หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

แคะลึก แคะตื้น คืออะไร

อยากทราบ ว่าฮากกา ฉิมขั่กกับปั้นซั่นขัก ต่างกันตรงไหน อย่างไร มีอะไรเป็นเกณฑ์แบ่ง แล้วเมืองใดบ้างอยู่ในกลุ่มฉิมขั่ก และกลุ่มปั้นซั่นขั่ก หากเป็นฮากาจังหวัดเฟยโจวจะจัดอยู่ในกลุ่มใดครับ


รูปภาพของ มงคล

ต่างก็คือ 客家人


客家人 คนฮากกา ล้วนมีต้นกำเนิดมาจากทางจุงเหงียน (จงหยวน) อันเป็นดินแดนของชาวจีนฮั่นในสมัยโบราณ

และต่อมาได้แพร่กระจายอยู่หลายประเทศ แม้แต่ในจีนเองก็มีอยู่หลายมณฑน เช่น กวางตุ้ง ฝูเจียน ซึ่งยอมรับกันว่า ในแถบเหมยโจ มีชาวฮากกาอยู่หนาแน่นกว้างขวางมากที่สุด

ด้วยความที่ ชาวฮากกาที่อพยบลงมาหลายยุค หลายสมัย  และถิ่นที่อยู่ปัจจุบันก็แตกต่างกัน จึงทำให้มีสำเนียงแตกต่างกันไปบ้าง ซึ่งในบางคำก็เสียงเหมือนกัน และมีไม่น้อยที่ต่างกันเพียงเสียงวรรณยุค แม้มีบางประโยคที่เรียงคำหรือใช้อักษรคนละตัวกัน แต่เป็นส่วนน้อย จึงทำให้ปันซันขัก และชิมฮัก สามารถพูดคุยสื่อสารกันได้  


ส่วนคำถามยอดนิยม เพื่อแยกว่า ใช้สำเนียงใด นิยมถามว่า กินข้าว ที่บ้านเรียกว่าอะไร?  เพราะเป็นคำพื้นๆ ที่อาจจะเคยได้ยินมาแต่เล็กๆ (แม้จะพูดฮากกาไม่ได้เลยก็ตาม) และโดยเฉพาะ คำว่า ข้าว (ฟ่าน/ผ่อน) เป็นคำที่เสียงเรียกต่างกันชัดเจน

  • กินข้าวว่า ซึดฝ้าน - ชิมขัก เป็นสำเนียงทาง หม่อยแหย้น(เหมยเสี้ยน) ไท้ปู(ต้าปู) ซินหนิง เจียวเลี่ยง
  • กินข้าวว่า ซิดผ่อน - ปันซันขัก   เป็นสำเนีบงทาง เฟิงซุ่น ทองคัง เกียดหยอง (เจียหยาง) หย่งติ้ง

แต่ถ้าจะแยกโดยละเอียดแล้ว ชาวฮากกาในแต่ละตำบล อำเภอ ต่างก็มีสำเนียง/สำนวน ของตัวเองแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย จึงนิยมแบ่งเพียงสองสำเนียงหลักๆ ข้างต้น ซึ่งจะพบเห็นได้ว่า แม้เป็นภาษาปันซันขัก หรือ ชิมชัก ด้วยกันเอง บางคำ บางหมู่บ้าน ก็ออกสำเนียงแตกต่างกันไปบ้าง มากกว่า 5 สำเนียง

ในที่นี้คำว่า 客家人 ไม่ว่าจะอ่านว่า เคอเจียเหยิน เคอเจียเหริน ฮักกาหยิ่น ขักกาหงิน แคะแกนั้ง หรือชาวฮากกา ต่างก็เข้าใจในที่นี้ว่า เป็นผู้ที่มีบรรพชนร่วมสายโลหิต มาจากชาวฮั้นทางจงหงวนด้วยกัน

  • 深客 ชิมฮัก แคะลึก (ชิมแขะ–แต้จิ๋ว
  • 半山客 ปั้นซั้นขัก แคะตื้น (ปั้วซัวแขะ–แต้จิ๋ว)

 

รูปภาพของ วี่ฟัด

ท่านมงคลตอบได้สมบูรณ์มาก

                     ท่านมงคลตอบได้สมบูรณ์มาก ไม่ว่าจะเป็นฉิมหรือป้านต่างเป็นคนฮากกาด้วยกัน บรรพบุรุษของพวกเราต่างต้องต่อสู่เคียงบ่าเคียงไหล่กันในระหว่างทางที่ต้องเร่ร่อนรอนแรมมาจากจุ่งหยวน ( มณฑลเหอหนาน , เหอเป่ย , ซ่านซี ) มาด้วยกันนับเป็นพันปี จึงได้มาตั้งถิ่นฐานทางตอนใต้กระจายไปในหลายมณฑล ( กว่างตง , หูหนาน , ฟูเจี้ยน , ซื่อชวน ฯลฯ ) จึงอย่าให้ความเพี้ยนหรือเหน่อของภาษา ( นิดหน่อย ) มาเป็นอุปสรรคขวางกั้นความเป็นพี่น้องของพวกเราชาวฮากกาทั้งมวล

                    ความเพี้ยนหรือเหน่อของภาษาก็เป็นเรื่องปรกติธรรมดาเป็นธรรมชาติของภาษาหรือจะบอกว่านี่แหละคือเสน่ห์ของภาษา ดังที่อาโกอาคม ( ผู้เชี่ยวชาญภาษาฮากกาทั้งฉิมและป้าน ) ได้เคยกล่าวไว้ว่า " ในรัศมีเกิน 15 ก.ม. ของหม่อยแย้น ก็ไม่ใช่สำเนียงหม่อยแย้นแท้แล้ว " (บ้านไหงก็ไม่ใช่สำเนียงหม่อยแย้นแท้เพราะบ้านไหงอยู่ห่างจากหม่อยแย้น 25 ก.ม.) หากพูดถึงในประเทศไทยแค่สุพรรณ กับราชบุรี ถึงจะเหน่อก็เหน่อไม่เหมือนกัน เหน่อกันคนละแบบ (สมัยนี้เขาเรียกว่าเหน่อแบบมีอัตลักษณ์ ) ก็ไม่เห็นมีใครบอกว่า คนสุพรรณกับคนราชบุรี ไม่ใช่คนไทยหรือไม่ได้พูดภาษาไทย

                    แต่ไหง่ยังสงสัยอยู่อย่างหนึ่งคือภาษาปั้นซานขัก ที่มีข้อสันนิษฐานว่าเพราะอยู่ในระแวกใกล้เคียงกับคนแต้จิ๋วจึงทำให้ภาษาแบบปั้นซันขักรับภาษาแต้จิ๋วมาปะปนในภาษา แต่ที่หย่งติ้งอันเป็นที่ตั้งของฮากกาถู่โหลว ซึ่งไหงได้เคยไปและไปคุยกับคนที่นั่นและพบว่าคนฮากกาหย่งติ้ง พูดภาษาฮากกาแบบปั้นซันขัก จึงเป็นเรื่องที่ไหง่สงสัยว่าข้อสันนิษฐานว่าภาษาปั้นซันขักรับภาษาแต้จิ๋วปะปน ไหง่จึงชักไม่ค่อยแน่ใจแล้ว

                   อาโกอาคมกูรู ( กูรู้ ) ด้านภาษาฮากกากรุณาช่วยแสดงความคิดเห็นด้วยครับ

รูปภาพของ อาคม

แคะลีก แคะตื้น

ระวังแคะลีกไป เดี๋ยวหูจะดับเอา แต่ถ้าแคะตื้นไปก็ไม่มัน ใช่มั้ย มาเข้าเรื่องดีกว่า ไหงว่าสองคำนี้น่าจะเกิดจากคนแต้จิ๋ว ชิมแขะ ปั้วซัวแขะ ฮากกาหงินที่อยู่ติดกันและอยู่ปนกันกับแต้จิ๋วก็จะพูดออกสำเนียงปั้นซันขัก ก็จะมีหลายคำใช้เหมือนกันกับแต้จิ๋ว ฉะนั้นคนแต้จิ๋วก็พูดสี่อกันกับคนปั้วซัวแขะได้ดีกว่า ฮากกาหงินที่อยู่ไกลและลึกต้องข้ามเขาเข้าไปและสำเนียงที่ไม่คุ้นหูเข้าใจยากกว่าว่า ชิมแขะ คำว่า ชิม แปลว่า ลึก แต่คนสำเนียงปั้นซันขักที่อื่นก็ไม่เห็นว่า เขาจะเรียกตัวเองว่า ปั้นซันขัก เช่นที่ ฟุกเกี้ยน (ฮกเกี่ยน) เขาก็เรียกว่า ฟุกเกี้ยนขัก เป็นไปได้ว่าที่มีสำเนียงคล้ายปั้นซันขัก ภาษาฮกเกี่ยนก็ใกลเคียงกันกับแต้จิ๋ว และที่ ถ่อยวาน(ไต้หวัน) เขาก็เรืยกฮ่อยลุกฟุงขัก คือคนที่มีต้นตระกูลมาจาก ฮ่อยฟุง ลุกฟุง ลุกฮอ ฮอผ่อ(เกียดซี)เกียดหยอง ฟุงสุ่น คือที่มีสำเนียงกลุ่มปั้นซันขักทั้งหมด และที่พูดชิมขักว่า ซี่เย้นขัก(สี่อำเภอ)

ฮากกาหงิน ก็คือ ฮากกาหงิน สำเนียงไม่ใช่เป็นตัวแบ่งแยกชาติพันธุ์ เป็นเพียงบงบอกถีงถิ่นกำหนิดและเรียนรู้เติบโตมา ไหงได้พบกับคนฮากกามากมายที่อยู่นอกประเทศจีนที่ซึ่งในครอบครัวตัวเองไม่สามารถพูดสำเนียงของตัวเองได้ กลับได้สำเนียงอื่นที่มีคนพูดกันเป็นส่วนใหญ่ เช่น ฮากกามาเลย์ ก็ต้องเป็นฟุ้ยจิวฮาก ไหงมีเพื่อนคนปั้นซันขักแต่พุดได้แต่ฟุ้ยจิว คนฟุ้ยจิว ยับอาหลอย เป็นคนสร้างเมีอง KL และอีกหลายเมืองที่สร้างโดยฟุ้ยจิวหงินเมืองไท่ผิงก็ด้วย

ฉะนั้นเรามาใช้ว่า เราเป็นคนที่ไหนดีกว่าที่พูดว่า ชิมขัก ปั้นซันขัก เช่น ไหงเป็นไท่ปูขัก หมอยเย้นขัก ฟุ้ยจิวฮาก ฟุงสุ่นขัก กองซีขัก ฟุกเกี้ยนขัก ฮ่อเหงี่ยนขัก เกาจิวฮาก ฯลฯ 

รูปภาพของ YupSinFa

คำแนะนำของอาโกอาคมเข้าท่ามาก

ในการอบรม-สัมมนาหลักสูตรการเรียนเฉพาะกลุ่มในปัจจุบันก่อนที่จะเข้าเนื้อหาของการเรียนหรือหลักสูตรต่าง ๆ ไม่ว่าจะระยะสั้น ระยะกลาง หรือระยะยาว ก่อนที่จะเริ่มการเข้าสู่กระบวนการเรียนรู้นั้น ในหลักสูตรมักจะมีกิจกรรม "ละลายพฤติกรรม" เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมศึกษาเล่าเรียนซึ่งล้วนมีที่มาจากต่างถิ่นกัน มาหล่อหลอมรวมกันเป็นหนึ่งเดียว มาเป็นรุ่นเดียวกันที่มีแนวทางปฏิบัติหรือแนวความคิด-อุดมการณ์ ฯลฯ ไปในแนวทางเดียวกัน

วัฒนธรรมองค์กรของพวกเราชาวไทยฮากกาในระยะ 100 ปีลงมานับว่าบรรพชนของพวกเราก็มีความพยายามที่จะ "ลดช่องว่าง" หรือแบ่งแยกชนิดของกลุ่มภาษาสำเนียงของฮากกา ได้อย่างดีเยี่ยมในระดับที่น่าพอใจดังจะเห็นในสมาคมฮากกา (สมาคมที่เป็นสมาคมฮากกาจริง ๆ) ทั้งจากสมาคมฮากกาแห่งประเทศไทย และ สมาคมฮากกาจังหวัดต่าง ๆ รวมถึงผู้นำของพวกเราชาวไทยเชื้อสายฮากกาทั้งหลายที่เราคุ้นหูรู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น อากุงเกียรติ วัฒธนเวคิน (ปีนี้สิริอายุได้ 100 ปีแล้ว) คุณย่ายินดี ลิ่วเฉลิมวงศ์(น้องสาวของคุณบัญชา ล่ำซำ) คุณย่าจรรย์สมร วัฒธนเวคิน คุณผิน คิ้วคชา ตลอดจนบรรพชนท่านอื่น ๆ ที่ลาจากโลกนี้ไปแล้วและยังมีบทบาทในมวลหมู่ชาวไทยฮากกาทั้งหลายทั่วประเทศไทย

อย่างไรก็ตามในคนหมู่มากย่อมมีคนหมู่น้อยที่ยังไม่เข้าใจ และยังมียุวชนคนรุ่นใหม่ที่เข้ามาศึกษารากเหง้าของตนเองในเวทีแห่งนี้ ที่ยังมีความลังเลสงสัยในคำว่า แคะ ฮากกา ฉิ่ม ป้าน ดังที่มีคำถามมาตลอดเฉลี่ยทุกเดืิอนในระยะั เกือบ 4 ปีที่ชุมชนฮากกาของเราตั้งขึ้นมา

ไหงเป็นสมาชิกชุมชนรุ่นแรก ๆ จำได้ว่าได้มีโอกาสเข้าเป็นสมาชิกชุมชนฮากกาในตอนที่คุณคณากร ศรีมิ่งมงคลกุล ประกาศสถาปนาชุมชนออนไลน์ได้ไม่ถึง 3 เดือน สมาชิกรุ่นพี่ไหงที่ยังคงเกาะติดเหนียวแน่นจนทุกวันนี้ ก็คือ อาฉี(แน่นอนที่สุดอยู่แล้ว) คุณมงคล(ผู้มากด้วยความรู้ยิ่งนัก) และ อาจารย์เฉินซิ่วเชง หรือ เจ๊นุชของไหง่ ยังมีสมาชิกรุ่นพี่ไหงอีกท่านหนึ่งที่ไหงยังคิดถึงท่านตลอดเวลาและไม่มีโอกาสได้ติดต่อกันเป็นส่วนตัวเลยก็คือ "คุณท้ายแถว"

ไหงจำไม่ได้เลยว่าตลอดระยะเวลาของการเป็นสมาชิกชุมชนอันอบอุ่นแห่งนี้ ไหงได้ตอบคำถามเกี่ยวกับ แคะลึก แคะตื้น ไปกี่รอบต่อกี่รอบแล้ว และไหงก็ได้ "สื่อ" มาโดยตลอดว่า ฮากกา คือ ฮากกา โดยสายเลือด การอยู่อาศัยยังถิ่นต่าง ๆ ไกลกันออกไป ย่อมมีสำเนียงและเสียงศัพท์ที่แปลกเพี้ยนกันออกไปบ้าง

เมื่อวานนี้ไหงได้มีโอกาสชมรายการมองเอเชียของทีวีต่างประเทศช่องไหนจำไม่ได้แล้ว เป็นเรื่องราวในไต้หวัน ไหงเปิดไปเห็นพิธีกรสาวสวยน่ารักดำเนินรายการพูดคุยกับอาม่าท่านหนึ่ง เธอออกเสียงเรียกอาม่าอย่างชัดเจน ฟังไป ฟังไป กลายเป็นว่าเธอพูดภาษาฮากกากับอาม่า และพูดจีนกลางกับผู้ชม อาม่าก็พูดฮากกาไป ไหงเร่งเสียงทีวีให้ดังเพื่อเงี่ยหูฟังสำเนียงให้ชัดเจนว่าเป็นสำเนียงฮากกาที่ไหน จับใจความได้ว่าสำเนียงยังเป็นภาษากลางฮากกา แต่มีคำศัพท์ในภาษหมิ่นหนานมาปะปนอยู่ ภาษาหมิ่นหนานคือภาษาฮกเกี้ยนใต้ ที่คนส่วนใหญ่ในไต้หวันใช้กันอยู่นั่นเองจึงสามารถสรุปได้ว่าในปัจจุบันนี้ ภาษาฮากกาในไต้หวันจึงมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวออกไปอีกคือมีคำในภาษาฮกเกี้ยนใต้ปนอยู่ด้วยเหมือนกับที่ไหงฟังวิทยุฮากกาไต้หวันในเว็ปเรดีโอไทม์ดอทคอมที่อาโกกิ๋มหมิ่น ได้แนะนำมา 

ตามที่ทราบกันว่าทำไมฮากกาอำเภอหย่งติ้งถึงพูดสำเนียงเหมือนหรือคล้ายกับฮากกาฮงสุนหรือเกียดหยอง ทั้ง ๆ ที่อยู่ติดกับหมอยเย้นและไท้ปู ตามทฤษฎีอันบ้องตื้นของไหง่ ไหง่คิดเอาเองว่า 1.เป็นเพราะหย่งติ้งอยู่ในฮกเกี้ยน(ฝูเจี้ยน)และฮกเกี้ยนพูดภาษาหมิ่น เป่ย-หนาน ภาษาหมิ่นหนานเป็นภาษาแม่ของแต้จิ๋วและใหหนำ ไหงจึงคิดว่า ฮากกาหย่งติ้งได้รับเอาอิทธิพลภาษาหมิ่นหนานเข้าไปเหมือนกับฮากกาฮงสุนที่รับเอาอิทธิพลภาษาแต้จิ๋วมา และ 2. ง่ายที่สุดคือฮากกาหย่งติ้งมาจากฮากกาฮงสุนหรือฮงสุนมาจากหย่งติ้งซึ่งอันหลังนี้ไหงว่าเป็นไปได้น้อยกว่า เพราะที่หย่งติ้งมีถู่โหลวซึ่้งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นเหมือนกับที่ในหม่อยจูมีบ้านดินทรงเหมือนกับที่หย่งติ้งแต่แตกต่างที่ขนาดเล็กกว่ามากมายหลายเท่านักและที่หม่อยจูจะเป็นบ้านดินรูปเกือกม้าเสียเป็นส่วนใหญ่-บ้านของหงาเก้ยี้จี้ก็เป็นรูปเกือกม้าสูงชั้นเดียวแต่มีซ้อนกันสามชั้น(สามแถวตอนลึก)

ไหงจึงสรุปว่า ไหงเห็นด้วยกับคำตอบของท่านมงคล

และไหงเห็นด้วยอย่างยิ่งกับคำแนะนำของอาโกอาคมที่ว่า 

"ต่อไปนี้เราไม่เรียกกันว่าแคะลึกแคะตื้นหรือป้านหรือฉิ่มกันดีกว่า เรามาเรียกตัวเองกันว่า เป็นฮากกาบ้านนั้นเมืองนี้จะดีที่สุดไหงจึงอยากบอกไท้ก๋าหยิ่นว่า เรามาเริ่มกันเลย ไหงเป็นคนฮากกาจากเปี่ยงชุน-แหย่นหย่อง อำเภอหมอยเย้น ครับ"

ดังนั้นตั้งแต่บัดนี้ขอให้พวกเราทุก ทุก คน มาละลายพฤติกรรมร่วมกันด้วยการขอเชิญชวนให้ทุกท่านมาเรียกที่มาของตัวเองว่าเป็นชาวไทยเชื้อสายฮากกาจากอำเภอไหน-เมืองไหน ในกว่างตงกันเลยนะครับ

แต่ว่าลักษณะคำถามเช่นนี้จะยังคงมีอยู่คู่กับชุมชนของเราต่อไปเรื่อย ๆ ตราบใดที่ยังมียุวชนและสมาชิกใหม่ ๆ เข้ามา ขอให้บรรดาสมาชิกรุ่นก่อน ๆ และอาโกทั้งหลาย รวมถึงท่านที่เป็น "กูรู" ด้านภูมิศาสตร์-ประวัติศาสตร์-วัฒนธรรมฮากกาในชุมชนของเรา อย่าเบื่อกันเสียก่อนล่ะครับไท้ก๋าหยิ่น.

ขอตอบด้วย

ไหง่เป็นคนฮากกาจากเจียวเหลี่ยง อำเภอหมอยแย้น ครับ

รูปภาพของ วี่ฟัด

ถึงจุ้งฟะ

                     จุ้งฟะที่จริงจุ้งฟะต้องบอกว่า จุ้งฟะเป็นฮากกาจาก " เจียวเหลี่ยงแย้น หม่อยจิว " เนื่องจากเจี่ยวเหลี่ยงเป็นอำเภอ อำเภอหนึ่งของจังหวัด เหมยโจว ( หม่อยจิว ) เช่นเดียวกับหม่อยแย้น ( เหมยเซี่ยน ) ก็เป็นอำเภอ อำเภอหนึ่งของ เหมยโจว ( หม่อยจิว ) เช่นเดียวกัน แต่หม่อยแย้นเปรียบเสมือนเป็นอำเภอเมือง ถ้าเปรียบเทียบแบบจังหวัดในประเทศไทย คำว่าแย้น ( เซี่ยน )ในภาษาฮากกาแปลว่าอำเภอ จิว ( โจว ) แปลว่าจังหวัด

                      เหมยโจว ( หม่อยจิว ) ประกอบด้วยอำเภอต่างๆอยู่หลายอำเภอเช่น หม่อยแย้น , ไท้ปู้แย้น , ฮิลแหน่นแย้น , เจียวเหลี่ยงแย้น , ฟุงซุ้นแย้น , อึ้งฝาแย้น ( อู่หัว ) ฯลฯ

                       เจียวเหลี่ยงแย้นไหง่ก็เคยไปมาแล้ว เนื่องจากหากใครที่จะเดินทางจากหม่อยแย้นไปหย่งติ้งถู่โหลวก็จะต้องเดินทางผ่านอำเภอไท้ปู้ และอำเภอเจียวเหลี่ยงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

                       ดังนั้นจุ้งฟะจึงต้องบอกว่า จุ้งฟะมีบรรพบุรุษเป็นชาวฮากกาจาก เจียวเหลี่ยงแย้น หม่อยจิว (เจียวเลี่ยงเซี่ยน เหมยโจว )

เกียด หยอง ขัก

คุณอาคม  ไหงเป็นขักหงิน  ก้องขักว้อย  มาจากเกียดหยอง  แล้วหงีเอา  เกียดหยองขัก  ไปไว้ไหนซะแล้ว? 

แจวซิ้นสุ้ยโก๊

ไหง เสวี่ยง หลอย เสวี่ยง ขื้อ

หงี อั้น เน็ต ก้อง หยิ่ว หัน เข้า อื๋ม ท่อ ต้อง

หมัก ไก้ ฮั้ม หว่า เกียด หยอง ขัก

หมัก ไก้ ฮั้ม หว่า ฟุ้ง สุ้น ขัก

ไหง หว่า ฉิ่ว เห่ ห่ำ ไก้ เอ้น ไก้ ปั้น ซั้น ขัก

หยิด หย๋อง หยิด หย่อง

หมอ ฮั้ม หว่า ปั้น ซั้น ขัก ไก้ เกียด หยอง ขัก

ฉิ่ว ยิ้ว ปั้น ซั้น ขัก ไก้ ฟุ้ง สุ่น ขัก 

อั้น เน็ต ชก ฟุ้น ยิ้ว กี้ โต๊ ขัก

อื๋ม ตี้ กี้ โต ต้อ กี้ โต ขื้อ ปั้น ซั้น ขัก 

ฮั้ม ขี้ หล่อย ฉิ่ว เข้า หลับ หลับ ชับ ชับ ขื้อ

ไหง หว่า

ไหง ฮั้ม จิ ก๊า จ้อ ปั้น ซั้น ขัก งิ๋น ฉิ่ว ฮ้อ

 

 

หวุน เชี้ยง ก๊อ

     งา จู้ กุ๊ง ตอ เห่ ฮ้อย ปั้น ซั้น ขัก ถี่ ฟ้อง หลอย,

     ไง เฉี่ยน ห้อ เปี้ยน คื่อ จ้อ เพ็ด หย่อง ขัก เหน่ ,

     เงวี่ยง เตด ต๊อ เห่ ช้อก จ้อ ปั้น ซั้น ขัก หงิน,

     หมอ ลี หั่น ห้อ คื่อ เปี้ยน จ้อ ปั้น ซั้น ขอก หมั่ง

     ตี,ฮะ ฮะ ฮะ  งี หว่า เห่ หม่อ?

แจว ซิ้น สุ้ย โก๊

ฉุ๋ง เซ่ ไหง ฉิ่ว เท้น อา กุ๊ง อา ม๊า

อา ป๊า อา เม๊ ฮั้ม เอ้น จิ ก๊า หว่า ขัก งิ๋น

อา ป๊า เก๊า ไหง ชก ก้อง ปั้น ซั้น ขัก ฝ่า

โม๊ย ก้อง ฟั้น ฝ่า หมอ หลี โว่ย เปี๊ยน จ้อ ฟั้น งิ๋น

ไหง ฉิ่ว ชก เตี้ยม เตี้ยม ถุง อา ป๊า ฮก ขัก ฝ่า

อา ป๊า ฮั้ม ไหง ฮก ก้อง เหนียม เกี้ย จ๊อย

ไหง เซี่ยง หลิว  ............ ไหง เซี่ยง หลิว

เหมียง หวุน เชี้ยง  ..............  เหมียง หวุน เชี้ยง

ถ่อง ซั้น ก้วง ตุ้ง เส้ม  ............  ถ่อง ซั้น ก้วง ตุ้ง เส้ม

เกี๊ยด หย๋อง สี่  ............  เกี๊ยด หย๋อง สี่

ปุ้น สุ้ย ไฉ่  ..............  ปุ้น สุ้ย ไฉ่

ไหง เหนียม อา ป๊า ก้อง ย้า อื๋ม ตี้ หมัก ไก๊

ต้อ สี ไหง ขื้อ ถอย หวั๋น จั้ง ตี้ หว่า อา ป๊า เก๊า ไหง ก้อง หมัก ไก้

กิ้น เสวี่ยง ขี้ หล่อย ฮั้ม หว่า สี เกี้ยน ซ้า ยั้ง ขื้อ เหล่ยว

ตี้ หว่า ยิ้ว หยัก ไก๋ ฮ่า ชก ยิ้ว ซิ้ม ทุก โต้ เต้ว

สี เกี้ยน กั้ว ขื้อ หลี ฮ่า หมอ เปี้ยน เหล่ว

หงี หว่า เห่ หมอ

 

รูปภาพของ วี่ฟัด

แหม....แอบคุยกันอยู่สองคน

                          ตามที่หวุ่นเซี้ยงก็อ กับ แจวซิ้นซุ้ยก๊อ แอบคุยกันอยู่สองคน ไม่เป็นไรหรอก คุยกับคนอื่นๆบ้างก็ได้ แต่ว่าไหงพอรู้เรื่องนะ ที่ก๊อทั้งสองคนคุยกัน

                          อาโกอาคมเขาไม่ได้บอกว่าต่อไปนี้จะต้องเรียก เกียดหยองขัก , เกียดซีขัก , ฟุงซุ้นขัก หรือหม่อยแย้นขัก จะเรียกป้านซานขัก หรือฉิมขักไม่ได้อีกแล้ว ไม่ใช่อย่างนั้นแต่เป็นเพียงการแสดงความคิดเห็น และอาโกอาคม พยามยามชี้ให้เห็นว่า ป้านซานขัก แต่ละภูมลำเนาหรือแต่ละเมือง ก็มีความเป็นเอกลักษณ์หรือจะเรียกแบบภาษาทันสมัยหน่อยก็จะเรียกว่า " มีอัตลักษณ์เป็นของตนเอง " ฉิมขักก็เหมือนกันแต่ละอำเภอก็มีสำเนียงเป็นอัตลักษณ์เป็นของตนเอง หม้อยแย้น กับ ฮิลแหน่น ( ห่างกันแค่ 30 กว่ากิโล ) ยังมีสำเนียงบางคำแตกต่างกัน ตามที่อาโกอาคมเสนอเป็นการเรียกแบบละเอียดเฉพาะเจาะจงมากขึ้น

                         แต่การเรียกแบบ ป้านซานเค่อ ( ปั้นซันขัก ) หรือเซินเค่อ ( ฉิมขัก ) ก็ยังเรียกได้ตามจารีตประเพณ๊ซึ่งได้ยึดถือกันมานานแสนนานแล้ว

วี ฟัด โก๊

ไหง พัก ซิด ตุ้ย เมี่ยน ก้อง

อื๋ม สิด กัก งิ๋น ทั้ม ก้อง ฝ่า

ฮั้ม หว่า หมอ ลี่ เม่า ไหง ชก อื๋ม ก้ำ จ้อ

ไหง โว้ แจว ซิ้น สุ้ย ก้อง ขัก ฝ่า

ตี้ เต็ด หว่า ไก้ ไก้ เท้น เต็ด สิด

ไหง โย่ง ก้ำ ก้อง ช้า ไถ่ ก๊า งิ๋น

ไหง ชก หยิด ถิ่น ก้อง จิ้น สิด ไก้ ซิด ฉิน

ฉุง เซ่ ไหง ย้า อื๋ม สิด ก้อง โซ้ย เพ็ด สา

อา ป๊า โว่ย ม๊า สี เต็ด ก้อง อั้น เน็ต สื่อ ฉิน

หงี เถว เซี้ยน ย้า ก้อง หว่า หงี ตี้ ไหง ลว่อง สา ก้อง

หงี ชก หมิ๋น พัก ไหง ลว่อง สา หมอ กัก งิ๋น เท้ว ก้อง

หมอ ย่าง หมอ เจียก ไก้ สื่อ

เฮ่ หมอ อา โก๊

 

หวุน เชี้ยง ก๊อ

     ฉิ่ว เห่ หม่า,  ไง ถั่ง จ้อ เส้  ต๊อ เห่ ไหน สิด เท้น,

     งา หยา งา แม้ เก๊า  หว่า เอ๊น กา ขัก หงิน,

     อื๋ม สิด เท้น ต้อ ลี่ สา หว่า เพ้ด หม่า ไก หงิน,

     งิบ  บุก ฉิ่ว เห่ ช้อก ก้อง ขัก ว้อย,

     กา ฟัน ว้อย หว่อย ส้าย ก๊อก,

     จิ้น จิ้น  ไง ลา ฮัน อื๋ม สิด จ้อน ถอง ซั้น,

     ปุด กว้อ ไหน สิด ยิ้ว งา ไถ่ ปัก ไก้ ล่าย,

     งา ไถ่  กู๊ ไก ซุ้น,  งา ไถ่ ปัก ไก้ ซุ้น, งา คิ้ว เตว เฉ่,

     เช่ว หมาย ซี่ อึ้ง หลุน,  

     ลุน  หลุน ต๊อ เห่ ไง ฉ่อ ไต้ กี ฉุด หมุน เหลี่ยว,  

     กี ตอ เห่ ก้อง หว่า เอ๊น ขัก หงิน, ก้อง ขัก ว้อย,

     กี เฉ่ ไก ว้อย  ต๊อ เห่ ว้อ หงี ว้อ ไหง อั๋น เหน่ ก้อง,  

     อื๋ม หว่อย เจ้ว จั๊ง,   ไหง่ ค่อน เอ๊น เลวี่ยง สา หั่น ห้อ,

     ฮัน หว่อย ก๊อก เกี่ย กี้, ไง หวุก เปี๊ยน ยิ้ว ไก อา สุก,

     ฮ้อย คอง ต๊อย ไส้ หล่อย,

     ลา  ต้อ โอ้ย ว้อ กี่ เกี๊ยด เกี่ย กี้ ขัก ว้อย,

     หว่อย ตี้ กี่ ก้อง หมอ,ช้อก ว้อ กี่ ก้อง จ้อ ฟั้น ฝ่า,

     ต้อ หลี ห่า หล่อย, เงี้ยด เถว ก๊อย โอ้ย อ้ำ เหล่ว,

     ฉิ่ว เห่ อั๋น  เตด  ม้อย คื่อ เสวี่ยง เถียด ต๊อ เหล่ว,

     ตุ๋ง เห่ ยิ้ว จื้อ ซุ้น ช้อก เก๊า  กี หว่อย ก้อง เลน สัง,

     หมอ หว่า ชิด ชิ้ด ฉิ่ว เปวี้ยง กี่ คื่อ ก้อง ฟั้น ฝ่า,

     ....  งี หว่า เห่ หม่อ     

รูปภาพของ วี่ฟัด

ว่าด้วยสำเนียงฮากกาหย่งติ้ง

                ที่ไหง่เคยสงสัยว่า ...ทำไม ? คนเกียดหยองขัก เกียดซีขัก ฟุงซุ้นขัก ( ตามนโยบายของอาโกอาคม ) มีภาษาพูดสำเนียงฮากกาเหมือนกับหยุ่นถิ้นขัก ( หย่งติ้ง ) ซึ่งมีสำเนียงพูดแบบป้านซานเค่อ ( ปั้นซันขัก ) เหมือนกัน โดยมีการสันนิษฐานกันว่า ทางเกียดหยอง เกียดซี ฟุงซุ้น มีความใกล้เคียงกับคนแต้จิ๋ว จึงรับภาษามาจากคนแต้จิ๋ว แต่คนหยุ่นถิ้นละ ทำไม ? จึงมีสำเนียงภาษาฮากกาแบบปั้นซันขัก ซึ่งอยู่ห่างไกลจากคนแต้จิ๋วเยอะมาก โดยอาโกอาคมให้เหตุผลว่า ก็เนื่องจากหย่งติ้งอยู่ในมณฑลฟูเจี้ยน ( ฮกเกี้ยน )ใกล้ชิดกับคนฟูเจี้ยน ( ฮกเกี้ยน ) ไง ไหงถึงบางอ้อเลย โดยไหง่ขออธิบายเพิ่มเติมว่า ก็ภาษาฟูเจี้ยน ( ฮกเกี้ยน ) กับภาษาแต้จิ๋ว คือภาษาเดียวกัน ( คนแต้จิ๋วคือผู้อพยพมาจากมณฑลฮกเกี้ยน ) แต่มีความเพี้ยนความเหน่อ คล้ายๆกับ ภาษาฮากกาแบบป้านซานเค่อ ( ปั้นซันขัก ) กับเซินเค่อ ( ฉิมฮัก ) นั่นเอง ดังนั้นเมื่อคนฮากกาซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเกียดหยอง เกียดซี ฟุงซุ้น ที่มีความใกล้ชิดกับชาวแต้จิ๋ว จึงมีสำเนียงภาษาฮากกา เหมือนๆกับคนฮากกาหย่งติ้ง ที่มีความใกล้ชิดกับชาวฟูเจี้ยน ที่พูดภาษาฮกเกี้ยน

                  มีนักวิชาการชาวจีนแต้จิ๋วหลายๆท่านซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญภาษาแต้จิ๋วในประเทศไทย  ได้กำหนดให้ภาษาแต้จิ๋วเป็นอีกหนึ่งสำเนียงภาษา ( ฟางเหยียน ) โดยใช้ชื่อว่า " หมิ่นหนานฟางเหยียน " โดยกำหนดตามหลักภูมิศาสตร์ว่า เมืองแต้จิ๋วอยู่ทางตอนใต้ของมณฑล ฟูเจี้ยน ( ฮกเกี้ยน ) ซึ่งมีสำเนียงภาษาของตนเองคือ " หมิ่นฟางเหยียน " แต่นักวิชาการในเมืองจีนกลับไม่ยอมรับ โดยกำหนดให้ภาษาฮกเกี้ยน , ภาษาแต้จิ๋ว และภาษาไห่หนาน ( ไหหลำ ) รวมกันเป็นสำเนียง " หมิ่นฟางเหยียน " เนื่องจากภาษาทั้งสามดังกล่าวเป็นภาษาที่ไม่ได้แตกต่างกันมากอย่างมีนัยสำคัญ มากนักที่จะกำหนดขึ้นเป็นอีกหนึ่งฟางเหยียนได้ ( ฟางเหยียนมีทั้งหมด 7 ฟางเหยียน ภาษาฮากกา ( เค่อเจียฟางเหยียน ) เป็น 1 ใน 7 ฟางเหยียน )

                  จึงเห็นได้ว่าภาษาฮกเกี้ยน กับภาษาแต้จิ๋ว จึงมีความคล้ายกันมาก จึงเป็นเหตุผลที่แสดงได้ว่าทำไม? คนฮากกาที่มีภูมิลำเนาอยู่ใน เกียดหยอง เกียดซี ฟุงซุ้น จึงมีสำเนียงภาษาฮากกา คล้ายๆกับคนฮากกาที่มีภูมิลำเนาอยู่ที่หย่งติ้ง

                 ไหง่จึงขอ.....เอวัง......ด้วยประกา.ร..ช..นี้

แคะลึก แคะตื้น

แคะลึก ชิมขัก   深客     นิยมเรียกตัวเองว่า ฮักกา 客家  ฮากกา

แคะตื้น  ปันซันขัก 半山客人 นิยมเรียกตัวเองว่า ขักงิ๋น  客人

แคะลึก 深客         แคะตื้น         半山客人  เท่ากับ คนแคะ  客人


แคะลึก 深客         คือ คนฮากกา 客家        ฮากกา      ฮักกา


แคะตื้น 半山客人   คือ คนแคะ    客人        คนแคะ     ขักงิ๋น

ความแตกต่างที่เกิดขึ้นเพราะคน  แคะลึกเป็นคนฮักกา

ส่วนคน  แคะตื้นเป็นคนขักงิ๋น

คนแคะลึกมีบ้านเรือนอยู่ทางตอนบน  ซึ่งส่วนมากเป็นภูเขา

คนแคะตื้นมีบ้านเรือนอยู่ต่ำลงมาเชิงเขาติดกับพื้นที่ชายทะเล

ทำให้แบ่งเขตได้ชัดเจนว่าเป็นสองส่วนกันเหมือนเหนือกับใต้

ที่ใช้ภาษาเดียวกัน แต่มีสำเนียง และสำนวนเพี้ยนต่างกัน

จะเป็นเชื้อสายเดียวกันหรือไม่ ?  ไม่สามารถยืนยันพิสูจน์ได้

คล้ายกับว่าคนปั้นซั้นขักเป็นชาวนาชาวสวนชาวไร่ในกรุงเทพฯ

เปรียบอีกก็คล้ายคนด้อยการศึกษาใช้แรงงานทำนาทำสวนทำไร่

ตอนนี้บ้านเมืองเจริญขึ้น  คนปั้นซั้นขักก็เลยพอที่จะลืมตาอ้าปาก

เชิดหน้าชูตาในสังคมกับเขาได้บ้าง  ก็เท่านั้นเอง

 

รูปภาพของ วี่ฟัด

จงมีจิตรศรัทธาฮากกา

                    จงมีจิตรศรัทธาฮากกาเถิด

                จะบังเกิดภูมิใจหลั่งไหลโถม

                เป็นเรื่องจริงมิใช่เรื่องประโลม

                แล้วน้อมโน้มจิตใจสู่หมู่ฮากกา

                     หมู่ฮากกาคือชุมชนคนขยัน

                 คอยสร้างสรรค์เพื่อลูกและเพื่อหลาน

                 ก้าวเดินไปไฝ่ดีมาแสนนาน

                 ให้ก้าวผ่านอบายชั่วเกลือกกลั้วตน

                     จิตรใจชาวฮากกาจงแน่วแน่

                 อย่าผันแปรเปลี่ยนแปลงหน่ายแหนงหนี

                 น้อมใจภักดิ์ฮากกาคือมรรควิธี

                 ชั่วหรือดีรู้เท่าทันไม่ผันแปร

                       ฮากกาคือสะอาดสงบสว่าง

                  ครบสามอย่างจึงเรียกว่าฮากกาหงิ่น

                  เชื่อฟังบรรพชนสั่งสอนเคยได้ยิน

                  จะไม่สิ้นจิตรศรัทธาฮากกาเอย

 

                  

 

รูปภาพของ อาคม

ทำไมเว็ปนี้ถึงได้ชื่อว่า 客家人 Hakka people

ตามที่ได้กล่าวไว้แล้วและท่านผู้มีเกียรติหลายท่านได้แสดงความเห็นไปพอสมควร ไหงได้ตอบข้อสงสัยของคุณฮ้อนสีออง ที่ถามมาว่า ชิมขัก ปั้นซันขัก ต่างกันอย่างไร ก็ได้ชี้ให้เห็นว่าเป็น ฮากกาหงิ่น เหมือนกัน ต่างกันตรงสำเนียงพูดเท่านั้น และหลายท่านก็เข้าใจเลยว่า ทำไมถึงมีสำเนียงปั้นซันขัก และที่คล้ายปั้นซันขัก เช่นของไหง ไท่ปูขัก คำว่า กินข้าว พูดว่า ซิดผ่อน เหมือนกัน ทั้งๆที่เป็น ชิมขัก อาจเป็นเพราะ ไท่ปู เมื่อก่อนขึ้นตรงกับแต้จิ๋ว และอยู่ติดกันกับ ฟุกเกี้ยน ฉะนั้นการจะแยกว่าใครเป็นชิมขัก และปั้นซันขัก โดยเอาคำว่า ซิดฟ้านกับซิดผ่อนนั้นไม่ได้ อย่างที่ไหงได้กล่าวไว้แล้วว่า ขอให้บอกว่าตัวเอง(บรรพบุรุษ)มาจากไหน คนเขาก็จะรู้ได้ทันทีจากสำเนียงและถิ่นที่มา จะพูดว่าคนฟุงซุ่นทั้งหมดเป็นปั้นซันขักทั้งหมดก็ไม่ได้ เพราะคนที่อยู่บนๆก็ไม่ได้พูดสำเนียงปั้นซันขัก ในเมีองไทยก็อย่างที่บอกปั้นซันขักหมายถึงคนที่อยู่ติดและปนกันกับแต้จิ่ว มีคนฟุงซุน เกียดหยอง เกียดซี ลุกฮอ และฮอยฟุงลุกฟุง ตั้งแต่ลุกฮอลงมาก็พูดกันไม่ค่อยรู้เรื่องแล้วบางคำก็เปลี่ยนไปแล้ว เช่นคำว่า ไข่ ทางข้างบนเรียกว่า ล่อน แต่เขาเรียกว่า ชุ้น ทั้งๆที่เป็นปั้นซันขัก

ฮากกา ทุกฮากกาก็ลำบากเหมือนกันหมด ไม่มีสำเนียงไหนเลอเลิศกว่ากัน เท่าที่เห็นปั้นซันขักจะได้เปรียบสำเนียงอื่นตรงที่พูดได้ทั้งแต้จิ๋วและฮากกา หรือถ้าคนที่พูดไม่ได้ก็หัดพูดได้ดีและเร็วกว่าคนชิมขัก

ที่ว่า ชิมขัก อยู่แต่ที่สูงตามภูเขานั้นก็ไม่ใช่ทั้งหมด นี่คือความคิดของคนแต้จิ๋วที่อยู่ข้างล่างปั้นซันขัก ถึงได้เรียกฮากกากลุ่มนี้ที่อยู่ติดกันและมีสำเนียงเพี้ยนมาทางเขาว่า ป้วซัวแขะ ชิมขักที่อยู่ติดทะเล และเป็นชาวประมงตัวยง ก็คือ ฟุ้ยจิวฮาก เป็นชิมขักที่มาอยู่ติดและปนกันกับคนกวางตุ้ง คำว่า ไก่ ก็เข้าไกล้ คำว่า ไก้ ของกวางตุ้ง เป็น แก ของหม่อยเย้นและปั้นซันขัก ชิมจุ้นเป็นถิ่นฮากการวมทั้งฮ่องกงด้วย แต่ถูกคนกวางตุ้งค่อยๆกลืนแล้ว จะเห็นว่า ฮากกาเรามีแต่จะหดลง เรามาช่วยกันจรรโลงให้ฮากการเราขยายพันธุ์ต่อไป

ฮากกาหงิ่น กับ ขักหงิ่น ต่างกันมั้ย ถ้าฟังธรรมดาก็ไม่เห็นว่าต่าง ก็ที่คนอื่นเรียกเราว่า คนแคะ แขะนั้ง ก็คือ คนไม่ธรรมดา เป็นแขกผู้มาเยือน ภาษาจีนก็คือ 客家人คนชาวฮากกา

ทำไมถึงไม่ใช้คำว่า 客人ภาษากลางหมายถึง แขก guest ; visitor ภาษาถิ่น 人客

                          客家หมายถึง 客家人 Hakka ; Hakka people

หวังว่าคงเป็นที่เข้าใจ ถ้าเห็นว่าส่วนไหนที่ไหงพูดผิดก็ต้องกล่าวขออภัย และช่วยติติงด้วยครับ

客人/ 客家

 

 客家 แปลว่าอะไร?

 客人 แปลว่าอะไร?

   ลองถอดทีละตัวอักษรดู

แต่ขักหงิน (客人) เป็นคำที่ ปั้นซั้นขัก ใช้เรียกตัวเอง

 แล้วก็ฮากกา ( 客家) เป็นคำที่ ชิ้มฮัก ใช้เรียกตัวเอง

ไม่รู้ไหงจะเดาถูกหรือเปล่า?

คำพระท่านว่าลองใช้  "โยนิโสมนสิการ"ดู แล้วจะรู้ 

 

รูปภาพของ อาคม

ชิ้นสุ้ยก๊อ หนี่ ซื่อ หว่อ เตอ เค่อ เหริน

ไหง แฮ่ ขัก หงิ่น ฉันเป็นคนแคะ ของไหงก็ใช้เหมือนกัน ทั้งชิมขัก และ ปั้นซันขัก แต่เป็นภาษาถิ่น ถ้าเป็นทางการแล้วเขาจะใช้ว่า ชาวฮากกา 客家人 คนบางคนยังเข้าใจผิดอยู่ว่าปั้นซันขักเท่านั้น ที่เรียกตัวเองว่า ขักหงิ่น ซึ่งไม่ใช่เลย เราเรียกพวกเราว่า ขักหงิ่น ทั้งนั้น คำว่า ขักหงิ่น 客人 ตามจื้อเตี่ยนแปลว่า แขก, ผู้มาเยือน ตรงกับภาษาถิ่นของพวกเราว่า หงิ่นขัก 人客 ส่วนชาวฮากกาซึ่งเดิมถ้าไม่อพยพลงมาอยู่ในถิ่นของคนอื่น ก็คงไม่ใช่ชื่อว่า ขักหงิ่น คงจะมีชื่อเรียกตามถิ่นที่อยู่ เช่น เราเรียกคนที่มาจาก ซานตุง ว่า ซานตุงหงิ่น เป็นต้น แต่เป็นเพราะเรามาอยู่ในถิ่นของคนอื่น จึงถูกคนอื่นเรียกเราว่า ขักหงิ่น คือ แขก ผู้มาเยือนนั่นเอง เราก็เรียกตัวเองตามเขาว่า เราเป็นขักหงิ่น ฉะนั้นคนแคะทั้งหมดไม่ว่าจะสำเนียงไหน ก็ใช้ว่า ขักหงิ่น ในภาษาพูดทุกคนก็เข้าใจคือ คนแคะ แต่ตามจื้อเตี่ยนเขาบัญญัติชาวแคะเราไว้ว่า 客家 Hakka และ 客家人 Hakka people ฉะนั้นฮากกาทั่วโลกก็เรียกตัวเองให้ถูกต้องเป็นทางการและเป็นสากล ก็ต้องใช้คำว่า ฮากกา Hakka ก็เท่านั้นเอง หรือใครยัง old fashion อยู่ก็ไม่ว่ากันครับ

หมอ เซวียง ก๊อน

     คุณอาคม ไหงขอบใจหงีมาก ที่ช่วยชี้แจง

แต่ไหงคงยืนยันตามเดิม คำเดิม ไหงขักหงิน

ไหงไม่เคยไปเมืองจีนก็จริง แต่พวกลูกชายไถ่ปักไหง

หลาน ๆ ไหง ที่อยู่ทางโน้น คนนึงรับเหมาปลูกอาคารที่

ชิ้มจุ่น  อีกคน ไปทำโรงงานผลิตภัณฑ์ แบรนเนม 361องศา

ที่ห้อยหนำ และอีกหลายคน แต่ละคนก็วิ่งล่องไปล่องมา

มาเที่ยวที่บ้านไหง มากัน 4-5 ชุด มาทุกหน

ไหงพาเที่ยวทุกครั้ง ทุกคนก็เรียกว่า ขักหงิน ทั้งนั้น ไอ้ฉื่อเตี้ยนนี่

บางทีก็ เตียนเตี๊ยนได้เหมือนกัน หงีลองดู ชื่อผลไม้ดู มันแปลไป

เป็น 2-3 ชื่อ บางชื่อก็ไปซ้ำกับผลไม้อีกชนิดหนึ่ง ไม่เป็นไรหรอก

ไหงใช้กับ หวุนเชี้ยงก๊อ สองคนก็พอ จะโบราณแต่ว่าเรียกตาม

ภาษาปั้นซั้นขักก็ถูกต้องดีแล้ว  เรามาคุยเรื่องอื่นกันดีกว่า   

รูปภาพของ มะไฟ

ไหงถ๋องหงิน

เกิดมาไม่เคยรู้เรื่องฮักกาหงิน ขักหงิน กุ๊งไหงสอนแต่ว่าหงีถองหงิน ตั้งแต่เข้ามาผมก็ถามว่าถองหงิน คือคนถองคั้งเห่หมอ เพราะไหงไม่รู้เลยว่ามันเป็นอย่างไงแคะลึก ก็เคยได้ยินมา แคะตื้นก็รูว่าตัวเองเป็นแคะตื้น แต่ตื้นลึกหนาบางไหงไม่รู้ พูดภาษาเดียวกัน สำเนียงใกล้เคียงกัน ก็เหมือนไทยลาว เขาเรียกว่าพี่น้องกัน ไหงก็ว่าพวกเราเป็นพี่น้องกัน มีรากเหง้ามาจากถองซั้นเหมือนกัน คนมาจากบ้านเดียวกันพอไปต่างเมืองก็จะดีใจที่เจอกัน รู้สึกไม่ว้าเหว่ ตอนนี้ไหงมาเจอพวกเรา ไหงก็คิดว่าเจอพี่น้องกัน ไหงก็รักพี่น้องถองหงิ๋นด้วยกันครับ ไหงไม่รู้ว่าไหงคิดถูกต้องไหมลองตอบให้ไหงรู้ที จะได้เข้าใจ

ไหง ย้า เห่ ถ๋อง งิ๋น

ถั่น สี่ ไหง เสียม หลอ ฉุด เซ่

กิ๊น หลุก ซิบ หลุก เซ่ เหล่ว หัน หมั๋ง สิด

จ๊น ถ๋อง ซั้น ขื้อ ง้า ไก้ อา กุ๊ง อา ป๊า ไก้

หวุก ค้า ห่า เหนียน ไหง หยิด ถิ่น ชก จ๊น

ขื้อ หยิด ลิ้น  ถ๋อง ซั้น หัน ยิ้ว ง้า หงี่ กู๊ ซั้ม สุก

หงี่ กู๊ กิ้น เหนียน หยิด ปัก หลัง ล่วง เซ่

ซั้ม สุก ย้า กิ้ว ซิบ เซ่ หลี ห่า อื๋ม ขื้น ซ่อน

อื๋ม ถิ่น อื๋ม ตี้ หัน ยิ้ว เกี้ยน เหมี่ยน หมอ

ไหง จั้น สิน หงี หว่า เอ้น เต้ว สา เห่ ถ๋อง งิ๋น

โม้ย เสวี่ยง หว่า ลี่ โว้ง หลอย หั่ม ไก้

ฉิ่ว เห่ เอ้น ถ๋อง ซั้น ไก้ ถ๋อง งิ้น

 

รูปภาพของ นายวีรพนธ์

ฟังเพลงก่อนครับ

Hakka Song: 客家本色

คุณอาคมช่วยแปลให้หน่อยครับ ขอบคุณครับ

รูปภาพของ นายวีรพนธ์

客家人的来源1

客人 不是 人客

半山客人   是   客人   ปั้น ซั้น ขัก งิ๋น  เห่  ขักงิ๋น

คนจีนปั้นซั้นขัก  คือ  คนจีนเชื้อสายขักงิ๋น

半山客人   不是   人客     ปั้น ซั้น ขัก งิ๋น   อื๋ม เห่   งิ๋น ขัก

คนจีนปั้นซั้นขัก  ไม่ใช่  แขกผู้มาเยือน หรือ แขกผู้มาเยี่ยม

 

客家    是    客家     ขัก ก๊า   เห่     ขัก  ก๊า (ปั้นซั้นขัก)

                              ฮาก กา   เฮ่    ฮาก กา (ฮากกา)

ครอบครัวฮากกา  คือ  ครอบครัวฮากกา

客家人   是   客家人  ฮากกาเหงิน  เฮ่  ฮากกาเหงิน

ครอบครัวคนฮากกา  คือ  ครอบครัวคนฮากกา

 

半山客人 = 客人

客家人    =  客家人

 

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal