หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

ขอความคิดเห็นเรื่อง การถอดเสียงเป็นภาษาไทย

รูปภาพของ webmaster

เนื่องจาก เป็นที่ยอมรับกันว่า ภาษาฮากกาถอดเสียงเป็นอักษรไทย ได้ไม่ค่อยชัดเจน ซึ่งมีผู้เสนอไว้ที่ /node/1129  จึงขอย้ายความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องมาไว้ที่ บล๊อกนี้ให้เป็นเรื่องเดียวกัน

และ ขอความคิดเห็นเรื่อง การถอดเสียงภาษาฮากกาด้วยอักษรไทย ควรจะเป็นอย่างไรกันจึงจะเหมาะสม มาเสนอกันได้เป็นเรื่องราวกันที่นี่


รูปภาพของ อาฉี

ขอคำแนะนำ เรื่องการเขียนภาษาไทย

ขอคำแนะนำเรื่องการเขียนภาษาไทยทับเสียงภาษาต่างประเทศหน่อยนะครับ

คือว่า  แม้นภาษาไทยจะเขียนเลียนเสียงต่างประเทศ ได้ใกล้เคียงกว่าภาษาอื่นๆแล้วก็ตาม แต่ก็ยังขาดอีกหลายเสียงที่ ไม่สามารถขียนคำอ่านไทยตรงๆ จากภาษาฮากกาได้

จึงมีความคิดว่า ถ้าพวกเรามีวิธีการเขียนที่สามารถใช้แป้นพิมพ์ปรกติ ที่สามารถอ่านเข้าใจเป็นสากลหรือใช้มาตรฐานเดียวกันได้ น่าจะดีไม่น้อย  เช่น อาจจะใช้เครื่องหมายบางตัวกำกับ หรือกำหนดให้ใช้อักษรบางตัวที่ซ้ำกันเป็นเสียงหนัก โดยต่อยอดขยายความจาก หลักการถอดเสียงของ ราชบัณฑิต ( http://hakkapeople.com/node/447#comment-1877 ) อีกนิด เพื่อให้ครอบคลุมขึ้น 

ตัวอย่างพอแนวทาง (อาจยังไม่ถูกต้องเหมาะสม รอผู้รู้ช่วยปรับปรุง)

  • ขีดเส้นใต้ อักษรที่เป็นเสียงหนัก หรือใช้ตัวเข้ม
    เช่น จือ , ชือ , ซือ /  จือ , ชือ , ซื
  • ขีดเส้นใต้ควบ 2 พยัญชนะ ที่อ่านเสียงควบกัน เช่น ฮยุ๋
    ถ้าจำเป็นในสระบางตัว หรือไม่รู้จะขีดใต้ตัวไหนดี  เช่น สระ -ัว + เ-ีย  อาจใช้เครื่องหมาย + ขีดเส้นใต้ รวมไปเลย  เช่น อาบน้ำ ว่า แซ่ หลวง+เหลียง แทน
  • ใช้อักษร ช - ฌ แทนเสียง ชอ กับ ชวอ  หรือถ้าจำเป็นหาตัวแทนเสียงพวก  sh,ch,zh บ้างก็ดี  หรืออาจใช้อักษร ส ษ ศ ให้น้ำหนักเสียงแตกต่างกันบ้าง  ก็ไม่รู้ว่าจะดีไหม
  • ใช้เครื่องหมาย จุดใต้  ( -ฺ  กด shift- สระอิ)  เสียง นาสิก ขึ้นจมูก หรือเสียงอยู่ในคอ เช่น 五 ว่า อื้อฺ
  • ใช้เครื่องหมาย -๎  พยัญชนะนั้นออกเพียงครึ่งเสียง
     ( [] คล้ายการัน [] แต่ตัวใหญ่กว่า ซึ่งมีใช้อยู่แล้วในภาษาบาลี การพิมพ์  ได้โดยกด Alt ค้างแล้วกด 238 บนแป้นตัวเลข(เท่านั้น) แล้วค่อยปล่อย Alt )

หรืออื่นๆ ไม่รู้ว่าท่านมีความเห็นเป็นประการใด

หากเรื่องนี้มีผู้ทำไว้แล้ว หรือมีงานของท่าน ดร. 黄丽萍  อยู่แล้วช่วยนำมาเผยแพร่แล้วใช้กันเป็นมาตรฐานเดียวกันได้ คงจะดีไม่น้อย

ไม่รู้ว่าเพื่อนสมาชิก มีความเห็นเป็นไงกันบ้าง

เสียงสนับสนุน

ไหงมีความเห็นด้วย 100 %  เพราะจะได้ให้เป็นบรรทัดฐานที่ดี 

สำหรับการใช้ในโอกาสต่อๆไปในแนวทางเดียวกัน เข้าใจตรงกัน พูดง่ายๆ เป็นมาตราฐานเดียวกัน

งี๋น่าที่  จะจัดให้มีการสัมนาเชิงวิชาการอย่างจริงจังเป็นประจำอย่างเป็นทางการ

เดือนละครั้ง หรือเดือนละ 2 ครั้ง เป็นประจำในสถานที่ประจำด้วย อาจใช้สถานที่ราชการเช่น

คณะที่มีภาษาต่างประเทศ  มหาวิทยาลัยไหนก็ได้ เพียงขออนุญาตใช้ห้องประชุม 2-3 ชั่วโมง

โดยเชิญอาจารย์ที่เกี่ยวข้องร่วมการสัมนาด้วย

เสียดายไหงอยู่ไกลไปหน่อย  จึงไม่สามารถช่วยอะไรได้มาก แต่ก็ยินดีร่วมถ้าไปกรุงเทพฯ

ที่อยากให้ทำเป็นทางการจะได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร  มองไกลไปจนถึงขั้นจดเป็นพจนานุกรมภาษา

เพื่อลูกหลานต่อไปได้ใช้เป็นตำรับตำราในการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

เรื่องนี้ต้องคุยกันยาว....

ตอเชี้ยอาฉีโก และอาสุกสรภูม

ไหงเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งที่จะมีการตกลงกันในการใช้อักษรไทยเขียนภาษาฮากกาของพวกเรา ซึ่งตรงกับงานของไหงพอดี (อีกแล้วครับท่าน)

ไหงได้ไปช่วยทำระบบเขียนภาษากลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆที่ไม่มีตัวเขียนเป็นของตัวเอง หรือถึงมีก็ทำได้ค่ะ หลายกลุ่มด้วยกัน ส่วนของภาษาจีนก็จะทำให้กับกลุ่มจีนยูนนานที่เชียงใหม่ (จะไปปลายเดือนนี้) แต่ก็ยังมีปัญหาว่าจะใช้แบบไหนดี คือจะถอดเสียงแล้วเขียนแบบภาษาไทยเลยไหม หรือว่าถอดเสียงแล้วเขียนตรงรูปตรงเสียง เช่น ไล ไล่ ไล้ ไล๊ ไล๋ เหมือนกับที่เด็กยุคใหม่เขียน นู๋ หรือ มู๋ ซึ่งก็อ่านได้เหมือนกันเพียงแต่ภาษาไทยมีเสียงวรรณยุกต์กำกับตัวอักษร จึงแบ่งหมวดอักษรออกเป็น สูง  กลาง ต่ำ ทำให้เรียนยาก ต้องท่องจำ ถ้าหากเขียนตรงรูปได้ ก็ไม่ต้องใช้ หล- หม- หย- ให้ยุ่งยาก อย่างนี้เป็นต้น แต่เรื่องนี้ต้องคุยกันยาว อย่างที่บอก ต้องมีการตกลงร่วมกันระหว่าง นักภาษาศาสตร์ และเจ้าของภาษา โดยใช้เกณฑ์ ประมาณ 6-7 ข้อ ไม่แน่นะคะ

ถ้าภาษาฮากกามีพลังอาจจะได้รับการรับรองจากราชบัณฑิตฯ ในอนาคตก็ได้ ใครจะไปรู้ (แอบกระซิบว่าตอนนี้ มีภาษามลายูถิ่นที่ใช้อักษรไทย และภาษาชองอักษรไทยได้รับการรับรองจากราชบัณฑิตแล้ว ขณะนี้กำลังทำภาษาเขมรถิ่นไทย ซึ่งไหงก็เป็นกรรมการร่วมจัดทำด้วยค่ะ) แต่ไม่ใช่ว่าทุกภาษาจะได้เข้ารับการรับรอง ต้องมีเหตุผลที่เพียงพอ และอาจต้องใช้พละกำลังเล็กน้อยค่ะ

ไหงก็มีข้อเสนอ ที่ได้ไปเห็นระบบเขียนของอาปักที่ไหงไปเก็บข้อมูลด้วย กี๋เขียนให้อ่านและเข้าใจง่ายค่ะ เช่น    เหลี่อง /liɔ̀ŋ/ แปลว่า “สอง” งยุ่ก /ŋiùk/ แปลว่า “เนื้อ” โดยส่วนตัวไหงที่เป็นนักภาษาศาสตร์คิดว่าอ่านง่ายและเขียนง่าย แต่ไม่ทราบว่าไท้ก๊าหงินจะเห็นว่าอย่างไรกันบ้าง ก็ต้องจัดสัมมนากันสักครั้งหากครั้งต่อไปมีการจัดสัมมนาเชิงวิชาการของชาวฮากกาเราก็ขอรบกวนฉีโก ช่วยบรรจุเป็นวาระหนึ่งของการประชุมด้วยจะดีมากเลยค่ะ

รูปภาพของ อาฉี

เห็นด้วยเรื่องบรรจุเป็นวาระ

เห็นด้วยเรื่องบรรจุเป็นวาระ

แต่อยากจะฟังเสียงพวกเราดูก่อน ว่ามีพลัง ความต้องการแค่ไหน และพี่น้องมีความเห็น หรือแนวทางกันอย่างไร

ถ้าเป็นไปได้ อยากให้พวกเราช่วยกันร่างมาหลายๆแบบ และพิจารณา ข้อดีข้อเสีย ปรับปรุงกันให้ครอบคลุมคำต่างๆ ที่มีความสะดวกในการพิมพ์ การอ่าน โดยไม่ขัดกับบรรทัดฐานที่ราชบัณฑิตกำหนดไว้เบื้องต้น

เพื่อจะได้ใช้เป็นแนวทาง หรือฉบับร่าง เพื่อการนำเสนอเข้าที่ประชุม ได้กลั่นกรองได้ง่ายขึ้น และในฐานะคณะผู้เสนอ ก็ควรตอบข้อซักถาม จากคณะกรรมการได้ชัดเจนเท่าที่ทำได้

รูปภาพของ จ๊องหยิ่นฮยุ๋ง

ระบบเขียนภาษาฮากกา

ก่อนอื่นต้องขอถาม อ.หวงลี่ผิง (黄丽萍) เป็นความรู้ว่า ระบบเขียนภาษาจีนกลาง หรือจีนกวางตุ้ง ได้รับการรับรองจากราชบัณฑิตฯ หรือยังครับ ถ้ามี เราก็อาจจะเอาตรงนั้นมาต่อยอดได้
ในขณะที่ภาษาจีนกลางใช้ระบบพินอิน (Pinyin) เป็นมาตรฐานสากล ภาษาฮากกาเอง เท่าที่รู้ ก็มีระบบ Pinjim และ Jyutping ใช้อยู่ด้วย อย่างนี้ เราก็อาจจะเอาระบบ Pinjim หรือ Jyutping ที่ว่ามาพัฒนาต่อก็ได้เหมือนกัน
โดยส่วนตัว ไหงเห็นด้วยกับวิธีถอดเสียงแล้วเขียนตรงรูปตรงเสียงครับ (อย่างที่อาจารย์บอกว่าเหมือนกับที่เด็กยุคใหม่เขียน) ถ้าอย่างนี้ เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน ก็คงต้องเลิกใช้ตัว ข ฉ ถ ผ ฝ ส และ ห ไป แล้วใช้ ค ช ท พ ฟ ซ และ ฮ แทน
ไหงคิดว่าเขียนว่า ลย่อง (หรือ ลย้อง ในกรณีที่เป็นสำเนียงฟุ้งสุ่น) จะอ่านง่ายกว่า เหลี่อง (หรือ เหลี้อง) นะครับ 
อันนี้ลองยกตัวอย่างให้ดูเล่นๆ 
กยุ๊ง แปลว่า เลี้ยง, คยุ๋ง แปลว่า ยากจน, งย๊อน แปลว่า อ่อน, งยุ๊ก แปลว่า หยก, ลย๋อง แปลว่า เย็น, ลยุ่ก แปลว่า หก, ลยุ๋ง แปลว่า มังกร, ฮย๊อง แปลว่า หอม, ฮยุ๊ง แปลว่า พี่ชาย

ตอบหยิ่นฮยุ๋งโก

ที่ราชบัณฑิตสถาน บัญญัติศัพท์ เรียกว่าการเขียนคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศต่างๆ เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน จีน(กลาง) ฯลฯ ซึ่งเขาจะทำทุกภาษา ของจีนกลางก็ทำเสร็จไปแล้วค่ะ ไว้จะลองนำมาดูเป็นตัวอย่าง (พอดีหนังสืออยู่ที่ทำงาน)

หยิ่นฮยุ๋งโกเข้าใจถูกแล้วค่ะ ที่เห็นด้วยกับการใช้คำที่ตรงรูปตรงเสียง เพราะเป็นหลักเกณฑ์ที่ง่ายที่สุด สามารถอธิบายได้ ไม่ต้องไปยึดติดกับภาษาไทย ที่ต้องใช้อักษร สูง กลาง ต่ำ อีกอย่างหนึ่ง การใช้ระบบพินยินก็ดีค่ะ สามารถเขียนได้ง่าย แต่จะอ่านยากสำหรับคนที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษ แต่ถ้าใช้อักษรไทย คนส่วนใหญ่ต้องอ่านอักษรไทยได้

จุดประสงค์จริงๆของการทำระบบตัวเขียนก็เพื่อให้ เจ้าของภาษา ได้บันทึกเรื่องราว ที่ต้องการไว้เป็นลายลักษณ์อักษร จะเป็นตัวอักษรอะไรก็ได้ ตามแต่ที่เจ้าของภาษาจะใช้ ถ้าเป็นคนที่เรียนภาษาจีนมา ก็คิดว่าใช้ตัวอักษรจีนดีกว่า คนที่เรียนภาษาอังกฤษมาก็อาจคิดว่า ใช้อักษรภาษาอังกฤษดีกว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากจะให้มีการสอนถ่ายทอดให้รุ่นเด็กๆ ก็ต้องคำนึงถืงเรื่อง ความง่าย สะดวก และไม่ขัดกับการศึกษาด้วยค่ะ แต่ถ้าหากว่า ไม่ต้องการที่จะใช้สอน ก็ตกลงกันในกลุ่มคนที่ต้องการเขียนให้เป็นระบบเดียวกัน ก็เท่านั้นเอง จึงคิดว่าขึ้นอยู่กับการที่ทุกคนจะตกลงร่วมกันค่ะ

ตัวอย่างที่ไหงไปแนะนำให้กับกลุ่มจีนยูนนาน เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งสินฝ่าโก หรือโกเอกก็ได้ไปสังเกตุการณ์และร่วมสร้างสื่อการสอนด้วย คิดว่ากี๋ก็เข้าใจพอสมควร สุดท้ายแล้วในกลุ่มนี้ ก็ตกลงว่าจะใช้การเขียนแบบตรงรูปตรงเสียง โดยไม่ใช้อักษรสูง ก็ต้องปรับทัศนคติพอสมควร กว่าจะยอมรับกันได้ ถกเถียงกันนานพอควร คือคนที่ไม่เห็นด้วย เพราะเขาติดการเขียนแบบภาษาไทย เขาจะรู้สึกว่าอ่านออกเสียงไม่ได้ ตัวอย่าง คำว่า เพี่ยวเลี่ยง ที่แปลว่า "สวย" ถ้าจะเขียนให้ตรงรูปตรงเสียงก็ต้องใช้ไม้โท โดยเขียนเป็น เพี้ยวเลี้ยง เขาก็จะบอกว่า อ่านไม่ตรง อย่างนี้เป็นต้น

ก็อยากให้ทุกๆท่าน ช่วยกันแสดงความคิดเห็นก่อนก็ดีนะคะ จะได้มีทางเลือกมากขึ้น และจะเห็นข้อดีข้อเสีย ก่อนที่จะมีการประชุมสัมนากันจริงๆ

อย่างที่หยิ่นฮยุ๋งโก ยกตัวอย่าง ไหงก็ว่าอ่านง่ายและเข้าใจนะ เพราะคำเหล่านั้นเป็นเอกลักษณ์ในภาษาฮากกา ซึ่งไม่ตรงกับภาษาไทย

ตัวอย่างการเขียนทับศัพท์ภาษาจีนกลาง

หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาจีนของราชบัณฑิต

ครั้งที่แล้ว หยิ่นฮยุ๋งโกถามว่า ราชบัณฑิตมีการทำระบบเขียนของภาษาจีนกลางไหม

วันนี้ก็เลยนำตัวอย่างการเขียนทับศัพท์ภาษาจีนกลางของราชบัณฑิตมาให้ดูค่ะ แต่เนื่องจากขี้เกียจพิมพ์ เลยสแกนตัวอย่างมาให้ดู ไม่ทราบว่าจะมองเห็นกันหรือเปล่า ถ้ามองไม่ชัดก็ต้องขอโทษด้วยค่ะ

ราชบัณฑิตให้ความหมายของ การทับศัพท์ คือ "การนำคำภาษาต่างประเทศมาเขียนด้วยอักษรไทย โดยให้อ่านออกเสียงตามระบบอักขรวิธีไทยได้ใกล้เคียงกับการออกเสียงในภาษาเดิม และรักษารูปศัพท์ตามสมควร"

ซึ่งหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาจีน ที่ราชบัณฑิตกำหนดไว้มี 9 ข้อ จะขอยกข้อที่คิดว่าน่าสนใจ คือเสียงพยัญชนะจีน ซึ่งเทียบได้กับเสียงพยัญชนะไทยที่มีอักษรคู่ (อักษรสูงกับอักษรต่ำ) ได้ให้ไว้สองตัว เช่น ฉ ช, ฝ ฟ, ส ซ ให้เลือกใช้ตามหลักการผันเสียงวรรณยุกต์ของไทย เช่น ฉา ชือ เฝิน ฟั่น

ในกรณีที่เป็นอักษรเดี่ยว ซึ่งการผันวรรณยุกต์ต้องใช้ ห นำ ถ้าอักษรเดี่ยวนั้นเป็นตัวควบกล้ำให้แทรกตัว ห ไว้ ระหว่างตัวควบกล้ำเพื่อให้อ่านสะดวก เช่น ยฺหวิน

เสียงสระผสมในภาษาจีนบางเสียง เมื่อถอดเป็นอักษรไทยแล้วจะมีเสียงพยัญชนะ ย หรือ ว อยู่ด้วย ให้ใส่เครื่องหมายพินทุ (จุด) ใต้ตัวพยัญชนะต้นซึ่งผสมกับสระนั้น เช่น  jiǒng เขียนเป็น จฺย่ง  yuè เขียนเป็น เยว่ เป็นต้น

ดังตัวอย่างที่สแกนมาข้างล่างนี้

แต่ไหงว่า สำหรับภาษาฮากกา พวกเราสามารถตกลงกันเองได้ ถ้าหากว่าไม่ใช้ อักษรสูงคู่กับอักษรต่ำ เป็นต้น

หากใครมีความเห็นเช่นไร ขอให้ช่วยกันแสดงความเห็นได้ค่ะ

สำหรับโอกาสหน้าจะนำตัวอย่างที่ไปทำภาษาหยุนหนานมาให้ดูค่ะ

ตัวอย่างการเขียนสำเนียงจีนยูนนานด้วยอักษรไทย

เมื่อวันที่ 26-28 กุมภาพันธ์ 54 ที่ผ่านมา ไหงได้ไปลงพื้นที่หมู่บ้านของชาวจีนยูนนานที่บ้านใหม่หนองบัว อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ พร้อมด้วยน้องๆทีมงานของศูนย์ศึกษาฟื้นฟูฯ สถาบันวิจัยภาษาฯ ที่ไหงทำงานอยู่ เพื่อจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อการสร้างสื่อการสอนให้กับเด็กอนุบาล เพื่อพัฒนาภาษาไทย

ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณสินฝ่าโก ที่ได้ให้การต้อนรับในฐานะ คนในพื้นที่เชียงใหม่ และอำนวยความสะดวกพาไปในพื้นที่ นอกจากนี้ยังได้ร่วมทำงานกับทีมงานของไหง เป็นอย่างดี เรียกว่า งานนี้ ไหงใช้งาน สินฝ่าโกคุ้มค่าจริงๆ แต่กี๋ก็บอกว่า ยินดี เพราะเป็นสิ่งที่กี๋ชอบและถนัดอยู่แล้ว ลองติดตามดูนะคะว่า ทีมงานของไหงทำอะไรกันบ้าง

การใช้ตัวอักษรภาษาไทยเขียนสำเนียงจีนยูนนาน ไม่ใช่ครั้งนี้เป็นครั้งแรก ที่พวก      ไหงมาทำงาน คือพวกเราทำงานกับกลุ่มนี้มานานเป็นปีแล้วค่ะ และเคยมาแนะนำเรื่องการเขียนด้วยอักษรไทยเมื่อปีที่แล้ว แต่ยังไม่มีการตกลงกันอย่างชัดเจนว่าจะเขียนอย่างไรดี เพื่อที่จะเชื่อมโยงให้เด็กจีนยูนนานได้เรียนภาษาไทยได้ดีขึ้นกว่าเดิม

การใช้ภาษาแม่ หรือภาษาที่เด็กพูดอยู่ที่บ้าน มาใช้สอนในห้องเรียน จะทำให้เด็กคุ้นเคย ไม่ตกใจว่าครูพูดภาษาอะไรก็ไม่รู้ เนื่องจากเด็กกลุ่มนี้ อยู่ในหมู่บ้านที่เป็นคนจีนยูนนานเป็นส่วนใหญ่ และที่บ้านก็ใช้ภาษาจีนยูนนานกันอยู่ในชีวิตประจำวัน การที่เด็กจะเรียนภาษราชการหรือภาษาอื่นๆที่ต่างจากภาษาที่พูดที่บ้านได้ดีนั้น จำเป็นต้องมีพื้นฐานความคิดที่ใช้ภาษาที่เด็กถนัดที่สุดก่อน หลังจากนั้นจึงค่อยๆให้เด็กเรียนรู้ภาษาที่เป็นทางการ หรือภาษาทางวิชาการ หรือพูดให้ง่ายก็คือ เรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัวไปหาสิ่งที่ไกลตัว เรียนจากสิ่งที่รู้ไปสู่สิ่งที่ไม่รู้ เรียนรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรมไปสู่สิ่งที่เป็นนามธรรม

ยกตัวอย่างที่ใกล้ตัวที่สุด สมมุติว่า เด็กไทยที่พูดภาษาไทยในบ้าน เมื่อเข้าโรงเรียนในชั้นอนุบาล ครูก็ใช้ภาษาอังกฤษในห้องเรียน เมื่อถามเด็ก เด็กย่อมตอบไม่ได้ เพราะฟังไม่รู้เรื่อง ฉันใดก็ฉันนั้น เด็กจีนยูนนานเหล่านั้น ถึงแม้จะอยู่ในประเทศไทยก็ตาม แต่ในชีวิตประจำวัน ก็ได้ยิน พ่อแม่พี่น้อง พูดภาษาจีนยูนนาน เมื่อเข้าโรงเรียน แม้ว่าเด็กพอจะรู้ภาษาไทยบ้าง แต่ก็ไม่มากพอที่จะตอบคำถามครูได้ หรือยังไม่สามารถคิดคำตอบเป็นภาษาไทยได้เท่าเทียมกับเด็กไทยที่พูดภาษาไทยในชีวิตประจำวันแน่นอน

การช่วยเหลือเบื้องต้น คือการจัดหาครูพี่เลี้ยง หรือเรียกว่า ครูภูมิปัญญามาช่วยสอนเด็กในห้อง ครูพี่ก็จะใช้ภาษาท้องถิ่นของเขาพูดสื่อสารกับเด็กได้อย่างเข้าใจ เด็กก็จะมีความสุขสนุกกับการเรียน

ในวันที่ไปที่โรงเรียนก็ได้ไปดูห้องเรียนที่ครูภูมิปัญญาใช้ภาษาจีนยูนนานสอนเด็ก เพื่อพัฒนาสมอง ลองดูตามรูปนะคะ

 

พวกเราสังเกตุว่าเด็กไม่มีความตื่นกลัวคนแปลกหน้า ซึ่งก็คือพวกเรา ที่ไปสังเกตการณ์การสอนประมาณ 4-5 คน อยู่รอบๆห้องค่ะ

 ครูภูมิปัญญาจีนยูนนานกำลังสอนเด็กชั้นอนุบาล1

 

เด็กร้องเพลงสำเนียงจีนยูนนานอย่างมีความสุข

สังเกตุว่าเด็กจะชอบร้องเพลงมาก พอบอกให้ออกไปร้องเพลงหน้าห้อง ก็จะออกไปโดยไม่เขินอาย และยังมีท่าทางประกอบเพลงด้วย

 หลังจากดูการสอนแล้ว พวกเราก็ไปสร้างสื่อการสอนค่ะ

ครูภูมิปัญญาช่วยกันเขียนนิทานหรือเรื่องเล่าสั้นๆ เพื่อสร้างเป็นสื่อการสอนค่ะ

 

 เด็กจีนยูนนานช่วยกันวาดรูปที่จะใช้เป็นสื่อการสอนค่ะ

 ตัวอย่างพยัญชนะต้น และสระ ที่ใช้เขียนในสำเนียงจีนยูนนาน

 ร่องรอยของการแก้ไขที่ไม่ใช้พยัญชนะเสียงสูงค่ะ จะเห็นว่ายังมีการแก้ไขได้ ขึ้นอยู่กับการตกลงกัน สาเหตุที่ไม่ใช้อักษรสูง เพราะจะได้มีกฎเกณฑ์สามารถอธิบายได้ และไม่ต้องจำมาก ใช้กฎการผันเสียงตามรูปตามเสียงค่ะ

 ฝีมือของสินฝ่าโกค่ะ ที่ช่วยวาดรูปและเขียนตัวหนังสือ ไม่ยักรู้ว่าอาโกมีความสามารถหลายอย่างมาก

 

 

 นี่แหละค่ะ เป็นตัวอย่างหนึ่งของสื่อการสอนของเด็กอนุบาล เป็นภาพประกอบเรื่องเล่าสั้นๆ โดยใช้ภาษาจีนยูนนานที่เขียนด้วยอักษรไทย

ทั้งนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อครูไทยที่สอนอยู่ในโรงเรียนที่จะสามารถเรียนรู้ภาษาจีนยูนนานด้วยนะคะ

 หลังการทำงานพวกเราได้ถ่ายรูปร่วมกัน กับทีมงานของโรงเรียนบ้านใหม่หนองบัว ซึ่งประกอบด้วยผู้อำนวยการโรงเรียน ครูประจำการ และครูภูมิปัญญา เสียอย่างเดียว ไม่มีปราชย์ชาวบ้านมาร่วมงาน ซึ่งถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุด เนื่องจากท่านทั้งหลายมีภารกิจมาก ไม่สามารถปลีกตัวมาได้

เฮ้อ...นี่แหละค่ะความยากลำบากในการทำงานกับกลุ่มนี้

 

 

รูปภาพของ YupSinFa

คิดว่าเอางานของ ดร.หวงลี่ผิงมาใช้ได้

ในประเด็นนี้ ไหงเห็นด้วยอีกคนหนึ่งครับ เพราะไหงเจอกับปัญหาเวลาเราจะพิมพ์คำอ่านคำพูดในภาษาฮากกาในสำเนียงของตัวเอง ก็จะพบว่ามันพิมพ์่ค่อนข้างยาก ไม่เป็นบรรทัดฐาน อย่างเสียง ย. ที่ขึ้นจมูก ไหงก็ไม่นึกว่าจะเขียนได้ ดร.หวงลี่ผิงก็กรุณาบอกว่า อาโกก็ใช้ตัว ญ. หญิง สิ ทำให้ไหงมองเห็นภาพได้ง่ายขึ้น

ที่เชียงใหม่ และ เชียงราย นี้ ในระยะหนี่ง เราเคยมีปัญหาเรื่องการถอดเสียงภาษาล้านนา มาเป็นอักษรไทยกลาง ซึ่งค่อนข้างยากเอาการอยู่้ ถึงกับมีครั้งหนึ่ง นักวิชาการอิสระด้านภาษาล้านนา เขาพากันออกมาปริวรรต การเขียนคำล้านนามาเป็นอักษรไทย ด้วยคำอ่าน ไม่ได้ด้วยคำพูด ไม่่รู้จะอธิบายอย่างไรดี เอาเป็นว่า ใช้สํญลักษณ์ทางตัวอักษรไทย แทนคำล้านนาที่เขียนออกมาเป็นอักษรไทย ที่ไม่ตรงกับเสียงที่แท้จริงไปเลย ลักษณะนี้เป็นการรู้กันในเฉพาะกลุ่ม คนที่พูดภาษาล้านนา แต่ไม่เข้าใจการเขียนแบบนี้ ก็อ่านหลุดโลกไปเลย

ตอนนี้การเขียนภาษาล้านนาเป็นอักษรไทยกลางก็เลยเป็นไปแบบธรรมชาติ อ่านแล้วเข้าใจกันดี ถึงแม้ว่าจะไม่ตรงกับเสียงจริงก็ตามแต่ก็พอเข้าใจกันได้ในหมู่คนที่พูดล้านนา

กลับมาที่งานของ ดร.หวงลี่ผิงกันต่อ ดร.หวงลี่ผิง ตามชื่อที่เธอล๊อคอิน ชื่อจริงของท่าน คือ ดร.ศิริเพ็ญ ที่ตอนนี้เข้า่มาอยู่ในทำเนียบน้องรักของไหง่ พร้อมกับ อาหยุ่งหาดใหญ่ และอาวี่ฝา แห่งรามอินทรา อาวี่ฝา ตอนแรกไหงก็นึกว่าอาโกวี่ฟัด "จัดให้" ส่งมา นึกว่าอาโกนึกสนุก ที่ไหนได้ มีตัวมีตนจริง ๆ ไม่พอยังส่งเมล ให้ที่อยู่ไหง มา เพื่อสั่ง หั่มช้อยกอน ของไหงอีก และพร้อมกันนี้ ก็่ขอ เป็น "เล่าไท" ไหงอีก ไหงจึงเป็นเจ้าสำนักที่มี "น้อง ๆ หลาน ๆ ในสังกัด มากเอาการอยู่" ใครจะลงหาเสียง ก็มาหาไหง่ได้ อิอิอิ.

จะพูดถึงเรื่องงานของ ดร.หวงลี่ผิง ก็ออกทะเลไปไกลถึงอ่าวตังเกี๋ย นี่ละ สไตล์ของยับสินฝ่าละ ถ้าท่านใดเป็นแฟน ที่ติดตามไหงมานานจะรู้ดี ดร.ศิริรเพ็ญ เธอเป็นนักวิจัย อยู่ สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย ไหงทราบว่า งานของเธอสนุกสนานมาก เป็นงานที่ทำเกี่ยวกับ ภาษาและวัฒนธรรมชนชาติต่าง ๆ ที่มีอยู่ในประเทศไทย ในส่วนที่เธอรับดูแลอยู่คือภาษาชอง เขมรถิ่นไทย มลายูถิ่น ญัฮกุร และอื่น ๆ ที่ไม่ใกล้เคียงกับภาษาไทย ชนชาติฮากกา ของเรา ก็อยู่ในงานวิจัยส่วนตัวของเธอด้วย และใกล้จะทำเสร็จสมบูรณ์แล้ว ดังนั้น หลังจากที่เธอนำเสนอเสร็จสิ้น ผลงานก็จะเป็นสิทธิของเธอ เธอสามารถนำมาให้พวกเราชุมชนฮากกาได้ใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ไหงมีความคิดว่า เอามารวมกับของน้องต้นกล้า รับรองว่า เราไปโลด แน่ ๆ เลย

ดร.หวงลี่ผิง ได้บอกกับไหงว่า งานที่เธอทำอยู่นั้น (หมายถึงสถาบันของเธอ) ที่สำคัญที่สุดก็คือ การถอดเสียงคำศัพท์ต่าง ๆ ของชาวไทยแต่ละกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น ไทโซ่ง ไททรงดำไทล้านนา ไทลื้อ ฯลฯ รวมทั้งกลุ่มภาษาต่าง ๆ ที่เธอทำอยู่ในส่วนของเธอด้วย  และชาวไทยเชื้อสายชนเผ่าต่าง ๆ รวมทั้งฮากกาเราด้วย เขามีหลักการการถอดเสียงและเขียนออกมาเป็นอักษรไทยที่น่าสนใจทีเดียว ไหงว่า ตรงจุดนี้ให้เจ้าตัวเขามาอธิบายดีกว่า เพราะไหงบรรยายไม่ถูกว่า หลักการมันเป็นอย่างไร

มาถึงตรงนี้ ไหงอยากจะเรียนให้ทุกท่าน ทราบว่า ประมาณอีก 2-3 วัน ทางทีมงานจะมีการประกาศออกมาอย่างหนึ่ง เกี่ยวกับการชุมนุมเจ้ายุทธจักร์ ณ สำนักของท่านประธานฉี เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ท่านในฐานะที่เป็นผู้ก่อตั้ง ชุมชนฮากกา จะครบ 4 ปีแล้ว โดยจะขอปรึกษากับอาโกทั้งหลายก่อน  เพื่อให้พวกเรามีเวทีได้พูดคุยแลกเปลี่ยนทัศน และประสบการณ์ในความเป็นชาติพันธุ์ได้อย่างมีความสุข และพูดได้อย่างเต็มปากเต็มคำเลยว่า เป็นองค์กรชาวไทยเชื้อสายจีนที่เจริญเติบโตแข็งแรงมากที่สุดในประเทศไทย เพื่อน ๆ ชาวไทยเชื้อสายหยุนหนานที่เชียงรายของไหง่ยังอดชื่นชมไม่ได้ และขอว่า จะนำไปเป็นแบบอย่างในการจัดทำรูปแบบเหมือนกับของเราต่อไป 

ชุมชนฮากกา ของเรา ได้สร้างเจ้ายุทธจักร์ ในด้านวิชาการของความเป็นจีนขึ้นมาได้จริง ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด ไม่ใช่ใครที่ไหนไกลหรอก "ยับสินฝ่า" นี่เอง ถ้าไม่มีชุมชนฮากกา ครอบครัวน้อย ๆ ครอบครัวหนึ่ง ในเชียงใหม่ ก็คงยังเป็นครอบครัวที่ลำบากลำบน อยู่ แต่พอไหงได้ลับฝีนิ้ว ในชุมชนฮากกา ได้ถ่ายทอดความคิดจินตนาการและประสบการณ์ที่เรียนประวัติศาสตร์จีนด้วยตัวเองมาตั้งแต่อายุ 15 ถึงปีนี้ 43 ปี ยังไม่เคยหยุดเรียน ไหงจึงพบตัวเองหลังจากที่เข้ามาในชุมชนฮากกาได้ 3 ปี มีคนเขามาเห็นงานเขียนของไหง นับจากนั้นมาไหงก็ได้มีการพัฒนาตัวเองไปอย่างก้าวกระโดด ในทุก ๆ ด้านซึ่งมัน ล้อกัน มันแมตช์ กัน จนมาเป็น เยี่ยมเมธากร กรุ๊ป ในอีก ไม่กี่วันข้างหน้านี้ อันนี้แหละครับ คือ "รูปธรรม" ที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน ในชีวิตของผู้ชายไทยเชื้อสายจีนฮากกาที่เข้มข้นคนหนึ่ง ไหงจึงจะไม่ลืมบุญคุณของท่านผู้นี้เลย คือ...

คุณคณากร ศรีมิ่งมงคลกุล 

ผู้ปิดทองหลังพระ ขอคารวะท่านด้วยความดี 1 จอก กรึ๊บ!

รูปภาพของ วี่ฟัด

ภาษาศาสตร์กับดอกเตอร์ศิริเพ็ญ

            ได้มีโอกาศแลกเปลี่ยนความรู้ทางภาษาศาสตร์ กับอาจารย์ ทางเฟช รู้สึกสนุกมาก เพราะไหง่มีความสนใจในภาษาเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ความสนใจในภาษามีหลากหลาย สนใจแม้กระทั่งภาษามาลายู ( ยาวี ) ทั้งๆที่เคยไปทางภาคใต้สุดแต่จังหวัดชุมพร เท่านั้น นอกนั้นยังสนใจในภาษา พม่า มอญ ญวน ยวน ( ภาษาล้านนาที่มีคนพูดในจังหวัดราชบุรี ) และภาษาลาวโซ่ง ( ไทยทรงดำ )

             ภาษามาลายูนี่คนส่วนมากมักจะคิดว่าเป็นภาษาของคนนับถือศาสนาอิสลาม แต่อันที่จริงแล้ว ภาษามาลายูนี้มีมากว่าพันปี  ซึ่งดั้งเดิมก็คือภาษาของอาณาจักรศรีวิชัย นั่นเอง อาณาจักรศรีวิชัย มีอาณาเขตตั้งแต่จังหวัดสุราษฎ์ธานี ไปจนจด มาเลเซีย , อินโดนีเซีย และแม้กระทั้งประเทศฟิลิปปิน มีการถกเถียงกันว่าศูนย์กลางอำนาจของอาณาจักรศรีวิชัย อยู่ที่ใหน บางคนก็บอกว่าอยู่ที่ ยอ๊กยากาต้าร์ บางคนก็บอกว่าอยู่ในอำเภอไชยา นี่เอง ในเมื่อภาษามาลายูเป็นภาษาดั้งเดิมของอาณาจักรศรีวิชัยดังกล่าว ในภาษามาลายูจึงมีภาษาบาลี สันสกฤษ อยู่เกินกว่าครึ่ง ( คล้ายๆภาษาไทย ) เนื่องจากอาณาจักรศรีวิชัยนับถือศาสนาพุทธแบบมหายาน ดังที่เขาขุดพบ พระโพธิสัตย์อวโรกิเตศวร ที่ไชยา นั่นเอง ( ศาสนาพุทธแบบนิกายเถรวาท ไม่มีพระโพธิ์สัตย์ )

                จะเห็นได้ว่าคนมุสลิมทางภาคใต้ มักจะชอบพูดกันว่า คนมุสลิมต้องพูดภาษายาวี เพราะภาษายาวีเป็นภาษาของคนมุสลิม ภาษาไทยเป็นของคนพุทธ ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดเนื่องจากไม่รู้ประวัติศาสตร์ของภาษามาลายู ซึ่งมันมีอยู่ก่อนที่จะมีศาสนามุสลิม ก็ว่าได้ เช่นคำว่า " นาม " ซึ่งเป็นภาษาบาลี ในภาษามาลายูเขาใช้ว่า " นามา " เป็นต้น

                อาณาจักรศรีวิชัยดั้งเดิมมีอาณาเขตกว้างขวาง แผ่อิทธิพลไปไกล แม้กระทั่งประเทศฟิลิปปิน ดังนั้นภาษา " ตากาล๊อก " กับภาษา " มาลายู " ก็คือภาษาเดียวกันนั่นเองบางคนอาจจะงงว่าภาษาทั้งสองมันเป็นภาษาเดียวกันได้อย่างไร จะยกตัวอย่าง เช่นคำว่า " เด็ก หรือลูก " ภาษาทั้งสองจะคำว่า " อานัก " ( ใครรู้จักเพลง อานัก ที่คาราบาวเอาทำนองไปแต่งเป็นเพลงลุงขี้เมาตายที่ใต้สะพานลอย บ้างละ ) ในภาษามาลายู คำว่า " ลูกกุญแจ " คือ " อานักกุญจี " เป็นต้น

               ที่ไหง่รู้ภาษามาลายู เนื่องจาก ไหง่ได้รับหนังสือเรียนภาษามาลายู ที่คนเขียนหนังสือ สนิทสนมกับไหง่ดี ( ปัจจุบันแกอายุ 70 แล้ว ) แกเคยไปทำงานให้องค์การสหประชาชาติในมาเลเซีย สิบกว่าปี แกจึงเอามาเขียนเป็นหนังสือเรียนภาษามาลายู ซึ่งหายากมาก แม้ว่าจะเป็นภาษาที่อยู่ใกล้เราแค่คืบ แต่คนไทยไม่สนใจ ดันจะไปเรียน ภาษาสเปน ฝรั่งเศษ รู้ภาษาวัฒนธรรม รู้เขารู้เรา ความเข้าอกเข้าใจ มันย่อมต้องดีกว่าอย่างแน่นอน

              ช่วงสองสามวันนี้อาจารย์ดอกเตอร์ศิริเพ็ญ ต้องเดินทางไปสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่จังหวัดปัตตานี เพื่อติดตามผลการเรียนภาษามาลายู ด้วยภาษาไทย ตามงานวิจัย ของสถาบัน วิจัยภาษา วัฒนธรรมเอเซีย งานของอาจารย์นี่หลากหลายจริงๆ และเป็นงานเพื่อความมั่นคงของชาติเหมือนกัน นับถือ นับถือ ครับอาจารย์ ( ตอนหน้ามาคุยภาษาลาวโซ่ง บ้างซึ่งไห่ใกล้ชิดที่สุด และสนใจศึกษามา กว่าสิบปีแล้ว )

             

รูปภาพของ แกว้น

ภาษายาวี

ดีใจที่ทราบท่านวี่ฟัดสนใจภาษายาวี และอาจารย์ศิริเพ็ญ ทำวิจัยภาษายาวีด้วย ยามใดเรามีความลับต่อสาธารณะ เราก็สนทนากันด้วยภาษายาวีอีกหนึ่งภาษาแล้วกัน

อ. กคีไต้หวัน เกเละ บีลอ ยาแง ลูปอ วอยะ วุย ทาว กาเต๊ะ

ซายอ โด้ะ นาตี ดืองา จากคอ ล้าว บาซอ ฮากกา

ซาลามัท มาลัม (มาแล)

ตอบโกแกว้น

โกแกว้นเก่งจัง รู้ภาษามลายูด้วย ที่จริงไหงไม่รู้ภาษามลายูหรอก ที่ไปช่วงทำงานวิจัยทางภาคใต้ก็ได้แต่ไปช่วยจัดอบรมการจัดการเรียนการสอนด้วยภาษาแม่ (มลายูถิ่น) แต่ไม่ได้ศึกษาตัวภาษา เพียงแต่เป็นผู้ช่วยเหลือด้านเทคนิควิธีการเท่านั้นเองค่ะ

ขอทำความเข้าใจนิดนึงค่ะ คำว่ายาวี คือตัวอักษรที่เขียนดั้งเดิม ส่วนตัวอักษรที่เขียนด้วยภาษาอังกฤษเรียกว่า รูมี ส่วนภาษาพูด เรียก มลายูถิ่น หรือ ภาษามาเลย์ ของมาเลเซียค่ะ เพราะส่วนใหญ่จะสับสนกันและเรียกไม่ถูกค่ะ 

เพราะฉะนั้นที่อาโกเขียนไว้ กรุณาแปลด้วย ไม่งั้นก็ไม่เข้าใจค่ะ

ตอเชี้ย 

รูปภาพของ แกว้น

ความบังเอิญท่ามกลางสามวัฒนธรรม

ขอบคุณมากครับอ. ความจริงสมัยเด็กเราก็คุ้นเคยกับการพูดภาษามลายูแต่พอโตอ่านหนังสือพิมพ์ฟังสื่อมากขึ้นก็เลยไปกับเขาด้วย และเป็นความบังเอิญที่เกิดท่ามกลางอย่างน้อยสามวัฒนธรรมเท่านั้นแล

แกแจ๊ะ นายู
อ. กคีไต้หวัน เกเละ บีลอ ยาแง ลูปอ วอยะ วุย ทาว กาเต๊ะ
ซายอ โด้ะ นาตี ดืองา จากคอ ล้าว บาซอ ฮากกา
ซาลามัท มาลัม (มาแล)

แปลเป็นไทย (บาเละ ซีแย)
พูดภาษามลายู (แกแจ๊ะ นายู)
อ. ไปไต้หวันกลับเมื่อไรอย่าลืมบอกให้รู้ด้วย
ฉันกำลังรอฟังเกี่ยวกับอาหารสไตล์ฮากกา
ราตรีสวัสดิ์

ข้อควรระวัง “แกแจ๊ะ” แปลว่า “พูด” ถ้า “แงแจ๊ะ” แปลว่า “จีบ (สาว)”

รูปภาพของ วี่ฟัด

ANAK

           

             anak (เด็ก ) เพลงที่ฮิตและดังที่สุดในภาษาตากาล๊อก ของฟิลลิปปินส์ ซึ่งเป็นภาษาเดียวกับภาษามาลายู เฟรดดี้ อากีรา แต่งเพลง และร้องเพลงนี้เพลงเดียว หากินไปได้ตลอดชีวิตซึ่งพี่แอ๊ดของเรานำทำนองไปแต่งเป็นเพลงลุงขี้เมาดังนี้ครับ

 

รูปภาพของ แกว้น

ภาษาจีนยูนนาน

อ่านแล้วรู้สึกมีทั้ง "ผู่ทงฮว่า" และ "คากกาฟ้า" ในภาษาจีนยูนนาน

รูปภาพของ ฉินเทียน

อักษร สยาม 44 พยัญชนะ

อักษร สูง ------  11 ตัวอักษร ---- ข (ข) ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห

อักษร กลาง----   9  ตัวอักษร ---- ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ

อักษร ต่ำ คู่----- 14 ตัวอักษร ---- ค (ค) ฆ ช ฌ ฑ ฒ ท ธ พ ฟ ภ ซ ฮ 

อักษร ต่ำ เดี่ยว- 10 ตัวอักษร ---- ง ญ ย ณ ร ฬ น ล ม ว

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal