หน้าแรก  
HakkaPeople(Thai) ชุมชนชาวฮากกา 泰國客家 Hakka people .  
ที่ใดมีตะวันขึ้น ที่นั้นมีชาวจีน ที่ใดมีชาวจีน ที่นั้นมีเค่อเจียเหริน(客家人) hakkapeople.com

การไหว้เจ้าวันซิบซี่

รูปภาพของ มะไฟ
สืบเนื่องจากการพบกันที่ร้านไนล์วันนั้น มีการพูดคุยเรื่องการไหว้เจ้าของจีนแคะเรา มีคนถามเรื่องไหว้เจ้าวันสิบสี่ค่ำ  แทนที่จะเหมือนแต้จิ๋วที่จะไหว้วันสิบห้าค่ำ คนจีนแคะกลับไหว้เจ้าก่อน 1 วัน ที่บ้านก็จะเป็นแบบนี้มาตั้งแต่บรรพบุรุษ ในวงพูดคุยก็จะมีหลายคนที่ที่บ้านก็จะไหว้ก่อน 1 วัน เช่นกัน เลยอยากให้ผู้รู้ลองค้นคว้าข้อมูลให้หน่อยครับ เพราะหลายคนถือปฏิบัติต่อมา และที่เขาว่าเทศกาลสาร์ทจีนคนแคะดั้งเดิมไม่มีการไหว้เจ้าจริงหรือเปล่าครับ มาไหว้เพราะตามพวกฮอกล่อ และถี่จู๊หยา คนแคะเดิมก็ไม่มีใช่ไหมครับ อยากรู้

บ้านไหงซิบอื้อ

บ้านไหง คงเพราะง๊าปาวุกค้าช่อเกียดหย๋อง 揭陽

ก็เลยไหว้ ชู้หยิดโว้ซิบอื้อ  初一與十五

ซึ่งน่าจะตามฮกล่อตามที่หงีคิดก็ได้

แต่ลูกหลานสมัยใหม่คงไม่พิถีพิถันอะไรมากนัก

อาป๊าอาม๊าทำอย่างไร ไหว้วันไหน  ก็คงทำตามนั้นแหละ

ไหงก็ไม่ยึดติดเท่าไหร่นัก  นอกจากสอนให้ลูกจำไว้ว่า

ซื่อสัตย์  ขยัน  อดทน  ประหยัด ทั้งต่อหน้าและลับหลัง

ความลับไม่มีในโลก  อย่างน้อยตัวเองก็รู้ 

ทำให้ดีที่สุด  และอย่าทำความชั่ว  เท่านี้ก็พอ

 

 

ซิบซี่ ซิบอื้อ

     มีคำของคนแต้จิ๋วว่า"ชิวเอกจับโหงว จ้อสื่อเมงเอี่ยวโผว" หรือ "ชู้หยิดซิบอื้อ จ้อสื่ออื๋มสื่อเฮียนพู้" ก็คือ วันที่หนึ่ง กับสิบห้า จะทำอะไร ไม่ต้องเปิดหนังสือดูวัน ให้ทำได้เลย ถือว่าเป็นวันดี เป็นเหตุนี้กระมัง เลยถือว่า ไหว้ซิบอื้อเป็นวันไหว้ที่ดี 

      อาหยาไหงมาจากกิดหยอง(เกียดหยอง)เหมือนบุ๋นเชียงก๊อ กิดหยองเป็นถิ่นติดแต้จิ๋ว  ก็คงได้วิธีการไหว้มาแบบนี้ พอมาโพ้นทะเลก็ยังไหว้แบบนี้ จนถึง ทองหงินล่าย อย่างไหง ก็ต้องยึดถือกันมาอย่างนี้ และคงได้แบบแผนเดียวกับ ฮ้อกล่อด้วย

      ไหงว่าไหว้ซิบซี่ ซิบอื้อ ไม่น่าจะเป็นปัญหาอะไร ขอเพียง ล่ายจื้อ จื้อซุ้น ลูก ๆ หลาน ๆอย่างเรา ๆ อย่าละทิ้งหรือละเลย ขนบธรรมเนียมของบรรพบุรุษ รากเหง้าของพวกเรา มีลูกสอนลูก มีหลานสอนหลาน ให้รู้ว่าถิ่นฐานบรรพชนมาจากที่ใด อย่างที่ชุมชนเราตอนนี้กำลังทำกันอยู่

      แต่ไหงมีข้อคิดหนึ่งมาจากการ ซิดไจ๊ กินเจ คือตั้งแต่เด็กมา ไหงจะกินตามอาหยา อาแม้ไหงมาตลอดจนทุกวันนี้ ก็ยังคงกินสิบวัน คือ วันชู้หยิด ถึงชูซิบ เพิ่งมารู้ทีหลังว่า ต้องมีวันล้างท้องในวัน ซามซิบ เพื่อให้ร่างกายสอาด ในวันชู้หยิด จะได้สอาดทั้งกาย ทั้งใจ มากกว่านี้ยังมีที่ล้างท้องตั้งแต่ หงี่ซิบกิ้ว ล่าสุดไหงเห็นมา ล้างท้องตั้งแต่ หงี่ซิบปัดมาเลยก็มีแล้ว ซึ่งก็ถือว่าดีเหมือนกัน ร่างกายจิตใจจะได้สอาด สงบ เป็ดไก่จะได้ถูกเบียดเบียนน้อยลงด้วย

      ข้อสำคัญ เวลากินเจ อย่าได้นำเอาฟองเต้าหู้ มาทำเป็นหมู เห็ด เป็ด ไก่ ไส้หมู มากิน เหมือนหลอกตัวเอง ถ้าลำบากใจที่จะต้องมากินเจ ในช่วง กิ้วเงี้ยดหวองไจ๊ เพียงปีละสิบวัน เพื่อชำระใจชำระกายให้สอาดแล้ว จะฝืนทำไม มันเหมือนบวชพระ แล้วทำปราชิก อย่างไรอย่างนั้นแหละ ไถ่ก๊าลองคิดดู

      ส่วนเรื่อง ถี่จู้หยา คุณมะไฟ ลองพิมพ์เข้าไปที่"ถี่จู้หยา"ดู ที่นั่น คุณจ๊องหยิ่นฮยุ๋ง คุณวี่ฟัด คุณวีระพนธ์ ทั้งสามท่านได้อธิบายไว้ละเอียดแล้ว แต่เรื่องสารทจีน คงต้องถามท่านที่รู้ให้กรุณามาช่วยตอบให้ด้วยนะ ไหงเองก็สงสัยเหมือนกันครับ   

รูปภาพของ กิ่มหมิ่น

ปัดเหนียดสิบอื่อ

ช่อย หล่าม จี่- ช่อย หล่าม กู- ปัด เหนียด สิบ อื่อ- เชี่ยง หงี่ ล่อย เลี้ยว ยิด พู -อ้อย หล่อย ชิ่ว ขว่าย ขว่าย หล่อย-อื่อ ม้อย ห่อ สุ่น ห่อ ป้อย เก่า ลิว ถ่อย 

ฉิดเงี้ยดปั้น

ขอขอบคุณ คุณวีรพนธ์ เป็นอย่างมาก สำหรับ ตำนานสารทจีน ว่ามีความเป็นมาอย่างไร ทำไมจึงได้เรียก ตุ๊งหงวนเจียด หรือตุ๊งเจียดว่า กุ้ยเจียด มันมีความเป็นอย่างนี้นี่เอง และชุดของ ป้ายล่อหยา (ไหว้เจ้า), ป้ายอากุ๊งอาม่า(ไหว้บรรพบุรุษ), ป้ายห้อฮยุ้งถี่(ไหว้ผีไร้ญาติ ) แต่ละอย่าง แยกแยะว่ามีอะไรบ้าง ไหว้ด้วยอะไร ไหว้อย่างไร และไหว้เมื่อไร ขอขอบคุณหงีมากครับ
     และขอขอบคุณกับ ซี้กี้ดีดี ที่สรรหามาได้ถูกเทศกาลของคุณกิ่มหมิ่น ที่แม้ว่าจะบอกว่าเป็น ปัดเงี้ยดซิบอื้อ แต่ถ้ามี ตะกร้าพี่สาว ตะกร้าอาสาว เชิญให้มาเที่ยวสักก้าวแล้ว ไหงว่ามันก็เหมาะกับ ฉิดเงี้ยดซิบอื้อ นี่แหละ เพราะไหว้พระจันทร์ มีแต่ จ้าเจ๋ กับหยิ่วกู๊ หมอช่อย...ว่าแต่พักนี้ กิ่มหมิ่นซินซั้ง ทำไมถึงเงียบไป สงสัย วุ่ยปุ๊น อากิ่มหมิ่นซ่อ "ยับยับ"คี่เหล่ว
     เลยขอถือโอกาสนำบทความ ของทั้งสองท่านมาร่วมฉลองในเทศกาลสารทจีน ขออวยพรให้ ไถ่ก๊า มีความสุขมาก ๆ ในเทศกาลนี้ ไหว้แล้วขอให้ หวั่นสื่อสินฮิ้น เซนลี้ไถ่ฉ่อน ฉุดหมุนสุนฟุ้ง ทุก ๆ ท่านครับ. 

รูปภาพของ นายวีรพนธ์

สารทจีน

ประวัติเทศกาลสารทจีน (ฉิกง่วยปั้ว)

วันสารทจีน ตามปฏิทินทางจันทรคติ เทศกาลสารทจีนจะตรงกับวันที่ 15 เดือน 7[1] ตามปฏิทินจีน เทศกาลสารทจีนถือเป็นวันสำคัญที่ลูกหลานชาวจีนจะแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ โดยพิธีเซ่นไหว้ และยังถือเป็นเดือนที่ประตูนรกเปิดให้วิญญาณทั้งหลายมารับกุศลผลบุญได้

ตำนานที่ 1
ตำนานนี้กล่าวไว้ว่าวันสารทจีนเป็นวันที่เซ็งฮีไต๋ตี๋ (ยมบาล) จะตรวจดูบัญชีวิญญาณคนตาย ส่งวิญญาณดีขึ้นสวรรค์และส่งวิญญาณร้ายลงนรก ชาวจีนทั้งหลายรู้สึกสงสารวิญญาณร้ายจึงทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ ดังนั้นเพื่อให้วิญญาณร้ายออกมารับกุศลผลบุญนี้จึงต้องมีการเปิดประตูนรกนั่นเอง

ตำนานที่ 2
มีชายหนุ่มผู้หนึ่งมีนามว่า “มู่เหลียน” (พระโมคัลลานะ) เป็นคนเคร่งครัดในพุทธศาสนามาก ผิดกับมารดาที่เป็นคนใจบาปหยาบช้าไม่เคยเชื่อเรื่องนรก-สวรรค์มีจริง ปีหนึ่งในช่วงเทศกาลกินเจนางเกิดความหมั่นไส้คนที่นุ่งขาวห่มขาวถือศีลกินเจ นางจึงให้มู่เหลียนไปเชิญผู้ถือศีลกินเจเหล่านั้นมากินอาหารที่บ้านโดยนางจะทำอาหารเลี้ยงหนึ่งมื้อ
ผู้ถือศีลกินเจต่างพลอยยินดีที่ทราบข่าวว่ามารดาของมู่เหลียนเกิดศรัทธาในบุญกุศลครั้งนี้ จึงพากันมากินอาหารที่บ้านของมู่เหลียนแต่หาทราบไม่ว่าในน้ำแกงเจนั้นมีน้ำมันหมูเจือปนอยู่ด้วย การกระทำของมารดามู่เหลียนนั้นถือว่าเป็นกรรมหนัก เมื่อตายไปจึงตกนรกอเวจีมหานรกขุมที่ 8 เป็นนรกขุมลึกที่สุดได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัส
เมื่อมู่เหลียนคิดถึงมารดาก็ได้ถอดกายทิพย์ลงไปในนรกภูมิ จึงได้รู้ว่ามารดาของตนกำลังอดอยากจึงป้อนอาหารแก่มารดา แต่ได้ถูกบรรดาภูตผีที่อดอยากรุมแย่งไปกินหมดและเม็ดข้าวสุกที่ป้อนนั้นกลับเป็นไฟเผาไหม้ริมฝีปากของมารดาจนพอง แต่ด้วยความกตัญญูและสงสารมารดาที่ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างสาหัสมู่เหลียนได้เข้าไปขอพญาเหงี่ยมล่ออ๊อง (ยมบาล) ว่าตนของรับโทษแทนมารดา
แต่ก่อนที่มู่เหลียนจะถูกลงโทษด้วยการนำร่างลงไปต้มในกระทะทองแดง พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงมาโปรดไว้ได้ทัน โดยกล่าวว่ากรรมใดใครก่อก็ย่อมจะเป็นกรรมของผู้นั้นและพระพุทธเจ้าได้มอบคัมภีร์อิ๋ว หลันเผิน ให้มู่เหลียนท่องเพื่อเรียกเซียนทุกทิศทุกทางมาช่วยผู้มีพระคุณให้หลุดพ้นจากการอดอยากและทุกข์ทรมานต่างๆ ได้ โดยที่มู่เหลียนจะต้องสวดคัมภีร์อิ๋ว หลันเผินและถวายอาหารทุกปีในเดือนที่ประตูนรกเปิดจึงจะสามารถช่วยมารดาของเขาให้พ้นโทษได้
นับแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวจีนจึงได้ถือเป็นประเพณีปฏิบัติสืบต่อมากันโดยตลอดด้วยการเซ่นไหว้ โดยจะนำอาหารทั้งคาวหวาน และกระดาษเงินกระดาษทองไปวางไว้ที่หน้าบ้านหรือตามทางแยกที่ไม่ไกลนัก มีนัยว่าเป็นการเบี่ยงเบนความสนใจของบรรดาวิญญาณเร่ร่อนที่กำลังจะผ่านมาใกล้ที่พักของตน
1. ชุดสำหรับไหว้เจ้าที่

จะไหว้ในตอนเช้า มีอาหารคาวหวาน ขนมที่ไหว้ก็ขนมถ้วยฟู กุยช่าย ส่วนขนมไหว้พิเศษที่ต้องมีซึ่งเป็นประเพณีของสารทจีนคือขนมเทียน ขนมเข่ง ซึ่งต้องแต้มจุดสีแดงไว้ตรงกลาง เนื่องจากชาวจีนมีความเชื่อที่ว่าสีแดงเป็นสีแห่งความเป็นศิริมงคล นอกจากนั้นก็มีผลไม้ น้ำชา หรือเหล้าจีน และกระดาษเงินกระดาษทอง เช่น กระดาษอ่วงป้อ ตั่วกิม งิ่งเตี่ย เทียนเถ่าจี้ กิมเต้าหงึ่งเต้า

2. ชุดสำหรับไหว้บรรพบุรุษ

คล้ายของไหว้เจ้าที่พร้อมด้วยกับข้าวที่บรรพบุรุษชอบ ตามธรรมเนียมต้องมีน้ำแกงหรือขนมน้ำใสๆ วางข้างชามข้าวสวย และน้ำชาจัดชุดตามจำนวนของบรรพบุรุษ ขาดไม่ได้ก็คือขนมเทียน ขนมเข่ง ผลไม้และกระดาษเงินกระดาษทอง เช่นเสื้อผ้า ใบอ้วงแซจี้ (ใบเบิกทาง)

3. ชุดสำหรับไหว้วิญญาณเร่ร่อนหรือวิญญาณไม่มีญาติ
วิญญาณเร่ร่อนหรือวิญญาณไม่มีญาติ เรียกว่า ไป๊ฮ๊อเฮียตี๋ แปลว่า ไหว้พี่น้องที่ดี เป็นการสะท้อนความสุภาพและให้เกียรติของคนจีน เรียกผีไม่มีญาติว่าพี่น้องที่ดีของเรา โดยการไหว้จะไหว้นอกบ้านของไหว้จะมีทั้งของคาวหวานและผลไม้ตามต้องการและที่พิเศษคือมีข้าวหอมแบบจีนโบราณ คอปึ่ง เผือกนึ่งผ่าซีกเป็นเสี้ยวใส่ถาด เส้นหมี่ห่อใหญ่ เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทองจัดทุกอย่างวางอยู่ด้วยกันสำหรับเซ่นไหว้

ในสมัยโบราณชาวจีนใช้ขนมไหว้ 5 อย่าง เรียกว่า โหงวเปี้ย หรือเรียกชื่อเป็นชุดว่า ปัง เปี้ย หมี่ มั่ว กี

  • ปัง คือขนมทึงปัง เป็นขนมที่ทำมาจากน้ำตาล
  • เปี้ย คือขนมหนึงเปี้ย คล้ายขนมไข่
  • หมี่ คือขนมหมี่เท้า ทำมาจากแป้งข้าวเจ้าข้างในไส้เต้าซา
  • มั่ว คือขนมทึกกี่ เป็นขนมข้าวพองสีแดงตรงกลางมีไส้เป็นแผ่นบาง
  • กี คือขนมทึงกี ทำเป็นชิ้นใหญ่ยาวเวลาจะกินต้องตัดเป็นชิ้นเล็กๆ

แต่ชาวไทยเชื้อสายจีนใช้ขนมเทียน ขนมเข่งในการไหว้ โดยหลักของที่ไหว้ก็จะมีของคาว 3 หรือ 5 อย่าง เช่น ไก่ หมู เป็ด ไข่ หมึก ปลา เป็นต้น ของหวาน 3 หรือ 5 อย่าง เช่น ขนมเทียน ขนมมัดไต้ ขนมถ้วยฟู หรือขนมสาลี่ปุยฝ้าย ขนมเปี๊ยะ ส้ม หรือผลไม้ตามใจชอบ
ในสมัยโบราณชาวจีนใช้ขนมไหว้ 5 อย่าง เรียกว่า โหงวเปี้ย หรือเรียกชื่อเป็นชุดว่า ปัง เปี้ย หมี่ มั่ว กี

  • ปัง คือขนมทึงปัง เป็นขนมที่ทำมาจากน้ำตาล
  • เปี้ย คือขนมหนึงเปี้ย คล้ายขนมไข่
  • หมี่ คือขนมหมี่เท้า ทำมาจากแป้งข้าวเจ้าข้างในไส้เต้าซา
  • มั่ว คือขนมทึกกี่ เป็นขนมข้าวพองสีแดงตรงกลางมีไส้เป็นแผ่นบาง
  • กี คือขนมทึงกี ทำเป็นชิ้นใหญ่ยาวเวลาจะกินต้องตัดเป็นชิ้นเล็กๆ

แต่ชาวไทยเชื้อสายจีนใช้ขนมเทียน ขนมเข่งในการไหว้ โดยหลักของที่ไหว้ก็จะมีของคาว 3 หรือ 5 อย่าง เช่น ไก่ หมู เป็ด ไข่ หมึก ปลา เป็นต้น ของหวาน 3 หรือ 5 อย่าง เช่น ขนมเทียน ขนมมัดไต้ ขนมถ้วยฟู หรือขนมสาลี่ปุยฝ้าย ขนมเปี๊ยะ ส้ม หรือผลไม้ตามใจชอบ

ประเพณีสารทจีนนอกจากจะเป็นประเพณีที่ลูกหลานจะแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษซึ่งล่วงลับไปแล้ว ยังเป็นประเพณีที่มีกุศโลบายในการสนับสนุนให้ทุกคนในครอบครัวทำกิจกรรมร่วมกันอย่างพร้อมหน้าและมีความสุข

ตามปฏิทินจีนโบราณ เดือน 7 ถือเป็นเดือนสำคัญที่ลูกหลานจะแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษโดยพิธีเซ่นไหว้ หญิงที่แต่งงานแล้วต้องกลับมาเซ่นไหว้ที่บ้านเดิม
ต่อมาเรื่องนี้ได้ไปปะปนกับเรื่องของพระโมคคัลลานะ ที่ช่วยมารดาให้พ้นจากนรก จึงมีความเชื่อว่าเป็นเวลาที่ประตูนรกนั้นได้ถูกเปิด เพื่อให้บรรดาภูติผีออกเร่ร่อนตามสถานที่ต่างๆ ชาวจีนจะมีการเซ่นไหว้เพิ่มขึ้นมาอีกพิธีหนึ่ง คือ ในตอนเช้าจะเซ่นไหว้เจ้าที่ และเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ตอนบ่ายจะเซ่นไหว้ผีไม่มีญาติ หรือบรรพบุรษต้นตระกูลของชาวจีน ที่ล่วงลับไปแล้วแต่ไม่มีลูกหลานสืบสกุล แต่ในบางแห่งก็นิยมไหว้ในตอนเช้าด้วยเช่นกัน ประเพณีนี้ได้ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมายาว

ในรอบหนึ่งปีชาวจีนจะมีไหว้เจ้าใหญ่ 8 ครั้ง เรียกว่าไหว้ 8 เทศกาลโป๊ะโจ่ย การไหว้สารทจีนเป็นการไหว้ครั้งที่ 5 ตรงกับวันที่ 15 เดือน 7 ซึ่งถือกันว่าเป็นเดือนผี เป็นเดือนที่ประตูนรกปิดเปิด ให้ผีทั้งหลายมารับกุศลผลบุญได้
ตำราจีนหนึ่งกล่าวไว้ว่า วันที่ 15 เดือน 7 เป็นวันที่เช็งฮีไต๋ตี๋จะตรวจดูบัญชีวิญญาณคนตาย ส่งวิญญาณดีขึ้นสวรรค์ และส่งวิญญาณร้ายลงนรก
ชาวจีนทั้งหลายรู้สึกสงสารวิญญาณร้าย จึงทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ นรกจึงเปิดประตู เพื่อให้วิญญาณร้ายออกมารับกุศลผลบุญได้

ชุดที่สอง สำหรับไหว้บรรพบุรุษ

คล้ายของไหว้เจ้าที่ พร้อมด้วยกับข้าวที่ บรรพบุรุษชอบ ตามธรรมเนียมต้องมีน้ำแกง หรือขนมน้ำใสๆ วางข้างชามข้าวสวย และน้ำชา จัดชุดตามจำนวนของบรรพบุรุษ ถ้าเป็นคนมีฐานะก็นิยมไหว้โหงวแซ คือมี เป็ด ไก่ หมู ตับ ปลา พร้อมด้วยกับข้าวอีกหลายอย่าง แล้วแต่ว่าจะจัดที่บรรพบุรุษชอบ หรือจะจัดแบบที่ลูกหลานคนที่ได้กินจริงชอบ แต่ตามธรรมเนียมการไหว้บรรพบุรุษ ต้องมีของน้ำสำหรับซดให้คล่องคอ จะเป็นน้ำแกงก็ได้ หรือเป็นขนม น้ำใส ๆ เช่น อี๊ (คือขนมบัวลอย) ก็ได้ วางเคียงกับชามข้าวสวยและน้ำชา ของหวานก็มี ขนมเข่ง ขนมเทียน ผลไม้ และกระดาษเงินกระดาษทอง ที่ขาดไม่ได้ก็คือ ขนมเข่ง ขนมเทียน ผลไม้ และกระดาษเงินกระดาษทอง


ชุดที่สาม สำหรับไหว้วิญญาณพเนจร
ผีไม่มีญาติ ซึ่งไม่มีลูกหลานกราบไหว้ เรียกว่า ไป๊ฮ้อเฮียตี๋ หรือบางแห่งเรียกว่า ฮ้อเฮียตี๋

จะต้องไหว้นอกบ้าน ของไหว้มีทั้งของคาวหวาน กับผลไม้ตามต้องการ และที่พิเศษคือ มีข้าวหอมแบบจีนโบราณ คอปึ่ง เผือกนึ่งผ่าซีกเป็นเสี้ยวใส่ถาด เส้นหมี่ห่อใหญ่ เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทองแบบเฉพาะ ที่เรียกว่า อ่วงแซจิว จัดทุกอย่างวางอยู่ด้วยกันสำหรับเซ่นไหว้

ในรอบหนึ่งปีชาวจีนจะมีไหว้เจ้าใหญ่ 8 ครั้ง เรียกว่าไหว้ 8 เทศกาลโป๊ะโจ่ย การไหว้สารทจีนเป็นการไหว้ครั้งที่ 5 ตรงกับวันที่ 15 เดือน 7 ซึ่งถือกันว่าเป็นเดือนผี เป็นเดือนที่ประตูนรกปิดเปิด ให้ผีทั้งหลายมารับกุศลผลบุญได้

ประตูนรกจะปิดในวันที่ 30 เดือน 7 เป็นเวลา 1 เดือน เมื่อบรรดาผีเปรตนรกที่หิวโหยเหล่านี้ออกมาถึงโลกมนุษย์ ก็พยายามเสาะแสวงหาอาหารกินเพื่อประทังความหิว จึงเป็นหน้าที่ของมนุษย์ที่ทำการเซ่นไหว้ดวงวิญญาณเหล่านี้ สมัยเริ่มแรก มนุษย์ไม่ว่าผู้ดีมีจนต่างพยายามเซ่นไหว้ผีเปรตเหล่านี้เป็นเวลาทุก ๆ วันที่ประตูนรกยังเปิดอยู่ ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองมาก ต่อมาจึงเริ่มเปลี่ยนมาเป็นเซ่นไหว้กันทีละครัวเรือนสองครัวเรือน หรือเซ่นไหว้หมุนเวียนกันไป ตามหมู่บ้านต่าง ๆ ได้จัดเป็นเวรให้แต่ละครอบครัวผลัดเปลี่ยนกันเซ่นไหว้จนครบกำหนด 1 เดือน ประตูนรกปิดก็เป็นอันจบพิธี เมื่อไหว้ไปนานวันเข้า มนุษย์ก็รู้สึกถึงความสิ้นเปลืองและความเหนื่อยยากในการเซ่นไหว้ จึงได้มีการรวบรวมพิธีการเซ่นไหว้ทั้งหมดมาเป็นแค่วันเดียว เป็นวันที่ 15 เดือน 7 เป็นธรรมเนียมและพิธีการมาจนกระทั่งปัจจุบัน ดังนั้นวันที่ 15 เดือน 7 จึงเป็นวันที่เช็งฮีไต๋ตี๋จะตรวจดูบัญชีวิญญาณคนตาย ส่งวิญญาณดีขึ้นสวรรค์ และส่งวิญญาณร้ายลงนรก ตามตำนานเล่ากันมาว่า ชายหนุ่มผู้หนึ่งมีชื่อว่า "มู่เหลียน" เป็นคนที่เคร่งครัดในพุทธศาสนามาก ผิดกับมารดาที่ เป็นคนใจบาปหยาบช้า เพราะไม่เคยเชื่อเรื่องสวรรค์ - นรก มีจริง ดังนั้นตลอดชีวิตของนางไม่ยอมทำบุญทานใด ๆ เลย มีอยู่ปีหนึ่งในช่วงกินเจ เดือนเก้านางเกิดความหมั่นไว้ผู้คนนุ่งขาวห่มขาวถือศีลกินเจ นึกอยู่ในใจว่าคนเหล่านี้ช่างงมงายสิ้นดี สวรรค์-นรก อยู่ที่ใจต่างหาก ไม่ได้อยู่ที่การกระทำสักหน่อย นางไม่เพียงแค่นึกเท่านั้น มิหนำซ้ำยังให้มู่หลียนบุตรชายของตนไปเชื้อเชิญผุ้ที่กินเจทั้งหลายมากินอาหารที่บ้านโดยตนจะทำอาหารเจเลี้ยงหนึ่งมื้อ

ผู้ที่กินเจต่างอนุโมทนาที่ทราบข่าวมารดามู่เหลียนเกิดศรัทธาในบุญกุศลเป็นครั้งแรก จึงพากันให้เกียรติมากินอาหารเจที่บ้านของมู่เหลียน แต่หาทราบไม่ว่าในน้ำแกงเจ มีน้ำมันหมูเจอปนอยู่

การกระทำของมารดามู่เหลียน ครั้งนี้เป็นกรรมหนัก หลังจากที่ตายไปต้องไปตกนรกอเวจีขุมลึกที่สุดได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัส ผู้ที่กินเจต่างอนุโมทนาที่ทราบข่าวมารดามู่เหลียนเกิดศรัทธาในบุญกุศลเป็นครั้งแรก จึงพากันให้เกียรติมากินอาหารเจที่บ้านของมู่เหลียน แต่หาทราบไม่ว่าในน้ำแกงเจ มีน้ำมันหมูเจอปนอยู่

การกระทำของมารดามู่เหลียน ครั้งนี้เป็นกรรมหนัก หลังจากที่ตายไปต้องไปตกนรกอเวจีขุมลึกที่สุดได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัส

ฝ่ายมู่เหลียน มีความคิดถึงมารดามาก จึงได้ถอดกายทิพย์ลงไปในนรกภูมิ ถึงรู้ว่ามารดาของตนกำลังอดอยาก จึงป้อนอาหารแก่มารดาที่หิวโหย แต่ได้ถูกบรรดาผีที่อดอยากทั้งหลายพากันรุมแย่งไปกินหมด มีอยู่คราวหนึ่งเพิ่งจะป้อนข้าวเข้าปาก เม็ดข้าวสุกกลับ ลุกเป็นไฟเผาไหม้ริมฝีปากจนพอง

ความกตัญญูและสงสารมารดาที่ได้รับความทุกข์ทรมานอย่างสาหัส มู่เหลียนได้เข้าไปขอร้องพญาเหงี่ยมล่ออ๊อง (ท้าวมัจจุราช)ว่าตนจะขอรับโทษแทนมารดาของตนเอง

แต่ก่อนที่มู่เหลียนจะถูกลงโทษด้วยการโนร่างลงไปต้มในกระทะทองแดง พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงมาโปรดไว้ทันท่วงที โดยกล่าวสดุดีที่มู่เหลียนมีความกตัญญูกตเวที แต่กรรมของผู้ใดก็ต้องเป็นของผู้นั้น จะออกพระพุทธเจ้าจึงมองคัมภีร์ผูกหนึ่งให้เพื่อเอาไว้ท่องเพราะถ้าท่องคัมภีร์นี้แล้ว จะสามารถเรียกเซียนทุกทิศทางมาช่วยผู้มีพระคุณหลุดพ้นจากการ อดอยากและทุกข์ทรมานต่าง ๆ ได้ คัมภีร์นี้ชื่อว่า "คัมภีร์อิ๋วหลันเผิน"

พระพุทธเจ้า ทรงแนะนำ ให้มู่เหลียน สวดมนต์ อิ๋วหลันเผินและถวายอาหารพิเศษทุกวันที่ 15 เดือน 7 ของทุกปี จึงจะสามารถช่วยมารดาของเขาให้พ้นโทษได้

นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ชาวจีนได้ถือปฏิบัติเป็นประเพณีนอกจากนี้ ยังมีการเซ่นไหว้ โดยการนำอาหารและกระดาษเงินไปวางไว้ที่หน้าบ้าน หรือตามทางแยกที่ไม่ไกลนัก ใช้เบนความสนใจของบรรดาสัมภเวสีที่กำลังจะผ่านมาใกล้เคหะสถานของตน

การไหว้ในเทศกาลสารทจีนแบ่งการไหว้ออกเป็น 3 ชุด

ชุดที่สอง สำหรับไหว้บรรพบุรุษ คล้ายของไหว้เจ้าที่ พร้อมด้วยกับข้าวที่ บรรพบุรุษชอบ ตามธรรมเนียมต้องมีน้ำแกง หรือขนมน้ำใสๆ วางข้างชามข้าวสวย และน้ำชา จัดชุดตามจำนวนของบรรพบุรุษ ขาดไม่ได้ก็คือ ขนมเข่ง ขนมเทียน ผลไม้ และกระดาษเงินกระดาษทอง

การไหว้เจ้าที่ จะไหว้ก่อนในตอนเช้า เผากระดาษเงินกระดาษทองจนเรียบร้อย สายๆ จึงตั้งโต๊ะไหว้บรรพบุรุษและไหว้ฮ้อเฮียตี๋ บางบ้านนิยมไหว้ตอนบ่าย ถ้าไหว้พร้อมกัน ให้ตั้งโต๊ะแยกจากกัน แต่เผากระดาษเงินกระดาษทองร่วมกันได้

สำหรับการไหว้ขนมเข่งขนมเทียนในเทศกาลสารทจีนนี้ ที่เมืองจีนไม่มี ขนมที่ใช้ไหว้ที่เมืองจีนจะเป็นขนม 5 อย่าง เรียกว่า "โหงวเปี้ย" หรือ เรียกชื่อเป็นชุดว่า ปัง เปี้ย หมี่ มั่ว กี

ปัง คือ ขนมทึงปัง เป็นขนมที่ทำจากน้ำตาล
เปี้ย คือ ขนมหนึงเปี้ย คล้ายขนมไข่
หมี่ คือ ขนมหมี่เท้า ทำจากแป้งข้าวเจ้า ข้างในไส้เต้าซา
มั่ว คือ ขนมทึกกี่ เป็นขนมข้าวพองสีแดง ตรงกลางมีไส้เป็นแผ่นบาง
กี คือ ขนมทึงกี ทำเป็นชิ้นใหญ่ยาว เวลาจะกินต้องตัดเป็นชิ้นเล็กๆ

เนื่องจากที่เมืองไทยหาส่วนผสมที่ใช้ทำขนมทั้งห้านี้ไม่ได้ครบถ้วน จึงงดไป แล้วเปลี่ยนมาเป็นการไหว้ขนมเข่ง ขนมเทียน ในการไหว้เทศกาลสารทจีนแทน ในธรรมเนียมปัจจุบัน ทั้งคนไทยเชื้อสายจีน และคนไทยแท้ๆก็พากันไหว้สารทจีนกันด้วย บางบ้านก็ไหว้แต่เจ้าที่ บางบ้านก็ไหว้เจ้าที่และบรรพบุรุษ บางบ้านก็ไหว้ทั้งเจ้าที่ บรรพบุรุษและไหว้ผี แสดงให้เห็นความกลมกลืนกันของวัฒนธรรมไทยจีน และดัดแปลงเข้ากับสภาพของคนไทยเองด้วย โดยหลักของที่ไหว้ก็จะมี ของคาว 3 หรือ 5 อย่าง เช่น ไก่ หมู เป็ด ไข่ หมึก ปลา เป็นต้น ของหวาน 3 หรือ 5 อย่าง เช่น ขนมเทียน ขนมมัดไต้ ขนมถ้วยฟูหรือขนมสาลี่ปุยฝ้าย ขนมเปี๊ยะ ส้ม หรือผลไม้ตามใจชอบ

แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ประเพณีที่สืบทอดกันมาแม้จะไม่ได้ปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตามประเพณีเดิม แต่ประเพณีการไหว้ก็ทำให้ผู้คนมีกิจกรรมในการทำความดีอันก่อให้เกิดความเป็นศิริมงคล โดยการเซ่นไหว้ระลึกถึงบรรพบุรุษและนำอาหารที่เซ่นไหว้แล้วมาเลี้ยงฉลองหรือบริจาคแก่คนอื่นๆต่อไป ซึงก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องดีๆในสังคมของเรา

ตามปฎิทินจีนโบราณ ทุกวันที่ 15 เดือน 7 เป็นวันหรือเทศกาลสำคัญที่ตกทอดกันมาชาวไทยอย่างเราจะรู้จักกันว่า "วันสารทจีน" ซึ่งชาวจีนลัทธิเต๋าเรียกกันว่า " 中元节 จงเอวียน เจี๋ย" หากเป็นชาวจีนที่นับถือพุทธจะเรียกว่า 盂兰盆节 อวี๋หลัน เผินเจี๋ย" และชาวบ้านชาวจีนจะเรียกกันติดปากว่าวัน "鬼节 กุ่ย เจี๋ย (วันผี)" วันนี้(03/09/2009)ด้วยความสงสัยว่าในปัจจุบันชาวจีนเรียกวัน "สารทจีน"กันติดปากว่าอะไรกันบ้างน่ะ จึงได้สอบถามเพื่อนชาวจีนจำนวน 10 คนว่าวันนี้ (วันสารทจีน)ชาวจีนเรียกว่าอะไร คำตอบที่พบทำให้ต้องตกใจหงายหลังเพราะดันมีคำตอบที่มากกว่าที่กล่าวไว้ในข้างต้นค่ะ บางคนเค้าก็บอกกันว่าเป็นวัน "七月节 ชีเอวี้ย เจี๋ย " บางคนก็บอกว่าเป็นวัน "七姐诞 ชี เจี่ยต้าน" บ้างก็ว่า "七月半鬼节 ชี เอวี้ยป้านกุ่ยเจี๋ย" ในที่สุดจึงได้ข้อสรุปมาว่า ส่วนใหญ่ชาวจีนจะเรียกวันสารทจีนโดยรู้กันทั่วประเทศว่า "鬼节 กุ่ย เจี๋ย (วันผี)" ซึ่งกล่าวกันได้ว่าเป็นภาษาพูด หากเป็นทางการจะเรียกว่าวัน" 中元节 จงเอวียน เจี๋ย" แต่ที่มีคำเรียกกันอย่างมากมายอาจเนื่องจากแต่ละเมืองอาจมีภาษาเรียกในท้องถิ่นที่แตกต่างหรือมีเรื่องเล่าที่สืบทอดต่อกันมาแตกต่างกันไปนั้นเอง


วันสารทจีน ลูกหลานจะแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษโดยพิธีเซ่นไหว้ โดยหญิงที่แต่งงานแล้วไม่สามารถที่จะกลับมาไหว้บรรพบุรุษของตนเองนอกเสียจากมีพ่อหรือแม่ของตนเสียชีวิตไปแล้วจึงสามารถกลับมาบ้านตนเองเพื่อกราบไหว้ได้ แต่หากพ่อหรือแม่ของฝ่ายหญิงที่แต่งงานแล้วยังไม่เสียชีวิต ฝ่ายหญิงก็ต้องไหว้บรรพบุรุษของบ้านสามีนั้นเอง (ข้อมูลตรงนี้ต้องขอขอบคุณเพื่อนชาวจีนของพี่จิ๋วชื่อสวี อ้ายจวี๋ ที่ให้ข้อมูลแนะนำมา)
แหล่งที่มาจากบางที่กล่าวไว้ว่า เรื่องวันสารทจีนนี้ได้ไปปะปนกับเรื่องของพระโมคคัลลานะ ที่ช่วยมารดาให้พ้นจากนรก จึงมีความเชื่อว่าเป็นเวลาที่ประตูนรกนั้นได้ถูกเปิด เพื่อให้บรรดาภูตผีออกเร่ร่อนตามสถานที่ต่างๆ ชาวจีนจะมีการเซ่นไหว้เพิ่มขึ้นมาอีกพิธีหนึ่ง คือ ในตอนเช้าจะเซ่นไหว้เจ้าที่ และเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ตอนบ่ายจะเซ่นไหว้ผีไม่มีญาติ หรือบรรพบุรุษต้นตระกูลของชาวจีน ที่ล่วงลับไปแล้ว แต่ไม่มีลูกหลานสืบสกุล แต่ในบางแห่งก็นิยมไหว้ในตอนเช้าด้วยเช่นกัน ประเพณีนี้ได้ยึดถือปฏิบัติสืบทอดกันมายาวนาน ในรอบหนึ่งปีชาวจีนจะมีไหว้เจ้าใหญ่ 8 ครั้ง การไหว้สารทจีนเป็นการไหว้ครั้งที่ 5 ตรงกับวันที่ 15 เดือน 7 ซึ่งถือกันว่าเป็นเดือนผี เป็นเดือนที่ประตูนรกปิดเปิด ให้ผีทั้งหลายมารับกุศลผลบุญได้ รอ WMV สารคดีสารทจีนนะครับ
แป๊บเดียว รอสักครู่ จะอับโหลดให้เร็วที่สุด

ที่มา http://palungjit.com/board.palungjit.com
โดย dangtued

รูปภาพของ เฉินซิ่วเชง

การไหว้เจ้าของคนจีน

 

 


ประเพณีการไหว้เจ้า เป็นประเพณีที่คนจีนประพฤติปฏิบัติมาช้านานนับ 3000 ปีมาแล้วค่ะ กล่าวว่าประเพณีนี้เริ่มมาตั้งแต่สมัย ราชวงศ์โจวเลยค่ะ ซึ่งก็นับว่าเก่าแก่พอสมควรค่ะ การไหว้เจ้าเป็นการสร้างความสิริมงคลและนำมาซึ่งความสุขความเจริญก้าวหน้า ตั้งแต่เรื่องครอบครัว หน้าที่การงาน

      ชาวจีนจึงยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันเรื่อยมาค่ะ ว่ากันมาว่าในปีหนึ่งๆ มักจะมีสิ่งเลวร้าย เรื่องไม่ดีงาม เรื่องอัปมงคลมากระทบกระทั่ง หรือรบกวนการดำเนินชีวิตของคนเราจนทำให้เกิดอุปสรรคต่างๆเช่น การเจ็บไข้ได้ป่วย การงานติดขัดไม่ราบรื่น เงินทองไม่คล่อง 

      ทำอะไรก็พบแต่ความยุ่งยาก ค้าขายลำบากมีแต่อุปสรรคบุตรบริวารก่อเรื่องวุ่นวาย นำความยุ่งยากลำบากใจมาให้ หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่ผิดปกติ ทำให้รู้ได้ว่า "ดวงชะตาชีวิต" ไม่ดีนักจึงจะต้องมีการขวนขวายหาที่พึ่ง จึงทำให้ก่อกำเนิดประเพณี การไหว้เจ้า ไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และ ไหว้บรรพบุรุษขึ้นมาค่ะ

องค์ประกอบที่สำคัญในการไหว้เจ้า

ขนมไหว้เจ้า อันได้แก่

       ซาลาเปา (หมี่ก้วย หรือ หมี่เปา) -ไม่มีไส้ เรียกว่า หมั่นโถว มีแบบที่ทำจาหัวมัน เนื้อออกสีเหลือง และแบบไม่ผสมมัน เนื้อออกสีขาว นิยมทำให้แตกเหมือนดอกไม้บาน

 

       ถ้าลูกเล็กจะแต้มจุดแดง ลูกใหญ่จะปั๊มตัวหนังสือสีแดง เขียนว่า ฮก แปลว่า โชคดี มีไส้ นิยมไส้ เต้าซา แป้งไม่ผสมมัน หน้าไม่แตก มีตัวหนังสือปั๊มว่า เฮง แปลว่าโชคดี

        ซิ่วท้อ เป็นซาลาเปาพิเศษ ทำเป็นรูปลูกท้อ ใส้เต้าซา เพราะถือว่าเป็นผลไม้สวรรค์ ใช้ในงานวันเกิด ใครได้กินอายุจะยืนยาว

        หนึงกอ (ขนมไข่) ใช้ไหว้ได้ทุกอย่าง

       ก๊าก้วย (ฮวกก้วย) "ฮวก" แปลว่า งอกงาม / "ก้วย" แปลว่า ขนม ใช้กับงานมงคลเป็นส่วนใหญ่ เช่นงานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ บนหน้าขนมปั๊มตัวหนังสือตรงกลาง "ฮวดไช้" คำที่อยู่รอบนอก คือ "เฮง" แปลว่า โชคดี

       คักท้อก้วย มีไส้ข้าว ไส้กุยช่าย ไส้ผัดผักกะหล่ำ ไส้ถั่ว นวดกับแป้งผสมสีแดง เป็นสีนำโชค ใช้ไหว้เจ้าที่ หรือไหว้บรรพบุรุษ

      จับกิ้ม (แต่เหลียง) หรือที่คนไทย เรียกว่า "ขนมจันอับ" ใช้ไหว้เจ้าได้ทุกประเภท ประกอบด้วยขนม 5 อย่าง คือ

- เต้ายิ้งปัง คือ ขนมถั่วตัด

- มั่วปัง คือ ขนมงาตัด

- ซกซา คือ ถั่วเคลือบน้ำตาล

- กวยแฉะ คือ ฟักเชื่อม

- โหงวจ๊งปัง คือ ขนมข้าวพอง

       ตั่วเปี้ย คนไทยเรีกว่า "ขนมเปี๊ย"

- แบบเจ เรียกว่า "เจเปี้ย" มีไส้มังสวิรัติ เช่น ไส้เต้าซา

- แบบชอ เรียกว่า "ชอเปี้ย" ใส่มันหมู ใช้ไหว้เจ้าได้ทุกอย่าง

       ทึ้งถะ คือ เจดีย์น้ำตาล ซึ่งต้องมีทึ้งไซ หรือสิงห์น้ำตาล มีไว้เพื่ออารักขาเจดีย์ใช้ไหว้เทพยดาฟ้าดิน ในวันที่ 9 เดือน 1 ของทุกปีและสามรถใช้ไหว้เจ้าแม่กวนอิมในวันไหว้พระจันทร์ได้

       โหงวก้วย-โหงวอั้ง หรือขนมลูกหลาน ใช้ไหว้คนตายในงานศพเท่านั้น ทำจากแป้งข้าวเจ้าทั้งแบบเกลี้ยง และแบบแต่งถั่วดำ กินไม่อร่อย แต่ใช้ในการทำพิธี

       น้ำตาล นำน้ำตาลมาใส่ถุง ติดกระดาษแดง สามารถใช้ไหว้ได้ทุกอย่าง

       กระดาษเงินกระดาษทอง คนจีนเชื่อกันว่า เมื่อตายไปแล้วจะไปยังอีกภพโลกหนึ่ง เรียกว่า "อิมกัง"

       ดังนั้นลูกหลานจึงต้องส่งเงินทองไปให้ เพื่อแสดงความกตัญญู ด้วยการไหว้เจ้า แล้วเผากระดาษเงินกระดาษทองไปให้ และการไหว้เจ้ายังเป็นสิริมงคลแก่ลูกหลาน ให้มีความสุขความเจริญ ซึ่งกระดาษเงินกระดาษ ทองบางแบบใช้ไหว้เจ้า บางแบบใช้ไหว้บรรพบุรุษ

       กอจี๊ หรือ จี๊จุ้ย เป็นกระดาษเงินกระดาษทองชิ้นใหญ่ มีกระดาษแดงตัดเป็นลายตัวหนังสือว่า "เผ่งอัน" เป็นคำอวยพร แปลว่า โชคดดีใช้สำหรับไหว้เจ้าที่ ไหว้เทพยดาฟ้าดิน

      กิมจั้ว หรือ งึ้งจั๊ว หมายถึงกระดาษเงินกระดาษทอง เวลาจะไหว้จะทำเป็นชุดก่อนไหว้ลูกหลานจ้องนำมาพับเป็นรูปดอกไม้ ใช้ไหว้ได้ทุกอย่าง

      กิมเต้า หรือ งึ้งเต้า หรือถังเงินถังทอง ใช้ไหว้เจ้าที่ ไหว้เทพยดาฟ้าดิน กิมเตี๊ยว คือ แท่งทอง ใช้ไหว้บรรพบุรุษ ไหว้คนตาย

      ค้อซี คือ กระดาษทอง ก่อนใช้ให้พับเป็นรูปร่างก่อน เช่น พับเป็นเรือ เรียกว่า "เคี้ยวเท่าซี" เชื่อกันว่าการพับเรือ จะไก้มูลค่าสูงกว่าการพับอย่างอื่นใช้ไหว้ได้ทุกอย่าง รวมทั้งไหว้คนตาย โดยเฉพาะพิธีทำกงเต๊ก ลูกหลานต้องพับค้อซี ให้มากที่สุด

      อิมกังจัวยี่ คือแบงก์กงเต็กนั่นเอง

      อ่วงแซจิ่ว ใช้เผาเป็นใบเบิกทาง ไปสวรรค์สำหรับผู้ตาย

       เพ้า คือ ชุดของเทพเจ้า คล้ายกับที่คนไทยถวายผ้าห่มพระพุทธรูป มีการทำของเจ้าหลายองค์ เช่น ชุดของเจ้าแม่กวนอิม เจ้าแม่ทับทิม พระพุทธ

       ตั้วกิม เป็นกระดาษเงินกระดาษทองที่ญาติสนิทนำไปไหว้ผู้ตายการเผากระดาษเงินกระดาษทองจะต้องทิ้งไว้สักพัก เพื่อให้ทุกคนได้เส้นไหว้เสร็จ ก็จะทำการ "เหี่ยม" หรือจบเหนือศีรษะ ระหว่างนี้ให้ทำการอธิฐานขอพรไปด้วย แล้วจึงนำไปเผา เมื่อไฟมอดแล้วจึงไหว้ลา เป็นการเสร็จพิธี

ผลไม้ไหว้เจ้า

ส้ม คำจีนเรียกว่า "ไต้กิก" แปลว่า โชคดี

องุ่น คำจีนเรียกว่า "พู่ท้อ" หมายถึง งอกงาม

สับประรด คำจีนเรียกว่า "อั้งไล้" แปลว่า มีโชคมาหา

กล้วย คำจีนเรียกว่า "เกงเจีย" มีความหมายถึงการมีลูกหลานสืบสกุล


ข้อมูล forward mail

รูปภาพของ YupSinFa

เรียนwebmaster

            บล๊อคของเฉินซิ่วเชง เจ่เจ๋ เรื่อง "เต้าฉิง" บทกวีถีบฟ้ากระทืบดิน ทำไมถึงหายหน้าออกไปจากเว็ปเลยละครับ ไหงค้นจนทั่วทุกหน้าแล้วไม่พบเลยแปลกใจมาก

            โชคดีที่ไหงส่งเข้าเมลของตัวเองไว้จึงสามารถเปิดดูได้ผ่านเมลของตัวเองน่ะครับ

            หรือว่าเอาไปรวมกับเรื่องราวกวีและบทเพลงไว้ด้วยกันหรือปล่าวครับ ไม่อยากให้หายไป เพราะว่า ไพเราะจับจิตเลยละครับ

            ตอเซี้ย

รูปภาพของ เฉินซิ่วเชง

ฟังบทกวีถีบฟ้ากระทืบดินที่นี่เจ้า

http://hakkapeople.com/node/718  ไหงเอาไปลงต่อเป็นกวีคนที่ 3 นะเจ้า หงีคลิกที่รหัสข้างหน้า จะพบทันทีจะเรียงกันที่นั้น  ขอบคุณที่ล่อเทชื่นชอบ..  ท่านเจิ้งใช้เวลาขัดเกลาบทกวีนี้นานถึง 14 ปี....ทุกคนชื่นชอบนักบวชชราสุดยอดมาก    เห็นวัฏฏะสังสารเวียนว่ายตายเกิด  เจริญและเสื่อมทรามเห็นภาพชัดเจนมากๆ   บทกวีชุดนี้   หลายบทประวัติศาสตร์ในหลายยุคหลายสมัย   รวมทั้งบทกวีในยุคเก่า  ยากไหม?   แต่ก็เข้าใจตามกระบวนการที่ถ่ายทอด...ได้แบบลึกซึ้ง ใครจะรู้ว่าเรารู้แค่ไหน  ถ้าเขาไม่เข้าถึงสุนทรีทุกด้าน  ประสบการณ์รายรอบที่เขาไม่เคยรับรู้  ไม่เคยสัมผัส  หาใช่ผู้รู้แบบถ่องแท้...แน่นอน..????? 
 

ใครหนอ จะมาถีบฟ้ากระทืบดินปลุกผู้คนให้ตื่นจากความโง่งมงายได้บ้าง???
 

"
สำหรับคลิปต่อไปนี้ คือการแสดงขับเพลง "เต้าฉิง" ของเจิ้งป่านเฉียว
เลือกมาให้ชมเฉพาะบทที่ 1 (ประมงชรา)
สำเนียงร้องจะเป็นสำเนียงพื้นเมือง
เครื่องดนตรีประกอบจังหวะที่นักร้องใช้เรียกว่า หยวีกู่(渔鼓) และเจี๋ยนป่าน(简板)
หลายท่านอาจจะเคยเห็นที่หนึ่งในแปดเซียนคือ จางกั๋วเหล่า(张果老) สะพายอยู่
การแสดงเพลง "เต้าฉิง" ต้องมีเครื่องดนตรีนี้เสมอ

รูปภาพของ webmaster

การค้นหาเรื่อง

ขอบคุณ อ.เฉิน ที่ช่วยแนะนำให้

เชื่อว่าคงมีบ่อยครั้งที่ หาเรื่องที่ต้องการไม่พบ แต่ที่ยังสามารถเก็บ link แล้วมาเปิดดูโดยตรงได้อยู่ แสดงว่า ข้อมูลนั้นยังอยู่ เพียงแต่ว่า บางเรื่องอาจหลงกลุ่้ม ใส่สารบัญย่อยลึกเกิน (ไปจัดเป็นเรื่องย่อยของย่อย ไม่ได้จัดไว้ในสารบัน Level เดียวกันกับหมวดเรื่องที่ควรจะเป็น ทำให้เข้าไปแล้วหาไม่เจอเพราะมันไปซุกย่อยใต้อีกทีจึงเห็น)  หรือบางเรื่องก็จัดกลุ่มหมวดเรื่องเยอะเกินไป เช่น บางเรื่องเกี่ยวข้องกับภาษาฮากกาโดยตรง แต่กลับมี Link ทั้ง ชาวจีน สังคมโลก ประวัติศาสตร์ ฯลฯ จึงทำให้เมื่อ คลิกหาตามหมวดเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้ว มันติดเรื่องอื่นๆ(ที่ถูกเลือก) ปะปนมามากมายจนหารื่องที่ตรงหมวดจริงๆไม่เจอ ก็เป็นได้

จึงขอเสนอ เทคนิคการค้นหา ข้อมูลบนเว็บนี้ สัก 2 วิธี คือ

1. ใช้ช่องค้นหา ที่มุมบนขวา พิมพ์ข้อความที่ต้องการ เช่น [ฟ้ากระทืบดิน] แล้วคลิก ค้นหา  ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ง่านและสะดวกที่สุด แต่บางครั้งขาดความแม่นยำ เพราะโปรแกรมที่ใช้ค้นหาโดยตรงจากฐานข้อมูล ที่ใช่อยู่นี้ เป็น code ของต่างประเทศ ที่ฝรั่งไม่รู้จักภาษาไทย จึงมีปัญหาเกี่ยวกับวิธีแยกคำแบบภาษาไทยอยู่บ้าง ถ้าลองหาบางคำแล้วไม่เจอ ให้ลองเปลี่ยนคำ หรือตัดคำใหม่ช่วยมันบ้าง

 

2. ใช้ Google ช่วย เป็นอีกวิธีที่ได้ผลการสืบค้นที่ดีขึ้นมากๆๆ เพราะ Google เขามี ทีมงานที่พัฒนาระบบ ที่เก่งฉลาดขึ้นอยู่เสมอ ซึ่งมีวิธีใช้ดังนี้

เมื่อเข้า Google.com แล้ว ที่ช่องค้นหา ให้พิมพ์

[ข้อความที่ต้องการ แล้วตามด้วย site:hakkapeople.com]  เช่น

ฟ้ากระทืบดิน site:hakkapeople.com

 

ซึ่งก็ขอน้อมรับข้อเสนอแนะนี้ ว่าเป็นปัญหาที่สมควรแก้ไขปรับปรุง ระบบของเว็บนี้ให้เหมาะสมขึ้นต่อไปครับ

และ เพื่อความสะดวกยิ่งขึ้น ตอนนี้ ได้เพิ่ม วิธีค้นหา โดยจับเอาการค้นหาของ Google มาใส่ไว้ในเว็บเลย โดย กล่องค้นหานี้จะอยู่ล่างขวา แทนการค้นหาวิธีที่ 2 ข้างต้น โดยไม่ค้องออกไป Google ก่อน ทำให้มีการค้นหาได้ดี และสะดวกยิ่งขึ้น ครับผม

รูปภาพของ เฉินซิ่วเชง

สงสัยละเมิดเค้านะชายเอก

จึงหายไป แต่ไม่อยากดึงออกมาเพื่อเป็นหลักฐานว่า เคยลงที่นี่ ไหงตามหาก็ไม่พบเลย  เสียดายมากๆ  คุณเวบมาสเตอร์ของเราก็คงช่วยยากละทีนี่

รูปภาพของ webmaster

เต้าฉิง บทกวีถีบฟ้ากระทืบดิน อยู่ครับ

เต้าฉิง บทกวีถีบฟ้ากระทืบดิน ก็ยังอยู่ครบทุกเรื่องครับ

http://hakkapeople.com/node/718

การค้นหา ให้พิมพ์คำสำคัญที่ต้องการ  ลงในช่อง ค้นหา ที่ช่องขวาบน หากไม่พบ ลอง เปลี่ยน-ลด-คำที่คิดว่ามีในบทความนั้นๆดูนะครับ

รูปภาพของ ใช่หงี่อุ้ย

เหมือนกันครับ

ใช่หงี่อุ้ย

ไหงจิก๊าซิบอึ้งหงิดไป้

บ้นไหงก็ไหว้

ซิบอึ้งอ่ะครับ

ตั้งแต่บรรพชนมาก็ชู้หงิดซิบอึ้งอ่ะ

บ้านไหงที่เมืองจีกอยู่ที่ท่องคังเถียนซิมเหล่วฮ้า

รูปภาพของ เหมยหลิน

เราอยากรู้ภาษาจีนอะไรเกี่ยวกับจีนให้มากช่วยหน่อยน่ะ

เดี๋ยวเราให้เบอร์ไปน่ะ       0883992818   ขอบคูณคนที่สอนล่วงหน้าค่ะ

ไป่เหล่าเอี๊ยะ

ที่บ้านไหงก็ไหว้วันสิบอึ้ง    จากคนรู้จักเป็นคนแต้จิ๋ว     เขาไหว้วันสิบอึ้ง ตอนเช้า   และในอีกวันเขาก็ไหว้ตี่จูเอี๊ยะในตอนบ่าย   ไหงถามเขาว่าทำไมไหว้ตอนบ่าย  เขาบอกว่าให้เจ้าคุ้มครองธุระกิจให้มีความเจริญงอกงาม   อันนี้ก็เป็นการไหว้อีกแบบของคนแต้จิ๋ว     

รูปภาพของ ใช่หงี่อุ้ย

ฮ๊อกล่อหงินไป้ล่อหยา

ใช่หงี่อุ้ย

ครับ

อย่างที่ท่านพูดมาครับ

คนแต้จิ๋วเค้าจะไหว้ตอนช่วงบ่ายหรือเย็นหรือหลังจากปิดร้าน

เค้าเรียกเป็นภาษาแต้จิ๋วว่า จ๊อแง้

คือการไหว้ขอบคุณที่ช่วยคุ้มครองหรือช่วยให้ดำเนินธุรกิจราบรื่น

หรือค้าขายดีครับ

เหตุผลที่ไหว้ก่อนหนึ่งวัน (เท่าที่เคยได้ยินมานะครับ)

อาสุกครับคือที่ผมเคยได้ยินมาฮากหงิ่นเราไหว้เจ้าและบรรพบุรุษในเทศกาลสารทจีนในวันขึ้นสิบสี่ค่ำเดือนเจ็ดตามจันทรคติจีนก็เพราะเค้าถือว่าวันขี้นสิบห้าค่ำเดือนเจ้ดนั้นเราจะทำการเซ่นไหว้ดวงวิญญาณไร้ญาติกัน ดังนั้นจึงมีการเซ่นไหว้เจ้า และบรรพบุรุษตัวเองก่อนหนึ่งวันส่วนวันที่สิบห้านั้นจะเซ่นไหว้ดวงวิญญาณไร้ญาติ แต่คนส่วนใหญ่มักจะไหว้เพียงเจ้าและบรรพบุรุษตัวเองเท่านั้น ทำให้ฮากหงิ่นเราจึงมีการไหว้สารทจีนก่อนหนึ่งวัน(แต่ผมก็เคยเห็นนะครับที่บ้างบ้านยังไหว้ทั้งสองวันอยู่) ส่วนบ้านผมไหว้ชิดเหงี่ยด สิบซี่ เหมือนกันครับ

 
hakka@hakkapeople.com    คุณความดี แด่บรรพชนและชาวฮากกาที่ฮึกเหิม Hakkapeople.com by Hakka Pakchong Association... Powered by Drupal