอุดหนุนวัดตาม แต่ก็มีความประหยัดมากกว่าในการส่งเรียนทางโลก

2. ประชาชนในชนบท

ระบบการปกครองของชาวบ้านชนบท จะประกอบด้วยผู้ใหญ่บ้าน รองผู้ใหญ่ เลขาฯ นายทะเบียน และลูกบ้าน ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ดูแลในหมู่บ้านทั้งในด้านการตัดสินคดี การต้องติดกับเจ้าหน้าที่ทหารพม่า และการจัดเก็บสิ่งของเงินทอง แรงงาน หรือลูกหาบ ฯลฯ ที่ถูกขอมาจากทหาร การดูแลทหารของชาวชนบทมีความยุ่งยาก ซับซ้อน หนัก และต้องทำมากกว่าคนในตัวเมืองมาก ในแต่ละหมู่บ้านจะมีการจัดเวรกันเป็นยามตลอด 24 ชั่วโมง วันละ 2 ครอบครัว เป็นคนคอยส่งข่าวความเคลื่อนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในตัวเมือง หมู่บ้านตนเอง และหมู่ใกล้เคียง หากมีความเคลื่อนไหวสิ่งใดเกิดขึ้น เช่น มีการเคลื่อนกำลังทหารพม่า หรือฝ่ายต่อต้าน หรือมีเหตุการณ์ใด ต้องแจ้งให้คนในหมู่บ้าน เดินทางส่งข่าวให้หมู่บ้านใกล้เคียงให้ทราบในทันที ไม่ว่าเหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้นในเวลากลางคืน หรือกลางวัน หมู่บ้านอื่นก็เช่นเดียวกัน เมื่อทราบข่าวแล้วต้องแจ้งคนในหมู่บ้านตนเองทราบ แล้วไปแจ้งต่อที่หมู่บ้านใกล้เคียงต่อไปเรื่อย ๆ คือ มีการแจ้งต่อกันเป็นทอด ๆ หากมีทหารพม่าเข้าหมู่บ้าน ผู้ใหญ่จะเป็นผู้ที่ทำหน้าที่หนักที่สุด เพราะต้องถูกสอบสวนในเรื่องเคลื่อนไหวของฝ่ายต่อต้าน หากพูดไม่ดีก็จะถูกทุบตี ทรมาน หรือฆ่า ดังนั้น ใคร ๆ จึงไม่อยากเป็นผู้ใหญ่บ้าน

ชนบทเป็นถิ่นที่ทหารพม่าควบคุมไม่ถึง แต่จะมีการราดตระเวนเป็นครั้งคราว ในถิ่นชนบทที่ห่างไกลตัวเมืองประมาณ 10 กิโลเมตรขึ้นไป ถูกกำหนดให้เป็นเขตพื้นที่สีแดง

โดยปกติเมื่อทหารพม่าเคลื่อนไหว และออกลาดตระเวนมาในหมู่บ้าน หรือหมู่บ้านใช้เคียงในชนบท ชาวบ้านจะต้องเตรียมการเพื่อเผ่นหนี หากมีเงินมีทอง หรือมีเสื้อผ้าใหม่ ๆ ก็ต้องนำไปซุกซ่อน หรือฝังดินไว้ เพราะเมื่อทหารมาถึง และมาพักในบ้าน สิ่งของเหล่านั้นจะถูกยึดไปโดยอัตโนมัติเป็นประจำและเป็นปรกติ พืชธัญญาหาร หมู่ เห็ด เป็ด ไก่ หรือสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องการ ทหารก็จะเด็ด หรือไล่จับเอาตามต้องการ โดยไม่สามารถพูดต้านทานได้ หากเจอผู้ชายก็จะถูกจับให้ไปเป็นลูกหาบ หรือก็ถูกใส่ความว่าเป็นทหารฝ่ายต่อต้านแล้วก็ถูกฆ่าตาย และทุกครั้งที่เข้าไปในหมู่บ้านต้องถูกถามว่าพบเห็นฝ่ายต่อต้านหรือไม่ จะตอบว่าพบเห็นก็ไม่ได้ ตอบว่าไม่พบเห็นก็ไม่ได้ เพราะถ้าบอกว่า เห็น ก็จะให้เป็นคนนำทางไปหาให้เจอ ถ้าไม่เจอ (ใครจะอยู่ให้เจอ) ก็จะหาว่าโกหก แล้วจะถูกทุบตี ทรมาน ถ้าบอกว่าไม่พบเห็น ก็หาว่าโกหก แล้วก็จะโดนทำร้ายทรมานต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้ การเคลื่อนไหวของกองกำลังทหาร จึงเป็นภาพที่น่ากลัว ขนลุกของชาวชนบทมาก ดังนั้น เมื่อทราบข่าวว่า มีการเคลื่อนไหวของกำลังทหาร โดยมุ่งหน้ามาที่หมู่บ้านตนเอง หรือหมู่บ้านใกล้เคียง ชาวบ้านจึงจัดเก็บซ่อนสิ่งของของตน ผู้ชายก็จะหนีออกจากหมู่บ้านไปซุกซ่อนที่คิดว่าปลอดภัย ในหมู่บ้านจึงคงเหลือแต่เด็ก ผู้หญิง และคนชรา เฉพาะผู้ชายจึงมีสิ่งที่ต้องจัดเตรียมไว้อยู่เสมอ ก็คือ กระเป๋า หรือย่าม ข้างในจะมีข้าวสารอาหารแห้ง เครื่องครัวครบ และหม้อขนาดเล็กให้พอกินประมาณ 3-4 วัน เพราะบางครั้งทหารจะอยู่ในหมู่บ้านนานกว่าปกติ เมื่อใดก็ตาม ถ้าได้ยินเสียงหมาเห่า นั้นคือ สัญญาณสำคัญที่ต้องหอบหิ้วของวิ่งหนี สิ่งเหล่านี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านชนบทเป็นปรกติ จนเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เหตุการณ์ที่ในหมู่บ้านคงเหลือแต่เด็ก ผู้หญิง และคนชราในขณะที่ผู้ชายต้องหลบตัวนี้ ก็เป็นจุดสำคัญอย่างหนึ่งที่ให้เกิดการข่มขืนกระทำชำเราเด็กและผู้หญิง อีกประการหนึ่ง ด้วยเหตุที่ผู้ชายไม่สามารถที่จะสู้หน้ากับทหารพม่าได้นี้เอง ผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้านชนบทบางหมู่บ้านจึงนิยมให้ผู้หญิงเป็น และจะไม่ถูกทุบตีเมื่อเทียบเท่ากับผู้ชาย หรือไม่ก็ให้คนที่ค่อนข้างซื่อปื้อเป็น

การเก็บภาษี หรือส่วยนั้น มีอยู่เป็นประจำ ไม่ประกอบด้วยกาลเวลา แต่ขึ้นอยู่เจ้าหน้าทหารเป็นหลักว่า ต้องการอะไร จำนวนเท่าใด และต้องส่งให้ถึงมือเจ้าหน้าที่เมื่อใด สิ่งที่ถูกสั่งให้จัดให้มีหลายรูปแบบ เช่นเดียวกับคนในตัวเมือง แต่จำนวนความถี่จะมีมากว่า เช่น เงิน รถ เกวียน กำลังคนทำงาน มีทั้งงานลูกหาบ และงานอื่น ๆ (ทหารพม่าทำไร่ ทำนาเอง โดยบังคับให้ชาวบ้านทำให้) การขุดหลุมเพาะ การเก็บเกี่ยวพืชผล พืชธัญญาหารอื่น ๆ ไม้สัก ไม้ไผ่ ไม้ฝา ไม้พื้น ไม้รั้ว ฟืน น้ำ ม้า วัว ควาย ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดนี้ ไม่มีการกำหนดเป็นระยะเวลาที่แน่นอนที่จะต้องส่งให้ แต่ขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าหน้าที่ทั้งจำนวนรายการ และวันเวลาที่ต้องจัดส่งให้ สิ่งใดที่ขอมาจากเบื้องบน หากไม่มีก็ต้องเก็บเป็นเงินแล้วก็ซื้อให้

การศึกษาของชาวชนบท

เรื่องการศึกษาของชาวชนบทนั้น ขึ้นอยู่กับพระสงฆ์เป็นหลัก เมื่อพระสงฆ์ในวัดมีการศึกษา (ทางศาสนา) หน่อย ชาวบ้านก็จะส่งลูกชายเข้าเรียน โดยเป็นเด็กวัดบ้าง บวชเป็นสามเณรบ้าง แต่โดยส่วนใหญ่จะบวชเป็นสามเณร เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย บางรูปก็จะถูกส่งให้ไปศึกษาต่อในตัวเมืองในรัฐฉานเอง หรือส่งไปศึกษาวัดไทยใหญ่ที่ย่างกุ้งต่อ พระอาจารย์บางรูปก็นำเข้ามาศึกษาต่อตามชายแดนไทย แต่อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับจำนวนเด็กทั้งหมดแล้ว เด็กที่ได้ไปศึกษาต่อในที่อื่นมีจำนวนน้อยมาก ส่วนใหญ่จึงไม่ได้เรียนหนังสือ โดยเฉพาะเด็กผู้หญิง ไม่มีโอกาสใดเลยที่จะได้รับการศึกษาในทุกรูปแบบ มีเพียงเป็นบางปีที่พระสงฆ์จากในตัวเมืองจัดทำโครงการอบรมศีลธรรมจริยธรรมและสอนภาษาไทยใหญ่ให้ในภาคฤดูร้อนหนึ่งเดือน ซึ่งก็ไม่ได้จัดทำในทุกพื้นที่ หรือทุกหมู่บ้าน เห็นจะมีเพียงเท่านี้กระมังที่เด็กในชนบทสามารถได้สัมผัสการเรียนหนังสือ

3. กองกำลังในรัฐฉาน

ในรัฐฉานจัดว่าเป็นถิ่นที่มีความยุ่งยากที่สุดก็ว่าได้ เพราะในแต่ละพื้นที่จะมีกองกำลังทหารต่าง ๆ มากมาย ทั้งทหารพม่า กองกำลังไทยใหญ่กู้ชาติ ทหารไทยใหญ่กลุ่มที่ทำการสงบศึก ทหารชนกลุ่มน้อยที่พม่าให้การอุดหนุน มีทั้งทหารปะโอ ทหารว้า ทหารมูเซอ ทหารโกก้าง

ในรัฐฉานภาคเหนือ มีกองกำลังสามประเภท คือ

1. กองกำลังทหารพม่า (เคลื่อนไหวอยู่บริเวณ ในตัวเมือง)

2. กองกำลังไทยใหญ่กลุ่มที่ทำสัญญาสงบศึก กลุ่มนี้มีสองกลุ่ม (มีกำลังเคลื่อนไหวอยู่ทั้งในป่า และตัวเมือง)

3. กองกำลังชนกลุ่มน้อยที่ได้รับการอุดหนุนให้เคลื่อนไหวจากพม่า (เคลื่อนไหวอยู่บริเวณดอยหม่อ)

4. กองกำลังกลุ่มขุนส่าเก่า (เคลื่อนไหวอยู่บริเวณดอยหม่อ เมืองหล้าเสี้ยว)

5. กองกำลังคะฉิ่น (เคลื่อนอยู่บริเวณ ชายแดนรัฐฉาน-คะฉิ่น และเมืองหมู่เจ้ น้ำคำ)

กองกำลังทั้งห้ากลุ่มนี้สามารถเคลื่อนไหวกองกำลังได้ค่อนข้างอิสระทั้งในตัวเมืองและชนบท

ประเภทที่หก หมายถึง กองกำลังกู้ชาติไทยใหญ่ ที่ไม่ทำสัญญาหยุดยิงกับพม่า (เคลื่อนไหวอยู่ในป่า)

ในรัฐฉานภาคใต้ กองกำลังที่เคลื่อนไหวอยู่ในแถบนี้ประกอบด้วยกองกำลังต่าง ๆ ดังนี้

1. กองกำลังพม่า (เคลื่อนไหวอยู่ในตัวเมืองทุกเมือง บริเวณไหล่ทางหลวง หมู่บ้านที่ล่อแหลม และตามจุดยุทธศาสตร์ตามชายแดนไทย)

2. กองกำลังสหรัฐว้าเคลื่อนไหวอยู่บริเวณรัฐฉานตะวันออกและใต้ คือบริเวณชายแดนจีน และตามจุดยุทธศาสตร์ชายแดนไทย

3. กองกำลังกู้ชาติไทยใหญ่ (ตามชนบท ป่า และภูเขาอันเป็นจุดยุทธศาสตร์ เช่น ดอยไตแลง ดอยก่อวัน ดอยก่อเมือง ฯลฯ)

และกองกำลังที่ได้รับการสนับสนุนจากพม่าประกอบด้วย

1. กองกำลังปะโอ (เคลื่อนไหวอยู่บริเวณ เมืองหยองห้วย เมืองต๋องกี้ เมืองปางโหลง)

2. กองกำลังว้า (เคลื่อนไหวอยู่บริเวณ เมืองปางซาง ต้างยาน และฝั่งตะวันออกแม่น้ำสาลวินทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยเชียงตุง เมืองยาง เมืองยอน เมืองโต๋น ปุ่งป่าแขม เมืองต้อ เมืองทา และหัวเมือง)

3. กองกำลังอิสระที่พม่าอุดหนุน (เคลื่อนไหวอยู่บริเวณ เมืองกึ๋ง ปางโหลง)

4. กองกำลังมูเซอ (เคลื่อนไหวอยู่บริเวณเมืองปั่น เมืองโต๋น ปุ่งป่าแขม)

5. กองกำลังโกก้าง (เคลื่อนไหวอยู่บริเวณ เมืองยาง เมืองลาชายแดนจีน)

6. กองกำลังมหาจฺย่า (เคลื่อนไหวอยู่บริเวณ บ้านหัวเมือง เมืองลางเคอ เมืองนาย เมืองต๋องกี้)


4. การถูกบังคับให้เคลื่อนย้ายถิ่นฐานในรัฐภาคใต้ และภาคตะวันออก

ร้อยละแปดสิบของประชาชนรัฐฉานอาศัยอยู่ตามชนบท หลังจากที่กองกองทัพเมืองไต (M.T.A.) ภายใต้การนำของขุนส่าได้วางอาวุธให้กับพม่าในเดือนต้นมกราคม พ.ศ.2539 (1996) แล้ว เพื่อป้องกันการก่อตัวขึ้นมาใหม่ และเพื่อตัดฐานกำลังบำรุงของกองกำลังกู้ชาติไทยใหญ่ จึงเกิดการบังคับประชาชนที่อาศัยอยู่ตามชนบทในภาคใต้ และภาคตะวัตนออกของรัฐฉานให้เคลื่อนย้ายจากชนบทเข้าสู่ไปอยู่ในตัวเมือง และชานเมือง โดยกำหนดเวลาของการเคลื่อนย้ายให้แล้วเสร็จภายใน 3-5 วันเป็นอย่างมาก หากพ้นกำหนดดังกล่าวแล้ว ถูกทหารพบเห็นเข้าก็จะถูกทรมานหรือยิงตาย ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดเหตุการณ์ฆ่าหมู่ เผาหมู่ และการข่มขืนอย่างมากมายระหว่างปี ค.ศ.1996-2002 ในจำนวนประชาชนที่ถูกไล่นี้หลายแสนคน โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

1. กลุ่มหนึ่ง ย้ายไปอยู่ในตัวเมือง หรือบริเวณที่ถูกกำหนดให้อยู่

2. กลุ่มหนึ่ง ย้ายเข้าไปอยู่ในป่าลึก ประเภทนี้เป็นพวกที่ค่อนข้างจะยากจน หากไปอยู่ในเมืองก็คงอดตาย เพราะไม่มีทรัพย์สินและที่ทำกิน จึงต้องเข้าไปอยู่ตามป่าเขา

3. และกลุ่มหนึ่ง ย้ายโดยมุ่งหน้าเข้าสู่ประเทศไทย กลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเข้ามาอาศัยทำงานรับจ้างดูแลสวนส้ม สวนลิ้นจี่ เป็นลูกจ้างทำไร่ และทำงานรับจ้างอื่น ๆ อยู่ตามอำเภอชายแดนไทยตั้งแต่เชียงราย เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน เช่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ในทุกสวนมีชาวไทยใหญ่ทำงานอยู่ทั้งนั้น นับได้เป็นจำนวนหมื่น โดยได้รับค่าจ้างอย่างต่ำวันละ 30 บาท อย่างสูงวันละ 60 บาท และยังมีประชาชนอีกจำนวนมาก ที่ลี้ภัยมาแต่ไม่สามารถเข้าสู่ประเทศไทยได้ จึงต้อพักพิงอยู่ตามป่าเขา เช่น กลุ่มที่มาตรงที่มีกองกำลังกู้ชาติไทยใหญ่ตั้งอยู่ ซึ่งทุกจุดจะมีประชาชนมาอาศัยอยู่เพื่อความปลอดภัย ซึ่งที่ดอยก่อวัน ดอยก่อเมือง ตรงข้าม อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงรายก็เกือบพันกว่าคน ที่ดอยดำ ตรงข้าม อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ และที่ดอยไตแลง ตรงข้ามอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ก็มีจำนวนเป็นพันคน

4. อีกกลุ่มหนึ่ง ที่ได้รับผลกระทบจากการสู้รบเมื่อต้นปี 2545 และลี้ภัยเข้ามายังฝั่งไทยจำนวนกว่า 400 คน โดยได้สร้างกระท่อมอาศัยอยู่ภายในวันหมากกายยอน ต.เปียงหลวง อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ ผู้ลี้ภัยทุกกลุ่มตามแนวชายแดนไม่ได้รับ หรือส่งเสริมให้ได้รับความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมจากองค์กรรัฐแต่อย่างใด

5. ไทยใหญ่ที่มาทำงานในเมืองไทย  ถึงแม้ว่าประชาชนชาวไทยใหญ่ไม่ถูกยอมรับว่าเป็นคนอพยพหนีภัยทางการเมืองที่กดข่มข่มเหง และภัยจากการสู้รบที่เกิดขึ้นในรัฐฉานที่มีมาเป็นระยะเวลาอันยาวนานอย่างเช่น ประชาชนพม่า และกระเหรี่ยง ซึ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นบุคคลลี้ภัย และมีที่พักพิงเป็นหลักแหล่งก็ตาม แต่ชาวไทยใหญ่มิได้ถูกยอมรับว่าเป็นบุคคลลี้ภัยเช่นเดียวกับชนกลุ่มอื่น อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะไม่มีที่พักพิง แต่ทางรอดของประชาชนชาวไทยใหญ่ก็ยังคงเป็นประเทศไทยอยู่นั่นเอง เนื่องจากไม่มีที่พักพิงเป็นการเฉพาะ เพื่อเอาตัวให้รอด และสามารถอยู่ได้ จึงทำให้ประชาชนชาวไทยใหญ่จำนวนมากที่อพยพหนีภัยเข้ามาพึ่งพิงประเทศไทย ต่างต้องแยกย้ายกันหางานทำตามจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ ทำงานรับจ้างมีทุกสาขาอาชีพ เช่น งานเฝ้าสวน เฝ้าไร่ งานก่อสร้าง งานทาสี งานตัดเย็บเสื้อผ้า งานตามโรงงานต่าง ๆ งานส่งของ งานประโมง งานบริการในร้านอาหาร กระเป๋ารถ งานกรีดยาง งานอาบอบนวด งานหญิงงามเมือง งานนักร้องในร้านอาหาร-คาเฟ่ งานเจียรไนเพชรพลอย งานออกร้านขายของ ฯลฯ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าใครมีญาติหรือคนรู้จักตรงไหนก็จะไปที่นั้น สำหรับเงินค่าตอบแทนนั้น ถ้าเป็นต่างจังหวัดทางภาคเหนือจะได้รับประมาณเดือนละ 1,000 – 2,000 บาท ภาคตะวันออก และภาคใต้ประมาณ 2,000 – 3,000 บาท กรุงเทพฯ จะได้รับเดือนละประมาณ 2,000-6,000 บาท

6. ภาษาและวัฒนธรรม

ไทยใหญ่มีภาษาพูด ภาษาเขียน และวัฒนธรรมเป็นของตนเอง ภาษาพูดคล้ายคลึง และใกล้เคียงกับภาษาทางภาคเหนือ ภาษาภาคกลาง และภาษาอีสานปะปนกัน แต่สำเนียงอาจผิดเพี้ยนกันบ้าง เช่น ไทยว่า เรา ไป กิน ข้าว มา ไทยใหญ่ว่า เฮา ไป๋ หรือกว่า กิ๋น เข้า มา

สำหรับภาษาเขียนมีลักษณะเป็นตัวกลม เหมือนภาษาล้านนา แลภาษาพม่า ก่อนปี พ.ศ.2503 (ค.ศ.1960) ได้ใช้ภาษาเขียนแบบเก่ามีวรรณยุกต์ 3 เสียง แต่สามารถผันได้ 5 เสียง ในปี พ.ศ.2503 เป็นช่วงทีรัฐฉานมีรัฐบาล หรือคณะบริหารบ้านเมืองเป็นของตนเอง ดังนั้น คณะบริหารได้ตั้งคณะกรรมการฝ่ายการศึกษาทำการปฏิรูปภาษาเขียนเสียใหม่ และเพิ่มวรรณยุกต์ขึ้นมาอีก 2 ตัว เพื่อง่ายต่อการอ่าน โดยทำเป็นหลักสูตรตั้งแต่อนุบาล-ชั้นประถมศึกษาปี 6 และประกาศใช้ทั่วรัฐฉานเมื่อปี พ.ศ.2503 แต่หลังการประกาศใช้ได้ไม่นานก็ถูกสั่งให้เลิกสอน และมิให้มีการเผยแพร่ทุกกรณีจากทหารพม่า (ในรัฐบาลเนวิน) คนที่มีหนังสือที่ปรับปรุงใหม่นี้อยู่ในครอบครองถูกจับ และประกาศมิให้มีการสอนภาษาไทยใหญ่ทั่วรัฐฉาน กลุ่มคนที่เปิดสอน หรือแอบทำการสอนได้ถูกจับกุมทั่วรัฐฉาน กรณีที่โด่งดังที่สุดเห็นจะเป็นเหตุการณ์ที่นักศึกษาชาวไทยใหญ่กลุ่มหนึ่งจำนวนกว่า 40 คน ได้ไปเปิดสอนภาษาไทยใหญ่ที่ตำบลซะเนน เมืองปางหลวง พม่าได้ส่งกองกำลังทหารเข้าทำการยึดหมู่บ้าน บ้างก็ถูกจับกุม บ้างก็ถูกฆ่า บ้างก็สามารถหนีตัวเอารอดออกมาได้ ในช่วงนี้จึงเป็นยุคมืดมนของภาษาไทยใหญ่ยุคหนึ่งเลยทีเดียว

หลังจากมีการสั่งให้มิให้สอนภาษาไทยใหญ่ทั่วรัฐฉานแล้ว ภาษาไทยใหญ่ก็เงียบไปพักหนึ่ง คนที่เกิดและเติบโตในช่วงนี้ มีน้อยมากที่สามารถอ่านออกเขียนได้ แต่ที่วัดมีความจำเป็นต่อการเขียนและการอ่านธรรม จึงเป็นทางรอดทางเดียวของภาษาไทยใหญ่ที่พระสงฆ์ได้สอนให้กับพระภิกษุสามเณรอย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งพระสงฆ์จึงเป็นผู้ทำภาษาไทยใหญ่ให้รอดก็ว่าได้

ปัจจุบันพระสงฆ์ และนักศึกษาอาสาสมัครบางกลุ่มได้จัดทำ “โครงการอบรศีลธรรมจริยธรรม” ขึ้นในช่วงปิดภาคเรียนของรัฐ (พฤษภาคม-มิถุนายน) ในโครงการนี้ได้อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และเปิดสอนภาษาไทยใหญ่เป็นบางส่วน โดยเปิดโครงการในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และเมืองต่าง ๆ ถึงแม้ว่าโครงการนี้จะไม่สามารถเปิดได้อย่างทั่วถึง และครอบคุมทั้งรัฐฉาน แต่ก็สามารถให้ความรู้แก่เด็กและประชาชน และทำให้เด็กและประชานได้เรียนรู้ภาษาของตนเองได้เป็นบางส่วน ด้วยเหตุนี้ จึงก่อให้เกิดชมรมอนุรักษ์ศีลปะและวัฒนธรรมขึ้นในบางหัวเมือง และได้มีการจัดงานฉลองปีใหญ่ไต (ไทยใหญ่) ขึ้นในหัวเมืองใหญ่ ๆ อีกด้วย

7. พรรคการเมืองไทยใหญ่

พรรคการเมืองไทยใหญ่ได้ก่อกำเนิดขึ้นภายหลังการเรียกร้องประประชาธิปไตยในปี พ.ศ.2531 (1988) มีชื่อว่า Shan National league Democracy Party (SNLD) หรือ พรรคสันนิบาตแห่งชาติไตเพื่อประชาธิปไตย (ป่าตี่หัวเสือ) ปัจจุบัน ขุนทุนอู เป็นหัวหน้าพรรค ตอนที่มีการเลือกตั้งเมื่อปี 2531 นั้น พรรคสันนิบาตแห่งชาติไตเพื่อประชาธิปไตยได้จำนวน ส.ส. มากเป็นอันดับที่สองรองจากพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยของนางอ่องซานซูจี และได้จำนวน ส.ส.มากเป็นอันดับหนึ่งในรัฐฉาน ปัจจุบัน ขุนทุนอู หัวหน้าพรรคยังเป็นประธานของชน ชาติมิใช่พม่าอีกด้วย องค์กรระหว่างประเทศที่ส่งตัวแทนเข้าไปเจรจากับทหารพม่า หรือนางอ่องซานซูจี ก็ไปพบขุนทุนอูด้วย ปัจจุนบันขุนทุน อู ถูกพร้อมด้วยผู้นำไทยใหญ่หลายท่านประกอบด้วยนายพลเสือแท่น ถูกกล่าวหาและจับกุมขังอยู่ในคุกอินเส่ง

ถึงแม้ว่าขณะนี้จะไม่สามารถทำงานตามระบอบประชาธิปไตยได้อย่างเต็มที่ก็ตาม แต่พรรคสันนิบาตแห่งชาติไตเพื่อประชาธิปไตย (SNLD) ก็ยังคงเป็นความหวังของประชาชนชาวไทยใหญ่ว่า หากมีการผ่อนปรนทางการเมือง พรรคสันนิบาตแห่งชาติไตเพื่อประชาธิปไตย จะสามารถทำหน้าที่เป็นผู้แทนในการรักษาผลประโยชน์ และพัฒนารัฐฉานให้มีความเจริญรุ่งเรืองเฉกเช่นอารยประเทศทั้งหลายอย่างแน่นอน

8. เหตุการณ์การส่งเสริมให้ชนกลุ่มน้อยกดขี่ชนชาติไทยใหญ่

สัญญาปางหลวง 1947 (สัญญาที่ก่อให้เกิด "สหภาพพม่า")

วันที่ 19 พ.ย. 2428 อังกฤษได้จับกุมตัวกษัตริย์สี่ปอมิน(ธีบอ) ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่าไว้และในวันที่ 1 ม.ค. 2429 อังกฤษจึงประกาศว่า ได้ทำการยึดดินแดนของพม่าไว้หมดแล้ว ซึ่งในตอนนั้นไม่ได้มีการรวมรัฐฉานของไทยใหญ่เข้าไปด้วย จนกระทั่งในเดือน มกราคม พ.ศ. 2430 อังกฤษถึงได้เดินทางเข้ามาในรัฐฉานและประกาศให้รัฐฉานเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ (Protectorate) ภายได้การปกครอง ของอังกฤษนั้นมีการแบ่งอยกการปกครองและเงินงบประมาณของรัฐฉานและพม่าออกจากกันอย่างชัดเจน ในสมัยนั้นพม่าจะเป็นฝ่ายที่คอยต่อด้านอังกฤษมาโดยตลอด ในขณะทีเจ้าฟ้าและประชาชนไทยใหญ่ให้ความร่วมมือกับอังกฤษรวมทั้งให้การช่วยเหลือสนับสนุนอังกฤษในการสู้รบสมัยสงคราโลกครั้งที่ 1 และ 2 ด้วย

อ่อง ซาน กับการเคลื่อนไหวทางการเมือง ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

เพื่อให้พม่าหลุดพ้นจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษ วันที่ 15 ส.ค. 2482 อองซานจึงได้จัดตั้งกลุ่มคอมมิวนิสต์ได้ดินขึ้นโดยมีตัว อองซาน เป็นเลขาธิการของกลุ่ม อองซานได้พยายามติดต่อกับกลุ่มคอมมิวนิสต์กลุ่มต่างๆ ดังนี้ หลังจากที่เดินทางจากอินเดียกลับถึง กรุงย่างกุ้ง แล้วอองซานจึงได้แอบเดินทางเพื่อไปประเทศจีนแต่เพราะลงเรือผิดลำจึงไปขึ้นท่าที่เกาะอมอย (Amoy) ทางญี่ปุ่นจึงเรียกตัวอองซานไปที่เมืองโตเกียว หลังจากที่อองซานเดินทางกลับมาถึงกรุงยางกุ้งแล้วอองซานได้รวมรวมพรรคพวกจำนวน 3 คนเดินทางไปฝึกการรบที่ญี่ปุ่น วันที่ 26 ธ.ค. 2484 อองซาน ได้จัดตั้งกองทัพอิสระภาพแห่งพม่า (B.I.A. = Burma Independence Army ) ขึ้นที่ กรุงเทพฯแล้วในปี พ.ศ. 2485 อองซานได้นำกำลังเข้าร่วมกับทหารญี่ปุ่นทำการโจมตีเหล่าประเทศอาณานิคมของอังกฏษและในช่วงสงครมโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นก็ได้เดินทางเข้ามาในพม่าและรัฐฉาน ทางเจ้าฟ้ารัฐฉานจึงได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ข้าราชการของอังกฤษไปยังอินเดีย พม่าและญี่ปุ่นได้เข้ามาทำทารุณกรรมกับประชาชนในรัฐฉาน เช่นเดียวกันกับที่กระทำต่อประชาชนของประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย จนกระทั่งสงครามโลกครั้ง ที่ 2 สงบลง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2484 รัฐบาลอเมริกา และอังกฤษได้จัดทำหนังสือข้อตกลงเตหะราน (Teheran Agreement) ขึ้น โดยมีใจความระบุไว้ว่า หากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงแล้วนั้น จะคืนเอกราชได้แก่ดินแดนอาณานิคมของทั้ง 2 ประเทศทั้งหมด ซึ่งหลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลงแล้วนั้น อองซานจึงได้พยายามเข้าพบปะกันอังกฤษเพื่อเจรจาขอเอกราชคืนจากอังกฤษถึงกรุงลอนดอนในขณะที่อังกฤษปกครองพม่าและรัฐฉานอยู่นั้น ได้มีนักศึกษาในรัฐฉาน (ไม่ใช่ชาวไทยใหญ่) เดินทางไปศึกษาที่กรุงย่างกุ้งและมีแนวความคิดฝักใฝ่ในลัทธิคอมมิวนิสต์มีความเกลียดชังและต้องการล้มล้างระบอบ เจ้าฟ้าได้เข้าเป็นแนวร่วมกับกลุ่ม ต่อต้านผู้ล่าอาณานิคมเพื่อเอกราช ของอองซาน และตกลงที่จะทำงานบ่อนทำลายการปกครองระบอบเจ้าฟ้าของรัฐฉาน และให้เกิดการเข้าร่วมกับพม่าในการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษให้แก่กลุ่มของอองซาน .โดยอาศัยพื้นที่ปฏิบัติการในรัฐฉาน เนื่องจากเจ้าฟ้าเป็นมิตรกับอังกฤษมาดตลอด จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง อังกฤษได้ให้สัญญากับเจ้าฟ้าว่าขอให้รัฐฉานอยู่ในอารักขาของอังกฤษต่อไปก่อน อังกฤษจะทำการพัฒนาด้านการศึกษา การเมือง การปกครอง การติดต่อต่างประเทศ ในประเทศ การเศรษฐกิจและการคมนาคมแก่รัฐฉานให้เรียบร้อยเสียก่อนแล้วอังกฤษจะคืนเอกราชให้ภายหลัง อองซาน เป็นผู้ที่ไปชักจูงให้ทหารญี่ปุ่นเข้ามาในพม่าและรัฐฉาน แต่สุดท้ายแล้วในวันที่ 27 มี.ค. 2488 อองซานได้นำกำลังทหารเข้าสู้รบกับทหารญี่ปุ่น และพม่าได้ถือเอาวันนี้เป็นวันกองทัพของพม่าสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

เจ้าฟ้าร่วมกันก่อตั้ง "สหพันธรัฐเทือกเขา"

เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง หลังจากนั้น 2 เดือน เจ้าหญิงเมืองป๋อน ทรงสิ้นพระชนม์ลง บรรดาเจ้าฟ้าจากเมืองต่างๆ จึงได้เดินทางมาร่วมงานพระศพทำให้ได้พบปะและได้พูดคุยกันไว้ว่า น่าจะจัดให้มีการประชุมของเจ้าฟ้าทั้งหมด เกี่ยวกับอนาคตของรัฐฉานจนกระทั่งวันที่ 31 ม.ค. 2489 จึงได้จัดประชุมกันขึ้นที่ เมืองกึ๋ง และในทีประชุมได้มีมติให้จัดตั้ง คณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าแห่งรัฐฉานขึ้น เพื่อให้มีสถาบันที่จะปกครองรัฐฉานในแนวทางระบอบประชาธิปไตยและเพื่อที่จะทำให้รัฐฉาน ซึ่งมีนแดนอยู่ระหว่างจีนแดงและพม่าสามารถดำรงค์อยู่ได้อย่างมั่นคงนั้น ทางเจ้าฟ้ามีแนวความคิดที่จะร่วมสร้างบ้านแปงเมืองกับทางรัฐคะฉิ่น และรัฐชิน ดังนั้น จึงตกลงเห็นควรว่าจะเชิญ รัฐคะฉิ่น และ รัฐชิน เข้ามาร่วมเป็นสหพันธรัฐ ต่อมาในวันที่ 20-28 มี.ค. 2489 ทางเจ้าฟ้าไทยใหญ่ คะฉิ่น และรัฐชิน จึงได้จัดประชุมร่วมกันขึ้นที่ เมืองปางหลวง (ป๋างโหลง) โดยเห็นพ้องต้องกันที่จะทำการจัดตั้ง สหพันธรัฐเทือกเขาและสภาผู้นำร่วมสหพันธรัฐเทือกเขา (Supereme Council of the United Hill People) S.C.O.U.H.P ขึ้นและกำหนดให้ส่งตัวแทนเข้ามาเป็นสมาชิกสภารัฐละ 6 คนรวม 18 คนโดยจะเริ่มจัดตั้งภายในปี พ.ศ. 2490 และให้มีจัดประชุมร่วมกันขึ้นอีกครั้งหนึ่งที่เมืองปางหลวง (ป๋างโหลง) ภายในปี พ.ศ. 2490 และถือว่าการประชุมในครั้งนี้เป็นพื้นฐานของการจะอยู่ร่วมกับแบบสหพันธรัฐครั้งแรกในดินแดนแห่งนี้ แต่ด้วยนักศึกษาที่เป็นแนวร่วมของพม่าได้แจ้งข่าวเรื่องการประชุมร่วม 3 รัฐ ให้ทางพม่าทราบ ทางพม่าซึ่งนำโดย นายอูนุ และนายอูจ่อ จึงได้เดินทางมาเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ด้วย แต่ถึงแม้พม่าจะเข้าร่วมประชุมด้วยก็ตาม ในที่ประชุมก็ไม่สามารถตกลงหาข้อยุติอันใดได้ เนื่องจากเจ้าฟ้าไทยใหญ่ได้พูดในที่ประชุมอย่างชัดเจนว่าจะจัดตั้งสหพันธรัฐที่ไมี่มีพม่ารวมอยู่ด้วยเท่านั้น ดังนั้น พม่าจึงเป็นแค่ผู้สังเกตการณ์เท่านั้น ไม่มีสิทธิ์แส่ดงความคิดเห็นและไม่มีสิทธิ์ลงมติใดๆ ทั้งสิน วันที่ 27 ก.ค. 2489 บรรดาเจ้าฟ้าไทยใหญ่ได้ร่วมกันจัดตั้ง คณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าแห่งรัฐฉาน (Exctive Committee of the Council of Shan State Saophas ) ขึ้นตามมติที่ได้ตกลงกันไว้ในการประชุมที่เมืองกึ๋งในขณะที่พม่าต้องการให้ไทยใหญ่ร่วมเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ แต่ทางคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ ไม่เห็นด้วย พม่าจึงทำการยุยงให้นักศึกษาในรัฐฉานบางกลุ่มซึ่งเป็นแนวร่วมของพวกเขาทำการจัดตั้งกลุ่ม เพื่อเอกราชแห่งรัฐฉาน ขึ้นเมื่อวันที่ 20 ก.ย. 2489 ซึ่งกลุ่มนี้มีแนวความคิดทีจะเรียกร้องเอกราชร่วมกับพม่าและล้มล้างการปกครองระบอบเจ้าฟ้า

เจ้าฟ้าไม่คิดที่จะร่วมกับพม่าตั้งแต่ต้น

คณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ ได้พยายามเรียกร้องว่า หากมีการให้เอกราชแก่รัฐฉาน ก็ไม่เห็นด้วยที่จะได้ร่วมกันกับพม่า โดยได้ทำหนังสือแสดงจุดยืนดังกล่าวต่อข้าหลวงอังกฤษมาโดยตลอด ในขณะเดียวกันอองซานก็ได้เดินทางไปลอนดอนเพื่อเจรจาขอเอกราชคืนจากอังกฤษและกลับมาชักชวนให้รัฐคะยาเจ้าร่วมกับพม่าด้วย ในระหว่างการเดินทางไปรัฐคะยา อองซาน ได้แวะกล่าวปราศรัยต่อประชาชนชาวไทยใหญ่เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2489 ในสนามฟุตบอลแห่งหนึ่ง ที่เมืองตองกี ซึ่งผู้ที่เข้าฟังการปราศรัยส่วนใหญ่เป็นคนยากจนและคนหนุ่มสาว โดยเรียกร้องให้ไทยใหญ่ให้ความร่วมมือกับพม่า และในวันที่ 23 ธ.ค. 2489 อองซาน ได้ขอเข้าพบกลุ่มเจ้าฟ้าที่ปกครองทางภาคใต้ของรัฐฉานโดยได้พยายามพูดจาหว่านล้อมให้เจ้าฟ้าเหล่านั้นเห็นด้วยกับการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษรร่วมกับพม่า แต่เจ้าฟ้าเหล่านั้นไม่เห็นด้วย ในวันที่ 26 ธ.ค. 2489 อองซานจึงเดินทางกลับไปยังกรุงย่างกุ้ง เพื่อเตรียมตัวเดินทางไปพบปะพูดคุยกับ นายแอตลี (Attlee) นายกรัฐมนตรีของอังกฤษที่กรุงลอนดอน เกี่ยวกับเรื่องเอกราชของพม่า วันที่ 30 .ธ.ค. 2489 คณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ ได้จัดประชุมขึ้นที่แสนหวีและได้ส่งโทรเลขจากเมืองล่าเสี้ยวถึง นายแอตลี มีใจความว่า อองซานไม่ใช่ตัวแทนของชาวไทยใหญ่ เรื่องของทางไทยใหญ่นั้น ทางคณะกรรมการเจ้าฟ้าฯ จะเป็นผู้ติดสินใจเอง นายแอตลี ได้รับโทรเลขฉบับดังกล่าวในวันที่ 2 ม.ค. 2490

อ่อง ซาน กับอูนุ คือผู้อยู่เบื้องหลับนักศึกษานิยมพม่า

วันที่ 9 ม.ค. 2490 อองซาน เดินทางถึงกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และได้เข้าพบกับนายแอตลี ตั้งแต่วันที่ 16 – 26 ม.ค. 2490 เพื่อเจรจาให้อังกฤษมอบเอกราชคืนให้แก่พม่า และรัฐฉานร่วมกัน แต่ทางนายแอตลี ได้ตอบปฏิเสธเนื่องจากได้รับโทรเลขแสดงเจตนารมร์ของประชาชนชาวไทยใหญ่จากคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯที่ไม่เห็นด้วยกับการรับเอกราชร่วมกับพม่า เมื่อนายอูนุทราบว่าทางคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ ได้ส่งโทรเลขถึง นายแอตลี มีใจความไม่เห็นด้วยกับพม่า ในวันที่ 22 ม.ค. 2490 นายอูนุ จึงได้สั่งให้คนของเขาไปทำการยุยงให้นักศึกษากลุ่ม เพื่อเอกราชแห่งรัฐฉาน ส่งโทรเลขสนับสนุนให้ อองซานเป็นตัวแทนของขาวไทยใหญ่ ถึงนายแอตลี บ้าง โดยนายแอตลี ได้รับโทรเลขฉบับดังกล่าว เมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2490 ต่อมาในวันที่ 27 ม.ค. 2490 จึงได้มีการทำหนังสือข้อตกลง อองซาน แอตลี (Aungsan Attlee-Agreement) ขึ้น ซึ่งในหนังสือข้อตกลงฉบับนี้ ในวรรคที่ 8 ได้ กล่าวเกี่ยวกับรัฐฉานไว้ว่า ให้อองซานทำการเจรจากับผู้นำของชาวไทยใหญ่ที่กำลังจะจัดประชุมกันขึ้นที่ ปางหลวง (ป๋างโหลง)ในเดือน ก.พ.ที่จะถึงนี้ และ นายแอตลี ได้ส่งโทรเลขถึงคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ ตัวแทนรัฐคะฉิ่น ตัวแทนรัฐชินให้ได้รับทราบเพื่อที่จะได้คิดแนวทางที่จะพูดคุยกับอองซานในการประชุมสหพันธรัฐเทือกเขาที่จะจัดขึ้นที่ เมืองปางหลวง (ป๋างโหลง) จากมติการประชุมที่ เมืองปางหลวง (ป๋างโหลง) เมื่อปี 2489 ว่า จะจัดให้มีการประชุมสหพันธรัฐเทือกเขาขึ้นอีกครั้ง ดังนั้นในวันที่ 3 ก.พ. 2490 ทางคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ จึงได้จัดประชุมสหพันธรัฐเทือกเขาขึ้นที่ เมืองปางหวง (ป๋างโหลง) อีกครั้งหนึ่งซึ่งงบประมาณค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมในครั้งนี้นั้น ทางคณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯ เป็นผู้ออกเองทั้งหมด

การประกาศใช้ธงชาติรัฐฉาน

วันที่ 7 ก.พ. 2490 คณะกรรมการสภาเจ้าฟ้าฯและประชาชนชาวไทยใหญ่ได้มีมติจัดตั้งสภาแห่งรัฐฉาน (Shan State Council) ขึ้น ซึ่งสมาชิกสภาแห่งรัฐฉาน นี้ประกอบด้วยตัวแทนเจ้าฟ้า 7 คน และตัวแทนจากประชาชนจำนวน 7 คนเช่นกันและให้ สภาแห่งรัฐฉาน เป็นตัวแทนของประชาชนชาวไทยใหญ่ทั้งปวงพร้อมทั้งได้มีมติประกาศใช้ธง ซึ่งประกอบด้วยสีเหลือง เขียว แดง และมีวงกลมสีขาวอยู่ตรงกลาง เป็นธงชาติของรัฐฉานตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา (สีเหลือง หมายถึงการเป็นชนชาติผิวเหลืองและพุทธศาสนา สีเขียวหมายถึงความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติ ซึ่งประเมินค่าไม่ได้ของแผ่นดินรัฐฉาน และยังหมายถึงความเป็นชนชาติที่รักความสงบร่มเย็นไม่รุกรานใคร สีแดง หมายถึงความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวของชนชาติรัฐฉาน และวงกลมสีขาวหมายถึงความมีสัจจะ ชื่อสัตย์และมีจิตใจที่บริสุทธิ์ยุติธรรม ดั่งเช่นดวงพระจันทร์)

ไทยใหญ่ คะฉิ่น และชินร่วมกันก่อตั้งคัดสรร "สภาสหพันธรัฐเทือกเขา"

วันที่ 8 ก.พ. 2490 เวลา 18.00 น. อองซาน ได้เดินทางมาถึงยังเมืองปางหลวง (ป๋างโหลง) ก่อนหน้านี้ อองซานไม่ได้มาและเพิ่งเดินทางมาถึงโดยมีการเตรียมตัวเพื่อที่จะมาเข้าร่วมประชุมเลย อองซานมาในครั้งนี้ เหมือนเป็นการเสี่ยงดวงว่าทางไทยใหญ่จะให้ความร่วมมือในการเรียกร้องเอกราชหรือไม่เท่านั้น ดังนั้น ที่มีการพูดว่า อองซาน เป็นผู้จัดการประชุมสัญญาปางหลวง(ป๋างโลหง) นั้น จึงไม่เป็นความจริงแต่อย่างใดวันที่ 9 ก.พ. 2490 เวลา 10.00. น. ตัวแทนไทยใหญ่ ชิน และ คะฉิ่น ได้จัดตั้งสภาผู้นำร่วมสหพันธรัฐเทือกเขา (S.C. O.U. H. P.) ขึ้นตามมติการประชุมร่วมกันเมื่อเดือน มี ค. 2489 โดยมีสมาชิกสภาซึ่งเป็นตัวแทนที่มาจากรัฐฉาน (ไทยใหญ่) รัฐชิน และรัฐคะฉิ่น รัฐละ 6 คน รวมเป็น 18 คนและให้เป็นสภาปกครองสูงสุดของสหพันธรัฐเทือกเขา

อ่อง ซาน คือตัวแปรหลักที่ทำให้รัฐฉานตกหลุมพลาง

วันที่ 9 ก.พ. 2490 เวลา 11.30 น. อองซาน ได้กล่าวในที่ประชุมเรียกร้องให้ไทยใหญ่ร่วมกับพม่า ในการเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ แต่ตัวแทนของชาวไทยใหญ่ได้คัดค้านอย่างหนักแนนเช่นเดิมและในขณะที่กำลังดำเนินการประชุมอยู่นั้น ได้เกิดการกระทบกระทั่งชกต่อยกันขึ้นระหว่างทหารชุดรักษาความปลอดภัยของอองซาน กับองเจ้าฟ้าส่วยแต็ก แห่งเมืองหยองห้วย ซึ่งเป็นผู้นำของเหล่าเจ้าฟ้าไทยใหญ่ทั่งหลาย ทำให้สถานการณ์ตึงเครียดขึ้นมา บรรดาเจ้าฟ้าไยใหญ่ได้กล่าวในที่ประชุมว่า ถ้าไม่มีสิทธิแยกตัวเป็นอิสระหลังจากที่ได้รับเอกราชจากอังกฤษก็จะไม่ร่วมมือกับพม่าอย่างเด็ดขาด ส่วนตัวแทนองรัฐคะฉิ่นก็ได้เรียกร้องให้มีการกำหนดดินแทนของรัฐคะฉิ่นให้ชัดเจน (แต่เดิมดินแดนของรัฐคะฉิ่น เป็นดินแทนของรัฐฉานแต่ต่อมาอังกฤษได้แยก เมืองกอง เมืองยาง ออกไปเป็นรัฐคะฉิ่น เพื่อให้ง่ายต่อการปกครองเป็นการชั่วคราวเท่านั้น) ซึ่ง อองซานได้แสดงอาการโกรธและจะไม่อยู่ร่วมประชุมต่อ แต่ทางฝ่ายหนักศึกษาของกลุ่ม เพื่อเอกราชรัฐฉาน ซึ่งเป็นแนวร่วมกับทาง อองซาน ได้เรียกร้องให้อยู่ร่วมประชุมต่อ วันที่ 11 ก.พ. 2490 ได้มีมติตกลงที่ร่วมกันเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ แต่จะร่วมกันเพื่อเรียกร้องเอกราชเท่านั้น หลังจากได้รับเอกราชแล้ว ทุกรัฐมีอิสระในการติดสินใจ ทุกอย่างที่ต้องร่วมกันเรียกร้องเอกราชก็เพื่อให้เกิดพลังในการเจรจากับอักฤษเท่านั้น วันที่ 12 ก.พ. 2490 บรรดาเจ้าฟ้าและตัวแทนจากรัฐต่างๆ จึงได้ร่วมลงนามในหนังสือสัญญาปางหลวง (ป๋างโหลง) ซึ่งอองซานเป็นผู้ร่างขึ้นเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2490 มีเนื้อหาสาระทั้งหมด 9 ข้อ แต่ไม่มีข้อใดที่ระบุถึงสิทธิในการแยกตัวเป็นอิสระบรรดาเจ้าฟ้าจึงไท้วงถาม ซึ่งอองซาน ได้ตอบว่าเรื่องสิทธิในการแยกตัวเป็นอิสระนั้น น่าจะนำไปเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญของสหภาพจะมีผลดีมากว่าเขียนไว้ในหนังสือสัญญาปางหลวง (ป๋างโหลง)

1. ให้ตัวแทนของสภาผู้นำร่วมสหพันธรัฐเทือกเขา (Supreme Council of the United Hill People )เข้าร่วมในคณะรัฐบาลได้จำนวน 1 คน โดยให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีที่ปรึกษา

2. รัฐมนตรีผู้นั้น จะไม่สังกัดกระทรวงใดเกี่ยวกับด้านการทหารและการต่างประเทศของสหันธรัฐเทือกเขา (United Hill People) นั้น จะต้องมีระเบียบแบบแผนที่ชัดเจนซึ่งจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะรัฐมนตรีในรัฐบาล

3. ตัวแทนของสหพันธรัฐเทือกเขา (United Hill People) สามารถเลือกรัฐมนตรีช่วยได้อีก 2 ตำแหน่ง ซึ่งในจำนวน 2 ตำแหน่งนี้ จะต้องมิใช่ชนชาติเดียวกันและต้องมิใช่ชนชาติเดียวกับยกับรัฐมนตรีด้วย

4. รัฐมนตรีช่วยทั้ง 2 คนมีสิทธิเข้าร่วมการประชุมเมื่อมีการประชุมเกี่ยวกับสหพันธรัฐเทือกเขา (ไทยใหญ่ ชินและคะฉิ่น) เท่านั้นหากนอกเหลือจากนี้รัฐมนตรีเท่านั้นที่จะมีสิทธิเข้าร่วมในการประชุมสภาฯ

5. สหพันธรัฐเทือกเขา (United Hill People ) มีสิทธิปกครองตนเองโดยอิสระเหนือนดังเช่นที่เคยปฏิบัติ

6. ในหลักการให้การรับรองว่า ให้รัฐคะฉิ่น เป็นรัฐๆ หนึ่ง แต่ในการณ์นี้จะต้องนำเข้าสู่วาระการประชุมร่างรัฐธรรมนูญอีกครั้งหนึ่ง

7. ตามหลักการระบอบประชาธิปไตยที่กำหนดไว้สหพันธรัฐเทือกเขา (United Hiil People)ตองได้รับสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกันพม่าทุกประการ

8. รัฐฉาน มีสิทธิในการใช้จ่ายเงินทองเหมือนเดิม(เหมือนสมัยอยู่ในอารักขาของอังกฤษ)

9. ต้องนำเงินส่วนกลางจากทางรัฐบาลไปช่วยเหลื่อแก่รัฐชิน และคะฉิ่น ส่วนหนี้สินระหว่างพม่าและไทยใหญ่นั้น ให้รัฐมนตรี และรัฐมนตรีช่วยของสหพันธรัฐเทือกเขา (United Hill People) ทำการตรวจสอบและเพื่ออำเนินการแก้ไขต่อไป

ผู้ร่วมลงนามใน "สัญญาปางหลวง"

ฝ่ายพม่า 1. อองซาน

ฝ่ายคะฉิ่น 2. สะมาตูวาสิ่นวาหน่อง (ตัวแทนจากเมืองแมดจีนา)

3. เต่งระต่าน (ตัวแทนจาก เมืองแมดจีนา)

4. ตูวาเจ๊าะลุน (ตัวแทนจาก เมืองบ้านหม้อ)

5. ละป่านกะหร่อง (ตัวแทนจาก เมืองบ้านหม้อ)

ฝ่ายชิน 1. ลัวะมง (ตัววแทนจากเมืองกะลาน)

2. อ่องจ่าคบ (ตัวแทนจาก เมืองต๊ะเต่ง)

3. กี่โหย่มาน (ตัวแทนจาก เมืองฮาคา)

ฝ่ายไทยใหญ่ 1. เจ้าขุนปานจิ่ง (เจ้าฟ้าน้ำสั่น)

2. เจ้าส่วยแต๊ก (เจ้าฟ้า ย่องฮ่วย)

3. เจ้าห่มฟ้า (เจ้าฟ้าแสนหวีเหนือ)

4. เจ้าหนุ่ม (เจ้าฟ้า ลายค่า)

5. เจ้าจ่ามทุน (เจ้าฟ้า เมืองป๋อน)

6. เจ้าทุนเอ (เจ้าฟ้า ส่าเมืองคำ)

7. อูผิ่ว (ตัวแทนจาก เมืองสี่แส่ง)

8. ขุนพง (ตัวแทนนักศึกษา กลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน)

9. ติ่นเอ (ตัวแทนนักศึกษา กลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน)

10. เกี่ยปุ๊ (ตัวแทนนักศึกษากลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน)

11. เจ้าเหยียบฟ้า (ตัวแทนนักศึกษา กลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน)

12. ทุนมิ้น (ตัวแทนนักศึกษา กลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน

13. ขุนจอ (ตัวแทนนักศึกษา กลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน)

14. ขุนที (ตัวแทนนักศึกษา กลุ่มเพื่อเอกราชรัฐฉาน

ไทยใหญ่ 14 คน คะฉิ่น 5 และชิน 3 คน พม่า 1 คน รวม 23 คน ร่วมลงนามในหนังสือสัญญาปางหลวง (ป๋างโหลง) เป็นการเริ่มหยั่งรากการเริ่มต้นของการรวมเมืองเพื่อเป็นสหภาพ ซึ่งในหนังสือสัญญาปางหลวง (ป๋างโหลง) มีชนชาติร่วมลงนามเพียง 4 ชนชาติเท่านั้น

ร่างรัฐธรรมนูญ

เนื่องจากสิทธิสำคัญส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับไทยใหญ่เสียเป็นส่วนใหญ่ และไทยใหญ่ ก็เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งความสามัคคี ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ไทยใหญ่มีผู้ร่วมลงนามมากกว่าชนชาติอื่น การรวมกันเป็นสหภาพนี้ มิได้เกิดขึ้นจากความคิดของ อองซาน แต่เกิดขึ้นจากการริเริ่มของเจ้าฟ้าไทยใหญ่ที่พยายามก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2488 ซึ่งในขณะนั้น อองซาน เองก็ยังไม่ได้มีความคิดที่จะรวมเอาสหพันธรัฐเทือกเขาเป็นสหภาพ ทางเจ้าฟ้าไทยใหญ่เองที่ได้มีการตระเตรียมดำเนินการไว้ทั้งหมดแล้ว แต่ภายหลัง อองซาน ได้เข้ามาฉายโอกาศชุบมือเปิบถือเอาว่าการต่อตั้งสหภาพเป็นการริเริ่มของพม่า เนื่องจากหนังสือสัญญาปางหลวง (ป๋างโหลง) ซึ่งตกลงร่วมกันเรียกร้องเอกราชและจัดตั้งคณะรัฐบาลในการปกครองประเทศต่อไปในอนาคต (หลังจากรับเอกราชแล้ว) จำเป็นที่จะต้องมีรัฐธรรมนูญในการปกครองประเทศดังนั้น ในเดือน พ.ค. 2490 พ.ย. 2490 จึงได้ร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาและในบทบัญญัติที่ 10 บรรทัดที่ 202 ได้บัญญัติเกี่ยวกับการแยกตัวเป็นอิสระเอาไว้อย่างชัดเจน ซึ่งในขณะที่ยังไม่มีหนังสือสัญญาปางหลวง(ป๋างโหลง) นั้นมิได้มีการกำหนดระยะเวลาในการอยู่ร่วมกัน เจ้าฟ้าและผู้นำของชาวไทยใหญ่มีความคิดแต่เพียงว่าอยู่ร่วมกันจนได้รับเอกราชจากอังกฤษแล้วเท่านั้น แต่เมื่อร่วมลงนามในหนังสือสัญญาปางหลวง (ป๋างโหลง) แล้วอองซานจึงได้เสนอให้อยู่ร่วมกันเป็นระยะเวลา 10 ปี (เสนอเมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2490 ณ เมืองเม่เมี้ยว MAY MYO) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อังกฤษได้เข้ามาพบปะ และถามความคิดเห็นของประชาชนสหพันธรัฐเทือกเขา

เนวิน ยึดอำนาจ ฉีกรัฐธรรมนูญ

ด้วยเหตุที่มีการร่วมลงนามในหนังสือสัญญาปางหลวง (ป๋างโหลง) และได้ร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาในวันที่ 4 ม.ค. 2491 จึงได้รับเอกราชจากอังกฤษ โดยมีสิทธิเท่าเทียมกันทุกประการ เนื่องจากประเทศไทยใหญ่และพม่ามิได้เป็นประเทศเดียวกัน อองซาน จึงได้เรียกร้องต่ออังกฤษเพื่อให้ไทยใหญ่ และพม่าได้รับเอกราชในเวลเดียวกัน และตัวอองซานเองได้เดินทางขึ้นมาพบปะพูดคุยกับเจ้าฟ้าในที่ประชุม ปางหลวง (ป๋างโหลง) ซึ่งถ้าหากว่าไทยใหญ่และพม่าเป็นประเทศเดียวกันแล้วอองซาน คงไม่ต้องเสียเวลามาเจรจากับเจ้าฟ้าในการประชุมปางหลวง(ป๋างโหลง) และหนังสือสัญญาปางหลวง (ป๋างโหลง) ก็คงไม่เกิดขึ้น และในรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2490 ก็คงไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการแยกตัวเป็นอิสระ ดังนั้นประเทศไทยใหญ่และพม่าจึงมาเกี่ยวกพันเริ่มตั้งแต่การลงนามร่วมกันในหนังสือสัญญาปางหลวง (ป๋างโหลง) เป็นต้นมาเท่านั้นเอง วันที่ 2 มี.ค. 2505 เนวินไนำทหารเข้ายึดอำนาจจาก อองซาน และได้ฉีกหนังสือสัญญาปางหลวง (ป๋างโหลง) ทิ้งรวมทั้งรัฐธรรมนูญที่ได้ร่วมกันร่างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2490 ดังนั้น ความเกี่ยวพันกันระหว่างไทยใหญ่กับพม่าจึงเป็นอันสิ้นสุดกลายเป็นคนละประเทศ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

พม่าส่งทหารเข้ามายึดครองรัฐฉาน แล้วยัดเยียดเจ้าของประเทศว่า "ชนกลุ่มน้อย"

ต่อมา พม่าได้นำกำลังทหารเข้ามารุกรานดินแดนของประเทศไทยใหญ่ เข้ามาทำการข่มเหงกดขี่ประชาชนในแผ่นดินไทยใหญ่ เป็นลักษณะของพวกล่าอาณานิคม โหดเหี้ยม อำมหิต ไรมนุษยธรรม ถือเอาว่าดินแดนทั้งหมดของรัฐฉานเป็นของพม่า โดยกล่าวหาเจ้าของประเทศเป็นชนกลุ่มน้อย ทั้งๆ ทีแผ่นดินของรัฐฉานทั้งหมดมีเจ้าของโดยชอบธรรม ผู้เขียนได้ศึกษารวบรวมข้อมูลโดยการสอบถามจากผู้ทีมีช่วงชีวิตอยู่ในสมัยนั้นรวมทั้งผู้ที่ได้มีส่วนร่วมในเหตุการณ์สมัยนั้นจึงได้รับทราบข้อมูลอันเป็นข้อเท็จจริงที่ชัดเจน ในส่วนของพม่าได้พยายามปกปิดข้อเท็จจริงโดยการเขียนประวัติศาสตร์ขึ้นใหม่อันเป็นเท็จ ด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถศึกษาข้อมูลจากประวัติศาสตร์ของพม่าได้แม้แต่น้อยนิด เพื่อให้ผู้สืบสายเลือดไทยใหญ่ได้รับทราบข้อเท็จจริงทั้งหมด จึงได้ใช้เวลาอันยาวนานทำการค้นคว้าความจริงออกเผยแพร่ เพื่อให้ได้รับรู้โดยทั่วกันว่าความจริงแล้วไทยใหญ่เป็นประเทศที่ถูกปล้นเอกราชโดยพม่า และได้รับเคราะห์กรรมอย่างแสนสาหัสมาจนกระทั่งปัจจุบัน

เจ้าฟ้าไทใหญ่ทั้ง 34 หัวเมือง

เจ้าฟ้า หมายถึง ผู้ปกครองระดับเมืองโดยการสืบทอดเชื้อสายทางตระกูล เจ้าฟ้าไทยใหญ่เปรียบเสมือนพ่อเมือง ปกครองในลักษณะพ่อปกครองลูก ในสมัยก่อนปี ค.ศ.1959 รัฐฉานแบ่งการปกครองออกเป็น 34 หัวเมืองใหญ่ แต่ละหัวเมืองมีเจ้าฟ้าปกครองดูแล ซึ่งเจ้าฟ้า และหัวเมืองทั้งหมดนั้นมีดังนี้


1. เจ้าห่มฟ้า เจ้าฟ้าเมืองแสนหวี (ยศพันตรีในกองทัพอังกฤษ)

2. เจ้าเสือห่มฟ้า เจ้าฟ้าเมืองไหย๋

3. เจ้าจ่าแสง เจ้าฟ้าเมืองสีป้อ

4. เจ้าขุนปานจิ่ง เจ้าฟ้าเมืองน้ำสั่น (ชาวปะหล่อง)

5. เจ้าขุนเขียว เจ้าฟ้าเมืองมีด (M.A ยศร้อยเอก และประธานแห่งรัฐฉาน)

6. เจ้าหย่านจีนส่าย เจ้าฟ้าเมืองโกก้าง

7. เจ้าส่วยหมุ่ง เจ้าฟ้าเมืองเกซี

8. เจ้าหม่านฟ้า เจ้าฟ้าเมืองสู้

9. เจ้าขุนจี่ เจ้าฟ้าเมืองกึ๋ง

10. เจ้าหนุ่ม เจ้าฟ้าเมืองลายค่า (ร้อยเอกกองพันที่ 13)

11. เจ้าเป้ เจ้าฟ้าเมืองนาย (ร้อยเอกกองพันเบา)

12. เจ้าหม่านเหล็ก เจ้าฟ้าเมืองเลิน

13. เจ้าทุนฟ้า โอรสเจ้าจ่ามทุน เจ้าฟ้าเมืองหมอกใหม่

14. เจ้าอุงหม่อง เจ้าฟ้าเมืองหนอง

15. เจ้าทุนเอ เจ้าฟ้าเมืองสาเมืองคำ

16. เจ้าคำเซิก (ส่วยไต) เจ้าฟ้าเมืองยองห้วย

17. เจ้าขุนส่า เจ้าฟ้าเมืองลอกจอก

18. เจ้าส่วยจี่ เจ้าฟ้าเมืองปั่น

19. เจ้าวินจี่ เจ้าฟ้าเมืองป๋างตะละ (ชาวทะนุ)

20. เจ้าจ่ามทุน เจ้าฟ้าเมืองป๋อน

21. เจ้าโมจ่อ เจ้าฟ้าเมืองป๋างลอง

22. เจ้าขุนทุนจิ่ง เจ้าฟ้าเมืองโปยละ (ชาวทะนุ)

23. เจ้าขุนโอ้ เจ้าฟ้าเมืองหัวโปง

24. เจ้าขุนยุ่น เจ้าฟ้าจะก่อย

25. เจ้าขุนอู เจ้าฟ้าเมืองป๋างหมี (ยศร้อยในกองพันแห่งชาติ)

26. เจ้าขุนซอง เจ้าฟ้าเมืองโจง (ชาวทะนุ)

27. เจ้าขุนจี่ เจ้าฟ้าจ๋ามกา

28. เจ้าจิ่งยุ่น เจ้าฟ้าเมืองบ้านเหย่น

29. เจ้าขุนอ่อง เจ้าฟ้าเมืองป่อ

30. เจ้าขุนยี่ เจ้าฟ้าเมืองหยั่วหง่าน

31. เจ้าตองส่วย เจ้าฟ้าเมืองน้ำโค่กหนองหมอน

32. เจ้าอ่องมิ่น เจ้าฟ้าเมืองสะโถ่ง (ชาวปะโอ)

33. เจ้าจายหลวง เจ้าฟ้าเชียงตุง

34. เจ้าหวุ่นนะ เจ้าฟ้าเมืองปาย เมืองยางแหลง (คะยา)

ที่มา http://blog.eduzones.com/tambralinga/9013

ขอขอบคุณ

รูปภาพของ นายวีรพนธ์

แนะนำหนังสือ

 

รูปภาพของ ฉินเทียน

สาธารณรัฐประชาชนจีน ครับ โก๊วีรพนธ์ ที่เคารพ

ทิศเหนือติดกับสาธารณรัฐประชาชนจีน ครับ ไม่มีคำว่า "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน " ครับ ด้วยความเคารพ ( สหรัฐอเมริกา ก็ไม่มี คำว่า ประชาธิปไตยในชื่อประเทศครับ ส่วนใหญ่ ประเทศที่มีคำว่า "ประชาธิปไตย" ในชื่อของประเทศ นั้น จะมีรัฐบาลเผด็จการทหารเบ็ดเสร็จ ซึ่งมีอำนาจปกครองประเทศ ครับ เช่น ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว)

หนังสือ "จดหมายจากรัฐฉาน แผ่นดิน ๑๙ เจ้าฟ้า " ไหง ได้ อ่านแล้ว ดีมากครับ  เหมาะสมกับการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์เผ่าไทย ที่เข้าร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์พม่า ในการทำศึกสงคราม ได้เป็นอย่างดีมีเอกสารอ้างอิงเป็นภาพถ่าย และอื่นๆ อย่างชัดเจน คุณ ภราดร ศักดา เขียนในลักษณะเชิงสารคดีท่องเที่ยวด้วย ดังนั้น ไหง ขอแนะนำให้ไท้ก่า อ่านครับ  โดยเฉพาะกลุ่มทหารโกก้าง  เป็นกลุ่มที่น่าศึกษา อีกกลุ่มหนึ่งครับโก๊วีรพนธ์

รูปภาพของ นายวีรพนธ์

ขอบคุณครับ

ถูกต้องครับ สาธารณรัฐประชาชนจีน ครับ ไม่มีคำว่า "สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนจีน "

ผม copy ของเขามาลงให้อ่านครับ

ไม่ทราบทำไมผู้เขียนถึงเรียกอย่างนั้น

ลอง comment ที่ด้านล่างเว็บ http://blog.eduzones.com/tambralinga/9013 อาจมีคำตอบ

อยากรู้เรื่องไทยใหญ่ ที่นี่เลยครับ www.taiyai.net

รูปภาพของ วี่ฟัด

ฉินเจียง

ฉินเทียน ชื่อคล้ายๆกับตัวโกงหรือดาวร้าย " ฉินเจียง ". ในละครช่อง7 สไตล์ไทยใหญ่ที่สมมุตินามตามท้องเรื่องให้ชื่อว่า " คีรีรัฐนคร " ทุกวันพุทธพฤหัสเชิญติดตามชมได้ครับไท้กา

รูปภาพของ ฉินเทียน

ฉินเทียน ไม่ใช่ "จ้าวฉินเจียง" ครับ การเขียนผิด ไม่ดีนะครับ

ชื่อไม่คล้ายนะครับ เซี่ยงคนละเซี่ยงอีกต่างหาก ครับ สำหรับการออกเสียงมีมากมาย ออกเสียงต่างกันอีก "คีรีรัฐนคร" น่าจะมีอยุู่หรือไม่ ให้ไท้ก่า รับชมเองนะครับ เรื่องจริงต่างจากละคร กับละครช่อง7 สี มีหลากหลาย ช่องกองทัพบก  ด้วยซิครับ ละครดังหลายเรื่องครับ "นางทาส" "ปอบผีฟ้า" "ดาวพระศุกร์ " ฯลฯ  ลืมบอกไปครับ ว่า "กันตนา" จัดสร้าง เรื่อง ลอดลายมังกร  ครับ ซึ่งมีคฤหาสถ์ ของ เจ้าสัว คุณหลวงสิทธิเทพการ ฯ (กิมเลี้ยง วังตาล) อยู่ด้วยครับ อีกหนึ่งความภาคภูมิใจ ของ 客人/จีนแคะ/客家/Hakka ครับ กับคฤหาสถ์แห่งนี้ มีให้เห็นที่ราชบุรี ริมทางรถไฟ Wink

ติดตามชมละคร วันนี้ที่รอคอยตอนแรก 13 มิถุนายน 2556 ออกอากาศทางช่อง 7 สี ทุกวันพุธ - พฤหัสบดี เวลา 20.25 น.

นักแสดงวันนี้ที่รอคอย :  อ๋อม อรรคพันธ์, ฉัตร ปริยฉัตร, แตงโม ภัทรธิดา, กอล์ฟ อนุวัฒน์, ซัน พิชยดนย์, เพลง กวิตา รอดเกิด, นิว ปทิตตา อัธยาตมวิทยา, แอนดรูว์ กรเสก, พศิน เรืองวุฒิ, เอ็กซ์ ฐิตินันท์, ธงชัย ประสงค์สันติ

http://drama.bugaboo.tv/pages/65389/64548/ละครวันนี้ที่รอคอย.html

ก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวว่า นางเอกสาว แพนเค้ก เขมนิจ จามิกรณ์ มีปัญหากับทางผู้จัดละคร วันนี้ที่รอคอย อย่าง ธง ธงชัย ประสงค์สันติ กับ เก๋ มณีรัตน์ จนทางผู้จัดต้องขอปลด แพนเค้ก ออกจากบทนางเอก วันนี้ที่รอคอย เนื่องจากสาวแพนเค้กไม่มีคิวให้กองถ่าย เพราะรับงานอีเว้นท์จนเบียดเวลาละคร

          ล่าสุดเจ้าตัวสาว แพนเค้ก ก็ออกมาประกาศว่า ขอถอนตัวจากบทนางเอกละครเรื่อง วันนี้ที่รอคอย เรียบร้อยแล้ว โดยได้ไปคุยกับทางช่อง ด้วยสาเหตุที่เวลาและคิวของตนเองกับกองถ่ายไม่ลงตัวกัน เพราะมีงานส่วนอื่นที่ต้องทำอยู่ ทั้งละครเวที ลำซิ่งซิงเกอร์ ที่เพิ่มรอบ จึงต้องปรับเวลาเพื่อทำส่วนนั้นให้เรียบร้อย ส่วนเรื่องที่ว่าทางช่องยื้อให้เธอแสดงต่อนั้น เธอก็ได้คุยกับทางผู้ใหญ่แล้ว ท่านก็เข้าใจว่าทำแบบนี้น่าจะดีกว่า และตอนนี้ก็รองานชิ้นต่อไปจากทางช่องอยู่

          ทั้งนี้ แพนเค้ก ชี้แจงว่า การถ่ายทำละคร วันนี้ที่รอคอย นั้น เพิ่งถ่ายทำในส่วนของเธอไปนิดหน่อย ก็ไม่อยากให้กระทบกับกองละครมาก จึงคิดว่าถอนตัวก่อนดีกว่า พร้อมเสริมว่า ไม่กลัวจะถูกมองไม่ดีในแง่เรื่องเยอะ เพราะตนเองมีเหตุผล อย่างไรก็ตาม ไม่ทราบว่าใครจะมาแสดงแทนทั้งนี้ ยืนยันว่าไม่ได้มีปัญหาอะไรกับทางผู้จัด และคงไม่ต้องไปแจ้งเรื่องที่เธอถอนตัวกับทางผู้จัดด้วย เพราะบอกกับทางช่องไปเรียบร้อยแล้ว

http://drama.kapook.com/view56600.html

รูปภาพของ วี่ฟัด

ในละครเขาก็เรียก" ฉินเจียง " เฉยๆ

      ในละครเขาก็เรียก " ฉินเจียง ". เฉยๆไม่ใช่หรือบ่ได้เขียนผิดไปเลย 

       เลยรู้เลยว่าแอบดูกับเขาเหมือนกัน 

รูปภาพของ ฉินเทียน

ไทใหญ่ค้า...

ไทใหญ่ค้ายา.

Posted byadmin on ส.ค. 3rd, 2013 and filed under Onlinecmnews , ข่าวหน้า 1 . You can follow any responses to this entry through the RSS 2.0 . Both comments and pings are currently closed.

ไทใหญ่ค้ายา……….ตำรวจชุดสืบสวน สภ.ช้างเผือก จังหวัดเชียงใหม่ จับกุมตัว นาย อี้จิกต๊ะ นายมั่น อายุ 29 ปี สัญชาติไทใหญ่ เชื้อชาติพม่า พร้อมด้วยของกลาง ยาบ้า 80 เม็ด ขณะกำลังส่งมอบยาบ้าให้สายลับตำรวจบริเวณทางขึ้นดอยม่อนแจ่ม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ เร่งขยายผลเครือข่ายแล้ว

http://www.chiangmainews.co.th/page/?p=206646

-----------------------------------------------------------------------------------------------

หนังสือพิมพ์เชียงใหม่นิวส์ " หนังสือพิมพ์เพื่อชาวเหนือ "

http://www.chiangmainews.co.th/page/?p=210056

-----------------------------------------------------------------------------------------------

จากข่าวนี้ มีข้อน่าสังเกตครับ คือ คำว่า " สัญชาติไทใหญ่ เชื้อชาติพม่า " ซึ่งทำให้ ไหง สงสัยต้องถามผู้รู้หลายท่าน ว่า ตกลงแล้ว นักวิชาการ และ เจ้าหน้าที่ระดับประเทศ เรียกว่า อย่างไร เนื่องด้วยในการรวมเป็นประชาคมอาเซียน จะมีการ แยกแยะและเจาะจงเชื้อสายชาติพันธุ์ ตลอดทั้งเผ่าพันธุ์ ในกลุ่มอาเซียน เพื่อศึกษา หาความรู้ สู่ความเข้าใจในภาษาและวัฒนธรรมของเผ่าพันธุ์ต่างๆ

ในประเทศไทย หน่วยงานที่ทำวิจัยเรื่องนี้ เท่าที่ทราบตอนนี้ มีดังต่อไปนี้ คือ

1. สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

2. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) http://www.sac.or.th/main/index.php

ฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์

รูปภาพของ วี่ฟัด

มาอีกแล้วไทยใหญ่

วันนี้ที่รอคอยก็จบไปแล้ว คีรีรัตน์นครก็ไม่มีข่าวคราวแล้ว เอาแบบ " ไทยเล็ก " ( littlethai. ) " ไทยกลาง " medium Thai  บ้างเถอะตัว

รูปภาพของ ฉินเทียน

掸族 / 傣族

http://zh.wikipedia.org/wiki/掸族

http://th.wikipedia.org/wiki/ไทใหญ่

http://en.wikipedia.org/wiki/Shan_people

หมายเหตุ ใครฟังออกบ้างครับ สำหรับเพลงชาติไตหรือไท ( ธงชาติไทใหญ่ ทำไม ไม่มีสีน้ำเงิน นะครับ งง จรา )

รูปภาพของ ฉินเทียน

傣族

ชนเผ่าชาติพันธุ์ไท ( ไต )  傣族 http://en.wikipedia.org/wiki/Dai_people 

1 ใน 56 ชนเผ่าชาติพันธุ์ของจีน   http://hakkapeople.com/node/3256

รูปภาพของ ฉินเทียน

掸族

ชนเผ่าชาติพันธุ์ฉาน   掸族              http://en.wikipedia.org/wiki/Shan_people

ไม่ใช่กลุ่มชนเผ่าชาติพันธุ์ของจีน แต่เรียกตนเองว่าเป็นแขนงย่อยของเผ่าไท 傣族

พจนานุกรมฉบับราชบัณทิตยสถาน   พ.ศ. 2542 หน้า 548  มีใจความว่า

" ไทยหลวง  น.  ไทยใหญ่."

" ไทยน้อย   น.   ชนชาติไทยสาขาหนึ่งซึ่งมาเป็นไทยแห่งประเทศไทย."

" ไทยใหญ่   น.   ชื่อรัฐหนึ่งทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศพม่า ติดต่อกับภาคเหนือของประเทศไทย , ฉาน ก็เรียก , ชนชาติไทยสาขาหนึ่งอยู่ในรัฐฉาน เรียกกันว่า เงี้ยว , ไทยหลวง ก็ว่า. " 

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal