หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

.

รูปภาพของ วี่ฟัด
.  

รูปภาพของ วี่ฟัด

ประเด็นสำคัญที่ทำให้เกิดนิกายมหายาน

ก่อนอื่นที่จะเขียนเรื่องราวของวัดโพธิ์เย็นต่อไหง่ขอถวายความรู้ต่อญาติโยมก่อนว่าเหตุใดหรืออะไรคือประเด็นสำคัญที่ได้ก่อเกิดพระพุทธศาสนาแบบมหายานได้ รู้ไว้ก็ดีนะครับญาติโยม

ช่วงที่พระพุทธองค์กำลังจะดับขันธ์ปิรินิพาน พระพุทธองค์ก็ทรงเตรียมการต่างไว้ซึ่งผู้รับรู้ต่างๆคือพระอานนท์ ซึ่งปรากฏในปิรินิพานสูตรซึ่งพระพุทธองค์ทรงเห็นว่าพระพุทธศาสนาก็ได้ปักหลักปักฐานอย่างมั่นคงดีพอสมควรแล้ว จึงทรงเห็นว่าเป็นช่วงที่เหมาะสมที่ทรงจะดับขันธ์ปิรินิพาน โดยพระพุทธองค์ทรงไม่แต่งตั้งใครเป็นพระศาสดาแต่ทรงให้พระธรรมวินัยเป็นศาสดาสืบไป และมีประเด็นสำคัญในปิรินิพานสูตรอยู่ประการหนึ่งคือหลังจากปรินิพพานแล้ว พระพุทธองค์ทรงอนุญาติให้ปรับสิกขาบทเล็กน้อยได้

หลังจากกาลปิรินิพานของพระพุทธองค์ได้เกิดการสังคายณาพระไตรปิฎก ที่ถ้ำสุวรรณคูหา เมืองราชคฤกษ์  โดยพระมหากสปเป็นประทานในการสังคายณา ได้เกิดการถกเถียงกันว่าการที่พระพุทธองค์ทรงให้ปรับสิกขาบทเล็กน้อยนั้น เล็กน้อยขนาดใหน  จึงเกิดการถกเถียงกันใหญ่จนแตกเป็นสองพวกคือกลุ่มหนึ่งไม่ยอมปรับสิกขาบทใดๆทั้งสิ้นขอรักษาสิกขาบทเดิมๆไม่ยอมตัดทอนสิกขาบทใดๆทั้งสิ้นให้คงสิกขาบทเลยมีอยู่อย่างไรให้มีอยู่อย่างนั้นกลุ่มนี้จึงเกิดเป็นนิกายเถรวาทขึ้น ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งคิดว่าใหนๆพระพุทธองค์ทรงอนุญาติให้ปรับสิกขาบทได้เลยเลยเตลิดเปิดเปิงกันใหญ่จนเกิดพัฒนาเป็นพุทธศาสนาแบบมหายานขึ้น แต่ที่จริงน่าเรียกว่าศาสนาพุทธแบบอาจารยวาทมากกว่า เพราะคำว่า " มหายาน " ( ยานใหญ่ ) คือคำดูถูกดูหมิ่นเถรวาทที่มีอีกชื่อหนึ่งว่า " หินยาน " ( ยานเล็ก ) แต่ถ้าจะให้ถูกหลักบาลีมากที่สุดต้องเขียนว่า " หีนยาน "

รูปภาพของ วี่ฟัด

พุทธศาสนานิกายมหายานในประเทศไทย

            นับแต่มีการสังคายนาครั้งแรกทำให้พระพุทธศาสนาแตกเป็นถึง 18 นิกาย มีนิกายหลักๆคือแบบเถรวาทที่ไม่ยินยอมเปลี่ยนแปลงสิกขาบทใดๆเลยในสมัยพุทธกาล ( สมัยพุทธกาลหมายถึงสมัยที่ผู้มีพระภาคย์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่ ) มีสิกขาบทอย่างไร ก็คงสิกขาบทนั้นๆ ไว้ไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนฝ่ายที่บอกว่าพระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ปรับสิกขาบทเล็กน้อยก็ปรับสิกขาบทแล้วแต่ว่าจะตีความว่าเล็กน้อยนั้นเล็กน้อยขนาดไหน พุทธแบบมหายานก็อยู่ในกลุ่มหลังๆนี้ 
 
          การบันทึกพระไตรปิฏกของฝ่ายเถรวาทก็ทำการบันทึกเป็นภาษาบาลี ส่วนฝ่ายมหายานหรืออาจรยวาทก็บันทึกเป็นภาษาสันกฤกต ที่จริงคำว่าภาษาบาลีนั้นมันไม่มีในโลกหรอก คำว่าบาลี ( Bali ) นั้นเป็นคำที่ฝรั่งเป็นฝ่ายใช้เรียก ที่จริงต้องเรียกว่าภาษามคธ จึงจะถูกต้อง ซึ่งเป็นภาษาของแคว้นมคธ ซึ่งพรุทธองค์ทรงได้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาที่แคว้นมคธเป็นหลัก ดังนั้นจึงต้องใช้ภาษามคธเป็นหลัก คงคล้ายๆกับไม่มีภาษาแคะ เพราะภาษาแคะคือคำที่คนแต้จิ๋วเป็นคนเรียกในบริบทเดียวกัน
 
            พุทธศาสนาแบบเถรวาทจึงเป็นนิกายที่รักษาความดั้งเดิมอย่างเครื่องครัดไม่มีเปลี่ยนแปลง แต่พุทธศาสนาแบบมหายานจะมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆตามบริบททางสังคมต่างๆเช่นในยุคอุปนิษัท ( ยุคปฏิรูปของศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาฮินดู ) ศาสนาฮินดูซึ่งเป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมอยู่แล้ว ทางศาสนาฮินดูมีเทพเจ้า ( เทวดาอินเดีย )  ทางมหายานก็จะเอากับเขามั่ง ในเมื่อฮินดูมีเทพเจ้าได้มหายานก็มีพระโพธิสัตว์ได้ ( คำว่าพระโพธิสัตว์ต้อง “  ว์ “ มิใช่ “ ย์ “ ) แข่งกัน มหายาเลยไปจนกู่ไม่กลับจนปัจจุบัน
 
           ดั้งเดิมมหายานก็มิได้เป็นนิกายของสายจีนโดยตรงหรอกแม้แต่อาณาจักรพระนครสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ก็นับถือพุทธศาสนาแบบมหายาน แต่ต่อมามหายานทางสายอื่นคงจะสูญไปหมดคงเหลือแต่ของจีนเพียงสายเดียว
 
           พระแบบมหายานในเมืองไทยเข้ามาในประเทศไทยเขาก็วาง positioning  ( เป็นศัพท์ทางการตลาดหมายถึงการวางตำแหน่งทางการตลาด ) มารตรฐานการประพฤติปรฏิบัติที่ไม่ด้อยไปกว่าพุทธศาสนาแบบเถรวาท กล่าวคือถ้าพระในแบบเถรวาทมีวัตรปฏิบัติอย่างไร ก็ก็จะพยามยามรักษามาตรฐานที่ไม่ยิ่งหย่อนกว่าหรืออาจดีกว่าในบางเรื่อง แต่อาจมีข้อแตกต่างกันตามปรกติอยู่แล้วเช่น พระแบบมหายานเขาจะไม่มีการออกบิณฑบาต ทางวัดจะมีคนหุงหาอาหารให้เสร็จ แต่ทางมหายานท่านจะฉันท์อาหารเจเป็นหลัก แต่จะไม่มีการฉันท์มือเย็นจะครับ ยึดถือหลักวิกาลโภชนาเฉกเช่นเดียวกับเถรวาท แม้ว่ามหายานในประเทศจีนจะสามารถฉันท์อาหารมือเย็นได้ พระมหายานในประเทศไทยท่านก็จะไม่ทำตาม ( เพราะจะได้อยู่ในมาตรฐานเดียวหรือไม่ยิ่งหย่อนกับเถรวาท )
 
           แต่พระในนิกายเถรวาทท่านไม่ได้มีสิกขาบทให้ฉันท์เจ แม้เทวทัตยังจะเคยขอให้เป็นหนึ่งในธุดงค์พระพุทธองค์ก็มิดืทรงอนุญาต แม้ในธุดงค์ 13 ก็ไม่มีการให้ฉันท์เจ ที่พระพุทธองค์ไม่ทรงให้มีวิกขาบทในเรื่องการฉันท์เจเนื่องจากภิกขุ ( คำว่าภิกขุแปลว่าผู้ขอ ในความหมายเดียวกับคำว่า ภิกขาจาร ) ต้องขอข้าวชาวบ้านฉันท์ ชาวบ้านกินอย่างไรพระก็ต้องฉันท์แบบนั้น หากพระพุทธองค์อนุญาตให้พระต้องฉันท์เจแล้วจะทำให้ชาวบ้านเดือดร้อนเพราะต้องเสียเวลาในการตระเตรียมอาหาร
 
            การตั้งฉายาของพระนิกายจีนนี่เขาตั้งฉายาแบบมีปุ้ยของคนจีนเลยนะครับ อุปปัจชาท่านหนึ่งเวลาจะบวชให้ใครเปรียบเสมือนคนบวชนั้นเกิดใหม่เป็นบุตรของท่าน เช่น พระอาจารย์จีนวินยานุกรเวลาท่านบวชใคร หลวงจีนรูปนั้นจะมีฉายา “ เสี่ย..... “ ไปเรื่อยๆ แบบท่านเจ้าคุณเย็นอี่ เจ้าอาวาสวัดโพธิเย็นนี่เรารู้เลยว่าท่านต้องบวชอุปัจชาเดียวกับท่านเจ้าคุณเย็นเต็ก เจ้าอาวาสวัดโพธิ์แมน อย่างไม่ต้องสงสัย
รูปภาพของ pinglin

กราบนมัสการ

กราบนมัสการครับ ตอนที่ไปกราบพระที่วัดโพธิ์เย็นครั้งแรก. ไปกับหลวงพ่อพระฝ่ายเถรวาท  กำลังชมศาสนวัตถุอยู่กับท่าน ก็เจอหลวงปู่เจ้าอาวาสออกมา. ท่านก็เมตตาทักทายหลวงพ่อ "ฉันข้าวหรือยังครับ" ท่านเมตตาดีครับ. แปบๆ ก็6-7ปีแล้ว

 ตอนผมบวชจากกรุงเทพฯ(วัดบรมนิวาส) แต่ไปจำพรรษาที่ อ.ท่ามะกา   คุยกับศรัทธาใหญ่แถวนั้น  เป็นบ้านท่าเรือฮักหงินทั้งนั้น. เป็นคณะศรัทธาในพระพุทธศาสนาที่มั่นคงมากครับ

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal