หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

คนแต้จิ๋ว มีไหว้บรรพบุรุษที่เรียกว่า "จ้อขี่" ไม่ทราบว่า ฮากกาเหงิ่น มีไหว้บรรพบุรุษแบบเดียวกันไหม

ดิฉันเป็นฮากกาเหงิ่น แต่แต่งเข้าครอบครัว คนแต้จิ๋ว ซึ่งไหว้วันจ๊อขี่ ในวันครบรอบวันจากไปของบรรพบุรุษแต่ละคน ใน1 ปี ไหว้ มากมายค่ะ ยังไม่รวม วันตรุษจีน สาร์ท จีน ไหว้พระจันทร์ อีกค่ะ

ตอนที่ยังไม่ได้แต่งไป ตอนที่อาโผ่ยังอยู่ ไม่เคยเห็นมีการไหว้วันครบรอบการจากไปของ อากุงเลยค่ะ ถึงสงสัยตอนนี้ค่ะ

รบกวน ถาม ผู้รู้นะคะ

ขอบคุณมาในที่นี้ด้วย

ยิ๊วหม่อย

ฮากกามีการไหว้บรรพบุรุษเมื่อถึงวันที่เขาจากไปมีไหมคะ


เรียนถามผู้รู้ค่ะ

คนแต้จิ๋ว  จะมีการไหว้ที่เรียกว่า"จ้อขี่"  ไม่ทราบว่า ฮากกา มีไหว้แบบนี้ไหมคะ

สุนีย์

 


ผมขอแสดงความเห็น

ผมขอแสดงความเห็นเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้นะครับ ผมไม่ได้เป็นคนฮากกาโดยกำเนิด แต่มาแต่งงานกับคนฮากกา และอยู่กับสังคมชุมขนของคนฮากกา 10 กว่าปีมาแล้ว 

เรื่องการไหว้จ๊อขี่ ทางครอบครัวของภรรยาผมจะมีกิจกรรมการไหว้จ๊อขี่กันทุกปีเลยครับ ทั้งจ๊อขี่อากุ๊ง จ๊อขี่อาม่า ปีนึงก็สองหน ยังไม่รวมวันเช็งเม้ง ตรุษจีน หรือสาร์ทจีนครับ ในชุมชนจีนฮากกาทางนี้จะมีเหมือนกันทุกบ้านเลยครับ

ผิดถูกอย่างไรขออภัยค้วยครับ และรอท่านอื่นแนะนำข้อมูลที่ถูกต้องค้วยครับ 

จ้อขี่ที่บ้าน

จ้อขี่ที่บ้านไหง่ทำครับ โดยจะเน้นที่ 3 ปีแรก หลังจะ 3 ปีแล้ว จะเอาไปรวมกับอาป้า หรืออากุ๊งก็ได้ ตามสะดวก ถือว่าทำให้ทุกท่านแล้ว

สำหรับวันสาร์ทนั้นทำอยู่ไม่กี่วันสำคัญ โดยจะทำประจำอยู่แค่

        1.วันตรุษจีน

        2.วันที่ 4 เดือน 1 ( รับเจ้า )

         3.วันที่ 15 เดือน 1 (โคมไฟ )

         4.หลังจาก วันที่15 เดือน 1  ( ชินเหมิน ) ดูวันดีทำ

         5.วันที่ 15 เดือน 7 ( สาร์ทจีน )

         6.วันที่ 15 เดือน 8 ( ไหว้พระจันทร์ ทำรวมกับชาวบ้าน ที่ศาลเจ้า )

         7.วันที่ 24 เดือน 12 ( ส่งเจ้า )

จ๊อขี่

ขอบคุณหลายท่านที่เข้ามาแสดงความคิดเห็น   ไหง่ถึงแต่งออกไป พอถึงวันที่อาปา จากไป ไหง่ก็จะเรียกพี่น้องให้มารวมกันเพื่อไหว้ระลึกถึงท่านพร้อมกับถือโอกาสไหว้อากุง อาโผ่ ซึ่งรูปมาอยู่มาที่เดียวกัน  ที่เมืองไทยพี่น้องของอาปาไม่มีแล้ว มีอยู่ที่เมืองจีน ว่าจะหาโอกาสไปเยี่ยมค่ะ

ยิ้วหม่อย

รูปภาพของ วี่ฟัด

เทศกาลสาร์ทจีนไม่ใช่เทศกาลของคนจงหยวน

เทศกาลสาร์ทจีนเป็นเทศกาลของคนหมิ่นซึ่งก็คือกลุ่มคนฮกเกี้ยน กลุ่มคนแต้จิ๋ว และกลุ่มคนใหหลำ. ดังนั้นคนฮากกาซึ่งเป็นกลุ่มคนจงหยวนจึงไม่มีเทศกาลสาร์ทจีน เมื่อคนฮากกามาอยู่ในประเทศไทยก็เอากับเขาด้วยแบบร่วมด้วยช่วยกัน
(ไหง่โพสต์มาจากไอแผดจึงเขียนได้ไม่ยาวนัก)

สาร์ทจีน

สาร์ทจีนที่บ้านไหง่ทำ ทุกปี และถือว่าเป็นวันสำคัญมาก ตั้งแต่รุ่น"ท่องซาน"มาแล้ว อาแมไหง่บอกว่า ให้ทำต่อไปทุกปี คนตายไปแล้วจะได้ไม่อด ไม่อยาก ลูกหลานจะอยู่สุขสบาย

รูปภาพของ อาฉี

จ้อขี่

ทางบ้านไหงมีครบ ทั้งจ้อขี่ ชินหมิน/เช็งเม้ง ตรุษ สาร์ท  ไหว้จ่าง ไหว้พระจันทร์ และพิธีต่างๆ ตามความนิยมใกล้เคียงกับชาวแต้จิ๋วในไทย แต่ทำเท่าที่สะดวกมากกกว่า 

สำหรับจ้อขี่ ก็เน้นอยู่ 3 ปีแรก หลังจากนั้น อาศัยวันเช็งเม้งเป็นวันรวมญาติ (กับวันวิ้งรอกเดินทาง 555)

ส่วนใหญ่อาแมจะพาทำ บอกว่าอาม่าซึ่งเป็นขักหงินมาจากถ่องซัน พาทำต่อมาอีกที  ส่วนอาปาก็ขักหงินจากถ่องซัน  มักไม่ค่อยพิถีพิถันออกโรงเรื่องพิธีกรรมมากมายนัก ว่าไงว่าตามกัน บอกว่าเรื่องเหล่านี้เมื่อเป็นความเชื่อที่ทำแล้วสบายใจ ไม่เหลือบากกว่าแรง ก็ทำไปไม่ต้องไปจุกจิกให้เป็นเรื่อง เพราะรายละเอียดปลีกย่อยมีหลายสำนัก ที่ต่างคนต่างว่า ยังไม่เคยได้ยินเทพ(ตัวจริง)ว่าแบบใดถูกสักครา ขอให้สักการะด้วยใจที่บริสุืทธิ เลือกปฏิบัติแบบที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสภาพครอบครัว และสิ่งแว้ดล้อม ที่ลงตัว เป็นสุขดีที่สุด

คิดว่าพิธีกรรมต่างๆ สำหรับชาวฮากกาที่อยู่ในเมืองไทยแล้ว แทบจะไม่แตกต่างกับชาวแต้จิ๋วอย่างเห็นได้ชัดเจน ความแตกต่างระหว่างความนิยมของชุมชนท้องถิ่น อาจจะเห็นชัดเจนกว่าเชื่อชาติที่ต่างก็มาจากกวางตุ้งด้วยกันเป็นส่วนใหญ่ แต่อาจให้ความสำคัญของพิธีการต่างๆไม่เท่ากัน เช่น

พิธีแต่งงาน ชาวฮากกา ไม่ค่อยมีขั้นตอนหรือพิธีกรรมมากนัก บางทีงานศพ ที่ให้เกียรติผู้ล่วงลับผู้อาวุโส ยังจะมีมากกว่า  และชาวฮากกาไม่น้อยจะมีความเชื่อว่าความมุมานะซื่อสัตย์ให้ได้งานที่เห็นผลได้ชัดเจนเป็นรูปธรรมแน่นนอน 

(ความเห็นส่วนตัว) อาจเป็นเพราะภูมิหลัง ชาวฮากกาอยู่บนที่กันดาล ไม่มีธุรกิจทางออกทะเล อย่างไงขาก็ติดดิน ผลผลิตได้จากแรงงาน ต้องทำจึงจะได้ และต้องรู้จักการเก็บถนอมผลผลิต เพื่อให้ผ่านฤดูที่แล้งแค้นไปได้  และเน้นการศึกษาเพื่อวิชาชีพที่ดีขึ้น และบางบ้านอาจจะมีการถ่ายทอดเรื่องชัยภูมิ  (ฟุงซุ้ย/ฮวงจุ้ย) สืบทอดในในบรรพชนอยู่บ้าง

พอมาถึงรุ่นอาอาไหง แกเล่าว่า "ตอนเด็กๆ ช่วงว่างเว้นจากฤดูเก็บเกี่ยวปลายปี อากุง และผู้รู้อื่นๆ จะชวนกันไปป่าเขา พาเด็กๆไปด้วย เพื่อเดินดูศึกษาฟุงซุ้ย ภูมิศาสตร์ ถ่ายทอดประสพการณ์การใช้ชีวิตและความอดทน สุดท้ายก็จบลงที่ถึงพบที่ฮวงจุ้ยดี แต่คนจนก็ไม่มีปัญญาซื้อหา คนมีวาสนาอยู่แล้วก็ได้จับจอง เสริมบารมีกันไป 555" แกก็พอรู้ แต่เลือกปฏิบัติเท่าที่ทำได้ตามสันชาติญาณ ที่ไม่ขัดกับความเหมาะสมในการใช้งาน มากกว่าที่จะใช้คำว่า ต้องอย่างโง้นอย่างงี้ เลยไม่ได้ขอรับการถ่ายทอดต่อ ก็น่าเสียดายเหมือนกัน 

ส่วนชนบางกลุ่มที่มีพื้นเพเดิมที่มีทางออกทะเล ถ้าหากินด้วยการฝากชีวิตไว้กับท้องทะเล ที่ต้องฝ่าคลื่นลม และการดลบันดาลของเทพเจ้า ก็จะมีพิธีบวงสรวงขึ้นมา หรือเป็นผู้ทำธุรกิจตามเมืองท่าใหญ่ๆ ก็ต้องมีการถือเคล็ดโชคลางเพื่อจังหวะโอกาสที่เป็นมงคล เสริม หั่งเช้ง ที่ไม่มีใครรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าในทางการค้าได้ และโหงเฮ้ง ภาพลักษณ์  เพื่อการเสริมสร้างในส่วนที่ทำได้ และพิเคราห์ช่วยการตัดสินใจได้ดีขึ้น

สำหรับผู้ที่จะเป็นสะใภ้ใหญ่ของชาวฮากกา คงไม่ต้องหนักใจเรื่องพิธีกรรมต่างๆ เพราะสำหรับเมืองไทยสยามประเทศที่แสนอบอุนนี้ ได้หลอมรวมวัฒนธรรม จนเสมือนถูกกลืนแยกกันไม่ออก หรือมีอะไรให้หนักใจ (ภรรยาไหงก็แต้จิ๋ว ก็ทำพิธีเท่าที่ตนคุ้นเคย ก็ไม่แตกต่างอะไรมากมาย)

ถ้าไปเจอคนเรื่องเยอะ ไม่ว่าชาติใดก็มี ขนาดไว้เจ้าที่เดียวกันยังขัดแย้งกันก็มี เช่น เจอเจ้คนหนึ่งนำ ฟักทอง(ปูนปลาสเตอร์)ไปไหว้ เจ้อีกคนก็มาติว่า ต้องฟักทองจริงๆ ของปลอมไม่ได้ อีกคนก็ว่าปูนขอได้ทนกว่า พอถามว่า หมายความว่าอะไร ตอบพร้อมกันว่า "จะได้ ฟัก/ควักเงิน , ฟัก/ควัก ทอง" จุดมุงหมายเดียวกัน ยังปฏิบัติต่างกันได้ก็มี ใส่ใจมากก็ต้องพิถีพิถันกันมาก

จ๊อขี่ หรือจ๊อกี่

อยากเรียนถามท่านผู้รู้ครับว่า การไหว้ครบรอบปีเสียชีวิตของบรรพบุรษ เรียกว่าจ๊อขี่ หรือจ๊อกี่ครับ ขอเหตุผลด้วยนะครับ

做忌 จ้อขี่

做 忌 จีนกลางอ่านว่าจั้วจี้  ปั้นซันขักอ่านว่าจ้อขี่  แต้จิ๋วอ่านว่า จ๊อ กี่(กี๋)  เป็นวันครบวันตายของบรรพบุรุษ(忌日)  
เครื่องเซ่นไหว้  มีซำมซัง  ผลไม้  เหมือนกับไหว้เช็งเม้ง 
ควรจะดูวันไหว้ ถ้าคนแคะ ก็จะห้าม
วันที่ตรงเลข 7  (แต้จิ๋วมีเลข 3เพิ่มอีก)  ให้เลื่อนขึ้นข้างหน้า ห้ามถอยหลังเด็ดขาด
ส่วนที่บางท่านบอกไหว้ 2-3 ปีแล้วเลิกไหว้  ความจริงเราเชิญท่านมาขึ้นหิ้งแล้ว  ก็จำเป็นต้องไหว้  วันเทศกาล วันสาร์ท  ก็ต้องเชิญท่าน  ถ้าหากไม่มีเวลาไหว้  ควรจะจุดธูปบอกกล่าวท่านด้วย  ว่าเราไม่มีเวลา
ส่วนช่วงไว้ทุกข์ไหว้ 7-7  ถ้าหากลูกหลานอยู่คนละบ้านไม่มีเวลาไหว้  อาจจะเพราะต้องทำงานหรืออยู่ห่างไกล   ก็ต้องซื้อเตาถ่านหม้อเล็กๆ 1 ใบ และข้าวสาร 1 ถุง  วางไว้ข้างๆโต๊ะ  แล้วจุดธูปบอกท่านว่า  หุงกินเอง  ลูกหลานไม่ว่าง.......
ประเพณี  และพิธีต่างๆ  อยู่ที่เราปฏิบัติหรือยึดถืออย่างไร  ไม่ใช่หลงงมงาย  ขอให้ใจสะอาดก็พอ

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal