หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

"เย็นตาโฟ" ฮากกาเรียก "ย้องแท้วฟู้ 酿豆腐" เอกลักษณ์ที่ใครก็รู้จัก

รูปภาพของ แกว้น
ผู้คนหลากหลายเชื้อชาติส่วนใหญ่ต่างรู้จักดีว่าอาหารที่เป็นเอกลักษณ์เลื่องชื่อของคนฮากกา หรือ คากกาที่เรียกว่า "ย้องแท้วฟู้ 豆腐" นั้นมีรสชาดและความอร่อยสักปานใด เมื่อพูดถึงคนฮากกาหรือคากกาสิ่งแรกที่คนทั่วไปคิดถึงก็คือ "ย้องแท้วฟู้ 豆腐" นี่เอง ผู้ที่เข้าร่วมงานสัมนาครบรอบ 5 ปีของสมาคมหมุ่ยแย้นคงได้ประทับใจกันแล้ว เนื่องจากเจ้าภาพโดยอ.นพดล ชวาลกร ได้กรุณาจัดเพิ่มเป็นเมนูพิเศษให้ได้ลิ้มลองกันในช่วงคอฟฟี่เบรคของการสัมนาด้วย   

 

ตามตำนานเมืองเก่าพันปี เหมยโจว ที่ได้ชื่อว่า “นครหลวงแห่งฮากกา หรือ นครหลวงแห่งคากกา” เมื่อชาวฮั่นที่ราบภาคกลางกลุ่มชนหนึ่งหอบเสื้อหมวกเคลื่อนย้ายลงใต้ถึงบริเวณณที่แห่งนี้ นับจำนวนหลายระลอกรวมเวลานับพันปี นอกจากลักษณะเด่นวิสัยแห่งการใฝ่เรียนแล้วยังนำเอาวัฒนธรรมอาหารติดตัวมาด้วย วันหนึ่งเมื่อก่อฟืนทอดเต้าหู้ขนาดเท่ากล่องไม้ขีดจนเหลืองแล้ว เอาเนื้อหมูสับและเนื้อปลาบดคลุกเคล้าปั้นเป็นก้อนใส่ลงมูน ในหม้อน้ำซุ๊ป ขณะนั้นกลิ่นหอมได้โชยไปทั่วสารทิศทำให้หวนระลึกอยากกินเกี้ยว แต่หาแป้งทำแผ่นเกี้ยวไม่ได้เนื่องจากเป็นพื้นที่ภูเขาสูงไม่มีการเพาะปลูกข้าวสาลีจึงใช้เต้าหู้แทนแผ่นเกี้ยว อันเป็นที่มาของหนึ่งในอาหารสุดยอด "ย้องแท้วฟู้ 豆腐หรือเต้าหู้ยัดไส้ และเป็นต้นกำเนิดที่มาของอาหารยอดนิยมเย็นตาโฟ ของพวกเราชาวไทยในปัจจุบัน

 

"ย้องแท้วฟู้ 酿豆腐" หรือเต้าหู้ยัดไส้ที่ชาวไทยรู้จักในชื่อ “เต้าหู้แคะ” ซึ่งเป็นเครื่องประกอบอาหารอย่างหนึ่งของ “ก๋วยเต๋ยวแคะ” ในประเทศไทยด้วยนั้นเป็นวัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านโบราณของชาว “ฮากกา หรือคากกา” ที่เลื่องชื่อของประเทศจีนเอง ตลอดจนประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน ไทย และอื่นๆที่มีชนเชื้อชาติฮากกา หรือคากกาอาศัยอยู่ซึ่งนับเป็นชนเชื้อชาติจีนที่มีพลเมืองรวมกันมากที่สุดในโลก นอกจากนี้ประเทศมาเลเซียยังได้ขึ้นบัญชี "ย้องแท้วฟู้ YONG TAU FU 酿豆腐" เป็นหนึ่งใน 100 รายการมรดกวัฒนธรรมอาหารแห่งชาติมาเลเซีย ซึ่งคงจะมีส่วนส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจทั่วไปของประเทศในขณะที่ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC” กำลังจะเกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบในปี พ.ศ.2558 นี้      

 

ภาษาฮากกา หรือคากกา

"ย้อง 酿" คือการบ่ม หรือหมัก เช่น "ย้องแท้วฟู้ 酿豆腐" คือการบ่มหรืออบเต้าหู้ หรือ "ย้องหว่องจิ้ว 酿黄酒" คือการหมักหว่องจิ้ว (หมักเหล้า)

มูน คือการใช้น้ำปริมาณน้อยด้วยไฟที่อ่อนและระยะเวลาที่นานกว่าผัดหรือช่าว ในการปรุงให้สุกแต่ไม่ถึงระดับต้มและตุ๋นหรือ ตุน            

มูน เป็นคำเหมือนที่มีใช้ในภาษาไทยเช่น ข้าวเหนียวมูน ซึ่งก็ตรงกับภาษาฮากกาว่า มูนฟ้อน มูนฟ้าน หรือมูนผ่อน


รูปภาพของ ยับเหี่ยนจึน

ขอถามอีกแล้ววว...

สงสัยไหง่จะเป็นมนุษย์เจ้าปัญหา สงสัยอีกแล้ว ภาษาฮากกาเกี่ยวกับการทำอาหารที่ต้องเติมน้ำ เช่น จู่หมีฝุ่น  มุนฟ้าน ย้วองเท้วกอน และปิดจูกว๊อก ทั้งมุนเท้วฟู้ กับย้วองเท้วกอน แตกต่างกันอย่างไร รบกวนอาแกว้น ขอถามหน่อยค่ะ
รูปภาพของ อาคม

ถามบ่อยๆดีครับ

อาจี่ครับ อาจีไม่ได้เป็นมนุษย์เจ้าปัญหาหรอกครับ ถามมาบ่อยๆยิ่งดีครับ ชุมชนนี้จะได้ไม่เหงาครับ ไหงขอตอบคำถามอาจี ก่อนที่กอแกว่นจะเข้ามาตอบนะครับเผื่อไม่เหมือนกัน ในความเข้าใจของไหงนะ คำว่าจู่ คือการทำให้สุกโดยต้องใช้น้ำเข้าไปประกอบจนสุกแบบกึ่งผัดกึ่งต้ม มุนก็คล้ายๆกับจู่ แต่ต้องใช้เวลานานกว่าจนของที่ทำนั้นอ่อนนุ่มมากๆ ส่วนงีอ้องเท่วกอนนั้น เป็นการยัดไส้ เช่นมะระ พริก มะเขือ และก็เต้าหู้ทั้งหลาย คนอื่นคิดแตกต่างอย่างไร ก็กรุณาให้ความกระจ่างด้วยครับ
รูปภาพของ แกว้น

เมนูนอนหนุนตักอาหม่า

ตอวเซี้ยอาคมกอว ทั้งหมดไหง่เห็นต้องด้วยแล้ว ว่าแต่เมื่อไรจะเปิดครัวรับศิษย์ฝึกปฎิบัติด้วยยยย ไหง่ขอขยายความเพื่ออาจี่จะได้อ่านหลายๆรอบ อาจี่อย่าจริงจังเชิงวิชาการนะครับบบ ไหง่ตอบตามที่เคยเห็นและอาศัยตอนเด็กชอบนอนหนุนตักแม่ (อาหม่า) เท่านั้นแหละลลล 

 

จู่หมีฝุ่น หรือ จู่มี่ฟุ้น 煮米粉 จู่ เป็นคำทั่วไปแปลว่าหุงเช่นหุงอาหารซึ่งมีหลายวิธี หรือหุงข้าวก็มีหลายวิธีเช่นกัน แต่ 煮米粉 ดูราวกับเป็นการต้มเส้นหมี่ซึ่งต้องใช้หม้อแต่ในทางปฎิบัติเป็นอาหารง่ายๆ ที่ต้องการความเร่งรีบโดยใช้กระทะเป็นสำคัญและใส่น้ำหุงเส้นหมี่ให้สุกซึ่ง เป็นอาหารพื้นบ้านฮากกาอีกชนิดหนึ่ง

 

มุนฟ้าน หรือ มูนฟ้อน หรือ มูนผ่อน 焖饭 มูน ไม่ มีคำแปลภาษาไทยแต่มีใช้อยู่บ้างเช่นข้าวเหนียวมูน มูนเป็นการใส่น้ำแต่น้อยลงในอาหารหุงด้วยไฟที่อ่อนและระยะเวลาที่ยาวกว่า เพื่อให้อาหารสุกและเปื่อยซึ่งต่างกับจู่ และตุน 炖 หรือตุ๋น และต่างกับการนึ่ง จิน

 

มุนเท้วฟู้ หรือ มูนแท้วฟู้ 焖豆腐 อาหารฮากกาที่อร่อยอีกชนิดหนึ่งใช้เต้าหู้ก้อนที่ทั่วไปใช้ทำแกงจืด หรือเต้าหู้แผ่นก็ได้เพิ่มเครื่องปรุง และเครื่องชูรส เติมน้ำหุงด้วยไฟที่อ่อนและระยะเวลายาวจนเปื่อย

 

ย้วองเท้วกอน หรือ ย้องแท้วกอน เรียกทั่วไปว่า ย้องแท้วฟู้ 酿豆腐 แต่บางครั้งเรียกย้องแท้วกอนเพราะใช้เต้าหู้แผ่นเป็นเครื่องประกอบ ย้อง คือการใช้อาหารชนิดหนึ่งห่อด้วยอาหารอีกชนิดหรือหลายชนิดเข้าด้วยกันซึ่งในที่นี้ใช้วิธีการยัดไส้แล้วนำไปบ่มหรืออบให้สุกเช่น ย้องแท้วฟู้ อาหารยอดนิยมของฮากกา และอื่นๆตามที่อาคมกอวว่าแล้ว

 

ปิดจูกว๊อก หรือ ปิ่ดจูกียอก 焖猪脚 ปิ่ด เป็นภาษาฮากกาที่ไม่มีภาษาเขียนและทั่วไปจะใช้คำว่า มูน แสดงว่าอาจี่เป็นฮากกาหงิ่นแน่นอน กรรมวิธีการปรุงก็ต่างจากการมูนโดยทั่วไป และเป็นอาหารที่หอมอร่อยกว่าขาหมูพะโล้ที่ขายอยู่ทั่วไปด้วยยยยย

รูปภาพของ กิ่มหมิ่น

เห็นเมนู..คิดถึงเเม่

เห็นเเต่ละเมนูคิดถึงเเม่..โดยเฉพาะ  ''จู่หมี่ฟุ่น'' ''ปิดจูกว๊อก''

เมื่อตอนเด็กๆนานๆจะได้กินซักที

เมื่ออ่านข้อเขียนคุณแกว้นเเล้ว

  ความอบอุ่นกลับคืนมา  ตอเชี้ย ตอเชี้ย

รูปภาพของ แกว้น

อากิ่มหมิ่น 世上只有妈妈好

อากิ่มหมิ่นชอบฟังเพลงเก่าที่ไพเราะกินใจนี้หรือเปล่า?? 世上只有妈妈好 หรือ 妈妈好 หรือ ชื่อใหม่อีกชื่อหนึ่งว่า 妈妈再爱我一次 รวมความหมายความว่าในโลกมีเพียงแม่ที่รักฉัน สมดั่งที่หงี่คิดถึงเธอคนนั้น (ไหง่คงต้องเรียกป้ากไมย)

ใน youtube มีหลายเวอชั่น รวมทั้งของ 凤飞飞 ในชื่อ 妈妈好

"ผละจากอกแม่แล้วมีความสุขที่ใหนปาน"

妈妈好 by 凤飞飞 Feng Fei Fei

世上只有妈妈好
有妈的孩子像个宝
投进了妈妈的怀抱
幸福享不了
世上只有妈妈好
有妈的孩子像个宝
投进了妈妈的怀抱
幸福享不了
没有妈妈最苦恼
没妈的孩子像根草
离开妈妈的怀抱
幸福哪里找
没有妈妈最苦恼
没妈的孩子像根草
离开妈妈的怀抱
幸福哪里找

รูปภาพของ กิ่มหมิ่น

ตอเชี้ย..อาแกว้นกอ

ไหง่จะเก็บเนื้อร้องไว้ ไหง่ชอบเพลงที่หาฟังยาก

หลายๆเพลงก็ยังหาไม่พบ..

รูปภาพของ ยับเหี่ยนจึน

ตอเซี้ย ตอเซี้ย

ขอขอบคุณอาท่ามกอและอาแกว้นอย่างยิ่ง ไหง่ก็เช่นเดียวกับอากิ่มหมิ่นที่เขียนไป ก็คิดถึงอาเมไป คิดถึงความอบอุ่นในวัยเด็ก ตามประสาผู้สูงวัยค่ะ

ขอชื่นชมอาโกทั้งหลาย

รู้สึกว่าในชุมชนฮากกานี้ ส่วนมากมีผู้ชายที่ทำอาหารเก่งหลายคนเลยนะคะ แถมยังรู้วิธีการทำอย่างชัดเจนอีกด้วย ผู้หญิงฮากกาในชุมชนนี้หลายคนต้องชิดซ้ายเลยค่ะ

ต้องขอชื่นชมอาโกทั้งหลายที่ได้แนะนำเมนูอาหารคาวหวาน รวมทั้งวิธีทำอาหารประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น โกแกว้น โกอาคม อาโกคงจงม่านปู้ รวมทั้งอาหยุ่ง

แต่สำหรับบ้านไหง ผู้ชายไม่เคยเข้าครัวค่ะ มีแต่อาเจ๋ของไหง ทำมาตลอดตั้งแต่ไหงจำความได้ สำหรับของหวาน อาไท่เจ๋ของชอบทำมากที่สุด รวมทั้งอาหารที่ใช้ไหว้เจ้าทุกเทศกาล เพราะว่าไท่เจ๋ ได้เรียนรู้มาจาก อาม่าบ้าง อาปาบ้าง ทำเองบ้าง ส่วนไหงเองไม่ต้องเข้าครัวค่ะ (พิเศษเพราะเรียนอย่างเดียว 555)

เหี่ยนจึน

เหี่ยนจึนจี่ครับ

ผมเห็นเกว้นกอ และอาคมกอ(潭哥)อธิบายละเอียดมากและถูกแล้วครับ และ ผมขออธิบายเพิ่มเติมความหมายและลักษณะอาการและผลของคำเหล่านี้ เช่น

คำว่าจู่ 煮ส่วนใหญ่จะใส่น้ำมากกว่าและเสร็จแล้วยังมีน้ำมากกว่า อาการนี้สว่นใหญ่ไม่ต้องปิดฝาในขั้นตอนการทำ ยกเว้นคำว่า จู่ฟ้าน 煮饭 หุงข้าวและจู่ช่อย  煮菜ทำกับข้าว

คำว่ามุน焖  ส่วนใหญ่จะต้องปิดฝาในการทำ และเสร็จแล้วน้ำจะเหรือน้อยหรือ

เกือบแห้ง ส่วน คำอื่นๆจะอธิบายที่หลังนะครับ   ถ้าผิดพลาดประการใดแจ้งมา ยินดีรับฟังครับ

 

รูปภาพของ ยับเหี่ยนจึน

จู่ และ มุน

คุณkongzhongmanbu ไหง่ลืมคำจู่ฟ้าน(หุงข้าวธรรมดา) จำได้แต่มุนฟ้าน อาเมจะผัดกระเทียม กุ้งแห้ง ปลาหมึกแห้ง หมู เผือก และข้าวสาร ให้หอม ปรุงรส แล้วจึงนำไปหุง ฉะนั้น จู่คือต้มน้ำมากไม่ใส่น้ำมัน แต่มุนต้องผัดก่อน และมีน้ำขลุกขลิกหรือเกือบแห้ง เช่นจู่หมี่ฝุ่นกับมุนหมี่ฝุ่นที่ต่างกัน ไหง่เข้าใจถูกไหมคะ รบกวนหงี่ช่วยค้นคำว่า ปิด ใช้เฉพาะขาหมูหรืออย่างอื่นได้อีก และเท้วฟู้กับเท้วกอนเหมือนกันหรือไม่ ขอบคุณมากค่ะ 
รูปภาพของ อาฉี

แถ่วฝู่ vs แถ่วกอน

แถ่วฝู่ -- เต้าหู้อ่อน

แถ่วกอน -- เต้าหู้ก้อน

สมัยเป็นเด็กๆ จำได้ว่าอาปาใช้โม่หิน โม่ถั่วเหลือง แล้วเอามาต้ม ใส่ดีเกลือเล็กน้อย แล้ว เทใส่ผ้ารอง ในคอกไม้ ห่อปิดทับด้วยโม่หิน กับหินลับมีด

ก็เคยสงสัยเจ้าดีเกลือที่ว่า  คนโบราณเขาผลิดมาจากอะไร  อาปาบอกว่าสมัยอยู่ถ่องซัน มีโกดังเก็บเกลือที่ซ้อนทับกันนานๆ จะมีน้ำใสๆไหลออกมา ผู้ใหญ่เขาดูเป็นว่าน้ำแบบไหนใช้ได้ รองเก็บไว้เอาไปคั่วแห้ง เก็บใส่ขวดไว้ใช้ได้นาน

ตอนนั้นคิดว่ามันคงเค็มสุดยอด เพราะกลั่นมาจากเกลือจำนวนมาก เลยแอบชิมดู ปรากฏว่า ไม่ค่อยเค็ม รสมันเจือๆ พอดีอาปาหันมาเห็นเข้าก็บอกว่าอย่ากินเยอะ เดี๋ยวก็ท้องเสียหรอก 5555


นำมาจาก th.wikipedia.org/

ประวัติ

เต้าหู้ก้อนแรกเกิดขึ้นในประเทศจีน เล่าขานกันว่า เจ้าชายหลิวอัน (พระนัดดาของจักรพรรดิหลิวปัง กษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์ฮั่น) สั่งให้พ่อครัวบดถั่วเหลืองให้เป็นผงแล้วนำไปต้มเป็นน้ำซุปด้วยเกรงว่ารสจะจืดเกินไป จึงโปรดให้พ่อครัวเติมเกลือลงไปปรุงรส เพื่อถวายพระมารดาซึ่งประชวรหนักจนไม่มีแรงที่จะเคี้ยวอาหารได้

น้ำซุปถั่วเหลืองนั้นค่อยๆ จับตัวข้นเป็นก้อนสีขาวนุ่มๆ เมื่อพระมารดาเสวยแล้วถึงกับรับสั่งว่า “อร่อย” เจ้าชายจึงให้เหล่าพ่อครัวค้นหาสาเหตุ จึงพบว่าเกลือบางชนิดมีผลทำให้ผงถั่วเหลืองผสมน้ำเกิดการเกาะตัวขึ้นเป็นเต้าหู้

ชาวญี่ปุ่นรู้จักการปลูกถั่วเหลืองมานานแล้ว เต้าหู้เดินทางเข้ามาในญี่ปุ่นในสมัยนารา มีการบันทึกว่า เคนโตะ พระญี่ปุ่นนำเต้าหู้มาเผยแพร่หลังจากกลับมาจากการศึกษาพุทธศาสนาที่ประเทศจีน แต่ยังเป็นอาหารที่รับประทานกันในหมู่พระญี่ปุ่น ร้อยปีถัดมา เต้าหู้จึงได้มาเป็นส่วนหนึ่งในเมนูของชนชั้นขุนนางและซามูไร ส่วนประชาชนได้ลิ้มรสในสมัยเอโดะ

แต่พวกเขาเพิ่งรู้จักวิธีดัดแปลงถั่วเหลืองนำไปปรุงเป็นเต้าหู้เมื่อพุทธศตวรรษที่ 7 โดยทางพุทธศาสนา แต่ศาสนาพุทธในสังคมญี่ปุ่นสมัยนั้นเป็นศาสนาของชนชั้นกลางและชนชั้นสูงบทบาทเต้าหู้ในอาหารญี่ปุ่นจึงจำกัดไว้กับคนเฉพาะกลุ่มซึ่งแตกต่างจากจีนที่ไม่มีการแบ่งชนชั้น

วิธีการเตรียมอาหารจีนและญี่ปุ่นต่างกัน คือ คนจีนพยายามดัดแปลงเต้าหู้ในรูปแบบต่างๆ มากมาย เช่น อาจเปลี่ยนรูปทรงหรือรสชาติไป ในขณะที่คนญี่ปุ่นกลับพยายามรักษาความเรียบง่ายรวมทั้งรสชาติ รูปทรงและสีสันของเต้าหู้ให้คงไว้อย่างเดิมให้มากที่สุด พร้อมกับเสิร์ฟในจานหรือถ้วยที่สวยงามจนถือว่าเป็นศิลปะขั้นสูงแขนงหนึ่ง

ประโยชน์

เต้าหู้ เป็นผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองซึ่งให้คุณค่าทางโภชนาการสูงโดยเฉพาะโปรตีน ซึ่งให้โปรตีนมากกว่าเนื้อสัตว์บางชนิดถึง 2 เท่าในปริมาณที่เท่ากันและมีราคาถูกอีกด้วย

ถั่วเหลืองซึ่งนำมาผลิตเป็นเต้าหู้ยังมีเลซิติน ซึ่งมีผลในการลดไขมันและช่วยสงเสริมการทำงานของระบบประสาทที่เกี่ยวกับความทรงจำ รวมทั้งฮอร์โมนจากพืชที่เรียกว่า ไฟโตเอสโทรเจน ที่มีการวิจัยพบว่ามีผลในการป้องกันมะเร็งและมีผลดีต่อผู้หญิงวัยทองคือช่วยชะลอภาวะหมดประจำเดือนและลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม

จึงสรุปได้ว่า เต้าหู้เหมาะกับทุกคนในครอบครัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ใหญ่วัย 40 ปีขึ้นไปเพราะเต้าหู้จะช่วยให้ระบบการย่อยทำงานได้ดีขึ้น

วิธีการทำ

การทำเต้าหู้เป็นกระบวนการผลิตที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนมาก ดั้งนั้นจึงมีผู้ที่ดูแลการผลิตเรียกว่า “เถ่าชิ่ว” หรือพ่อครัวเป็นผู้ที่มีความชำนาญและสมาธิอย่างสูง เริ่มด้วยการตวงถั่วเหลืองแล้วแช่ถั่วในน้ำพร้อมทั้งล้างน้ำจนกระทั่งสะอาด จากนั้นจึงนำไปบดด้วยเครื่องโม่เสร็จแล้วจึงกรองกากถั่วเหลืองออกจนได้น้ำเต้าหู้ดิบแล้วนำไปต้ม (ขั้นตอนตรงนี้จะเป็นน้ำเต้าหู้สุกพร้อมดื่ม) นำน้ำเต้าหู้ที่ได้ผ่านการต้มแล้วแยกจะนำไปผ่านขั้นตอนการทำเป็นเต้าหู้ชนิดต่างๆ ต่อไปซึ่งการทำเต้าหู้แต่ละชนิดวิธีการก็จะแตกต่างกันออกไป

ชนิด เต้าหู้ชนิดอ่อน (แถ่วฝู่)

  • เต้าหู้ชนิดเหลืองนิ่ม วิธีการทำต่างจากเต้าหู้ขาวแข็งเพราะใช้แคลเซียมซัลเฟต (ผงยิปซัม หรือที่เรียกในภาษาจีนแต้จิ๋วว่า"เจียะกอ") ในการทำให้โปรตีนในน้ำนมถั่วเหลืองตกตะกอน ซึ่งเนื้อจะเนียนและไม่แข็งเท่าเต้าหู้ขาวแข็ง เมื่อตกตะกอนแล้วนำมาใส่ผ้าขาวบางห่อในบล็อกให้เป็นก้อนแล้วนำไปต้ม ใส่ขมิ้นให้ได้สีเหลือง คุณสมบัติเด่นของเต้าหู้เหลืองนิ่มคือ เมื่อนำไปทอดแล้วจะทำให้ได้เต้าหู้ที่กรอบนอกนุ่มใน เต้าหู้ชนิดนี้เหมาะที่จะนำไปผัดกับกุยช่ายขาว ทอดจิ้มน้ำจิ้มเปรี้ยวหวาน ทอดกินกับน้ำพริกกะปิหรือทอดจิ้มกับน้ำจิ้มซีฟู้ดก็ได้
  •  เต้าหู้ชนิดขาวอ่อน ลักษณะอ่อนนุ่มกว่าเต้าหู้เหลืองนิ่ม กรรมวิธีการผลิตเหมือนกับเต้าหู้เหลืองนิ่มจะต่างกันเพียงเวลาในการทำน้อยกว่า เต้าหู้ชนิดนี้นิยมนำไปทำเป็นแกงจืด เต้าหู้นึ่งหรือสเต๊กเต้าหู้
  • เต้าหู้ชนิดห่อผ้า วิธีการทำเหมือนกับเต้าหู้ชนิดขาวอ่อน ต่างกันเพียงการบรรจุหีบห่อที่นำมาห่อผ้าแล้วมัดทำให้แข็งและคงรูปร่างได้ดีมากขึ้นเมื่อนำไปทำอาหาร ส่วนใหญ่จะนำไปทำเต้าหู้ทรงเครื่องหรือแกงจืด

 

เต้าหู้ชนิดแข็ง (แถ่วกอน)

  • เต้าหู้ชนิดขาวแข็ง ทำจากน้ำเต้าหู้ผสมกับดีเกลือ (แมกนีเซียมซัลเฟต) ที่ช่วยทำให้เกิดการตกตะกอนเมื่อตกตะกอนแล้วจึงนำไปใส่ในผ้าขาวที่ปูอยู่ในบล็อก พอสะเด็ดน้ำแล้วจึงห่อให้เป็นก้อนแล้วทำให้สะเด็ดน้ำอีกครั้งก็จะได้เป็นเต้าหู้ขาวแข็ง
  •  เต้าหู้ชนิดเหลืองแข็ง วิธีการทำนำเต้าหู้ขาวแข็งไปหมักในเกลือแล้วจึงนำไปต้ม พร้อมทั้งใส่ขมิ้นให้เป็นสีเหลืองเคลือบบริเวณผิวของเต้าหู้ทำให้เนื้อเต้าหู้ชนิดนี้แข็งและมีความยืดหยุ่นกว่าชนิดขาวแข็ง ส่วนใหญ่นำไปทำผัดไทย หมี่กะทิ ผัดถั่วงอก ผัดขลุกขลิกน้ำพริกเผาหรือนำไปผสมเป็นเครื่องก๋วยเตี๋ยวหลอด
  • เต้าหู้ชนิดทอด มีส่วนประกอบคล้ายกับเต้าหู้ขาวแข็งแต่มีสัดส่วนและเทคนิคที่แตกต่างกัน เนื้อสัมผัสที่ได้จากเต้าหู้ชนิดนี้มีความอ่อนนุ่มกว่าเต้าหู้ขาวแข็ง เมื่อนำไปทอดแล้วจะพองตัวมากกว่าและภายในจะมีเนื้อเต้าหู้อยู่ไม่พองหรือกลวง โดยมากจะใส่ในอาหารประเภทต้ม (พะโล้ ต้มผัดจับฉ่าย แกงต่างๆ และลูกชิ้นแคะ)
  • เต้าหู้ชนิดซีอิ๊วดำ วิธีทำนำเต้าหู้ชนิดเหลืองแข็งไปเคี่ยวกับซีอิ๊วดำและเครื่องเทศสมุนไพรต่างๆ เพื่อให้เกิดกลิ่นหอมและรสชาติที่แตกต่างโดยใส่น้ำตาลทรายแดงทำให้มีรสชาติที่กลมกล่อมสามารถเก็บไว้ได้นานกว่าเต้าหู้ชนิดอื่นๆ เพราะมีความชื้นน้อย ถ้าเก็บใส่ช่องฟรีซจะเก็บไว้ได้นานหลายเดือน นิยมนำไปยำกับเกี้ยมไฉ่ ผัดกับดอกกุยช่าย ใส่ในอาหารเจแทนเนื้อหมูในพะโล้เจหรือทานเป็นอาหารว่างก็ได้

 

เต้าหู้หลอด

เป็นเต้าหู้เนื้อนิ่มมีสองชนิดคือ ชนิดที่ทำมาจากถั่วเหลืองล้วนและชนิดที่ทำจากไข่ไก่ (เรียกว่าเต้าหู้ไข่ซึ่งไม่มีส่วนผสมของถั่วเหลืองแต่อย่างใด) นิยมนำมาใส่ในแกงจืด สุกียากี้ ทำเต้าหู้อบ เต้าหู้ตุ๋นหรือนำมาคลุกกับแป้งข้าวโพดแล้วทอดเป็นเต้าหู้หั่นเป็นชิ้นแล้วทอด ร้อยเชือกขายเป็นพวงใช้ใส่ในก๋วยเตี๋ยวเย็นตาโฟและพะโล้

 

เต้าหู้โมเมน

เป็นการผลิตแบบญี่ปุ่น เต้าหู้ชนิดนี้เนื้อค่อนข้างแข็งแน่น นำไปปรุงเป็นอาหารได้เหมือนเต้าหู้ขาวแข็ง

 

เต้าหู้คินุ

เป็นการผลิตแบบญี่ปุ่นเช่นกัน เนื้อเหมือนเต้าหู้ขาวอ่อนสามารถนำไปประกอบอาหารได้เช่นเดียวกับเต้าหู้ขาวอ่อน

 

วิธีเลือกซื้อเต้าหู้

ทดสอบว่าเต้าหู้ยี่ห้อนั้นใส่สารกันบูดหรือไม่

โดยการนำมาวางไว้ที่อุณหภูมิห้องหนึ่งวันถ้าเสียแสดงว่าไม่ใส่สารกันบูด ต้องไม่มีเหงื่อหรือน้ำขุ่นขาวซึมออกมาจากเต้าหู้ เมื่อดมดูแล้วต้องไม่มีกลิ่นเหม็นหรือกลิ่นเปรี้ยว สีใกล้เคียงกันทั้งก้อนไม่คล้ำและไม่มีจุดด่างดำ

การบรรจุหีบห่อแบบสุญญากาศจะช่วยให้เก็บเต้าหู้ได้นานขึ้น แต่ถ้าจะกินให้อร่อยเมื่อซี้อไปแล้วควรนำไปประกอบอาหารให้เร็วที่สุด สำหรับเต้าหู้ซีอิ๊วดำและเต้าหู้ทอดเท่านั้นที่ควรเก็บไว้ในช่องฟรีซ ส่วนเต้าหู้ชนิดอื่นๆ ให้เก็บในช่องเย็นธรรมดาหรือช่องใต้ช่องฟรีซจะทำให้เก็บไว้ได้นานขึ้น


นำมาจาก http://workdeena.blogspot.com/2009/04/blog-post_23.html

เรามาดูวิธีทำ เต้าหู้ กันเลย

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

  1. พายไม้
  2. ผ้าขาวบาง
  3. ของหนักๆ สำหรับทับผาแบบ

ส่วนผสม

  1. ถั่วเหลืองดิบ 1 1/2 กิโล
  2. ดีเกลือ 3 ช้อนชา
  3. น้ำ 32 ถ้วยตวง
  4. เกลือแกง 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

  • เก็บสิ่งสกปรกออกจากถั่วให้หมด นำถั่วไปแช่น้ำสัก 5 ชั่วโมง ล้างขยำเอาเปลือกออก
  • พอสะอาดดีแล้วดวงน้ำใส่ 30 ถ้วยตวง ลงไปปั่น
  • ใส่น้ำประมาณเท่าๆ กันเวลาใส่เครื่องปั่นพอเสร็จกรองด้วยผ้าขาวบาง
  • น้ำที่เหลือ 2 ถ้วย สำหรับล้างเครื่องปั่นครั้งสุดท้ายที่มีถั่วติดเครื่องอยู่
  • พอเสร็จนำไปตั้งไฟกลาง เชื้อคือดีเกลือ และเกลือแกงละลายน้ำสัก 2 ถ้วยตวงเตรียมไว้
  • พอน้ำเดือดยกลงหาพายไม้ยาวๆ 1 อันคนเชื้อให้เข้ากันแล้วค่อย ๆ เทลงใน้ำเต้าหู้ ใช้พายพุ้ยน้ำเต้าหู้ขึ้นมาข้างบนเชื้อ แล้วค่อยๆ เทไป
  • พุ้ยน้ำไปจนหมดเชื้อ น้ำเต้าหู้จะเริ่มแยกตัวกันเป็นเนื้อเต้าหู้และน้ำเปล่า
  • แล้วก็ยกไปเทลงแบบที่มีผ้าขาวบางรองข้างล่างมาถึงด้านบนด้วย
  • พอหมดก็ตลบชายผ้าข้าวบางปิดด้านบนทั้ 4 ด้าน แล้วเอาฝาปิดหาของหนักๆ ทับ เพื่อเทน้ำที่ค้างในเต้าหู้ออก
  • พอเย็นก็ตัดเป็นชิ้นๆ เพื่อนำไปจำหน่าย หรือรับทานก็ได้

-แค่นี้ก็เสร็จแล้ว และเพื่อนๆ รู้ไหมว่าเต้าหู้มีประโยชน์อย่างไร

ประโยชน์ของเต้าหู้

  • เต้าหู้ เป็นผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองซึ่งให้คุณค่าทางโภชนาการสูงโดยเฉพาะโปรตีน ซึ่งให้โปรตีนมากกว่าเนื้อสัตว์บางชนิดถึง 2 เท่าในปริมาณที่เท่ากันและมีราคาถูกอีกด้วย
  • ถั่วเหลืองซึ่งนำมาผลิตเป็นเต้าหู้ยังมีเลซิติน ซึ่งมีผลในการลดไขมันและช่วยสงเสริมการทำงานของระบบประสาทที่เกี่ยวกับความ ทรงจำ รวมทั้งฮอร์โมนจากพืชที่เรียกว่า ไฟโตเอสโทรเจน ที่มีการวิจัยพบว่ามีผลในการป้องกันมะเร็งและมีผลดีต่อผู้หญิงวัยทองคือช่วย ชะลอภาวะหมดประจำเดือนและลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม

จึงสรุปได้ว่า เต้าหู้เหมาะกับทุกคนในครอบครัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ใหญ่วัย 40 ปีขึ้นไปเพราะเต้าหู้จะช่วยให้ระบบการย่อยทำงานได้ดีขึ้น

-แต่ถ้าเพื่อนๆ อยากทำ "เต้าหู้อ่อน" ขาย workdeena ก็แนะนำให้ทำตามนี้เลย

* เต้าหู้ชนิดเหลืองนิ่ม วิธีการทำต่างจากเต้าหู้ขาวแข็งเพราะใช้แคลเซียมซัลเฟต (ผงยิปซัม หรือที่เรียกในภาษาจีนแต้จิ๋วว่า"เจียะกอ") ในการทำให้โปรตีนในน้ำนมถั่วเหลืองตกตะกอน ซึ่งเนื้อจะเนียนและไม่แข็งเท่าเต้าหู้ขาวแข็ง เมื่อตกตะกอนแล้วนำมาใส่ผ้าขาวบางห่อในบล็อกให้เป็นก้อนแล้วนำไปต้ม ใส่ขมิ้นให้ได้สีเหลือง

 

**คุณสมบัติเด่นของเต้าหู้เหลืองนิ่มคือ เมื่อนำไปทอดแล้วจะทำให้ได้เต้าหู้ที่กรอบนอกนุ่มใน เต้าหู้ชนิดนี้เหมาะที่จะนำไปผัดกับกุยช่ายขาว ทอดจิ้มน้ำจิ้มเปรี้ยวหวาน ทอดกินกับน้ำพริกกะปิหรือทอดจิ้มกับน้ำจิ้มซีฟู้ดก็ได้

* เต้าหู้ชนิดขาวอ่อน ลักษณะอ่อนนุ่มกว่าเต้าหู้เหลืองนิ่ ม กรรมวิธีการผลิตเหมือนกับเต้าหู้เหลืองนิ่มจะต่างกันเพียงเวลาในการทำน้อย กว่า เต้าหู้ชนิดนี้นิยมนำไปทำเป็นแกงจืด เต้าหู้นึ่งหรือสเต๊กเต้าหู้


และนี่ เห็นภาพชัดดี นำมาจาก http://topicstock.pantip.com/food/topicstock/2009/01/D7386284/D7386284.html

เริ่มกันที่ถั่วเหลือง แช่น้ำจนพองเต็มที่ ประมาณ4-5ชม. ล้างให้สะอาดสัก3-4น้ำครับ แล้วก็เอาไปปั่น หรือโม่ วิธีเดียวกันกับทำน้ำเต้าหู้


คั้น กรองเอากากออก จะได้น้ำเต้าหู้ขาวๆแบบนี้ครับ ถ้าทำเป็นเต้าหู้ก้อนก็ให้เข้มข้นกว่าปกติสักหน่อยจะได้เนื้อเต้าหู้เยอะๆครับ ^ ^

น้ำน้ำเต้าหู้ที่ได้มาตั้งไฟครับ

เตรียมตะกร้าเอาไว้ ผมใช้แบบนี้ หรือจะเป็นทรงอื่นๆก็ย่อมได้ครับ ^ ^

ใช้ผ้าขาวบาง หรือผ้าฝ้าย ซักให้สะอาด แล้วชุบน้ำเปียกๆ คลุมตะกร้าไว้ครับ
(ใช้ผ้าที่ดาห่างสักหน่อย ถ้าถี่มากๆ อาจทับน้ำออกยากครับ)

หม้อสะอาดอีกใบ ใช้ขนาดเดียวกับที่ใช้ต้มน้ำเต้าหู้ เทน้ำสมสายชูเตรียมไว้ก่อนครับ ปริมาณกะเอา ยังไม่ต้องมาก ถ้าไม่พอเติมทีหลังได้ครับ

ใส่เกลือลงในน้ำเต้าหู้ที่ต้ม สัก1 ช้อน เมื่อเดือดแล้วปิดไฟครับ
ตักน้ำเต้าหู้ที่เดือดแล้ว มาเทใส่หม้ออีกใบที่เตรียมน้ำส้มสายชูไว้ น้ำเต้าหู้จะแยกตัวลักษณะนี้ครับ

เทน้ำเต้าหู้ลงหม้ออีกใบจนหมด ใช้ทัพพีคนๆแล้วสังเกตุการแยกตัวของน้ำเต้าหู้ ถ้ายังเป็นน้ำข้นขาวอยู่ก็เติมน้ำส้มทีละน้อยได้
เมือ่ได้ที่แล้ว เนื้อกับน้ำจะแยกตัวกันแบบนี้ครับ (น้ำจะใส)

ตักทั้งน้ำและเนื้อ ลงในผ้าขาวที่คลุมตะกร้าไว้ แล้วห่อผ้าปิดเนื้อเต้าหู้ แล้วหาของหนักทับน้ำออก
ลักษณะนี้ครับ ผมใช้ครก ^ ^

เมื่อน้ำออกหมดแล้ว เนื้อเต้าหู้ก็จะจับเป็นก้อน อยู่ในผ้าที่เราห่อไว้ เมื่อคลายความร้อนก็เปิดผ้าออกได้ครับ

ตัดเป็นชิ้นๆขนาดตามชอบเลยครับ

ได้เป็นชิ้นๆเอาไว้ทอด หรือทำกับข้าว เต้าหู้เนื้อหนามากเลย น่ากินมั้ยครับ

แล้วเย็นนี้ก็ได้กินเต้าหู้ทำเอง
จานนี้เต้าหู้ชุบแป้งทอดครับ

จานนี้เต้าหู้ ผัดใส่ผักโขม กับ ขึ้นช่าย กินกับข้าวสวยอร่อยจัง เมนูเย็นนี้ครับ
ขอบพระคุณที่แวะมาชม มาชิมครับ ^ ^

รูปภาพของ ยับเหี่ยนจึน

ขอบคุณมาก

ขอบคุณอาฉีมาก ที่อธิบายและมีภาพประกอบชัดเจน ได้ความรู้ความเข้าใจ ทั้งวิธีทำ และเกร็ดประวัติศาสตร์  น่าทดลองทำ จะได้เต้าหู้สดๆ ทาน คงอร่อยกว่าซื้อนะคะ
รูปภาพของ แกว้น

ทำแท้วฟู้กินได้เลยยย

ทำแท้วฟู้กินเองได้เลยยย
รูปภาพของ Mr.Xiong

ความเหมือนที่แตกต่าง

ไหง่มีข้อสังเกตให้อย่างนึงคือส่วนใหญ่ที่บ้าน และ ความเคยชินคำว่าจู่จะใช้ในการหุงข้าว หรือ จู่หมี่ฟุ่น ที่ใช้กะทะปรุงเป็นส่วนใหญ่  จู่อะไรก็แล้วแต่ตะหลิวจะต้องใช้คว่ำเป็นหลัก(ถ้าหงายมากจะเรียกช่าว หรือ ผัด) ก็คือไม่จำเป็นแล้วจะไม่รบกวนอาหารที่ปรุงจนเสร็จ ยกเว้นใช้ตะหลิวตักแทน เช่นจู่หมี่ฟุ่นไหง่ใช้กะทะทอดไข่ใส่กระเทียมปรุงด้วยน้ำมันหอย เติมน้ำรอจนเดือด ใส่หมี่ฟุ่นที่แช่น้ำแล้ว รอให้น้ำซุปในกะทะเดือด ก็พร้อมเสิรฟนานๆกินทีก็อร่อยดีครับ

ไม่ทราบว่ายังมีท่านอื่นเรียกแตกต่างจากนี้รึป่าว? ทุกวันนี้ถ้าจะหุงข้าวไหง่จะเรียกว่าปอฟ้าน(สำหรับหม้อ) แต่ถ้าหุงกับกะทะแบบสมัยก่อนจะเรียกจู่ฟ้าน   ส่วนการมุนถ้าใส่หม้อ ไหง่นะ มุนยังไงก็ต้องแย้มฝาหม้อออกนิดนึงเนื้อจะได้นิ่ม น้ำจะเหนียวข้นเร็วครับ อาจจะไม่เหมือนใครเอามาแบ่งปันให้อ่านกันครับ

ปล. ปิ่ดจู้กี-ยอก(สะกดยาก) แน่ะนำให้เป็นเมนูปิ่ดซอนจู้กี-ยอก จะถึงรสถูกปากชาวฮากกามากๆครับ  ของโปรดไหง่เลยล้า (ฮา)

熊永发

ผู๋ผ่อน "หุงข้าว"

สำหรับบ้านไหง เป็นสำเนียงเกียดหยอง จึงค่อนข้างแตกต่าง นอกจากจะพูดว่า ซิดผ่อน "กินข้าว" แล้วยังเรียกว่า ผู๋ผ่อน "หุงข้าว" ผู้จุก "หุงข้าวต้ม" และ ผู๋สุ้ย "ต้มน้ำ"

ส่วนวิธีการทำอาหาร ไหงก็ไม่ค่อยรู้เรื่อง ไว้จะถามจากอาแม แล้วมาแลกเปลี่ยนกันนะคะ 

รูปภาพของ แกว้น

“ผู๋ผ่อน” น่าจะ “孵饭 พู้ฟ้อน”

“ผู๋ผ่อน” น่าจะตรงกับ “孵饭 พู้ฟ้อน” ซึ่งแปลว่าข้าวกกหรือข้าวอบ ไหง่เคยเห็นคำนี้และนึกย้อนอดีตเคยได้ยินเหมือนกันแต่ไม่รู้ว่าหุงกันอย่างไร ??? พวกเราหลายคนคงอยากรู้นะนนน เกียดหย่อง อาจารย์มีญาติอยู่สิงคฯเยอะหละซิซซ

การหุงข้าวสมัยก่อน

ไหงไม่มีญาติอยู่สิงคโปร์หรอกค่ะโกแกว้น ญาติทางอาเมอยู่ถ่องซันหมด ส่วนญาติทางอาปา อยู่ที่เกียดหยอง และอยู่ที่อเมริกาซึ่งเป็นลูกของไท่กู๊

ส่วนคำว่า "ผู๋ผ่อน" ตามความเข้าใจของไหงนะ การหุงข้าวสมัยก่อน ก็เป็นการหุงแบบเช็ดน้ำนั่นแหละ ที่ต้มข้าว พอเดือดก็เทน้ำข้าวออก แล้วก็ดงข้าวให้แห้ง ซึ่งภาษาฮากกาเรียกว่าอะไรก็ไม่รู้ ใครรู้ช่วยบอกทีนะคะ

น้ำข้าว เรียกว่า ยิ่ม เมื่อก่อนไหงก็ชอบมาก ยิ่งข้นยิ่งอร่อย แต่สมัยนี้ หุงด้วยหม้อไฟฟ้า (ไม่เช็ดน้ำ) ก็เลยอด "ซิดยิ่ม" แต่ก็ยังเรียก "ผู๋ผ่อน" ค่ะ

รูปภาพของ แกว้น

ขออภัย

ขออภัย อ.“ผู๋ผ่อน”คือ "烳饭" ของเกียดหยองฮากกาตามที่จ๊องหยิ่นฮยุ๋ง ชี้แจงงงง

 

ตอวเซี้ย อ.จริงด้วยก่อนมีหม้อหุงข้าวไฟฟ้า ตอนเช้าไหง่ชอบกินน้ำซาวข้าวใส่น้ำตาลนิดหน่อยเหมือนกันน้ำซาวข้าวร่างกายดูดซึมไปใช้ได้ทันทีวัฒนธรรมฮากกาไม่ว่าสำเนียงท้องถิ่นใดว่าไปแล้วก็เหมือนๆกันแทบทุกบ้านเรือนเป็นส่วนใหญ่โดยเฉพาะอาหารการกินพื้นบ้านประจำวัน และวาระหรือเทศกาลสำคัญที่บ้านอาหยุ่งก็เป็นวิถีชีวิตของคนฮากกาทั่วไปนั่นแหละ

อาหยุ่ง ใจตรงกันจริง ไหง่ได้เตรียมเรื่อง “หย่ำกุกไก”ซึ่งเป็นอาหารฮากกาเอาไว้แล้วเนื่องจากยังมีคำถามอยู่เรื่อยๆจึงชลอไว้ก่อนแต่ยิ่งจะเป็นการดีที่ได้มุมมองมากขึ้นนน

อาจี่... น่าอิจฉาจังงงราชบุรีเป็นแหล่งปลูกผักของประเทศเรา ได้กินผักสดๆกว่าคนกรุงเทพฯ สะใจ สะใจจจจจ

อ.เฉินซิ่วเชง แฮ่...เกียดหยองขักหงินเหมือน อ.ศิริเพ็ญเรอะไหง่เรียก “หย่ำกุกไก”

 

รูปภาพของ จ๊องหยิ่นฮยุ๋ง

ผู ผ่อน 烳飯

烳 Phû.  To boil; to cook; to steam. (จาก Hakka Dictionary 00000711.pdf, page 700)
รูปภาพของ แกว้น

“烳饭 ผู๋ผ่อน” ของเกียดหยองขักหงิน

ขออภัยและตอวเซี้ยจ๊องหยิ่นฮยุ๋ง ไหง่ดูผูทงฮวาเห็นมีคำว่า “孵饭 ฟูฟ่าน หรือ พู้ฟ้อน” ซึ่งแปลว่าข้าวอบ เข้าใจว่าอันเดียวกับ “ผู๋ผ่อน” ของอ.ศิริเพ็ญ ซึ่งที่จริงก็คือ 烳 Phû. To boil; to cook; to steam. ของฮากกา ตอวเซี้ยยยย

 

ซับเก๊

คำว่า "ผู๋" แปลว่าต้ม ซึ่งใช้กับคำว่าต้มอาหารหลายๆอย่าง แต่ถ้าเป็นต้มไก่ หรือต้มไข่ ใช้คำว่า "ซับ" เป็น "ซับเก๊" "ซับล่อน" เพื่อใช้ไหว้เจ้านั่นเอง ใครมีความรู้ ช่วยขยายความหมายหน่อยค่ะ

ในภาษาต่างๆ จะมีกลุ่มคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน แต่ใช้คนละอย่างกัน เช่นในภาษาไทย คำกริยาที่ใช้มีดในการ ผ่าสิ่งของ เนื้อ ต้นไม้ จะมีคำละเอียดมาก ตัวอย่าง เฉือน สับ แล่ ซอย หั่น ผ่า ฝาน ฯลฯ เป็นต้น ทั้งนี้เพราะคนไทย มีความละเอียดอ่อนในการปรุงหรือตกแต่งอาหาร เพราะให้ความสำคัญกับการสร้างคำศัพท์ขึ้นมาใช้ แต่ก็ไม่ใช่เพียงคนไทยเท่านั้นนะคะ คนที่พูดภาษาอื่นๆก็เช่นกัน ขึ้นอยู่กับว่ากลุ่มนั้นให้ความสำคัญกับเรื่องอะไร ก็จะมีคำศัพท์ย่อยๆมาก

นี่แหละ นักภาษาศาสตร์ถึงได้ตระหนักถึงความสำคัญของภาษา เพราะถ้าภาษาหาย หมายถึงวัฒนธรรมก็หายด้วย ถ้าเป็นภาษาฮากกา คนรุ่นหลังที่ไม่รู้ความหมายของคำที่ใช้ในการปรุงอาหาร ก็จะไม่รู้ว่าปรุงอย่างไร

อยากให้ผู้รู้ทั้งหลาย ช่วยกันแสดงความคิดเห็น แม้เพียงเล็กน้อย นานวันเข้าก็มากเองค่ะ จะได้รื้อฟื้นภาษาและวัฒนธรรมฮากกานะคะ 

รูปภาพของ แกว้น

“ผู่ฟ้อน 烳饭” "ซับไก"

โทรศัพท์คุยกับอาปาแล้วครับบบ “ผู๋ผ่อน” ของอ.ก็คือ “ผู่ฟ้อน 烳饭” ของไท้ปูซึ่งก็คือ “ปอวฟ้อน 饱饭” หรือการหุงข้าวด้วยวิธีการเช็ดน้ำปกติแบบดั้งเดิมนั่นแหละละละ
ส่วนซับไก (ซับ ออกเสียงต่ำ) ก็คือการต้มไก่ สังเกตุได้จากร้านข้าวมันไก่ทั่วไป เราจะหาไก่ต้มเด่นๆได้ยากมากแต่การต้มไก่ของฮากกามีเทคนิค ไก่ต้มที่ได้หนังสวยและกรอบไม่ใช่เปื่อยและฉีกขาด เนื้อไม่เหนียวและเปื่อยเกินไป อาจเป็นด้วยเหตุนี้กระมังจึงเรียกว่าซับไกที่แตกต่างจากการต้มไกทั่วไป ซับเป็นภาษาพูดฮากกาที่ไม่มีภาษาเขียน ไหง่มีโอกาสไปเรียนซับไกจากอาปาแล้วจะมาชวนให้อ.เข้า Workshop ด้วยยยยย
รูปภาพของ อิชยา

ครอบครัวข

ครอบครัวของไหง่ "ผู๋ผ่อน"  คือหุงข้าว

 

หยิดเหยี่ยง

ของไหง หั่มหว่า ผู๋ผ่อน 

รูปภาพของ กิ่มหมิ่น

เปาฟั้น

ฮากกาเขตทางภาคใต้ ส่วนมากใชัคำว่า เปาฟั้น หรือปอฟั้นครับ

รูปภาพของ เฉินซิ่วเชง

ผู๋ผ่อน..ผู๋สุ้ย..

แฮ่...เกียดหยองขักหงินก้อง..ผู่ผ่อน ผู๋สุย หยามแก เช่าผ่อน  ซิดผ่อน  ไหงซิด
รูปภาพของ อาคม

หยามแก หรือ หยามไก

หยามแก ถ้าเป็นฟุ้ยจิวหงินว่า หยามไก ก็น่าจะเป็นไก่อบเกลือธรรมดา เป็นไก่นึ่งทาเกลือมากกว่า แต่ที่คนกวางตุ้งเรียกว่า หยิ่มกุ๊กไก้ ก็อันเดียวกันกับของอายับจี่ที่ต้องห่อด้วยเม็ดเกลือและก็อบในกระทะ แต่ตอนนี้มีเตาอบกันแล้วก็ใช้เตาอบแทนก็เหมือนกันครับไม่ต้องไปทิ้งกระทะบ่อยๆครับ

ก็แบบเดียวกับปลาช่อนเผาเกลือนั่นแหละครับ

แต่ถ้าเป็นยามแก หรือ  ยามไก ก็คือไก่ตอนครับ

หรือใครไปทำหมันมา ไหงก็เรียกว่า จุ้งยามเอ่ ถูกตอนแล้ว...

วันก่อนไหงสั่งไก่ตอนเขามาตกตัวละแปดร้อยกว่าบาทแน่ แพงอาการเลย

 

รูปภาพของ วี่ฟัด

หยามกุกเก , หยามกุกไก

บอกตามตรงว่าที่คุยกันนะเคยซิดทั้งนั้นแต่ไม่รู้ว่าเขาเรียกว่าอะไรกัน จึงงงเต๊กไม่ค่อยรู้เรื่องกับเขาเลย จึงไม่กล้าเข้ามาคุยกลัวจะปล่อยไก่ ( ชอบแต่จับไม่ชอบปล่อย ) แต่พอมาเห็นเรื่องหยำกุกเก , หยำกุกไก ที่นี้แหละว๊าปล่อยเป็นปล่อยซิว๊ะ

เท่าที่ไหง่รู้น๊ะว่าสองอำเภอที่อยู่ติดๆกันคือหมอยแย้น และ ฮิลแหน่น ซึ่งเป็นสองอำเภอที่ไหง่มีความผูกพันธ์ คือ อากุงไหง่คือคนหม่อยแย้น ส่วนอาผ่อคือคนฮิลแหน่น แม้ทั้งสองอำเภอนี้จะใกล้ๆกันมาก ห่างกันแค่ไม่เกิน 30 กิโล แต่คำว่าไก่ นั้น หมอยแย้นจะเรียกว่า " เก " ฮิลแหน่นจะเรียกว่า " ไก " ดังนั้นหมอยแย้นจึงเรียกว่า " หยำกุกเก " ส่วนฮิลแหน่นจะเรียกว่า " หยำกุกไก " เอาเท่านี้พอครับเดี๋ยวจะปล่อยไก่ไปมากกว่านี้ ถ้าปล่อยไก่แล้วไก่วิ่งหนีไปเลยก็คงไม่เป็นไรหรอก แต่ดันไปเจอไก่สดีดสดิ้ง ขอบอกว่าเซ็งจิตรโคตร 

รูปภาพของ แกว้น

ยำไก ไก่ตอน

สมัยปิดเทอมใหญ่ป.4 ไหง่เคยไปยืนดูผู้ใหญ่ใกล้บ้านตอนไก่หรือ ยำไก วิธีดั้งเดิมด้วยการล้วงลูกอัณฑะ พอกลับถึงบ้านจัดการจับไก่หลังบ้านตอนทันทีและต่อมาก็ถูกจับลงหม้อไปแล้วด้วยยย ขออโหสิกรรม ขออโหสิกรรม ขออโหสิกรรม ด้วยนะ

ไก่ตอน ตอนไก่

เรียน แกว้น สมัยไหงเด็กๆที่บ้านเลี้ยงหมู และ ไก่ จะมีคนมารับจ้างตอนไก่ ตอนหมู ได้ยินงาเตี๊ยพูดว่า ย้ำแก๊ ย้ำจู๊ ก็คือ ตอนไก่ ตอนหมู แต่ไหงเห็นหงีเขียน ยำไก ซึ่งไหงไม่แน่ใจว่าเป็นคำเดียวกันกับที่บ้านไหงใช้หรือไม่
รูปภาพของ แกว้น

ย้ำแก๊ 阉鸡 ต่างกันเพียงสำเนียงน่ะ

ฟอนเหงี่ยงหงี่ เจ้วติ่นเงี๊ยบ ยำไก หรือ ย้ำแก๊ 阉鸡 ไก่ตอน หรือ ตอนไก่ ต่างกันเพียงสำเนียงน่ะ และจะหรือได้อีกหลายสำเนียงตามสำเนียงฮากกาท้องถิ่นนั้นๆ แต่ทั้งหมดก็คือ 阉鸡 เยียนจี ในสำเนียงผู่ทงฮั่ว

ไหง่ก็ชอบเลี้ยงไก่นะ เด็กๆเลี้ยงเป็นร้อยตัวเลยน่ะ

 

ผู๋ผ่อน ผู๋จุก

สวัสดีอาเจ๋เซี่ยงหวอง ที่บ้านไหงสำเนียงเกียดหยอง เหมือนกัน ก็ใช้คำเดียวกัน แต่ งาเตี๊ย งาแม้ เสียหมดแล้ว ภาษาสำเนียงเกียดหยองก็ยิ่งไม่ได้ใช้เลย ค้าขายก็ติดต่อกับพวก ฮอกล่อ ฝุกเกี้ยน และ กว้งฟู้

อาหารไหงก็พอรู้เรื่องบ้าง เพราะทุกวันนี้ไหงทำให้งาปู๊เหงียง งาม่อย ซิด 

รูปภาพของ แกว้น

ไม่เลววววว

ละเอียดมากขนาดนี้ ถ้าไม่เข้าใจจจ อ่านทั้งหมดอีกรอบแล้วพรุ่งนี้เข้าครัวได้เลยยยย

อาหยุ่งเป็นฮากกาหงิ่นจริงๆๆๆๆ มี่ฟุ่นจู่ล่อน หรือ มี่ฟุ่จู่ชุน ใช่เลยฟาดฟูดฮากกาอีกหนึ่งเมนู

“ปิ่ดจูกียอก 焖猪脚” รสชาดเค็มหน่อยตามปกติทั่วไปแล้วแต่ใครปรุงแต่ไม่ใช่เปรี้ยว หรือจะเป็น “เปี้รยวปิ่ดจูกียอก ซอนปิ่ดจูกียอก 酸焖猪脚” ไม่เลว ไม่เลววววว

รูปภาพของ Mr.Xiong

ตอบอาแกว้นกอ

อาแกว้นกอก็เป็นท่านผู้รู้ดีอีกท่านหนึ่งเหมือนกัน  ต้องขอบคุณมากสำหรับการริเริ่มเรื่องสนทนา รวมทั้งอายับจี้ที่จะคอยเติมคำถามมากให้อ่านไม่รู้สึกเบื่อเลย  อาถ่ามกอกับอาลี้ผินจี้+สมาชิกอีกทั้งเวปมาสเตอร์ก็คอยเสริมเป็นปี่ขลุ่ย  ช่วยกันทำมาหากินดีครับน่าชื่นชมทั้งน้าน(ฮา)  หลายท่านในเวปอาจยังคงทานอยู่ เคยทานอาหารฮากกาแต่นานมาแล้ว  หรือไม่รู้จัก หรือลืมชื่อ ทั้งนี้อาหารฮากกาทั่วไปสำหรับไหง่แล้วก็เป็นเพียงอาหารมื้อหนึ่งๆในครอบครัวก็เท่านั้น  เพราะทุกวันก็ทานแบบนี้มาตั้งแต่เล็กจนโต วันสำคัญจริงๆ หรือ ว่าง และมีความอยากจริงๆถึงจะจัดใหญ่สักชุดเช่นย้องเท่วฟู้,อือหงุกเหยียน ฝนตกบ่อยๆหลายวันก้อจะปอก๋ายจิ้ว หรือ หย่องหงุก ถ้ามีญาติมาจากเบตงก็จะได้ทำช่าวฟูหมัก หรือ สีหย่องช้อย  ว่างจัดๆก็ทำหล่อเพ็ดเหยียน,ล้าวไห้จุกฟ้องหงิ่วแน้น,น้อหมี้ก๋าย ฯลฯ ไปตามประสา

จากประสบการณ์การทำอาหาร(และชิม)อาหารฮากกาเกือบทุกชนิดนะจะต้องทานมื้อที่สองถึงจะอร่อย แบบหรอยจังหู(คนใต้ว่า) ไม่รู้เป็นไงทำเสร็จใหม่ๆอร่อยยังไงก็สู้อุ่นใหม่ทานไม่ได้   สัปดาห์หน้าถ้าไหง่มีเวลาว่างจะพยามจัดเมนูที่ไม่ค่อยได้ยินคนเสนอ หรือ พูดถึงกันเลย(สงสัยจะเป็นเก๊ากันมาก ...ฮา) คือ....กุกก๋ายหย่าม (ไก่อบเกลือ) ขอได้โปรด อดใจรอเร็วๆนี้  เอามาแลกเปลี่ยนเมนูกันครับ

熊永发

รูปภาพของ ยับเหี่ยนจึน

อาหยุ่ง กุ๊กมือทอง

กุกก๋ายหย่าม ไหง่จำได้เลาๆ ว่า อาเมจะนำไก่ห่อกระดาษฟาง (เป็นพับ สีเหลืองอ่อน) ปัจจุบันไม่เห็นกระดาษชนิดนี้แล้ว หมกเกลือเม็ดในกะทะเหล็ก เมื่อไก่สุก กะทะจะเสีย ใช้ใม่ได้ ต้องทิ้ง ไหง่จะอดใจรอวิธีทำไก่อบเกลือ เพื่อจะได้ทำทาน เพราะไม่ได้ทานหลายสิบปีแล้ว  หย่องหงุกใช่เค้วหงุกหรือไม่ สีหย่องช้อย ชื่อนี้ก็คุ้นๆ แต่จำไม่ได้คืออะไร รบกวนหงี่ช่วยวงเล็บวงเล็บภาษาไทยกำกับ อือหงุกเหยียน ช่าวฟูหมัก ล้าวไห้จุกฟ้อง หงิ่วแน้น น้อหมี้ก๋าย ฯลฯ และเมื่อมีโอกาสช่วยนำเสนอวิธีประกอบอาหารเหล่านี้ตามลำดับด้วย จักขอบพระคุณยิ่งค่ะ 

รูปภาพของ กิ่มหมิ่น

วอยหย่ามไก

กระดาษฟางคนฮากกาเรียกว่า  เช่าจี่ เช่าื่จื่อ

ขอบคุณอาจี่ที่เปิดประเด็นให้พี่น้องได้แสดงความคิดเห็นกันครับ

รูปภาพของ ยับเหี่ยนจึน

เช่าจือ

ไหง่ชอบและสนใจทำอาหารฮากกามาก เช่น หยุกเปี่ยง (หมูนึ่ง) ดูทำง่ายๆ นำหมูคลุกแป้งมัน หรือแป้งท้าวฯ แล้วปรุงรส รองก้นจานด้วยผักกาดดองสับคลุกน้ำตาลเล็กน้อย แต่ก็ไม่อร่อยเหมือนอาเมทำ เสียดายที่ไม่ได้ถามสูตรไว้  ขอบคุณท่านผู้รู้ทุกท่านที่ได้ช่วยชี้แนะ โดยเฉพาะไข่คนสูตรอาท่ามกอ ไหง่ทำให้หลานทาน หลานชมว่าอร่อยมาก   เช่าจือนี้ทำมาจากฟางข้าว และต้องนำเข้าจากจีนหรือเปล่าคะ  ขอบคุณอากิ่มหมิ่นมากค่ะ

รูปภาพของ แกว้น

“วอยหย่ำไก”

อากิมหมิ่น กับ อาจี่ รู้เยอะจริง ขอเพิ่มอีกนิดดดดด
“หย่ำกุกไก 盐焗鸡” หรือ “วอยหย่ำไก” หรือ “ยุงหย่ำไก”
เช่าจื่อ หรือ “ช่อวจื่อ 糙纸” กระดาษหยาบที่ใช้ห่อไก่ในการทำ “หย่ำกุกไก 盐焗鸡”
รูปภาพของ กิ่มหมิ่น

ขอบคุณ..คุณเเกว้น

ขอบคุณมาก ที่ช่วยเพิ่มเติมรายละเอียดครับ

การออกเสียงออกคำผิดๆถูกๆ  ก็ขอช่วยกันไป

ตอนเด็กๆไหง่อยู่กับชุมชนทีมีชาวฮากกาหลายสำเนียง

ไหง่กับพี่ๆ ก็ยังพูดสำเนียงต่างกันเลย ครับ

 

รูปภาพของ แกว้น

ฟอนเหงี่ยง 欢迎

ฟอนเหงี่ยง 欢迎 กิมหมิ่น ... ช่วยกันสร้าง ช่วยกันเติม ช่วยกันแก้.. จากไม่มีก็จะมีเกิดขึ้น.... ก็ที่นีี่ ที่นี่ ที่นี่ แลลลล
รูปภาพของ Mr.Xiong

หย่องหงุก

 อายับจี้ หย่องหงุก ไหง่ หมายถึง เนื้อแพะ(ตุ๋นยาจีน)ครับ หนาวๆกินดีนักแล  ต้มกับหว่องจิ้วขั้นตอนเยอะ ยุ่งยาก ไม่คาวอร่อยมากครับ  ส่วนสีหย่องช้อย ก็คือ ผักน้ำมีมากเฉพาะเบตง กับ อิโป(มาเลเซีย)เท่านั้นที่ปลูกได้เนื่องจากน้ำเย็นจากภูเขาไหลผ่าน ได้ข่าวว่าที่เชียงรายก็มีแต่เล็กและไม่กรอบ เอามาต้มกระดูกหมูทานเป็นแกงจืด หรือ ต้มทานน้ำแก้ร้อนในครับ(ซึดลี-ออง) อือหงุกเหงียนส่วนใหญ่จะเป็นปลาดาบ ปลากราย หรือ ปลาอินทรี ที่เหลือจากการทำย้องเท่วฟู้ แล้วนำมาไว้ในอุ้งมือบีบให้เล็ดออกทางง่ามนิ้วชี้+โป้ง ใช้ช้อนตักก่อนที่จะปล่อยให้ลงหม้อน้ำเดือด ต้องมีจังหวะนะ ไม่งั้นจะออกมาเป็นเก่วซือ ไม่ใช่อือหงุกเหยียน (ฮา) ช่าวฟูหมัก อาลี้ผิ่นจี้(ดร.)กับอาท่ามกอเคยลงรูปให้ดูแล้วลองค้นดูนะครับ ส่วนล้าวไห้จุกฟ้องหงิ่วแน้น(ข้าวต้มปูใส่นมวัว)ต้องใช้ปูดำทานกับผักชี โอ้ยอร่อยมักมากไม่เชื่อลองถาม อายับสินฝ่ากอดูไหง่พากี่ไปชิมที่หม่อยแย้นแล้ว มีเวลา(อีกแล้ว)จะทยอยทำให้ดูครับ(แม่บ้านค้อนแล้ว....ฮา)

熊永发

รูปภาพของ ยับเหี่ยนจึน

ขอบคุณมาก อาหยุ่ง

ไหง่ได้ฟื้นฟูความจำอาหารฮากกาหลายชนิด เช่น อือหงุกเหยียน อาเมเคยทำให้ทานบ่อย แต่ก็จำชื่อไม่ได้  อาหยุ่งอธิบายได้เห็นภาพชัดเจน หงี่เก่งจริงๆ ขอบคุณมากค่ะ 

รูปภาพของ แกว้น

ลีจายล้วยยยย

ลีจายล้วยยย ยิ่งตอบยิ่งละเอียด ใครไม่เคยเข้าครัว พรุ้งนี้ก็เข้าได้แล้วล่ะ

อาจี้เหียนจึน ปิ่ดเป็นภาษาพูดเฉพาะที่พูดสืบต่อกันมาเท่านั้น มีที่ใช้แตกต่างกันพอสมควรเช่น ปิ่ดซ้อนมี่ (เจียวกระเทียม) ปิ่ดซื้อหยิ่ว (เจียวซีอิ้ว) ปิ่ดจูหยิ่ว (เจียวมันหมู) เป็นต้น

รูปภาพของ ยับเหี่ยนจึน

ปิ่ดซื้อหยิ่ว

ขอบคุณอาแกว้นเป็นอย่างยิ่งค่ะ ไหง่สงสัยยย...เจียวซีอิ๊ว ทำอย่างไร พรุ่งนี้เช้าเข้าครัว จะได้ทำถูกค่ะ
รูปภาพของ แกว้น

เสร็จเลยยย

เสร็จเลยยย

เจียวทั่วไปมีน้ำมัน ซีอิ้วหรือน้ำปลาตามชอบ และปรุงรสตามชอบเช่น กระเทียม ขิงใช้สำหรับ จิ้ม คลุก หรือ ราดหน้าอาหารอย่างอื่นจำพวกนึ่งจืด "ผ่ากจิน 白蒸" หรือประเภท ไก่ต้ม เป็นต้น

ประเทศจีนใช้ราดผักสดลวกทั้งต้นที่ไม่ใหญ่นัก อร่อยสะใจเพราะผักสดจริงๆๆ คนส่วนใหญ่ชอบกินผักแม้กินอาหารจานเดียวเช่นผัดก๋วยเตี๋ยวที่มีผักอยู่บ้างแล้ว ก็ยังจะมีผักอีกจานนึงงงง

 

รูปภาพของ ยับเหี่ยนจึน

ขอบคุณมากกก...

ได้ฟื้นความจำ และมีความรู้มากขึ้น ขอบคุณอาแกว้นมากค่ะ ไหง่จะลองทำเจียวซีอิ๊วราดผักลวก โดยใส่น้ำมันงาด้วย เพื่อเพิ่มความหอมและรสชาติ แต่อาหารฮากกาสูตรอาเมไหง่ เท่าที่จำได้ ไม่เคยใช้น้ำมันงา คงไม่ผิดกติกานะคะ
รูปภาพของ แกว้น

“ปิ่ด” ภาษาฮากกาใช้ในภาษาไทยว่า “ปริ”

ขออภัยพร้อมกับขอบคุณครับบบ..อาจี้ ไหง่พอรู้บ้างแต่ไม่ถึงกับเชี่ยวชาญและเขียนจากการระลึกอดีตแบบปัจจุบันทันด่วน ต่อเมื่อไปเห็นอะไรเข้าแล้วจึงจะนึกขึ้นได้ดดด

 

“ปิ่ด” ภาษาฮากกามีใช้ในภาษาไทยว่า “ปริ” ซึ่งมีความหมายเดียวกันแปลว่า แยก แตกออก เช่น “ว่อนปิ่ด ชามปริหรือร้าว” “ผ่านปิ่ด จานปริหรือร้าว” “หลิ่วเหลี่ยนปิ่ด ทุเรียนปริหรือร้าว” เป็นต้น

“ปิ่ดจูกียอก 焖猪脚” จึงน่าจะเรียกว่า “ขาหมูปริ” แตไม่ควรเรียก ขาหมูร้าว ???????

รูปภาพของ แกว้น

"ย้องแท้วฟู้ 酿豆腐" มรดกวัฒนธรรมอาหารมาเลเซีย กับ “ประชาคมเศรษฐกิจ

"ย้องแท้วฟู้ 酿豆腐" หรือเต้าหู้ยัดไส้ที่ชาวไทยรู้จักในชื่อ “เต้าหู้แคะ” ซึ่งเป็นเครื่องประกอบอย่างหนึ่งของ “ก๋วยเต๋ยวแคะ” ในประเทศไทยด้วยนั้นเป็นวัฒนธรรมอาหารพื้นบ้านโบราณของชาว “ฮากกา หรือ คากกา” ที่สืบทอดมาเป็นเวลายาวนานนับพันปีจนกลายเป็นอาหารพื้นเมืองเลื่องชื่อของประเทศจีนเอง ตลอดจนประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน ไทย และอื่นๆที่มีชนเชื้อชาติฮากกา หรือ คากกาอาศัยอยู่ ซึ่งเป็นชนเชื้อชาติจีนที่มีพลเมืองรวมกันมากที่สุดในโลก นอกจากนี้ประเทศมาเลเซียยังได้ขึ้นบัญชี "ย้องแท้วฟู้ YONG TAU FU 酿豆腐" เป็นหนึ่งใน 100 รายการมรดกวัฒนธรรมอาหารแห่งชาติมาเลเซีย ซึ่งคงจะมีส่วนส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจทั่วไปของประเทศในขณะที่ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC” กำลังจะเกิดขึ้นอย่างเต็มรูปแบบในปี พ.ศ.2558 นี้         

รูปภาพของ 黎啟示

หย่ำกุกก่าย กินได้ใน กทม. นะครับ

ที่ร้านบุญโภชนา ตรงสีลม มีหย่ำกุกก่าย นะครับ อร่อยดีๆ
เค้าใช้กระดาษอย่างว่าห่อไก่ด้วย ลองไปทานกันดูนะครับ

รูปภาพของ แกว้น

"ย้องแท้วฟู้ 酿豆腐" ความหมายของ "ย้อง 酿"

เพิ่มเติมความหมาย 

      "ย้อง 酿" คือการบ่ม หรือหมัก เช่น "ย้องแท้วฟู้ 酿豆腐" คือการบ่มหรืออบเต้าหู้ หรือ "ย้องหว่องจิ้ว 酿黄酒" คือการหมักหว่องจิ้ว (หมักเหล้า)

รูปภาพของ ฉินเทียน

合衆客家酿豆腐

合衆客家酿豆腐 = 合众客家酿豆腐  

 Hup Chong Hakka Yong Dou Foo

https://www.facebook.com/HupChongHakkaYdf

 

เย็นตาโฟ ในมาเลเซีย อาจดูไม่เหมือนในประเทศไทย แต่ถ้าในสิงคโปร์ ลองดูภาพแล้วอาจเข้าใจมากขึ้นนะครับ สำหรับการเสริมอาหารทะเล ร่วมกับเต้าหู้ยัดไส้ ผัก และอาหารแบบเส้นซึ่งทำจากแป้ง ราคาที่ลงไว้ 0-10 เหรียญสิงคโปร์ ให้คิดแล้วชามละ 0 น่าจะหมายถึง คนรู้จักสนิทไม่คิดเงิน  ความเพลิดเพลิน ชามละประมาณ 250 บาท (โฮโห !!! ธรรมดา 35 พิเศษ 40-50 บาท นะครับ กับอาหารก๋วยเตี๋ยวเย็นตาโฟ ในกรุงเทพฯ)

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal