หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

ตัวอักษร : อักษรภาพภาษาจีน

รูปภาพของ เฉินซิ่วเชง

"เล่น" กับตัวอักษร : อักษรภาพภาษาจีน

ตัวหนังสือภาพ (Pictograph)

ตัวหนังสือในโลกนี้ที่เป็นอักษรภาพที่ "อ่านรู้เรื่อง"
ผมรู้จักอยู่ 3 ชนิด

1. อักษรภาษาอียิปต์ ที่เรียกว่า ไฮโรกลีฟส์ (Hieroglyphs)
2. อักษรภาษาจีน (漢 字)
3. อักษรภาษาเผ่าน่าซี (纳 西 族)

อักษรภาพอย่างอื่นแม้จะเป็นสัญลักขณ์พอสื่อให้เดาได้
แต่ก็ถือว่ายังไม่สามารถเข้าใจระบบการอ่าน
ไม่มีหลักเกณฑ์ไวยากรณ์เหมือนกับ 3 ชนิดอักษรภาษา
ที่กล่าวข้างต้นแล้ว

ท่านที่สนใจน่าจะค้นหาได้ไม่ยาก โดยเฉพาะปัจจุบันนี้
เรามีพระอาจารย์วิกกี้ พระอาจารย์กูเกิ้ล พระอาจารย์ยูทู้บ
และอื่นๆอีกมากมายปะเล้อปะเต๋อ

อักษรอียิปต์ นักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส
ชื่อ ช็อง ฟร็องซัวส์ ช็องโพลิย็อง (Jean-François Champollion)
ถอดอักษรจารึกจาก โรเซ็ตต้าสโตน (Rosetta Stone) ได้สมบูรณ์
จึงทำให้เริ่มเข้าใจอักษรภาพอียิปต์ได้
แต่ในปัจจุบันก็ไม่มีการใช้สื่อสารกันแล้ว

อักษรจีน ยังใช้สื่อสารกันในปัจจุบัน ที่ญี่ปุ่นยังใช้อักษร "คันหยิ"
(漢 字 ตัวอักษรฮั่น=อักษรจีน)
และที่เวียดนาม เกาหลี ก่อนนี้ไม่นานนักยังใช้อักษรจีนอยู่

อักษรน่าซี ก็ยังใช้กันอยู่ในจีนแถบตะวันตกเฉียงใต้
คือ หยวินหนาน (雲 南 ยูนนาน) และ ซื่อชวน (四 川 เสฉวน)

เพื่อให้ไม่ออกนอกทางที่(ผมแกล้ง)ตีกรอบไว้ของบล๊อกนี้
จึงขอกล่าวถึงเฉพาะอักษรภาพภาษาจีนที่เกี่ยวกับศิลปะจีน

ผมว่าคนจีนเนี่ย มีนิสัยชอบจดบันทึก ชอบขีดชอบเขียน
โดยมากเขียนแล้วมักจะลงวันเดือนปีศักราชไว้ด้วยเสมอ
ทำให้บันทึกของจีน สามารถให้คุณค่าทางประวัติศาสตร์
และโบราณคดีมีหลักฐานรองรับน่าเชื่อถือ

อีกทั้งด้วยจำนวนที่มากมาย ทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์
และวรรณกรรมของจีน ยากที่จะมีผู้รู้มากจนเชี่ยวชาญทั้งหมด
จึงมีแต่ผู้รู้เฉพาะทางที่สนใจเป็นช่วง เป็นยุค หรือเป็นเรื่องๆ
ผมว่าคนๆหนึ่งตั้งแต่เกิดจนตายสิบชาติก็อ่านประวัติศาสตร์จีน
อักษรศาสตร์จีนไม่จบไม่สิ้น


นักศึกษาหรือหนอนตำราชาวจีนจึงต้องมีวิธีผ่อนคลาย

ด้วยการ "เล่นหมึก"

เช่น "เขียนรูปภาพ" (繪 畫)

ที่นิยมเช่น เขียนรูป กล้วยไม้ เบญจมาศ บ๊วย ไผ่ ต้นสน ก้อนหิน

เมื่อเขียนรูปแล้วก็มีการแต่งบทกวีประกอบ หรือบันทึกความเห็นต่างๆ

การแต่งบทกวีต้องอาศัยการ "เขียนตัวอักษร" (書 法)


ภาษาจีนมีตัวอักษรหลายแบบ เช่น

ตัวจ้วนใหญ่ และ เล็ก (大 篆 書 และ 小 篆 書
พัฒนามาจากตัวสลักบนกระดองเต่า-กระดูก 甲骨文,
ภาขนะสำริด 金 文, กลองหิน 石 鼓 文)
ล้วนเป็นอักษรที่นิยมใช้แกะตราประทับ

ตัวฮั่น หรือ ตัวลี่ (漢 書 หรือ 隸 書 แบบลายมืออาลักษณ์
หรือเสมียน)

ตัวธรรมดา
แบบบรรจง (楷 書 ไค่ซู, 真 書 เจินซู )
แบบบรรจงแกมหวัด (行 書 สิงซู)
แบบหวัดแกมบรรจง (草 行 書 เฉ่าสิงซู)

แบบหวัด (草 書 เฉ่าซู)

20 กว่าปีก่อน

ผมก็ใช้เวลาว่าง "เล่นหมึก" เขียนอักษรภาพภาษาจีน

เขียนเป็น "ตุ้ยเหลียน" (對 聯) ทำนองอักษรกลอนคู่ 1 คู่

ขนาดยาว(สูง) 4 เชียะ ประมาณวาหนึ่ง


雲 月 竹 林 (หยวินเยว่จู๋หลิน) เมฆจันทรา ป่าไผ่ ..(รูปซ้ายมือ)

髙 山 流 水 (เกาซานหลิวสุ่ย) ภูเขาสูง น้ำไหล ....(รูปขวามือ)

ความสนุกก็อยู่ที่เราได้ปาดป้ายร่ายพู่กัน

อักษรบางตัว ใช้พู่กันโต ป้ายทีเดียว

อักษรบางตัว ใช้พู่กันเขียนหนังสือ

อักษรบางตัว เหมือนวาดรูป

แต่...ทั้งหมดต้องให้เสร็จอย่าง..รวดเร็ว..สม่ำเสมอ..ต่อเนื่อง..ฉับพลัน

髙 เกา (11 ขีด)
山 ซาน (1 ขีด)
流 หลิว (8 ขีด)
水 สุ่ย (5 ขีด)

雲 หยวิน (1 ขีด)
月 เยว่ (3 ขีด)
竹 จู๋ (6 ขีด)
林 หลิน (32 ขีด)

วิธีแบบนี้ภิกษุนิกายเซ็น

ใช้เป็นกระบวนการฝึกเจริญสติ-สมาธิ

ฝึกลมหายใจ

เรียกว่า "วิถีแห่งอักษร" (書 道 ซูเต้า, โชโด)

รายละเอียด ลายเซ็น (洗 竹 冩)
ตราประทับ (洗 竹)

ก่อนจะฟังดนตรี ขอให้ลองดู "วิถีแห่งอักษร" (書 道 โชโด)
ของพระเซน ที่ท่านเขียนอักษรคำว่า "ไร้", "ไม่มี", "ว่าง" (無 หวู)
แบบต่างๆคือ บรรจง บรรจงแกมหวัด และหวัด อยากให้สังเกต
การกด ยก ลาก สะบัด พู่กัน และความสม่ำเสมอของมือ

การฝนหมึกแบบดั้งเดิม (ก่อนมีหมึกขวดสำเร็จรูป)

<object width=

..............................................................
สำหรับดนตรีคราวนี้ จะให้ฟังเพลงแบบหวานๆนุ่มๆสบายๆ
ชื่อ ชุน เจียง ฮวา เยว่ เย่ (春 江 花 月 夜)
แปลว่า "มาลีแห่งวสันต์นทีในราตรีจันทรา"
วงนี้เล่นใน the Großer Musikvereinssaal (The Golden Hall)
ที่เวียนนา ออสเตรีย ซึ่งเป็นสถานที่นักดนตรีฝีมือระดับโลก
จากประเทศต่างๆ จึงจะมีโอกาสได้มาบรรเลงแสดง
<object width=

                             http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=dingtech&group=8


 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal