หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

เฉินซู่จวี๋ แม่ค้าผัก ผู้ให้ที่ยิ่งใหญ่

รูปภาพของ วี่ฟัด

เมื่อสองสามวันก่อนไหง่ซึ่งปรกติมีความสุขกับการอ่านหนังสือคือเป็นนักอ่านตัวยงคนหนึ่งทีเดียว ได้ไปพบหนังสือเล่มหนึ่งเข้าคือหนังสือชื่อ " เฉินซู่จวี๋ แม่ค้าผัก ผู้ให้ที่ยิ่งใหญ่ " พออ่านแล้วก็อดที่จะมาเล่าให้ไท้กาหงิ่ยฟังไม่ได้ เมื่อเกือบเดือนก่อนไหง่เคยโพสต์เรื่องราวของแม่ค้าผักนักร้องเสียงโอเปร่านามว่า " ไช่หงผิง " มาวันนี้ก็เป็นเรื่องราวของแม่ค้าขายผักอีกนั่นแหละ แต่แม่ค้าขายผักคนนี้นามว่า " เฉินซู่จวี๋ " มีชีวิตที่ยิ่งน่าทึ่งไปอีก กล่าวคืออาจี้เฉินซุจวี๋ท่านนี้มีอาชีพขายผักธรรมดาๆ แต่บริจาคเงินให้กับส่วนรวมมีมูลค่ากว่าสิบล้านบาท ซึ่งไหง่จะขอเล่าชีวประวัติย่อๆของอาจี้ดังนี้ครับ
เฉิน ซู่จวี๋ วัย 61 ปี แม้ค้าขายผักในตลาดเมืองไถตงมานานครึ่งค่อนศตวรรษ เป็นที่รู้จักและสนใจของคนทั่วไปจากการมอบรางวัล 1 ใน 100 บุคคลที่มีอิทธิพลต่อสังคมของโลก โดยนิตยสารไทม์สของสหรัฐฯ และขนานนามว่า “อาม่าคนเดินดินนักบุญผู้ใจบุญ”

รายงานข่าวของสื่อต่างๆในไต้หวันระบุว่า เฉิน ซู่จวี๋ เกิดในครอบครัวยากจน คุณแม่ของอาจี้ไม่มีเงินจ่ายค่าเบี้ยประกันสุขภาพ โรงพยาบาลไม่ยอมรับตัวไว้รักษาอาการคลอดยาก เพื่อนนักเรียนในโรงเรียนเหยินอ้าย ร่วมกันบริจาคเงินช่วยเหลือ ทำให้คุณแม่ของอาม่าเฉินฯ สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้ แต่ก็เสียชีวิตในที่สุด ต่อมาน้องชายคนสุดท้องเป็นหวัดเสียชีวิต ส่วนตัวอาจี้ก็ต้องออกจากโรงเรียน ยึดอาชีพขายผักเลี้ยงชีพ เลี้ยงทั้งครอบครัว และยังเลือกที่จะเป็น “โสด” ตลอดชีพด้วย

ผู้คนที่มีชะตากรรมเช่นเดียวกับอาจี้เฉิน ซู่จวี๋ มีจำนวนไม่น้อย แต่บางคนเลือกทางที่จะต้องพยายามขยันหาเงินสร้างความร่ำรวยให้แก่ตนเอง เพื่อเปลี่ยนแปลงชะตากรรมของรุ่นลูกรุ่นหลาน บางคนกลายเป็นผู้โกรธแค้นต่อสังคม กระทั่งก้าวไปบนหนทางต่อต้านสังคม และยิ่งมีคนจำนวนไม่น้อยที่ท้อแท้หมดกำลังใจ ดื่มเหล้า กลายเป็นขี้เมา ก่ออาชญากรรม ทำร้ายตัวเอง ดิ้นรนอยู่ในสังคมชั้นล่าง ในขณะที่อาม่า เฉินฯ เลือกเดินหนทางที่แตกต่างกันอย่างลิบลับ ด้านหนึ่งใช้ชีวิตด้วยความประหยัดมัธยัสต์ ด้านหนึ่งทำบุญกุศล ค่อยๆเปลี่ยนแปลงความไม่เป็นธรรมในสังคม

อาจี้เฉินฯ ซึ่งเคยได้รับความช่วยเหลือจากโรงเรียน ได้บริจาคเงินก่อตั้งกองทุนทุนการศึกษาช่วยเหลือฉุกเฉินขึ้น และบริจาคเงินสร้างห้องสมุดด้วย นางไม่มีบุตรธิดา แต่รับเลี้ยงดูเด็กกำพร้าในสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า นางรับปากที่จะบริจาคเงินให้แก่สถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า แต่เนื่องจากฐานะทางเศรษฐกิจ จึงต้องเลือกวิธีการกู้เงิน เพื่อรักษาคำมั่นสัญญาของตน เป้าหมายใหญ่ของนางก็คือจัดตั้งกองทุนให้คนจนมีข้าวกิน มีเงินหาหมอ สุภาษิตจีนที่ว่า รำลึกบุญคุณแม้น้ำเพียงหยดเดียว ต้องตอบแทนด้วยน้ำที่ทะลักจากน้ำพุ และความสัตย์ซื่อ เป็นคุณธรรมที่สังคมชาวจีนยกย่องนับถือ ซึ่งอาม่าเฉินฯ ใช้ปฏิบัติการของตนทำได้สำเร็จแล้ว

เฉิน ซู่จวี๋ มิใช่เพิ่งจะถูกสื่อนำเรื่องราวออกเผยแพร่เป็นวันเแรก ก่อนหน้านี้เมื่อ 5 ปีก่อน เรื่องราวของนางได้ถูกตีพิมพ์เป็นข่าวพาดหัวในหน้าหนังสือพิมพ์มาแล้ว และก่อนหน้าที่นิตยสารไทม์ จะมอบรางวัลนี้ให้นาง นิตยสารฟอร์ปส์ ได้เลือกให้นางเป็นวีรชนนักบุญเอเชียแปซิฟิกประจำปี 2010 ท่ามกลางการไล่ประกบติดตามรายงานข่าวของสื่อนานาชนิด อาจี้เฉินฯ ไม่เคยแสดงอาการที่ไม่เป็นธรรมชาติแม้แต่น้อย การใช้ชีวิตประจำวันก็เป็นไปตามปกติ ซึ่งก็คือยังเป็นอาม่าคนเดิม ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย อาม่ามีโอกาสเดินทางไปสหรัฐฯได้ไม่ง่ายนัก แต่กลับไม่ยอมอยู่ที่สหรัฐฯนานสักหน่อย เพราะไม่อยากสิ้นเปลืองเงินภาษีประชาชน จะรีบเดินทางกลับไปขายผักต่อ ท่าทีเรียบง่าย จริงใจ และตรงๆตรงมาของอาจี้ ได้สะท้อนให้เห็นถึงสปิริตไต้หวัน

ในสภาพสังคมที่ยังคงเต็มไปด้วยความไม่เป็นธรรม ไม่ยุติธรรม จำเป็นต้องมีนักปฏิรูป และต้องการนักบุญ ความจริงแล้ว ไต้หวันเต็มไปด้วยนักบุญผู้ใจบุญ แต่ภายใต้สภาพที่เต็มไปด้วย ความเย้ายั่วของลาภยศเงินตรานี้ คนจำนวนไม่น้อยกลายเป็น “ใจบุญเทียมเลี่ยงภาษีจริง” “ใจบุญปลอมได้ประโยชน์มหาศาลจริง” “ใจบุญเท็จแต่ต้องการชื่อเสียง” กระทั่ง “ใจบุญหลอกต้มตุ๋นเงินจริง” และมีบางคนที่แขวนคำขวัญตัวเบ้อเริ่มเทิ่มไว้กลางห้องรับแขกว่า “เร่าร้อนสาธารณะกุศล” แต่ความจริงกลับไม่ทำอย่างที่พูดไว้ และในช่วงก่อนที่อาม่าเฉินฯ จะกลับจากการรับมอบรางวัลที่สหรัฐฯ จีนแผ่นดินใหญ่ยังเกิดเหตุนักศึกษาขายดอกไม้การกุศลได้เงินมา 600 กว่า แต่มีแบงก์ร้อย 5 ใบที่เป็นแบงก์ปลอม เมื่อมาเปรียบเทียบกับภาพเหล่านี้แล้ว อาม่าเฉินฯ เป็นมนุษย์เดินดินธรรมดาที่ยิ่งใหญ่จริงๆ

เรื่องราวของอาจี้เฉิน ซู่จวี๋ จุดชนวนให้สังคมทั่วไปให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น และชี้ชัดว่าอะไรบางอย่างในสังคมไต้หวันยังคงต้องการความร่วมกันอยู่ ความประหยัดมัธยัสต์ ความเมตตาธรรม ความเรียบง่าย และการเอาใจใส่กลุ่มผู้อ่อนแอ แน่นอนว่าเป็นคุณค่าที่ดำรงอยู่ตลอดกาลในสังคมไต้หวัน แต่มันได้สูญหายไปเรื่อยๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไปท่ามกลางการแก่งแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์กัน อาม่าเฉินฯได้เสริมคุณค่าของไต้หวันให้สูงยิ่งขึ้น และสังคมไต้หวันจะแสดงความขอบคุณต่อความใจบุญของอาม่าเฉินฯได้ดีที่สุดก็คือการทำให้ “เป็นจริง” ทำให้ความพยายามทุกอย่างของอาม่าเฉินฯ เป็๋นจริงให้ได้ ใช้ความพยายามของตนทีละน้อยทีละน้อยเปลี่ยนแปลงสังคม ทำให้สังคมนี้สวยงามยิ่งขึ้น ให้กลุ่มผู้อ่อนแอได้รับความเคารพและ

 

ตามเรื่องราวของอาจี้เฉินที่ไหง่ได้ก๊อปปี้มานี้แล้วน่าทึ่งที่ยังมีคนที่ทำงานหาเงินด้วยความเหนี่อยยากลำบากเหลือแสนแต่กลับนำเงินที่หามาได้ด้วยความสุจริตไปอุทิศให้แก่ส่วนรวม แต่ตัวเองกลับใช้ชีวิตอย่าเรียบง่าย กินอาหารเจเพียงวันละมื้อเดียว แต่ลองมาดูสังคมไทยในยุคปัจจุบันนี้สิมัมมีแต่คนที่จะคอยฉกฉวยจากส่วนรวมอย่างน่าละอายแต่ยังคงชูคออยู่ในสังคมไทยได้ พวกนี้ทุกๆท่านคงจะรู้ว่าพวกนั้นเป็นใครเหมือนที่กับโน๊ทเคยพูดในเดี่ยว 9 ว่า ถ้าขายชาติต้องที่สภาแหละครับ ท่านผู้ชม

 

อ่านเพิ่มเติม

http://thai.rti.org.tw/Thai/magazine/1004-06/RTI9-P06.pdf

http://thai.rti.org.tw/Content/GetSingleNews.aspx?ContentID=101830


รูปภาพของ วี่ฟัด

ข่าวด่วน เฉินซู่จวี่ แม่ค้าผักชาวใต้หวันได้รับรางวัลแม็กไซไซ

          ตามที่ไหง่เคยเขียนถึงอาจี้เฉินซู่จวี่ แม่ค้าผักจอมบริจาค ปรากฏว่าวนนี้มีข่าวว่ากี่ได้รับรางวัลแม็กไซไซ ดังข่าวต่อไปนี้ครับ

         มูลนิธิรางวัลแมกไซไซของฟิลิปปินส์ ประกาศรายชื่อผู้ได้รับรางวัลแมกไซไซประจำปี 6 คน  โดยหนึ่งในจำนวนนี้ คือ นาง เฉินซู่จวี่ แม่ค้าผักในไต้หวัน วัย 63 ปี เนื่องจากเธอมีใจบุญสุนทาน มอบเงินบริจาคเพื่อการกุศลต่างๆรวม 10 ล้านเหรียญไต้หวันหรือกว่า 10.2 ล้านบาทในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เธอได้เปลี่ยนแปลงชีวิตชาวไต้หวันมากมายที่เธอให้ความช่วยเหลือ   เธอเรียนหนังสือแค่ชั้นประถม 6 และต้องออกจากโรงเรียนมาทำงานหาเลี้ยงครอบครัวโดยยึดอาชีพขายผัก และเงินที่หาได้ในแต่ละวัน ก็จะเก็บไว้ส่วนหนึ่ง ไปสร้างกุศลช่วยเหลือผู้อื่น เช่น ทุนการศึกษาสำหรับเด็กๆ สร้างห้องสมุดให้กับโรงเรียน และช่วยเหลือเด็กกำพร้า เธอบอกว่า เงินจะมีคุณค่าเมื่อถูกนำไปใช้ช่วยเหลือคนที่ต้องการ และเธอมีความสุขทุกครั้งที่ได้ช่วยเหลือคนอื่น             ก่อนหน้านี้ เธอได้รับรางวัลบุคคลแห่งปีของทวีปเอเชียจากนิตยสารรีดเดอร์ ไดเจสต์ในปี 2553  และติดอันดับในกลุ่มบุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุด 100 คนของโลกประจำปี 2553 ของนิตยสารไทม์ด้วย           นอกจากนางเฉินแล้ว ผู้ที่ได้รับรางวัลแมกไซไซอีก 5 คน ประกอบด้วย โรมุโล่ ดาวิเด้ เกษตรกรชาวฟิลิปปินส์,  กุลานเด ฟรานซิส หัวหน้ากลุ่มพึ่งตนเองในอินเดีย, ไซดา ริซวานา ฮาซัน ทนายความด้านสิ่งแวดล้อมชาวบังกลาเทศ, ยาง แสง โกมา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรในกัมพูชา  และอัมโบรซิอุส  รวินดริจาร์โต้ นักเคลื่อนไหวต่อต้านการตัดไม้ทำลายป่าในอินโดนีเซีย             สำหรับรางวัลแมกไซไซ ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่นายรามอน แม็กไซไซ อดีตประธานาธิบดีของฟิลิปปินส์ผู้ล่วงลับ มอบให้กับผู้มีผลงานโดดเด่นใน 5 สาขาคือ สาขาปฏิบัติราชการ สาขาบริการสาธารณะ สาขาผู้นำชุมชน สาขาหนังสือพิมพ์และวรรณกรรม และสาขาส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ พิธีมอบรางวัลจะจัดขึ้นทุกวันที่ 31 สิงหาคม ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันเกิดของแม็กไซไซ  

 
[email protected]    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal