หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

มหากวี ซูตุงพอ (苏東坡)

รูปภาพของ เฉินซิ่วเชง

มหากวี ซูตุงพอ (苏東坡) ประสกแห่งเนินบูรพา : ภาคประวัติ

มหากวี ..........โอ้โห เว่อร์ไปมั้ยเพ่? ไม่เห็นจะเคยได้ยินชื่อเรย

ปล่าวคร้าบพี่น้อง ม่ายช่ายคำพูดผม แต่เป็นคำของ "วิลาศ มณีวัต"

นักเขียนใหญ่ของไทยผู้ล่วงลับแล้ว ได้เรียกขานขนานสมัญญานาม

ไว้ในหนังสือ "ชุมนุมกวีโลก" เล่าชีวิตของกวีที่โด่งดังของโลกจำนวน

๔๑ คน วิลาศ มณีวัตได้ใช้คำว่า "มหากวี" ประกอบนามแค่ ๓ คน

ได้แก่ ซูตุงพอ (Su Dong-po)ของจีน ดานเต (Dante)ของอิตาลี

กับ พุชกิน (Pushkin)ของรัสเซีย นอกนั้นวิลาศจะใช้คำ ยอดกวี

กวีเอก กวี และไม่ใส่คำประกอบ

ครับผม ขอชี้แจงแสดงเหตุขจัดเพทแห่งสงสัยแต่เบื้องแรกแค่นี้ก่อน

....................................................................

รูปท่าน ซูตุงพอ

ภูมิลำเนาของสกุลท่าน ซูตุงพอ อยู่ที่เหม่ยซาน (眉山) ในมณฑลเสฉวน
เดิมชื่อว่า ซูซื่อ (苏轼) เกิดสมัยราชวงศ์ซ่ง เมื่อปี คศ. 1037 (1037年1月8日)
ตรงกับตอนสร้างนครวัค ปราสาทหินพิมาย ปราสาทเขาพนมรุ้ง ประมาณนั้น

บิดาชื่อ ซูสวิน (蘇洵) หรือมักเรียกกันว่า "ซูผู้อาวุโส"
ท่านผู้นี้เป็นปราชญ์ทางอักษรศาสตร์ที่มีชื่อเสียงและตำแหน่งในทางราชการ

ครอบครัวนี้ได้สายเลือดดีจากทางบิดามารดา
ลูกอีก 2 คน คือ ซูเจ๋อ (蘇轍) ฉายา จื่ออิ๋ว (子由)
และน้องสาวเรียก ซูเสียวเหม่ย (苏小妹)
ทุกคนล้วนมีชื่อเสียงและผลงานด้านอักษรศาสตร์ทั้งนั้น

ท่านกวี ซูซื่อ ได้ครูคนแรกตอนอายุ 6 ขวบ เป็นนักพรตลัทธิเต๋า
พอเรียนไปได้ 2 ปี บิดาถูกย้ายไปรับราชการต่างเมือง
ท่านซูซื่อจึงต้องอยู่กับมารดาผู้มีแซ่เฉิง (程氏)
นางเป็นกุลสตรีที่มีการศึกษา รอบรู้ทางประวัติศาสตร์ยุคโบราณและเหตุการณ์ปัจจุบัน

เมื่อท่านกวีอายุได้ 10 ขวบ ก็สามารถจดจำและเล่าเรื่องราวต่างๆในรอบปีได้อย่างแม่นยำ

มารดาของท่านได้ปลูกฝังเรื่องราววีรกรรมของบุคคลต่างๆ

เพื่อให้ท่านกวีมีความรักชาติ รักประเทศ

ตลอดจนรู้จักอุทิศตนเพื่อประโยชน์สาธารณะ

เมื่ออายุ 17 ปี ท่านซูซื่อ ได้แต่งงาน

เมื่ออายุ 19 ปี ท่านสามารถสอบได้บัณฑิตขั้น จิ้นซื่อ (进士)

โอวหยางซิว สหายของบิดาท่านซูตุงพอ

เมื่ออายุ 20 ปี ท่านเข้าเมืองหลวง เพื่อสอบเป็นบัณฑิตชั้นสูงสุด
กรรมการสอบหลายคนเป็นสหายของบิดา เช่น โอวหยางซิว (欧阳修) หานฉี (韩琦) เป็นต้น
โอวหยางซิวภายหลังได้แนะนำท่านกวีต่อองค์จักรพรรดิ์ซ่งยิงจง (英宗)

ปี คศ. 1060 ท่านกวีได้เข้ารับราชการ ต่อมาได้ย้ายไปที่เฟิงเสียง (凤翔) และทีอื่นๆ

ปี คศ. 1065 ถูกเรียกตัวกลับเมืองหลวง คือเปียนเหลียง (ปัจจุบันคือไคฟง)

ตอนต้นรัชกาลของจักรพรรดิ์ซ่งยิงจงท่านกลับไปรับราชการจนเติบโตในวงการการศึกษา

ปีถัดมา บิดาท่านกวีได้ถึงแก่กรรม ตามธรรมเนียมท่านต้องลาออกเพื่อไว้ทุกข์

ปี คศ. 1069 ท่านได้กลับมารับราชการในราชสำนักอีก
ครองตำแหน่งด้านยุติธรรม ช่วงนี้เป็นเวลาที่ท่านได้สร้างผลงานทางกวีนิพนธ์
ทั้งแบบ ซือ และฟู่ ทั้งยังได้ร่วมกับสหธรรมิกคือ หวางเสี่ยน (王跣)
ศึกษาคัมภีร์ทางพุทธศาสนา คือ สัทธรรมปุณฑริกสูตร (妙法莲華经)

หวางอานสือ คู่ปรับของซูตุงพอ


ขณะเดียวกัน ช่วงนี้เกิดเหตุการณ์สำคัญในนโยบายบ้านเมืองคือ
หวางอานสือ (王安石) ขุนนางใหญ๋ระดับอัครเสนาบดีได้เสนอการปฏิรูประบบราชการ
ท่านซูซื่อ และสหายชื่อ ซือหม่ากวง (司马光) ร่วมกับโอวหยางซิว
ได้รวมหัวกันคัดค้าน ต่อต้าน

องค์จักรพรรดิ์ได้แต่งตั้งท่านกวีให้เป็นผู้ถวายรายงานเกี่ยวกับระบบการสอบขุนนาง
ซูซื่อได้แสดงการต่อต้านรุนแรงต่อโครงการของหวางอานสือ
จึงทำให้ท่านต้องถูกย้ายลดตำแหน่งไปอยู่ที่เมืองหางโจวในปี คศ. 1071
ที่หางโจว ซูซื่อยังคงเขียนบทความและงานประพันธ์ต่อไป

ปี คศ. 1074 ท่านได้แต่งงานอีกครั้ง มีภริยาเป็นสาวงามนาม หวางเจาหยวิน (王朝雲)

ใน 2-3 ปี ต่อมา ท่านก็ถูกย้ายอีก
อยู่ที่ มี่โจว (密州) 2-3 เดือน
อยู่ที่ สวีโจว (徐州) ในมณฑลซานตุง
อยู่ที่หูโจว (湖州) ในมณฑลเจ้อเจียง

ไม่ว่าจะย้ายท่านไปแห่งหนใด ท่านก็ไม่นำพาท้อถอย งานประพันธ์ก็ผลิตออกมาตลอดเวลา
ที่มี่โจว เริ่มแต่งฟู่ เกากี้กับเก๊กฮวย (杞菊赋)
ที่สวีโจว (1077-1078) ท่านได้แสดงความสามารถทางวิศวกรรมชลประทาน
สร้างเขื่อน ฝายกั้นน้ำ หลายแห่ง

การถูกย้ายไปหูโจวได้ปลุกเร้าให้ท่านแต่งเรื่องราวเสียดสีราชสำนักมากขึ้น
ท่านทำหนังสือช่วยจำส่งไปราชสำนัก มีเนื้อหาขอบคุณที่ย้ายท่าน
ทำให้ผู้ตรวจการเห็นว่าข้อความในหนังสือนั้นก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ไม่ดีของทางฝ่ายปกครอง
เอกสารนั้นคือ เม่อเหมียวถิงจี้ (墨妙亭记) ใจความว่า :

"สิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมา(การปฏิรูป)จักต้องเสื่อมสลายไป
มนษยชาตินั้นมีชีวิตอยู่ สักวันก็ต้องตายไป
มิฉะนั้นความมั่งคั่งของชาติก็จักต้องประสบหายนะล่มจมแหลกสลาย
แม้นว่าทุกคนจะรับรู้เรื่องนี้ ทว่าก็ต่างมุ่งรักษาอำนาจและสถานภาพ
ดูแลแต่สุขภาพตัวเอง พยายามทุกวิธีที่จะยืดชีวิตตนเอง
พยายามเลื่อนความตายให้ขยับออกไป
บัดนี้จึงเห็นได้ว่าผู้มีอำนาจล้วนโลเลลังเล เฝ้ารักษาตัวรอดมิให้ได้อันตราย
กระทั่งสักวันต้องถึงวาระสุดท้าย ซึ่งเป็นสิ่งหลีกเลี่ยงมิได้!"

ปี คศ. 1079 ท่านกวีถูกจองจำพร้อมๆกับบุตรชายคนหนึ่ง
แม้ว่าน้องชาย จื่ออิ๋ว จะช่วยพยายามกราบบังคมทูลขอพระกรุณาอภัยโทษในอาญาครั้งนี้
ท่านถูกจำคุกนาน 3 เดือน แล้วในปี คศ. 1080 ก็ถูกเนรเทศไปที่หวงโจว (黃州) ในมณฑลหูเป่ย์

ซือหม่ากวง สหายร่วมอุดมการณ์

ระหว่างที่ถูกเนรเทศ ท่านได้แต่งฟู่อีกหลายบท

ในปีถัดมาท่านได้พยายามสร้าง "หอหิมะ" (雪堂)
ขึ้นที่ "เนินบูรพา" ของภูเขาที่ตั้งของ "หลินเกาถิง" (临皋亭)

ปี คศ. 1082 ท่านจึงตั้งฉายาตนเองว่า ตุงพอ (東坡) ซึ่งแปลว่า "เนินบูรพา"
ปีนี้เองที่ท่านได้บันทึกว่าได้ไปเยี่ยมสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์
คือ "ฉือปี่" (赤壁) หรือ "เซ็กเพ็ก" ที่แปลว่า "ผาแดง"
ท่านได้รจนาฟู่ 2 บท ตั้งชื่อตามสถานที่นั้น (前赤壁賦, 后赤壁赋)
(อ่านบทกวีได้ ตามลิงค์ข้างล่างนี้)
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=dingtech

ในปี คศ. 1084 ท่านถูกย้ายไปที่ หรูโจว (汝州) ในมณฑลเหอหนาน

ปีต่อมาถูกย้ายไปที่ฉางโจว (常州) และ เติงโจว (登州) ในมณฑลซานตุง

ในปี คศ. 1086 หวางอานสือถึงแก่อนิจกรรม
รัชกาลใหม่ของจักรพรรดิ์เจ๋อจง (哲宗) เพิ่งเริ่มต้น
ท่านซูตุงพอถูกเรียกตัวกลับเมืองหลวง
ท่านรับตำแห่งที่ทำงานในพระตำหนักเหยียนเหอ (延和殿) เป็นเวลา 2 ปี
ในราชสำนักท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นราชบัณฑิตแห่งราชวิทยาลัยหานหลิน (翰林学士)
กินตำแหน่งเจ้ากรมยุทธการและเป็นที่ปรึกษา (องคมนตรี)
ต่อมาท่านเบื่อความวุ่นวายจึงทูลขอย้ายไปต่างเมือง

รูปวาดโดย จางลู่ (张路 : จิตรกรสมัยราชวงศ์หมิง)
วาดตอนท่านซูตุงพอกลับสู่สำนักราชบัณฑิตหานหลิน

ปี คศ. 1089 ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าราชการเมืองหางโจว (杭州)
เป็นการกลับมาที่เดิมหลังจากที่จากไปนาน 14 ปี
ชาวเมืองต้อนรับท่านอย่างเอิกเกริก ช่วงนี้ท่านมีความสบายใจ
ได้เที่ยวชื่นชมความงามของทะเลสาบซีหู (西湖)
ได้สร้างทำนบและขนานนามตามฉายาของท่าน (苏堤)

ซูตี (苏堤) เขื่อนกั้นน้ำที่ทะเลสาบซีหูซึ่งท่านซูตุงพอให้สร้าง

ปี คศ. 1093 ท่านได้รับการแต่งตั้งเป้นผู้ตรวจราชการถิงโจว (定州) ในมณฑลจี๋ลี่
ณ ที่นี้ ท่านได้แต่งบทประพันธ์ไว้หลายบท

ปี คศ. 1094 ท่านถูกลดตำแหน่งและถูกเนรเทศไปยังหุ้ยโจว (惠州) ในมณฑลกวางตุ้ง
ปีนี้เองที่ภรรยาคู่ชีวิตเจาหยวินได้เสียชีวิต ท่านโศกเศร้าสะเทือนใจมากที่สุด
และตั้งแต่นั้นมาท่านก็ไม่เคยสร่างทุกข์นี้เลย
ท่านอยู่ที่หุ้ยโจว 3 ปี

จนปี คศ. 1097 งานประพันธ์ของท่านก็ได้สร้างความเดือดร้อนแก่ตนอีกคราหนึ่ง
ท่านถูกย้ายไปฉยุงโจว (瓊州) ในเกาะไหหลำ

ท่านเดินทางมาถึง ตานโจว (儋州) ในวันที่ 13 เดือน 7 ปีเดียวกัน
มีบุตรชายชื่อ กว้อ (過) ตามไปด้วย
ระหว่างทางท่านได้พบกับน้องชาย จื่ออิ๋ว ซึ่งกำลังถูกเนรเทศเช่นกัน
ท่านใช้เวลา 3 ปี ที่นี่ ขมักเขม้นขุดบ่อน้ำบาดาล
ส่วนงานเขียนหนังสือก็ดำเนินไปตามปกติ

ปี คศ. 1100 ท่านซูตุงพอได้รับพระราชทานอภัยโทษ
ให้ย้ายไปเหลียนโจว (廉州) ในมณฑลกวางตุ้ง
แล้วย้ายไปหยุ่งโจว (永州) ในมณฑลหูหนาน
สุดท้ายได้รับการแต่งตั้งจากองค์จักรพรรดิ์ฮุยจง (徽宗)
ให้ไปครองตำแหน่งสูงในเมืองเฉิงตู เมืองหลวงของเสฉวนบ้านเกิดของท่าน

ท่านซูตุงพอได้เริ่มออกเดินทางไปเยี่ยมมณฑลกวางตุ้ง แล้วจึงบ่ายหน้าไปเสฉวน
โดยผ่านทางด่านเหมยหลิ่ง (梅嶺) ระหว่างเดินทางก็แต่งหนังสือไปด้วย

จนเดือน 5 ของปีถัดมา ท่านเดินทางไปถึงเจินโจว (真州) ในมณฑลเจียงซู
ท่านล้มป่วยอาการหนัก จำเป็นต้องหยุดพักรักษาตัวที่ฉางโจว (常州)

เดือน 6 ท่านจึงลาออกจากราชการ

เดือน 7 วันที่ 28 ท่านก็ถึงแก่กรรม ตรงกับปี คศ. 1101 สิริอายุได้ 65 ปี
(บางแหล่งว่าเป็น 1101年8月24日 64歲 宋朝 常州)

ศพของท่านซูตุงพอได้รับการบรรจุไว้ที่สุสานในหมู่บ้านเตี้ยวไถ (钓台乡)
อำเภอ เจี๋ยเสี้ยน (郟縣) ในมณฑลเหอหนาน

ป้ายจารึกสุสานท่านเขียนโดยน้องชายผู้เป็นปิยมิตรนาม จื่ออิ๋ว

ปี คศ. 1210 มีการตั้งป้ายรำลึกถึงท่านที่ห้องโถงบรรยายของวิทยาลัยประจำมณฑลไหหลำ

ปี คศ. 1235 ท่านได้รับพระราชทานสถาปนายศเป็น เหวินจง (文忠)
และมีป้ายรำลึกตั้งไว้ที่หน้าศาลขงจื้อ
แต่ในปี คศ. 1845 ป้ายนี้ก็ถูกย้ายออกไปเพราะมีผู้ศึกษาประวัติท่านแล้ว
พบว่าท่านไม่ได้สร้างคุณูปการแก่ลัทธิขงจื้อเลย จึงไม่สมควรตั้งป้ายไว้ที่นั้น

....................................................................

ผลงานด้านจิตรกรรม ภาพเขียนแบบ "ปัญญาชน" หรือแบบ "นักปราชญ์"

มีชื่อเรียกว่า "เหวินเหรินพ่าย" ( 文人派 : Literati Painting School)

หามาให้ชมได้ 3 ชิ้น (ภาพไม่ค่อยชัด หายากมาก)

รูปวาดฝีมือท่าน ซูตุงพอ "ไผ่" (竹图)
มีลายมือเขียนบรรยายว่า
"กลางฤดูศารทตงชิว ปี 1075 (อายุ 38 ปี)
วาดรูปนี้ขณะพักผ่อนอยู่ใต้เดือนเพ็ญ
(ลายเซ็น) ซูซื่อ"

รูปวาด "ต้นไผ่" โดยท่าน ซูตุงพอ
มีลายเซ็น และลงบันทึกปี 1094 (อายุ 57 ปี)
ปีที่ถูกเนรเทศไปหุ้ยโจว
John M. Crawford Jr. Collection, USA.

รูปวาดฝีมือ ซูตุงพอ ต้นไม้แห้งกับก้อนหิน (枯木怪石)

ลายมืออักษรศิลป์ของ ซูตุงพอ "黄州寒食詩巻"
..........................................................

รูปภาพซูตุงพอสวมเกี๊ยะ วาดโดย จางต้าเชียน

ท่านมหากวีซูตุงพอ และท่านหวงถิงเจียน (黄庭坚)
ได้การตั้งสมัญญานามว่าเป็น "สองกวียักษ์ใหญ่แห่งวงการกวีรัชสมัยซ้อง"
เฉกเช่นกับท่านหลี่ไป๋และตู้ฝู่เป็น "สองกวียักษ์ใหญ่แห่งรัชสมัยถัง" ฉะนั้น

ท่านมหากวีได้ทิ้งผลงานนิพนธ์ไว้จำนวนมาก
มีการรวบรวมตีพิมพ์ทั้งหมดของท่าน เรียกว่า "ตุงพอฉวนจี๋" (东坡全集)
เผยแพร่ตั้งแต่สมัยซ้องตราบจนปัจจุบันนี้
ลักษณะการประพันธ์มีทุกแบบ ตั้งแต่ จดหมาย ความเรียง บันทึก
ที่รำลึก คำไว้อาลัย ลำนำร้อยแก้ว และบทร้อยกรองต่างๆ

ความไพเราะ ความคมคาย ความเปี่ยมสาระอรรถะ กินใจ สะเทือนอารมณ์ ฯลฯ
ได้ทำให้ผลงานท่านเป็นอมตะ ประทับใจคนทุกรุ่นที่ได้อ่าน
และยืนยันในสมัญญา "ม ห า ก วี " ของท่านตราบนานเท่านาน

..............................................................

โอ....ฟังแล้ว การเมืองในราชสำนักซ้องเนี่ย ชุลมุลวุ่นวายไม่แพ้ประเทศไหนๆเรย

ความเคารพในสิ่งที่ตนเองเชื่อ ความมั่นใจ ความกล้าหาญ ท่านยอมหัก มิยอมงอ

ผมจึงอยากแถมต่อท้ายสมัญญาอีกว่า "มหากวี จอมถูกย้าย" 5555+

...............................................................

มีรูปภูมิสถานบ้านเกิดของท่านมหากวีมาฝาก


รูปสลักบนศิลาของสกุล "ซู" 3 รุ่น
(三苏 : 苏洵,苏轼, 苏辙)

รูปสลักบนศิลา ซูตุงพอสวมหมวกก๊วยเล้ย

กอไผ่ที่หน้าศาล "3 ซู"

ต้นลิ้นจี่ที่มีตำนานว่าปลูกโดยท่าน ซูตุงพอ

ห้องดื่มน้ำชาใต้ร่มเงากอไผ่
ที่สถานพำนักเดิมของทั้ง "3 ซู"

ศาลา "โอบอุ้มแสงจันทรา"

ศาลา "เรือเก็บดอกไม้"

ลายมือท่าน ซูตุงพอ คัดลอกแล้วแกะสลักบนแท่งศิลา

ชื่อสถานที่ ศาลา ต่างๆ ล้วนนำมาจากบทกวีของท่านซูตุงพอทั้งสิ้น

..................................................................

เหนื่อยล้ากันแระ มาฟังเพลงดีกว่า
คราวนี้จะให้ฟังมโหรีเครื่องสายผสมในเพลง
"漁舟唱晚" (ร้องเพลงจากเรือประมงยามสนธยา)
บรรเลงโดยวง 東方女子民樂組合 (ประชาสตรีแห่งบูรพทิศ)
บรรยากาศของเพลงนี้คือ ความสุข สงบ และร่าเริงในวิถีชีวิตที่เรียบง่าย

<object width=


http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=dingtech&group=4


 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal